You are on page 1of 19

รายงาน

เรื่อง สุขภัณฑ์และการติดตั้ง

เสนอ
อาจารย์ถาวร คงชนะ

จัดทำโดย
นาย นายจักกรี คลองรั้ว รหัสนักศึกษา064

รายงานเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคนิคก่อสร้าง2
วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคนิคก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อ ทำความรู้เกี่ยวกับติดตั้งสุขภัณฑ์และระบบของสุขภัณฑ์ รวมถึงการปฏิบัต
งานในการทำงาน รายงานเล่มนี้จะมีความรู้เกี่ยวกบั เรื่องของสุขภัณฑ์รวมอยู่ใน
รายงานเล่มนี้
เราจึงได้จัดทำรายงานเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อจะได้ศึกษาหาความรู้และเราได้
คัดเลือกหัวข้อเนื้อหาที่ดีที่สุดในรายงานเล่มนี้เพื่อให้คนที่อ่านมีความรู้และ
นำไปใช้ ได้ในชีวิตจริง

ผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
• สุขภัณฑ์ 1
• ประเภทสุขภัณฑ์ 1
• อุปกรณ์สุขภัณฑ์ 7
• วิธีการติดตั้งสุขภัณฑ์ 9
• การติดตั้งเลือกสุขภัณฑ์ 12
• สรุป 14
• ภาคผนวก 15
สุขภัณฑ์
สุขภัณฑ์ หมายถึง อุปกรณ์ ภาชนะ หรือ ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำหน้าที่ รองรับ ของเหลว น้ำ
รวมถึงจ่ายของเหลว น้ำสกปรก น้ำเสีย หรือสิ่งโสโครกทั้งหลาย ที่มาจาก
การที่มนุษย์ขับถ่ายของเสียกันออกมาทกุ วัน
พูดกันง่ายๆก็คือเพื่อสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดี ให้กับผู้ใช้งาน
บวกกับความสะดวกสบายอีกด้วย หลังจากขั้นตอนนี้
หน้าที่ของผลิตถัณฑ์สุขภัณฑ์ จะส่งสิ่งปฏิกูลพวกนี้ไปสู่แหลาง ขจัดของเสีย
หรือระบบระบายน้ำทีเ่ หมาะสม หรือในท่อระบายทีไ่ ด้รับอนุญาตให้ระบาย
สิ่งปฏิกูลออกไปได้

ประเภทสุขภัณฑ์
ประเภทของสุขภัณฑ์แบ่งตามรูปแบบการใช้งานในการแบ่งประเภทของสุขภัณฑ์นั้น
เราสามารถใช้เกณฑ์การแบ่งได้หลายแบบอย่างแรกคือการแบ่งตามรูปแบบการใช้งานซึ่งเ
ราสามารถเหน็ ความแตกต่างได้ด้วยตาเปล่า นั่น
ก็คือสุขภัณฑ์แบบนั่งราบและสุขภัณฑ์แบบนั่งยอง โดยสุขภัณฑ์ทั้ง 2 ประเภทก็มี
คุณสมบัติและจุดเด่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. สุขภัณฑ์แบบนั่งยอง สุขภัณฑ์แบบนั่งยองหรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า
‘คอห่าน’ เป็นสุขภัณฑ์ที่ใช้กัน
มาเป็นเวลานาน ในประเทศไทย สุขภัณฑ์แบบนี้มีจุดกำเนิดมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2467 และมี
วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนเป็นสุขภัณฑ์นั่งยองที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน วิธีใช้งานคือผู้ใช้
จะต้องย่อตัวลงนั่งยอง ๆ เพื่อขับถ่าย หลังจากนั้นจึงใช้น้ำตักราดเพื่อชำระล้าง หรือบาง
แห่งอาจใช้ร่วมกับฟลัชวาล์วเพื่อกดชำระล้าง ซึ่งแม้ว่าสุขภัณฑ์ประเภทนี้จะมีราคาถูกกว่า
สุขภัณฑ์แบบนั่งราบ แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมนักในปัจจุบัน
เนื่องจากไม่เอื้อต่อการใช้งานในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม เพราะไม่สามารถ
ย่อตัวลงไปนั่งยองเพื่อขับถ่ายได้ อีกทั้งการชำระล้างด้วยการตักน้ำราดยังทำให้ห้องน้ำ
เปียกอยู่ตลอดเวลา พื้นลื่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และพื้นห้องน้ำที่เฉอะแฉะยังเป็น
สาเหตุของการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ตลอดจนเป็นที่สะสมของแหล่งเชื้อโรคอีกด้วย
2. สุขภัณฑ์แบบนั่งราบ สุขภัณฑ์แบบนั่งราบ มกั ถูกเรียกอีกอยา่ งหนึ่งว่า ‘ชกั โครก’
ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศ
อังกฤษ ลักษณะการใช้งานจะเป็นแบบนั่งราบไปบนโถเหมือนกับการนั่งบนเก้าอี้ ด้านหลัง
มีถังเก็บน้ำสำหรับชำระล้างติดตั้งอยู่ ด้วยความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้งาน
สำหรับทุกช่วงวัย ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และประหยัดน้ำได้มากกว่าสุขภัณฑ์นั่งยอง
ทำให้สุขภัณฑ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถูกพัฒนาต่อยอดเรื่อยมา อาทิ
การเพิ่มเทคโนโลยีช่วยประหยัดน้ำ ไปจนถึงการคิดค้นสุขภัณฑ์อัตโนมัติที่เราพบเห็นกัน ๆ
ในปัจจุบัน ซึ่งมาพร้อมกับระบบก้านฉีดชำระในตัว

ประเภทของสุขภัณฑ์แบ่งตามลักษณะของโถ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าสุขภัณฑ์นั่งราบนั้น สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและ
สะดวกสบายกว่าสุขภัณฑ์แบบนั่งยอง ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง
ในปัจจุบัน โถชักโครกแบบนั่งราบก็ถูกแบ่งประเภทแยกย่อยออกไปอกี หลายประเภท เรา
จึงสามารถแบ่งประเภทของสุขภัณฑ์นั่งราบตามลักษณะของโถได้ ดังนี้

1. สุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece Toilet)


คือสุขภัณฑ์ที่รวมทั้งตัวโถและถังสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในชิ้นเดียว ทำให้เป็นสุขภัณฑ์ที่มี
ดีไซน์เรียบหรู ไร้รอยต่อ หมดปัญหาน้ำรั่วซมึ มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ และอุปกรณ์
น้อยชิ้น ทำให้ติดตั้งได้ง่ายกว่าสุขภัณฑ์ประเภทอื่น แตจ่ ะมีราคาสูงกว่าสุขภัณฑ์แบบสอง
ชิ้น หรือหากมีอุปกรณ์ใดที่ชำรุดเสียหายก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่แบบยกชุด จึงควรมี
การดูแลรักษาตรวจสอบอุปกรณ์ของสุขภัณฑ์ชิ้นเดียวอย่างสม่ำเสมอ สำหรับการใช้งานใน
ระยะยาว

2. (Two Piece Toilet / Close Coupled Toilet) โถสุขภัณฑ์สองชิ้น


มีลักษณะคล้ายกับสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว แต่ถังเก็บน้ำกับตัวโถจะ แยกออกจากกัน
จึงมีรอยต่อระหว่างตัวโถและถังพักน้ำ สามารถต่อท่อน้ำทิ้งได้ทั้งแบบต่อ ลงพื้น (S-
Trap) หรือแบบต่อออกผนัง (P-Trap) ซึ่งการติดตั้งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของหน้า
งานนั้นๆ โถชักโครกแบบสองชิ้นเป็นสุขภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาก ราคาไม่แพง
กรณีที่ ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดชำรุด ก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์นั้นได้
โดยไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ทั้งชิ้น ง่ายต่อการดูแลรักษา
แต่อาจมีขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่า สุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว
ทำความสะอาดยากกว่าเพราะมหี ลายชิ้นส่วน โดยเฉพาะรอยต่อ
ระหว่างตัวโถและถังพักน้ำ ซึ่งมักมีสิ่งสกปรกเข้าไปสะสมอยู่
อุปกรณ์ทำความสะอาดอาจ เข้าถึงได้ยาก และเมื่อใช้งานไปนาน ๆ
ออาจเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้

3. สุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง (Wall Hung Toilet)


โถสุขภัณฑ์แขวนผนังจะถูกติดตั้งด้วยการยึดติดกับหม้อน้ำซ่อนผนังพร้อมโครงเหล็กที่
ทำหน้าที่ยึดโถเข้ากับกำแพงอีกชั้นหนึ่ง แล้วปิดทับด้วยการก่อปูน
ปูกระเบื้องให้เรียบร้อย เป็นการซ่อนระบบทอ่ น้ำและถังพักน้ำเอาไว้ด้านในผนัง
ทำให้เห็นแค่โถสุขภัณฑ์และปุ่มกด ชำระล้างเท่านั้น
อีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดได้ง่ายทั้งตัวโถและพื้นด้านล่าง ดูหรูหรา สวยงาม
แต่มีราคาสูงและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของช่างผู้ติดตั้งเป็นพิเศษ
4. สุขภัณฑ์แบบตั้งพื้น (Wall Faced Toilet)
อีกหนึ่งประเภทของสุขภัณฑ์ที่นิยมใช้กันในครัวเรือน
ประกอบด้วยโถสุขภัณฑ์แบบตั้ง พื้น ถังพักน้ำแบบซ่อนผนัง และที่กด
ลักษณะคล้ายกับสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง แต่ระบบ
ท่อน้ำของสุขภัณฑ์แบบตั้งพื้นสามารถต่อได้ทั้งแบบต่อลงพื้น (S-Trap)
และแบบต่ออผนัง (P-Trap) หาซือ้ ง่าย ราคาไม่แพง แต่หากติดตั้งไม่ด ี
อาจเกิดการรั่วซึมได้ อกี ทั้งการที่ไม่ เห็นถังพักน้ำ ช่วยให้ห้องน้ำของคุณดูโดดเด่น
มีสไตล์มากยิ่งขึ้น

5. สุขภัณฑ์แบบอัตโนมัติ (Smart Toilet / Automatic Toilet)


สุขภัณฑ์ประเภทสุดท้าย เป็นประเภทของสุขภัณฑท์ ี่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน
ระยะหลัง สุขภัณฑ์อัตโนมัติ
หรือโถสุขภัณฑ์อัจฉริยะมาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานอัตโนมัติ เช่น
ระบบก้านฉีดชำระทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ระบบชำระล้างทรงพลัง ทำความ
สะอาดสิ่งสกปรกโดยใช้น้ำน้อยลง
ระบบทำความสะอาดของสุขภัณฑ์โดยไม่จำเป็นต้องใช้ สารเคมี
อีกทั้งฟังก์ชันอัตโนมัติยังช่วยลดการสัมผัสเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี สามารถใช้งานได้
อย่างง่ายดาย สะดวกสบายและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุก็ตาม
แต่สุขภัณฑ์ ประเภทนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน
จึงควรเลือกซื้อสุขภัณฑ์อัตโนมัติจากแบรนด์ที่ น่าเชื่อถือ
มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย อีกทั้งยังต้องติดตั้งด้วยความระมัดระวัง โดยช่าง
ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้หากกำลังอยู่ในระหว่างการเลือกซื้อบ้านใหม่
หรือรีโนเวทห้องน้ำ และอยากใช้งานชักโครกไฟฟ้า
ควรเตรียมหน้างานให้มีการเดินสายไฟสำหรับใช้งานใน ห้องน้ำไว้ล่วงหน้า
เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน และมาแก้พื้นที่หน้างานภายหลังได้ ลำบาก
อาจทำให้ห้องน้ำของคุณไม่สวยงาม

อุปกรณ์ของสุขภัณฑ์
โถ
อ่างล้างหน้า

อ่างล้างมือ

โถปัสสาวะชาย
อ่างอาบน้ำ

ฝักบัว

ก่๊อกนํ้า
วิธีเลือกโถสุขภัณฑ์
สำหรับห้องน้ำในบ้านเรา นอกจากจะเลือกรูปแบบรูปทรงที่ชอบ ขนาดเหมาะสม รองรับ
สรีระร่างกายผู้ใช้ได้อย่างพอดีแล้ว รู้หรือไม่ว่า โถสุขภณั ฑ์มีระบบการฟลัชหรือการชำระ
ล้างให้เลือกหลากหลาย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระบบสากล เรามาดูกัน ว่าแต่ละระบบมีจุดเด่น
หรือจุดสังเกตอะไรบ้าง เพื่อเลือกให้ตอบโจทย์แต่ละพื้นที่ในบ้านกัน ดังนี้
1.“Wash Down” เป็นระบบการชำระล้างที่ใช้น้ำใหม่แทนที่น้ำเก่า ช่วยประหยัดน้ำมาก
ขึ้น
ข้อดีของระบบนี้คือ หากน้ำไมไ่ หล สามารถตักน้ำราดในโถเพื่อการชำระล้างได้เลย
ข้อควรคำนึงคือ ระบบนี้จะดูดกากเบาไม่ค่อยดี อาจต้องกดชำระถึง 2 ครั้ง เพื่อให้ชำระได
อย่างหมดจด จุดสังเกตของระบบนี้คือ ปุ่มกดชำระจะมีทั้งแบบปุ่มกดเดียวด้านข้าง
และทุกรุ่นที่มี 2 ปุ่มกดด้านบน (Dual Flush) ที่เลือกได้ว่าจะชำระแบบเบาหรือแบบหนัก
ลักษณะน้ำในโถ จะมีน้ำที่ค้างในโถเป็นวงเล็กๆ สุขภัณฑ์ระบบ-Wash-Down

2.“Siphonic Wash Down” ระบบการชำระล้างที่ใช้หลักการของ “กาลักน้ำ” ช่วยให้


เกิดแรงดูดในระบบท่อคอห่าน ใช้น้ำมาตรฐาน 6 ลิตร (มีบางรุ่นใช้ 4.8 ลิตร)
ข้อดีของระบบนี้คือ ชำระล้างดีกว่าระบบ Wash Down ดูดกากเบาได้ดี ข้อควรคำนึงคือ
เมื่อน้ำไม่ไหลจะไม่สามารถตักน้ำราดแบบระบบ Wash Down ได้ (อาจ
ทำให้น้ำเอ่อล้นมากขึ้น) แนะนำให้เติมน้ำในหม้อน้ำแลว้ กดชำระตามปกติ
จุดสังเกตของระบบนี้คือ มีปุ่มกดเพียง 1 ปุ่มเท่านั้น (Single Flush) ปุ่มกดจะอยู่ด้านบน
หรือด้านข้างของหม้อน้ำ ฝั่งซ้ายมือ (ถ้าเราหันหน้าเข้าหาหม้อน้ำ) หากเป็นรุ่นที่ขึ้นรูปทรง
ไปตามท่อน้ำทิ้งจะเห็นว่าทอ่ มีลักษณะค่อนข้างคดเคี้ยว
พื้นที่น้ำที่ค้างในโถจะเป็นวงขนาด กลาง
3.“Siphon Jet” ระบบการชำระล้างที่เร็วและแรงกว่าระบบอื่น โดยใช้รูเจ็ตเป็นตัวช่วยส่ง
น้ำ ทำให้เกิดแรงดูด ปกติใช้น้ำ 6 ลิตร (บางรุ่นอาจใช้น้ำน้อยกว่า 6 ลิตร) มีทั้งแบบโถ
สุขภัณฑ์ชิ้นเดียวและโถสุขภัณฑ์สองชิ้น ข้อดีของระบบนี้คือ
มีแรงดูดที่ช่วยให้การชำระล้างได้ดียิ่งขึ้น
จุดสังเกตของระบบนี้คือ หากเป็นสุขภัณฑ์ชิ้นเดียวจะมีหม้อน้ำสูง มีปุ่มกดเดียวอยู่ด้านข้าง
โดยมีรูเจ็ตอยู่ตำแหน่งตรงข้ามคอห่าน (อยู่ตรงข้ามท่อน้ำทิ้งของโถส้วม) เวลาชำระล้างจะ
มีเสียงค่อนข้างดังกว่ารุ่นอื่น ลักษณะน้ำในโถ พื้นที่น้ำที่ค้างในโถเป็นวงขนาดใหญ่

4.“Siphon Vortex” ระบบที่มีการชำระที่ดีที่สุดเมื่อเทยี บกับระบบอื่น ใช้น้ำ 6 ลิตร ตาม


มาตรฐาน มอก.
ข้อดีของระบบนี้คือ มีเสียงเบาขณะกดชำระล้าง จึงเหมาะสำหรับห้องน้ำในห้องนอน ไม่
รบกวนคนที่กำลังนอนหลับอยู่นั่นเอง จุดสังเกตของระบบนี้คือ
เป็นโถสุขภัณฑ์ชิ้นเดียวที่มีถังพักน้ำเตี้ย มีตำแหน่งรูปล่อยน้ำใน โถที่ใหญ่กว่าระบบ
Siphon Jet โดยจะอยู่ด้านซ้ายของสุขภัณฑ์ (เมื่อหันหน้าเข้าหา สุขภัณฑ์)
มีปุ่มกดเดียวอยู่ด้านข้างของสุขภัณฑ์ ขณะกดชำระน้ำจะมีลักษณะเหมือนน้ำวน
(สะดือทะเล) ลักษณะน้ำในโถ
พื้นที่น้ำที่ค้างในโถเป็นวงขนาดใหญ่
ตารางการเปรียบเทียบโถสุขภัณฑ์
การติดตั้งสุขภัณฑ์ (Toilet installation instruction)

1 จัดเตรียมระบบท่อน้ำทิ้ง,ท่อน้ำดีและท่อระบายอากาศ
(Prepare-the drainage pipe, water supply pipe and Air vent pipe.)
ระยะ 305 มม. เป็นระยะจากผนังสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น Rough-in 305 mm. Is
the range from finished wall to the center of drainage.

2 ทำเครื่องหมายสำหรับยาแนวรอบตัวสุขภัณฑ์และรูยึดโถ
Remark : น็อตยึดโถสุขภัณฑ์ไม่ได้จัดเตรียมให้

3 ประกอบหม้อน้ำและฝารองนั่งเข้ากับโถสุขภัณฑ์

4 สวมยางรองกันกลิ่น็อตยึดโถสุขภัณฑ์ไม่ได้จัดเตรียมให้

5 ติดตั้งโถสุขภัณฑ์ให้ตรงตามแนวที่ทำเครื่องหมายไว้ และประกอบสายน้ำดี
เข้ากับวาล์วเปิด-ปิดน้ำ

6 ตรวจสอบโถให้ได้ระดับและยาแนวรอบฐานสุขภัณฑ์
ตัวอย่างงรูปการจัดวางสุ ขภัณฑ์
สรุป
สุขภัณฑ์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่รองรับของเหลว น้ำ สิ่งสกปรก น้ำเสีย หรือ
สิ่งโสโครกทั้งหลายที่มาจากการขับถ่าย เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเสริมสุขอนามัยให้กับผู้ใช้งาน
และเพิ่มความสะดวกในการขับถ่ายมากขึ้น สุขภัณฑ์จึงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญภายใน
บ้าน ซึ่งในการเลือกใช้จะต้องคำนึงถึงคุณภาพและฟังก์ชันการใช้งานเป็นสำคัญ
ภาคผนวก
จากอินเตอร์เน็ต และ หนังสือวิชาเทคนิคก่อสร้างรหัส20108-2112

You might also like