You are on page 1of 4

แบบทดสอบการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๓ ชุดที่ ๑๒

(สำหรับนักเรียน)
มีความรู้/ มีวิชา /มีความหมาย
ไม่มลาย /สูญหาย /ดั่งทรัพย์สิน
แม้เงินทอง/ กองอยู่ /ทั่วแผ่นดิน
ก็หมดสิ้น /เหือดไป/ เยี่ยงสายชล
อันจุดหมาย /หลายภาระ/ ที่ค้างคิด
มีโอกาส /สมดังคิด/ ประสิทธิ์ ผล
อยู่ที่ความ/ ตั้งใจ /ไม่วกวน
ประพฤติตน /ค้นความรู้/ คู่คุณธรรม
ผู้มานะ /อดทน/ พร้อมค้นคว้า
มีวิชา/ แถมพก /ไม่ตกต่ำ
มีสติ /พูดจริงใจ /ไม่กลับคำ
มีศีลนำ/ ย้ำความดี/ นี้รุ่งเรือง
หมั่นศึกษา /หาคำศัพท์ /ประดับเสริม
เล่าเรียนเพิ่ม/ เติมไป/ ให้ต่อเนื่อง
จงใส่ใจ /เรียนเถิดหนา /อย่าขุ่นเคือง
อนาคต/ ฟูเฟื่ อง /รุ่งเรืองรอง
แบบทดสอบการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๓ ชุดที่ ๑๒
(สำหรับครู)
มีความรู้ มีวิชา มีความหมาย
ไม่มลาย สูญหาย ดั่งทรัพย์สิน
แม้เงินทอง กองอยู่ ทั่วแผ่นดิน
ก็หมดสิ้น เหือดไป เยี่ยงสายชล
อันจุดหมาย หลายภาระ ที่ค้างคิด
มีโอกาส สมดังคิด ประสิทธิ์ผล
อยู่ที่ความ ตั้งใจ ไม่วกวน
ประพฤติตน ค้นความรู้ คู่คุณธรรม
ผู้มานะ อดทน พร้อมค้นคว้า
มีวิชา แถมพก ไม่ตกต่ำ
มีสติ พูดจริงใจ ไม่กลับคำ
มีศีลนำ ย้ำความดี นี้รุ่งเรือง
หมั่นศึกษา หาคำศัพท์ ประดับเสริม
เล่าเรียนเพิ่ม เติมไป ให้ต่อเนื่อง
จงใส่ใจ เรียนเถิดหนา อย่าขุ่นเคือง
อนาคต ฟูเฟื่ อง รุ่งเรืองรอง

ตอบคำถาม บทอ่าน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๓


(สำหรับกรรมการ)
คำชี้แจง ให้กรรมการถามนักเรียนด้วยคำถาม ๕ คำถาม
แนวคำถาม
๑. บทร้อยกรองที่นักเรียนอ่านเกี่ยวกับเรื่องใด
แนวการตอบ : การศึกษาหาความรู้
๒. การศึกษาหาความรู้เหมือนดังทรัพย์หมายความ
ว่าอย่างไร
แนวการตอบ : มีความรู้ก็เหมือนมีเครื่องมือใช้ทำ
มาหากินเลี้ยงชีพได้
๓. ถ้าเราไม่มีความรู้จะเกิดอะไรขึ้น
แนวการตอบ : หางานทำยาก, ถูกหลอกลวงได้ง่าย
๔. การศึกษาหาความรู้มีประโยชน์อย่างไร
แนวการตอบ : สามารถนำความรู้ไปใช้ในการ
ทำงานเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
๕. นักเรียนได้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่านอย่างไร
แนวการตอบ : ให้รู้จักขยันหมั่นเพียรและตั้งใจ
การศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
การวิเคราะห์
ประเภท คำ
๑.คำที่ไม่มีตัวสะกด ฟู,ย้ำ,สติ,ภาระ
๒.คำที่มีตัวสะกดตรงมาตรา แผ่นดิน,จง,ขุ่น,เล่าเรียน
แถม,รุ่งเรือง,ทั่ว
๓.คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ศีล,โอกาส
๔.คำที่ประสมกับสระลดรูป กลับ,อดทน,วน,ค้น
๕.คำที่ประสมกับสระเปลี่ยนรูป คุณธรรม
๖.คำควบกล้ำ ความรู้,เสริม,ความดี
ค้นคว้า
๗.คำอักษรนำ มลาย
๘.คำที่ประวิสรรชนีย์/ ประพฤติ
ไม่ประวิสรรชนีย์
๙.คำที่มีตัวการันต์ คำศัพท์

You might also like