You are on page 1of 5

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของปริญญานิพนธ์
เครื่องสร้างแรงขับแบบไร้ใบพัด (Bladeless Thruster) ได้แนวคิดมาจากพัดลมไร้ใบพัด (Air Multipiier)
ของบริษัท Dyson เป็นพัดลมที่สร้างเสียงรบกวนที่น้อย ยังประหยัดพลังงานไฟฟ้าและยังมีความปลอดภัย
มากกว่าพัดลมที่มีใบพัด เนื่องจากเป็นพัดลมที่ไร้ใบพัด [1] James Dyson et al (2017)
กลไกการทำงานของเครื่องสร้างแรงขับจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1. มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ดูดอากาศ
จากภายนอก (Electric Ducted Fan) (EDF) คือ หรือ มีหน้าที่เป็น คอมเพรสเชอร์ โดยทำให้สร้างอากาศ
ที่มีแรงดันและความเร็วสูง 2. ท่อระบายอากาศ (Discharge Frame) คือ ท่อระบายอากาศที่ได้รับมาจาก
คอมเพรสเชอร์ โดยรูปทรงภายในจะถูกออกแบบให้เหมือนแพนอากาศ (AirFoil) เนื่องจากจะทำให้อากาศ
ที่ไหลเข้าเกิดความแตกต่างของแรงดันที่พื้นผิวภายในของท่อระบายอากาศโดยท่อระบายอากาศจะมี
รูปร่างทรงกลมเพื่อให้ระบายอากาศสู่ภายนอก ทำให้เกิดการไหลของอากาศที่จะเหนี่ยวนำอากาศบริเวณ
ภายนอกไปด้วยเนื่องจากเกิดแรงดันต่ำบริเวณปลายท่อระบายอากาศทำให้อัตราการไหลของกาศเพิ่มขึ้น
ทำให้เกิดแรงดันสูงรอบปลายท่อระบายอากาศ
โดยหลักการพื้นฐานที่กล่าวมาข้างต้นคือหลักการของการสร้างแรงยก (Lift) ดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้
สร้างและพัฒนาเครื่องสร้างแรงขับแบบไร้ใบพัดได้
จึงทำให้เกิดความสนใจในการออกแบบและพัฒนาเครื่องสร้างแรงขับแบบไร้ใบพัดสำหรับอากาศ
ยานไร้คนขับ หรือ Design and Development of Bleseless Thrusters for Unmanned Aerial
Vehicle เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการในพัฒนาด้านอุสาหกรรมการบินและอุสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ
1.2 วัตถุประสงค์ของปริญญานิพนธ์
1.2.1 ออกแบบและสร้างเครื่องสร้างแรงขับแบบไร้ใบพัด
1.2.2 ออกแบบแพนอากาศที่สร้างแรงขับได้ดีที่สุด
1.3 ขอบเขตของปริญญานิพนธ์
1.3.1 ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ดูดอากาศจากภายนอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 64 มิลลิเมตร และ
ช่วงความเร็ว รอบ 4500 รอบต่อนาที (rpm)
1.3.2 ใช้โปรแกรม Ansys simulation จำลองการไหลของอากาศเพื่อหาจุดออกแบบแพน
อากาศที่ดีที่สุด
1.3.3 ใช้โปรแกรม soliwork ออกแบบโครงสร้างของท่อระบายอากาศ
1.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.4.1 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างแรงขับของอากาศยานไร้คนขับ
1.4.2 ออกแบบและสร้างเครื่องสร้างแรงขับ
1.4.3 ออกแบบชุดทดสอบแรงขับ และทดสอบแรงขับที่ได้ออกแบบไว้ในข้อ 1.4.2
1.4.4 พัฒนาเครื่องสร้างแรงขับเพื่อหาจุดออกแบบที่ให้ประสิทธิภาพแรงขับสูงขึ้น
1.4.5 ทดสอบแรงขับเพื่อเทียบผลกับแรงขับที่ได้ในข้อ 1.4.3
1.4.6 สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำเล่มปริญญานิพนธ์

1.4.4 ศึกษาข้อมูลทฤษฎีและหลักการของระบบพัดลมไร้ใบพัดหรือ Air Multiplier ของ


บริษัท Dyson
1.4.5 ค้นคว้าข้อมูลการเขียนรายงานบทที่ 2
1.4.6 ค้นคว้าข้อมูลการเขียนรายงานบทที่ 3
1.4.7 ศึกษาข้อมูลและรูปแบบของแพนอากาศ (Airfoil)
1.4.8 ศึกษาข้อมูลอากาศพลศาสตร์หลักการไหลของอากาศ
1.4.9 วางแผนและออกแบบ แพนอากาศ (Airfoil)
1.4.10 ศึกษาข้อมูลการใช้โปรแกรม Solidwork
1.4.11 เริ่มทำการเขียนรูปแบบแพนอากาศ (Airfoil)
1.4.12 ค้นคว้าข้อมูลการเขียนรายงานบทที่ 4
1.4.10 ค้นคว้าข้อมูลการเขียนรายงานบทที่ 5
1.4.11 จำลองการไหลของอากาศของแพนอากาศ (Airfoil) แต่ละรูปแบบ
1.4.12 ทำการสร้างเครื่องสร้างแรงขับ (Thruster Prototype)
1.4.13 ทำการวัดค่าแรงขับ (Thrust)
1.4.14 สรุปผลการทดลอง
1.4.15 จัดทำเล่มปริญญานิพนธ์

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ได้เครื่องสร้างแรงขับแบบไร้ใบพัดสำหรับอากาศยานที่ให้แรงขับสูง
1.5.2 เข้าใจหลักการทางอากาศพลศาสตร์ที่ช่วยสร้างแรงขับในอากาศยานให้สูงขึ้น
1.5.3 สามารถพัฒนานำเครื่องสร้างแรงขับไปใช้เป็นต้นกำลังอากาศยานสำหรับอากาศยานแบบ
ไร้ใบพัดได้

วิธีการใช้งานของโปรแกรม Solid work ในการเขียนแบบแพนอากาศ (Airfoil)


1.5.2 เพื่อใช้ในการสร้างและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ(Unmanned Aerial vehicle : UAV)
1.5.3 พัฒนารูปแบบของแพนอากาศเพื่อสร้างแรงขับ (Thrust) ให้ได้มากที่สุด
1.6 แผนการดำเนินงาน
ตารางที่ 1.1 แผนการดำเนินงานโครงงาน 1
การดำเนินงาน มี.ค.
พ.ย.65 ธ.ค.65 ม.ค.66 ก.พ.66 66
1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2
ค้นหาหัวข้อปริญญา
นิพนธ์ที่สนใจ
ค้นคว้าข้อมูลการเขียน
รายงานบทที่ 1
ศึกษาข้อมูลอากาศ
ยานไร้คนขับ หรือ
unmanned aerial
vehicle (UAV)
ศึกษาข้อมูลทฤษฎี
และหลักการของ
ระบบพัดลมไร้ใบพัด
หรือ Air Multiplier
ของบริษัท Dyson
ค้นคว้าข้อมูลการเขียน
รายงานบทที่ 2
ค้นคว้าข้อมูลการเขียน
รายงานบทที่ 3
ศึกษาข้อมูลและ
รูปแบบของแพน
อากาศ หรือ Airfoil
ตารางที่ 1.2 แผนการดำเนินงานโครงงาน 2
การดำเนินงาน มิ.ย. ก.ค.66 ส.ค.66 ก.ย.66 ต.ค.66
66
1 2 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2
ศึกษาข้อมูลอากาศ
พลศาสตร์หลักการไหล
ของอากาศ
วางแผนและออกแบบ
แพนอากาศ หรือ Airfoil
ศึกษาข้อมูลการใช้
โปรแกรม solidwork
เริ่มทำการเขียนรูปแบบ
แพนอากาศ หรือ Airfoil
ค้นคว้าข้อมูลการเขียน
รายงานบทที่ 4
ค้นคว้าข้อมูลการเขียน
รายงานบทที่ 5
จำลองการไหลของ
อากาศของแพนอากาศ
หรือAirfoil แต่ลรูปแบบ
ทำการสร้างเครื่องสร้าง
แรงขับหรือThruster
Prototype
ทำการวัดค่าแรงขับ
หรือ Thrust
สรุปผลการทดลอง
จัดทำเล่มปริญญานิพนธ์

You might also like