You are on page 1of 21

เค้าโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน

เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบตั ิการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการรับส่งสารภาษาอังกฤษ


เพื่อให้เกิดความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้การจัดการเรียนรู้ Color Vowel®
Classroom Action Research to Develop English Oral Language
Comprehension of Grade 7 Students using Color Vowel® Approach

นางสาวพิมพกานต์ บุญทองแก้ว 611031311


สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

เค้าโครงวิจยั เชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
0308473 การวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มเรียน S111
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ความเป็นมาและความสำคัญ ...................................................................................................................................... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ............................................................................................................................................ 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ .......................................................................................................................................... 2
นิยามศัพท์เฉพาะ ........................................................................................................................................................ 2
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน .......................................................................................................................... 2
การจัดการเรียนรู้ Color Vowel® ....................................................................................................................... 2
การรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ ........................................................................................................... 2
เกณฑ์การประเมินการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ .............................................................................. 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง................................................................................................................................... 3
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ........................................................................................................................................... 3
ปัญหาการสอนออกเสียงภาษาอังกฤษในประเทศไทย ........................................................................................... 3
การจัดการเรียนรู้ Color Vowel® ........................................................................................................................ 4
สมรรถนะการสื่อสาร ............................................................................................................................................ 5
องค์ประกอบของการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ ............................................................................ 6
เกณฑ์การประเมินการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ .......................................................................... 6
วิธีการดำเนินการวิจัย ................................................................................................................................................. 7
ตัวแปร .................................................................................................................................................................. 7
กลุ่มเป้าหมาย ....................................................................................................................................................... 7
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ....................................................................................................................................... 7
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ...................................................................................................................................... 7
การวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................................................................................... 7
รายการอ้างอิง............................................................................................................................................................. 8
ภาคผนวก ................................................................................................................................................................... 9
ความเป็นมาและความสำคัญ
ภาษาอังกฤษถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการ
สื่ อ สารและใช้ ในการขั บ เคลื่ อ นกิ จ กรรมทางสั งคมในหลายประเทศทั่ ว โลก ดั งนั้ น การเรีย นภาษาอั ง กฤษจึ งมี
ความสำคัญและมีความจำเป็ นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังไม่ประสบ
ความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากผู้เรียนยังไม่สามารถรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ ซึ่งสะท้อนจากผลคะแนน
ของ International English Language Testing System (IELTS) ที่มีการทดสอบการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์กัน
โดยมีคู่สนทนาเป็น เจ้ าของภาษา ในปี 2019 ผู้ส อบที่ใช้ภ าษาไทยเป็นภาษาแม่ มีคะแนนเฉลี่ ยของระดับ (Band)
โดยรวม ด้าน Academic ที่ 6.0 จาก 9.0 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ต่ำสุดของการรับเข้าศึกษาต่อในบางประเทศ และด้าน
General Training ได้ 5.3 จาก 9.0 ที่ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ของการรับเข้าทำงานในบริษัทหลายแห่งที่กำหนดในระดับ
5.5 ขึ้นไป (IELTS Research, 2020)
ผู้ วิจั ย ได้ มีโอกาสสั งเกตการจั ด การเรีย นรู้วิช าภาษาอังกฤษของนั กเรียนชั้ น มั ธ ยมศึ กษาปี ที่ 1/8 ปี
การศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) จังหวัดสงขลา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ตอบคำถามของคุณครู
โดยที่ออกเสียงคำศัพท์บางคำไม่ถูกต้องตามหลักภาษา ทำให้คุณครูไม่เข้าใจคำตอบ จึงต้องมีการสื่อสารซ้ำอีกรอบและ
แก้การออกเสี ยงของนั กเรียน จากสภาพปั ญหาด้านการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจดังกล่าว ผู้วิจัยจึง
ค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม พบว่า ครูส่วนใหญ่ขาดทักษะการเป็นต้นแบบที่ดีในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ทำให้ขณะสอน
นักเรียนไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในการออกเสียงที่ถูกต้องอย่างทันทีทันใด ประกอบกับนักเรียนไม่มั่นใจในการ
ออกเสียง ขาดการฝึกฝน ไม่รู้วิธีการออกเสียงของคำศัพท์นั้น ๆ (รักษมน ยอดมิ่ง , 2560) ซึ่งสอดคล้องกับ Ahmad
(2016) ที่พบว่าปัญหาที่ครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมักจะเจอคือ นักเรียนไม่รู้วิธีออกเสียงคำศัพท์หลายคำ
ทำให้ไม่มีความมั่นใจในการสื่อสาร คุณครูเองก็ไม่รู้วิธีการสอนที่จะสอนคำศัพท์ไปพร้อม ๆ กับการออกเสียง ดังนั้น
คุณครูต้องปรับการเรียนรู้การรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจของผู้เรียนในปัจจุบัน คือ การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนคำศัพท์และการออกเสียง มีต้นแบบที่ดี และสร้างความมั่นใจของผู้เรียนในการสื่อสาร
จากการค้นหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนคำศัพท์แ ละการออกเสียงที่มีต้นแบบที่ดี
พบว่า การจั ดกิจ กรรมการเรี ย นรู้ Color Vowel® แบบออนไลน์ ซึ่งสร้างสรรค์โดย Taylor & Thompson ในปี
1999 เป็นตัวจัดระเบียบภาพสำหรับการพูดภาษาอังกฤษ ช่วยเชื่อมโยงเสียงสระของภาษาอังกฤษกับคำหลักและวลี
และให้แนวทางสำหรับครูและผู้เรียนในการพูดคุยเกี่ยวกับการออกเสียงได้อย่างง่ายดาย เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้กับ
นักเรียนแม้ในระดับชั้นต่ำสุด และใช้ได้ตลอดทั้งปีการศึกษาเพื่อเน้นความสนใจของผู้เรียนเกี่ยวกับเสียงสระที่เน้นเสียง
ในคำศัพท์ใหม่ ซึ่งช่วยให้พวกเขาได้ยินการเน้นเสียงที่สร้างรูปแบบจังหวะของการพูดภาษาอังกฤษ นักเรียนจะได้รู้จัก
ทั้งเสียงรวมถึงตำแหน่งของเสียงด้วย เพราะรูปทรงของแผนภูมิแสดงถึงปากเพื่อแสดงเสียงที่สัมพันธ์กับเสียงที่ออก
เสียงอยู่ด้านหน้า ส่วนกลาง หรือด้านหลังปาก และไม่ว่าจะเป็นกรามสูงหรือต่ำ (Ahmad, 2016) การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ Color Vowel® จึงถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยนักเรียนฝึกการออกเสียง
โดยไม่ต้องเทียบเคียงกับ ภาษาไทย และให้แนวทางในการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษได้อย่าง
สนุกสนาน ช่วยเสริมสร้างพื้นฐานการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจให้แข็งแรง
ด้วยหลักการและเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดการเรียนรู้ Color Vowel® เพื่อ
พัฒนาการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียง
สามัคคี) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
2

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ Color Vowel® ที่ส่งเสริมการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. เพื่อศึกษาการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เกิดจากการ
จัดการเรียนรู้ Color Vowel®
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การวิจัยในครั้งนี้ ทำให้นักเรียนสามารถรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจได้ด้วยการจัดการเรียนรู้
Color Vowel®
นิยามศัพท์เฉพาะ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
การวิจั ย เชิงปฏิ บั ติ การในชั้น เรียน หรือ Classroom Action Research (CAR) เป็ น การแสวงหา
ความรู้ภายใต้การดำเนินการของครูที่กลายมาเป็นนักวิจัย เพื่อตรวจสอบประเด็นและปัญหาในชั้นเรียนที่ตนสอน เป็น
การนำความคิ ด ไปปฏิ บั ติ ผ่ านกระบวนการที่ เป็ น วงจร การวางแผน (Plan), การดำเนิ น การ (Act), การสั งเกต
(Observe), และการสะท้อนผล (Reflect) ซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำกันจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ผู้วิจัยคาดหวัง
การจัดการเรียนรู้ Color Vowel®
การจั ดกิจ กรรมการเรีย นรู้ Color Vowel® เป็น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียน
คำศัพท์และการออกเสียง มีต้นแบบที่ดี และสร้างความมั่นใจของผู้เรียนในการสื่อสาร มีแผนผั ง Color Vowel®
Chart ซึ่งสร้างสรรค์โดย Taylor & Thompson เป็นตัวจัดระเบียบภาพสำหรับการพูดภาษาอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่ง
ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยนักเรียนฝึกเชื่อมโยงเสียงสระของภาษาอังกฤษกับคำหลักและวลี โดยไม่ต้อง
เทียบเคียงกับภาษาไทย และให้แนวทางสำหรับนักเรียนในการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษได้อย่าง
สนุกสนาน ช่วยเสริมสร้างพื้นฐานการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจให้แข็งแรง
การรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
การรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ เป็นส่วนประกอบของสมรรถนะการสื่อสารของผู้เรียนใน
หลักสูตรฐานสมรรถนะที่กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงหลักสูตรและมุ่งหวังให้เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู
ในกลุ่มสาระภาษาต่าง ๆ ทั้งนี้ องค์ประกอบของการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ
คำศัพท์ โครงสร้าง และการออกเสียง การใช้ประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม สามารถเชื่อมโครงสร้างภาษา
กับความหมายตามบริบทสถานการณ์ต่าง ๆ และส่งสารอย่างมีลูกเล่น ชั้นเชิง เพื่อให้สารไปถึงผู้รับสารได้สำเร็จ ดังนั้น
การพัฒ นาความสามารถด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษเท่ากับเป็นพื้นฐานลำดับแรกที่สำคัญ นำไปสู่การ
พัฒนาสมรรถนะการสื่อสาร
เกณฑ์การประเมินการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
เกณฑ์การประเมินการรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจต้องประเมินให้นักเรียนมีครอบคลุมทั้ง
ความรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติ มีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ การออกเสียงที่ถูกต้อง ความคล่องแคล่วเป็นธรรมชาติ และ
การใช้ท่าทีที่เหมาะสม
3

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & McTaggart (1988, อ้างถึงใน Cilliers, 2007) ระบุ
ว่า เป็นการแสวงหาความรู้ภายใต้การดำเนิน การของนักปฏิบัติที่กลายมาเป็นนักวิจัย เพื่อตรวจสอบประเด็นและ
ปัญหาในสถานที่ทำงานของตนเอง เป็นการนำความคิดไปปฏิบัติผ่านกระบวนการที่เป็นวงจรซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาและนักวิจัยสามารถใช้วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลได้หลากหลาย
วิธี มีข้อกำหนดลักษณะสามประการสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่
1) เป็นการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ที่ต้องปรับปรุงซ้ำเป็นวงจร
2) การวิจัย ดำเนิ น ไปตามรอบวงมีวัฏ จักรประกอบด้วย การวางแผน (Plan), การดำเนิน การ
(Act), การสังเกต (Observe), และการสะท้อนผล (Reflect) ซึ่งแต่ละการดำเนินการแต่ละ
วงจรต้องทำอย่างเป็นระบบ วิจารณ์ได้ และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ดังปรากฎ
ในรูปที่ 1

รูปที่ 1 วัฏจักรการวิจัยเชิงปฏิบตั กิ ารของ Kemmis & McTaggart (1988, อ้างถึงใน Cilliers, 2007)
3) ผู้วิจัยควบคุมกระบวนการโดยรวม แล้วค่อย ๆ ขยายการมีส่วนร่วมในงานวิจัยให้ครอบคลุม
คนอื่น ๆ ที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของกิจกรรม
รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ จึงเป็นการแสวงหาวิธีพัฒนานักเรียนของครูที่กลายมาเป็นนักวิจัย
เพื่อ ตรวจสอบปั ญ หาจากการจั ดการเรีย นรู้ของตน เป็น การนำความคิดไปปฏิ บัติ ผ่ านกระบวนการที่เป็น รอบวง
ประกอบด้วย การวางแผน (Plan), การดำเนินการ (Act), การสังเกต (Observe), และการสะท้อนผล (Reflect) ซึ่งจะ
เกิดขึ้นซ้ำกัน 3 วงจร
ปัญหาการสอนออกเสียงภาษาอังกฤษในประเทศไทย
รักษมน ยอดมิ่ง (2560) พบว่า การออกเสีย งภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องนำไปสู่การสื่อสารอย่างมี
ประสิ ทธิภาพ ครูส อนออกเสี ยงนั กเรีย นควรฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง และ ถ้านักเรียนออกเสี ยงไม่
ถูกต้องขณะที่กำลังฝึกออกเสียง ครูควรแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น นอกจากนี้ยังนักเรียนไม่มั่นใจ ไม่กล้าที่จะออกเสียง
ภาษาอังกฤษ, นักเรียนไม่รู้วิธีการออกเสียงของคำศัพท์นั้น ๆ นักเรียนออกเสียงไม่ชัดเจน ไม่เหมือนเจ้าของภาษา,
นักเรียนขาดทักษะความรู้พื้นฐานในการออกเสียง ลำดับสุดท้ายคือนักเรียนขาดการฝึกฝน สำหรับแนวทางการแก้ไข
ปัญ หาในการสอนออกเสี ย งภาษาอังกฤษในเบื้องต้น คือ การฝึ กออกเสี ยงอย่างสม่ำเสมอจากสื่ อต่ าง ๆ เช่น สื่ อ
ออนไลน์ ซีดี เป็นต้น, การใช้สื่อมัลติมีเดีย หรือแบบทดสอบต่างๆมาช่วยในการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการ
4

สอนที่ ส นุ ก ในทางเดี ย วกัน Ahmad (2016) พบว่า ปั ญ หาที่ ค รูส อนภาษาอังกฤษเป็ น ภาษาที่ ส องมั ก จะเจอคื อ
นักเรียนไม่รู้วิธีอ อกเสียงคำศัพท์หลายคำ ทำให้ไม่มีความมั่นใจในการสื่อสาร คุณครูเองก็ไม่รู้วิธีการสอนที่จะสอน
คำศัพท์ไปพร้อม ๆ กับการออกเสียง
ดังนั้น คุณครูต้องปรับการเรียนรู้สมรรถนะการสื่อสารด้วยภาษาของผู้เรียนในปัจจุบัน คือ การจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนคำศัพท์แ ละการออกเสียง มีต้นแบบที่ดี และสร้างความมั่นใจของผู้เรียนใน
การสื่อสาร
การจัดการเรียนรู้ Color Vowel®
แผนผั ง Color Vowel® Chart ซึ่ ง สร้ า งสรรค์ โ ดย Taylor & Thompson (1999, อ้ า งถึ ง ใน
Ahmad, 2016) เป็ นตัวจัดระเบี ยบภาพสำหรับการพูดภาษาอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Color Vowel® แผนผังนี้ช่วยเชื่อมโยงเสียงสระของภาษาอังกฤษกับคำหลักและวลี และให้แนวทางสำหรับครูและ
ผู้เรียนในการพูดคุยเกี่ยวกับการออกเสียงได้อย่างง่ายดาย เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้กับนักเรียนแม้ในระดับชั้นต่ำสุด
และใช้ได้ตลอดทั้งปีการศึกษาเพื่อเน้นความสนใจของผู้เรียนเกี่ยวกับเสียงสระที่เน้นเสียงในคำศัพท์ใหม่ ซึ่งช่วยให้พวก
เขาได้ยินการเน้นเสียงที่สร้างรูปแบบจังหวะของการพูดภาษาอังกฤษ นักเรียนจะได้รู้จักทั้งเสียงรวมถึงตำแหน่งของ
เสียงด้วย เพราะรูปทรงของแผนภูมิแสดงถึงปากเพื่อแสดงเสียงที่สัมพันธ์กับเสียงที่ออกเสียงอยู่ด้านหน้า ส่วนกลาง
หรือด้านหลังปาก และไม่ว่าจะเป็น กรามสูงหรือต่ำ มีตัวอย่างบทเรียนเพื่อแนะนำแผนภูมิในระดับต่าง ๆ โดยใน
ระดับชั้นที่ต่ำกว่า ครูสามารถแนะนำเสียงทีละน้อยได้ ดังปรากฏในรูปที่ 2

รูปที่ 2 แผนผัง Color Vowel® Chart (Taylor & Thompson, 1999 อ้างถึงใน Ahmad, 2016)
จุดประสงค์ของบทเรียนนี้คือ เพื่อเน้นความสนใจของผู้เรียนไปที่เสียงสระที่มีการเน้นเสียงของคำ
ในแผนภูมิและเพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างเสียงกับสีที่แสดงเสี ยงนั้น ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดความรู้นั้นไปสู่การ
เน้นย้ำและอภิปรายสระเน้นเสียงของคำใหม่และสระสูงสุดของวลีได้ง่ายขึ้น ในการแนะนำแผนภูมิในระดับที่สูงขึ้น
กิจกรรมการค้นพบสามารถทำได้เพื่อช่วยนักเรียนในการพิจารณาว่าควรวางสระไว้ที่ใดบนแผนภูมิเปล่า ตัวอย่างเช่น
นักเรียนสามารถรู้สึกได้ชัดเจนว่าสระใดออกเสียงด้วยปากที่เปิดกว้างกว่าโดยวางมือไว้ใต้ขากรรไกรขณะพูดเสียงสระ
ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้อมยิ้มหรือตัวกดลิ้นเพื่อระบุว่าลิ้นเคลื่อนไปด้านหน้าหรือด้านหลังปาก ซึ่งออกแบบว่า
เสียงจะเป็นเสียงสระหน้า สระกลาง หรือสระหลัง เมื่อนักเรียนทำแผนภูมิเสร็จแล้ว สามารถแนะนำแผนภูมิด้วยความ
เข้าใจที่ชัดเจนขึ้นว่าเหตุใดแผนภูมิจึงมีรูปทรงตามที่เป็นอยู่ ในขณะที่นักเรียนเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ การอ้างอิงแผนภูมิจะ
เชื่อมโยงกันสำหรับทั้งชั้นเมื่อสนทนาเรื่องเสียงสระง่ายกว่ามากในการอ้างถึงสี GREEN เมื่อพูดถึงการออกเสียงสระใน
ความรู้สึกหรือในพยางค์ที่เน้นเสียงของการแทรกแซง แทนที่จะพูดเสียง /i/ การออกเสียงผิดของสระทั่วไป ได้แก่ การ
แยกแยะระหว่าง /i:/ และ /ɪ/ ตัวอย่างเช่น นักเรียนมักสับสนระหว่างคำกริยา Leave (GREEN) และ Live (SILVER
for the verb)เนื่องจากคำเหล่านี้สับสนได้ง่ายเพราะมีความคล้ายคลึงในการออกเสียงจึงควรเน้นความแตกต่างของ
5

เสี ยงสระและหวังว่าจะป้ องกัน การใช้ในทางที่ผิดในอนาคตเพราะเน้นการออกเสี ยงของคำเหล่านี้พร้อมกับความ


แตกต่างในความหมาย ถ้านักเรียนเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยง /i:/ กับ GREEN และ /ɪ/ กับ SILVER พวกเขาควรจะสามารถ
แยกแยะสิ่งที่พวกเขาได้ยินและพวกเขาพยายามจะพูดให้ คล่องขึ้น มีหลายวิธีที่นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจ
เกี่ยวกับเสียงสระโดยใช้สีต่าง ๆ ครูสามารถตรวจทานคำโดยขีดเส้นใต้เสียงสระ และนักเรียนสามารถพูดได้ว่ามันคือ
เสียงสีอะไร เขียนสีลงไป หรือจับคู่คำนั้นกับคำสีที่เหมาะสม อย่างหลัง สามารถเขียนคำบนบัตรดัชนี และนักเรียน
สามารถวางคำใต้บัตรดัชนีของคำสีที่มีเสียงเดียวกันนั้นได้
บทเรียนนี้ครูที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาก็สามารถใช้ได้ Kone et al. (2019) ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้
Color Vowel® Chart เพื่อพัฒนาการออกเสียงของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในโรงเรียน SMPN 1
Majauleng ประเทศอิ น โดนี เซี ย โดยพั ฒ นาการออกเสี ย งคำศั พ ท์ ภ าษาอั งกฤษของนั ก เรีย นชาวอิ น โดนี เซี ย ชั้ น
มัธยมศึกษาปีที่สอง ชาย 10 คน หญิง 10 คน ใช้ Color Vowel Chart เสริมในห้องเรียน ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
พบว่าคะแนนสอบก่อนเรียนโดยเฉลี่ยคือ 78 คะแนน และคะแนนสอบหลังเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 85 คะแนน แสดงว่า
การใช้ Color Vowel® Chart สามารถพั ฒ นาการออกเสี ย งของผู้ เรี ย นภาษาอั งกฤษเป็ น ภาษาที่ ส องหรือ เป็ น
ภาษาต่างประเทศได้จริง ข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งคือการใช้แผนภูมิติดผนังหรือสมุดบันทึกของนักเรียนเพื่อระบุว่า
คำหรือพยางค์ที่เน้นเสียงของคำใดที่มีเสียงสระเหมือนกันกับสี ดังปรากฏในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงการใช้สีคู่กับเสียงสระในภาษาอังกฤษ (Kone et al., 2019)


ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Color Vowel® แบบออนไลน์ จะช่วยนักเรียนฝึกเชื่อมโยงเสียง
สระของภาษาอังกฤษกับคำหลักและวลี โดยไม่ต้องเทียบเคียงกับภาษาไทย และให้แนวทางสำหรับนักเรียนในการ
เรียนรู้เกี่ยวกับการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษได้อย่างสนุกสนาน
สมรรถนะการสื่อสาร
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแผนปฏิ บัติการปรับ ปรุงหลั กสู ตรแกนกลางการจัดการศึกษาขั้น
พื้ น ฐาน พ.ศ.2551 เป็ น หลั ก สู ต รฐานสมรรถนะ จากเดิ ม มี ส มรรถนะ 5 ด้ า น ปรั บ เป็ น มี ส มรรถนะ 6 ด้ า น
ประกอบด้วย 1) การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ 2) การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้ 3) การสื่อสาร 4) การจัดการและ
6

การทำงานเป็นทีม 5) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 6) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน โดยเน้น มิติ


ด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสมรรถนะ “การอยู่
ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน” เพื่อให้เด็กไทยมีสมรรถนะทั้งด้านวิทยาศาสตร์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล
และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน (บัลลังก์ โรหิตเสถียร, 2564)
ต่ อมา สำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน (2564) นิ ย ามสมรรถนะการสื่ อ สารไว้ว่ า
สมรรถนะการสื่อสาร คือ การที่ผู้เรีย นมีความสามารถรับรู้ รับฟัง ตีความ และส่งสารด้วยภาษาต่าง ๆ ทั้งวัจนภาษา
และอวัจนภาษา โดยใช้กระบวนการคิด ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ ความเข้าใจ ในระบบคุณค่า การแก้ปัญหาร่วมกันผ่าน
กลวิธีการสื่อสาร อย่างฉลาดรู้ สร้างสรรค์ มีพลัง โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยสรุปแล้ว สมรรถนะการสื่อสารเป็น 1 ใน 6 สมรรถนะของผู้เรียนในหลักสูตรฐานสมรรถนะที่
กระทรวงศึกษาธิการกำลังจะปรับปรุงและมุ่งหวังให้เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระภาษาต่าง ๆ
พื้นฐานของสมรรถนะการสื่อสาร คือ การรับส่งสารในภาษาต่าง ๆ รูปแบบใดก็ได้ด้ วยความเข้าใจ ดังนั้น ในรายวิชา
ภาษาอังกฤษ การจะทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ดี ต้องฝึกให้ผู้เรียนมีการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
ก่อน นั่นเอง
องค์ประกอบของการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
ทวีศักดิ์ ชูมา (2559) ระบุว่า องค์ประกอบของการรับส่งสารที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องประกอบ
ไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ต้องมีความรู้ด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง หมายถึง ความรู้
ด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง (2) ต้องมี
ความรู้ด้านสังคม หมายถึง การใช้คำ และโครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม (3) ต้องมีความรู้ในการ
ใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูดและเขียน หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้าง
ภาษา กับความหมายในการพูดและเขียนตามรูปแบบ และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน (4) ต้องมีความรู้ในการใช้กลวิธี
ในการสื่อความหมาย หมายถึง การใช้เทคนิคเพื่อให้การรับส่งสารประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการพูด
โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ
คำศัพท์ โครงสร้าง และการออกเสียง การใช้ประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม สามารถเชื่อมโครงสร้างภาษา
กับความหมายตามบริบทสถานการณ์ต่าง ๆ และส่งสารอย่างมีลูกเล่น ชั้นเชิง เพื่อให้สารไปถึงผู้รับสารได้สำเร็จ ดังนั้น
การพัฒ นาความสามารถด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษเท่ากับเป็นพื้นฐานลำดับแรกที่สำคัญ นำไปสู่การ
พัฒนาสมรรถนะการสื่อสาร
เกณฑ์การประเมินการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) ยกตัวอย่างเกณฑ์การ
ประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษไว้ ดังนี้ เกณฑ์ที่ 1 ความถูกต้องด้านเนื้อหา ประเมินจากการสื่อสารให้ตรงประเด็น
เนื้อหา ถูกต้องตามหัวข้อที่กำหนด ออกเสียงถูกต้อง ใช้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างภาษาถูกต้อง และเกณฑ์ที่ 2
ความสามารถในการพูด ประเมินจากความคล่องแคล่ว พูดเป็นธรรมชาติ ประสานสายตากับผู้ฟัง มีการแสดงออกทาง
สีหน้าและท่าทางอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับเกณฑ์ประเมินการพูดภาษาอังกฤษระดับ A2 (ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น)
ของ Cambridge Assessment English (2020) ที่มีการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ไวยากรณ์และคำศัพท์ การออกเสียง
และท่าทีในขณะที่พูด
โดยสรุปแล้ว เกณฑ์การประเมินสมรรถนะการสื่อสารด้วยภาษาควรประเมินให้นักเรียนมีครอบคลุม
ทั้งความรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติ นั่นคือ มีหลักการออกเสียงที่ถูกต้อง และมีความคล่องแคล่ว เป็นธรรมชาติ ใช้
ท่าทีที่เหมาะสม
7

วิธีการดำเนินการวิจัย
ตัวแปร
1. นวัตกรรม คือ การจัดการเรียนรู้ Color Vowel®
2. คุณลักษณะของนักเรียน คือ การรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
กลุม่ เป้าหมาย
นั ก เรี ย นชั้น มั ธ ยมศึก ษาปี ที่ 1/8 ที่ กำลั งศึก ษาในภาคเรียนที่ 1 ปี ก ารศึ กษา 2565 ณ โรงเรีย น
เทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) จังหวัดสงขลา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้วิจัยเลือกแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถด้านการออกเสียง
ภาษาอังกฤษ
2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบประเมิน การรับส่งสารในภาษาอังกฤษ
ด้วยความเข้าใจท้ายวงจร แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกรายละเอียดการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน การรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วย
ความเข้าใจ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
วงจรที่ 1
1. Plan = วิเคราะห์ปัญหา วางแผนการวิจัย สร้างแผนการสอนและแบบประเมินสมรรถนะการ
สื่อสารด้วยภาษา โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3 คน
2. Act = ลงมือดำเนินการวิจัยกับกลุ่มเป้าหมาย
3. Observe = ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้
4. Reflect = สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
วงจรที่ 2
1. Plan = ปรับปรุงแผนการสอนและแบบประเมิน
2. Act = ลงมือดำเนินการวิจัยกับกลุ่มเป้าหมาย
3. Observe = ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้
4. Reflect = สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
วงจรจะดำเนิ น ต่ อ ไปเมื่ อ ผลลั พ ธ์ ยั ง ไม่ บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ โดยวงจรจะสิ้ น สุ ด ลงเมื่ อ นั ก เรี ย น
กลุ่มเป้าหมายสามารถรับส่งสารภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจได้
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบเหตุการณ์ และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย
8

รายการอ้างอิง
ภาษาไทย
ทวีศักดิ์ ชูมา. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบกลวิธีการสื่อสาร.
วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 125-137. https://so04.tci-
thaijo.org/index.php/JMA/article/view/141674/104986
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2564, 13 สิงหาคม). ชงปรับแผนทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ. MOE360.
https://moe360.blog/2021/08/13/competency-based-education/
รักษมน ยอดมิ่ง. (2560). การสอนออกเสียงภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1216-1226. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-
Journal/article/download/88743/69776/
วิจารณ์ พานิช. (2562). วิจัยชั้นเรียนเปลี่ยนครู.
https://www.scbfoundation.com/stocks/35/file/1554460111fxcb135pdf/วิจัยชั้นเรียน.pdf
สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการจัดการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป The Common European
Framework of Reference for Languages (CEFR) ระดับชั้นมัธยมศึกษา.
http://ltu.obec.go.th/english/2013/index.php/th/2012-08-08-10-26-5/74-cefr
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 20 ตุลาคม). สมรรถนะการสื่อสาร. CBE Thailand.
https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/สมรรถนะการสื่อสาร/
ภาษาอังกฤษ
Ahmad, K. (2016). Integrating pronunciation with vocabulary skills. In T. Jones (Ed.), Pronunciation in
the classroom: The overlooked essential (pp. 1-16). TESOL Publications.
https://www.tesol.org/docs/default-source/books/14028_sam.pdf?sfvrsn=2&sfvrsn=2
Cambridge Assessment English. (2020). Cambridge English Qualifications A2 Key Handbook for
teachers for exams from 2020. https://www.cambridgeenglish.org/images/504505-a2-key-
handbook-2020.pdf
Cilliers, W. J. (2007). An experientialleaming process for the advancement of previously
disadvantaged employees in an industrial context [Doctoral dissertation]. UPSpace
Institutional Repository, Department of Library Services, University of Pretoria.
https://repository.up.ac.za/handle/2263/29266
IELTS Research. (2020). Test-taker performance 2019. https://www.ielts.org/en-us/research/test-
taker-performance
Kone, A. M., Jannah, H., & Hafzah, A. (2019). The Implementation of Color Vowel Chart to Enhance
the EFL Students’ Pronunciation At SMPN 1 Majauleng. Tamaddun, 18(2), 110–132.
https://doi.org/10.33096/tamaddun.v18i2.71
ลงชื่อ พิมพกานต์ ผูว้ ิจัย
(นางสาวพิมพกานต์ บุญทองแก้ว)
9

ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แผนการจัดการเรียนรู้

โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ31101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อหน่วย Daily life เวลา 10 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Greetings เวลา 2 ชัว่ โมง
สอนวันที่ 7 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564
1. สาระสำคัญ
การออกเสียงคำศัพท์ การทักทายเมื่อเจอกันครั้งแรกแบบเจ้าของภาษา และการถามข้อมูลส่วนตัว
2. มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ตัวชี้วัด ม. 1/2 อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทร้อยกรองสั้น ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงควมรู้สึกและความคิดเห็น
อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ม. 1/1 สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง กิจกรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและการเขียน
ตัวชี้วัด ม. 1/1 ใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่างทางสุภาพ เหมาะสม ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรม
ของเจ้าของภาษา
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
นักเรียนระบุเสียงสระของคำได้ถูกต้อง
ด้านทักษะ (P)
นักเรียนพูดให้ข้อมูลของตนเองได้ถูกต้อง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
นักเรียนพูดโต้ตอบโดยใช้ท่าทางและน้ำเสียงที่เหมาะสม
สมรรถนะผู้เรียนที่สำคัญ (C)
นักเรียนพูดถ่ายทอดความรู้จากสารที่อ่านตามที่กำหนดได้
10

4. สาระการเรียนรู้
4.1 คำศัพท์: hello, my, name, nice, meet, etc.
4.2 หน้าที่ของภาษา: การถามและบอกข้อมูล (Asking/ Giving information)
4.3 โครงสร้างประโยค:
A : What is your name?
B : My name is B and this is C.
A : My name is A. Nice to meet you.
B : Nice to meet you, too.
C : Nice to meet you, too.
4.4 ความรู้เพิ่มเติมเชิงวัฒนธรรม: มารยาทการทักทายแบบเจ้าของภาษา
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. แผ่นป้าย Color Vowel Chart
2. แผ่นป้ายเสียงสระของ Color Vowel Chart
3. แผ่นป้าย Color Vowel Chart แบบสีขาวดำ
4. ป้ายตัวละคร Emily, Brian, John
5. แบบประเมินการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
ตอนที่ 1
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up) 5 นาที
1. นักเรียนและคุณครูทักทายกัน
2. ครูตั้งแผ่นป้าย Color Vowel Chart หน้ากระดานแล้วบอกว่า
Today, we will play this chart together!
3. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
Do you know this chart? What is it for?
Do you know vowels?
2. ขั้นนำเสนอ (Presentation) 15 นาที
1. นักเรียนอ่านออกเสียงตาม Color Vowel Chart แบบมีสีบนกระดาน ตามลำดับ
2. นักเรียนอ่านตามครู
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วครูแจกแผ่นป้าย Color Vowel Chart แบบสีขาวดำ และอุปกรณ์
ข้อคำนึง: นักเรียนควรได้รับการคละกลุ่มจากระดับความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
4. นักเรียนดูแผ่นป้ายเสียงสระของ Color Vowel Chart แล้วอ่านแต่ละคำตามครู
11

3. ขั้นฝึก (Practice) 20 นาที


1. นักเรียนดูแผ่นป้ายเสียงสระของ Color Vowel Chart แล้วเขียนสัญลักษณ์เสียงสระลงไป
*เดินตรวจระหว่างเด็กทำกิจกรรม*
2. นักเรียนวาดภาพสิ่งของที่เป็นความหมายของคำศัพท์ลงไปในช่องสีนั้น ๆ
3. นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่ออกเสียงเดียวกันกับแต่ละสีลงไป แล้วขีดเส้นใต้เสียงสระในคำ
4. นักเรียนระบายสีตามสีที่อยู่ในช่อง
4. ขั้นนำไปใช้ (Production) 10 นาที
นักเรียนแข่งบอกคำศัพท์ของแต่ละสีแบบไม่ซ้ำกัน (ให้เวลาคนละไม่เกิน 5 วินาที)
*misspell/ mispronounce ให้แก้ให้จบเลย*
5. ขั้นสรุป (Wrap-up) 10 นาที
1. นักเรียนอ่าน Color Vowel Chart ตามลำดับสีครั้งสุดท้ายร่วมกัน
2. ครูให้นักเรียนพัก (ระหว่างพัก นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนคำศัพท์กันได้)
ตอนที่ 2
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up) 10 นาที
1. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด
When you meet your friends, what do you say? Anything else?
Did you watch any English videos? movies? cartoon?
2. นักเรียนดูสื่อวิดิทัศน์ที่มีการทักทายกันของเจ้าของภาษาแล้วตอบคำถาม
How do the people in those videos greet each other?
2. ขั้นนำเสนอ (Presentation) 20 นาที
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3 คน แล้วครูแจกสคริปต์บทสนทนา นักเรียนอ่านตามสคริปต์ทีละประโยค
*หากนักเรียนออกเสียงไม่ได้ ใช้ Backward build-up Drill ร่วมกับป้าย Color Vowel Chart*
ข้อคำนึง: นักเรียนควรได้รับการคละกลุ่มจากระดับความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
Students : My name is Emily. Neece to meet you.
Teacher : Wait. Can you say that again?
Students : My name is Emily. Neece to meet you.
Teacher : Okay, This word *ชี้ที่ Nice* is like White Tie.
Students : Nice.
Teacher : Nice to meet you.
Students : Nice to meet you.

12

2. นักเรียนดูบทสนทนาระหว่าง Emily, Brian, และ John ที่ครูแสดงบทบาทสมมติโดยใช้ป้ายตัว


ละครประกอบการแสดง
Emily : Hello.
Brian, John: Hello.
Emily : What are your names?
Brian : My name is Brian and this is John.
Emily : My name is Emily. Nice to meet you.
Brian : Nice to meet you, too.
John : Nice to meet you, too.
3. ขั้นฝึก (Practice) 10 นาที
1. นักเรียนในแต่ละกลุ่มรับบทเป็น Emily, Brian และ John จากนั้นนักเรียนวาดตัวละครอย่าง
ง่ายในกระดาษคล้ายกับของที่คุณครูเตรียมมาเพื่อนำมาแสดงบทบาทสมมติ
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกอ่านสคริปต์ต่อกัน จากนั้นส่งสคริปต์คืนครู แล้วฝึกสนทนาโต้ตอบกันเอง
โดยไม่ดูสคริปต์
4. ขั้นนำไปใช้ (Production) 10 นาที
นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาแสดงบทบาทเป็น Emily, Brian และ John หน้าชั้นเรียน โดยใช้ป้ายตัว
ละครที่ตัวเองทำขึ้นประกอบการแสดง
*misspell/ mispronounce ให้แก้ให้จบโดยใช้เทคนิค Color Vowel Chart ร่วม*
5. ขั้นสรุป (Wrap-up) 10 นาที
1. นักเรียนทบทวนบทสนทนากับเพื่อนอีกครั้ง โดยครูจะแบ่งแถวของนักเรียนเป็นตัวละครทั้งสาม
ให้ จากนั้นนักเรียนแต่ละแถวสนทนาต่อกัน
2. นักเรียนตอบคำถาม
What did you learn today? Do you like the lesson?
Do you have any questions?
3. นักเรียนรับการบ้านเตรียมทำป้ายตัวละครที่เป็นรูปของบุคคลที่ชื่นชอบมาใช้คาบถัดไป
4. นักเรียนและครูกล่าวเลิกชั้นเรียน
13

7. การวัดและประเมินผล
จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การวัด
ด้านความรู้ (K) ประเมินการออกเสียงคำแต่ แบบประเมินการรับส่งสาร ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์
นักเรียนพูดออกเสียงคำได้ถูกต้อง ละคำในบทสนทนา ในภาษาอังกฤษด้วยความ
เข้าใจ
ด้านทักษะ (P) ประเมินการพูดโต้ตอบ แบบประเมินการรับส่งสาร ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์
นักเรียนพูดโต้ตอบให้ข้อมูลของ ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน ในภาษาอังกฤษด้วยความ
ตนเองได้ถูกต้อง และนักเรียนกับครู เข้าใจ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ประเมินท่าทางการพูด แบบประเมินการรับส่งสาร ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์
นักเรียนพูดโต้ตอบโดยใช้ท่าทีที่ โต้ตอบของนักเรียน ในภาษาอังกฤษด้วยความ
เหมาะสม เข้าใจ
สมรรถนะผู้เรียนที่สำคัญ (C) ประเมินการพูดโต้ตอบ แบบประเมินการรับส่งสาร ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์
นักเรียนพูดถ่ายทอดความรู้จาก ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน ในภาษาอังกฤษด้วยความ
สารที่ฟังและอ่านตามที่กำหนดได้ และนักเรียนกับครู เข้าใจ
8. กิจกรรมเสนอแนะ/กิจกรรมต่อเนื่อง
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ ……………………………………………… ครูผู้สอน


(นางสาวพิมพกานต์ บุญทองแก้ว)
14

สื่อการสอน
แผ่นป้าย Color Vowel Chart

แผ่นป้ายเสียงสระของ Color Vowel Chart


15

แผ่นป้าย Color Vowel Chart แบบสีขาวดำ

ป้ายตัวละคร Emily, Brian, John


16

ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินการรับส่งสารในภาษาอังกฤษด้วยความเข้าใจ
ชื่อ..................................................นามสกุล.................................................ชั้น...............เลขที่............
คำชี้แจง ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พร้อมทั้งประเมิน และใส่ระดับคุณภาพในแต่ละประเด็น

ประเด็น ระดับคุณภาพ
4 3 2 1
ความถูกต้อง ออกเสียงคำศัพท์ ออกเสียงคำศัพท์ ออกเสียงคำศัพท์ ออกเสียงคำ/
และประโยคได้ และประโยคได้ และประโยคได้ ประโยคผิด
ถูกต้องตาม ถูกต้องตาม ถูกต้องเป็น หลักการออก
หลักการออกเสียง หลักการออกเสียงมี ส่วนใหญ่ ขาดการ เสียงทำให้
ออกเสียงเน้นหนัก เสียงเน้นหนักใน ออกเสียงเน้นหนัก สื่อสารไม่ได้
ในคำ/ประโยค คำ/ประโยคเป็น
อย่างสมบูรณ์ ส่วนใหญ่

ความ พูดต่อเนื่อง ไม่ พูดตะกุกตะกักบ้าง พูดเป็นคำ ๆ หยุด พูดได้บางคำ


คล่องแคล่ว ติดขัด แต่ยังพอสื่อสารได้ เป็นช่วง ๆ เพื่อทำ ทำให้สื่อ
พูดชัดเจนทำให้ ให้ ความหมาย
สื่อสารได้ สื่อสารได้ไม่ชัดเจน ไม่ได้
การแสดง แสดงท่าทางและ พูดด้วยน้ำเสียง พูดเหมือนอ่านไม่ พูดได้น้อยมาก
ท่าทาง/ พูดด้วยน้ำเสียง เหมาะสมกับ เป็นธรรมชาติ ขาด
น้ำเสียง เหมาะสมกับบท บทบรรยาย ความน่าสนใจ
ประกอบ บรรยาย แต่ไม่มีท่าทาง
การพูด ประกอบ

ประเด็น ระดับคุณภาพ
ความถูกต้อง ……………….......
ความคล่องแคล่ว ……………….......
การแสดงท่าทาง/น้ำเสียงประกอบการพูด ……………….......
รวม ……………….......

ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
11-12 คะแนน ดีมาก
8-10 คะแนน ดี
5-7 คะแนน พอใช้
ต่ำกว่า 5 คะแนน ปรับปรุง
17

แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เรื่อง...................................................................................................................
สาระการเรียนรู้............................................................................................................................
ระดับชั้น.........................................................................เวลา......................................................
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล

ท่านคิดว่าการจัดการเรียนรูค้ รั้งนี้ ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผลเหมาะสมเพียงใด


น้อย มาก

ท่านคิดว่าการจัดการเรียนรูค้ รั้งนี้ ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด


น้อย มาก

สภาพปัจจุบันของปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ปัจจัย แนวทางส่งเสริม
ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้

ผู้เรียน

ครู

สภาพแวดล้อม
18

สภาพปัจจุบันของปัจจัยที่ส่งผลต่อความ
ปัจจัย สาเหตุ
ล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้

ผู้เรียน

ครู

สภาพแวดล้อม

แนวทางการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................. ............................................................
..................................................................................................................................................... ....................................
.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................................................................. ............
...................................................................................................................... ...................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
19

แบบบันทึกรายละเอียดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
วัน/เดือน/ปีที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้.............................................เวลา....................ถึง....................
บุคคลที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้.................................................................................................
............................................................................................................................. ......................
เรื่องที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้...........................................................................................................
............................................................................................................................. ......................
สิ่งที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประสบการณ์/มุมมอง/แนวคิดที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ (ระบุเงื่อนไข ปัจจัย)
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................. ............................................................
...................................................................................................................................................... ...................................
.........................................................................................................................................................................................
ประสบการณ์/มุมมอง/แนวคิดที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ (ระบุสาเหตุ)
.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
แนวทางการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
แนวทางการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
............................................................................................................................. ............................................................
.........................................................................................................................................................................................

You might also like