You are on page 1of 12

ภาษาไทย ม.

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1) ข้อใดคือความหมายของคำบุรุษสรรพนาม
ก. คำที่ผู้พูดใช้แทนตนเอง
ข. คำที่ผู้พูดใช้แทนผู้ที่ตนพูดถึง
ค. คำที่ใช้เรียกสิ่งของทั้งที่เป็นรูปธรรมและเป็นนามธรรม
ง. คำที่ผู้พูดใช้แทนตนเองแทนผู้ที่พูดด้วย และแทนผู้ที่พูดถึง
2) ประโยคในข้อใดไม่มีคำบุรุษสรรพนาม
ก. ไก่กินข้าวเปลือกเป็นอาหารหลัก
ข. ผมซื้อรกะดูกหมูมาฝากเจ้าจัมโบ้
ค. แม่เขาบอกว่าไอ้แจ้มีอายุพอ ๆ กับปู่เลย
ง. คุณนาวินไม่ชอบให้ใครมาจุ้นจ้านกับชีวิตเขา
3) ประโยคในข้อใดมีคำบุรุษสรรพนามบุรุษที่ 1
ก. เขาเป็นคนเรื่องมากกว่าเพื่อน ค. ฉันบอกแล้วทำไม่ไม่ฟังกัน
ข. วันนี้ท่านไปฉันเพลที่ต่างจังหวัด ง. มันทำหัวกระด๊ก ๆ เดินตามปู่
4) ประโยคในข้อใดไม่มีคำบุรุษสรรพนามบุรุษที่ 2
ก. ฉันหวังว่าแกคงจะเข้าใจแล้วนะ ค. ท่านเคยเล่าเรื่องนี้ให้ฉันฟังแล้ว
ข. ทำไมคุณต้องย้ำคิดย้ำทำด้วย ง. ฉันเชื่อว่าเธอคงเรียนเรื่องนี้กับท่านแล้ว
5) ประโยคในข้อใดมีคำบุรุษสรรพนามบุรุษที่ 3
ก. ผมขอทำความเข้าใจกับคุณตรงนี้เลยนะ ค. ทั้งเขาและเธอไม่เคยฟังคำชี้แจงของฉันเลย
ข. ย่าบอกเจ้าแล้วว่าเรื่องราวเป้นมาอย่างไร ง. คุณนายสมศรีไปจ่ายตลาดด้วยตนเองแต่เช้า
6) ประโยคในข้อใดเป็นภาษาพูด
ก. เอางี้ เราออกไปพร้อม ๆ กนเลย ค. อย่างไรเสีย วันนี้เธอก็ต้องไปกับฉัน
ข. ฉันบอกเธอแล้วว่าเราไม่มาหรอกวันนี้ ง. ห้ามเอาเปลือกอะไรทิ้งในถังขยะ
7) ข้อใดมีคำนามที่ใช้อย่างคำบุรุษสรรพสามปนอยู่
ก. ฉันอยากชวนคุยไปห้องสมุดด้วยกัน
ข. แก้วซือ้ ขนมครกมาจากปากซอยบ้านฉัน
ค. เธอย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ยังไม่เข้าโรงเรียน
ง. มาลีขายหมูปิ้งอยู่ข้าง ๆ แผงขนมหวานของคุณยายที่หน้าปากซอย
8) ข้อความในข้อใดที่เป็นภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษเรียบร้อยแล้ว
ก. นี่แหละครับ เป็นตอนที่ผมไม่ชอบ
ข. ผมว่าตอนนี้ปู่ชักจะพูดมากไปสักหน่อย
ภาษาไทย ม.1

ค. ปู่หันขวับมาทางผมทันทีแล้วส่งเสียงดังใส่ผม
ง. ผมเป็นคนขี่จักรยานให้ปู้อุ้มเจ้าแจ้นั่งซ้อนท้าย
9) คำลงท้ายในข้อใดที่ปรากฏในภาษาเขียน
ก. นะ น่ะ สิ ละ ค. ยะ ย่ะ วะ โว้ย
ข. คะ ค่ะ จ้ะ ฮะ ง. เท่าไร โหม หรืออย่างไร
10) ข้อใดมีคำที่ใช้ในภาษาพูดปนอยู่
ก. ผมเข้าใจเขาดีว่าเขาคิดอะไรอยู่
ข. งั้นผมขออะไรคุณซักอย่างหนึ่งนะ
ค. ฉันคิดว่าคุณควรจะทำอย่างนี้มากกว่า
ง. จะทำอย่างไรก็แล้วแต่คุณที่จะทำให้เธอเข้าใจผมดีขึ้นกว่านี้
11) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทักทายปราศรัย
ก. การทักทายเป็นมารยาทของทุกสังคม
ข. คนแต่ละชาติอาจทักทายด้วยถ้อยคำที่ต่างกัน
ค. การทักทายปราศรัยเป็นการแสดงไมตรีที่มีต่อกัน
ง. ในการทักทายปราศรัยควรใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้พูดสบายใจ
12) ข้อใดมิใช่คำที่ใช้ในการทักทายปราศรัย
ก. ไปไหนมา ค. กินข้าหรือยัง
ข. ไปด้วยกันไหม ง. สบายดีหรือเปล่า
13) ในการแนะนำตนเอง ไม่ว่าโอกาสใดก็ตาม ควรมีคำขึ้นต้นว่าอะไร
ก. สวัสดีค่ะ (ครับ) ค. ว่าไงคะ (ครับ)
ข. ไปไหนมาจ๊ะ ง. จ๊ะเอ๋ ไปไหนมา
14) ข้อใดมิใช่ข้อควรระวังในการสนทนาทุกโอกาส
ก. ไม่พูดโอ้อวดความสามารถของตน ค. พูดแต่เรื่องส่วนตัวของตนเท่านั้น
ข. ไม่พูดทับถมคู่สนทนา ง. ไม่พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
15) การสนทนาในข้อใดเป็นการสนทนาที่เหมาะสมกับกาลเทศะ
ก. ในงานมงคลสมรสควรพูดถึงแต่สิ่งที่ดีงาม
ข. ขณะที่รับประทานอาหาร ไม่ควรพูดเรื่องหวาดเสียว
ค. ในงานอุปสมบท ควรพูดถึงประวัติความเป็นมาของนาคด้วย
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูกต้อง
16) ข้อใดมิใช่จุดมุ่งหมายของการสนทนา
ก. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ค. เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของคู่สนทนา
ข. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน ง. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
17) ข้อใดมิใช่หน้าที่ที่ถูกต้องของผู้รับโทรศัพท์
ก. ต้องพูดให้กระชับและชัดเจน
ข. ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่เป็นมิตร และแสดงความมีน้ำใจ
ภาษาไทย ม.1

ค. ต้องถามเกี่ยวกับข้อความที่รบฝากให้ถูกต้องครบถ้วน
ง. เมื่อยกหูโทรศัพท์ขึ้นรับควรพูดทักทายก่อนด้วยถ้อยคำที่สุภาพ
18) ผู้รับ : .....................................................
ผู้ติดต่อ : สวัสดีค่ะ ดิฉัน เจนเจิราขอพูดกับอาจารย์สุเทพ ค่ะ
ผู้รับ : กำลังพูดอยู่ครับ
ผู้ติดต่อ : ดิฉันขอรบกวนเวลาอาจารย์ตอนนี้ได้ไหมค่ะ
ผู้รับ : …………………………………………….
ผู้ติดต่อ : (พูดธุระของตนเอง)
จากบทสนทนาข้างต้นนี้ นักเรียนคิดว่าคำพูดในข้อใดเหมาะสมที่สุดที่จะเติมลงในช่องว่าง 2 ช่องที่เว้นไว้
ก. ฮัลโหล : O.K. ค. สวัสดีครับ : ได้ครับ
ข. ฮัลโหล สุเทพรับสายครับ : เชิญ ง. หวัดดีจ๊ะ : ว่ามาเลย
19) ข้อใดมิใช่มารยาทในการชมการแสดง
ก. ไม่ลุกเดินไปมาระหว่างที่มีการแสดง
ข. ไม่พูดคุยเสียงดัง เพราะจะรบกวนผู้อื่น
ค. นำดอกไม้หรือของขวัญไปให้แก่ผู้แสดงขณะที่กำลังแสดง
ง. ควรปรบมือเมื่อการแสดงเริ่มขึ้นและปรบมืออีกครั้งเมื่อการแสดงจบลง
20) ข้อความในข้อใดเป็นความเปรียบ
ก. คนอังกฤษเห็นว่าลาเป็นสัตว์ที่ควบคุมได้ยาก
ข. เด็กคนนี้ทำไมถึงดื้อเหมือนวัวเหมือนควายนักนะ
ค. เมื่อการแสดงเริ่มขึ้น เสียงกรี๊ดของผู้ชมดังกึกก้องไปทั้งห้อง
ง. ที่นั่งข้างหน้ามีราคาแพง ยิ่งใกล้เวทีเท่าไรยิ่งแพงมากขึ้นเท่านั้น
21) ข้อความในข้อใดไม่มีความเปรียบ
ก. วัยรุ่นบางกลุ่มคุยกันเสียงดังเหมือนนกกระจอกแตกรัง
ข. เมื่อการแสดงเริ่มขึ้น เสียงกรี๊ดของผู้ชมดังกึกก้องไปทั้งห้อง
ค. วัยรุ่นคนหนึ่งสวมกระโปรงสีแดงสั้นมาก ผมก็ย้อมสีทองเหมือนแหม่ม
ง. วัยรุ่นบางคนสวมกระโปรงสั้นมาก บางคนก็ดูสวยดี แต่บางคนขายาวเก้งก้างอย่างกับนกกระยาง
22) “เสียงดังจนบ้านจะแตก” ความเปรียบนี้เกี่ยวข้องกับเสียงในข้อใด
ก. เสียงร้องไห้ของจ้อย ค. เสียงร้องคาราโอเกะของคนเมากลุ่มหนึ่ง
ข. เสียงแก่นจุดประทัด ง. เสียงแก้วยิงปืนขึ้นฟ้า
23) ในการใช้ความเปรียบ คนที่มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปภายในเวลาไม่นาน นั้นจะเปรียบกับข้อใด
ก. ดังเหมือนฟ้าผ่า ค. ดังเหมือนพลุแตก
ข. ดันจนแสบแก้วหู ง. ดังเหมือนนกกระจอกแตกรัง
24) ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง
ก. พระราชาทรงได้ยินกิติตศัพท์ของมโหสถ
ข. พระราชาทรงทดลองปัญญาของมโหสถ
ภาษาไทย ม.1

ค. พระราชาทรงพระราชทานเรือไม้ให้มโหสถและเพื่อน ๆ ของเขาด้วย
ง. พระราชาทรงแต่งตั้งเศรษฐีผู้บิดาของมโหสถให้ปกครองหมู่บ้านทั้งหมด
25) ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง
ก. พระราชาทรงปรึกษาราชบัณฑิตทั้งสี่
ข. พระราชาให้มโหสถเข้ารับราชการในราชสำนักด้วย
ค. พระราชาได้ทราบเรื่องการแก้ปัญหาของมโหสถก็พอพระทัย
ง. พระราชาแห่งเมืองมิถิลาจึงทดลองปัญญาของมโหสถด้วยวิธีต่าง ๆ
26) ข้อใดมิใช่ลักษณะของคำพ้องในภาษาไทย
ก. คำพ้องรูป ค. คำพ้องเสียง
ข. คำพ้องความ ง. คำพ้องคำอ่าน
27) ข้อใดไม่มีคำที่เป็นคำพ้องเสียง
ก. เพลาของรถคุณพ่อหักในเพลาเช้าวานนี้
ข. คุณไพบูลย์ไปเมืองกาญจน์กับคุณปราการ
ค. พรรณไม้เหล่านี้มีการตัดแต่งพันธุกรรมแล้ว
ง. หนังสือเกษียณอายุราชการฉบับนี้มีการเกษียณไว้ด้วย
28) คำพ้องเสียงในข้อใดเขียนผิด
ก. ว่านเสน่ห์จันขาวเคยมีราคาแพงมาก ค. ท้าวประดู่ชอบเสวยน้ำจันฑ์อยู่เป็นนิจ
ข. ยุพาวดีเกิดในวันจันทร์ เดือน 7 ปีจอ ง. ต้นจันทร์กะพ้อเป็นต้นไม้ที่มีดอกหอมมาก
29) ข้อใดมิใช่คำพ้องรูป และพ้องเสียง
ก. ขัน ค. แหน
ข. กัน ง. ฉัน
30) คำในข้อใดเป็นคำพ้องความ
ก. ญาติ บาตร ญาต ค. ขัน ขันธ์ ขรรค์
ข. ไพร วนา พงพี ง. โจทษ โจทย์ โจทก์
31) ข้อใดมิใช่ความหมายของคำว่า “ขัน”
ก. ภาชนะที่ใช้ตักน้ำ ค. มีดยาวมีลักษณะคล้ายดาบ
ข. หัวเราะ ง. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
32) คำพ้องที่ใช้อักษรคู่ต่างวรรณยุกต์คือคำพ้องชนิดใด
ก. คำพ้องรูป ค. คำพ้องความ
ข. คำพ้องรูป-พ้องเสียง ง. คำพ้องเสียง
33) คำที่เขียนเหมือนกัน อ่านเหมือนกัน ความหมายต่างกัน หมายถึงคำในข้อใด
ก. คำมูล ค. คำซ้อน
ข. คำพ้อง ง. คำประสม
34) คำว่า “สระ, แหน, เพลา” เป็นคำพ้องชนิดใด
ก. คำพ้องรูป ค. คำพ้องเสียง
ข. คำพ้องความ ง. คำพ้องรูป-พ้องเสียง
ภาษาไทย ม.1

35) คำพ้องในข้อใดมีความหมายเพียงคำเดียว
ก. เขี้ยว : เคี่ยว ค. ไพ : ภัย
ข. ขัย : ใข ง. ใส : ไส
36) ข้อความที่แวดล้อมคำที่เป็นคำพ้องนั้น เรียกว่าอะไร
ก. อัพภาส ค. บริบท
ข. ปัจจัย ง. ไวพจน์
37) คำประสมในข้อใดประกอบด้วยคำมูล 3 คำ
ก. เสมอภาค ค. ใจความ
ข. สมัยนิยม ง. ไม้แขวนเสื้อ
38) ข้อใดคือความหมายของคำมูล
ก. คำที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อให้พอใช้ในภาษาไทย
ข. คำไทยที่รับการถ่ายทอดมาจากภาษาเขมร
ค. คำไทยที่รับการถ่ายทอดมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
ง. คำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา อาจจะเป็นคำไทยแท้ หรือรับมาจากภาษาอื่นก็ได้
39) ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
ก. ที่เรียกว่าคำมูล เพราะเป็นคำโดดพยางค์เดียว
ข. คำมูลอาจมีพยางค์เดียว หรือหลายพยางค็ได้
ค. ที่เรียกว่าคำมูล เพราะเป็นคำที่มีความหมายชัดเจน
ง. คำมูลอาจมีพยางค์เดียว หรือมากกว่า และเป็นคำในภาษาอื่นก็ได้
40) “คำที่เกิดจากกานำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน ทำให้เกิดความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่”
ข้อความนี้เป็นความหมายของคำในข้อใด
ก. คำซ้อน ค. คำประสม
ข. คำสมาส ง. คำมูล
41) ข้อใดไม่มีคำประสม
ก. ฝอยทองเป็นยองใบ ค. คำนึงนิ้วนางเจียน
ข. ช่อม่วงเหมาะมีรส ง. หวนห่วงม่วงหมอนทอง
42) คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นได้ทั้งคำประสม และกลุ่มคำ
ก. มดแดงแฝงพวงมะม่วง ค. ไฟฟ้าในหมู่บ้านสว่างมาก
ข. แม่บ้านกำลังทำอาร ง. ลูกน้องของฉันเป็นคนอีสาน
43) คำว่า “เล่น” ในข้อใดเป็นคำประสม
ก. นายฉลาดชอบเล่นพวก ค. ดุสิตชอบเล่นไพ่ป๊อก
ข. ฉันขอเล่นตานี้เป็นตาสุดท้ายนะ ง. อย่าไปเล่นกับเนานะ
44) คำประสมที่เป็นสำนวนคล้องจองในข้อใดมีความหมายอยู่ที่คำหลัง
ก. ผู้ลากมากดี ค. คอขาดบาดตาย
ข. ก่อร่างสร้างตัว ง. จองหองพองขน
ภาษาไทย ม.1

45) ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
ก. น้ำตก น้ำค้าง น้ำคำ ค. ไม้เรียว ไม้นวม ไม้แข็ง
ข. ตาขาว ตายาว ตาแดง ง. กำจัด กำบัง กำหนด
46) คำในข้อใดที่พยางค์หน้าออกเสียง อะ ทุกคำ
ก. บริบท ปริวาส พลความ ค. สวามี ภราดร ปฏิวัติ
ข. หรดี หฤหรรษ์ ธรนี ง. ปรักปรำ ปราชัย ปรินิพพาน
47) ตัว บ ในข้อใดมิได้ออกเสียงเป็นสระออ ทุกคำ
ก. บวร บริกรรม บริณายก ค. บริจาค บริเวณ บริขาร
ข. บริสุทธิ์ บริษัท บริโภค ง. บฤงคพ บราลี บรั่นดี
48) คำในข้อใดที่ ร มิได้ออกเสียงเป็นตัวสะกดใน แม่กน ทุกคำ
ก. กินนร ทัศนาจร ค. อัมพร วงโคจร
ข. ธีรภัทร ฤทธิรุทร ง. อมร ทิฆัมพร
49) ข้อใดมีคำที่ประกอบด้วยรูปพยัญชนะ 3 รูป ไม่มีสระ พยัญชนะตัวแรกออกเสียง อะ ตัวที่สองออกเสียง ออ และ
ร เป็นตัวสะกดในแม่กน
ก. มังกรเป็นสัตว์ในเทพนิยาย ค. สายสมรนอนเถิดที่จะกล่อม
ข. อินทรชอบกินนรในวัดบวร ง. อัปสรมีชีวิตที่ลึกลับซับซ้อนมาก
50) ข้อใดมีคำที่พยัญชนะตัวแรกไม่มีรูปสระ แต่ออกเสียงสระออ แล้วมี ร ตามประสมกับสระอะ ทุกคำ
ก. อรชร กรวิก ค. ขจรจบ วรรณพร
ข. อรปวีณา กรวิกา ง. สรยุทธ์ พรเทพ
51) คำในข้อใดไม่ใช่คำที่ประสมด้วยสระโอะลดรูปทุกคำ
ก. ทรราช ปรโลก ค. ขนมอบ อลวน
ข. รณรงค์ ขนมกง ง. ทศพล ชมรม
52) ข้อใดอ่านแยกพยางค์ไม่ถูกต้อง
ก. ขนมอบ - ขะ - หนม - อบ
ข. พิศวงงงงวย = พิด - สะ – หวง - งง - งวย
ค. ผมสลวยสวยสม = ผม - สะ – หลวย - สวย - สม
ง. กรงนกออกของกนกพร = กรง - นก - ออก - ขอ - งก - นก - พร
53) ข้อใดอ่านถูกต้องทั้ง 2 คำ
ก. ครุศาสตร์ อ่านว่า ครุ - สาด ค. ปรักหักพัง อ่านว่า ปรัก - หัก - พัง
ปริยัติ อ่านว่า ปอ - ริ - ยัด - ติ พรรณนา อ่านว่า พัน - ระ - นา
ข. ปราชัย อ่านว่า ปะ - รา - ไช ง. ปวารณา อ่านว่า ปะ - วาน - นา
ปรัมปรา อ่านว่า ปะ - รำ - ปะ - รา ธนบัตร อ่านว่า ทน - นะ - บัด
54) คำในข้อใดมิได้มีสระอะ, สระโอะ, และสระออ ในคำเดียวกันทุกคำ
ก. กนกพร ขจรจบ ค. วรพร อรอร
ข. ทศพร สุนทราพร ง. กมลพร กนกนคร
ภาษาไทย ม.1

55) คำในข้อใดไม่มีปัญหาในการอ่าน
ก. เรือนนรก ค. พาดวง
ข. ตากลม ง. กลลวง
56) คำใข้อใดอ่านออกเสียงแตกต่างกัน
ก. กรกฎ สมดุล ค. ทระนง จระเข้
ข. ธรณี ทรพี ง. ธนบัตร พลการ
57) คำในข้อใดมีพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงทุกคำ
ก. เหงาหงอย โปรโมชั่น ค. สามารถ ปราดเปรื่อง
ข. พราหมณี ชลมารค ง. นักปราชญ์ ปรารถนา
58) พยัญชนะที่มีสระกำกับในข้อใดออกเสียงด้วย
ก. วงศาคณาญาติ ค. พระวรราชาธินัดดามาตุ
ข. จักรพรรดิผู้เกรียงไกร ง. เมรุมาศราชสิงขร
59) คำที่มี ธ ในข้อใดที่ ธ ไม่ออกเสียงด้วย
ก. พระเสด็จไปในการรณยุทธ ค. ยุทธการกำจัดความเครียด
ข. นางใช้ดอกบัวเป็นพุทธบูชาเสมอมา ง. เครื่องราชกกุธภัณฑ์นั้นมี 5 อย่าง
60) คำที่มี รร ในข้อใดที่ออกเสียงแบบไม่มีตัวสะกดทั้ง 2 คำ
ก. กรรมกร สรรพคุณ ค. อรรถพร ธรรมบท
ข. พรรณณา วรรณกรรม ง. กรรมการ พรรคพวก
61) คำในข้อใดที่พยัญชนะมีสระกำกับอยู่ แต่ก็สามารถออกเสียงได้ทุกคำ
ก. ยุติ สมโพธิ อุบัติ ค. อัญิ สมาธิ พยาธิ
ข. สมบัติ ประวัติ ทิฐิ ง. วุฒิ ปฏิวัติ จุติ
62) ข้อใดเป็นคำที่ตัว ออ ออกเสียง อะ
ก. อรหันต์ ค. อรชร
ข. อรวรรณ ง. อรพินทุ์
63) คำว่า “ปรมาภิไธย” อ่านออกเสียงว่าอย่างไร
ก. ออกเสียง 6 พยางค์
ข. พยางค์แรกออกเสียงสระออ
ค. 2 พยางค์แรกออกเสียงแบบเรียงพยางค์
ง. พยางค์ที่ 2 ออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดในแม่กม
64) คำในข้อใดออกเสียงตามหลักเดียวกับคำว่า “ปรัมปรา”
ก. แม่แปรก ค. ผีเปรต
ข. ใบปรกิ ง. นักปรัชญา
65) ข้อใดที่พยางค์แรกออกเสียง อะ
ก. ปลักควายมีแต่โคลน ค. รสนิยมน่าชมชอบ
ข. อธีกท้องแถวธาร ง. ชลประทานสร้างสรรค์เขื่อน
ภาษาไทย ม.1

66) ข้อใดมีคำที่รูปสระออกเสียงทุกคำ
ก. นิตินัย ภูมิลำเนา โลกธาตุ ค. สวัสดิการ ภูมิปัญญา ญาติกา
ข. ประณิธิ ภูมิฐาน ประสูติกาล ง. ชาติรส ภูมิประเทศ เหตุวาจก
67) คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดมิใช่พยางค์เบา
ก. อาบน้ำเสร็จก็เข้านอน ค. ขนมปังถ้าเก่าแล้วก็ทิ้งเสียเถอะ
ข. อยู่ที่นี่หรือที่บ้านกันแน่ ง. แม่ตื่นแต่เช้ามาทำกับข้าวให้ทุกวัน
68) คำในกรณีใดที่ออกเสียงเป็นพยางค์หนักได้
ก. พยางค์ที่ 1 และ 3 ของคำ 4 พยางค์ ค. คำลงท้ายต่าง ๆ อาทิ สิ นะ เถอะ
ข. พยางค์ที่ 1 และ 2 ของคำ 3 พยางค์ ง. คำเชือ่ มต่าง ๆ ที่ผู้พูดต้องการเน้น
69) ต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. “กาญจนบุร”ี เป็นคำที่ออกเสียงได้ 5 พยางค์
ข. “สัปทน” สามารถออกเสียงสระอะกลางคำได้
ค. “สมรรถภาพ” อ่านออกเสียงว่า สะ - มัด – ถะ – พาบ
ง. “จุนสี ตกใจ ชักเย่อ” ออกเสียง อะ ในพยางค์ที่ 2 ได้ทุกคำ
70) คำในข้อใดที่พยางค์แรกมิได้ออกเสียงสระ อะ
ก. มกราคม กรกฎาคม ค. อรหันต์ กรณี
ข. ขขนี มรดก ง. อภิวาท ปรปักษ์
71) คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดมิได้แสดงความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ก. วิไลเดินฉับ ๆ เข้าไปในห้อง ค. วิชิตวิ่งเหยาะ ๆ ไปตามถนน
ข. วินัยเดินลิ่วมาหาฉัน ง. วิชัยขับรถแล่นฉิวไปบนสันเขื่อน
72) ข้อความในข้อใดมีคำที่แสดงจำนวนน้อย
ก. ผู้คนเดินซื้อของกันขวักไขว่ ค. ดอกไม้หล่นเกลื่อนกลาดบนสนามหญ้า
ข. บริเวณท่าเรือดูคึกคักตอนเช้า ๆ ง. พอตกเย็นผู้คนก็ดูบางตา
73) ข้อความในข้อใดมีคำที่แสดงความเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ
ก. คนไข้พูดเนิบ ๆ กับญาติที่มาเยี่ยม
ข. ตอนเย็นบริเวณท่าเรือดูพลุกพล่าน
ค. ขอขช้าวสวยหน่อยสิจะกินกับผัดพริกที่เหลือ
ง. แม่ค้าขายมะพร้าวอ่อนเดินรี่เข้าไปหานักท่องเที่ยว
74) คำในข้อใดแสดงคำนวณมาก
ก. นิดหน่อย ค. ก่ายเกย
ข. ฟุ่มเฟือย ง. พลุกพล่าน
75) ข้อใดไม่มีคำแสดงลักษณะต่าง ๆ
ก. ผักบุ้งเป็นกำ ๆ ค. จิ๋วพูดแก้ตัวเป็นฉาก ๆ
ข. มะดันเป็นกอง ๆ ง. สายบัวเด็ดเป็นท่อน ๆ
ภาษาไทย ม.1

76) ข้อใดไม่มีคำแสดงสี
ก. น้ำใบเตยสีเขียวอ่อน ค. กุ้งซีแฮ้สีชมพูใส
ข. ชมพู่แก้มแหม่มในตะกร้า ง. น้ำเป็ดพะโล้สีน้ำตาลเข้ม
77) ข้อใดไม่มีคำแสดงเสียง
ก. เสียงหนูวิ่งกุกกักอยู่ในลิ้นชัก ค. ผู้กำกับเส้นเป่านกหวีดดังปี๊ดปี๊ด
ข. น้ำหยดจากก๊อกดังติ๋งติ๋ง ง. มะพร้าวแห้งหล่งนลงมาทั้งหลาย
78) ข้อความในข้อใดมีคำแสดงเสียง
ก. ชมพู่มะเหมี่ยวสีแดงคล้ำ ค. ฝนตกจั๊กจั๊กลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ข. พอมืดค่ำสินค้าก็เหลือเพียงเล็กน้อย ง. ที่สถานีขนส่งผู้คนเดินไปมากันขวักไขว่
79) ข้อใดมิใช่กลวิธีในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ก. การเปลี่ยนข้อความ ค. การสรรคำ
ข. การแฝงความ ง. การใช้สำนวน
80) ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. คำเพียงคำเดียวไม่อาจตเป็นประโยคได้
ข. คำหลายคำประกอบกันเป็นประโยคได้
ค. โดยมากประโยคประกอบด้วยคำมากกว่า 1 ค่ำ
ง. ประโยคเป็นหน่วยทางภาษาที่ใช้สื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ได้สมบูรณ์
81) ข้อใดเป็นประโยคที่มีส่วนประกอบมากกว่า 2 ส่วน
ก. เด็กร้องไห้ ค. ฝนตก
ข. นกบิน ง. แดงเตะสุนัข
82) ประโยคในข้อใดมีส่วนขยายมากกว่า 1 ส่วน
ก. ไก่ขันเจื้อยแจ้ว ค. สุนัขสีดำเห่าเสียงดัง
ข. ฟ้าร้องครวญคราง ง. แก้ววิง่ เร็วมาก
83) ข้อใดไม่เป็นประโยค
ก. งานประเพณีโยนบัวของชาวอำเภอพระประแดง
ข. งานประเพณีไหลเรือไฟเป็นของจังหวัดนครพนม
ค. งานประเพณีปี๋ใหม่เมืองเป็นของชาวภาคเหนือตอนบน
ง. งานประเพณีปอยส่างลองเป็นของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน
84) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโคลงสี่สุภาพ
ก. โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี 30 คำเท่านั้น
ข. คำโนในโคลงสี่สุภาพมีทั้งหมด 4 แห่ง
ค. คำโทในโคลงสี่สุภาพสามารถใช้คำตายแทนได้
ง. คำเอกในโคลงสี่สุภาพมีทั้งหมด 7 แห่งเท่านั้น
85) คำสร้อยในโคลงสี่สุภาพอยู่ที่ใดได้บ้าง
ก. วรรคหลังของบาทที่ 1 ค. วรรคหลังของบาทที่ 2
ข. วรรคหลังของบาทที่ 2 ง. ข้อ ก. และข้อ ค. ถูกต้อง
ภาษาไทย ม.1

86) ข้อใดเป็นประโยคสามัญ
ก. ทุกคนควรรักตัวเอง
ข. ทุกคนต้องรักตัวเองและพวกพ้อง
ค. เราต้องช่วยกันป้องกันบ้านเมืองอันเป็นที่รักของเรา
ง. ทุกคนควรรักตัวเองพร้อม ๆ กับรักชาติบ้านเมืองด้วย
87) ข้อใดเป็นประโยคสามัญที่มีคำกริยาเพียงคำเดียว
ก. ยุพาเดินร้องเพลงออกไปนอกบ้าน ค. เราต้องช่วยกันปกป้องบ้านเมือง
ข. คนเราต้องรู้จักคิดช่วยเหลือผู้อื่น ง. ความรักมีมากมายหลายแบบ
88) ข้อใดเป็นประโยคสามัญที่มีคำกริยาหลายคำ
ก. ครูบาอาจารย์รักลูกศิษย์ ค. วิทยายืนมองน้องสาวอย่างรู้สึกเป็นห่วง
ข. พ่อและแม่ต่างก็รักลูก ง. เราเป็นเพียงราษฎรตัวเล็ก ๆ เท่านั้น
89) ประโยคสามัญในข้อใดไม่มีคำนาม
ก. เขาหยิบผลไม้ใส่ตะกร้า ค. เธอคิดอย่างไรเกี่ยวกับกรณีนี้
ข. เธอเดินฉับ ๆ เข้ามาหาฉัน ง. ท่านเดินเข้ามาในบ้านอย่างรวดเร็ว
90) กลุ่มคำในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับไฟ
ก. ปิ้ง ย่าง เผา ค. อบ ลวก ต้ม
ข. ผึ่ง ตาก แผ่ ง. เชื่อม ทอด กวน
91) กลุ่มคำในข้อใดมิได้จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ก. ปิ้ง ย่าง เผา ค. พูด เขียน อ่าน
ข. เล็ก มอง จ้อง ง. เหลือบ ชำเลือง มอง
92) กลุ่มคำในข้อใดมีความหมายแตกต่างกัน
ก. สุริยะ ตะวัน ไถง ค. วนา พงพี ไพร
ข. ศศิธร จันทรา แถง ง. ด่า ทอ ตบ ตี
93) กลุ่มคำในข้อใดมีความหมายไปในทางเดียวกัน
ก. ขี่ ขับ ควบ ค. ลอย ตก กลิ้ง
ข. แกว่ง โยน เก็บ ง. ตบ ประกบ จับ
94) กลุ่มคำในข้อใดที่แสดงความมีน้ำหนัก หรือความรุนแรงที่แตกต่างกัน
ก. ขับ ขี่ โดยสาร ค. กิน ฉัน เสวย
ข. ตำหนิ ดุ ว่า ด่า ง. มอง จ้อง ส่อง
95) ข้อใดมิใช่ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
ก. ทำให้เลือกสรรคำได้ประณีต ค. ทำให้ผู้รับสายเข้าใจได้ชัดเจน
ข. ทำให้ผู้ใช้ดูเป็นผู้ที่มีการศึกษา ง. ทำให้ใช้คำได้ถูกต้อง ตรงตามความหมาย
96) กรรมวิธีในการดูในข้อใดที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย
ก. เบิ่ง ค. ส่อง
ข. เหลือบ ง. ชำเลือง
ภาษาไทย ม.1

97) กลุ่มคำ กิน รับประทาน ฉัน เสวย น่าจะอยู่ในการเรียนภาษาไทยในหัวข้อใด


ก. ไตรยางศ์ ค. คำพ้อง
ข. คำราชาศัพท์ ง. คำและความหมายของคำ
98) นักเรียนคิดว่าคำในข้อใดต่อไปนี้มีน้ำหนัก หรือความรุนแรงมากที่สุด
ก. สาปแช่ง ค. ด่า
ข. ดุ ง. ตำหนิ
99) กลุ่มคำในข้อใดใช้กับฐานะของบุคคล
ก. แล ชำเลือง ค. รับประทาน เสวย
ข. พูด กล่าว ง. ขับ ขี่
100) กลุ่มคำเดียวกันมีความหมายใกล้เคียงกันแต่คำใดจะมีความหมายไปในทางใดนั้นดูได้จากข้อใด
ก. รูปประโค ค. คำไวพจน์
ข. บริบท ง. ลักษณะการใช้คำ
ภาษาไทย ม.1

เฉลย

1) ง 11) ง 21) ข 31) ค 41) ค 51) ก 61) ค 71) ค 81) ง 91) ค


2) ก 12) ข 22) ก 32) ง 42) ง 52) ง 62) ก 72) ง 82) ค 92) ง
3) ค 13) ก 23) ค 33) ข 43) ก 53) ข 63) ค 73) ก 83) ก 93) ก
4) ค 14) ค 24) ค 34) ก 44) ข 54) ค 64) ก 74) ง 84) ค 94) ข
5) ง 15) ง 25) ก 35) ข 45) ก 55) ง 65) ข 75) ค 85) ว 95) ข
6) ก 16) ค 26) ง 36) ค 46) ค 56) ก 66) ง 76) ข 86) ก 96) ค
7) ง 17) ก 27) ก 37) ง 47) ง 57) ข 67) ข 77) ง 87) ง 97) ข
8) ง 18) ค 28) ง 38) ง 48) ข 58) ง 68) ง 78) ค 88) ค 98) ก
9) ง 19) ค 29) ค 39) ง 49) ค 59) ก 69) ง 79) ก 89) ข 99) ค
10) ข 20) ข 30) ข 40) ค 50) ก 60) ข 70) ข 80) ก 90) ข 100) ข

You might also like