You are on page 1of 4

ใบงานรายวิชาภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง การเขียนย่อความ


ชื่อ-สกุล………………………………………………………………………………………………………………เลขที… ่ ……………

ตอนที่ ๑ ให้นักเรียนเขียนย่อความบทความต่อไปนี้

วิ่งเปี้ยว
วิ่งเปี้ยวเป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยอย่างหนึ่งที่เด็ก ๆ นิยมเล่นกันมายาวนาน เป็นการละเล่น
ที่ต้องใช้กาลังความแข็งแรงของร่างกายในการวิ่งให้เร็วที่สุด วิธีเล่นง่ายและไม่ต้องมีอุปกรณ์อะไรมีเพียงผ้าผืน
เล็ก ๆ ๒ ผืนเท่านั้น มีวิธีการเล่น ดังนี้ จานวนผู้เล่นไม่จากัด โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน
อาจมีผู้เล่นประมาณ ๕ - ๑๐ คน ไม่ควรมากหรือน้อยไปกว่านี้ เพราะจะทาให้ไม่สนุกเท่าที่ควร โดยเตรียม
กรวยหรือปักหลัก ๒ ข้างหรือใช้คนนั่งเป็นหลัก ข้างละหลักระยะห่างประมาณ ๘ - ๑๐ เมตร
มีกรรมการตัดสิน ๑ คน เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองข้างยืนต่อแถวกันที่กรวยหรือหลักของฝ่าย
ตนเอง ต้องวิ่งอ้อมหลักให้ทันกัน ให้คนแรกมือถือผ้าคนละผืน เมื่อถึงฝ่ายของตนก็ส่งผ้าให้คนต่อไป เป็นเช่นนี้
จนวิ่งทันกัน ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่ง ถือว่าฝ่ายนั้นชนะ ข้อห้ามในระหว่างเล่น คือ ห้ามทาผ้า
ตกพื้นหากทาตกต้องวิ่งกลับไปเก็บผ้าแล้วจึงวิ่งต่อไป ห้ามวิ่งขวางฝ่ายตรงข้าม ห้ามจงใจเตะกรวยหรือหลัก
ของฝ่ายตรงข้าม

ที่มา : ศิลปะชาวบ้าน ของ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ หน้า ๔๓

ย่อบทความเรื่อง วิ่งเปี้ยว ผู้แต่ง วิบูลย์ ลี้สุวรรณ จากหนังสือศิลปะชาวบ้าน หน้า ๔๓ ความว่า

วิ่งเปี้ยวการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย ผู้เล่นใช้กาลังความแข็งแรงในการวิ่งให้เร็วที่สุด วิธีเล่นง่าย มี


อุปกรณ์ผ้าผืนเล็ก ๆ ๒ ผืน ไม่จากัดจานวนผู้เล่น แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่ายเท่ากัน และมีกรรมการตัดสิน ๑ คน
คนแรกของแต่ละฝ่ายถือผ้า คนละผืน วิ่งส่งผ้าให้คนต่อไป เป็นเช่นนี้จนวิ่งทันกัน ฝ่ายไล่ทันใช้ผ้าที่ถืออยู่ ตีอีก
ฝ่ายหนึ่งก็จะถือว่าฝ่ายนั้นชนะ
ตอนที่ ๒ ให้นักเรียนเขียนย่อความนิทานต่อไปนี้

ชื่อนั้นสาคัญไฉน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว อาจารย์ทิศาปาโมกข์ อยู่ในเมืองตักกสิลา มีลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อว่า นายบาป
เขาคิดว่าชื่อของเขาไม่เป็นมงคล จึงเข้าไปหาอาจารย์ และขอให้อาจารย์ตั้งชื่อให้ใหม่ อาจารย์จึงบอกให้ไ ป
เที่ยวแสวงหาชื่อที่ตนเองชอบใจมาแล้วจะทาพิธีเปลี่ยนชื่อให้
วันรุ่งขึ้นเขาจึงเดินทางไปแสวงหาชื่อใหม่ จนถึงเมืองหนึ่ง เดินผ่านขบวนญาติหามศพไปป่าช้า จึงถาม
ถึงชื่อคนตาย พวกญาติจึงบอกชื่อว่า นายบุญรอด เขาถามว่า “ชื่อบุญรอดก็ตายหรือ” พวกญาติจึงกล่าวว่า
“จะชื่ออะไร ๆ ก็ตายทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงสาหรับเรียกกันเท่านั้น”
เดินเข้าไปในเมือง พบเห็นเศรษฐีกาลังให้ลูกน้อ งจับผู้หญิงคนหนึ่ง มัดด้วยเชือกอยู่ จึงถามความนั้น
ทราบว่านางยืมเงินแล้วไม่ยอมคืน จึงถามถึงชื่อผู้หญิงคนนั้น ทราบว่าชื่อนางรวย จึงถามว่า “ชื่อรวย ยังไม่มี
เงินหรือ” เศรษฐีจึงตอบว่า “จะชื่อรวยหรือจน เป็นคนยากจนได้ทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงสาหรับเรียกกันเท่านั้น ”
เขาเริ่มรู้สึกเฉย ๆ ในเรื่องชื่อยิ่งขึ้น
เขาได้เดินทางออกจากเมืองไป ในระหว่างทางพบคนหลงทางคนหนึ่ง จึงเข้าไปถามชื่อ ทราบว่าชื่อ
นายชานาญทาง จึงถามว่า “ขนาดชื่อชานาญทางยังหลงทางอยู่หรือ ” คนหลงทางจึงตอบว่า “จะชื่อชานาญ
ทางหรือไม่ชานาญทาง ก็มีโอกาสหลงทางได้เท่ากัน เพราะชื่อเป็นเพียงสาหรับเรียกกันเท่านั้น”
เขาจึงวางเฉยในเรื่องชื่อ เดินทางกลับไปพบอาจารย์ แล้วเล่าเรื่องที่ตนพบเห็นมาให้ฟัง และขอให้ชื่อ
นายบาปเช่นเดิม

ที่มา : จากหนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๑ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม หน้า ๑๓

ย่อนิทานเรื่อง ชื่อนั้นสาคัญไฉน ผู้แต่ง พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม จากหนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๑


หน้า ๑๓ ความว่า
นายบาปขอให้อาจารย์เปลี่ยนชื่อให้ เพราะไม่พอใจในชื่อของตนเอง อาจารย์ให้เขาเดินทางไปหาชื่อ
ใหม่ วันรุ่งขึ้นเขาเดินทางเข้าเมือง พบคนตายชื่อบุญรอด พบคนจนชื่อรวย คนหลงทางชื่อชานาญทาง เขาจึงไม่
เปลี่ยนชื่อ เพราะคิดได้ว่าชื่อมีไว้สาหรับเรียกเท่านั้น
ตอนที่ ๒ ให้นักเรียนเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ประโยคใจความสาคัญ หมายถึงอะไร
ก. ประโยคตอนท้ายของเรื่อง ข. ประโยคบอกที่มาของเรื่อง
ค. ประโยคที่สรุปเรื่องนั้นไว้ทั้งหมด ง. ประโยคตอนต้นของเรื่อง
2. ใจความรองเรียกอีกอย่างว่าอย่างไร
ก. รองความ ข. พลความ ค. สมุหความ ง. พละความ
3. ใจความสาคัญมีลักษณะอย่างไร
ก. วลี ข. คา ค. กลุ่มคา ง. ประโยค
4. ข้อใดคือหลักการอ่านจับใจความสาคัญ
ก. ค้นหาสาระสาคัญ ข. ค้นหาข้อเท็จจริง
ค. ค้นหาคาสาคัญในเรื่อง ง. ค้นหาข้อคิดเห็น
5. การเขียนย่อความคือการเขียนลักษณะใด
ก. การเขียนสรุปใจความสาคัญจากเรื่องที่ได้ฟัง ข. การเขียนสรุปใจความสาคัญจากเรื่องที่ได้ดู
ค. การเขียนสรุปใจความสาคัญจากเรื่องที่ได้อ่าน ง. ถูกทุกข้อ
6. รูปแบบการเขียนย่อความประกอบด้วยกี่ย่อหน้า
ก. 3 ย่อหน้า ข. ไม่มีกาหนดย่อหน้า ค. 2 ย่อหน้า ง. 4 ย่อหน้า
7. ย่อหน้าใดเป็นย่อหน้าที่บอกถึงที่มาของเรื่องที่เราเขียนย่อความ
ก. ย่อหน้าสาม ข. ย่อหน้าใดก็ได้ ค. ย่อหน้าสอง ง. ย่อหน้าแรก
8. ย่อหน้าที่สองเป็นการเขียนหัวข้อใด
ก. การแสดงความคิดเห็น ข. การเขียนสรุปใจความสาคัญ
ค. การแนะนาผู้อ่าน ง. ที่มาของเรื่อง
9. ข้อใดไม่ใช่วิธีการย่อความ
ก. เขียนชื่อเรื่องก็ได้หรือไม่เขียนก็ได้ ข. อ่านเรื่องอย่างละเอียด
ค. เขียนคานาการย่อความตามแบบ ง. ใช้สานวนภาษาของผู้ย่อ
10. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์การย่อความ
ก. ใช้สานวนภาษาของผู้ย่อเอง ข. คงคาสรรพนามเดิมไว้
ค. ถ้าเป็นร้อยกรองต้องถอดคาประพันธ์ก่อน ง. คงคาราชาศัพท์ไว้
11. ข้อใดกล่าวถึงการย่อความถูกต้องที่สุด
ก. การนาประโยคสาคัญของเรื่องมาเรียงต่อกัน
ข. การนาข้อความเดิมมาตัดต่อให้สั้นลง
ค. การสรุปสาระสาคัญโดยสานวนของผู้ย่อความ
ง. การนาสาระสาคัญของเรื่องเดิมมาอธิบายขยายความใหม่
12. ข้อใดเป็นคานาย่อความของจดหมาย
ก. ย่อจดหมายของ...ลงวันที่ ....ความว่า
ข. ย่อจดหมายของ...ถึง...เรื่อง...ลงวันที่ ....ความว่า
ค. ย่อจดหมายของ...ถึง...ความว่า
ง. ย่อจดหมายของ...ถึง...ส่งวันที่ ....ความว่า
13. ย่อความควรมีกี่ย่อหน้า
ก. สองย่อหน้า คือ ย่อหน้าคานา และย่อหน้าเนื้อความ
ข. สามย่อหน้า คือ คานา เนื้อเรื่อง สรุป
ค. เท่าจานวนย่อหน้าของเรื่องเดิม
ง. ย่อหน้าเดียว
14. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของย่อความ
ก. การย่อความรู้จากหนังสือเรียน ข. การตีความบทร้อยกรอง
ค. การบันทึกรายงานการประชุม ง. การเขียนคาตอบข้อสอบ
15. ข้อควรทาในการเรียบเรียงย่อความคือข้อใด
ก. เรียงให้สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ข. เรียงตามความพอใจของผู้ย่อ
ค. เรียงลาดับเรื่องตามแบบเรื่องเดิมเสมอ ง. เรียงให้กลับกันกับเรื่องเดิม
16. ส่วนที่เป็นย่อหน้าแรกของย่อความ บอกที่มาของเรื่อง เรียกว่าอะไร
ก. คานา ข. ผู้แต่ง ค. เนื้อเรื่อง ง. สรุป
17. ย่อหน้าที่สองของย่อความ เป็นการเขียนอะไร
ก. ใจความสาคัญของเรื่อง ข. การแสดงความคิดเห็น
ค. การแนะนาผู้อ่าน ง. ที่มาของเรื่อง
18. ข้อใดกล่าวผิด
ก. ควรจับประเด็นสาคัญของเรื่องให้ได้ก่อน
ข. การเขียนย่อความต้องเขียนตามรูปแบบของการย่อความคือมี ๒ ย่อหน้า
ค. ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ หรือ บุรุษที่ ๒ เท่านั้น
ง. อ่านเรื่องจะย่อความให้เข้าใจเนื้อเรื่องก่อน
19. หากต้องการย่อความจากบทร้อยกรอง ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. แบ่งวรรคตอนในการอ่านบทร้อยกรองให้ถูกต้อง
ข. อ่านและจับประเด็น ใจความสาคัญ แล้วจดบันทึกไว้
ค. ควรย่อจากภาษาร้อยกรองเป็นภาษาร้อยแก้ว
ง. ไม่มีข้อใดถูก
20. นักเรียนคิดว่า ถ้าไม่มีแบบขึ้นต้นย่อความจะมีผลอย่างไร
ก. ทาให้เรื่องที่ย่อขาดความสาคัญไป ข. ทาให้ไม่ทราบเหตุผลในการย่อ
ค. ทาให้เรื่องที่ย่อขาดตอนไป ง. ทาให้ผู้อ่านไม่ทราบที่มาของเรื่อง

You might also like