You are on page 1of 39

1

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็ นมาและความสำคัญของปัญหา
แบดมินตันเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายประเภทหนึ่งที่ให้ความ
สนุกสนานทั้งผู้เล่นและผู้ชม แล้วยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายให้กับนักกีฬา เป็นกีฬาที่
สามารถเล่นได้ทั้งหญิงและชาย วัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ การเล่นกีฬาแบดมินตันจะทำให้เกิดความ
สนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะได้พบปะกับบุคคลหลายๆฝ่ ายทำให้เป็นผู้มีสังคมที่ดี ถ้าหากได้เล่น
กีฬาแบดมินตันเป็นประจำสม่ำเสมอก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีพลานามัยที่ดี
เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งและกีฬาแบดมินตันยังเป็นกีฬาที่คนไทยสามารถออกไป
แข่งขันในระดับโลกได้(น้อม สังข์ทอง, 2537)
ในการเรียนการสอนแบดมินตัน ทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือทักษะการส่งลูก การส่งลูกใน
การเล่นแบดมินตันจะต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี เพราะการส่งลูก เป็นการเริ่มต้นการเล่นทุก
ประเภทและสามารถทำให้ฝ่ ายส่งมีโอกาสได้คะแนนจากเล่นมากที่สุด เนื่องจากหากฝ่ ายรับตีโต้
กลับมาไม่ได้หรือฝ่ ายรับตีโต้ลูกง่ายๆกลับมาให้ฝ่ ายส่งตบลูก ดังนั้นการส่งลูกที่มีประสิทธิภาพจึง
จำเป็นสำหรับการเล่นแบดมินตันเป็นอย่างยิ่ง (ฉัตรชัย แฝงสาเคน ,เอื้อมพร พลอยประดิษฐ์, 2551)
จากการที่ได้ปฏิบัติการสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โรงเรียนพัทลุง ในคาบวิชา
พลศึกษา กีฬาแบดมินตัน ในเรื่องทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ (SERVE) หลังจากที่ผู้
วิจัยทำการสอนทักษะการส่งลูกด้านหลังมือเสร็จ ก็มีการทดสอบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วย
หลังมือ ของนักเรียนจำนวน 32 คน พบว่ามีนักเรียนจำนวน 8 คน มีทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วย
หลังมือ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หากไม่แก้ไขปัญหาทักษะดังกล่าว จะส่งผลต่อทัศนคติที่ดีต่อการ
เล่นกีฬาของนักเรียน ซึ่งทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือเป็นทักษะที่สำคัญ ถ้าไม่ผ่านทักษะ
นี้ก็จะส่งผลไปสู่ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการตีลูกโด่ง ทักษะการตีลูกดาด และทักษะการตีลูกหยอด
ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มนี้ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนแบดมินตัน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสร้างแบบ
ฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เพื่อ
ใช้ในการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะในการส่งลูก
แบดมินตันด้านหลังมือ และ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สอน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา
ศักยภาพ ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่สมบูรณ์แบบ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2

1. เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะและ
หลังการใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9
3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โรงเรียนพัทลุง ที่มีต่อ
แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ภาคเรียนที่ 2
ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนพัทลุง จำนวน 32 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ภาคเรียนที่ 2
ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านพัทลุง จำนวน 8 ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
(Purposive Sampling) ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ผู้วิจัยได้
ศึกษาและนำข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ
มาพัฒนาเป็นแบบฝึกทักษะให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยมีจุดมุ่ง
หมายให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 เวลาที่ใช้ในการ
ทดลอง
วันที่ 8-19 มกราคม พ.ศ.2567 เป็นระยะเวลา 10 วัน 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที
รวม 4 ครั้ง

สมมุติฐานการวิจัย
3

1. แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 มี


ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 มีทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ หลังการใช้
แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โรงเรียนพัทลุงมีความพึงพอใจต่อการฝึกทักษะการส่ง
ลูกแบดมินตันด้วยหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด

กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ตามแผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
ดังนี้
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

แบบฝึกทักษะการส่งลูก ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้าน
แบดมินตันด้านหลังมือ หลังมือ

ภาพที่ 1 กรอบแนวความคิด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
5/9 เพื่อพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
2. เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ
3. เป็นข้อมูลทางการศึกษาและสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการ
เรียนการสอนแบดมินตันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นิยามศัพท์เฉพาะ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้ให้นิยามศัพท์เฉพาะไว้ดังนี้
1. ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ หมายถึง ความสามารถในการส่งลูก
แบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9
2. แบบฝึกทักษะ หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ฝึกทักษะกับผู้เรียน เพื่อฝึกฝนให้
เกิดทักษะและเกิดความชำนาญในการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
4

3. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดประสิทธิภาพของ


แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือช่วยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 เกิดการเรียน
รู้ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้คือ 80/80 โดยมีความหมาย ดังนี้
80 ตัวแรก เป็นคะแนนที่ได้จากการทดสอบระหว่างเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป
80 ตัวหลัง เป็นคะแนนที่ได้จากคะแนนทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ทางการ
เรียนหลังจากการเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้า แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงาน
วิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาใช้เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
2. แนวคิดเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ
3. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
เอื้อมพร พลอยประดิษฐ์และฉัตรชัย แฝงสาเคน(2551) ได้กล่าวว่าการส่งลูกด้านหลังมือ มี
ทักษะการส่งดังนี้
1. ยืนหันหัวไหล่และก้าวเท้าข้างที่ไม่ถนัดให้ตาข่าย มือข้างถนัดจับไม้ไว้ด้านหน้า
ให้หัวไม้ต่ำกว่าเอว
2. ยืนให้น้ำหนักอยู่ที่เท้าหน้า
3. ถือลูกขนไก่อยู่ด้านหน้า แล้วปล่อยลูกพร้อมกับตวัดข้อมือที่ถือไม้ตามเข็ม
นาฬิกา
4. เหยียดแขนตามลูกไป
5

ภาพที่ 2 การส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
ที่มา: (ฉัตรชัยแฝงสาเคนและเอื้อมพร พลอยประดิษฐ์, 2551)
พีรดลย์ โฉมงาม. ( 2553 ) ได้กล่าวว่าในการเริ่มฝึกหัดเล่นแบดมินตันจะเริ่มด้วยการตีลูก
หน้ามือก่อนแล้วจึงหัดตีลูกหลังมือ ดังนั้นจึงควรที่จะเริ่มด้วยการจับไม้แร็กเกตเสียก่อน วิธีการ
จับไม้แร็กเกตที่ถูกต้องและนิยมมี 2 แบบคือ
1. การจับแบบเช็คแฮนด์ ใช้มือซ้ายจับที่คอไม้แร็กเกตก่อน วางฝ่ ามือขวาลงบน
ด้ามไม้แร็กเกตแล้วจึงค่อย ๆ ลากมือลงมาเรื่อย ๆ จนนิ้วก้อยหยุดที่ปลายด้ามแล้วกำทั้ง 4 นิ้วรอบ ๆ
ด้ามไม้แร็กเกต ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะอยู่ทางด้านแบนอีกด้านหนึ่งของไม้แร็กเกตคล้ายการสัมผัสมือ

ภาพที่ 3 การจับไม้แบบ shake hand


ที่มา: ( พีรดลย์ โฉมงาม. 2553 )

2. การจับแบบวีเชพ ยกมือข้างที่ถนัดขึ้นมาแล้วกางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออก เป็น


รูปตัววี แล้วจึงสอดด้ามไม้แร็กเกตเข้าไปในช่องรูปตัววี ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้คีบทางด้านแบน
ของด้ามไม้แร็กเกตไว้ เมื่อจับถูกต้องหัวไม้แร็กเกตด้านที่เป็นสันจะอยู่ตรงกลางร่องตัววีพอดี จาก
นั้นนิ้วที่เหลือ 3 นิ้ว กำด้ามไม้แร็กเกตเข้ามาโดยกำให้สุดด้าม ปลายด้ามจะอยู่ในอุ้งมือ ใช้นิ้วล็อก
6

ทางส่วนโค้งของด้ามไม้แร็กเกตเอาไว้ เมื่อจับไม้แร็กเกตเรียบร้อยแล้ว จะสังเกตเห็นว่านิ้วชี้ไม่ติด


กับนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยที่เรียงติดกันเป็นมุม 45 องศา ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะวางทาบอยู่ด้านแบน
ของไม้แร็กเกต

ภาพที่ 4 การจับไม้แบบ v-shape


ที่มา: ( พีรดลย์ โฉมงาม. 2553 )

นอกจากนี้ยังกล่าวว่าในการจับลูกขนไก่เพื่อการส่ง มี 2 แบบ
1.แบบจับที่ส่วนกลาง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ประคองลูกขนไก่ ส่วนนิ้วกลาง
และนิ้วนางจะเป็นตัวช่วยพยุงที่หัวของลูกขนไก่บริเวณเชือกมัดลูกขนไก่ ลักษณะคล้ายถ้วย โดยจะ
ใช้นิ้ว 3 นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง

ภาพที่ 5 การจับลูกแบดมินตันโดยทำมือเป็นรูปถ้วย
ที่มา: ( พีรดลย์ โฉมงาม. 2553 )
7

2.แบบจับที่ปลาย ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับเฉพาะบริเวณปลายขนไก่ขนใดขน
หนึ่งไว้เท่านั้น ส่วนอีก 3 นิ้ว ไม่ต้องจับส่วนใดหรือไม่ต้องประคองลูกขนไก่

ภาพที่ 6 การจับลูกแบดมินตันโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับลูกขนไก่
ที่มา: ( พีรดลย์ โฉมงาม. 2553 )

แนวคิดเกี่ยวกับแบบฝึ กทักษะ
ความหมายและความสำคัญของแบบฝึก ได้มีผู้ให้ความหมายและความสำคัญของแบบฝึก
เสริมทักษะทางด้านกีฬาแบดมินตันไว้ หลายท่าน ดังนี้
สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2543:1-2) กล่าวว่า แบบฝึกเป็นสื่อที่ใช้ในการฝึกทักษะ การคิด
การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาการปฏิบัติของนักเรียน นิยมใช้ในกลุ่มภาษาไทย คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ การงานและพื้นฐานอาชีพ และกล่าวอีกว่า ความสำคัญของการฝึกฝนว่า เมื่อครูได้
สอนแนวคิด หลักการให้กับนักเรียน และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นแล้ว ขั้นต่อไปครู
ต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝน เพื่อให้มีความชำนาญคล่องแคล่วแม่นยำและรวดเร็วหรือที่
เรียกว่าฝึกฝนเพื่อเกิดทักษะ นอกจากนี้แบบฝึกหัดยังเป็นสื่อการสอนทำขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ให้เข้าใจ ฝึกฝนจนรู้และชำนาญ มีทักษะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นอกจากนั้นแบบฝึกหัดยังเป็น เครื่อง
ช่วยบ่งชี้ให้ครูทราบว่า ผู้เรียนหรือผู้ใช้แบบฝึกมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียน และสามารถ นำ
ความรู้นั้นไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด ผู้เรียนมีจุดเด่นที่ควรส่งเสริมหรือมีจุดด้อยที่ควรปรับปรุง
แก้ไขอย่างไร แบบฝึกหัดจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ครูใช้ในการตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจ และ
พัฒนาทักษะของนักเรียนในวิชาต่าง ๆรวมทั้งแบบฝึกยังเป็นอุปกรณ์การสอนอย่างหนึ่งที่สร้าง ขึ้น
มา เพื่อฝึกฝนทักษะนักเรียนหลังจากที่เรียนเนื้อหาไปแล้วได้ศึกษาให้เข้าใจ ฝึกฝนจนรู้และชำนาญ
สรุปได้ว่าแบบฝึกทักษะหรือแบบฝึก คือ สื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ที่ใช้ฝึกทักษะให้
กับผู้เรียน หลังจากเรียนจบเนื้อหาในช่วงหนึ่ง ๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งเกิด
ความชำนาญ ในเรื่องนั้น ๆ อย่างกว้างขวาง แบบฝึกหัดจึงมีความสำคัญต่อผู้เรียนไม่น้อยในการที่
8

ช่วยเสริมสร้าง ทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเร็วขึ้น ชัดเจน กว้างขวางขึ้น ทำให้


การสอนของครู และการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ จึงนับว่าเป็นเครื่อง
มือที่สำคัญที่ครู สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่จุดหมายได้อีกด้วย
ทฤษฎีการสร้างแบบฝึ ก
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2544:91-92)กล่าวว่า การเรียนรู้ของธอร์นไดด์ว่า มีอยู่ 3 กฎดังนี้
1. กฎแห่งความพึงพอใจ หรือกฎแห่งธอร์นไดด์ สรุปว่า อินทรีย์จะทำในสิ่งที่ก่อให้เกิด
ความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เขาไม่พึงพอใจ ธอร์นไดด์ได้เน้นถึงการใช้เทคนิคที่จะ
สร้างความพึงพอใจให้กับผู้เรียน เช่น การชม การให้รางวัล
2. กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อผู้เรียนอยู่ในสภาพที่พร้อม
จะเรียนหรือพร้อมที่จะท ากิจกรรม ความพร้อมในที่นี้รวมความถึงความพร้อมทางด้านร่างกาย สติ
ปัญญา สังคมและอารมณ์
3. กฎแห่งการฝึกหัด ประกอบด้วยกฎที่สำคัญ 2 ข้อ คือ
3.1 กฎแห่งการใช้พฤติกรรมใดที่อินทรีย์มีการกระท าอยู่เสมอหรือมีการฝึกฝนอยู่เป็น
ประจ าไม่ได้ทิ้งช่วงไว้นาน อินทรีย์ย่อมเกิดทักษะและกระท าพฤติกรรมนั้นได้ดี
3.2 กฎแห่งการไม่ใช้พฤติกรรมใดก็ตามที่อินทรีย์ทิ้งช่วงไว้นาน อินทรีย์ย่อมจะเกิดการ
ลืม
จากทฤษฎีการเรียนรู้ ที่ได้เสนอในข้างต้นทำให้ผู้ศึกษาได้แนวคิดว่า การสร้างแบบฝึก
เสริมทักษะในครั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความพร้อม ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความพึงพอใจ สนุกสนาน
มีความสุขในการทำกิจกรรม การได้รับการฝึกฝนอยู่เป็นประจ า และได้รับการเสริมแรง จะทำให้ ผู้
เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ที่ดี

หลักในการสร้างแบบฝึ ก
ในการสร้างแบบฝึก เป็นสิ่งจำเป็นในการสอน เพราะการฝึกฝนบ่อย ๆ และหลาย ๆ ครั้ง ย่อม
ทำให้เกิดความชำนาญ คล่องแคล่ว ควรมีวิธีในการสร้างแบบฝึก ดังนี้
กุสยา แสงเดช (2545:6-7) ได้กล่าวแนะนำผู้สร้างแบบฝึกให้ยึดลักษณะแบบฝึกที่ดี ดังนี้
1.แบบฝึกที่ดีควรมีความชัดเจนทั้งค าสั่งและวิธีทำคำสั่งหรือตัวอย่างแสดงวิธีท าที่ใช้ไม่
ควรยากเกินไป เพราะจะทำความเข้าใจยาก ควรปรับให้ง่ายและเหมาะสมกับผู้ใช้เพื่อนักเรียน
สามารถเรียนด้วยตนเองได้
2. แบบฝึกที่ดีมีความหมายต่อผู้เรียนและตรงตามจุดหมายของการฝึก ลงทุนน้อยใช้ได้
นาน ทันสมัย
3. ภาษาและภาพที่ใช้ในแบบฝึกเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน
9

4. แบบฝึกที่ดีควรแยกเป็นเรื่องๆ แต่ละเนื่องไม่ควรยาวเกินไปแต่ควรมีกิจกรรมหลาย
แบบเพื่อเร้าความสนใจ และไม่น่าเบื่อในการท าแบบฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งจนชำนาญ
5. แบบฝึกที่ดีมีทั้งแบบกำหนดคำตอบในแบบและให้ตอบโดยเสรีมการเลือกใช้คำ
ข้อความ รูปภาพในแบบฝึก ควรเป็นสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคยและตรงกับความสนใจของนักเรียน ก่อให้
เกิดความเพลิดเพลินและพอใจแก่ผู้ใช้ ซึ่งตรงกับหลักการเรียนรู้ว่า นักเรียนจะเรียนได้เร็วใน การก
ระทำที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ
6. แบบฝึกที่ดีควรเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ให้รู้จักค้นคว้ารวบรวมสิ่งที่
พบเห็นบ่อย ๆ หรือที่ตัวเองเคยใช้ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องนั้นๆมากยิ่งขึ้น และรู้จักนำความรู้ไป
ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง มีหลักเกณฑ์และมองเห็นว่าสิ่งที่ได้ฝึกนั้นมีความหมายจ่อเขา
ตลอดไป
7. แบบฝึกที่ดีควรตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตก
ต่าง กันในหลายๆด้าน เช่น ความต้องการ ความสนใจ ความพร้อม ระดับสติปัญญา และ
ประสบการณ์ 9 เป็นต้น ฉะนั้นการท าแบบฝึกแต่ละเรื่องควรจัดท าให้มากพอและมีทุกระดับตั้งแต่
ง่าย ปานกลาง จนถึงระดับค่อนข้างยาก เพื่อว่านักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนจะได้เลือกท าได้ตาม
ความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ประสบความสำเร็จในการทำแบบฝึก
8. แบบฝึกที่จัดทำเป็นรูปเล่ม นักเรียนสามารถเก็บรักษาไว้เป็นแนวทางเพื่อทบทวนด้วย
ตนเองต่อไป
9. การที่นักเรียนได้ทำแบบฝึก ช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆของนักเรียน
ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ครูด าเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้น ๆทันท่วงที
10. แบบฝึกที่จัดขึ้น นอกจากมีในหนังสือเรียนแล้ว จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนอย่างเต็ม
ที่
11. แบบฝึก ที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จะช่วยให้ครูประหยัดแรงงานและเวลาในการที่
จะต้องตรียมแบบฝึกอยู่เสมอ ในด้านผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาในการลอกแบบฝึกจากต าราเรียนหรือ
กระดานดำ ทำให้มีเวลาและโอกาสได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆได้มากขึ้น
12. แบบฝึกช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการพิมพ์เป็นรูปเล่มที่แน่นอนลงทุนต่ำ การที่ใช้
พิมพ์ลงกระกระดาษไขทุกครั้งไป นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ที่ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็น
ความก้าวหน้าของตนได้อย่างมีระบบและมีระเบียบ
หลักในการฝึ ก
1. ในการฝึกทักษะควรทำหลังจากนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ แล้ว
2. ฝึกทักษะตามความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนที่เห็นคุณค่าและประโยชน์ในการฝึก
3. การฝึกควรให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้น นักเรียนทุกคนไม่
10

จำเป็นต้องได้รับการฝึกแบบเดียว
4. การทำแบบฝึกนั้น ควรจะฝึกเฉพาะเรื่องและให้จบเรื่องนั้น ๆ ก่อนจึงจะฝึกเรื่องต่อไป
5. ในการฝึก ไม่ควรให้ซ้ำซากจนน่าเบื่อ ควรจะฝึกเพื่อให้เกิดทักษะหรือความชำนาญใช้
เวลาในการฝึกทักษะพอสมควร ไม่มากหรือน้อยเกินไป ฝึกทักษะเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์จริง ๆ
ควรใช้กิจกรรมหลาย ๆ แบบ และฝึกหลาย ๆ ครั้งในแต่ละทักษะ
6. การฝึกให้ได้ผลดีต้องเป็นรายบุคคล
7. แบบฝึก ควรมีมาตรฐานจัดให้เหมาะสม มีคำตอบที่ถูกต้อง ให้คำตอบกับผู้เรียนได้
ตรวจสอบควรจะได้คะแนนในการทำแบบฝึกหัดแต่ละครั้ง เพื่อวัดความก้าวหน้า

ประโยชน์ของแบบฝึ ก
รัชนี ศรีไพรวรรณ (2517:189)ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึก ไว้ว่า
1. ทำให้เข้าใจบทเรียนดีขึ้น เพราะเป็นเครื่องอ านวยประโยชน์ในการเรียนรู้
2. ทำให้ครูทราบความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน
3. ฝึกให้เด็กมีความเชื่อมั่นและสามารถประเมินผลของตนเองได้
4. ฝึกให้เด็กทำงานตามล าพัง โดยมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับหมอบหมาย
สุกัญญา โพธิสุวรรณ (2541:20) ได้กล่าวถึงแบบฝึกว่า แบบฝึกมีไว้ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
เพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะ และความแตกฉานในบทเรียน และได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกซึ่ง
สรุปได้ คือ นำไปใช้เสริมหนังสือแบบเรียน สามารถแบ่งเบาภาระของครูเพราะแบบฝึก เป็นสื่อการ
สอนที่ได้จัดท าขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งยังเป็นเครื่องช่วยฝึกฝนและส่งเสริมทักษะได้ดียิ่งขึ้น
จากการศึกษาเอกสารที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะนั้นมีประโยชน์ ต่อ
ครูและนักเรียน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมความรู้ให้กับนักเรียนหลังจากการเรียนในหนังสือเรียน ปกติ
นับว่าเป็นสื่อที่สามารถพัฒนานักเรียน ช่วยลดภาระการสอนของครู เป็นการประเมินผล นักเรียน
ไปในตัวด้วย จึงทำให้ทราบข้อบกพร่องและสามารถส่งเสริมหรือแก้ไขทันที ทำให้เกิด ทักษะต่าง
ๆที่คงทน

การหาประสิทธิภาพของแบบฝึ กทักษะ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2532) ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องทดสอบประสิทธิภาพของชุด
การสอนหรือแบบฝึกอยู่หลายประการ คือ
11

1. สำหรับหน่วยงานผลิตแบบฝึก เป็นการประกันคุณภาพของแบบฝึกว่าอยู่ในขั้นสูง
เหมาะสมที่จะผลิตออกมาจำนวนมาก หากไม่มีการทดสอบประสิทธิภาพเสียก่อนแล้ว ผลิตออกมา
ใช้ประโยชน์ไม่ได้ดี ก็จะต้องทำใหม่ เป็นการสิ้นเปลืองเวลาและเงินทอง
2. สำหรับผู้ใช้แบบฝึ ก แบบฝึ กจะทำหน้าที่สอน โดยที่ช่วยสร้างสภาพการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่มุ่งหมาย ดังนั้นก่อนนำแบบฝึ กมาใช้จึงควรมั่นใจว่าแบบฝึ กนั้น
มีประสิทธิภาพในการช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริง การทดสอบประสิทธิภาพตามลำดับขั้น
จะช่วยให้มีคุณค่าทางการสอนจริงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. สำหรับผู้ผลิตแบบฝึ ก การทดสอบประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่า
เนื้อหาสาระที่บรรจุลงในชุดแบบฝึกง่ายต่อการเข้าใจ อันจะช่วยให้ผู้ผลิตมีความชำนาญสูงขึ้น
การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพทำได้โดยการประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ)
และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (ผลลัพธ์) โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพ E1 เป็ นประสิทธิภาพของ
กระบวนการและ E2 เป็นประสิทธิภาพของผลลัพธ์ กำหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะ
เปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงพอใจ โดยกำหนดให้เป็ นเปอร์เซ็นต์ของผลการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียน
ทั้งหมด นั่นคือใช้เกณฑ์ในเนื้อหาเป็นทักษะไว้ 80/80
จากความหมายของแบบฝึกหรือแบบฝึกเสริมทักษะที่กล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า แบบฝึก คือ สิ่ง
ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งมีไว้ให้นักเรียนฝึกฝน เพื่อเพิ่มทักษะ ภายหลังที่
นักเรียนได้เรียนเนื้อหาจากแบบเรียนปกติ แล้วแบบฝึกจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ มี ความรู้ความ
สมารถและทักษะในสิ่งที่เรียนมากขึ้นจึงนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ครูสามารถ นำไปใช้ใน
กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่จุดหมายได้
ความหมายของแบบทดสอบ
กาญจนา วัฒายุ (2548:177) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบ (Test) หมายถึง ชุดของ สิ่งที่
สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมาและสามารถสังเกต หรือ
วัดได้ในการวัดจึงต้องให้ข้อความเป็นสิ่งกระตุ้น เพื่อให้ผู้ตอบใช้ความรู้ความสามารถหา คำตอบ
คำตอบที่ถูกเป็นสิ่งซึ่งแสดงให้ทราบว่าผู้ตอบมีความรู้ ความสามารถเพียงใด
ประเภทของแบบทดสอบ แบบทดสอบแบ่งได้หลายประเภท ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ผู้รายงาน ได้
ศึกษาแบบทดสอบที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความนักเรียนดังนี้
1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ค าว่า แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) ให้
ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ว่า หมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ทักษะ และ
สมรรถภาพ ทางสมองด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้ว ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ด้านความจำ
ความเข้าใจ การนำไปใช้การคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง
และ แบบทดสอบมาตรฐาน
12

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545:95) กล่าวไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นแบบทดสอบที่ใช้ ความ


รู้ ทักษะ และความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียน เรียนรู้มาแล้วว่าบรรลุผลสำเร็จตาม จุดประสงค์ที่
กำหนดไว้เพียงใด โดยทั่วไปแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
เฉพาะกลุ่มที่ครูสอน เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นใช้กันทั่วไปในสถานศึกษา มีลักษณะเป็น แบบ
ทดสอบข้อเขียน (Paper and Pencil Test) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 แบบทดสอบอัตนัย (Subjective or Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่กำหนดคำถาม
หรือปัญหาให้แล้วให้ผู้ตอบเขียนโดยแสดงความรู้ ความคิด เจตคติ ได้อย่างเต็มที่
1.2 แบบทดสอบปรนัย หรือแบบให้ตอบสั้น ๆ (Objective Test of Short Answer)
เป็นแบบสอบถามที่ก าหนดให้ผู้สอบเขียนตอบสั้น ๆ หรือค าตอบให้เลือกแบบจ ากัดคำตอบ
(Restricted Response Type) ผู้ตอบไม่มีโอกาสแสดงความรู้ ความคิดได้อย่างกว้างขวางเหมือน 14
แบบสอบอัตนัย แบบทดสอบชนิดนี้แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบทดสอบถูก – ผิด แบบทดสอบ
เติมค า แบบทดสอบจับคู่ และแบบทดสอบเลือกตอบ
2. แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียนทั่ว ๆ ไป
ซึ่ง สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการวิเคราะห์และปรับปรุงอย่างดีจนมีคุณภาพ มีมาตรฐาน กล่าวคือมี
มาตรฐานในการด าเนินการสอบ วิธีการให้คะแนน และการแปลความหมายของคะแนน

วิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
ไพบูลย์ สุขชุม.(2549)ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬา
แบดมินตันควบคู่สนามแบบมิติ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนนนทรีวิทยาการศึกษา
ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้1.เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาแบดมินตันของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับทักษะกีฬาแบดมินตัน (การตีลูกขั้นพื้นฐาน) ทัศนคติที่มี
ต่อการฝึกทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะกีฬาแบดมินตัน 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกีฬา
แบดมินตันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ระหว่างก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 3 และ หลัง
การฝึกสัปดาห์ที่ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ทั้ง 2 กลุ่ม 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกีฬา
แบดมินตันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 3 และหลังการฝึก
สัปดาห์ที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาแบดมินตันควบคู่สนามแบบ 2 มิติ และ
กลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาแบดมินตันควบคู่สนามแบบ 3 มิติ นักเรียนกลุ่มเป้ าหมายการ
ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนนนทรีวิทยา ปี การศึกษา 2549 จำนวน 42 คน ผล
การศึกษาพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการตีลูก
13

ขั้นพื้นฐานของนักเรียนระหว่างก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 5 พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการตี


ลูกขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 5 สูงกว่าก่อนการฝึก
ทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติที่มีต่อ
กีฬาแบดมินตันของนักเรียนระหว่างก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 5 พบว่า ทัศนคติที่มีต่อ
กีฬาแบดมินตันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 5 สูงกว่าก่อนการฝึก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทักษะ
แบดมินตัน ภายในกลุ่มของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 5 สูงกว่าก่อนการฝึก และ
หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกสัปดาห์ที่
3 สูงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ. (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบทดสอบทักษะกีฬา


แบดมินตันขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาแบดมินตันขั้น
พื้นฐานและสร้างเกณฑ์ทักษะกีฬาแบดมินตันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และประเมิน
หาความตรง ความเที่ยงและความเป็นปรนัยของแบบทดสอบกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ใช้นักเรียนจำนวน 40 คน เป็นนักเรียนชาย 20 คน และ
นักเรียนหญิง 20 คน ในการสร้างเกณฑ์ปกติ ใช้นักเรียนจำนวน 400 คน เป็นนักเรียนชาย 200 คน
และนักเรียนหญิง 200 คน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบ
ทักษะกีฬาแบดมินตัน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย การเสิร์ฟลูกโด่ง การเสิร์ฟลูกสั้น การตีลูกโด่ง
การตีลูกตบ และการตีลูกหยอด และได้นำแบบทดสอบไปประเมินค่าความตรง ความเที่ยงและ
ความเป็นปรนัย นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความตรงตามสภาพจริง ความเที่ยงและความเป็นปรนัย
ของแบบทดสอบผลการวิจัยพบว่า (1)แบบทดสอบการเสิร์ฟลูกโด่ง มีค่าความตรง ค่าความเที่ยง
และความเป็นปรนัย เท่ากับ .757,.972 และ.992 (2)แบบทดสอบการเสิร์ฟลูกสั้น มีค่าความตรง ค่า
ความเที่ยงและความเป็นปรนัย เท่ากับ .812, .957 และ.989 (3)แบบทดสอบการตีลูกโด่ง มีค่าความ
ตรง ค่าความเที่ยงและความเป็นปรนัย เท่ากับ .809, .985 และ.991 (4)แบบทดสอบการตีลูกตบ มีค่า
ความตรง ค่าความเที่ยงและความเป็นปรนัย เท่ากับ .770, .977 และ.987 (5)แบบทดสอบการตีลูก
หยอด มีค่าความตรง ค่าความเที่ยงและความเป็นปรนัย เท่ากับ .725, .984 และ.988 (6)แบบทดสอบ
รวมทุกรายการ มีค่าความตรง ค่าความเที่ยงและความเป็นปรนัย เท่ากับ .958, .992 และ.997 (7)การ
ทำนายความสามารถในการแข่งขันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้สมการดังนี้ Y =
0.21X1 + 0.15X2 + 0.25X3 + 0.21X4 +0.20X5 + 5.149 เมื่อ Y = ความสามารถของทักษะ
แบดมินตัน / X1 = คะแนนการเสิร์ฟลูกโด่ง / X2 = คะแนนการเสิร์ฟลูกสั้น /X3 = คะแนนการตีลูก
โด่ง / X4 = คะแนนการตีลูกตบ / X5 = คะแนนการตีลูกหยอด
14

งานวิจัยต่างประเทศ
Bobrich (อ้างใน ผาฌิต บิลมาศ, 2530) ได้ศึกษาเครื่องมือวัดการพัฒนาของทักษะ
แบดมินตันทั้งหมดของนักเรียน ที่เล่นแบดมินตันประเภทคู่ ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความ
สามารถในการเล่นแบดมินตัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้การประเมินมาตรฐาน 4 ระดับ คือ
ไม่ได้กระทำทักษะนี้ หรือไม่ได้พยายามกระทำเลย พอใช้ ดี และดีมาก เรียงตามลำดับคะแนนดังนี้
0,1,2 และ 3 ในส่วนที่ 2 ใช้มาตรฐานการประเมิน 3 ระดับ คือ เมื่อไม่มีลักษณะดังกล่าว เมื่อมี
ลักษณะดังกล่าวเพียงบางครั้ง และเมื่อมีลักษณะดังกล่าวอยู่เสมอ ให้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้ 0,1
และ 2 หาความเชื่อถือได้โดยการกระทำซ้ำ ใช้ผู้ตัดสิน 3 คน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
เพียร์สัน (Pearson Product-Moment Comelation) ได้ค่า ส่วนที่ 1 เท่ากับ .77-.87 และส่วนที่ 2
เท่ากับ .60-.83

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา เรื่องการพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลัง
มือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โรงเรียนพัทลุง จำนวน 8 คน ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนิน
การ ไว้เป็นลำดับขั้นตอนของการวิจัย ดังนี้ คือ ประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ขั้น
ตอนการสร้างและตรวจคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ภาคเรียนที่ 2
ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนพัทลุง จำนวน 32 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ภาคเรียนที่ 2
ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนพัทลุง จำนวน 8 ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
15

(Purposive Sampling) ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่มีต่อการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วย


หลังมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบ
ด้วย
1. แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
2. แบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วย
หลังมือ

ขั้นตอนการสร้างและตรวจคุณภาพของเครื่องมือ
แบบฝึ กทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
การสร้างแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ มีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านพรุดินนา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ในด้านสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลาง คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา และหน่วยการเรียนรู้
2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบของการสร้างแบบฝึกทักษะ จากเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. เลือกการสร้างแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ เพราะว่านักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 จำนวน 8 คน ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ
4. สร้างแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9
5. นำแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือที่สร้างขึ้นไปให้อาจารย์ปิ โยรส
ปุยชุมพล เพื่อปรึกษาและขอคำแนะนำ หลังจากนั้นนำแบบฝึกทักษะการส่งลูก
แบดมินตันด้านหลังมือที่แก้ไขแล้ว ปรับปรุงแก้ไข
6. นำแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหา
ประสิทธิภาพ หลังจากนั้นมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ E1 และหาค่า
ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E2
แบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
ในการสร้างเป็นแบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือมีขั้นตอนการสร้างและหา
ประสิทธิภาพดังต่อไปนี้
16

1. ศึกษาทฤษฎีและวิธีสร้างแบบทดสอบสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
และศึกษาเอกสาร คู่มือ ตำรา ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 5 เรื่อง แบดมินตัน
2. วิเคราะห์แบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ใช้
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อดูวาผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถอะไรบ้าง
หรือผลที่เกิดจากการเรียนการสอนตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ตั้งไว้เพียงใด มากกว่าที่จะเปรียบ
เทียบกบกลุ่มว่าใครเก่งกว่าใคร เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์เกี่ยวข้องกับ
ประสิทธิภาพในการวัดผลของการจัดการเรียนการสอนโดยตรง
3. สร้างแบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ วิเคราะห์ ข้อสอบ ตาม
แนวคิดและทฤษฎีการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
4. นำแบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังที่สร้างขึ้นให้ปิ โยรส ปุยชุมพล
เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของรายการประเมินกับองค์ประกอบภายใน
แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
เพลงภาษาอังกฤษออนไลน์ โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตาม
เกณฑ์ดังนี้คือ
+1 เมื่อแน่ใจว่ารายการประเมินสอดคล้องกับองค์ประกอบภายในแบบทดสอบ
0 เมื่อไม่แน่ใจว่ารายการประเมินมีความสอดคล้องกับองค์ประกอบภายในแบบ
ทดสอบ
-1 เมื่อแน่ใจว่ารายการประเมินไม่มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบภายในแบบ
ทดสอบ

เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกรายการที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป นอกจากนี้พิจารณา


คุณภาพของแบบทดสอบ โดยใช้การการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ เกี่ยวกับความคลอบคลุมของ
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ ลำดับขั้นตอน
ของการทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ความเหมาะสมของสื่อการเรียนรู้ ความเป็นไป
ได้ของการวัดผลประเมินผล โดยใช้มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง
น้อย และน้อยที่สุด และวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดย
หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด,2553)
คะแนน 4.51 – 5.00 หมายถึง มากที่สุด
คะแนน 3.51 – 4.50 หมายถึง มาก
คะแนน 2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง
คะแนน 1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย
17

คะแนน 1.00 – 1.50 หมายถึง น้อยที่สุด


5. จัดพิมพ์แบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือเป็นฉบับสมบูรณ์
แบบสอบถามความพึงพอใจการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
การตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินความพึงพอใจผู้วิจัยได้นำแบบประเมินความพึงพอใจ
เสนอสร้างขึ้นไปให้อาจารย์ปิ โยรส ปุยชุมพล เพื่อให้ข้อเสนอแนะ แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
และชัดเจน เหมาะสม ทั้งเนื้อหาและสาระ รวมทั้งการใช้ถ้อยคำสำนวนภาษา แล้วนำมาจัดทำเป็น
แบบประเมินความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจการพัฒนาทักษะการส่งลูกหลังมือกีฬาแบดมินตันของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โดยใช้แบบฝึกทักษะ จําแนกได้เป็น 4 ด้าน คือด้านครูผู้สอน ด้านเนื้อหา ด้าน
สถานที่ และด้านระยะเวลา โดยผู้วิจัยมีเกณฑ์ในการกําหนดน้ำหนักการคะแนนของ คําถามแบบ
มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) 5 ระดับ ดังนี้
พึงพอใจในระดับมากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
พึงพอใจในระดับมาก ให้คะแนน 4 คะแนน
พึงพอใจในระดับปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
พึงพอใจในระดับน้อย ให้คะแนน 2 คะแนน
พึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน

การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ภาค
เรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนพัทลุง ระหว่างวันที 8-19 มกราคม พ.ศ.2567 เป็นระยะเวลา 10
วัน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1. คัดนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
ในคาบเรียนวิชาแบดมินตัน
3. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตัน
ด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
4. ทดสอบทักษะการส่งลูกแบดมินตันหลังมือ ก่อนการฝึก (pretest)
5. เก็บข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่าง ฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
เริ่มจากวันจันทร์ที่ 8 ถึง วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2563 คาบกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เวลา
14.50-15.40 น.
7. ทดสอบหลังการฝึก (posttest) โดยให้กลุ่มตัวอย่าง ทำแบบทดสอบทักษะการส่งลูก
แบดมินตันหลังมือ ใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกับการทดสอบก่อนการทดลองเพื่อเก็บไว้เป็นคะแนนหลัง
การฝึกทักษ
8. สอบถามความพึงพอใจโดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับ
แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ จำนวน 10 ข้อ
18

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะการส่งลูกด้านหลังมือกีฬาแบดมินตัน ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 โรงเรียนพัทลุง ดำเนินการดังนี้
1. เปรียบเทียบระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 5/9 ก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะโดย
ใช้สูตร t-test แบบ dependent sample
2. หาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สูตร ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2532)
3. หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบ
ฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟ่ า ของครอนบาค (Alpha-
Coeffcient of Cronbach) (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2546 : 68)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่
1.1 หาค่าเฉลี่ย (mean) ใช้สูตร (มลิวัลย์ สมศักดิ์, 2552)
X ̃= ∑×
เมื่อ X ̃ แทน ค่าเฉลี่ยของประชากร
∑x แทน ผลรวมของคะแนน
n แทน จำนวนตัวอย่าง
1.2 หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ใช้สูตร (มลิวัลย์ สมศักดิ์, 2552)

เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


∑x แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละคน
∑x2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละคนยกกำลังสอง
n แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

2.สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน
2.1 เปรียบเทียบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนก่อนและหลัง
ได้รับการฝึกทักษะโดยใช้แบบฝึกทักษะ ใช้สถิติ t-test แบบ dependent sample โดยใช้
19

D
t =
√ n D −(D)2
2

n−1

df = n−1

เมื่อ D แทน ผลต่างของคะแนนแต่ละคู่


n แทน จำนวนคู่กลุ่มตัวอย่าง

3.สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
3.1 หาประสิทธิภาพแบบฝึ กทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/9 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สูตร ชัยยงค์ พรหม
วงศ์ (2532) โดยใช้วิธี การคำนวณดังนี้
ΣX
N
E1 = A x 100
ΣY
N
E2 = B x 100
E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการคิดเป็นร้อยละจากการตอบแบบฝึกหัด
ของชุดการฝึกได้ถูกต้อง
E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์คิดเป็นร้อยละจากการทำแบบทดสอบ
หลังการฝึกแต่ละชุดได้ถูกต้อง
X แทน คะแนนรวมของผู้เรียนจากแบบฝึกหัด
Y แทน คะแนนรวมของการทดสอบหลังจากฝึก
N แทน จำนวนของผู้เรียน
A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึก
B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังการฝึก
E1 ได้จากการนำคะแนนระหว่างฝึ กทักษะของนักเรียนแต่ละคนรวมกันแล้วหา
ค่าเฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ
E2 ได้จากการนำคะแนนหลังการฝึกทักษะของนักเรียนทั้งหมดรวมกันแล้วหาค่า
เฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ
20

3.2 แบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ อาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ


ออกมาเชิงปริมาณหรือตัวเลข และหาค่าดัชนีความ พล้อง (IOC : Index of concurrence)

IOC=
∑R
N
เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม
กับสาระ/ตัวชี้วัด/นิยามศัพท์เฉพาะ
∑R แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นใน
แต่ละข้อของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
n แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
3.3 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟ่ า
ของครอนบาค (Alpha-Coeffcient of Cronbach) (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2546 : 68)
ทําการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
Deviation) แล้วนําเสนอในรูปแบบตารางประกอบความเรียง โดยการแปลความหมายใช้ เกณฑ์ใน
การประเมินผลโดยอิงเกณฑ์หาค่าเฉลี่ยเมื่อทําการวิเคราะห์แปลผล ดังนี้
4.50 - 5.00 หมายถึง พึงพอใจในระดับมากที่สุด
3.50 - 4.49 หมายถึง พึงพอใจในระดับมาก
2.50 - 3.49 หมายถึง พึงพอใจในระดับปานกลาง
1.50 - 2.49 หมายถึง พึงพอใจในระดับน้อย
1.00 - 1.49 หมายถึง พึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
21

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการศึกษาวิจัย การพัฒนาทักษะการส่งลูก
แบดมินตันด้านหลังมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบ้านพรุดินนา ในการวิเคราะห์
ข้อมูลผู้วิจัยจะนำเสนอลำดับขั้นตอนดังนี้

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. เปรียบเทียบระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 1/1 ก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ปรากฏผลดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1/1 ก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การฝึ กทักษะการส่งลูก จำนวน คะแนน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน t
แบดมินตันด้านหลังมือ โดย (n ) เต็ม (x ) มาตรฐาน
ใช้แบบฝึ กทักษะ (S.D.)
ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ 8 10 3.88 .83 -18.54**
การส่งลูกแบดมินตันด้าน
หลังมือ
หลังการใช้แบบฝึกทักษะ 8 10 8.76 .70
การส่งลูกแบดมินตันด้าน
หลังมือ
22

มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
**

จากตารางที่ 1 พบว่าระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 หลังได้รับการฝึกทักษะโดยใช้แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1


ก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ปรากฏผล
ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1
ก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

นักเรียนคนที่ คะแนนทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
ก่อนฝึ ก หลังฝึ ก
1 4 8
2 5 10
3 3 9
4 3 8
5 4 9
6 3 9
7 5 9
8 4 8
คะแนนรวม ∑x 39.58 58.12
คะแนนเฉลี่ย x 3.88 8.76
S.D. .83 .70
จากตาราง 2 พบว่า ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
1/1 โรงเรียนบ้านพรุดินนา มีทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ หลังการใช้แบบฝึกทักษะสูง
กว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
23

3.การหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ปรากฏผลดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1/1 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
ประสิทธิภาพ ร้อยละคะแนนของ ส่วนเบี่ยงเบน ความหมาย
แบบฝึ กทักษะ มาตรฐาน
ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ 87.4 0.83 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
ของแบบฝึกทักษะ (E1)
ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ของ 87.6 0.70 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
แบบฝึกทักษะ (E2)
E1/E2 87.4/87.6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์

จากตาราง 3 พบว่า การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการส่งลูกด้วยหลังมือของ


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ (E1 /E2 )เ
ท่ากับ 87.4/87.6 ประสิทธิภาพด้านกระบวนการของแบบฝึกทักษะ (E1) เท่ากับ 87.4 ประสิทธิภาพด้าน
ผลลัพธ์ของแบบฝึกทักษะ (E2) เท่ากับ 87.6 ซึ่งสอดคล้องตามสมมุตฐานที่ตั้งไว้

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้
แบบฝึกทักษะ ปรากฏผลดังตารางที่ 4
ตาราง 4 ผลระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
โดยใช้แบบฝึกทักษะ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศชาย 3 คน เพศหญิง 5 คน
ที่ ระดับความพึงพอใจ ระดับ
รายการ มาก มาก ปาน น้อย น้อย
ที่สุด กลาง ที่สุด
ด้านครูผู้สอน
1 ผู้สอนมีความรู้มากน้อยเพียง 62.5% 37.5% - - - มากที่สุด
ใด
ที่ รายการ ระดับความพึงพอใจ
มาก มาก ปาน น้อย น้อย ระดับ
ที่สุด กลาง ที่สุด
24

2 การเอาใจใส่ในการฝึกทักษะ 50% 50% - - - มากที่สุด


ของครูผู้สอน
3 พฤติกรรมของครูผู้สอน 37.5% 62.5% - - - มาก
ด้านเนื้อหาที่สอน
4 มีความสอดคล้องกับบท 62.5% 37.5% - - - มาก
เรียน
5 วิธีการสอนที่หลากหลาย 50% 50% - - - มากที่สุด
6 แบบฝึ กสามารถฝึกในทักษะ 75% 25% - - - มากที่สุด
นี้ได้
ด้านสถานที่
7 สถานที่ที่ใช้ฝึ กมีความเหมาะ 62.5% 37.5% - - - มาก
สม
8 มีการดูแลรักษาความสะอาด 37.5% 50% 12.5% - - มาก
บริเวณสนาม
ด้านระยะเวลา
9 เวลาเหมาะสมกับเนื้อหาที่ 50% 50% - - - มากที่สุด
สอน
10 ระยะเวลาในการฝึก 75% 25% - - - มากที่สุด

จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบ้านพรุดิน


นา ที่มีผลต่อการฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านครูผู้สอนอยู่
ในระดับมากที่สุดคือ ผู้สอนมีความรู้มากน้อยเพียงใด และการเอาใจใส่ในการฝึกทักษะของครูผู้
สอน พฤติกรรมของครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหาที่สอน มีวิธีการสอนที่หลากหลาย และ
แบบฝึกสามารถฝึกในทักษะนี้ได้อยู่ในระดับมากที่สุด เนื้อหามีความสอดคล้องกับบทเรียนอยู่ใน
ระดับมาก ด้านสถานที่อยู่ในระดับมากทุกรายการ และด้านระยะเวลาอยู่ในระดับมากที่สุดทุก
รายการ

บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบ้านพรุดินนา ปี การศึกษา 2562 มีสาระสำคัญที่สรุปผลการ
วิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดังนี้

สรุปผลการวิจัย
25

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ ดั้งนี้
1. ระดับทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 หลัง
ได้รับการฝึกทักษะโดยใช้แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึก
ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียน
บ้านพรุดินนา มีทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ หลังการใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการ
ใช้แบบฝึกทักษะ ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการส่งลูกด้วยหลังมือของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ (E1 /E2 )เท่ากับ
87.4/87.6 ประสิทธิภาพด้านกระบวนการของแบบฝึกทักษะ (E1) เท่ากับ 87.4 ประสิทธิภาพด้าน
ผลลัพธ์ของแบบฝึกทักษะ (E2) เท่ากับ 87.6 ซึ่งสอดคล้องตามสมมุตฐานที่ตั้งไว้
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบ้านพรุดินนา ที่มีผลต่อ
การ
ฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด
คือ ผู้สอนมีความรู้มากน้อยเพียงใด และการเอาใจใส่ในการฝึกทักษะของครูผู้สอน พฤติกรรมของ
ครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหาที่สอน มีวิธีการสอนที่หลากหลาย และแบบฝึกสามารถฝึกใน
ทักษะนี้ได้อยู่ในระดับมากที่สุด เนื้อหามีความสอดคล้องกับบทเรียนอยู่ในระดับมาก ด้านสถานที่
อยู่ในระดับมากทุกรายการ และด้านระยะเวลาอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ

อภิปรายผล
จากการพัฒนาทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึกทักษะ พบว่า นักเรียน
ที่มีทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อได้ใช้แบบฝึกทักษะการส่งลูก
แบดมินตันด้านหลังมือแล้ว นักเรียนมีทักษะในการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือที่ดีขึ้น อย่างเห็น
ได้ชัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือ แบบฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ ที่
มีคุณภาพ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้จริงสอดคล้องกับ สุวิมล ว่องวาณิช (2535) กล่าวว่า การวัด
ทักษะหรือการวัดภาคปฏิบัติที่ดีขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องมือ และเมื่อนักเรียนมีการฝึกซ้ำ ๆหลาย
ครั้งก็จะเกิดความชำนาญ ส่งผลให้การส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือของนักเรียนมีประสิทธิภาพ (ฉั
ตรชัย แฝงสาเคนและเอื้อมพร พลอยประดิษฐ์, 2551)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
26

1. ควรมีการสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมแบบฝึกทักษะกีฬาแบดมินตันให้ครอบคลุม
เนื้อหาอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนให้กับนักเรียน
2. แบบทดสอบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอาจนำไปใช้ใน
ระดับชั้นอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้

บรรณานุกรม
กาญจนา วัฒายุ. 2548. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนพรการพิมพ์.
กุศยา แสงเดช. (2545). แบบฝึก คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ระดับ
ประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทส านักพิมพ์แม็ค จำกัด
ฉัตรชัย แฝงสาเคน และ เอื้อมพร พลอยประดิษฐ์. (2551). แบดมินตัน. กรุงเทพมหานคร : เอมพันธ์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2532). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15
(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
น้อม สังข์ทอง. (2537). เอกสารประกอบการสอนแบดมินตัน 1. ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ. (2554). การพัฒนาแบบทดสอบทักษะกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐาน.
ผาณิต บิลมาศ. (2530). การวัดทักษะทางกีฬา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
27

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. 2544. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา.


พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2545. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:เฮาส์ออฟ
เคอร์มิสท์
ไพบูลย์ สุขชุม. (2549). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาแบดมินตัน. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์
2563, จาก www.vcharkarn.com/vcafe/168489.
พีรดลย์ โฉมงาม. (2553). ทักษะพื้นฐานกีฬาแบดมินตัน. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์
2563, จาก https://peesukekung.wordpress.com/category.
รัชนี ศรีไพรวรรณ. (2517). แบบฝึกหดทักษะวิชาภาษาไทยสําหรับเด็กแรกเรียน ในคู่มือ
แนวความคิด และทัศนะบางประการเกยวกับกุศโลบายกบการสอนเด็กเริ่มเรียนที่พูด
สองภาษา. นครราชสีมา : สํานักงานเขตการศึกษา 1.
สุกัญญา โพธิสุวรรณ. (2541). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2535). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. นนทบุรี : มสธ.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547) การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน.
ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.

ภาคผนวก
28

ภาคผนวก ก
แบบฝึ กทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
29

แบบฝึ กทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบ้านพรุดินนา
คำชี้แจง : ให้นักเรียนฝึกทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือจากแบบฝึกทักษะการส่งลูก
แบดมินตันด้วยหลังมือ
รูปแบบการฝึ ก วิธีปฏิบัติ
1.พื้นที่ในการฝึก 44 x 20 ฟุต ท่าเตรียม
2.ผู้เล่น 2 คนต่อ 1 พื้นที่ 1.ยืนในท่าเตรียม
3.วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้วิธีการตี 2.ยกไม้แบดมินตันในทางด้านหลัง
ลูกหลังมืออย่างถูกต้อง 3.ก้าวเท้าซ้ายถอยหลัง 1 ก้าว บิดลำตัวไปทางซ้ายจนหันหลังให้ตาข่าย
ปลายเท้าขนานกับตาข่าย
4.น้ำหนักตัวตกลงบนเท้าซ้าย ยกแขนขึ้นข้อศอกตั้งชี้ไปยังจุดที่จะตีลูก
วิธีการฝึ ก
1.การจับไม้ จับไม้แบบ Backhand grip ได้ถูกต้อง โดยให้หัวไม้อยู่
หน้าลำตัว
2.ลักษณะการยืน ยืนให้เท้าขวาเป็นเท้านำอยู่หน้าเท้าซ้ายเล็กน้อย ทิ้ง
น้ำหนักตัวที่เท้าหน้า
3.การจับลูก จับส่วนใดของลูกก็ได้ โดยมากจับที่บริเวณฐานของลูก
หรือที่ขนของลูก แขนยกสูงระดับหัวไหล่ เมื่อจะตีลุกให้ปล่อยมือ
พร้อมตีลุก
4.จังหวะการตีลูก ตีลูกเมื่อลุกตกลงมาต่ำกว่าระดับเอว จุดที่ลูกกระทบ
กับหน้าไม้อยู่สูงกว่าหัวไม้ และหัวไม้อยู่ต่ำกว่าระดับเอว ขณะที่หน้า
30

ไม้กระทบลูกให้ถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า พร้อมกับส่งไม้
ตามที่ลุกพุ่งไป
5.ทิศทางและวิถีของลูก ลุกจะพุ่งย้อนขึ้นจากหน้าไม้ ข้ามตาข่ายแล้ว
ตกยังบริเวณเส้นส่งลูก
6.เหวี่ยงแขนตามลูกอย่างธรรมชาติและกลับมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อม

ตารางแสดงประสิทธิภาพแบบฝึ กทักษะการส่งลูก
แบดมินตันด้านหลังมือ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 ให้มีคุณภาพ
ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
ครูผู้สอน : นายศักดา หนูหมาด
โรงเรียนบ้านพรุดินนา
คะแนน คะแนนหลัง
ระหว่างใช้ ใช้แบบ
ลำดับที่ Z -Score T - Score Z -Score T - Score
แบบฝึก ฝึก(10)
(10)
1 6 -0.764 42.359 8 0.951 59.510
2 6 -0.764 42.359 10 0.346 53.456
3 5 -1.269 37.314 9 0.648 56.483
4 5 -1.470 35.297 8 0.447 54.465
5 7 -0.764 42.359 9 0.951 59.510
6 6 -0.764 42.359 9 1.355 63.545
7 7 -1.269 37.314 9 0.951 59.510
8 7 -1.269 37.314 8 0.850 58.501
Mean 6.125 -1.042 39.584 8.750 0.812 58.122
SD 0.835 0.304 3.039 0.707 0.323 3.233
MAX 7 -0.764 42.359 10 1.355 63.545
MIN 5 -1.470 35.297 8 0.346 53.456
31

ประสิทธิภาพด้านกระบวนการของแบบฝึกทักษะ (E1) = 87.4


ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ของแบบฝึกทักษะ (E2) = 87.6
E1/E2 = 87.4/87.6

ภาคผนวก ข
แบบทดสอบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ
32

แบบทดสอบทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบ้านพรุดินนา
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือของนักเรียนในระหว่างทดสอบ
ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ แล้วขีด / ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
รายการทดสอบทักษะ ระดับคะแนน ระดับคุณภาพ
2 1 0
1.ยืนในท่าเตรียม จับไม้แบบ Backhand grip ได้
ถูกต้อง โดยให้หัวไม้อยู่หน้าลำตัว
2.ลักษณะการยืน ยืนให้เท้าขวาเป็นเท้านำอยู่หน้า
เท้าซ้ายเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัวที่เท้าหน้า
3.การจับลูก จับส่วนใดของลูกก็ได้ โดยมากจับที่
บริเวณฐานของลูกหรือที่ขนของลูก แขนยกสูง
ระดับหัวไหล่ เมื่อจะตีลุกให้ปล่อยมือพร้อมตีลุก
4.จังหวะการตีลูก ตีลูกเมื่อลุกตกลงมาต่ำกว่า
ระดับเอว จุดที่ลูกกระทบกับหน้าไม้อยู่สูงกว่า
หัวไม้ และหัวไม้อยู่ต่ำกว่าระดับเอว ขณะที่หน้า
ไม้กระทบลูกให้ถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังไปสู่เท้า
หน้า พร้อมกับส่งไม้ตามที่ลุกพุ่งไป
5.ทิศทางและวิถีของลูก ลุกจะพุ่งย้อนขึ้นจาก
หน้าไม้ ข้ามตาข่ายแล้วตกยังบริเวณเส้นส่งลูก
รวม

ลงชื่อ...................................ผู้ประเมิน
………../…………/………..

เกณฑ์การให้คะแนน
33

ปฏิบัติทักษะได้ถูกต้อง ให้ 2 คะแนน


ปฏิบัติทักษะค่อนข้างถูกต้อง ให้ 1 คะแนน
ปฏิบัติทักษะไม่ถูกต้อง ให้ 0 คะแนน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
8 – 10 ดี
5–7 พอใช้
ต่ำกว่า 5 ปรับปรุง

ตารางแสดงคะแนนทดสอบทักษะการส่งลูก
แบดมินตันด้วยหลังมือก่อน – หลังการใช้แบบฝึ ก
34

ทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้วยหลังมือ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปี
การศึกษา 2562
ครูผู้สอน : นายศักดา หนูหมาด
โรงเรียนบ้านพรุดินนา
คะแนนก่อน คะแนนหลังใช้แบบฝึก
ลำดับ Z- T-
ใช้แบบฝึก (10) Z -Score T - Score
ที่ Score Score
(10)
1 4 -0.764 42.359 8 0.951 59.510
2 5 -0.764 42.359 10 0.346 53.456
3 3 -1.269 37.314 9 0.648 56.483
4 3 -1.470 35.297 8 0.447 54.465
5 4 -0.764 42.359 9 0.951 59.510
6 3 -0.764 42.359 9 1.355 63.545
7 5 -1.269 37.314 9 0.951 59.510
8 4 -1.269 37.314 8 0.850 58.501
Mean 3.875 -1.042 39.584 8.750 0.812 58.122
SD 0.835 0.304 3.039 0.707 0.323 3.233
MAX 5 -0.764 42.359 10 1.355 63.545
MIN 3 -1.470 35.297 8 0.346 53.456
คะแนนทีเฉลี่ย (Average
T Score) ของผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียน = 39.58
คะแนนทีเฉลี่ย (Average
T Score) ของผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียน = 58.12
ผลต่างของ T-score ก่อน-
หลังเรียน= 18.54
ร้อยละของคะแนนทีเฉลี่ย
ที่เพิ่มขึ้น= 46.83
35

ภาคผนวก ค
แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึ กทักษะการส่งลูกแบดมินตันด้าน
หลังมือโดยใช้แบบฝึ กทักษะ

แบบสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึ กทักษะการส่งลูกแบดมินตัน
ด้านหลังมือโดยใช้แบบฝึ กทักษะ
36

คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่อง  หน้าข้อความ


เพศ  หญิง  ชาย
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับความพึงพอใจ
ที่ ระดับความพึงพอใจ ระดับ
รายการ มาก มาก ปาน น้อย น้อย
ที่สุด กลาง ที่สุด
ด้านครูผู้สอน
1 ผู้สอนมีความรู้มากน้อยเพียง
ใด
2 การเอาใจใส่ในการฝึกทักษะ
ของครูผู้สอน
3 พฤติกรรมของครูผู้สอน
ด้านเนื้อหาที่สอน
4 มีความสอดคล้องกับบท
เรียน
5 วิธีการสอนที่หลากหลาย
6 แบบฝึ กสามารถฝึกในทักษะ
นี้ได้
ด้านสถานที่
7 สถานที่ที่ใช้ฝึ กมีความเหมาะ
สม
8 มีการดูแลรักษาความสะอาด
บริเวณสนาม
ด้านระยะเวลา
9 เวลาเหมาะสมกับเนื้อหาที่
สอน
1 ระยะเวลาในการฝึก
0
37

ตารางแสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/1 ที่มีต่อการฝึ กทักษะ


การส่งลูกแบดมินตันด้านหลังมือ โดยใช้แบบฝึ กทักษะ
รายการ ระดับความพึง รวม ค่าเฉลี่ย S.D. เกณฑ์
พอใจ ประเมิน
1. ด้านครูผู้สอน 1 2 3 4 5

1.1 ผู้สอนมีความรู้มากน้อยเพียงใด 0 0 0 3 5 8 4.63 0.48 มากที่สุด

1.2 การเอาใจใส่ในการฝึกทักษะของ 0 0 0 4 4 8 4.50 0.50 มากที่สุด


ครูผู้สอน
1.3 พฤติกรรมของครูผู้สอน 0 0 0 5 3 8 4.375 0.484123 มาก

2.ด้านเนื้อหาที่สอน

2.1 มีความสอดคล้องกับบทเรียน 0 0 0 5 3 8 4.38 0.48 มาก

2.2 วิธีการสอนที่หลากหลาย 0 0 0 4 4 8 4.5 0.5 มากที่สุด

2.3 แบบฝึกสามารถฝึกในทักษะนี้ได้ 0 0 0 2 6 8 4.75 0.433013 มากที่สุด

3.ด้านสถานที่

3.1 สถานที่ที่ใช้ฝึกมีความเหมาะสม 0 0 0 5 3 8 4.38 0.48 มาก

3.2 มีการดูแลรักษาความสะอาด 0 0 1 4 3 8 4.25 0.661438 มาก


บริเวณสนาม
4.ด้านระยะเวลา

4.1 เวลาเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน 0 0 0 4 4 8 4.5 0.5 มากที่สุด

4.2 ระยะเวลาในการฝึก 0 0 0 3 5 8 4.63 0.48 มากที่สุด

รวม 0 0 1 39 40 80 4.49 0.50 มากที่สุด


38

ประวัติย่อของผู้ศึกษาค้นคว้า

ประวัติย่อของผู้ศึกษาค้นคว้า
ชื่อ – ชื่อสกุล นายศักดา หนูหมาด
39

รหัสนักศึกษา 58011301083
วัน เดือน ปี เกิด วันที่ 20 มิถุนายน 2539
สถานที่เกิด ต.ชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง
สถานที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 144 ม.1 ต.ชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง 9300
อาชีพ นักศึกษา
สถานศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านต้นประดู่
พ.ศ. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศึกษาธรรมอิสลามมูลนิธิ จังหวัดพัทลุง
พ.ศ. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ จังหวัดสตูล

You might also like