You are on page 1of 40

คณิตศาสตร์ พืน้ ฐาน ม.

3 เล่ ม1
บทที่02 กราฟ
กราฟ
ส่วนประกอบของกราฟ

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทีม
่ ค
ี วามสัมพันธ์เชิงเส้น

ให้น้องๆ พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้

เนื่องจากหลายประเทศใช้หน่วยในการบอกอุณหภูมิต่างกัน เช่น
ประเทศไทยใช้องศาเซลเซียส (℃) สหรัฐอเมริกาใช้องศาฟาเรนไฮต์
(℉) เพื่อให้คนของทั้งสองประเทศเข้าใจตรงกันจึงได้หาความสัมพันธ์
ของทั้งสองหน่วย พบว่าทั้งสองหน่วยมีความสัมพันธ์กันดังนี้
9
𝐹 = 𝐶 + 32
5
ให้น้องๆ ช่วยกันเติมอุณหภูมิหน่วยองศาฟาเรนไฮต์เมื่อกาหนดอุณหภูมิ
ในหน่วยองศาเซลเซียสให้ดังตาราง

C -30 -20 -10 0 10 20 30

จากตารางสามารถเขียนคู่อันดับได้ดังนี้ (-30, ), (-20, ), (-10, ),


(0, ),(10, ), (20, ), (30, )

กาหนดให้ แกน X แสดงอุณหภูมิหน่วย ℃

แกน Y แสดงอุณหภูมิหน่วย ℉

จะเขียนกราฟได้ดังนี้

Y (℉)

X (℃)
จะเห็นว่าจุดทุกจุดอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน และเนื่องจากเรา
สามารถหาอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ได้เสมอไม่ว่าอุณหภูมิใน
หน่วยองศาเซลเซียสจะเป็นเท่าใด ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนกราฟ
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสกับอุณหภูมิ
ในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ได้ในลักษณะที่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรง

ตัวอย่าง ในการผลิตน้าส้มบรรจุขวดขายในราคาขวดละ 20 บาท


สามารถเขียนกราฟแสดงเงินลงทุนได้ดังกราฟ

6000
5000 เงินลงทุน
4000
จานวนเงิน (บาท)

3000
2000
1000

0 100 200 300 จานวนน ้าส้ ม


(ขวด)
จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจานวนขวดน้าส้มและรายได้ที่
ได้รับจากการขาย และตอบคาถามต่อไปนี้

1. เงินลงทุนขั้นต่าที่ต้องจ่ายก่อนการผลิตน้าส้มเป็นเงินเท่าไหร่

2. ถ้าขายน้าส้มได้ 150 ขวด จะได้กาไรหรือขาดทุนเท่าไหร่

3. จะต้องขายน้าส้มให้ได้อย่างต่ากี่ขวดจึงจะถึงจุดคุ้มทุน

4. จากจุดคุ้มทุน ถ้าขายน้าส้มได้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนต่างของเงิน


ลงทุนกับรายได้จะเป็นอย่างไร และมีความหมายว่าอย่างไร
ตัวอย่าง รถยนต์คันหนึ่งออกเดินทางเวลา 8.00 น ด้วยอัตราเร็ว 40
กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วหยุดพัก 1 ชั่วโมง จากนั้นจึง
ออกเดินทางต่อด้วยอัตราเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถยนต์คันที่สองเริ่ม
ออกเดินทางตามไปในเส้นทางเดียวกันหลังจากคันที่หนึ่งแล่นไปแล้ว 2
ชั่วโมงด้วยอัตราเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง จงเขียนกราฟแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับระยะทางที่รถยนต์แต่ละคันแล่นได้ตั้งแต่
8.00 น ถึง 14.00 น แล้วตอบคาถาม

280
240
ระยะทาง (กิโลเมตร)

200
160
120
80
40
0 เวลา
8 9 10 11 12 13 14 15
(นาฬิกา)
1. ขณะที่รถคันที่สองเริ่มเดินทาง รถคันที่หนึ่งนาหน้าอยู่เท่าไร
2. รถทั้งสองคันแล่นทันกันเมื่อเวลาใด

3. หลังจากแล่นทันกันแล้ว รถคันใดแล่นนาหน้า

4. ถ้ารถทั้งสองแล่นไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง 14.30 น รถทั้งสองจะอยู่


ห่างกันประมาณเท่าใด
กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

ให้น้องๆ พิจารณาความสัมพันธ์ต่อไปนี้
“สามเท่าของจานวนเต็มจานวนหนึ่งมากกว่าจานวนเตมอีกจานวนหนึ่งอยู่ 10”

ถ้าให้ X แทนจานวนเต็มแรก

Y แทนจานวนเต็มที่สอง

จะเขียนข้อความข้างต้นเป็นสมการได้เป็น 3𝑥 − 𝑦 = 10

จากสมการถ้ากาหนดค่า X ดังตาราง จงหาค่า Y

X -10 -5 0 5 10

เขียนเป็นคู่อันดันได้เป็น (-10, ), (-5, ), (0, ),(5, ),(10, )

ทาให้สามารถเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของทั้งสองจานวนได้ดังนี้
จะเห็นว่ากราฟที่ได้เป็นจุดที่เรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
ความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงเป็นความสัมพันธ์เชิงเส้น

สมการของความสัมพันธ์เชิงเส้นที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่าง
ปริมาณสองชุดจะเรียกว่า สมการเชิงเส้นสองตัวแปร

สมการเชิงเส้นสองตัวแปร

สมการที่สามารถเขียนได้ในรูปทั่วไปเป็น 𝐴𝑥 + 𝐵𝑦 + 𝐶 = 0 เมื่อ
x, y เป็นตัวแปร A, B, C เป็นค่าคงตัวที่ A และ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน

กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรจะเป็นเส้นตรง เรียกว่า กราฟ


เส้นตรง

วิธีตรวจสอบว่าสมการใดๆ เป็นสมการเชิงเส้นสองตัวแปรหรือไม่

1. มีตัวแปรสองตัวและต้องไม่มีการคูณกันของตัวแปร
2. เลขชี้กาลังของตัวแปรแต่ละตัวจะต้องเป็นหนึ่ง
3. สัมประสิทธิ์ของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งเป็นศูนย์ได้ แต่สัมประสิทธิ์
ของตัวแปรทั้งสองจะเป็นศูนย์พร้อมกันไม่ได้
ข้อใดเป็นสมการเชิงเส้นสองตัวแปรบ้าง
1 2
ก. −3𝑥 + 𝑦 =
2 3

ข. 𝑥 2 − 𝑦 = 0

2
ค. 𝑦 = −2𝑥
5

ง. 1.2𝑥 = 3.5
จงเขียนสมการเชิงเส้นสองตัวแปรต่อไปนี้ให้อยู่ในรูป Ax+By+C = 0
แล้วระบุค่าของ A, B, C

ก. 5x - 2y - 9 = 0

ข. 6.4y + 1 = 7x
ค. 6y = 3.5

ง. -3x - 15y = 0
คู่อน
ั ดับที่สอดคล้อง

เมื่อกาหนดสมการเชิงเส้นสองตัวแปรให้ เราสามารถหาคู่อันดับ
(X, Y) ที่ทาให้สมการเป็นจริงได้ โดยกาหนดค่า X แล้วหาค่า Y เช่น

กาหนดสมการ

5𝑥 + 3𝑦 − 10 = 0

ถ้ากาหนดค่า X = -1 แล้วแทนค่า X ด้วย -1 จะได้

เรียก (-1, 5) ว่าคู่อน


ั ดับทีส
่ อดคล้องกับสมการ 5X + 3Y – 10 = 0

ถ้าให้ X = 0 แล้วแทนค่า X ด้วย 0 จะได้

ถ้าให้ X = 2 แล้วแทนค่า X ด้วย 2 จะได้


เมื่อนาคู่อันดับที่สอดคล้องกับสมการ 5X + 3Y – 10 = 0 เช่น (-1, 5),
10
(0, ), (2, 0) มาเขียนกราฟ จะได้กราฟเป็นจุดในแนวเส้นตรงเดียวกัน
3
ตัวอย่าง จงเขียนกราฟของสมการ Y = 2X – 3

X -2 0 2

Y = 2X – 3
ตัวอย่าง จงเขียนกราฟของสมการ 2X + Y = 3

X 0 2

Y = 3 – 2X 0
ให้น้องๆ ช่วยกันพิจารณากราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร Ax

+ By + C = 0 เมื่อ A, B และ C เป็นค่าคงตัว โดยพิจารณา A และ B


ในกรณีต่างๆ ต่อไปนี้

กรณีที่ 1 เมื่อ 𝐴 = 0 และ 𝐵 ≠ 0


ตัวอย่าง จงเขียนกราฟ 2𝑦 − 6 = 0

กรณีที่ 2 เมื่อ 𝐵 = 0 และ 𝐴 ≠ 0


ตัวอย่าง จงเขียนกราฟ 2𝑥 − 8 = 0

จากกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 เราสามารถสรุปได้ว่า

1. สมการเชิงเส้นสองตัวแปรที่อยู่ในรูป Ax + By + C = 0 เมื่อ A = 0

และ B ≠ 0 จะได้สมการเป็น
𝐶
y = − หรือก็คือ y = ค่าคงที่ ซึ่งถ้าเขียนกราฟจะได้เป็นเส้นตรง
𝐵
𝐶
ขนานกับแกน x และตัดแกน y ที่จุด (0, − ) หรือก็คือจุด (0,
𝐵
ค่าคงที่)
2. สมการเชิงเส้นสองตัวแปรที่อยู่ในรูป Ax + By + C = 0 เมื่อ B = 0

และ A ≠ 0 จะได้สมการเป็น
𝐶
x = − หรือก็คือ x = ค่าคงที่ ซึ่งถ้าเขียนกราฟจะได้เป็นเส้นตรง
𝐴
𝐶
ขนานกับแกน y และตัดแกน x ที่จุด (− , 0) หรือก็คือจุด (ค่าคงที่
𝐴

, 0)
จงเขียนกราฟ 𝑥 = 6, 𝑦 = −4, 𝑥 = 2 บนแกนคู่เดียวกัน

กรณีที่ 3 เมื่อ 𝐴 ≠ 0 และ 𝐵 ≠ 0


พิจารณา 𝑦 = 𝑚1 𝑥 + 𝑐1 และ 𝑦 = 𝑚2 𝑥 + 𝑐2

1. เมื่อ 𝑚1 = 𝑚2

เช่น 𝑦 = 2𝑥 + 1 และ 𝑦 = 2𝑥 − 2
2. เมื่อ 𝑚1 ≠ 𝑚2

เช่น 𝑦 = 3𝑥 − 1 และ 𝑦 = −𝑥 + 3

จากการพิจารณากรณีที่ 3 เราจะสามารถสรุปได้ว่า ถ้าเราจัด


สมการให้อยู่ในรูป y = mx + c แล้ว

1. ความชันของสมการทั้งสองเท่ากัน (m1 = m2) ก็ต่อเมื่อ กราฟทั้ง


สองของสมการเป็นเส้นตรงที่ขนานกัน
2. ความชันของสมการทั้งสองไม่เท่ากัน (m1 ≠ m2) ก็ต่อเมื่อ กราฟ
ทั้งสองของสมการเป็นเส้นตรงที่ตัดกัน
จงพิจารณาว่ากราฟของสมการเส้นตรงคู่ใดขนานกัน คู่ใดตัดกัน

1) 𝑦 = 3𝑥 และ 𝑦 = 3𝑥 − 0.5

2) 𝑥 − 2𝑦 = 5 และ 2𝑥 − 𝑦 = 3

3) 2𝑥 + 3𝑦 − 5 และ −6𝑥 − 9𝑦 + 8 = 0
3 3
4) 5𝑦 − 𝑥 + 1 = 0 และ 5𝑦 + 𝑥 − 1 = 0
2 2

ถ้า 𝑚1 𝑚2 = −1 เส้นตรงสองเส้นจะตั้งฉากกัน
1
เช่น 𝑦 = 2𝑥 + 1 และ 𝑦 = − 𝑥
2
กราฟกับการนาไปใช้

ตัวอย่างที่ 1

กราฟแสดงอุณหภูมิของอากาศที่กรุงเทพฯ เวลา 1.00 – 12.00 น

จงตอบคาถามต่อไปนี้

1. เมื่อเวลา 2.00 น 4.00 น และ 10.00 น อากาศมีอุณหภูมิประมาณ


กี่องศาเซลเซียส

2. เมื่อเวลาใดอากาศมีอุณหภูมิประมาณ 21.5 ℃ 28 ℃ และ 32 ℃


3. อุณหภูมิต่าสุดของอากาศเป็นเท่าใด และเมื่อเวลาใด
4. ตั้งแต่เวลา 1.00 – 5.00 น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศ
เป็นอย่างไร

5. ตั้งแต่เวลา 5.00 – 12.00 น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศ


เป็นอย่างไร

ตัวอย่างที่ 2

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสาก A และสาร B ที่ละลายในน ้า 100 กรัมกับอุณหภูมิ


จงตอบคาถามต่อไปนี้

1. สาร B ปริมาณ 10 กรัม ละลายในน้า 100 กรัม ทาให้อุณหภูมิ


ของน้าเป็นเท่าไร

2. ปริมาณสาร A และ B จานวนเท่าใดที่ละลายในน้า 100 กรัม แล้ว


ทาให้อุณหภูมิของน้าเป็น 50 ℃

3. สาร A และ B ปริมาณ 50 กรัมเท่ากัน ละลายในน้า 100 กรัม สาร


ใดทาให้อุณหภูมิของน้าสูงกว่า แล้วสูงกว่าเท่าไร

4. สาร A และ B ปริมาณเท่าใดเมื่อละลายในน้า 100 กรัม แล้วทาให้


อุณหภูมิของน้าเป็น 70 ℃
ตัวอย่างที่ 3

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและค่าโดยสารแท็กซี่

จงตอบคาถามต่อไปนี้

1. ถ้าเดินทางด้วยแท็กซี่ เมื่อคนขับกดมิเตอร์ ค่าโดยสารจะเป็น


เท่าใด

2. ถ้าเดินทางเป็นระยะทาง 500 เมตร และ 1.9 กิโลเมตร จะต้องจ่าย


ค่าโดยสารเท่าใดบ้าง
3. ถ้าเดินทางเป็นระยะทาง 3.2 กิโลเมตร จะต้องจ่ายค่าโดยสาร
เท่าใด

4. ถ้าเดินทางเป็นระยะทาง 3.3 กิโลเมตร จะต้องจ่ายค่าโดยสาร


เท่าใด

5. ถ้าต้องจ่ายค่าโดยสาร 45 บาท แสดงว่าเดินทางได้ไกลเท่าใด


แบบฝึกหัดเรือ
่ งกราฟ
ข้อ 1 จงเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรต่อไปนี้บนแกนคู่
เดียวกัน พร้อมทั้งหาจุดตัด (ถ้ามี)

a. Y = 4X – 3 และ Y = 4X + 5
b. Y = 4 และ X – Y = 2

ข้อ 2 จงพิจารณาโดยไม่ต้องวาดกราฟว่าสมการเชิงเส้นสองตัวแปรคู่ใด
ตัดกันบ้าง

a. Y = 2X + 3 และ Y – 2X = 0.5
b. 2X + 3Y = -1 และ 2X – 3Y = 3

c. 2X – y = 3 และ 4X – 2Y = 8
ข้อ 3 กาหนดกราฟของสมการเชิงเส้นเป็นเส้นตรง 𝑙1 , 𝑙2 , 𝑙3 โดยใช้แกน
คู่เดียวกันดังรูป ถ้าให้
7 7
𝑦 = 𝑥, 𝑦 = 𝑥 + 3, 𝑦 = −𝑥 − 3 เป็นสมการของกราฟข้างต้น จงหา
2 2
ว่าเส้นตรงใดเป็นกราฟของสมการใด
ข้อ 4 จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวหน่วย
เซนติเมตรและมิลลิเมตร
ข้อ 5 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและพื้นที่ของรูป
สี่เหลี่ยมจตุรัสเป็นดังนี้

จากกราฟจงตอบคาถามต่อไปนี้

1. รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีความยาวด้าน 1.5 ซม. จะมีพื้นที่เท่าใด

2. รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีพื้นที่ 16 ตร.ซม. จะมีความยาวด้านเท่าใด


ข้อ 6 กราฟต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาหลังรับประทางยา
และปริมาณของยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมในร่างกายมนุษย์

ครึ่งชีวิต คือ

จากกราฟจงตอบคาถามต่อไปนี้

1. หลังจากรับประทานยาพาราเซตามอล 500 มก. เข้าไปแล้ว 1


ชั่วโมง จะมีปริมาณยาเหลืออยู่ร่างกายเท่าใด
2. ครึ่งชีวิตของยาพาราเซตามอล 500 มก. คิดเป็นเวลาเท่าใด

3. ถ้าเอกสารกากับการใช้ยาระบุว่า สามารถรับประทานยานี้ได้ทุก 6
ชั่วโมง เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมงจะมีปริมาณยาคงเหลืออยู่ใน
ร่างกายเท่าใด

4. ถ้าผ่านไป 6 ชั่วโมงแล้วรับประทานยาอีก 500 มก. ต่อจากนั้นอีก


2.5 ชัว
่ โมง จะมีปริมาณยาคงเหลืออยู่ในร่างกายเท่าใด
5. ถ้ายาพาราเซตามอล 500 มก. ที่รับประทานเข้าไป จะต้องใช้เวลา
ประมาณห้าครึ่งชีวิต ยาที่เหลือจึงจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง
น้องๆ คิดว่าจะต้องช้เวลานานเท่าใดหลังรับประทานจึงจะไม่
ก่อให้เกิดผลข้างเคียง
ข้อ 7 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้าประปาที่ใช้เป็น
ลูกบาศก์เมตรในหนึ่งเดือนกับจานวนเงินที่จ่ายเป็นบาทของการประปา
ของหมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นดังนี้

จากกราฟจงตอบคาถามต่อไปนี้

1. ถ้าในเดือนหนึ่งไม่มีการใช้น้าประปาเลย จะต้องจ่ายค่าน้าประปา
เท่าใด

2. ถ้าในเดือนหนึ่งมีการใช้น้าประปาไม่ถึง 1 ลบ.ม. จะต้องจ่ายค่า


น้าประปาเท่าใด
3. ถ้าในเดือนหนึ่งใช้น้าประปาไป 3 ลบ.ม. จะต้องจ่ายค่าน้าประปา
เท่าใด

4. ถ้าในเดือนหนึ่งใช้น้าประปาไป 5.2 ลบ.ม. จะต้องจ่ายค่า


น้าประปาเท่าใด

5. ถ้าในเดือนหนึ่งจ่ายค่าน้าประปาไป 80 บาท จงหาปริมาณที่


เป็นไปได้ของน้าประปาที่ใช้ไปในเดือนนั้น

You might also like