You are on page 1of 51

บทที่ 5

โปรตอนนิวเคลียร์แมกนีทิกเรโซแนนซ์ ตอนที่ 2

เมื่อโปรตอนอยู่ในสนามแม่เหล็กภายนอก (B0) จะเกิดการหมุนควงแบบลาร์มอร์ หลังจากนั้น


นิวเคลียสโปรตอนส่วนเกิน (สภาวะสปิน +1/2) จะดูดกลืนความถี่คลื่นวิทยุซึ่งตรงกับความถี่เชิงมุม เกิด
ปรากฏการณ์เรี ย กว่า เรโซแนนซ์ ซึ่งแต่ล ะโปรตอนของสารอินทรีย์จะมี ค่า การเลื่ อนทางเคมี ห รือ
ความถี่เรโซแนนซ์แตกต่างกัน เนื่องจากผลการถูกกาบังของอิเล็กตรอน โดยโปรตอนที่ถูกกาบังมากจะ
ปรากฏสั ญญาณเรโซแนนซ์ที่ความถี่หรือค่าการเลื่ อนทางเคมีน้อย ดังนั้นเทคนิคโปรตอนนิวเคลี ยร์
แมกนีทิกเรโซแนนซ์จึงมีประโยชน์อย่างมากสาหรับนักเคมี ในบทนี้จะกล่าวถึงการแปลความหมายของ
ข้อมูลต่าง ๆ จากสเปกตรัม เพื่อนามาใช้ในการพิสูจน์โครงสร้างสารอินทรีย์

โปรตอนสมมูล
โปรตอนสมมูล (equivalent proton) คือ โปรตอนที่มีสภาพแวดล้อมทางแม่เหล็กและ/หรือ
ทางเคมีเหมือนกัน กล่าวคือโปรตอนถูกกาบังจากสนามแม่เหล็กของอิเล็กตรอนเท่ากันนั่นเอง ส่งผลให้
โปรตอนที่สภาวะสปิน +1/2 ได้รับความเข้มสนามแม่เหล็กภายนอกเท่ากัน โปรตอนจึงปรากฏสัญญาณ
เรโซแนนซ์เหมือนกัน ในทางตรงข้ามโปรตอนที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน เรียกว่า โปรตอนไม่สมมูล
(nonequivalent proton) จะปรากฏสัญญาณเรโซแนนซ์ ที่ความถี่ต่างกัน ดังนั้น จานวนสัญญาณที่
ปรากฏในสเปกตรัม NMR จะแสดงถึงจานวนของกลุ่มโปรตอนไม่สมมูลในโครงสร้าง
ตัวอย่างเช่น สเปกตรัมของกรดแอซีติก (Acetic acid) ดังภาพที่ 5.1 ปรากฏ 2 สัญญาณ แสดง
ว่าในโครงสร้างมีโปรตอนไม่สมมูลจานวน 2 กลุ่ม ได้แก่ หมู่ CH3 และหมู่ COOH ซึ่งโปรตอนทั้ง 3 ตัว
ของหมู่เมทิลเป็นโปรตอนสมมูล จึงปรากฏสัญญาณที่  (ppm) 2.31 (CH3) เหมือนกัน

in CDCl3
O
H3C O-H
Acetic acid CH3

COOH

12 10 8 6 4 2 0
(ppm)

ภาพที่ 5.1 สเปกตรัม 1H NMR ของกรดแอซีติกละลายใน CDCl3


2

การตรวจสอบโปรตอนสมมูลในโครงสร้าง ดังนี้
1. อะตอมที่ต่อกับโปรตอน (connecting atom to proton) ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ตรวจสอบ
โปรตอนสมมูล เช่น สเปกตรัม 1H NMR ของเอทานอลปรากฏ 3 สัญญาณ กล่าวคือ โปรตอน H-1 H-2
และ H-3 สมมูลกัน เนื่องจากโปรตอนอยู่บนอะตอมคาร์บอนที่ ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่ CH2-OH
เหมือนกัน ปรากฏ 1 สัญญาณ ส่วนโปรตอน H-4 และ H-5 สมมูลกัน เนื่องจากต่อกับอะตอมออกซิเจน
และคาร์บอนเหมือนกัน ปรากฏ 1 สัญญาณ และโปรตอนของหมู่ OH ปรากฏอีก 1 สัญญาณ ดังภาพที่
5.2

H1 H5
H2 C C OH H1 = H2 = H3 and H4 = H5as a equiv. proton
H3 H4 (3 signals of OH, CH2 and CH3)
Ethanol
ภาพที่ 5.2 โปรตอนสมมูลของเอทานอล

2. ระนาบกระจกเงา (mirror plane) วิธีนี้เหมาะกับโมเลกุลสมมาตร เช่น 1,2-ไดออลอีเทน


(1,2-Diol ethane) ดังภาพที่ 5.3 เมื่อแบ่งโมเลกุลจะเห็นเป็น ภาพในกระจกเงาซึ่งกันและกัน ทาให้
โปรตอน H-1 H-2 H-3 และ H-4 สมมูลกัน เช่นเดียวกับโปรตอนของ OH ทั้งสองหมู่สมมูลกัน ดังนั้นใน
สเปกตรัมจะปรากฏ 2 สัญญาณ

mirror plane
H H2 H1 = H2 = H3 = H4and Ha = Hb as a equiv. proton
HaO 1 OHb
H3 H4 (2 signals)
1,2-diol ethane
ภาพที่ 5.3 ระนาบกระจกเงาของ 1,2-ไดอออลอีเทน

3. แกนหมุน (rotational axis) หลังจากหมุนโมเลกุลแล้ว ถ้าได้โครงสร้างเหมือนเดิม แสดงว่า


เป็นโปรตอนสมมูล เช่น เมื่อหมุนพารา-โบรโมไนโทรเบนซีน (p-Bromo nitrobenzene) 180 องศา
รอบแกน C2 ดังภาพที่ 5.4 ทาให้ได้โครงสร้างเหมือนเดิม นั่นคือ โปรตอน H-1 กับ H-3 และโปรตอน
H-2 กับ H-4 สมมูลกัน ในสเปกตรัมจึงปรากฏ 2 สัญญาณ
3

2 1
Br NO2 C2 H1 = H3 and H2 = H4 as a equiv. proton
4 3 1800 (2 signals)
p-Bromo nitrobenzene
ภาพที่ 5.4 การหมุนรอบแกน C2 ของพารา-โบรโมไนโทรเบนซีน

การตรวจสอบโปรตอนสมมูลอาจใช้วิธีใดวิธีห นึ่งตามข้างต้นหรือใช้วิธีการร่ว มกัน ตัวอย่าง


โครงสร้างอื่น ๆ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 5.1 จงบอกจานวนสัญญาณของเมทา-ไซลีน (m-Xylene) ที่ปรากฏในสเปกตรัม 1H NMR


2 1
3 CH3
4
H3C
mirror plane

พิจารณาโปรตอนสมมูล ดังนี้
โครงสร้างเมทา-ไซลีนมีระนาบกระจกเงาทาให้หมู่เมทิลทั้งสองหมู่และโปรตอน H-1 กับ H-3
เป็นภาพในกระจกเงาซึ่งกันและกัน มีสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน ปรากฏ 2 สัญญาณ
โปรตอน H-4 ต่อกับหมู่ CH3 ส่วน H-2 ต่อกับโปรตอน H-1 และ H-3 ปรากฏ 2 สัญญาณ
สรุปว่า สเปกตรัม 1H NMR ของเมทา-ไซลีนจะปรากฏ 4 สัญญาณ ที่  (ppm) 2.28 (2xCH3)
6.94 (H-1 และ H-3) 6.96 (H-4) และ 7.71 (H-2) (Chemical Book, 2016j)

ตัวอย่างที่ 5.2 จงบอกจานวนสัญญาณของแอลลิลแอลกอฮอล์ (Allyl alcohol) ในสเปกตรัม 1H NMR


3H H1 จากโครงสร้างแอลลิลแอลกอฮอล์ มีไวนิลโปรตอน 3 ตัว ได้แก่ H-1 H-2 และ H-3
H2 CH2-OH โปรตอน H-1 ต่อกับอะตอม H-3 ปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอน H-2 อยู่ด้านเดียวกับ CH2OH ปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอน H-3 อยู่ด้านเดียวกับ H-1 ปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอน 2 ตัว ของ CH2 มีสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอนของหมู่ OH ปรากฏ 1 สัญญาณ
สรุปว่า สเปกตรัม 1H NMR จะปรากฏ 5 สัญญาณ ที่  (ppm) 1.97 (OH), 4.15 (CH2), 5.16
(H-3), 5.29 (H-2) และ 5.99 (H-1) (Yoshida, 2017, p. 12821)
4

ตัวอย่างที่ 5.3 จงบอกจานวนสัญญาณของเททระไฮโดรฟูแรน (Tetrahydrofuran) ที่ปรากฏใน


สเปกตรัม 1H NMR
H5 H2
H6 H1
H4 O
H3

โครงสร้างเททระไฮโดรฟูแรนสมมาตรและมีระนาบกระจกเงา ทาให้โปรตอนเมทิลีนของแต่ละ
อะตอมคาร์บอนสมมูลกัน ดังนี้
โปรตอน H-1 H-2 H-3 และ H-4 ต่อกับอะตอม O และ CH2 เหมือนกัน จึงเป็นโปรตอนสมมูล
ปรากฏ 1 สัญญาณ
ส่วนโปรตอน H-5 กับ H-6 สมมูลกัน ซึ่งต่อกับ CH2 (H-1 = H-2 = H-3 = H-4) จึงปรากฏ 1
สัญญาณ
สรุปว่า สเปกตรัม 1H NMR ของเททระไฮโดรฟูแรนจะปรากฏ 2 สัญญาณ ที่  (ppm) 1.84
(CH2CH2) และ 3.73 (CH2-O) (Chemical Book, 2017k)

ตัวอย่างที่ 5.4 จงบอกจานวนสัญญาณของกรดโคโรนามิก (Coronamic acid) ในสเปกตรัม 1H NMR


3 H H2
HOOC
O2N H
1

เป็นตัวอย่างกรณีโครงสร้างเป็นวงขนาดสามเหลี่ยมและมีหมู่แทนที่
โปรตอน H-1 ต่อกับ CH2 และอยู่ด้านเดียวกับ NO2 ปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอน H-2 และ H-3 เป็นเมทิลีนโปรตอนอยู่ในวง ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน กล่าวคือ
โปรตอน H-2 อยู่ด้านเดียวกับ CH2CH3 และ COOH ส่วนโปรตอน H-3 อยู่ด้านเดียวกับ NO2 และ H
จึงปรากฏ 2 สัญญาณ
โปรตอน 3 ตัว ของหมู่ CH3 ต่อกับ CH2 เหมือนกัน จะปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอน 2 ตัว ของ CH2 ต่อกับ CH3 จะสมมูลกัน ปรากฏ 1 สัญญาณ
สรุปว่า สเปกตรัม 1H NMR ของกรดโคโรนามิกจะปรากฏ 5 สัญญาณ ปรากฏที่  (ppm)
0.82 (3H, CH2CH3), 1.35-1.54 (3H, CH2CH3 และ CHHCN) และ 1.54-1.68 (2H, CHHCN และ
CH3CH2CH) (Adams, et al., 2003, p. 9440)
5

ตัวอย่างที่ 5.5 จงบอกจานวนสัญญาณของ 1,1-ไดเมทิลไซโคลเฮกเซน (1,1-Dimethyl


cylclohexane) ที่ปรากฏในสเปกตรัม 1H NMR
2 H HH
1 4 H 2
3 H H 3 6 H CH
6 5 H H 1 3
4 5
H CH3
(1) (2)

1,1-ไดเมทิลไซโคลเฮกเซนมีระนาบกระจากเงา ดังโครงสร้าง (1) และมีโครงรูปแบบเก้าอี้ ดัง


โครงสร้าง (2) พิจารณาโปรตอนสมมูล ดังนี้
โปรตอน 3 ตัว ของหมู่ CH3 อยู่บนอะตอมคาร์บอน C1 เหมือนกัน และหมู่ CH3 ทั้งสองหมู่เป็น
ภาพกระจกเงากัน และต่อกับ CH2 เหมือนกัน จึงปรากฏ 1 สัญญาณ
โปรตอน H-2 กับ H-6 เป็นภาพกระจกเงา ซึ่งอยู่ตาแหน่งแอกเซียลและตาแหน่งอิควอเทอเรียล
ตามลาดับ เช่นเดียวกับโปรตอน H-3 กับ H-5 จึงปรากฏทั้งหมด 4 สัญญาณ
โปรตอน 2 ตัว บนอะตอมคาร์บอน C4 อยู่ตาแหน่งแอกเซียลและอิควอเทอเรียล ซึ่งสิ่งแวดล้อม
ไม่เหมือนกัน ทาให้ปรากฏ 2 สัญญาณ
สรุปว่า สเปกตรัม 1H NMR ของ 1,1-ไดเมทิลไซโคลเฮกเซนปรากฎที่  (ppm) 0.87 (CH3),
1.04 (H-4 (ax)), 1.09 (H-2 (ax) และ H-6 (ax)), 1.32 (H-2 (eq) และ H-6 (eq)), 1.36 (H-3 (ax) และ
H-5 (ax)), 1.48 (H-3 (eq) และ H-5 (eq)) และ 1.65 (H-4 (eq)) (Reich, 2017b)

1
 กาหนดโครงสร้าง จงหาโปรตอนสมมูลและบอกจานวนสัญญาณที่ปรากฏในสเปกตรัม H NMR

O
O H NH
S O
(1) (2) (3) (4)

Br
Br Br
(5) (6) (7) (8)
OH O O
Cl Cl Cl
O H
(9) (10) (11) (12)
6

การสมมูลทางแม่เหล็กและการสมมูลทางเคมี
โปรตอนสมมูลในโครงสร้างจะปรากฏสัญญาณเรโซแนนซ์ที่ความถี่เดียวกัน ซึ่งโปรตอนเหล่านั้น
มีสิ่งแวดล้อมเหมือนกันอาจเป็นการสมมูลทางแม่เหล็ก (magnetic equivalence) และ/หรือการสมมูล
ทางเคมี (chemical equivalence) ก็ได้ พิจารณาความแตกต่างกัน ดังนี้
โปรตอนสมมู ล ทางแม่เ หล็ ก จะมี ค่ า การเลื่ อ นทางเคมี (  (ppm)) และค่ า คงตั ว การคู่ ค วบ
(coupling constant, J (Hz)) เท่ากัน เช่น 1,2,3-ไทรโบรโมเบนซีน (1,2,3-Tribromobenzene) ซึ่ง
โมเลกุลมีระนาบกระจกเงา ดังภาพที่ 5.5 ทาให้โปรตอน H-1 และ H-3 สมมูลกัน ซึ่งทั้งโปรตอน H-1
และ H-3 จะคู่ควบกับโปรตอน H-2 มีค่าคงตัวการคู่ควบ (Jortho) เท่ากัน ลักษณะนี้เรียกว่า การสมมูล
ทางแม่เหล็ก
สาหรับโครงสร้างโบรโมเบนซีน (Bromobenzene) โปรตอน H-1 กับ H-5 และ H-2 กับ H-4
เป็นการสมมูลทางเคมี เนื่องจากโปรตอนแต่ละคู่มีค่าการเลื่อนทางเคมีเท่ากันแต่ค่าคงตัวการคู่ควบไม่
เท่ากัน โดยโปรตอน H-2 จะคู่ควบกับโปรตอน H-1 มีค่าคงตัวการคู่ควบ (Jortho) และคู่ควบกับโปรตอน
H-5 มีค่าคงตัวการคู่ควบ (Jpara) ลักษณะแบบนี้เรียกว่า การสมมูลทางเคมี

Br Br
Br Br H1 H5
H3 H1 H2 H4
H2 H3

(1) 1,2,3-Tribromobenzene (2) Bromobenzene


H1 and H 3 as magnetic equivalence H1 and H 5; H2 and H 4 as chemical equivalence

ภาพที่ 5.5 โครงสร้างที่มีโปรตอนสมมูล 1) การสมมูลทางแม่เหล็ก และ 2) การสมมูลทางเคมี

เช่นเดียวกับเมทิลีนโปรตอน (H-1 และ H-2) ในโครงสร้างของ 1,1,2-ไทรคลอโรอีเทน (1,1,2-


Trichloroethane) ซึ่งโปรตอนทั้งสองสมมูลทางแม่เหล็ก อธิบายได้ โดยใช้ภาพฉายแบบนิวแมนน์
(Newmann projection) 3 แบบ เนื่องจากพันธะเดี่ยวหมุนได้ ดังภาพที่ 5.6 พิจารณาโครงสร้าง I
โปรตอน H-1 และ H-2 มีสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน นั่นคือเป็นโปรตอนสมมูล เมื่อพิจารณาโครงสร้าง II
และ III โปรตอน H-1 และ H-2 มีสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน นั่นคือเป็นโปรตอนไม่สมมูล ซึ่งพันธะเดี่ยว
จะหมุนอย่างรวดเร็ว จึงทาให้โปรตอน H-1 และ H-2 เสมือนมีสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน ได้เป็นค่าเฉลี่ยของ
ค่า  (ppm) ในสเปกตรัม 1H NMR จึงปรากฏทั้งหมด 2 สัญญาณ
7

แต่สาหรับเมทิลีนโปรตอน (H-1 และ H-2) ของสูตรโครงสร้าง 1,2-ไดคลอโรโพรเพน (1,2-


Dichloropropane) ซึ่งเมทิลีนโปรตอนต่อกับไคแรลคาร์บอน (chiral carbon) หรืออะตอมคาร์บอนที่
มีแขนทั้งสี่พันธะไม่เหมือนกัน ถึงแม้พันธะเดี่ยวจะหมุนอย่างรวดเร็วแล้วก็ตาม โปรตอน H-1 และ H-2
ของโครงสร้าง IV, V และ VI ยังคงมีสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน นั่นคือ โปรตอน H-1 และ H-2 ไม่สมมูลกัน
ในสเปกตรัม 1H NMR ของ 1,2-ไดคลอโรโพรเพนจึงปรากฏทั้งหมด 3 สัญญาณ

Newmann projection
H 3 Cl H1 Cl H2
Cl H3 Cl H3 Cl H3
Cl H1
Cl H2 Cl H2 H2 H1 H1 Cl
Cl Cl Cl
1,1,2-Trichloroethane I II III
H-1 and H-2 as magnetic equivalent proton

H3 CH3 Cl H3
H1 H2 H1 H2 H1 H2 H1
H2 * CH3 * * *
Cl Cl Cl H3 H3 CH3 H3C Cl
Cl Cl Cl
1,2-Dichloropropane IV V VI
H-1 and H-2 as nonequivalent proton

ภาพที่ 5.6 ภาพฉายแบบนิวแมนน์ของ 1,1,2-ไทรคลอโรอีเทนและ 1,2-ไดคลอโรโพรเพน

 จงระบุว่าไอโซเมอร์ใดเป็นแบบออร์โท- เมทา- และพารา-


NO2 NO2
O2N Br
Br Br
(1) (2) (3)
 โปรตอน H-1 และ H-2 ในวงไซโคลเฮกเซนสมมูลกันหรือไม่ จงอธิบาย
Br H1
H1 Br
H2
H2
8

อินทีกรัล
จานวนสัญญาณที่ปรากฏในสเปกตรัม 1H NMR แสดงถึงจานวนโปรตอนไม่สมมูลในโครงสร้าง
ซึ่งถ้ามีจานวนโปรตอนสมมูล มาก พลังงานหรือความถี่คลื่นวิทยุ เพื่อให้เกิดเรโซแนนซ์ และความเข้ม
สัญญาณจะมากไปด้วย โดยพื้นที่ใต้พีกของแต่ละสัญญาณที่ปรากฏในสเปกตรัมจะเป็น เส้นยกระดับ
เรียกว่า อินทีกรัล (integral) ซึ่งบ่งบอกถึงจานวนโปรตอนสมมูล สาหรับอินทีกรัลในสเปกตรัมปัจจุบัน
จะปรากฏเป็นตัวเลขอยู่ใต้ของแต่ละสัญญาณ ดังภาพที่ 5.7

in CDCl3 O
O
Ethyl acetate

2.00 2.94 2.99


5 4 3 2 1 0
(ppm)

ภาพที่ 5.7 สเปกตรัม 1H NMR ของเอทิลอะซีเทตใน CDCl3

ประโยชน์ของอินทีกรัล คือ สามารถหาจานวนโปรตอนในโครงสร้างได้ กรณีอินทีกรัลไม่ได้บอก


เป็นตัวเลข สามารถหาอินทีกรัลได้โดยวัดความสูงของเส้นยกระดับ ดังนี้
วิธีที่ 1 หาอินทีกรัลจากตัวเลขของอินทีกรัลในสเปกตรัม
จากภาพที่ 5.7 เอทิลอะซีเทตปรากฏ 3 สัญญาณ อัตราส่วนอินทีกรัลจากโปรตอนถูก
กาบังน้อยไปมาก ดังนี้ 2 : 2.94 : 2.99 หาจานวนโปรตอนในโครงสร้าง มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นแรก หารด้วยอินทิกรัลน้อยทีส่ ุด ซึ่งคิดเป็น 1 โปรตอน
2/2 : 2.94/2 : 2.99/2 = 1 : 1.47 : 1.50
ขั้นที่สอง พิจารณาตัวเลขที่หารได้ให้สอดคล้องกับ CH, CH2 และ CH3
จานวนโปรตอนสมมูลบนอะตอมคาร์บอนเท่ากับ 1.47 และ 1.50 ซึ่งเป็นไป
ไม่ได้ จึงคูณอัตราส่วนที่ได้ด้วย 2 ตลอด = 1x2 : 1.47x2 : 1.50x2
= 2 : 2.94 : 3.0 หรือ 2 : 3 : 3
ดังนั้น อัตราส่วนอย่างต่าของโปรตอน คือ 2 : 3 : 3
9

วิธีที่ 2 หาอินทีกรัลจากการวัดความสูงของเส้นยกระดับ
จากภาพที่ 5.7 วัดความสูงของแต่ละเส้นยกระดับ ได้ดังนี้

1.9 cm 1.9 cm
1.2 cm

5 4 3 2 1 0
(ppm)

มีอัตราส่วนอินทีกรัล เท่ากับ 1.2 : 1.9 : 1.9 หาจานวนโปรตอนในโครงสร้าง ดังนี้


ขั้นแรก หารด้วยอินทิกรัลน้อยที่สุด ซึ่งคิดเป็น 1 โปรตอน
1.2/1.2 : 1.9/1.2 : 1.9/1.2 = 1 : 1.58 : 1.58
ขั้นที่สอง พิจารณาตัวเลขที่หารได้ให้สอดคล้องกับ CH, CH2 และ CH3
จานวนโปรตอนสมมูลบนอะตอมคาร์บอนเท่ากับ 1.58 และ 1.58 ซึ่งเป็นไป
ไม่ได้ จึงคูณอัตราส่วนที่ได้ด้วย 2 ตลอด = 1x2 : 1.58x2 : 1.58x2
= 2 : 3.16 : 3.16 หรือ 2 : 3 : 3

จะเห็นว่าการหาอินทิกรัลจากทั้งสองวิธี อัตราส่วนอย่างต่าของโปรตอนในโครงสร้างเอทิลอะซี
เทต คือ 2 : 3 : 3 ซึ่งเป็นจานวนโปรตอนทั้งหมดในโครงสร้าง โดยเกิดสัญญาณเรโซแนนซ์ ดังนี้ 
(ppm) 4.12 (2H, CH2CH3), 2.04 (3H, CH3CO) และ 1.26 (3H, CH2CH3) ตามลาดับ

O
4.12 (2H)
2.04 (3H)
O
1.26 (3H)

มีข้อสังเกตได้ว่า 1) จานวนโปรตอนทั้งหมดที่ได้จากอินทีกรัลในสเปกตรัมอาจจะไม่ใช่จานวน
ไฮโดรเจนทั้งหมดในโครงสร้าง เนื่องจากอินทีกรัลเป็นอัตราส่วนอย่างต่าของโปรตอน และ 2) อินทีกรัล
ในสเปกตรัมอาจเป็นจานวนโปรตอนที่ไม่สมมูลได้ จะเห็นสัญญาณแยกไม่ชัดเจน อาจเนื่องจากโปรตอน
ถูกกาบังจากอิเล็กตรอนที่ล้อมรอบใกล้เคียงกัน
10

ตัวอย่างเช่น ไอโซโพรพิลอีเทอร์ (Isopropyl ether) มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C6H14O โครงสร้าง


มีระนาบกระจากเงา ดังภาพที่ 5.8 ในสเปกตรัม 1H NMR ปรากฏ 2 สัญญาณที่  (ppm) 3.64 และ
1.13 (Chemical Book, 2017l)) มีอัตราส่วนของโปรตอน เท่ากับ 1 : 6 ซึ่งไม่ใช่จานวนโปรตอน
ทั้งหมดในโครงสร้าง ซึง่ เท่ากับ 14 อะตอม ดังนั้น อัตราส่วนของโปรตอนทั้งหมด จึงเท่ากับ 2 : 12
สาหรับสเปกตรัม 1H NMR ของกรดโคโรนามิก จะปรากฏสัญญาณแยกไม่ชัดเจนที่  (ppm)
1.54-1.68 (2H) และ 1.35-1.54 (3H) ซึ่งสัญญาณที่  (ppm) 1.54-1.68 (2H) เป็นของโปรตอน H-1
กับ H-3 และที่  (ppm) 1.35-1.54 (3H) เป็นของโปรตอน H-2 กับ CH2CH3 (Adams, et al., 2003,
p. 9440) จะเห็นว่าอินทีกรัลในสเปกตรัมอาจเป็นจานวนโปรตอนที่ไม่สมมูลได้เช่นกัน

CH3 CH3 3H H2
H C O C H HOOC
CH3 CH O2N H1
3
(1) (2)

ภาพที่ 5.8 โครงสร้างของ 1) ไอโซโพรพิลอีเทอร์ และ 2) กรดโคโรนามิก

ตัวอย่างที่ 5.6 กาหนดสเปกตรัม 1H NMR จงหาอัตราส่วนของโปรตอนและเขียนสูตรโครงสร้างของ


สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C3H5ClO2

 (ppm)
11

จากสเปกตรัม 1H NMR อินทีกรัลที่  (ppm) 12.15, 4.45 และ 1.70 เท่ากับ 0.93, 0.95
และ 2.97 ตามลาดับ
ดังนั้น อัตราส่วนของโปรตอน = 0.93 : 0.95 : 2.97
= 0.93/0.93 : 0.95/0.93 : 2.97:0.93
= 1 : 1.02 : 3.19 หรือ 1 : 1 : 3
จานวนโปรตอน เท่ากับ 1+1+3 = 5 อะตอม ซึ่งเท่ากับสูตรโมเลกุล C3H5ClO2
จากสูตร

โดยที่ C คือ จานวนอะตอมคาร์บอน


X คือ จานวนธาตุหมู่ VIIA
H คือ จานวนอะตอมไฮโดรเจน
N คือ จานวนอะตอมไนโตรเจน

นัน่ คือ DBE = 1 หมายถึงโครงสร้างจะมี 1 พันธะคู่ ของ –COOH เนื่องจากปรากฏสัญญาณที่ 


(ppm) 12.15 และมีอัตราส่วนของโปรตอน เท่ากับ 1 : 1 : 3
สูตรโมเลกุล C3H5ClO2 จึงมีไอโซเมอร์ที่น่าจะเป็นไปได้ ดังนี้
Cl O
OH
Cl OH
O
(1) (2)

โครงสร้างที่ (1) มีโปรตอนไม่สมมูล ได้แก่ COOH, CH และ CH3 อัตราส่วน คือ 1 : 1 : 3 ส่วน
โครงสร้างที่ (2) มีโปรตอนไม่สมมูล ได้แก่ COOH, CH2CH2Cl และ CH2CH2Cl อัตราส่วน คือ 1 : 2 : 2
ดังนั้น สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C3H5ClO2 มีสูตรโครงสร้าง ดังนี้
Cl
OH
O
และปรากฏสัญญาณเรโซแนนซ์ที่  (ppm) 12.15 (1H, COOH), 4.45 (1H, CHCl) และ 1.70
(3H, CH3)
12

ตัวอย่างที่ 5.7 กาหนดสเปกตรัม 1H NMR จงเขียนโครงสร้างของสารที่มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C3H7Cl


แล้วระบุแต่ละสัญญาณในสเปกตรัมกับโปรตอนทั้งหมดในโครงสร้าง

 (ppm)

จากสเปกตรัม วัดความสูงของแต่ละเส้นยกระดับ
อัตราส่วนของโปรตอน = 1.5 : 1.5 : 2.3
CH3CH2CH2Cl 2.3 cm
= 1.5/1.5 : 1.5/1.5 : 2.3/1.5
= 1 : 1 : 1.5 หรือ 2 : 2 : 3
1.5 cm

1.5 cm
เขียนไอโซเมอร์ของสูตรโมเลกุล C3H7Cl ดังนี้
CH3CH2CH2-Cl และ (CH3)2CH-Cl
อัตราส่วนของโปรตอน 2 : 2 : 3 และ 1 : 6

 (ppm)

ดังนั้น สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C3H7Cl มีสูตรโครงสร้าง คือ CH3CH2CH2-Cl


13

 จงบอกอัตราส่วนอย่างต่าเรียงลาดับจากความถี่เรโซแนนซ์ มากไปน้อยของโปรตอนในโครงสร้างที่
กาหนด
O

O2N
(1) (2) (3) O
O Cl Cl OH
H
Br H H
(4) (5) (6) (7)

การคู่ควบระหว่างสปินกับสปิน
โดยส่วนใหญ่โปรตอนไม่สมมูลที่อยู่บนอะตอมคาร์บอนที่ติดกันหรือห่างกันไม่เกิน 3 พันธะ จะ
เกิดการคู่ควบระหว่างสปินกับ สปิน (spin-spin coupling) ผ่านทางอิเล็กตรอนหรือพันธะ ส่งผลให้
สัญญาณแยกเป็นกลุ่มพีก โดยจานวนพีกที่แยกแต่ละสัญญาณ เรียกว่า multiplicity ดังตารางที่ 5.1

ตารางที่ 5.1 กลุ่มพีกและความเข้มสัมพัทธ์ของสัญญาณ


จานวนโปรตอน จานวนพีก
ความเข้มสัมพัทธ์ การเรียกชื่อกลุ่มพีก
ข้างเคียง (N) (N+1)
0 1 1 ซิงเลต (singlet, s)
1 2 1 1 ดับเบลต (doublet, d)
2 3 1 2 1 ทริปเพลต (triplet, t)
3 4 1 3 3 1 ควอร์เทต (quartet, q)
4 5 1 4 6 4 1 ควินเทต (quintet)
5 6 1 5 10 10 5 1 เซกเทต (sextet)
>5 >6 1 6 15 20 25 6 1 มัลติเพลต (multiplet, m)

การแยกสัญญาณของแต่ละโปรตอนอธิบายได้ดังนี้
โปรตอน Ha อยู่บนอะตอมคาร์บอนที่ต่อกับโปรตอน Hb เมื่อโปรตอน Ha เกิดการคู่ควบกับ
โปรตอน Hb ซึ่งมีได้ทั้งสภาวะสปิน +1/2 และ -1/2 ถ้าเกิดการคู่ควบกับโปรตอน Hb สภาวะสปิน +1/2
ซึ่งจัดวางตัวทิศทางขนานกับสนามแม่เหล็กภายนอก (B0) โปรตอน Ha จะถูกกาบังน้อยกว่าการคู่ควบกับ
14

โปรตอน Hb มีสภาวะสปิน -1/2 ซึ่งจัดวางตัวทิศทางตรงข้ามกับ B0 จึงปรากฏสัญญาณแยกเป็น 2 พีก


โดยค่าเฉลี่ยความถี่เรโซแนนซ์ของพีกทั้งสองเป็นค่า  (ppm) ดังภาพที่ 5.9

B0
B' +1/2 B'  (ppm) of H
-1/2 a

Hb Ha Hb spin alinged to B0; deshields Ha Hb spin opposed to B0; shields Ha


Hb Ha
C C C C

ภาพที่ 5.9 การคู่ควบระหว่างสปินกับสปิน

สเปกตรัม 1H NMR ของเอทิลโบรไมด์ (Ethyl bromide) ดังภาพที่ 5.10 ปรากฏสัญญาณที่ 


(ppm) 3.4 ของเมทิลีนโปรตอน (CH2) ซึ่งสัญญาณแยกเป็น 4 พีก เรียกว่า quartet (q) และที่ 
(ppm) 1.7 ของเมทิลโปรตอน (CH3) สัญญาณแยกเป็น 3 พีก เรียกว่า triplet (t) ซึ่งเมทิลีนโปรตอนต่อ
กับอะตอมโบรมีนจึงมีความถี่เรโซแนนซ์สูงกว่าเมทิลโปรตอน

H H 3H (Hb)
Hb Cb Ca Br
Hb Ha
Ethyl bromide

2H (Ha)

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0
 (ppm)

ภาพที่ 5.9 สเปกตรัม 1H NMR ของเอทิลโบรไมด์

กรณีเมทิลีนโปรตอนในเอทิลโบรไมด์ซง่ึ มีจานวนโปรตอนบนอะตอมคาร์บอนข้างเคียง เท่ากับ 3


โปรตอนของหมู่เมทิล โดยแต่ละโปรตอนของหมู่เมทิลมีสภาวะสปินได้ทั้ง +1/2 และ -1/2 เมื่อคู่ควบกับ
เมทิลีนโปรตอนจะมีผลรวมสภาวะสปิน (net spin) เท่ากับ +3/2 (1 แบบ) +1/2 (3 แบบ) -1/2 (3
15

แบบ) และ -3/2 (1 แบบ) ดังภาพที่ 5.11 สัญญาณจึงแยกเป็น 4 พีก หรือ quartet (q) มีความเข้ม
สัมพัทธ์ เท่ากับ 1:3:3:1
 (ppm) 3.4

Hb Ha
Hb C C Br
Hb Ha

net spin +3/2 +1/2 - 1/2 -3/2


relative intensity 1 3 3 1

ภาพที่ 5.11 การคู่ควบระหว่างสปินกับสปินของเมทิลีนโปรตอนในเอทิลโบรไมด์

ดังนั้น สัญญาณที่แยกเป็นกลุ่มพีกสามารถอธิบายได้โดยกฎ N+1 โดยที่ N คือ จานวนโปรตอน


บนอะตอมคาร์บอนข้างเคียง เช่น บนอะตอมคาร์บอนข้างเคียงไม่มีโปรตอน (N=0) จะปรากฏสัญญาณ
พีกเดียว เรียกว่า singlet (s) ถ้ามีโปรตอนข้างเคียงจานวน 1 โปรตอน (N=1) สัญญาณจะแยกเป็น 2
พีก เรียกว่า doublet (d) มีความเข้มสัมพัทธ์ เท่ากับ 1:1 เป็นต้น ความเข้มสัมพัทธ์ของสัญญาณแต่ละ
พีกจะอาศัยสามเหลี่ยมของพาสคาล (Pascal’s triangle) ดังตารางที่ 5.1 แต่ใช้ได้เฉพาะกับสเปกตรัมที่
มีรูปแบบการแยกอันดับหนึ่ง (the first-order splitting pattern) ศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อ “สเปกตรัม
อันดับหนึ่งและอันดับสอง” นอกจากนี้ กลุ่มพีกแต่ละสัญญาณที่ปรากฏในสเปกตรัมสามารถบอกหมู่
หรือส่วนโครงสร้างได้ ดังภาพที่ 5.12 เช่น หมู่ไอโซโพรพิล (Isopropyl group) ในไอโซโพรพิลอีเทอร์
ในสเปกตรัมจะเกิดกลุ่มพีกแยกเป็น doublet และ septet ดังภาพที่ 5.13 เป็นต้น

X CH CH Y H3C C H
XY
H2C C H CH3-CH2-
H3C
X-CH2-CH2-Y CH
XY H3C

ภาพที่ 5.12 รูปแบบการคู่ควบของกลุ่มพีกที่สาคัญของหมู่หรือส่วนโครงสร้าง


16

in CDCl3

O
2xCH3
Isopropyl ether

CH

 (ppm)
5.0 4.0 3.0 2.0 1.0 0

ภาพที่ 5.13 สเปกตรัม 1H NMR ของไอโซโพรพิลอีเทอร์ใน CDCl3

 จงอธิบายการเกิดการคู่ควบระหว่างสปินกับสปินของหมู่ไอโซโพรพิล

เอทานอลละลายในดิวเทอโรคลอโรฟอร์มจะปรากฏสัญญาณเรโซแนนซ์ที่  (ppm) 1.17 (3H,


t, CH2CH3), 2.86 (1H, br s, OH) และ 3.63 (2H, q, CH2CH3) ดังภาพที่ 5.14 ซึ่งถ้าสูตรโครงสร้างมี
หมู่เอทิล (Ethyl group, CH3CH2-) จะเห็นกลุ่มพีก triplet และ quartet ในสเปกตรัม

CH3CH2OH
CH3
CH2
OH
2.00 1.00 3.00

3.9 3.7 3.5 3.3 3.1 2.9 2.7 2.5 2.3 2.1 1.9 1.7 1.5 1.3 1.1  (ppm)

ดังภาพที่ 5.14 สเปกตรัม 1H NMR ของเอทานอลใน CDCl3


17

ปกติสัญญาณเรโซแนนซ์โของหมู่ไฮดรอกซิล (OH) จะปรากฏในช่วงกว้างที่  (ppm) 1-6


เนื่องจากโปรตอนเกิดการแลกเปลี่ยนได้ ในกรณีวิเคราะห์ 1H NMR กับสารละลายเอทานอลใน CDCl3
สัญญาณของหมู่ OH มีลักษณะเป็นพีกเดียวกว้าง (broad singlet, br s) ดังภาพที่ 5.14 เนื่องจากเกิด
พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล ในขณะที่สารละลายเอทานอลร้อยละ 10 ในคาร์บอนเททระคลอไรด์ซึ่ง
ไม่สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ สัญญาณของหมู่ OH จะเป็นพีกเดียวแหลม (sharp singlet) ดังภาพ
ที่ 5.15 (A) แต่ถ้าวิเคราะห์ด้วยเอทานอลบริสุทธิ์จะปรากฏสัญญาณเป็นกลุ่มพีกแยกเป็น triplet ดัง
ภาพที่ 5.15 (B) เนื่องจากโปรตอนของหมู่ OH จะเกิดการคู่ควบกับเมทิลีนโปรตอน ซึ่งสามารถยืนยันได้
โดยหยดดิวเทอเรียมออกไซด์ลงไปเล็กน้อย โปรตอนจะเกิดการแลกเปลี่ยนกับดิวเทอเรียมออกไซด์ ดัง
สมการ (5.1) ส่งผลให้ตาแหน่งสัญญาณหายไป ดังภาพที่ 5.15 (C)
CH3CH2OH + D2O CH3CH2OD + HOD (5.1)

10% EtOH in CCl4 CH2 (A)


OH
CH3

neat
(B)
H H CH2
H C C OH CH3
H H

with a drop of D2O (C)


CH3
disappearance of OH CH2

5.0 4.5 4.0 3.5 3.0 2.5 2..0 1.5 1.0 0.5  (ppm)

ดังภาพที่ 5.15 สเปกตรัม 1H NMR ของเอทานอลในที่ความเข้มข้นต่าง ๆ


ที่มา (Reich, 2017b)
18

นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนของโปรตอนสามารถเกิดได้กับแอมีนปฐมภูมิและแอมีนทุติยภูมิ
เช่นกัน ดังสมการ (5.2) และสมการ (5.3)
R-N(Ha)(Hb) + D-O-D R-ND2 + Ha-O-Hb (5.2)
R2-NHa + D-O-D R2-ND + Ha-O-D (5.3)

นิวเคลียสของอะตอมไนโตรเจน ( ) มีเลขสปินควอนตัม () เท่ากับ 1 จานวนสภาวะสปิน


(2 +1) เท่ากับ +1, 0 และ -1 และมีโมเมนต์สี่ขั้วทางไฟฟ้า (electric quadrupole moment) นั่นคือ
มีการกระจายประจุไม่เป็นทรงกลม ดังภาพที่ 5.16 เมื่ออยู่ในความเข้มสนามแม่เหล็กภายนอกจะเกิด
อัตราการเปลี่ยนสภาวะสปินระหว่างสภาวะสปินของนิวเคลียสเร็วกว่านิวเคลียสที่นิวเคลียสที่มีประจุ
กระจายเป็นทรงกลม ทาให้เกิดการคู่ควบระเหว่างโปรตอน NH กับโปรตอน CH ทีต่ ิดกันและการคู่ควบ
ของอะตอมระเหว่าง N-H ได้ ทั้งนี้จานวนกลุ่มพีกของสัญญาณ NH จะขึ้นอยู่กับอัตราการเปลี่ยน
สภาวะสปินระหว่างสภาวะสปินของนิวเคลียส

1H 12C 16O 19F < 2H << 14N < 35Cl < 37Cl < 79Br
electric quadrupole moment (Q)
z z z
spherical prolate oblate
Q=0 Q>0 Q<0
y y y

x x x
(I = 0, 1/2) (I > 1/2) (I > 1/2)
ภาพที่ 5.16 รูปร่างนิวเคลียสของอะตอมที่มีและไม่มีโมเมนต์สี่ขั้วทางไฟฟ้า

กรณีอัตราการเปลี่ยนสภาวะสปินของนิวเคลียส เร็วกว่าอัตราการเปลี่ยนสภาวะสปินของ
โปรตอน จะทาให้โปรตอน NH ไม่คู่ควบกับโปรตอนที่ติดกัน จึงปรากฏสัญญาณเป็นพีกเดียวและแหลม
โดยส่วนใหญ่พบในโครงสร้างแอมีนโซ่เปิด เช่น ฟีนิลแอมีน (Phenyl amine) สัญญาณของหมู่ NH2
ปรากฏที่  (ppm) 1.35 (2H, s, NH2) ลักษณะเป็นพีกเดียวแหลม ดังภาพที่ 5.17 (A) แต่ถ้าอัตราการ-
เปลี่ยนสภาวะสปินใกล้เคียงกัน โปรตอน NH จะไม่สามารถคู่ควบกับโปรตอนที่ติดกัน ได้ สัญญาณของ
NH ปรากฏเป็นพีกเดียวกว้าง เช่น เมอร์เรย์ยานีน (Murrayanine) เป็นสารกลุ่มอินโดลแอลคาลอยด์
(indole alkaloid) ปรากฏที่  (ppm) 8.63 (1H, br s, NH) ดังภาพที่ 5.18 ซึ่งถ้าอัตราการเปลี่ยน
19

สภาวะสปินของนิวเคลียส ช้ากว่าอัตราการเปลี่ยนสภาวะสปินของโปรตอน พีกกว้างจะมากขึ้น


เนื่องจากเกิดการคู่ควบของอะตอมระเหว่าง N-H และการคู่ควบระหว่างโปรตอน NH กับโปรตอนที่
ติดกันได้ โดยส่วนใหญ่พบในแอไมด์ อินโดลแอลคาลอยด์ หรือเกลือแอมโมเนียม (ammonium salt)
ซึง่ เกิดจากแอมีนในสารละลายกรดที่มีความเป็นกรด-เบส (pH) น้อยกว่า 1 เช่น ฟีนิลแอมีนทาปฏิกิริยา
กับกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid, HCl) เกิดฟีนิลแอมโมเนียมคลอไรด์ (Phenylammonium
chloride) สัญญาณของอิมิเนียมแคตไอออน (imminium cation, NH3+) จะปรากฏที่  (ppm) 4.87
(3H, br s, NH3+) อธิบายได้โดยโปรตอนบนอะตอมไนโตรเจนซึ่งมีสภาวะสปิน เท่ากับ +1, 0 และ -1
จะเกิดการคู่ควบซึ่งกันและกัน กลุ่มพีกจะแยกเป็น triplet และเมทิลีนโปรตอนจะคู่ควบกับแต่ละ
โปรตอนบนอะตอมไนโตรเจน ทาให้แต่ละสัญญาณแยกเป็น triplet ดังภาพที่ 5.17 (B)

in CDCl3 CH2
Ar NH2 (A)
NH2

Ar NH3 Cl (B)
CH2

NH3

7 6 5 4 3 2 1 0
 (ppm)

(
2
+
1
)
o
f
N
I
H- N
NH3
H
H
+
1H C
NH
N
i
t
r
o
0
Ng
e
n
s
p
l
i
t
s
t
h
e
a
t
t
a
c
he
dH
H-
h
y
d
r
-
1o
g
e
n
s
i
n
t
o
a
t
r
i
p
l
e
t
(
J
5
0
H
z
) C
N
H H
p
r
o
t
o
n
s
p
l
i
t
s
e
a
c
h
p
ea
k 2
i
n
t
o
a
t
r
i
p
l
e
t(
J
5
H
z
)
N
H
-
C
H

ภาพที่ 5.17 ลักษณะสัญญาณของหมู่อะมิโนและอิมิเนียมแคตไอออน


ที่มา (Reich, 2017b)
20

in CDCl3

Murrayanine

9.0 8.8 8.6 8.4 8.2 8.0 7.8 7.6 7.4 7.2 7.0  (ppm)

ภาพที่ 5.18 สเปกตรัม 1H NMR ของเมอร์เรย์ยานีนใน CDCl3


ที่มา (Arunrat Sunthitikawinsakul, 2005)

ดังนั้น จานวนกลุ่มพีกของสัญญาณ NH จะขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้ 1) การคู่ควบระหว่างโปรตอน


กับโปรตอนที่ติดกัน 2) การแลกเปลี่ยนกันกับ NH หรือ OH และ 3) การคู่ควบของโมเมนต์สี่ขั้วทาง
ไฟฟ้าของนิวเคลียส

 จงบอกจานวนพีกที่แยกแต่ละสัญญาณของโปรตอนทั้งหมดในโครงสร้าง
1. Cl 6. ไอโซโพรพิลเมทิลอีเทอร์ (Isopropyl
Cl C CH3
H methyl ether)
2. กรดโพรพาโนอิก (Propanoic acid) 7. CH3NH3+
3. 8. OH
HO OH
H H
4. O 9. H
H2N O
H
Br H
Cl
5. Br 10. Cl
21

ประเภทของการคู่ควบระหว่างสปินกับสปิน
ปัจจัยที่ทาให้เกิดการคู่ควบระหว่างโปรตอนกับโปรตอนขึ้นอยู่กับระยะห่างของโปรตอนทั้งสอง
และมุมไดฮีดรอล สามารถจาแนกลักษณะของการคู่ควบระหว่างสปินกับสปิน ดังนี้
1. การคู่ควบเจมินัล (geminal coupling) เกิดจากการคู่ควบของเจมินัลโปรตอน (geminal
proton) กล่าวคือโปรตอนที่อยู่บนอะตอมคาร์บอนเดียวกัน ห่างกัน 2 พันธะ และไม่สมมูลกัน ส่วนใหญ่
พบได้ในวงไซโคลแอลเคน เช่น ไซโคลเฮกเซนและไซโคลโพรเพน เป็นต้น และแอลคีนที่มีพันธะคู่ตรง
ปลายโซ่ ดังภาพที่ 5.19

H H
H
H H H
ภาพที่ 5.19 ลักษณะการคู่ควบเจมินัล

2. การคู่ควบวิซินัล (vicinal coupling) เกิดจากการคู่ควบระหว่างโปรตอนไม่สมมูลอยู่ห่างกัน


3 พันธะ พบได้ทั้งโครงสร้างโซ่เปิดและโครงสร้างโซ่ปิด ดังภาพที่ 5.20
3. การคู่ควบช่วงไกล (long-range coupling) เกิดจากการคู่ควบระหว่างโปรตอนไม่สมมูลอยู่
ห่างกัน 4 หรือ 5 พันธะ โดยเฉพาะโปรตอนไม่สมมูล สองตัวห่างกัน 4 พันธะ จัดเรียงตัวรูป “W” จะคู่
ควบกัน เรียกว่า “W-coupling” ดังภาพที่ 5.21

 โปรตอนที่กาหนดในสูตรโครงสร้างเกิดการคู่ควบแบบใด (การคู่ควบเจมินัล การคู่ควบวิซินัล หรือ


การคู่ควบช่วงไกล)
H H Ph
H H H Ph
HO H H
O
H H EtO2C H O
H
(1) (2) (3) (4)
 จงบอกจานวนพีกที่แยกแต่ละสัญญาณของโปรตอนที่มีลูกศรชี้ในสูตรโครงสร้าง
NH3
HO
N
H
22

Acyclic system:
H H H
C C H
H H H
H
cis- trans-
Cyclic system:
Ha
Hc Hb Jac<5 Hz; Jad >8 Hz; Jbd <5 Hz; Jbc <4 Hz
Hd

Ha
H
Hc b Jac>7 Hz; Jad >7 Hz; Jbd 5 Hz; Jbc <4 Hz
Hd
H H
H H H H H
H H H H H
ortho-
ภาพที่ 5.20 ลักษณะการคู่ควบวิซินัล

H H H H H H
H H
H H
H
H
4J allylic meta- propargylic allenic
"W-coupling"

H H H H
H H H H
H
5J para- homoallylic homopropargylic homoallenic
ภาพที่ 5.21 ลักษณะการคู่ควบช่วงไกล
23

ค่าคงตัวการคู่ควบ
การคู่ควบระหว่างโปรตอนกับโปรตอนจะทาให้สัญญาณแยกเป็นกลุ่มพีก โดยระยะห่างระหว่าง
พีกในกลุ่มพีก เรียกว่า ค่าคงตัวการคู่ควบ มีสัญลักษณ์ “J” หน่วยเฮิรตซ์ กรณีโปรตอนคู่ควบซึ่งกันและ
กันจะมีค่าคงตัวการคู่ควบเท่ากัน ถึงแม้จะวิเคราะห์ด้วยความถี่ของเครื่องเอ็นเอ็มอาร์แตกต่างกัน เช่น
วิเคราะห์เอทิลไอโอไดด์ (Ethyl iodide) ที่ความถี่ 60 และ 100 MHz จะปรากฏสัญญาณที่  (ppm)
1.83 (CH3, t, J = 7.5 Hz) และ 3.05 (CH2, q, J = 7.5 Hz) เช่นเดียวกัน ดังภาพที่ 5.22 จะสังเกตว่ามี
ค่า J เท่ากับ 7.5 เฮิรตซ์ เท่ากัน เนื่องจากโปรตอนของ CH3 กับ CH2 เกิดการคู่ควบกัน
quartet
H H
H C C I
H H
triplet
H H
H C C I 3.05 1.83  (ppm)
H H

3.05 1.83  (ppm)

ภาพที่ 5.22 ความสัมพันธ์ของค่าการเลื่อนทางเคมีและค่าคงตัวการคู่ควบ


ที่มา (Pavia, Lampman & Kriz, 1979, p. 107)

1
 สเปกตรัม H NMR ของเอทิลไอโอไดด์จะปรากฏสัญญาณที่  (ppm) 1.83 (CH3, t, J = 7.5 Hz)
และ 3.05 (CH2, q, J = 7.5 Hz) จงอธิบายดังต่อไปนี้
1. จานวนสัญญาณในสเปกตรัม
2. การแยกของแต่ละสัญญาณเป็นทริปเพลตและควอร์เทต
3. ประเภทการคู่ควบระหว่างโปรตอนของ CH3 กับ CH2
4. ความถี่เรโซแนนซ์ของสัญญาณ CH3 มากกว่าของ CH2
24

ค่าคงตัวการคู่ควบเป็นค่าเฉพาะตัวของโปรตอน ปัจจัยขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ชนิดการคู่ควบ และ


มุมไดฮีดรอล () ดังนี้

1. การคู่ควบเจมินัล
เมทิลีนโปรตอนไม่สมมูลซึง่ ห่างกัน 2 พันธะ จะเกิดการคู่ควบเจมินัล พบในโครงสร้างทั้งบน
อะตอมคาร์บอนชนิดไฮบริไดเซชัน sp2 และ sp3 โดยค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัล (2JHH) จะเพิ่มขึ้น เมื่อ
มุมไดฮีดรอล (H-C-H) ลดลง ดังภาพที่ 5.23 นอกจานี้ ค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัลยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น
ดังนี้

H 1090 H 1130 H
 1200

H H
H
hybridization of carbon sp3 sp3 sp2
2J = 11-18 Hz 2J = 3-8 Hz 2J = 0-4 Hz
HH HH HH

ภาพที่ 5.23 ผลของมุมไดฮีดรอล (H-C-H) ต่อค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัล


ที่มา (เย็นหทัย แน่นหนา, 2549, หน้า 253)

1.1 การคู่ควบเจมินัลบนอะตอมคาร์บอนชนิดไฮบริไดเซชัน sp2 เกิดกับแอลคีนที่มี


พันธะคู่ตรงปลายโซ่ (terminal alkene) โดยปกติมีค่า 2JHH 1-4 เฮิรตซ์ สาหรับเอทิลีนมีค่าคงตัวการคู่
ควบเล็กน้อย (2JHH = +2.5 Hz) แต่ถ้าพันธะคู่มีหมู่แทนที่เป็นหมู่ให้อิเล็กตรอน เช่น ไทรเมทิลไซเลน
(Trimethyl silane, -Si(CH3)3) และลิเทียม (Li) เป็นต้น จะมีค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัล มากขึ้น ในทาง
ตรงข้ามถ้าหมู่แทนที่บนพันธะคู่เป็นหมู่ดึงอิเล็กตรอน เช่น ฟลูออรีนและซัลไฟด์ (sulfide, -SR) เป็นต้น
ค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัลจะลดลง ดังภาพที่ 5.24 (Reich, 2017c)

H F H S-CH3 H H H Si(CH3)3 H Li
H H H H H H H H H H
2J (Hz) -3.2 -0.3 +2.5 +3.8 +9.8
HH

ภาพที่ 5.24 ผลสภาพไฟฟ้าลบของหมู่แทนที่บนพันธะคู่ต่อค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัล


25

1.2 การคู่ควบเจมินัลบนอะตอมคาร์บอนชนิดไฮบริไดเซชัน sp3 พบในวงไซโคลแอ


ลเคน ซึง่ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าคงตัวการคู่ควบ (Reich, 2017c) ดังนี้
1) มุมไดฮีดรอล ค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัลจะเพิ่มขึ้นเมื่อมุมไดฮีดรอล () ลดลง โดย
ปกติเมทิลีนโปรตอนของไซโคลเฮกเซน ( = 109 องศา) มีค่า 2JHH เท่ากับ 11-18 เฮิรตซ์ ส่วนเมทิลีน
โปรตอนของไซโคลโพรเพน ( = 113 องศา) มีค่า 2JHH เท่ากับ 3-8 เฮิรตซ์ ตัวอย่างดังภาพที่ 5.25 เมื่อ
โปรตอน H-1 อยู่ด้านเดียวกับอะตอม Cl และ Br ซึ่งมีสภาพไฟฟ้าลบสูง ทาให้ถูกกาบังน้อยกว่าโปรตอน
H-2 สัญญาณเรโซแนนซ์จึงปรากฏที่ความถีส่ ูงกว่า โดยแต่ละสัญญาณของโปรตอนแยกเป็น doublet มี
ค่า 2JHH เท่ากับ 5 เฮิรตซ์

2J = 5 Hz 2J = 5 Hz
HH HH
Br Cl H
1
H3C H2
CH3

H1 H2 (ppm)

ภาพที่ 5.25 การคู่ควบเจมินัลของเมทิลีนโปรตอนของไซโคลโพรเพน

2) ชนิดหมู่แทนที่ ถ้าเป็นหมู่ดึงอิเล็กตรอนชนิดตัวรับที่มีพันธะไพ (-acceptor) เช่น


หมู่คาร์บอนิลหรือไซยาโน ค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัลจะน้อยลง แต่ถ้าหมู่แทนที่เป็นหมู่ดึงอิเล็กตรอน
ชนิดที่เป็นทั้งตัวรับที่มีพันธะซิกมา (-acceptor) และตัวให้ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (n-donor)
รวมทั้งหมู่แทนที่มีระบบสังยุคมากขึ้น ค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัลจะมากขึ้นด้วย ดังภาพที่ 5.26

O
CH3-R R -C N CH3 -H -OH -F
2J (Hz) -16.9 -14.9 -12.4 -10.8 -9.6
HH
H H
H H H
H
2J (Hz) -16.0 -20.8 -22.3
HH

ภาพที่ 5.26 ผลของหมูแทนที่ต่อค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัล


26

3) ความเครี ย ดของวง เมื่อขนาดวงน้ อยลงจะส่ งผลให้ ค่ าคงตั ว การคู่ค วบเจมินั ล


เพิ่มขึ้น และถ้าเมทิลีนโปรตอนอยู่ใกล้กับอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูง เช่น ไนโตรเจนและออกซิเจน
เป็นต้น ค่าคงตัวการคู่ควบจะมากขึ้นกว่าเดิม ดังภาพที่ 5.27

H H H H H H H H H
H
NH O
2J (Hz) -13.1 -13.0 -4.3 +2.0 +5.5
HH

ภาพที่ 5.27 ความเครียดของวงและค่าสภาพไฟฟ้าลบต่อค่าคงตัวการคู่ควบเจมินัล

2. การคู่ควบวิซินัล

โปรตอนไม่สมมูลอยู่ห่างกัน 3 พันธะ จะเกิดการคู่ควบวิซินัล โดยค่าคงตัวการคู่ควบ (3JHH)


จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและมุมไดฮีดรอล ดังนี้
2.1 ระบบอะไซคลิก ค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัลจะขึ้นอยู่กับ มุมไดฮีดรอล ดังภาพที่ 5.28
อธิบายค่า 3JHH ได้จากสมการของคาร์พลัส (Karplus equation) ดังสมการ (5.4) (เย็นหทัย แน่นหนา,
2549, หน้า 249)
3
JHH = J0 cos2 – 0.28 (5.4)
โดยที่ J0 = 10 ถ้า  ในช่วง 0-90 องศา และ J0 = 14 ถ้า  ในช่วง 90-180 องศา

18
16 H1 H
2
14 C C
12 H1 H1 H1
(Hz)

H2 H2
10 H2
HH

H2
3J

8
H2
6
4 = 0o = 60o =90o = 180o
2 3J (Hz) 7-11 2-5 0-2 8-15
HH
0
180 150 120 90 60 30 0


ภาพที่ 5.28 ผลของมุมไดฮีดรอลต่อค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัล


27

กรณีมุมไดฮีดรอล เท่ากับ 180 องศา จะมีค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัลมากที่สุด และค่าจะ


น้อยลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งน้อยที่สุด (3JHH = 0-2 Hz) เมื่อมุมไดฮีดรอล เท่ากับ 0 องศา ซึ่งปกติโปรตอน
ในระบบอะไซคลิกที่ห่างกัน 3 พันธะ และเป็นพันธะเดี่ยว (H-C-C-H) จะมีค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัล
เท่ากับ 6-8 เฮิรตซ์ โดยโปรตอนที่คู่ควบกันจะมีค่าคงตัวการคู่ควบเท่ากัน อย่างไรก็ตาม สมการของ
ของคาร์พลัสไม่สามารถใช้ได้กับระบบที่มีความเครียด เช่น โปรตอนและหมู่เมทิลในวงไซโคลโพรเพน
ของไดออกเซนเทโทรนอนุพันธ์ (derived dioxane tetrone) จะเกิดการคู่ควบกันและมีค่า3JHH เท่ากับ
6.6 เฮิรตซ์ โดยสัญญาณแยกเป็น doublet ที่  (ppm) 1.79 (CH3) และ quartet ที่  (ppm) 3.33
(H) (Pesyan, et al., 2017, pp. S1558-S1566) ดังภาพที่ 5.29 นอกจากนี้ ในระบบไฮโดรคาร์อน
อะไซคลิก (H-C-C-H) ทีม่ ีอะตอม X เป็นหมูแ่ ทนทีซ่ ึ่งหมู่ที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูง โดยค่าคงตัวการคู่ควบจะ
ลดลงซึง่ ไม่เป็นไปตามทฤษฎี (เย็นหทัย แน่นหนา, 2549, หน้า 251)

H H H H
C C H C C Cl H C C H
H H Cl Cl H Cl
3J (Hz) 6-8 6.0 7.4
HH
H
O O CH3 3J (CH ,H) 6.6 Hz
O CH3 O 3

O O
O O
H
derived dioxane tetrone (ppm) 1.79 (ppm) 3.33

ภาพที่ 5.29 ผลของอะตอมแฮโลเจนและความเครียดของวงต่อค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัล

กรณีแอลคีนโซ่เปิดจะมีค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัล มากกว่าระบบอะลิไซคลิก ซึ่งสามารถบ่งบอก


ไอโซเมอร์เรขาคณิตของพันธะคู่ได้ โดยไอโซแมอร์แบบซิส- และแบบทรานส์- มีค่าค่าคงตัวคู่ควบ เท่ากับ
7-11 และ 12-18 เฮิรตซ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดหมู่แทนที่บนพันธะคู่ ดังภาพที่ 5.30 (เย็นหทัย แน่นหนา,
2549, หน้า 252) ถ้าหมู่แทนที่เป็นหมู่ดึงอิเล็กตรอนจะมีค่าคงตัวการคู่ควบวิซืนัลน้อยกว่าหมู่แทนที่ที่ให้
อิเล็กตรอนได้
28

H
H
H H H H H
cis- H
trans-
3J (Hz) 6-8 7-11 12-18 2J (Hz) 0-5
HH HH

Ha Hb X = Cl X = CH3
3J (cis-) = 7.4 Hz 3J
X Hc HH HH
(cis-) = 10.0 Hz
3J (trans-) =14.7 Hz 3J
HH HH
(trans-) = 16.8 Hz

ภาพที่ 5.30 ค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัลของแอลคีนโซ่เปิด

โปรตอนที่ คู่ ควบกั น จะต้ องมีค่ าคงตั ว การคู่ค วบเท่ ากั น เช่ น ทรานส์ -กรดซิน นามิ ก
โปรตอน Ha และโปรตอน Hb จัดเรียงตัวแบบทรานส์- โดยโปรตอน Hb จะถูกกาบังน้อยกว่าโปรตอน Ha
และเกิดการคู่ควบกัน ปรากฏสัญญาณแยกเป็น doublet มีค่า 3JHH เท่ากับ 15.2 เฮิรตซ์ ดังภาพที่
5.31 ยกเว้นโมเลกุลที่มีระนาบสมมาตรจะทาให้ โปรตอนสมมูลกัน จึงปรากฏสัญญาณเป็น singlet ดัง
ภาพที่ 5.32
Hb

3J
Ha Hb
ab
= 15.2 Hz COOH
Hb 3J
ab
= 15.2 Hz
Benzoic acid

7.8 6.47

10 8 6 4 2 0 (ppm)
ภาพที่ 5.31 สเปกตรัม 1H NMR ของกรดซินนามิกใน CDCl3
29

H
a multiplicity as a singlet
H H H

ภาพที่ 5.32 สัญญาณเป็น singlet ของโปรตอนบนพันธะคู่ในโมเลกุลสมมาตร

รูปแบบการแยกสัญญาณของไวนิลโปรตอนในเมทิลอะคริเลต (Methyl acrylate) โดย


สัญญาณเรโซแนนซ์ของโปรตอน Ha, Hb และ Hc จะแยกออกเป็นดับเพลตออฟดับเพลต (doublet of
doublet, dd) ดังภาพที่ 5.33 ค่าคงตัวการคู่ควบเรียงลาดับจากมากไปน้อย ดังนี้ Jac (trans-) > Jbc
(cis-) > Jab (gem)

Hc Hb Ha
Ha Hc
Jcb Jbc Jac
Hb COOCH3
Jba Jab
Jca
3J (trans-) > 3J (cis-) > 2J
bc ac ab

ภาพที่ 5.33 รูปแบบการแยกสัญญาณของไวนิลโปรตอนในเมทิลอะคริเลต

2.2 ระบบไซคลิก กรณีไซโคลแอลคีน ค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัลจะน้อยลงตามขนาดวงหรือ


มุมไดฮีดรอล ดังภาพที่ 5.34 (ธิติมา รุกขไชยศิริกุล, 2556, หน้า 157-158) โดยโครงสร้างที่มีวงขนาด
6 เหลี่ยม จะมีค่า 3JHH เท่ากับ 8-10 เฮิรตซ์ เช่น โปรตอน H-3 และ H-4 ของคูมาริน (coumarin)
ปรากฏสัญญาณเป็น doublet มีค่า 3JHH เท่ากับ 9.6 เฮิรตซ์ (Zhao & Yang, 2018, pp. 103-106)
กรณีสารประกอบแอโรแมติก การคู่ควบของอะตอมไฮโดรเจนตาแหน่งออร์โท- มีค่า
3
JHH เท่ากับ 6-10 เฮิรตซ์ ซึ่งจะน้อยกว่าค่า 3JHH ของไซโคลเฮกซีน เนื่องจากมีความยาวพันธะน้อยกว่า
โดยรูปแบบการแยกสัญญาณและค่าคงตัวการคู่ควบนั้นสามารถบอกจานวนหมู่แทนที่บนวงเบนซีนได้
ซึ่งจะได้กล่าวเพิ่มเติมในหัวข้อ “3. การคู่ควบช่วงไกล”
30

H H H H H
H H H H
H
3J (Hz) 8-10 5-7 2-4 0-2 6-10
HH
dihedral angle ()
GlcO 8.02 (d, J = 9.6 Hz, H-4)
HO 6.26 (d, J = 9.6 Hz, H-3)
O O O
ภาพที่ 5.34 ค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัลในระบบไซคลิก

2.3 ระบบแอลไลลิก โปรตอนตาแหน่งถัดจากพันธะคู่ เรียกว่า แอลไลลิกโปรตอน (allylic


proton) จะเกิดการคู่ควบวิซินัลมีค่า 3JHH มากที่สุดเมื่อมุมไดฮีดรอล เท่ากับ 0 และ 180 องศา และค่า
3
JHH น้อยที่สุด เมื่อมุมไดฮีดรอล เท่ากับ 90 องศา ดังภาพที่ 5.35 ซึ่งเป็นไปตามสมการของคาร์พลัส ถ้า
โครงสร้างโซ่ปิด ที่มีระบบแอลไลลิก ค่า 3JHH จะลดลงตามขนาดวง นอกจากนี้ แอลดีไฮด์สั งยุคที่มี
แอลฟา-โปรตอนสามารถเกิดการคู่ควบได้เช่นเดียวกัน ซึ่งโดยปกติแอลดี ไฮด์ที่ไม่มีระบบสังยุคจะมีค่า
3
JHH น้อยมาก

H H H H
H H
H
H = 0o = 90o = 180o
3J (Hz) 6.6 2.6 11.2
HH
H H H H
H O O

H H
H H H

3J (Hz) 3.1 2.1 1.0 1.4 7.1


HH

ภาพที่ 5.35 ค่าคงตัวการคู่ควบวิซินัลในระบบแอลไลลิก


ที่มา (Reich, 2017d)
31

3. การคู่ควบช่วงไกล

โดยทั่วไป การคู่ควบระหว่างสปินกับสปิน จะเกิดกับโปรตอน 2 ตัว ที่อยู่ห่างกันไม่เกิน 3


พันธะ อย่างไรก็ตาม สาหรับบางโมเลกุลโปรตอนอยู่ห่างกัน 4 พันธะ หรือมากกว่า 4 พันธะ สามารถ
เกิดการคู่ควบกันได้ เรียกว่า การคู่ควบช่วงไกล มีค่าคงตัวการคู่ควบ (4-5JHH) ค่อนข้างน้อย ที่สาคัญดังนี้
3.1 ระบบแอโรแมติก จานวนสัญญาณเรโซแนนซ์ของโปรตอนบนวงเบนซีนจะขึ้น อยู่กับ
ชนิดของหมู่แทนที่ ทั้งนี้ถ้าหมู่แทนที่เป็นหมู่แอลคิลและแฮโลเจน จะไม่ปรากฏการแยกสัญญาณ และ
สัญญาณจะแยกชัดเจนมากขึ้น ถ้าวิเคราะห์ด้วยเครื่อง NMR ที่มีความถี่สูง ๆ
โปรตอนบนอะตอมคาร์บอนทีห่ ่างกัน 1,3- อะตอม ซึ่งจัดเรียงตัวรูป “W” จะคู่ควบกัน
ได้ เรียกว่า การคู่ควบแบบเมทา- (meta- coupling) มีค่าคงตัวการคู่ควบ (4JHH) เท่ากับ 1-3 เฮิรตซ์
และการคู่ควบช่วงไกลของโปรตอนบนอะตอมคาร์บอนห่างกัน 1,4- อะตอม เรียกว่า การคู่ควบแบบ
พารา- (para- coupling) มีค่าคงตัวการคู่ควบ (5JHH) เท่ากับ 0-1 เฮิรตซ์ (ธิติมา รุกขไชยศิริกุล, 2556,
หน้า 158) เทียบกับการคู่ควบของโปรตอนตาแหน่งออร์โท- เรียกว่า การคู่ควบแบบออร์โท- (ortho-
coupling) มีค่า 3JHH เท่ากับ 6-10 เฮิรตซ์ ดังภาพที่ 5.36
H H
H H
o- m- p-
H H
3J = 6-10 Hz 4J = 1-3 Hz 5J = 0-1 Hz
HH HH HH

ภาพที่ 5.36 ค่าการคู่ควบของโปรตอนบนแอโรแมติก

กรณีโปรตอนบนวงแบนซีนปรากฎสัญญาณที่ความถี่แตกต่างกัน ค่าคงตัวการคู่ควบ
และรูปแบบการแยกสัญญาณสามารถบอกจานวนหมู่แทนที่บนวงเบนซีนได้ ตัวอย่างเช่น สเปกตรัม 1H
NMR ของเบนซีนที่มีหมู่แทนที่ 4 หมู่ ถ้ารูปแบบการแยกสัญญาณเป็น AB quartet มีค่าคงตัวการคู่ควบ
เท่ากับ 7 เฮิรตซ์ แสดงว่าเป็นการคู่ควบของโปรตอนตาแหน่งออร์โท- ดังภาพที่ 5.37 (A) แต่ถ้าสัญญาณ
มีค่าคงตัวการคู่ควบ เท่ากับ 2 เฮิรตซ์ จะเป็นการคู่ควบของโปรตอนตาแหน่งเมทา- ดังภาพที่ 5.37 (B)
ส่วนโปรตอนตาแหน่งพารา- จะไม่เกิดการคู่ควบกันได้ สัญญาณจะเป็น singlet ดังภาพที่ 5.37 (C)

 จากสเปกตรัมภาพที่ 5.37 (B) จงเปรียบเทียบความถี่เรโซแนนซ์ของโปรตอนบนวงเบนซีน


NO2
H1 NO2
Cl Cl
H2
32

(A)
“o- coupling”

“m- coupling” (B)

(C)

ภาพที่ 5.37 รูปแบบการแยกสัญญาณของโครงสร้างที่มหี มู่แทนที่ 4 หมู่ บนวงเบนซีน


ที่มา (Reich, 2017e)

3.2 ระบบแอลไลลิก แอลไลลิกโปรตอนสามารถเกิดการคู่ควบได้ง่าย มีค่าการคู่ควบ


(4JHH) เท่ากับ 0-3 เฮิรตซ์ โดยเฉพาะเมื่อจัดเรียงตัวรูป “W” จะมีมุมไดฮีดรอล () เท่ากับ 0 องศา
เรียกว่า “W-coupling” มีค่า 4JHH > 0 แต่ถ้า  เท่ากับ 90 และ 180 องศา มีค่า 4JHH < 0 ตัวอย่าง
การคู่ควบช่วงไกลในระบบแอลไลลิก ดังภาพที่ 5.38

H H H
H H
H H
H
= 0o = 90o = 180o
W-coupling
4J (Hz) 1.3 0 0
HH

O H O
H H3C O
J = 1.1 Hz H
H J = 1.8 Hz

ภาพที่ 5.38 ค่าคงตัวการคู่ควบช่วงไกลในระบบแอลไลลิก


33

3.3 ระบบโฮโมแอลไลลิก การคู่ควบระหว่างสปินกันสปินในโครงสร้างที่มีระบบโฮโมแอล-


ไลลิก จะเกิดเมื่อโปรตอนสองตัวตั้งฉากกับระนาบของพันธะคู่ กรณีโซ่เปิดจะค่าคงตัวการคู่ควบ (5JHH)
เท่ากับ 0-2 เฮิรตซ์ (ธิติมา รุกขไชยศิริกุล, 2556, หน้า 157) ส่วนโซ่ปิด เช่น 1,4-ไซโคลเฮกซะไดอีน
(1,4-cyclohexadiene) ค่า 5JHH เท่ากับ 2-5 เฮิรตซ์ (Reich, 2017e) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหมู่แทนที่ ดังภาพ
ที่ 5.39

H H
H H
H
OR H
H
H H H
H3C H H Ph
H H
H CH3 H3C CH3
Ph3C Ph Ph3C H
H H
5J 5J 5J = 7.5 Hz
5J = 1.6 Hz = 1.2 Hz cis
= 11 Hz trans
trans cis

ภาพที่ 5.39 การจัดเรียงตัวของโครงสร้างระบบโฮโมแอลไลลิกเกิดการคู่ควบช่วงไกล

นอกจากลักษณะการคู่ควบช่วงไกลข้างต้นแล้ว ยังพบการคู่ควบช่วงไกลในโครงสร้างที่มี
ระบบโพรพาร์ไจลิก (propargylic) หรือโครงสร้างที่โปรตอนสองตัวจัดเรียงตัวรูป “W”ดังภาพที่ 5.40
(ธิติมา รุกขไชยศิริกุล, 2556, หน้า 159; Reich, 2017e)

Propargylic coupling: 4J = 4 Hz
HH H
4J = 1.1 Hz
HH
HO
H
H 4J
HH
= 2.5 Hz H H
W-coupling: H
H
H
H H
H 4J =
4J = 2-3 Hz 4J 0-2 Hz
HH HH
= 18 Hz HH

ภาพที่ 5.40 การคู่ควบช่วงไกลลักษณะอื่น ๆ


34

 จงแสดงรูปแบบการแยกสัญญาณของโปรตอนที่กาหนดในโครงสร้าง และบอกชนิดการคู่ควบของ
โปรตอน โดยโปรตอนที่คู่ควบกันจะมีค่าคงตัวการคู่ควบเท่ากัน
H2 H H1 OCH3
1 H1 Cl
O H2 H1
H3 O
Cl H2 H2 H3 NO2
1 2 CH3(b) H1
Br
H CHO
H2N NO2
(a) H H1 H2
H2

การคานวณค่าคงตัวตัวการคู่ควบ
เมื่อสัญญาณแยกเป็นกลุ่มพีก จะเกิดระยะห่างระหว่างพีกในกลุ่มพีก ซึ่งโปรตอนคู่ควบซึ่งกัน
และกันจะมีค่าคงตัวการคู่ควบเท่ากัน จากสเปกตรัม 1H NMR สามารถค่าคงตัวการคู่ควบจากสมการ
(5.5)
J =  x MHz (5.5)
โดยที่ J คือ ค่าคงตัวการคู่ควบ หน่วยเฮิรตซ์
 คือ ผลต่างของค่าการเลื่อนทางเคมี
MHz คือ ความถี่ของเครื่องเอ็นเอ็มอาร์

ตัวอย่างการหาค่าคงตัวการคู่ควบ เช่น นอร์-เดนทาทิน (nor-Dentatin) วิเคราะห์ที่ความถี่


300 เมกกะเฮิรตซ์ จะสังเกตได้ว่าโปรตอน H-3 และ H-4 จะปรากฏสัญญาณที่  (ppm) 6.16 และ
8.01 ตามลาดับ ดังภาพที่ 5.41 (Arunrat Sunthitikawinsakul, 2005, p. 59) แต่ละสัญญาณแยกเป็น
doublet มีค่าคงตัวการคู่ควบเท่ากัน นั่นคือโปรตอนทั้งสองเกิดการคู่ควบกัน คานวณค่าคงตัวการคู่ควบ
ดังนี้
โปรตอน H-3: J = (6.175 ppm – 6.143 ppm) x 300 MHz
= 9.6 Hz
โปรตอน H-4: J = (8.022 ppm – 7.990 ppm) x 300 MHz
= 9.6 Hz
35

H-3 in CDCl3
OH
9.6 Hz 4' 4 300 MHz
3' 3

6.175
H-4

6.143
O O O
3''
9.6 Hz 2''

nor-Dentatin
7.990
8.022

6.2 6.1

8.04 8.02 8.00 7.98

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 (ppm)

ภาพที่ 5.41 สเปกตรัม 1H NMR ของนอร์-เดนทาทิน

สเปกตรัมอันดับหนึ่งและอันดับสอง
รูปแบบการแยกสัญญาณของแต่ละโปรตอนจะขึ้นอยู่กับจานวนโปรตอนข้างเคียง ถ้ามีโปรตอน
ข้างเคียง N ตัว ทาให้สัญญาณแยกเป็นกลุ่มพีก เท่ากับ N+1 มีความเข้มสัมพัทธ์ของแต่ละพีกในกลุ่มพีก
โดยอาศัยสามเหลี่ยมของพาสคาล โดยรูปแบบการแยกสัญญาณจาแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ รูปแบบ
การแยกสัญญาณอันดับหนึ่ง และรูปแบบการแยกสัญญาณอันดับสอง ซึ่ง สเปกตรัมทั้งสองจะขึ้นอยู่กับ
ผลต่างของค่าการเลื่อนทางเคมี ดังนี้
1. สเปกตรัมอันดับหนึ่ง เกิดจากโปรตอนสมมูลเกิดการคู่ควบกับโปรตอนข้างเคียงเท่ากัน ถ้า
/J มีค่าในช่วง 10-20 จะทาให้เกิดรูปแบบการแยกสัญญาณอันดับหนึ่ง ความเข้มสัมพัทธ์ของแต่ละ
พีกในกลุ่มพีกจะเป็นตามสามเหลี่ยมของพาสคาล กลุ่มพีก ในสเปกตรัมอันดับหนี่งจะมีลักษณะสมมาตร
และค่าการเลื่อนทางเคมีของโปรตอนจะอยู่ที่จุดกึ่งกลาง ดังภาพที่ 5.10
2. สเปกตรัมอันอับสอง ถ้า /J มีค่าน้อยกว่า 10 ซึ่งรูปแบบการแยกสัญญาณจะไม่เป็นไป
ตามสามเหลี่ยมพาสคาล จากภาพที่ 5.42 กลุ่มพีกของแต่ละสัญญาณจะเข้าใกล้กันมากขึ้นเมื่อ /J มี
ค่าน้อยลง ตาแหน่งของสัญญาณเรโซแนนซ์จะไม่อยู่ที่จุดกึ่งกลางแต่จะอยู่ที่จุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มพีก
สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลของสเปกตรัมอันดับสองนี้เพื่ อหาสูตรโครงสร้างจะมีความซับซ้อนโดยจะไม่
36

ขอกล่าวถึงในบทนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์และขอบเขตในเนื้อหาบทนี้จะเน้นเฉพาะรูปแบบการแยกสัญญาณ
อันดับหนึ่งเท่านั้น

C C
HA HB
1st order spectrum JAB JAB
 J = 15

HA HB
 
A
2nd order spectrum
 J=6

 J=3  
2 3
2nd order spectrum JAB JAB

1

4

 J = 0.5  
A
2nd order spectrum 1/2(A-)

ภาพที่ 5.42 ตัวอย่างเปรียบเทียบรูปแบบการแยกอันดับหนึ่งและอันดับสอง


ที่มา (Pavia, Lampman & Kriz, 1979, p. 141)
37

หลักการเรียกชื่อระบบสปิน
เนื่องจากโปรตอนไม่สมมูลในโครงสร้างจะเกิดการแยกสัญญาณเป็นกลุ่มพีกหรือมีระบบสปินที่
แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งชื่อระบบสปินจะพิจาณาจากค่าการเลื่อนทางเคมี ถ้าโปรตอนที่มีค่าการเลื่อนทาง
เคมีต่างกันเล็กน้อย ระบบสปินจะใช้อักษร A, B และ C แต่ถ้าโปรตอนที่มีค่าการเลื่อนทางเคมีต่างกัน
มากจะใช้อักษร A, M และ X ซึ่งจานวนโปรตอนที่มีค่าการเลื่อนทางเคมีเท่ากันจะอยู่ในชุดเดียวกันและ
แสดงด้วยตัวเลข ระบบสปินที่พบได้บ่อย ดังนี้
- ระบบสปิน AX และระบบสปิน AMX จะให้สเปกตรัมอันอับหนึ่ง
- ระบบสปิน AB ระบบสปิน ABX ระบบสปิน ABC ระบบสปิน AA’XX’ ระบบสปิน AA’BB’

ทั้งนี้ระบบสปินข้างต้นจะเห็นรูปแบการแยกสัญญาณชัดเจนตามกฎ N+1 กรณีเป็นสเปกตรัม


อันดับหนึ่ง ตัวอย่างระบบสปิน AB/AX พบได้ในโปรตอนบนพันธะคู่หรือบนเบนซีน เป็นต้น ดังภาพที่
5.43 จะให้สเปกตรัมอันอับหนึ่ง แต่ถ้าในโครงสร้างแต่ละโปรตอน HA คู่ควบกับโปรตอน HB และ HB’
(หรือโปรตอน HX และ HX’) ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะให้สเปกตรัมอันดับสอง เรียกว่า ระบบสปิน AA’BB’
(หรือระบบสปิน AA’XX’) ตัวอย่างโครงสร้างดังภาพที่ 5.43

O AX/AB pattern
I OEt
H H
 (ppm)
H H 7.5 7.4 7.3 7.2 7.1 7.0 6.9
O
MeO AX/AB pattern
MeO OMe
7.6 7.4 7.2 7.0 6.8 6.6  (ppm)

AA'BB' pattern
HA' H A HA' BH HA
H B' Cl Cl
Cl H B' O2N Cl
HB HA Br HB HB' HA'

ภาพที่ 5.43 ระบบสปิน AX/AB และระบบสปิน AA’BB’


ที่มา (Reich, 2017f)
38

เมื่อโปรตอน 2 ตัว ไม่สมมูลกัน สัญญาณแยกเป็น doublet และ triplet เรียกว่า ระบบสปิน


AX2/AB2 ส่วนมากพบในสารประกอบแอโรแมติกที่มีหมู่แ ทนที่ 3 หมู่ ดังภาพที่ 5.43 ถ้าโปรตอน 3 ตัว
ไม่สมมูลกัน โดยมีโปรตอน 2 ตัว ที่มีค่าการเลื่อนทางเคมีต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า ระบบสปิน ABX แต่
ถ้าโปรตอน 2 ตัว มีค่าการเลื่อนทางเคมีแตกต่างกันมาก เรียกว่า ระบบสปิน AMX ตัวอย่างโครงสร้าง
ดังภาพที่ 5.43

AB2 pattern
R2 R2
Cl Cl R1 R1  J = 40
Cl BH HB
HB
H B HA HB HB R1 R1
HA HA
A 

ABX pattern AMX pattern


Hx XH
O H
Cl M
R2 R1 XH HB HA
R3 HB R HA
HA

ภาพที่ 5.43 ระบบสปิน AB2 ระบบสปิน ABX และระบบสปิน AMX


ที่มา (Reich, 2017f)

 โปรตอน HA ในโครงสร้าง เกิดการคู่ควบมีระบบสปิน AB2 จงแสดงรูปแบบการแยกสัญญาณของ


โปรตอน HA

OCH3

Cl Cl
HA
39

การวิเคราะห์โครงสร้างจากข้อมูล 1H-NMR
งานวิจัยสาขาเคมีอินทรีย์ โดยเฉพาะด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งจะศึกษาสารออกฤทธิ์โดย
การสกัดและแยกสารบริสุทธิ์จากพืชสมุนไพร สาหร่าย หรือจุลินทรีย์ เป็นต้น และงานวิจัยด้านเคมี
อินทรีย์สังเคราะห์ซึ่งจะใช้เทคนิค 1H-NMR มาพิสูจน์ยืนยันในการเกิดสารมัธยันตร์ (intermediate)
หรือผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ในการพิสูจน์โครงสร้างของสารอินทรีย์บางชนิด อาจจาเป็นต้องใช้ข้อมูลเทคนิค
สเปกโทรสโกปีอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป

ตัวอย่างที่ 5.8 กาหนดสเปกตรัม 1H-NMR จงหาสูตรโครงสร้างประกอบด้วยธาตุคาร์บอนร้อยละ


79.94 ธาตุไฮโดรเจนร้อยละ 9.09 และธาตุไนโตรเจนร้อยละ 11.57 มีสูตรโมเลกุล
เท่ากับ 121

Integral = 4 : 2 : 2 : 3

7 6 5 4 3 2 1  (ppm)

ขั้นตอนที่ 1 หาสูตรโมเลกุล C : H : N
= 79.94/12 : 9.09/1 : 11.57/14
= 6.66 : 9.09 : 0.83
(0.83 หารตลอด) = 8.02 : 10.95 : 1
(ปัดทศนิยมเป็นเลขจานวนเต็ม) = 8 : 11 : 1
ดังนั้น มีสูตรโมเลกุลเท่ากับ C8H11N
40

ขั้นตอนที่ 2 ถ้าทราบสูตรโมเลกุล ให้คานวณค่า DBE

ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลจากสเปกตรัม 1H-NMR


 (ppm) 6.7-7.2 มี intergral เท่ากับ 4 ซึ่งเป็นช่วงสัญญาณของโปรตอนแอโรแมติก 4 ตัว
แสดงว่ามีหมู่แทนที่ 2 หมู่ บนวงเบนซีน แต่เนื่องจากรูปแบบการแยกสัญญาณไม่สมมาตร จึงน่าจะเกิด
การแทนที่แบบ o- หรือ m- และรูปแบบการแยกสัญญาณเป็น triplet (3H) และ doublet (2H) แสดง
ว่ามีหมู่ CH3CH2- โครงสร้างดังนี้

CH2CH3 CH2CH3
X
o- X m-

พิจารณาสัญญาณที่  (ppm) 3.56 (2H, br s) ดังนั้น หมู่ X จะเป็น –NH2


ถ้าโครงสร้างแทนที่แบบ m- จะมีโปรตอนไม่สมมูล 4 ตัว เกิดสัญญาณเรโซแนนซ์ 4 สัญญาณ
แต่สเปกตรัมในโจทย์จะแยกสัญญาณเป็น 2 กลุ่ม ดังนั้น โครงสร้างควรจะเป็น ดังนี้

CH2CH3
2-Ethyl aniline
NH2

บทสรุป
41
42

คาถามท้ายบท
1. กาหนดโครงสร้าง จงหาโปรตอนสมมูลและบอกจานวนสัญญาณที่ปรากฏในสเปกตรัม 1H NMR
1.1 1.2 1.3 1.4
H3 H2 O
3H H1 Cl
Br H3C-O H2 Br
H1
1.5 1.6 O 1.7 1.8
1
H O H
H OH
O 2 I
3
1.9 1.10 4 1.11 1 1.12
2 1
3 H 2 6 3 1
H3CO2C OH 2
1
O
NO2
3
4
5
2 H NH2

1.13 3 1
1.14 1.15 1.16
2 H O
4 5 O2N
6 H NH O O O

2. กาหนดโครงสร้าง โปรตอน H-1 และ H-2 สมมูลกันหรือไม่ ถ้าโปรตอนทั้งสองสมมูลกันจงระบุว่า


เป็นการสมมูลทางแม่เหล็กหรือทางเคมี และระบุว่าโปรตอนทั้งสองเกิดการคู่ควบกันแบบใด (การคู่
ควบเจมินัล การคู่ควบวิซินัล หรือการคู่ควบช่วงไกล)
2.1 H1 2.2 Cl 2.3 Br 2.4 F
Br H1 H1 H1 H2
Br H3C
H2 H3C H2 H2 Cl Cl
Br Cl
2.5 CH3 2.6 OH 2.7 2.8
H2 H1 H H H1
1
Cl CH3 H1 H H2 H2
Cl H2 H Cl

3. เมื่อวิเคราะห์ 1H NMR ของโครงสร้างที่กาหนดที่อุณหภูมิต่ามาก ๆ จงทานายจานวนสัญญาณที่จะ


ปรากฏในสเปกตรัม
Br Cl
H
Br H 2
1
43

4. จงบอกโปรตอนสมมูลในโครงสร้างที่กาหนด และเป็นการสมมูลทางแม่เหล็กหรือทางเคมี
4.1 Br 4.2 OH 4.3 Cl 4.4
1 4 1 Cl 2 3
2 1
2 3 1 4
O2N 3 NO2 2 4 O
NO2 3

5. กาหนดตัวเลือก ท่านคิดว่าสเปกตรัม 1H NMR เป็นโครงสร้างใด และระบุแต่ละสัญญาณในสเปกตรัม


กับโปรตอนทั้งหมดในโครงสร้างด้วย
5.1 O
CH O O
3 O CH3 H C H3CO
O 3 CH3 CH3
A B C D

8 7 6 5  (ppm) 4 3 2 1 0

5.2 Cl Cl OCH3 OCH3


H3CO Cl Cl Cl
O2N Cl
O2N NO2
A B C D

8.0 7.9 7.8 7.7 7.6 7.5 7.4  (ppm)


44

6. กาหนดสเปกตรัม จงระบุแต่ละสัญญาณว่าเป็นของโปรตอนตัวใดในโครงสร้าง
6.1

H 2N

HO
5.0 4.9 4.8 4.7 4.6 4.5 4.4 4.3  (ppm)
6.2

7 6 5 4 3 2 1
 (ppm)

7. จงแสดงการคู่ควบระหว่างสปินกับสปินของสัญญาณที่  (ppm) 3.19 ของอิมิเนียมแคตไอออน ซึ่ง


ปรากฏกลุ่มพีกเป็นดับเพลตออฟทริปเพลต (doublet of triplet, dt)

O H H
N CH
H3
CH3

3.3 3.2 3.1  (ppm)


45

8. กาหนดโครงสร้าง จงบอกจานวนสัญญาณและจานวนพีกที่แยกแต่ละสัญญาณ
8.1 O 8.4 Cl 8.7 OH OH
CH3 NO2 O
H3C 3
CH3 2 1 Cl Cl
NO2
8.2 1 2 8.5 H C OH 8.8 HH H
HO H
CH3 3 H H Cl ClCl
4 3 H
8.3 8.6 CH3CH2CH2Br 8.9 O
O Cl OH

9. กาหนดสเปกตรัม 1H NMR วิเคราะห์ด้วยเครื่องความถี่ 300 เมกกะเฮิรตซ์ โปรตอนของแอลคีน


ปรากฏสัญญาณเป็น doublet ท่านคิดว่าโครงสร้างแอลคีนเป็นไอโซเมอร์แบบซิส- หรือทรานส์-

7.5 7.4 7.3 7.2 7.1 7.0 6.9 (ppm)

10. จงเขียนแผนภาพแสดงการแยกสัญญาณของโปรตอน Ha, Hb และ Hc ของโครงสร้างที่กาหนด


O
Ha
Hb Hc

11. จงจับคูร่ ะบบสปินของโปรตอน HA ที่กาหนดในโครงสร้าง (ระบบสปิน AB, AB2, ABM, ABX3, ABX
หรือ A2B2)

O HA
HA OCH3 OH O
O H H3CO
H3C Br F3C OEt
H H3CO HA H HA
(1) (2) (3) (4)
HA
HA H3C H
H H
(5) (6)
46

12. กาหนดสเปกตรัม 1H NMR จงหาสูตรโครงสร้าง


12.1 แอไมด์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C4H9NO

in CDCl3

7 6 5 4 3 2 1 0
 (ppm)

12.2 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C3H4Cl2

in CDCl3

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0  (ppm)
47

12.3 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C5H8O2

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0
 (ppm)

12.4 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C8H7BrO

in CDCl3

8 7 6 5  (ppm) 4 3 2 1 0
48

12.5 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C3H5Cl

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0  (ppm)

12.6 คีโทนมีมวลโมเลกุล เท่ากับ 86

3.0 2.5 2.0 1.5 1.0 0.5 0  (ppm)

12.7 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C7H6Cl2O ละลายใน CDCl3

3.00
1.80
6.9 6.8
0.89

10 9 8 7 6 5 4 3 (ppm)
49

12.8 สารอินทรีย์ที่มีมวลโมเลกุล เท่ากับ 102 พบว่ามีร้อยละอะตอมคาร์บอน เท่ากับ 70.59%


และร้อยละอะตอมไฮโดรเจน เท่ากับ 9.80

t
s

TMS
13.0 12.5 12.0

7.0 6.0 5.0 4.0 (ppm) 3.0 2.0 1.0 0.0

12.9 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C10H12O

7.5 7.0

4.0 3.5 3.0 2.5 2.0 (ppm)


50

12.10 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C10H12O3 อินฟาเรดสเปกตรัมมีพีกปรากฏที่ความถี่


1,680 cm-1 (แหลม) และ 3,300 cm-1 (สเปกตรัมกว้าง)
3

2
4

10 9 8 7 4.0 3.5 3.0 2.5 2.0 1.5 1.0 (ppm)

12.11 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C6H15N อินฟาเรดสเปกตรัมมีพีกความเข้มต่าปรากฏที่


ความถี่ 3,400-3,250 cm-1

2 12

4.0 3.5 3.0 2.5 2.0 1.5 1.0 0.5 0.0 (ppm)

12.12 สารอินทรีย์มีสูตรโมเลกุล เท่ากับ C7H5NO3


1

11.0 10.5 10.0 9.5 9.0 8.5 8.0 7.5 7.0 6.5 6.0 (ppm)
51

12.13 เอสเทอร์มสี ูตรโมเลกุล เท่ากับ C5H6O2 อินฟาเรดสเปกตรัมปรากฏพีกความเข้มปานกลางที่


ความถี่ 3,270 และ 2,118 cm-1

2.10 1.01 3.15


5.0 4.5 4.0 3.5 3.0 2.5 2.0 1.5 (ppm)

12.14 สารประกอบไฮโดรคาร์บอนโซ่เปิดไม่อิ่มตัว มีมวลโมเลกุล เท่ากับ 110


3

3.0 2.5 2.0 1.5 1.0 0.5 (ppm)

You might also like