You are on page 1of 39

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในการยับยั้ง

การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus

นพวรรณ สืบวัฒนพงษ์กุล เลขที่ 10


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

โรงเรียนสุรวิทยาคาร อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์


สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น ว30283
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในการยับยั้ง
การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus

นพวรรณ สืบวัฒนพงษ์กุล เลขที่ 10


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

โรงเรียนสุรวิทยาคาร อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์


สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น ว30283
สารบัญ
หน้า
สารบัญ ก
สารบัญตาราง ข
สารบัญภาพ ค
บทที่ 1 บทนา
1. ที่มาและความสาคัญ 1
2. คาถามวิจัย 2
3. วัตถุประสงค์ 2
4. สมมติฐานของการศึกษา 2
5. ขอบเขตของการศึกษา 2
6. นิยามศัพท์เฉพาะ 2
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ต้นทับทิม 4
2. แบคทีเรีย Staphylococcus aureus 8
3. การสกัดสารจากพืช 14
4. เทคนิคปลอดเชื้อ 20
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 25
บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน
1. วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 28
2. วิธีการดาเนินการทดลอง 29
3. การวิเคราะห์ข้อมูล 31
4. สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล 31
5. ปฏิทินการดาเนินการ 32
บรรณานุกรม 34
ประวัติผู้เขียน 36
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 ปฏิทินการดาเนินการ 32
สารบัญภาพ
หน้า
ภาพที่ 1 ต้นทับทิม ผลทับทิม 4
ภาพที่ 2 ใบทับทิม 5
ภาพที่ 3 ดอกทับทิม 6
ภาพที่ 4 ผลทับทิม
ภาพที่ 5 Staphylococcus aureus 8
ภาพที่ 6 ภาพถ่ายรังสีในผู้ป่วย chronic osteomyelitis บริเวณ
mid shaft of right humerus 11
ภาพที่ 7 แผนภาพแสดงการกลั่นด้วยน้าและไอน้า 15
ภาพที่ 8 ลักษณะของการสกัดแบบต่อเนื่องด้วยเครื่องมือ Soxhlet Extractor 18
ภาพที่ 9 เทคนิคสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ 20
ภาพที่ 10 เทคนิคการถ่ายเชื้อจากอาหารวุ้นผิวหน้าเอียงไปยังอาหารวุ้นผิวหน้า เอีย ง
22
หลอดใหม่
ภาพที่ 11 เทคนิคการถ่ายเชื้อจากจานเพาะเชื้อไปยังอาหารวุ้นผิวหน้าเอียงหลอดใหม่ 22
1

บทที่ 1
บทนำ
1.ที่มำและควำมสำคัญ
คนไทยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ เพราะส่วนมากนิยมรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก
อาหารทะเล อาหารหมักดอง และอาหารค้างคืน ซึ่งอาหารจาพวกนี้อาจมีการเจริญเติบโตของเชื้อ
เเบคทีเรียต่าง ๆ อยู่ หนึ่งในนั้นคือเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus เชื้อนี้จะปนเปื้อนใน
อาหารและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเมื่อทิ้งอาหารไว้ในอุณหภูมิห้อง และสร้างสารพิษออกมาในอาหาร ถ้า
รับประทานเข้าไปจะก่อโรคที่สาคัญ เช่น อาหารเป็นพิษและการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น และ
ในปัจจุบันประเทศทั่วโลกเริ่มให้ความสาคัญกับพืชสมุนไพรเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมยาต้านจุล
ชีพ เนื่องจากตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี อันตรายจากฤทธิ์ข้างเคียง ความเป็นพิษ
ของยาแผนปัจจุบัน รวมถึงพืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่ถูกใช้เกี่ยวกับการรักษาแผล และการรักษาโรคมา
ตั้งแต่สมัยโบราณ จึงได้มีการคิดค้นยาปฏิชีวนะจากสารสกัดจากพืชสมุนไพร เพื่อฆ่าหรือต้านการ
เจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในร่างกายและเนื่องจากปัญหาขยะเหลือทิ้งจากครัวเรือนและโรงงาน
อุตสาหกรรมการผลิตผักและผลไม้สามารถเกิดของเหลือทิ้งตลอดการผลิต เช่น เปลือกผลไม้บางชนิด
ที่ไม่สามารถรับประทานได้ ซึ่งมีสารประกอบทางชีวภาพ คุณค่าทางสารอาหาร รวมถึงพฤกษเคมีต่าง
ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเปลือกผักและผลไม้ ทางผู้จัดทาได้เล็งเห็นถึงเปลือก
ทับทิมซึ่งเป็นหนึ่งในขยะเหลือทิ้ง ประกอบกับงานวิจัยของพัชรินทร์ มีทรัพย์ และ สุวิชญา บัวชาติ
(2561) ที่ได้ศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัด 8 ชนิด โดยใช้ 95% เอทานอลเป็นตัวสกัด โดยมี
เปลือกทับทิมเป็นหนึ่งในสารสกัดสมุนไพรดังกล่าว พบว่า ในเปลือกทับทิมมีสารออกฤทธิ์อัลคาลอยด์
(Alkaloid) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ไกลโคไซต์ (Glycoside) ฟีนอล (Phenol) และแทนนิน
(Tannin) ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ (อุดมลักษณ์ และคณะ, 2552) ผู้จัดทาจึงมี
ความสนใจจะศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในการยับยั้งการเจริญเติบโต
ของเเบคทีเรีย Staphylococcus aureus ทีส่ กัดด้วยตัวทาละลายในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อ
เปรียบเทียบอัตราส่วนของตัวทาละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมที่ดี
ที่สุด กล่าวคือมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเเบคทีเรีย Staphylococcus aureus
สูงที่สุด เพื่อนาผลการศึกษาการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือก
กล้วยน้าว้าไปปรับใช้ในชีวิตประจาวันและนาไปใช้เป็นแนวทางเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ใน
อนาคต และสามารถลดขยะที่ใช้เวลาในการกาจัดนานอีกด้วย
2

2. คำถำมวิจัย
2.1 สารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในอัตราส่วน แตกต่างกันมีผลต่อการยับยั้งการ
เจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus หรือไม่ อย่างไร
3. วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำ
3.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในอัตราส่วนแตกต่างกัน
คือ 1:2 1:3 และ 1:4 ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
4. สมมติฐำนของกำรศึกษำ
สารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมซึง่ สกัดด้วยตัวทาละลายที่มีอัตราส่วน 1:2 (w/v) มี
ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ดีที่สุด
5. ขอบเขตของกำรศึกษำ
5.1 ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในการยับยั้งการเจริญเติบโต
ของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus
5.2 ตัวแปร
5.2.1 ตัวแปรต้น : ตัวทาละลายทีใ่ ช้ในการสกัดสารสกัดหยาบจากเปลือก
ทับทิมด้วยตัวทาละลายเอทานอล 95% ด้วยอัตราส่วน 1:2 1:3 และ 1:4
5.2.2 ตัวแปรตาม : ประสิทธิภาพของสารสกัดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ
แบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยวัดจากบริเวณใส
5.2.3 ตัวแปรควบคุม : 1) ระยะเวลาที่ใช้สกัดสาร
2) อุณหภูมิที่ใช้สกัดสาร
3) ปริมาณสารสกัดที่ใช้
4) อาหารที่ใช้เลี้ยงแบคทีเรีย
5) อุณหภูมิที่ใช้เลี้ยงแบคทีเรีย
6) ระยะเวลาในการบ่มแบคทีเรีย
3

5.3 สถานที่
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
5.4 ระยะเวลาในการดาเนินการ
กรกฎาคม 2565 - กรกฎาคม 2564
6. นิยำมศัพท์เฉพำะ
6.1 สารสกัดหยาบ หมายถึง สารสกัดเบื้องต้นจากสมุนไพรที่ยังไม่ถึงขั้นสาร บริสุทธิ์กรรมวิธี
การสกัดไม่ยุ่งยากซับซ้อน
6.2
4

บทที่ 2
เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากเปลือกทับทิมในการยับยั้งการเจริญเกิบโต
ของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ผู้ศกึ ษาได้ศกึ ษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหัวข้อ
ดังต่อไปนี้
1.ต้นเปลือกทับทิม
2.แบคทีเรีย Staphylococcus aureus
3.การสกัดสารจากพืช
4.เทคนิคปลอดเชื้อ
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ต้นเปลือกทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Punica granatum L. var. granatum
ชื่อสามัญ Pomegranate.
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE

ภาพที่ 1 ต้นทับทิม ผลต้นทับทิม


ที่มา: https://www.nanagarden.com/product/337984
1.1 ลักษณะทำงพฤกษศำสตร์
ไม้พุ่มขนาดกลางสูงประมาณ 2 - 5 เมตร เปลือกลาต้นสีเทาค่อนข้างเรียบ ส่วนที่เป็นกิ่งหรือ
ยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม ตามกิ่งก้านจะมีหนามแหลมใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงข้ามเป็นคู่
ลักษณะใบรูปยาวรีหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ และ
เป็นคลื่นบางช่วง ปลายใบเว้าบุ๋ม แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบเนียนค่อนข้างบาง ใบอ่อนสีแดง
ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อแบบช่อกระจุก ช่อหนึ่งๆ มีไม่เกิน 5 ดอก ตามปลายกิ่งและซอง
ใบ ดอกสีส้มแดง มีกลีบรอบกลีบดอกหนา โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายหลอดจักเป็นฟันเลื่อยแล
โค้งออก กลีบดอกมีประมาณ 5 - 7 กลีบ สีแดงหรือสีส้มปนแดง บางและย่นผล ลักษณะเป็นรูปทรง
ค่อนข้างกลม ผิวนอกหนาเกลี้ยงแข็งเป็นมัน
5

1.1.1 ใบของต้นทับทิม
ใบทับทิมจัดเป็นใบเลี้ยงคู่ แทงออกสลับใบ ใบมีลักษณะเรียวยาวเหมือนหอก โคนใบ
มนแคบ ปลายใบแหลมสั้น ใบเรียบมีสีเขียวเข้ม และมันวาวจากสาร cutin ที่เคลือบไว้ ใต้
ท้องใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน และจะเห็นเส้นใบได้ชัด ใบกว้างประมาณ 1-2 ซม. และยาว
ประมาณ 2.5-6 ซม.

ภาพที่ 2 ใบต้นทับทิม
ที่มา: https://pantip.com/topic/35183401

1.1.2 ดอกของต้นทับทิม
ดอกทับทิมเป็นดอกสมบูรณ์เพศ อาจออกเป็นช่อ 3-5 ดอก หรือ เป็นดอกเดี่ยว แทง
ออกบริเวณปลายยอดตรงง่ามกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 2-3 ซม. ดอกประกอบด้วยกลีบ
เลี้ยง 5-6 กลีบ มีรูปร่างคล้ายหม้อ และกลีบดอก 6 กลีบ ปลายกลีบแยกออกจากกัน ดอกมีหลายสี
เช่น สีขาว สีส้ม หรือ สีแดง ถัดมาตรงกลางเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน และเกสรตัวผู้จานวนมาก ดอก
สามารถผสมได้ในตัวเอง และผสมข้ามดอกจากต้นเดียวกันหรือคนละต้น มีระยะบานประมาณ 2 วัน

ภาพที่ 3 ดอกของต้นทับทิม
ที่มา : https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/44
6

1.1.3 ผลของต้นทับทิม
ผลทับทิมมีลักษณะกลม ขนาดผลประมาณ 8-10 ซม. เปลือกผลหนา ผิวเปลือกเกลี้ยง
และเป็นมันวาว ผลสุกมีเปลือกสีเหลืองอมแดงหรือบางพันธุ์มีสีแดงอมชมพู เมื่อสุกมาก เมล็ดด้านใน
จะขยายทาให้เปลือกปริแตก ภายในผลมีเมล็ดที่ถูกแบ่งเป็นช่องด้วยเยื่อสีครีมอมเหลือง จานวน 5
ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดจานวนมาก เมล็ดมีเนื้อหุ้มที่ฉ่าด้วยน้าหวาน รูปทรงสี่เหลี่ยม เนื้อนี้ใช้
รับประทาน มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อเมล็ดที่ยังไม่สุกมีสีขาวอมชมพู และเมื่อผลสุกจะมีสี
ชมพูอมแดงหรือแดงเข้ม ส่วนเมล็ดที่เอาเนื้อออกแล้วจะมีลักษณะยาวรี ทั้งนี้ หลังจากติดผลจนถึงผล
แก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน

ภาพที่ 4 ผลของต้นทับทิม
ที่มา: https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/44
1.2 สรรพคุณทำงยำ
1.2.1 เปลือกทับทิมนามาต้มน้าดื่ม ใช้ขับพยาธิ
1.2.2 กินเปลือกทับทิมสดหรือนาเปลือกมาต้มดื่ม ใช้แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
1.2.3น้าต้มเปลือกทับทิมใช้ดื่มรักษาโรคบิด
1.2.4 น้าต้มจากเปลือกใช้ดื่มรักษาอุจจาระเป็นเลือด
1.2.5 เปลือกนามาตาให้ละเอียด ใช้ทาประคบรักษาแผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง
และแผลอักเสบ ทาให้แผลแห้ง และหายเร็ว
1.2.6 เปลือกทับทิมบดนามาทารักษาโรคผิวหนัง
1.2.7 นาเปลือกทับทิมมาต้มน้า ใช้สาหรับอาบป้องกันโรคผิวหนัง
7

1.2.8 นาเปลือกทับทิมมาเคี้ยว ช่วยลดกลิ่นปาก และกาจัดแบคทีเรียที่ทาให้เกิดฟันผุ


1.2.9 ดอกนามาบดใช้อุดจมูกรักษาเลือดกาเดาออก
1.2.10 นาดอกมาบดใช้ประคบสาหรับสาหรับห้ามเลือด
1.2.11 สรรพคุณอื่นๆคล้ายกับเปลือกผลราก และลาต้น
1.2.12 นาราก และลาต้นมาต้มน้าดื่ม ใช้ขับพยาธิ
1.2.13 น้าต้มจากราก และลาต้นช่วยเป็นยาขับปัสสาวะ
1.2.14 น้าต้นจากทั้งสองส่วนช่วยแก้อาการกระหายน้าใบทับทิม
1.2.15 นาใบมาต้มน้าอาบสาหรับรักษาโรคผิวหนัง
1.2.16 นาใบมาบดใช้ประคบห้ามเลือด
1.2.17 น้าต้มจากใบหรือใช้ใบบดนามาสระผม ช่วยรักษารังแค และลดอาการคันศรีษะ
1.2.18 ใบบดนามาประคบรักษาแผลสด แผลติดเชื้อ ทาให้แผลหายเร็ว

1.3 ข้อมูลทำงเภสัจวิทยำของต้นทับทิม
1.3.1 สารสกัดจากน้าทับทิมลดการทางานของโปรตีนที่เป็นสาเหตุของการอักเสบอย่างมี
นัยสาคัญ และยังลดการสร้างสารก่อให้เกิดการอักเสบโดยเซลล์จากกระดูกอ่อนด้วย
1.3.2 ทาลายเซลล์มะเร็งหลอดอาหารและลาไส้ใหญ่ พบว่าเมื่อให้กรดเอลลาจิกกับ
สัตว์ทดลองที่ทาให้เกิดมะเร็ง สารดังกล่าวจะทาให้เซลล์มะเร็งถูกทาลายโดยกลไกการแตกตัวของตัว
มันเองได้
1.4 กำรใช้ประโยชน์จำกต้นทับทิม
1.4.1 เปลือกผลแก่ ตากแห้งรักษาอาการท้องร่วง ฝนกับน้าข้น ๆ กินวันละ 1-2 ครั้ง
กินมากเป็นอันตรายได้ หรือฝนกับน้าทาแก้น้ากัดเท้า
1.4.2 ราก ใช้ฆ่าพยาธิตัวตืด น้าทับทิม(จากเนื้อหุ้มเมล็ด) ใช้ลดความดันโลหิต ใช้
ร่วมกับบัวบก ลดภาวะโรคเหงือก
1.4.3 เมล็ดรับประทานได้ ใช้ยอดอ่อนประกอบพิธีสาคัญทางศาสนา
1.4.4 เปลือกรากนามาตากแห้งต้มน้ากินเป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด
1.4.5 เปลือกต้นมีแทนนินและกรดกลูโลแทนนิก (glullotannic acid) มีสรรพคุณแก้
ท้องร่วง ช่วยถ่ายพยาธิ แต่ไม่ควรกินในปริมาณมาก เพราะจะทาให้เวียนศีรษะ คลื่นไส้และใจสั่น -
เปลือกผลสดๆ มาต้มกับน้า 1 แก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย ใช้อมกลั้วคอตอนเช้าและก่อนนอน ช่วยแก้ปวด
ฟัน เหงือกบวม และเจ็บคอ หรือบดเป็นผลต้มน้าดื่มแก้ท้องเสียและบิดเรื้อรัง หรือผสมกับน้ามันพืช
ใช้ทาแผลไฟไหม้น้าร้อนลวก หรือใช้ทาแก้น้ากัดเท้า
8

1.4.6 ยอดใบสดนามาต้มน้า 2 แก้ว ร่วมกับกะเพราอย่างละ 7 ยอด ใช้ดื่มแก้ท้องร่วงได้ น้า


คั้นจากเนื้อผลช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกาย ใช้เป็นเครื่องมือสาหรับผู้ที่กาลังฟื้นไข้ แก้อาการ
คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยบารุงสายตา หัวใจ ไต และลดความดันโลหิต ดื่มหลังอาหาร ช่วยบรรเทา
อาการท้องอืดเฟ้อได้
9

2.1 แหล่งอาศัย
พบในอากาศ ฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย ทางเดินหายใจ ลำคอ หรือ เส้นผม ผิวหนัง
ทางเดินปัสสาวะและบาดแผล โดยทั่วไปพบการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้ปริมาณต่ำในอาหารที่ผลิตมาจาก
สัตว์ หรืออาหารที่มีการสัมผัสจากคน
2.2 สภาวะการเจริญ
เจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 6-64 องศาเซลเซียส pH 4.0-10.0 แต่เจริญได้ดีที่ 35-40
องศาเซลเซียส pH 7.0-7.5 วอเตอร์แอคทิวิตี (water activity, aw) อยู่ในช่วง 0.85-0.99 สามารถ
ทนเกลือสูงถึง 15-18% และทนต่อการฉายรังสี (food irradiation)
2.3 การสร้างสารพิษ
สร้างสารพิษ enterotoxin ที่อุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส สร้างได้ดีที่อุณหภูมิ
40 องศาเซลเซียส สารพิษทนความร้อนได้สูงถึง 143.3 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่
ชนิด A, B,C1, C2, C3, D, E และ H โดย A และ D เป็นชนิดที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษบ่อย แต่ไม่ใช่
ทุกสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ
2.4 การก่อโรค
การบริโภคอาหารที่มีสารพิษเพียงน้อยกว่า 1 ไมโครกรัม สามารถทาํให้ผู้ บริโภคเกิด
อาหารเป็นพิษ Stapyhloenterotoxicosis และ Staphylorenterotoxemia โดยสร้างสารพิษเมื่อมี
เชื้อเจริญอยู่100,000เซลล์ต่อกรัม ในอาหารการตรวจไม่พบ หรือพบเชื้ อปริมาณเล็กน้อยในอาหาร
ไม่ได้หมายความว่าอาหารปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากถ้ามีเชื้ อปนเปื้อนอยู่ในอาหารระหว่างข้นั
ตอนการผลิตจนสามารถสร้างสารพิษได้ เมื่อผ่ านกระบวนการผลิต ปริมาณเชื้อจะลดลงจนมีปริมาณ
น้อยและอาจตรวจไม่พบ แต่สารพิษยั งคงอยู่ ดังนั้นการผลิตอาหารจึงต้ องมีการควบคุมสุขลกัษณะ
การผลิตให้ดพี อ
2.5 อาการทางคลินิกและภาวะแทรกซ้อน
Staphylococcus aureus ทำใหเกิดอาการทางคลินิกหลากหลาย อาจจัดเป็นกลุ
มได้ดังต่อไปนี้
2.5.1 การติดเชื้อในตำแหน่งที่อยู่ตื้น
ได้แก การติดเชื้อที่ผิวหนังและชั้นใตผิวหนัง, ที่ตอมน้ำเหลือง, ตอมน้ำลายพา
โรติด และการติดเชื้อที่แผล เป็นตน อาการเริ่มด้วยมีการอักเสบเฉพาะที่ ได้แก มีลักษณะปวด, บวม
แดง, ร้อน สวนใหญ่ไม่ค่อยมีไขและไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อน แต่ในผู้ป่วยบางรายถามีการอักเสบเป็น
วงกว้างอาจจะมีไขได้ เชน cellulitis หรือ pyomyositis บางครั้งมีลักษณะเป็นฝหนอง และในผู้ป่วย
บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่ S. aureus เขาสู่กระแสเลือดหรือสร้างท็อกซิน นอกจากนี้
S. aureus สามารถทำใหเกิด necrotizing fasciitis ได้ ซึ่งลักษณะการอักเสบเฉพาะที่ จะรุนแรง มี
อาการปวดมาก, มีการทำลายเนื้อเยื่อและเชื้อสร้างท็อกซิน จนนำไปสู่ภาวะช็อก จำเป็นตองใหการ
รักษาด้วยการผาตัดและใหยา
2.5.2 การติดเชื้อโดยแพรกระจายทางกระแสเลือด
การที่เชื้อ S. aureus เข้าสู่กระแสเลือดทำใหเกิดโรคที่อวัยวะต่าง ๆ อาการ
แสดงจะแตกต่างออกไปตามระบบอวัยวะนั้น ๆ แต่ลักษณะโดยรวมที่พบคือผู้ป่วยมีไขสูง, ปวดเมื่อย
10

ตามตัว, ปวดทอง และคลื่นไสอาเจียน บางรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบแบคทีเรียในเลือดจะมี


อาการของ systemic inflammatory response หรือมีภ าวะเซพสิส ร่ว มด้ว ย ผู้ป ่ว ยจะมีอาการ
หายใจถี่, หัวใจเต้นเร็ว, ตรวจพบเม็ดเลือดขาวต่ำหรือสูงกวาปกติ, มีเกล็ดเลือดต่ำ และพบภาวะ DIC
ได้ หากเชื้อ S. aureus ลุกลามจะมีอาการอื่น ๆ ตามมา เชน
2.5.2.1 ลิ้นหัวใจอักเสบ (Infective endocarditis-IE)
S. aureus ทำใหเกิดลิ้นหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Acute IE) นอกจาก
อาการทั่วไปข้างต้นแลว ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ซึ่งอาจเกิดจากภาวะหัวใจลมเหลว หรือ
pulmonary emboli ถาเป็นที่หัวใจดานขวาการตรวจร่างกายอาจจะพบ cardiac murmur จากลิ้น
หัวใจรั้ว และตรวจพบลักษณะของ septic emboli ที่ผิวหนังหรือเยื่อบุ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ
ทางระบบประสาท เชน hemiplegia จาก septic emboli ไปยังสมอง
2.5.2.2 เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมีหนอง (Purulent pericarditis)
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตรง precordial, เหนื่อย, เมื่อตรวจร่างกายอาจ
ได้ยินเสียง friction rub หรือได้ยินเสียงหัวใจเบาลง, เห็นภาพรังสีมีหัวใจโต และมีภาวะแทรกซ้อนที่
รุนแรงคือ cardiac tamponade
2.5.2.3 ปอดอักเสบ
โดยทั่วไปแยกไม่ได้จากปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดอื่น แต่
S. aureus pneumonia มักจะอาการรุนแรง มีการทำลายเนื้อปอดมาก (Necrotizing pneumonia)
อาจเห็นลักษณะโพรงหรือถุงลมในภาพรังสีปอด มีภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่คือเป็นฝในปอด และเป็น
หนองในชองเยื่อหุ้มปอดได้บ่อย
2.5.2.4 ข้ออักเสบ
S. aureus เป็นสาเหตุของขออักเสบเฉียบพลันได้มากที่สุด ผู้ป่วยจะ
มีอาการปวดและอักเสบบริเวณขอที่เป็นอย่างรุนแรง สวนใหญ่เกิดที่ข้อขนาดใหญ่ มักเป็นขอเดียว แต่
อาจจะเป็นหลายตำแหน่งได้โดยเฉพาะในเด็กทารก บางครั้งพบร่วมกับการติดเชื้อแบบแพรกระจายที่
ตำแหน่งอื่นด้วยโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้ป่วยภูมิคุมกันบกพรอง
2.5.2.5 กระดูกอักเสบ
แบงเป็ น ชนิด เฉี ยบพลัน และเรื้ อ รัง โดยชนิ ดเฉีย บพลั น (Acute
osteomyelitis) มักพบในเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่มีการติดเชื้อ S. aureus ในกระแสเลือด มีอาการทาง
systemic ร่วมกับอาการปวดและไม่ค่อยขยับตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ภาพรังสีจะเห็นความผิดปกติ
ของกระดู ก หลั ง จากการติ ด เชื ้ อ 2-3 สั ป ดาห แล ว ส วนการติ ด เชื ้ อ ชนิ ด เรื ้ อ รั ง (Chronic
osteomyelitis) มักมีอาการทาง systemic น้อย แต่จะมีการทำลายเฉพาะที ่ เชน มีห นองหรื อ
ชิ้นส่วนของกระดูกที่ถูกทำลาย อาจกลายเป็น fistula tract
นอกจากนี้ S. aureus อาจทำใหเกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ ได้ แต่
จะไม่ทำใหเกิดการอักเสบที่เยื่อหุ้มปอด เว้นแต่มีสิ่งแปลกปลอม เชน venticuloperitoneum shunt
11

ภาพที่ 6 ภาพถ่ายรังสีในผู้ป่วย chronic osteomyelitis บริเวณ mid shaft of right humerus


ที่มา: https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_571_2/
Orhopaedic_infection/index3.html

2.5.3 โรคที่เกิดจากท็อกซิน
2.5.3.1 Staphylococcal scalded skin syndrome (SSSS)
เกิ ด จาก epidermolytic toxin ของ S. aureus ที ่ ก ระจายไปยั ง
ผิวหนังทั่วร่างกายทำใหผิวหนังลอกหลุดเป็นแผ่น พบเฉพาะในเด็กเล็ก น้ำในตุ มจะใสและไม่มีเชื้ออยู่
อาจจะมีไข, อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามตัว กรณีที่ท็อกซินเกิดขึ้นเฉพาะที่ในทารกซึ่งมี anti-toxin
Antibody จากมารดา จะมีตุ่มและผิวหนังลอกเฉพาะที่ ตรวจพบเชื้อในตุ มน้ำ เรียกวา Bullous
impetigo
2.5.3.2 Staphylococcal toxic shock syndrome
เกิดจาก TSST-1 ถ้าเป็นชนิดที่สัมพันธกับการใชผาอนามัยแบบสอด
จะเกิดอาการใน 1-2 วันหลังจากมีประจำเดือน หรือเกิดหลังจากการติดเชื้อ S. aureus ที่ตำแหน่งอื่น
เชน เล็บขบ และแผลผาตัด ซึ่งบริเวณที่ติดเชื้อเองมักจะไม่ค่อยมีการอักเสบ เชื่อว่าท็อกซินสามารถ
สกัดกั้นเม็ดเลือดขาวไม่ใหมาที่ตำแหน่งที่ติดเชื้อได้ อาการที่สำคัญคือ ไขสูง, มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ,
ความดันโลหิตต่ำ และมีอาการที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เชน คลื่นไสอาเจียน, ทองเดิน, กล้ามเนื้ออักเสบ,
การทำงานของไตลดลง, ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปสสาวะ, เกร็ดเลือดต่ำ และมีการทำงานของตับ
ผิดปกติ
2.6 การตรวจสอบเชื้อในอาหาร
โดยทั่วไปตรวจด้วย 2 วิธี คือ
2.6.1 Direct plating technique แ บ บ Pour plate แ ล ะ Surface spreading
เหมาะสำหรับการตรวจในอาหารทั่งไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป ซึ่งโคโลนีที่เกิดบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
จากการ Surface spreading จะแสดงลักษณะของเชื้ อชัดเจนกว่าโคโลนีที่เกิดจากการ Pour plate
การทดสอบทำโดยการทำ dilution ตั ว อย่างตามระดั บที่ ต้ อ งการแล้ว ทำการ Pour plate หรือ
Surface spreading ด้วย Baird-Parker agarแล้วนับจำนวนโคโลนีที่มีลักษณะของ S. aureus
12

2.6.2 Most probable number (MPN) technique แบบ 3 และ 5 tubes เหมาะ
สำหรับการตรวจใน raw food ingredients หรืออาหารมีการปนเปื้อน S. aureus ปริมาณน้อย หรือ
มีจุลินทรีย์เจริญแข่งขันอยู่มาก การตรวจสอบเชื้อเริ่มจากการทำ dilutions เติมลง Trypticase soy
broth ที่มี NaCl 10% dilution ละ 3 หรือ 5 หลอด จากนั้น steak เชื้อจากหลอดที่มีการเจริญลง
Baird-Parker agar
ใช้อุณหภูมิในการบ่มอาหารเลี้ ย งเชื้อ Trypticase soy broth และ Baird-
Parker agar ที่ 35-37องศาเซลเซียส นาน 48 ชม. ซึ่ง Baird-Parker agar มีองค์ประกอบที่ส ำคัญ
คือ
2.6.2.1 Peptone, beef extract และ yeast extract เป็นแหล่ง nitrogen,
carbon, sulfur, vitamins และ trace mineral ใช้ในการเจริญเติบโตของเชื้อ
2.6.2.2 Sodium pyruvate ช่ว ยส่งเสริมการเจริญของ S. aureus โดยไม่
ทำลาย selectivity ของอาหารเลี้ยงเชื้อ
2.6.2.3 Tellurite เป็นพิษต่อเชื้ออื่นที่สามารถย่ อย egg yolk ได้ และทำให้
โคโลนีของเชื้อมีสีดำ
2.6.2.4 Egg yolk ช่วยในการเจริญและในการคัดแยกโคโลนีของ S. aureus
โดย S. aureus ที ่ ส ร้ า ง lecithinase จะย่ อ ย lecithin ใน Egg yolk ทำให้ ไ ด้ diglycerides ที ่ ไ ม่
ละลายน้ำและตกตะกอนทำให้เกิดบริเวณขุ่น รอบโคโลนีและปฏิกิริยา Proteolysis ย่อยโปรตีนทำให้
เกิดบริเวณใสรอบนอกโคโลนี
2.6.2.5 Glycine และ Lithium chloride ยับยั้งการเจริญของเชื้ออื่น
โดยลักษณะของ S. aureus บน Baird-Parker agar มีลักษณะกลม นูน ผิว
เรียบชื้น ขนาด 2-3 มล. สีเทาดำ โดยทั่วไปจะมีบริเวณขุ่นรอบโคโลนีและมีบริเวณใสรอบนอกบริเวณ
ขุ่นอีกชั้น ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวไม่เกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ non-lipolytic strains และเชื้อที่
คัดเลือกได้จากอาหารแช่แข็งและเก็บไว้นานอาจมีโคโลนีที่จางกว่าปกติ เลือกโคโลนที่มีลักษณะ
ดังกล่าวมาทดสอบ Coagulase test ซึ่งเป็นการทดสอบการสร้างเอนไซม์ที่ทำให้ fibrinogen ใน
plasma เปลี่ยนเป็น fibrin แล้วเกิดการแข็งตัว โดยใช้ plasma with EDTA เป็นตัวทดสอบ ซึ่ง S.
aureus สายพันธุ์ที่สร้าง enterotoxin ส่วนใหญ่สร้างเอนไซม์ Coagulase และให้ผลการทดสอลเป็น
บวกหรือเกิดการแข็งตัวของ plasma
2.7 การวินิจฉัย
การวินิจฉัยทำได้โดยการแยกเชื้อที่ได้จากตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ เช น ตุ่มหนองที่
ผิวหนัง, หนองจากขอกระดูก หรือจากอวัยวะต่าง ๆ เชน เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มหัวใจ, ฝในตับ, หรือ
อวัยวะอื่น ๆ การตรวจเบื้องตนที่สำคัญคือการยอมสีแกรม แต่การที่ยืนยันได้จริง ๆ คือการเพาะเชื้อ
เชื้อแบคทีเรีย S. aureus เติบโตได้ดีทั้งใน blood agar และ liquid media เชน Mueller-Hinton
broth เชื้อขึ้นเร็วในเวลา 18-24 ชั่วโมง สำหรับโรคที่เกิดจากท็อกซินนั้น การวินิจฉัยอาศัยอาการทาง
คลินิกร่วมกับการตรวจหาเชื้อจากตำแหน่งที่สงสัยเนื่องจาก S. aureus ที่สรางท็อกซิน อาจจะอาศัย
อยู่โดยไม่กอโรค การตรวจเชื้อที่สร้างท็อกซินอย่างเดียวจึงไม่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้
13

การแยกเชื้อสามารถดูจากลักษณะทางกายภาพ (Phenotypic tests) ซึ่งทำในหอง


ปฏิบัติการสวนใหญ่ ได้แก การตรวจ Coagulase ใหผลบวก และตรวจ Agglutination test ให
ผลบวก เป็นการตรวจคุณสมบัติของ surface proteins ต่าง ๆ ที่สามารถทำใหมี agglutination ซึ่ง
พบเฉพาะใน S. aureus ไม่พบใน Staphylococci อื่น ๆ
การติดเชื้อ S. aureus ชนิดลุกลามควรเพาะเชื้อจากเลือดด้วยเสมอ และควรทำ
อย่างน้อย 2 ครั้ง โดยไม่จำเป็นตองรอตรวจครั้งที่ 2 หรือรอตรวจตอนมีไขก่อนที่จะใหยาต้านจุลชีพ
โดยทั่วไปภาวะ IE มักจะตรวจพบเชื้อจากเลือด ในขณะที่ปอดอักเสบพบเชื้อจากเลือดได้น อยกวา
ร้อยละ 50 และพบเชื้อจากเลือดประมาณครึ่งหนึ่งสำหรับการติดเชื้อจากกระดูกและขอ การศึกษา
เด็กที่มีการติดเชื้อเฉียบพลันจากกระดูกและขอ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแหงชาติมหาราชินี ระหว่างปี
พุทธศักราช 2539-2549 สามารถตรวจยืนยันเชื้อสาเหตุได้ร้อยละ 80 ในจำนวนนั้นสามารถตรวจพบ
เชื้อจากเลือดได้ร้อยละ 44 และเชื้อสาเหตุเกิดจาก S. aureus ร้อยละ 65 โดยเป็น MSSA และ
MRSA ร้อยละ 47 และ 18 ตามลำดับ เมื่อแยกเชื้อได้ควรตรวจหาความไวต่อยาต้านจุลชีพ ห อง
ปฏิบัติการทั่วไปมักจะใชการตรวจด้วย Agar diffusion เชน Kirby-Bauer และ E-test
2.8 การรักษา
โรคติดเชื้อ S. aureus ทั้งการติดเชื้อในตำแหน่งที่อยู่ตื้น และการติดเชื้อลุกลามเป็น
โรคที่พบบ่อย ทำใหในประเทศที่มีอุบัติการณของ MRSA สูงทั้ง HA-MRSA และ CA-MRSA มีปญหา
ในการรักษา คือไม่ สามารถใช cloxacillin หรือยาอื่นในกลุ่มเบตาแลคแตมได้ แนวทางการรักษา
สำหรับการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ (Skin and soft tissue infection, SSTIs) ในประเทศเหลานี้
จึงมุงไปที่การเจาะดูดเอาหนองออกและใชยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยเฉพาะกลุม
ยาที่ใช้ในเด็กอายุเกิน 7 ปี ได้แก่ trimethoprimsulfamethoxazole (TMP/SMX),
clindamycin, doxycycline และ linezolid ถ้าตองการครอบคลุมเชื้อ Streptococcus group A
ด้ ว ย อาจเลื อ ก clindamycin หรื อ linezolid อย่ า งเดี ย ว หรื อ TMP/SMX หรื อ doxycycline
ร่วมกับยากลุ่มเบตาแลคแตม เชน amoxicillin ในเด็กที่เป็น impetigo หรือแผลติดเชื้อไม่มาก อาจ
เลือกใชยาทา 2% mupirocin ointment26 แต่สำหรับประเทศไทยยังคงเลือกใช cloxacillin เป็น
ทางเลือกแรกสำหรับการติดเชื้อที่ไม่ได้เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ในการติดเชื้อ SSTIs ที่มีภาวะแทรกซ้อนและตองนอนโรงพยาบาล ในประเทศที่มี
CA-MRSA ยาที่เลือกใช ได้แก vancomycin, linezolid หรือ clindamycin ในกรณีที่อุบัติการณของ
การดื้อต่อยา clindamycin น้อยกว่าร้อยละ 10
สำหรับการติดเชื้อชนิดลุกลาม สามารถใช้ยาได้หลายชนิด ทั้งนี้ต้องรักษาร่วมกับ
พยายามเจาะดูดหนองออก ไม่ว าจะเป็นการติดเชื้อในตำแหน่งใด และ/หรือการเอาสิ่งแปลกปลอม
ออกสำหรับการติดเชื้อ S. aureus เสมอ อย่างไรก็ตามข้อพิจารณาสำหรับประเทศไทยคือ ยังไม่มี
รายงานผู้ป่วยพิสูจน์ ยืนยัน CA-MRSA ดังนั้น cloxacillin ยังคงเป็นทางเลือกแรกสำหรับผู้ป่วยที่
ติดเชื้อมาจากชุมชน นอกจากนี้ในกรณีที่ทราบผลความไวว่าเป็น MSSA ควรใช้ cloxacillin รักษา
เนื่องจากเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาการติดเชื้อ S. aureus ชนิดลุกลาม และเป็นการลด
การเกิดเชื้อดื้อยา vancomycin และ clindamycin11
14

สิ่งหนึ่งที่ต องปฏิบัติเสมอสำหรับการควบคุมการแพรกระจายของ S. aureus คือ


การปองกัน เนื่องจากการติดเชื้อจากการสัมผัสโดยทางตรงและทางออม ดังนั้นมาตรการที่ดีที่สุดคือ
การลางมือ โดยผู้ที่จะนําพาเชื้อที่สำคัญคือ บุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นจะตองล้างมือก่อนและหลัง
สัมผัสผู้ป่วย มาตรการอื่น ๆ ได้แก การใส่เสื้อกาวน, การใส่ถุงมือ เป็นตน

3. การสกัดสารจากพืช
ปัจจุบ ัน การนำสมุน ไพรมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร, เครื่องดื่ม ,
เครื่องสำอาง, ยารักษาโรค และได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติที่เฉพาะตัวของ
สารออกฤทธิ์ (Active Compound) หรือสารสำคัญในพืชสมุนไพร ด้วยเหตุนี้การสกัดสารสำคัญออก
จากพืชสมุนไพรจึงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร อีกทั้งในพืช
สมุนไพรหนึ่งชนิด ประกอบด้วยสารสำคัญหลายกลุ่ม จึงจำเป็นต้องเลือกวิธีหรือเทคนิค ในการสกัด
สารสำคัญออกจากพืชสมุนไพรให้เหมาะสม

หลักการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรมี 2 แบบหลัก ๆ คือ การกลั่น (Distillation) ที่ใช้


หลักการของการระเหยของสารสำคัญและการพาของน้ำหรือไอน้ำ และการสกัดด้วยตัวทำละลาย
(Solvent Extraction) ที่ใช้หลักการของการละลายของสารสำคัญในตัวทำละลาย ในการพิจารณา
เลือกตัวทำละลาย และเทคนิคต่าง ๆ ในการสกัดด้วยตัวทำละลายซึ่งนิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ การ
สกัดแบบชงแบบอินฟิวชัน (Infusion), การสกัดแบบชงแบบเพอร์โคเลชั่น (Percolation), การสกัด
แบบต่ อ เนื ่ อ ง (Soxhlet Extraction), การสกั ด แบบหมั ก (Maceration), การสกั ด โดยใช้ ไ ขมั น
(Enfleurage), การสกัดสารด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด (Supercritical Fluid Extraction), การสกัด
ด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave-Assisted Extraction; MAE) และการสกัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่
สูง (Ultrasound Assisted Extraction; UAE)
3.1 การกลั่น
การกลั่น เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการสกัดสารสำคัญที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ
และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ โดยเฉพาะกับการสกัด "น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" จากส่วนต่าง ๆ
ของพืช ไม่ว่าจะเป็นราก, ลำต้น, ใบ, ดอก และเปลือกของผลที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบ
สำหรับการสกัดใช้หลักการทำให้สารสำคัญหรือน้ำมันหอมระเหย ระเหยเป็นไอและควบแน่นเป็น
ของเหลวโดยใช้น้ำร้อนหรือไอน้ำร้อนพาน้ำมันหอมระเหยออกมาจากพืชสมุนไพร โดยน้ำหรือไอน้ำจะ
แทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของพืช ความร้อนจะทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอปนมากับน้ำ ร้อน
หรือไอน้ำ และถูกส่งไปตามท่อและผ่านระบบหล่อเย็น จากนั้นน้ำมันหอมระเหยและไอน้ำจะควบแน่น
กลายเป็นของเหลว โดยของเหลวที่ได้สามารถแยกชั้นเป็นสามส่วนด้วยกัน คือ น้ำมันหอมระเหยอยู่
ส่วนบน น้ำจะอยู่ส่วนล่าง สำหรับส่วนกลางเป็นส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยและน้ำ (Hydrosol)
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากกระบวนการกลั่น ถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีสารสำคัญที่ให้
ความหอมเป็นองค์ประกอบหลัก ในขณะที่ของผสมของน้ำมันหอมระเหยและน้ำ ถือเป็นผลิตภัณฑ์
พลอยได้ที่มีความเข้มข้นของสารสำคัญที่ให้ความหอมต่ำ และมีสารสำคัญที่สามารถละลายได้ในน้ำ
เป็นองค์ประกอบหลัก แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์พลอยได้ดังกล่าวยังคงมีกลิ่นหอมเช่นเดียวกับน้ำมัน
15

หอมระเหยหรือผลิตภัณฑ์ห ลัก สำหรับการแยกผลิตภัณฑ์ห ลัก , ผลิตภัณฑ์พลอยได้ และน้ำนั้น


สามารถทำได้โดยใช้หลักการของความแตกต่างของความหนาแน่นของสาร กล่าวคือน้ำมันหอมระเหย
จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าของผสมของน้ำมันหอมระเหยและน้ำ จึงทำให้ลอยอยู่ด้านบนโดยมีชั้น
ฟิล์มคั่นระหว่างผลิตภัณฑ์ทั้งสอง และน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าจะอยู่ช่วงล่าง ทั้งผลิตภัณฑ์หลัก
และผลิตภัณฑ์พลอยได้นั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้หลายด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และ
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นำไปแต่งกลิ่นโดยผสมในโลชั่น หรือในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เป็นต้น
การเลือกชนิดของพืชมาสกัดน้ำมันหอมระเหยควรจะเลือกพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย
เป็นองค์ประกอบ และชนิดของน้ำมันหอมระเหยควรระเหยได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำ
ในกรณีที่น้ำมันหอมระเหยระเหยได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำ จะส่งผลให้น้ำมันหอมระเหยไม่
สามารถระเหยออกมาพร้อมกับไอน้ำได้ ทำให้ได้สารสกัดที่มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยต่ำ
เทคนิคการกลั่นน้ำมันหอมระเหย มี 3 วิธีหลัก ได้แก่
3.1.1 การกลั่นด้วยน้ำร้อน
การกลั่นด้วยน้ำร้อน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดของการกลั่นน้ำมันหอมระเหย การ
กลั่นโดยวิธีนี้เหมาะกับการกลั่นสกัดสารสำคัญที่ทนต่อความร้อนและไม่สลายตัวง่ายเมื่อให้ความร้อน
เป็นเวลานาน โดยภาชนะสำหรับกลั่นต้องจุ่มในน้ำเดือดทั้งหมด และต่อเข้ากับเครื่องควบแน่น
สำหรับข้อจำกัดของการกลั่นแบบนี้ คือระยะเวลาที่ใช้ในการกลั่นนานกว่าการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ
และการกลั่นด้วยไอน้ำโดยตรง
3.1.2 การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ
การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ เป็นเทคนิค การกลั่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการ
ผลิตน้ำมันหอมระเหยทางการค้า มีหลักการโดยใช้ตะแกรงรองพืชสมุนไพรที่จะกลั่นให้เหนือระดับน้ำ
ในหม้อกลั่น ต้มน้ำให้เดือด ไอน้ำจะลอยตัวขึ้นไปผ่านพืชที่จะกลั่น ซึ่งน้ำจะไม่ถูกกับพืช ไอน้ำจากน้ำ
เดือดเป็นไอน้ำที่อิ่มตัวที่ความดันบรรยากาศ (Atmospheric Pressure) จึงเป็นไอน้ำที่ไม่ร้อนจัด การ
กลั่นด้วยวิธีนี้ถือเป็นการกลั่น ด้วยวิธีที่สะดวกที่สุด คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยที่ได้ดีกว่าวิธีแรก
ส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจะไม่ไวต่อการย่อยสลาย และวิธีนี้ช่วยลดการเสื่อมสภาพจาก
ความร้อนของสารสำคั ญได้ดี แต่ต้องใช้เวลาในการสกัดที่นานกว่า สำหรับข้อจำกัดของวิธีการกลั่น
แบบนี้ คือต้องมีที่กันเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเดือดสัมผัสกับพืชสมุนไพร

ภาพที่ 7 แผนภาพแสดงการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ
ที่มา: http://202.44.34.85/index.php/kjournal/article/view/1368/1584
16

3.1.3 การกลั่นด้วยไอน้ำ
การกลั่นด้วยไอน้ำโดยตรง ทำได้โดยวางพืชอยู่บน ตะแกรงในหม้อกลั่น ซึ่งไม่
มีน้ำอยู่เลย ไอน้ำภายนอกอาจเป็นไอน้ำอิ่มตัว หรือไอน้ำร้อนจัดที่ความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ
ส่งไปตามท่อใต้ตะแกรงให้ไอผ่านไปถูกกับพืชบนตะแกรง ไอน้ำต้องมีปริมาณเพียงพอที่จะช่วยให้
น้ำมันระเหยออกมาจากพืชสมุนไพร พืชสมุนไพรบางชนิดอาจใช้ไอน้ำร้อนจัดได้ แต่บางชนิดต้องใช้
ไอน้ำอิ่มตัว น้ำมันจึงจะถูกปล่อยออกมา ข้อดีของการกลั่นด้วยวิธีนี้คือ สามารถกลั่นได้อย่างรวดเร็ว ,
ควบคุมปริมาณไอน้ำได้ง่าย ส่วนใหญ่นิยมใช้ในระบบขนาดใหญ่
จากหลักการที่ทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอและควบแน่นเป็นของเหลว
นี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคการกลั่นให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ได้คุณภาพของสารสกัดที่เพิ่มขึ้น และลด
ระยะเวลาการสกัดให้สั้นลง เช่น เทคนิคการกลั่นแบบ Instant Controlled Pressure Drop (DIC)
ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในหลาย ๆ อุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมัน
หอมระเหยด้วย โดยหลักการของเทคนิคการกลั่นแบบ DIC เป็นกระบวนการกลั่นสารสำคัญหรือ
น้ำมันหอมระเหยโดยตรง ด้วยการให้ไอน้ำร้อนจัดที่ความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ กับพืช
สมุนไพรที่สภาวะความดันสุญญากาศ (Vacuum Pressure) และปล่อยให้ไอน้ำร้อนจัดอยู่ที่อุณหภูมิ
คงที่นานประมาณ 20 นาที จากนั้นจึงลดความดันในระบบให้เป็นความดันสุญญากาศทันทีอีกครั้ง
เพื่อให้ไอน้ำร้อนจัดนั้นเกิดการระเหยโดยอัตโนมัติ (Autovaporization) ซึ่งจะพาน้ำมันหอมระเหย
ออกมาด้วย สำหรับเทคนิคดังกล่าว ปัจจุบันถูกนำไปประยุกต์ร่วมกับเทคนิคการสกัดอื่น เช่น การสกัด
สารด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด, เทคนิคสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ และการสกัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
เป็นต้น
3.2 การสกัดด้วยตัวทำละลาย
เทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลาย ใช้หลักการของการละลาย ฉะนั้นจำเป็นต้องทราบถึง
หลักการของการละลายความมีขั้ว (Polarity) ของทั้งตัวทำละลายและสารสำคัญ โดยสารสำคัญจะ
สามารถละลายในตัวทำละลายได้ก็ต่อเมื่อ ความเป็นขั้วของตัวสารสำคัญกับตัวทำละลายมีค่าใกล้เคียง
กัน (Like Dissolves Like) คือ ตัวถูกละลายที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูด
ระหว่างโมเลกุลมีขั้วเป็นแรงไดโพล-ไดโพล (Dipole-Dipole) ในทางตรงข้ามตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้วจะ
ละลายในตัว ทำละลายที่ ไม่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล ไม่มีขั้ว เป็นแรงแวนเดอวาลส์
(Van der Waals Force) เหมือนกัน ทั้งนี้ตัวทำละลายที่มีขั้ว ไม่เท่ากันจะมีความสามารถในการ
ละลายสารชนิ ด เดี ย วกั น ได้ ไ ม่ เ ท่ า กั น ซึ ่ ง ความมี ข ั ้ ว จะมี ค วามสั ม พั น ธ์ ก ั บ ค่ า คงที ่ ไ ดอิ เ ล็ ก ตริก
(Dielectric Constant) ของตัวทำละลาย กล่าวคือค่าคงที่ไดอิเล็กตริกที่อยู่ในช่วง 1 ถึง 20, ระหว่าง
20 ถึง 50 และ 50 เป็นต้นไป บ่งชี้ว่าตัวทำละลายนั้นไม่มีขั้ว , กึ่งมีขั้ว และมีขั้ว ตามลำดับ ฉะนั้น
ค่าคงที่ไดอิเล็กตริกนี้จึงสามารถบ่งชี้ถึงความเป็นขั้วของตัวทำละลายได้ในระดับหนึ่ง
การเลือกใช้ตัว ทำละลายให้เหมาะสมนั้น นอกจากจะสามารถละลายสารสำคัญที่
ต้องการสกัดได้ดีแล้วยังต้องไม่ระเหยง่ายหรือยากจนเกินไป, ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด, ไม่
เป็นพิษ และราคาไม่แพงมาก นอกจากการเลือกใช้ตัวทำละลายให้เหมาะสมแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ที่
เกี่ยวข้องกับการสกัด คือ ขนาดอนุภาคของสมุนไพรที่จะนำมาสกัด , สัดส่วนของสมุนไพรกับปริมาณ
ตัวทำละลายที่ใช้, อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการสกัด ตัวอย่างการเลือกตัวทำละลายเพื่อนำไปใช้ใน
17

การสกัดสารออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ เช่น สารสำคัญที่มีขั้ว ได้แก่ Alkaloids, Polyphenols, Tannins,


Saponins และ Lectins เป็นต้น สามารถละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น Methanol, Water
และ Acetone เป็นต้น และสารสำคัญที่ไม่มีขั้ว เช่น Terpenoids สามารถละลายได้ในตัวทำละลาย
ที่ไม่มีขั้ว เช่น Chloroform อย่างไรก็ตาม สารสำคัญชนิดเดียวอาจสามารถใช้ตัวทำละลายต่างชนิดได้
การสกัดด้วยตัวทำละลายมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีมีหลักการพอสังเขป ดังนี้
3.2.1 การสกัดด้วยตัวทำละลายแบบชง
การชงแบบอิน ฟิว ชัน เป็นการสกัดสารสำคัญโดยใช้ระยะเวลาช่วงสั้น ๆ
ร่วมกับการใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็น ซึ่งสารสำคัญควรมีคุณสมบัติในการสะลายน้ำได้ดี สำหรับการสกัด
แบบเพอร์โคเลชันเป็นการใช้เครื่องชง (Percolator) ทำได้โดยหมักสมุนไพรกับตัวทำละลายผ่าน
อุปกรณ์เครื่องชง และปล่อยให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรอย่างช้า ๆ พร้อมกับละลายสารสำคัญ
จากผงสมุนไพรออกมา สำหรับเครื่องชงมีลักษณะเป็นคอลัมน์ทรงกระบอกปลายเปิดทั้งสองด้าน โดย
ที่ปลายบนจะกว้างกว่าปลายล่างเพื่อสะดวกในการบรรจุผงสมุนไพร ส่วนปลายล่างมักจะต่อกับ
ท่อสายยางปิด-เปิดได้ เพื่อที่ได้เป็นระยะเวลาพอสมควร แล้วจึงปล่อยให้ตัวทำละลายไหลผ่านผง
สมุนไพรในอัตราเร็ว พอเหมาะพร้อมกับเติมตัว ทำละลายใหม่ผ่านลงเรื่อย ๆ จนองค์ประกอบที่
ต้องการในผงสมุนไพรละลายออกมาจนหมด โดยการตรวจสอบจากการสกัดสุดท้าย
3.2.2 การสกัดแบบต่อเนื่อง
การสกัดแบบต่อเนื่อง เป็นกระบวนการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรโดยการใช้
ความร้อน และตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำ เครื่องมือที่ใช้เป็นระบบปิดเรียกว่า Soxhlet Extractor
หลักการคือใส่ตัวทำละลายลงในขวดบรรจุตัวทำละลาย (Boiling Flask) และให้ความร้อนเพื่อให้
ตัว ทำละลายระเหยกลายเป็ น ไอไปตามช่ องสำหรับ ไอระเหย (Distillation Path) เพื่อให้ไ อของ
ตัวทำละลายระเหยขึ้นสู่ส่วนบนซึ่งต่อกับเครื่องควบแน่น (Condenser) จากนั้นไอของตัวทำละลาย
ถูกควบแน่นตกลงมาสู่ภาชนะที่บรรจุผงสมุน ไพรไว้ (Extraction Thimble) เมื่อตัว ทำละลายใน
Extraction Chamber เพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับกาลักน้ำ (Siphon Arm) ตัวทำละลายนั้นจะไหลกลับสู่
ขวดบรรจุตัวทำละลายด้านล่าง การสกัดจึงหมุนเวียนต่อเนื่องกัน วิธีนี้ทำให้ประหยัดตัวทำละลายและ
ทำให้ได้สารสกัดที่มีความเข้มข้นสูง อีกทั้งสมุนไพรจะไม่ถูกความร้อนสูงเท่ากับการต้มโดยตรง สำหรับ
ข้อจำกัด คือไม่เหมาะกับพืชสมุนไพรและสารสำคัญที่ไม่ทนความร้อน
18

ภาพที่ 8 ลักษณะของการสกัดแบบต่อเนื่องด้วยเครื่องมือ Soxhlet Extractor


ที่มา: http://202.44.34.85/index.php/kjournal/article/view/1368/1584

3.2.3 การสกัดแบบหมัก
หลั ก การการสกั ด แบบการหมั ก คื อ การแช่ ผ งสมุ น ไพรในตั ว ทำละลาย
จนกระทั่งตัวทำละลายแทรกซึมเข้าไปละลายสารสำคัญในผงสมุนไพรออกมา โดยระยะเวลาในการ
หมั ก หรื อ แช่ ผ งสมุ น ไพรในตั ว ทำละลายประมาณ 2-4 วั น หรื อ ตามกำหนดในเภสั ช ตำรับ หรือ
จนกระทั่งสารสำคัญที่ต้องกา ออกมาหมด หลังจากนั้นจึงกรองแยกกากสมุนไพรออกจากตัวทำละลาย
และปรับปริมาตรสารสกัดที่ต้องการ เช่น การสกัดสารสกัดหยาบจากใบฝรั่งพันธุ์เวียดนาม ที่ใช้
เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 เป็นตัวทำละลาย และใช้ระยะเวลาการหมัก 2-7 วัน ในขณะที่หมัก
ใบสาบเสือ ใช้ระยะเวลาการหมักเพียง 16-18 ชั่วโมง ด้วยตัวทำละลายเอทานอล สำหรับข้อดีของ
การสกัดแบบหมัก คือ เหมาะกับสารสำคัญที่ไวต่อความร้อน สำหรับข้อเสีย คือ ต้องกวนบ่อย , ใช้
ตัวทำละลายมาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
3.2.4 การสกัดโดยใช้ไขมัน
การสกัดโดยใช้ไขมัน เป็นวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม มักใช้กับดอกไม้กลีบบาง
เช่น มะลี, ซ่อนกลิ่น, ลั่นทม และกุหลาบ เป็นต้น โดยมีขั้นตอนตังนี้ คือ วางกลีบดอกไม้ลงบนไขมันที่
เกลี่ยไว้ แล้วตั้งทิ้งไว้ กลิ่นของดอกไม้จะละลายในไขมัน จากนั้ นเปลี่ยนดอกไม้ชุดใหม่ ทำซ้ำเช่นนี้
ประมาณ 7-10 ครั้ง จนกว่าไขมันจะอิ่มตัว หลังจากนั้นใช้ตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ สกัดกลิ่น
ออกจากไขมั น และระเหยตั ว ทำละลายออกที่ อ ุ ณ หภู ม ิ แ ละความดั น ต่ ำ จะได้ ห ั ว น้ ำ หอมที ่ มี
ความเข้มข้นมาก จากนั้นนำมาแช่เย็นเพื่อแยกส่วนที่เป็นไขออก จะได้หัวน้ำหอมที่บริสุทธิ์ขึ้น
3.2.5 การสกัดสารโดยใช้ของไหลวิกฤติยิ่งยวด
การสกัดสารโดยใช้ของไหลวิกฤติยิ่งยวด เป็นการสกัดสารที่อาศัยคุณสมบัติ
ของตัวทำละลายที่สภาวะวิกฤติ ซึ่งของไหลวิกฤติยิ่งยวดเกิดจากการเพิ่มความดันและอุณหภูมิให้สูง
กว่าจุดวิกฤติ (Critical Point) ของตัวทำละลายนั้น ๆ โดยของไหลวิกฤติยิ่งยวดมีความสามารถในการ
สกัดสารสำคัญออกจากพืชสมุนไพรได้ดี เนื่องจากตัวทำละลายดังกล่าวมีคุณสมบัติอยู่ระหว่าง
19

ของเหลวและแก๊ส คือ มีความหนาแน่นค่อนข้างสูงคล้ายของเหลวแต่จะมีความหนืดต่ำ ทำให้มี


ความสามารถในการแพร่เข้าไปในโครงสร้างของของแข็งได้ดี อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่สำคัญของ
วิธีการสกัดสารโดยใช้ของไหลวิกฤติยิ่งยวด คือต้นทุนของอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง ตัวทำละลายที่
สามารถใช้ เ ป็ น ของไหลวิ ก ฤติ ย ิ ่ ง ยวด ได้ แ ก่ คาร์ บ อนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide), เอทิ ลี น
(Ethylene), โพรเพน (Propane) และไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide) เป็นต้น
คาร์บอนไดออกไซด์ ถือเป็นตัวทำละลายที่รับความนิยมใช้มาก เนื่องจากมีค่า
อุณหภูมิและความดันวิกฤติที่ไม่สูงจนเกินไป , ไม่ไวไฟ, มีราคาถูก, ง่ายต่อการจัดหา, ไม่มีกลิ่น , รส
และไม่ ม ี ค วามเป็ น พิ ษ นอกจากนี ้ ไ ม่ ม ี ต ั ว ทำละลายเหลื อ ตกค้ า งอยู ่ ใ นส่ ว นที ่ ส กั ด ได้ เพราะ
คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายสถานะเป็นแก๊สที่สภาวะบรรยากาศภายหลัง จึงไม่มีปัญหาของการ
สลายตัวของสารที่สกัดได้อันเนื่องมาจากความร้อน และให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความบริสุทธิ์สูง
3.2.6 เทคนิคสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ
การสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟ เป็นวิธีการสกัดโดยใช้ คลื่นไมโครเวฟซึ่งเป็น
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในช่วง 3 x 102-3 x 105 เมกะเฮิรตซ์ และความยาวคลื่นอยู่ในช่วง
0.01-1.00 เมตร ร่วมกับตัวทำละลายอินทรีย์ในการสกัด ด้วยคุณสมบัติความเป็นขั้วของโมเลกุล
ภายในตัวทำละลายที่ใช้สกัด จะเกิดแรงต้านการเคลื่อนที่หรือเสียดสีกันทำให้เกิดความร้อนขึ้นซึ่งมีผล
ต่อเซลล์พืชและเกิดการสกัดสารสำคัญออกมา พบว่าที่ความถี่ 2,450 เมกะเฮิรตซ์ มีกำลังไฟฟ้าอยู่
ในช่วง 600-700 วัตต์ เป็นสภาวะที่นิยมใช้ในการสกัดในระดับห้องปฏิบัติการ สำหรับการสกัดโดยใช้
คลื ่ น ไมโครเวฟนี ้ พบว่ า มี ค วามสะดวกรวดเร็ ว สามารถลดช่ ว งระยะเวลาและปริ ม าณการใช้
ตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดได้ดี เช่น การสกัดสาร Ginsenosides จากโสม ด้วยคลื่นไมโครเวฟ จะใช้
เวลาเพียง 15 นาที และได้ผลผลิตมากกว่าการสกัดด้วยตัวทำละลายแบบเดิม (การสกัดแบบต่อเนื่อง)
ที่ใช้เวลานาน 10 ชั่วโมง สำหรับการสกัดสาร Caffeine และ Catechins จากใบชาเขียว (Green
Tea) เมื่อใช้เทคนิคการสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ พบว่าสามารถสกัดสารสำคัญได้ ในเวลาเพียง 4 นาที
เมื่อใช้เอทานอลและน้ำเป็นตัวทำละลาย สำหรับข้อจำกัดของเทคนิคนี้ คือ ไม่สามารถใช้ร่ว มกับ
ตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เฮกเซน เนื่องจากตัวทำละลายจะไม่สามารถดูดซึมพลังงานคลื่นไมโครเวฟ
ได้ จึงทำให้ไม่เกิดความร้อน
20

ภาพที่ 9 เทคนิคสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ
ที่มา: http://192.100.77.194/blog/sci-discus/17171

3.2.7 การสกัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
การสกัดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในช่วง 20
ถึง 100 กิโลเฮิร์ตซ์ เพื่อทำให้เกิดการสั่นสะเทือน หรือทำให้เกิดและสลายฟองอากาศขนาดเล็ก
จำนวนมากอย่างรวดเร็วในตัวทำละลาย จึงทำให้เกิดการสกัดและเกิดการปลดปล่อยสารสำคัญจาก
สมุนไพรออกมา ข้อดีของการสกัดวิธีนี้คือ ลดระยะเวลา, อุณหภูมิ, ลดขนาดของอุปกรณ์ลง และได้
ปริมาณสารสกัดสูงกว่าเมื่อเทียบกับการสกัดแบบหมักและการสกัดแบบต่อเนื่อง
4. เทคนิคปลอดเชื้อ
เทคนิคปลอดเชื้อเป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่สะอาด เพื่อให้จุลินทรีย์ที่เลี้ยงอยู่
เจริญได้ดี ไม่สัมผัสกับสิ่งอื่นจากภายนอก
4.1 หลักของเทคนิคปลอดเชื้อ
4.1.1 ต้องใช้อุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อแล้วในการทดสอบทุกครั้ง
4.1.2 ป้องกันการปนเปื้อนข้ามในขณะปฏิบัติงาน ทำได้ดังนี้
4.1.2.1 ล้ า งมื อ ก่ อ นและหลัง ปฏิ บ ัต ิง านทุ ก ครั้ ง และเช็ ด มือ ให้แ ห้งด้ว ย
กระดาษซับ ไม่ใช้ผ้าเช็ดมือ
4.1.2.2 ปิดฝาภาชนะบรรจุอยู่เสมอ เว้นแต่การถ่ายเชื้อ หรือถ่ายอาหารเลี้ยง
เชื้อ หากเปิดฝาต้องทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว
4.1.2.3 ต้องฆ่าเชื้อปากภาชนะที่เปิดทุกครั้ง อาจใช้เปลวไฟหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
(disinfectant) ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ปนเปื้อนลงไปในภาชนะที่เปิดอยู่
4.1.2.4 ใช้วิธีที่ลดการปนเปื้อน เช่น ใช้มือหรือนิ้วเปิดจุกและถือเอาไว้ หรือ
คีบด้วยนิ้ว โดยไม่ต้องวางจุกลงบนพื้นโต๊ะ
21

4.1.2.5 วัส ดุ และอุปกรณ์ซึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ต้องบรรจุในภาชนะปลอดเชื้อที่


สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากการสัมผัส กับมือใต้หรือภายนอกภาชนะบรรจุ รวมทั้งมีการ
ฆ่าเชื้อภาชนะหลังการใช้อย่างถูกวิธี
4.1.2.6 ป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองอากาศ ทำได้ดังนี้
4.1.2.6.1 เขย่าหลอดหรือขวดช้า ๆ
4.1.2.6.2 จุ่มปลายปิเปตต์ลงในของเหลวระหว่างการดูด และปล่อย
สารละลาย
4.1.2.6.3 จัดวางหลอดทดลองหรือภาชนะที่จะถ่ายเชื้อไว้ใกล้ ๆ กัน
เพื่อลดความเสี่ยงการหกหรือหล่นขณะปฏิบัติงาน
4.1.2.6.4 ใช้เข็มเขี่ยเชื้อ ซึ่งเผาไฟฆ่าเชื้อแล้วในการถ่ายเชื้อทุกครั้ง
แต่ต้องรอให้เย็นก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้จุลินทรีย์ที่ต้องการถูกทำลายไปด้วย
4.1.2.6.5 หากใช้เครื่องปั่นความเร็วสูง อย่าใส่ของเหลวจนเต็ม
4.1.2.7 เก็บหลอดทดลอง, จานเพาะเชื้อ และขวดต่าง ๆ ในภาชนะที่ป้องกัน
ไม่ให้เกิดการหกหรือล้มได้ง่าย
4.1.2.8 ปรั บ ทิ ศ ทางของลมจากเครื ่ อ งปรั บ อากาศไม่ ใ ห้ ต กใส่ บ ริ เ วณที่
ปฏิบัติงาน

4.1.2.9 จัดพื้นที่ในห้องปฏิบัติการให้เป็นสัดส่วน ทำได้ดังนี้


4.1.2.9.1 แยกส่วนเก็บของที่ฆ่าเชื้อแล้วกับส่วนเก็บของที่ยังไม่ฆ่า
เชื้อให้ชัดเจน และมีป้ายบอก
4.1.2.9.2 ทุกคนในห้องปฏิบัติการทราบถึงพื้นที่ส่วนต่าง ๆ เป็น
อย่างดี ไม่วางของปนกัน
4.1.2.9.3 ควรจัดพื้นที่ให้เหมาะต่อการทำงาน
4.1.2.10 ก่อนและหลังการปฏิบัติงานต้องเช็ดโต๊ะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเสมอ
22

ภาพที่ 10 เทคนิคการถ่ายเชื้อจากอาหารวุ้นผิวหน้าเอียง
ไปยังอาหารวุ้นผิวหน้าเอียงหลอดใหม่
ที่มา: http://elearning.psru.ac.th/courses/192/30_บทปฏิบัติการที% ่ 202.pdf

ภาพที่ 11 เทคนิคการถ่ายเชื้อจากจานเพาะเชื้อ
ไปยังอาหารวุ้นผิวหน้าเอียงหลอดใหม่
ที่มา: http://elearning.psru.ac.th/courses/192/30_บทปฏิบัติการที่%202.pdf
23

4.2 การควบคุมห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
4.2.1 กำหนดให้ห้องปฏิบัติการเป็นพื้นที่จำกัดเขต
เนื่องจากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาเป็นห้องที่ต้องควบคุมสภาวะแวดล้อมไม่ให้
เกิดการปนเปื้อน จึงจำเป็นต้องจำกัดเขตการเข้าของผู้ที่ปฏิบัติงานเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
4.2.1.1 ปิดประตูห้องปฏิบัติการอยู่เสมอ
4.2.1.2 ให้เจ้าหน้าที่เข้าได้เท่านั้น หากมีความจำเป็น เช่น เครื่องเสียหรือ
ชำรุด บุคคลภายนอกที่เข้ามาซ่อมแซมเครื่องมือต้องขออนุญาตก่อน
4.2.2 สวมชุดสำหรับห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ
4.2.2.1 สวมเสื ้ อ และรองเท้ า ที ่ ใ ช้ ใ นห้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก ารทุ กครั ้ ง ที ่ อ ยู ่ ใ น
ห้องปฏิบัติการ และถอดทุกครั้งที่ออกจากห้อง เก็บไว้ในที่ที่จัดไว้ให้และไม่นำกลับบ้าน
4.2.2.2 เสื้อที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรแยกเก็บต่างหากจากเสื้อผ้าทั่วไป เพื่อ
ป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการ
4.2.3 ป้องกันการติดเชื้อจุลินทรีย์
4.2.3.1 การป้องกันการติดเชื้อทางปาก
4.2.3.1.1 ห้ามรับประทานอาหารในห้องปฏิบัติการ
4.2.3.1.2 ห้ามใช้ปากดูดปิเปตต์
4.2.3.1.3 ห้ามเลียฉลากต่าง ๆ
4.2.3.1.4 ห้ามกัดปากกา, ดินสอ และเล็บ
4.2.3.1.5 ห้ามคาบของในปาก
4.2.3.1.6 ล้างมือให้สะอาดโดยเฉพาะเมื่อทำสารเคมีหรืออาหาร
เลี้ยงเชื้อหก และล้างมือทุกครั้งที่ออกจากห้องปฏิบัติการ
4.2.3.2 การป้องกันการติดเชื้อทางบาดแผล
4.2.3.2.1 หลีกเลี่ยงการใช้ของแหลมคม หากจำเป็นจริง ๆ ต้องใช้
ด้วยความระมัดระวัง
4.2.3.2.2 ของแหลมคมที่ใช้แล้วควรเก็บใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เฉพาะ
ไม่ทิ้งปนกับของอื่น
4.2.3.2.3 ไม่ใส่ของแหลมคม, สารละลาย และตัวอย่างทดสอบ จน
ล้นภาชนะ อาจเป็นอันตรายได้
4.2.3.2.4 ไม่ใช้เครื่องแก้วที่แตกหรือร้าว อาจบาดมือได้
4.2.3.2.5 หากมีบาดแผล ต้องปิดแผลให้เรียบร้อย
4.2.3.2.6 สวมถุงมือทุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับสิ่งที่อันตราย และถุงมือที่
ใช้แล้วต้องทิ้งในที่ที่เหมาะสม
4.2.3.2.7 ล้างมือให้สะอาด
4.2.3.3 การป้องกันการติดเชื้อทางการหายใจ
4.2.3.3.1 ป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองอากาศ
24

4.2.3.3.2 ทำงานกับเชื้อจุลินทรีย์อันตรายต้องทำในตู้กรองอากาศ
ปราศจากเชื้อ
4.2.3.3.3 ป้องกันไม่ให้ไอสปอร์ของจุลินทรีย์เข้า จมูก หากจำเป็น
ควรสวมหน้ากากป้องกันสปอร์ของจุลินทรีย์
4.2.3.3.4 ทำงานในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
4.2.4 จัดสถานที่ทำงานให้สะอาด, เป็นระเบียบ และปลอดภัยในการทำงาน
ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
4.2.4.1 จั ด โต๊ ะ ทำงานให้ เ ป็ น ระเบี ย บ ไม่ ว างของเกะกะ ควรวางเฉพาะ
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น
4.2.4.2 วางแผนการทำงานล่วงหน้า เพื่อจะได้จัดเตรียมของใช้ให้เหมาะสม
4.2.4.3 เมื่อสิ้นสุดการทดลองหรือทำของหก ต้องเก็บของให้เป็นระเบียบ
และทำความสะอาดโต๊ะ แล้วล้างมือให้สะอาด
4.2.4.5 อย่าวางของบนพื้น อาจเกิดอุบัติเหตุได้
4.2.4.6 ทำความสะอาดอ่ า งน้ ำ ควบคุ ม อุ ณ หภู ม ิ (water bath) อยู ่ เ สมอ
ป้องกันการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการ
4.2.4.7 ทำความสะอาดชั้น ขอบประตู หน้าต่าง เพื่อไม่ให้มีฝุ่นละออง
4.2.4.8 หมั่นทำความสะอาดพื้น เพื่อไม่ให้มีฝุ่น
4.2.4.9 เก็บของในตู้เย็นและตู้แช่ให้เป็นระเบียบ นำของที่ไม่จำเป็นไปทิ้ง
4.2.4.10 ดูแลรักษาอ่างล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
4.2.5 กำจัดเชื้อเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้
4.2.5.1 เตรียมสารที่ใช้ในการฆ่าเชื้อให้พร้อมใช้งานในห้องปฏิบัติการ
4.2.5.2 ทำความสะอาดโต๊ะปฏิบัติการด้ว ยน้ำยาฆ่าเชื้อทั้งก่อนและหลัง
ปฏิบัติงาน
4.2.5.3 ทำความสะอาดทันทีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อทำตัวอย่างอาหารเลี้ยงเชื้อ
หรือเชื้อจุลินทรีย์หกหรือหล่น
4.2.5.4 ทำความสะอาดห้องปฏิบัติการก่อนและหลังจากบุคคลภายนอก
เข้ามาในห้องปฏิบัติการ
4.2.5.5 วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว ต้องแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อให้ท่วมก่อนล้าง
หรือทิ้ง
4.2.6 กำจัดของเสียและทิ้งขยะ
ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
4.2.6.1 ฆ่าเชื้อวัสดุที่ใช้ก่อนทิ้งทุกครั้ง
4.2.6.2 ของเสียที่จะกำจัดต้องใส่ภาชนะที่แข็งแรงทนทาน
4.2.6.3 มีภาชนะสำหรับใส่ของเสียจากห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ
4.2.6.4 ไม่ปะปนกับขยะธรรมดา และไม่เททิ้งลงท่อระบายน้ำ
25

4.2.6.5 นำไปกำจัดตามกรรมวิธีที่เหมาะสม
4.2.7 มีการจัดการเรื่องอุบัติเหตุ
ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
4.2.7.1 จัดให้มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย เช่น ฝักบัว , ล้างตัว, อ่างล้างตา,
ถังดับเพลิง เป็นต้น และต้องจัดอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
4.2.7.2 จัดให้มีตู้ยาสำหรับปฐมพยาบาล
4.2.7.3 ไม่ควรทำงานคนเดียว ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องทราบ
เมื่อมีอุบัติเหตุ
4.2.7.4 ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอีก
การจัดห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาให้สะอาด มีระเบียบ แยกบริเวณต่าง ๆ ให้ชัดเจน
รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลงานถู กต้อง และยังเป็นการป้องกันตนเองและผู้อื่นไม่ให้ได้รับ
อันตรายจากจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอีกด้วย

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
รัชนีกร สวามิ และคณะ (2563) ได้ศึกษาเรื่องการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus
aureus ด้ว ยไฟโคไซยานิน จากสาหร่าย Arthrospira platensis โดยสกัดสารไฟโคไซยานินด้วย
วิธีการแช่แข็งสลับละลายได้ปริมาณซี-ไฟโคไซยานินเท่ากับ 1.085±0.023 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และทำ
ให้ไฟโคไซยานินบริสุทธิ์ขึ้นโดยนำมาตกตะกอนโปรตีนด้วยเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตได้ปริมาณซี -ไฟโค
ไซยานิน เท่ากัน 2.5865±0.283 มิล ลิกรัม/มิล ลิล ิตร นำไฟโคไซยานินไปทดสอบการยับยั้งเชื้อ
แบคทีเรีย S. aureus โดยทำการทดสอบสองวิธี คือวิธี agar well diffusion; A และวิธี Minimum
inhibitory concentrations; B พบว่ า ในการทดลองด้ ว ยวิ ธ ี A เริ ่ ม มี ก ารยั บ ยั ้ ง เชื ้ อ ตั ้ ง แต่ 200
ไมโครกรัม ส่วนการทดสอบด้วยวิธี B ที่ทำการเก็บผลในชั่วโมงที่ 4, 5 และ 6 พบว่าาในชั่วโมงที่ 6 มี
ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อดีที่สุด เริ่มมีการยับยั้งเชื้อตั้งแต่ 200 ไมโครกรัม แต่ในชั่วโมงที่ 4 และ 5
เริ่มมีการยับยั้งเชื้อตั้งแต่ 350 ไมโครกรัม สารสกัดไฟโคไซยานินจากสาหร่าย A. platensis ที่ความ
เข้มข้น 200 ไมโครกรัมสามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้ โดยที่ 6 ชั่วโมงให้ประสิทธิภาพดีที่สุด
พรรณพนัช แช่ม และคณะ (2562) ได้ศึกษาเรื่องผลของระยะการสุกและสภาวะการสกัด
ต่อปริมาณสารแทนนินของผงเปลือกกล้วยน้ำว้า โดยระยะการสุกจะแบ่งตามสีของเปลือกผล โดยที่
ระยะที่ 1 (สีเขียวเข้ม) ระยะที่ 2 (สีเขียวสว่าง) ระยะที่ 3 (สีเขียวปนเหลืองเล็กน้อย) ระยะที่ 4 (สี
เขียวมากกว่าสีเหลือง) ระยะที่ 5 (สีเหลืองมากกว่าสีเขียว) ระยะที่ 6 (สีเหลือง) ระยะที่ 7 (สีเหลืองมี
จุดที่ผิวเล็กน้อย) และระยะที่ 8 (สีเหลืองที่มีจุดดำที่ผิว) เปลือกกล้วยน้ำว้าผงทุกระยะนำไปวิเคราะห์
หาปริมาณสารแทนนิน พบว่าเปลือกกล้วยน้ำว้าผงระยะที่ 4 มีปริมาณสารแทนนินสูงที่สุด ผลของ
สภาวะสารสกัด (น้ำกลั่น อะซิโตน และน้ำกลั่นต่ออะซิโตน (1:1) ระยะเวลา 2 4 และ 6 ชั่วโมง ใช้ใน
การประเมินผลของการสกัดต่อปริมาณสารแทนนิน) ในเปลือกกล้วยน้ำว้าผงระยะที่ 4 ผลของการ
สกัดด้วยน้ำกลั่นต่ออะซิโตนแสดงปริมาณสารแทนนินสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญซึ่งปริมาณเท่ากับ
26

189.19 มิล ลิกรัม Tannic acid/100 กรัมน้ำหนักแห้ง ในขณะเดีย วกัน ไม่พบความแตกต่างของ


ปริมาณสารแทนนินเมื่อสกัดที่เวลาต่าง ๆ
ภูษิตา สั้น ศรี และ ธัญญาภรณ์ ไพบูล ย์ว รชาติ (2558) ได้ศึกษาเรื่ อ งฤทธิ ์ยับ ยั้ ง เชื้ อ
แบคทีเรียก่อโรคของสารสกัดหยาบจากใบกุยช่าย โดยศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบสมุนไพร
จากใบกุยช่ายต่อการการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค 13 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus aureus
ATCC 25923, methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA), Staphylococcus
epidermidis, Bacillus cereus, Escherichia coli ATCC 25922, Acinetobacter baumannii,
Aeromonas hydrophila, Pseudomonas aeruginosa, Klebsiella pneumoniae, Klebsiella
pneumoniae carbapenemase (KPC), Shigella spp., Salmonella enteritidis แ ล ะ Vibrio
parahaemolyticus โดยใช้วิธี agar well diffusion พบว่าสารสกัดหยาบ 95% เอทานอลจากใบ
กุ ย ช่ า ยมี ฤ ทธิ ์ ย ั บ ยั ้ ง เชื ้ อ Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Bacillus
cereus, Pseudomonas aeruginosa, Aeromonas hydrophila แ ล ะ Vibrio
parahaemolyticus โดยมี inhibitor zone ± SD เท่ า กั บ 9.33±0.58, 9.67±0.58, 11.67±0.58,
11.00±0.00, 15.67±0.58 และ 16.00±0.00 mm ตามลำดับ และมีค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของ
สารสกัดจากใบกุยช่ายที่สามารถยัลยั้งเชื้อได้ (MIC)/ค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของสารสกัดจากใบ
กุยช่ายที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากับ 32/32, 64/64, 32/32, 64/64, 64/64 และ 16/16
mg/ml ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบกุยช่ายสามารถยับยั้งการ
เจริญเติบโตของเชื้อ Aeromonas hydrophilia ได้ดีที่สุด
กวินศักดิ์ จัตุฑะศรี (2560) ได้ศึกษาเรื่องฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ก่อ
โรคอาหารเป็ น พิ ษ ของสารสกั ด จากใบและผลกระทุ (Rhodomyrtus tomentosa) และการ
ประยุกต์ใช้กับน้ำสลัด ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อของสารสกัดอะซิโตน เอทานอลและน้ำจากใบและผลกระทุ
(Rhodomyrtus tomentosa) ต่ อ เชื ้ อ Staphylococcus aureus ที ่ แ ยกได้ จ ากอาหาร (11 สาย
พันธุ์) และสายพันธุ์มาตรฐาน (2 สายพันธุ์) ทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion พบว่า
สารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้ง S. aureus ทุกสายพันธุ์ที่ทดสอบ โดยมี Inhibitor zone อยู่ในช่วง 8.5-15 mm
และมีค่า Minimum inhibitory concentration (MIC) อยู่ในช่วง 7.8125 -> 1000 μg/ml และ
Minimum bactericidal concentration (MBC) อยู่ในช่วง 15.625 -> 1000 μg/ml การศึกษาฤทธิ์
ของสารสกัดโดยวิธี Time-kill study เพราะว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ที่ความเข้มข้น 8MIC, 4MIC และ
2MIC ในเวลา 8, 10 และ 10 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยเชื้อลดลงมากกว่า 3log CFU/ml เมื่อเทียบกับ
เชื้อกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัดเอทานอลจากใบและ
ผลกระทุมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH assay, FRAP assay, Total phenolic
content และ Total flavonoids content ตรวจสอบโลหะหนักในสารสกัดเอทานอลใบและผล
กระทุ (สารหนู, ตะกั่ว และทองแดง) ในสารสกัดจากใบและผลมีทองแดงปนเปื้อนอยู่ 17.57 และ
3.44 mg/kg การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดเอทานอลจากใบและผลกระทบในหนูขาวใหญ่
พบว่าสารสกัดไม่มีผลต่อพฤติกรรมน้ำหนักตัว น้ำหนักอวัยวะสัมพัทธ์ ค่าโลหิตวิทยา และค่าเคมี
คลินิกของสัตว์ทดลอง จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ATCC 23235 และ S. aureus W68
ของน้ำสลัดที่ผสมสารสกัดเอทานอลจากใบกระทุโดยเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 และ 10 องศาเซลเซียส เป็น
27

เวลา 21 วันพบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ โดยที่ความเข้มข้น 25 และ 50 mg/ml อุณหภูมิ 4


และ 10 องศาเซลเซียส พบว่าจำนวนเชื้อลดลงเรื่อย ๆ จนถึงมากกว่า 99.9% ภายในระยะเวลา 3 วัน
และบันทึกผลจนครบ 21 วัน
วารีรัตน์ หนูห ีต (2556) ได้ศึกษาเรื่องการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่ อโรคที่ปนเปื้ อ นบน
พื้นผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดจากพืชตระกูลขิง โดยนำเหง้าของพืชตระกูลขิง 4 ชนิด ได้แก่ ขิง , ข่า,
กระชาย และขมิ้นขาว มาสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำและเมทานอล และนำสารสกัดทั้ง 4 ชนิดมา
ทดสอบการยั บ ยั ้ ง เชื ้ อ แบคที เ รี ย 4 ชนิ ด คื อ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus,
Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa ด้ว ยวิธ ี agar well diffusion โดยทดสอบที่
ความเข้มข้นของสารสกัดเท่ากับ 100, 200 และ 300 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าสารสกัดที่สกัดด้วย
เมทานอลสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ โดยสารสกั จากกระชายสามารถยับยั้งเชื้อ B. cereus ได้
ดี ท ี ่ ส ุ ด มี ค ่ า ความเข้ ม ข้ น ต่ ำ สุ ด ที ่ ส ามารถยั บ ยั ้ ง การเจริ ญ ของเชื ้ อ ( Minimal Inhibition
Concentration : MIC) และค่ า ความเข้ ม ข้ น ต่ ำ สุ ด ที ่ ส ามารถฆ่ า เชื้ อ ได้ (Minimal Bactericidal
Concentration : MBC) เท่ากับ 0.05 และ 0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดจากขิง
สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus, E. coli และ P. aeruginosa ได้ดีที่สุด มีค่า MIC เท่ากับ 50, 100 และ
100 มิล ลิกรัมต่อมิล ลิล ิตร ตามลำดับ และมีค่า MBC เท่ากับ 100, 200 และ 200 มิล ลิกรัมต่ อ
มิลลิลิตร ตามลำดับ การทดสอบความสามารถ ในการเป็นสารกำจัดเชื้อจุลินทรีย์โดยทดสอบการ
กำจัดแบคทีเรียบนพื้นผิวปุ่มกดลิฟต์ในโรงพยาบาลพบว่าสารสกัดจากขิงที่สามารถลดปริมาณเชื้อ
แบคทีเรียลงได้ร้อยละ 52.13 ถึง 94.95 เมื่อใช้สารสกัดเข้มข้น 50-200 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ
สัมผัสกับเชื้อเป็นเวลา 5 นาที
28

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

1. วัสดุ-อุปกรณ์และสารเคมี
1.1 วัสดุ-อุปกรณ์
1.1.1 เปลือกกล้วยน้ำว้า
1.1.2 บีกเกอร์
1.1.3 หลอดทดลอง
1.1.4 จานเพาะเชื้อ
1.1.5 เข็มเขี่ยเชื้อ
1.1.6 ปากคีบ
1.1.7 ตะเกียงแอลกอฮอล์
1.1.8 กระดาษกรอง
1.1.9 แท่งแก้วคนสาร
1.1.10 แท่งแก้วสามเหลี่ยม
1.1.11 ขวดรูปชมพู่
1.1.12 ปิเปตต์
1.1.13 ปิเปตต์ทิป
1.1.14 หลอดเซนทริฟิวจ์
1.1.15 ไมโครเซนทริฟิวจ์
1.1.16 โกร่งบดสาร
1.1.17 กระดาษฟอยล์
1.1.18 สำลี
1.1.19 ไม้บรรรทัด
1.2 เครื่องมือ
1.2.1 เครื่องชั่ง
1.2.2 ตู้อบลมร้อน
1.2.3 เตาให้ความร้อน
1.2.4 หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
1.2.5 ไมโครปิเปตต์
1.2.6 เครื่องเซนทริฟิวจ์
29

1.3. สารเคมี
1.3.1 เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล)
1.3.2 น้ำกลั่น
1.4 อาหารเลี้ยงเชื้อ
1.4.1 Nutrient Agar (NA)
1.4.2 Nutrient Broth (NB)
1.5 เชื้อแบคทีเรีย
1.5.1 Staphylococcus aureus (S. aureus)

2. วิธีการดำเนินการทดลอง
2.1 การเตรียมตัวอย่างพืชและสารสกัด
2.1.1 นำเปลือกกล้วยน้ำว้าไปตากแดดให้แห้ง และนำไปอบที่อุณหภูมิ 50-60 องศา
เซลเซียส ในตู้อบลมร้อนเป็นเวลา 1 วัน
2.1.2 บดเปลือกกล้วยน้ำว้า ที่อบแห้งแล้วให้เป็นผง นำไปสกัดด้วยเอทานอล และ
น้ำกลั่น โดยนำผงที่ได้จำนวน 1 กรัม แช่ในตัวทำละลายปริมาตร 2 มิลลิลิตร (1:2), บรรจุในหลอดเซ
นทริฟิวจ์ แล้วนำไปเข้าเซนทริฟิวจ์ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และเปิดฝาหลอดเซนทริฟิวจ์
เล็กน้อย
2.1.3 ดูดสารที่สกัดได้เก็บไว้ในไมโครเซนทริฟิวจ์เพื่อเตรียมนำไปใช้ทดลอง
2.2 การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อแบบวุ้น (Nutrient Agar)
2.2.1 ผสมผง Nutrient Agar จำนวน 14 กรัม กับน้ำกลั่นจำนวน 500 มิลลิลิตร
ในบีกเกอร์
2.2.2 นำไปต้มด้วยไฟปานกลางจนกระทั่งสารละลายเดือดและใส
2.2.3 นำสารละลายที่ได้ใส่ลงในขวดรูปชมพู่และปิดปากขวดด้วยสำลีม้ว น และ
กระดาษฟอยล์
2.2.4 นำสารละลายที่ได้ใส่ลงในขวดรูปชมพู่นำไปเข้าหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
2.3 การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อแบบเหลว (Nutrient Broth)
2.3.1 ผสมผง Nutrient Broth จำนวน 4 กรัม กับน้ำกลั่นจำนวน 500 มิลลิลิตร
ในบีกเกอร์
2.3.2 นำไปต้มด้วยไฟปานกลางจนกระทั่งสารละลายเดือดและใส
2.3.3 นำสารละลายที่ได้ใส่ลงในขวดรูปชมพู่และปิดปากขวดด้วยสำลีม้ว นและ
กระดาษฟอยล์
2.3.4 นำสารละลายที่ได้ใส่ลงในขวดรูปชมพู่นำไปเข้าหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
30

2.4 การเลี้ยงเชื้อ Staphylococcus aureus ในอาหารแบบวุ้น (Nutrient Agar) โดย


ใช้เทคนิค Streak plate
2.4.1 นำ loop ที่ฆ่าเชื้อแล้วไปเผาไฟจนร้อนแดง รอจนกระทั่ง loop เย็นลง เขี่ย
เชื้อจากจานเพาะเชื้อหรือหลอดทดลองที่มีเชื้อตั้งต้นมา
2.4.2 นำ loop ที่มีเชื้อตั้งต้นขีดถี่ ๆ (Streak) ลงบนอาหารวุ้นที่อยู่ในจานเพาะเชื้อ
เป็นบริเวณที่ 1
2.4.3 เผา loop ที่มีเชื้อจนร้อนแดง รอจนกระทั่ง loop เย็นลง จากนั้นนำ loop
และเชื้อที่ streak ไว้ในบริเวณที่ 1 แล้วทำการ streak ออกมาเป็นบริเวณที่ 2
2.4.4 ทำซ้ำข้อ 2.4.3 โดยแตะเชื้อบริเวณก่อนหน้าแล้วขีดถี่ ๆ ออกมาเป็นบริเวณที่
3 และ 4 ตามลำดับ แล้วนำไปไว้ในตู้บ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง
2.5 การเลี้ยงเชื้อ Staphylococcus aureus ในอาหารแบบเหลว (Nutrient Broth)
2.5.1 ปิเปตต์อาหารเหลวลงในหลอดทดลอง 5 มิลลิลิตร และปิดฝา
2.5.2 ใช้ loop เขี่ยเชื้อจาก plate ที่มีเชื้อ
2.5.3 เปิดฝาและลนปากหลอดทดลองที่มีอาหารเหลว แล้วนำ loop ที่มีเชื้อแตะลง
ไปในอาหารเหลว
2.5.4 นำหลอดทดลองไปเขย่าด้ว ยเครื่ องเขย่าสาร แล้ว นำไปไว้ในตู้บ่มเชื ้ อ ที่
อุณหภูมิอาหารเหลว 37 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง
2.6 การเลี้ยงเชื้อ Staphylococcus aureus ในอาหารแบบเหลว (Nutrient Broth)
สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ
2.6.1 ปิเปตต์เชื้อ 1 ml ที่เลี้ยงในอาหารเหลวใส่ในหลอดที่มีน้ำเกลือ (0.9%NaCI ที่
ฆ่าเชื้อแล้วปริมาตร 9 ml ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เขย่าให้เข้ากัน จะได้เป็นเชื้อที่เข้มข้น 10-1
2.6.2 ปิเปตต์เชื้อที่ได้ (10-1) 1 ml ใส่ในหลอดที่มีน้ำเกลือ (0.9%NaCl ที่ฆ่าเชื้อแล้ว
ปริมาตร 9 ml ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เขย่าให้เข้ากัน จะได้เชื้อที่เข้มข้น 10-2
2.6.3 ปิเปตต์เชื้อที่ได้ (10-2) 1 ml ใส่ในหลอดที่มีน้ำเกลือ (0.9%NaCl ที่ฆ่าเชื้อแล้ว
ปริมาตร 9 ml ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เขย่าให้เข้ากัน จะได้เชื้อที่เข้มข้น 10-3
2.7 การเลี ้ ย งเชื ้ อ Staphylococcus aureus ในอาหารแบบวุ ้ น (Nutrient Agar)
สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ
2.7.1 นำอาหารวุ้น (Nutrient Agar) เทลงในจานเพาะเชื้อและรอให้สารละลาย
แข็งตัวเป็นวุ้นอาหาร
2.7.2 ใช้ไมโครปิเปตต์ดูดเชื้อที่เจือจาง 10-3 จำนวน 200 ไมโครลิตร
2.7.3 เปิดฝาจานเพาะเชื้อให้มีช่องว่างเพียงพอ เพื่อสอดปลายของไมโครปิเปตต์แล้ว
ปล่อยเชื้อที่เจือจางเกลี่ยให้ทั่ว plate โดยใช้แท่งแก้วสามเหลี่ยมเกลี่ยเชื้อที่ชุบแอลกอฮอล์และลนไฟ
แล้ว โดยเกลี่ยไม่ให้ผิวของอาหารแตก
2.7.4 เมื่อเชื้อแห้งแล้ว นำกระดาษกรองมาวางไว้ 4 ตำแหน่งโดยใช้ปากคีบที่ชุบ
แอลกอฮอล์แล้วลนด้วยไฟ
31

2.8 สังเกตดูบริเวณใส และบันทึกข้อมูล


การเก็บข้อมูลผลการวิจัยนี้เป็นตัวเลข โดยการหยดสารสกัดหยาบ 10 ไมโครลิตร
ลงบนกระดาษกรองที่ถูกตัดวางไว้บนอาหารวุ้ น Nutrient Agar และเชื้อ Staphylococcus aureus
ที่อยู่ในอาหารเหลว Nutrient Broth ซึ่งนำไปไว้ในตู้บ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา
24 ชั่วโมง โดยแต่ละจานเพาะเชื้อจะใส่กระดาษกรองไว้ 4 บริเวณ
จานเพาะเชื้อที่ 1
บริเวณที่ 1 เอทานอล
บริเวณที่ 2 สารสกัดหยาบจากเปลือกกล้วยน้ำว้าต่อเอทานอล 1:2 (w/v)
จานเพาะเชื้อที่ 2
บริเวณที่ 1 น้ำกลั่น
บริเวณที่ 2 สารสกัดหยาบจากเปลือกกล้วยต่อน้ำกลั่น 1:2 (w/v)

3. การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณใสของอาหารเลี้ยงเชื้อ สามารถ
บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้โดย
บริเวณใสที่มีเส้นผ่านศูน ย์กลางมาก หมายถึงมีประสิทธิภ าพในการยับยั้งการเจริญเติบ โตของ
แบคทีเรียมากกว่าบริเวณที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณใสน้อย

4. สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณสของอาหาร
เลี้ยงเชื้อโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต (𝑥̅ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังนี้

4.1 ค่าเฉลี่ย (𝒙
̅)

∑𝑛𝑖=1 𝑥𝑖
𝑥̅ =
𝑛

เมื่อ 𝑥𝑖 แทน ค่าสังเกตจากข้อมูลลำดับที่ 𝑖


𝑛 .แทน จำนวนข้อมูล

4.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

∑(𝑥𝑖 − 𝑥̅ )2
𝑆. 𝐷. = √
𝑛

เมื่อ 𝑥𝑖 แทน ค่าสังเกตจากข้อมูลลำดับที่ 𝑖


32

ใ 𝑛 ใแทน จำนวนข้อมูล
𝑥̅ แทน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

5. ปฏิทินการดำเนินการ
ในการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบหูเสือในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ
แบคทีเรีย Staphylococcus aureus มีแผนการปฏิบัติงาน ดังนี้

ตารางที่ 1 ปฏิทินการดำเนินการ
พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564

ที่ กิจกรรม พฤศจิกายน

พฤษภาคม
กุมภาพันธ์
กรกฎาคม

กรกฎาคม
มิถุนายน
กันยายน

ธันวาคม
สิงหาคม

สิงหาคม
มกราคม

เมษายน
มีนาคม
ตุลาคม

ศึกษาปัญหาและ
1
คิดชื่อเรื่อง
เขียนเค้าโครง
2
ของโครงงาน
รวบรวมข้อมูลที่
3
เกี่ยวข้อง
วางแผนการ
4
ดำเนินการ
ดำเนินงานตาม
5
แผน
พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564
พฤศจิกายน

ที่ กิจกรรม
พฤษภาคม
กุมภาพันธ์
กรกฎาคม

กรกฎาคม
มิถุนายน
กันยายน

ธันวาคม
สิงหาคม

สิงหาคม
มกราคม

เมษายน
มีนาคม
ตุลาคม

สรุปผลและ
6 อภิปรายผลการ
ดำเนินงาน
33

ตรวจสอบ
7 ความถูกต้องและ
จัดทำรูปเล่ม

You might also like