You are on page 1of 19

การทดสอบ

แรงกระแทก
นายพชร โพธิ์กรวม 116430204033-5

จัดทำโดย
นายศหรรษวัฒ นินทะ 116430204034-3
นายจิรภัทร รัตนชัย 116430204041-8
นายกัญจน์กอนจันดา 116430204044-2
นายนัทธ​พงศ์​บุ​ศ​รา​คำ 116430204045-9​
เสนอ

•อาจารย์ ชัยรัตน์ หงษ์ทอง


วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาแรงกระแทกของวัตถุ
2.เพื่อหาค่าพลังงานที่วัสดุรองรับได้จากการถูกกระแทก

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การทดสอบการกระแทกเป็นการวัดการส่งถ่ายพลังงานที่จําเป็นใน
การแตกหักของวัสดุ ค่าความแข็งแรง การกระแทกจะบ่งบอกถึงความ
สามารถในการรับแรงแบบฉับพลัน แม้พลังงานไม่สามารถสร้างและทํา
ลายแต่พลังงานการกระแทกจะสูญเสียไป ในหลายลักษณะเช่น ถูกใช้ใน
การเสียรูปแบบยืดหยุ่นแบบถาวรของวัสดุและแรงเสียดทานจากการ
เคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่างๆ
เเรงที่สามารถในการกระทำทดสอบ
แรงที่กระทําในการทดสอบการกระแทกสามารถทําได้ทั้งในรูปของการดัดงอ การดึง
การอัด หรือการบิด แต่ที่นิยมใช้คือแรงดัดงอและที่นิยมใช้น้อยสุดคือแรงดึง ส่วนแรงอัด
และ แรงบิดจะใช้เฉพาะกรณีเท่านั้น การตีกระแทกสามารถทําได้ด้วยการปล่อยลูกตุ้มน้ํา
หนัก การเหวี่ยงลูกตุ้มหรือการหมุนวงล้อ บางการทดสอบจะเป็นการทดสอบการแตกหัก
ของชิ้น ทดสอบด้วยการกระแทกเพียงครั้งเดียว
การทดสอบแบบชาร์ปี (Charpy test)

เครื่องทดสอบการกระแทกแบบชาร์ปีปกติจะมีขนาด 220 ปอนด์ฟุตสําหรับทดสอบ


โลหะ และ 4 ปอนด์ฟุตสําหรับชิ้นงานพลาสติก (ASTM E23) ลูกตุ้มประกอบด้วยแขน
ยึด ลูกคุ้มที่ค่อนข้างเบาแต่แข็งแกร่งและมีก้อนน้ําหนักติดอยู่ ที่ปลาย ลูกตุ้มนี้จะเคลื่อน
ผ่าน ระหว่างขาตั้งเครื่องสองขา โดยมีใบมีดติดไว้ที่ขอบด้านที่จะกระแทกกับชิ้นทดสอบ
ซึ่งต้อง กระทบกับชิ้นงานบริเวณด้านหลังและเป็นส่วนที่ลึกที่สุดของร่องบาก
ตัวอย่างภาพ ชิ้นงานมาตรฐานการทดสอบการกระแทบแบบชาร์ปี
ลักษณะการทดสอบการกระแทกแบบชาร์ปี
ชิ้นทดสอบมาตรฐานมีขนาด 10 x 10 x 55 มิลลิเมตรและมีการบากตรงกลางชิ้นงาน
ไว้ที่ด้านหนึ่ง ซึ่งบางการทดสอบต้องการร่องบากที่เป็นแบบรูกุญแจ (keyhole notch) หรือ เป็น
แบบตัวยู (U-shaped notch) ดังรูปที่ 4 โดยชิ้นทดสอบจะถูกวางไว้ ระหว่างแท่นรองรับ ชิ้นงาน
โดยวางให้ฝั่งตรงข้ามร่องบากหันไปในทางที่ จะทําการกระแทกคือใบมีดที่ติดอยู่กับ ลูกตุ่มจะต้อง
กระแทกเข้ากับด้านหลังร่องบากของชิ้นงานที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างแท่นรองรับชิ้นงาน
ดังรูปที่ 5 จากนั้นทําการยกลูกตุ้มขึ้ไปยังมุมก่อนกระแทกแล้วปล่อยลูกตุ้ม เหวี่ยงลงมากระแทกกับ
ชิ้นทดสอบ ลูกตุ้มกระแทกต้องยกขึ้นด้วยมุมที่ทราบค่าแน่นอนคือ α ดังรูปที่ 5 ในทางทฤษฎี ถ้าลูก
ตุ้มไม่มีความต้านทานใดๆ เมื่อทําการปล่อยลูกตุ้มควรจะมีมุมหลังเหวี่ยงที่ด้านตรงข้าม เท่ากับมุม α
เท่าเดิม ซึ่งในความเป็นจริงจะมีความเสียดทานของเครื่อง ดังงนั้้นในการทดสอบ ควรรวมพลังงานที่
สูญเสียไปกับความเสียดทานเหล่านี้ด้วย เมื่อทําการทดสอบให้ยกลูกตุ้มไป ที่มุม α จากนั้นวางชิ้น
ทดสอบเข้ากับแท่นวาง ปล่อยตุ้มน้ำหนักลงมาโดยให้เหวี่ยงอย่างอิสระ เมื่ออลูกตุ้มเหวี่ยงกระแทกกับ
ชิ้นทดสอบจะเกิดการถ่ายพลังงานส่วนหนึ่งให้กับชิ้นทดสอบจน เกิดการแตกหักจากนั้นลูกตุ้มจะเหวี่ยง
เลยไปยังฝั่งตรงข้ามเวยมุมยกเท่ากับ β
การทดสอบแบบไอซอด (Izod test)
เครื่องทดสอบการกระแทกแบบไอซอดปกติจะมีขนาด 120 ปอนด์ฟุต ส่วนการทดสอบจะเป็นแบบ
เดียวกันกับแบบชาร์ปีถึงแม้ว่าชิ้นทดสอบและรูปแบบการทดสอบจะต่างกัน ใน การทดสอบการกระแทกแบบ
ไอซอด ลูกตุ้มจะกระแทกด้านหน้าของชิ้นทดสอบที่มีร่องบาก ดังรูปที่ 8.6 ซึ่งจะกลับกันกับการทดสอบแบบ
ชาร์ปีส่วนชิ้นทดสอบแบบไอซอดจะมีขนาด 10 x 10 x 75 มิลลิเมตร โดยมีมุมของร่องบาก 45o ลึก 2
มิลลิเมตร ดังรูปที่ 8.7 ความแข็งแรงการกระแทกของชิ้นทดสอบจะขึ้นอยู่กับค่ามุมหลังกระแทก ซึ่งปกติค่า
พลังงานการกระแทก ในหน่วยปอนด์ฟุตสามารถอ่านได้โดยตรงจากหน้าปัดเครื่องทด
ตัวอย่าง
เครื่องทดสอบการ
กระแทกแบบไอซอด
กลุ่มผมได้ยกตัวอย่างการทดสอบ
เเรงกระเเทกกระแทกแบบไอซอด

ทำการทดสอบด้วยการใช้เครื่อง IMPACT TESTING MACHINE


วัสดุที่ใช้ในการทดสอบ
- เหล็ก
- อลูมิเนียม
- ทองเหลือง
การทดสอบที่ 1
โดยใช้เหล็ก วิธีการทดสอบ
ปรับเข็มสเกลมาอยู่ที่ 300 จูล
เพื่อทำการทดสอบเหล็ก
ค่าที่ได้ 162 จูลแล้วนำมาลบกับค่าที่สูญเสียไป 4จูล
ให้นำ 162-4 = 158 จูล
การทดสอบที่ 2
โดยใช้อลูมิเนียม วิธีการทดสอบ
ปรับเข็มสเกลให้อยู่ที่ 300 จูล
เพื่อทำการทดสอบอลูมิเนียม
ค่าที่ได้ 37 จูล
ให้นำ 37-4 = 33จูล
การทดสอบที่ 3
โดยใช้ทองเหลือง วิธีการทดสอบ
ปรับเข็มสเกลให้อยู่ที่ 300 จูล
เพื่อทำการทดสอบทองเหลือง
ค่าที่ได้ 19 จูล
ให้นำ 19-4 = 15 จูล
การหาสูตร
การหาสูตรนั้นเราสามารถหาได้จากพลังงานที่สูญเสียไป 4 จูล เราจะนำมาลบกันค่าที่เราใช้เตรื่องทดสอบแรง
กระแทกแบบชาร์ปีด้วยการลบออก 4 จากค่าที่ทำการทดสอบได้ ตัวอย่างดังต่อไปนี้
ยกตัวอย่างสูตรการหาค่า
ถ้าวัดค่าได้ 43จูล ให้นำ 43จูล - 4จูล =39จูล ความหมายคือชิ้นงานสามารถรับแรงกระแทกได้ 39 จูล
การปรับหน้าปัดการทดสอบดังนี้
- การทดสอบอลูมิเนียมให้หน้าปัดชี้ที่เลข 300 จูลน์ ค่าที่ได้คือ 37 จูล
- การทดสอบทองเหลืองให้หน้าปัดชี้ที่เลข 300 จูลน์ ค่าที่ได้คือ 19 จูล
- การทดสอบเหล็กให้หน้าปัดชี้ที่เลข 300 จูลน์ ค่าที่ได้คือ 158 จูล
แหล่งอ้างอิง
- https://www.youtube.com/watch?v=NOqp-
QGHX1c&ab_channel=MondechMidthongkam
- old-book.ru.ac.th/e-book/m/MY318(51)/MY318-8.pdf

ขอจบการนำเสนอเพียง
เท่านี้ขอบคุณครับ

You might also like