You are on page 1of 5

บทที่ 1

บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบัน ได้มีผู้ทำการค้าขายเป็นอย่างมาก บางรายก็ผลิตเองขายเอง บางรายก็รับสินค้า
จากแหล่งผลิตมาขายต่อให้ได้กำไร ซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ผู้ขายส่วนใหญ่นิยมรับสินค้ามาขายต่อ
เนื่องจากการผลิตเองเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและต้องใช้เวลาและวัตถุดิบเป็นอย่างมากในการผลิต ดังนั้น
จึงมีบริษัทจัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตสินค้าโดยเฉพาะ แล้วจัดส่งไปขายตามบริษัทต่าง ๆ ที่ได้ยื่นใบสั่งซื้อ
สินค้าเข้ามา เราเรียกบริษัทนี้ว่า Supplier ขั้นตอนสุดท้าย คือการพัฒนาซัพพลายเออร์เพื่อให้ซัพ
พลายเออร์สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ตรงตามที่ต้องการ การพัฒนาซัพพลายเออร์อาจเริ่มจาก
การพัฒนาศักยภาพซัพพลายเออร์ เช่น การพัฒนาสินค้าไปด้วยกัน การให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา
นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับซัพพลายเออร์ได้อีกด้วย เช่น การเป็นบริษัทคู่ค้าที่
จ่ายเงินตรงต่อเวลา มีคุณธรรม มีความเป็นมืออาชีพ
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดหาหรือ Sourcing คือ การคัดเลือกซัพพลายเออร์เพื่อซื้อ
สินค้าและบริการได้อย่างมีคุณภาพ ราคาสมเหตุสมผล สามารถจัดส่งสินค้าและบริการได้ตรงตาม
เวลาที่กำหนดไว้ หากบริษัทซื้อสินค้าและบริการจากซัพพลายเออร์ที่มีศักยภาพไม่เหมาะสม ผลที่ตาม
ต่อมาก็คือ ความเสี่ยงในการจัดส่งสินค้าที่ด้อยคุณภาพ ล่าช้า ส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและขาดความ
เชื่อมั่น การจัดซื้อจัดจ้าง คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ โดยการซื้อ จ้าง เช่า
แลกเปลี่ยน ในขณะที่การจัดหา (Sourcing) คือ การคัดเลือกซัพพลายเออร์ เพื่อซื้อสินค้าและบริการ
ได้อย่างมีคุณภาพ เพราะฉะนั้นการจัดหานับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมการจัดซื้อ จัดจ้างให้บรรลุตาม
วัตถุประสงค์ ฝ่ายจัดซื้อต้องเข้าไปสังเกตการณ์ และการให้ความช่วยเหลือ ซัพพลายเออร์ในบางเรื่อง
เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ควรอธิบายให้ซัพพลายเออร์เข้าใจถึงปัญหาและความจำเป็น
ที่จะต้องมีการทำราคาให้ต่ำลง (Cost Down) โดยเข้าใจในหลักที่ว่าหากมีคู่แข่งขันที่สามารถทำ
ต้นทุนได้ถูกกว่าซัพพลายเออร์เดิม ทางฝ่ายจัดซื้อบริษัทก็จะต้องปรับการสั่งซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูก
กว่า เพื่อให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทฝ่ายจัดซื้อมีมูลค่าที่ต่ำ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป
อาจมีการเข้าไปสังเกตการณ์บริษัทซัพพลายเออร์ วิเคราะห์กระบวนการไปถึง วิธีการผลิต การใช้
เทคโนโลยี วิธีการทำงาน เพื่อช่วยหาวิธีที่จะลดต้นทุน บางครั้งในฐานะคนนอกเมื่อเข้าไปดูก็จะ
มองเห็นปัญหาของต้นทุนที่เกิดขึ้นดีกว่าฝ่ายที่ทำมาต่อเนื่องจนคุ้นชิน และทำการให้ข้อแนะนำและ
เสนอแนวทางปรั บ ปรุ ง ลดต้ น ทุ น ต่อ ไป ฝ่ า ยจั ด ซื ้ อ ต้ อ งเริ ่ ม นำเอาระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศ
เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานกระบวนการจัดซื้อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การใช้ระบบดังกล่าว เช่น
ระบบบริหารความต้องการทรัพยากร (MRP), ระบบบริหารความต้องการในการผลิต (MRP II) หรือ
ระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร (ERP) เพื่อจะทำให้องค์กรมีข้อมูล ในการประมวลผลที่ถูก ต้ อง
รวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้การติดตามความต้องการขององค์กรทั้งในเรื่อง วัตถุดิบ เครื่องมือ
อุปกรณ์ วัตถุสำเร็จรูป รวมถึงเรื่องการเงิน โดยนำข้อมูลที่เก็บไว้มาทำการวางกลยุทธ์ในการจัดซื้อใน
ทุกระดับ เช่น ระดับปฏิบัติการ ระดับบริหาร และระดับองค์กรธุรกิจ ใช้วิเคราะห์กระบวนการทำงาน
และประเมินผลในการทำงาน ใช้ประกอบการตัดสินใจปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป
Supplier (ซัพพลายเออร์) ผู้ผลิตสินค้าและนำมาจัดจำหน่ายให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่ได้ยื่น
ใบสั่งซื้อสินค้าให้ ซึ่งซัพพลายเออร์มีระบบการขนส่งแบบ Logistics (โลจิสติกส์) เพื่อส่งสินค้าให้
ได้มากที่สุด ประหยัดเวลาที่สุด และก่อให้เกิดกำไรสูงสุด ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ ที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเองและ
ต้องการรับสินค้ามาขายต่อ ก็จะสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ และซัพพลายเออร์ก็จะดำเนินการ
จัดส่งสินค้าให้ตามใบสั่งซื้อสินค้า ซัพพลายเออร์จึงเป็นผู้ผลิตสินค้าและนำไปจำหน่ายให้กับบริษัท
ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีการจัดการขนส่งเพื่อให้ส่งสินค้าให้ได้มากที่สุด และประหยัดเวลาที่สุด
เพื่อก่อให้เกิดกำไรสูงสุด ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการคัดเลือกวัตถุดิบจาก
ซัพพลายเออร์ของบริษัท อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด

1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย
1.2.1 เพื่อศึกษาปัจจัยในการคัดเลือกวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ของบริษัท อินฟุส เมดิคัล
(ประเทศไทย) จำกัด
1.2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานจัดซื้อที่มตี ่อการทำงานในบริษัท อินฟุส เมดิคัล
(ประเทศไทย) จำกัด

1.3 ขอบเขตการวิจัย
1.3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหาการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยในการคัดเลือกวัตถุดิบ
จากซัพพลายเออร์ของบริษัท อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยจำแนกการศึกษาออกเป็น
3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลทั่วไปของประชากร ประกอบด้วย เพศ อายุ ตำแหน่งงาน
และรายได้ ส่วนที่ 2 ปัจจัยในการคัดเลือกวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ของบริษัท อินฟุส เมดิคัล
(ประเทศไทย) จำกัด ประกอบด้วย ด้านที่ 1) ด้านเวลาในการขนส่ง ด้านที่ 2) ด้านอัตราค่าบริการ
ขนส่ง ด้านที่ 3) ด้านต้นทุนการผลิตและการจัดซื้อ และด้านที่ 4) ด้านการบริการขนส่งวัตถุดิบ ส่วนที่
3 เป็นการให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของพนักงานจัดซื้อ
1.3.2 ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานจัดซื้อ
บริษัท อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
1.3.3 ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา ได้แก่ พนักงานจัดซื้อ บริษัท
อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 20 คน
1.3.4 ขอบเขตด้านระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เริ่มต้นตั้งแต่ สัปดาห์ ที่ 1-18
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
1.3.5 ขอบเขตด้านตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1) ตัวแปรอิสระ ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือข้อมูลทั่วไปของประชากร
ซึง่ ได้แก่ 1) เพศ 2) อายุ 3) ตำแหน่งงาน 4) รายได้
2) ตัวแปรตาม ตัวแปรตามที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1) ด้านเวลาในการขนส่ง ด้านที่ 2) ด้านอัตราค่าบริการขนส่ง ด้านที่ 3) ด้านต้นทุนการผลิต
และการจัดซื้อ และด้านที่ 4) ด้านการขนส่งวัตถุดิบ
1.4 กรอบแนวคิดในการวิจัย
การกำหนดกรอบแนวคิดในการในการวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องจึงได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
(Independent Variable) (Dependent Variable)

ข้อมูลทั่วไปของพนักงานจัดซื้อ ปัจจัยในการเลือกวัตถุดิบจาก
1. เพศ ซัพพลายเออร์ ดังนี้
2. อายุ 1. ด้านเวลาในการขนส่ง
3. ตำแหน่งงาน 2. ด้านอัตราค่าบริการขนส่ง
4. รายได้ 3. ด้านต้นทุนการผลิตและการ
จัดซื้อ
4. ด้านการบริการขนส่งวัตถุดิบ

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ทำให้ทราบถึง ปัจจัยในการคัดเลือกวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ของบริษัท อินฟุส
เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
1.5.2 ทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของพนักงานจัดซื้อ ที่มีต่อการทำงานในบริษัท อินฟุส
เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด

1.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
1.6.1 วัตถุดิบ หมายถึง สิ่งของที่ซื้อมาเพื่อใช้เป็นส่วนผสมหรือส่วนประกอบอันสำคัญใน
การผลิตสินค้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) หมายถึง มูลค่าของ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าโดยตรง วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่
นำมาใช้ในการผลิตสินค้ามีจำนวนน้อยถือเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน ที่เรียกว่า
วัสดุโรงงานที่เอามาใช้ในบริษัท อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
1.6.2 ประสิทธิภาพ หมายถึง กระบวนการ วิธีการ หรือการกระทำใด ๆ ที่นำไปสู่ผลสำเร็จ
โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อันได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน เงินทุน และวิธีการดำเนินการหรือ
ประกอบการ ที่มีคุณภาพสูงสุดในการดำเนินการได้อย่างเต็ม ศักยภาพของการทำงานของ บริษัท
อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
1.6.3 พนักงานจัดซื้อ หมายถึง ตำแหน่งงานของบุคคลที่จัดหาสินค้า หรือบริการที่ต้องการ
มาสู่องค์กร เปรียบเทียบราคาจากผู้ผลิตหลากหลายเจ้าเพื่อให้ได้ของที่คุณภาพ และราคาที่เหมาะสม
ที่สุด ไปจนถึงดำเนินการจัดซื้อและจัดส่งของให้แต่ละแผนก นอกจากนี้ยังต้องทำรายงานการจัดซื้อ
เปรียบเทียบราคา และคุณภาพพร้อมนำเสนอให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอีกด้วย ทักษะที่เจ้าหน้าที่
จัดซื้อควรมี คื อ ทักษะในการคำนวณ วิเคราะห์ เปรียบเทีย บ การเก็บสถิ ติ ข ้ อ มู ล การจั ด การ
การติดต่อประสานงาน และมีความละเอียดรอบคอบของพนักงานจัดซื้อ บริษัท อินฟุส เมดิคัล
(ประเทศไทย) จำกัด
1.6.4 ซัพพลายเออร์ (Supplier) หมายถึง คนหรือองค์กรที่จัดหาสินค้าและบริ ก าร
ให้กับธุรกิจอื่น การค้นหาซัพพลายเออร์ที่ให้ราคาดี (ถูกกว่าของรายอื่น) เปรียบเสมือนหัวใจของ
ความสำเร็จของธุรกิจ การต่อรองกับซัพพลายเออร์มักจะเกี่ ยวข้องกับประเด็นหลัก ๆ เช่น วิธีการ
ชำระเงิน ราคาและมูลค่าที่จะต้องชำระรวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่าง ๆ
เช่น การจ่ายเงินล่าช้า ความผิดพลาดยังไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับช้ากว่ากำหนดของซัพพลายเออร์
กับบริษัท อินฟุส เมดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
1.6.5 บริษัท อินฟุส เมดิคัล จํากัด (ประเทศไทย) หมายถึง สถานที่ผลิตและจัดเก็บ
เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการส่งออก อาทิ เช่น สายน้าเกลือ สายฟอกไต สายให้เลือด
ฯลฯ และ ผ่ า นการรั บ รองคุ ณ ภาพ ISO ซึ ่ ง เป็ น สถานที ่ ท ี ่ อ ยู ่ ใ นเขตภาคกลาง ที ่ อ ยู ่ 706 นิ ค ม
อุตสาหกรรมบางปู เขตประกอบการเสรี หมู่ที่ 4 ต.แพรกษา, เมือง, สมุทรปราการ, 10280

You might also like