You are on page 1of 28

ประเทศสหรัฐเม็กซิโก

สภาพโดยทั่วไปของประเทศสหรัฐเม็กซิโก

เม็กซิโกเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือติดกับชายแดนทางตอนใต้ของประเทศหรัฐ
อเมริกา เม็กซิโกมีพื้นที่ 1.9 ล้านตารางกิโลเมตร ประชากร 105 ล้านคน สภาพภูมิประเทศทางภาคเหนือ
เป็นทะเลทรายและภูเขา ส่วนทางภาคใต้เป็นป่ าไม้เขตร้อนชื้น ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของประเทศมี
ภูเขาขนาบทั้ง 2 ด้าน ได้แก่เทือกเขา Sierra Madre Oriental ทางฝั่งตะวันออก และเทือกเขา Sierra Madre
Occidental ทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ตอนกลางของประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบสูง
ประเทศเม็กซิโกอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ อาทิ น้ำมันดิบที่มีมากเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของโลก
สามารถผลิตได้วันละ 3.8 ล้านบาร์เรล และมีแร่เงินที่ผลิตได้เป็นอันดับที่ 2 ของโลก
พื้นที่การเกษตรแบ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกราว 20% ใช้สำหรับการเลี้ยงสัตว์ราว
38% และเป็นป่ าไม้ราว 28%

การปกครอง
ประเทศเม็กซิโกปกครองแบบสาธารณรัฐโดยมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็น Chief of State
และเป็น Head of Government ทุกๆ 6 ปี นอกจากนี้ยังมีสภาสูงซึ่งมีการเลือกตั้งทุกๆ 6 ปี เช่นกัน และสภา
ล่างที่มีการเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี

North Region

Center Region

Mexico City Region


Northwest
Region Peninsula Region

East Region

West Region
1

Southwest Region
การแบ่งเขตการปกครองของเม็กซิโกแบ่งเป็น 31 มลรัฐและ 1 เขตการปกครอง โดยสามารถแบ่ง
เป็นภูมิภาคได้ 8 ส่วนที่สำคัญได้แก่ Mexico city Region มีประชากร 22 ล้านคน, Eastern Region มี 17
ล้านคน, Northern Region มี 14 ล้านคน และ Western Region มี 12.2 ล้านคน

ประวัติศาสตร์ของประเทศ
ประเทศเม็กซิโกแต่เดิมปกครองโดยชนเผ่าอินเดียนแดง ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยประเทศ สเปน
ในช่วงที่สเปนแสวงหาอาณานิคมในปี ค.ศ. 1521 และได้ยึดครองเม็กซิโกยาวนาน 300 ปี จนประชาชนได้
ต่อสู้จนได้อิสรภาพในปี ค.ศ. 1810

ประชากร
ประเทศเม็กซิโกมีประชากรราว 105 ล้านคน ซึ่งนับว่ามากเป็นอันดับ 11 ของโลก จำแนกเป็น
สัดส่วนของประชากรเชื้อสายเมสติโซ(ซึ่งเป็นเชื้อสายอินเดียนแดงผสมกับชาวสเปน) ราว 60%, คน
อินเดียนแดง 30%, คนขาว 6% และที่เหลือเป็นชาวเอเชียและแอฟริกา

ศาสนา
เม็กซิโกได้รับอิทธิพลการนับถือศาสนาจากประเทศสเปน คนส่วนใหญ่จึงนับถือศาสนาโรมัน
คาธอลิก โดยมีสัดส่วนถึง 80 – 90% ของประชากรทั้งหมด

ภาษา
คนเม็กซิโกมีภาษาท้องถิ่นที่ใช้หลายภาษา แต่ภาษาทางราชการเป็นภาษาสเปน

สภาพเศรษฐกิจ
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของม็กซิโกใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก และใหญ่เป็น
อันดับสองในกลุ่มลาตินอเมริการองจากบราซิล โดยตัวเลข GDP ในปี 2005 มีมูลค่า 693 พันล้านเหรียญ
สหรัฐ(ไทยมีตัวเลขมูลค่า GDP ราว 163 พันล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นราว 40% ของ GDP ทั้งหมดของลา
ตินอเมริการวมกัน
การเปรียบเทียบ GDP กับประเทศที่สำคัญในลาตินอเมริกาในปี 2006(2549)
Country GDP (Billions USD)

2
Brazil 1,067
Mexico 840
Argentina 212
Venezuela 181
Chile 145
Colombia 135
Peru 93
Source : IMF
จากสถิติจะพบว่า เม็กซิโกมีตัวเลข GDP เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
จากรายงานของ IMF ได้แสดงให้เห็นตัวเลข GDP ของเม็กซิโกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

Year 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007


GDP(Bil US$) 580.7 621.8 648.6 638.7 683.4 767.6 840 897.3

กราฟแสดงมูลค่า GDP ของเม็กซิโกช่วงปี 2000 ถึง 2007

หมายเหตุ : แหล่งข้อมูลจาก IMF

3
ทั้งนี้สัดส่วน GDP ของเม็กซิโกมาจากภาคการบริโภค 26.5% ,ภาคธุรกิจบริการ 20%, ภาค
อุตสาหกรรม 17.8%, ภาคการเงินและประกันภัย 12.8%, ภาคการขนส่ง 10.3%, ภาคการก่อสร้าง 5.4%,
ภาคการเกษตร 3.8% และภาคเหมืองแร่ 1.4%

ด้านการส่งออกและนำเข้า เม็กซิโกถือเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเป็นอันดับหนึ่ง
ของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาที่มีอยู่ด้วยกัน 20 ประเทศ (Argentina, Bolivia, Brazil, Chile, Columbia,
Costa Rica, Cuba, Dominican Republic, Ecuador, El Salvador, Guatemala, Haiti, Honduras, Mexico,
Nicaragua, Panama, Paraguay, Peru, Venezuela, Uruguay) โดยในปี 2006 เม็กซิโกส่งออกเป็นมูลค่า 248
พันล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วน 37% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของกลุ่ม และนำเข้าเป็นมูลค่า 253
พันล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วน 44% ของมูลค่าการนำเข้ารวมของกลุ่มลาตินอเมริกา

- GDP per Capita ในปี 2006 รายได้ต่อหัวต่อปี ของชาวเม็กซิกันมีราว 8,066 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้
จากรายงานของ IMF ได้แสดงรายได้ต่อหัวของชาวเม็กซิกันไว้ ดังนี้

Year 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007


GDP per capita (US$) 5,928.4 6,257.5 6,433.6 6,244.3 6,697.5 7,446.8 8,066.2 8,529.6

กราฟแสดงมูลค่า GDP per Capita ของชาวเม็กซิกันช่วงปี 2000 ถึง 2007

4
การเปรียบเทียบ GDP per capita กับประเทศที่สำคัญในลาตินอเมริกาในปี 2006(2549)
Country GDP per capita (USD)
Chile 8,864
Mexico 8,066
Venezuela 6,734
Brazil 5,716
Argentina 5,458
Peru 3,374
Colombia 2,887
Source : IMF
จากสถิติจะพบว่า เม็กซิโกมีตัวเลข GDP per capita เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
หมายเหตุ : ประเทศไทยมี GDP ในปี 2006 มูลค่า 206 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ GDP per capita เท่ากับ
3,136 เหรียญสหรัฐ

- GDP Growth อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเม็กซิโกคาดว่าจะอยู่ในอัตราเฉลี่ย


3.2% ต่อปี โดยเฉลี่ยไปถึงปี 2009 ทั้งนี้เป็นไปตามการคาดการณ์ของ World Bank
Year 1985 - 95 1995 - 01 2004 20052005 - 09
GDP Growth (%) 2.6 3.4 4.1 3.0 3.2

กราฟแสดงอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ของประเทศเม็กซิโก

5
หมายเหตุ : แหล่งข้อมูลจาก World Bank

- Inflation อัตราเงินเฟ้ อที่แสดงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเม็กซิโกอยู่ในอัตราราว


4% ในปี 2007 โดยมีความเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้ อ ดังนี้
Year 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007
Inflation (%) 9.5 6.4 5.0 4.5 4.7 4.0 3.6 3.9

กราฟแสดงอัตราเงินเฟ้ อของประเทศเม็กซิโก

หมายเหตุ : แหล่งข้อมูลจาก IMF

6
สินค้าเกษตรสำคัญของเม็กซิโกได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ผักและผลไม้

สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญของเม็กซิโก ได้แก่ เหล็ก น้ำมัน(อันดับ 5 ของโลก) ยานยนต์(อันดับ 9 ของโลก) อี


เล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป

การท่องเที่ยว เม็กซิโกมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศที่ปี ค.ศ. 2004 ราว 20 ล้านคน โดยจากสถิติ


ของ World Tourism Organization ระบุจำนวนนักท่องเที่ยวเรียงตามลำดับ ดังนี้
อันดับ ประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2004 (ล้านคน)
1 France 75.1
2 Spain 52.4
3 U.S. 46.1
4 China 41.8
5 Italy 37.1
7 Mexico 20.6
13 Malaysia 15.7
19 Thailand 11.7

การกระจายรายได้
ค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเม็กซิโกอยู่ที่ 50.50 เปโซ (ประมาณ 5.5 เหรียญสหรัฐ) ต่อวัน โดยจากการ
ประมาณการคาดว่า 10% ของประชากรเป็นผู้มีรายได้สูงในระดับผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
ราชการซึ่งมีรายได้ 38% ของรายได้ประชาชาติ ราว 30% เป็นผู้มีรายได้ปานกลางระดับผู้ปฏิบัติงานในสำ
นักงานฯ มีรายได้ 36% ของรายได้ประชาชาติ และประชากรส่วนใหญ่ 60% อยู่ในระดับผู้มีรายได้น้อย
ได้แก่ กรรมกรซึ่งมีรายได้รวมกัน 26% รายได้ประชาชาติ ทั้งนี้จากรายงานของ World Bank คนที่มีฐานะ
Extreme Poverty ของเม็กซิโกมีราว 17.6%
อนึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของเม็กซิโกค่อนข้างยากจนเพราะมีอาชีพเกษตรกรรมเป็น
หลัก ส่วนประชากรทางตอนเหนือมีรายได้ต่อหัวสูงกว่าเพราะมีอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก
ทั้งนี้เนื่องมาจากพรมแดนด้านเหนือติดกับสหรัฐฯ ทำให้มีการลงทุน FDI จากต่างชาติจำนวนมากตาม
โครงการ Maquila เพื่อผลิตสินค้าและส่งออกไปสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมือง Tijuana ในมลรัฐ Baja
California และเมือง Juarez ในมลรัฐ Chihuahua Foreign Direct Investment in Mexico

30,000

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 25,000

20,000
Millions of Dollars

15,000

10,000

5,000

7
0
2000 2001 2002 2003 2004 2005

Source: INEGI. Mexico


เม็กซิโกนับว่า ประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก โดยในปี ค.ศ.
2004, 2005 และ 2006 มีเงินลงทุนโดยตรงเข้าประเทศรวม 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ,18 พันล้านเหรียญ
สหรัฐ และ 18.9 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ตามลำดับ ประเทศที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
เนเธอร์แลนด์ และสเปน โดยสหรัฐฯ เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดคิดเป็น 64% ของยอดการลงทุนทั้งหมด
ในปี ค.ศ. 2006 ทั้งนี้นับเป็นผลสำเร็จของการลงนามในความตกลง NAFTA ในปี 1994 และการให้สิทธิ
พิเศษด้านการลงทุน Maquila ของเม็กซิโกที่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติได้เป็นจำนวนมาก
อนึ่ง จากตัวเลขการลงทุนโดยตรง (FDI) ของ UNCTAD ในปี 2005 ภูมิภาคแถบลาตินอเมริกามี
ยอดเงินลงทุนโดยตรงสูงถึง 103 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเม็กซิโกมียอดเงินลงทุน FDI สูงสุดถึง 18.1
พันล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 17% ของยอดรวมเงินลงทุนในภูมิภาค อันดับสอง ได้แก่ บราซิลมียอดเงิน
ลงทุน FDI 15.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอันดับ 3 ได้แก่ โคลัมเบียมียอด FDI จำนวน 10.2 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ (ทั้งนี้ในปี เดียวกันไทยมียอด FDI จากต่างประเทศราว 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

นโยบายการลงทุน
ประเทศเม็กซิโกมีโครงการส่งเสริมการลงทุนแยกเป็น 2 โครงการ ได้แก่
- โครงการ Maquila เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออก โดยหากผู้ลงทุนผลิตสินค้าเพื่อการส่ง
ออกคิดเป็นเพียง 10% ของผลผลิตของโรงงานก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ โดยเมื่อเข้าโครงการ
แล้วผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และเครื่องจักรเหมือนเป็น Bonded warehouse
- โครงการ PROSEC เป็นการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรม 22 สาขาเพื่อให้เม็กซิโก
สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยโรงงานสามารถนำเข้าวัตถุดิบในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีนำเข้าปก
ติได้จำนวนกว่า 16,000 รายการ
- ทั้งนี้ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศทั้งโดยการ
เปิ ดเสรีทางการค้า การลงนามความตกลงด้านภาษีซ้อน และการปกป้ องด้านการลงทุนกับต่างประเทศ ซึ่ง
เม็กซิโกได้เปิ ดให้มีการลงทุนโดยเสรีในเกือบทุกแขนง ยกเว้นบางอุตสาหกรรม และบางธุรกิจบริการที่
เป็นสมบัติของรัฐ อาทิ
 กิจการที่สงวนไว้สำหรับรัฐบาล อาทิ Petroleum, Petrochemical, Electricity, Nuclear

Energy, Radioactive, Postal Service, Control for ports and airport

8
 กิจการที่จำกัดสำหรับคนเม็กซิกันเท่านั้น อาทิ Gasoline Retailing, Tourist Transport
Service, Television, Radio, Development Bank
 กิจการที่จำกัดสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติไม่เกิน 49% อาทิ Domestic Air
Transportation, Air Taxi Service, Insurance Companies, General Deposit Warehouse,
Financial Leasing Company, Manufacturer of Fire Arms, Printing Newspaper, Fresh
Water Fishing, Sea Water Fishing, Port Service, Shipping Company, Private
Education, Construction of Pipe line for Petroleum
 อนึ่งในด้านการถือครองที่ดิน ต่างชาติมีสิทธิในการถือครองที่ดินได้ ยกเว้นไว้เฉพาะ
พื้นที่ในรัศมี 100 กม. จากพรมแดน และรัศมี 50 กม. จากพื้นที่ที่ติดกับชายทะเล จะไม่
อนุญาตให้ต่างชาติถือครอง

เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศเม็กซิโก
ได้แก่ กรุงเม็กซิโกมีประชากรราว 19 ล้านคน, เมืองมอลเตอเร่ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมมี
ประชากรราว 4 ล้านคน, เมืองกัวดาลาฮาร่ามีประชากร 4 ล้านคน และเมือง Puebla ทั้งนี้ทั้ง 4 เมืองเมื่อ
รวมมูลค่า GDP กันแล้วคิดเป็น 50% ของทั้งประเทศ

นโยบายการค้าของเม็กซิโก
ประเทศเม็กซิโกได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1980 และปี 1994 ทั้งนี้เนื่องมาจากสินค้าส่ง
ออกของประเทศพึ่งพาน้ำมันดิบเป็นสำคัญ ทำให้เม็กซิโกต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายมาเปิ ดประเทศมากขึ้น
เพื่อหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยกำหนดนโยบายเปิ ดประเทศ ได้แก่
- เม็กซิโกได้เข้าร่วม GATT ในปี 1986
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาทิ การขนส่ง การคมนาคม ฯลฯ
- การทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศเม็กซิโกมีระบบเศรษฐกิจแบบ
เปิ ด โดยมีการทำความตกลงการค้าเสรีจำนวน 12 ฉบับครอบคลุม 43 ประเทศ ได้แก่ ชิลี
NAFTA สหภาพยุโรป เวเนซูเอล่า โคลัมเบีย คอสตาริก้า โบลีเวีย นิการากัว อิสลาเอล กลุ่ม
EFTA กลุ่ม North Triangle (กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส) อุรุกวัย และญี่ปุ่ น
- การเข้าร่วมทำความตกลงเป็นสมาชิกในระดับพหุภาคี อาทิ WTO , APEC, OECD, FTAA

ความสำเร็จของความตกลงการค้าเสรี
จากความตกลง NAFTA ในปี 1994 ทำให้เม็กซิโกสามารถขยายตลาดเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้
ในอัตราเฉลี่ยปี ละ 15 – 20% ส่งผลให้เม็กซิโกมีสัดส่วนตลาดในสหรัฐอเมริกาแซงหน้าประเทศญี่ปุ่ นได้
โดยในปี 2006 มีสัดส่วนตลาดในสหรัฐฯ 10.69% รองจากแคนาดา และจีน

9
นอกจากนี้หากมองในด้านที่ตั้งของประเทศ ทำให้เม็กซิโกเป็นแหล่งที่น่าลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งเข้าไปยัง
สหรัฐฯ และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ความตกลงการค้าเสรีส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรป และประเทศใน
แถบลาตินอเมริกาได้ด้วย
การค้าระหว่างประเทศของเม็กซิโก
การส่งออกนับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเม็กซิโก โดยเม็กซิโกได้มีความ
ตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ราว 40 ประเทศ อาทิ กลุ่ม NAFTA, EU, EFTA ประเทศญี่ปุ่ น และอีก
หลายประเทศในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้
อนึ่ง ระบบเศรษฐกิจของเม็กซิโกนับเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิ ด โดยธนาคารของต่างชาติหลาย
แห่งได้เข้ามาเปิ ดกิจการในเม็กซิโก อาทิ ธนาคาร Scotia Bank ของแคนาดา, ธนาคาร Banamex ของกลุ่ม
Citicorp สหรัฐฯ, ธนาคาร Bancomer ของสเปน, ธนาคาร Santander ของสเปน และธนาคาร HSBC ของ
อังกฤษ
เม็กซิโกเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนให้มีความคืบหน้าในการเจรจารอบ Doha Development
Agenda ของ WTO ให้มีผลในทางปฏิบัติ และยังคงเน้นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเป็น
นโยบายสำคัญของประเทศ โดยเห็นได้จากการใช้นโยบายเปิ ดการค้าเสรีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่าง
ประเทศ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 1997 เม็กซิโกได้เน้นนโยบายเปิ ดเสรีในกิจการการเงินและและการสื่อสาร แม้ว่ายัง
ยังคงสงวนกิจการบางประเภทไม่ให้ต่างชาติถือครองกิจการเกิน 49% ก็ตาม
การค้าของเม็กซิโกพึ่งพาอาศัยสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมากโดยเห็นได้จากสัดส่วนตลาดส่งออกไป
ยังสหรัฐฯ สูงถึง 89% ทั้งนี้มีผลมาจากความตกลงการค้าเสรี NAFTA อย่างไรก็ตามปัญหาพิพาททางการ
ค้าระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกก็ยังคงมีอยู่ อาทิ เม็กซิโกกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ทุ่มตลาดสินค้าเนื้อวัว แอป
เปิ้ ล ข้าว ลวดเหล็ก หมู ท่อเหล็ก และใช้มาตรการ Safeguards ในสินค้าน่องไก่จากสหรัฐ เป็นต้น
การส่งออก
- มูลค่าการส่งออก ประเทศเม็กซิโกสามารถขยายการส่งออกได้อย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี จาก
ตัวเลขของ World Trade Atlas แสดงมูลค่าการส่งออกของประเทศที่ขยายตัว ดังนี้
Year 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006
Export Value (Bil US$) 110.2 117.4 136.7 166.4 158.4 160.7 164.8 189.2 213.9 250.4

10
กราฟแสดงมูลค่าการส่งออกของประเทศเม็กซิโก

ข้อมูล : World Trade Atlas


- ตลาดส่งออกที่สำคัญของเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 2006 เม็กซิโกส่งออกเป็นมูลค่า 250.4 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ มีสัดส่วน 84% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาเป็น
ตลาดแคนาดามีสัดส่วน 2% และ สเปน 1.3%
Country USA Canada Spain Germany Columbia Others
Export Value (Bil US$) 212.28 5.18 3.28 2.97 2.13 24.62

11
กราฟแสดงตลาดส่งออกที่สำคัญของเม็กซิโก

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์ จำพวกจอ TV, น้ำมันดิบ, ยานยนต์และชิ้น


ส่วน, คอมพิวเตอร์, เลนส์, เฟอร์นิเจอร์, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผักผลไม้สด

การนำเข้า
- มูลค่าการนำเข้า ประเทศเม็กซิโกมีการขยายตัวของการนำเข้าอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา
จากตัวเลขของ World Trade Atlas แสดงมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัว ดังนี้
Year 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006
Import Value (Bil US$) 109.8 125.2 142.0 174.4 168.3 168.6 170.5 197.3 221.4 256.2

12
กราฟแสดงมูลค่าการนำเข้าของประเทศเม็กซิโก

- แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 2006 เม็กซิโกนำเข้าเป็นมูลค่า 256.2 พันล้านเหรียญ


สหรัฐ โดยแหล่งสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ มีสัดส่วน 50% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาเป็นจีนมี
สัดส่วน 9.5% ญี่ปุ่ น 5.9%, เกาหลีใต้ 4.1%, เยอรมันนี 3.6% และแคนาดา 2.8%
Country USA China Japan Korea Germany Canada Others
Import Value (Bil US$) 130.45 24.44 15.29 10.61 9.43 7.37 58.61

กราฟแสดงแหล่งนำเข้าที่สำคัญของเม็กซิโก

13
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้ า ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ชิ้น
ส่วนยานยนต์ ภาชนะพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรม และน้ำมันที่กลั่นแล้ว
การค้าระหว่างไทยกับลาตินอเมริกา
ในปี 2006 ไทยนำเข้าจากประเทศในลาตินอเมริกาเป็นมูลค่า 1,887 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้า
จากบราซิล 873 ล้านฯ, อาเยนติน่า 264 ล้านฯ, ชิลี 233 ล้านฯ และเม็กซิโก 230 ล้านฯ ในทางกลับกันไทย
ส่งออกไปลาตินอเมริกาเป็นมูลค่า 2,970 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกไปเม็กซิโก 641 ล้านฯ, บราซิล
627 ล้านฯ, อาเยนติน่า 357 ล้านฯ, ชิลี 262 ล้านฯ
การค้าระหว่างไทยกับ NAFTA
ในปี 2006 ไทยส่งออกไปนาฟต้าเป็นมูลค่า 21 พันล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 16.5% ของมูลค่าส่ง
ออกทั้งหมดของไทย โดยมีอันดับของกลุ่มตลาดต่างๆ ดังนี้
ตลาด ASEAN ซึ่งเป็นตลาดอันดับหนึ่งของไทยมีสัดส่วน 20.8%
ตลาดนาฟต้ามีสัดส่วนเป็น 16.5%
ตลาดสหภาพยุโรปมีสัดส่วนเป็น 13.8%
ตลาดญี่ปุ่ นมีสัดส่วนเป็น 12.6%
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ตลาดนาฟต้าเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับ 2 ของไทย โดยมีตลาด
สหรัฐฯ เป็นตลาดอันดับ 1 ของไทยมีสัดส่วน 90% แคนาดา 5.7% และเม็กซิโก 2.9%
การค้าระหว่างไทยกับเม็กซิโก
ในช่วงปี ค.ศ. 2006 ไทยเป็นฝ่ ายได้เปรียบดุลการค้ากับประเทศเม็กซิโกเป็นมูลค่า 410 ล้าน
เหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปเม็กซิโกเป็นมูลค่า 637 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยนำเข้าจากเม็กซิโกเป็น
มูลค่า 226 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้การส่งออกของไทยไปเม็กซิโกมีการขยายตัว 36% ในขณะที่เม็กซิโกส่ง
ออกมาไทยมีการขยายตัว 13%

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังตลาดเม็กซิโก
ได้แก่ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ 31%, ชิ้นส่วนเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ 10%, ชิ้นส่วนยานยนต์
4%, เสื้อผ้าสำเร็จรูป 3%, แผงสวิทช์ไฟฟ้ า 3%, ผลิตภัณฑ์พลาสติก 3%, เครื่องเล่นวีดีโอ 3%, หม้อแปลง
ฟ้ า 2.7%, แผงวงจรไฟฟ้ า 2.5% และแผงวงจรพิมพ์ 2.4%

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเม็กซิโก
ได้แก่ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ 25%, เครื่องจักรไฟฟ้ า 18%, ไดโอดและทรานซิสเตอร์ 10%, แผง
วงจรไฟฟ้ า 9.6%, เครื่องจักรและส่วนประกอบ 8.7%, ด้ายและเส้นใย 2.8%, เภสัชกรรม 2.6%, ชิ้นส่วน
ยานยนต์ 2.5%, ผลิตภัณฑ์พลาสติก 2.2% และเคมีภัณฑ์ 2.1%

14
สินค้าอาหารที่เม็กซิโกนำเข้าจากทั่วโลก
เม็กซิโกเป็นประเทศหนึ่งที่ผลิตสินค้าอาหารจำพวกธัญพืชและเมล็ดพืชน้ำมันได้ไม่เพียงพอกับ
ความต้องการใช้ภายในประเทศ ในปี 2006 เม็กซิโกนำเข้าอาหารเป็นมูลค่ารวม 15.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
แยกเป็น
ตารางแสดงการนำเข้าสินค้าอาหารของเม็กซิโกในปี 2006
H.S. Description Value (Mil US$) Main Products Import from
02 Meat 2,555 Beef, Poultry, Pork US 83%, Canada 8.3%, Chile 5%
03 Fish and seafood 302 Fillet, Frozen fish, China 32%, Chile 12%, Vietnam
Crustaceans 11%
04 Dairy, Egg, Honey 1,030 Milk, Cheese, other milk US 54%, NZ 20%, Chile 7%
products
05 Other of Animal Origin 149 Guts, Other US 80%, Canada 10%, China 2%
07 Edible Vegetables 300 Legum. Onion, Potato US 82%, Canada 8%, Argentina
4%
08 Edible Fruit 687 Apples, Grapes, Nut US 76%, Chile 17%, Argentina
2%
09 Coffee, Tea 98 Cinnamon, Pepper, Sri Lanka 37%, China 21%, US
Coffee 11%
10 Cereal 2,424 Corn, Wheat, Sorghum US 87%, Canada 11%, Australia
0.5%
11 Milling Product 623 Cereal Grain, Malt, US 89%, Canada 4%, Germany
Starches 1%
12 Misc. Grain 1,834 Soybeans, Cloza seeds, US 70%, Canada 18%, China 2%
Sowing seed
13 Lac, Gums, resins 97 Pectates, Lac, gums US 46%, France 9%, Denmark
7%
14 Other Vegetable 12 Others, Plaiting Peru 47%, China 9%, US 9%
Bamboos
15 Fats and Oils 755 Bovine, Plam oil, US 56%, Costa Rica 8%,
Soybean oil Honduras 6%
16 Prepared Meat, Fish 259 Meat, Sausage, Fish and US 59%, China 11%, Ecuador
Caviar 5%
17 Sugars 494 Cane/Beet, other sugars, US 72%, Columbia 7%,
Confection Guatemala 3%

15
18 Cocoa 284 Chocolate food, Powder, US 50%, Canada 11%, Brazil
Beans 9%
19 Baking related 460 Malt, Bread, Pastry, US 51%, Ireland 15%, Argentina
Food Prep from cereal 4%
20 Preserved Food 521 Other Fruit, Prepared US 66%, Chile 12% Canada 5%
Vegetable,
21 Miscellaneous Food 1,047 Food Preparation, Soup, US 83%, Uruguay 3%, Chile 2%
Other
22 Beverages 540 Ethynal Alcohol, Wine, US 34%, Spain 17%, France 9%
Beer

23 Food waste, Animal 793 Soybean residue, US 91%, France 2%, UK 1%


Feed Animal feed
24 Tobacco 149 Other Tobacco, Cigars Canada 49%, Brazil 18%, US
8%

เปรียบเทียบสินค้าหมวดอาหารที่เม็กซิโกนำเข้าและส่งออกกับทั่วโลกในปี 2006

H.S. Description Value of Mexico Value of Mexico Balance


Export Import
02 Meat 351 2,555 (2,204)
03 Fish and seafood 618 302 316
04 Dairy, Egg, Honey 117 1,030 (913)
05 Other of Animal 15 149 (134)
Origin
07 Edible Vegetables 3,694 300 3,394
08 Edible Fruit 1,793 687 1,106
09 Coffee, Tea 364 98 266
10 Cereal 121 2,424 (2,303)
11 Milling Product 44 623 (579)
12 Misc. Grain 79 1,834 (1,755)
13 Lac, Gums, resins 78 97 (19)
14 Other Vegetable 24 12 12
15 Fats and Oils 91 755 (664)

16
16 Prepared Meat, 130 259 (129)
Fish
17 Sugars 857 494 363
18 Cocoa 156 284 (128)
19 Baking related 595 460 135
20 Preserved Food 573 521 52
21 Miscellaneous Food 618 1,047 (429)
22 Beverages 2,851 540 2,311
23 Food waste, Animal 93 793 (700)
Feed
24 Tobacco 176 149 27
รวม 13,438 15,413 (1,975)
หมายเหตุ : แหล่งข้อมูลจาก World Trade Atlas
จากตัวเลขการส่งออกและนำเข้าสินค้าในหมวดอาหารของเม็กซิโกจะพบว่า เม็กซิโกมีการนำเข้า
มากกว่าส่งออกโดยในปี 2006 มีมูลค่านำเข้าสูงถึง 15.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกเป็นมูลค่า 13.4
ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหมวดสินค้าที่ต้องนำเข้ามากกว่าส่งออก ได้แก่ Meat, Daily, Cereal, Grain, Oil,
Ready-to-eat

สินค้าอาหารที่เม็กซิโกนำเข้าจากไทย
ในปี 2006 เม็กซิโกนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยเป็นมูลค่ารวม 19.19 ล้านเหรียญสหรัฐ และใน
ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2007 (ม.ค. – ก.ค. 07) เม็กซิโกนำเข้าสินค้าหมวดอาหารจากไทยเป็นมูลค่า 16.87
ล้านเหรียญสหรัฐ มีรายละเอียดดังนี้
H.S. code Description 2006 Jan – July 2007
Value (Mil US$) Value (Mil US$)
02 Meat - -
03 Fish and seafood 0.69 0.74
04 Dairy, Egg, Honey - 0.01
05 Other of Animal Origin 0.07 -
07 Edible Vegetables 0.04 -
08 Edible Fruit 0.02 0.07
09 Coffee, Tea - 0.05
10 Cereal 0.06 0.02
11 Milling Product 0.86 0.96
12 Misc. Grain 0.01 0.04

17
13 Lac, Gums, resins - -
14 Other Vegetable 0.01 0.02
15 Fats and Oils 0.16 0.11
16 Prepared Meat, Fish 5.97 6.02
17 Sugars - 0.01
18 Cocoa 1.01 0.89
19 Baking related - 0.41
20 Preserved Food 10.28 7.37
21 Miscellaneous Food 0.02 -
22 Beverages - 0.15
23 Food waste, Animal - -
Feed
24 Tobacco - -
รวม 19.19 16.87
หมายเหตุ : แหล่งข้อมูลจาก World Trade Atlas
อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าส่งออกของไทยสามารถกระจายไปในหลายหมวดสินค้าอาหารมาก
ขึ้น และมีแนวโน้มว่าในปี 2007 ไทยจะส่งออกได้มากกว่าปี ที่ผ่านมา

กฎระเบียบในการนำเข้าอาหารของเม็กซิโก
สินค้าอาหารที่นำเข้ามายังประเทศเม็กซิโก ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของ
ทางการเม็กซิโก โดยเฉพาะข้อกำหนดของกระทรวงเกษตร(SAGARPA) และกระทรวงสาธารณะสุขของ
เม็กซิโก โดยมีหลักฐานเอกสารมาแสดงให้ครบถ้วนประกอบการนำเข้า โดยทั่วไปจะเน้นเอกสารต่อไปนี้
- Free Sale Certificate ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขของไทย
- Certificate of Origin (C/O)
- ป้ ายสลากสินค้าเป็นภาษาสเปนตามมาตรฐาน NOM - 051-SCFI-1994 ได้แก่
 ระบุ Nutrition facts

 ระบุ Ingredient

 ขนาดการรับประทาน Serving

 ส่วนผสมของสารปรุงแต่ง

 คำเตือนสำหรับผู้บริโภค

 ขนาดสินค้า อาทิ น้ำหนักสินค้า

 วันที่ผลิตและวันหมดอายุ

 Country of Origin อาทิ Made in…., Product of…….., Manufactured in…………

 สถานที่ติดต่อของผู้นำเข้า

18
 การหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดเกินจริง อาทิ genuineness, healthfulness, sanitation
 Product Lot Number

- Packing Lists
- Invoice ที่ต้องเน้น H.S. code ที่ถูกต้อง
- Certificate Analysis by private Lab of Manufacturer
 Biological Analysis (if needed)

 Sugar Content

ตัวอย่างประเภทสินค้าอาหารที่ต้องมีเงื่อนไขในการนำเข้า มีดังต่อไปนี้
Product H.S. code Import Duty( CIF) Requirement
Mixed dehydrated fruit 03134099 20% - NOM - 051-SCFI-1994
- SAGAPA Authorization (Phytosanitary
Certificate)
Condensed Milk 04029901 15% - NOM - 051-SCFI-1994
- Health Authorization (To authorize for
Human Comsumption)
- Packed for individual selling
Milk Chocolate with Nut 04049099 20% - SAGAPA Authorization (Phytosanitary
Certificate)
- Health Authorization (To authorize for
Human Comsumption)
Banana chips 08030001 20% - SAGAPA Authorization (Phytosanitary
Certificate)
- Limited import Quota
White Rice Vermicelli 10063001 20% - NOM - 051-SCFI-1994

Rice Cracker with seaweed 10063099 20% - NOM - 051-SCFI-1994


- SAGAPA Authorization (Phytosanitary
Certificate)
- Packed for individual selling
Rice Stick Biscuit 11023001 15% - NOM - 051-SCFI-1994
- SAGAPA Authorization (Phytosanitary
Certificate)
Crackers 11031999 10% - NOM - 051-SCFI-1994
- SAGAPA Authorization (Phytosanitary

19
Certificate)
Noodle 19021999 10% - NOM - 051-SCFI-1994
Tapioca & Lotus seed in 19030001 10% - NOM - 051-SCFI-1994
coconut milk
Cookies 19053101 10% NOM - 051-SCFI-1994
Note: the More sugar, the more tariff
Wuffer Coated with Vanilla 19053201 10% NOM - 051-SCFI-1994
Note: the More sugar, the more tariff
Biscuit Stick, Coffee cake 19059099 10% NOM - 051-SCFI-1994
and donuts Note: the More sugar, the more tariff
Canned Food 20019003 20% NOM - 051-SCFI-1994
Peanut coated Coconut 20081199 20% NOM - 051-SCFI-1994
Jam 20079999 20% - NOM - 051-SCFI-1994
- Health Authorization (To authorize for
Human Comsumption)
- Labeling requirement
a) merchandise description
b) Merchandise brand
c) Commercial product name
d) Conservation forms or Preparation (ex:
natural, dehydrated, frozen, and salted)
e) Preservation type
f) Weight in kg per can
g) Presentation(can, bottle, box, bag or
others)
h) Net content
i) Number pieces
j) Expired date
k) Declaration of sugar content expressed
in KG from the total product
Fruit Juices 20098001 20% NOM - 051-SCFI-1994
Required data of Individual Identification
a) merchandise description
b) Merchandise brand

20
c) Commercial product name
d) Conservation forms or Preparation (ex:
natural, dehydrated, frozen, and salted)
e) Preservation type
f) Weight in kg per can
g) Presentation(can, bottle, box, bag or
others)
h) Net content
i) Number pieces
j) Expired date
k) Declaration of sugar content expressed
in KG from the total product
Instand Coffee and tea 21011101 140.40% - NOM -051-SCFI-1994
- Limited import Quota
- Need sectorial import Census
Tea in Bottle (Ready to 21012010 20% - NOM -051-SCFI-1994
Drink) - VAT 15% except in case the product is
designed to the alimentary sector, or
those, which do not need and
transformation or additional
industrialization, are ingested by humans
and animals. Even the preparation by the
last consumer are cooked or combined by
other products designated for alimentary
purposes.
Sauces 21039099 20% NOM -051-SCFI-1994
NOM -139- SCFI- 1999
VAT 15%
VAT 15% except in case the product is
designed to the alimentary sector, or
those, which do not need and
transformation or additional
industrialization, are ingested by humans
and animals. Even the preparation by the

21
last consumer are cooked or combined by
other products designated for alimentary
purposes.
Instant soups (including 21041001 10% NOM -051-SCFI-1994
Noodles and Fried Rice) - Health Authorization (To authorize for
Human Comsumption)
- VAT 15% except in case the product is
designed to the alimentary sector, or
those, which do not need and
transformation or additional
industrialization, are ingested by humans
and animals. Even the preparation by the
last consumer are cooked or combined by
other products designated for alimentary
purposes.
Wine, spirit 22042103 20% - NOM – 142 – SSA1 – 1995
- It requires a quality certificate emitted
by the State Department of the export
country.
- Bottle can not be bigger than 0.750 Litre
- Must be label with the specification of
the harvest year and the registration brand
of the vineyard or the origin warehouse.
- It requires the description of the
importer on the specific industrial sector.
- Require data of individual identification
a) It must be written the complete
name of the product.
b) The name of the brand, sub-
brand, type or maturity
c) Year of harvest
d) Number of bottles and the
capacity
e) Folio number of the label of each

22
container
f) Production number
g) Gay Lussac Degrees proof
h) Alcoholic degree

Beer 22030001 20% - NOM – 142 – SSA1 – 1995


- Requires data of individual
identification
- Product code of each can or printed on
the bottle at the side
- Expired date
Jelly 35030001 10% - SAGAPA Authorization
- Health Authorization (To authorize for
Human Consumption)
หมายเหตุ
- NOM -051-SCFI-1994 เกี่ยวกับมาตรฐานป้ ายสลากสินค้า
- NOM -139- SCFI- 1999 เกี่ยวกับมาตรฐานป้ ายสลากของสินค้าอาหารที่มีส่วนผสมวนิลา
- NOM – 142 – SSA1 – 1995 เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และป้ าย
สลากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

พฤติกรรมด้านการบริโภคของคนเม็กซิกัน

1. คนเม็กซิกันนิยมรับประทานอาหารพื้นเมืองของคนอินเดียนแดงที่นิยมบริโภคข้าวโพด และ
ถั่ว โดยนำแผ่นแป้ งข้าวโพดเรียกว่า Tortilla มาห่อเนื้อต่างๆ และมะเขือเทศราดด้วยซอสพริก (Salsa) รับ
ประทานเป็นอาหารหลัก
2. ร้านอาหารต่างชาติที่เข้าไปเปิ ดกิจการจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารของอเมริกัน อาทิ
KFC, McDonald, Subway, Starbucks
3. นอกจากร้านอาหาร Fast Food เหล่านี้แล้วยังมีร้านอาหารที่ขาย Taco (แผ่น Tortilla ห่อเนื้อ
และเนยสด) ขายอยู่ตามข้างทางอยู่ทั่วไป
4. คนเม็กซิโกจะไม้เน้นอาหาร และอาหารค่ำ โดยเฉพาะอาหารค่ำหากรับประทานที่บ้านจะรับ
ประทานน้อยมาก แต่จะเน้นอาหารมื้อกลางวันที่จะรับประทานระหว่างเวลา 14:00 – 16:00 น.
5. แนวโน้มตลาดของผู้บริโภคชาวเม็กซิกันเริ่มสนใจ สินค้าอาหารที่เป็น Healthy Food มากขึ้น
ฉะนั้นแนวโน้มของอาหารที่สด สะอาดจะเป็นที่นิยมของผู้มีรายได้ปานกลางมากกว่าร้านอาหาร Fast
Food

23
นิสัยใจคอของคนเม็กซิกัน
จากรายงานของหนังสือของ American Chamber of Commerce สรุปนิสัยใจคอของคนเม็กซิกัน
ไว้ ดังนี้
- คนเม็กซิกันส่วนใหญ่เป็นคนมีน้ำใจ และยินดีเป็นมิตรสหาย
- การติดต่อทำธุรกิจกับคนเม็กซิกัน ต้องอาศัยการติดตามอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นฐานคน
เม็กซิกันไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่ชอบรู้จักกันอย่างสนิทใจก่อนที่จะทำธุรกิจร่วมกัน
- คนเม็กซิกันทั่วไปจะไม่ชอบการเผชิญหน้าในลักษณะการท้าทายอย่างตรงไปตรงมาเหมือน
อย่างคนอเมริกัน ฉะนั้นจึงไม่ควรจะบอกคนเม็กซิกันให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะเป็นเรื่อง
อ่อนไหวมากสำหรับคนเม็กซิกัน โดยหากจะขอให้คนเม็กซิกันทำสิ่งใดควรขออย่างสุภาพ
และอ่อนโยน
- คนเม็กซิกันจะมีความแตกต่างกันโดยคนทางตอนเหนือที่ติดกับประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็น
คนทำธุรกิจอย่างแบบคนอเมริกัน ในขณะที่คนทางใต้ซึ่งหมายถึงคนในกรุงเม็กซิโกด้วยจะ
เน้นความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและความคุ้นเคยมากกว่าเน้นด้านการค้าอย่างเดียว
- รูปแบบการบริหารองค์กรของธุรกิจเม็กซิกันยังคงเน้นให้คนตัดสินใจเพียงคนเดียวเหมือนใน
ระบบเถ้าแก่ มากกว่าการทำงานเป็นทีม
- การค้าขายกับคนเม็กซิกันหากพูดภาษาสเปนได้ จะช่วยให้คนเม็กซิกันไว้เนื้อเชื่อใจ และการ
ตกลงการค้าสะดวกยิ่งขึ้น
กล่าวโดยสรุปการทำธุรกิจกับคนเม็กซิกันต้องมีความอดทน ให้เวลาคนเม็กซิกันโดยติดตาม
ห่างๆ ไม่ควรบีบคั้นและผลักดันคนเม็กซิกันมากเกินไป แต่ควรใช้ความอ่อนโยนเข้าหา ซึ่งจะต่างจากคน
อเมริกัน เพราะคนเม็กซิกันไม่นิยมการเผชิญหน้าอย่างท้าทาย และปฏิเสธโดยตรง ในกรณีที่ถามว่า คน
เม็กซิกันส่วนใหญ่มีนิสัยคดโกงหรือไม่นั้น โดยปกติไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนคดโกงก็มีอยู่ทั่วไปไม่จำกัด
ว่าเป็นชาติใด แต่คนเม็กซิกันจะทำงานอย่างไม่เร่งรีบจนดูเหมือนว่าไม่สนใจทำธุรกิจด้วย

แนวทางการเจาะตลาดอาหารไทยเข้าไปยังประเทศเม็กซิโกของภาครัฐ
1. การจัด Instore Promotion
ในปี 2007 สำนักงานฯ มีกิจกรรม Instore Promotion สินค้าอาหารไทยร่วมกับห้างฯ Superama
จำนวน 50 สาขาช่วง 27 สิงหาคม – 15 กันายน 2550 และจะร่วมกับห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต Comercial
Mexicana จำนวน 98 สาขาช่วง 28 กันยายน – 14 ตุลาคม 2550 คาดว่า จะทำให้ชาวเม็กซิกันรู้จักอาหาร
ไทยมากขึ้น เพราะการทำ Insotre Promotion เป็นแนวทางหนึ่งที่จะแนะนำอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่
หลายได้เป็นอย่างดี
2. การเผยแพร่อาหารไทยในร้าน Chain Store

24
ที่ผ่านมาสำนักงานฯ ได้ติดต่อกับร้านอาหารของเม็กซิกันที่มี Chain จำนวนมากๆ อาทิ ร้าน Toks
มี 54 สาขา ร้าน Vips มี 235 สาขา เพื่อแนะนำอาหารไทยเข้าไว้ในเมนูหลักของร้าน แม้ว่าจะยังไม่ประสบ
ความสำเร็จนัก เนื่องจากร้านอาหารเหล่านั้นยังขาดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมโครงการ
3. การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารในเม็กซิโก
- ในปี 2006 และ 2007 สำนักงานฯ ได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาหาร 2 ครั้ง ได้แก่งาน
Alimentaria Mexico 2006 และ Alimentaria Mexico 2007 เพื่อแนะนำสินค้าอาหารไทย เครื่องแกง อาหาร
ไทย การแจกอาหารให้ทดรองชิม ซึ่งนับว่าได้มีส่วนกระตุ้นให้ผู้นำเข้าหันมารู้จัก และสนใจสินค้าอาหาร
ไทยมากขึ้น
4. การสนับสนุนการเข้าไปเปิ ดร้านอาหารไทยในกรุงเม็กซิโก
- ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยจำนวน 3 ร้านที่เปิ ดทำการโดยคนไทยในกรุงเม็กซิโก ได้แก่ ร้าน Thai
Gardens มีที่นั่งราว 30 โต๊ะ และร้าน Bangkok มีที่นั่งราว 10 โต๊ะ และร้าน Bangkok 2 ซึ่งเป็นร้านใน
Food Court
- ราคาอาหารสำหรับร้านอาหารระดับ High Class จะประมาณ 100 เปโซ (10 เหรียญสหรัฐ) ต่อ
จาน สำหรับร้านอาหารระดับกลางที่เป็น Chain ทั่วไปอย่างร้าน Toks หากเป็นอาหารเช้าจานละ 60 เปโซ,
อาหารกลางวันจานละ 80 – 100 เปโซ และอาหารเย็นจานละ 70 เปโซ
- สำหรับอาหาร Fast Food อย่าง McDonald จะประมาณ 60 เปโซต่อชุด

ขั้นตอนการเปิ ดร้านอาหารไทย
- การหาทำเลที่ตั้ง โดยต้องตรวจสอบ Zoning ว่า สามารถเปิ ดร้านอาหารได้หรือไม่ โดยทั่วไปค่า
เช่าร้านจะอยู่ในวงเงินราว 8,000 – 10,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง โดยสามารถพิจารณา
เป็นร้านที่ Stand Alone หรือตั้งอยู่ใน Food Court ก็ได้
- การจอดรถสะดวกหรือไม่ เนื่องจากสถานที่จอดรถในกรุงเม็กซิโกมีจำกัด แต่ก็สามารถใช้ระบบ
ฝากรถ Valet parking ได้
- ผู้ประกอบการสามารถเลือกลงทุนโดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อาทิ Limited Company
(Sociedad Anonima de Capital Variable ชื่อย่อ S.A. de C.V.), Limited Partnership (Sociedad de
Responsabilidad Limitada: ชื่อย่อ S. de R.L.) หรือดำเนินการในรูปบุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ต้องดำเนิน
การโดยผ่านสำนักงานกฎหมายท้องถิ่น
- การขึ้นทะเบียนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี โดยปกติภาษีเงินได้เก็บในอัตรา 28%
- การขออนุญาตเข้าเมือง ทางการเม็กซิโกกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำงานในเม็กซิโกต้อง
ขออนุญาตเข้าเมืองแบบ FM3 หรือ FM2 โดยกรณี FM3 (Non – immigrant) ใช้สำหรับต่างชาติที่เข้าไป
ทำงานและจะกลับประเทศของตน และสำหรับ FM2 (Immigrant) สำหรับต่างชาติที่เข้าไปทำงานใน
เม็กซิโกและประสงค์จะอาศัยอยู่ในเม็กซิโก
- การขออนุญาตนำพ่อครัวแม่ครัวติดตามเข้าไปทำงานสามารถกระทำได้ แต่จะต้องให้เหมาะสม
กับจำนวนขนาดการลงทุน

25
- วงเงินลงทุนนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดไว้ชัดเจน แต่ต้องเหมาะสมกับกิจการที่ดำเนินการโดยปัจจัย
ที่จะกำหนดผลสำเร็จของการเปิ ดร้านอาหาร ได้แก่
 เงินลงทุนต้องมีพอสมควร

 ทำเลที่ตั้งร้านอาหาร

 คุณภาพอาหารและรสชาติอาหาร

 การบริหารจัดการ ทั้งบุคลากร และวัตถุดิบ

 การตลาด

คนเม็กซิกันไม่นิยมทานอาหารนอกบ้านเวลาการคืนของวันทำงาน แต่จะนิยมรับประทานในวันพฤหัส
และวันศุกร์ มื้อกลางวันนับเป็นมื้อสำคัญของคนเม็กซิกัน

กลยุทธในการเข้าตลาดเม็กซิโก

1.) ด้านอาหาร
- การขายสินค้าผ่าน Agent ซึ่งลักษณะนี้เป็นการขายในลักษณะฝากขาย และให้ค่าตอบแทน
เป็นค่านายหน้าแก่ผู้ขาย
- การขายผ่าน Distributor เป็นการขายโดยผ่านผู้นำเข้ารายใหญ่ วิธีนี้ผู้นำเข้ามักจะขอ Credit
Term นานๆ แต่ข้อดีคือสามารถเข้าถึงตลาดได้กว้างขวางทั่วประเทศเม็กซิโก
- การขายผ่าน Importer ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำเข้ารายเล็ก ข้อดีคือผู้นำเข้าประเภทนี้จะดูแล
สินค้าอย่างใกล้ชิด และให้ผู้ส่งออกใช้ตรายี่ห้อของตนเองได้ แต่มักจะขอให้ผู้ส่งออกร่วมมือ
ออกค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด
- การขายให้ผู้ค้าปลีกที่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตโดยตรง มีแง่ดีคือขายได้จำนวนมาก แต่ผู้ค้า
ปลีกรายใหญ่เหล่านี้มักต้องการให้ผู้ขายมาดูแลด้านการค้า และต้องการให้มีตัวแทนภายใน
ประเทศ เพื่อดูแลการขายสินค้า หรือจะซื้อผ่าน Trading Firm รายใหญ่ที่มีสาขาทั่วโลกอย่าง
Li & Fung อนึ่งร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในเม็กซิโก ได้แก่ Wal-mart, Gigante, Comercial
Mexicana, Chedraui, Soriana และห้างสรรพสินค้าที่สำคัญในเม็กซิโก อาทิ Liverpool และ
Palacio de Hierro
- การขายผ่านร้านอาหาร Food Service อาทิ ร้านอาหารที่มี Chain Store จำนวนมาก อย่างเช่น
ร้าน Toks, ร้าน Vips และร้าน California
2.) ด้านร้านอาหาร
- ผู้ประกอบการต้องเข้าใจลักษณะพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเม็กซิโกที่นิยมรับประทานอาหาร
ต่างชาติเช่นกัน แต่กระนั้นก็ต้องปรับรสชาติให้ถูกกับรสนิยมคนเม็กซิกันที่นิยมอาหาร
รสชาติเปรี้ยว และเผ็ด แต่บางเมนูก็จะนิยมแบบยุโรป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทอาหาร
- คนเม็กซิกันไม่นิยมทานอาหารนอกบ้านเวลาการคืนของวันทำงาน แต่จะนิยมรับประทานใน
วันพฤหัสและวันศุกร์ และมื้อกลางวันซึ่งเป็นมื้อสำคัญของคนเม็กซิกัน ดังนั้นการวางกล
ยุทธการขายที่ดี จะช่วยให้กิจการร้านอาหารดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

26
- การจัดตกแต่งร้าน และรูปแบบของอาหารให้ดูมีราคาจะช่วยดึงดูดลูกค้าได้ดี เพราะในสายตา
ของคนเม็กซิกันนั้น อาหารไทยนับว่าเป็นอาหารที่อยู่ในตลาดระดับกลางถึงสูง

อุปสรรคทางการค้า
1. มาตราการทางภาษี ตั้งแต่ปี 1997 เม็กซิโกได้เน้นการใช้นโยบายภาษี MFN (Most Favorite Nations) ซึ่ง
อยู่ในอัตรา 10 – 35% โดยคิดจากราคา CIF เนื่องจากเม็กซิโกมีความตกลงทางการค้ากับหลายประเทศ
ทำให้ประเทศที่มีความตกลงทางการค้ามีข้อได้เปรียบประเทศนอกข้อตกลงอย่างไทย โดยไทยต้องเสีย
ภาษีในอัตรา 10 – 35% ในขณะที่ประเทศคู่แข่งเสียภาษีในอัตราเป็น 0
2. มาตรการที่มิใช่ภาษี
- การกำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม (NOM) มี 6,700 มาตรฐานแยกเป็นมาตรฐานบังคับ
700 มาตรฐาน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้ า ทั้งนี้ผู้นำเข้าต้องนำสินค้าไปทดสอบที่หน่วยงาน General Bureau of
Standards รับรองก่อน เมื่อผ่านการทดสอบแล้ว จึงจะอนุญาตให้นำเข้ามาได้ และมาตรฐานโดยสมัครใจ
6,000 มาตรฐานสินค้า ทั้งนี้ผู้นำเข้าจะต้องส่งตัวอย่างสินค้านำเข้าไปตรวจสอบมาตรฐานก่อน จึงจะ
อนุญาตให้นำเข้ามาได้
- เม็กซิโกยังคงมีมาตรการ Tariff Quota ในสินค้าเกษตรบางประเภท ซึ่งจะเปิ ดให้นำเข้าในกรณีที่
ผลผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับการบริโภค อาทิ การกำหนด Tariff rate Quota ในสินค้าจำพวก
ข้าวโพด น้ำตาลทราย ถั่ว น่องไก่ นมผง เป็นต้น
- การใช้มาตรด้านสุขอนามัย Sanitary and Phytosanitary โดยกำหนดให้มีเอกสารที่ระบุ
มาตรฐานสินค้าอาหารมาแสดงก่อนนำเข้ามายังเม็กซิโก
- การกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องมี Import Licencse ในสินค้าบางประเภทที่เป็นสินค้าอ่อนไหว อาทิ
เครื่องดื่มสุรา
- การกำหนดราคาขั้นต่ำสินค้าที่นำเข้า (Estimated Price) ซึ่งเม็กซิโกยังคงมีมาตรการนี้อยู่สำหรับ
สินค้าที่อาจมีการสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง อาทิ แอปเปิ้ ล ข้าว เบียร์ เหล้า ไม้ เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน ของ
เล่น เป็นต้น
- เม็กซิโกยังคงกำหนดให้มี Import Permit สำหรับสินค้าที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงของประเทศ
ต่อสาธารณสุข และเพื่อปกป้ องอุตสาหกรรมภายในประเทศ สินค้าที่ต้องการ Import Permit อาทิ
ปิ โตรเคมี รถยนต์ ยางรถยนต์ใช้แล้ว เครื่องจักร
- มาตรการ Anti-dumping สินค้าที่นำเข้าจากจีน สหรัฐอเมริกา
- การกำหนดมาตรฐานสินค้าการเกษตร อาทิ การนำเข้าข้าวจากไทยต้องมีการแสดงเอกสาร
Phytosanitary จากกรมวิชาการเกษตรที่ต้องระบุการรมควัน 2 ครั้งในการฆ่าแมลง
- การที่ต้องทำ Pest Risk Analysis ในผักผลไม้สดก่อนอนุญาตนำเข้า
- การระบุเอกสารแหล่งกำเนิดสินค้าเฉพาะบางประเทศ กล่าวคือเม็กซิโกต้องการป้ องกันการสวม
สิทธิของสินค้าที่อาจปลอมปนมาจากจีนที่กำลังถูกเรียกเก็บภาษี AD ดังนั้นจึงกำหนดให้สินค้าเสื้อผ้า ผ้า

27
ผืน และรองเท้าที่นำเข้ามาจากประเทศจำนวน 15 ประเทศรวมถึงไทย ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
แบบพิเศษ Annexo III มาแสดงประกอบการนำเข้า
- การติดป้ ายสลากสินค้าเป็นภาษาสเปนก่อนนำเข้าประเทศเม็กซิโก

ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
- ประเทศไทยและประเทศเม็กซิโกเริ่มเปิ ดความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ.1975 โดย
ไทยได้เปิ ดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศเม็กซิโกเมื่อปี ค.ศ.1978 และเม็กซิโกได้เปิ ดสถาน
เอกอัครราชทูตในไทยเมื่อปี ค.ศ. 1989

ความตกลงกับประเทศไทย
- ความตกลงร่วมมือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภานักธุรกิจเม็กซิโก (Mexican Business Council)
ปี ค.ศ. 1990
- ความตกลงยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการปี ค.ศ. 1999
- ความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัย Colima ปี ค.ศ. 2003
- ความตกลงร่วมมือการวัฒนธรรมและการศึกษาปี ค.ศ. 2003
- ข้อตกลง Agreed Minutes of Meeting between the Minister of Economy of Mexico and the Minister of
Commerce of Thailand เพื่อจัดตั้งคณะทำงานพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002
- ข้อตกลง Agreement of Cooperation between the Mexican Business Council for Foreign Trade,
Investment and Technology (COMCE) and the Federation of Thai Industries (FTI) เพื่อจัดตั้งคณะ
กรรมการร่วมมือทางธุรกิจ ปี ค.ศ. 2003

……………………………………………..
สคต.ณ กรุงเม็กซิโก
10 ก.ย. 50

28

You might also like