You are on page 1of 33

118 Humanities Journal Vol.22, No.

1 (January-June 2015)

คำนำมประสมแบบเท่ำเทียมในภำษำไทย
Coordinate Compound Nouns in Thai

อลิษำ อินจันทร์
Alisa Injan
กิ่งกำญจน์ เทพกำญจนำ
Kingkarn Thepkanjana

บทคัดย่อ
บทความวิจยั นี้นาเสนอผลการวิเคราะห์คุณสมบัตทิ างวากยสัมพันธ์และ
อรรถศาสตร์ของคานามประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์
ปริ ช าน ผลการวิ จ ัย พบว่ า ค านามประสมแบบเท่ า เที ย มมี คุ ณ สมบัติ ท าง
วากยสัมพันธ์ คือ คาที่ประกอบขึน้ จากคาอิสระประเภทคานามจานวน 2 คา
แล้วยังคงประเภททางวากยสัมพันธ์เป็ นคานามดังคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบโดยทัง้ 2
หน่ วยคาต่างเป็ นหน่ วยหลักในทางอรรถศาสตร์ คานามประสมแบบเท่าเทียม
แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ คานามประสมแบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมาย
ไม่เชิงประกอบระดับสูงและความหมายไม่เชิงประกอบระดับต่ า ทัง้ นี้ คานาม


บทความนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “คาประสมแบบเท่าเทียมใน
ภาษาไทย”.

นิสติ ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ติดต่อได้ท:่ี kidsme87@gmail.com

รองศาสตราจารย์ประจ าภาควิช าภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ติดต่อได้ท:่ี thepkanjana@gmail.com
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 119

ประสมแบบเท่ าเทียมมีการขยายความหมายจากค าที่เป็ นองค์ประกอบโดย


กระบวนการนามนัย ข้อค้นพบในงานวิจยั นี้ได้แสดงความก้าวหน้าในการศึกษา
วิเคราะห์ ค านามประสมแบบเท่ าเทียมในภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์
ตลอดจนนาไปหาข้อสรุปทางแบบลักษณ์ภาษาได้อกี ด้วย
คาสาคัญ: คาประสมแบบเท่าเทียม; ภาษาศาสตร์ปริชาน;
ความหมายเชิงประกอบ; นามนัย; อุปลักษณ์นามนัย;
แบบลักษณ์ภาษา; วิทยาหน่วยคา

Abstract
This research article aims at analyzing syntactic and semantic
properties of coordinate compound nouns in Thai by using a cognitive
linguistics framework. It was found that syntactically coordinate compound
nouns are composed of two free morphemes functioning as heads.
Semantically, coordinate compound nouns are divided into two main groups
according to the degree of non-compositional meaning, namely, low non-
compositional meaning and high non-compositional meaning. Besides, the
meanings of coordinate compound nouns are extended by using
metonymy. This study makes a contribution to Thai language grammar and
its conclusion to language typology as well.
Keywords: coordinate compounds; cognitive linguistics;
compositional meaning; metonymy; etaphtonymy;
typology; morphology
120 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ความสาคัญของปัญหา
คาประสม (compound word) เป็ นประเด็นทางภาษาศาสตร์ทศ่ี กึ ษากัน
มานาน งานวิจยั ในเชิงแบบลักษณ์ภาษาส่วนใหญ่ให้คานิยามคาประสมทีต่ รงกัน
ว่า คาประสม คือ การนาหน่ วยคาอิสระจานวน 2 คาขึน้ ไปประกอบเข้าด้วยกัน
(Fabb, 1998: 66; Trask, 1999: 344; Stewart and Vaillette, 2001: 125-126)
ในการจัดประเภทของคาประสมพบว่า มีความหลากหลายในการจัดและยังคงเป็ น
ประเด็นถกเถียงกันอยู่ ในภาษาไทยมีคากลุ่มหนึ่งที่เกิดจากการรวมหน่ วยคา
อิสระจานวน 2 หน่ วยคาทีม่ คี วามหมายใกล้เคียงกันหรืออยู่ในวงความหมาย
เดียวกัน มีประเภททางวากยสัมพันธ์ของคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบชนิดเดียวกัน คา
ทีป่ ระกอบขึน้ มานัน้ ความหมายยังคงคล้ายคลึงกับความหมายประจาคาของคาที่
เป็ นองค์ประกอบ โดยค าหนึ่ งไม่ ได้ ท าหน้ า ที่ขยายอีก ค าหนึ่ งหรือ อาจเกิด
ความหมายทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับความหมายประจาคาของคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ ใน
ตาราภาษาไทยเรียกชื่อว่า "คาซ้อน" เป็ นการนิยามชื่อเรียกคาโดยใช้เกณฑ์ทาง
ความหมายซึง่ แท้จริงแล้วคือคาประสมประเภทหนึ่ง หากมองตามลักษณะความ
เป็ นสากล (universal) ภาษาส่วนใหญ่มหี ลักการตรงกันในเรื่องของลักษณะการ
ประกอบคาของคาดังกล่าวที่มคี ุณสมบัติสอดคล้องกับคาประสมประเภทหน่ วย
หลัก-หน่ วยหลัก ดังนัน้ ผู้วิจ ัยจึงสร้างค านิ ยาม "ค าซ้อน" ขึ้นใหม่ ตามหลัก
ไวยากรณ์ทเ่ี ป็ นทีเ่ ข้าใจตรงกันทัวโลกในขณะที
่ ร่ ายละเอียดเรื่องของความหมาย
หรืออรรถศาสตร์มกั แตกต่างกันตามการใช้ในแต่ละภาษา อีกทัง้ ยังตรงกับทัศนะ
ของอมรา ประสิทธิรั์ ฐสินธุ์ (2525: 20-29) ทีก่ ล่าวถึงคาประสมว่า หากถือหลักการ
ของการเป็ นหน่ วยคาอิสระ1 (free morpheme) หรือหน่ วยคาไม่อสิ ระ2 (bound
morpheme) คาซ้อ นและคาซ้า ควรจัด เป็ น คาประสมประเภทหนึ่ ง รวมถึง
Peansiri Vongvipanond (1992: 143) อ้างว่า คาซ้อนค่อนข้างมีโครงสร้างภายใน

1
หน่ วยคาอิสระ หมายถึง หน่ วยคาที่สามารถปรากฏตามลาพังโดยไม่ผูกพัน
กับหน่วยคาอื่น หน่วยคาชนิดนี้มกี พ่ี ยางค์กไ็ ด้ เช่น ไฟ รัง กระดาษ สะอาด เป็ นต้น.
2
หน่วยคาไม่อสิ ระ หมายถึง หน่วยคาทีป่ รากฏอิสระตามลาพังไม่ได้ ต้องใช้
ประกอบกับหน่วยคาอื่นเสมอ เช่น นัก การ ผู้ ชาว.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 121

ทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ กล่าวคือ องค์ประกอบทัง้ 2 คาต่างเป็ นคาหลัก ไม่มคี าใดเป็ น


คาขยาย ไม่สามารถถอดความ (paraphrase) ได้ ดังนัน้ ในงานวิจยั ชิน้ นี้จงึ ตัง้
นิยามคาซ้อนว่าเป็ น "คาประสมแบบเท่าเทียม" ตัวอย่างเช่น
1) หลุมบ่อ หมายถึง หลุมตืน้ ทีอ่ าจมีน้าขังหรือไม่กไ็ ด้
หลุม หมายถึง ดินขุดตื้น ไม่ลึกมาก การใช้ประโยชน์
ไม่ เกี่ยวกับ น้ า เช่ น เพื่อวางไข่ ฝ งั ศพ
หมักปุ๋ย
บ่อ หมายถึง ดิ น ขุ ด ลึ ก มาก การใช้ ป ระโยชน์ ม ั ก
เกี่ยวข้องกับน้ า เช่ น กักเก็บน้ า เลี้ยง
สัตว์น้าหรือสัตว์เลือ้ ยคลาน
หลุมบ่อ เป็ นคาประสมแบบเท่าเทียมทีป่ ระกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ
โดยมี หลุม เป็ นองค์ประกอบต้น บ่อ เป็ นองค์ประกอบท้าย โดยความหมายทีไ่ ด้
ยังคงเค้าความหมายของความหมายประจาคาอยู่บา้ ง จากตัวอย่างข้างต้นพบว่า
คาประสมแบบเท่าเทียมประกอบไปด้วยองค์ประกอบจานวน 2 หน่วยคาทีป่ ระกอบ
ขึน้ จากหน่ วยคาที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือมีความหมายแสดงลักษณะที่
คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ปรากฏหน่วยหลักหรือหน่วยขยายอย่างแน่ ชดั ต่างจากคา
ประสมกลุ่มแรกที่มีองค์ประกอบทัง้ หน่ วยหลักและหน่ วยขยาย พร้อมทัง้ คาที่
นามาประกอบกันไม่จาเป็ นต้องมีความหมายใกล้เคียงกันอีกด้วย
ในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มภี าษาจานวนหนึ่ง
ทีม่ ลี กั ษณะภาษาเป็ นภาษาคาโดด (isolating language) กล่าวคือ เป็ นคาทีม่ ี
ความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่มกี ารเปลีย่ นรูป ไม่มพี จน์ (number) ไม่มลี งิ ค์ (gender)
และไม่มกี ารเติมวิภตั ปิ จั จัย เช่น ภาษาจีน ภาษาทิเบต ภาษาพม่า ภาษาไทย
ภาษาเวียดนาม ฯลฯ กระบวนการสร้างคาจึงเกิดขึน้ โดยการนาหน่ วยคามาเรียง
ต่อกันหรือประสมกัน ดังนัน้ การสร้างคาแบบประสมจึงมีบทบาทและความสาคัญ
เป็ นอย่างมากต่อภาษาทีใ่ ช้คาโดด งานวิจยั ทีศ่ กึ ษาเกี่ยวกับการสร้างคาประสม
ในทางภาษาศาสตร์ ส่ ว นใหญ่ ไ ด้ แ ก่ การศึก ษาทางด้ านวากยสัม พัน ธ์ แ ละ
อรรถศาสตร์ ดังต่อไปนี้
122 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ในการศึกษาทางด้านวากยสัมพันธ์ทผี่ ่านมา Mortensen (2003: 4)


ศึกษาวิจยั เกี่ยวกับ คาประสมประเภทหนึ่งที่เรียกว่ า ค าประสมแบบเท่ าเทียม
(Coordinate Compound) ในภาษาม้ง เช่น ncauj 'mouth' + lu 'mouth' ประกอบ
กันเป็ น ncauj-lu 'mouth', qhuab 'exhort' + qha 'teach' ประกอบกันเป็ น qhuab-
qha 'instruct' จะเห็นได้ว่าความหมายของคาประสมแบบเท่าเทียมยังคงเค้า
ความหมายของคาที่เป็ นองค์ประกอบอยู่ Mortensen ด้กล่าวว่า คาประสมแบบ
เท่าเทียมในภาษาม้งไม่สามารถสลับตาแหน่ งขององค์ประกอบหรือเพิม่ จานวน
สมาชิกได้เหมือนภาษาอังกฤษ เช่น คาว่า Qab-npua 'chicken-pig; small
livestock' ไม่สามารถสลับเป็ น *npua-qab 'pig-chicken' หรือเพิม่ องค์ประกอบ
ใหม่เข้าไปในคา *qab-npua-nyuj 'chicken-pig-cow' ได้ ในประเด็นนี้ผวู้ จิ ยั พบว่า
การศึกษาคาประสมส่วนใหญ่ มกั เน้ นศึกษาเกี่ยวกับคานามประสมมากกว่าคา
ชนิดอื่นๆ และในส่วนของคาประสมแบบเท่าเทียมยังไม่มีผู้ใดนาเสนอผลการ
วิเคราะห์ทแ่ี สดงความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ของแต่ละองค์ประกอบอย่างละเอียด
ส่วนการศึกษาทางด้านอรรถศาสตร์ Mortensen (2003: 5) กล่าวว่า ใน
กรณีทแ่ี ต่ละองค์ประกอบมีความหมายคล้ายคลึงกัน ความหมายโดยรวมของคา
ประสมแบบเท่าเทียมอ้างถึงลักษณ์ท่แี ต่ ละองค์ประกอบมีร่วมกันหรืออาจกล่าว
ได้ว่าแต่ละองค์ประกอบเป็ นส่วนย่อยหรือตัวแทนของสิง่ ที่อา้ งถึงในความหมาย
โดยรวมของคาประสมแบบเท่าเทียมนัน้ เช่น lab 'monkey' + cuam 'gibbon' -->
lab-cuam 'simian' เมื่อนาคาว่าลิงกับชะนีมาประกอบกันแล้วนัน้ ความหมายของ
คาประสมแบบเท่าเทียม lab-cuam หมายถึงสัตว์ประเภทลิง, quaj 'cry' + nyav
'mourn' --> quaj-nyav 'lament' เมื่อนาร้องไห้และคร่าครวญมาประกอบกันแล้ว
ความหมายของคาประสมแบบเท่าเทียม quaj-nyav หมายถึง โศกเศร้าเสียใจ ซึง่
อาการร้องไห้และคร่าครวญเป็ นพฤติกรรมทีแ่ สดงให้เห็นถึงความเศร้าโศกเสียใจ
จะเห็นได้ว่าคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบมักเป็ นส่วนย่อย (subset) ของคาประสมแบบ
เท่าเทียม
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 123

นอกจากนัน้ ยังมีงานวิจยั ในทางแบบลักษณ์ภาษาโดย Arcodia, Grandi


and Wälchli (2010: 13) พบว่า แบบลักษณ์ภาษาของคาประสมแบบเท่าเทียมมี
2 รูปแบบ คือ hyperonymic coordinating compounds และ hyponymic
coordinating compounds โดยภาษาในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาพม่า ภาษาเขมร เป็ นต้น
แบบลักษณ์ ภาษาของคาประสมแบบเท่าเทียมที่พบในแถบนี้ อยู่ในรูปแบบที่
เรียกว่า hyperonymic coordinating compounds คือ คาประสมแบบเท่าเทียมที่
อ้างอิงความหมายในระดับที่สูงกว่าหรือความหมายจ่ากลุ่ม เช่น ในภาษาจีน
แมนดาริน คาว่า dao-qiang 'sword+spear, weapons' หรือ ภาษา Rural Tok Pisin
ทีใ่ ช้ในประเทศปาปวั นิวกินี คาว่า brata-susa 'brother+sister, siblings' จะเห็นว่า
ความหมายโดยรวมของคาประสมแบบเท่าเทียมเกิดจากหน่ วยประกอบร่วมที่
อ้างอิงถึงสิง่ เดียว สิง่ ทีเ่ ป็ นจ่ากลุ่มหรือลักษณ์บางอย่างทีท่ งั ้ 2 องค์ประกอบมี
ร่วมกัน ส่วนภาษาในแถบยุโรป เช่น ภาษาสเปน ภาษาฝรังเศส ่ ภาษาอังกฤษ
ภาษาเยอรมัน เป็ นต้น มีวธิ กี ารสร้างคาประสมแบบเท่าเทียมตามแบบลักษณ์
ภาษาทีเ่ รียกว่า hyponymic coordinating compounds คือ คาประสมแบบเท่า
เทียมทีอ่ า้ งอิงความหมายในระดับย่อย เช่น ในภาษาสเปน คาว่า lanza-espada
'spear+sword, a spear with a blade' แสดงว่าความหมายโดยรวมของคาประสม
แบบเท่าเทียมมาจากการอ้างองค์ประกอบของทัง้ สองส่วนรวมกัน
ในประเด็นดังกล่าว ผูว้ จิ ยั พบว่า ในส่วนของคาประสมแบบเท่าเทียมใน
ภาษาไทย ความหมายทีเ่ กิดขึน้ จากการประกอบกันของ 2 หน่ วยคา ไม่ได้เกิด
จากการรวมความหมายทัง้ 2 องค์ประกอบอย่างสมบูรณ์ (compositional meaning)
แต่ความหมายที่เกิดจากการประกอบคาของทัง้ 2 องค์ประกอบอาจมีความ
คลาดเคลื่อนหรือมีความหมายแปรเปลี่ยนไปจากความหมายประจาคา (non-
compositional meaning) ทาให้ผวู้ จิ ยั สนใจทีจ่ ะศึกษาคุณสมบัตทิ างความหมาย
โดยละเอียดเพื่อนาไปหาข้อสรุปทางแบบลักษณ์ต่อไป
124 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ถึงแม้ว่ามีงานวิจยั จานวนมากศึกษาเกีย่ วกับคานามประสมแบบเท่าเทียม


ในภาษาไทย ซึง่ ในด้านวากยสัมพันธ์มกั กล่าวถึงจานวนหน่ วยคาทีป่ ระกอบขึน้
เป็ นค าประสมแบบเท่ าเทียม ไม่ กล่ าวถึ งความสัม พันธ์ห รือคุ ณสมบัติของ
โครงสร้างคาทีน่ ามาประกอบกัน ส่วนในด้านอรรถศาสตร์มกั กล่าวถึงความหมาย
ของค านามประสมแบบเท่ า เที ย มที่ ถู ก แปรเปลี่ ย นไป ไม่ ศึ ก ษาลัก ษณะ
ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของคานามประสมแบบเท่าเทียมกับคาที่เป็ น
องค์ประกอบ เห็นได้ชดั ว่ายังไม่มงี านวิจยั ชิน้ ใดทีน่ าเสนอการวิเคราะห์คุณสมบัติ
ทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ในเชิงลึก ท าให้ผู้วิจยั สนใจในเรื่องคานาม
ประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยเกี่ยวกับคุณสมบัติทางไวยากรณ์ พร้อมทัง้
ศึกษาคุณสมบัตทิ างความหมายขององค์ประกอบของคานามประสมแบบเท่าเทียม

วัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัย
ในงานวิจยั เรื่องนี้ ผู้วิจยั ศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกเรื่องการสร้างคานาม
ประสมแบบเท่าเทียมใน 2 ประเด็นตามวัตถุประสงค์ต่อไปนี้ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์
คุณสมบัตทิ างวากยสัมพันธ์ของคานามประสมแบบเท่าเทียม และ 2) เพื่อวิเคราะห์
คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่ างความหมายของ
คานามประสมแบบเท่าเทียมกับความหมายประจาคาของคาที่เป็ นองค์ประกอบ
ทัง้ นี้เพื่อหารูปแบบหรือกฎเกณฑ์ทางด้านวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ว่าการ
ประกอบคานามประสมแบบเท่าเทียมนัน้ มีการสร้างคาอย่างเป็ นระบบระเบีย บ
พร้อ มทัง้ หาข้อ สรุป ทางแบบลัก ษณ์ว ่า ค านามประสมแบบเท่ าเทียมใน
ภาษาไทยปรากฏอยู่ ในแง่ ใดในแบบลักษณ์ ภาษา อิงตามกรอบทฤษฎี ทาง
ภาษาศาสตร์ปริชาน (cognitive linguistics) ในเรื่องของอุปลักษณ์ (metaphor)
นามนัย (metonymy) และความหมายไม่เชิงประกอบ 3 (non-compositional
3
ความหมายเชิงประกอบ (Compositional Semantics) หมายถึง ความหมาย
ที่เกิดจากการรวมความหมายของแต่ละองค์ประกอบเข้าไว้ด้วยกัน เช่น "ผู้หญิงสูง"
ความหมายได้มาจากหน่ วยคา "ผูห้ ญิง" กับ "สูง" ก่อให้เกิดความหมายของวลีน้ีขน้ึ มา
โดยที่ "สูง" แสดงถึงลักษณะรูปร่างของคนทีเ่ ป็ น "ผูห้ ญิง” ในวลีดงั กล่าว.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 125

semantics) ซึ่งการศึกษาในลักษณะนี้ยงั ไม่เคยมีงานวิจยั ใดศึกษามาก่อน


รายการค าที่ ใ ช้ ใ นการศึ ก ษารวบรวมจากพจนานุ ก รมราชบัณ ฑิต ยสถาน
พ.ศ.2542 และศึกษาเพิม่ เติมจากโปรแกรม Thai National Corpus ซึ่งเป็ น
โปรแกรมค้นหาคา วลี รวมถึงบริบทในสถานการณ์ต่างๆ จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
โดยสามารถใช้โปรแกรมผ่านทางเว็บไซต์ของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.arts.chula.ac.th/ling) เพื่อช่วยในการ
ตีความหมาย แปลและเปรียบเทียบความหมาย คานามประสมแบบเท่าเทียมกับ
องค์ประกอบแต่ ละหน่ วยในแต่ละบริบท รวมถึงการสอบถามผู้บอกภาษาที่ใช้
ภาษาไทยเป็ นภาษาแม่จานวน 5 คน ช่วงอายุ 20-30 ปี โดยศึกษาเฉพาะคานาม
ประสมแบบเท่าเทียมสองพยางค์ท่เี ป็ นการประกอบคาเพื่อความหมาย4 ไม่นับ
รวมคาทีป่ รากฏการใช้ในงานวรรณคดีประเภทโคลง กาพย์ กลอนทีส่ ลับลาดับคา
เพื่อให้เกิดความไพเราะ

คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ของคานามประสมแบบเท่าเทียม
ในส่วนนี้ผู้วิจยั เสนอผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ของ
คานามประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยและรวบรวมจานวนคานามประสมแบบ
เท่าเทียมในตอนท้าย
คาประสมแบบเท่าเทียม หมายถึง คาที่เกิดจากการนาหน่ วยคาอิสระ
ตัง้ แต่ 2 หน่ วยคาขึน้ ไปมาประกอบกัน โดยทีม่ คี ุณสมบัตทิ างวากยสัมพันธ์และ
อรรถศาสตร์ ดังนี้ 1) หน่วยคาอิสระต้องจัดเป็ นประเภทของคาชนิดเดียวกัน เมื่อ

4
นอกจากการประกอบคาเพื่อความหมายแล้ว ยังมีการประกอบคาเพื่อเสียง
ซึ่งเกิดจากการนาค าพยางค์เดียวที่ม ีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน เสียงพยัญชนะ
ตัวสะกดเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ แต่ประสมด้วยเสียงสระที่ต่างกัน เช่น ดุกดิก เกะกะ
กริง๊ กร๊าง เป็ นต้น (สุนันท์ อัญชลีนุกูล, 2546: 37) แต่ในงานวิจยั ฉบับนี้ไม่จดั เป็ นคา
ประสมแบบเท่ า เที ย มเนื่ อ งจากมีป จั จัย เรื่อ งเสีย งเข้ ามาเกี่ ยวข้อ ง โดยค าที่เ ป็ น
องค์ประกอบไม่มคี วามหมายใดจึงอยูน่ อกเหนือขอบเขตการวิจยั .
126 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ประกอบกัน แล้ ว จัด เป็ น ประเภทของค าชนิ ด เดี ย วกัน กับ องค์ ป ระกอบ 2)
องค์ประกอบต้องมีความหมายคล้ายกันหรือตรงข้ามกัน และ 3) คาประสมแบบ
เท่าเทียมจะมีความหมายได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 3.1) ความหมายคล้ายคลึงกับ
ความหมายประจาคาขององค์ประกอบ เช่น มีด-พร้า ทัง้ สององค์ประกอบเป็ น
ค านาม หมายถึงเครื่องมือท ามาจากเหล็ก ใช้ส าหรับฟ นั ผ่ า จัก เหลา เมื่อ
ประกอบกัน แล้ ว ยัง คงเป็ น ค านาม หมายถึ ง ของมีคมขนาดใหญ่ และ 3.2)
ความหมายที่ไม่ตรงกับความหมายประจาคาขององค์ประกอบ เช่น ขุด-คุ้ย ทัง้
สององค์ประกอบเป็ นคากริยา ขุด หมายถึง กิรยิ าทีส่ บั เจาะ แทงเอาสิง่ ที่อยู่ใน
ดินขึ้นมาโดยใช้อุปกรณ์ ส่วน คุ้ย หมายถึง กิริยาที่ใช้มือ เท้าหรือสิง่ อื่นตะกุย
ของขึน้ มา เมื่อประกอบกันแล้วยังคงเป็ นคากริยา แต่หมายถึง พยายามหาข้อมูล
เชิงลึกของคนบางคน จะเห็นได้ว่ าความหมายโดยรวมของค าว่ า ขุดคุ้ย ไม่
เกีย่ วข้องกับความหมายประจาคาของ ขุด และ คุย้ เลย ซึง่ ในบทความนี้นาเสนอ
เฉพาะคาประสมแบบเท่าเทียม 2 หน่วยคาในหมวดหมู่คานามโดยทีอ่ งค์ประกอบ
มีความหมายคล้ายคลึงกัน
คานามประสมแบบเท่าเทียมสามารถพบได้ทวไปในหลายภาษาแถบ
ั่
ทวีปเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ภาษาญีป่ นุ่ ภาษาแมนดาริน
ภาษาเวียดนาม ภาษาม้งขาว ภาษาทิเบตัน ภาษาพม่า ภาษาไทย ภาษาเขมร
ภาษาคัลคา (Khalkha) ซึง่ เป็ นภาษามาตรฐานของชาวมองโกเลีย เป็ นต้น ต่างจาก
แถบยุโรปกลางทีพ่ บการใช้คาประสมประเภทนี้เพียงร้อยละ 2 อ้างโดย Wälchli
(2005: 9) แม้ว่าทางแถบยุโรปกลาง คาประสมแบบเท่าเทียมยังไม่ปรากฏมากนัก
แต่คุณสมบัตหิ ลักของการสร้างคาประสมแบบเท่าเทียม คือ การนาหน่ วยคา 2
หน่ วยคาที่มปี ระเภททางไวยากรณ์เดียวกันและมีความหมายร่วมกันมารวมไว้
ด้วยกัน เช่น
ภาษาอังกฤษ
[singer]N [actor]N > [singer actor]N
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 127

ภาษาอิตาลี
[studente]N [lavoratore]N > [studente lavoratore]N
'student + worker, student worker'
ภาษาฝรังเศส

[chanteur]N [auteur]N > [chanteur auteur]N
'singer + author, singer author'
(Arcodia, Grandi and Wälchli, 2010: 12)
เช่นเดียวกับภาษาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีคาประสมแบบ
เท่า เทีย มต้องเกิดจากสององค์ประกอบที่มีประเภททางไวยากรณ์ เดียวกัน มี
ความหมายคล้ายคลึงกัน ประกอบกันแล้วมีประเภททางไวยากรณ์เดียวกับคาที่
เป็ นองค์ประกอบ เช่น
ภาษาม้ง
[qab]N [npua]N > [qab npua]N
'chicken + pig, small livestock'
(Mortensen, 2003: 3)
ภาษาเวียดนาม
[bàn]N [ghê]N > [bàn ghê]N
'table + chair, furniture'
ภาษาเขมร
[tok]N [tuu]N > [tok tuu]N
'table + closet, furniture'
(Arcodia, Grandi and Wälchli, 2010: 10)
นอกเหนื อจากนัน้ ตัวอย่ างค าในภาษาต่ างๆ เหล่ านี้ แทรกค าเชื่อม
“และ” ไม่ได้เพราะจะทาให้คากลายเป็ นวลี เช่น ภาษาเวีย ดนาม bàn ghê 
'furniture' ไม่เท่ากับ bàn và ghê 'table and chair' รวมถึงสลับตาแหน่ งและ
แทรกค าเนื้ อ หาไม่ ได้ เพราะจะท าให้ ผิดรู ปความหมายและไวยากรณ์ เช่ น
128 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ภาษาจีน che# ma( 'traffic' สลับตําแหน่งเป็ น *ma( che# ไม่ได้เพราะความหมาย


จะแปรเปลีย่ นไป หรือ ภาษาม้ง qab npua 'small livestock' เพิม่ คําเนื้อหา
ระหว่างองค์ประกอบ *qab nyuj npua 'chicken-cow-pig' ไม่ได้ ในขณะที่
Vongvipanond (1992: 143) อ้างว่า คําประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยเกิด
จากคําเนื้อหาสองคําทีม่ ปี ระเภททางไวยากรณ์เดียวกันมาประกอบกัน ซึง่ ทัง้ สอง
หน่ วยคําไม่ใช่หน่ วยหลักและหน่ วยขยายของกันและกัน อีกทัง้ แทรกคําเชื่อม
ไม่ได้ เช่น ครอบครอง หมายถึง เป็ นเจ้าของ ในขณะที่ ?5 ครอบและครอง หมายถึง
ประสิท ธิว์ ิช าและดํ า รงรัก ษาไว้ จะเห็น ได้ ว่ า ความหมายผิด เพี้ย นไปจาก
ครอบครอง
จากการศึกษาคําประสมแบบเท่าเทียมในเชิงแบบลักษณ์ภาษา พบว่า
ส่วนใหญ่ ม ีคุ ณสมบัติหลักที่ใช้เป็ นกฎเกณฑ์พ้นื ฐานเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็ น
ภาษาแถบยุโรปกลางหรือแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นัน่
คือ คํานามประสมแบบเท่าเทียมเกิดจากการประกอบคําอิสระที่มปี ระเภททาง
วากยสัมพันธ์เหมือนกัน เมื่อประกอบกันแล้วยังคงประเภททางวากยสัมพันธ์
เดียวกันกับคําทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ เช่น ขวาก (น.) + หนาม (น.) = ขวากหนาม
(น.) เมือ่ ศึกษาคําประสมแบบเท่าเทียมเฉพาะกลุ่มภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และภาษาไทยพบข้อสังเกตทีน่ ่าสนใจ ดังต่อไปนี้
2) ถ้วยชาม หมายถึง ภาชนะสํ า หรับ ใส่ อ าหาร เสมื อ น 1
หน่ วยคํ า หากแทรกคํ า ไวยากรณ์
ระหว่างกลาง “ถ้วยและชาม” จะหมายถึง
ถ้วยจํานวนหนึ่งกับชามอีกจํานวนหนึ่ง
ก่อเกิดเป็ น 2 หน่วยคํา

5
สัญลักษณ์ ? หมายถึง คําทีอ่ าจเป็ นทีย่ อมรับในภาษาในสถานการณ์ท่ี
เหมาะสมและหมายถึงคําทีผ่ พู้ ดู บางคนยอมรับแต่กม็ ผี พู้ ดู บางคนไม่ยอมรับ.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 129

3) โต๊ะตู้ หมายถึง โต๊ะกับตู้ เสมือน 2 หน่ วยคา หากแทรก


คาไวยากรณ์ระหว่างกลาง “โต๊ ะ และตู้ ”
ยังคงความหมายเดิม คือ โต๊ ะ จ านวน
หนึ่งกับตูอ้ กี จานวนหนึ่งเป็ น 2 หน่วยคา
ดังเดิม
จากตัวอย่าง 2 ซึง่ เป็ นคานามประสมแบบเท่าเทียมพบว่า ถึงแม้จะเกิด
จากคาอิสระ 2 คามาประกอบกันแต่มคี วามเป็ น 1 หน่ วยคาสูงกว่าตัวอย่าง 3 ซึง่
นาคาทัวไปที
่ ม่ ปี ระเภททางไวยากรณ์เหมือนกันมาประสมกันแต่ไร้ซง่ึ คุณสมบัติ
ของการยึดเกาะ กล่าวคือ องค์ประกอบของคาประสมแบบเท่าเทียมนัน้ มีการ
ปรากฏร่วมกันในระดับสูง มีแนวโน้มทีจ่ ะกลายเป็ น 1 หน่วยคา โดยทีแ่ ทรกคา
ระหว่ า งกลางไม่ ไ ด้เ พราะจะท าให้ ค วามหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม ดัง นั น้
คุณสมบัตขิ องคาประสมแบบเท่าเทียมทีเ่ พิม่ เติมจากคุณสมบัตหิ ลัก ได้แก่
1. คาประสมแบบเท่าเทียมเพิม่ หรือแทรกคาเนื้อหา (content words)
ระหว่างองค์ประกอบไม่ได้ เช่น *ขวากเสี้ยนหนาม, *ขุดเขียคุ
่ ย้ เป็ นต้น
2. คาประสมแบบเท่ าเทียมเพิ่มหรือแทรกค าไวยากรณ์ (functional
words) ระหว่างองค์ประกอบไม่ได้ ทาให้ความหมายต่างไปจากเดิม เช่น *ขวาก
และหนาม, *ขุดหรือคุย้ เป็ นต้น
3. คาประสมแบบเท่าเทียมสลับตาแหน่งไม่ได้ ทาให้ผดิ รูปความหมาย
กล่ าวคือ ความหมายเปลี่ยนไปหรืออาจไม่ ส่ือความใดๆ เช่ น ขวากหนาม,
'อุปสรรค' สลับเป็ น *หนามขวาก ไม่ได้เพราะไม่ส่อื ความใดๆ หรือหากสลับแล้ว
ความหมายถูกเปลีย่ นแปลงไป เช่น นอนหลับ, 'อาการนอนพักผ่อน' ในขณะที่
หลับนอน, 'มีเพศสัมพันธ์'
วิธกี ารทดสอบ คือ นารายการคาทีเ่ ข้าข่ายคุณสมบัตหิ ลักมาวิเคราะห์
ว่าผ่านเกณฑ์ท่กี าหนดทุกข้อหรือไม่ โดยสร้างตารางคุณสมบัติคาประสมแบบ
เท่าเทียมขึน้ มา ดังตัวอย่างในตาราง
130 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างผลการทดสอบสมาชิกต้นแบบ (Prototypical member)


ของคาประสมแบบเท่าเทียม
รายการ เกณฑ์ขอ้ ที่ 1 เกณฑ์ขอ้ ที่ 2 เกณฑ์ขอ้ ที่ 3 เกณฑ์ขอ้ ที่ 4
คา แสดงประเภท ไม่แทรกคา ไม่แทรกคา สลับตาแหน่ง
คาไวยากรณ์ เนื้อหาระหว่าง ไวยากรณ์ ไม่ได้
เดียวกัน องค์ประกอบ ระหว่าง
องค์ประกอบ
เยือ่ ใย เยื่อ (น.) + *เยื่อเส้นใย *เยื่อและใย *6 ใยเยื่อ
ใย (น.) *เยื่อหรือใย
= เยื่อใย (น.)
ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างของคาประสมแบบเท่าเทียมทีผ่ ่านเกณฑ์ครบ
ทุกข้อ อาทิ เยือ่ ใย พบว่าผ่านเกณฑ์ 1) คาประสมแบบเท่าเทียมยังคงมีประเภท
ทางวากยสัมพันธ์เดียวกันกับคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ กล่าวคือ ทัง้ คาว่า เยือ่ และ
ใย ต่างเป็ นคานาม เมื่อนามาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว เยือ่ ใย ยังคงเป็ นคานาม
อีกทัง้ ยังมีคุณสมบัตขิ องการยึดเกาะในระดับสูงสังเกตได้จาก ผ่านเกณฑ์ 2) เพิม่
หรือแทรกคาเนื้อหา (content words) ระหว่างองค์ประกอบไม่ได้ ในตัวอย่าง เยือ่
ใย เมื่อแทรกคานาม เส้น ระหว่างองค์ประกอบทาให้ผดิ ความหมาย จึงแทรกคา
เนื้อหาใดๆ ลงไปไม่ได้ในคาประสมแบบเท่าเทียม และ เกณฑ์ 3) เพิม่ หรือแทรก
คาไวยากรณ์ (functional words) ระหว่างองค์ประกอบไม่ได้ จะเห็นได้ว่า เยือ่ ใย
เมื่อแทรกคาไวยากรณ์ และ, หรือ ระหว่างองค์ประกอบความหมายของ เยือ่ ใย
จะเปลีย่ นไป จาก เยือ่ ใย ทีห่ มายถึง ความผูกพัน กลับกลายความหมายเป็ น เส้น
เยื่อและ/หรือเส้นใย ซึง่ ไม่พบบริบทการใช้ *เยื่อและใย, *เยื่อหรือใย ในคลังข้อมูล
ภาษาด้วย ดังนัน้ คาประสมแบบเท่าเทียมจะแทรกคาไวยากรณ์ไม่ได้ ท้ายทีส่ ุด
ยังผ่านเกณฑ์ 4) สลับตาแหน่ งไม่ได้ ผิดรูปความหมาย ดังจะเห็นได้จาก เยือ่ ใย

6
สัญลักษณ์ * หมายถึง คาทีไ่ ม่เป็ นทีย่ อมรับในภาษา.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 131

หมายถึง ความผูกพัน หากสลับตาแหน่งเป็ น *ใยเยื่อ ไม่ได้ก่อให้เกิดความหมาย


ใด จึงสลับตาแหน่งไม่ได้
ในทางตรงกันข้ามยังมีคาทีม่ คี วามหมายใกล้เคียงกันมาประกอบกันแต่
ไม่ถอื ว่าเป็ นคาประสมแบบเท่าเทียม เนื่องมาจากมีคุณสมบัตขิ องการยึดเกาะใน
ระดับต่ า กล่าวคือ คานัน้ แทรกคาเนื้อหาหรือคาไวยากรณ์ ระหว่างคาได้ สลับ
ตาแหน่ งได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนไป จึงทาให้ไม่ผ่านเกณฑ์คุณ สมบัติทาง
วากยสัมพันธ์ครบทุกข้อ ดังแสดงให้เห็นในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2 แสดงตัวอย่างผลการทดสอบรายการคาทีไ่ ม่นับเป็ นคาประสมแบบ
เท่าเทียม
รายการ เกณฑ์ขอ้ ที่ 1 เกณฑ์ขอ้ ที่ 2 เกณฑ์ขอ้ ที่ 3 เกณฑ์ขอ้ ที่ 4
คา แสดงประเภท ไม่แทรกคา ไม่แทรกคา สลับตาแหน่ง
คาไวยากรณ์ เนื้อหาระหว่าง ไวยากรณ์ ไม่ได้
เดียวกัน องค์ประกอบ ระหว่าง
องค์ประกอบ
โต๊ะตู้ โต๊ะ (น.) + โต๊ะเตียงตู้ โต๊ะและตู้ ตูโ้ ต๊ะ
ตู้ (น.) โต๊ะหรือตู้
= โต๊ะตู้ (น.)
ตารางที่ 2 แสดงตัวอย่างของคาที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติคาประสม
แบบเท่าเทียม อาทิ โต๊ะตู้ พบว่าผ่านเกณฑ์ 1) คาประสมแบบเท่าเทียมยังคงมี
ประเภททางวากยสัมพันธ์เดียวกันกับคาที่เป็ นองค์ประกอบ กล่าวคือ ทัง้ คาว่า
โต๊ะ และ ตู้ ต่างเป็ นคานาม เมื่อนามาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว โต๊ะตู้ ยังคงเป็ น
คานาม อย่างไรก็ตาม คาว่า โต๊ะตู้ ไม่มคี ุณสมบัติของการยึดเกาะในระดับสูง
สังเกตได้จากไม่ผ่านเกณฑ์ 2) เพราะเพิม่ หรือแทรกคาเนื้อหา (content words)
ระหว่ างองค์ประกอบได้ ในตัวอย่ าง โต๊ ะตู้ เมื่อแทรกค านาม เตียง ระหว่ าง
องค์ประกอบยังคงปรากฏภาพความหมายของโต๊ะ ตู้ แต่มเี ตียงเพิม่ เติมเข้ามาใน
มโนภาพ โดยทีค่ วามหมายของโต๊ะตูไ้ ม่ได้เปลีย่ นแปลงไป นอกจากนัน้ ยังไม่ผ่าน
132 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

เกณฑ์ 3) เพราะเพิ่มหรือแทรกคาไวยากรณ์ (functional words) ระหว่า ง


องค์ประกอบได้ จะเห็นได้ว่า โต๊ะตู้ หมายถึง โต๊ะกับตู้ เสมือน 2 หน่ วยคา เมื่อ
แทรกคาไวยากรณ์ และ, หรือ ระหว่างองค์ประกอบความหมายของ โต๊ะตู้ ยังคง
เดิม นัน่ คือ โต๊ะกับตู้ ก่อเกิดเป็ น 2 หน่ วยคาเช่นเดียวกัน และ ไม่ผ่านเกณฑ์ 4)
เนื่องจากสลับตาแหน่งได้ ความหมายไม่เปลีย่ น ดังจะเห็นได้จาก โต๊ะตู้ หากสลับ
ตาแหน่งเป็ น ตูโ้ ต๊ะ ไม่ได้ทาให้ความหมายเปลีย่ นไป จึงสลับตาแหน่งได้
ถึงแม้ว่าตัวอย่างในตารางที่ 2 คาว่า โต๊ะตู้ ผ่านเกณฑ์ขอ้ ที่ 1 ว่าด้วย
คาประสมแบบเท่าเทียมยังคงมีประเภททางวากยสัมพันธ์เดียวกันกับคาที่เป็ น
องค์ประกอบ แต่ เนื่ องจากขาดคุ ณสมบัติการยึดเกาะ แทรกคาเนื้อหาและค า
ไวยากรณ์ได้โดยความหมายไม่เปลีย่ นแปลงไปจากเดิม อีกทัง้ ยังสลับตาแหน่ ง
โดยไม่ผดิ รูปความหมาย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคาเหล่านี้ไม่ใช่คาประสม
แบบเท่าเทียม
ตามเกณฑ์ทก่ี ล่าวในขัน้ ต้นจึงสรุปคุณสมบัตทิ างไวยากรณ์ของคานาม
ประสมแบบเท่าเทียมได้ว่า คานามประสมแบบเท่าเทียมเกิดจากหน่ วยคาอิสระ
จานวน 2 หน่ วยคาที่มคี วามหมายคล้ายคลึงมาประกอบกันแล้วยังคงประเภท
ทางวากยสัมพันธ์เดียวกันกับคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ เพิม่ หรือแทรกคาไวยากรณ์
และคาเนื้อหาไม่ได้ นอกจากนัน้ ยังสลับตาแหน่ งคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบไม่ได้ จาก
การทดสอบรายการคาพบคานามประสมแบบเท่าเทียมทีผ่ ่านเกณฑ์จานวนทัง้ สิน้
56 คา ดังต่อไปนี้
กลิน่ อาย จิตใจ ลู่ทาง ซากศพ หนทาง
เหตุการณ์ เสีย้ นหนาม ขวากหนาม ร่องรอย ต้นตอ
เยื่อใย เส้นสาย หุบเหว ช่องทาง เจ้านาย
ถ้อยคา เนื้อตัว บาดแผล แบบอย่าง หมู่เหล่า
เพื่อนเกลอ ปา่ ดง ภูเขา แบบแผน เรีย่ วแรง
ฤทธิเดช
์ หยูกยา ลวดลาย ค่าคืน ริว้ รอย
ขัน้ ตอน โครงร่าง ครัง้ คราว หมวดหมู่ ตัวตน
โคลนตม ต้นเค้า เส้นทาง แมกไม้ เหงื่อไคล
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 133

ผีสาง หลุมบ่อ เยีย่ งอย่าง บ้านเรือน ถ้วยชา


มีดพร้า ไร่นา ห้างร้าน ถิน่ ฐาน เขตแดน
ข้าทาส กฎเกณฑ์ เครือญาติ พรรคพวก เวทมนตร์
ร่างกาย

คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคานามประสมแบบเท่าเทียม
ในประเด็นทางอรรถศาสตร์ คาประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยมี
ระดับความหมายไม่เชิงประกอบมากน้ อยต่ างกัน ผู้วิจยั จึงนาเสนอวิธีการหา
ระดับ ของค านามประสมแบบเท่ า เทีย มความหมายไม่ เ ชิง ประกอบ (non-
compositional meaning) แล้วเสนอผลการวิเคราะห์คุณสมบัตทิ างอรรถศาสตร์ใน
เรื่องการขยายความหมายโดยกระบวนการนามนัยเป็ นลาดับสุดท้าย
ในทางอรรถศาสตร์พบว่ า ค าประสมแบบเท่ าเทียมเกิดจากการน า
หน่ วยคาอิสระ 2 หน่ วยคาที่มคี วามหมายคล้ายกันมาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว
ก่อให้เกิดความหมายได้ 2 ลักษณะ คือ ความหมายทีค่ ล้ายคลึงกับความหมาย
ประจาคาขององค์ประกอบ เช่น ถ้วยชาม หลุมบ่อ เป็ นต้น รวมไปถึงความหมาย
ทีไ่ ม่ตรงกับความหมายประจาคาขององค์ประกอบ เช่น ขวากหนาม เยื่อใย เป็ นต้น
เมื่อวิเคราะห์ตามแนวทางของภาษาศาสตร์พบว่าคานามประสมแบบเท่าเทียมมี
ความหมายไม่เชิงประกอบ (non-compositional meaning) ในระดับมากน้อย
ต่างกัน ทัง้ นี้ Pagin and Westerståhl (2008: 1) กล่าวว่า ความหมายเชิงประกอบ
คือ ความหมายที่เกิดจากการรวมความหมายของแต่ ละองค์ประกอบเข้าไว้
ด้วยกัน เช่น singer actor หมายถึง คนทีเ่ ป็ นทัง้ นักร้องและนักแสดง ความหมาย
เกิดขึ้นจากการรวมความหมายขององค์ประกอบต้น singer 'นัก ร้อ ง' และ
องค์ประกอบท้าย actor 'นักแสดง' เข้าไว้ดว้ ยกันแล้วความหมายไม่เปลีย่ นแปลง
จากหน่ วยค าที่เป็ นองค์ประกอบ ในขณะที่ความหมายไม่ เชิงประกอบ (non-
compositional meaning) คือ ความหมายทีไ่ ม่สามารถคาดเดาได้จากความหมาย
ประจ าค าขององค์ ป ระกอบเพราะไม่ ไ ด้ เ กิ ด จากการรวมความหมายของ
องค์ประกอบ เช่น pet peeve หมายถึง เสียงบ่น จะเห็นได้ว่าความหมายแตกต่าง
134 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ออกไปจากความหมายประจาคาขององค์ประกอบต้น pet 'สัตว์เลี้ยง' และ


องค์ประกอบท้าย peeve 'สิง่ ทีน่ ่าเบื่อ' ซึง่ วิธกี ารวิเคราะห์ความหมายของรายการ
คานามประสมแบบเท่าเทียมมีขนั ้ ตอนดังต่อไปนี้
1. นารายการคานามทัง้ หมดจานวน 56 คาทีผ่ ่านเกณฑ์คุณสมบัตทิ าง
วากยสัมพันธ์มาวิเคราะห์ความหมายโดยการสุ่มบริบทที่ปรากฏในคลังข้อมูล
ภาษา (TNC) จานวน 10 ตัวอย่างประโยคต่อ 1 คา
2. คานวณความถี่ของอัตราการเกิดคานามประสมแบบเท่าเทียมที่มี
ความหมายไม่เชิงประกอบว่าอยู่ในระดับใด ผูว้ จิ ยั กาหนดเกณฑ์ไว้ดงั ต่อไปนี้
2.1 หากพบว่ าความหมายของค าประสมแบบเท่ าเทียมยังคงมี
ความหมายคล้ายคลึ งหรือใกล้เคียงกับความหมายประจ าค าของค าที่เป็ น
องค์ประกอบในแต่ ละตัวอย่ างประโยคเกิน 5 ประโยคจากจ านวนทัง้ สิ้น 10
ประโยค จะจัดเป็ นคาประสมแบบเท่าเทียมความหมายไม่เชิงประกอบระดับต่า
2.2 หากผลการวิเคราะห์ตวั อย่างประโยคพบว่าความหมายของคา
ประสมแบบเท่าเทียม มีทงั ้ ความหมายที่ใกล้เคียงกับคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบและ
ความหมายไม่ ต รงกับ ความหมายประจ าค าของค าที่เ ป็ น องค์ ป ระกอบใน
อัตราส่วนเท่ากันอย่างละ 5 ประโยค จากจานวนทัง้ สิน้ 10 ประโยค จะจัดเป็ นคา
ประสมแบบเท่าเทียมในความหมายไม่เชิงประกอบระดับกลาง
2.3 หากพบว่ า ความหมายของค าประสมแบบเท่ า เที ย มมี
ความหมายไม่ ตรงกับความหมายประจาค าของคาที่เป็ นองค์ประกอบเกิน 5
ประโยคจากจานวนทัง้ สิน้ 10 ประโยค จะจัดเป็ นคาประสมแบบเท่าเทียมใน
ความหมายไม่เชิงประกอบระดับสูง
จากการวิเคราะห์ความถี่การปรากฏของความหมายของคานามประสม
แบบเท่าเทียมแต่ละคาตามขัน้ ตอนดังกล่าว พบระดับคานามประสมแบบเท่าเทียม
ทัง้ หมด 2 ระดับ ได้แก่
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 135

1) ความหมายไม่เชิงประกอบระดับตา่ (low non-compositional


meaning) กล่าวคือ คาประสมแบบเท่าเทียมทีค่ วามหมายเกิดจาก
การรวมความหมายขององค์ประกอบต้นและองค์ประกอบท้าย โดย
ทีค่ วามหมายไม่ถูกเปลีย่ นแปลงไปมากนักจากความหมายดัง้ เดิม
ขององค์ประกอบทัง้ สอง พบจานวน 45 คา ได้แก่
จิตใจ ซากศพ เจ้านาย ถ้อยคา เนื้อตัว
แบบอย่าง หมู่เหล่า เพือ่ นเกลอ ปา่ ดง พรรคพวก
ภูเขา แบบแผน เหตุการณ์ หยูกยา คา่ คืน
ขัน้ ตอน ครัง้ คราว หมวดหมู่ ตัวตน ต้นเค้า
แมกไม้ เหงือ่ ไคล ผีสาง เยีย่ งอย่าง บ้านเรือน
ถ้วยชาม มีดพร้า ไร่นา ห้างร้าน ถิน่ ฐาน
เขตแดน ฤทธิเ์ ดช เวทมนตร์ ร่างกาย ข้าทาส
กฎเกณฑ์ เครือญาติ บาดแผล เรีย่ วแรง ริ้วรอย
เส้นทาง หลุมบ่อ โครงร่าง โคลนตม ลวดลาย
เมื่อนาคานามประสมแบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมายไม่เชิงประกอบระดับ
ต่ามาวิเคราะห์ในเรื่องของความหมาย จะเห็นได้ว่าความหมายของคานามประสม
แบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมายไม่เชิงประกอบระดับต่ า จานวน 45 คา ยังคงเค้า
ความหมายของความหมายประจ าค าขององค์ประกอบอยู่ แต่ ไม่ ได้เกิดจาก
ผลรวมขององค์ประกอบอย่างสมบูรณ์ มักใช้เรียกแทนคาจ่ากลุ่มทีอ่ ยู่ในแวดวง
เดียวกัน ดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างคานามประสมแบบเท่าเทียมที่มีความหมายไม่เชิง
ประกอบระดับต่า
136 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ลาดับ ความหมาย ความหมาย ความหมาย ตัวอย่างประโยคจาก


ประจาคา ประจาคา คาประสมแบบ คลังข้อมูลภาษา
องค์ประกอบต้น องค์ประกอบท้าย เท่าเทียม TNC
1 ถ้วย = ภาชนะ ชาม = ภาชนะรูป ถ้วยชาม = การล้าง ถ้วยชาม ใช้
ก้นลึก มีรปู ต่างๆ คลุ่มๆ ชนิดหนึ่ง ภาชนะใส่อาหาร กระดาษเช็ ด คราบ
สาหรับใส่น้าหรือ สาหรับใส่อาหาร ต่างๆ หมาย สกปรกออกก่อน แล้ว
ของบริโภค เช่น ทีม่ ปี ริมาณมาก รวมถึงจานด้วย ล้างพร้อมกันในอ่ าง
ถ้วยน้าร้อน ถ้วย น้า
น้าพริก เหมาะ
สาหรับบรรจุ
เครื่องดื่ม
2 มีด = เครื่องใช้ พร้า = มีด มีดพร้า = มีด ผั ว จอมโหดใช้ มี ด
สาหรับฟนั ผ่า ขนาดใหญ่ ทัง้ หลายทีม่ ี พร้า ฟ นั เมียที่ก าลัง
จัก เหลา เป็ นต้น มักใช้สาหรับ ขนาดใหญ่ ท้ อ งแก่ 8 เดื อ นที่
การเกษตร ศีรษะและใบหน้า
3 บ้าน = ทีอ่ ยู่ เช่น เรือน = สิง่ ปลูก บ้านเรือน = บ้าน น้าเสียจาก บ้านเรือน
เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สร้างทีย่ กพืน้ และ ทีอ่ ยู่อาศัย ซึ่ ง เกิ ด จากการซั ก
สิง่ ปลูกสร้าง กัน้ ฝา มีหลังคา ผ้ า อ า บ น้ า ล้ า ง
สาหรับเป็ นทีอ่ ยู่ คลุม สาหรับเป็ น จาน ท าให้ น้ าเกิ ด
อาศัย ทีอ่ ยู่, ทีอ่ ยู่ มลพิษทัง้ สิน้
4 ผี = สัตว์โลก สาง = ผี ผีสาง = วิญญาณ ความเชื่อเรื่อง ผีสาง
จาพวกหนึ่งที่ หรือสิง่ เร้นลับ ยังปรากฏอยู่ว่าแถนมี
มนุษย์ไม่อาจ ฐ า น ะ เ ป็ น ผี แ ต่ ก็
มองเห็นได้ คลีค่ ลายไปในรูปแบบ
ของ ผีสาง อื่นๆ
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 137

จากตัวอย่างทัง้ หมดของคานามประสมแบบเท่าเทียมในตารางที่ 3 พบว่า


ความหมายของคานามประสมแบบเท่าเทียมมีลกั ษณะคล้ายคลึงกับความหมาย
ประจาคาขององค์ประกอบต้นและองค์ประกอบท้าย โดยทีค่ วามหมายของคานาม
ประสมแบบเท่ า เทีย มเกิด จากการรวมความหมายประจ าค าของค าที่เ ป็ น
องค์ประกอบ เช่น ซากศพ เกิดจากการรวมความหมายของคาว่า ซาก และ ศพ
จนเกิดเป็ นความหมายประจาคาของ ซากศพ ซึง่ หมายถึง ร่างของคนหรือสัตว์ท่ี
ตายแล้ว อย่างไรก็ตาม ความหมายที่เกิดขึ้นอาจแทนที่ด้วยคาที่อยู่ในแวดวง
(domain) เดียวกัน ไม่ได้เกิดจากการรวมกันแล้วคงความหมายของความหมาย
ประจาคาไว้อย่างสมบูรณ์ดงั เดิม เช่น ถ้วยชาม ความหมายส่วนหนึ่งเกิดจากการ
รวมความหมายของ ถ้วย และ ชาม แต่เนื่องจากในสถานการณ์จริงเมื่อผูพ้ ูดพูด
ถึง ถ้วยชาม ไม่ได้จากัดเฉพาะถ้วยหรือชาม หมายรวมถึงภาชนะใส่อาหารอื่น
ด้วย ดัง นั น้ ถ้ ว ยชาม จึงเปรียบเป็ น ตัวแทนภาชนะใส่ อาหารจนกลายเป็ น
ความหมายประจาคาในทีส่ ดุ
เมื่อนาคานามประสมแบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมายไม่เชิงประกอบระดับ
ต่ ามาวิเคราะห์ในเรื่องของการขยายความหมาย พบว่าความหมายของคานาม
ประสมแบบเท่าเทียมยังคงเค้าความหมายของความหมายประจาคาอยู่ แต่ไม่ได้
เกิดจากผลรวมขององค์ประกอบอย่างสมบูรณ์ มักใช้เรียกแทนคาจ่ากลุ่มทีอ่ ยู่ใน
แวดวงเดียวกัน เช่น
ถ้วยชาม ≠7 ถ้วยและชาม แต่หมายถึง ภาชนะใส่อาหารรวมถึงจาน
มีดพร้า ≠ มีดและพร้า แต่หมายถึง มีดขนาดใหญ่
บ้านเรือน ≠ บ้านและเรือน แต่หมายถึง บ้านทีใ่ ช้อยู่อาศัย
ผีสาง ≠ ผีและสาง แต่หมายถึง วิญญาณหรือสิง่ เร้นลับ
ไร่นา ≠ ไร่และนา แต่หมายถึง พืน้ ทีเ่ กษตรกรรม

7
เครื่องหมาย ≠ หมายถึง A ความหมายไม่เหมือนกับ B (ความหมายของ
A ได้มาจากการวิเคราะห์การปรากฏใช้แต่ละคาในสถานการณ์จริงจากประโยคตัวอย่าง
ในคลังข้อมูลภาษา TNC).
138 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

เจ้านาย ≠ เจ้าและนาย แต่หมายถึง คนทีศ่ กั ดิหรื์ อตาแหน่ งสูง


กว่า
ตัวตน ≠ ตัวและตน แต่ ห มายถึ ง รู ป ธรรมของคนหรื อ
ความเป็ นคน
ต้นเค้า ≠ ต้นและเค้า แต่หมายถึง แบบดัง้ เดิมหรือแบบที่มี
แต่แรก
เส้นทาง ≠ เส้นและทาง แต่หมายถึง ทางสัญจร
หลุมบ่อ ≠ หลุมและบ่อ แต่ หมายถึง สิง่ ที่มีลกั ษณะเป็ นหลุม
บนผิวและพื้นทางอาจมีน้ าขังหรือไม่
ก็ได้
ดังที่ Sun (2006: 767) กล่าวไว้ว่า คาประสมแบบเท่าเทียมคือคาหลัก
2 คา (two-headed) ประกอบกันขึน้ มาโดยแต่ละองค์ประกอบมีความหมายทีเ่ ป็ น
คู่ ข นานหรื อ คล้ า ยคลึ ง กัน ไป ดัง นั ้น ความหมายที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด จากการรวม
ความหมายของค าที่เป็ นองค์ประกอบในโครงสร้างนัน้ ฃจัดเป็ นความหมาย
ประจ าโครงสร้างที่เกิดจากการวางองค์ประกอบที่ยึดแน่ นจนเป็ นรู ปเฉพาะ
เรียกว่า หน่ วยสร้าง (Construction) ซึง่ อมรา ประสิทธิรั์ ฐสินธุ์ และคณะ (2544:
47) ให้ความหมายหน่ วยสร้างว่า เป็ นรูปของหน่ วยทางโครงสร้างตัง้ แต่ประโยค
ลงไปถึง หน่ วยต่ า งๆ ที่อ ยู่ รวมในประโยคนั น้ ๆ ประกอบด้วยส่ วนประกอบ
(constituent) หรืออาจกล่าวได้ว่า หน่วยสร้างคือชนิดต่างๆ ของหน่ วยทางโครงสร้าง
นันเอง
่ เช่น หน่วยสร้างบุพบทวลี หน่วยสร้างกริยา เป็ นต้น นอกจากนัน้ Goldberg
(2006: 5) ยังกล่าวเสริมอีกว่า โครงสร้างจะเป็ นหน่ วยสร้างได้เมื่อโครงสร้างนัน้
สือ่ ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทีไ่ ม่ได้เกิดจากการรวมความหมายของแต่
ละคาเข้าด้วยกันแต่เป็ นความหมายประจาโครงสร้าง
จากการจากัดความนี้ คาประสมแบบเท่าเทียมมีลกั ษณะสอดคล้องกับ
คานิยามดังกล่าวและเป็ นหน่ วยสร้างประเภทหนึ่งทีจ่ ดั อยู่ในหน่ วยสร้างระดับคา
เรียกว่า หน่ วยสร้างคาประสมแบบเท่าเทียม เนื่องมาจากความหมายของค า
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 139

ประสมแบบเท่าเทียมไม่ได้เกิดจากการรวมความหมายขององค์ประกอบต้นและ
องค์ประกอบท้ายอย่างสมบูรณ์ มีความหมายอื่นทีเ่ พิม่ เติมเข้ามา เช่น ถ้วยชาม
ไม่ได้หมายถึง ถ้วยและชามเท่านัน้ แต่หมายรวมถึงภาชนะอื่นๆ ทีใ่ ส่อาหารอีก
ด้วย โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่ าวเกิดจากกระบวนการขยายความหมายที่
เรียกว่า กระบวนการนามนัย8 (metonymy) โดยเฉพาะอย่างยิง่ กระบวนการนามนัย
แบบเน้นส่วนประกอบย่อย (part for whole) ที่เป็ นการแทนความหมายของ
คาประสมแบบเท่าเทียม โดยการนาเอาส่วนประกอบของคาทีเ่ ป็ นจ่ากลุ่มมาเป็ น
ตัวแสดงแทนคานัน้ ดังนัน้ ความหมายโดยรวมของคานามประสมแบบเท่าเทียม
จึงเกิดจากหน่ วยประกอบร่วมที่อ้างอิงถึงสิง่ เดียว สิง่ ที่เป็ นจ่ากลุ่มหรือลักษณ์
บางอย่างทีท่ งั ้ 2 องค์ประกอบมีร่วมกัน เช่น
คาจ่ากลุ่ม ภาชนะสาหรับใส่อาหาร
คาลูกกลุ่ม ถ้วย จาน ชาม ไห เป็ นต้น
คาประสมแบบเท่าเทียม ถ้วยชาม เป็ นคาลูกกลุ่มทีใ่ ช้เรียกแทนภาชนะ
ใส่อาหารซึ่งเป็ นความหมายประจ าหน่ วยสร้าง แตกต่ างจาก ถ้วยและชาม ที่
แสดงภาพของถ้วยจานวนหนึ่งและชามจานวนหนึ่งเท่านัน้ สังเกตจาก 2 ตัวอย่าง
ประโยคจากผูบ้ อกภาษาไทยทีใ่ ช้ภาษาไทยเป็ นภาษาแม่ ดังนี้
ก. มานีหยิบ ? ถ้วยและชาม มาให้แม่หน่อยลูก
(มานีหยิบถ้วยและหยิบชาม)
ข. มานีหยิบ ถ้วยชาม มาให้แม่หน่อยลูก
(มานีหยิบภาชนะใส่อาหารนอกเหนือจากถ้วยหรือชามก็เป็ นได้)

8
กระบวนการนามนัยคือ กระบวนการทางปริชานที่มโนทัศน์ ของสิ่งหนึ่ ง
หรือพาหะ (vehicle) เข้าถึงมโนทัศน์ของอีกสิง่ หนึ่งหรือเป้าหมาย (target) ซึ่งอยู่ใน
แวดวงความหมายเดียวกัน (Kövecses and Radden, 1998: 39).
140 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ดังนัน้ นามนัยคือ ปรากฏการณ์ ขยายความหมายผ่านการเชื่อมโยง


ลักษณะหรือคุณสมบัตขิ องสิง่ หนึ่งแทนอีกสิง่ หนึ่งทีอ่ ยูภ่ ายในแวดวงเดียวกัน ดัง
แผนภาพต่อไปนี้
มโนทัศน์เป้าหมาย / คําจ่ากลุ่ม
(target concept)

มโนทัศน์พาหะ / คําลูกกลุ่ม
(vehicle concept)

ภาพที่ 1 แสดงปรากฏการณ์นามนัย
จากภาพที่ 1 Kövecses and Radden (1998: 39) อธิบายว่า
กระบวนการนามนัยจะถ่ายโยงความหมายระหว่างมโนทัศน์ พาหะและมโนทัศน์
เป้าหมาย โดยมโนทัศน์พาหะมีหน้าที่กระตุ้นการขยายความหมายให้เข้าไปสู่
(access) อีกมโนทัศน์หนึ่งทีเ่ รียกว่า มโนทัศน์เป้าหมาย ซึ่งความหมายทีเ่ กิด
ขึ้นอยู่ภายในขอบเขตเดียวกัน คล้ายกับเป็ นสัญลักษณ์ หรือรูปแทนโดยทัง้ สอง
ส่วนมีความสัมพันธ์กนั อย่างใกล้ชดิ
2) ความหมายไม่เชิงประกอบระดับสูง (high non-compositional
meaning) กล่าวคือ คําประสมแบบเท่าเทียมทีค่ วามหมายของคํา
ไม่ ไ ด้ เ กิ ด จากการรวมความหมายขององค์ ป ระกอบต้ น และ
องค์ ป ระกอบท้ า ย โดยที่ค วามหมายถู ก เปลี่ ย นแปลงไปจาก
ความหมายขององค์ประกอบทัง้ สอง พบจํานวน 11 คํา ได้แก่
เส้นสาย หนทาง หุบเหว ลูท่ าง กลิน่ อาย
ร่องรอย ต้นตอ ช่องทาง เยือ่ ใย ขวากหนาม
เสีย้ นหนาม
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 141

เมื่อน าค านามประสมแบบเท่ าเทียมที่มีความหมายไม่ เชิงประกอบ


ระดับสูงมาวิเคราะห์ในเรื่องของความหมาย จะเห็นได้ว่า ความหมายของคานาม
ประสมแบบเท่ า เที ย มมี ค วามหมายไม่ ต รงกับ ความหมายประจ าค าของ
องค์ประกอบ ดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 4 แสดงตัวอย่างคานามประสมแบบเท่าเทียมที่มีความหมายไม่เชิง
ประกอบระดับสูง
ลาดับ ความหมาย ความหมาย ความหมาย ตัวอย่างประโยคจาก
ประจาคา ประจาคา คาประสมแบบ คลังข้อมูลภาษา
องค์ประกอบ องค์ประกอบ เท่าเทียม TNC
ต้น ท้าย
1 ต้น = ลาของ ตอ = โคนของ ต้นตอ = เรื่อง เห็นได้จากคนทีม่ า
ต้นไม้ ต้นไม้ทล่ี าต้น เดิม, เหตุเดิม, ปรึกษาหมอพืน้ บ้าน
ถูกตัดหรือหัก ทีเ่ กิด และคนทรงทีส่ ว่ น
ลงแล้ว ใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ
หรือ ต้นตอ ของ
ความปว่ ย
2 ลู่ = ทาง, แนว, ทาง = ที่ ลู่ทาง = วิธ,ี การจัดประชุม APEC
ช่อง, ในทาง สาหรับเดินไป ลาดเลา, ทาให้ต่างชาติได้
กีฬาหมายถึง มา, แนวหรือ โอกาส มองเห็นลู่ทาง การค้า
ทางวิง่ เป็ น พืน้ ทีส่ าหรับใช้ การลงทุนใน
แนวเป็ นช่อง สัญจร, เช่น ฟิลปิ ปิ นส์มากยิง่ ขึน้
เช่น วิง่ ในลู่ท่ี ทางบก ทางน้า
1 ทางอากาศ
142 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

ลาดับ ความหมาย ความหมาย ความหมาย ตัวอย่างประโยคจาก


ประจาคา ประจาคา คาประสมแบบ คลังข้อมูลภาษา
องค์ประกอบ องค์ประกอบ เท่าเทียม TNC
ต้น ท้าย
3 เยือ่ = สิง่ ที่ ใย = สิง่ ทีเ่ ป็ น เยือ่ ใย = โวยทอมกิก๊ เก่าไม่น่า
เป็ นแผ่นบาง เส้นเล็กๆ ความผูกพันที่ ทากันแบบนี้ แค้นใจ
อยู่ตามผิวหรือ บางๆ เช่น ยังตัดไม่ขาด ประกาศตัดสัมพันธ์
ภายในของ ใยบัว ไม่เหลือ เยือ่ ใย ผัน
ร่างกาย หรือ ใยแมงมุม คบชายแท้สบายใจ
ของสิง่ ต่างๆ กว่า
เยื่อในกระดูก
เยื่อหัวหอม
เยื่อไม้ไผ่
ในตารางตัวอย่างข้างต้น ผู้วจิ ยั พบว่า ความหมายของคานามประสม
แบบเท่าเทียมมีความหมายไม่ตรงกับความหมายประจาคาขององค์ประกอบทัง้
ต้นและท้าย เช่น เยือ่ ใย หมายถึง ความผูกพันทีย่ งั ตัดไม่ขาด ในขณะที่ เยือ่ และ
ใย มีความหมายคล้ายคลึงกัน คือ สิง่ ที่เป็ นเส้นเล็กๆ หรือบางๆ ตามผิวของ
ร่างกายหรือสิง่ ต่ างๆ แสดงให้เห็นว่าความหมายที่เกิดขึ้นนัน้ เป็ นความหมาย
แบบไม่ เ ชิงประกอบ เนื่ องจากไม่ ได้ เกิดจากการรวมความหมายของทัง้ 2
องค์ประกอบ แต่ มีการขยายความหมายจากขอบเขตรู ปธรรมไปสู่ขอบเขต
นามธรรม ผู้วิจ ัยวิเคราะห์ความหมายจากการประกอบค า โดยเปรี ยบเทียบ
ความหมายประจาคาประสมแบบเท่าเทียมกับองค์ประกอบ พบว่า ความหมาย
ประจาคาประสมแบบเท่าเทียมมีลกั ษณะเป็ นนามธรรม ในขณะที่ ความหมาย
ประจาคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบมีลกั ษณะเป็ นรูปธรรม ความหมายจึงถูกแปรเปลีย่ น
ไป ซึ่ง มัก อธิบ ายได้ โ ดยกระบวนการอุ ป ลัก ษณ์ กล่ า วคือ มี ก ารเชื่อ มโยง
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 143

ความหมาย (mappings) จากแวดวงความหมายทีเ่ ป็ นพาหะ (vehicle)9 หรือ


ความหมายประจาคาขององค์ประกอบทัง้ ต้นและท้ายซึง่ เป็ นรูปธรรม ไปสู่แวดวง
ความหมายทีเ่ ป็ นเป้าหมาย (target) หรือ ความหมายของคาประสมแบบเท่าเทียม
ซึง่ เป็ นนามธรรม แสดงว่าคาเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการอุปลักษณ์10 เพราะมีการ
ใช้คาร่วมกับสิง่ ทีเ่ ป็ นนามธรรม
อย่างไรก็ตาม Croft and Cruse (2004: 217) พร้อมทัง้ นักภาษาศาสตร์
อีกจานวนมากทีศ่ กึ ษาในเรื่องของนามนัยมีมุมมองว่ากระบวนการนามนัยและ
อุปลักษณ์ เป็ นกระบวนการที่แยกออกจากกันได้ยากและการขยายความหมาย
เป็ นผลมาจากกระบวนการนามนัยมากกว่าอุปลักษณ์ เช่น อุปลักษณ์ทก่ี ล่าวว่า
“มากขึน้ คือ สูง” (MORE IS UP) แท้ทจ่ี ริงเกิดขึน้ จากการขยายความหมายใน
กระบวนการนามนัย เนื่องมาจากสมมติเหตุการณ์ทบ่ี ุคคลกาลังเรียงหนังสือมาก
ขึน้ เรื่อยๆ จะเห็นว่าจานวนหนังสือเพิม่ มากขึน้ (more) และยอดของชัน้ ทีว่ างเรียง
กันก็สงู ขึน้ ตามไปด้วย (higher) ซึง่ ในเหตุการณ์จริงบุคคลนาส่วนยอดของหนังสือ
มาพูดถึง (The pile is higher now.) แสดงว่าบุคคลนัน้ กาลังกล่าวถึงเหตุการณ์
ทัง้ หมดในภาพรวมของการทีห่ นังสือถูกวางเรียงซ้อนกันเพิม่ มากขึน้ โดยอ้างถึง
ส่วนทีเ่ ป็ นยอดเท่านัน้ กระบวนการนามนัยดังกล่าวก็จะถูกขยาย (คล้ายคลึงกับ
กระบวนการอุปลักษณ์ ) เข้าไปสู่แวดวงอื่นของมโนทัศน์ more เช่น higher
education, higher price เป็ นต้น หากพิจารณาตามข้อสังเกตของครอฟท์และ
ครู ซแล้วนั น้ จะเห็นว่ ากระบวนการนามนั ยถู กน ามาใช้ขยายความหมายใน

9
พาหะ (vehicle) เรียกอีกอย่างว่าเป็ นความหมายต้นทางหรือความหมาย
แหล่งกาเนิด (source) ซึ่งพบได้ในงานของเลคอฟ เป็ นต้น ทัง้ นี้โคเวเซสและแรดเด้นใช้
คาว่า “พาหะ” ในการอธิบายถึงสิง่ กระตุน้ ทีก่ ่อให้เกิดความสัมพันธ์แบบนามนัยทัง้ หมด.
10
กระบวนการอุปลักษณ์ คือ การถ่ายทอดระหว่างขอบเขตของมโนทัศน์ ท่ี
ต่างกัน โดยจะถ่ายทอดรูปแบบทางความคิดจากแวดวงความหมายต้นทาง (source
domain) ที่มกั เป็ นรูปธรรมไปยังแวดวงความหมายปลายทาง (target/objective
domain) ทีเ่ ป็ นนามธรรม (Lakoff and Johnson, 1980: 27).
144 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

กระบวนการอุ ปลักษณ์ อีกทีหนึ่ ง ดังนัน้ ผู้วิจ ัยจึงมีความเห็นพ้องว่ า ค านาม


ประสมแบบเท่ า เที ย มเชิ ง ประกอบระดับ ต่ า ได้ ถู ก ขยายความหมายโดย
กระบวนการนามนั ยก่ อนที่จะเข้าสู่กระบวนการอุ ปลักษณ์ ซ่ึ งมีหน้ าที่เพียง
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่ างความหมายประจ าค าไปสู่สิ่งที่มีลักษณะเป็ น
นามธรรม หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง คื อ กระบวนการอุ ป ลั ก ษณ์ มี พ้ื น ฐานมาจาก
กระบวนการนามนัย เช่น
ขวากหนาม คือ อุปสรรค
1) ชีวติ ทีม่ แี ต่ ขวากหนาม อย่างเดียว ย่อมเป็ นชีวติ ทีเ่ ป็ นทุกข์เกินไป
ขวากหนาม เปรียบดัง ความทุกข์
2) คนทีอ่ ยู่ตรงหน้าคือศัตรูหมายเลขหนึ่งและเป็ น ขวากหนาม หรือก้างชิน้ ใหญ่
ทีเ่ ธอจาต้องกาจัด
ขวากหนาม เปรียบดัง ศัตรู
3) ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนควรเป็ นทีพ่ ง่ึ ของพ่อแม่ยามแก่เฒ่า จอมกลับสร้าง
แต่ ปญั หา เขาวิ่งต่ อไปบนถนนสีแดง เส้นทางที่ขรุขระและเต็มไปด้วยขวาก
หนาม
ขวากหนาม เปรียบดัง ปญั หา
4) แม้จะมีอุปสรรค ขวากหนาม แต่สงั คมอุดมคติของไทยก็รออยู่เบือ้ งหน้า
ขวากหนาม เปรียบดัง สิง่ ขัดขวางความเจริญ
(ตัวอย่างจากคลังข้อมูลภาษา TNC)
จากประโยคตัว อย่ างขัน้ ต้ น พบว่ า ขวากหนาม ใช้แสดงถึงสิ่งที่มี
ลักษณะเป็ นนามธรรม ถูกนามากล่าวถึงสิง่ ทีเ่ ป็ นอุปสรรคในชีวติ อันได้แก่ ความ
ั หาและสิ่งขัดขวางความเจริญ แสดงให้เห็นว่ ามีการเชื่อมโยง
ทุกข์ ศัตรู ป ญ
ความคิดระหว่างแวดวงความหมายตามกลวิธอี ุปลักษณ์ โดยทีอ่ ุปลักษณ์น้ีจะมี
พื้นฐานมาจากความสัมพันธ์แบบนามนัย กล่าวคือ จากสถานการณ์ จริงหรือ
ประสบการณ์การเผชิญโลกของบุคคล พบว่า ลักษณะการใช้งานของ ขวากหนาม
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 145

คือ การนามาขวางกัน้ เส้นทางเป็ นอุปกรณ์กนั ทางที่หากเข้าไปสัมผัสอาจสะดุด


หกล้มหรือก่อให้เกิดอันตราย บุคคลจึงนาภาพเหตุการณ์ดงั กล่าวของ ขวากหนาม
มาอ้างถึงความยากลาบากในการก้าวไปข้างหน้าเนื่องจากการถูกขัดขวางด้วย
ขวากหนาม จึงเกิดการขยายความหมายจากกระบวนการนามนัยก่อนนาไปสู่การ
ตีความแบบอุปลักษณ์ ขวากหนาม คือ อุปสรรคในชีวติ เนื่องมาจาก ขวากหนาม
แรกเริม่ ใช้เป็ นตัวแทนอุปกรณ์กนั ทาง ก่อนนาไปสู่การเปรียบเทียบว่าเป็ นความ
ยากลาบากในการก้าวไปข้างหน้าจนกลายเป็ นอุปสรรคในลาดับถัดมา ดังนัน้ อุปลักษณ์
จึงมาจากนามนัย คล้ายคลึงกับที่ Goossens (1990 cited in Evans and Green
2006: 319-320) ยกตัวอย่างคาว่า close-lipped แปลว่า เงียบ ซึง่ เกิดการขยาย
ความหมายจากกระบวนการนามนัย เมื่อคนหนึ่งหุบปาก ความเงียบก็จะเกิดขึน้
ดังนัน้ close-lipped สามารถใช้แทนความเงียบได้ ทัง้ นี้ close-lipped ยังหมายถึง
พูดน้อยหรือไม่ค่อยพูด การตีความแบบนี้มาจากกระบวนการอุปลักษณ์ เพราะมี
การข้ามขอบเขตจากการหุบปากที่เป็ นรูปธรรมเห็นได้ชดั เจน ไปยังขอบเขตที่
เป็ นนามธรรมว่าด้วยลักษณะนิสยั ของบุคคลทีพ่ ูดน้อย Goossens กล่าวเพิม่ เติม
ว่า การตีความอุปลักษณ์แบบนี้มพี น้ื ฐานมาจากกระบวนการนามนัย เนื่องมาจาก
หุบปาก เดิมทีใช้แทนความเงียบก่อนนาไปสู่การเปรียบเทียบว่าเป็ นคนพูดน้อย
และเราสามารถเข้าใจความหมายของทีม่ าทีไ่ ปได้ว่าลักษณะหนึ่งของคนทีไ่ ม่ยอม
พูดมักเกีย่ วข้องกับความเงียบนันเอง

กล่าวโดยสรุป คานามประสมแบบเท่าเทียมแบ่งออกเป็ น 2 ระดับ
ได้แก่ ความหมายไม่เชิงประกอบระดับต่าและระดับสูง เมื่อนาคานามประสมแบบ
เท่าเทียมไม่เชิงประกอบแต่ละระดับมาวิเคราะห์ในประเด็นการขยายความหมาย
พบว่า คานามประสมแบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมายไม่เชิงประกอบระดับต่ ามีการ
ขยายความหมายผ่านกระบวนการนามนัยแบบเน้นส่วนประกอบย่อย (part for
whole metonymy) ในขณะทีค่ านามประสมแบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมายไม่เชิง
ประกอบระดับ สู ง มีก ารขยายความหมายแบบนามนั ย เช่ น เดีย วกัน โดยมี
กระบวนการอุ ปลักษณ์ ท าหน้ าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่ างความหมาย
ประจาคาขององค์ประกอบที่เป็ นรูปธรรมไปสู่ความหมายเชิงนามธรรมของ
146 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

คาประสมแบบเท่าเทียมอีกด้วย โดยทีท่ งั ้ 2 กระบวนการนี้แยกออกจากกันไม่ได้


อย่างชัดเจน Goossens (1990 อ้างถึงใน Evans and Green, 2006: 319-320)
เรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า อุปลักษณ์นามนัย (metaphtonymy)

สรุปและอภิปรายผล
บทความวิจยั นี้เป็ นการศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัตทิ างวากยสัมพันธ์และ
อรรถศาสตร์ของคานามประสมแบบเท่าเทียม โดยคุณสมบัตทิ างวากยสัมพันธ์ท่ี
พบมี 4 ประการ ได้แก่
1. เกิดจากหน่ วยคาอิสระประเภทคานาม 2 คาประกอบกันขึน้ มาแล้ว
ยังคงมีประเภททางวากยสัมพันธ์ คือ คานามเหมือนกับคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ
2. เพิม่ หรือแทรกคาเนื้อหา (content words) ระหว่างองค์ประกอบไม่ได้
เช่น *ขวากเสี้ยนหนาม, *ขวากรักหนาม เป็ นต้น
3. เพิม่ หรือแทรกคาไวยากรณ์ (functional words) ระหว่างองค์ประกอบ
ไม่ได้ เช่น *ขวากและหนาม, *ขวากหรือหนาม เป็ นต้น
4. สลับต าแหน่ งขององค์ประกอบไม่ ได้ เช่ น ขวากหนาม สลับเป็ น
*หนามขวาก ไม่ได้
คุณสมบัตขิ อ้ แรกเป็ นคุณสมบัตหิ ลักทีง่ านวิจยั เกีย่ วกับคาประสมแบบ
เท่าเทียมเกือบทุกชิ้นเห็นพ้องว่ ามีลักษณะตรงกัน เนื่ องมาจากเมื่อศึกษาค า
ประเภทนี้ในหลายๆ ภาษาพบว่า การให้คานิยามลักษณะนี้ในงานวิจยั เชิงแบบ
ลักษณ์มคี ุณสมบัตขิ อ้ นี้เป็ นพืน้ ฐานในการสร้างคาประสมแบบเท่าเทียม ก่อเกิด
เป็ นความเข้าใจที่ตรงกันว่ า ค าที่เกิดจากค าอิสระที่มีประเภททางไวยากรณ์
เดียวกันมาประสมกันแล้วเกิดเป็ นค าประสมที่มีประเภททางวากยสัมพันธ์
เดียวกันกับคาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ เรียกว่า คาประสมแบบเท่าเทียม นอกจากนัน้
จากการศึกษาพบว่า คาประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยยังมีคุณสมบัตขิ องการ
ยึดเกาะในระดับสูง กล่ าวคือ องค์ประกอบของค าประสมแบบเท่ าเทียมนัน้ มี
ข้อจากัดการปรากฏร่วมในระดับที่สงู เช่น ขวากต้องปรากฏร่วมกับหนามเสมอ
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 147

ไม่พบการใช้ *ขวากเสีย้ น แม้ว่าทัง้ 2 คาจะมีความหมายคล้ายคลึงกันก็ตาม


คาประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยจึงมีแนวโน้มทีจ่ ะกลายเป็ น 1 หน่ วยคา เห็นได้
จากการที่ แ ทรกค าระหว่ า งกลางหรื อ สลับ ต าแหน่ ง ไม่ ไ ด้ เ พราะจะท าให้
ความหมายผิดเพีย้ นไปจากเดิม ในภาษาไทยนัน้ คานามประสมแบบเท่าเทียมที่
ผ่านคุณสมบัตทิ งั ้ 4 ประการพบจานวนทัง้ สิน้ 56 คา
นอกจากนี้ งานวิจยั นี้ ได้แสดงความก้าวหน้ าในการศึกษาวิเคราะห์
เกี่ยวกับคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคานามประสมแบบเท่าเทียมที่ยงั ไม่มี
งานวิจ ัยชิ้นใดได้กล่ าวไว้อย่ างละเอียด โดยได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่ าง
ความหมายของคานามประสมแบบเท่าเทียมกับความหมายประจาคาของคาที่
เป็ นองค์ประกอบตามแนวทางภาษาศาสตร์ งานวิจยั ในอดีตทีพ่ บมักเป็ นงานวิจยั
ตามแนวทางของภาษาไทยที่ศกึ ษาด้านความหมายแล้วพบว่าความหมายถูก
เปลี่ยนไปในลักษณะแคบเข้า กว้างออกหรือย้ายที่ เมื่อศึกษาวิเคราะห์ตาม
แนวทางภาษาศาสตร์ปริชาน ผลการวิจยั พบว่า คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของ
คานามประสมแบบเท่าเทียมมีระดับของความหมายไม่เชิงประกอบในระดับที่
ต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ประเด็นการขยายความหมายพบว่า คานามประสมแบบ
เท่าเทียมที่มคี วามหมายไม่เชิงประกอบระดับต่ า มีการขยายความหมายด้วย
กระบวนการนามนัย โดยเฉพาะนามนัยแบบเน้นส่วนประกอบย่อย (part for
whole metonymy) ในขณะทีค่ านามประสมแบบเท่าเทียมทีม่ คี วามหมายไม่เชิง
ประกอบระดั บ สู ง ขยายความหมายผ่ า นกระบวนการอุ ป ลั ก ษณ์ น ามนั ย
(metaphtonymy)
อย่ า งไรก็ ต ามจากการศึ ก ษา พบว่ า หากองค์ ป ระกอบต้ น และ
องค์ประกอบท้ายมีความหมายหมุนเวียน (circular meaning) 11 ซึง่ กันและกันมี

11
ความหมายหมุนเวียน หมายถึง คาที่มคี วามหมายเหมือนกัน หรือคาที่ม ี
ความหมายอ้างอิงถึงกันและกัน เช่น fast (adj.) หมายถึง swift, quick, speed ในขณะที่
swift (adj.) หมายถึง rapid, fast (Loos, 2004) ในภาษาไทย เช่นคาว่า ตัว (น.) หมายถึง
รูป, ตน, ตนเอง ในขณะเดียวกัน ตน (น.) หมายถึง ตัว.
148 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

แนวโน้มสูงที่จะกลายเป็ นคาเดียว ได้แก่คาว่า ขัน้ ตอน ตัวตน ภูเขา บาดแผล


ถ้อยคา ครัง้ คราว และเรีย่ วแรง เนื่องจากเมื่อนาคาเหล่านี้ไปสอบถามผู้บอกภาษา
ทีเ่ ป็ นเจ้าของภาษา ส่วนใหญ่มกั ตอบว่าคาเหล่านี้เป็ นคา 1 คามากกว่าเป็ นคา 2
ค าที่ น ามาประกอบกัน อี ก ทัง้ ยัง มีค านามประสมแบบเท่ า เทีย มบางค าที่
องค์ประกอบต้นไม่ถูกใช้เป็ นคาอิสระในปจั จุบนั ได้แก่ หยูกยา เรีย่ วแรง ลวดลาย
ไม่ปรากฏการใช้คาว่า “หยูก เรีย่ ว ลวด”12 เป็ นคาอิสระอยู่ในประโยค แม้จะมีการ
บัญญัตคิ วามหมายในพจนานุกรมไทยก็ตาม
ประเด็นทีน่ ่ าสนใจอีกประการ คือ งานวิจยั นี้สนับสนุ นข้อสรุปทางแบบ
ลักษณ์ ภาษาได้ว่าค านามประสมแบบเท่าเทียมในภาษาไทยจัดอยู่ในรูปแบบ
hyperonymic coordinating compounds หรือ คาประสมแบบเท่าเทียมทีอ่ า้ งอิง
ความหมายในระดับทีส่ งู กว่าหรือความหมายจ่ากลุ่มเฉกเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ
ทีอ่ ยู่ในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นนเอง ั่

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนำนุกรมฉบับรำชบัณฑิ ตยสถำน พ.ศ.2542.
กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั ่นส์.
สุนนั ท์ อัญชลีนุกูล. 2546. ระบบคำภำษำไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน
วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา ประสิทธิ ์รัฐสินธุ.์ 2525. "คาผสมและคาผสานในภาษาไทย." วำรสำร
มนุษยศำสตร์สำร 10, 3: 20-29.

12
ลวด พบการใช้เป็ นคาอิสระประกอบเข้าในบริบทที่หมายความว่า สิง่ ที่ทา
เป็ นเส้นยาวๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทาเป็ นเส้นยาวๆ, โลหะที่เอามารีด
เป็ นเส้นเช่นนัน้ ก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวดสังกะสี ลวดทองแดง เป็ นต้น แต่ไม่พบการใช้
ในความหมายทีเ่ กีย่ วกับลายเลย.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) 149

อมรา ประสิทธิ ์รัฐสินธุ์ และคณะ. 2544. ทฤษฎีไวยำกรณ์ . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Arcodia, Giorgio F., Nicola Grandi and Bernhard Wälchli. 2010. “Coordination in
Compounding.” in Scalise Sergio and Irene Vogel. (eds.) Cross-
Disciplinary Issues in Compounding. Amsterdam/Philadelphia:
John Benjamins.
Croft, William and D. Alan Cruse. 2004. Cognitive Linguistics. Cambridge:
Cambridge University Press.
Fabb, Nigel. 1998. Compounding. In A. Spencer, A. Zwicky. (eds.) Handbook of
Morphology. Oxford: Blackwell.
Goldberg, Adele. 2006. Constructions at Work. Oxford: Oxford University Press.
Goossens, Louis. 1990. “Metaptonymy: The Interaction of Metaphor and
Metonymy.” in Vyvyan Evans and Melanie Green. (eds.) Cognitive
Linguistics: An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press.
Kövecses, Zoltan and Gunter Radden. 1998. “Metonymy: Developing a Cognitive
Linguistic View.” in Vyvyan Evans and Melanie Green. (eds.) Cognitive
Linguistics: An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press.
Lakoff, G. and Johnson, M. 1980. Metaphors We Live By. Chicago:
University of Chicago.
Loos, Eugene E., Susan Anderson, Dwight H. Day Jr., Paul C. Jordan, and
J. Douglas Wingate. (eds.) 2004. Glossary of Linguistic Terms.
TX: SIL International.
Mortensen, David. 2003. Hmong Elaborate Expressions are Coordinate
Compounds. [online] Retrieved 11 Dec. 2003-Last update.
Available: http://www.pitt.edu/~drm31/papers/elaborate_expressions.pdf
Pagin, Peter and Westerståhl, Dag. 2008. Compositionality. [online] Retrived 20
June. 2014. Available: http://people.su.se/~ppagin/papers/DWPP7.pdf
150 Humanities Journal Vol.22, No.1 (January-June 2015)

Stewart, Jr. Thomas W. and Nathan Vaillette. 2001. Language Files. 8th ed. Ohio:
Department of Linguistics, Ohio State University.
Sun, Chaofen. 2006. Chinese: A Linguistic Introduction. Cambridge:
Cambridge University Press.
Trask, R.L. 1999. Key Concepts in Language and Linguistics. London:
Routledge.
Vongvipanond, Peansiri E. 1992. “Lexicological Significance of Semantic Doublets
in Thai.” in Carol J. Compton and John F. Hartmann (eds.) Papers on
Tai Languages, Linguistics, and Literatures: in Honor of William J.
Gedney on his 77th birthday. Illinois: Northern Illinois University,
Center for Southeast Asian Studies.
Wälchli, Bernhard. 2005. Co-Compounds and Natural Coordination. Oxford:
Oxford University Press.

You might also like