You are on page 1of 15

มหานครฉางอัน ลุ กเป็ น ไฟ ชาวยุ ท ธทั่ว ตงง้ว นพากันเดือดร้อน กลี ยุ ค ห้ าราชวงศ์สิ บรัฐ จะเกิดอีก ครั้ง

ความหวังหนึ่งเดียวที่อาจหยุดยั้งไฟสงครามคือฉินเฟิงกับจิ้งเอ๋อร์ ‘นักฆ่านิรนามกับคนทรยศ’

ฉินเฟิงไม่รับงานฆ่าคนในฉางอันเด็ดขาด วันหนึ่งเขาฝ่าฝืนกฎทำให้ตัวเองเดือดร้อน โชคชะตาพัดพาให้ นัก


ฆ่านิรนามถูกทางการหมายหัว ได้มาพบเจอศิษย์อันดับสามสำนักเหมยหลินผู้สวยสะพรั่ง นักฆ่าไร้หัวใจกลายเป็น
จอมยุทธผู้มีคุณธรรมเพราะจิ้งเอ๋อร์ เธอมอบความรักและความตายให้กับผู้ชายคนสำคัญของหัวใจ

มหานครฉางอันลุกเป็นไฟ ชาวยุทธทั่วตงง้วนพากันเดือดร้อน กลียุค ห้าราชวงศ์สิบรัฐจะเกิดขึ้นอีกครั้ง


ความรักระหว่างฉินเฟิงกับจิ้งเอ๋อร์อาจเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ช่วยหยุดยั้งไฟสงคราม

เมื่อราชวงศ์ถังล่มสลายลงใน ค.ศ. 907 ผู้ปกครองรัฐจำนวนห้ารัฐในภาคกลางตั้งตนเป็นอิสระ มีการ


ประกาศแต่งตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิแห่งจงหยวนถึงห้าราชวงศ์ และผลัดกันครองอำนาจในภาคกลางสร้างความ
วุ่นวายไปทั่ว ส่วนภาคใต้ของจีนเกิดรัฐน้อยใหญ่ตั้งตนเป็นอิสระขึ้นถึงสิบรัฐ ต่อมาใน ค.ศ. 960 จักรพรรดิซุ่นจาง
ตั้งราชวงศ์ซุ่นขึ้นมาและรวบรวมห้าราชวงศ์สิบรัฐกลับมาเป็นปึกแผ่นดังเดิมแต่กว่าจะปราบปรามฮั่นเหนือรัฐ
สุดท้ายในหมู่ห้าวงศ์สิบรัฐ ได้ก็ล่วงสู่ ค.ศ. 979
จักรพรรดิซุ่นจางปราบฮั่นเหนือสำเร็จเพียงปีเดียวก็ทรงสวรรคต องค์ชายซุ่นจือองค์รัชทายาทพระชนมายุ
เพียง 6 พรรษา จักรพรรดินีลู่ขึ้นมาทำหน้าทีผ่ ู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สองปีถัดไป อ๋องซุน่ เฉิน น้องชายต่าง
มารดาจักรพรรดิซุ่นจางรวบรวมกำลังทหารเพื่อชิงบัลลังก์ จึงเป็นที่มาการจ้างนักฆ่าฝีมือดีมาจัดการอ๋องซุน่ เฉิน
ฉินเฟิง นักฆ่านิรนามแห่งมหานครฉางอัน รับงานนี้เพราะต้องการสนองคุณแผ่นเดิน เขาไม่ชอบนโยบาย
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งถูกครอบงำโดยขันทีอำมาตย์เจียวจิ้น แต่ความเหี้ยมโหดของอ๋องซุ่นเฉินน่ากลัวกว่า
จึงตัดสินใจบุกเข้าใน
00000000
จิ้งเอ๋อร์ เหม่ยหลิง ฉินเฟิง อาห่าว เจียอี จางเข่อชิง นครฉางอัน ซีอาน ลั่วหยาง

ยุทธจักร คือ วงการเกี่ยวกับจอมยุทธ์


ยุทธภพ เหมือนยุทธจักร
ตงง้วน เป็นจีนแต้จิ๋ว คือ ดินแดนภาคกลางของจีน
บู๊ลิ้ม เหมือนยุทธจักร
จงหยวน เป็นจีนกลาง คือ ดินแดนภาคกลางของจีน

ตงง้วน จงหยวน ชาวฮั่น


5เขาศักดิ์สิทธิ์ ซงซาน (เส้าหลิน เสี้ยวลิ้มยี่) หัวซาน เหิงซานเหนือ เหิงซานตะวันตก ไท้ซาน
เหอหนาน หูเป่ย อันฮุย ชานตง
ชาวก๊กเตียน (ตะวันออกเฉียงใต้) ยูนนาน กวางสี-กวางตุ้ง (ใต้)

ระบบราชการของต้าหมิง ประกอบด้วย 6 กระทรวงครับ คือ โยธา, มหาดไท, กลาโหม, คลัง, พิธีการ


และ ยุติธรรม ซึ่งแต่กระทรวงก็มีขอบเขตความรับผิดชอบ หน้าที่บริหาร และอื่นๆแตกต่างกันไป โดยมีผู้ช่วย
ประธานฝ่ายบริหารคือ อัครมหาเสนาบดี ที่คอยตัดสินใจ ประสานงานและดูแลการปฏิบัติงานของกระทรวงต่างๆ
ครับ ซึ่งผู้ช่วยก็มีอำนาจตัดสินใจในระดับค่อนข้างสูงพอสมควร และหากเป็นเรื่องสำคัญมากๆจริงๆ ค่อยให้
ประธาน ก็คือ จักรพรรดิตัดสินพระทัยเป็นอันเด็ดขาด
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานกลางที่คอยช่วยอัครเสนาบดี ที่เรียกว่า ทบวงเสนาบดี คอยช่วยเหลืออัคร
เสนาบดีอีกทีหนึ่ง
ดังนั้นเอาจริงๆแล้ว ทั้ง 6 กระทรวงสามารถขับเคลื่อนการบริหารจักรวรรดิด้วยตัวเอง ผ่านการดูแล
ประสานงานของ อัครมหาเสนาบดี ครับ
จักรพรรดิหมิง เลยค่อนข้างสบาย เพราะระบบงานค่อนข้างดี งานจิปาถะมโนสาเร่ จักรพรรดิแทบไม่ต้อง
ทำครับ มีแต่เรื่องสำคัญๆ เช่น ศึกสงคราม ตัดสินอัตราภาษี แก้ไขปัญหาภัยพิบัติใหญ่ๆเท่านั้น ที่จักรพรรดิต้อง
ทอดพระเนตร ก่อนลงนาม

แต่พอจักรพรรดิว่านลี่ไม่ออกว่าราชการ อำนาจตัดสินใจเลยอยู่ที่อัครเสนาบดีและทบวงเสนาบดีครับ ซึ่ง


พวกเขาก็ดำเนินการไปได้ระดับหนึ่ง ตามความสามารถและขอบเขตอำนาจที่มี
ตอนต้นรัชกาล ว่านลี่ได้ดี เพราะมีมหาอำมาตย์จางจีเจิ้ง วางระบบไว้ให้ไปเอาภาษีจากพระญาติ
คิดดูนะ ฮ่องเต้ที่ผ่านมามีสนมกี่คน เป็นญาติหมด ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกขุนนางด้วยที่ส่งลูกสาวเข้าวัง
แล้วพวกนี้ไม่ต้องจ่ายภาษี อย่างที่นาก็มีกันคนละหลายร้อยไร่ ว่านลี่ก็เป็นพวกชอบใช้เงินอยู่แล้วก็เห็นดีด้วย
เลยออกกฎหมายมาเก็บภาษีพระญาติ ซึ่งขุนนางก็หลายคนก็เป็นญาติโดนไปด้วย ทำให้เก็บภาษีเข้ามาได้
อย่างมาก

แต่จางจีเจิ้ง เอาเงินภาษีที่เก็บมาได้ไปลงพัฒนาที่นั่น ซ่อมที่นี่หมด ทำให้วานลี่ คิดว่าทำไมเก็บภาษีเข้า


มาได้ตั้งเยอะ ข้าก็ยังไม่ได้ใช้เงินอีกวะ
เงินของแผ่นดินมันก็เงินของข้า เลยไม่ค่อยพอใจ
ทรงมีวิสัยทัศน์จะให้พิมพ์เงินใช้เอง เพื่อที่จะได้ใช้จ่ายได้ตามใจชอบ (คิดล้ำยุคเหมือนแก้ปัญหาการเงิน
สมัยนี้ใส่เงินเข้าไปในระบบ) แต่จางจีเจิ้งบอกว่าทำไม่ได้ ของจะแพงขึ้นประชาชนเดือดร้อน สุดท้ายว่านลี่ก็เริ่ม
เบื่อ เพราะคิดจะทำอะไรล้ำยุคมักจะโดนจางจีเจิ้งกับพวกคัดค้านตลอด

ที่จริงมีแววว่าเป็นฮ่องเต้โง่ เคยโดนเสด็จแม่จะถอดออกจากฮ่องเต้ เพราะมั่วสุรานารี แต่จางจีเจิ้งก็


ผูกพันกับว่านลี่มานานเพราะเป็นศิษย์-อาจารย์กันตั้งแต่ว่านลี่เป็นเด็ก เลยทูลขอไว้ เพื่อให้โอกาสว่านลี่
พอจางจีเจิ้งตาย คราวนี้ไม่ค่อยมีคนกล้าค้านว่านลี่
จางจีเจิ้งเป็นคนมีศัตรูมาก เลยมีคนยุแยงให้ว่านลี่จัดการพวกอำนาจเก่า ว่านลี่ก็ไปตามยึดทรัพย์
ขันที เฝิง เป่า ซึ่งเป็นคนสนิทจางจีเจิ้ง ได้เงินมาเยอะเป็นล้านตำลึง ทำให้คิดว่าจางจีเจิ้งก็ต้องโกงเหมือนกัน
เลยตามยึดทรัพย์ลูกหลานจางจีเจิ้ง ประหารทั้งโคตร ขุดศพขึ้นมา หาสมบัติที่โกงเอาไว้ แต่ก็หาไม่เจอ ทั้งที่จาง
จีเจิ้งอยู่ในตำแหน่งเป็น10ปี ถ้าเป็นคนขี้โกง ต้องได้อย่างน้อยสักล้านตำลึง
ตอนหลังว่านลี่ก็ยกเลิกกฎหมายหลายอย่างที่จางจีเจิ้งพยายามปฎิรูป

กลายเป็นว่าเกา ก่ง มหาอำมาตย์คนเก่าที่โดนจางจีเจิ้งบีบให้ออก เกษียณไปบ้านเกิดนั้น สบายที่สุด ไม่


โดนประหารทั้งตระกูล
ฉางอาน " เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมือง
หลวง รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ฉางอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหมของฝั่งตะวันตก ฉางอานมี
ประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี
เมื่อหลิวปังตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ฮั่นเกาจู ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล ได้ย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยัง
เมืองฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน)
ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace)
จนกระทั่งในสมัยราชวงศ์ถัง เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิง
ต่างๆมากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง,การแข่งขันชนไก่,ชักเย่อ,โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียง
ต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น
เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่างๆกว่า 70
ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น ซินหลอ(เกาหลี
เหนือและใต้ในปัจจุบัน) และประเทศอื่นๆอีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย(ส่วนหนึ่ง
ของประเทศอิรักในปัจจุบัน) กับทาจิคส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมือง
ฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เพื่อ
ทำงานค้าขาย และเพื่อมาเรียนหนังสือ เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และ
วัฒนธรรม
อาจจะพูดได้ว่า ฉางอาน เป็นเมืองนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่ง
แต่ที่น่าเสียดายคือในช่วงปลายราชวงศ์ถังได้มีศึกสงครามไม่หยุดหย่อน สิ่งก่อสร้าง 300 ปี ของฉางอาน
ถูกทำลายหมดสิ้น เหลือเพียงสถูปห่านป่าใหญ่และสถูปห่านป่าเล็กเท่านั้น
ต่อมาหลังจากราชวงศ์ถังมา 2 - 3 ราชวงศ์ แม้ว่าที่ฉางอานจะมีการก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่ง แต่ตัวเมือง
ดั้งเดิมกลับเล็กลง

คิดว่าเป็นมืองลั่วหยางมีความสำคัญในตำแหน่งและเหมาะสำหรับการปกครอง
นอกจากนี้เมืองลั่วหยางตั้งอยู่ที่ราบแถวแม่น้ำหวงเหอ พื้นที่ตอนล่างมักประสบ
ปัญหาน้ำท่วมมีผลกระทบวงกว้าง แม้เมืองลั่วหยางตั้งอยู่ติดกับลแม่น้ำหวงเหอมาก
แต่ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมของแม่น้ำเหลือง เนื่องจากตั้งอยู่ในที่สูงกว่า
ประมาณสิบเมตร อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นอารยธรรมของจีน
ราชวงศ์จำนวนมากจึงเลือกลั่วหยางเป็นเมืองหลวง

ป็นการขยับต่อมาจากเมืองหลวงเดิม คือ ฉางอาน(เสียนหยาง)ของราชวงศ์ฮั่น อารยธรรมหลักจีน เริ่มมา


จากลุ่มแม่น้ำเหลือง เมืองใหญ่ ที่อยู่ติดริมแม่น้ำเหลือง ก็แค่ 2 เมืองนี้ สมัยราชวงศ์ซ่ง อำนาจก็ด้อยลง พวกก็ยัง
ยึดการตั้งเมืองหลวงตามลุ่มแม่น้ำเหลืองเหมือนเดิม คือ ย้ายไป ไคฟง ที่เล็กลงไปอีก

ส่วนทางใต้ แถวแม่น้ำแยงซี ยังเป็นเขตของพวก เย่ว์ อยู่ เช่นแคว้น อู๋(หวู่) แคว้นเยี่ยน เพราะเขต


อิทธิพลวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำเหลืองของชาวฮั่น มาทางใต้สุด คือ รัฐฉู่ ที่อยู่ติดประชิด รัฐของพวกชาวเย่ว์ พวกนี้และ
มีการสู้รบกัน อีกร่วมพันปีต่อมา ชาวฮั่นถึงหลอมกลืนลงมาทางใต้ เลยเขตแม่น้ำแยงซีเกียงลงไป

เพราะชัยภูมิครับเริ่มแรกบริเวณนี้เป็นจุดตั้งถิ่นฐานของผู้คนอยู่แล้วตั้งแต่สมัยซาง
เลยเสียนหยางกับซีอานกับบริเวณรอบๆที่ราบกวนจงริมลุ่มแม่น้ำเหวยสุ่ยที่เป็นอิทธิพลตั้งแต่ยุคของโจว
จะว่าไปในสมัยโบราณแถบกล่าวได้ว่าเป็นเขตคนเถื่อนจนฉินไปบุกเบิก
ลั่วหยางช่วงเลียดก๊กกับราชวงศ์ฮั่นจนไปถึงราชวงศ์ถังเป็นจุดบรรจบอยู่ระหว่าง 2แม่น้ำ เหมาะกับการค้า
และการควบคุมการขนส่งทางน้ำ ส่วนทางฝั่งแยงซีเกียงยังไม่ถือเป็นจุดหลักในยุคนั้น
แต่เพราะหลังกบฏอันสือและยุควุ่นวายต่อจากนั้น ชาวฮั่นแท้เลือกไปพัฒนาแถบด้านเจียงหนานแทน
ราชวงศ์ซ่งอ่อนด้านทหาร ส่วนพอถึงราชวงศ์หมิงเลือกไปยันตรงปักกิ่ง ผสมกับการที่เส้นทางสายไหมทางบกไม่
ค่อยมีความสำคัญมากเท่าแต่ก่อน ฉางอานและลั่วหยางจึงไม่กลับมาสำคัญเท่าแต่ก่อนอีก
ผมชอบที่หวงอี้เขียนไว้ในนิยายผ่านหลงอิงว่า ฉางอานเป็นจุดเริ่มต้นของถังแต่ลั่วหยางที่บเช็คเทียนเลือก
คือเมืองที่สมควรเป็นเมืองหลวงของชาวจีน

การเลือกเมืองหลวงของแต่ละราชวงศ์ของจีน จะมีปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจดังนี้ครับ คือ

1 การเมือง-การปกครอง
2 เศรษฐกิจและการค้า
3 การทหารและความมั่นคง
4 สถานการณ์ของอาณาจักรในขณะนั้น

หาก จขกท ลองอ่านประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ที่มีการเลือกเมืองดังกล่าวเป็นเมืองหลวงก็พอจะทราบได้


เพราะจะมีการระบุถึงสาเหตุการเลือกที่ตั้งเมืองหลวงไว้แล้ว

เอาล่ะ แต่หากเปรียบเทียบสองเมืองตามโจทย์ของ จขกท คือ นครฉางอาน และ นครลั่วหยาง


ผมขอยกตัวอย่างช่วงที่ทั้งสองเมืองนี้เจริญถึงขีดสุดและมีการต่อเติมขยับขยายจนใหญ่โตโอฬารและมั่นคง
แข็งแรง คือ อยู่ในช่วง สุย-ถัง

เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นว่านครลั่วหยาง ตั้งอยู่ในจงหยวนหรือตอนกลางของประเทศ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ


และเป็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ยุคเลียดก๊กมีแม่น้ำทั้งเล็กใหญ่หลายสายในพื้นที่นี้(ลองนึกถึงอยุธยา)

ดังนั้นดินแดนแถบนี้จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญด้านประเพณี ศิลปะวัฒนธรรมของจีนมาแต่อดีต และมี


การต่อเติมเสริมสร้างจากราชวงศ์ฮั่นจนมีความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น

เมื่อเป็นดังนี สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ในราชวงศ์สุยหลังจากรวมประเทศเป็นปึกแผ่นก็ยังคงเลือกนครลั่วหยางเป็น
ราชธานี โดยเฉพาะในรัชสมัยของสุยหยางตี้ฮ่องเต้ ที่มีดำริสร้างคลองขุดอวิ่นเหอเชื่อมต่อทั้งเหนือและใต้เข้า
ด้วยกันทำให้นครลั่วหยางกลายเป็นมหานครศูนย์กลางของการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำรวมถึงการค้า
สามารถกระจายสินค้าและเสบียงอาหารไปทั่วแผ่นดิน สร้างความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น

ประเด็นสำคัญคือ ด้วยอยู่ตอนกลางของประเทศและเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม เมื่อวางกำลังทหาร


อยู่ที่ลั่วหยางก็สามารถส่งกำลังเสริมไปยังชายแดนด้านที่มีปัญหาได้อย่างทันท่วงที

เมื่อเปรียบเทียบกับนครฉางอานที่คล้อยไปทางตะวันตก เนื่องจากภูมิประเทศเหมาะกับการตั้งรับแต่ไม่
เหมาะแก่การรุก ไม่สามารถบริหารจัดการพรมแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากยามใดเส้นทางขนส่งทางน้ำมี
ปัญหาจะเกิดความอดอยากไปทั่ว

แต่นครฉางอานก็ถูกสร้างขยับขยายเพิ่มเติมเช่นเดียวกันนะครับ จนถูกยกให้เป็น ซีจิง หรือนครหลวงทาง


ตะวันตกในราชวงศ์สุย และ ถัง
ต่อมาเมื่อหลี่เอียนยึดนครฉางอานตั้งตนเป็นฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ถัง(ยังไม่รวมประเทศเป็นปึกแผ่น)จึงใช้
นครฉางอานเป็นราชธานีตั้งแต่นั้นมา จนเมื่ออู่เจ๋อเทียน หรือที่พวกเรารู้จักในนามบูเช็คเทียนขึ้นครองอำนาจเป็น
จักรพรรดินีและเปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นราชวงศ์โจว ก็มีดำริย้ายนครหลวงจากฉางอานไปยังลั่วหยาง นอกจาก
เหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว นัยยะที่สำคัญประการหนึ่งในขณะนั้นคือ การเมืองการปกครอง เพื่อย้ายออกจาก
ศูนย์อำนาจเก่าที่ให้การสนับสนุนราชวงศ์ถัง และง่ายแก่การปกครองใหม่

แต่หลังจากผ่านยุคสมัยของพระนางอู่เจ๋อเทียน ราชวงศ์ถังยึดการปกครองคืนมาก็ย้ายราชธานีกลับไปยัง
นครฉางอานอีกครั้งด้วยเหตุผลทางการเมืองเช่นเดียวกัน

หลังจากนั้น ก็เกิดกบฏอันลู่ซาน และชนเผ่าหุยเหอยึดนครฉางอาน... จนเมืองใหญ่ทั้งสองชำรุดทรุดโทรม


จากสงคราม บลาๆ อีกมากมาย ราชวงศ์หลังจากนั้นจึงไม่ได้ใช้เมืองทั้งสองเป็นราชธานีอีก

อนึ่ง ราชวงศ์ที่รวมประเทศเป็นปึกแผ่นจึงมักใช้เมืองที่อยู่บริเวณตอนกลางของประเทศเป็นราชธานี ด้วย


เหตุผลข้างต้น ทุกๆการตั้งหรือการย้ายเมืองหลวงก็จะใช้ปัจจัยด้านบนในการตัดสินใจครับ

ขอเพิ่มเติมให้อีกนิด ตรงที่ จขกท พูดถึงนครนานกิง หรือ หนานจิง นครแห่งนี้ก็มีความเจริญรุ่งเรืองครับ


เพราะถือเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรหรือราชวงศ์ต่างๆในแดนเจียงหนัน แต่เพราะอยู่ตอนใต้ที่ห่างไกลนั่นเองจึง
มักไม่ใช้เป็นเมืองหลวงสำหรับราชวงศ์ที่สามารถรวมประเทศเป็นปึกแผ่นแล้ว

อาจจะมีคนแย้งว่า ราชวงศ์หมิงเคยใช้หนานจิงเป็นราชธานีนะ ถูกต้องครับ แต่ต้องเข้าใจว่า จูหยวนจาง


หรือ หงอู่ฮ่องเต้ ทรงตั้งหนานจิงเป็นเมืองหลวง สาเหตุเพราะตอนนั้นเริ่มก่อการที่แดนใต้(ตอนนั้นเป็นราชวงศ์
หยวนของมองโกล-เมืองหลวงอยู่เป่ยจิงหรือปักกิ่ง)เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง แต่
หลังจากรวมประเทศเป็นปึกแผ่นก็มีดำริให้หาสถานที่แห่งใหม่ตั้งเมืองหลวงแทน โดยมีนัยยะสำคัญเพิ่มเติมคือ
สภาพพื้นที่บริเวณนั้นไม่เหมาะแก่การขยายพระราชวังและตัวเมือง แต่พระองค์ก็สวรรคตไปก่อน เมื่อถึงรัชสมัย
ของหย่งเล่อฮ่องเต้จึงย้ายนครหลวงไปยังเป่ยจิง ส่วนสาเหตุว่าทำไมถึงเป็นเป่ยจิง ลองศึกษาดูนะครับ
ย้อนกลับไปราวๆ สามพันกว่าปีก่อน จีนอยู่ในยุคราชวงศ์ซาง (ถ้านึกไม่ออก นึกถึงกำเนิดเทพเจ้านาจา
หรือไม่ก็การ์ตูนเรื่องตำนานเทพประยุทธ์ ของ SIC เข้าไว้ค่ะ แถวๆ นั้นแหละ) มีสาวๆ พวกหนึ่งที่มีอาชีพเป็น ‘อู
ชาง (巫娼)’ หรือแม่หมอเวอร์ชั่นจีนโบราณ อูชางอ้างว่าติดต่อกับวิญญาณและเทพเจ้าต่างๆ ได้ และอาศัย
ความรูปร่างหน้าตาดีหลอกล่อให้ผู้ชายลุ่มหลง นอกจากอูชางแล้วก็มี ‘เจียจี้ (家妓)’ ซึ่งเป็นนางบำเรอส่วน
บุคคลตามบ้าน

ต่อมาสมัยชุนชิว กว่านจ้ง ขุนนางนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่แห่งแคว้นฉี ได้สร้าง ‘หนวี่หลวี (女闾)’ หรือ


ขึ้นมา แล้วก็รวบรวมเหล่านางบำเรอในวังไปกองไว้รวมกันตรงนั้น นัยว่าเพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง แต่คาดว่าคง
เวิร์คเกินไป หนวี่หลวีเลยขยายสาขาออกมาข้างนอกวัง กลายเป็นตลาดสตรี เก็บค่าผ่านประตูจากผู้ชายกันเป็นล่ำ
เป็นสัน แถมยังโปรโมทเป็นแหล่งท่องเที่ยวของแคว้น เห็นบัณฑิตนักเที่ยวที่ไหนท่าทางฉลาด ก็ทาบทามมาทำงาน
ให้แคว้นฉีซะเลย นอกจากกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงมันสมองมาทำงานให้ตัวเองได้แล้ว ยังเก็บภาษีจากตลาดสตรีนี่ได้
อีก ร้ายกาจเหลือเกิน

แล้วเวลาก็ผ่านมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งว่ากันว่าเป็นยุคที่วัฒนธรรมจีนรุ่งเรืองเฟื่องฟูถึงขีดสุด คนสมัยนี้


ไม่ได้คิดว่าต้องควบคุมสื่อลามกหรือสถานบันเทิงอะไร แถมยังส่งเสริมศิลปะทุกแขนงอีกต่างหาก เหล่าสาวๆ นาง
คณิกาหรือ ‘จี้หนวี่ (妓女)’ จึงได้รับการอัพเกรดครั้งใหญ่ ไม่เป็นแล้ว ‘จี้หนวี่’ ผู้คนจะเรียกพวกนางว่า ‘จี้’
แทน ตัว ‘จี้ (伎)’ นี้หมายถึง ‘ศิลปิน’ รากตัวอักษรเปลี่ยนแค่ไม่กี่ขีด แต่ฐานะเหมือนเปลี่ยนจากนางโลม
กลายเป็นไอดอล ซึ่งแน่นอน จะเดบิวท์เป็นไอดอล สาวๆ ก็ต้องมีความสามารถด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ใครๆ ก็เป็นได้
และความนิยมก็ขึ้นอยู่กับความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ของพวกนางเอง

พอพ้นราชวงศ์ถังไป ฐานะของสาวๆ คณิกาก็เริ่มตกต่ำ แต่เนื่องจากสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น การค้ายังเฟื่องฟู


อยู่ อาชีพนางโลมก็เป็นอาชีพถูกกฎหมาย ฉะนั้นถึงฐานะจะไม่ได้รับการยกย่องเท่าสมัยราชวงศ์ถัง แต่ธุรกิจนี้ก็ยัง
ไปได้สวย
อาชีพนางโลมมาถูกตีตราว่า ‘ต้อยต่ำ’ เอาจริงๆ ก็ช่วงยุคราชวงศ์หมิง การปกครองที่เคร่งครัดในระบบชน
ชั้นของสมัยนั้นไม่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ใดๆ เลยจ้า แถมยังมีมาตรการควบคุมแหล่งเริงรมย์ กำจัดสื่อลามก
อีกต่างหาก สมัยเซวียนเต๋อฮ่องเต้ได้มีการจัดระเบียบ ปิดหอคณิกาในปักกิ่งและเมืองอื่นๆ เป็นการใหญ่

ล่วงมาถึงยุคราชวงศ์ชิง ชาวแมนจูเข้าปกครองชาวฮั่น แนวคิดความเป็นปัจเจกที่อุตส่าห์พัฒนากันมา


ตั้งแต่สมัยชุนชิวก็ถูกทำลาย รัฐบาลรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง และเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมแมนจู วิถีชีวิตแนวคิด
แบบดั้งเดิมจึงถูกโจมตี โดยมีหอคณิกาเป็นเป้าหมายแรกๆ ย่านเริงรมย์แถวเมืองหลวงถูกกวาดล้างกันอีกรอบ

ช่วงปลายราชวงศ์ชิง กบฏไท่ผิงยกทัพไปตีหนานจิง เหล่านางโลมที่ปักหลักทำการค้ากันริมฝั่งแม่น้ำฉินไหว


จึงเตลิดหนีไปทำการค้ากันที่หยางโจว ซูโจว และเซี่ยงไฮ้ พอกบฏไท่ผิงยกทัพตามตีหยางโจวและซูโจวต่อ พวก
สาวๆ จึงหนีมาปักหลักรวมตัวกันอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ประมาณกันว่า ยุคนั้นมีหอคณิกาอยู่ที่เซี่ยงไฮ้กว่าหกร้อยแห่งทีเดียว

"ถังสกปรก ฮั่นโสมม"

เป็นสำนวนที่คนจีนในยุคจารีตขงจื้อนิยาม โดยเอาสังคมในยุคตนไปตัดสินวิถีชีวิตของสังคมยุคก่อน โดยที่


ลืมไปว่า มันคือบริบทของยุคสมัยที่ผู้คนเห็นว่า มันคือเรื่องธรรมชาติ (เช่นเดียวกันกับที่สังคมคริสเตียนในยุคกลาง
รับไม่ได้กับกิจกรรมรับร่วมเพศในสังคมกรีก)

ต้องเข้าใจก่อนว่า สมัยราชวงศ์ถังของจีน(ค.ศ.618-ค.ศ.907) มีความเปิดกว้างในเรื่องเพศสูงมาก


ผู้หญิงถังชอบใส่ชุดเบาบาง เผยเนินอก ยิ่งถ้าเป็นนางรำในงานเลี้ยงรับรองยิ่งแล้วใหญ่บางทีเกือบจะเรียกว่าระบำ
เปลือยเลยก็ว่าได้ ซึ่งความคิดเปิดกว้างนี้เป็นกันทั้งในวังและสามัญชน แม้แต่บูเช็กเทียนหรืออู่เจ๋อเทียนจักรพรรดินี
ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของจีนก็ขึ้นชื่อว่าไม่ธรรมดาในเรื่องตัณหาราคะเพราะทรงเลี้ยงสนมชายไว้ในวังไม่น้อย
ในสมัยถัง หนังสือภาพวาดการเสพสังวาสเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย จนมาถึงช่วงครึ่งหลังของ
ราชวงศ์หมิง "ชุนกงถู" (春宫图) หรือภาพวาดอีโรติกประเภทหนึ่งจึงเริ่มฮิตขึ้นมา หนังสือเหล่านี้มีส่วนช่วย
ด้านเพศศึกษาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันคนโบราณก็มีความเชื่อว่าหนังสือพวกนี้จะช่วยขับไล่สิ่งชั่ว
ร้าย โดยใน"หงโหลวเมิ่ง" (ความฝันในหอแดง) หนึ่งในสุดยอดวรรณกรรมของจีนกล่าวว่าเมื่อลูกสาวออกเรือนพ่อ
แม่จะแอบซ่อนหนังสือภาพชุนกงถูไว้ใต้กล่องของใช้ของลูกเพื่อช่วยไล่สิ่งชั่วร้าย (เอ๊ะ...หรือจะใส่ไว้เพื่อให้ลูกสาว
แอบมาเจอนะ?)

นอกจากนี้ ในสมัยถังไม่ว่าจะเป็นเมืองลั่วหยาง ฉางอัน(ซีอาน) จินหลิง(นานกิง) ฯลฯ ตามถนนล้วน


คราคร่ำไปด้วยโรงเตี๊ยมโรงเหล้าของชนเผ่าหูหรือชาวซงหนูชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางตอนเหนือที่เคยเป็นศัตรูกับ
จีน เมื่อวัฒนธรรมของชนเผ่าเหล่านี้ที่ค่อนข้างเปิดกว้างทางเพศได้เข้ามาผสมผสานก็ได้ทำให้ค่านิยมของหญิงสาว
จีนในสมัยถังเริ่มเปลี่ยนไป บวกกับในตอนนั้นก็ยังมีนักพรตไม่น้อยที่เชื่อเรื่องการหลุดพ้นด้วยการเสพกามของลัทธิ
ตันตระหรือพุทธแบบทิเบต

ลูกสาวคนรองของเสนาบดีหลี่หลินฝู่นามว่าหลี่เถิงคง หนึ่งในเพื่อนสนิทหญิงของหลี่ไป๋ (กวีจีนชื่อดัง) ก็


เป็นอีกคนที่แสดงให้เห็นถึงความลุ่มหลงในกามของหญิงจีนสมัยนั้น หลี่เถิงคงมักใช้ประโยชน์จากการที่พ่อของเธอ
เป็นคนใหญ่คนโต เวลามีแขกหนุ่มหน้าตาดีมาเยี่ยมที่บ้านเธอจะแอบมองหนุ่มๆ เหล่านั้นผ่านรูเล็กๆ ที่แอบเจาะไว้
ตรงกำแพง ถ้าเกิดปิ๊งคนไหนเข้าก็จะวางแผนให้เขาได้นอนค้างอ้างแรมที่บ้าน (ร้ายกาจสุดๆ)
ส่วนองค์หญิงยู่ว์เจินน้องสาวของฮ่องเต้ถังเสวียนจงถึงแม้จะเป็นนักพรตเต๋า แต่ชอบที่จะคบค้าสมาคมกับ
จิตกร กวี นักดนตรี แถมยังตั้งเป็นคลับเฉพาะกลุ่มของตนขึ้นมาอีกด้วย ตำหนักของพระองค์ที่เมืองฉางอันและลั่ว
หยางล้วนมีบุรุษจำนวนมากที่คอยเข้าๆออกๆอยู่เป็นประจำ "หวังเหว่ย" ชายหนุ่มรูปงามที่องค์หญิงเคยแนะนำและ
ดันให้เป็นจอหงวนนั้นยังไม่เคยผ่านการสอบเลยด้วยซ้ำ (บ้างก็ว่าสอบเป็นพิธีแต่จริงๆคนในล็อคตำแหน่งไว้ให้แล้ว)
ยังไม่จบเพียงเท่านี้ สมัยถังยังมีการแสดงรำดาบประเภทหนึ่งโดยนักแสดงสาวชาวหูจะใส่ชุดวับแวม ทำท่าเย้ายวน
อ่อนช้อยอวดเรือนร่าง นางรำเพลงดาบที่มีชื่อเสียงยกตัวอย่างเช่นกงซุนต้าเหนียง (公孙大娘) อดีตสนมของ
ถังเสวียนจงและแรงบันดาลใจในการแต่งกลอนของกวีถังชื่อดังอย่างตู้ฝู่ที่สุดท้ายถูกหยางกุ้ยเฟยบีบให้จรลีออกไป
จากวัง

หากว่ากันด้วยเรื่องเพศแล้วลักษณะทางสังคมในตอนนั้นมีจุดที่น่าสนใจดังนี้
1.ความนิยมคณิกา
สมัยถังในวังจะมี"เจี้ยวฟาง"ซึ่งเป็นเสมือนระบบหอคณิกาที่คอยให้ความบันเทิงต่างๆทั้งการแสดงและ
ดนตรี ว่ากันว่าสมัยจักรพรรดิถังไท่จงมีอยู่ 3,000 นาง และเพิ่มเป็น 8,000 คนในสมัยถังเสวียนจง ซึ่งในหมู่นาง
คณิกาก็มีการแบ่งระดับชั้นสูงต่ำด้วย
คณิกาฮอตฮิตมากขนาดที่ว่าไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขกของขุนนาง พิธีการต่างๆ วงเหล้าของขุนนาง
หรือแม้แต่ตอนออกไปท่องเที่ยวชมธรรมชาติ ก็จะต้องมีนางคณิกาคอยติดสอยห้อยตามให้ความบันเทิงอยู่เสมอ ทำ
ให้กิจการหอนางโลมเจริญรุ่งเรืองมาก ผุดเอาๆ เหมือนดอกเห็ด เอาเป็นว่าที่บ้านของกวีชราบางท่านถึงกับเลี้ยงดู
คณิกาไว้นับร้อยคน!

2.การเปิดกว้างทางเพศ
หญิงสมัยนั้นไม่ได้รักนวลสงวนตัวหรือเคร่งเรื่องการรักษาพรหมจารีย์มากนัก การเสียตัว หรือการได้เสีย
กันก่อนแต่งงานไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร รวมไปถึงการหนีไปกับคนรักก็มีให้เห็นไม่น้อย คนจีนโบราณมีเรื่องเล่าของ
ความรักอันแสนเศร้าระหว่างหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้าที่ปีหนึ่งจะเจอกันได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น ซึ่งในสมัยถังก็มีหญิง
สาวที่แต่งเรื่องนี้ให้ใหม่ในเชิงสนุกสนานแต่ก็บ่งบอกคาแรกเตอร์ผู้หญิงสมัยนั้นได้ดี โดยเล่าในทำนองว่าสาวทอผ้า
รอชายผู้เป็นที่รักไม่ไหว เธอจึงแอบไปลั้นลากับหนุ่มอื่นยามราตรีเพราะยังไงเขาก็ไม่รู้อยู่ดี!
และที่เลเวลอัพไปกว่านั้นคือมีคนในสมัยนั้นที่ไม่ได้รู้สึกว่าการเล่นชู้เป็นเรื่องที่น่าอับอาย แถมกลับ
กลายเป็นที่นิยมอยู่ช่วงหนึ่งด้วยซ้ำ! ในบทกวีสมัยถังมีเรื่องเล่าทำนองนี้อยู่ไม่น้อย เช่นเมียเถ้าแก่แซ่เมิ่งคนหนึ่ง
กำลังนั่งฮัมเพลงอยู่ในบ้าน เด็กหนุ่มคนหนึ่งผ่านมาได้ยินเข้าจึงเดินเข้ามาและเอ่ยถ้อยคำชักชวนสุดวาบหวิวให้นาง
ร่วมรักด้วย จากนั้นนางก็จัดให้เขาเลยทันที (เอ้า!แบบนี้ก็ได้หรอ?)

อีกจุดที่น่าสนใจคือผู้หญิงถังเป็นอะไรที่ไม่สนในกฎเกณฑ์หรือขนบสอนหญิงใดๆมากที่สุดแล้ว พวกเธอไม่
เคร่งใน"หลักสามเชื่อฟังสี่จรรยา" (三从四德) ที่มีมาแต่โบราณ เรียกได้ว่ามีอิสระทางการแสดงออกเรื่องเพศ
มากหากเทียบกับราชวงศ์อื่นๆ หญิงที่แต่งงานแล้วและมีสามีใหม่เป็นเรื่องที่เบๆมากในสังคมถัง ข้อมูลจากบันทึก
เล่มหนึ่งทำให้เราได้รู้ว่ามีองค์หญิงสมัยถังที่แต่งงานใหม่อีกครั้งถึง 23 องค์ โดยในนี้มี 4 องค์ที่แต่งงานถึง 3 ครั้ง
แน่นอนว่าลูกสาวขุนนางยันลูกสาวชาวบ้านก็เช่นกัน
เป็นไปได้ว่าที่ชาวถังค่อนข้างเปิดกว้างในเรื่องเพศนั้น

เป็นเพราะ"ถังเกาจู่"หรือ"หลี่ยวน" ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังที่มีพื้นเพมาจากพื้นที่ทางตะวันตกเฉียง
เหนือของประเทศอาจมีสายเลือดของชนกลุ่มน้อยอยู่ (ประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ทำให้ไม่เคร่งเรื่องนี้
เหมือนตระกูลชนชั้นสูงที่อยู่ในตอนกลาง
ลองนึกภาพตามดู บางทีนิยามของบรรดาแม่นางทั้งหลายในสมัยโบราณที่คุณเคยเข้าใจอาจจะไม่
เหมือนเดิมอีกต่อไป

1.แผ่นแปะสะดือ

มีบันทึกว่าคนโบราณใช้“เซ่อเซียง” (麝香) หรือยาจีนที่ทำจากกวางชะมดมาทำเป็นแผ่นคล้ายๆ


ปลาสเตอร์ปิดแผล เวลาใช้ให้แปะปลาสเตอร์นี้ไว้ที่สะดือจะช่วยให้หญิงสาวไม่ตั้งท้อง ว่ากันว่าจ้าวเฟยเยี่ยนและ
จ้าวเหอเต๋อพระสนมสองพี่น้องผู้เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉิงแห่งราชวงศ์ฮั่นก็เคยใช้วิธีนี้มาก่อน
2.น้ำหญ้าฝรั่น
บันทึกของชาวบ้านสมัยโบราณระบุไว้ว่า มีคำร่ำลือกันว่า “หญ้าฝรั่น” คือเคล็ดลับการคุมกำเนิดของสาว
ในวัง โดยกล่าวว่าหากฮ่องเต้ไม่ถูกพระทัยสนมคนไหนที่ทรงใช้บริการ ก็จะมีบัญชาให้ขันทีจับนางสนมเหล่านี้แขวน
ไว้แล้วใช้น้ำหญ้าฝรั่นชำระล้างร่างกายให้หมดจด เพราะเชื่อว่าน้ำหญ้าฝรั่นจะสามารถกำจัดอสุจิที่อยู่ในร่างกาย
ของนางสนมได้นั่นเอง
3.การนวดตัว
นอกจากน้ำหญ้าฝรั่นแล้ว ก็มีเกร็ดประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการบันทึกไว้ว่า หลังฮ่องเต้เสร็จกิจแล้ว
หากทรงมิประสงค์ให้พระสนมตั้งครรภ์ ก็จะสั่งให้ขันทีมานวดตัวสนมท่านนั้นเพื่อทำให้แน่ใจว่าไม่มีสารคัดหลั่งใดๆ
ของพระองค์หลงเหลือเป็นที่ระลึกอยู่ในร่างกายของนาง
4.ถุงยางคุมกำเนิด
มีบันทึกโบราณที่พูดถึงสิ่งที่ทำหน้าที่เหมือนถุงยางอนามัยหรือที่ในภาษาจีนเรียกว่า“ถุงปลอดภัย” แต่ถุง
นี้ทำมาจากลำไส้ของสัตว์ (ที่ปัจจุบันยังใช้บรรจุไส้กรอก) บางตำราบอกว่าทำมาจากไส้แกะหรือแพะ บ้างก็ว่าก่อน
จะใช้ลำไส้ก็มีถุงยางที่ทำมาจากกระเพาะปัสสาวะหมู
ในขณะที่บันทึกทางประวัติศาสตร์ของตะวันตกก็มีพูดถึง “ถุงยาง” จากลำไส้สัตว์ไว้เช่นกัน เช่นถุงยางที่
เรียกถูกเรียกว่า “Dutch cap” (หมวกแบบดัชท์) นอกจากนี้ คนจีนโบราณก็ยังนำกระเพาะปลามาใช้เป็นถุงยาง
ด้วยนะเออ
เสริมอีกนิดว่าในอินเดียและอียิปต์เมื่อ 3,000 ปีก่อนมีการนำมูลจระเข้และมูลช้างมาทำเป็นยาใช้สำหรับ
ป้องกันท้อง เพราะหากมองในเชิงวิทยาศาสตร์แล้วมูลพวกนี้มีความเป็นกรดสูง จึงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในระดับหนึ่ง แต่ไม่
เป็นที่นิยมเพราะกลิ่นแรงไม่น่าอภิรมย์อาจทำให้คู่สามีภรรยาหมดอารมณ์ป้าบๆได้
5.กินปรอท
มีหญิงโบราณที่ดื่มปรอทเพราะเชื่อว่าสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่อาจจะกินในปริมาณนิดเดียวซึ่ง
ไม่ส่งผลให้ตาย ในปัจจุบันยังมีคนแก่ในชนบททางภาคเหนือของประเทศจีนจำนวนไม่น้อยที่สมัยสาวๆ เคยดื่ม
ปรอทเพื่อป้องกันการท้อง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย มีบันทึกว่าในน้ำชาหรืออาหารบางอย่างของนาง
โลมในสมัยโบราณจะถูกใส่ปรอทเข้าไปผสมนิดหน่อย ว่ากันว่าป้องกันการท้องได้ดีเยี่ยม ซึ่งนางโลมเองจะไม่รู้ตัวว่า
ถูกผสมสารพิษให้ทาน แต่พวกนางมักถูกทำให้เข้าใจผิดว่านี่คือน้ำผสมขี้เถ้าช่วยคุมกำเนิดอะไรทำนองนั้น
ซึ่งจริงๆ แล้วการดื่มปรอทเพื่อคุมกำเนิดสอดคล้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เพราะสารปรอท
สามารถส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้ เพราะเคยมีงานวิจัยที่ระบุว่าพนักงานโรงงานเพศหญิงที่ต้องสัมผัสกับไอ
ปรอทระดับเข้มข้นในระยะยาวจะมีโอกาสประจำเดือนมาไม่ปกติมากกว่าผู้หญิงปกติ 2-3 เท่า
6.กินขั้วลูกพลับเผาไฟ
ชาวบ้านโบราณว่ากันว่าให้ดึงขั้วลูกพลับแห้งไปเผาบนกระเบื้อง จากนั้นนำไปทานพร้อมน้ำวันละ 7 ขั้ว
ติดต่อกัน 7 วัน รวมเป็น 49 ขั้ว รับรองทั้งปีไม่มีท้อง แต่มีข้อห้ามว่าตลอดทั้งปีที่ทานขั้วลูกพลับห้ามกินเนื้อลูก
พลับเด็ดขาด แต่ถ้าอยากปล่อยมีลูกก็ให้กินลูกพลับ 7 ลูก ฟังดูเหมือนความเชื่องมงาย แต่จากการศึกษาพบว่าใน
ขั้วลูกพลับมีกรด Oleanolic และสารอื่นๆ ที่แพทย์แผนจีนมักนำมาใช้ทำยาต่างๆ
เคยมีไดอารี่เล่มหนึ่งของนางโลมในสมัยสาธารณรัฐจีน (1912–1949) ที่กล่าวถึงเรื่องการคุมกำเนิดไว้ว่า
ก่อนที่ตนจะรับแขก แม่เล้าจะให้ตนดื่มน้ำแกงชนิดหนึ่ง รสชาติออกเปรี้ยวๆ หวานๆ อร่อยอยู่ทีเดียว เมื่อดื่มไป
แล้วจะไม่มีวันท้องตลอดไป คาดว่าน้ำที่นางกล่าวถึงน่าจะเป็นน้ำจากขั้วลูกพลับนี่เองแต่เป็นน้ำขั้วพลับที่ต้มกับ
เหล้าหมักจากข้าว
7. สารอันตรายอื่นๆ
นางคณิกาในสมัยโบราณของจีนส่วนมากมักใช้สารจากยาจีนบางตัวมาทานเพื่อป้องกันการตั้งท้อง เช่น
ปรอท ที่พูดถึงไปแล้ว และนอกจากปรอทก็ยังมีสารหนูขาว และยาเบื่อ แม้ยาพวกนี้ใช้มากๆ อาจส่งผลถึงชีวิตได้
แต่ถ้ากินในปริมาณไม่มากอาจส่งผลกับแค่ทารกในครรภ์ ซึ่งส่วนมากมักถูกแม่เล้าแอบใส่ในน้ำหรืออาหารให้กิน
ช่วงที่ทำงานแรกๆ เหตุนี้เองที่ทำให้นางคณิกาหลายคนแม้จะผันตัวเข้าไปเป็นนางสนมในวังแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถ
มีทายาทได้
อ่านต่อได้ที่ https://board.postjung.com/1035614

You might also like