You are on page 1of 12

การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กัลยา จันทร์พราหมณ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ปีที่ 12 ฉบับที่3 (กันยายน-ธันวาคม2563)


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง
ประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษา
อังกฤษ)ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
3. เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(ภาษาอังกฤษ)ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มเป้าหมายการวิจัย
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม แนวการสอนรูป
แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง
ประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
กรอบแนวคิด
การจัดการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (Content and
Language Integrated Learning: CLIL) เป็นวิธีการสอนสองภาษาโดยใช้ภาษาต่างประเทศใน
การเรียนรู้เนื้อหาและภาษาไทยไปพร้อมกัน เป็นการผสมผสานกันระหว่างกระบวนการสอนภาษา
และการสอนเนื้อหาวิชาซึ่งเนื้อหาจะนำไปสู่การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะทางภาษาที่
สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โดยกระบวนการสอนภาษาจะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย 4 ด้าน (Do
Coyle, Phitip Hood, and David Marsh, 2011) คือ 1) ด้านเนื้อหา (Content) 2) ด้านความรู้
ความเข้าใจ (Cognitive) 3 ด้านการสื่อสาร (Communication) และ 4) ด้านวัฒนธรรม
(Culture)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามแนวการ
สอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(ภาษาอังกฤษ) ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอแกลง จำนวน 20 แผน ผลการประเมินโดยผู้
เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่า
ความยาก (P) เท่ากับ 0.40 - 0.70 และค่าอำนาจจำแนก (r) เท่ากับ 0.20 - 0.66 ค่าความเชื่อมั่น
ของแบบทดสอบจากสูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson) ได้ค่าความ
เชื่อมั่น เท่ากับ 0.71
4. แบบวัดเจตคติในการเรียน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 จำนวน 30 ข้อ
5. แบบวัดกระบวนการทำงานกลุ่ม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.98 จำนวน 30 ข้อ
ขั้นตอนการวิจัย
ผู้วิจัยพัฒนาหลักสูตรโดยใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สังเคราะห์จากนักการศึกษาทั้งของ
ประเทศไทยและต่างประเทศ ร่วมกับแนวการสอน แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา สรุปเป็นขั้นตอน
การดำเนินงาน ดังนี้
ตอนที่ 1 การสร้างหลักสูตร ได้แก่ 1) การศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร 2) การศึกษาแนวการสอน
แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) 3) การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ดำเนินการศึกษาเอกสาร
หลักสูตรศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ใช้วิธีการสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (Focus Group
Discussion) และ 4) การยกร่างหลักสูตร ได้แก่ กรสร้างโครงร่างของหลักสูตร การประเมินหลักสูตร
ก่อนนำไปใช้จริง และการปรับปรุงหลักสูตรก่อนนำไป
ตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตร เป็นการนำหลักสูตรที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ แบ่งเป็น 2 ส่วน
คือ
การทดลองใช้หลักสูตรนำร่อง และการทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่างจริง
ตอนที่ 3 การประเมินผลและการปรับปรุงหลักสูตร
ผลการวิจัย
1.) ได้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)ตามแนวการ
สอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง แหล่งท่อง
เที่ยวในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี มีค่า
เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.47
2) ผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เป็นดังนี้
2.1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน
และหลังเรียนด้วยหลักสูตร พบว่าผลการประเมินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
.05
2.2) ด้านเจตคติในการเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรพบว่าผลการประเมินคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.89
อยู่ในระดับดีมาก
2.3) ด้านกระบวน การทำงานกลุ่มหลังเรียนด้วยหลักสูตร พบว่าผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ
4.87 อยู่ในระดับดีมาก
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
1. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดอยู่ใน
ระดับดีสามารถนำไปใช้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรโดยการสังเคราะห์รูป
แบบการพัฒนาหลักสูตรของ นักการศึกษาหลายท่าน การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการวางแผนและการ
ออกแบบหลักสูตรเพื่อนำ สู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ผู้วิจัยดำเนินการนำหลักสูตรที่
ปรับปรุงพัฒนาแล้วไปทดลองใช้
2. ผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ก่อนและหลังเรียน พบว่า ผลการประเมินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทั้งนี้
เนื่องจากหลักสูตรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นหลักสูตรเพิ่มเติมที่ใช้โครงสร้าง เนื้อหาของบทเรียนที่เป็นเรื่องใกล้
ตัวนักเรียน คือ เรื่องแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ เป็นแนวการสอนที่ออกแบบการสอนบน
พื้นฐานความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. ผู้สอนที่นำหลักสูตรไปใช้ควรศึกษา และทำความเข้าใจหลักสูตอย่างถ่องแท้
เพื่อจะได้นำไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ
2. ในขณะที่ผู้นำหลักสูตรไปสอน ควรสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
ในด้านที่เป็นจุดเน้นของหลักสูตร (4Cs) ซึ่งในแต่ละด้านผู้สอนควรจดบันทึก
พฤติกรรมของนักเรียนตามแบบประเมินอย่างต่อเนื่อง
3. ระหว่างการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรผู้สอนควรกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ภาษา
อังกฤษ และควรมีกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น การนำนักเรียนไปศึกษานอก
สถานที่ (Field Trip)
ระบุจุดเด่นของการวิจัยนี้ 5 ข้อ

1.สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนจดบันทึก และการประเมินอย่างต่อเนื่อง
2.การใช้วิธีการสอบถาม การสนทนาแบบกลุ่มเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงและแก้ไข
3.การผสมผสานกันระหว่างกระบวนการสอนภาษาและการสอนเนื้อหาวิชา ไป
พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษาทางภาษที่สอดคล้องกับโรงเรียน
4.ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้นมีแรงจูงใจในการอ่าน และเข้าใจใน
เนื้อหา
5.การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสื่อสารและประกอบอาชีพ
ในสังคมโลกปัจจุบัน
ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการนำไปปรับใช้สำหรับ
สถานศึกษาอื่นๆ
สถานศึกษาหรือครูผู้สอนที่นำหลักสูตรไปใช้ควรศึกษา
และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะได้นำไปใช้
อย่างมีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง
แรงจูงใจและความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ
เพื่อที่จะเน้นเนื้อหาการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตาม
หลักสูตรของสถานศึกษานั้นๆ
สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาวอนาจจลิญา วังญาต เลขที่28


2. นางสาวปาวีณา จันต๊ะวงศ์ทา เลขที่19
3.นางสาวธิดารัตน์ พามาเนตร เลขที่16
4.นางสาวกมลวรรณ อินนา เลขที่10
5.นางสาวสุนิสา แสงมาศ เลขที่24

ห้อง1

You might also like