You are on page 1of 17

ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1 กลุ่มสาระภาษาไทย

วิชา ภาษาไทย (หลักภาษาและการใช้ภาษา) ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 จำนวน 40 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1.
โ–ะ

เขียนอย่างไร
ก. โมดะ ข. มโดะ ค. มด
2. จากภาพ มีจำนวนเท่าใด

ก. ๔ ข. ๕ ค. ๙
3. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทุกเสียง
ก. ขา กบ น้อง เตา แม่
ข. แจก ว่า ร้อง โต๊ะ เดี๋ยว
ค. คิด ท่อ ใช่ แน่ แล้ว
4. คำในข้อใดไม่มีตัวสะกดทั้งหมด
ก. ชาวนา ข. นัวเนีย ค. สวยงาม
5. คำในข้อใดมีตัวสะกดแบบไม่ตรงตามมาตรา
ก. รูปภาพ ข. ศึกษา ค. กลมเกลียว
6. แพรวนั่งกินกล้วย ส่วนพลอยกินพุทรา ทั้งสองฟังกล้าเป่ าขลุ่ยอยู่ที่ใต้ต้นไทร
จากข้อความ มีคำควบแท้คำใดบ้าง
ก. กล้วย พลอย พุทรา ขลุ่ย ไทร
ข. แพรว กล้วย พุทรา กล้า ไทร
ค. แพรว กล้วย พลอย กล้า ขลุ่ย
7. ข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
ก. ทราย อ่านว่า ซาย ข. จริง อ่านว่า จริง ค. ไซร้ อ่านว่า ไซ้

1
8. คำที่มีอักษรนำข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. ตลาด อ่านว่า ตะ – หลาด
ข. แสวง อ่านว่า แส – วง
ค. อร่อย อ่านว่า อะ – ร่อย
9. คำว่า เหลืองอร่าม อ่านว่าอย่างไร
ก. เหลือง – อะ – ร่าม
ข. เหลือง – อ่าม
ค. เหลือง – อะ – หร่าม
10. สุนัขมีความซื่อสัต__ ต่อเจ้าของ ควรเติมตัวการันต์ในข้อใด
ก. ย์ ข. ว์ ค. ร์
11. คำในข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. สวรรค์ อ่านว่า สะ – วัน
ข. ธรรมชาติ อ่านว่า ทำ – มะ – ชาด
ค. บรรทุก อ่านว่า บัน – ระ – ทุก
12. คำว่า สมัคร อ่านว่าอย่างไร
ก. สะ – มัก – ระ ข. สะ – มัก ค. สะ – หมัก
13. อึกทึก มีความหมายคล้ายกับคำว่าอะไร
ก. ดึงดัน ข. ครึกโครม ค. ยุกยิก
14. พี่ดูเวลาจาก___________ ควรเติมคำใด
ก. นาฬิกา ข. ปฏิทิน ค. เข็มทิศ

อ่านเรื่องที่กำหนด แล้วตอบคำถามข้อ
15.
ประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวของภูเขาไฟ
จึงไม่มีภูเขาไฟคุกรุ่นที่จะระเบิดได้ มีก็แต่ร่องรอย
ที่เหลือให้เห็นว่าเคยมีภูเขาไฟอยู่เมื่อหลายพันปี มาแล้ว
เช่น ภูเขาไฟจำปาแดดและม่อนหินฟู ที่จังหวัดลำปาง
หรือภูเขาไฟพนมรุ้ง ซึ่งมีปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บน
ปากปล่องภูพระอังคาร และเขากระโดงในจังหวัด
บุรีรัมย์ เป็นต้น

2
15. ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟหรือไม่ เพราะอะไร
ก. ไม่มีภูเขาไฟเลย เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวของภูเขาไฟ
ข. มีภูเขาไฟคุกรุ่นที่กำลังจะระเบิด เพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่หลายจังหวัด
ค. เคยมีเมื่อหลายพันปี มาแล้ว เพราะมีหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในจังหวัดลำปาง
และจังหวัดบุรีรัมย์

อ่านเรื่องที่กำหนด แล้วตอบคำถามข้อ 16. –


18.
เราใส่ผงชูรสในอาหารเพื่อให้อาหารมีรสกลมกล่อม แต่ควรใส่เพียงเล็กน้อย
ถ้าใส่มากเกินไป เมื่อรับประทานอาหารนั้น จะทำให้มีอาการหน้าแดง รู้สึกร้อน
ไหม้ตามกระพุ้งแก้ม ลิ้น และลำคอ และอาจมีอาการอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น อาการ
ผิดปกติ ที่ดวงตา รู้สึกแน่นหน้าอก และปวดศีรษะอย่างรุนแรง ทั้งนี้เพราะผงชูรส
ไปกระตุ้น ปุ่ มรับสัมผัสมากเกินไป

16. ใจความสำคัญของเรื่องนี้คือข้อใด
ก. อันตรายจากผงชูรส ข. ความอร่อยของผงชูรส ค. วิธีปรุงอาหาร
17. จากเรื่องที่กำหนด ข้อความในข้อใดเป็นการแสดงความคิดเห็น
ก. ผงชูรสไปกระตุ้นปุ่ มรับสัมผัสมากเกินไป
ข. เราควรใส่ผงชูรสในการปรุงอาหารเพียงเล็กน้อย
ค. ถ้าเราใส่ผงชูรสในอาหารมากเกินไปจะมีอาการตาแดง
18. จากเรื่องที่กำหนด ข้อความในข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
ก. ผงชูรสทำให้อาหารมีรสอร่อย
ข. เมื่อรับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสจะทำให้ปวดศีรษะ
ค. ผู้ที่รับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป จะทำให้รู้สึกร้อนไหม้ตามลำคอ
19. หากนักเรียนเข้าไปใช้บริการห้องสมุด แล้วพบป้ ายข้อควรปฏิบัติในการใช้ห้องสมุดติดอยู่ตรง
ทางเข้าห้องสมุด นักเรียนควรทำอย่างไรเป็นอันดับแรก
ก. อ่านรายละเอียดของข้อเขียน
ข. ปฏิบัติตามที่ข้อเขียนระบุไว้
ค. ทำความเข้าใจเนื้อความของข้อเขียน
20. การอ่านหนังสือในสถานที่ใด ควรอ่านในใจมากที่สุด เพื่อให้เป็นผู้มีมารยาทในการอ่าน
ก. โรงอาหาร ข. ห้องสมุด ค. สนามกีฬา

3
21. ตัวอักษรไทยในข้อใด มีลักษณะการเขียนคล้ายกันทุกตัว
ก. จ ร ง
ข. ผ ฝ พ
ค. ฉ ณ น
22. ในการเขียนบันทึกประสบการณ์ ไม่จำเป็นต้องเขียนสิ่งใด
ก. ชื่อผู้ปกครอง ข. เนื้อหา ค. วัน เดือน ปี ที่บันทึก
23. ข้อใดเป็นการเขียนเรื่องตามจินตนาการ
ก. การเขียนนิทานเรื่องแมวเหมียวผจญภัย
ข. การเขียนรายการอาหารที่ชอบ
ค. การคัดลอกบทเพลงที่ชอบ
24. ใครไม่มีมารยาทในการเขียน
ก. ตูนเขียนเรื่องเพื่อนของฉันโดยใช้ภาษาสุภาพ
ข. จิ๊บเขียนแหล่งที่มาของข้อมูลที่ค้นคว้ามา
ค. โอ๋วาดรูปวิวสวยๆ ลงในหนังสือที่ขอยืมจากเพื่อน
25. หากคุณแม่พูดว่า “ลูกควรอาบน้ำก่อน แล้วค่อยทำการบ้านนะจ๊ะ” ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ตั้งใจฟังแล้วไปทำการบ้านก่อน
ข. ตั้งใจฟังแล้วไปอาบน้ำก่อน
ค. ตั้งใจฟังแล้วพักผ่อนก่อน จากนั้นค่อยทำการบ้าน
26. ใครปฏิบัติตนในการพูดเล่าเรื่องได้ถูกต้อง
ก. เต้วางโครงเรื่องก่อนเล่า
ข. แต้วเล่าเรื่องอื่นแทรกไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังไม่เบื่อ
ค. ติ๊กเล่าเรื่องตามที่นึกได้ในขณะนั้นโดยไม่เตรียมตัว

ข้อ 27. – 29. ฟังครูเล่าเรื่อง แล้วตอบ


คำถาม
27. จากเรื่องที่ฟัง มีใจความสำคัญอย่างไร
ก. ชายขับเกวียนสงสารจระเข้ที่นอนอยู่กลางแดด
ข. ชายขับเกวียนจับจระเข้ด้วยเถาวัลย์
ค. ชายคนหนึ่งช่วยพาจระเข้ไปที่แม่น้ำ

4
28. แหล่งน้ำในข้อใดที่กล่าวถึงในเรื่อง
ก. ทะเล ข. น้ำตก ค. แม่น้ำ
29. คำพูดจากเรื่องที่ฟังในข้อใดมีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก
ก. เราจะช่วยพาเจ้าไปที่แม่น้ำ
ข. ถ้าท่านพาเราไปที่แม่น้ำก็จะเป็นบุญคุณแก่เรา
ค. เจ้าจะไปหรือไม่
30. หากต้องการถามแม่ค้าเกี่ยวกับราคาดินสอ ควรพูดว่าอย่างไร
ก. จะซื้อดินสอแท่งนี้ค่ะ
ข. ดินสอขายแพงไหมคะ
ค. ดินสอราคาแท่งละเท่าไรคะ
31. ใครเป็นผู้มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ก. ทินกินขนมแก้ง่วงระหว่างชมการแสดงดนตรี
ข. ดาวปรบมือเมื่อชอบใจคำพูดของวิทยากร
ค. อั้มพูดตะโกนดังๆ ขณะเล่าเรื่องราวให้เพื่อนฟัง
32. ข้อใดเป็นประโยค
ก. ฝนตก ข. ปลาทอด ค. ดินสอสี
33. ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า
ก. ทะเลสีคราม ข. ฉันไม่ได้ทำ ค. รถแล่นเร็ว
34. ข้อใดเป็นประโยคคำถาม
ก. ฉันไม่ไปไหนทั้งนั้น ข. ใครเคาะประตู ค. ใครๆ ก็ไม่รักฉัน
35. ประโยคในข้อใดต่างจากพวก
ก. ทำไมน้องไม่ไปโรงเรียน
ข. ใครไม่ไปโรงเรียน
ค. น้องไม่ไปโรงเรียน
36. ปลาทอง มองดู ครูใหญ่ __________ ผีเสื้อ เจือจาน
ควรเติมคำใดลงในช่องว่างจึงจะคล้องจองกัน
ก. ใจดี ข. อารี ค. เด็กดี
37. คำคู่ใดไม่สัมผัสคล้องจองกัน
ก. โศก – เศร้า ข. สับสน – ปนเป ค. แมวน้ำ – ธรรมะ

5
38. คำว่า อร่อย ในภาษาถิ่นเหนือ พูดอย่างไร
ก. หรอย ข. ลำ ค. แซบ
39. จากภาพ ควรใช้บทร้องเล่นในข้อใด
ก. จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น....
ข. มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง....
ค. รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก...

40. นกเอยนกน้อยน้อย ควรเติมคำใดในบทอาขยาน


บิน_______เป็นสุขศรี ก. ล่องลอย / สำลี
ขนขาวราว________ ข. เล่น / สำลี
อากาศดีไม่มีภัย ค. เพลิดเพลิน / นุ่น



ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2 กลุ่มสาระภาษาไทย


วิชา ภาษาไทย (หลักภาษาและการใช้ภาษา) ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 จำนวน 40 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. จากภาพ เป็นคำที่ประสมกับสระใด
ก. สระ เอ กับ ไม้ไต่คู้
ข. สระ แอ กับ ไม้ไต่คู้
ค. สระ เอ

2. แมวางสมโอไวบนโตะ ควรเติมวรรณยุกต์ในข้อใด
ก. –่ / –้ / –๊ / –๋
ข. –่ / –้ / –๊ / –๊

6
ค. –่ / –้ / –้ / –๊
3. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคำว่า สีฟ้ า
ก. กวยจั๊บ ข. ขาโต๊ะ ค. ลูกน้ำ
4. ประโยคในข้อใดมีคำที่สะกดในมาตราแม่กด
ก. แม่ปรุงอาหารอยู่ในครัว
ข. ฉันถูกมีดบาดที่นิ้วก้อย
ค. พ่อซ่อมรอยรั่วบนหลังคา
5. ข้อใดมีคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราทุกคำ
ก. บัวลอย น้ำตาล ข. ดนตรี คณิตศาสตร์ ค. อากาศ ยีราฟ
6. ท้องฟ้ า แสงแดด และปุยเมฆนั้นมีความสุข
กับการที่มีคนแหงนมองดูและพูดว่า “เธอช่าง
สวยจริง” พวกเขาจึงร่วมมือกันสร้างสิ่งที่
งดงามให้กับโลก

จากข้อความ มีคำควบกล้ำแท้และคำควบกล้ำไม่แท้ รวมกันทั้งหมดกี่คำ


ก. 2 คำ ข. 3 คำ ค. 4 คำ
7. ข้อใดอ่านแบบอักษรนำทุกคำ
ก. ไผท ฉลาด ข. เหม็น ตรึงตรา ค. อยาก โพรง
8. ข้อใดอ่านออกเสียงต่างจากข้ออื่น
ก. กราบ ครู ข. ปลอด พราย ค. ตลอด อร่อย
9. ธงไตรรง______ ควรเติมตัวการันต์ในข้อใด
ก. ศ์ ข. ค์ ค. ย์
10. ข้อใดเขียนถูกทุกคำ
ก. หรรษา สันหา ข. บันทุก พระขรรค์ ค. บรรจุ สร้างสรรค์
11. คำว่า สามารถ อ่านว่าอย่างไร
ก. สา – มาด ข. สา – มา – รด ค. สา – มาด – ถะ
12. คำในข้อใดมีความหมายตรงกันข้าม
ก. ผอม – เพรียว ข. การ – งาน ค. ดึง – ดัน
13. คำในข้อใดมีความหมายเหมือนกับคำว่า ดอกไม้
ก. มาลี ข. สกุณา ค. นภา

7
14. แม่ให้ _________ ฉบับละ 100 บาท แก่แม่ค้า
ควรเติมคำใด จึงจะได้ใจความถูกต้อง
ก. เหรียญ ข. ธนบัตร ค. กระดาษ

อ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถามข้อ 15. –


17.
“พ่อว่า ถ้าเราอยากได้อะไร เราควรพยายามทำสิ่งนั้นเอง
เราไม่ควรขอคนอื่น ถ้าเราลงมือทำด้วยความขยันหมั่นเพียร
และช่วยตนเองให้มากที่สุด เราก็จะได้สิ่งที่เราต้องการเสมอ
คนขยันหมั่นทำมาหากินจะไม่มีวันอดตาย จงจำไว้ว่า เหนื่อย
ก่อน สบายทีหลังนะลูก” พ่อสอนเอื้อยและอ้อย

15. ถ้าลงมือทำสิ่งใดแล้วจะได้สิ่งนั้น เราควรปฏิบัติตามข้อใดมากที่สุด


ก. ขอคำแนะนำจากผู้อื่น
ข. ให้กำลังใจตัวเอง
ค. ขยันหมั่นเพียร
16. ใจความสำคัญของสิ่งที่พ่อสอนเอื้อยและอ้อยคืออะไร
ก. ไม่ให้ช่วยตนเอง ข. ไม่ควรขอคนอื่น ค. ไม่ทำตามใจตนเอง

17. ถ้านักเรียนอยากได้อะไร นักเรียนควรทำอย่างไร


ก. ทำด้วยตนเองก่อน ข. ให้ผู้ปกครองช่วย ค. ขอจากคนอื่น
18. ข้อใดไม่ใช่หนังสือประเภทให้ความรู้
ก. พจนานุกรม ข. หนังสืออ้างอิง ค. นวนิยาย
19. กรุณารักษาความสะอาด เมื่ออ่านข้อเขียนเชิงอธิบายนี้แล้ว ควรปฏิบัติอย่างไร
จึงจะเหมาะสมที่สุด
ก. แบ่งกลุ่มเพื่อทำเวรประจำวัน
ข. ถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องเรียนทุกครั้ง
ค. ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด แต่ทิ้งลงในถังขยะเท่านั้น
20. ใครไม่มีมารยาทในการอ่าน
ก. อ้อมอ่านหนังสือให้เพื่อนฟังในห้องสมุด
ข. ตั๊กถ่ายสำเนาหนังสือที่ต้องการโดยไม่ฉีกหนังสือ

8
ค. ป๋ องอ่านหนังสือคนเดียวเงียบๆ ในห้องสมุด
21. ข้อใดเป็นการคัดลายมือที่ถูกต้อง
ก. คั ลายมือ

ข. คัดลายมือ
ค. คัดลายมอื
22. ข้อความใดเป็นการเขียนบันทึกประสบการณ์
ก. ฉันตื่นแต่เช้า เพื่อออกไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ภูกระดึง จ.เลย
ข. ฉันชอบว่ายน้ำ แล้วเธอชอบเล่นกีฬาอะไร
ค. ฉกชิงวิ่งราว หมายถึง การแย่งชิงเอาไปซึ่งหน้า
23. ข้อใดเป็นลักษณะของการเขียนเรื่องตามจินตนาการ
ก. การเขียนเรื่องตามที่ผู้อื่นเขียน
ข. การเขียนเรื่องจากสิ่งที่เห็น
ค. การเขียนเรื่องที่คิดขึ้นเอง
24. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการเขียน
ก. ไม่เขียนในที่สาธารณะ
ข. เขียนเรื่องโดยพาดพิงถึงผู้อื่น
ค. ใช้ภาษาในการเขียนอย่างสุภาพ

25. ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการฟังคำสั่งและคำแนะนำ
ก. พูดตอบรับแล้วทำเฉยกับคำสั่งหรือคำแนะนำที่ฟัง
ข. จับใจความสำคัญของคำสั่งหรือคำแนะนำที่ฟัง
ค. ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำที่ฟัง
26. ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการพูดเล่าเรื่อง
ก. แสดงความคิดเห็นของตนเองหลังจากเล่าเรื่องจบแล้ว
ข. เตรียมว่าจะเล่าเรื่องอะไร
ค. เล่าเรื่องอื่นแทรกเป็นระยะ
ข้อ 27. – 28. ฟังครูเล่าเรื่อง แล้วตอบคำถาม
27. แต่เดิมวันขึ้นปี ใหม่ของไทย ตรงกับวันอะไร
ก. วันมาฆบูชา ข. วันสงกรานต์ ค. วันเข้าพรรษา
28. วันสงกรานต์ได้คตินิยมมาจากประเทศใด

9
ก. เขมร ข. จีน ค. อินเดีย
29. ใครพูดแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม
ก. ต๋อมพูดแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริง
ข. โต๋พูดแสดงความคิดเห็นเข้าข้างเพื่อนสนิทของตนเอง
ค. ตู่พูดแสดงความคิดเห็นตามที่เพื่อนบอกเพื่อให้เพื่อนพอใจ
30. หากนักเรียนต้องการพูดขอร้องให้เพื่อนรักษาความสะอาด ควรพูดอย่างไร จึงจะชัดเจนและ
เหมาะสมที่สุด
ก. นี่ ! เก็บขยะกันบ้างสิ
ข. เพื่อนๆ คะ โปรดทิ้งขยะลงในถังขยะทุกครั้งนะคะ
ค. เพื่อนๆ ทุกคน ต้องนำขยะในถังขยะไปทิ้งนะจ๊ะ
31. ใครมีมารยาทในการฟัง และการดู
ก. เก๋จดบันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู
ข. กุ๋ยคุยกับโก้เบาๆ ขณะชมการแสดงละครเวที
ค. แก้มเป่ าปากเมื่อนักร้องร้องเพลงที่ชอบ
32. ข้อใดเรียงลำดับคำเป็นประโยคได้ถูกต้อง
   
มาก น้ำ แรง ไหล
ก.  ข.  ค. 
ข้อ 33. – 35. อ่านประโยคที่กำหนด แล้วบอกว่าเป็นประโยคประเภทใดจากตัวเลือกที่กำหนด
1) ประโยคบอกเล่า
2) ประโยคคำถาม
3) ประโยคปฏิเสธ
33. เขาชอบกินอาหารประเภทใด
ก. 1) ข. 2) ค. 3)
34. ฉันไม่ได้ไปโรงเรียน
ก. 1) ข. 2) ค. 3)
35. ทินเป็นเด็กดี
ก. 1) ข. 2) ค. 3)
อ่านประโยคข้อ 36. – 37. แล้วเรียงคำที่กำหนดให้คล้องจองกัน จากตัวเลือกที่กำหนดให้
36. 1) ซาบซึ้ง 2) เปิ ดโลก 3) โชคลาภ

10
ก. 1) 2) 3) ข. 2) 3) 1) ค. 3) 2) 1)
37. 1) นกน้อย 2) หมองคล้ำ 3) ฝอยทอง
ก. 1) 3) 2) ข. 1) 2) 3) ค. 3) 2) 1)
38. หนูหิ่นเป็นคน จ.อุบลราชธานี หนูหิ่นควรใช้คำพูดแทนตัวเองว่าอย่างไร
ก. ฉาน ข. เฮา ค. ข้อย
39. ข้อใดเป็นบทร้องประกอบการละเล่น
ก. เจ้านกกาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร....
ข. มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง.....
ค. ไก่เอ๋ยไก่แจ้ ถึงยามขันขันแซ่กระชั้นเสียง
โก่งคอเรื่อยร้องซ้องสำเนียง ฟังเพียงบรรเลงวังเวงดัง
40. ถ้าตัวเราเหล่านี้หมั่นนึก
ถึง_______ผู้ฝึกสอนสั่ง
ไม่มากนักสักวันละสองครั้ง
คงตั้งแต่สุขทุกวันเอย
ควรเติมคำใดลงในบทอาขยาน จึงจะถูกต้อง
ก. คุณครู ข. คุณแม่ ค. คุณพ่อ


 สำหรับครู
ครูอ่านเรื่องที่กำหนดให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถาม
เรื่องที่ 1 : อ่านเรื่องนี้เพื่อให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถามในข้อสอบมาตรฐานชั้นปี
วิชา ภาษาไทย (หลักภาษาและการใช้ภาษา) ชุดที่ 1 ข้อ 27. – 29.

จระเข้ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในบึงกว้างใหญ่ พอถึงฤดูแล้งน้ำในบึงแห้ง จระเข้


นอนอยู่ริมบึงอย่างอ่อนเพลีย มีชายคนหนึ่งขับเกวียนผ่านมาเห็นจระเข้นอนอยู่กลางแดด
ก็นึกสงสาร จึงถามจระเข้ว่า “เจ้านอนอยู่ในบึงไม่มีน้ำเช่นนี้คงร้อนมาก เราจะช่วยพาเจ้า
ไปที่แม่น้ำ เจ้าจะไปหรือไม่” จระเข้ได้ฟังก็ยินดีจึงพูดว่า “ถ้าท่านพาเราไปที่แม่น้ำ
ก็จะเป็นบุญคุณแก่เรา” ชายขับเกวียนลงไปมัดจระเข้ด้วยเถาวัลย์ แล้วลากจระเข้
ขึ้นเกวียนไปยังแม่น้ำใหญ่

11
เรื่องที่ 2 : อ่านเรื่องนี้เพื่อให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถามในข้อสอบมาตรฐานชั้นปี
วิชา ภาษาไทย (หลักภาษาและการใช้ภาษา) ชุดที่ 2 ข้อ 27. – 28.

แต่ก่อนประเทศไทยถือเอาวันสงกรานต์ คือ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปี ใหม่


ตามแบบอย่างประเทศอินเดีย การนับวันตามข้างขึ้น ข้างแรม ทำให้วันขึ้นปี ใหม่
ไม่แน่นอนตรงกันทุกปี ต่อมาประเทศไทยจึงได้กำหนดวันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์
และกำหนดให้เป็นวันขึ้นปี ใหม่ของไทย

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1

1. ค 2. ข 3. ก 4. ข 5. ก
6. ค 7. ข 8. ก 9. ค 10. ก
11. ข 12. ค 13. ข 14. ก 15. ค
16. ก 17. ข 18. ค 19. ก 20. ข
21. ค 22. ก 23. ก 24. ค 25. ข
26. ก 27. ค 28. ค 29. ข 30. ค
31. ข 32. ก 33. ค 34. ข 35. ค
36. ก 37. ก 38. ข 39. ค 40. ก

12
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2

1. ก 2. ค 3. ข 4. ข 5. ค
6. ข 7. ก 8. ค 9. ข 10. ค
11. ก 12. ค 13. ก 14. ข 15. ค
16. ข 17. ก 18. ค 19. ค 20. ก
21. ข 22. ก 23. ค 24. ข 25. ก
26. ค 27. ข 28. ค 29. ก 30. ข
31. ก 32. ข 33. ข 34. ค 35. ก
36. ข 37. ก 38. ค 39. ข 40. ก

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ค จากภาพเป็นคำว่า มด เพราะการประสมคำกับสระ โ–ะ เมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปสระ
หายไปทั้งหมด
2. ตอบ ข จากภาพมีปลา 5 ตัว เขียนเป็นเลขไทย คือ ๕
3. ตอบ ก ขา มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา กบ มีเสียงวรรณยุกต์เอก น้อง มีเสียงวรรณยุกต์ตรี
เตา มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ แม่ มีเสียงวรรณยุกต์โท
ส่วนข้อ ข. แจก มีเสียงวรรณยุกต์เอก ว่า มีเสียงวรรณยุกต์โท ร้อง มีเสียง
วรรณยุกต์ตรี โต๊ะ มีเสียงวรรณยุกต์ตรี เดี๋ยว มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา
ส่วนข้อ ค. คิด มีเสียงวรรณยุกต์ตรี ท่อ มีเสียงวรรณยุกต์โท ใช่ มีเสียง
วรรณยุกต์โท แน่ มีเสียงวรรณยุกต์โท แล้ว มีเสียงวรรณยุกต์ตรี
4. ตอบ ข นัวเนีย เป็นคำที่ประสมกับสระ –ว และ สระ เ – ย จึงไม่มีตัวสะกด
5. ตอบ ก รูปภาพ เป็นคำในมาตราแม่กบที่มีตัวสะกดแบบไม่ตรงตามมาตรา
6. ตอบ ค แพรว กล้วย พลอย กล้า ขลุ่ย เป็นคำควบกล้ำแท้
7. ตอบ ข จริง อ่านว่า จิง

13
8. ตอบ ก ตลาด อ่านว่า ตะ – หลาด แสวง อ่านว่า สะ – แหวง
อร่อย อ่านว่า อะ – หร่อย
9. ตอบ ค เหลืองอร่าม อ่านว่า เหลือง – อะ – หร่าม
10. ตอบ ก ซื่อสัตย์ ใช้ ย์ จึงจะสะกดถูกต้อง
11. ตอบ ข สวรรค์ อ่านว่า สะ – หวัน ธรรมชาติ อ่านว่า ทำ – มะ – ชาด
บรรทุก อ่านว่า บัน – ทุก
12. ตอบ ค สมัคร อ่านว่า สะ – หมัก ไม่ออกเสียง ร
13. ตอบ ข อึกทึก มีความหมายว่า อื้ออึง ครึกโครม จึงมีความหมายคล้ายกับคำว่า ครึกโครม
14. ตอบ ก พี่ดูเวลาจากนาฬิกา เพราะนาฬิกาเป็นสิ่งที่ใช้บอกเวลา
15. ตอบ ค ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟเมื่อหลายพันปี มาแล้ว เพราะยังมีร่องรอยภูเขาไฟให้เห็น
ในปัจจุบัน
16. ตอบ ก ใจความสำคัญของเรื่องที่กำหนดคือ อันตรายของผงชูรส
17. ตอบ ข เราควรใส่ผงชูรสในการปรุงอาหารเพียงเล็กน้อย จัดเป็นการแสดงความคิดเห็น

18. ตอบ ค ผู้ที่รับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป จะทำให้รู้สึกร้อนไหม้ตามลำคอ จัด


เป็นข้อเท็จจริง
19. ตอบ ก เมื่อพบข้อเขียนเชิงอธิบาย ควรอ่านรายละเอียดของข้อเขียนเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้
ปฏิบัติตามข้อเขียนได้ถูกต้อง
20. ตอบ ข การอ่านหนังสือในห้องสมุด ควรอ่านในใจเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น
21. ตอบ ค ฉ ณ น มีลักษณะการเขียนคล้ายกัน คือ เขียนขมวดตรงส่วนท้ายตัวอักษรรูปแบบ
เดียวกัน
22. ตอบ ก การเขียนบันทึกประสบการณ์ไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อผู้ปกครอง
23. ตอบ ก การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนคิดขึ้นตามจินตนาการของ
ตนเอง เช่น การเขียนนิทาน เป็นต้น
24. ตอบ ค เราไม่ควรขีดเขียนลงบนหนังสือของผู้อื่น หรือสถานที่สาธารณะเพราะถือว่าไม่มี
มารยาทในการเขียน
25. ตอบ ข การฟังคำสั่งหรือคำแนะนำ ควรตั้งใจฟัง แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น คือ อาบน้ำก่อน
แล้วค่อยทำการบ้าน
26. ตอบ ก การพูดเล่าเรื่อง ควรวางโครงเรื่องก่อนพูด เพื่อให้เล่าเรื่องได้ตามลำดับเนื้อหาที่ชัดเจน
ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ

14
27. ตอบ ค ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ชายคนหนึ่งช่วยพาจระเข้ไปที่แม่น้ำ
28. ตอบ ก แหล่งน้ำที่กล่าวถึงในเรื่อง คือ แม่น้ำ (ชายคนหนึ่งช่วยพาจระเข้ไปที่แม่น้ำ
29. ตอบ ข ถ้าท่านพาเราไปที่แม่น้ำ ก็จะเป็นบุญคุณแก่เรา เป็นคำพูดที่เป็นการแสดงความคิดเห็น
และความรู้สึก
30. ตอบ ค การพูดสื่อสารกับผู้อื่น ควรพูดให้ชัดเจน สุภาพ เช่น เมื่อถามราคาดินสอจากแม่ค้า
ควรถามว่า “ดินสอราคาแท่งละเท่าไรคะ”
31. ตอบ ข การปรบมือให้ผู้พูดหรือผู้แสดง ถือว่ามีมารยาทในการฟัง และการดู
32. ตอบ ก ฝนตก เป็นประโยค เพราะมีครบทั้งภาคประธาน คือ ฝน และภาคแสดง คือ ตก
33. ตอบ ค รถแล่นเร็ว เป็นประโยคบอกเล่า ส่วนทะเลสีครามเป็นวลี และฉันไม่ได้ทำ
เป็นประโยคปฏิเสธ
34. ตอบ ข ใครเคาะประตู เป็นประโยคคำถาม
35. ตอบ ค ทำไมน้องไม่ไปโรงเรียน และใครไม่ไปโรงเรียน เป็นประโยคคำถาม ส่วนน้องไม่ไป
โรงเรียน เป็นประโยคปฏิเสธ

36. ตอบ ก เติมคำว่า ใจดี จึงจะคล้องจองกับคำว่า ครูใหญ่ และผีเสื้อ คือ ครูใหญ่ ใจดี ผีเสื้อ
37. ตอบ ก โศก และ เศร้า ไม่คล้องจองกัน เพราะไม่ได้ประสมกับสระ และมีตัวสะกดมาตรา
เดียวกัน
38. ตอบ ข อร่อย ในภาษาถิ่นเหนือพูดว่า ลำ ส่วนหรอย เป็นภาษาถิ่นใต้ และแซบ เป็นภาษา
ถิ่นภาคอีสาน
39. ตอบ ค จากภาพเป็นการละเล่นรีรีข้าวสาร จึงต้องร้องบทร้องเล่น รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าว
เปลือก….
40. ตอบ ก ควรเติมคำว่า ล่องลอย และ สำลี ลงในบทอาขยาน จึงจะถูกต้อง และคล้องจองกัน



เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2

15
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ก จากภาพคือคำว่า เป็ด ประสมกับสระ เอ กับ ไม้ไต่คู้ ซึ่งเป็นสระ เ–ะ แปลงรูป
เมื่อมีตัวสะกด
2. ตอบ ค ควรเติมวรรณยุกต์ –่ / –้ / –้ / –๊ จะได้ แม่วางส้มโอไว้บนโต๊ะ
3. ตอบ ข สีฟ้ า มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา และ ตรี เหมือนกับคำว่า ขาโต๊ะ ส่วนกวยจั๊บ มีเสียง
วรรณยุกต์สามัญและตรี ลูกน้ำ มีเสียงวรรณยุกต์โทและตรี
4. ตอบ ข มีดบาด เป็นคำที่มีตัวสะกดในมาตราแม่กด
5. ตอบ ค อากาศ ยีราฟ เป็นคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราในแม่กดและแม่กบ คือ คำที่สะกด
ด้วยพยัญชนะตัวอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับชื่อมาตราตัวสะกด แต่ออกเสียงเป็นเสียงเดียวกับ
มาตราตัวสะกดนั้นๆ
6. ตอบ ข จากข้อความ มีคำควบกล้ำแท้ คือ ความ และคำควบกล้ำไม่แท้ คือ จริง และ สร้าง รวม
ทั้งหมด 3 คำ
7. ตอบ ก ไผท และ ฉลาด เป็นคำที่อ่านแบบอักษรนำทุกคำ ส่วน ตรึงตรา โพรง เป็นคำควบกล้ำ
8. ตอบ ค ตลอด และ อร่อย เป็นคำที่มีอักษรนำ ส่วน กราบ ครู ปลอด พราย เป็นคำควบกล้ำแท้
9. ตอบ ข ธงไตรรงค์ ใช้ ค์ จึงจะสะกดถูกต้อง
10. ตอบ ค บรรจุ สร้างสรรค์ เขียนถูกต้องทุกคำ ส่วน สันหา เขียนว่า สรรหา
บันทุก เขียนว่า บรรทุก
11. ตอบ ก สามารถ อ่านว่า สา – มาด ไม่ออกเสียงตัว ร
12. ตอบ ค ดึง หมายถึง รั้งมา, เหนี่ยวมา ส่วน ดัน หมายถึง ผลักให้เคลื่อนไป ซึ่งมีความหมาย
ตรงกันข้าม
13. ตอบ ก มาลี มีความหมายว่า ดอกไม้ ส่วนสกุณา หมายถึง นก และนภา หมายถึง ท้องฟ้ า
14. ตอบ ข ควรเติมคำว่า ธนบัตร จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ ถูกต้อง
15. ตอบ ค เราควรขยันหมั่นเพียรในการทำสิ่งต่างๆ จึงจะได้ในสิ่งที่ต้องการ
16. ตอบ ข ใจความสำคัญของข้อความที่กำหนดคือ ไม่ควรขอคนอื่น
17. ตอบ ก ถ้าเราอยากได้อะไร เราควรลงมือทำด้วยตนเองก่อน
18. ตอบ ค นวนิยายเป็นหนังสือที่ให้ความบันเทิง
19. ตอบ ค จากข้อเขียนเชิงอธิบายที่กำหนด สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด แต่ทิ้ง
ลงในถังขยะเท่านั้น จึงจะเป็นการรักษาความสะอาด
20. ตอบ ก การอ่านหนังสือในห้องสมุดไม่ควรอ่านออกเสียง เพราะจะรบกวนผู้อื่น ซึ่งถือว่าไม่มี
มารยาทในการอ่าน

16
21. ตอบ ข การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ควรคัดให้ตัวหนังสือสูงจรดเส้นบรรทัดบนและ
ล่าง เว้นช่องไฟให้เท่ากัน และวางรูปสระและวรรณยุกต์ให้ถูกตำแหน่ง
22. ตอบ ก การเขียนบันทึกประสบการณ์ เป็นการเขียนเพื่อบันทึกประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้
พบเห็นมา
23. ตอบ ค การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนเรื่องที่คิดขึ้นเอง
24. ตอบ ข การเขียนเรื่องโดยพาดพิงผู้อื่น จัดว่าไม่มีมารยาทในการเขียน เพราะอาจทำให้ผู้ถูก
พาดพิงได้รับความเสียหายได้
25. ตอบ ก เมื่อฟังคำสั่งและคำแนะนำแล้ว ควรพูดตอบรับแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่ควรทำเฉย
26. ตอบ ค ขณะพูดเล่าเรื่อง ไม่ควรเล่าเรื่องอื่นแทรก เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสนได้
27. ตอบ ข แต่เดิมวันขึ้นปี ใหม่ไทย ตรงกับวันสงกรานต์
28. ตอบ ค วันสงกรานต์ได้คตินิยมจากประเทศอินเดีย
29. ตอบ ก ในการพูดแสดงความคิดเห็น ควรพูดแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริง
30. ตอบ ข การพูดขอร้อง ควรพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ และพูดให้ตรงประเด็น
31. ตอบ ก ในการฟังและดู ควรตั้งใจฟังและดู ไม่พูดคุยหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โห่
เป่ าปาก กระทืบเท้า และควรจดบันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดูด้วย จึงจะ
ถือว่ามีมารยาทในการฟังและดู
32. ตอบ ข น้ำไหลแรงมาก เรียงลำดับคำเป็นประโยคได้ถูกต้อง
33. ตอบ ข เขาชอบกินอาหารประเภทใด เป็นประโยคคำถาม
34. ตอบ ค ฉันไม่ได้ไปโรงเรียน เป็นประโยคปฏิเสธ
35. ตอบ ก ทินเป็นเด็กดี เป็นประโยคบอกเล่า
36. ตอบ ข เปิ ดโลก โชคลาภ ซาบซึ้ง คล้องจองกัน
37. ตอบ ก นกน้อย ฝอยทอง หมองคล้ำ คล้องจองกัน
38. ตอบ ค ภาษาถิ่นอีสานที่ใช้พูดแทนตัวเอง ใช้ว่า ข้อย ส่วน ฉาน เป็นภาษาถิ่นใต้ และข้อย
เป็นภาษาถิ่นอีสาน
39. ตอบ ข มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง... เป็นบทร้องประกอบการละเล่นมอญซ่อนผ้า
40. ตอบ ก ควรเติมคำว่า คุณครู ลงในบทอาขยาน จึงจะถูกต้อง



17

You might also like