You are on page 1of 23

ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1 กลุ่มสาระ ภาษาไทย

วิชา ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ป. 6 จำนวน 50 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1. ประโยคในข้อใดมีคำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว ออกเสียงควบกล้ำ


ก. จึงสระสรงองค์สำอางอินทรีย์
ข. หวีเกศกันไรใส่กรอบหน้า
ค. เมื่อเสร็จจึ่งเสด็จลีลา
ง. ทรงสุคนธ์ปนทองอุไรเรือง
2. ข้อใดมีคำอักษรนำมากที่สุด
ก. วารีชำระรดจนหมดหมอง
ข. อร่ามเรืองรุ้งดังดวงดาว
ค. ขัดขมิ้นแน่นเนื้อนวลละออง
ง. บรรจงทรงภูษาสีเศวตร
3. ข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
ก. ลักษณ์ อ่านว่า ลัก
ข. สาส์น อ่านว่า สาน
ค. คอนเสิร์ต อ่านว่า คอน – เสิด
ง. พราหมณ์ อ่านว่า พรา – หม
4. ข้อใดใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง
ก. ดัชนี อ่านว่า ดัด – ชะ – นี
ข. กรุงเทพฯ เป็ นเมืองหลวงของประเทศไทย
ค. พรรณทิวา มีชื่อเล่นว่า จอย !
ง. แม่ถามว่า “ลูกไปไหนมาจ๊ะ”
5. พ่ออ่าน นสพ. เดลินิวส์ จากประโยค ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. พ่อ – อ่าน – หนัง – สือ – พิม – เด – ลิ – นิว
ข. พ่อ – อ่าน – นอ – สอ – พอ – จุด – เด – ลิ – นิว
ค. พ่อ – อ่าน – นอ – สอ – พอ – เด – ลิ – นิว
ง. พ่อ – อ่าน – หนัง – สือ – พระ – เด – ลิ – นิว

6. ๒ ฯ ๑ ค่ำ ปี เถาะ อ่านว่าอย่างไร

ก. วันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้นห้าค่ำ ปี เถาะ


ข. วันจันทร์ เดือนอ้าย แรมห้าค่ำ ปี เถาะ
ค. วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้นห้าค่ำ ปี เถาะ
ง. วันอังคาร เดือนหนึ่ง ขึ้นห้าค่ำ ปี เถาะ
7. ข้อใดใช้สำนวน “ขวานผ่าซาก” ได้ถูกต้องและเหมาะสม
ก. จอยอย่านำขวานผ่าซาก เพราะขวานอาจหักได้
ข. ชีวิตไม่มีความหวัง ทำให้ทินต้องอยู่เหมือนกับขวานผ่าซากไปวันๆ
ค. แบบฝึ กหัดวิชาภาษาไทยชุดนี้ กว่าเขาจะทำเสร็จต้องทำแบบขวานผ่าซากทีเดียว
ง. อย่าไปถือสาคำพูดของแนนเลย เพราะเธอเป็ นคนพูดจาขวานผ่าซากมาตั้งนานแล้ว
1
8.
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
จากคำประพันธ์ ตรงกับสำนวนใด
นิราศภูเขาทอง : สุนทรภู่
ก. ปากดี
ข. ปากว่ามือถึง
ค. ปากเป็ นเอก เลขเป็ นโท
ง. ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ
9. หากใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ จะพบคำใดต่อไปนี้เป็ นคำสุดท้าย
ก. ทนาย ข. ทุจริต
ค. ทรัพย์ ง. ทะเบียน
10. ข้อใดเรียงลำดับคำถูกต้องตามพจนานุกรม
ก. ถากถาง ธุดงค์ ธนู น้ำตาล
ข. ระคาย ละคร วันทา ฤดู
ค. มรกต รางวัล ฤทัย ลำดับ
ง. ทารุณ มรรยาท ปริมาณ ปราสาท

11.
ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของนักเรียนชั้น ป.6
 มีน้ำใจและให้เกียรติผู้อื่น
 รักษาความสะอาดของห้องเรียน
จากข้อเขียนเชิงอธิบายที่กำหนด มอบหมาย
ใครปฏิบัติตนไม่เหมาะสม
 ตั้งใจเรียนและรับผิดชอบงานที่ได้รับ

ก. มดช่วยเพื่อนทำความสะอาดห้องเรียนจนสะอาด
ข. แก้มทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายอย่างตั้งใจ
ค. หญิงช่วยคุณครูถือหนังสือมาไว้ในห้องเรียน
ง. รุตกล่าวถ้อยคำล้อเลียนจอยอยู่เสมอ
12. ข้อใดควรปฏิบัติเป็ นอันดับแรกหลังจากที่อ่านข้อควรปฏิบัติในการใช้สถานที่สาธารณะ
ก. สอบถามจากผู้รู้หรือคุณครู
ข. ทำความเข้าใจข้อเขียน
ค. ปฏิบัติตามข้อเขียน
ง. ทำเฉยๆ
13. สัญลักษณ์ในข้อใดมักพบในพิพิธภัณฑ์มากที่สุด
ก. ข.

ค. ง.

แผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนชั้น ป.6/1
14. 2
ที่ชอบรับประทานอาหารกลางวันชนิดต่างๆ
จำนวนนักเรียน (คน)
14

12

10

2
จากข้อมูลที่กำหนด ข้อใดไม่ถูกต้อง
0
ก. นักเรียนที่ชอบรับประทานราดหน้ามีจำนวนเท่ากับนักเรียนที่ชอบรับประทานเย็นตาโฟ
„q
ª ¥Á˜ Ì̧¥ª oµª ¦ µ—
„Š ¦ µ—œ
® oµ oµª ¤ ´œÅ„n Á¥È
œ˜ µÃ¢ ชนิดของอาหาร
ข. นักเรียนชั้น ป.6/1 ชอบรับประทานข้าวราดแกงเป็ นอาหารกลางวันมากที่สุด
ค. นักเรียนชั้น ป.6/1 ชอบรับประทานราดหน้าเป็ นอาหารกลางวันน้อยที่สุด
ง. นักเรียนชั้น ป.6/1 มีจำนวนทั้งหมด 45 คน
15. หนังสือสารคดีลักษณะใดไม่ควรเลือกอ่าน
ก. ให้ความรู้ที่เป็ นประโยชน์
ข. ไม่บอกแหล่งที่มาของข้อมูล
ค. เนื้อหามีความน่าเชื่อถือ
ง. เนื้อหาไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
16. นิดอ่านออกเสียงนิทานให้เพื่อนฟังในห้องสมุด นิดมีมารยาทในการอ่านหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. มี เพราะถือว่ามีน้ำใจต่อเพื่อน
ข. มี เพราะจะได้ฝึ กอ่านออกเสียง
ค. ไม่มี เพราะเป็ นการรบกวนสมาธิผู้อื่น
ง. ไม่มี เพราะควรอ่านออกเสียงให้ผู้อื่นฟังด้วย

17. ข้อใดเป็ นการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดที่ถูกต้องและสวยงาม

ก.

ข.

ค.

ง.

3
18.ข้อใดเป็ นการเขียนคำขวัญ
ก. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ข. คิดจะดื่มน้ำ ดื่มตาต้า น้ำแร่จากธรรมชาติ
ค. ควรอ่านฉลากยาก่อนรับประทานทุกครั้ง
ง. น้ำไฟมีน้อย ร่วมใจใช้สอยอย่างประหยัด

19. ข้อใดเขียนอวยพรผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม
ก. ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยประทานพรให้คุณยายปราศจากโรคภัย
ข. ขอให้คุณตาโชคดี มีอำนาจวาสนา ข้าทาสบริวารสมบูรณ์พร้อม
ค. ขอประทานพรให้คุณย่ามีความสุขมากๆ และเป็ นที่รักตลอดไป
ง. ขออำนวยพรให้คุณปู่ มีความสุข ความเจริญ และสมปรารถนา
20. กุ๊กต้องการเขียนบทความเรื่อง สถานที่สำคัญในชุมชน กุ๊กควรเลือกเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
แบบใด
ก. แบบเหตุการณ์
ข. แบบจัดกลุ่ม
ค. แบบโครงสร้าง
ง. แบบจัดความคิดเป็ นหมวดหมู่
21. ข้อใดเป็ นประโยชน์ที่ได้จากการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
ก. สามารถแสดงความคิดเห็นได้ง่าย
ข. ทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องได้
ค. ทำให้เรื่องที่จะเขียนมีรายละเอียดมากขึ้น
ง. ทำให้เรียงลำดับเนื้อเรื่องที่จะเขียนได้อย่างเป็ นขั้นตอน

22. การทำความดีไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณคิดจะทำ


จากข้อความที่กำหนด ควรอยู่ในส่วนใดของเรียงความ
ก. คำนำ ข. เนื้อเรื่อง
ค. ส่วนเพิ่มเติม ง. สรุป
23. ผู้ใดปฏิบัติไม่ถูกต้องในการเขียนย่อความ
ก. มดเขียนอ้างอิงที่มาของนิทานลงในส่วนที่เป็ นเนื้อความ เพื่อเป็ นการให้เกียรติผู้แต่ง
ข. จอยอ่านเรื่องที่จะย่อจนจบ และทำความเข้าใจเรื่องก่อนจะเขียนย่อความ
ค. หญิงเขียนเรียบเรียงเรื่องใหม่โดยใช้สำนวนของตนเอง
ง. แก้มเขียนย่อความโดยไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1
24. ใครเขียนจดหมายส่วนตัว
ก. เดือนเขียนจดหมายหาคุณป้ า เพื่อขอบคุณที่คุณป้ าส่งหนังสือมาให้
ข. ตู๋เขียนจดหมายเพื่อสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
ค. ทินเขียนจดหมายบอกคุณครูถึงสาเหตุที่ตนเองหยุดเรียน
ง. เกดเขียนจดหมายติดต่อกับหน่วยงานราชการ

25. ใครปฏิบัติตนไม่เหมาะสมในการกรอกแบบรายการ
4
ก. หญิงอ่านชื่อแบบรายการและรายละเอียดก่อนกรอกแบบรายการ
ข. รุตกรอกข้อมูลในแบบรายการใบสมัครเรียนต่ออย่างครบถ้วน
ค. หนิงกรอกข้อมูลในแบบรายการผิดจึงขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่
ง. นกแนบสำเนาทะเบียนบ้านประกอบแบบรายการ
ใบสมัครเรียนต่อตามที่โรงเรียนต้องการ
26. งานเขียนในข้อใดไม่ใช่การเขียนเรื่องตามจินตนาการ
ก. สารคดีเรื่อง เมืองโบราณ
ข. นวนิยายเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้
ค. กวีนิพนธ์เรื่อง จารึกไว้ในแผ่นดิน
ง. เรื่องสั้นเรื่อง เสาหินแห่งกาลเวลา
27. การปฏิบัติอย่างไรจัดว่าไม่มีมารยาทในการเขียน
ก. เขียนด้วยตัวบรรจง เรียบร้อย เป็ นระเบียบ
ข. เมื่อเขียนผิดให้ลบให้สะอาดก่อนจะเขียนใหม่
ค. เขียนเว้นวรรคตอนอย่างเหมาะสม เพื่อให้สะดวกในการอ่าน
ง. นำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในการเขียนโดยไม่บอกแหล่งที่มาของข้อมูล
ฟั งครูอ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 28 - 31
28. ข้อความที่ฟังมีเจตนาอย่างไร
ก. ตำหนิ ข. สั่งสอน
ค. ปลอบโยน ง. เกลี้ยกล่อม
29. ใครควรปฏิบัติตามข้อความนี้
ก. ผู้นำ ข. คนจน
ค. เศรษฐี ง. คนทุกคน
30. เพราะเหตุใดเราจึงต้องเรียนหนังสือตั้งแต่ตอนเด็กและทำงานเมื่อเป็ นผู้ใหญ่
ก. เพื่อนำวิชาความรู้ไปใช้ในการทำงานเมื่อเป็ นผู้ใหญ่
ข. เพราะเด็กมีความจำดีกว่าผู้ใหญ่
ค. เพราะตอนเด็กเรายังทำงานไม่ได้
ง. เพื่อเป็ นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล
31. เหตุใดคนเราจึงต้องทำมาหากิน
ก. เพื่อให้มีฐานะร่ำรวยเป็ นเศรษฐี
ข. เพื่อความมีหน้ามีตาของวงศ์ตระกูล
ค. เพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
ง. เพื่อสร้างสมบารมีไว้ก่อนจะจากโลกนี้ไป
32. ข้อใดมีความน่าเชื่อถือที่สุด
ก. หมากฝรั่งตรายึกยัก คึกคักทุกครั้งที่เคี้ยว
ข. นมสดรสชาติดี ต้องที่ฟาร์มโมลีเท่านั้น
ค. หากผลไม้ไม่สดจริง เราคัดทิ้งไม่บรรจุ
ง. ดื่มนมทุกวัน ร่างกายแข็งแรง

33. ข้อใดไม่ใช่หลักในการพูดรายงาน
5
ก. ใช้วิธีการหลากหลายในการพูด เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย
ข. พูดโดยใช้เวลามากกว่ากำหนด เพื่อให้รายละเอียดที่ชัดเจน
ค. พูดด้วยเสียงดังพอเหมาะและออกเสียงให้ถูกต้อง
ง. ศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อนพูดรายงาน
34. ในการโต้วาทีต้องใช้การพูดลักษณะใดเป็ นส่วนใหญ่
ก. การพูดโน้มน้าว
ข. การพูดขอร้อง
ค. การพูดต่อรอง
ง. การพูดประชาสัมพันธ์
35. การปฏิบัติตนตามสำนวนในข้อใด จัดว่ามีมารยาทในการพูดมากที่สุด
ก. ชักใบให้เรือเสีย
ข. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
ค. น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
ง. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
อ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 36 - 37

แม่ไปรับนิดาที่โรงเรียนเมื่อนิดาทำการบ้านเสร็จ 2 วิชา แล้วจึงไปซื้อกับข้าวที่ตลาด


ก่อนกลับบ้าน

36. จากข้อความ นิดา เป็ นคำชนิดใด และทำหน้าที่ใด


ก. เป็ นคำนามสามัญ ทำหน้าที่เป็ นประธานของประโยค
ข. เป็ นคำนามวิสามัญ ทำหน้าที่เป็ นกรรมของประโยค
ค. เป็ นคำสรรพนามชี้เฉพาะ ทำหน้าที่เป็ นกรรมของประโยค
ง. เป็ นคำสรรพนามแทนบุคคล ทำหน้าที่เป็ นประธานของประโยค
37. จากข้อความ ข้อใดเป็ นคำกริยาทุกคำ
ก. ไปรับ ที่ เมื่อ ทำการบ้าน ไปซื้อ ก่อน
ข. ไปรับ ทำการบ้าน เสร็จ ไปซื้อ กลับบ้าน
ค. ไปรับ เมื่อ ทำการบ้าน จึง ไปซื้อ กลับบ้าน
ง. ไปรับ ทำการบ้าน จึง ไปซื้อ ก่อน กลับบ้าน
38. __________คุณครูเดินเข้ามาในห้อง นักเรียน__________เลิกคุยกัน
ควรเติมคำสันธานในข้อใด
ก. เพราะ ... จึง ข. พอ ... ก็
ค. เพราะ ... ก็ ง. พอ ... จึง

39. เราทั้งหลายต้องร่วมมือกันทำงานนี้
จากประโยคที่กำหนด คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ใด
ก. ขยายคำสรรพนาม
ข. ขยายคำนาม
ค. ขยายคำวิเศษณ์
ง. ขยายคำกริยา
40. ประโยคในข้อใดไม่มีคำอุทาน
6
ก. น้องกินขนมจนมือไม้เลอะเทอะ
ข. อ้าว ! ทำไมจึงไม่บอกตั้งแต่แรกล่ะ
ค. บ้านหลังนี้ใหญ่โตมโหฬารมาก
ง. เธอสวยพอไปวัดไปวาได้
41. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพไม่ถูกต้อง
ก. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลเข้าเฝ้ า
ข. ดวงใจเข้าเฝ้ าทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล
ค. หลวงพ่อออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือตั้งแต่เมื่อวาน
ง. คณะรัฐมนตรีให้เงินกับพระภิกษุที่ประสบอุทกภัย
42. ใครต้องใช้ภาษาแบบแผน
ก. มานะเขียนใบสมัครศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา
ข. สุดาเขียนประกาศรับสมัครสมาชิกชมรมรักการอ่าน
ค. นิชาเขียนคำอวยพรปี ใหม่ให้คุณปู่
ง. เมธาเขียนบันทึกประจำวัน
43. กินข้าวหรือยัง กำลังเฮ็ดหยังน้ออ้าย คิดฮอดหลายๆ
จากเพลงที่กำหนด ข้อใดเป็ นภาษาถิ่นทั้งหมด
ก. ยัง น้อ อ้าย หลายๆ
ข. เฮ็ดหยัง อ้าย คิดฮอด หลายๆ
ค. เฮ็ดหยัง น้อ อ้าย ฮอด หลายๆ
ง. เฮ็ดหยัง น้อ คิดฮอด หลายๆ
44. ประโยคในข้อใดมีคำภาษาต่างประเทศมากที่สุด
ก. ภรรยาของคุณอาไปตรวจครรภ์ทุกเดือน
ข. ควาญช้างอยู่ในสถานที่ที่จัดไว้
ค. เธอให้กำเนิดทารกตัวเล็กน่ารัก
ง. น้องชอบเล่นกีฬาฟุตบอลมาก
45. คำในข้อใดไม่ใช่คำภาษาต่างประเทศ
ก. จุฬา ศาลา
ข. เต้าหู้ ปัญญา
ค. ข้อศอก เศร้า
ง. สลัด ภาษา
46. ประโยคในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
ก. แมวจับหนูตัวเล็ก
ข. น้องร้องไห้เสียงดัง
ค. พี่ดื่มน้ำหวานเย็นเจี๊ยบ
ง. เขาเล่นกีฬาเก่งมาก
47. ข้อใดเป็ นประโยคความซ้อน
ก. เธอมาจากจังหวัดนนทบุรีหรือนครปฐม
ข. ฉันและครอบครัวจะไปเที่ยวทะเล
ค. ยายอายุมากแล้วแต่ยังแข็งแรงมาก
ง. แม่ให้ของขวัญลูกที่สอบได้ที่หนึ่ง

48. เรียงลำดับข้อความที่กำหนดให้เป็ นกลอนสุภาพที่ถูกต้อง


7
1) คบเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
2) เหมือนมีน้ำจืดนิดหน่อยด้อยราคา
3) ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา
4) ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล
ก. 1) 2) 3) 4)
ข. 1) 3) 2) 4)
ค. 1) 4) 2) 3)
ง. 4) 1) 2) 3)

49. น้องชายเธอทำไมถึง_____________ไม่เคยอยู่เฉยบ้างเลย
ควรเติมสำนวนใดลงในช่องว่าง
ก. ซนเหมือนลิง
ข. เบาเหมือนปุยนุ่น
ค. กลมเหมือนมะนาว
ง. บริสุทธิ์เหมือนหยาดน้ำค้าง
50. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ก. เล่าต่อกันมาแบบปากต่อปาก
ข. จดบันทึกเรื่องราวเป็ นลายลักษณ์อักษร
ค. มีโครงเรื่องไม่ซับซ้อน ดำเนินเรื่องง่ายๆ
ง. แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาวบ้าน



ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2 กลุ่มสาระ ภาษาไทย

8
วิชา ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ป. 6 จำนวน 50 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ประโยคในข้อใดมีคำควบกล้ำมากที่สุด
ก. คุณยายบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนเสมอ
ข. นกอินทรีโผลงโฉบปลาในสระน้ำอย่างรวดเร็ว
ค. ชาวบ้านช่วยกันรักษาความสะอาดของหาดทราย
ง. เศรษฐีสวมสร้อยไปทำบุญที่วัด
2. คุณแม่ซื้อกล้วยสีเหลืองอร่ามขนาดใหญ่มาจากตลาดหนึ่งหวี
จากประโยคที่กำหนด มีคำอักษรนำกี่คำ
ก. 5 คำ ข. 6 คำ
ค. 7 คำ ง. 8 คำ
3. แม่พาน้องไปดู__________เกี่ยวกับเรื่อง______________
ควรเติมคำในข้อใดลงในช่องว่าง
ก. ภาพยนตร์ / หุ่นยนต์
ข. ภาพยนตร์ / หุ่นยนตร์
ค. ภาพยนต์ / หุ่นยนต์
ง. ภาพยนต์ / หุ่นยนตร์
4. เขาไปกรุงเทพฯ เมื่อเช้านี้
อ่านว่าอย่างไร
ก. เขา – ไป – กรุง – เทบ – เมื่อ – เช้า – นี้
ข. เขา – ไป – กรุง – เทบ – ไป – ยาน – เมื่อ – เช้า – นี้
ค. เขา – ไป – กรุง – เทบ – ไป – ยาน – น้อย – เมื่อ – เช้า – นี้
ง. เขา – ไป – กรุง – เทบ – มะ – หา – นะ – คอน – เมื่อ – เช้า – นี้
5. 14 ก.พ. อ่านว่าอย่างไร
ก. สิบ – สี่ – กุม – พา
ข. สิบ – สี่ – กอ – พอ
ค. สิบ – สี่ – กุม – พา – พัน
ง. สิบ – สี่ – กอ – จุด – พอ – จุด
6. วันจันทร์ เดือนแปด แรมเจ็ดค่ำ ปี มะเส็ง
จากข้อความ ตรงกับการเขียนวัน เดือน ปี แบบไทยในข้อใด
ก. ๒ ฯ ๘ ปี มะเส็ง ข. ๒ ฯ ๗ ปี มะเส็ง
๗ ๘
ค. ง.

๒ ฯ ๘ ปี มะเส็ง ๒ ฯ ๘๗ ปี มะเส็ง
7. ข้อสอบวิชานี้ง่ายเหมือน_____________
ควรเติมสำนวนใดลงในช่องว่าง
ก. หมูตอน ข. กินกล้วย
ค. หมูในอวย ง. ปอกกล้วยเข้าปาก

8. ให้เจ้าเป็ นเด็กดี ให้เจ้ามีพลัง ให้เจ้าเป็ นความหวังของแม่ต่อไป


9
เพลงอิ่มอุ่น : ศุ บุญเลี้ยง
จากบทเพลง เป็ นโวหารประเภทใด
ก. สาธกโวหาร ข. เทศนาโวหาร
ค. พรรณนาโวหาร ง. บรรยายโวหาร
9. ข้อใดเป็ นพรรณนาโวหาร
ก. หน้าฝน ต้นไม้ใบหญ้าเขียวสดไปหมด
ข. เรียนลูกเสือนี่ดีจัง มีกิจกรรมมากมายจริงๆ
ค. บุคคลที่มีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ จึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง
ง. เขาเป็ นคนรูปหล่อ ตาคม จมูกโด่ง และสูงสง่า
10. หากต้องการค้นหาความหมายของคำจากพจนานุกรม ต้องดูสิ่งใดก่อนเป็ นอันดับแรก
ก. พยัญชนะต้น ข. สระ
ค. วรรณยุกต์ ง. ตัวสะกด
11. หากเปิ ดพจนานุกรม คำในข้อใดอยู่ก่อนคำว่า คิมหันต์
ก. เคหะ ข. โคจร
ค. ครุศาสตร์ ง. คุณูปการ
12. หากนักเรียนเข้าใช้บริการห้องสมุด ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการใช้ห้องสมุด
ก. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น ข. ไม่นำอาหารมารับประทาน
ค. ปิ ดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ง. แต่งกายตามสบาย

13. ใครปฏิบัติตนไม่เหมาะสมหลังจากอ่านข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันในสังคม
ก. มดทำความเข้าใจข้อเขียนที่อ่าน
ข. รุตทำเป็ นเฉยๆ และไม่พูดจากับผู้อื่น
ค. จอยปฏิบัติตนตามที่ข้อเขียนระบุไว้
ง. แก้มไม่เข้าใจข้อเขียนที่อ่าน จึงไปสอบถามจากผู้รู้

14.
เรามักพบสัญลักษณ์นี้อยู่บริเวณสถานที่ใด

ก. ห้องเรียน ข. หอประชุม
ค. ห้องน้ำ ง. ห้องสมุด

อ่านแผนที่ที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 15


10
15. จากแผนที่ที่กำหนดไม่ได้กล่าวถึงข้อมูลใด
ก. แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพร
ข. เส้นทางเดินรถและสถานีรถไฟ
ค. อำเภอในจังหวัดชุมพร
ง. ภูเขาในจังหวัดชุมพร
16. ใครเลือกอ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสม
ก. รุตอ่านบันทึกประจำวันของจอย
ข. มดอ่านการ์ตูนที่ระบุชื่อผู้เขียนอย่างชัดเจน
ค. แก้มอ่านนวนิยายที่มีเนื้อหาไม่ขัดต่อศีลธรรมจรรยา
ง. นิดอ่านวรรณกรรมที่ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม

17. หากเราอ่านหนังสือไม่จบแล้วต้องการอ่านอีกในภายหลัง ควรปฏิบัติอย่างไร


11
ก. ใช้ดินสอหรือปากกาทำเครื่องหมายที่เลขหน้าหนังสือ
ข. พับมุมหน้าที่อ่านค้างไว้
ค. วางหนังสือคว่ำหน้าลง
ง. ใช้ที่คั่นหนังสือคั่นไว้
18. ในการคัดลายมือควรเขียนเว้นระยะช่องไฟให้เหมาะสม หมายความว่าอย่างไร
ก. เขียนเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง
ข. เขียนตัวอักษรให้ชิดติดกันทุกตัว
ค. เขียนเว้นระยะระหว่างตัวอักษรเท่าๆ กัน ทุกตัว
ง. เขียนตัวอักษรแต่ละตัวให้ห่างกันมากๆ เพื่อให้อ่านง่าย
19. งานเขียนในข้อใดไม่ใช่การเขียนสื่อสาร
ก. การเขียนอวยพร
ข. การเขียนนิทาน
ค. การเขียนคำขวัญ
ง. การเขียนประกาศ
20. การเขียนประกาศในข้อใดชัดเจนที่สุด
ก. เชิญพบกับนักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2554 ที่ห้องประชุมโรงเรียน วันที่ 10
กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 9.30 น.
ข. เชิญชมนิทรรศการภาพถ่ายสัตว์โลกน่ารัก ซึ่งจัดโดยสมาคมรักษ์สัตว์ ณ สวนสัตว์ดุสิต
กรุงเทพฯ
ค. โรงเรียนศิลปะการแสดงจะแสดงการสาธิตเทควันโดสุดพิเศษ พร้อมลดค่าเรียน 20%
สำหรับผู้เข้าชม
ง. เชิญชมหุ่นยนต์แห่งโลกอนาคต ที่ห้างฟอรั่ม ชั้น 1
21. หญิงต้องการเขียนเรื่อง การผจญภัยของเจ้าชายรองเท้าบูต หญิงควรเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
แบบใด
ก. แบบจัดกลุ่ม
ข. แบบเหตุการณ์
ค. แบบเปรียบเทียบ
ง. แบบจัดความคิดเป็ นหมวดหมู่
22. เรื่องใดควรใช้แผนภาพโครงเรื่องแบบจัดความคิดเป็ นหมวดหมู่
ก. เจ้าชายน้อย
ข. ต้นส้มแสนรัก
ค. แมวน้อยนักตกปลา
ง. นกเพนกวินจักรพรรดิ
23. ข้อใดนิยมใช้ปิ ดท้ายในการเขียนเรียงความ
ก. เกร็ดความรู้ต่างๆ
ข. สำนวน สุภาษิต
ค. คำถาม
ง. บทเพลง

24. ข้อใดคือหลักสำคัญที่สุดในการเขียนย่อความ
12
ก. รักษาสาระสำคัญของเรื่องเดิมไว้เสมอ
ข. เขียนแบบของย่อความเพียงแบบเดียวทุกครั้ง
ค. เขียนชื่อผู้ย่อความทุกครั้ง
ง. เขียนย่อความให้สั้นมากที่สุด
25. เดือนต้องการเขียนจดหมายไปหาพี่สาว เดือนควรเขียนคำขึ้นต้นว่าอย่างไร
ก. กราบเท้าพี่.....ที่เคารพอย่างสูง
ข. พี่จ๋าที่รักยิ่งของน้อง
ค. พี่.....ที่รักของน้อง
ง. เรียนคุณพี่ที่เคารพ
26. ใครปฏิบัติตนในการกรอกแบบรายการไม่ถูกต้อง
ก. เก่งอ่านแบบรายการจนเข้าใจแล้วจึงกรอกข้อมูล
ข. เกตุกรอกข้อมูลในแบบรายการด้วยตนเองตามความเป็ นจริง
ค. ตู๋กรอกแบบรายการด้วยลายมือที่สวยงาม และสะกดคำถูกต้อง
ง. ทินเซ็นชื่อไว้เป็ นหลักฐาน แล้วให้กุ๋ยกรอกข้อมูลอื่นๆ ให้
27. ข้อใดไม่ใช่หลักในการเขียนเรื่องตามจินตนาการ
ก. เขียนเรื่องจากความคิดและจินตนาการของผู้เขียน
ข. คัดลอกเรื่องที่ตนเองชอบมาใช้ในงานเขียน
ค. หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเขียน
ง. วางโครงเรื่องของเรื่องที่ต้องการเขียน
28. ใครไม่มีมารยาทในการเขียน
ก. นุชนำเรื่องที่ตนเองคิดมาเขียนเป็ นข้อเท็จจริงให้คนอื่นเชื่อ
ข. นันเขียนนิทานโดยใช้ลายมือที่เรียบร้อย เป็ นระเบียบ
ค. นาถเขียนบอกแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ทุกครั้งที่เขียน
ง. นนท์ลบข้อความที่เขียนผิดจนสะอาดแล้วจึงเขียนใหม่
ฟั งครูอ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 29 - 32
29. ข้อความที่ฟังมีเจตนาอย่างไร
ก. ต่อว่า ข. ขอร้อง
ค. ข่มขู่ ง. เสียดสี
30. จากข้อความที่ฟัง เรา หมายถึงใคร
ก. ผู้จัดการ ข. คนงาน
ค. ตำรวจ ง. ผู้ข่มขู่
31. เงื่อนไขที่ผู้คุ้มครองกำหนดคือข้อใด
ก. จะมารับเงินด้วยตนเอง
ข. ให้ผู้จัดการมาคนเดียว
ค. จะปล่อยตัวประกัน
ง. ให้เรียกตำรวจ
32. ข้อความที่ฟังสะท้อนสิ่งใด
ก. ความเจ็บปวดของผู้สูญเสีย
ข. การปล้นแบบใหม่ที่เกิดขึ้น
ค. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
ง. ความตื่นเต้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
33. อยู่เป็ นเพื่อนกับคุณทุกที่ ร่วมเดินทางไปกับคุณทุกที่ พร้อมกับความนุ่มสบายที่คุณจะไม่ลืม
13
จากโฆษณาที่กำหนด เป็ นโฆษณาสินค้าใด
ก. ลูกอม ข. เสื้อไหมพรม
ค. ชุดรับแขก ง. รองเท้า
34. ถ้าพูดรายงานโดยใช้เวลาเกินกว่าเวลาที่กำหนด ผู้พูดรายงานควรปฏิบัติอย่างไร
ก. จัดพิมพ์เอกสารแจกให้ผู้ฟังในภายหลังจากพูดสรุปจบ
ข. ตัดเนื้อหาที่จะพูด และสรุปจบทันที เพื่อรักษาเวลา
ค. พูดจนจบโดยไม่สนใจว่าจะเกินเวลาที่กำหนด
ง. ให้ผู้ฟังที่สนใจมาขอเอกสารจากผู้พูดเอง
35. ข้อใดไม่ใช่การพูดโน้มน้าวใจ
ก. การโต้วาที
ข. การรณรงค์รักษาความสะอาด
ค. การหาเสียงเลือกตั้งกรรมการนักเรียน
ง. การพูดลำดับเหตุการณ์ที่ได้ประสบมา
36. ข้อใดแสดงถึงการมีมารยาทในการพูด
ก. พูดด้วยถ้อยคำสุภาพ ไม่หยาบ
ข. พูดสอดขณะที่คู่สนทนากำลังพูด
ค. พูดถึงบุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ที่นั่นในทางเสื่อมเสีย
ง. พูดคนเดียวโดยไม่เปิ ดโอกาสให้คู่สนทนาพูดบ้าง

37. ถึงบางพูดพูดดีเป็ นศรีศักดิ์


คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็ นคำชนิดใด (ตามลำดับ)
ก. คำกริยา / คำกริยา
ข. คำนาม / คำกริยา
ค. คำกริยา / คำวิเศษณ์
ง. คำนาม / คำวิเศษณ์
38. คำว่า ใคร ในข้อใดที่เป็ นคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ
ก. ฉันไม่อยู่ ไม่รู้ใครโทรมาหาเธอ
ข. จุ๊บแจง มากับใครน่ะ
ค. ใครลืมของ ยกมือขึ้น
ง. ใครๆ ก็ไม่รักผม
39. ข้อใดมีคำกริยาต่างจากข้ออื่น
ก. แม่ป้ อนข้าวลูก
ข. เธอทำอะไรอยู่
ค. เขาร้องไห้อย่างหนัก
ง. ฉันใส่เสื้อตัวใหญ่
40. ประโยคในข้อใดมีคำสันธาน
ก. ฉันซื้อเสื้อสีขาวและสีฟ้ า
ข. แม่ทำกับข้าวอยู่ในครัว
ค. เธอจะไปไหน
ง. เอ๊ะ ! ใครมา

41. ลุงนอนกรนดังคร่อกๆ
14
คร่อกๆ เป็ นคำชนิดใด
ก. คำบุพบท ข. คำกริยา
ค. คำสันทาน ง. คำวิเศษณ์
42. พระสงฆ์_____________เช้าในอุโบสถ
ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง
ก. จำวัด ข. ทำวัตร
ค. นมัสการ ง. นิมนต์
43. เขารับประทานอาหารอยู่ในห้องครัว
รับประทานอาหาร จัดอยู่ในภาษาระดับใด
ก. ภาษากึ่งแบบแผน
ข. ภาษาแบบแผน
ค. ภาษาสแลง
ง. ภาษาปาก
44. ข้าวปุ้ น ตรงกับภาษาถิ่นกลางว่าอย่างไร
ก. ขนมจีน ข. ข้าวเหนียว
ค. ก๋วยเตี๋ยว ง. ข้าวสวย
45. ชาญมีความกังวลใจเรื่องลูก เพราะต้องเคี่ยวเข็ญให้เรียนหนังสือ
จากประโยคที่กำหนด มีคำภาษาเขมรกี่คำ
ก. 1 คำ ข. 2 คำ
ค. 3 คำ ง. 4 คำ
46. ประโยคในข้อใดมีคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
ก. เกษตรกรเลี้ยงโคกระบือ
ข. พ่อซื้อตั๋วชมภาพยนตร์
ค. พี่อ่านนิทานเรื่องเจ้าหญิงนิทรา
ง. น้องยืนชมวิวอยู่กับคุณแม่ที่ชายทะเล
47. ประโยคในข้อใดเป็ นประโยค 3 ส่วน
ก. ป้ าชอบดูละคร
ข. พี่ยิ้มอย่างมีความสุข
ค. น้องหัวเราะเสียงดัง
ง. นกนางนวลบินเหนือทะเล
48. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
ก. มะลิมีสีขาวแต่ดาวเรืองมีสีเหลือง
ข. นิทานเรื่องนี้มีตัวละครมาก
ค. ฉันและพี่ชอบกินองุ่น
ง. เขาตากฝนจึงไม่สบาย

49. เป็ นมนุษย์เป็ นได้เพราะ_________ เหมือนหนึ่ง________มีดีที่แววขน


ควรเติมคำใด จึงจะเป็ นบทร้อยกรองที่ถูกต้องและได้ใจความ

ก. ใจรัก / นก ข. ใจอ่อน / กา
ค. ใจดี / ไก่ ง. ใจสูง / ยูง
50. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
15
ก. แสดงความเชื่อของชาวบ้าน
ข. เล่ากันมาแบบปากต่อปาก
ค. มีโครงเรื่องซับซ้อน
ง. ดำเนินเรื่องง่ายๆ



สำหรับครู

ชุดที่ 1 : ครูอ่านข้อความต่อไปนี้ให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถาม ข้อ 28-31

การทำมาหากินเป็ นการสำคัญมากของคนเรา เป็ นการที่คนควรจะต้องคิดต้องทำโดย


ละเอียดไม่ให้พลาดพลั้ง เพราะเป็ นหลักแห่งการที่จะตั้งตัว ตั้งวงศ์ตระกูล เป็ นการที่จะ
ต้องทำด้วยความรู้ ความฉลาด เหตุฉะนั้นทุกคนเกิดมาจึงควรต้องลงทุนลงแรงใช้เวลา
เล่าเรียนศิลปะวิทยาในเวลาที่ยังมีอายุน้อย เพื่อให้ได้ความรู้ไว้เป็ นทุนสำหรับทำมาหากิน
เมื่อมีอายุสมควรที่จะทำ จึงมีคำเตือนมาแต่โบราณว่า “เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสิน
เมื่อใหญ่”

จาก นายเมืองพบขุมทรัพย์ ของ พลเมืองดี

ชุดที่ 2 : ครูอ่านข้อความต่อไปนี้ให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถาม ข้อ 29-32

ถึง ผู้จัดการสวนปาล์ม
เราต้องการขอความร่วมมือมายังบริษัท โดยเราจำเป็ นต้องใช้เงินห้าแสนบาท เงินนี้
เราจะเอาเพียงครั้งเดียว แล้วช่วยคุ้มครองตลอด ให้ใช้รถเครื่องผูกผ้าแดงนำเงินไปที่สะพาน
คลองเว้า เวลาห้าโมงเย็นพรุ่งนี้ ให้ไปคนเดียว ห้ามบอกตำรวจ ถ้าขัดขืนจะไม่รับรอง
ความปลอดภัยของสวน วันนี้ให้รถแทรกเตอร์ทุกคัน รถไถทุกคันหยุดทำงานจนกว่า
จะจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว
จาก เรา
ผู้คุ้มครอง
จากเรื่อง ตะกวดกับคบผุ ของ นิคม รายวา

16
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1

1. ข 2. ก 3. ง 4. ค 5. ก
6. ก 7. ง 8. ค 9. ข 10. ค
11. ง 12. ข 13. ง 14. ก 15. ข
16. ค 17. ค 18. ง 19. ก 20. ข
21. ง 22. ง 23. ก 24. ก 25. ค
26. ก 27. ง 28. ข 29. ง 30. ก
31. ค 32. ง 33. ข 34. ก 35. ง
36. ข 37. ข 38. ข 39. ก 40. ค
41. ง 42. ก 43. ข 44. ก 45. ค
46. ข 47. ง 48. ข 49. ก 50. ข

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2

1. ข 2. ค 3. ก 4. ง 5. ค
6. ก 7. ง 8. ข 9. ง 10. ก
11. ค 12. ง 13. ข 14. ค 15. ง
16. ก 17. ง 18. ค 19. ข 20. ก
21. ข 22. ง 23. ข 24. ก 25. ง
26. ง 27. ข 28. ก 29. ค 30. ง
31. ข 32. ค 33. ง 34. ก 35. ง
36. ก 37. ข 38. ง 39. ค 40. ก
41. ง 42. ข 43. ข 44. ก 45. ค
46. ง 47. ก 48. ข 49. ง 50. ค

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1
เฉลยอย่างละเอียด
17
1. ตอบ ข คำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว ออกเสียงควบกล้ำ เป็ นคำควบกล้ำแท้
ข้อ ข. มีคำควบกล้ำแท้ คือ กรอบ
ส่วนข้อ ก. สระ สรง อินทรีย์ เป็ นคำควบไม่แท้
ข้อ ค. เสร็จ เป็ นคำควบไม่แท้
ข้อ ง. ทรง เป็ นคำควบไม่แท้
2. ตอบ ก ข้อ ก. มีคำอักษรนำ 2 คำ คือ หมด หมอง
ข้อ ข. มีคำอักษรนำ 1 คำ คือ อร่าม
ข้อ ค. มีคำอักษรนำ 1 คำ คือ ขมิ้น
ข้อ ง. มีคำอักษรนำ 1 คำ คือ เศวตร
3. ตอบ ง พราหมณ์ อ่านว่า พราม ตัวการ์รันต์ คือ ห_ณ์
4. ตอบ ค ควรใช้เครื่องหมายอัญประกาศ “ ” คร่อมคำที่ต้องการเน้น คือ พรรณทิวา
มีชื่อเล่นว่า “จอย”
5. ตอบ ก การอ่านอักษรย่อต้องอ่านคำเต็ม คือ อ่านว่า พ่อ – อ่าน – หนัง – สือ – พิม –
เด – ลิ – นิว
6. ตอบ ก การอ่านวัน เดือน ปี แบบไทย จะอ่านชื่อวัน อ่านเดือน อ่านข้างขึ้นหรือข้างแรม
แล้วจึงอ่านชื่อปี ซึ่งเลข ๒ แทนวันจันทร์ เลข ๕ อยู่บนเครื่องหมาย ฯ หมายถึง
ขึ้น ๕ ค่ำ เลข ๑ แทนเดือนที่ ๑ หรือเดือนอ้าย อ่านได้ว่า วันจันทร์ เดือนอ้าย
ขึ้นห้าค่ำ ปี เถาะ
7. ตอบ ง ขวานผ่าซาก หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กิริยาพูด) ข้อ ง. ใช้ว่า ...
พูดจา
ขวานผ่าซาก ... จึงถูกต้อง
8. ตอบ ค จากคำประพันธ์ตรงกับสำนวน ปากเป็ นเอก เลขเป็ นโท หมายถึง การพูดจาเป็ นเรื่อง
สำคัญที่คนเราควรพูดให้ดี
9. ตอบ ข จากคำตอบที่กำหนด สามารถเรียงตามพจนานุกรมได้ ดังนี้ ทนาย ทรัพย์ ทะเบียน
ทุจริต
10. ตอบ ค มรกต รางวัล ฤทัย ลำดับ เรียงลำดับถูกต้องตามพจนานุกรม
11. ตอบ ง รุตล้อเลียนจอย แสดงว่า รุตไม่ให้เกียรติจอย ซึ่งเป็ นการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสม
และไม่เป็ นไปตามข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน
12. ตอบ ข เมื่ออ่านข้อควรปฏิบัติในการใช้สถานที่สาธารณะแล้ว ควรทำความเข้าใจข้อเขียนก่อน
เป็ นอันดับแรก แล้วจึงปฏิบัติตามข้อเขียน

13. ตอบ ง ในพิพิธภัณฑ์มักจะพบ สัญลักษณ์ มากที่สุด ซึ่ง


หมายถึง ห้ามสัมผัส
สิ่งของต่างๆ
ส่วนข้อ ก. เป็ นสัญลักษณ์อาเซียน
ข้อ ข. เป็ นสัญลักษณ์ห้ามเลี้ยวขวา
ข้อ ค. เป็ นสัญลักษณ์ห้ามรถจักรยานยนต์ผ่านเส้นทางนี้
14. ตอบ ก จากแผนภูมิ นักเรียนที่ชอบรับประทานราดหน้า มีจำนวน 5 คน น้อยกว่านักเรียน
ที่ชอบรับประทานเย็นตาโฟ ซึ่งมีจำนวน 7 คน

15. ตอบ ข หนังสือที่ดีที่ควรเลือกอ่าน คือ หนังสือที่ให้ความรู้ที่เป็ นประโยชน์ บอกแหล่งที่มา


ของข้อมูล เนื้อหามีความน่าเชื่อถือ และเนื้อหาไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
18
16. ตอบ ค การอ่านหนังสือในห้องสมุดไม่ควรอ่านเสียงดัง เพราะจะเป็ นการรบกวนผู้อื่น
17. ตอบ ค การคัดลายมือที่ถูกต้องและสวยงาม ควรเขียนตัวหนังสือสูงเท่ากัน เว้นช่องไฟ
ระหว่างตัวอักษรให้เท่าๆ กัน และเขียนด้วยลายมือที่สวยงาม
18. ตอบ ง น้ำไฟมีน้อย ร่วมใจใช้สอยอย่างประหยัด เป็ นคำขวัญ ส่วน ข้อ ก. เป็ นสำนวน
ข้อ ข. เป็ นโฆษณา ข้อ ค. เป็ นฉลากยา
19. ตอบ ก การเขียนอวยพรผู้ใหญ่ ควรอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้อ่านนับถือ และใช้ถ้อยคำที่
เหมาะสม
20. ตอบ ข เรื่อง สถานที่สำคัญในชุมชน เป็ นบทความ จึงควรเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
แบบจัดกลุ่ม
21. ตอบ ง การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง จะทำให้เรียงลำดับเนื้อเรื่องที่จะเขียนได้อย่างเป็ น
ขั้นตอน
22. ตอบ ง จากข้อความที่กำหนด ควรเป็ นส่วนสรุปของเรียงความ เพราะเป็ นการสรุปความ
เรื่องการทำความดี
23. ตอบ ก การเขียนย่อความ จะเขียนบอกที่มาของหนังสือที่แบบของย่อความ จึงไม่จำเป็ น
ต้องเขียนที่มาลงในเนื้อความอีก
24. ตอบ ก การเขียนจดหมายส่วนตัว เป็ นการเขียนจดหมายเพื่อสื่อสารกับเพื่อนหรือญาติพี่น้อง
ส่วน ข้อ ค. เป็ นการเขียนจดหมายลาครู ข้อ ข. และ ง. เป็ นการเขียนจดหมายกิจธุระ
คือ จดหมายที่เขียนเพื่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อกิจธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง
25. ตอบ ค ในการกรอกแบบรายการ หากเขียนผิดควรลบให้สะอาดแล้วจึงเขียนใหม่
26. ตอบ ก การเขียนเรื่องตามจินตนาการเป็ นการเขียนเรื่องจากความคิดและจินตนาการของ
ผู้เขียน ซึ่งการเขียนสารคดีเป็ นการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นจากความเป็ นจริง ไม่ใช่
จากจินตนาการ
27. ตอบ ง ในการเขียนทุกครั้ง หากนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ประกอบงานเขียน ควรบอก
แหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง เพื่อเป็ นมารยาทในการเขียน
28. ตอบ ข จากข้อความที่ครูอ่าน ผู้เขียนมีเจตนาเพื่อสั่งสอน ซึ่งทราบได้จากข้อความ “...คนควร
จะต้องคิดทำโดยละเอียด ไม่ให้พลาดพลั้ง...”
29. ตอบ ง ข้อความที่ครูอ่าน เหมาะสำหรับคนทุกคน
30. ตอบ ก จากข้อความที่ครูอ่าน เมื่อเราเป็ นผู้ใหญ่ เราต้องใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาในการทำงาน
เพื่อหาเลี้ยงชีพ
31. ตอบ ค จากข้อความที่ครูอ่าน คนเราควรทำมาหากินเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
32. ตอบ ง ข้อ ง. เป็ นคำขวัญ ที่ใช้ข้อความที่เป็ นข้อเท็จจริง
ส่วนข้อ ก. ข. และ ค. เป็ นคำโฆษณา ที่อาจใช้ข้อความเกินจริงเพื่อดึงดูดความสนใจ
33. ตอบ ข การพูดรายงาน ควรพูดตามเวลาที่กำหนด ไม่ควรพูดเกินเวลาที่กำหนด
34. ตอบ ก ในการโต้วาที ต้องใช้การพูดโน้มน้าวเป็ นส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้ฟังคล้อยตาม
35. ตอบ ง พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
การปฏิบัติตนตามสำนวนนี้จัดว่ามีมารยาทในการพูด คือ ฟังผู้ที่พูดด้วย และหาก
การพูดจะทำให้เกิดปัญหาก็ควรเงียบไม่โต้ตอบ
ส่วน ข้อ ก. หมายถึง พูดขวางๆ ให้การสนทนาออกนอกเรื่อง
ข้อ ข. หมายถึง ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้
ข้อ ค. หมายถึง พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย
36. ตอบ ข นิดา เป็ นคำนามวิสามัญ คือ เป็ นคำที่ใช้เรียกเป็ นชื่อเฉพาะของบุคคล ซึ่งนิดา
เป็ นกรรมของประโยค
19
37. ตอบ ข ไปรับ ทำการบ้าน เสร็จ ไปซื้อ กลับบ้าน เป็ นคำกริยาทุกคำ
ส่วน ข้อ ก. ที่ เป็ นคำวิเศษณ์ เมื่อ เป็ นคำนาม ก่อน เป็ นคำวิเศษณ์
ข้อ ค. เมื่อ เป็ นคำนาม จึง เป็ นคำสันธาน
ข้อ ง. จึง เป็ นคำสันธาน ก่อน เป็ นคำวิเศษณ์
38. ตอบ ข ควรเติม พอ...ก็ เป็ น พอคุณครูเดินเข้ามาในห้อง นักเรียนก็เลิกคุยกัน
39. ตอบ ก จากประโยคที่กำหนด คำวิเศษณ์คือคำว่า ทั้งหลาย ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เรา
40. ตอบ ค บ้านหลังนี้ใหญ่โตมโหฬารมาก ไม่มีคำอุทาน
ส่วน ข้อ ก. มือไม้ เป็ นคำอุทานเสริมบท
ข้อ ข. อ้าว ! เป็ นคำอุทานบอกอาการ
ข้อ ง. ไปวัดไปวา เป็ นคำอุทานเสริมบท
41. ตอบ ง การให้เงินกับพระสงฆ์ที่ถูกต้องใช้ว่า ถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์
42. ตอบ ก การเขียนใบสมัครศึกษาต่อต้องใช้ภาษาแบบแผน ส่วนข้อ ข. ค. ง. ใช้ภาษา
กึ่งแบบแผน
43. ตอบ ข เฮ็ดหยัง หมายถึง ทำอะไร อ้าย หมายถึง พี่ชาย คิดฮอด หมายถึง คิดถึง
หลายๆ หมายถึง มากๆ ซึ่งคำทั้งหมดนี้เป็ นคำภาษาถิ่นอีสาน
44. ตอบ ก ภรรยาคุณอาไปตรวจครรภ์ทุกเดือน มีคำภาษาต่างประเทศ 4 คำ คือ ภรรยา (ภาษา
สันสกฤต) คุณ (ภาษาบาลี สันสกฤต) ตรวจ (ภาษาเขมร) ครรภ์ (ภาษาสันสกฤต)
ข้อ ข. มี 2 คำ คือ ควาญ (ภาษาเขมร) สถาน (ภาษาบาลี สันสกฤต)
ข้อ ค. มี 2 คำ คือ กำเนิด (ภาษาเขมร) ทารก (ภาษาบาลี สันสกฤต)
ข้อ ง. มี 2 คำ คือ กีฬา (ภาษาบาลี สันสกฤต) ฟุตบอล (ภาษาอังกฤษ)
45. ตอบ ค ข้อศอก เศร้า เป็ นคำไทยแท้
ส่วน ก. จุฬา เป็ นภาษาบาลี ศาลา เป็ นภาษาบาลี สันสกฤต
ข. เต้าหู้ เป็ นภาษาจีน ปัญญา เป็ นภาษาบาลี
ง. สลัด เป็ นภาษาอังกฤษ ภาษา เป็ นภาษาบาลี สันสกฤต
46. ตอบ ข น้องร้องไห้เสียงดัง เป็ นประโยค 2 ส่วน คือ ประโยคที่มีประธานและกริยา
ส่วน ข้อ ก. ค. ง. เป็ นประโยค 3 ส่วน คือ ประโยคที่มีประธาน กริยา และกรรม
47. ตอบ ง แม่ให้ของขวัญลูกที่สอบได้ที่หนึ่ง เป็ นประโยคความซ้อน โดยมีคำว่า ที่
เป็ นคำเชื่อม ส่วน ข้อ ก. ข. ค. เป็ นประโยคความรวม
48. ตอบ ข ควรเรียงลำดับเป็ น
คบเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา
เหมือนมีน้ำจืดนิดหน่อยด้อยราคา ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล
จึงจะถูกต้อง
49. ตอบ ก จากประโยคที่กำหนด แสดงให้เห็นว่า น้องชายซนมากเพราะไม่เคยอยู่เฉย
จึงควรเติมคำว่า ซนเหมือนลิง

50. ตอบ ข นิทานพื้นบ้าน จะเล่ากันแบบปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกเรื่องราวเป็ นลายลักษณ์อักษร


มีโครงเรื่องง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และแสดงถึงความเชื่อของชาวบ้าน


เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2
เฉลยอย่างละเอียด
20
1. ตอบ ข นกอินทรีโผลงโฉบปลาในสระน้ำอย่างรวดเร็ว มีคำควบกล้ำ 3 คำ คือ อินทรี ปลา สระ
ส่วน ข้อ ก. มีคำควบกล้ำ 2 คำ คือ ทรัพย์ แคลน
ข้อ ค. มีคำควบกล้ำ 2 คำ คือ ความ ทราย
ข้อ ง. มีคำควบกล้ำ 2 คำ คือ เศรษฐี สร้อย
2. ตอบ ค จากประโยคที่กำหนด มีคำอักษรนำ 7 คำ คือ เหลือง อร่าม ขนาด ใหญ่ ตลาด
หนึ่ง หวี
3. ตอบ ก ควรเติมคำว่า ภาพยนตร์ / หุ่นยนต์ เพราะเขียนสะกดการันต์ถูกต้อง
4. ตอบ ง การอ่านคำที่มีเครื่องหมาย ฯ กำกับอยู่หลังคำ ต้องอ่านให้เต็มคำ ดังนี้
เขา – ไป – กรุง – เทบ – มะ – หา – นะ – คอน – เมื่อ – เช้า – นี้
5. ตอบ ค การอ่านอักษรย่อ ต้องอ่านคำเต็มของอักษรย่อนั้น ๆ ดังนี้

14 ก.พ. อ่านว่า สิบ – สี่ – กุม – พา – พัน

6. ตอบ ก จากข้อความ วันจันทร์ แทนด้วย ๒ แรมเจ็ดค่ำ ต้องเขียนเลข ๗ อยู่ใต้เครื่องหมาย ฯ


เดือนแปด แทนด้วย ๘ ดังนี้ ๒ ฯ ๘ ปี มะเส็ง

7. ตอบ ง ปอกกล้วยเข้าปาก เป็ นสำนวน หมายถึง ง่าย, สะดวก
8. ตอบ ข บทเพลงที่กำหนดให้ เป็ นเพลงที่ให้ข้อคิดเตือนสติ และทำให้เกิดความจรรโลงใจ
จึงเป็ นการใช้โวหารประเภทเทศนาโวหาร
9. ตอบ ง พรรณนาโวหาร เป็ นโวหารที่ให้ความแจ่มแจ้ง สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไป
เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์คล้อยตาม
ซึ่งข้อ ง. พรรณนาลักษณะของเขาอย่างละเอียด
10. ตอบ ก การค้นหาความหมายของคำจากพจนานุกรม ต้องดูพยัญชนะต้นของคำเป็ นสิ่งแรก
แล้วจึงดูรูปสระ และตัวสะกด ซึ่งหากเป็ นคำที่มีพยัญชนะต้น และสะกดการันต์
เหมือนกันจึงจะดูลำดับตามวรรณยุกต์
11. ตอบ ค คำว่า ครุศาสตร์ อยู่ก่อนคำว่า คิมหันต์
12. ตอบ ง การใช้บริการห้องสมุด ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ควรแต่งกายตามสบาย
เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติสถานที่
13. ตอบ ข เมื่ออ่านข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันในสังคมแล้ว ควรทำความเข้าใจข้อเขียนที่อ่าน
แล้วปฏิบัติตาม หากไม่เข้าใจควรสอบถามจากผู้รู้ แต่ไม่ควรทำเฉยๆ
14. ตอบ ค สัญลักษณ์ที่กำหนด คือ สัญลักษณ์ห้องน้ำสตรี จึงมักอยู่บริเวณห้องน้ำ
15. ตอบ ง จากแผนที่ที่กำหนดไม่ได้กล่าวถึงภูเขาในจังหวัดชุมพร
16. ตอบ ก บันทึกประจำวันเป็ นการเขียนบันทึกซึ่งถือเป็ นเรื่องส่วนตัว ผู้อื่นไม่ควรอ่าน
เพราะถือว่าไม่มีมารยาท เนื่องจากละเมิดสิทธิของผู้เขียนบันทึก
17. ตอบ ง หากอ่านหนังสือไม่จบ แล้วต้องการอ่านอีกในภายหลัง ควรใช้ที่คั่นหนังสือคั่นไว้
หนังสือจะได้ไม่เกิดความเสียหาย
18. ตอบ ค ในการคัดลายมือ ควรเขียนเว้นระยะช่องไฟให้เหมาะสม คือ เว้นระยะระหว่าง
ตัวอักษรพอประมาณเท่าๆ กันทุกตัว

19. ตอบ ข การเขียนสื่อสาร เป็ นการเขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด และความรู้สึก เพื่อให้


ความรู้ ความเข้าใจ ได้แก่ การเขียนคำขวัญ การเขียนคำอวยพร และการเขียน
21
ประกาศ
20. ตอบ ก การเขียนประกาศ ควรเขียนรายละเอียดของเรื่องที่จะประกาศให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่าน
เข้าใจได้ ซึ่งข้อ ก. บอกรายละเอียดและวันเวลาไว้อย่างชัดเจน
ส่วนข้อ ข. ค. และ ง. ไม่ระบุวันเวลาในการจัดงาน
21. ตอบ ข การผจญภัยของเจ้าชายรองเท้าบู้ต น่าจะเป็ นการเขียนเรื่องสั้นหรือนิทาน จึงควรเขียน
แผนภาพโครงเรื่องแบบเหตุการณ์
22. ตอบ ง แผนภาพโครงเรื่องแบบจัดความคิดเป็ นหมวดหมู่ เหมาะกับการเขียนสารคดีหรือ
ข้อเท็จจริงต่างๆ จากการวิเคราะห์ชื่อเรื่อง นกเพนกวินจักรพรรดิ น่าจะเป็ นสารคดี
ส่วน ข้อ ก. ข. ค. เป็ นเรื่องสั้นและนิทานสำหรับเด็ก
23. ตอบ ข ในการเขียนเรียงความ นิยมใช้สำนวน สุภาษิตปิ ดท้ายเป็ นบทสรุป
24. ตอบ ก หลักสำคัญที่สุดในการเขียนย่อความ คือ ต้องรักษาสาระสำคัญของเรื่องเดิมไว้เสมอ
25. ตอบ ง การเขียนจดหมายหาพี่ ควรใช้คำขึ้นต้นว่า เรียนคุณพี่ที่เคารพ
26. ตอบ ง ในการกรอกแบบรายการ ควรกรอกข้อมูลด้วยตนเอง แล้วจึงเซ็นชื่อกำกับ
27. ตอบ ข การเขียนเรื่องตามจินตนาการเป็ นการเขียนเรื่องตามความคิดและจินตนาการของ
ผู้เขียน ไม่ใช่การคัดลอกเรื่องที่ชอบมาใช้ในงานเขียน
28. ตอบ ก การนำเรื่องที่ตนเองคิดมาเขียนเป็ นข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นเชื่อ จัดเป็ นการหลอกลวงผู้อื่น
จึงไม่มีมารยาทในการเขียน

29. ตอบ ค จากข้อความที่ครูอ่าน มีเจตนาเพื่อข่มขู่ จากข้อความ “...ห้ามบอกตำรวจ ถ้าขัดขืน


จะไม่รับรองความปลอดภัย...”
30. ตอบ ง จากข้อความที่ครูอ่าน ใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า เรา หมายถึง ผู้ข่มขู่

31. ตอบ ข จากข้อความที่ครูอ่าน เงื่อนไขที่ผู้ข่มขู่หรือผู้คุ้มครองบอก คือ “...พรุ่งนี้ให้ไปคนเดียว


ห้ามบอกตำรวจ...” ผู้จัดการจึงต้องมาคนเดียว
32. ตอบ ค จากข้อความที่ครูอ่าน สะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่ง
33. ตอบ ง จากข้อความ เป็ นการโฆษณารองเท้า โดยดูจากข้อความ “...ร่วมเดินทาง...”
34. ตอบ ก หากพูดรายงานเกินกว่าเวลาที่กำหนด ควรรีบสรุปจบ แล้วจัดพิมพ์เอกสารเนื้อหา
ที่พูดรายงานแจกให้ผู้ฟังในภายหลัง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาของเรื่องที่รายงาน
35. ตอบ ง การพูดโน้มน้าวใจ เป็ นการพูดให้ผู้ฟังคล้อยตาม ได้แก่ การโต้วาที การพูดรณรงค์
ในเรื่องต่างๆ การพูดหาเสียง
36. ตอบ ก ในการพูดควรพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ ไพเราะ เหมาะสม จึงจะจัดว่ามีมารยาท
ในการพูด
37. ตอบ ข บางพูด เป็ นชื่อสถานที่แห่งหนึ่ง เป็ นคำนาม พูด หมายถึง กริยาที่เปล่งเสียงออกมา
เป็ นถ้อยคำ เป็ นคำกริยา
38. ตอบ ง จากประโยค ใครๆ ก็ไม่รักผม เป็ นคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ ส่วน ข้อ ก. – ค.
เป็ นคำสรรพนามถาม
39. ตอบ ค ร้องไห้ เป็ นคำกริยาอกรรม คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมตามหลังก็ได้ใจความ
ส่วน ข้อ ก. ป้ อน ข้อ ข. ทำ ข้อ ง. ใส่ เป็ นคำกริยาสกรรม คือ คำกริยาที่ต้องมี
กรรมตามหลังจึงจะได้ใจความ
40. ตอบ ก และ เป็ นคำสันธาน เชื่อมคำว่า สีขาว และสีฟ้ า
41. ตอบ ง คร่อกๆ เป็ นคำวิเศษณ์ขยายคำว่า ดัง
42. ตอบ ข ควรเติมคำว่า ทำวัตร หมายถึง การสวดมนต์
22
43. ตอบ ข
รับประทาน จัดอยู่ในภาษาแบบแผน
44. ตอบ ก
ข้าวปุ้ น เป็ นคำภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ขนมจีน
45. ตอบ ค
จากประโยคที่กำหนด มีคำภาษาเขมร 3 คำ คือ ชาญ กังวล เข็ญ
46. ตอบ ง
วิว เป็ นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า view หมายถึง ภาพทิวทัศน์
47. ตอบ ก
ป้ าชอบดูละคร เป็ นประโยค 3 ส่วน คือ ป้ า เป็ นประธาน
ชอบดู เป็ นบทกริยา ละครหลังข่าว เป็ นบทกรรม
ส่วน ข้อ ข. – ง. เป็ นประโยค 2 ส่วน
48. ตอบ ข นิทานเรื่องนี้มีตัวละครมาก เป็ นประโยคความเดียว
49. ตอบ ง ควรเติมคำว่า ใจสูง / ยูง จึงจะเป็ นบทร้อยกรองที่ถูกต้อง
50. ตอบ ค นิทานพื้นบ้าน จะมีโครงเรื่องง่ายๆ ไม่ซับซ้อน



23

You might also like