You are on page 1of 8

การสํารวจชั้นดินดวยเครื่องตอกหยั่งชั้นดินขนาดเบา

Soil Exploration by Dynamic Light Penetrometer

อัฐพล ศักดิ์มณี และ กอโชค จันทวรางกูร1


Atthaphon Sakmanee and Assistant Professor Korchoke Chantawarangul

บทคัดยอ
การทดสอบ Kunzelstab Penetration Test เป น วิ ธี ก ารหยั่ ง ทดสอบชั้ น ดิ น ในสนาม โดยใช ลู ก ตุ ม
กระแทกสงหัวเจาะรูปกรวยผานชั้นดินลงไป ซึ่งแรงตานการเคลื่อนที่ของหัวเจาะจะมีความสัมพันธกับสมบัติของ
ชั้นดิน ผลของการทดสอบสามารถใชประมาณคากําลัง ความหนาของชั้นดินและใชระบุชั้นดินออนหรือชั้นดินแข็ง
ได ซึ่งวิธีนี้สามารถทําการทดสอบไดอยางรวดเร็วและประหยัดกวาการเจาะสํารวจ
ในการศึกษานี้ ไดนําเสนอผลจากการทดสอบ Kunzelstab Penetration Test ในโครงการซอมแซมและ
ปรับปรุงเขื่อนมูลบน การปรับปรุงแกไขอาคารเรียนในจังหวัดระยอง และการสํารวจลาดดินบริเวณน้ําตกกระทิง
อุทยานแหงชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี พบวาสามารถใชระบุความหนาของชั้นดินออนและระดับชั้นดินแข็งไดเปน
อยางดี

ABSTRACT
Kunzelstab penetration test is one of in situ testing. The aim of test is to measure the effort
required to drive a cone head through the soil and obtain resistance values which correspond to the
mechanical properties of the soil. This test can be used to detect soft layer and to locate strong layer.
Kunzelstab penetration test is rapid test and economic more than boring.
This study consists of three cases : the repair of Mun Bon Dam Project, redesign of the
school building foundation in Rayong province and soil exploration for slope failure at Krathing
waterfall in Khao Kitchakut National Park. It was found that the results from Kunzelstab penetration
test can clearly indicate thickness of soft layer and locate the strong layer.

บทนํา
การสํารวจชั้นดิน มีวัตถุประสงคเพื่อหาขอมูลเกี่ยวกับลักษณะชั้นดิน ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ พรอม
ทั้งสมบัติทางกายภาพ และทางวิศวกรรมของชั้นดินในบริเวณนั้น เพื่อใหไดขอมูลที่เพียงพอสําหรับการออกแบบ
และกอสรางไดอยางประหยัดและปลอดภัย ซึ่งการสํารวจชั้นดินมีอยู 2 วิธีดวยกันไดแก วิธีทางตรงคือเจาะสํารวจ
และเก็บ ตัวอยางดินมาทดสอบในหองปฏิบัติการ และวิธีทางออม โดยทําการทดสอบดินในสนาม ซึ่งผลการ
ทดสอบที่ไดจากแตละวิธียอมมีความแตกตางกันและมีความเหมาะสมกับการนําไปใชงานที่ตางกันดวย

1
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กรุงเทพฯ 10900
Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University, Bangkok 10900
สําหรับประเทศไทย นิยมทําการสํารวจชั้นดินดวยการเจาะและเก็บตัวอยางดิน พรอมทั้งทําการทดสอบ
ความแข็งหรือความแนนของชั้นดินในสนามดวยการตอกทดสอบมาตรฐาน (Standard Penetration Test -SPT)
แตมี ขอ จํากัดในการสํารวจคือ อุป กรณ มี ขนาดใหญ และน้ําหนักมาก (ASTM D 1586) จึงไม สามารถทําการ
สํารวจในพื้นที่ที่รถยนตไมสามารถขนยายเครื่องมือดังกลาวเขาไปได เชน พื้นที่ที่ดินออนมาก พื้นที่ทุรกันดาร พื้น
ที่ทํางานจํากัด หรือบริเวณลาดดิน เปนตน กรณีดังกลาว อาจใชวิธีการสํารวจชั้นดินดวยเครื่องตอกหยั่งชั้นดิน
ขนาดเบาแบบคุนเซลสแตป (Kunzelstab) ซึ่งมีความสะดวกในการใชงานมากกวา การศึกษาครั้งนี้ไดรวบรวมขอ
มูลผลการสํารวจที่ไดเคยมีผูทําการทดสอบในประเทศไทยในโครงการตางๆ เชน การทดสอบความสามารถในการ
รับน้ําหนักของฐานรากเขื่อนมูลบน ฐานรากอาคารเรียนในจังหวัดระยอง และการสํารวจการพังทะลายของลาด
ดินบริเวณน้ําตกกระทิง อุทยานแหงชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

เครื่องมือและวิธีการทดสอบ
Kunzelstab Penetration Test (KPT) เป น การทดสอบกํ า ลั ง ต า นทานที่ ป ลายของหั ว เจาะรู ป กรวย
(Cone Head) โดยไมเกิดแรงเสียดทานขึ้นที่กานเจาะ เนื่องจากหัวเจาะมีขนาดใหญกวากานเจาะ ชุดทดสอบ
Kunzelstab ตามมาตรฐาน DIN 4094 (Swedish Geotechnical Institute, 1989) ของประเทศเยอรมันประกอบ
ดวย (รูปที่ 1)
1. หัวเจาะรูปกรวย ขนาดเสนผานศูนยกลาง 25 มิลลิเมตร มีมุมที่ปลาย 60 องศา
2. กานเจาะ (Rod) ขนาดเสนผานศูนยกลาง 20 มิลลิเมตร
3. คอนตอก (Pile Hammer) หนัก 10 กิโลกรัม
4. แกนเหล็กนํา (Guide Rod) สําหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของคอนตอก โดยทําเครื่องหมายไวที่
ระยะ 67 เซนติเมตร เพื่อใหไดระยะยก 50 เซนติเมตร (คอนสูง 17 เซนติเมตร)
5. แทนรองตอก (Anvil)
6. แผนเหล็กรองพื้นปรับระดับ (Base Plate)

ทํ าการตอกทดสอบ ณ ตํ า แหน งที่ ต อ งการ (รูป ที่ 2) จะนั บ จํ านวนครั้งของการตอกทุ ก ความลึ ก 20


เซนติเมตร (blows/20 cm.) โดยมีระยะยกของคอน 50 เซนติเมตร จนกระทั่งถึงระดับความลึกที่กําหนดหรือครบ
จํานวนครั้งการตอกตามที่กําหนดไว จึงถอนชุดทดสอบขึ้นเพื่อนําไปทดสอบในตําแหนงอื่นตอไป ผลการทดสอบ
โดยทั่วไปจะแสดงความสัมพันธระหวาง จํานวนครั้งการตอกแตละชวง 20 ซม.กับระดับความลึกดังตัวอยางในรูป
ที่ 3
รูปที่ 1 เครื่องตอกหยั่งชั้นดินขนาดเบาแบบคุนเซลสแตป (Kunzelstab)

รูปที่ 2 แสดงการทดสอบ Kunzelstab Penetration Test ในสนาม


รูปที่ 3 แสดงตัวอยางผลการทดสอบ Kunzelstab Penetration Test

การวิเคราะหผล
1. คํานวณคา Standard Penetration Resistance (SPT) ดังนี้ (สถาพร, 2544)
SPT = 0.539 (KPT + 0.954)
หรือใช Chart ในรูปที่ 4
2. คํานวณคา Allowable Bearing Capacity (Qa) ดังนี้
ทราย Qa = 0.64 (KPT - 3.57) ตัน/ม2
ดินเหนียว Qa = 0.34 (KPT + 0.954) ตัน/ม2
หรือใช Chart ในรูปที่ 4
รูปที่ 4 กราฟแสดงความสัมพันธระหวางจํานวนการตอกและกําลังของดินสําหรับทรายและดินเหนียว

ผลการศึกษาและการวิเคราะห
การทดสอบความสามารถในการรับน้ําหนักของฐานรากโครงการซอมแซมและปรับปรุงเขื่อนมูลบน
โครงการซอมแซมและปรับปรุงเขื่อนมูลบน (คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2540)
ได มี ก ารทดสอบความสามารถในการรับ น้ํ า หนั ก ของฐานราก โดยการหยั่ งทดสอบชั้ น ดิ น ในสนามด ว ยวิ ธี
Kunzelstab Penetration Test ตอกทดสอบจนกระทั่งไดจํานวนครั้งการตอกมากกวา 60 ครั้งตอ 20 เซนติเมตร
คลุมพื้นที่ทั้งทางดานเหนือน้ําและทายน้ํา ผลการทดสอบเพื่อทราบลักษณะชั้นดินฐานราก และใชพิจารณาความ
ลึกที่เหมาะสมที่จะทําการขุด เพื่อปรับปรุงฐานรากตัวเขื่อน
จากการหยั่งทดสอบชั้นดินดวย Kunzelstab ปรากฏผลดังนี้

รูปที่ 5 แสดงบริเวณพื้นที่ดินออน
รูปที่ 5 แสดงแนวความลึกของชั้นดินออนถึงแข็งปานกลาง (KPT<50) ที่มีความหนามากกวา 3 เมตร
แสดงใหเห็นเปนแนวตอเนื่องจากเหนือน้ําไปยังทายน้ํา จึงตองมีการปรับปรุงชั้นดินออนเพื่อใหชั้นดินฐานรากรับ
น้ําหนักตัวเขื่อนไดดี ในบางตําแหนงที่ไมสามารถปรับปรุงใหดินแนนขึ้นได อาจตองขุดออก

การปรับปรุงแกไขอาคารเรียนในจังหวัดระยอง
การตรวจสอบความมั่นคงของฐานรากและโครงสรางของอาคารเรียนในจังหวัดระยอง เพื่อวินิจฉัยสภาพ
ชั้นดิน และระดับความตานทานของชั้นดินที่จะรองรับฐานราก ไดทําการทดสอบในพื้นที่จํากัดความสูง ซึ่งไม
สามารถทดสอบดวยวิธีอื่นได จึงใชการทดสอบการหยั่งชั้นดินดวย Kunzelstab Penetrometer
ชุ ด ทดสอบ Kunzelstab ตามมาตรฐานของประเทศเยอรมั น นั้ น จะมี ค วามสู ง ของระยะยกถึ ง 50
เซนติเมตร ทําใหไมเหมาะสมในการทดสอบฐานรากอาคารที่ไดกอสรางชั้นบนไปแลว เนื่องจากจะมีพื้นที่และ
ความสูงในการทดสอบจํากัด ทั้งนี้ทางศูนยวิจัยวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร จึงไดทํา
การปรับปรุงชุดทดสอบ Kunzelstab Penetration Test ขึ้นใหม ใหมีระยะยกที่นอยกวาเดิมและมีความสะดวกใน
การทดสอบมากขึ้น โดยใชหลักการของพลังงานการตกกระแทกที่เทากัน โดยชุดทดสอบที่ปรับปรุงใหมมีสวน
ประกอบที่ตางจากเดิม คือ คอนตอก (Pile Hammer) ที่มีน้ําหนัก 20 กิโลกรัม และ Guide Rod สําหรับควบคุม
การเคลื่อนที่ของคอนตอก ซึ่งมีระยะยกเหลือ 25 เซนติเมตร อยางไรก็ตาม การใชลูกตุมที่หนักขึ้น ก็มีผลทําใหบา
รับแรงกระแทกเสียหายเร็วขึ้น รวมทั้งเปนปญหาในการขนยายลูกตุมขนาดหนักดวย
การวิเคราะหผลจากการหยั่งทดสอบชั้นดิน ดวย Kunzelstab เป นคา Bearing Capacity ที่ใชในการ
ทดสอบครั้งนี้เลือกใชสูตรสําหรับ ดินทราย เนื่องจากการสังเกตลักษณะของชั้นดินในสนามเปน Weathered
granite ซึ่งมีสวนประกอบของดินทรายอยูคอนขางมาก และนํามาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธระหวาง ความ
ลึก (Depth) และกําลังแบกทานของดิน เพื่อนําขอมูลที่ไดไปเขียน Contour แสดงลักษณะชั้นดินที่มีคากําลังแบก
ทานเกิน 50 ตันตอตารางเมตร จาก Contour ของลักษณะชั้นดินที่ได จึงสรุปผลเปนความลึกของเข็มชนิดขุดดวย
แรงคนเพื่อใหใชเปนแนวทางในการขุด แตอยางไรก็ตามในการกอสรางผูควบคุมจะไมใชคาความลึกนี้เปนคาตาย
ตัวที่ตองขุดใหไดตามและจะตองทําการทดสอบอีกครั้งที่กนหลุมกอนใสเหล็กและเทคอนกรีต (ศูนยวิจัยวิศวกรรม
ปฐพีและฐานราก, 2543)

การสํารวจลาดดินบริเวณน้ําตกกระทิง อุทยานแหงชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี


ในป 2540 ไดเกิดลาดดินถลมขึ้นที่กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ลักษณะของดินสวนใหญ เป นดินหิน
แกรนิตผุ (Decomposed Granitic Soil) ดินชนิดนี้มักจะประสบปญหาลาดดินถลมหลังฝนตกหนัก เพราะอยูใน
สภาพชุมน้ํา (Saturated Soil) แตเมื่อไมมีฝนตกลาดดินก็ไมเกิดการถลม แมจะมีความลาดชันอยูมาก เนื่องจาก
ดินอยูในสภาพไมชุมน้ํา (Unsaturated Soil) ซึ่งดินทั้ง 2 สภาพนี้ใหคาของกําลังที่แตกตางกัน ซึ่งความแตกตางนี้
มาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําในดิน จึงไดทําศึกษาหาคากําลังของดินหินแกรนิตผุนี้ในชวงปริมาณน้ําในดิน
ในชวงตางๆ โดยเลือกบริเวณชั้นที่ 8 น้ําตกกระทิง อุทยานแหงชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เปนกรณีศึกษา ทําการ
ศึกษาโดยการเก็บตัวอยางดินดวยวิธี Block Sample แลวนําไปทดสอบ Direct Shear Test หาคากําลังของดิน
ในชวงปริมาณความชื้นตางๆ ในหองปฏิบัติการและทําการทดสอบหาคาแรงตานทานของดินในสนามดวยวิธี
Kunzelstab Penetration Test
รูปที่ 6 สภาพพื้นที่ทําการทดสอบ

นอกจากนี้ ยั ง ใช Kunzelstab Penetration Test ในเก็ บ ตั ว อย า งดิ น ทุ ก ความลึ ก 50 เซนติ เมตร เพื่ อ
ศึกษาปริมาณน้ําในดินที่ระดับความลึกตางๆ โดยเปลี่ยนจากหัวเจาะเปนหัวเก็บตัวอยางดิน
ในการเปรียบเทียบคากําลังของดินที่ไดจาก Kunzelstab Penetration Test กับคากําลังของดินที่ไดจาก
การทดสอบ Direct Shear Test ในหองปฏิบัติการ พบวาคาที่ไดจากการทดสอบในสนามอยูในชวงขอบเขตของ
คาที่ไดจากการทดสอบในหองปฏิบัติการ ซึ่งอยูในชวงระดับความอิ่มตัวของน้ําที่ 50-70% เมื่อนําคา Kunzelstab
Penetration Test ไปแปลงเปนคาของ Standard Penetration Test และเปลี่ยนเปนคามุมเสียดทานภายใน มา
เปรียบเทียบกับคามุมเสียดทานภายในที่ไดจากการทดสอบ Direct Shear Test ในหองปฏิบัติการ จะไดผลดังรูป
ที่ 7 ซึ่งผลของการเปรียบเทียบสอดคลองกัน โดยที่คามุมเสียดทานที่ไดจากการทดสอบในสนามมีคาใกลเคียงกับ
คามุมเสียดทานที่ทดสอบไดในหองปฏิบัติการ (ณัฐพันธ, 2545)
D eg ree of F riction Vs % Water content
70

60
T yp e o f T e s t

50 D ire c t sh e a r
D e g re e o f Frictio n

40 K PT

30

20

10

0 5 10 15 20 25 30 35 40

% w a te r co n te n t

รูปที่ 7 แสดงคามุมเสียดทานภายในกับปริมาณความชื้น
สรุป
จากกรณีศึกษาทั้ง 3 โครงการที่ทําการสํารวจชั้นดินดวยเครื่องตอกหยั่งชั้นดินขนาดเบาแบบคุนเซลส
แตป (Kunzelstab Penetration Test) นี้ แสดงให เห็ น ถึงขอได เปรียบของอุ ป กรณ ที่ มี น้ํ าหนั ก เบา มี ขนาดเล็ ก
สามารถถอดประกอบและขนยายไดสะดวกดวยคนเพียง 2-3 คน นําไปทดสอบในสถานที่ตางๆ ไดงาย ทําการ
ทดสอบไดรวดเร็ว ทราบผลในทันทีและประหยัดกวาการเจาะสํารวจ สามารถประมาณความแข็งแรง ความหนา
ของชั้นดินและใชระบุชั้นดินออนหรือชั้นดินแข็ง รวมทั้งสามารถเก็บตัวอยางดินได อยางไรก็ดีจะเห็นไดวาไดมีการ
พัฒนาเครื่องมือเพื่อความเหมาะสมของแตละงาน แตก็มีขอดอยที่การวิเคราะหผลซึ่งมีเพียง Chart ที่ใชออกแบบ
ฐานรากแผขนาด 2x2 ตารางเมตร อยูเหนือระดับน้ําใตดิน คาการทรุดตัวไมเกิน 25 มิลลิเมตรเทานั้น ถาหาก
ตองการทราบคากําลังของดิน (c และ φ) จะตองแปลงเปนคา SPT กอนแลวจึงแปลงเปนคากําลังของดินอีกครั้ง
หนึ่ง ซึ่งการแปลงคาทั้งสองครั้งไดจาก Empirical correlation ทั้งสิ้น

เอกสารอางอิง
คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. 2540. รายงานฉบับสมบูรณ โครงการซอมแซมและปรับปรุง
เขื่อนมูลบน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 638 น.

ณัฐพันธ อุมตระกูล. 2545. ผลกระทบของระดับความอิ่มตัวของน้ําตอกําลังของดินหินแกรนิตผุ. วิทยานิพนธ


ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ.

วีระ วศินวรรธนะและรุเธียร เผาชัยยั่งยืน. 2542. การทดสอบดินในหองปฏิบัติการ และในสนาม รวมถึงการแปล


ขอมูลและการวิเคราะหขอมูล. วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

ศูนยวิจัยวิศวกรรมปฐพีและฐานราก. 2543. รายงานการทดสอบกําลังของชั้นดินบริเวณฐานราก


โดยวิธี Kunzelstab Penetration Test. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 17 น.

สถาพร คูวิจิตรจารุ. 2544. การเจาะสํารวจดินทางวิศวกรรม : การเจาะสํารวจ การเก็บตัวอยางและ


การทดสอบในสนาม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 247 น.

Swedish Geotechnical Institute. 1989. Report of the ISSMFE Technical Committee on Penetration
Testing of Soils - TC 16 with Reference Test Procedures CPT- SPT- DP- WST. Linkoping, 49 p.

You might also like