You are on page 1of 13

การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H

ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม


The development of English reading comprehension ability by using the 5W1H
technique in conjunction with the mind mapping of students in grade 4

กมลรัตน์ อัจฉริยะมณีกลุ 1 ณัฐมน ศรีราพัฒท์2 ชลธิชา หงษ์คง3 ชลชลิตา กมุทธภิไชย4

1,2,3นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร


4อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความใน
รายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน โดยใช้โดยใช้เทคนิค 5 W1H
ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้โดย
ใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผัง
มโนทัศน์ จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการ
เรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ 4) แบบประเมินเขียนผังมโนทัศน์
การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired
Simple t-test
ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความในรายวิชาภาษาอั งกฤษและการ
เขียนแผนผังมโนทัศน์โดยใช้เทคนิค 5W1H นักเรียนทุกคนมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ
100 และมีพัฒนาการเขียนผังมโนทัศน์เพิ่มขึ้น 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 (t = 12.17, sig = .000) 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการอ่านจับใจความ
ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังนโมทัศน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 9.08, S.D. = 4.71)
คำสำคัญ: ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ / เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังทัศน์ / ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน / ความพึงพอใจ
Abstract
The objectives of this research are 1) to develop reading comprehension in English subjects
and mind mapping by using the 5W1H technique. 2) to study the result of learning achievement in
English subjects by using the 5W1H technique together with mind mapping. 3) to study the
satisfaction of each students towards reading comprehension in English subjects by using the 5W1H
technique together with mind mapping. For the samples in this research is a secondary school
students grade 4/8 Kamphaeng Phet Pittayakom School in the second semester of the academic
year 2565, with 40 students were obtained by purposive random sampling. The research tools are
consisted of 1) A learning management plan for reading comprehension using the 5W1H technique
together with mind mapping 5 plans. 2) English Achievement Test 3) The satisfaction questionnaire
on the management of English reading comprehension learning was used by using the 5W1H
technique with mind mapping. 4) An assessment test for writing a mind mapping of reading
comprehension in English, by the statistics used in the research are including percentage, mean,
standard deviation, and Paired Simple
t-test
From the result of the study we found that 1) The development of reading comprehension
in English subjects and mind mapping by using the 5W1H technique. All of the students had a score
not less than 70 percent that pass the criteria, percentage 100 percent, and had further
development in writing mind mapping. 2) An achievement was significantly higher than before
studying at the level .05 (t = 12.17, sig = .000) 3) The satisfaction of grade 4 students on reading
comprehension in English by using the 5W1H technique in conjunction with mind mapping. By the
overall is in the highest level. (Mean = 9.08, S.D. = 4.71)
Keyword: English reading comprehension / 5W1H technique combined with mind mapping /
achievement / satisfaction

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สังคมโลกในปัจจุบันการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องมาจากภาษาอังกฤษ เป็น
เครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนเข้าใจความแตกต่างของภาษาและ
วัฒนธรรม ประเพณี สังคม และเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าประเทศอื่น ๆ มีการให้เรียนภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง
เพื่อให้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้วย โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาที่จำเป็นจะต้องมีการศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลในด้าน
ต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ O’ Malley และ Chamot (1990) กล่าวว่า ผู้เรียนควรมีความสามารถในการใช้
ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ควรมีทักษะในการอ่านตำราเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงสิ่ง
ที่อ่านออกมาในรูปแบบของการเขียนหรือการนำเสนอรายงาน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความสามารถในการอ่าน
และการเขียนภาษาอังกฤษในการเรียนเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในประเทศไทยการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่ใช้ในการเรียนและทำงาน ถือว่ามี
ความสำคัญมาก ๆ รวมถึงได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนที่หลากหลาย (สยามรัฐ ลอยพิมาย และ ชัยวัฒน์ วาระ
(2557) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในภาพรวมประเทศไทยไม่เกิดสิทธิผลเท่าที่ควร นักเรียนจบการศึกษาจากชั้น
ระดับประถมศึกษา บางคนยังไม่สามารถใช้ทักษะต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการอ่าน การพูด การเขียน และการ
ฟัง ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ดังคำกล่าวของ (พันทิพย์ เกื้อเพชรแก้ว (2545) กล่าวว่า อุปสรรคปัญหาที่พบ ใน
การเรียนวิชาภาษาอังกฤษคือ การขาดทักษะการอ่าน โดยเฉพาะการอ่านในระดับพื้นฐาน คือ การอ่านจำจับใจความ
สำคัญ ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝนการอ่านมาเป็นอย่างดี เหตุของปัญหาที่สำคัญ คือ ครูไม่ได้จักทำแผนการเรียนรู้ และ
นวัตกรรมประกอบการสอน ครูไม่ให้นักเรียนปฏิบัติตามกิจกรรมตามแผนการสอน ครูไม่ได้ส่ งเสริมให้นักเรียน
ค้นคว้าหาคำตอบหรือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ชุมพล ศรีทองกูล (2544) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาการเรียนการสอนมี
ปัจจัยที่สำคัญ คือ ครูต้องพัฒนาความรู้ความสามารถและมีความกระตือรือร้นที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องมีการจัดทำแผนการสอน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจทั้งระบบเพราะต้องคิดวิเคราะห์
เพื่อวางแผน คิดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลที่มีคุณภาพอยางหลากหลายและนำผลการบันทึกไป
ปรับปรุงเพื่อวางแผนใหม่ในระยะเวลาต่อไป
การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองกาวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้
ต่าง ๆ ที่ได้มาจากการอ่าน ดังนั้นการอ่านจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้ เพราะวิชาการต่าง ๆ จำเป็นที่
จะต้องอาศัยความสามารถต่าง ๆ ในการอ่านเพื่อที่จะทำความเข้าใจเนื้อหา และจับใจความจากเรื่องที่อ่าน แล้วจึง
นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ ในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และ
พัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านได้อยางมีประสิทธิภาพ
การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงวัยชรา การอ่านออกเสียงทำให้เรารู้ถึงข้อมูล
ข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก การอ่านให้เกิดความเข้าใจ ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความหวัง และมีความอยากรู้อยากเห็น
อันเป็นความต้องการของมนุษย์เราทุกคน การอ่านมีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง คือพัฒนาการศึกษา พัฒนา
อาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันต่อเหตุการณ์ และมีการพัฒนาองค์กร และประเทศให้เจริญรุ่งเรือง การ
ที่องค์กรจะก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ก็ได้มาจากการอ่าน
การอ่านจับใจความนับว่าเป็นหัวใจของการอ่าน เป็นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจในเนื้อ เรื่อง เข้าใจ
จุดมุ่งหมาย สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ความคิดเห็นที่ผู้เขียนต้องการแสดงต่อผู้อ่าน ตลอดจนวินิจฉัยคุณ
ค่าที่ตนเองอ่านได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการคิดและประสบการณ์เดิมที่ผู้อ่านมีอยูเพื่อใช้ในการคาด
เดาความหมายจากเนื้อเรื่องที่อ่าน (ทิศนา แขมมณี , 2544 และ นภเนตร ธรรมบวร, 2549) องค์ประกอบของการ
อ่านจับใจความที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านจับใจความได้ดีมีดังนี้ ความรู้ด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกบวรรณคดี
หลักภาษา และ หลักการใช้ภาษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านฟัง พูด อ่านและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้เกี่ยวกบ
เนื้อเรื่อง ถ้าผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจะช่วยให้ใช้เวลาน้อยลง และประสบการณ์ทางด้านความคิด เมื่อบุคคล
เริ่มรู้จักสื่อสารจะเริ่มคิดเกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ผ่านเข้าไปในสมอง เมื่อโตขึ้นถึงวัยที่สามารถ
อ่านจับใจความ จะทำให้สะสมความคิดที่ได้จากการอ่านเรื่อง
ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
จากความสำคัญของการอ่านจับใจความ ผู้วิจัยเห็นว่านักเรียนควรได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะการอ่านจับ
ใจความ เพื่อให้นักเรียนรู้และเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ถูกต้อง และสามารถจับใจความของเรื่องได้ในเวลาที่รวดเร็ว
นอกจานี้การฝึกทักษะอ่านจับใจความเป็นวิธี การสอนอีกวิธีหนึ่งที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาการสอนอ่านจับใจความได้
เป็นอย่างดี ผู้วิจัยจึงมีความสนใจ ที่จะจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์สำหรับฝึกอ่าน
จับใจความ โดยนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม เพื่อเป็นรู ปแบบการ
จัดการเรียนการสอนที่สามารถตอบสนองให้นักเรียนมีทักษะการอ่านจับใจความที่ดียิ่งขึ้น มีนักเรียนจำนวนมาก
ประสบปัญหาเนื่องจากอ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ อ่านแล้วไม่สามารถตอบคำถามได้ ไม่สามารถสรุปสาระสำคัญหรือ
ใจความสำคัญของเรื่อง นักเรียนบางคนอ่านได้แต่ไม่สามารถแปลความหมาย ไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจเรื่องที่อ่านจึงทำ
ให้จับใจความของเรื่องไม่ได้อีกทั้งผู้เรียนไม่มีความสนใจในรายละเอียดของเนื้อหา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการไม่ถนัด
หรือไม่ชอบเรียน ทำให้ผู้เรียนขาดทักษะการฝึกฝนการอ่านจับใจความ ขาดกระบวนการคิดวิเคราะห์ไม่มี การ
เชื่อมโยงเนื้อหา ทำให้เนื้อหาและใจความสำคัญไม่เชื่อมโยงต่อเนื่องกั น ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้ในระยะเวลาสั้นๆ
ส่งผลให้จับใจความของเรื่องไม่ได้ทำให้การอ่านไม่มีความหมาย ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่รู้เรื่องหรือได้สาระจากเรื่อง
ที่อ่าน
วิธีที่จะช่วยทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่อ่านได้ อีกหนึ่งวิธีนั้นก็คือ การใช้เทคนิค 5W1H
กับผังมโนทัศน์ เทคนิคนี้จะเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนได้รู้จัดกระบวนการแสวงหาความรู้ เพื่อช่วยให้
ผู้เรียนได้พบความจริงต่าง ๆ ด้วยตัวของผู้เรียนเอง นอกจากนี้การใช้คำถามจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทาง
ความคิด จะทำให้ผู้เรียนมีแง่มุมคิดที่แปลกใหม่ นำไปสู่ความเข้าใจที่ง่าย และเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่
กำหนดไว้ ช่วยพัฒนากกระบวนการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิดและความเข้าใจ โดย
ลักษณะของคำถามจะเป็นคำถามเกี่ยวกั บความเข้าใจ การให้ถามเพื่ออธิบาย การถามเพื่อความคิด วิเคราะห์ การ
ถามเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด โดยเทคนิคการใช้คำถามประกอบด้วย What อะไร, Where ที่ไหน , When
เมื่อไหร่ , Why ทำไม , Who ใคร , How อย่างไร เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนสูงขึ้นโดยใช้วิธีการสอนโดยใช้ผัง
มโนทัศน์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ (ทิศนา แขมมณี ,2546) เรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนผังมโนทัศน์
เป็นการจัดการเรียนเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด โดยนำเนื้อหาสาระมาจัดระบบ จัดลำดับ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์
เข้าด้วยกน ข้อดีของการเรียนรู้โดยใช้แผนผั งมโนทัศน์ ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ได้อยางมี
ประสิทธิภาพได้มากขึ้น เช่นสามารถช่วยคิด จดจำ บันทึก เข้าใจเนื้อหาและนำเสนอได้อยางเป็นระบบ ทำให้การ
เรียนรู้เป็นเรื่องที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวามากขึ้น การใช้แผนผังมโนทัศน์เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยจัดระบบข้ อมูลใหม่ ๆ
ให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการเชื่อมโยง เข้าสู่โครงสร้างความรู้เดิมในความจำระยะยาว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
จากปั ญ หาและความสำคั ญ ดั ง กล่ า ว ผู ้ ว ิ จ ั ย จึ ง มี ค วามสนใจที ่ จ ะจั ด การเรี ย นการสอนเพื ่ อ พั ฒนา
ความสามารถการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H ซึ่งประกอบด้วย What อะไร , Where ที่ไหน , When
เมื่อไหร่ , Why ทำไม , Who ใคร , How อย่างไร ร่วมกบผังมโนทัศน์ เข้ามาใช้ใน การอ่านจับใจความ เพื่อมุ่งเน้น
กระบวนการอ่านอย่างเป็นระบบ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการอ่านจับใจความมีโอกาสฝึกทักษะการอ่าน และ
ช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านได้เร็วขึ้น และมีความเข้าใจในการอ่านดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้การอ่ านจับใจความในรายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค
5W1H ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน
โดยใช้โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์
3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้โดยใช้เ ทคนิค
5W1H ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์

กรอบแนวคิดในการวิจัย
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย รวมทั้งการศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ผู้วิจัยพบว่าการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ สามารถพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ
ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ซึ่งสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยดังภาพประกอบที่

ตัวแปลตาม
1. ความสามารถการออ่านจับใจความ
ภาษาอังกฤษและความสามารถการเขียน
ตัวแปลต้น ผังมโนทัศน์
การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ร่วมกับผังมโนทัศน์ 3. ความพึงพอใจต่อกรจัดการเรียนรู้การอ่านจับ
ใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์

การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H


ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
วิธีการดำเนินวิจัย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผัง
มโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
ประชากรในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยา
คม จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีจำนวน 11 ห้อง รวมเป็นนักเรียน
407 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงเพชร
พิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ม.4/8 ซึ่งได้มาจากการ
สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 40 คน โดยเลือกมาจากการจัดการเรียนการสอน
และศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั้ง 11 ห้องเรียน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 มีจำนวนนักเรียนที่มีผล
การเรียนระดับเก่ง กลาง อ่อน จำนวนเท่า ๆ กัน ซึ่งผู้วิจัยเล็งเห็นความเหมาะสมในการใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผัง
มโนทัศน์ ในการช่วยในการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค
5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ประกอบด้วย 7 แผนการจัดการเรียนรู้ โดยในแต่ละแผนใช้เวลา 2 คาบเรียน รวมใช้เวลา
12 คาบเรียน ดังนี้
แผนการจัดการเรียนรู้ ปฐมนิเทศ จำนวน 1 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 Volcanoes จำนวน 1 แผน แผนละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 Families จำนวน 1 แผน แผนละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 Amazing Feats จำนวน 1 แผน แผนละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 Big Ideas จำนวน 1 แผน แผนละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 Striking It Rich จำนวน 1 แผน แผนละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที
แผนการจัดการเรียนรู้ ปัจฉิม จำนวน 1 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที
2. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความวิชภาษาอังกฤษ แบบปรนัย ชนิด 5 ตัวเลือก
จำนวน 20 ข้อ
3. แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์
4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เป็นแบบมาตรา
ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม โดยได้
ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้
1. ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียน (pretest) โดยใช้แบบ
ปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
2. อธิบายและชี้แจงกิจกรรมการเรียนการสอน การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค
5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ให้นักเรียนเข้าใจ
3. ดำเนินการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค
5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ จำนวน 5 แผน แผนละ 2 คาบเรียน รวมเวลา 10 คาบเรียน
4. หลังจากดำเนินการสอนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนต้องทำแบบฝึกระหว่างเรียน
โดยใช้ผังมโนทัศน์ ครูประเมินและให้คะแนน
5. เมื่อเสร็จสิ้นการสอนในแต่ละแผนการเรียนรู้ นักเรียนทำการทดสอบวัดความสามารถในการ
อ่านจับใจความ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
6. ทำการทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ ์ ก ารเรี ย นวิ ช าภาษาอั ง กฤษหลั ง เรี ย น ( posttest) ซึ ่ ง เป็ น
แบบทดสอบแบบคู่ขนาน ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
7. นั ก เรี ย นทำแบบสอบถามความพึ ง พอใจที ่ ม ี ต ่ อ การจั ด การเรี ย นรู ้ ก ารอ่ า นจั บ ใจความ
ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
8. เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำไปประมวลผลและวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H
ร่วมกับผังมโนทัศน์ที่ได้จากการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรู ป
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. วิเคราะห์ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโน
ทัศน์ โดยใช้สูตร E1/ E2 ตามเกณฑ์ 80/80
2. วิ เ คราะห์ ผ ลสั ม ฤทธิ ์ ก ารเรี ย นวิ ช าภาษาอั ง กฤษโดยใช้ การทดสอบค่ า ที ( t-test for
Dependent)
3. วิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้
เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัย
การวิจัย เรื่องการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H
ร่วมกับผังมโนทัศน์ในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถสรุปผลการวิจยั ได้ ดังนี้
1) ผลการหาประสิทธิภาพด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผัง
มโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 จำนวน 40 คน พบว่า การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียน
ทุกคนมีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70.00-93.75 คิดเป็นร้อยละ 100 และมีพัฒนาการเขียนผังมโนทัศน์เพิ่มขึ้น

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของ


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนเท่ากับ 10.20
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.74 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนเท่ากับ
19.28 ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.88 เมือ่ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีทที่ 4 ค่า Sig. (2-tailed) มีค่า .000 แสดงว่าคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษ
โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยน
ระดับการศึกษาความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.76, S.D.=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านผู้เรียน (Mean=4.80, S.D.=0.45) ด้านผู้สอน (Mean=4.76, S.D.=0.46)
และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (Mean=4.73, S.D.=0.46)
ตารางที่ 4.5 แสดงระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความวิ ชา
ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน

ข้อที่ รายการ Mean S.D. แปลผล


ด้านผู้สอน
1. อธิบายเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้ชัดเจน 4.83 0.38 มากที่สดุ
2. มีการแจ้งวัตถุประสงค์เนื้อหารายวิชาก่อนเรียนรู้อย่างชัดเจน 4.65 0.48 มากที่สดุ
3. ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติงานร่วมกัน 4.65 0.48 มากที่สดุ
4. ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน 4.88 0.40 มากที่สดุ
5. ช่วยเหลือและให้คำปรึกษานักเรียนเมื่อมีคำถาม 4.78 0.48 มากที่สดุ
ด้านกิจกรรมการเรียนรู้
6. ช่วยให้นักเรียนสร้างความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตัวเอง 4.65 0.48 มากที่สดุ
7. ส่งเสริมให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน 4.58 0.59 มากที่สดุ
8. ส่งเสริมการพัฒนาการคิดของนักเรียน 4.70 0.52 มากที่สดุ
9. บรรยากาศของการเรียนทำให้นักเรียนทำงานได้อย่างอิสระ 4.85 0.36 มากที่สดุ
10. เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น 4.88 0.33 มากที่สดุ
ด้านผู้เรียน
11. มีพัฒนาการอ่านจับใจความในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น 4.73 0.51 มากที่สดุ
12. สามารถนำเทคนิค 5W1H ร่วมกับพังมโนทัศน์ไปใช้ในวิชาอื่นได้ 4.85 0.43 มากที่สดุ
13. กล้าที่จะใช้ความสามารถทางการคิด 4.80 0.41 มากที่สดุ
14. ได้พัฒนาความสามารถการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.80 0.46 มากที่สดุ
15. พึงพอใจในผลการเรียนรู้ของตน 4.83 0.45 มากที่สดุ
ค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ด้าน 4.76 0.46 มากที่สุด

อภิปรายผลการวิจัย
1) ผลการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกบาปีที่ 4/8 จำนวน 40 คน พบว่า การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกคนมี
คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100 และมีพัฒนาการเขียนผังมโนทัศน์เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากเทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เป็นลำดับขั้นตอน เริ่ม
ด้วยการตั้งคำถามแต่ละข้อให้นักเรียนมีทักษะการคิดเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ทำให้สามารถจับใจความได้สมบูรณ์ และ
สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง ดังที่ อมลวรรณ วีระธรรมโม (2549, น.85-86) และสุวิทย์ มูลคำ (2550, น. 21-22)
กล่าวถึง เทคนิคการคิดวิเคราะห์อย่างง่ายที่นิยมใช้คื อ 5W1H ซึ่งประกอบด้วย What (อะไร) ปัญหาหรือสาเหตุที่
เกิดขึ้น Where (ที่ไหน) สถานที่หรือตำแหน่งที่เกิดเหตุ When (เมื่อไร) เวลาที่เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้น
Why (ทำไม) สาเหตุหรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น Who (ใคร) บุคคลสำคัญเป็นตัวประกอบหรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะ
ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ How (อย่างไร) รายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้นว่ามี
ความเป็นไปได้ในลักษณะใด การคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W1H จะสามารถไล่เลี่ยงความชัดเจนในแต่ละเรื่อ งที่เรา
กำลังคิดเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้น ในบางครั้งการเริ่มคิดวิเคราะห์ของท่านถ้าคิดอะไร ไม่
ออกก็ขอแนะนำให้เริ่มต้นถ้าตัวท่านเอง โดยใช้คำถามจาก 5W1H ถามตัวท่านเอง ส่วนเรื่องผังมโนทัศน์ นักเรียนมี
คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70-93.75 แสดงว่า นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดี กล่าวคือสามารถใช้ผังมโนทัศน์มาสร้าง 5W1H
และ โนแวค (Novak, 1984) ได้ จัดแยกประเภทมโนทัศน์เป็นหลายระดับ ได้แก่ มโนทัศน์หลัก มโนทัศน์รอง
มโนทัศน์ย่อย มโนทัศน์เจาะจง และตัวอย่าง ซึ่งมีลักษณะเป็นลำดับชั้นลดหลั่นกันลงมาดูคล้ายกับการแตกรากของ
พืชยืนต้นที่แยกจากรากแก้วเป็นรากกิ่ง รากแขนง รากจิ๋ว และรากขนอ่อน และได้แนะนำขั้นตอน
การสร้างผังมโนทัศน์ไว้ 5 ขั้น คือ 1) การเลือกเรื่องที่จะสร้างแผนผังมโนทัศน์ 2) จัดลำดับ 3) จัดกลุ่มนำมโนทัศน์มา
จัดกลุ่มเข้าด้วยกันโดยมีเกณฑ์ 2 ข้อ (1) จัดกลุ่มมโนทัศ น์ที่อยู่ในระดับเดียวกัน (2) จัดกลุ่มมโนทัศน์ที่มีความ
เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด 4) จัดระบบ 5) เชื่อมโยงมโนทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กัน สอดคล้องกับงานวิจัยของ วรวรรณ
สุขสวัสดิ์ (2561, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้ผังมโนทัศน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของ
นักเรียนก่อนเรียนน้อยกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4/8 จำนวน 40 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนเท่ากับ
10.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.74 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนเท่ากับ 19.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.88 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 พบว่า ค่า Sig (2-tailed) มีค่า .000 แสดงว่าคะแนนหลัง
เรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้สอดคล้องกับงานวิจัยของ วรวรรณ
สุขสวัสดิ์ (2561, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้ผังมโนทัศน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 คน
คิดเป็นร้อยละ 6 และมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 94 และสุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์
(2559) การศึกษามโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยา
เพิ่มเติม เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ได้รั บการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผลการวิจัยพบว่า 1) มโนทัศน์ทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลายทางชีวภาพของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายทาง
ชีวภาพของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้
เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 จำนวน 40 คน พบว่า ความพึงพอใจใน
ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.76, S.D.=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหา
น้อย คือ ด้านผู้สอน (Mean=4.76, S.D.=0.46) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (Mean=4.73, S.D.=0.46) และด้านผู้เรียน
(Mean=4.80, S.D.=0.45) ซึ่งในแต่ละด้านผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และมีคะแนนเฉลี่ยสูง คือ ด้าน
ผู้สอน ได้แก่ ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดง
ความคิดเห็น ด้านผู้เรียน ได้แก่ มีสามารถนำเทคนิค 5W1H ร่วมกับพังมโนทัศน์ไปใช้ในวิชาอื่นได้ และทั้งหมดที่
กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจค่อนข้างสูง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิชัย
ของ อุไรวรรณ นิลนวล (2553) ได้ทำการวิจัย เรื่อง "การวิชัยและพัฒนาทักษะการเขี ยนสื่อความกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคร่วมกันอ่านเขียน (CIRC) ร่ามกับผังมโนทัศน์ โดยบูรณาการ
หลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าระดับความพึงพอใจ ผลคือนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.37 และ วรวรรณ สุ ข สวั ส ดิ ์ (2561, บทคั ด ข่ อ ) ได้ ศ ึ ก ษา การพั ฒ นาความสามารถในการอ่ า นจั บ ใจความ
ภาษาอังกฤษโดยใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกบาปีที่ 3 ในภาพรวมของความพึงพอใจระดับปานกลาง
(x ̅= 3.81 S D. = 0.79)

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1) ครูต้องหมั่นฝึกให้นักเรียนอ่านภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผัง
มโนทัศน์ จะช่วยจัดระบบความคิดสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง มีใจความสมบูรณ์
2) ครูต้องค้นหาเรื่องที่หลากหลายมีความน่าสนใจ ทำให้นักเรียนรู้สึกตื่นเต้นอยากที่จะเรียนรู้
ทั้งนีเ้ รื่องที่เรื่องมาใช้ต้องไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปสำหรับเด็กในระดับชั้นนั้นๆ
3) ครูต้องเพิ่มการสอนกลยุทธ์การอ่านเข้ามาในการจัดการเรียนการสอน
4) ระยะเวลาของคาบเรียนแต่ละคาบขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่อง และความยากง่ายของวงคำศัพท์ ดังนั้น
ระยะเวลาการเรียนรู้แต่ละแผน จึงอาจไม่เท่ากันได้ ถ้านักเรีย นมีข้อสงสัยอ่านมาขอคำปรึกษาครู ครูอาจให้
คำแนะนำเพิ่มเติม หรือให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1) ควรศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5 W1H ร่วมกับผัง
มโนทัศน์กับวิธีการสอนตามรูปแบบอื่น เพื่อศึกษาว่าผลที่ได้รับมีความแตกต่างกันอย่างไร
2) ควรเพิ่มการวัดทัศนคติในการอ่านภาษาอังกฤษ และเพิ่มการวัดความคงทนด้านคำศัพท์

บรรณานุกรม
กอบกาญจน์ วงค์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์คณาจารย์
กอไก่ด็อดคอม. (2565). การอ่านจับใจความ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง มาดูกัน.
จาก https://kor-kai.com/archives/5611
กูเกิ้ลไซต์. (n.d.). การอ่านจับใจความ. จาก https://sites.google.com/site/technicalreadingyvc2016
/home/kar-xan-cabci-khwam
ครูบ้านนอกด็อดคอม. (2565). การอ่านจับใจความสำคัญ. จาก https://www.kroobannok.com/89992
ครูไทยด็อดเน็ต. (2561). ผังกราฟิกกับการพัฒนาทักษะการคิด. KruThai.net.
จาก http://www.kruthai.net/_files_school/00000850/document/0000
0850_0_20181023-221752.pdf
จิตตารัตน์ เย็นสุข. (19 เมษายน 2557). แผนผังมโนทัศน์ (Concept Mapping).
จาก http://jittaratyean.blogspot.com/2014/04/concept-mapping.html
ชุมพล ศรีทองกูล. (2544). “ครูกับการจัดกระบวนการเรียนรู้”, วารสารข้าราชการครู. 4(เมษายน –
พฤษภาคม 2544), 31 - 34.
ชัยวัฒน์ เหลาเพ็ง และ สิทธิพล อาจอินทร์. (23 พฤษภาคม 2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้า ร่วมกับ
เทคนิค 5W1H ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin
/Journal/2563Vol12No1_7.pdf
ณัฐกานต์ เฟื่องมณี. (2564). การพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5W1H ร่วมกับ
แผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ดวงพร เฟื่องฟู. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมการอ่าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ทักษพร โพธิ์เหมือน. (2561). การพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 4W1H ส่งเสริมทักษะการอ่าน
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.
จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/297340
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรินธน์ นนทมาลย์. (2554). ผลของการแทรกเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H ในวิดีโอบรรยายออนดี มานบน
เว็บ 2.0 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิต ปริญญาตรี.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประชาสรรณ์แสน ภักดี. (2555). รู้จักกับการเขียนผังมโนทัศน์. ศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล
Glocalization Training Center - KhonKaen.
จาก http://www.prachasan.com/cmap/aboutcmap.html
พันทิพย์ เกื้อเพชรแก้ว. (2545). “ปัญหาการสอนย่อความในระดับอุดมศึกษา”
มณีรัตน์ ศรีสุวรรณ และ อัญชลี ทองเอม. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ
โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาหลักสูตรและการสอนวิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
ศ ุ ก ภ ล ั ก ษ ณ์ พ ุ ด ต า เ ต . ( n.d.). ก า ร อ ่ า น จ ั บ ใ จ ค ว า ม ส ำ คั ญ . จ า ก https://np.thai.ac/client-
upload/np/uploads/files/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B
9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%
E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1.pptx
สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์
สยามรัฐ ลอยพิมาย. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมุทร เซ็นเชาวนิช.(n.d.). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สำนักวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.(2562) อ่านให้เป็น เห็นคุณค่า สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน.
จาก http://dept.npru.ac.th/edu2/data/files/20191107142514_20160828203725_
PR%20arit%20reading.pdf
สิทธิพงศ์ สิริวราพงศ์. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนบ้านไผ่โทน (นวลราษฎร์วิทยา) อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
อภิรดี เสนาวิน. (2555). ผลการสอนอ่านแบบพาโนรามาที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ
และความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
Attayib Omar. (2015). Improving reading comprehension by computer-based concept maps:
a case study of ESP students at Umm-Alqura University. British journal of education
3 , 4 ( April): 1 - 2 0 . Retrieved from http://www.eajournals.org/wp-
content/uploads/Improving-readingcomprehension-by-using-computer-based-
concept-maps.pdf
Jaime Leigh Berry. (2011). The Effects of Concept Mapping and Questioning on Students’
Organization and Retention of Science Knowledge While Using Interactive Read-
Alouds. (doctor of philosophy), Texas A & M University. Retrieved
from https://core.ac.uk/download/pdf/13642497.pdf
Kroobannok. (2564). เกณฑ์การประเมินชุดกจิกรรมที่ 1 เรื่อง นักสำรวจตัวจิ๋ว.
จาก https://www.kroobannok.com/news_file/p93403331039.pdf
NovaBizz. (2560). ผังมโนภาพ หรือ แผนที่ความคิด หรือ ไมด์แม็ป.
จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/mindmap.htm
Rovinelli & Hambleton. (1977). On the use of content specialists in the assessment of
criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2,
49-60.

You might also like