You are on page 1of 21

พืชสวนประดับ

มะลิ
ชื่อสามัญไทย : มะลิ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac Ait.
ชื่ออื่น ๆ : มะลิลา มะลิซ้อน (กลาง) มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่) มะลิป้อม (เหนือ) มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)
เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่) ข้าวแตก (ฉาน-แม่ฮองสอน)
ตระกูล : Oleaceae
ลักษณะ : ต้นมะลิ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย[7] โดยจัดเป็น
ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบแน่น มีความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ
ลำต้น
ใบมะลิ ใบออกเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูป
ขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้าง
ประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่ท้องใบเห็นเส้น
ใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน
ดอกมะลิ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนเราจะ
เรียกว่า "มะลิซ้อน" ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนจะเรียกว่า "มะลิลา" โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ซึ่ง
ดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อน ขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-3
เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น
มีเกสรเพศผู้ 2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล
ประโยชน์ : เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัยทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอม
ของดอกมะลิ ช่วยบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลอารมณ์และจิตใจ แก้ปวดศีรษะ คลายเครียด และช่วยการนอน
หลับให้ดีขึ้น เอามาลอยน้ำเป็นน้ำลอยดอกมะลิ หรือทำเป็นชามะลิ
การขยายพันธุ์ : การปักชำ (ในช่วงฤดูฝนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) และการตอนกิ่ง (เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี)
จำปี
ชื่อสามัญไทย : จำปี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : White Champaka
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Michelia alba DC.
ชื่ออื่น ๆ : จุมปี จุ๋มปี๋ (ภาคเหนือ)
ตระกูล : MAGNOLIACEAE
ลักษณะ : ต้นจำปี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่ามันมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน
ตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย) สามารถแบ่งสปีชีส์ได้ประมาณ 50 ชนิด โดยจัดเป็น
พรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงใหญ่กว่าจำปาเล็กน้อย ความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล
แตกเป็นร่องถี่ ๆ กิ่งมีขนสีเทา เปราะและหักง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด
ใบจำปี มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบสีเขียว โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนาและมีขนาดใหญ่ กว้าง
ประมาณ 8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
ดอกจำปี ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอม มีสีขาวคล้ายกับสีงาช้าง ดอกมีกลีบซ้อนกันอยู่ 8-10 กลีบ กลีบ
ดอกจะเรียวกว่าดอกจำปา และมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ส่วนตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ๆ
ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็ก ๆ โดยดอกจำปีจะออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผลจำปี ลักษณะของผลเป็นกลุ่ม เมื่อแก่จะแห้งแตก ลักษณะคล้ายทรงไข่หรือทรงกลม บิดเบี้ยวเล็กน้อย ผล
แก่มีสีแดง ด้านในมีเมล็ดเล็ก ๆ สีดำประมาณ 1-4 เมล็ด
ประโยชน์ : เมื่อดอกบานจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆกระจายโดยรอบ และส่งกลิ่นหอมนานยันรุ่งเช้า จึงนิยมปลูก
เป็นไม้เพื่อประดับดอก และเพื่อให้เกิดกลิ่นหอมรอบบ้านเมื่อดอกบาน นิยมใช้ห้อยพวงมาลัย ดอกใช้บูชาพระ
ได้ ดอกสามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอมได้
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การเสียบยอด การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ดาวเรือง
ชื่อสามัญไทย : ดาวเรือง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Marigold
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L.
ชื่ออื่น ๆ : ดาวเรืองใหญ่ (ทั่วไป), คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ), พอทู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), บ่วงซิ่วเก็ก (จีน
แต้จิ๋ว), ว่านโซ่วจวี๋ (จีนกลาง), บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง, กิมเก็ก (จีน), ดาวเรืองอเมริกัน
ตระกูล : Compositae
ลักษณะ : ต้นดาวเรือง เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้ราว 1 ปี ลำต้น
ตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง ทั้งต้น
เมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน โดยจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง
ใบดาวเรือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่ ออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ 11-17 ใบ
ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ
0.5-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร เนื้อใบนิ่ม
ดอกดาวเรือง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองสดหรือสีเหลืองปนส้ม กลีบดอกมีขนาด
ใหญ่เรียงซ้อนกันหลายชั้นเป็นวงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาว
ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกเป็นฟันเลื่อย มีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน โดยดอกจะแบ่งออกเป็น 2
ลักษณะ คือ ดอกวงนอกมีลักษณะคล้ายลิ้นหรือเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น บานแผ่ออกปลายม้วนลง มีจำนวน
มาก เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ส่วนดอกวงในเป็นหลอดเล็กอยู่ตรงกลางช่อดอก มี
จำนวนมากและเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวเชื่อมติดกันหุ้มโคนช่อดอก ก้านชูดอก
ยาว
ผลดาวเรืองเป็นผลแห้งสีดำไม่แตก ดอกจะแห้งติดกับผล โคนกว้างเรียวสอบไปยังปลายซึ่งปลายผลนั้นจะมน
ประโยชน์ : ไม้ประดับ สมุนไพร สีของดอกใช้เป็นสีย้อมผ้า ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริม
โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น ป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็น
สารที่มีกลิ่นเหม็นแมลงไม่ชอบ เพื่อจำหน่าย ใช้ทำพวงมาลัย ใช้ปักแจกัน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และการปักชำ

บีโกเนีย
ชื่อสามัญไทย : บีโกเนีย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Begonia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Begonia spp.
ชื่ออื่น ๆ : ส้มกุ้ง , ก้ามกุ้ง, สมมติ
ตระกูล : Begoniaceae
ลักษณะ : ต้น ไม้อวบน้ำอายุยืน มีเหง้าออยู่ใต้พี้นดิน ลำต้นสูงจากพื้นดิน 15-45 ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปร่าง ขนาด และสีสันแตกต่างกันในตและพันธุ์ ใบมีลักษณะเบี้ยว คือ แผ่นใบสอง
ข้างไม่เท่ากัน รูปหัวใจ ใบเกิดเวียนรอบลำต้นบางชนิดมีขนเหมือนกำมะหยี่
ดอก ดอกออกเป็นช่อแทงทะลุซอกใบ ช่อดอกตัวผู้แยกจากช่อดอกตัวเมีย แต่อยู่บนต้นเดียวกันดอกตัวมีเมียมี
รังไข่ที่โป่งออกเป็นปีกสามแฉกที่โคนดอก ดอกตัวเมียบานทนกว่าดอกตัวผู้ ปกติ บีโกเนียดอกมีหลายสี เช่น
ชมพู ส้ม ขาว
บีโกเนียเป็นพืชสกุลใหญ่ จึงแบ่งออกเป็นพวกๆ โดยอาศัยรูปร่างของส่วน สะสมอาหารหรือรากเป็นหลักได้
ดังนี้ คือ
1. บีโกเนียชนิดที่มีรากฝอย (Fibrous – rooted begonia) มีใบสีเขียวและสีน้ำตาลเป็นมัน ดอกออกเป็น
ช่อ มีทั้งสีขาว สีชมพู สีแดง และสองสี เช่น ขาวขอบแดง
2. บีโกเนียชนิดที่มีเหง้า (Rhizomatous begonia) ส่วนมากเป็นบีโกเนียที่ปลูกประดับใบ ใบมีสีสวยมี
หลายแบบ เช่น รูปใบกลม รูปหัวใจ มีกลีบดอกชั้นเดียว
3. บีโกเนียชนิดที่มีหัว (Tuberous begonia) ดอกมีขนาดใหญ่ มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน
ประโยชน์ : ไม้ประดับ ชนิดที่พบตามป่าเขา มีรสเปรี้ยว สามารถนำมาประกอบอาหารได้
การขยายพันธุ์ : ปักชำใบและลำต้น แยกหัวแยกเหง้า และเพาะเมล็ด
สร้อยฟ้า
ชื่อสามัญไทย : สร้อยฟ้า
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Passion Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora × alato-caerulea Lindl.
ชื่ออื่น ๆ : -
ตระกูล : Passifloraceae
ลักษณะ : ต้น ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ อายุหลายปี ยาวได้ถึง 5-10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะ
ออกตามซอกใบ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง ยาว 7-10 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนเว้า ขอบเว้าลึกเป็น 3 แฉก
แต่ละแฉกขอบเป็นจักฟันเลื่อยตื้น แผ่นใบหนา ใบสีเขียว
ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกสีม่วงคราม ดอกทรงกลมห้อยลง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกันอย่าง
ละ 5 กลีบ รูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาว กลีบดอกสีขาวนวล ด้านในสีม่วงอมชมพู มี
รยางค์เป็นเส้นเล็กๆ เรียงเป็นวงเหนือชั้นกลีบดอก 2-3 ชั้น ส่วนกลางสีม่วง โคนและปลายสีขาวนวล เกสรชู
เด่นขึ้นกลางดอก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 ยอด ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วงฤดูฝน
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทำซุ้มไม้เลื้อย หรือนำดอกมาลอยในอ่างบัวหรือชามแก้วใสเพื่อตกแต่ง
บ้าน
การขยายพันธุ์ : ใช้กิ่งตอน ปักชำ หรือเมล็ด
ดาวกระจาย
ชื่อสามัญไทย : ดาวกระจาย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Cosmos
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cosmos sulphureus Cav.
ชื่ออื่น ๆ : ดาวเรืองพม่า หญ้าแหลมนกไส้ ภาคเหนือ – คำแพ คำแล คำอังวะ คำเมืองไหว พอกอลา
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) สะลากุ้ง, หญ้าตีตุ้ด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ตระกูล : COMPOSITAE
ลักษณะ : ลำต้น ดาวกระจาย มีลำต้นเป็นทรงพุ่มเตี้ย และโปร่ง ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง แตกกิ่งก้านตั้งแต่ระ
กับล่างของลำต้น สูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีสีเขียวเข้ม แผ่นใบเว้าแว่งคล้ายนิ้วมือ
5-7 แฉก แต่ละแฉกมีรูปหอก
ดาวกระจาย เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกบริเวณปลายกิ่ง มีก้านดอกยาว ขนาดดอกประมาณ 5-15
เซนติเมตร กลีบดอกมีหลายสีตามสายพันธุ์ อาทิ สีเหลือง สีแดงอมม่วง สีชมพู และขาว เป็นต้น กลีบดอกอาจ
มีชั้นเดียวหรือเรียงซ้อนเป็นชั้น แผ่นกลีบดอกบาง และเรียบ ปลายกลีบหยักเป็นฟันเลื่อย ตรงกลางดอกเป็น
เกสรตัวผู้ 5 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ด้านล่างเป็นรังไข่
เมล็ดดาวกระจายมีลักษณะรียาว หัว และท้ายเรียวแหลม เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง สีน้ำตาลอมดำ
ประโยชน์ : ปลูกประดับสวน ปลูกลงแปลงเป็นกลุ่ม ริมถนน หรือทางเดิน ดาวกระจายสามารถขายได้ในราคา
ดี
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
กุหลาบพันปี
ชื่อสามัญไทย : กุหลาบพันปี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Azalea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron arboreum Smith
ชื่ออื่น ๆ : คำแดง (เชียงใหม่)
ตระกูล : ERICACEAE
ลักษณะ : ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพล
ของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ
ใบ เรียงเวียนสลับใกล้ๆ กันเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง 5-8 ใบ ใบรูปใบหอกกว้าง หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบงอลง แผ่นใบหนามาก ด้านบนเกลี้ยงสี
เขียวสด ด้านล่างมีเกล็ดสีเทาอมน้ำตาลและมีขนหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ 12-14 เส้น แตกแขนงไปทั้งใบ
ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามปลายกิ่ง 4-12 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4.5 ซม. กลีบดอกสีแดงเลือดนก ติด
กันคล้ายรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลม กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.3-1.5 ซม เกสรเพศผู้
10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูสีขาว โคนก้านสีม่วงอมแดง รังไข่มีขนสีขาวหนาแน่น
ฝัก/ผล รูปทรงกระบอก กว้าง 6-7 มม. ยาว 1.3-1.6 ซม. ผลแก่แตกเป็น 7-8 เสี่ยง
เมล็ด แบน เล็กมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ มีเมล็ดจำนวนมาก
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ มีคุณสมบัติในการดูดสารพิษได้ดี แปรรูปเป็นชากุหลาบพันปี
การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่งและเพาะเมล็ด
ไลแลค
ชื่อสามัญไทย : ไลแลค
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Lilac
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syringa vulgaris
ชื่ออื่น ๆ : ซิริงก้า
ตระกูล : Oleaceae
ลักษณะ : ไลแลค เป็นพืชผลัดใบแบบพืชพุ่มหรือพืชต้นขนาดเล็ก ที่สูงตั้งแต่ราว 2 ถึง 10 เมตร และมีลำต้นมี
เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 20 ถึง 30 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกแน่นมาก กลิ่นหอมมาก โดย
เฉพาะตอนกลางคืน ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิต้นฤดูร้อน แล้วแต่สายพันธุ์ แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง
5 ถึง 10 เซนติเมตร มีสีม่วงต่าง ๆ ชมพู ขาว นวล และ บางครั้งแดงเข้ม
ประโยชน์ : ดอกไลแลคมีกลิ่นหอมแบบอบอวลอย่างโรแมนติก จึงได้นิยมนำมาทำน้ำหอมประเภทที่มีกลิ่นหอม
โรแมนติก นิยมนำมาเป็นดอกไม้ในพิธิแต่งงาน เป็นช่อดอกไม้เจ้าสาว จัดประดับแจกัน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
คุณนายตื่นสาย
ชื่อสามัญไทย : คุณนายตื่นสาย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Portulaca
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portulace grandiflora
ชื่ออื่น ๆ : แพรเซี่ยงไฮ้
ตระกูล : Portulacaceae
ลักษณะ : ไม้ดอกในสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มต้นเตี้ย การเจริญเติบโตค่อนไปทางเลื้อย ทุกส่วนอวบน้ำ
ใบ มีลักษณะอวบน้ำเป็นแท่งรูปเข็มยาวประมาณ 1 นิ้ว ผิวใบด้านบนสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ขอบใบ
ขลิบสีแดง
ดอก จะมีขนาดประมาณ 1-2.5 นิ้ว แล้วแต่พันธุ์ กลีบดอกบางมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนหลายสี เช่น สี
ม่วงอ่อน บานเย็น ส้ม แดง ขาว เหลือง ชมพู ดอกบานเมื่อได้รับแสงแดด
ประโยชน์ : ปลูกประดับ เป็นพืชคลุมดิน ให้ดอกสีสันสดใส สวยงาม ป้องกันการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน
ล่อแมลงสำหรับผสมเกสรของพืชทางการเกษตร สกัดสีสำหรับระบายสีภาพหรือสีย้อมผ้าหรือนำมาต้มย้อมผ้า
ได้
การขยายพันธุ์ : ปักชำ เพาะเมล็ด
ลิลี
ชื่อสามัญไทย : ลิลี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lilium spp.
ชื่ออื่น ๆ : Easter Lily
ตระกูล : Liliaceae
ลักษณะ : ประเภท ไม้ดอกอายุหลายปี มีหัวคล้ายหัวกระเทียม (scaly bulb) มีหัวย่อยที่สามารถดึงหรือแยก
ออกจากกันง่าย
ลำต้น ต้นเป็นพุ่มเตี้ยอยู่เหนือดินเล็กน้อย เมื่อถึงเวลาออกดอกต้นจะยืดยาวสูงขึ้นมา
ใบ ใบมีทั้งรูปแถบเรียวยาว รูปไข่กลับคล้ายรูปหัวใจ ออกเวียนสลับ มีใบติดอยู่ตลอดก้านช่อดอก
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ มีกลิ่นหอม ดอกมีสีขาว เหลือง ส้ม ชมพู แดง และม่วง มีหลายแบบ เช่น รูป
ปากแตร บางชนิดดอกบานเป็นรูปจาน บางชนิดหน้าดอกตั้งขึ้น บางชนิดหน้าดอกห้อยลง
ประโยชน์ : มีฉายาว่า "ดอกไม้ของเจ้าหญิง” เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ สดใส ไร้เดียงสา จึงมักนำมาใช้
ประดับในงานสังสรรค์รื่นเริง เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย โดยจะมีความหมายจำเพาะตามสีของดอก
ดอกสีขาว แสดงออกถึง “ความรักที่บริสุทธิ์” อ่อนหวาน อ่อนโยน จริงใจ แสนดี และเทิดทูน เสมือนกับเป็น
รักแรกพบ
ดอกสีชมพู แสดงออกถึง การค้นหาความรักที่ดีที่สุดแล้วพบ เป็นดอกไม้ที่ผสมผสานอารมณ์ของความรักได้
อย่างลงตัว สื่อถึงความรักความจริงใจที่มี นอกจากนี้ยังนิยมที่จะมอบให้แก่คนรักอีกด้วย
ดอกสีส้ม แสดงออกถึง ความร่าเริง สดใส ความปีติสุขที่ได้อยู่ใกล้ เป็นดอกไม้ที่นำความน่ารักและความสดใส
มารวมกันอย่างพอดี จึงนิยมให้แก่เพื่อนสนิท หรือคนรู้จัก
ดอกสีเหลือง แสดงออกถึง ความอบอุ่นห่วงใย อยากให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันอันตราย
การขยายพันธุ์ : แยกหัวย่อยไปปักชำ เพาะเมล็ด และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เบญจมาศ
ชื่อสามัญไทย : เบญจมาศ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Chrysanthemum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysanthemum morifolium Ramat.
ชื่ออื่น ๆ : เบญจมาศ เบญจมาศหนู (ภาคกลาง), เก๊กฮวย (จีน), ดอกขี้ไก่ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ตระกูล : Compositae
ลักษณะ : ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นทรงกระบอก มีขนละเอียด แตกกิ่งก้านไม่มาก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนตัดหรือสอบแหลม ขอบหยัก สีเขียวเข้ม มีขน
ปกคลุม
ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น บริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกหลายสี เช่น ดอกสีเหลือง ดอกสีชมพู ดอก
สีขาว กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปรี ปลายแหลม เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกมี 2 ชั้น ชั้นนอกรูปไข่หรือรูปรี ซ้อน
กันหลายชั้น ชั้นในขนาดเล็ก โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ภายในมีเกสรเพศผู้และเพศเมีย
ประโยชน์ : ปลูกประดับสวน ปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอก ปลูกเพื่อการค้า
การขยายพันธุ์ : ปักชำ แยกหน่อ ใช้เมล็ด
ลั่นทม
ชื่อสามัญไทย : ลั่นทม ลีลาวดี
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Frangipani , Pagoda tree, Temple tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria rubra L.
ชื่ออื่น ๆ : จงป่า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); จำปาขอม (ภาคใต้); จำปาขาว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); จำปา
ลาว (ภาคเหนือ); ลั่นทม (ภาคกลาง)
ตระกูล : Apocynaceae
ลักษณะ : ลำต้น ไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ลำต้นสีเทา
ผิวลำต้นตะปุ่มตะป่ำ
ใบ ใบเดี่ยว การเรียงของใบร่างแหแบบขนนก ใบรูปใบหอก ปลายใบติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อ
ใบคล้ายเยื่อ ใบเรียงแบบวงรอบ ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน
ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ดอก ดอกช่อแยกแขนง กลีบอกในตาดอกเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ดอกสมมาตรด้านข้าง วงกลีบดอกเชื่อมติดกัน
แบบดอกเข็ม กลีบดอกสีขาวเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน
ผล ผลแห้งแก่แตก ฝักแบบถั่ว แตกตามรอยประสาน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง ผลแก่สีแดงถึงดำ ผลกว้าง
ประมาณ 2-3 เซนติเมตร
เมล็ด มีลักษณะแบน มีเมล็ดประมาณ 25-100 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีปีกติดด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด
ประโยชน์ : ไม้ประดับ กลิ่นของดอกลีลาวดีช่วยทำให้นอนหลับสบาย ใช้ทำเป็นน้ำหอม ใช้เป็นส่วนผสมของธูป
หอม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การปักชำ การติดตา
ว่านหางจระเข้
ชื่อสามัญไทย : ว่านหางจระเข้
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Aloe, Aloe vera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่ออื่น ๆ : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ตระกูล : Asphodelaceae
ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นสั้น ใบเรียงซ้อนเป็นกอ ข้อและปล้องสั้น สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ต้น
แก่จะมีหน่อเล็กๆของต้นอ่อนแตกออกมา ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่รอบต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80
เซนติเมตร ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกว้าง สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ด้านหน้าแบน ด้าน
หลังโค้งนูน ใบอ่อนมีประสีขาว ขอบใบมีหนามแหลมเล็กขึ้นห่างๆกัน ผิวใบหนา เนื้อใบหนาอวบน้ำมาก
ภายในเนื้อใบมีวุ้นใสเป็นเมือก เมื่อกรีดลงไปบริเวณโคนใบจะมีน้ำยางใสสีเหลืองไหลออกมา ดอกออกเป็นช่อ
ตั้งยาว 60-90 เซนติเมตร แทงช่อออกจากกลางต้น ก้านชูช่อดอกยาว ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง รูปแตร กลีบ
ดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ดอกสีส้มไม้ล้มลุกอ่อน บานจากล่างขึ้นบน แต่ละ
ดอก กว้าง 7 มิลลิเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ผล เป็นผลแห้ง แตกได้ รูปกระสวย
ประโยชน์ : ใบนำมาปอกเปลือกให้เหลือเฉพาะเนื้อวุ้น ตัดเนื้อวุ้นเป็นก้อนๆสำหรับรับประทานสด เนื้อวุ้นที่ตัด
เป็นก้อนๆ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ ได้แก่ ว่านหางจระเข้เชื่อม น้ำว่านหางจระเข้ผสมวุ้น
เป็นต้น ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อการบำรุงผิว และรักษาความชุ่มชื้นของผิว รักษาแผลผุพอง ช่วย
ฟอกอากาศในบ้าน
การขยายพันธุ์ : การแยกหน่อ การตัดเหง้า การปักชำยอด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เยอบีร่า
ชื่อสามัญไทย : เยอบีร่า
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Gerbera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gerbera jamesonii
ชื่ออื่น ๆ : Barberto Daisy, Transvaal Daisy
ตระกูล : Compositae
ลักษณะ : ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 25-50 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดิน
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายมน โคนสอบ ขอบหยักเว้าลึก ใบโค้งขึ้นเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียว มี
ขนนุ่มปกคลุม
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายยอด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 6-9 เซนติเมตร มีหลายสี เช่น ดอกสีเหลือง
ดอกสีขาว ดอกสีม่วง ดอกสีชมพู กลีบดอกวงนอกรูปขอบขนาน กลีบดอกวงในเป็นหลอด ก้านดอกยาว มีขน
นุ่ม ออกดอกตลอดปี
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงแปลงเพื่อจัดสวน ตัดดอกออกมาแล้วปักแจกันแล้วก็ยังอยู่ได้นาน
หลายวัน จึงเป็นไม้ประดับที่นิยมนำมาประดับภายในอาคาร มีความสามารถสูงในการดูดสารพิษจากอากาศ
ภายในอาคาร และนิยมนำมาจัดพวงหรีดดอกไม้สด
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การแยกหน่อ การชำยอด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ซ่อนกลิ่น
ชื่อสามัญไทย : ซ่อนกลิ่น
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Tuberose
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polianthes tuberosa L.
ชื่ออื่น ๆ : ซ่อนชู้ ดอกรวงข้าว ดอกลีลา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หอมไกล หรือ หอมไก๋ (ภาคเหนือ)
ตระกูล : AGAVACEAE
ลักษณะ : ลำต้น มีหัวเป็นกระจุกอยู่ใต้ดินสำหรับสะสมอาหาร แตกใบจากหัวเป็นกอๆ
ใบ รูปแถบเรียวยาว
ดอก มีดอกติดอยู่ตอนปลายใบเป็นช่อยาวตั้งแต่ 6 – 15 นิ้ว ดอกย่อย 40 – 90 ดอก ทยอยบานตั้งแต่โคนช่อ
ไปหาปลายช่อ สีขาว ส่งกลิ่นหอมแรงทั้งกลางวันและกลางคืน ดอกทยอยบานและบานอยู่ได้หลายวัน มีทั้ง
พันธุ์ดอกลาที่มีกลีบดอกชั้นเดียวและพันธุ์ดอกซ้อน ที่มีกลีบดอกหลายชั้น ออกดอกตลอดปี
ประโยชน์ : ไม้ประดับ นิยมนำดอกมาจัดให้ความสวยงาม ดอกนำมาทำอาหาร เช่น แกงจืด หรือผัดใส่หมูสับ
ดอกซ่อนกลิ่นมีกลิ่นหอมแรงในสมัยโบราณจึงนิยมใช้ประดับตกแต่งในงานศพ นัยว่าเพื่อกลบกลิ่น เนื่องจาก
สมัยก่อนไม่มีสารเคมีช่วยรักษาศพ ใช้ในการบูชาพระ ใช้ในการไหว้บูชา ในพิธีกรรมต่างๆ
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ ใช้หัว แบ่งหัว
ทานตะวัน
ชื่อสามัญไทย : ทานตะวัน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : sunflower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.
ชื่ออื่น ๆ : บัวตอง (ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง)
ตระกูล : Asteraceae
ลักษณะ : ต้น ไม้ล้มลุก อายุสั้น สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นตรง กลวง มีขนสาก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ปลายแหลม โคนมนป้านหรือรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสาก
ก้านใบเป็นร่องตื้น สีเขียวอมแดง
ดอก ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามยอดหรือซอกใบบริเวณยอด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5-30
เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปรีถึงรูปเกือบกลม ปลายเรียวแหลม สีเขียว มีขนสาก เรียงซ้อนกันจำนวนมาก ดอก
วงนอกรูปรี ปลายกลีบแหลม สีเหลืองสด ดอกวงในสีน้ำตาลเข้ม เรียงซ้อนกันหลายชั้น เกสรเพศเมีย 1 เกสร
และเกสรเพศผู้ 5 เกสร
ผลทานตะวัน (หรือโดยทั่วไปเรียกว่า "เมล็ดทานตะวัน") ผลเป็นผลแห้งและมีจำนวนมากอยู่ตรงฐานดอก ผล
ขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ใกล้กับกึ่งกลางจะมีขนาดเล็ก ผลมีลักษณะเป็นรูปรีและแบนนูน ด้าน
หนึ่งมน อีกด้านหนึ่งแหลม ผลมีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร เปลือกหุ้มผลแข็ง เปลือกผลเป็นสีเทาเข้มหรือ
สีดำและเป็นลาย ภายในผลมีเมล็ดสีเหลืองอ่อนเพียง 1 เมล็ด ลักษณะรียาว
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ตัดดอก ผลหรือเมล็ดทานตะวันจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
ได้แก่ เมล็ดที่ใช้สกัดทำน้ำมัน (ผลเล็ก สีดำ เปลือกบาง), เมล็ดที่ใช้กิน (ผลใหญ่ เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อใน
เมล็ด) และเมล็ดที่ใช้สำหรับเลี้ยงนกหรือไก่
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
บัวหลวง
ชื่อสามัญไทย : บัวหลวง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : lotus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่ออื่น ๆ : บัว, บัวอุบล, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรชมพู, บัวฉัตรสีชมพู, บุณฑริก, ปุณฑริก, สัตตบงกช, สัตตบุษย์,
โช้ค
ตระกูล : Nelumbonaceae
ลักษณะ : พืชน้ำอายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน หรือเป็นไหลเหนือดินนำมารับประทานได้ เรียกว่า “ราก
บัว”
ใบ ใบเดี่ยวแตกจากข้อของลำต้น ใบรูปกลมใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น
สีเขียว มีนวลเคลือบทำให้ไม่เปียกน้ำ ก้านใบและก้านดอกกลมเรียวแข็งมีหนามเล็กๆ ชูขึ้นเหนือน้ำำ มีเส้นใยสี
ขาว
ดอก ดอกเดี่ยวออกจากข้อของเหง้าใต้ดิน ที่บริเวณซอกใบ กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 4-5 กลีบ กลีบดอก
จำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น สีขาว หรือสีชมพู เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก บางครั้งเปลี่ยนไปเป็นกลีบ
ดอกทำให้กลีบดอกซ้อนกันแน่น ฐานรองดอกบวมขยายใหญ่เรียกว่า “ฝักบัว”
ผล ผลกลุ่ม ประกอบด้วยผลย่อยจำนวนมาก เจริญอยู่ภายในฝักบัว ภายในผลย่อยมีเมล็ดขนาดใหญ่ ใบ
เลี้ยงหนานำมารับประทานได้ เรียกว่า “เม็ดบัว”
ลักษณะ ขนาด สี ของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ เช่น บัวพันธุ์ดอกสีชมพู (บัวแหลมชมพู) บัวหลวงพันธุ์
ดอกสีขาว (บัวแหลมขาว) บัวหลวงชมพูซ้อน (บัวฉัตรชมพู) บัวหลวงขาวซ้อน (บัวฉัตรขาว)
ประโยชน์ : ใช้ดอกบัวในการไหว้พระ เหง้าบัว ไหลบัว สายบัว กลีบดอกบัว เม็ดบัวสามารถนำมาใช้ปรุงเป็น
อาหารได้ทั้งคาวหวานหรือใช้เป็นสมุนไพร ใบบัวหลวงนำมาใช้สำหรับห่อข้าว
การขยายพันธุ์ : การแยกเหง้า การแยกไหล การแยกต้นอ่อนที่เกิดจากใบ การเพาะเมล็ด
อัญชัน
ชื่อสามัญไทย : อัญชัน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Blue Pea, Butterfly Pea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
ชื่ออื่น ๆ : แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ตระกูล : Fabaceae
ลักษณะ : ไม้เถา เลื้อยพันตามต้นไม้ต้นอื่น ลักษณะเถากลมเล็กเรียวยาว มีขนนุ่มปกคลุมอยู่
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ มีใบย่อย 3-5 คู่ ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปรี ปลายใบมน โคนเบี้ยว
ผิวและขอบใบเรียบ ใบบางมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ตามซอกใบคล้ายดอกถั่ว สีน้ำเงิน ฟ้าม่วงหรือขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ ขนาดไม่
เท่ากัน มีพันธุ์ดอกลาหรือดอกเดี่ยว และดอกซ้อน รูปทรงคล้ายฝาหอยเซลล์ กลีบคลุมรูปกลมปลายเว้าเป็น
แอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง
ผล เป็นฝักแบนโค้งงอเล็กน้อย ฝักยาวเหมือนฝักถั่วเขียว มีเมล็ดอยู่ข้างใน เมื่อแก่แตกได้
ประโยชน์ : นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวด
ผม ยาสระผม เป็นต้น นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย ใช้ทำสีย้อมได้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ชบา
ชื่อสามัญไทย : ชบา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Chinese rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus rosa-sinensis L.
ชื่ออื่น ๆ : ชบาขาว, ชุมบา (ปัตตานี); บา (ภาคใต้); ใหม่, ใหม่แดง (ภาคเหนือ)
ตระกูล : Malvaceae
ลักษณะ : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-4 ม. ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนเปลือกนั้นจะเหนียวมาก เป็นเมือกลื่น
ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 7-12 ซม. โคนใบมนหรือกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบ
หยักมนหรือ จักฟันเลื่อยหรือเว้าเป็น 3 พู แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 2-4 ซม. มีหูใบแบบ free
lateral stipule
ดอก ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียวถึงดอกซ้อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-15 ซม.
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ มีสีต่างๆ เช่น แดง ชมพู ส้ม ขาว เหลือง ปลายกลีบดอกมนและ
กลม ก้านเกสรเพศเมียและเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอดยาว โผล่พ้นกลีบดอก
ผล ผลเดี่ยวแบบ capsule สีน้ำตาล เมื่อแก่จะแห้งและแตกเป็น 5 แฉก
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ นำมาร้อยเป็นพวงมาลัย เปลือกของต้นชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือก นำ
มาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ ดอกสดใช้ขัดรองเท้าให้มัน
การขยายพันธุ์ : การปักชำ การเสียบยอด การติดตา เพาะเมล็ด
ทองกวาว
ชื่อสามัญไทย : ทองกวาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Flame of the Forest, Bastard Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่ออื่น ๆ : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาค
กลาง)
ตระกูล : FABACEAE
ลักษณะ : ต้นทองกวาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ศรี
ลังกา เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย และในแถบทางภาคตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้น
ขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 12-18 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา ลักษณะของการแตกกิ่งก้าน
จะเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนเปลือกต้นจะเป็นปุ่มปม
ใบทองกวาว ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกม
สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีความกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร มีความ
ยาวประมาณ 17 เซนติเมตร และขอบใบเรียบ
ดอกทองกวาว ออกดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกมีสีแดงส้มหรือแสด มีความยาวประมาณ 6-15
เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะกันเป็นกลุ่ม เมื่อดอกบานจะมีกลีบ 5 กลีบ
ผลทองกวาว ลักษณะของผลเป็นฝักแบน ฝักมีสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ ที่
ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน ฝักโค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ส่วนด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก ในฝักมีเมล็ดขนาดเล็ก
อยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักมีความยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
ประโยชน์ : ดอก ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า เปลือกของต้นทองกวาว ทำเชือกและกระดาษ เนื้อไม้ทองกวาวใช้ทำ
เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ

You might also like