You are on page 1of 14

คำชี้แจง

เครื่องมือคัดกรอง “ความสามารถในการอ่านและการเขียน”
(ฉบับกรรมการสอบ)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ภาคเรียนที่ ๒ : ธันวาคม ๒๕๖๖

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
สงวนลิขสิทธิ์

-๑-
คำชี้แจง
เครื่องมือคัดกรอง “ความสามารถในการอ่านและการเขียน”
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ภาคเรียนที่ ๒ : ธันวาคม ๒๕๖๖)

๑. เครื่องมือคัดกรองฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน
๒. เครื่องมือคัดกรองฉบับนี้ มี 2 ฉบับ คือ
ฉบั บที่ 1 การอ่ าน เป็ นการวั ดความสามารถในการจั บใจความสำคั ญ วิ เคราะห์ วิ จารณ์ แสดงความคิ ดเห็ น
และเสนอแนวคิดใหม่จากเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล และนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา
ในการดำเนินชีวิต
ฉบับที่ 2 การเขียน เป็นการวัดความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็น
๓. การใช้เครื่องมือคัดกรอง
ฉบับที่ ๑ การอ่าน
๑) ลักษณะเครื่องมือ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
คำชี้แจง (ครูอ่านคำชี้แจงให้นักเรียนฟัง)
ให้นักเรียนตอบคำถาม โดยเขียนเครื่องหมาย X ทับตัวอักษร ก. ข. ค. หรือ ง. หน้าคำตอบที่ถูกต้อง
ใช้เวลา 3๐ นาที
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๑
นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี
(โคลงโลกนิติ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร))
1. ข้อใดสอดคล้องกับสาระสำคัญของบทอ่านมากที่สุด
ก. ยิ่งกร่างจะยิ่งกลวง ยิ่งเด็ดดวงจะยิ่งถ่อม
ข. ดีหรือทราม ประจักษ์ตามความประพฤติ
ค. สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ
ง. มีดีแท้มักซ่อนไว้ไม่ให้เห็น ดีไม่จริงมักอวดเด่นไม่เป็นคุณ
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๒
เสือผอมกวางวิ่งเข้า โจมขวิด
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ์ เลิศล้ำ
เล็บเสือคมดั่งกริช เสือซ่อน ไว้นา
ครั้นปะปามล้มขว้ำ จึ่งรู้จักเสือ
(โคลงโลกนิติ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร)
2. บทอ่านกล่าวถึงเรื่องใดเป็นสำคัญ
ก. ผลเสียของการไม่มีสติ ข. ภัยของการไม่รู้จักประมาณตน
ค. อันตรายของการคิดไม่รอบคอบ ง. โทษของการใฝ่สูงเกินศักดิ์ของตน
-๒-
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๓
โพงเอ๋ยโพงพาง ทอดขวางกลางลำน้ำไหล
มัจฉาตาบอดลอดเข้าไป ติดอยู่ในข่ายขึงตรึงตรา
ตาบอดอยู่ประสาตัวตาบอด อย่าทำสอดตาเห็นเช่นว่า
ควรเสงี่ยมเจียมพักตร์รักกายา อวดฉลาดพลาดท่าพาจนเอย
(โพงพาง, หลวงประสิทธิ์อักษรสาร (เทศ))
๓. ข้อใดคือสาระสำคัญของบทอ่าน
ก. อย่าพูดโอ้อวดยกตัวเอง ข. อย่าอวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้
ค. อย่าพูดใส่ความให้คนอื่นผิดใจกัน ง. อย่าพูดยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๔
ลิงเอ๋ยลิงลม ไฉนอมข้าวพองตรองไม่เห็น
ลิงก็มีฟันเขี้ยวเคี้ยวก็เป็น มาอมนิ่งเล่นเล่นไม่เห็นควร
แม้ทำการสิ่งใดไม่ตลอด มาท้อทอดกลางคันคิดหันหวน
ทำโอ้โอ้เอ้เอ้ลงเรรวน คนจะสรวลบัดสีไม่ดีเอย
(ลิงลม, นายทัด เปรียญ)
๔. บทอ่านเปรียบ “ลิงลม” กับบุคคลในข้อใด
ก. บุคคลที่ขาดความตั้งใจในการทำงาน ข. บุคคลที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน
ค. บุคคลที่มีท่าทางดีแต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง ง. บุคคลที่ไม่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย

อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๕


นิสัยใจพกนุ่นไม่อุ่นจิต ถึงเป็นมิตรก็ไม่รักสมัครสมาน
เป็นรักกัดขัดแค้นแสนรำคาญ พอลมพานเข้าสักหน่อยก็คอยบิน
(นิราศทวารวดี, หลวงจักรปาณี (ฤกษ์))
๕. “นิสัยใจพกนุ่น” ในบทอ่านมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ขี้หึง ชอบจับผิด ข. ฉุนเฉียวง่าย เอาแต่ใจตนเอง
ค. ขาดการยั้งคิด เชื่อผู้อื่นง่าย ง. ชวนทะเลาะ ชอบใช้ความรุนแรง
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๖
ตัวเป็นข้าอย่าให้ผ้าเหม็นสาบได้ ระวังไว้นุ่งเจียมพอเทียมเพื่อน
ไพร่ผู้ดีมีจนพลเรือน ก็แม้นเหมือนกันสิ้นกินกับการ
(พิเภกสอนเบญกาย)
6. “อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ” ในบทอ่านมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. อย่าทำอะไรเกินฐานะของตน ข. อย่าประพฤติตนไปในทางที่ไม่ดี
ค. อย่าแสดงกิริยาวาจาหยาบคาย ง. อย่านำความลับของเจ้านายไปบอกผู้อื่น

-๓-
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๗
คนขาวจะนุ่งห่ม อันใดใดก็งามดี
คนดำต้องห่มสี แต่หม่นหมองแลเขียวคราม
ห่มแดงแลสีนวล บมิควรจะเห็นงาม
ชายเห็นจะเย้ยหยาม บริภาษให้บาดใจ
(คำฉันท์สอนหญิง)
7. บทอ่านกล่าวถึงเรื่องการแต่งกายสำหรับสตรีอย่างไร
ก. เลือกสีของผ้าที่สวมใส่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ข. เลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับลักษณะของตน
ค. เลือกการแต่งกายที่ส่งเสริมให้สีผิวของตนมีความงามมากขึ้น
ง. เลือกเสื้อผ้าที่จะแต่งกายไปพบผู้ชายให้ส่งเสริมความงามของตน
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๘
แต่ปู่ย่ายายเราท่านเล่ามา เมื่อแรกศรีอยุธยายังเจริญ
กษัตริย์สืบสุริยวงศ์ดำรงโลก ระงับโศกสุขสุดจะสรรเสริญ
เราเห็นยับยังแต่รอยก็พลอยเพลิน เสียดายเกิดมาเมื่อเกินน่าน้อยใจ
(นิราศพระบาท, สุนทรภู่)
8. จากบทอ่าน ผู้แต่งเสียดายเรื่องใด
ก. เสียดายที่เกิดมาไม่ทันเห็นความงามของกรุงศรีอยุธยา
ข. เสียดายที่เกิดมาพบแต่ซากปรักหักพังของกรุงศรีอยุธยา
ค. เสียดายที่เกิดมาไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ง. เสียดายที่เกิดมาในกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งไม่เจริญรุ่งเรืองเท่ากรุงศรีอยุธยา
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๙
มาถึงบางปลาม้าหามะเขือ จะจิ้มเจือจุกจิกกับพริกขิง
ถึงเป็นหนอนพลอนไหก็ไม่ทิ้ง จะปิดนิ่งเนื้อความไว้ยามจน
ต่อเบื่อหมูดูปลาร้าน่าอร่อย จึ่งจะค่อยเหลียวหาปลาร้าหลน
ถึงเน่าเหม็นเป็นหนอนจะผ่อนปรน ดีกว่าทนอดอยากลำบากกาย
(นิราศสุพรรณ, หมื่นพรหมสมพัตสร (มี))
9. ผู้แต่งกล่าวเปรียบการกินปลาร้ากับข้อใด
ก. ชีวิตที่ยากลำบาก ข. ชีวิตที่พบอุปสรรคปัญหา
ค. ชีวิตที่มีเรื่องไม่สมหวัง ง. ชีวิตที่หมดอำนาจวาสนา

-๔-
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๑๐
ยากที่สุดรู้ตนฝึกฝนยาก แม้ลำบากใฝ่กระทำให้ลุล่วง
พะวงหวนรั้นรนมิพ้นลวง หวังจะถ่วงใจนิ่งกริ่งกลัวใจ
๑0. ข้อใดคือสาระสำคัญของบทอ่าน
ก. การฝึกฝนให้รู้ตัวเองต้องอาศัยจิตใจที่มั่นคง
ข. การฝึกฝนที่ยากที่สุดคือการฝึกฝนให้รู้ตนเอง
ค. การฝึกฝนให้รู้ตนเองต้องมุ่งกระทำโดยไม่ลังเล
ง. การฝึกฝนให้รู้ตนเองแม้ลำบากก็จำเป็นต้องกระทำ
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 11-15

-๕-
สถิติข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย (มิถุนายน-ตุลาคม 2566)
วันที่-เวลา ศูนย์กลาง
31 ตุลาคม 2566 ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ( 19.845°N , 99.662°E )
เวลา 07:46:09 น. อาคารสำนักงานไม่เกิน 5 ชัน้ ชัน้ 3 : ผ้าม่านสัน่ ไหวและมีเสียงดังที่ ต.ริมกก และต.รอบเวียง
อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
21 กันยายน 2566 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ( 19.750°N , 99.693°E )
เวลา 00:45:26 น. (1) บ้านเดี่ยว 1 ชั้น: รู้สึกสัน่ ไหวประมาณ 5 วินาทีที่ต.ธารทอง ต.เมืองพาน อ.พาน,
ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย/ (2) บ้านเดี่ยว มากกว่า 1 ชัน้ ชั้น 2 : เตียงและพืน้ บ้าน
สั่นสะเทือนที่ ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย, ต.ดงมะดะ ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว, ต.ทรายขาว
อ.พาน และต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย/ (3) หอพัก/อพาร์ทเมนท์/แฟลต/แมนชั่น ชั้น 3
: รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
12 กันยายน 2566 ประเทศลาว ( 20.830°N , 101.116°E )
เวลา 03:32:41 น. หอพัก/อพาร์ทเมนท์/แฟลต/แมนชั่น ชั้น 2 : รู้สึกสัน่ ไหวที่ ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
17 สิงหาคม 2566 ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ( 19.175°N , 99.206°E )
เวลา 02:26:28 น. อาคารสำนักงานไม่เกิน 5 ชัน้ ชัน้ 1: รู้สึกสั่นไหวเหมือนรถบรรทุกแล่นผ่านที่ ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว
จ.เชียงใหม่
30 มิถุนายน 2566 ประเทศเมียนมา ( 21.167°N , 99.312°E )
เวลา 23:46:52 น. (1) บ้านเดี่ยว 1 ชั้น: สิ่งของและบ้านสัน่ ที่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย
ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย, ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย
จ.เชียงใหม่/ (2) บ้านเดี่ยว มากกว่า 1 ชั้น ชั้น 2 : สิ่งของสัน่ และรู้สึกสั่นไหวที่ ต.เวียงพางคำ
ต.โป่งงาม อ.แม่สาย ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย,
ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่/ (3) ตึกแถว/ทาวน์โฮม/ทาวน์เฮาส์ ชั้น 2 : รู้สึกสั่นไหว หน้าต่างสัน่
ที่ ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย/ (4) ตึกแถว/ทาวน์โฮม/ทาวน์เฮาส์ ชั้น 3 : บ้านสั่น
ที่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย/ (5) หอพัก/อพาร์ทเมนท์/แฟลต/แมนชัน่ ชัน้ 2 :
เตียงสั่น ที่ ต.จองคำ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน/ (6) หอพัก/อพาร์ทเมนท์/แฟลต/
แมนชั่น ชั้น 4 : เตียงสั่นที่ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย/ (7) อาคารสำนักงานไม่เกิน 5 ชั้น
ชั้น 2 : เตียงสั่นที่ ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
ที่มา : กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิยา
๑1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับขนาดความรุนแรงและความเสียหายของแผ่นดินไหว
ก. ตามมาตราริกเตอร์ระดับที่รุนแรงที่สุด คือ ขนาด 7.0 ขึ้นไป
ข. ตามมาตราเมอร์แคลลี่ระดับที่รุนแรงที่สุด คือ ความรุนแรงที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง
ค. มาตราริกเตอร์จัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวจากความรู้สึกของประชาชนเป็นอันดับแรก
ง. มาตราเมอร์แคลลี่จัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวจากน้อยไปหามาก รวมจำนวน 12 อันดับ
๑2. ความเสียหายในข้อใดแสดงให้เห็นถึงขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวมากกว่าข้ออื่น
ก. เก้าอี้หรือสิ่งของที่อยู่บนพื้นสั่นไหว ข. โคมไฟหรือพัดลมติดเพดานแกว่งไปมา
ค. ประชาชนที่อาศัยบนตึกสูงรู้สึกมีการสั่นสะเทือน ง. กำแพงหรือผนังบ้านเรือนหรืออาคารมีรอยแตกร้าว

-๖-
๑3. “หากเก้าอี้และโต๊ะในบ้านทุกตัวล้มลงทั้งหมด และรู้สึกได้ถึงการสั่นไหวรุนแรง”
นักเรียนคิดว่าเป็นความรุนแรงระดับใดตามมาตราริกเตอร์
ก. 1.2 ข. 3.6
ค. 4.8 ง. 5.2
๑4. “ช่วงบ่ายมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหว สุชาติรู้สึกเหมือนมีการสั่นไหวในบ้าน แต่เมื่อถามคนในครอบครัว
และเพื่อนบ้านที่กำลังออกกำลังกายทีส่ นามหน้าหมู่บ้านกลับไม่มีใครรู้สึกดังกล่าว”
นักเรียนคิดว่าเป็นความรุนแรงในระดับใดตามมาตราเมอร์แคลลี่
ก. III ข. IV
ค. VII ง. IX
๑5. จากสถิติข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย (มิถุนายน-ตุลาคม 2566) นักเรียนคิดว่าช่วงเวลา
ในข้อใดที่มีความรุนแรงมากกว่าข้ออื่น
ก. 30 มิถุนายน 2566 ข. 17 สิงหาคม 2566
ค. 12 กันยายน 2566 ง. 31 ตุลาคม 2566
อ่านบทอ่านต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๑6-20

-๗-
16. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของบทอ่านนี้
ก. ชี้แจง ข. แนะนำ
ค. ตักเตือน ง. แจ้งให้ทราบ
๑7. ข้อใดไม่ปรากฏในบทอ่าน
ก. สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ข. การปฏิบัติตนเมื่อเผชิญแผ่นดินไหว
ค. สถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ง. ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

18. ควรเติมข้อความใดใน จึงจะเหมาะสมที่สุด


ก. วิธีรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ข. เตรียมตัวก่อนเกิดแผ่นดินไหว
ค. หลบอย่างไรให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว ง. แผ่นดินไหวกับความปลอดภัยของประชาชน
19. บุคคลในข้อใดปฏิบัติตนไม่ถูกต้องขณะเกิดแผ่นดินไหว
ก. พัชราเดินลงจากอาคารแทนการใช้ลิฟต์
ข. พิษณุจอดรถเข้าข้างทางและนั่งรออยู่ในรถ
ค. วันชัยวิ่งเข้าออกบ้านตลอดเวลาเพื่อดูสถานการณ์
ง. รัตนารีบเดินออกจากบริเวณหน้าต่างของอาคารที่อาศัย
20. หากนักเรียนอยู่บนอาคารสูงและเกิดแผ่นดินไหวขึ้น นักเรียนควรปฏิบัติตนในข้อใด
ก. ใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยกับเพื่อน ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์
ข. ชวนผู้ปกครองขับรถออกจากบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวโดยเร็ว
ค. รีบเปิดโทรทัศน์เพื่อติดตามข่าวสารข้อมูลจากรายงานข่าวต่าง ๆ ก่อนวิ่งออกจากอาคาร
ง. อยู่ห่างจากหน้าต่างแล้วหลบใต้โต๊ะหรือเตียงที่สามารถกำบังจากวัตถุที่จะตกลงมาจากที่สูงได้

เฉลยคำตอบ
ข้อ เฉลย ข้อ เฉลย
1. ค. สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ
11. ค. มาตราริกเตอร์จัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวจากความรูส้ ึก
ของประชาชนเป็นอันดับแรก
2. ข. ภัยของการไม่รู้จักประมาณตน 12. ง. กำแพงหรือผนังบ้านเรือนหรืออาคารมีรอยแตกร้าว
3. ข. อย่าอวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้ 13. ง. 5.2
4. ก. บุคคลที่ขาดความตั้งใจในการทำงาน 14. ก. III
5. ค. ขาดการยั้งคิด เชื่อผู้อื่นง่าย 15. ก. 30 มิถุนายน 2566
6. ข. อย่าประพฤติตนไปในทางที่ไม่ดี 16. ข. แนะนำ
7. ข. เลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับลักษณะของตน 17. ค. สถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย
8. ก. เสียดายที่เกิดมาไม่ทันเห็นความงาม 18. ก. วิธีรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
ของกรุงศรีอยุธยา
9. ก. ชีวิตที่ยากลำบาก 19. ค. วันชัยวิ่งเข้าออกบ้านตลอดเวลาเพื่อดูสถานการณ์
10. ง. การฝึกฝนให้รู้ตนเองแม้ลำบากก็จำเป็นต้อง 20. ง. อยู่ห่างจากหน้าต่างแล้วหลบใต้โต๊ะหรือเตียงที่สามารถกำบัง
กระทำ จากวัตถุที่จะตกลงมาจากที่สูงได้

๒) วิธีการประเมิน
ตอบถูกต้อง ให้ข้อละ ๑ คะแนน ตอบผิด ไม่ได้คะแนน (คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน)

-๘-
๓) แบบบันทึกคะแนน
ตัวอย่างแบบบันทึกคะแนน
ฉบับที่ 1 การอ่าน
โรงเรียน …………………........................................................…………………… ชั้น ……………………………
ข้อที่ รวมคะแนน*
ที่ ชื่อ-สกุล (คะแนนเต็ม
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐
๒๐ คะแนน)
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
6.
7.
8.
9.
10.
คะแนนรวม**
หมายเหตุ
๑. ให้บันทึกคะแนนการอ่านของนักเรียนเป็นรายบุคคล สำหรับนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการอ่านของนักเรียน
๒. วิธีการบันทึกคะแนน ให้ใส่คะแนนที่ได้ในแต่ละข้อ
๓. ใช้รวมคะแนน* และคะแนนรวม** เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัย ปรับปรุง หรือแก้ไขการอ่านของนักเรียน และการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลและภาพรวม

-๙-
ฉบับที่ 2 การเขียน
๑) ลักษณะเครื่องมือ เป็ นการเขียนแสดงความคิดเห็นจากประเด็นที่กำหนด ด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ความยาว ๑2-15 บรรทัด และตั้งชื่อเรื่องให้เหมาะสม ใช้เวลา ๒๐ นาที
คำชี้แจง (ครูอ่านคำชี้แจงให้นักเรียนฟัง)
ให้นั กเรียนเขียนแสดงความคิดเห็ นในประเด็น “วิถีไทยสู่โลกดิจิทัล ” ด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ความยาว ๑2-15 บรรทัด และตั้งชื่อเรื่องให้เหมาะสม ใช้เวลา ๒๐ นาที
๒) เกณฑ์การให้คะแนน ใช้เกณฑ์วัดความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นตามระดับคะแนน
(Rubric Scores) ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๑๖ คะแนน)
ระดับคะแนน
รายการประเมิน
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
๑. การตั้งชื่อเรื่อง ตั้งชื่อเรื่อง ตั้งชื่อเรื่อง
๑.๑ ชื่อเรื่องมีคำที่สื่อความหมายที่ตรง ได้ตามเกณฑ์ ได้ตามเกณฑ์
หรือสอดคล้องกับประเด็นที่กำหนด คะแนนเต็ม ๒ คะแนน ครบ ๒ ข้อ ๑ ข้อ
๑.๒ ใช้คำ วลี ประโยคหรือข้อความ
ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
๒. สาระสำคัญของเรื่อง เขียนเรื่อง เขียนเรื่อง เขียนเรื่อง เขียนเรื่อง เขียนเรื่อง
๒.๑ ลำดับความคิดอย่างต่อเนือ่ ง ได้สาระสำคัญ ได้สาระสำคัญ ได้สาระสำคัญ ได้สาระสำคัญ ได้สาระสำคัญ
๒.๒ นำเสนอเนื้อหาตรงตามประเด็น ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์
ที่กำหนด ครบ ๕ ข้อ ๔ ข้อ ๓ ข้อ ๒ ข้อ ๑ ข้อ
๒.๓ เนื้อหามีความสัมพันธ์กับประเด็น
ที่กำหนด
๒.๔ มีความเป็นเหตุเป็นผล
๒.๕ มีการนำเสนอแนวคิดใหม่
๓. การใช้ภาษา ใช้ภาษา ใช้ภาษา ใช้ภาษา
๓.๑ เลือกใช้คำได้ถูกต้องและสละสลวย ได้ตามเกณฑ์ ได้ตามเกณฑ์ ได้ตามเกณฑ์
๓.๒ ใช้ประโยคสื่อความหมายได้ คะแนนเต็ม ๓ คะแนน ครบ ๓ ข้อ ๒ ข้อ ๑ ข้อ
๓.๓ เขียนเว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง
และไม่เขียนฉีกคำ
๔. การเขียนสะกดคำ เขียนถูกต้อง เขียนผิด เขียนผิด
(เขียนผิดซ้ำ ให้นับเป็น ๑ คำ) คะแนนเต็ม ๓ คะแนน ทุกคำ ๑-๒ คำ ๓ คำ ขึ้นไป

5. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เขียนได้ เขียนได้ เขียนได้


และถูกต้องตามคำชี้แจง ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์
5.1 เขียนตัวอักษรอ่านง่าย คะแนนเต็ม ๓ คะแนน ครบ ๓ ข้อ ๒ ข้อ ๑ ข้อ
5.2 สะอาดเรียบร้อย
๕.๓ เขียนได้ตามจำนวนบรรทัดที่กำหนด

-๑๐-
๓) แบบบันทึกคะแนน
ตัวอย่างแบบบันทึกคะแนน
ฉบับที่ ๒ การเขียน
โรงเรียน …………………........................................................…………………… ชั้น ……………………………
คะแนน
๑. การตัง้ ชื่อเรื่อง ๒. สาระสำคัญของเรื่อง ๓. การใช้ภาษา ๔. การเขียนสะกดคำ ๕. ความเป็นระเบียบ รวมคะแนน*
ที่ ชื่อ-สกุล (คะแนนเต็ม ๒ คะแนน) (คะแนนเต็ม ๕ คะแนน) (คะแนนเต็ม ๓ คะแนน) (คะแนนเต็ม ๓ คะแนน) เรียบร้อย (คะแนนเต็ม
และถูกต้องตามคำชีแ้ จง ๑๖ คะแนน)
(คะแนนเต็ม ๓ คะแนน)
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
คะแนนรวม**
หมายเหตุ
๑. ให้บันทึกคะแนนการเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียนเป็นรายบุคคล สำหรับนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเขียนของนักเรียน
๒. วิธีการบันทึก ให้ใส่คะแนนที่ได้ตามเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละรายการประเมิน
๓. ใช้รวมคะแนน* และคะแนนรวม** เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัย ปรับปรุง หรือแก้ไขการเขียนของนักเรียน และการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลและภาพรวม

-๑๑-
๔. การแปลผลการประเมิน
การประเมินผล ให้รวมคะแนนจากการวัด ดังนี้
ฉบับที่ ๑ การอ่าน (คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน)
ฉบับที่ 2 การเขียน (คะแนนเต็ม 16 คะแนน)
บันทึกผลของคะแนนจากการวัดเป็นรายบุคคล จากนั้นให้นำคะแนนมาเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้
ฉบับที่
ฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 รวม 2 ฉบับ
เกณฑ์ของระดับคะแนน การอ่าน การเขียน (คะแนนเต็ม การแปลผล
(คะแนนเต็ม (คะแนนเต็ม 36 คะแนน)
20 คะแนน) 16 คะแนน)
ร้อยละ ๗๕-๑๐๐ ๑5-20 ๑2-16 27-36 ดีมาก
ร้อยละ ๕๐-๗๔ 10-๑4 8-๑1 18-26 ดี
ร้อยละ ๒๕-๔๙ 5-9 4-7 9-17 พอใช้
ร้อยละ ๐-๒๔ ๐-4 ๐-3 0-8 ปรับปรุง

* กรณี ที่พบว่าเครื่องมือคัดกรองหรือเฉลยคำตอบมีความผิดพลาด ขอความกรุณ าครูผู้สอนหรือครูประจำชั้ น


ที่ ได้ รับ มอบหมายในการดำเนิ น การสอบหรือ ตรวจให้ ค ะแนนพิ จ ารณาปรับ ให้ ถู ก ต้ องเพื่ อ ให้ ก ารจั ดการสอบ
เป็ น ไปด้ วยความเรีย บร้ อ ย ทั้ งนี้ สถาบั น ภาษาไทย ขออภั ย มา ณ ที่ นี้ และหากมี ข้ อ สงสั ย หรื อ ข้ อ เสนอแนะ
กรุณาติดต่อ สถาบันภาษาไทย 0 2288 5746-7

-๑๒-
ตัวอย่างแบบสรุปผล
เครื่องมือคัดกรอง “ความสามารถในการอ่านและการเขียน”
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ (ภาคเรียนที่ ๒ : ธันวาคม ๒๕๖๖)
โรงเรียน …………………........................................................…………………… ชั้น …………………………
ฉบับที่
ที่ ชื่อ-สกุล ฉบับที่ 1 การแปลผล* ฉบับที่ 2 การแปลผล* รวม 2 ฉบับ การแปลผล*
การอ่าน การเขียน (คะแนนเต็ม 36 คะแนน)
(คะแนนเต็ม 2๐ คะแนน) (คะแนนเต็ม 16 คะแนน)
1.
๒.
๓.
๔.
๕.
6.
7.
8.
9.
10.
รวม

หมายเหตุ * แปลผลโดยเทียบกับเกณฑ์

-๑๓-
-๑๔-

You might also like