You are on page 1of 3

Neurobion กับ Methylcobal

1. ความแตกต่างระหว่าง neurobion กับ methycobal

Neurobion 1 เม็ดประกอบด้วย วิตามิน B1(Thiamine disulfide) 100 mg

วิตามิน B6(Pyridoxine HCl) 200 mg วิตามิน B12(Cyanocobalamine) 200 mcg

โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ส่วน Methylcobal 1 เม็ดประกอบด้วย

Mecobalamin ขนาด 500 mcg โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

Mecobalamine ใน methycobal เป็นวิตามิน B12 ที่อยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์ได้

ส่วน Cyanocobalamine ใน Neurobion จะต้องผ่านกระบวนการแปรสภาพให้เป็ น

mecobalamine ก่อน [1] หากรับประทานตามขนาดและวิธีดังกล่าว จะได้ปริมาณของวิตามิน

จาก Neurobion ต่อวันคือ วิตามิน B1 300 mg, วิตามิน B6 600 mg และ วิตามิน B12 600 mcg

และจาก methylcobal จะได้รับวิตามิน B12 ปริมาณ 1500 mcg

มีการศึกษาที่พบว่า mecobalamine สามารถถูกขนส่งไปยังเนื้อเยื่อประสาทได้ดีกว่าวิตามิน B12

ในรูปแบบอื่นรวมถึง cyanocobalamine

Mecobalamine ช่วยซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่เสียหายและยับยั้งการส่งกระแสประสาทที่ผิดปกติ

ในทางคลินิก mecobalamine ช่วยรักษาอาการ peripheral neuropathy ในผู้ป่ วยที่มี diabetic neuropathy

และ polyneuritis [2]

2. ข้อบ่งใช้ ของ Neurobion และ Methycobal

ข้อบ่งใช้ของ Neurubion คือรักษาผู้ป่ วยที่มีอาการเส้นประสาทอักเสบ หรือมีความบกพร่องของ

เส้นประสาทจากโรคเบาหวาน การติดสุรา ผลจากการใช้ยาบางชนิด ผู้ที่เบื่ออาหาร เป็นต้น

สำหรับ methycobal มีข้อบ่งใช้ในผู้ป่ วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทส่วนปลาย การขาดวิตามิน B12

และโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามิน B12 [3,4,5,6] นอกจากนี้ในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือ


ไม่ค่อยรับประทานเนื้อสัตว์อาจรับประทานวิตามิน B12 เสริมได้ เนื่องจากการไม่รับประทานเนื้อสัตว์

อาจทำให้ขาดวิตามิน B12 อันเป็ นแหล่งสำคัญที่พบวิตามินชนิดนี้ [7]

3. ประสิทธิภาพในการลดอาการชาของวิตามิน B12 เดี่ยว เปรียบเทียบกับ B1 6 12

ยังไม่มีการศึกษาที่เปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของการให้วิตามินทั้งสองรูปแบบ

อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการรักษาอาการชาจากเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุว่า

ผู้ป่ วยขาดวิตามินหรือไม่และขาดชนิดใด เช่น ในผู้ป่ วยที่ดื่มสุราอาจทำให้ขาดวิตามิน B1

ผู้ที่ได้รับยาบางกลุ่ม เช่น ยารักษาวัณโรค อาจทำให้ขาดวิตามิน B6 ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ

เป็นประจำอาจทำให้ขาดวิตามิน B12 [7] และผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหารหรือทุพโภชนาการอาจขาดวิตามิน

ได้หลากหลายชนิดการเสริมวิตามินต่างๆตามที่ผู้ป่ วยขาดจะช่วยรักษาอาการชา หรือเส้นประสาทอักเสบได้

แต่หากผู้ป่ วยมีอาการชาหรือมีอาการอื่นๆที่ปลายประสาทที่เกิดจากสาเหตุอื่น [8] การใช้วิตามินอาจไม่ช่วย

ให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง
1.CMPMedica. 2010. MIMS Thailand 118th edition. TIMS: 162,316.

2.Ang CD, et al., Vitamin B for treating peripheral neuropathy (Review), The Cochrane collaboration;
2008: 1-8.

3.Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL eds. Drug Information Handbook.19th ed. Ohio:
Lexi-Comp; 2011: 403,1371,1571.

4.Vitamin B1. Micromedex ® Healthcare series, [online], 2012, Available at:


http://www.thomsonhc.com/micromedex2/librarian/ND_T/evidencexpert/ND_PR/evidencexpert/
CS/288008/ND_AppProduct/evidencexpert/DUPLICATIONSHIELDSYNC/044005/ND_PG/
evidencexpert/ND_B/evidencexpert/ND_P/evidencexpert/PFActionId/
evidencexpert.DisplayDrugpointDocument?
docId=609140&contentSetId=100&title=Thiamine&servicesTitle=Thiamine&topicId=dosingAndIndica
tionsSection&subtopicId=fdaSection. Accessed 13/02/2012.

5.Vitamin B6. Micromedex ® Healthcare series, [online], 2012, Available at:


http://www.thomsonhc.com/micromedex2/librarian/ND_T/evidencexpert/ND_PR/evidencexpert/
CS/67B216/ND_AppProduct/evidencexpert/DUPLICATIONSHIELDSYNC/73B50E/ND_PG/
evidencexpert/ND_B/evidencexpert/ND_P/evidencexpert/PFActionId/
evidencexpert.DisplayDrugpointDocument?
docId=922225&contentSetId=100&title=Pyridoxine&servicesTitle=Pyridoxine&topicId=dosingAndInd
icationsSection&subtopicId=fdaSection. Accessed 13/02/2012.

6.Vitamin B12. Micromedex ® Healthcare series, [online], 2012, Available at:


http://www.thomsonhc.com/micromedex2/librarian/ND_T/evidencexpert/ND_PR/evidencexpert/
CS/07A878/ND_AppProduct/evidencexpert/DUPLICATIONSHIELDSYNC/7DB74C/ND_PG/
evidencexpert/ND_B/evidencexpert/ND_P/evidencexpert/PFActionId/
evidencexpert.DisplayDrugpointDocument?
docId=665540&contentSetId=100&title=Cyanocobalamin&servicesTitle=Cyanocobalamin&topicId=d
osingAndIndicationsSection&subtopicId=fdaSection. Accessed 13/02/2012.

7.Rollins CJ, Huckleverry Y. 2004. “Essential and conditionally essential nutrients” from Handbook of
nonprescription drug 14th edition. Washington DC. American pharmacist association: 553.

8.Corrao G. Lipid lowering drugs prescription and the risk of peripheral neuropathy: an explorator y
case-con trol study using automated databases. J Epidemiol Community Health 2004; 58: 1047–
1051.

เอกสารที่ทำการสืบค้น
: Primary Reference : Tertiary Reference : Secondary Reference : Internet

ระยะเวลาในการสืบค้น : 2 ชั่วโมง
Keywords : vitamin B, peripheral neuropathy, treatment, mecob

วิตามินบี 6 (vitamin B 6, pyridoxine) ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นใส้อาเจียน

มีการใช้วิตามินบี 6 (pyridoxine) ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นใส้อาเจียน จากการสืบค้นข้อมูลพบดังนี้ครับ...


มีการศึกษาพบว่าการให้วิตามินบี 6 ปริมาณ 10 - 25 มก. ทุก 8 ชม. หรือการรับประทานวิตามินรวมที่มีวิตามินบี 6 ปริม
าณ 2.6 มก./วัน ได้ผลในการรักษาภาวะคลื่นใส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง
ระดับวิตามินบี 6 ในเลือดและการเกิด morning sickness พบว่าวิตามินบี 6 ในขนาดที่ใช้รักษาไม่พบการทำให้เกิด
ความผิดปกติในเด็กทารก โดยในต่างประเทศมีการใช้ยาที่ผสมระหว่างวิตามินบี 6 และ antihistamine ซึ่งก็มียาผสม
บางขนานที่ถอนตัวออกเนื่องจากมีถูกกล่าวหาว่ามีผลต่อความผิดปกติในเด็กทารก แม้ว่าหลายๆ การศึกษาจะไม่พบ
ความเสี่ยงดังกล่าว

You might also like