You are on page 1of 20

แบบรายงานผลปฏิบัติการที่ 2

เรื่อง Hardness Test


Sec 11 Group J
จัดทำโดย
นายธราเทพ ริมชัยสิทธิ์ รหัสนิสิต 6410505001
นายธีรเดช ต่อตระกูล รหัสนิสิต 6410505019
นายธีรพัฒน์ ศักดิ์ดีชุมพล รหัสนิสิต 6410505027
นายธีรภัทร จตุวิมล รหัสนิสิต 6410505035
นายนราวิชญ์ สุนทราจารย์ รหัสนิสิต 6410505043
นายปองพล ธนกฤติกาญจนา รหัสนิสิต 6410505051
นางสาวพรรณกาญจน์ พิภักดี รหัสนิสิต 6410505060
นางสาวพัชรพร บุญชุ่ม รหัสนิสิต 6410505078
เสนอ
อ.ดร. จิระชัย มิ่งบรรเจิดสุข
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ปฏิบัติการวิศกรรมเครื่องกล I รหัสวิชา 01208381
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2566
บทนำ

การทดสอบความแข็ง Rockwell เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมในการวัดความแข็งของวัสดุต่าง ๆ ซึ่งมักถูกนำมาใช้


ในงานอุตสาหกรรมเพื่อประเมินคุณภาพของวัสดุหรือการผลิตสินค้าที่ต้องการความแข็งที่เหมาะสม เทคนิคนี้ได้รับ
ความนิยมเนื่องจากความง่ายในการใช้งานและความสามารถในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งของวั สดุที่สมบูรณ์
แบบและรวดเร็ว
การทดสอบความแข็ง Rockwell ได้รับการพัฒนาโดย Stanley P. Rockwell ในปี ค.ศ. 1914 และเป็น
ระบบทดสอบที่มีความเป็นมายาวนาน ตัววิธีนี้ใช้หลักการการฝังลึกของลูกบีบที่มีหัวเป็นทรงกรวยลงบนพื้นผิวของ
วัสดุที่ต้องการทดสอบ โดยทำให้เกิดแรงกระทำลงในวัสดุนั้น ๆ
การทดสอบความแข็ง Rockwell เป็นที่นิยมในการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมเหล่านี้ เช่น การผลิต
เหล็กและโลหะ, อุปกรณ์เครื่องจักร, รถยนต์, และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มันเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน
การตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้าหลายประการ
วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์หลายประการที่ทดสอบความแข็ง Rockwell นิยมในหลายสถานการณ์ ได้แก่:


1.ประเมินคุณภาพวัสดุ : การทดสอบความแข็ง Rockwell ช่วยในการประเมินคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการผลิต
ความแข็งของวัสดุส่งผลต่อความคงทน, ความทนทาน, และประสิทธิภาพในการใช้งาน
2.ควบคุมกระบวนการผลิต: การทดสอบความแข็งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการผลิต การรับรองว่า
วัสดุที่ใช้มีความแข็งที่ตรงตามมาตรฐานจะช่วยลดการผิดพลาดในการผลิต
3.ปรับปรุงการออกแบบ: ข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งของวัสดุจะช่วยในการปรับปรุงการออกแบบสินค้า นักวิศวกร
และนักออกแบบสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเลือกวัสดุที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละโมดูล
4.ป้องกันการชำรุด: การทดสอบความแข็งช่วยในการตรวจสอบความทนทานของวัสดุต่อการรับแรงหรือแรง
กระทำ ซึง่ สามารถช่วยป้องกันการชำรุดหรือการหักของวัสดุในสภาวะการใช้งานจริง
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

การหาค่าความแข็งจากการทดสอบแบบ Rockwell จะคำนวณได้จากระยะกดลึกของหัวกดไปในชิ้น


ทดสอบ โดยแรงกระทำย่อย (Minor load) จะถูกกดนำไปก่อนเพื่อลดความขรุขระของผิวและทำให้หัวกดสัมผัส
กับชิ้นทดสอบได้ดียิ่งขึ้นก่อนที่จะทดสอบภายใต้แรงกระทำหลัก (Major load) ต่อไป ตามรูป 1 แรงกระทำย่อยนี้
จะมีค่าคงที่ไม่ว่าจะใช้สเกลแบบใด หลังจากนั้นแรงกระทำหลักจะกดซ้อนลงบนแรงกระทำย่อย โดยขนาดของแรง
กระทำหลักจะขึ้นอยู่กับสเกลที่ใช้ ซึ่งขึ้นกับวัสดุที่นำมาทดสอบ และ ชนิดของหัวกดแรงกระทำหลักจะก่อให้เกิด
การเปลี่ยนรูปทั้งแบบพลาสติกและอีลาสติกบนชิ้นทดสอบ หลังจากเอาแรงกระทำหลักออก รอยกดที่เกิดขึ้นจะคืน
รูปส่วนที่เป็นอีลาสติก (Elastic) แต่คงไว้ซึ่งรอยซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก (Plastic)
ประเภทของการทดสอบความแข็งแบบ Rockwell
1. Regular Rockwell ซึ่งแรงกระทำย่อยคือ 10 kgf และแรงกระทำหลักเป็น 60,100 หรือ 150 kgf
2. Superficial Rockwell ซึ่งแรงกระทำย่อยคือ 3 kgf และแรงกระทำหลักเป็น 15,30 หรือ 45 kgf
หมายเหตุ 1 kgf = 9.80665 N
สำหรับในการทดลองนี้จะทำเฉพาะ Regular Rockwell scales
ค่าความแข็ง Rockwell คำนวณได้จาก
𝑒
𝐻𝑅𝑋 = 𝐾 − ( )
0.002

X = สัญลักษณ์ค่าความแข็ง (scale symbol)


K = 100 สำหรับหัวกดชนิดกรวยเพชร (diamond cone indenters)
= 130 สำหรับหัวกดชนิดลูกกลมเหล็ก (steel ball indenters)
ข้อมูลตาราง

ตาราง Regular Rockwell Hardness Scales (Minor Load = 10 kgf)

อ้างอิง http://avstop.com/ac/apgeneral/hardnesstesting.html

ตาราง Correction Rockwell C, A and D Values

อ้างอิง http://avstop.com/ac/apgeneral/hardnesstesting.html
ตาราง Conversion table for Steel

อ้างอิง https://www.admiralsteel.com/reference/hardness.html
วิธีการทดลอง

1. เลือกหัวกด, น้ำหนัก, ฐาน และชนิดของสเกลให้เหมาะสมกับชนิดและรูปร่างของชิ้นทดสอบ ใส่ตุ้ม


น้ำหนักลงบนแกน ก่อนใส่ดูให้แน่ใจว่าคันโยกน้ำหนักซึ่งอยู่ทางขวามือของเครื่องอยู่ในลักษณะเอียงเข้าหา
ตัวผู้ทำทดลอง
2. วางชิ้นทดสอบลงบนฐานโดยให้ส่วนของผิวที่ต้องการทดสอบหาค่าความแข็งหงายขึ้น
3. เลื่อนฐานขึ้นโดยการหมุน hand wheel ใต้ฐานในทิศทางตามเข็มนาฬิกาจนกระทั่งผิวชิ้นทดสอบสัมผัส
กับปลายของหัวกด เข็มบนหน้าปัดจะเริ่มหมุน ให้หมุน hand wheel ต่อไปจนกระทั่งเข็มเล็กของหน้าปัด
อยู่ที่ “SET” และเข็มยาวอยู่ในแนวดิ่ง แล้วจริงปรับหน้าปัดใมห้เข็มชี้ตรงเลขศูนย์บนวงกลมสีดำสำหรับ
สเกล C ห้ามหมุน hand wheel ย้อนกลับถ้าหมุนเกิน ให้ทำการเปลี่ยนตำแหน่งทดสอบแล้วเริ่มทำใหม่
เลย ค่าที่ได้นี้ก็คือแรงกระทำของแรงย่อย 10 kgf. นั่นเอง
4. เพิ่มแรงกดหลัก (Major load) โดยการโยกคันบังคับตุ้มน้ำหนักออกจากตัวผู้ทำการทดลอง อัตราการเพิ่ม
น้ำหนักควรสิ้นสุดภายใน 4-8 วินาที แรงกดที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้เข็มหน้าปัดหมุน เมื่อเข็มหยุดนิ่ง แรงกด
ควรคงอยู่ไม่เกิน 2 วินาที แล้วค่อยๆยกแรงกดออก
5. หลักจากที่คันโยกบังคับตุ้มน้ำหนักออก ให้อ่านค่าความแข็งของโลหะจากหน้าปัดทันที โดยยังมีแรงกระทำ
ย่อยคงอยู่ จากนั้นให้ยกแรงย่อยออก โดยการหมุน hand wheel ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
6. ทำการทดสอบชิ้นเดียวกันอีกอย่างน้อย 4 ครั้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดและ
ต่ำสุด ภายในกลุ่มไม่ควรเกิน 2
7. ถ้าทำการทดสอบหาค่าความแข็งบนผิวโค้ง ต้องใช้ฐานรองรับรูปตัววี และค่าที่อ่านได้จะต้องบวกค่าเผื่อ
ด้วย
อุปกรณ์และเครื่องมือการทดลอง

1. หัวกด (Indenter) มีอยู่ 2 ชนิดคือ


1.1 หัวกดที่ปลายทำด้วยเพชร (Diamond cone indenter) มีรูปร่างแบบกรวยมีมุม 120 องศา และรัศมี
ความโค้งที่ปลายเท่ากับ 0.200 มม.
2. ฐาน (Anvil) คือฐานซึ่งใช้สวมกับแท่นเพื่อรองรับชิ้นทดสอบมีอยู่ 4 แบบ คือ
2.1 ฐานกลมเรียบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5” ใช้กับชิ้นทดสอบทั่วไป
2.4 ฐานมีร่องรูปตัววีใหญ่ ใช้สำหรับหาค่าความแข็งที่ผิวโค้งของวัตถุซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน
1.25” (31.8 มม.)
3. ก้อนน้ำหนักสำหรับถ่วง 3 ก้อน ขนาด 40 , 50 และ 60 kgf.
4. หน้าปัด สำหรับอ่านค่าความแข็งซึ่งติดอยู่กับส่วนหัวของเครื่องทดสอบ บนหน้าปัดมีสเกล 2 รอบด้วยกันคือ
รอบนอกเป็นสีดำหรือสเกล C ใช้อ่านคู่กับหัวกดที่เป็นเพชร รอบในเป็นสีแดงหรือสเกล B ใช้อ่านคู่กับหัวกดที่เป็น
เหล็ก
5. ชิ้นทดสอบมาตรฐาน (Standard test blocks) ใช้สำหรับตรวจสอบดูความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือ
ผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง Hardness Test

Thickness/ Rockwell Hardness No. Roundness Hardness Tensile


Specimen
Diameter Correction No. Strength
Type 1 2 3 AVG.
(mm.) Factor (_HRC) (MPa)
Flat AISI 4140 25.2 53.3 53.2 53.5 53.3 - 53.3 1876.11
Surface
AISI 1020 25.4 20.9 23.6 20.0 21.5 - 21.5 794.34
Curve
M2 HHS 24.1 58.6 60.9 57.3 58.93 0.5 59.43 2328.49
Surface
สรุปผลการทดลอง

จากการทดสอบหาความแข็งแรงของโลหะชนิดต่างๆด้วยเครื่องมือทดสอบความแข็งแรงแบบ Rockwell
โดย scale ที่เราใช้คือ scale C และ Indenter แบบ Diamond ดังนั้นความแข็งแรงที่หาออกมาได้จะเป็นค่า HRC
วัสดุที่เราใช้ทดสอบจะมีทั้งหมด 3 ชนิด แบ่งเป็น Flat Surface 2 ชนิด และ Curve Surface 1 ชนิด
การทดสอบที่1 จะใช้แท่งโลหะแบบเรียบมาทดสอบ มีการทดสอบความแข็งแรงทั้งหมด 3 ครั้งเพื่อหา
ค่าเฉลี่ย HRC โดยแต่ละรอบนั้นจะเลื่อนตำแหน่งแท่งโลหะในการทดสอบให้ต่างจากเดิม ค่าเฉลี่ย Rockwell
Hardness ของโลหะชนิดแรกมีค่าเท่ากับ 53.33 ซึ่งมีค่าความแข็งแรงอยู่ในช่วงของ Medium or High Hardness
Steel จึงสมมติฐานว่าแท่งโลหะนี้อาจจะทำมาจาก AISI 4140 หรือโลหะชนิดอื่นๆที่มีค่า HRC ใกล้เคียงกัน
การทดสอบที2่ จะใช้แท่งโลหะแบบเรียบมาทดสอบเช่นเดียวกัน และทำการทดสอบ 3 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย
ของ HRC ในโลหะชนิดนี้โดยวิธีการทดสอบจะเหมือนกับการทดสอบที่1 ค่าเฉลี่ย Rockwell Hardness ของโลหะ
ชนิดที่2 มีค่าเป็น 21.5 ค่าความแข็งในช่วงนี้จะเป็นของ Low Hardness Steel หรือพวก Mild Steel, Low
Carbon เราจึงสมมติฐานว่าโลหะชนิดนี้อาจจะทำมาจาก AISI 1020 หรือโลหะอื่นที่มีค่า HRC ใกล้เคียงกัน
การทดสอบที3่ เป็นการทดสอบโดยใช้แท่งโลหะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 24.1 mm มาทดสอบ
หาค่าความแข็งแรง โดยในการทดสอบจะใช้ฐานร่องรูปตัววีใหญ่มาช่วยในการวางโลหะเพื่อทำการทดสอบ วิธีการ
ทดสอบจะเหมือนกับการทดสอบก่อนหน้านี้ทั้งสองชนิด โดยค่าเฉลี่ย Rockwell Hardness ของโลหะชนิดนี้มี
ค่าประมาณ 58.93 หลังจากนั้นนำมาบวกกับ Correction factor สำหรับการทดสอบโลหะผิวโค้งมีค่าเป็น 0.5
ดังนั้นค่า Rockwell Hardness ที่แท้จริงของโลหะชนิดที่สามมีค่าเท่ากับ 59.43 เป็นโลหะชนิด High Hardness
Steel จึงสมมติฐานว่าโลหะชนิดนี้อาจจะทำมาจาก M2 High-Speed Steel ซึ่งใช้สำหรับเป็น cutting tool หรือ
อาจจะทำมาจากโลหะชนิดอื่นที่มีค่า HRC ที่ใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างการคำนวณ

การคำนวณ (การทดลองชิ้นที่ 1)
ค่าเฉลี่ย Rockwell Hardness Number
53.3 + 53.2 + 53.5
𝐻𝑅𝐶 = = 53.33
3
ค่า Tensile Strength
จากตารางจะได้ T.S. = 269 ksi = 1855 MPa
ค่าความลึกที่เจาะลงไป (e)
จากสูตรหาค่าความแข็ง Rockwell
𝐻𝑅𝑋 = 𝐾 − (𝑒/0.002)

ในที่นี้ใช้ scale C และ diamond cone indenter (K = 100)


𝐻𝑅𝐶 = 100 − (𝑒/0.002)
53.33 = 100 − (𝑒/0.002)
𝑒 = (100 − 53.33) ∙ 0.002 = 0.0933 𝑚𝑚
วิจารณ์การทดลอง

ธราเทพ ริมชัยสิทธิ์ 6410505001

วิจารณ์ผลการทดลอง
การเลือกชิ้นงานต้องเลือกชิ้นที่มีน้ำหนักไม่มากไป ความแข็งไม่มากและไม่น้อยไป เพราะการอ่านค่าจะได้
ง่ายในการนำไปใช้ต่อ อีกทั้งรูปร่างของชิ้นงานก็มีผลต่อค่าเหมือนกัน เช่น ชิ้นงาน สี่เหลี่ยม หรือ รูปโค้ง ก็ส่งผลต่อ
ค่าได้เหมือนกัน
ธีรเดช ต่อตระกูล 6410505019

วิจารณ์ผลการทดลอง
ในการทดลองนี้นั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดค่าคลาดเคลื่อนในการทดลอง เช่น ตัววัสดุไม่คงสภาพ
เดิมทำให้เมื่อวัดค่าจะได้ค่าที่คลาดเคลื่อนออกไปจากค่าจริง และ ตัวเครื่องมือวัดในการทดลองนี้นั้นมีความเก่าเป็น
อย่างมากจึงสามารถทำให้เกิดค่าคลาดเคลื่อนจากตัวเครื่องมือวัดได้เช่นกัน
ธีรพัฒน์ ศักดิ์ดีชุมพล 6410505027

วิจารณ์การทดลอง
ในการทดลองค่าที่ได้จากการทดลองอาจมีความคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากการปรับตั้งเครื่องทดสอบ
สภาพผิวของวัตถุ อายุการใช้งานของเครื่องทดสอบ การสึกกร่อนของหน้าสัมผัส (Contact point) และอาจมี
สาเหตุที่มาจากตัวผู้ทดลองเองเช่น การคำนวนค่าผิด
ธีรภัทร จตุวิมล 6410505035

วิจารณ์ผลการทดลอง
วัสดุที่ใช้ในการวัดถูกใช้บ่อยจนเกิดรู ความเสียหายบนตัววัสดุอยู่หลายที่ ทำให้เครื่องมือวัด Hardness
Test วัดเเล้วเกิดความผิดพลาดส่งผลต่อตัวเลข Rockwell Hardness Number และ เครื่องมือวัด Hardness
Test มีความเก่า ทำให้วิเคราะห์ผลการทดลองช้าและอาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้
นราวิชญ์ สุนทราจารย์ 6410505043

วิจารณ์การทดลอง
1. ชิ้นงานควรหนาในระดับหนึ่ง โดยควรเป็นอย่างน้อย 10 เท่าของรอย
2. ชิ้นงานควรมีผิวเรียบสนิท เพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดการวัดที่ผิดพลาดจากผิวขรุขระ
3. การวัดค่า rockwell hardness no. จำเป็นต้องวัดหลายครั้งแล้วนำมาเฉลี่ย เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ
4. ในชิ้นงานโค้ง ต้องวางบน v-block เพื่อให้ง่ายต่อการวัด
5. ในชิ้นงานโค้งเราต้องบวกค่า correction กับ rockwell hardness no. ลงไปด้วย เนื่องจากความโค้ง
ส่งผลต่อผิวสัมผัสและการวัด
6. ชิ้นงานที่มีความอ่อนเกินไปจะวัดไม่ได้
7. ชิ้นงานที่แข็งเกินไป สามารถวัดได้แต่ไม่เหมาะสมที่จะเอาไปคำนวณเนื่องจากมีค่าเกินในตาราง
ปองพล ธนกฤติกาญจนา 6410505051

วิจารณ์ผลการทดลอง
ชิ้นงานที่ใช้ในการทดลองมีความแข็งในแต่ละจุดที่วัดไม่เท่ากัน และบางชิ้นงานมีความแข็งหรืออ่อนเกินไป
ซึ่งทำให้การทดลองค่าที่ได้จึงเกิดความคลาดเคลื่อนรวมทั้งไม่สามารถนำค่าที่ได้บางชิ้นงานมาใช้ได้อีกด้วย
พรรณกาญจน์ พิภักดี 6410505060

วิจารณ์ผลการทดลอง
เนื่องจากชิ้นงานที่ใช้ต้องมีขนาดและน้ำหนักและความแข็งที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ไม่งั้นจะส่งผลให้
ค่าที่ได้จากการทดลองไม่สามารถอ่านได้หรืออ่านได้ค่าที่มากเกิน อีกทั้งชิ้นงานที่ใช้ในการทดลองมีผิวที่ขรุขระหรือ
เป็นรูจากการทดลองซ้ำๆ ทำให้ค่าที่วัดผิดพลาดได้
พัชรพร บุญชุ่ม 6410505078

วิจารณ์การทดลอง
จากการทดสอบเพื่อหาค่าความแข็งแรงของโลหะทั้งสามชนิดนั้น แรงและตำแหน่งที่ใช้ในการทดสอบมีผล
กับค่าความแข็งแรงที่อ่านได้ โดยถ้าเราใช้แรงหมุนเพื่อให้หัวกดนั้นแรงจนเกินค่าที่ตัวเครื่องกำหนดไว้ จะทำให้
เครื่องไม่สามารถอ่านค่าความแข็งแรงและแสดงผลออกมาให้เราได้ ส่วนตำแหน่งของโลหะที่ทดสอบ ควรเปลี่ยน
ตำแหน่งทุกครั้งที่ทำการทดสอบเพื่อหาค่าเฉลี่ย Rockwell Hardness ของตัวโลหะนั้น เราจำเป็นที่จะต้องทำการ
ทดสอบหาค่าความแข็งแรงเป็นจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง เพื่อให้ค่าความแข็งแรงนั้นเป็นค่าเฉลี่ยและมี
ความแม่นยำมากขึ้น การเลือกใช้วัสดุที่จะทดสอบก็เป็นสิ่งสำคัญควรเลือกใช้วัสดุที่มีค่า HRC อยู่ในช่วงของตาราง
ที่เขากำหนดให้ เพื่อความสะดวกในการหาข้อมูล

You might also like