You are on page 1of 5

วารสารกฎหมายขนสงและพาณิชยนาวี ปที่ 17 ฉบับที่ 24 24

สาระสำคัญของรางพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ....

พิชยามนต จารึกสุนทรสกุล*

1. บทนำ
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีไดมีมติอนุมัติหลักการของรางพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และใหสงสำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกาตรวจพิจารณา1 โดยใหรับความเห็นและขอสังเกตของหนวยงานตาง ๆ ไปประกอบการพิจารณาดวย2
ทั้งนี้ การเสนอรางพระราชบัญญัติดังกลาวมีเหตุผลเพื่อกำหนดใหมีองคกรกลางในการกำหนดนโยบายและแผนกิจการ
อวกาศ และบูรณาการองคกรที่มีอำนาจหนาที่เกี่ยวกับการพัฒนากิจการอวกาศ เพื่อใหทำหนาที่อยางมีเอกภาพในการ
กำกับกิจการอวกาศ การสงเสริมเศรษฐกิจอวกาศ รวมทั้งการสำรวจและสรางวิทยาการอวกาศ ตลอดจนการ
กำหนดหลักเกณฑในการกำกับการดำเนินกิจการอวกาศเพื่อใหมีความปลอดภัย และเปนไปตามมาตรฐานสากลให
สอดคลองกับพันธกรณีของไทยภายใตบังคับของกฎหมายระหวางประเทศ ทั้งกรณีที่ประเทศไทยไดเขาเปนภาคี
สนธิสัญญาแลว (ไดแก (1) สนธิสัญญาวาดวยหลักเกณฑการดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใชอวกาศ
ภายนอก รวมทั้งดวงจันทรและเทหะในทองฟาอื่น ๆ ค.ศ. 1967 (สนธิสัญญาอวกาศ3) และ (2) ความตกลงวาดวย
การชวยชีวิตนักอวกาศ การสงคืนนักอวกาศและการคืนวัตถุที่สงออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968 (ความตก
ลงกูภัย4)) และกรณีทอี่ ยูระหวางการเตรียมความพรอมในการเขาเปนภาคีสนธิสัญญา (ไดแก (1) อนุสัญญาวาดวย

* Pichayamon Jarueksoontornsakul, Krisdika Counsel (Legal Counsel), Senior Professional Level, Educational and Cultural
Law Division, Office of the Council of State
1 ขณะนี้ (เมษายน 2565) รางพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. .... อยูระหวางการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 4) ในวาระที่

หนึ่ง โดยเริ่มพิจารณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565.


2 กอนที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติหลักการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไดขอใหหนวยงานของรัฐจำนวน 13 แหง เสนอความเห็นเพื่อประกอบการ

พิจารณาของคณะรัฐมนตรี ประกอบดวย 1 หนวยงานที่เห็นชอบ รวมทั้งสิ้น 5 หนวยงาน ไดแก 1.1 สำนักงานศาลยุติธรรม 1.2 กระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคม 1.3 กระทรวงกลาโหม 1.4 สำนักงบประมาณ 1.5 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ และ 2 หนวยงานที่เห็นชอบ
และมีข อสังเกต รวมทั ้งสิ้น 8 หน วยงาน ได แก 2.1 กระทรวงการคลัง 2.2 กระทรวงตางประเทศ 2.3 กระทรวงคมนาคม 2.4 กระทรวงยุติธรรม
2.5 สำนักงาน ก.พ. 2.6 สำนักงาน ก.พ.ร. 2.7 สำนักงาน กสทช. 2.8 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
3 สนธิสัญญาวาดวยหลั กเกณฑการดำเนินกิ จการของรัฐในการสำรวจและการใชอวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทรและเทหะในทองฟาอื่น ๆ

ค.ศ. 1967 (Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space, including the Moon
and Other Celestial Bodies หรือ Outer Space Treaty) เปนสนธิสัญญาพหุภาคีฉบับแรกที่วาดวยเรื่องความรวมมือในอวกาศ รับรองโดยสมัชชา
ใหญในมติ 2222 (XXI) เปดใหลงนามเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2510 มีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2510 โดยไดวางหลักการสำคัญ เชน
หลักการสำรวจและใชอวกาศจะตองเปนไปเพื่อประโยชนของทุกประเทศและจะเปนกิจกรรมของมนุษยชาติทั้งมวล (province of all mankind)
และจะไมตกเปนกรรมสิทธิ์ของรัฐใด หลักเสรีภาพในการตรวจสอบทางวิทยาศาสตรในอวกาศ (Freedom of Scientific Investigation) และหลัก
ความรับผิดชอบระหวางประเทศของรัฐสำหรับกิจกรรมของรัฐในอวกาศ (International Responsibility for National Activities) (กรมสนธิสัญญา
และกฎหมาย, กฎหมายอวกาศ, <https://treaties.mfa.go.th/กฎหมายระหวางประเทศ/กฎหมายอวกาศ> สืบคนเมื่อ 5 เมษายน 2565.
4 ความตกลงวาดวยการชวยชีวิตนักอวกาศ การสงคืนนักอวกาศและการคืนวัตถุที่สงออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968 (Agreement on the

Rescue of Astronauts, the Return of Astronauts and the Return of Objects Launched into Outer Space ห ร ื อ Rescue
Agreement) รับรองโดยสมั ชชาใหญ ในมติ 2345 (XXII) เปดใหลงนามเมื่อวั นที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2511 มีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม
วารสารกฎหมายขนสงและพาณิชยนาวี ปที่ 17 ฉบับที่ 24 25

ความรับผิดระหวางประเทศตอความเสียหายอันเนื่องจากวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1972 (อนุสัญญาความรับผิด5) และ


(2) อนุสัญญาวาดวยการจดทะเบียนวัตถุท ี่สงออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1975 (อนุสัญญาการจดทะเบียน
วัตถุอวกาศ6)) อัน เปนกลไกเพื่ อเพิ่ มศั กยภาพในการดำเนิน กิจการอวกาศของประเทศ รวมทั ้งสนั บสนุน และ
สง เสริมใหทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส วนรวมในการพัฒนากิจการอวกาศ ตลอดจนเปน การแสดงใหเห็นวา
ประเทศไทยพรอมเปนสวนหนึ่งของประชาคมโลกในการดำเนินกิจการอวกาศ

2. หลักการและสาระสำคัญของรางพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ....


รางพระราชบัญญั ติกิ จการอวกาศ พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุม ัติ หลั กการ มี จำนวน 99 มาตรา
แบงเปน 8 หมวด โดยกำหนดขอบเขตการใชบังคับไวในรางมาตรา 4 มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ขอบเขตการใชบังคับกฎหมาย (รางมาตรา 4)
กำหนดให ใ ช พระราชบัญญั ตินี ้บ ัง คับ แก การดำเนิ น กิจ การอวกาศ ได แ ก (1) ในราชอาณาจั กร
(2) นอกราชอาณาจักรหรือในอวกาศโดยบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศ
ไทย (3) นอกราชอาณาจักรโดยใชพื้นที่ที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือโดยใชเรืออากาศยาน ยานพาหนะ หรือวัตถุ
อวกาศซึ่งไดจดทะเบียนในประเทศไทย เวนแตกิจการอวกาศที่อยูในราชการทหารเฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับการปองกัน
ประเทศหรือหนวยงานของรัฐตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแหงชาติ

2.2 นโยบายและแผนกิจการอวกาศ (หมวด 1 รางมาตรา 6 ถึงรางมาตรา 7)


กำหนดใหมีนโยบายและแผนกิจการอวกาศ เพื่อสนับสนุนและสงเสริมใหทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมี
สวนรวมในการพัฒนากิจการอวกาศกอใหเกิดเศรษฐกิจอวกาศ (New Space Economy) ดังนี้
2.2.1 กำหนดใหคณะรั ฐมนตรีจ ัดใหม ี นโยบายและแผนกิจการอวกาศตามข อเสนอแนะของ
คณะกรรมการ และเมื่อมีการประกาศนโยบายและแผนกิจการอวกาศในราชกิจจานุเบกษาแลวใหหนวยงานของรัฐที่
เกี่ยวของกับกิจการอวกาศตองดำเนินการตามหนาที่ และอำนาจของตนใหสอดคลองกับนโยบายและแผนดังกลาว
(รางมาตรา 6)
2.2.2 กำหนดนโยบายและแผนดังกลาวประกอบดวยเปาหมายและแนวทางในเรื่องที่เกี่ยวกับการ
ดำเนินกิจการอวกาศใหเกิดประโยชนในดานความมั่นคง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา และวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี

พ.ศ. 2511 มีหลักการสำคัญคือ หากภาคีไดรับขอสนเทศหรือคนพบวามีนักอวกาศประสบอุบัติเหตุ ประสบภาวะทุกขภัย หรือตองลงพื้นดินอยาง


ฉุกเฉิน ภาคีมีหนาที่จะตองแจงรัฐผูรับผิดชอบในการปลอยยานอวกาศและแจงเลขาธิการสหประชาชาติทราบโดยทันที และจะตองดำเนินการทุก
วิถีทางที่สามารถกระทำไดเพื่อชวยชีวิตและใหความชวยเหลือที่จำเปนแกบุคคลเหลานั้น (เพิ่งอาง).
5 อนุสัญญาวาดวยความรับผิดระหวางประเทศตอความเสียหายอันเนื่องจากวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1972 (Convention on International Liability for

Damages Caused by Space Objects หรือ Space Liability Convention) รับรองโดยสมัชชาใหญในมติ 2777 (XXVI) เปดใหลงนามเมื่อวันที่
29 มีนาคม พ.ศ. 2515 มีผลใชบังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2515 มีหลักการสำคัญคือ รัฐผูสงวัตถุอวกาศ (Launching State) ซึ่งหมายถึง รัฐผู
สง (Launch) รัฐผูชวยใหมีการจัดสง (Procure) และรัฐซึ่งไดมีการจัดสงวัตถุอวกาศภายในอาณาเขตของรัฐ (Territory) หรือที่ไดใหความสะดวก
(Facility) ในการจัดสงวัตถุอวกาศจะตองเปนผูรบั ผิดชอบทั้งมวล (Absolutely Liable) สำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศนั้น (เพิ่งอาง).
6 อนุสัญ ญาวาดวยการจดทะเบียนวัตถุที่สงออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1975 (Convention on Registration of Objects Launched

into Outer Space หรื อ Registration Convention) รั บ รองโดยสมัช ชาใหญ ใ นมติ 3235 (XXIX) เปด ใหล งนามเมื ่อ วันที่ 14 มกราคม
พ.ศ. 2518 มีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2519 มีหลักการสำคัญคือ รัฐภาคีมีหนาที่จะตองจดทะเบียนวัตถุที่สงขึ้นสูวงโคจรของ
โลกหรือเหนือวงโคจรของโลก (Earth Orbit or Beyond) และแจงถึงการจดทะเบียนดังกลาวตอเลขาธิการสหประชาชาติ (เพิ่งอาง).
วารสารกฎหมายขนสงและพาณิชยนาวี ปที่ 17 ฉบับที่ 24 26

การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ และดานอื่น อันเปนประโยชนตอการพัฒนาประเทศ และการพิทักษรักษาผลประโยชน


ของชาติอยางยั่งยืน การสงเสริมและสนับสนุนใหเกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการดำเนินกิจการอวกาศของ
ประเทศ และสงเสริมและพัฒนาความรวมมือกับตางประเทศ (รางมาตรา 7)

2.3 คณะกรรมการนโยบายอวกาศแหงชาติ (หมวด 2 รางมาตรา 8 ถึงรางมาตรา 14)


2.3.1 กำหนดใหมีคณะกรรมการนโยบายอวกาศแหงชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเปนประธานกรรมการ
โดยมีหนาที่และอำนาจที่สำคัญในการจัดทำนโยบายและแผนกิจการอวกาศเสนอตอคณะรัฐมนตรี การประเมินผลการ
ดำเนินการของหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของกับกิจการอวกาศ การแตงตั้งผูอำนวยการสำนักงานกำกับกิจการอวกาศ
แหงชาติ และการกำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการของสำนักงานกำกับกิจการอวกาศ
แหงชาติและผูอำนวยการฯ
2.3.2 กำหนดคุณสมบั ติและลักษณะตองหาม วาระการดำรงตำแหนง และเหตุแหงการพนจาก
ตำแหนงของกรรมการผูทรงคุณวุฒิ และกำหนดการประชุมของคณะกรรมการฯ

2.4 องคกรดานอวกาศ (หมวด 3 รางมาตรา 19 ถึงรางมาตรา 45)


2.4.1 กำหนดใหมีสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแหงชาติเปนนิติบุคคล มีฐานะเปนหนวยงาน
ของรัฐที่ไมเปนสวนราชการตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการแผนดินและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวา
ดวยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น ทำหนาที่เปนหนวยงานเลขานุการใหกับคณะกรรมการฯ และอยูภายใตการ
กำกับดูแลของคณะกรรมการฯ โดยมีภารกิจในการกำกับ ควบคุม สงเสริม สนับสนุน และพัฒนากิจการอวกาศ ทั้งใน
ดานความมั่นคง เศรษฐกิจ การรักษาสิ่งแวดลอม การศึกษา และดานอื่นที่เกี่ยวของกับกิจการอวกาศ รวมทั้งเปนหนวย
รับแจงเหตุในกรณีเกิดอุ บัติเหตุหรืออุบ ัติการณจากการดำเนินกิจการอวกาศก อนประสานกับหนวยงาของรัฐ ที่
เกี่ยวของเพื่อการแกไขเหตุการณดังกลาว ใหเปนไปตามกฎหมายและนโยบายและแผนกิจการอวกาศ (รางมาตรา
19 ถึงรางมาตรา 21)
2.4.2 กำหนดใหสำนักงานฯ มีรายไดและทรัพยสิน ไดแก ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรใหเงิน
อุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรใหตามความเหมาะสม เงิน และทรัพยสินที่มีผูบริจาคใหสำนักงาน คาธรรมเนียม
คา บำรุ ง คา ตอบแทน ค า บริ การ หรือ รายไดอ ัน ได มาจากการดำเนิน งานของสำนั กงาน และดอกผลและ
ผลประโยชนหรือรายไดอื่นที่เกิดจากการดำเนินการของสำนักงานฯ (รางมาตรา 22 ถึงรางมาตรา 25)
2.4.3 กำหนดใหมีผูอำนวยการคนหนึ่งทำหนาที่บริหารกิ จการของสำนักงานฯ และมีวาระการ
ดำรงตำแหนงคราวละ 5 ปนับแตวันที่ไดรับแตงตั้งและกำหนดเหตุพนจากตำแหนงของผูอำนวยการฯ นอกจาก
การพนจากตำแหนงตามวาระ (รางมาตรา 26 ถึงรางมาตรา 40)
2.4.4 กำหนดใหนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของสำนักงาน
ฯ ตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อการนี้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเรียกผูอำนวยการมาชี้แจงขอเท็จจริงแสดงความคิดเห็น
หรือทำรายงานเสนอ และมีอำนาจสั่งยับยั้งปรับปรุงหรือแกไขการกระทำของสำนักงานที่เห็นวาขัดตอกฎหมาย
หรือนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไวตอรัฐสภา รวมทั้งนโยบายและแผนกิจการอวกาศ (รางมาตรา 41)
2.4.5 กำหนดใหสำนักงานฯ ตองมีระบบการบัญชีที่เปนไปตามหลักสากลและสอดคลองกับระบบ
การบัญชีที่กระทรวงการคลังวางไว โดยตองมีการตรวจสอบภายใน มีการจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีสงผูสอบ
วารสารกฎหมายขนสงและพาณิชยนาวี ปที่ 17 ฉบับที่ 24 27

บัญ ชีภ ายในเกา สิบวัน นั บ แต ว ัน สิ้น ปบ ั ญ ชี ทุ กป ตลอดจนจัดทำรายงานประจำป เสนอคณะรั ฐมนตรี ท ุกสิ้น
ปงบประมาณ และเปดเผยตอสาธารณชน (รางมาตรา 42 ถึงรางมาตรา 45)

2.5 กิจการอวกาศ (หมวด 4 รางมาตรา 46 ถึงรางมาตรา 71)


2.5.1 กำหนดใหก ารดำเนิน กิจ กรรมอวกาศต อ งไดรับ ใบอนุ ญาตจากผู อำนวยการฯ ตามที่
หลักเกณฑคณะกรรมการฯ กำหนด ยกเวน เปนการดำเนิน กิจ กรรมอวกาศที ่ประเทศอื่ นไดท ำความตกลงกับ
ประเทศไทย และไดรับการอนุญาตหรือไดรับใบอนุญาตใหดำเนิน กิจกรรมอวกาศโดยประเทศนั้นหรือเปนการ
ดำเนินกิจกรรมอวกาศที่ไมตองขอรับใบอนุญาต (รางมาตรา 46 ถึงรางมาตรา 61)
2.5.2 กำหนดให สำนักงานฯ ทำหนา ที่เปน หนวยงานกลางของประเทศในการจัดใหม ีระบบ
ทะเบียนวัตถุอวกาศของประเทศ และทำหนาที่รับจดทะเบียนวัตถุอวกาศตามรางพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งทำ
หนาที่แจงผานกระทรวงการตางประเทศไปยังองคการระหวางประเทศที่เกี่ยวของกับการจดทะเบียนวัตถุ (ราง
มาตรา 62 ถึงรางมาตรา 67)
2.5.3 กำหนดใหผูอำนวยการฯ กำหนดมาตรการสงเสริมและชวยเหลือการประกอบกิจกรรมที่
เกี่ยวเนื่องกับอวกาศแกผูดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศเพื่อประโยชนในการสงเสริมและพัฒนาการลงทุน
ดานอวกาศของประเทศ (รางมาตรา 68 ถึงรางมาตรา 71)

2.6 การดำเนินการของรัฐเกี่ยวกับกิจการอวกาศ (หมวด 5 รางมาตรา 72 ถึงรางมาตรา 78)


2.6.1 กำหนดใหรัฐบาลไทยตองรับผิดในทางระหวางประเทศจากความเสียหายใดๆ ตอชีวิตรางกาย
และทรัพยสินของบุคคลที่สามอันเปนผลมาจากการดำเนินกิจกรรมอวกาศ วัตถุอวกาศหรือการดำเนินกิจกรรมที่
เกี่ยวเนื่องกับอวกาศตามพระราชบัญญัตินี้ ไมวาจะไดรับใบอนุญาตไดรับการจดทะเบียนหรือไดรับอนุญาตหรือไมก็ตาม
เมื่อรัฐบาลไดชดใชคาสินไหมทดแทนแกบุคคลที่สามแลว ใหรัฐบาลมีสิทธิไลเบี้ยจากผูที่กอใหเกิดความเสียหายนั้น (ราง
มาตรา 72)
2.6.2 กำหนดหนา ที ่ข องผู รั บ ใบอนุ ญาตดำเนิ นกิจ กรรมอวกาศมี ห น า ที่ แจง ข อ มูลเกี ่ยวกับ
อุบัติเหตุและอุบัติการณตอผูอำนวยการฯ ในกรณีที่มีอุบัติเหตุหรืออุบัติการณที่เกิดจากกิจกรรมการอวกาศที่ไดรับ
อนุญาตตามรางพระราชบัญญัตินี้ และใหผูอำนวยการฯ แตงตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุ
หรืออุบัติการณที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมอวกาศ (รางมาตรา 73 ถึงรางมาตรา 78)

2.7 พนักงานเจาหนาที่ (หมวด 6 รางมาตรา 79 ถึงรางมาตรา 85)


กำหนดหน า ที ่ แ ละอำนาจของพนั ก งานเจ า หน า ที ่ ใ นการปฏิ บ ั ต ิ ก ารให เ ป น ไปตามร า ง
พระราชบัญญัตินี้ ในการเขาไปในอาคารหรือสถานประกอบการของผูรับใบอนุญาตในระหวางเวลาพระอาทิตยขึ้น
จนถึงพระอาทิตยตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบกิจการสมุดบัญชีเอกสารหลักฐานหรือขอมูลที่
เกี ่ ยวข อง รวมทั ้ งการกระทำใดของผู ร ั บ ใบอนุ ญ าตที ่ อาจเป น การฝ าฝ น หรื อไม ป ฏิ บ ั ต ิ ตามบทบั ญ ญั ต ิ แห ง
พระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต เพื่อตรวจสอบและรวบรวมขอเท็จจริงรายงานตอผูอำนวยการฯ
ตลอดจนมีอำนาจออกหนังสือเรียกบุคคลใดมาใหถอยคำหรือใหสงเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา
ของพนักงานเจาหนาที่ได
วารสารกฎหมายขนสงและพาณิชยนาวี ปที่ 17 ฉบับที่ 24 28

2.8 บทกำหนดโทษ (หมวด 7 รางมาตรา 86 ถึงรางมาตรา 92)


2.8.1 กำหนดใหผูใดที่ดำเนินกิจกรรมอวกาศโดยไมมีใบอนุญาต หรือสงวัตถุอวกาศโดยไมไดจด
ทะเบียน หรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศโดยไมมีใบอนุญาตตองระวางโทษปรับไมเกิน 500,000 บาท
ถึง 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.8.2 กำหนดใหผูที่ไมแจงการดำเนินกิจกรรมอวกาศตอผูอำนวยการฯ หรือผูดำเนินกิจกรรม
อวกาศไมปฏิบัติตามประกาศที่คณะกรรมการฯ กำหนด หรือผูดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศไมปฏิบัติตาม
ระเบียบที่ผูอำนวยการฯ ประกาศกำหนด ตองระวางโทษปรับตั้งแต 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท ในกรณีที่
เปนความผิดตอเนื่องกันใหปรับอีกวันละไมเกิน 10,000 บาท จนกวาจะไดปฏิบัติใหถูกตอง
2.8.3 กำหนดใหผูขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจาหนาที่ในการปฏิบัติการตามหนาที่ใน
รางพระราชบัญญัตินี้ ตองระวางโทษจำคุกไมเกิน 6 เดือน หรือปรับไมเกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.9 บทเฉพาะกาล (รางมาตรา 93 ถึงรางมาตรา 99)


2.9.1 กำหนดในระหวางที่ยังไมมีผูอำนวยการสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแหงชาติตามราง
พระราชบัญญัตินี้ใหนายกรัฐมนตรีแตงตั้งผูที่เห็นสมควรเพื่อปฏิบัติหนาที่ผูอำนวยการฯ ตามพระราชบัญญัตินี้เปน
การชั่วคราว จนกวาจะมีผูอำนวยการฯ ตามรางพระราชบัญญัตินี้ แตไมเกิน 90 วันนับแตวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช
บังคับ
2.9.2 กำหนดใหเพื่อประโยชนในการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายและกำกับกิจการอวกาศ
แหง ชาติ ในวาระเริ ่ม แรก ให คณะรั ฐมนตรีจ ั ดสรรทุน ประเดิ ม ใหแ กส ำนัก งานฯ ตามความจำเป น และให
นายกรัฐมนตรีเสนอตอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาใหขาราชการ พนักงานเจาหนาที่หรือผูปฏิบัติงานอื่นใดใน
หนวยงานของรัฐมาปฏิบัติงานเปน พนักงานของสำนักงานฯ เปนการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรี
กำหนด

You might also like