You are on page 1of 5

จังหวัดสงขลา

ที่มาของจังหวัดสงขลา
จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณมีชุมชนโบราณและ
เมืองเก่าแก่มีโบราณสถาณ โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง
มากมายสงขลาพึ่งปรากฏตีนครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับและ
เปอร์เซียระหว่างปีพ.ศ. 1993-2093 ในนามของเมืองซิงโกหรือเมืองซิงกอร่า แต่ในหนังสือ
ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามของนาย กิโลลาส แชร์แวส เรียก
ชื่อเมืองสงขลา ว่า “ เมืองสิงขร” จึงมีการสันนิษฐานคำว่าจึงมีการสันนิษฐานคำว่า สงขลา
เพี้ยนมาจากชื่อ “สิงหลา” หรือสิงหขร
สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์เรื่องราวมากมายที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อำเภอ
สทิงพระ ประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมสมัยที่สทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า
สทิงพระ คือ ศูนย์กลางของราชอาณาจักรเชี้ยโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ด
ศตวรรษเพราะมีร่องรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรมที่แสดงให้เห็นว่า เมืองสทิงพระ
เป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดนรอบๆทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น
จุดเด่นของจังหวัดสงขลา
หาดแหลมสมิหลา คือสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญที่มีชื่อเสียงของ
จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัด
สงขลา เป็นชายหาดที่มีทรายขาวละเอียดเรียกว่า “ทรายแก้ว” ซึ่ง
ร่มรื่นไปด้วยป่าสนมีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดแหลมสมิหลา
ยังถูกนำมาใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “นกน้ำเพลินตา สมิหลา
เพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้”
หาดสมิหลามีสัญลักษณ์ที่ทุกคนจำได้คือเงือกทอง คำว่า "สมิหลา"
เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า "สมิ" แปลว่า "ลม" และ "หลา" แปล
ว่า "ความสดชื่น" เมื่อนำมารวมกันแปลว่า "ลมที่หอบเอาความสดชื่น
เข้ามา" และอีกที่มาของชื่อสมิหลาคือ มาจากความเชื่อว่าสถานที่ตรง
นี้เป็นแหลมซึ่งมีศิลา บ้างก็บอกว่ามีศาลา คนโดยทั่วไปจึงเรียกว่า
"แหลมศาลา" "แหลมศิลา" ปกติของคนคนใต้เป็นคนพูดเร็ว เลยเพี้ยน
ไปเพี้ยนมา กลายเป็น "หาดแหลมสมิหลา" ไปในที่สุด หาดแหลมสมิ
หลาเป็นชายทะเลซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติ ที่ต้อนรับผู้
มาเยือนเรื่อยมาจากอดีตจนปัจจุบัน
ที่ตั้งของหาดแหลมสมิหลา
อยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ห่างจาก
ศาลากลางจังหวัดสงขลา ประมาณ 1
กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสน
อันร่มรื่น มีรูปปั้นนางเงือก ที่เป็น
สัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา และรูปปั้น
หนูแมว โดยรอบบริเวณได้จัดสวนหย่อม
ไว้ดูร่มรื่นเหมาะเป็นที่นั่งพักผ่อนยามเย็น
เมื่อมองออกไปในทะเล จะเห็นเกาะหนู
เกาะแมว อันเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของ
แหลมสมิหลา
สมาชิกในกลุ่ม
1.นาย ฐาปกรณ์ กองแก้ว 6003
2.นาย มะซานี อาแวหามะ 6014
3.นาย สรวิชญ์ แสงศรี 6020
4.นางสาวขนิษฐา ชุมพงศ์ 6028
5.นาย จิราวุฒิ ทองสีดำ 6029
6.นางสาว ชนันดา อินทธนู 6032
7.นาย ธนัชพร เอกสินธุ์ 6035
8.นายภูวิศ จันทรเดช 6042

You might also like