You are on page 1of 10

คุณสมบัตทิ างวิศวกรรมของดินเหนียวแข็งกรุ งเทพฯ แบบคงสภาพ

Engineering Properties of Undisturbed Bangkok Stiff Clays

ธนวรรณ วรรณวงษ์ 1 ก่อโชค จันทวรางกูร1 และ ทวีศกั ดิ์ จิรธนถาวร1


Tanawan Wannawong1 Korchoke Chantawarangul1 and Thaweesak Jirathanathaworn1

บทคัดย่ อ
การออกแบบโครงสร้ างเพื่อการก่อสร้ างในงานที่เกี่ยวข้ องด้ านวิศวกรรมปฐพีนั้น คุณสมบัติของดินป็ น
ข้ อมูลสําคัญสําหรั บใช้ ในการออกแบบฐานราก การวิจัยครั้งนีไ้ ด้ ทําการศึกษาลักษณะการวางตัวของชัน้ ดิน
วิเคราะห์คณ ุ สมบัติทางกายภาพและทางวิศวกรรมของตัวอย่างดินเหนียวแข็งกรุ งเทพฯแบบคงสภาพ โดยเน้ น
เรื่ องกําลังรับแรงเฉือนและการยุบอัดตัวของดิน จากการรวบรวมผลทดสอบการเจาะสํารวจชั้นดินจํานวน 300
หลุมเจาะ ซึง่ กระจายอยู่ทวั่ ไปในพื ้นที่กรุงเทพฯ พบว่าการวางตัวของชั้นดินนี ้ โดยการตัด Section ในแนวเหนือ -
ใต้ และแนวตะวันออก - ตะวันตก ความหนาของชั้นดินค่อนข้ างจะสมํ่าเสมอกัน อยูท่ ี่ระดับความลึกตังแต่ ้ -12 ถึง
-26 เมตร มีความหนาของชั้นดินนี ้ตั้งแต่ 3 ถึง 12 เมตร มีคา่ Total Unit weight (t) อยู่ในช่วง 1.65-2.22 t/m3
ค่า Liquid limit (L.L.) อยู่ในช่วง 25 - 90 % ค่า Plastic limit (P.L.) อยู่ในช่วง 12 - 40 % ค่า Initial void ratio
(e0) อยู่ในช่วง 0.53 - 1.0 ค่ากําลังรับแรงเฉือนในสภาพไม่มีการระบายนํ ้า (Su) เท่ากับ 8.39  3.68 t/m2 ค่า
ความเหนียว (c’) อยู่ในช่วง 1.34 - 13.78 t/m2 และค่ามุมเสียดทานภายใน (’) อยู่ในช่วง 9.1 - 26.1 deg. ใน
เรื่ องการยุบอัดตัวของดิน มีคา่ อัตราส่วนการยุบอัดตัว (CR) เท่ากับ 0.089  0.035 แต่ลกั ษณะเส้ นกราฟ e - log
  สําหรับดินเหนียวแข็งกรุ งเทพฯ ค่อนข้ างจะราบเรี ยบซึง่ ยากในการกําหนด Maximum past pressure ( p )
ได้ ชดั เจนเหมือนดินเหนียวอ่อน อาจจะเป็ นไปได้ ว่าผลทดสอบที่ได้ ส่วนใหญ่ มีหน่วยแรงในแนวดิ่งที่เพิ่มขึ ้นใน
ระหว่างการทดสอบยังไม่ถึงจุด Maximum past pressure
ABSTRACT
Engineering design and construction of structures in civil works has directly related to aims to
study the properties of undisturbed Bangkok clays for which focuses on its strength and
compressibility characteristics geotechnical engineering. Engineering properties of soils becomes
very important parameters for the design. This research. This study complies and systematically
collect the results of subsoil investigation from totally more than 300 boreholes over the area of
Bangkok and vicinity. These results were combined together in both horizontal and vertical directions.

Key words : Stiff clays, Bangkok clays, Strength, Compressibility, Undrained shear strength, Consolidation
E-mail address : tanawan_60@hotmail.com

1
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
1
Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University, Bangkok 10900
In horizontal direction, positions of boreholes were shown on ground surface mapping. In vertical
direction, the cross-section from North-to-South and from East-to-West shows the stiff clay strata. The
thickness of stiff clays ranges between 3 to 12 meters at the depth from -12 m. to -26 m. Unit weights
of stiff clays are varied from 1.65 to 2.22 t/m3. Liquid limits are 25 to 90 percent. Plastic limits are 12 to
40 percent. Initial void ratios are 0.53 to 1. Average undrained shear strength are in range of 8.39 
3.68 t/m2. Effective cohesions are 1.34 to 13.78 t/m2. Effective friction angles are 9.1 to 26.1 deg.
From results of consolidation, average compression ratios are in range of 0.089  0.035. However, the
e-log   curve for Bangkok stiff clays is rather horizontally flat, resulting in difficulty in determining
maximum past pressure ( p ) . This shape of e-log   curve is very different from the shape of e-log
  curve for general soft clays in which we could distinguish between the zone of soils’ past pressure
history and its virgin using the change in slopes of the curve. This flat shape of the e-log   curve for
Bangkok stiff clays is still poorly understood that the soil neither does not have its maximum past
pressure nor had not reached its maximum past pressure during the tests of those results.

คํานํา
ในพื ้นที่กรุ งเทพมหานครมีการก่อสร้างอาคารกันอย่างกว้ างขวางและมีแนวโน้ มเพิ่มขึ ้นเรื่ อยๆ ซึ่งการ
ก่อสร้ างนั้นมักใช้ ฐานรากเสาเข็มเพื่อรองรับนํ ้าหนักบรรทุกที่มีนํ ้าหนักมาก ซึง่ ในการออกแบบฐานรากเสาเข็มให้
ปลอดภัยและเหมาะสมนั้น ต้ องทราบลักษณะพฤติกรรมและคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดินบริ เวณนั้นๆ
ตั ้งแต่ผิวดินลงไปตลอดความยาวของเสาเข็ม ถึงระดับลึกใต้ ระดับปลายเสาเข็ม ซึง่ ในปั จจุบนั โดยส่วนใหญ่มกั ใช้
ข้ อมูลดินจากผลการทดสอบในสนามด้ วยวิธีตอกทดสอบมาตรฐาน (Standard Penetration Test, SPT) แล้ ว
นํามาเทียบเป็ นคุณสมบัตขิ องดินทางวิศวกรรม ซึง่ ทําให้ มีความไม่แน่นอนสูง
การศึกษาครัง้ นี ้จึงได้ ทําการวิเคราะห์คณ
ุ สมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางวิศวกรรมของตัวอย่าง
ดินเหนียวแข็งกรุ งเทพฯ จากข้ อมูลตัวอย่างดินที่มีการเจาะสํารวจชั้นดินโดยการเก็บตัวอย่างดินแบบคงสภาพ
โดยเน้ นเรื่ องกําลังและการยุบอัดตัวของดิน ซึ่งได้ จากการรวบรวมข้ อมูลหลุมเจาะสํารวจชั้นดินในพื ้นที่กรุ งเทพฯ
เพื่อใช้ เป็ นข้ อมูลในการคํานวณหาความสามารถในการรับนํ ้าหนักบรรทุกของฐานราก และการวิเคราะห์การทรุด
ตัวของชั ้นดินในการรองรับโครงสร้ างต่างๆ
สภาพธรณีวิทยาของพื ้นที่ในที่ราบลุ่มนํ ้าเจ้ าพระยาตอนล่าง มีการวางตัวของชั้นดินที่ซบั ซ้ อน โดยการ
สะสมของตะกอนเกิดในยุค Quaternary เป็ นตะกอนในสมัย Pleistocene ตอนปลาย และ Holocene เนื่องจาก
การพัดพาตะกอนมาจากทางตอนเหนือของประเทศ และการรุ กลํ ้าของนํ ้าทะเลในอดีตที่ผ่านมา โดยลักษณะ
ตะกอนที่เกิดขึ ้น ได้ แก่ ตะกอนธารนํ ้าพา ตะกอนตะพักลํานํ ้า ตะกอนนํ ้าพารู ปพัด และตะกอนชายฝั่ งทะเล ซึ่ง
ลักษณะชั้นดินโดยทั่วไปของพืน้ ที่ราบลุ่มนํา้ เจ้ าพระยาตอนล่าง ดังแสดงได้ ในตัวอย่างภาพตัดชั้นดินบริ เวณ
สะพานพระพุทธยอดฟ้าใน Figure 1

Figure 1 Profile of Memorial Bridge subsoils

ดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ มีกําเนิดมาจากตะกอนสมัย Pleistocene ตอนปลายส่วนใหญ่เป็ นตะกอนนํ ้า


พาและอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 10 - 20 เมตร จากระดับนํ ้าทะเลปั จจุบนั ชั ้นบนสุดเป็ นดินเหนียวแข็ง (Stiff
clay) ปะปนกับทรายและกรวด (กรมทรัพยากรธรณี, 2542) สําหรับอายุภายในบริ เวณพื ้นที่ราบลุ่มภาคกลาง
ตอนล่าง จาก Limestone nodules ใน Stiff clay ได้ อายุเท่ากับ 14,700  2,300 จนถึง 45,000  6,900 ปี ก่อน
ปั จจุบนั (Nutalaya and Rau, 1983)
จากการศึกษาภาพตัดชั้นดินแบบกริ ด (เชิดพันธุ์, 2553) พบว่าลักษณะชั้นดินเหนียวแข็งบริ เวณ
ตอนกลางแอ่งดินเหนียวกรุ งเทพฯ แนวตะวันออก-ตะวันตก มีความหนามากทางตะวันออก และทางตะวันตกมี
ความหนาน้ อยลง ส่วนลักษณะชั้นดินเหนียวแข็งบริ เวณด้ านตะวันออกของแม่นํ ้าเจ้ าพระยาแนวเหนือ-ใต้ มีความ
หนามากทางเหนือและทางใต้ และช่วงกลางมีความหนาน้ อยลง จากการศึกษาของสถาบัน AIT ในปี 1981 ( AIT,
1981) พบว่าดินเหนียวแข็ง (1st Stiff clay) พบที่ความลึก 13 - 29 เมตร ความหนาประมาณ 5 - 10 เมตร
ประกอบด้ วย ดินทราย 3 - 40%, ตะกอนทราย 20 - 50% และดินเหนียว 25 -60% มีคา่ wn และ P.L. มีคา่ อยู่
ในช่วง 15 - 40% ค่า L.L. อยู่ในช่วง 25 - 90% ค่า P.I. อยู่ในช่วง 10 - 50% ค่า t มีคา่ อยู่ในช่วง 1.80 - 2.00
t/m3 กําลังรับแรงเฉื อนในสภาพไม่มีการระบายนํ ้า (Su) มีค่ามากกว่า 10 t/m2 และอัตราส่วนช่องว่างมี
ค่าประมาณ 0.6 สําหรับการทดสอบคุณสมบัติด้านการยุบอัดตัวได้ ของดินเหนียวกรุงเทพฯ พบว่า ดินเหนียวแข็ง
(Stiff clay) จุดแรงดันสูงสุดที่ดินเคยรับในอดีตจะหาได้ คอ่ นข้ างยาก เนื่องจากเส้ นกราฟ e-log   จะราบเรี ยบ
(Rujivipat, 1980) และคุณสมบัติด้านการยุบอัดตัวของดินเหนียวแข็งชั้นที่หนึ่ง ที่ระดับความลึกไม่เกิน 22 เมตร
มีพฤติกรรมเป็ น Heavily overconsolidated clay (Parentela, 1983)

วิธีการศึกษา
การรวบรวมข้ อมูล
การศึกษาครั้งนีท้ ําการรวบรวมข้ อมูลการเจาะสํารวจชั้นดินในพืน้ ที่กรุ งเทพฯ จากแหล่งข้ อมูลต่างๆ
ได้ แก่ ฐานข้ อมูลชันดิ
้ นทางวิศวกรรมของศูนย์วิจยั และพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานของโครงการต่างๆ จากนั้นทําการเลือกข้ อมูลเฉพาะในส่วนชั้นดิน
เหนียวแข็งที่ได้ จากการเจาะสํารวจชั้นดินโดยการเก็บตัวอย่างแบบคงสภาพ (Undisturbed sample) ใช้ วิธีเจาะ
แบบฉีดล้ าง ซึง่ เก็บตัวอย่างดินด้ วยกระบอกบาง (Thin wall tube) และการ Coring ในการกําหนดขอบเขตชั้นดิน
นี ้จะพิจารณาคุณสมบัติของดินที่ได้ จากการทดสอบ Unconfined compression test ในห้ องปฏิบตั ิการ ซึ่ง
พิจารณาที่คา่ Undrained shear strength (Su) โดยพิจารณาการเป็ นดินเหนียวแข็งตามมาตรฐานของ Terzaghi
and Peck (1967)
การวิเคราะห์ ข้อมูล
จากข้ อมูลการเจาะสํารวจชั้นดินที่ได้ ทําการรวบรวม และทําการเลือกข้ อมูลในส่วนชั้นดินเหนียวแข็งนั้น
ไว้ แล้ ว จะนํ ามาศึกษาลักษณะการวางตัวของชั้นดินเหนี ยวแข็ง โดยทําการศึกษาในแนวเหนื อ-ใต้ และแนว
ตะวันออก-ตะวันตก ของพื ้นที่กรุ งเทพฯ (ข้ อมูลที่รวบรวมได้ ) การวิเคราะห์คณ ุ สมบัติทางกายภาพ โดยหาช่วง
ของค่าต่างๆ ดังนี ้ Total unit weight (t), Liquid limit (L.L.), Plastic limit (P.L.) และ Initial void ratio (e0)
กําลังรับแรงเฉือนจะทําการพิจารณาจากผลการทดสอบ Unconfined compression test เพื่อหา
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบียงเบนมาตรฐานของค่ากําลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายนํ ้า (Undrained shear strength, Su)
ซึง่ ผลที่ได้ จากการทดสอบออกมาในลักษณะของเส้ นกราฟระหว่าง Stress - Strain โดยที่ค่าหน่วยแรงสูงสุด
(Maximum stress) คือค่ากําลังอัดแกนเดียว (Unconfined compressive strength, qu) ซึง่ ค่ากําลังรับแรงเฉือน
ที่ได้ จากการทดสอบเป็ นแบบไม่ระบายนํ ้า (Su) เท่ากับ qu/2 และพิจารณาจากผลการทดสอบ Consolidation
undrained triaxial test เพื่อหาช่วงของค่าความเหนียว (Effective cohesion, c’) และค่ามุมเสียดทาภายใน
(Effective friction angle, ’) โดยการเขียนวงกลมของโมร์ (Mohr circle) จากผลการทดสอบหลายๆ ตัวอย่าง
โดยเปลี่ยน Confining pressure ที่ตา่ งกันไป จะได้ วงกลมของโมร์ หลายวง วงกลมเหล่านี ้จะมีเส้ นสัมผัส เรี ยกว่า
Mohr envelope ซึง่ จะหาค่า c’ และ ’ ได้
การยุบอัดตัวของดินจะทําการพิจารณาจากผลการทดสอบ Consolidation test ที่ได้ จากกราฟ e - log
  เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตฐานของค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัว (Compression ratio, CR) มีค่า
เท่ากับ Cc /(1+e0) ,Cc คือดัชนีการยุบอัดตัว (Compression index) มาจากค่าความเปลี่ยนแปลงของ Void
ratio ของดินต่อค่าความเปลี่ยนแปลงของ Vertical stress (   ) ในเส้ นตรง (Virgin line) ในกราฟลอการิ ทมึ

ผลและวิจารณ์ ผลการวิเคราะห์
จํานวนหลุมเจาะที่รวบรวมมาได้ และทําการพิจารณาเลือกข้ อมูลในส่วนของชั้นดินเหนียวแข็งมีทั้งหมด
300 หลุมเจาะ กระจายอยู่ในพื ้นที่กรุ งเทพฯ และนํามาศึกษาเพื่อวิเคราะห์ลกั ษณะของชั้นดินและคุณสมบัติที่
สําคัญของดินเหนียวแข็ง
การวางตัวของชัน้ ดินเหนียวแข็ง
จากการศึกษาข้ อมูลหลุมเจาะที่กระจายอยูใ่ นพื ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อทําการศึกษาภาพตัดชั้นดินเหนียวแข็ง
ในแนวเหนือ - ใต้ และแนวตะวันออก - ตะวันตก (Figure 2.1) พบว่าแนวเหนือ (เขตดอนเมือง) - ใต้ (เขตพระ
โขนง) จากเขตดอนเมือง ระดับความลึกชั้นดินเหนียวแข็งอยู่ที่ -12 ถึง -15 เมตร โดยความหนาค่อยๆ เพิ่มขึ ้น
และระดับขอบเขตของชั ้นดินดังกล่าวลดระดับความลึกลงไปอยู่ที่ -15 ถึง -23 เมตร ที่เขตห้ วยขวาง และความ
หนาลดลงในเขตคลองเตย ซึง่ ระดับความลึกอยูท่ ี่ -15 ถึง -18 เมตร เมื่อถึงเขตพระโขนงความหนากลับมาเพิ่มขึ ้น
โดยระดับความลึกอยูท่ ี่ -15 ถึง -23 เมตร (Figure 2.2A)
สําหรับแนวตะวันออก (เขตมีนบุรี) - ตะวันตก (เขตตลิ่งชัน) จากเขตมีนบุรี ระดับความลึกอยู่ที่ -18 ถึง -
21 เมตร ความหนาจึงเพิ่มขึ ้นถึงที่เขตบางกะปิ ที่ระดับความลึก -16 ถึง -23 เมตร จากนั้นความหนาค่อยๆลดลง
และความหนามาเพิ่มมากขึ ้นบริ เวณใกล้ แม่นํ ้าเจ้ าพระยา ที่ระดับความลึก -14 ถึง -26 เมตร และความหนา
ค่อยๆ ลดลงจนถึงเขตตลิ่งชัน (Figure 2.2B) ซึง่ ระดับความลึกของชั้นดินเหนียวแข็งในพื ้นที่กรุงเทพฯ อยู่ในช่วง
-12 ถึง -26 เมตร

Figure 2.1 Show bore hole of Bangkok area used in this study

(A)
(B)
Figure 2.2 Profiles of stiff clays layer from North to South and from East to West of Bangkok area

การวิเคราะห์ คุณสมบัตทิ างกายภาพ


การศึกษาคุณสมบัตขิ องชั้นดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ ที่ผา่ นมา และจากข้ อมูลผลการทดสอบที่รวบรวมมา
ได้ ทํา การหาช่วงของค่าพารามิเตอร์ ที่สําคัญ ซึง่ สรุปได้ ดงั Table 1

Table 1 Summary properties of Bangkok stiff clays

Soil properties Bangkok stiff clays


t, t/m3 1.65-2.2
L.L., % 25-90
P.L.,% 12-40
e0 0.53-1

เมื่อทําการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ ทางด้ าน Atterberg limits โดยใช้


แผนภูมิดรรชนีความเหนียวสําหรับการจําแนกประเภทของดิน ดัง Figure 3 พบว่าดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ อยู่ช่วง
ของดินประเภท CH และ CL (Wagner,1957) ซึง่ บอกได้ ว่าเป็ นดินที่ไม่มีสารอินทรี ย์ และจําแนกชนิดแร่ ในดิน
เหนียวได้ วา่ ส่วนใหญ่เป็ นแร่ Illites (Casagrande,1948 and Mitchell,1976)
80
70 CL CH
60

Plasticity Index (%)


50
40
30
20 MH or OH
10 CL - ML
ML or OL
0
0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 110 120
Liquid Limit (%)

Figure 3 Plasticity chart for laboratory classification of fine grained soils

การวิเคราะห์ คุณสมบัตทิ างวิศวกรรม


กําลังรั บแรงเฉือน
จากการศึกษาผลการทดสอบ Unconfined compression test ที่รวบรวมข้ อมูลได้ ในพื ้นที่
กรุงเทพฯ ใน Figure 4 แสดงตัวอย่างลักษณะของเส้ นกราฟระหว่าง Stress - Strain ที่ใช้ พิจารณาหาค่า Su เมื่อ
ทําการรวบรวมค่า Su สําหรับชั้นดินเหนียวแข็งในพื ้นที่กรุงเทพฯ ที่ระดับความลึกประมาณ 12 ถึง 26 เมตร มีอยู่
จํานวน 491 ข้ อมูล พบว่ามีคา่ Su เท่ากับ 8.39  3.68 t/m2

40
Vertical Stress

20
(t/m2)

0
0 5 10 15 20 25
Vertical Strain (%)

Figure 4 Stress strain curve form unconfined compression test results

และจากการศึกษาผลการทดสอบ Consolidation undrained triaxial test ที่รวบรวมมาได้


โดยข้ อมูลส่วนใหญ่อยู่ในบริ เวณตอนบนกรุงเทพฯ ตามแนวแม่นํ ้าเจ้ าพระยา มีจํานวนทั้งหมด 34 ข้ อมูล ซึง่ ผล
การทดสอบที่ได้ มีลกั ษณะเป็ นเส้ นกราฟระหว่าง Deviator stress - Strain แต่ละ Confining pressure ที่
แตกต่างกัน แสดงใน Figure 5 และวงกลมของโมร์ เพื่อหาค่า c’ และ ’ แสดงใน Figure 6
40

Deviator Stress (t/m2)


30
Confining pressure , t / m 2
20  30.2
10  19.8
 12.1
0
0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20
Axial Strain (%)

Figure 5 Stress strain curve form Consolidation undrained triaxial test results

15
Shear Stress (t/m2)

10

0
0 10 20 30 40 50 60
Effective Normal Stress (t/m2)

Figure 6 Mohr circle and Mohr envelope form Consolidation undrained triaxial test results

Mohr envelope จากวงกลมของโมร์ ทําให้ สามารถได้ คา่ c’ อยู่ในช่วง 1.34 - 13.78 t/m2 และ
จะได้ คา่ ’ อยูใ่ นช่วง 9.1 - 26.1 deg. แสดงใน Figure 7

20
18
(t/m2)

16
14
12
Shear Stress

10
8
6
4
2
0
0 20 40 60 80
Effective Normal Stress (t/m2 )

Figure 7 Range effective cohesion and effective friction angle values of Bangkok stiff clays

การยุบอัดตัวของดินเหนียวแข็งกรุ งเทพฯ
จากการพิจารณาข้ อมูลผลการทดสอบ Consolidation test ที่รวบรวมมาได้ โดยข้ อมูลส่วน
ใหญ่อยู่ในบริ เวณตอนบนกรุ งเทพฯ ตามแนวแม่นํ ้าเจ้ าพระยา มีจํานวนทั้งหมด 71 ข้ อมูล โดยทําการศึกษาการ
ยุบอัดตัว พิจารณาจากกราฟ e - log   แต่ละพื ้นที่ ผลที่ได้ ลกั ษณะของเส้ นกราฟจะค่อนข้ างราบเรี ยบ ซึ่ง
หมายความว่าเส้ นโค้ งของกราฟไม่มีการเปลี่ยนแปลงทันที และกราฟไม่สามารถแยกในส่วน Recompression
และ Virgin zones หรื อไม่สามารถกําหนด Maximum past pressure ( p ) ตามวิธีของ Casagrande (1936)
ได้ ชดั เจนเหมือนดินเหนียวอ่อน และใน Figure 8 แสดงลักษณะกราฟ e - log   เปรี ยบเทียบระหว่างดินเหนียว
อ่อนและดินเหนียวแข็งแต่ลกั ษณะกราฟสามารถบ่งบอกได้ ว่าดินเหนียวแข็งเป็ นดิน Over consolidated (OC)
เพราะคาดว่าค่า Effective overburden pressure ( v0 ) จะน้ อยกว่าค่า Maximum past pressure ( p )
สําหรับการยุบอัดตัวของดิน โดยค่า Cc จะพิจารณาในช่วงที่มีลกั ษณะเป็ นเส้ นตรง (Virgin line) มากที่สดุ เมื่อทํา
การวิเคราะห์จะได้ คา่ CR เท่ากับ 0.089  0.035

Soft clay Vertical Pressure (t/m2)


Stiff clay
1.0 10.0 100.0
2.00

1.50
Void Ratio

1.00

0.50

0.00

Figure 8 Compression Characteristics of Typical Bangkok soft clay and stiff clay

สรุ ป
ดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ ในพื ้นกรุงเทพฯ อยู่ที่ระดับความลึก -12 ถึง -26 เมตร เป็ นดินเหนียวอนินทรี ย์มี
ความเหนียวตํ่าถึงสูง (CL,CH) มีคา่ กําลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายนํ ้า (Su) เท่ากับ 8.39  3.68 t/m2 และดิน
เหนียวแข็งในบริ เวณตอนบนของพื ้นที่กรุงเทพฯ ตามแนวแม่นํ ้าเจ้ าพระยา มีคา่ ความเหนียว (c’) อยู่ในช่วง 1.34
ถึง 13.78 t/m2 , ค่ามุมเสียดทานภายใน (’) อยูใ่ นช่วง 9.1 ถึง 26.1 deg. และมีคา่ อัตราส่วนการยุบอัดตัว (CR)
เท่ากับ 0.089  0.035

เอกสารอ้ างอิง
กรมทรัพยากรธรณี. 2542. ธรณีวทิ ยาประเทศไทย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้ อม.

เชิดพันธุ์ อมรกุล. 2553. ฐานข้ อมูลชัน้ ดินทางวิศวกรรมบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่ างของประเทศไทย.


วิทยานิพนธ์ปริ ญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
Asian Institute of Technology (AIT). 1981. Investigation of Land Subsidence Caused by Deep Well
Pumping in Bangkok Area. Vol. 2 GTE RR No. 91, AIT, Bangkok.

Casagrande, A. 1936. The Determination of Preconsolidation Load and its Practical Significance.
Proc. 1st Int. Conf. Soil Mech. Found, Eng.

Casagrande, A. 1948. Classification and Identification of Soils. ASCE, Vol. 113.

Mitchell, J.K. 1976. Foundamentals of Soil Behavior. University of California Berkeley, John Wiley &
Sons Inc.

Natalaya, P. and J.L. Pau. 1983. Geomorphology and Land Subsidence in Bangkok, Thailand. In
Guidebook for Field Trip Itinerary in the Short Coarse on Applied Quaternary Geology. AIT,
Bangkok.

Parentela, M. 1983. Engineering Properties of Stiff Bangkok Clays. M. Eng. Thesis No. 82-1, AIT,
Bangkok.

Rujivipat, V. 1980. Consolidation Properties of Soft and Stiff Bangkok Subsoils Related to Land
Subsidence. M. Eng. Thesis No. GT-79-18, AIT, Bangkok. 199 p.

Terzaghi, K and R. B. Peck 1967. Soil Mechanics in Engineering Practice. John Wiley & Sons, New
York.

Wagner, A.A. 1957. The Use of the Unified Soil Classification System by the Bureau of Reclamation.
Proc. 4th Inter. Conf. Soil Mech. Found. Eng. (London), Vol. I

You might also like