You are on page 1of 2

คําถามข้อที่ 2

การแทรกสอดของอิเล็กตรอนแบบสลิตคู่ (Two-slit Electron Interference)

การทดลองเรื่องการแทรกสอดของอิเล็กตรอนแบบสลิตคู่เกิดขึ้นครั้งแรกโดย Möllenstedt กับทีม, Merli-


Missiroli และ Pozzi ในปี ค.ศ. 1974 และ Tonomura กับทีม ในปี ค.ศ. 1989 ในการทดลองนี้ จุด S ซึ่งคือ
แหล่งกําเนิดอิเล็กตรอนแบบความยาวคลื่นเดียว (monochromatic electron point source) ยิงอนุภาคออกมา
อนุภาคจะวิ่งผ่านปริซึมคู่อิเล็กตรอน (electron biprism) ก่อน จากนั้นจึงไปตกกระทบบนฉากที่ใช้สําหรับสังเกต จุด S1
และ S2 คือแหล่งกําเนิดเสมือน (virtual sources) ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะ d เส้นลวดฟิลาเมนต์ (filament) ที่อยู่ใน
แผนภาพด้านล่างชี้เข้าหากระดาษ และเป็นเส้นลวดฟิลาเมนต์ที่บาง

ข้อที่ 2 หน้าที่ 1 จาก 2


ปริซึมคู่อิเล็กตรอน (electron biprism) ประกอบด้วยโครงตาข่ายทรงกระบอก โดยมีเส้นลวดฟิลาเมนต์ F อยู่ตรง
จุดศูนย์กลาง ระยะห่างระหว่างแหล่งกําเนิดอิเล็กตรอนและปริซึมคู่คือ ℓ และระยะห่างระหว่างปริซึมคู่กับฉากคือ L
(a) (2 คะแนน) ให้จุดศูนย์กลางของภาคตัดขวางวงกลมของเส้นลวดฟิลาเมนต์เป็นจุดกําเนิด O จงหา
ศักย์ไฟฟ้าที่จุด (x,z) ใดๆ ที่อยู่ใกล้กับเส้นลวดฟิลาเมนต์มาก ในรูปของ Va, a และ b
เมื่อ Va คือศักย์ไฟฟ้าที่ผิวของเส้นลวดฟิลาเมนต์, a คือรัศมีของเส้นลวดฟิลาเมนต์ และ b คือระยะห่าง
ระหว่างจุดศูนย์กลางของเส้นลวดฟิลาเมนต์และโครงตาข่ายทรงกระบอก โดยไม่ต้องคํานึงถึงภาพสะท้อน
ประจุ (mirror charges)

(b) (4 คะแนน) คลื่นระนาบอิเล็กตรอน (electron plane wave) ที่กําลังวิ่งเข้ามาหาปริซึมคู่ มีเวกเตอร์เลข


คลื่น (wave vector) เป็น kz ถูกปริซึมคู่ทําให้เบี่ยงเบนไป โดยออกแรงในแนวแกน x กระทําต่อ
อิเล็กตรอน จงหา kx เวกเตอร์เลขคลื่นในแนวแกน x ที่เป็นผลจากปริซึมคู่ โดยตอบในรูปของ e, vz, Va, kz,
a และ b
กําหนดให้ e คือประจุของอิเล็กตรอน, vz คือความเร็วของอิเล็กตรอนในแนวแกน z, (kx << kz)
โดยที่ = เมื่อ ℎ เป็นค่าคงตัวของพลังค์

(c) ก่อนออกจากจุดกําเนิด S อิเล็กตรอนถูกยิงและเร่งออกมาด้วยความต่างศักย์ V0 จงหาความยาวคลื่นของ


อิเล็กตรอน โดยตอบในรูปของมวล(นิ่ง) m, ประจุ e และ V0
(i) (2 คะแนน) แบบไม่ต้องคํานึงถึงผลของสัมพัทธภาพ และ
(ii) (3 คะแนน) เมื่อคํานึงถึงผลของสัมพัทธภาพ

(d) ในการทดลองของ Tonomura กับทีม


vz = c/2,
Va = 10 V,
V0 = 50 kV,
a = 0.5 m,
b = 5 mm,
ℓ = 25 cm,
L = 1.5 m,
h = 6.6 x 10-34 Js,
ประจุอิเล็กตรอน, −e = −1.6 x 10-19 C,
มวลอิเล็กตรอน, m0 = 9.1 x 10-31 kg,
และอัตราเร็วเสียงในสุญญากาศ, c = 3 x 108 ms-1
(i) (2 คะแนน) จงคํานวณหาค่าของ kx
(ii) (2 คะแนน) จงหาระยะห่างระหว่างริ้วแทรกสอดที่ปรากฏบนฉาก
(iii) (1 คะแนน) ถ้าคลื่นอิเล็กตรอนเป็นคลื่นทรงกลม แทนที่จะเป็นคลื่นระนาบ ระยะห่างระหว่างริ้ว
แทรกสอดจะมากกว่า หรือเท่ากับ หรือน้อยกว่า ริ้วแทรกสอดที่คํานวณได้ในข้อ (ii)
(iv) (2 คะแนน) จากข้อ (c) จงหาเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของความยาวคลื่นของอิเล็กตรอน ที่
เกิดจากการประมาณแบบไม่คิดเชิงสัมพัทธภาพ
(v) (2 คะแนน) จงหาค่า d ซึ่งคือระยะห่างปรากฏระหว่างสลิตคู่เสมือน (apparent double slits)

ข้อที่ 2 หน้าที่ 2 จาก 2

You might also like