You are on page 1of 42

1

บทที่ 1
บทนา

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
ภาษาอาหรับเป็นภาษาประจําศาสนาอิสลาม เป็นภาษาของพระคัมภีร์ อัลกุรอานที่มุสลิม
ทุกชาติ ทุกภาษาเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกศรัทธา เพราะเป็นพระดํารัสของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้า
เพียงพระองค์เดียว ที่ประทานลงมาเป็นทางนํา และระบอบชีวิตที่สมบูรณ์แบบแก่มนุษยชาติ เป็น
ภาษาของการละหมาด และการขอพรของมุสลิมทั่วโลก มุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก
เพื่อการเรียนรู้หลักการทางศาสนา การละหมาด และการอ่านอัลกุรอาน
ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางราชการของสมาชิก สันนิบาตอาหรับที่มีสมาชิกจากภูมิภาค
เอเชียตะวันตก แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตะวันออก รวมกันถึง 22 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย
อียิปต์ โมร็อกโค ซูดาน อัลจีเรีย ตูนีเซีย ลิเบีย ชด จิบูติ เอริเทรีย มอริ ตาเนีย อิรัก จอร์แดน ซีเรีย
ปาเลสไตน์ เลบานอน เยเมน โอมาน การ์ตา บาร์หเรน สหรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต นอกจากนั้นยังเป็น
ภาษาที่สองในประเทศมุสลิมอีกหลายประเทศ ทั้งในแอฟริกาและเอเชีย
ภาษาอาหรับไม่เพียงเป็นภาษาเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่และกระปี้กระเปาเท่านั้น หากยังครอง
ความสําคัญในฐานะที่เป็นภาษาเดียวที่ดํารงรักษาองค์ความรู้อย่างสมบูรณ์ไว้ให้นักภาษาศาสตร์ได้
ทําการศึกษา ภาษาเซมิติกอื่นๆที่ตายไปแล้ว หรือภาษาเซมิติกที่ยังมีชีวิตอยู่ กล่าวได้ว่าในระหว่าง
ค.ศ.ที่ 9-12 งานเขียนในด้านปราชญ์การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ศาสนศาสตร์ ดาราศาสตร์ และ
ภูมิศาสตร์ ล้วนเขียนขึ้นด้วยภาษาอาหรับมากกว่าภาษาใดๆทั้งสิ้น
ปัจจุบันภาษาอาหรับเป็นภาษาหนึ่งในภาษา ที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ และเป็นภาษา
ที่มีบทบาทอย่างสูงในวงการธุรกิจ การศึกษา การทูต และการท่องเที่ยว
ภาษาต่างๆในโลก มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น มาเพื่อการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองหรือ
ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าที่ตนนับถือ การสื่อสารระหว่างมนุษย์นั้นจะเป็นการติดต่อประสานงานใน
ด้านการดําเนินชีวิต ที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เช่นการค้าขาย การสนทนาทั่วๆไป ส่วนการสื่อสารกับพระ
เจ้าเป็นการสื่อสารเพื่อแสดงออกซึ่งความเคารพภักดีต่อพระองค์ นักภาษาระบุว่าสังคมมนุษย์มีภาษา
ของตนใช้สื่อสารประมาณ 3,000 ภาษา (สารานุกรมไทยฯ เล่ม 18) แต่ที่มีหนังสือที่เรียกว่าภาษา
เขียนของตนเองไม่ถึง 100 ภาษา ภาษาไทยและภาษาอาหรับเป็นหนึ่งในจํานวนนั้น
2

ภาษาเพื่อการสื่อสารของคนทั้งโลกย่อมขยายไปตามความต้องการและความจําเป็นของ
มนุษย์ ยิ่งโลกแคบลงด้วยกระบวนการทางโลกาภิวัฒน์อันมีสาระสนเทศเป็นปัจจัยสําคัญ การสื่อสารก็
จะกระชั้นถี่และรวมตัวกันแยกไม่ออก ภาษาต่างๆจึงล่องลอยมาจากทุกมุมโลก มารวมตัวกันอยู่ที่จอ
สี่เหลี่ยมเล็กๆ ภายในห้องนอนส่วนตัวของคนที่เล่นอินเตอร์เน็ต
นอกจากภาษาจะสื่อสารออกมาเป็นตัวหนังสือแล้วยังออกมาเป็นภาพเขียน ภาพถ่ายทั้ง
ภาพที่เคลื่อนไหวและภาพนิ่ง สิ่งเหล่านี้เรียกกันโดยรวมตามนัยยะแห่งอัลกุรอานโองการ(อายะฮ์) แรก
ที่เรารู้จักกันดีว่า “อิกรออ์” จงอ่าน และโองการที่ว่า “อัลละมะบิลกอลัม” ทรงสอนด้วยปากกา
บัญญัติของกุรอานในเชิงสัญลักษณ์และรูปแบบดังกล่าวนั้นหมายถึง “การอ่าน การสอน
และการเขียน” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขยายองค์ความรู้ต่างๆ สู่มนุษย์ชาติซึ่งมีภาษาเป็นแกนกลาง จึง
ขยายโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นในโลกแห่งปัญญาและจิตใจ แต่ทําให้จํากัดแคบลงในโลกแห่งกายภาพจน
กลายเป็นความแออัดที่ก่อให้เกิดปัญหามากมาย
ที่กล่าวมานั้นคือบทบาทของ “ภาษา” ที่ติดตัวมากับมนุษย์ทุกคน เป็นวัฒนธรรมเป็นอัต
ลักษณ์ที่สําคัญ ที่บ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ ความจริงย่อมรวมไปถึงภาษาของคนใบ้ที่
ใช้แสดงภาษาด้วยท่าทางที่สามารถแปลออก มาเป็นความเข้าใจเหมือนกับภาษาพูดที่คนทั่วไปใช้
ภาษาในโลกนี้นับว่ามีความสําคัญกับมนุษย์และมนุษย์นํามาใช้อย่างแพร่หลายมากมาย
ทั่วไปภาษาหนึ่งคือ ภาษาอาหรั บ ทั้งด้านการสื่ อสารชีวิตประจําวันและใช้ในการเรียนรู้ และการ
ปฏิบัติศาสนารวมทั้งการศึกษาเพื่อความรู้ทั่วไป ภาษาอาหรับมาพร้อมกับศาสนาอิสลาม ดังนั้นผู้นับ
ถือศาสนาอิสลามทุกคนจึงต้องเรียนรู้ภาษาอาหรับเพื่ออ่านในพิธี ทางศาสนา
ความพิเศษประการหนึ่งที่ได้รับจากภาษาอาหรับคือ อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับ ดังนั้น
แม้คนที่มิใช่อาหรับอ่านที่ใช้ภาษาต่างๆทั่วโลก จึงต้องเรียนรู้ภาษาอาหรับไปด้วยอีกภาษาหนึ่ง อย่าง
น้อยต้องอ่านได้ แม้จะพูดเชิงสื่อสารไม่ได้ก็ตาม เป็นอีกสําเนียงหนึ่งที่สะทอนถึงอัตลักษณ์รวมของ
มุสลิมผู้นั้น
การที่มุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้การอ่านภาษาอาหรับให้ชัดเจนเพราะหน้าที่ประการหนึ่งของ
มุสลิมคือ การทําละหมาดและศาสนพิธีอื่นๆ อีกมากมายซึ่งจะต้องกล่าวเป็นภาษาอาหรับ เช่น การอา
ซาน การขอพรในวาระต่างๆ ซึ่งมุสลิมจะต้องกล่าวเป็นภาษาอาหรับ ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงต้องเรียน
ภาษาอาหรับเพื่อการอ่านในพิธีต่างๆ
ภาษาอาหรับมีความรู้ที่เกี่ยวกับไวยากรณ์อาหรับอย่างมหัศจรรย์ คําหนึ่งจะสามรถผัน
ออกไปได้มากมายพร้อมทั้งความหมายที่เปลี่ยนไปตามความต้องการด้วย เช่น คําว่า "กิน" เมื่อจะ
เปลี่ยนเป็น “ผู้กิน” หรือ “สิ่งที่กิน” หรือ “เวลากิน” หรือ “ที่กิน” หรือ “จะกิน” หรือ “กินแล้ว”
3

หรือ “จงกิน” ก็ไม่จําเป็นต้องเติมคํานําหน้าแต่ประการใด เพียงตัดต่อผันแปรอักษรในตัวของคําเอง


จะได้ความหมายที่ต้องการแล้วจึงไม่ต้องสงสัยในการที่อัลลอฮฺได้ให้อัลกุรอานลงมาเป็นภาษาอาหรับ
เพราะสามารถจะสร้างความเข้าใจแก่ผู้รับสารแห่งกุรอานอันชัดแจ้งแล้วนําไปตริตรองอย่างมีวิทย
ปัญญาสามารถยุติปัญหาต่างๆได้ ดังปรากฏในบทยูซุฟ โองการที่ 2

َ ُ‫ِإنَّآ أَنزَ ْلنهُ ق ْر َءانا‬


َُ‫ع َر ِبيّاُ لَّ َعلَّك ُْم ت َ ْع ِقلون‬
ความว่า แท้จริง เราได้ประทาน อัล -กุรอานเป็นภาษาอาหรับลงมา เพื่อสูเจ้าจะได้ใช้ปัญญา
คิด
จากบทยูซุฟ โองการที่ 2

ُ‫ع َربِيُ ُّم ِبين‬ َ ‫سانُ الَّذِي ي ْل ِحدونَُ ِإلَ ْي ُِه أ َ ْع َج ِميُ َو َٰ َهذَا ِل‬
َ ُ‫سان‬ َ ّ‫َولَقَ ُْد نَ ْعلَمُ أَنَّه ُْم يَقولونَُ ِإنَّ َما ي َع ِلّمهُ بَشَرُ ِل‬
ความว่า และโดยแน่นอนเรารู้ที่พวกเขากล่าวว่า “แท้จริงสามัญชนคนหนึ่งสอนเขา” ภาษาที่
พวกเขาพาดพิงไปถึงนั้นเป็นภาษาต่างถิ่นและนี่เป็นภาษาอาหรับที่ชัดแจ้ง
จากบทอันนะหลุ โองการที่ 103

ِ ‫اّلل َما يَشَاءُ َويثْبِتُ َو ِعندَهُ أ ُُّم ْال ِكتَا‬


ُ‫ب‬ َُّ ‫يَ ْمحو‬
ความว่า "อัลลอฮฺทรงยกเลิกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยืนหยัดให้มั่น (สิ่งที่พระองค์
ทรงประสงค์) และที่พระองค์คือแม่บทแห่งคัมภีร์ (อัลลูฮุลมะฮฺฟูซ)"
จากบทอัรรอดด์ โองการที่ 39

วิชาภาษาอาหรับที่น่ามหัศจรรย์อีกวิชาหนึ่งคือ "ตัจวีด" อัน เป็นวิชาที่กําหนดเพื่อควบคุม


และรักษาการอ่านกุรอานให้ถูกต้องมั่นคงและสวยงาม ทําให้มีสุนทรีย์แห่งการอ่านอย่างสมบูรณ์ มี
ความไพเราะอย่างมีเอกลักษณ์ รายละเอียด มีถึง การกําหนดความสั้นความยาวแห่งการอ่าน การ
ครวญการหน่วงเสียง แหล่งการออกเสียงแห่งอักษรอย่างเป็นรูปธรรม มีทํานองการอ่านหลายทํานอง
การอ่านกุรอานเป็นศิลปะแห่งชีวิตซึ่งสามารถแทรกซึมสู่จิตวิญญาณของผู้อ่านและผู้ฟังได้
อย่างทราบซึ้ง ทําให้เกิดความสุขสดชื่นและสุนทรีย์แห่งชีวิตอย่างแท้จริง บางคนฟังหรืออ่านอัลกุรอาน
แล้วสั่นไหวความรู้สึก จนเกิดปฏิกิริยาสนองตอบเช่นร้องไห้ จนผู้อ่านบางท่านถือว่าการร้องให้เป็น
4

แบบฉบับของท่านศาสดา ดังนั้นเขาจึงเลือกอ่านโองการที่สร้างความสั่นไหวแก่อารมณ์จนครวญสะอื้น
น้ําตาไหลนองหน้า
บางโองการมีคําสั่งให้ปฏิบัติ ผู้อ่านและผู้ฟังก็เกิดแรงบันดาลใจปฏิบัติสิ่งนั้น และพร้อมที่
จะปฏิบัติทันที เช่น โองการที่สั่งให้สุญูด คือ ก้มกราบต่ออัลลอฮฺ ก็จะก้มกราบทันทีไม่ว่าจะอ่านใน
ละหมาดหรือนอกละหมาดก็ตาม หากอ่านคําสั่งให้ทําทานก็จะทําทานทันที เป็นจริยธรรมแห่งการ
อ่านอัลกุรอานที่มุสลิมควรยึดปฏิบัติโดยถาวร
ดังนั้นผู้วิจัย ในฐานะที่เป็นครูสอนวิชาภาษาอาหรับ พบว่ามีนักเรียนที่เรียนในรายวิช า
ภาษาอาหรับ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 2 ห้องเรียนคือ ห้อง 3/1 และห้อง 3/2 ซึ่งในจํานวน
นักเรียน ทั้ง 2 ห้องเรียน พบว่านักศึกษาห้อง 3/2 ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนในรายวิชาภาษา
อาหรับมากที่สุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้คิดหาวิธีการที่จะนํามาแก้ไขปัญหาในการเรียนดังกล่าว เพื่อให้
ผู้เรียนเกิดการพัฒนาจึงได้นํากิจกรรมการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการ
สอน เพราะการเรียนโดยวิธีดังกล่ าวจะช่ว ยพัฒนาและแก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียนระหว่างนักเรียน รวมทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจ
ให้แก่ตนเองที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และช่วยให้บรรยากาศในการเรียนมีความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น มี
การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นักเรียนที่มีทักษะทางด้านภาษาอาหรับสูงจะมีบทบาททางการเรียนมาก
ขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองด้านอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอาหรับ ชั้นประถมศึกปีที่ 3/2 ที่ได้เรียนรู้โดย
วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนโรงเรียนตลาดปรีกี
ชั้นประถมศึกษาปีที่3/2ระหว่างก่อนและหลังเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
ขอบเขตของการวิจัย
1. ด้านประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3/2 ซึ่งกําลังศึกษา
โรงเรียนตลาดปรีกี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จํานวนทั้งสิ้น 28 คน เป็นนักเรียนชาย 15 คน
และนักเรียนหญิง 13 คน (ข้อมูลฝ่ายวิชาการโรงเรียนตลาดปรีกี, 2558)
5

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
โรงเรียนโรงเรียนตลาดปรีกี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จํานวนทั้งสิ้น 20 คน
2. ด้านเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้เนื้อหาที่ใช้คือ เนื้ อหาในรายวิชาภาษาอาหรับ เรื่อง การสนทนาโต้ตอบ
ใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม
3. ด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ คะแนนของผู้เรี ยนวิชาภาษาอาหรับ ที่ได้จากการทํา
แบบทดสอบ โดยใช้วิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน คือ การเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่
3/2 การจับคู่ผู้เรียน ซึ่งแต่ละคู่จะมีทักษะทางด้านภาษาอาหรับ ช่วยกันทําใบงานตามที่ผู้สอนกําหนด
ซึ่งจะให้คนที่มีทักษะทางด้านภาษาอาหรับช่วยแนะนําและสอนวิธีการทํางานที่ถูกต้องให้กับคนที่ ไม่มี
ทักษะทางภาษาอาหรับ
3. ความพึ ง พอใจ คื อ หมายถึ ง การแสดงออกถึ ง ความรู้ สึ ก ชอบหรื อ ไม่ ช อบต่ อ การใช้
กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ในรายวิชาภาษาอาหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
4. นักเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 3/2 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนตลาดปรีกี จํานวน 20 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทําให้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาภาษาอาหรับ ชั้นประถมศึกษาตอนต้นปี
ที่ 3/2 โรงเรียนตลาดปรีกี ที่ได้เรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
2. ทําให้ทราบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน ในรายวิชาภาษาอาหรับ โรงเรียนตลาดปรีกี ที่
ได้เรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
3. ทําให้ทราบถึงระดับความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
6

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ ทําการทบทวนแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการวิจัย เรื่องการ
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรีย นวิช าภาษาอาหรับ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่ว ยเพื่อน ของนัก เรียนชั้น
ประถมศึกษาตอนต้นปีที่ 3 โรงเรียนตลาดปรีกี ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.2 ความหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior)
2.1 ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์
2.2 ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ (Leaning Theory)
4. การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-Assisted Learning)
4.1 ความหมายการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
4.2 รูปแบบวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
4.3 หลักการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
4.4 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ปราณี กองจิ น ดา (2549:42) กล่ า ว่า ผลสั ม ฤทธิ์ท างการเรี ย น หมายถึ ง
ความสามารถหรือผลสําเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมและ
ประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จําแนกผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน
Good (อ้างถึงใน วิษา สําราญใจ, 2552: 20) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ที่ได้รับ หรือทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ในวิชาต่าง ๆ ซึ่งวัดได้จากคะแนนที่ครูผู้สอนให้ หรือคะแนนที่ได้จากการทดสอบ Eysenck, Arnold
and Meili
7

(สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , อ้างถึงใน พัฒนาพงษ์ สีกา,


2551: 31) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ขนาดของความสําเร็จที่ได้จากการ
เรียนโดยอาศัยความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจได้จากการทดสอบ
เช่น การสังเกต หรือการตรวจการบ้าน หรือเกรดของการเรียน ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการที่ซับซ้อน
และระยะเวลา หรืออาจวัดด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั่วไป
พัฒนาพงษ์ สีกา (2551 : 32) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หมายถึง ผลที่เกิดจากการกระทําของบุค คล ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเนื่องจากการได้รับ
ประสบการณ์โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน และสามารถประเมิน
หรือวัดประมาณค่าได้จากการทดสอบ หรือการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง
ขนิษฐา บุญภักดี (2552 : 10) ได้กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
คุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนการสอน อาจได้มาจากกระบวนการที่ไม่
ต้องอาศัยการทดสอบ เช่น การสังเกต และจากการใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั่วไป
พิมพ์ประภา อรัญมิตร (2552 : 18) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หมายถึง คุณลักษณะและความรู้ความสามารถที่แสดงถึงความสําเร็จที่ได้จากการเรียนการสอนในวิชา
ต่าง ๆ ซึ่งสามารถวัดเป็นคะแนนได้จากแบบทดสอบทางภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติหรือทั้งสองอย่าง
วุฒิชัย ดานะ (2553 : 32) ได้กล่าวว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ระดับความรู้
ความสามารถและทักษะที่ได้รับและพัฒนามาจากการเรียนการสอนวิชาต่างๆ โดยอาศัยเครื่องมือใน
การวัดผลหลังจากการเรียนหรือจากการฝึกอบรม
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548:125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน หมายถึง ขนาดของความสําเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน
กล่าวโดยสรุป ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความสามารถและทักษะที่
ได้รับจากการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือการเรียนรู้ในชั้นเรียนในรายวิชาต่างๆ โดยอาศัยความสามารถ
เฉพาะบุคคล ซึ่งสามารถวัดเป็นคะแนนที่ได้จากการทดสอบ หรือเกรดที่ได้จากการเรียน
1.2 ความหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วนิดา ดีแป้น (2553 : 24) ได้กล่าวว่า การวัดและการประเมินผลการเรียน คือ
กระบวนการตรวจสอบผู้เรียนว่าได้พัฒนาไปถึงจุดหมายปลายทางของหลักสูตรและมีคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์เป็นไปตามที่กําหนดหรือไม่รวมทั้งเป็นสิ่งที่ทําให้ทราบว่าผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8

มากน้อยเพียงใด โดยการวัดและการประเมินผลการเรียนมีจุดประสงค์คือ การจัดตําแหน่งเพื่อเป็นการ


วัดว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้หรือทักษะเพียงพอหรือไม่ซึ่งจะทําให้ทราบจุดเด่นจุดด้อยของผู้เรียนเป็น
การประเมินพัฒนาการของเด็ก แล้วนําไปทํานายเพื่อเป็นการแนะแนวทางในการประกอบอาชีพหรือ
ศึกษาต่อ นําไปประเมินค่าซึ่งจะกระทําเมื่อการสอนสิ้นสุดลง
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545 : 95) ได้กล่ าวว่าเครื่องมือ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement test) ซึ่งนักวัดผลและ
นักการศึกษา มีการเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น แบบทดสอบความสัมฤทธิ์แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ หรือ
แบบสอบผลสัมฤทธิ์ โดยแบบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะและความสามารถ
ทางวิช าการที่ผู้ เรี ย นได้เรี ย นรู้ มาแล้ ว ว่าบรรลุ ผ ลตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้เพียงใด ซึ่งได้แบ่ง
ประเภทของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) แบบทดสอบที่ครูส ร้างขึ้น เอง เป็นแบบทดสอบที่ มุ่งวัดผลสั มฤทธิ์ของผู้ เรีย น
เฉพาะกลุ่ มที่สอน เป็ นแบบทดสอบที่ผู้ สอนสร้างขึ้นใช้กันโดยทั่วไปในสถานศึกษา มีลั กษณะเป็น
แบบทดสอบข้อเขียน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
(1) แบบทดสอบอัตนัย เป็นแบบทดสอบที่กําหนดคําถามหรือปัญหาให้ แล้วให้
ผู้ตอบเขียนโดยแสดงความรู้ ความคิด เจตคติ ได้อย่างเต็มที่
(2) แบบทดสอบปรนัย หรือแบบให้ตอบสั้ น ๆ เป็นแบบทดสอบที่กําหนดให้
ผู้สอบเขียนตอบสั้นๆ หรือมีคําตอบให้เลือกแบบจํากัดคําตอบ ผู้ตอบไม่มีโอกาสแสดงความรู้ ความคิด
ได้ อ ย่ า งกว้ า งขวางเหมื อ นแบบทดสอบอั ต นั ย แบบทดสอบชนิ ด นี้ แ บ่ ง ออกเป็ น 4 แบบ คื อ
แบบทดสอบถูก-ผิด แบบทดสอบเติมคํา แบบทดสอบจับคู่และแบบทดสอบเลือกตอบ
2) แบบทดสอบมาตรฐาน เป็นแบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนทั่วๆ ไป ซึ่ง
สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการวิเคราะห์และปรับปรุงอย่างดีจนมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
ไพศาล หวังพานิช (อ้างถึงใน ขนิษฐา บุญภักดี , 2552 : 9) กล่าวว่า การวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถหรือความสําเร็จในการเรียนของแต่ละ
บุคคล ซึ่งสามารถวัดได้ 2 แบบตามจุดมุ่งหมายและลักษณะวิชาที่สอบ ดังนี้
1. การวัดด้านปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการปฏิบัติ
หรือทักษะของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถดังกล่าวในรูปการกระทําจริงให้
ออกมาเป็นผลงานได้โดยใช้ข้อสอบภาคปฏิบัติ
9

2. การวัดด้านเนื้อหา เป็นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา
อันเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงพฤติกรรมความสามารถในด้านต่าง ๆ สามารถวัดได้
โดยใช้ข้อสอบสําหรับวัดผลสัมฤทธิ์
นอกจากนี้ ผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนอาจได้มาจากกระบวนการที่ไม่ต้องอาศัยการ
ทดสอบที่เรียกว่า Nontesting Procedures เช่น การสังเกต หรือตรวจการบ้าน หรืออาจอยู่ ในรูป
ของการที่ได้มาจากการเรียน หรืออีกวิธีหนึ่งอาจวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนทั่วไป ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของเกรดที่ได้จากการเรียนเนื่องจากได้ผลที่เชื่อถือได้มากกว่า
อย่างน้อยก่อนที่จะทําการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ จึง
ดีกว่าการแสดงขนาดความสําเร็จหรือความล้มเหลวจากการทดสอบนักเรียนด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนทั่วๆ ไปเพียงครั้งเดียว (สุดฤทัย ศรีปรีชา, 2550 อ้างถึงใน ขนิษฐา บุญภักดี, 2552 : 10)
ดั ง นั้ น จึ ง สรุ ป ได้ ว่ า การวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น สามารถทดสอบโดยใช้
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หรือได้จากกระบวนการที่ไม่ต้องใช้แบบทดสอบ เช่น การสังเกต การตรวจ
การบ้านที่ได้รับมอบหมาย หรืออาจอยู่ ในรูปของผลการเรียนหรือเกรดที่ได้จากการเรียนในรายวิชา
นั้นๆ จะพบว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่นิยมใช้กันทั่วไปมักอยู่ ในรูปแบบของคะแนนหรือเกรด
ที่ได้จากการเรียน
1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Creamer (อ้างถึงใน พัฒนพงษ์ สีกา, 2551: 32) ได้ใช้วิธีการวิเคราะห์และ
สังเคราะห์งานวิจั ยที่เกี่ย วข้องกับ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มี 7 ด้าน ได้แก่
1. ปัจจัยด้านสังคม ประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
และสิ่งแวดล้อมทางครอบครัว
2. ปัจจัยด้านโรงเรียน ประกอบด้วย เป้ าหมายและนโยบาย คุณลักษณะ
ทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม
3. ปัจจัยด้านตัวนักเรียน ประกอบด้วย พื้นฐานความรู้เดิม คุณลักษณะทาง
ชีวสังคมและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
4. ปัจจัยด้านครูผู้สอน ประกอบด้วยภูมิหลังและรูปแบบการสอน
5. ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ประกอบด้วยปริมาณและคุณภาพการเรียน
การสอนและหลักสูตร
6. ปัจจัยด้านวิธีสอน ประกอบด้วยการสอนเป็นรายบุคคล การกระตุ้นหรือ
เกม การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การจัดโปรแกรมการเรียนการสอนพิเศษ การจัดระบบการเรียนรู้
การสอนเป็นทีม ปริมาณการให้การบ้านและการใช้สื่อการสอน
10

7. ปัจจัยด้านการสร้างยุทธศาสตร์การเรี ยนรู้ ประกอบด้วยการเสริมแรง


การสร้างความก้าวหน้า และการใช้ข้อมูลย้อนกลับในการเรียนการสอนนั้น จะประสบความสําเร็จหรือ
ล้มเหลว มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายองค์ประกอบ แต่ละองค์ประกอบมีอิทธิพลต่อการเรียนมาก
น้อยแตกต่างกัน (สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554 อ้างถึงใน พัฒนพงษ์ สีกา
, 2551: 27) ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมทางบ้าน การศึกษาของพ่อแม่ อุปกรณ์ที่เอื้อต่อการ
เรียนของผู้เรียน เช่น จํานวนหนังสือที่มีในบ้าน การมีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน เป็นต้น
2. กิจกรรมนอกเวลาเรียนของผู้เรียน ได้แก่การใช้เวลาเรียน หรือ
ทําการบ้านหลังเลิกเรียน การดูโทรทัศน์หรือวิดีทัศน์ในแต่ละวันมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของ
ผู้เรียนส่วนใหญ่แตกต่างกัน
3. เจตคติของผู้เรียน โดยผู้เรียนที่มีเจตคติที่ดีต่อรายวิชาหรือมีเจต
คติในทางบวกจะมีคะแนนเฉลี่ยในระดับสูง
4. วิธีการสอนของครู กลุ่มผู้เรียนที่ผู้สอนให้ทํากิจกรรม หรือสาธิต
การทํากิจกรรมในเกือบทุกบทเรียน หรือทุก ๆ บทเรียน จะมีคะแนนเฉลี่ยในรายวิชานั้นสูงกว่ากลุ่ม
ผู้เรียนที่ทํากิจกรรมนี้เพียงบางบทเรียนหรือไม่ได้ทําเลย
วนิดา ดีแป้น (2553 : 20) กล่าวว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเรื่องที่ได้รับความ
สนใจอย่างมากในวงการศึกษา แต่เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนมาก เพราะมีองค์ประกอบหรือ
ปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่เป็นตัวแปรที่ผสมผสานกัน ซึ่งอาจส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่
แตกต่างกัน สุมิตรา อังวัฒนกุล (อ้างถึงใน วนิดา ดีแป้น , 2539 : 20) ได้สรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้เรียน จากแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behavioral psychologists) เชื่อว่าคนเราทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้หากมี
ตัวกระตุ้นและการเสริมแรงการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการด้านกลไกที่ถูกควบคุมจากสิ่งต่างๆ ภายนอก
แต่นักจิตวิทยากลุ่มความคิด ความเข้าใจ (Cognitive psychologists) เชื่อว่า ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาท
สําคัญในการเรียนรู้ความรู้และสติปัญญา ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นปัจจัยที่สําคัญ
ที่สุดต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ผู้สอนเป็นเพียงผู้รับผิดชอบในการสอนแต่ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบใน
การเรียน
2. ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนในโรงเรียน ที่มิได้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียนหรือการเรียนการสอนเท่านั้น
3. สภาพแวดล้ อ มโดยทั่ ว ๆไป สภาพแวดล้ อ มทางครอบครั ว และ
สภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เกิดจากตัวผู้เรียนเอง
11

4. ปัจจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน และปัจจัยที่เกี่ยวกับบริบทการเรียน
การสอน รวมถึงปัจจัยด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน และด้าน
จุดมุ่งหมายของการสอน
นอกจากนี้ สุมิตรา อังวัฒนกุล (อ้างถึงใน วนิดา ดีแป้น , 2553 : 20) ได้สรุปเพิ่มเติม
ว่าปัจจัยที่สําคัญต่อกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียนมี 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยด้านตัวผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในฐานะให้ความรู้
ผู้ ส อนต้องเข้า ใจเรื่ องของหลั กสู ตรในการจัดการเรียนการสอน และต้องมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ มีแนวการสอนที่ดี และมีศรัทธาต่อการประกอบอาชีพครู ย่อมจะสอนให้ผู้เรียนได้รับ
ความรู้ ประสบการณ์เป็นอย่างดี ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสอนต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มพูนความรู้
และประสบการณ์ของผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อ เนื่องไปถึงประสิทธิภาพที่น่า
พอใจของนักเรียนด้วย
2. ปัจจัยด้านการสอน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้และร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียน
ทั้งนี้จะสอนโดยเน้นเนื้อหาและการจัดกิจกรรมทุกด้านที่จะพัฒนาเกี่ยวกับวิชาเรียน
3. ปัจจัยด้านสังคม เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม เช่น การเป็น
ส่วนหนึ่งของสังคมที่ใช้ประโยชน์จากรายวิชานั้น การสนับสนุนทางการเรียนของครอบครัว เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป องค์ประกอบที่มีผลต่อการเรียน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จหรือ
ความล้มเหลวทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งทําให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน ดังนี้
1) สภาพทั่วไปของผู้เรียน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาและแผนการเรียน
ก่อนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ระดับเกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา
ของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา และอาชีพของมารดา
2) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ได้แก่แรงเสริมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และนิสัยในการเรียนของนักศึกษา
3) ปัจจัยด้านการสอนของผู้สอน ได้แก่เทคนิคการสอนของผู้สอน และ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา
4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน ได้แก่อากาศในห้องเรียน เสียง
รบกวนขณะเรียน ความเหมาะสมของโต๊ะ เก้าอี้ ความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน แสง
สว่างในห้องเรียน และความเป็นระเบียบของห้องเรียน
12

2. พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior)


ดีกว่ าและเป็ น ที่ต้ องการมากกว่า แต่ก ระบวนการดั งกล่ าวไม่ใช่ เรื่อ งง่า ย ทั้ งนี้เ พราะ
พฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้ อน มีองค์ประกอบและปัจจัยเกี่ยวเนื่องจํานวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความ
จําเป็นที่ผู้ศึกษาจะต้องทําความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อที่จะได้จัดการให้มีอิทธิพลเชิงบวก หรือ
หลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อการพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม จะช่วยให้
เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น
ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย
ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
1. พันธุกรรม
2. การท างานของระบบในร่างกาย
3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)
ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
1. แรงจูงใจ
2. การเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา
1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการสังคมประกิต
3. อิทธิพลของกลุ่ม

2.1 ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อ
เผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการ
เคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และ
สิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)
สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว
ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้ จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็ก
เหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสําคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้ รับรู้ใน
สังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกําหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น
13

สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้


ด้วยประสาททั้ง 5 คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัสสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุค คลแสดงพฤติกรรม
ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทําให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ที่เรียกว่า การเสริมแรง(Reinforcement) ซึ่งแบ่งออกได้
เป็น 2 ชนิด คือ การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่พอใจทําให้บุคคลมี
การแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เช่น คําชมเชย การยอมรับของเพื่อน ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative
Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่ไม่พอใจหรือไม่พึงปรารถนานํามาใช้ เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
ให้น้อยลง เช่น การลงโทษเด็กเมื่อลักขโมย การปรับเงินเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร
เป็นต้น
มนุ ษย์ โ ดยทั่ ว ไปจะพึงพอใจกับการได้ รับการเสริมแรงทางบวกมากกว่าการ
เสริมแรงทางลบ วิธีการเสริมแรงทางบวก กระทําได้ดังนี้
1. การให้อาหาร น้ํา เครื่องยังชีพ เป็นต้น
2. การให้แรงเสริมทางสังคม เช่น การยอมรับ การยกย่อง การชมเชย ฯลฯ
3. การให้รางวัล คะแนน แต้ม ดาว เป็นต้น
4. การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Information Feedback) เช่น การรับแจ้งว่า
พฤติกรรมที่กระทํานั้น ๆ เหมาะสม
5. การใช้พฤติกรรมที่ชอบกระทํามากที่สุดมาเสริมแรงพฤติ กรรมที่ชอบ
กระทําน้อยที่สุดเป็นการวางเงื่อนไข เช่น เมื่อทําการบ้านเสร็จแล้วจึง
อนุญาตให้ดูทีวี เป็นต้น

2.2 ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
ปัจจัย สําคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทาง
จิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทําหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับรู้และตี
ความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆปัจจัยทางจิตวิทยาที่สําคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจ
และการเรียนรู้
1) แรงจูงใจ เป็นแรงผลักดันจากภายในที่ทําให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนอง
อย่างมีทิศทางและ เป้าหมาย เรียกว่า แรงจูงใจ คนที่มีแรงจู งใจ ที่จะทําพฤติกรรมหนึ่งสูงกว่าจะใช้
ความพยายามนําการกระทําไปสู่เป้าหมายสูงกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ํากว่า แรงจูงใจของมนุษย์จําแนกได้
เป็น 2 ประเภทหลัก ประเภทแรก ได้แก่ แรงจูงใจทางกาย ที่ทําให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมสนองความ
ต้องการ ที่จําเป็นทางกาย เช่น หาน้ํา และอาหารมาดื่มกิน เมื่อกระหายและหิว ประเภทที่สอง ได้แก่
แรงจูงใจทางจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความต้องการทางสังคม เช่น ความต้องการความสําเร็จ เงินคําชม
อํานาจ กลุ่มและพวก เป็นต้น ปัจจัยที่ ทําให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์
14

2) การเรียนรู้ เป็นพื้นฐานของการดําเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง


ก่อนตาย จึงมีคํากล่าวเสมอว่า " No one too old to learn" หรือไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การ
เรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดีธรรมชาติ ของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ

3 ทฤษฎีการเรียนรู้ (Leaning Theory)


1. ทฤษฎีการเรียนรู้ จากการเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า
ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะเก็บข้อมูลและเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืน
มา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูลความมากน้อยของข้อมูลจากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนําไปปฏิบัติ
2. ทฤษฎีการเรี ยนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory)
ทฤษฎี นี้กล่าวว่า การเรียนรู้ มาจากการใช้ความเชื่อมโยงระหว่างความเหมือนหรือความเกี่ยวข้อง
ระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน
3. ทฤษฎีของความกระตือรื อร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้ก ล่ าวว่ า
ความสามารถในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การ
ประสบความสําเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทําอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบ
ความสําเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น
4. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory)
ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับความอยากจะเรียนรู้และมีส่วนร่วม ถ้ามีความ
อยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
5. ทฤษฎี การเรี ย นรู้ จากการเก็บ รวบรวมและการดํ า เนิ น การจั ด การกั บ ข้ อ มู ล
(Information Processing Theory)
6.ทฤษฎี ก ารสร้ า งองค์ ค วามรู้ ด้ ว ยตนเองหรื อ ทฤษฎี ค อนส ตรั ค ชั่ น นิ ส ซึ่ ม
(Constructionism) ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่าทฤษฎีคอน
สตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริงมีมากกว่าการเรียนรู้ เพราะสามารถ
นําไปใช้ในสภาวะการเรียนรู้ในสังคมได้ด้วย ชอว์ ทําการศึกษาเรื่องรูป แบบและทฤษฎีการเรียนรู้และ
พัฒนา เขาเชื่อว่าในระบบการศึกษา มีความสําคัญต่อเนื่องไปถึงระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ
การสอนด้วยวิธีให้อย่างเดียวหรือแบบเดียว จะเสียโอกาสในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคมถ้า
หากมีรูปแบบ แบบเดียวก็จะเสียโอกาสที่จะมีโครงสร้างหรือพัฒนาไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน
ชอง เปียเจต์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิสผู้มีชื่อเสียงมาก มีความคิดเห็น
ว่าเด็ก ๆ ไม่ใช่ท่อที่ว่างเปล่า ที่ผู้ใหญ่จะเทข้อมูล และความรู้ต่าง ๆ เข้าไป เด็กคือผู้สร้างความฉลาด
15

และการเรียนรู้ ของเขาเอง จะเห็นว่าเด็กเป็นผู้มีความสามารถ มีพรสวรรค์ที่จะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา


เด็กเริ่มเรียนรู้ จากประสบการณ์ในโลกนี้ ตั้งแต่แรกคลอดและมีสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน
ด้วยซ้ํา ซึ่งเรียกวิธี นี้ว่า เปียเจต์ เลิร์นนิ่ง (Piagetian Learning) คือ การเรียนรู้โดยไม่ต้องได้รับการ
สอน เช่น เด็กพูดได้ โดยไม่ต้องจับมานั่งสอนหรือเด็กสามารถเรียนรู้ รูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ จาก
สิ่งแวดล้อมหรือเรียนรู้วิธีต่อรองกับพ่อแม่โดยไม่ต้องรับการสอน เป็นต้น
4 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-Assisted Learning)
ศรี วงศ์รัตนะ และคณะ (2545) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer
Assisted Learning) เป็นการเรียนรู้โดยให้นักเรียนช่วยเพื่อนซึ่งกันและกันแทนที่ครูจะเป็นผู้สอน
โดยตรงเป็นการสอนกันตัวต่อตัวที่เพื่อนอาจช่วยเหลือแนะนําเพื่อนโดยตรงหรือใช้สื่อการเรียนรู้อื่นมา
ประกอบ
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ (2545) กล่าวว่า กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วย
เพื่อนเป็นวิธีการสอนวิธีหนึ่งที่สืบทอดเจตนารมณ์ของปรัญชาการศึกษาที่ว่า Learning by Doing
Topping (2001) กล่าวว่า กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง การจัดกิจกรรมการสอน
เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และทักษะโดยการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากเพื่อนร่วมชั้นที่ได้จากการจับคู่
กัน โดยผู้เรียนทั้งคู่ช่วยเหลือกันเรียนและได้เรียนรู้ ซึ่งกันและกันโดยอาศัยการกระทําผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในการเรียน
Bournemouth University (2002) ได้ให้ความหมายของวิธีการเรียนแบบเพื่อน
ช่วยเพื่อนไว้ว่า คือการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือจากผู้ที่มี
ความสามารถทางการเรี ย นสู ง กว่ า เป็ น การเรี ย นการสอนที่ มี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ พั ฒ นาผู้ เ รี ย นที่ มี
ความสามารถทางการเรียนอยู่ในระดับต่ําให้มีความสามารถอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับระดับชั้น
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 63-67) ได้นิยามการเรียนการ
สอนแบบกลุ่มช่วยเหลือเพื่อน หมายถึง การเรียนการสอนที่รวมเอาหลักการเรียนแบบร่วมมือเข้า
ร่วมกับการเรียนเป็นรายบุคคลมาเป็นการเรียนเป็นกลุ่ม โดยนักเรี ยนแต่ละคนจะมีชุดการสอนคนละ
ชุดเพื่อศึกษา เนื้อหาเดียวกันให้นักเรียนในกลุ่มทําการศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อนักเรียนคนใดคน
หนึ่งมีปัญหาในการเรียนก็ปรึกษาหารือกับเพื่อนในกลุ่มได้ ครูผู้สอนจะให้ความเป็นอิสระแก่นักเรียน
ในการหาความรู้จากเพื่อนในกลุ่ม
กรมวิชาการ (2544 : 19-20) ได้ให้นิยามไว้ว่า การเรียนรู้ เป็นกลุ่มเพื่อน
ช่วยเหลือ เพื่อนเป็นรายบุคคล เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบ
16

ร่วมมือและการเรียนการสอนรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยให้
นักเรียนทํากิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามความสามารถ และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มมีการ
แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมเหมาะสมกับทุกวิชาและทุกระดับชั้น
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545:182) ได้ กล่าวถึงการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ
ช่วยเหลือกิจกรรมนี้เน้นการเรียนรู้ ของผู้เรียนแต่ละบุคคลมากกว่าการเรียนในลักษณะกลุ่ม การจัด
กลุ่มผู้เรียนจะคล้ายกับเทคนิค STAD และ TGT แต่ในเทคนิคนี้ ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้และทํางาน
ตามระดับ ความสามารถของตน เมื่อทํางานในส่วนของตนเสร็จแล้วจึงจะไปจับคู่หรือเข้ากลุ่มทํางาน
Imel กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง กระบวนการเรียนการ
สอนที่ให้ผู้เรียนจับคู่สอนกันเอง
Thomas กล่าวว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนที่มีความสามารถ
ทางการเรียนสูงกว่าและได้รับการฝึกฝน รวมทั้งอยู่ภายใต้ความควบคุมจากครูผู้สอนช่วยเหลือผู้เรียน
คนอื่นในการเรียน โดยเป็นผู้เรียนที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
Topping กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง การจัดกิจกรรมการ
สอนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และทักษะโดยการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากเพื่อนร่วมชั้นที่ได้จากการ
จับคู่โดยผู้เรียนทั้งคู่ช่วยเหลือกันเรียนและได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยอาศัยการกระทํา ผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในการเรียน โดยรับบทเป็นนักเรียนผู้สอนและนักเรียนผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการ
วางแผนขั้นตอนการดํา เนินงานอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีการฝึกหัดนักเรียนผู้สอนให้ทําหน้าที่ของตน
อย่างมีประสิทธิภาพ
Kohn and Vajda (p.379-390) ได้กล่าวสนับสนุนว่า วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
หมายถึง วิธีสอนที่เปิ ดโอกาสให้ผู้ เรียนได้ทํากิจกรรมการเรียนเป็นคู่หรือกลุ่ มย่อย โดยร่วมกันทํา
กิจกรรมทุกทักษะ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือกันและมีปฏิสัมพันธ์กัน ได้ใช้ภาษาในการ
สื่อสารเพื่อเจรจาหาความหมายด้วยตนเอง ครูเป็นเพียงผู้ทําหน้าที่ให้ความช่วยเหลือให้คําแนะนําและ
ช่วยจัดกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยให้ผู้เรียนรับผิดชอบกระบวนการเรียนเอง
Maheady, Mallette, Harper, Sacca and Pomerantz (p.271) กล่าวถึงการ
เรียนรู้แบบให้เพื่อนช่วยเพื่อนว่า เป็นวิธีสอนอีกวิธีทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความรู้
ความสามารถทางวิชาการ (Academic Performance) แก่ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
17

เนื่ องจากเป็ น วิธี ส อนที่ มีก ารจั ด กิจ กรรมเพื่ อกระตุ้น ให้ ผู้ เ รีย นมี บทบาทและมีส่ ว นร่ว มในการทํ า
กิจกรรมและส่งผลให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน
4.2 รูปแบบวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
นักการศึกษาหลายท่านได้ประมวลการสอนที่มีแนวคิดจากวิธีการเรียนรู้แบบ
เพื่อนช่วยเพื่อนไว้มากมาย มีรายละเอียดดังนี้
Miller, Barbetta and Heron (1994) ได้กล่าวถึง รูปแบบวิธีการเรียนรู้แบบ
เพื่อนช่วยเพื่อนไว้หลายรูปแบบดังนี้
1. การสอนโดยเพื่อนร่วมชั้น (Class wide-Peer Tutoring) เป็นการสอนที่
เปิดโอกาสให้ผู้เรีย นทั้งสองคนที่จับคู่กันมีส่วนร่ว มในการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนทั้งสองสลั บ
บทบาทเป็นทั้งนักเรียนผู้สอนที่คอยถ่ายทอดความรู้ให้แก่ นักเรียนผู้เรียน และนักเรียนผู้เรียนซึ่งเป็นผู้
ที่ได้รับการสอน
2. การสอนโดยเพื่อนต่างระดับชั้น (Cross-Age Peer Tutoring) เป็นการ
สอนที่มีการจับคู่ระหว่างผู้เรียนที่มีระดับอายุแตกต่างกัน โดยให้ผู้เรียนที่มีระดับอายุสูงกว่าทําหน้าที่
เป็นผู้สอนและให้ความรู้ ซึ่งผู้เรียนทั้งสองคนไม่ จําเป็นต้องมีความสามารถทางการเรียนที่แตกต่างกัน
มาก
3. การสอนโดยการจับคู่ (One-to-One Tutoring) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียน
ที่มีความสามารถทางการเรียนสูงกว่าเลือกจับคู่กับผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ํากว่าด้วย
ความสมัครใจของตนเอง แล้วทําหน้าที่สอนในเรื่องที่ตนมีความสนใจ มีความถนัดและมีทักษะที่ดี
4. การสอนโดยบุคคลทางบ้าน (Home-Based Tutoring) เป็นการสอนที่
ให้บุคคลที่บ้านของผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสอน ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาความรู้ความสามารถ
แก่ บุตรหลานของตนระหว่างที่บุตรหลานอยู่ที่บ้าน

Maheady (p.269-289) ได้รวบรวมวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ดังนี้


1. การสอนโดยเพื่อนต่างระดับชั้น (Cross-Age Tutoring) เป็นการสอนที่มี
การจับคู่ระหว่างผู้เรียนที่มีอายุแตกต่างกัน โดยให้ผู้เรียนที่อยู่ในระดับชั้นสูงกว่า หรือผู้ที่มีอายุกว่า ซึ่ง
อยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมของครูผู้สอน เป็นผู้รับผิดชอบช่วยเหลือและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนที่
มีความสามารถทางการเรียนน้อยกว่า
18

2. การสอนโดยสลับบทบาท (Reverse-Role Tutoring) เป็นการสอนที่ให้


ผู้ เ รี ย นจั บ คู่ ทํ า กิ จ กรรม โดยเป็ น การจั บ คู่ ร ะหว่ า งผู้ เ รี ย นที่ มี ร ะดั บ อายุ ม ากกว่ า แต่ เ ป็ น ผู้ ที่ มี
ความสามารถทางการเรียนต่ํากว่า หรือเป็นผู้ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้กับผู้เรียนที่อายุน้อยกว่า
แต่มีระดับสติปัญญาที่อยู่ในระดับปกติ ผู้เรียนทั้งสองจะได้สลับบทบาทกันเป็นทั้งนักเรียนผู้สอนซึ่ง
เป็น ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้และนั กเรี ยนผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการสอน การสอนนี้ยังเป็นการสอนที่
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกมองเห็นคุณค่าในตนเอง
3. การสอนโดยเพื่อนร่วมชั้น (Class wide-Peer Tutoring) เป็นการสอนที่
มีการจัดกิจ กรรมโดยครู แบ่งผู้เรีย นออกเป็นสองทีม ภายในแต่ล ะทีมมีการจับคู่กันเพื่อร่วมกันทํา
กิจกรรม ผู้เรี ยนแต่ละคู่จะได้ส ลับบทบาทกันเป็นทั้งนักเรียนผู้ส อนและนักเรียนผู้เรียนในขณะทํา
กิจกรรม หากนักเรียนผู้เรียนทําสิ่งใดได้ถูกต้องจะได้รับการเสริมแรงจากนักเรียนผู้สอนเพื่อเป็นการ
สร้างกําลังใจแก่นักเรียนผู้ เรียน และการสอนนี้ยังเป็นวิธีส อนที่ส ร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนอีกด้ว ย
เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างทีม มีการประกาศทีมที่ชนะและมอบของรางวัลให้
จากรูปแบบวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีอยู่
หลากหลายรูปแบบ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นําเอารูปแบบวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดย
เลือกการสอนโดยการจับคู่ (One-to-One Tutoring) ซึ่งเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนที่มีความสามารถ
ทางการเรียนสูงกว่าเลือกจับคู่กั บผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ํากว่าด้วยความสมัครใจของ
ตนเอง แล้วทําหน้าที่สอนในเรื่องที่ตนเองถนัด หรือมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี เป็นการช่วยเหลือ
และแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ รวมไปถึงทัศนคติต่างๆซึ่งกันและกัน
4.3 หลักการใช้วิธีการเรียนรู ้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
Bender (115-139) กล่าวถึง หลักการใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนว่า
การให้เพื่อนช่วยเพื่อนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ควรดําเนินไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. เพื่อนผู้สอนจะต้องมี ทักษะที่จําเป็น เช่น ความเข้าใจในจุดประสงค์ของ
การสอนจําแนกได้ว่า คําตอบที่ผิดและคําตอบที่ถูกต่างกันอย่างไร รู้จักการให้แรงเสริมแก่เพื่อนผู้เรียน
รู้จักบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนของเพื่อนผู้เรียน และมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนผู้เรียน
2. กําหนดจุดประสงค์เชิง พฤติกรรมให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้ บุคคลทั้งสอง
ช่วยกันบรรลุเป้าหมายในการเรียน
3. ครู เ ป็ น ผู้ กํ า หนดขั้ น ตอนในการสอนให้ ชั ด เจนและให้ เ พื่ อ นผู้ เ รี ย น
ดําเนินการตามขั้นตอนเหล่านั้น
19

4. สอนทีละขั้นหรือทีละแนวคิดจนกว่าเพื่อนผู้เรีย นเข้าใจดีแล้วจึงสอนขั้น
ต่อไป
5. ฝึกให้เพื่อนผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกของเพื่อนผู้เรียนด้วยว่า
พฤติกรรมใดแสดงว่าเพื่อนผู้เรียนไม่ เข้าใจ ทั้งนี้จะได้แก้ไขให้ถูกต้อง
6. เพื่อนผู้สอนควรบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนของเพื่อนผู้เรียนตาม
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กําหนดไว้
7. ครูผู้ดูแลรับผิดชอบจะต้องติดตามผลการสอนของเพื่อนผู้สอนและการ
เรียนของเพื่อนผู้เรียนด้วยว่าดําเนินการไปในลักษณะใด มีปัญหาหรือไม่
8. ครูให้แรงเสริมแก่ทั้ง 2 คนอย่างสม่ําเสมอ
9. ช่วงเวลาในการให้เพื่อนช่วยเพื่อนไม่ ควรใช้เวลานานเกินไป งานวิจัย
ระบุว่าระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพในการให้เพื่อนช่วยเพื่อนในระดับชั้นประถมศึกษาอยู่ระหว่าง 15-
30 นาที
10. เพื่อนผู้ ส อนมี การยกตัว อย่า งประกอบการสอน จึงจะช่ ว ยให้ เ พื่อ น
ผู้เรียนเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
4.4 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของ
ผู้เรียนกลุ่มอ่อนและปานกลาง โดยให้ผู้เรียนกลุ่มเก่งทําหน้าที่ช่วยสอน เป็นการจับคู่ระหว่างผู้เรียนที่
เรียนเก่งและผู้เรียนที่เรียนอ่อน ในการจัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีขั้นตอน
ดังนี้
1. ขั้นการฝึกอบรม
ครู อ ธิ บ ายให้ ผู้ เ รี ย นทราบถึ ง จุ ด ประสงค์ แ ละความสํ า คั ญ ในการรั บ
บทบาทและการทําหน้าที่ของการเป็นนักเรียนผู้สอนรวมทั้งอธิบายให้ผู้เรียนทราบถึงวิธีการให้ข้อมูล
ย้อนกลับ การใช้คําพูด การชมเชย การแสดงสีหน้าและท่าทาง รวมทั้งการใช้ภาษากายต่อนักเรียน
ผู้เรี ยน และครู แสดงบทบาทการเป็นนักเรียนผู้ สอนเพื่อเป็นตัว อย่างแก่ผู้เรียน ให้ ผู้เรียนทราบถึง
วิธีการใช้คําพูด การพูดชมเชย การใช้คําถามเพื่อยั่วยุ การให้ข้อมูลย้อนกลับ การตรวจแก้ไข การ
เสริมแรง การให้กําลังใจ และเกณฑ์การให้คะแนน
20

2. ขั้นจับคู่ผู้เรียน
ครูส อบวัดระดับความสามารถพื้นฐานทางการศึกษาของผู้เรียน แล้ ว
จับคู่ผู้เรียนระหว่างผู้ที่ได้คะแนนสูงกับผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ํา โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่ง
ครึ่งจํานวนผู้เรียนทั้งหมดจะได้กลุ่มผู้เรี ยนที่มีคะแนนสูงกับกลุ่มผู้เรียนที่มีคะแนนต่ํา จากนั้นให้จับคู่
กันตามความสนใจและความพึงพอใจกลุ่มผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ํา
3. ขั้นฝึกปฏิบัติ
ครูและนักเรียนผู้สอนได้ศึกษาทําความเข้าใจบทเรียน โดยผู้เรียนที่ได้
คะแนนสูง (มีบทบาทเป็นนักเรียนผู้สอน) เป็นผู้ลงมือสอนและเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียนที่มีคะแนน
ต่ํา (มีบทบาทเป็นนักเรียนผู้เรียน) นักเรียนผู้สอนจะต้องคอยกระตุ้นนักเรียนผู้เรียนในการทํากิจกรรม
ต่างๆ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ การเสริมแรง การชมเชย การให้กําลังใจ เมื่อนักเรีย นผู้เรียนปฏิบัติได้ดี
ในระดับหนึ่งแล้ว นักเรียนผู้เรียนผลัดเปลี่ยนสลับบทบาทกันเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนผู้เรียนได้ทํา
หน้าที่เป็นทั้งนักเรียนผู้สอนและนักเรียนผู้เรียน
4. ขั้นหาคู่และทีมชนะ
เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมต่างๆ ครูและผู้เรียนรวบรวมคะแนนทั้งหมดของทุกๆ
กิจกรรม เพื่อหาคู่หรือทีมที่มีคะแนนสูงสุดเพื่อมอบรางวัล
5. ขั้นทดสอบ
ครู มี ก ารทดสอบความรู้ ที่ นั ก เรี ย นผู้ ส อนรั บ บทบาทหน้ า ที่ ถ่ า ยทอด
ความรู้ให้แก่ นักเรียนผู้เรียน โดยใช้ข้อสอบเดียวกับการทดสอบวัดความรู้พื้นฐานในครั้งแรก เพื่อ
เปรียบเทียบผลการเรียนว่าหลังจากการใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น นักเรียนผู้เรียนมีการ
พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร จากที่กล่าวมาข้างต้น การนําวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ถือว่าวิธีสอนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเรียนแบบช่วยเหลือกัน เนื่องจากเป็นวิธีการเรียนรู้ทักษะที่ให้
ผู้เรียนร่วมกันและช่วยเหลือกันทํากิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนร่วมกัน และการเรียน
แบบตามแบบอย่างที่ให้ผู้เรียนสอนกันเองจะทําให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากกว่าการเรียนรู้จากครู
เนื่องจากการเรียนจากเพื่อนหรือมีเพื่อนคอยแนะนํานั้น ผู้เรียนไม่ มีแรงกดดันที่เกิดจากความประหม่า
ผู้เรียนกล้าที่จะซักถามและกล้าแสดงออกมากขึ้น ครูมีหน้าที่คอยชี้แนะ จัดเตรียมแบบฝึกทักษะหรือ
กิจกรรมต่างๆ รวมถึงคอยกระตุ้น เสริมแรงให้แก่ผู้เรียน นอกจากกลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
จะช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะทางการ
เรียนและทักษะทางสังคมไปพร้อมๆกัน
21

5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สุภ าพร แจ่ ม ศรี (2552) ทําการศึกษาเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาการบัญชี กิจการพิเศษ ระดับชั้น ปวช 2/2 แผนกวิชาการบัญชี โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย
เพื่อนและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้ รับการพัฒนาโดยใช้กิจกรรม
เพื่อนช่วยเพื่อน จากการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาการบัญชี สําหรับกิจการ
พิเศษ เรื่อง การบันทึ กรายการปรับปรุงบัญชี และการจัดทํา งบการเงินของนักเรียนโดยใช้กิจกรรม
เพือ่ นช่วยเพื่อน สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รัฐวิทย์ ศรีดาวเรือง และคมศักดิ์ เปี่ยมแสง (2553) ทําการศึกษาเรื่อง ศึกษาผลการ
ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อเรียนของนักศึกษาในรายวิชากลศาสตร์ เครื่องกล (รหัส 2101-2209)
มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ใน
รายวิชากลศาสตร์เครื่อง จากการศึกษาพบว่าเกณฑ์ต่ํา ภายหลังจากการใช้กิจกรรมการเรียนแบบ
เพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว พบว่านักศึกษามีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยสรุปได้ ดังนี้ 1.การทดสอบก่อนและ
หลังการเรียนรู้ คะแนนที่ได้ เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยนั้น ผลปรากฏว่า คะแนนทดสอบก่อนการ
เรียนรู้ มีร้อยละค่าเฉลี่ย (ร้อยละ 47) อยู่ในระดับคุณภาพ “ปรับปรุง” เมื่อ นักศึกษามีการเรียนรู้ โดย
การใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเข้าไป ผลปรากฏว่า คะแนนทดสอบหลังการเรียนรู้ มีร้อยละค่าเฉลี่ย
(ร้อยละ 73) อยู่ในระดับคุณภาพ “ดี” ซึ่งแสดงให้ เห็นว่านักศึกษามีพัฒนาการทางด้าน การเรียนที่ดี
ขึ้นทั้งทางด้านการเรียนและการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียน 2.การทดสอบย่อยทั้ง 3 ครั้ง คะแนน
ที่ได้ ผลปรากฏว่า 1.1 ในการทดสอบย่อยครั้งที่ 1 นักศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนน อยู่ในระดับคุณภาพ
“ปรับปรุง” (ร้อยละ 40.6) 1.2 ในการทดสอบย่อยครั้งที่ 2 นักศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนนอยู่ในระดับ
คุณภาพ “พอใช้” (ร้อยละ 59.4) 1.3 ในการทดสอบย่อยครั้งที่ 3 นักศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนน อยู่
ในระดับคุณภาพ “ดี” (ร้อยละ 70.2) 3.ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้
กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ผลปรากฏว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ ชอบในกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนที่นํามาใช้
สอนและเทคนิ คในการนํ าเสนอที่แปลกใหม่ รวมทั้งยังชอบที่มีการจัดกิจกรรมถาม-ตอบ เพื่อให้
นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประนอม ดอนแก้ ว (2550) ได้ทําการศึกษา การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วย
เพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางกายในการเล่นวอลเล่ย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา พบว่า นักเรียนมีทักษะการเล่นวอลเล่ย์บอลก่อนการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการ
เรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับหลังการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีคะแนน
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าหลังการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการ
22

เรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน นักเรียนมีทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอลเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน


ที่ตั้งไว้และยังพบว่าในขณะเรียนนักเรียนได้แสดงพฤติกรรมความสนใจในการพยายามฝึกทักษะ การ
ปฏิบัติทักษะด้วยความเต็มใจ การให้ ความร่วมมือ ตลอดจนซักถามและปฏิบัติทักษะตามขั้นตอน
นอกจากนี้นักเรียนยังได้แสดงความตั้งใจเรียน เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา มีความคล่องแคล่วและมีความ
สนุกสนานในการเรียน อีกทั้งนักเรียนหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ และปฏิบัติกิจกรรมครบทุกทักษะ
ฉัตรชัย ไชยวุฒิ (2552) ได้ทําการศึกษา การใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วย
เพื่อนในโรงเรียนอนุบาลสภาพร พบว่า คะแนนความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
หลังการใช้การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงขึ้น ครูผู้สอนมีทัศนะคติที่ดีมากต่อกระบวนการนิเทศแบบ
เพื่อนช่วยเพื่อนและเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ที่จะนํากระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้
พัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาลสภาพร
อรศิ ริ เลิ ศ กิต ติสุ ขและดวงกมล ลิ มโกมุท (2552) ของโรงเรีย นสตรี ศรีสุ ริโ ยทั ย
ทําการศึกษาการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยการคิดค้นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน การสร้าง
เว็บเพจภาษา HTML ด้วยการดัดแปลงกระบวนการสอนซ่อมเสริมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมาบูรณาการ
เข้ากับวิธีการดําเนินธุรกิจเครือข่ายขายตรง (Direct Sales) ทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โดยส่วนรวมสูงขึ้น และยังมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ํารวมถึง
นักเรียนที่ไม่บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ผ่านตามเกณฑ์การประเมินจุดประสงค์
อัจฉรา บุญกลิ่น (2551) ได้ทําการศึกษา การให้คําปรึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อ
เพิ่มการควบคุมตนเองของผู้หญิงที่มีน้ําหนักเกิน พบว่า หลังจากการใช้โปรแกรมการให้คําปรึกษาแบบ
เพื่ อนช่ ว ยเพื่ อ น กลุ่ มตั ว อย่ า งมี พ ฤติ ก รรมที่พึ ง ประสงค์ ด้า นการรับ ประทานอาหาร การบริโ ภค
เครื่องดื่ม การออกกําลังกาย และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการลดน้ําหนัก มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมี
นัยสําคัญที่สถิติระดับ .05
นายนพดล คําเรียง (2549) ของโรงเรียนอู่ทอง ทําการวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรี ยนโดยใช้วิธีการเรี ยนการสอนแบบเพื่อนช่ว ยเพื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่4/5 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดทุกคน
และกิจกรรมกลุ่ มทําให้ เกิดบรรยากาศที่ดีช่ว ยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ตั้ งใจและมี ความ
รับผิดชอบมากขึ้น อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดความสามัคคี รู้จักแก้ปัญหาร่วมกัน
ธิดา โมสิกรัตน์ และคณะ(2548) ศึกษาการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ร่วมกันโดยการ
เรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยทําการวิจัย
23

เชิงทดลองและพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกัน 3 แบบ คือ 1) แบบจิ๊กซอว์ 1 (Jigsaw I) 2) ทรีสเต็บอินเทอร์


วิว (Three Step Interview) และ 3) สแตด (STAD) พบว่ากลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันโดย
การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนทั้ง 3 แบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาไทยศึกษาสูงกว่า กลุ่มควบคุม
(กลุ่ มที่ไม่ได้เข้าโครงการเพื่อนช่ว ยเพื่อน) นอกจากนี้นักศึกษามีความเห็ นว่าวิธีเรียนที่เหมาะกับ
นักศึกษาในระดับมาก คือ วิธีเรียนแบบสแตด และเหมาะกับนักศึกษาในระดับปานกลาง คือ ทรีสเต็บ
อินเทอร์วิว และจิ๊กซอว์
จากงานวิจั ยข้างต้นจะเห็ นได้ว่าการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบเพื่อนช่ว ย
เพื่อนเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนกับคะแนนหลังใช้กิจกรรมเพื่อน
ช่วยเพื่อนเห็นได้คะแนนหลังใช้จะสูงกว่าคะแนนก่อนใช้เพราะการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อน
ช่วยเพื่อนสามารถทําให้เกิดบรรยากาศที่ดีให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีความรับผิดชอบ
มากขึ้นอีกทั้งยังให้เกิดความสามัคคี รู้จักแก้ปัญหาร่วมกันและเกิดความรู้ความเข้าใจง่ายขึ้น
24

บทที่ 3
วิธกี ารดาเนินการวิจัย
การวิ จั ย เรื่ อ ง การพั ฒ นาผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นวิ ช าภาษาอาหรั บ ของนั ก เรี ย นชั้ น
ประถมศึกษาปีที่ ๓/๒ โรงเรียนตลาดปรีกี โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้วิจัยได้ทําการนําเสนอ
รายละเอียดเกี่ยวกับการทําวิจัย ดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สรุปผลการทําวิจัย
7. สถานที่ทําการวิจัย
8. ระยะเวลาในการทําวิจัย

1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558โรงเรียนตลาดปรีกี
จํานวน 20 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล มีดังนี้
- แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการสนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยค
คําถาม
- แบบทดสอบก่อนเรียน ใช้แบบหลายตัวเลือก ซึ่งมีอยู่ 20 ข้อ เพื่อประเมินความรู้ก่อน
การเรียนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนว่ามีความรู้มาก-น้อยเพียงใด
- แบบทดสอบหลังเรียน ใช้แบบหลายตัวเลือก ซึ่งมีอยู่ 20 ข้อ เพื่อประเมินพัฒนาการ
หลังการเรียนโดยใช้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนว่ามีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่
- แบบประเมินความพึงพอใจ ทางผู้วิจัยได้จัดทําแบบประเมินความพึงพอใจขึ้นเพื่อให้
ทราบถึงความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบต่อการใช้กิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
25

3. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
3.1 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดทํา ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นใช้เป็นแนวทางในการสร้างกิจกรรมเพื่อนช่วย
เพื่อนในรายวิชาภาษาอาหรับ
2. ดําเนินการสร้างกิจกรรมในการเรียนการสอน โดยใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
3. นํากิจกรรมมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์
4. นํากิจกรรมมาประยุกต์ใช้กับนักเรียน
3.2 การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
ผู้วิจัยได้จัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผน (3 ชั่วโมง) เรื่อง การสนทนาโต้ตอบ
ใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม
3.3 การสร้างแบบประเมินการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน โดยทางผู้วิจัยได้มีการสร้าง
เพื่อให้ มีการบันทึกใน 2 ส่วน คือ ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการเรียน
ในการใช้กจิ กรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
3.4 การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย
เพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะในการเรียนวิชาภาษาอาหรับ โดยทางผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อทราบถึงความพึง
พอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อนํามาปรับปรุงในการ
เรียนการสอนครั้งต่อๆ ไป
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการดําเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดําเนินการ ดังนี้
4.1 ขั้นเตรียมการสอน ผู้สอนได้เตรียมทําแผนการสอน โดยใช้วิธีการสอน โดยใช้กิจกรรม
เพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งกระบวนการทําแผนการสอนได้ดําเนินการโดย
- วิเคราะห์ผู้เรียน
- วิเคราะห์เนื้อหา
- ออกแบบกระบวนการเรียน โดยเลือกกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
- เตรียมกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ
- เตรียมสื่อและอุปกรณ์การเรียน
- วางแผนประเมินผลการเรียนรู้
4.2 ขั้นสอน มีการนําเข้าสู่บทเรียน การสอนตามบทเรียน
26

4.3 สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน


4.4 ดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามลําดับ
- ทดสอบก่อนเรียน บันทึกผล (คะแนน)
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
- ทดสอบหลังเรียน บันทึกผล (คะแนน)
4.5 วิเคราะห์ผลทดสอบ สรุปผลการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย

- หาค่าเฉลี่ย ( ̅ ) เพื่อหาระดับคะแนนของนักเรียน
- หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 หาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
5.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียน โดย
ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) มีสูตรดังนี้

̅
∑ ̅

̅ แทน ค่าเฉลี่ย
SD แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนของนักเรียน
N แทน จํานวนประชากร
2. หาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล
จากแบบประเมินความพึงพอใจโดยแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
เพื่ออธิบายความพึงพอใจต่อโครงการ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
มีการกําหนดอันตระภาคชั้นดังนี้
27

อันตรภาคชั้น (Class Interval) = Range/K


= (Xmax – Xmin)/K
เมื่อ Rang = พิสัย
Xmax = คะแนนสูงสุด
Xmin = คะแนนต่ําสุด
K = จํานวนชั้น

ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ได้กําหนดคะแนนสูงสุด = 5 คะแนน


คะแนนต่ําสุด = 1 คะแนน
จํานวนชั้น = 5 ชั้น
คะแนนสูตรในอันตรภาคชั้น = (5 - 1) / 5
= 0.80
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงกําหนดระดับความพึงพอใจ โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งแต่ละลําดับมีค่าคะแนน
แตกต่างกัน 0.80 คะแนน (ลิเคิร์ท (Likert technique)) ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงช่วงคะแนนเฉลี่ยและการแปลความหมายข้อมูล
ช่วงค่าคะแนนเฉลี่ย การแปลความหมายระดับความพอใจ
4.21 – 5.00 มากที่สุด
3.41 – 4.20 มาก
2.61 – 3.40 ปานกลาง
1.81 – 2.60 น้อย
1.00 – 1.80 น้อยที่สุด
28

ตารางที่ 2 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนระดับความพึงพอใจ
ช่วงค่าคะแนน ระดับความพึงพอใจ
5 มากที่สุด
4 มาก
3 ปานกลาง
2 น้อย
1 น้อยที่สุด

ข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากแบบประเมินจะใช้ประกอบการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
เพื่อความสมบูรณ์ในการศึกษา
6. การสรุปผลการวิจัย
ผู้วิจัยขอนําเสนอผลการวิจัยโดยแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอน โดยการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
7. สถานที่ทาการวิจัย
สถานที่ที่ใช้ในการทํางานวิจัย คือ โรงเรียนตลาดปรีกี อําเภอยะรัง จังหวักปัตตานี
8. ระยะเวลาในการทาวิจัย
ผู้วิจัยดําเนินการวิจัยในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 โดยใช้เวลาในคาบเรียนรายวิชา
ภาษาอาหรับ
29

บทที่ 4
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอาหรับ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย
เพื่อนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตลาดปรีกี เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางการเรียน โดย
การวิจัยดังกล่าวเป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถทํางานได้อย่างถูกต้อง
ผู้วิจัยขอนําเสนอผลการวิจัยโดยแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนโดยการใช้ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการแปลความหมายและเสนอผลการวิเคราะห์
ข้อมูล ผู้วิจัยได้กําหนดความหมายของสัญลักษณ์ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
N แทน จํานวนนักเรียน
̅ แทน คะแนนเฉลี่ย
S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ในการให้ค่าคะแนนของคําถามที่เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มีการแปล
ความหมายของคะแนน ทางคณะผู้วิจัยได้ใช้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเป็นเกณฑ์ (ลิเคิร์ท (Likert
technique)
ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ข้างต้น ทางผู้วิจัยขอสรุปผลการวิเคราะห์ ดังนี้
ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ทางผู้วิจัยขอ
นําเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลการทดสอบก่อนเรียน โดยการนําเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของ
ตาราง ดังนี้
30

ตารางที่ 1.1 ตารางแสดงคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) ในเรื่องการสนทนาโต้ตอบ


ใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
นักเรียนคนที่ คะแนนก่อนเรียน (20 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ
1 8 40.00
2 10 50.00
3 16 80.00
4 2 10.00
5 14 70.00
6 4 20.00
7 2 10.00
8 2 10.00
9 2 10.00
10 2 10.00
11 8 40.00
12 6 30.00
13 6 30.00
14 3 15.00
15 4 20.00
16 3 15.00
17 4 20.00
18 16 80.00
19 16 80.00
20 2 10.00
รวม 130.00 650.00
̅ 6.50 32.50
SD 5.18
จากตารางที่ 1.1 พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ ยก่อนเรียนในเรื่องการสนทนาโต้ตอบใช้ประโยค
สนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดย ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักศึกษามีค่าเท่ากับ 6.50 ซึ่ง
คิดเป็นร้อยละ 32.50
31

ตารางที่ 1.2 ตารางแสดงคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เรื่อง โดยการสนทนา


โต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
นักเรียนคนที่ คะแนนหลังเรียน (20 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ
1 12 60.00
2 16 80.00
3 20 100.00
4 6 30.00
5 20 100.00
6 12 60.00
7 16 80.00
8 20 100.00
9 10 50.00
10 16 80.00
11 20 100.00
12 14 70.00
13 12 60.00
14 14 70.00
15 18 90.00
16 14 70.00
17 14 70.00
18 18 90.00
19 20 100.00
20 6 30.00
รวม 298.00 1490.00
̅ 14.90 74.50
SD 4.38 21.88

จากตารางที่ 1.2 พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ ยหลังเรียนในเรื่องการสนทนาโต้ตอบใช้ประโยค


สนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 14.90 ซึ่ง
คิดเป็นร้อยละ 74.50 ซึ่งคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน
32

ตารางที่ 1.3 ตารางแสดงการเปรียบเทียบผลจากคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนในเรื่ องการ


สนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
คนที่ คะแนนก่อนเรียน (20 คะแนน) คะแนนก่อนเรียน (20 คะแนน) ส่วนต่าง Dif คิดเป็นร้อยละ
1 8 12 4 20.00
2 10 16 6 39.00
3 16 20 4 20.00
4 2 6 4 20.00
5 14 20 6 30.00
6 4 12 8 40.00
7 2 16 14 70.00
8 2 20 18 90.00
9 2 10 8 40.00
10 2 16 14 70.00
11 8 20 12 60.00
12 6 14 8 40.00
13 6 12 6 30.00
14 3 14 11 55.00
15 4 18 14 70.00
16 3 14 11 55.00
17 4 14 10 50.00
18 16 18 2 10.00
19 16 20 4 20.00
20 2 6 4 20.00
รวม 130 298 168 849
̅ 6.5 14.9 8.4 42.45
SD 5.18 4.38 4.42

จากตารางที่ 1.3 พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 6.5 และ


ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.9 ซึ่งพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย
33

ก่อนเรียน โดย มีการพัฒนาการของคะแนนระหว่าง 2-18 คะแนน คิดเป็นร้อยละของคะแนนที่


เพิ่มขึ้นร้อยละ10.00-90.00
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนในการให้ค่า
คะแนนของคําถามที่เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มีการแปลความหมายของคะแนน
ทางคณะผู้วิจัยได้ใช้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเป็นเกณฑ์ (ลิเคิร์ท (Likert technique))
ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
ทางผู้วิจัยนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมเพื่อน
ช่วยเพื่อน สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนตลาดปรีกี โดยการนําเสนอผลการวิจัยใน
รูปแบบของตาราง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ส่วนที่ 2 ความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 2.1 เพศของนักเรียนในการเรียนการสอนเรื่องการสนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนา
สั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
เพศ จํานวน ̅
ชาย 12 60.00
หญิง 8 40.00
รวม 20 100.00

จากตารางที่ 2.1 พบว่า ค่าเฉลี่ยของเพศนักเรียนชายมีค่าเท่ากับ 60.00 และค่าเฉลี่ยของเพศ


นักเรียนหญิงมีค่าเท่ากับ 40.00
34

ส่วนที่ 2 ความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ตารางที่ 2.2 คะแนนความความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนเรื่อง สนทนาโต้ตอบใช้
ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
คนที่ A1 A2 A3 A4 A5 A6 A7 A8 A9 A10
1 5 4 4 5 3 3 4 4 4 4
2 4 5 4 2 5 3 3 4 5 4
3 2 1 4 5 3 4 4 5 3 2
4 4 4 3 4 1 4 5 5 2 3
5 1 3 4 4 5 4 3 2 2 5
6 3 3 4 2 1 4 5 5 5 4
7 5 5 4 4 5 5 3 5 3 5
8 5 3 4 3 3 4 3 5 4 2
9 4 3 4 2 5 4 5 5 3 4
10 5 5 3 3 4 5 5 4 5 5
11 5 3 3 3 5 3 4 5 3 4
12 3 3 5 4 2 4 4 5 3 3
13 4 5 3 2 3 3 2 3 5 4
14 5 5 5 4 4 4 3 3 4 5
15 4 3 5 4 3 3 4 3 5 4
16 3 4 4 4 4 5 5 3 3 2
17 2 3 3 4 5 4 5 3 5 5
18 5 4 3 3 5 4 4 2 5 4
19 4 4 5 5 5 4 3 3 4 4
20 3 5 5 3 4 2 3 4 4 4
รวม 76 75 79 70 75 76 77 78 77 77
̅ 3.80 3.75 3.95 3.50 3.75 3.80 3.85 3.90 3.85 3.85
SD 1.20 1.07 0.76 1.00 1.33 0.77 0.93 1.07 1.04 0.99
35

จากตารางที่ 2.2 พบว่ า นั ก เรี ย นมี ค วามพึ ง พอใจในเรื่ อ งมี ส่ ว นช่ ว ยในกิ จ กรรม/ใบงาน
( ̅ =3.85 ) รองลงมามีความพึงพอใจในเรื่องกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ เกิดการช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน
กิจกรรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทํางานซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากัน ( ̅ =3.85 ) และมี
ความพึงพอใจในเรื่องกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ทํางานได้เร็วขึ้นกว่าเดิม มีค่าเท่ากัน ( ̅ =3.95 )
ตามลําดับ
หมายเหตุ
A1 คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนสามารถทําให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
A2 คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้มีความรู้มากขึ้น
A3 คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ทํางานได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
A4 คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ส่งชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพ
A5 คือ มีความรู้สึกสนุกกับกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
A6 คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้มีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น
A7 คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
A8 คือ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทํางานซึ่งกันและกัน
A9 คือ มีส่วนช่วยในกิจกรรม/ใบงาน
A10 คือ นักศึกษารู้สึกชอบกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

ตารางที่ 2.3 ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลผลความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน


การสอนเรื่อง สนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย
เพื่อน โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ข้อ รายการประเมิน ̅ S.D. แปลผล
1 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนสามารถทําให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น 3.80 1.20 พึงพอใจมาก
2 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้มีความรู้มากขึ้น 3.75 1.07 พึงพอใจมาก
3 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ทํางานได้เร็วขึ้นกว่าเดิม 3.95 0.76 พึงพอใจมาก
4 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ส่งชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพ 3.50 1.00 พึงพอใจมาก
5 มีความรู้สึกสนุกกับกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 3.75 1.33 พึงพอใจมาก
6 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้มีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น 3.80 0.77 พึงพอใจมาก
7 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 3.85 0.93 พึงพอใจมาก
36

8 ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทํางานซึ่งกันและกัน 3.90 1.07 พึงพอใจมาก


9 มีสว่ นช่วยในกิจกรรม/ใบงาน 3.85 1.04 พึงพอใจมาก
10 นักศึกษารู้สึกชอบกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 3.85 0.99 พึงพอใจมาก
3.80 1.016 พึงพอใจมาก

จากตารางที่ 2.3 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนเรื่อง โดย


ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน อยู่ในระดับมาก ( ̅ = 3.75 ) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า
นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากในเรื่อง มีส่วนช่วยในกิจกรรม/ใบงาน ( ̅ = 3.85 ) รองลงมามี
ความพึ ง พอใจมากในเรื่ อ งกิ จ กรรมเพื่ อ นช่ ว ยเพื่ อ นทํ า ให้ เ กิ ด การช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น ,กิ จ กรรมได้
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทํางานซึ่งกันและกัน มีค่าเท่ากับ ( ̅ =3.90 ) และมีความพึงพอใจ
มากในเรื่องกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ทํางานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมีค่าเท่ากัน ( ̅ = 3.95 ) ตามลําดับ
37

บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอาหรับ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย


เพื่อน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 3/2 โรงเรียนตลาดปรีกี ได้ผลการวิจัยดังนี้
จุดประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาภาษาอาหรับชั้นประถมศึกษาปีที่
3/2 โรงเรียนตลาดปรีกี ที่ได้เรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
2.เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ก่ อ นและหลั ง เรี ย น ในรายวิ ช าภาษาอาหรั บ ชั้ น
ประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนตลาดปรีกี ที่ได้เรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนรู้โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนตลาดปรีกี
อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จํานวน 20 คน

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการดําเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดําเนินการวิจัยเชิงทดลอง
1. ทําการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สําหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ในวันที่ 10 มกราคม 2559 ทําแบบทดสอบครั้งที่ 1 และเก็บคะแนน
ที่นักเรียนสอบได้
2. จัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 เรื่อง การสนทนาโต้ตอบใช้
ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
3. ให้นักเรียนทําแบบทดสอบอีกครั้งหนึ่งด้วยแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และเก็บ
คะแนนที่นักศึกษาสอบได้
4. นําผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
38

สรุปผลการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาภาษาอาหรับ เรื่อง การสนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนา
สั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนใช้กิจกรรมเพื่อนช่วย
เพื่อน
อภิปรายผล
จากการศึกษาข้อมูลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จํานวน 20 คน พบว่านักเรียนเป็น
เพศชายมากกว่าเพศหญิง
ผลการดําเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ผลการพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเพื่อน
ช่วยเพื่อน ในรายวิชาภาษาอาหรับ เรื่อง การสนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยค
คําถาม ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนตลาดปรีกี จํานวน 20
คน ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนในเรื่องการสนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้
ประโยคคําถาม โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 6.50 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32.50
และค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนในเรื่องการสนทนาโต้ตอบใช้ประโยคสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม
โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 16.90 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 74.50 ซึ่งคะแนน
เฉลี่ย กลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนโดยมีการพัฒนาการของคะแนนระหว่าง คะแนน คิดเป็น
ร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
2. ความความพึงพอใจที่ มีต่อการเรี ยนการสอนสนทนาสั้นๆโดยใช้ประโยคคําถาม
โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนเรื่อ การ
สนทนาโต้ต อบใช้ป ระโยคสนทนาสั้ น ๆโดยใช้ป ระโยคคําถาม อยู่ในระดั บมาก ( ̅ = 3.75 ) เมื่ อ
พิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากในเรื่องมีส่วนช่วยในกิจกรรม/
ใบงาน ( ̅ = 3.75 ) รองลงมามีความพึงพอใจมากในเรื่องกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้ มีมนุษย์
สัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้นกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและนักเรียนรู้สึก
ชอบกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่าเท่ากัน( ̅ = 3.90 ) และมีความพึงพอใจมากในเรื่องกิจกรรมเพื่อน
ช่วยเพื่อนสามารถทําให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น และมีความรู้สึกสนุกกับกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่า
เท่ากัน ( ̅ = 3.95 ) ตามลําดับ
ดังนั้น จากผลการวิเคราะห์ สามารถเห็นได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ ชอบในกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
ที่นํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งยังชอบที่ มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน
การจัดการเรียนการสอน
39

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ควรส่งเสริมการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ในการเรียนในรายวิชาทั่ว ๆไป
เพราะการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน จะทําให้นักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาด้วยตนเอง และ
นักศึกษามีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทําให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
2. ก่อนทําการเรี ย นการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่ว ยเพื่อน ควรมีการแนะนําให้
นักศึกษาจับกลุ่มการเรียนก่อน เพราะนักศึกษาอาจเกิดความสับสนหรือไม่เข้าใจในกระบวนการเรียน
การสอนโดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อน และอาจส่งผลให้ไม่ประสบผลสําเร็จในการเรียนได้
3. ควรแนะนําข้อดี ของการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อนก่อน เพื่อให้
นักศึกษาเกิดความรู้สึกอยากทํากิจกรรมมากขึ้น และจะส่งผลให้การจัดกิจกรรมนี้ประสบความสําเร็จ

ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยต่อไป
1. ควรประยุกต์การจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ในรายวิชา
อื่นๆ
2. ควรศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับชั้นอื่นๆ
ต่อไป
3. การเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทําให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง
สามารถถ่ายทอดให้เพื่อนเป็นอย่างดีและความรู้ที่ได้รับคงทน
40

บรรนานุกรม

วินัย สะมะอูน. (2552).ความสาคัญของภาษาอาหรับ. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม.2558

เจิมวัฒน์ แดงสวัสดิ์. (2553).Human Bahavior.พฤติกรรมมนุษย์. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม. 2558

ฉัตรชัย ไชยวุฒิ. (2552). การใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลสภาพร.

การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชีวัน บุญตั๋น. (2546). การใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในการอ่าน

ภาษาอังกฤษและการมองเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.

วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประนอม ดอนแก้ว. (2550). การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการ


เคลื่อนไหว

ทางกาย ในการเล่นวอลเล่ย์บอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียง


มอกวิทยา.

การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรทัย จินดาไตรรัตน์. (2548). บทบาทของกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ให้มีวินัยในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี. การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศา


สตรมหา

บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัจฉรา บุญกลิ่น. (2551). การให้คาปรึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเพิ่มการควบคุมตนเองของ

ผู้หญิงที่มีน้าหนักเกิน. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
41

เกสร พลอยโพธิ์.(2522). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนกัลป์ผลสัมฤทิ์ทางการเรียนของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต

(จิตวิทยพัฒนาการ). มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

นพดล คาเรียง. (2549). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเพื่อน


ช่วยเพื่อน

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/5 โรงเรียนอู่ทอง อาเภออู่ทอง จังหวดัสุพรรณบุ


รี.วิจยั ใน

ชั้นเรียน, สุพรรณบุรี: โรงเรียนอู่ทอง.

นวกานต์ มณีศรี. (2555). การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Office Excel 2007

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน.

วจิยัในชั้นเรียน,นครปฐม:โรงเรียนวัดไทร(สินศึกษาลัย).

พวงรัตน์ทวีรัตน์. (2530). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์.

กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
42

ภาพผนวก

You might also like