You are on page 1of 23

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง องค์ประกอบทางเคมีและ

โครงสร้างของ DNA

รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4

ภาคเรียนที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางสาวนันทกา กาบทอง
โรงเรียนวัดสังเวช

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การ
ถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม สมบัติและหน้าที่ของสารพันธุกรรม การเกิดมิวเท
ชัน เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ หลักฐาน ข้อมูล และแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิต ภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก การเกิดสปี ชีส์ใหม่ ความ
หลากหลายทางชีวภาพ กำเนิดของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
และอนุกรมวิธาน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ผลการเรียนรู้
ว 4.2 ม.4/6 สืบค้นข้อมูล อธิบายสมบัติและหน้าที่ของสาร
พันธุกรรม โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA และสรุปการ
จำลอง DNA
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ด้านความรู้ (K)

นักเรียนสามารถอธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ
DNA ได้
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับ DNA


แต่ละโมเลกุลมีจำนวนและลำดับ
นิวคลีโอไทด์แตกต่างกันได้
2. นักเรียนสามารถทำกิจกรรมแบบจำลอง DNA ได้
1. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
2. มีวินัย
3. ใฝ่ เรียนรู้

3. สาระสำคัญ
สารพันธุกรรมทั้งหมดที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า จีโนม DNA เป็ นพอลี
นิวคลีโอไทด์ 2 สายบิดเป็ นเกลียวเวียนขวา แต่ละสายเกิดจากนิวคลีโอไทด์
ต่อกันเป็ นสายยาว นิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส หมู่
ฟอสเฟต และไนโตรจีนัสเบส ซึ่ง DNA แต่ละโมเลกุลมีจำนวนและลำดับของ
นิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างกัน

4. สาระการเรียนรู้
โครงสร้างของ DNA

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปั ญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
6. วิธีการจัดการเรียนรู้
1. ครูทบทวนความรู้เดิมเรื่องกรดนิวคลิอิกจากที่เรียนมาแล้วในบทที่
2 และให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบ
ของ DNA โดยใช้รูป 4.7 ในหนังสือเรียน แสดงโครงสร้างของ นิว
คลีโอไทด์ จากนั้นครูตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย ดังนี้
- ไนโตรจีนัสเบสประกอบด้วยอะตอมของธาตุใดบ้าง จำแนกได้
เป็ นกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความเหมือนกันหรือแตกต่าง
กันอย่างไร
นักเรียนควรบอกได้ว่าไนโตรจีนัสเบสประกอบด้วยโครงสร้างที
เป็ นวงที่มีธาตุ C และ N เป็ นองค์ประกอบ จากนั้นครูให้นักเรียน
เปรียบเทียบความแตกต่างของไนโตรจีนัสเบส ซึ่งจำแนก เป็ น 2
ประเภท คือ เบสพิวรีน มี 2 ชนิด คือ อะดีนีน (A) และกวานีน
(G) ส่วนเบสไพรีมิดีน มี 2 ชนิด คือ ไซโทซีน (C) และไทมีน (T)
และตอบคำถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบคำถาม ดังนี้
- คำถาม : นิวคลีโอไทด์แต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คำตอบ : นิวคลีโอไทด์แต่ละชนิดมีน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟต
เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ชนิดของเบส โดยอาจมีเบสเป็ น A G
C หรือ T
2. ครูทบทวนเรื่องการเชื่อมต่อของนิวคลีโอไทด์เป็ นสายพอลินิวคลีโอ
ไทด์ที่รเยนมาแล้วในเรื่องกรดนิวคลิอิก และศึกษารูป 4.8 ก.
นักเรียนควรสรุปได้ว่า แต่ละนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกันด้วยหมู่
ฟอสเฟต หมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์หนึ่งจะเชื่อมต่อกับหมู่ไฮดร
อกซิลของน้ำตาลเพนโทสของอีกหนึ่งนิวคลีโอไทด์หนึ่ง แต่ละสาย
พอลินิวคลีโอไทด์แตกต่างกันที่จำนวนและลำดับของนิวคลีโอไทด์
ที่มาเชื่อมต่อกัน ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 4.8 ข. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ
ตำแหน่งที่เรียกว่า ปลาย 5’ และปลาย 3’
3. ให้นักเรียนศึกษาตาราง 4.3 ในหนังสือเรียน ซึ่งเป็ นการทดลองของ
เออร์วิน ชาร์กาฟฟ์ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถาม
ดังนี้
- คำถาม : ปริมาณเบส 4 ชนิด ใน DNA ของสิ่งมีชีวิตสปี ชีส์ต่าง ๆ
สัมพันธ์กันอย่างไร
คำตอบ : เบส A มีปริมาณใกล้เคียงกับเบส T และเบส G มี
ปริมาณใกล้เคียงกับเบส C นั่นคือ A:T มีค่าใกล้เคียง 1:1 และ
G:C มีค่าใกล้เคียง 1:1
- คำถาม : อัตราส่วนของ A+T และ G+C ในโมเลกุลของ DNA
ของสิ่งมีชีวิตแต่ละสปี ชีส์ มีค่าใกล้เคียงกันหรือไม่
คำตอบ : อัตราส่วนของ A+T และ G+C ในสิ่งมีชีวิตแต่ละสปี ชีส์
มีค่าไม่ใกล้เคียงกัน
- คำถาม : อัตราส่วนของ A+G และ T+C ในโมเลกุลของ DNA
ของสิ่งมีชีวิต แต่ละสปี ชีส์ มีค่าใกล้เคียงกันหรือไม่
คำตอบ : อัตราส่วนของ A+G และ T+C ในสิ่งมีชีวิตแต่ละสปี ชีส์
มีค่าใกล้เคียงกัน
4. ให้นักเรียนศึกษาการทดลองของชาร์กาฟฟ์ และใช้คำถามถาม
นักเรียน ดังนี้
- จากอัตราส่วนระหว่างเบสของโมเลกุลของ DNA ถ้าหากนำมา
เขียนเป็ นโครงสร้างโมเลกุลของ DNA นักเรียนทราบหรือไม่ว่า
โมเลกุลของ DNA จะมีโครงสร้างเป็ นอย่างไร
- พอลีนิวคลีโอไทด์ประกอบกันเป็ น DNA ได้อย่างไร
5. ครูเปิ ดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน ซึ่งคำตอบของนักเรียน
อาจจะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและ
วิเคราะห์โครงสร้างของ DNA จากการศึกษาค้นคว้าของแฟรงกลิน
กอสลิง และวิลคินส์ เพื่อหาข้อสรุปที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงสร้างของ
DNA
6. ครูให้นักเรียนศึกษารูป 4.10 ในหนังสือเรียนประกอบการตอบ
คำถาม ดังนี้
- คำถาม : แรงยึดระหว่างคู่เบส A กับ T และคู่เบส G กับ C คู่ใด
มีความแข็งแรงมากกว่ากัน เพราะเหตุใด
คำตอบ : แรงยึดระหว่างเบส G กับ C แข็งแรงมากกว่าแรงยึด
ระหว่างเบส A กับ T เพราะเบส G กับ C ยึดกันด้วยพันธะ
ไฮโดรเจน 3 พันธะ แต่เบส A กับ T ยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน
2 พันธะ
7. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้าง DNA และศึกษารูป 4.11
ซึ่งนักเรียนควรอธิบายได้ว่า วอตสันและคริก ได้สร้างแบบจำลอง
โมเลกุลของ DNA แล้วเสนอโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ว่า
ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย เบสในแต่ละสายของ DNA
ที่เป็ นเบสคู่สมยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน
8. ให้นักเรียนทำกิจกรรม 4.1 แบบจำลอง DNA เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ
โครงสร้างของ DNA โดยการสร้างแบบจำลอง
9. ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรมเพื่อเป็ นการตรวจสอบความ
เข้าใจของนักเรียน
คำถาม : แบบจำลอง DNA ของแต่ละกลุ่มมีจำนวนนิวคลีโอไทด์
เท่ากันหรือแตกต่างกันอย่างไรและถ้ามีจำนวนนิวคลีโอไทด์เท่ากัน
การจัดเรียงตัวของเบสในแต่ละนิวคลีโอไทด์ใน DNA จะเหมือนกัน
หรือไม่
คำตอบ : คำตอบขึ้นอยู่กับจำนวนนิวคลีโอไทด์ที่แต่ละกลุ่มกำหนด
ขึ้น ซึ่งอาจจะมีเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ และถ้ามีบางกลุ่มเท่ากัน
เมื่อพิจารณาการจัดเรียงตัวของเบสในแต่ละพอลินิวคลีโอไทด์แล้ว
อาจแตกต่างกัน
คำถาม : ถ้า DNA สายเดี่ยวประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุล
เรียงต่อกัน จะสามารถจัดเรียงเบสให้แตกต่างกันได้อย่างไรบ้าง
คำตอบ : DNA สายเดี่ยวที่มีเบส A T C G จะมีการจัดเรียงแตกต่าง
กัน 16 แบบ ดังนี้

7. สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาตร์ชีววิทยา เล่ม 2 ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 สสวท.
2. แบบจำลอง DNA

8. ชิ้นงาน/ภาระงาน

1. ตอบคำถามในหนังสือในหน้าที่ 13 ถึง 18 จำนวน 7 ข้อ


2. กิจกรรมที่ 4.1 หน้าที่ 18
9. การวัดและประเมินผล

วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
และ เกณฑ์การวัด
จุดประสงค์ และประเมิน
ประเมิน และประเมินผล
ผล
ผล

นักเรียนสามารถอธิบาย ตรวจคำ คำถามใน ตอบถูกตั้งแต่ 4


ตอบจาก หนังสือใน ข้อขึ้นไป คือ
โครงสร้างและองค์ คำถาม หน้าที่ 13 ถึง ผ่านเกณฑ์
18 จำนวน 7
ประกอบทางเคมีของ ข้อ
DNA ได้ (K)

นักเรียนสามารถสืบค้น ประเมิน แบบประเมิน ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่


ทักษะการ ทักษะการ ดี ขึ้นไป
ข้อมูล อธิบาย และสรุป สืบค้น สืบค้นข้อมูล
ข้อมูล
เกี่ยวกับ DNA แต่ละ
โมเลกุลมีจำนวนและลำ
ดับนิวคลีโอไทด์แตกต่าง
กันได้ (P)

นักเรียนสามารถทำ ประเมิน แบบประเมิน ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่


การทำ การทำกิจกรรม ดี ขึ้นไป
กิจกรรมแบบจำลอง กิจกรรม

DNA ได้ (P)


คุณลักษณะอันพึง สังเกต แบบประเมิน ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่
พฤติกรรม คุณลักษณะอัน ดี ขึ้นไป
ประสงค์ (A) พึงประสงค์

แบบประเมินทักษะการสืบค้นข้อมูล
คำชี้แจง ครูประเมินทักษะการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน โดยให้ทำ
เครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับเกณฑ์ที่ประเมิน

เลข ชื่อ – สกุล พฤติกรรมการประเมิน


ที่ เนื้อหาสาระ ความถูกต้อง การค้นคว้า
จากแหล่ง
เรียนรู้ที่หลาก
หลาย
ครบถ้วนตรง ของการเขียน (สมรรถนะ
ตามประเด็น อ้างอิง ด้านความ
สามารถใน
การใช้
เทคโนโลยี)
3 2 1 3 2 1 3 2 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
เกณฑ์การประเมินทักษะในการสืบค้นข้อมูล

ลำ พฤติกรรม ระดับคะแนน

ดับ การประเมิน 3 2 1

1 เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระไม่


ครบถ้วนตรง ครบถ้วนตรง ค่อนข้างครบ ครบถ้วนตรง
ตามประเด็น ตามประเด็นที่ ถ้วนตรงตาม ตามประเด็น
กำหนดทั้งหมด ประเด็นที่
กำหนด

2 ความถูกต้อง การเขียน การเขียนอ้างอิง การเขียน


ของการเขียน อ้างอิงถูกต้อง แต่ละมีข้อผิด อ้างอิงไม่ถูก
อ้างอิง ตามหลักการ พลาดเพียงเล็ก ต้องตามหลัก
ทั้งหมด น้อย การ

3 การค้นคว้าจาก การค้นคว้า การค้นคว้าจาก การค้นคว้า


แหล่งเรียนรู้ที่ จากแหล่งเรียน แหล่งเรียนรู้ 2- จากแหล่งเรียน
หลากหลาย รู้ที่หลากหลาย 3 แหล่งเรียนรู้ รู้เพียงแหล่ง
ตั้งแต่ 3 แหล่ง เดียว
ขึ้นไป

เกณฑ์การประเมิน
ระดับ 3 คะแนน หมายถึง ดี
ระดับ 2 คะแนน หมายถึง พอใช้
ระดับ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน
ผ่านเกณฑ์ระดับ พอใช้ ขึ้นไปทุกประเด็นการประเมิน
แบบประเมินการทำกิจกรรม

คำชี้แจง : ทำเครื่องหมาย / ลงในช่องทางขวามือให้ตรงกับความเป็ นจริง


มากที่สุด โดยเกณฑ์การให้คะแนนดังรายละเอียดด้านหลัง

ชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
2. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
3. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
4. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
5. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
6. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
7. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………
8. ……………………………………………………………………… เลขที่ ……………

คะแนน
รายการประเมิน
3 2 1 0
การวางแผนการทำกิจกรรม
การปฏิบัติการทำกิจกรรม
ความคล่องแคล่วในขณะปฏิบัติการ

รวมคะแนน

เกณฑ์การประเมินการทำกิจกรรม

ลำ พฤติกรรม ระดับคะแนน
ดับ การประเมิน 3 2 1 0
1 การวางแผน กำหนดวิธี กำหนดวิธี กำหนดวิธี ต้องให้
การทำ การขั้นตอน การขั้นตอน การและขั้น ความช่วย
กิจกรรม ถูกต้อง ถูกต้อง แต่ ตอนไม่ถูก เหลือ
เหมาะสม ยังไม่เหมาะ ต้องและ อย่างมาก
สม ต้องให้ ในการ
ความช่วย กำหนดวิธี
เหลือ การ และ
ขั้นตอน

2 การปฏิบัติ ดำเนินการ ดำเนินการ ต้องให้ ต้องให้


การทำ ทำกิจกรรม ทำกิจกรรม ความช่วย ความช่วย
กิจกรรม เป็ น ได้ เป็ นขั้นตอน เหลือในการ เหลือ
อย่างถูกต้อง ถ้าให้คำ ดำเนินการ อย่างมาก
แนะนำ ทำ ในการ
กิจกรรม ดำเนิน
การทำ
กิจกรรม
3 ความ ทำกิจกรรม ทำกิจกรรม ทำกิจกรรม ทำ
คล่องแคล่ว ทันเวลาที่ ทันเวลาที่ ทันเวลาที่ กิจกรรม
ในขณะ กำหนด กำหนด และ กำหนด แต่ ไม่ทัน
ปฏิบัติการ และทำแบบ ทำแบบ ทำแบบ เวลาที่
บันทึกเสร็จ บันทึกเสร็จ บันทึกไม่ กำหนด
ทันเวลา ทันเวลา แต่ เสร็จทัน และทำ
ไม่เรียบร้อย เวลา แบบ
ตามประเด็น บันทึกไม่
ที่ศึกษา เสร็จทัน
เวลา

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
10 – 12 คะแนน หมายถึง ดีมาก
7–9 คะแนน หมายถึง ดี
4–6 คะแนน หมายถึง พอใช้
0–3 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับ ดี ขึ้นไป

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คำชี้แจง ครูประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยให้ทำ
เครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับเกณฑ์ที่ประเมิน
พฤติกรรมการประเมิน
เล มุ่งมั่นในการ รว
ชื่อ – สกุล ใฝ่ เรียนรู้ มีวินัย
ขที่ ทำงาน ม
3 2 1 3 2 1 3 2 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25

เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ลำ พฤติกรรม ระดับคะแนน
ดับ การประเมิน 3 2 1
1 ใฝ่ เรียนรู้ เข้าเรียนตรง เข้าเรียนตรง เข้าเรียนไม่ตรง
เวลา ตั้งใจ เวลา ตั้งใจเรียน เวลา ตั้งใจ
เรียน เอาใจใส่ มีส่วนร่วมใน เรียน มีส่วน
และมีความ การเรียนรู้และ ร่วมในการ
เพียรพยายาม เข้าร่วม เรียนรู้และเข้า
ในการเรียนรู้ กิจกรรมการ ร่วมกิจกรรม
มีส่วนร่วมใน เรียนรู้ การเรียนรู้
การเรียนรู้และ
เข้าร่วม
กิจกรรมการ
เรียนรู้
2 มุ่งมั่นในการ ตั้งใจ รับผิด ตั้งใจ รับผิด ตั้งใจ รับผิด
ทำงาน ชอบในการ ชอบในการ ชอบในการ
ปฏิบัติหน้าที่ที่ ปฏิบัติหน้าที่ที่ ปฏิบัติหน้าที่ที่
ได้รับมอบ ได้รับมอบ ได้รับมอบ
หมายให้สำเร็จ หมายให้สำเร็จ หมายให้
มีการปรับปรุง มีการปรับปรุง
และพัฒนาการ และพัฒนาการ
ทำงานให้ดีขึ้น ทำงานให้ดีขึ้น
ด้วยตนเองและ ด้วยตนเอง
เป็ นแบบอย่าง
ที่ดี
3 มีวินัย ปฏิบัติตามข้อ ปฏิบัติตามข้อ ปฏิบัติตามข้อ
ตกลง กฎ ตกลง กฎ ตกลง กฎ
ระเบียบของ ระเบียบของ ระเบียบของ
โรงเรียนและ โรงเรียนและ โรงเรียนและ
ห้องเรียน ไม่ ห้องเรียน ไม่ ห้องเรียน ไม่
ละเมิดสิทธิ ละเมิดสิทธิของ ละเมิดสิทธิของ
ของผู้อื่น ตรง ผู้อื่น ตรงต่อ ผู้อื่น ตรงต่อ
ต่อเวลาในการ เวลาในการ เวลาในการ
ปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติกิจกรรม
ต่างๆ และรับ ต่างๆ และรับ ต่างๆ และรับ
ผิดชอบในการ ผิดชอบในการ ผิดชอบในการ
ทำงาน ปฏิบัติ ทำงาน อยู่บ่อย ทำงาน อยู่บาง
เป็ นปกติ ครั้ง ครั้ง

เกณฑ์การผ่าน
ผ่านเกณฑ์ระดับ 2 คะแนนขึ้นไปทุกประเด็นการประเมิน
บันทึกหลังการสอน

สรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
...........................................................

อุปสรรคและปั ญหา

.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
...........................................................

แนวทางการแก้ปั ญหา

.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
...........................................................

ลงชื่อ.....................................................ผู้สอน

(นางสาวนันทกา กาบทอง)
ข้อเสนอแนะ

.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
...........................................................

ลงชื่อ............................................................
(นางสาวนรีรักษ์ ทอง
สะอาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาตร์
และเทคโนโลยี

You might also like