You are on page 1of 17

299

แผนการจัดการเรี ยนรู้ หน่ วยที่ 7


ชื่อวิชา กลศาสตร์วศิ วกรรม 1. สอนครั้งที่ 17
ชื่อหน่ วย แรงกระจาย ( ต่อ ) จานวน 3 ชั่วโมง
หัวเรื่อง
7.4 โมเมนต์ความเฉื่ อยพื้นที่
7.5 รัศมีไจเรชัน่

สาระสาคัญ
1. โมเมนต์ความเฉื่ อยพื้นที่คือโมเมนต์ของความเฉื่ อยของมวล (Mass moment of inertia or
moment of inertia of mass) ซึ่ งก็เป็ นปริ มาณที่ใช้ในการวัดความต้านทานเฉื่ อย อันเนื่องจากการ
หมุนของวัตถุมวล ด้วยความเร่ งเชิงมุม
2. รัศมีไจเรชัน่ คือการนาเอาค่าคงที่ 2 ค่า ของแต่ละหน้าตัดคือค่า l และ A มาหารแล้วหาราก
Ix
ที่สองจะได้ค่าที่มีมิติที่เป็ นความยาวที่คงที่เขียนเป็ นสมการได้ดงั นี้ rx 
A
3. ทฤษฎี แกนขนาน คื อค่ าโมเมนต์ค วามเฉื่ อยจะขึ้ นอยู่ก ับ แกนอ้างอิ ง ดังนั้นค่าโมเมนต์
ความเฉื่ อยของพื้นที่เดียวกันรอบแกนอ้างอิงที่ต่างกันจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่ค่าโมเมนต์ความเฉื่ อย
รอบแกนที่ผา่ นจุดเซนทรอยด์ของพื้นที่ (ซึ่ งเป็ นค่าคงที่) จะเป็ นค่าคงที่

สมรรถนะทีพ่ งึ ประสงค์ ( ความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริ ยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชี พ )


1. ผูเ้ รี ยนสามารถคานวณหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
2. ผูเ้ รี ยนสามารถคานวณหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยเชิงขั้วของพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
3. ผูเ้ รี ยนสามารถคานวณหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่โดยใช้ทฤษฎีแกนขนานได้
อย่างถูกต้อง
4. ผูเ้ รี ยนสามารถคานวณหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของรู ปผสมได้อย่างถูกต้อง
300

เนือ้ หาสาระ
7.4 โมเมนต์ ความเฉื่อยของพืน้ ที่ (Moments of Inertia of Area)
ในการศึกษาวิชากลศาสตร์ วิศวกรรม ตลอดจนวิชากลศาสตร์ วสั ดุหรื อกาลังวัสดุ ขนาด
และรู ปร่ างของหน้าตัดมีความสาคัญต่อการคานวณอย่างยิ่ง นอกจากขนาดของพื้นที่หน้าตัดแล้ว
คุณสมบัติอื่น ๆ ของพื้นที่ เช่ น จุดเซนทรอยด์ โมเมนต์ของพื้นที่ โมเมนต์ของความเฉื่ อยของ
พื้นที่ รัศมีไจเรชัน่ ล้วนเป็ นค่าคงที่ที่ตอ้ งใช้ในการคานวณค่าแรงเค้นดัด แรงเค้นเฉื อน และการ
โก่งของโครงสร้างทั้งสิ้ น
โดยทัว่ ไปคาว่า “โมเมนต์ของความเฉื่ อย” มักจะหมายถึง “โมเมนต์ของความเฉื่อยของ
มวล” (Mass moment of inertia or moment of inertia of mass) ซึ่ งก็คือปริ มาณที่ใช้ในการวัด
ความต้านทานเฉื่อย อันเนื่องจากการหมุนของวัตถุมวล dm ด้วยความเร่ งเชิงมุม

คงที่  รัศมีของการหมุน r
ดังนั้น แรงบนวัตถุท้ งั ก้อน
F   adm   (rαrα) , a  ความเร่ ง
โมเมนต์ของวัตถุรอบแกนหมุน
M  Fr   r(rα(rα
   r 2 dm
m

ค่า  r 2
dm เรี ยกว่า “โมเมนต์ของความเฉื่อยของมวล”
m y
A

x dA
r y
O
x

รู ปที่ 1
301

1.โมเมนต์ ของความเฉื่อยของพืน้ ที่ (Moment of inertia of area)


ปั ญหาทางวิศวกรรมมักจะเกี่ ยวข้องกับท่อนวัสดุ หรื อคานที่ ทาด้วยวัสดุ อย่างเดี ยวกัน
หรื อมีคุณสมบัติสม่าเสมอตลอด (Homogeneous) มีพ้ืนที่หน้าตัดความยาวสม่าเสมอตลอดความ
ยาว ดังนั้นค่า  r 2 dA หรื อ  x 2 dA ซึ่ งมีรูปแบบคล้ายกับ  r 2 dm จึงถูกเรี ยกว่า “โมเมนต์ของ
A A m

ความเฉื่ อยของพื้นที่” (Moment of inertia of area or area moment of inertia)


เราเรี ยกค่า  x 2 dA อีกชื่ อหนึ่ งว่า “โมเมนต์ที่สองของพื้นที่” (Second moment of area)
A

เพื่อความสะดวกในบทนี้จะใช้คาว่า “โมเมนต์ของความเฉื่อย”

แทนค าว่า “โมเมนต์ข องความเฉื่ อยของพื้ นที่ ” หรื อ “โมเมนต์ที่ ส องของพื้ นที่ ” ในกรณี ที่ ไ ม่
ต้องการให้เกิดความสับสน ควรจะต้องระบุให้ชดั เจนว่าเป็ นโมเมนต์ของความเฉื่ อยของ “พื้นที่”
หรื อ “ของมวล”
จากรู ปที่ 6.9
โมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ A รอบแกน x คือ
I x   y 2 dA .................... (6.1)
A

โมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ A รอบแกน y คือ


I y   x 2 dA .................... (6.1)
A

โมเมนต์ ของความเฉื่อยเชิงขั้วของพืน้ ที่ (Polar moment of inertia of area)


ในกรณี ที่ค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยรอบแกนที่ต้ งั ฉากกับพื้นที่ เช่น รอบแกน z ที่ผา่ นจุด
o ในรู ปที่ 6.1 เรี ยกว่า “โมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ (J o ) ”
J o   r 2 dA ................... (6.2)
A

จะเห็นว่า J o  r
2
dA   (x
2
 y 2 )dA
A A

 Iy  Ix ................ (6.3)
นัน่ คือ โมเมนต์ของความเฉื่ อยเชิงขั้ว = ผลบวกของโมเมนต์ความเฉื่อยรอบแกนฉาก (x และ y)
302

7.5 รัศมีไจเรชั่ น (Radius of gyration)


ในการเปรี ยบเทียบหน้าตัดรู ปร่ างต่าง ๆ ของท่อนวัสดุ นอกจากจะเปรี ยบเทียบขนาด
ของพื้นที่แล้วเราอาจเปรี ยบเทียบมิติทางด้านข้างของพื้นที่ที่เหมือนกัน เช่น ความกว้าง ความยาว
หรื อ รัศมีของวงกลม เป็ นต้น แต่ในกรณี ที่จะเปรี ยบเทียบสองหน้าตัดที่ไม่เหมือนกัน
เช่ น รู ปสามเหลี่ยมและรู ปหลายเหลี่ ยม เราไม่สามารถเปรี ยบเทียบมิติดา้ นข้างที่เหมือนกันหรื อ
ใกล้เคียงกันได้ เพื่อให้สามารถเปรี ยบเทียบกันได้จาเป็ นต้องเปรี ยบเทียบคุณสมบัติที่คงที่ของทั้ง
สองหน้าตัด
ในที่น้ ีถา้ นาเอาค่าคงที่ 2 ค่า ของแต่ละหน้าตัดคือค่า I และ A มาหารแล้วหารากที่สองจะ
ได้ค่าที่มีมิติที่เป็ นความยาวที่คงที่ เรี ยกว่า “รัศมีไจเรชัน่ ” (radius of gyration) ดังนี้
Ix
รัศมีไจเรชัน่ ของพื้นที่ A รอบแกน x คือ rx  รัศมีไจเรชัน่ ของพื้นที่ A รอบแกน y คือ
A
Iy
ry  รัศมีไจเรชัน่ ของพื้นที่ A รอบแกน z (ซึ่ งตั้งฉากกับพื้นที่) คือ
A
Jo
rz   rx2  ry2 .................... (6.4)
A
ค่ารัศมีไจเรชัน่ ของพื้นที่น้ ี สามารถนาไปใช้เปรี ยบเทียบมิติดา้ นข้างของพื้นที่ที่มีรูปร่ าง
ไม่เหมือนกัน เช่น ในการพิจารณาเสาสั้น-เสายาว ในวิชากลศาสตร์ วสั ดุหรื กาลังวัสดุเป็ นต้น

ตัวอย่างที่ 6.5 จงหาค่า I x , I y , rx , ry และ J o ของพื้นที่หน้าตัดรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า ดังรู ป


303

วิธีทา แบ่งพื้นที่เดิมออกเป็ นพื้นที่ยอ่ ย dA ที่หนา dy กว้าง b แล้วอินทิเกรต


dA  bdy
h
by 3  2
 Ix   y c2 (bdy)  
A
3  h
2
3
bh
Ix 
12
bh 3
Ix 12 h
rx   
A bh 12
ในทานองเดียวกัน ถ้าแบ่งพื้นที่ยอ่ ยที่หนา dx กว้าง h ก็จะได้
hb 3 b
Iy  และ ry 
12 12
จากสมการ (5.3) ก็จะได้
bh 3 hb 3
Jo  Ix  Iy  
12 12
bh 3 A
 (h  b 2 )  (h 2  b 2 )
12 12

ตัวอย่างที่ 6.6 จงหาค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยรอบฐานของรู ปสามเหลี่ยม

วิธีทา แบ่งรู ปสามเหลี่ยมออกเป็ นรู ปย่อย dA ที่หนา dy กว้าง x ดังรู ป


b(h  y)
dA  xdy dy
h
b(h  y)
h
Ix   y c2 dA   y 2 dy
A 0
h
h
b  hy 3 y 4  b h4 h4 
       
h 3 4 0 h 3 4
bh 3

12
304

ตัวอย่ างที่ 6.7 จงหาค่ า I x , I y , rx , ry และ Jo ของรู ป วงกลมที่ มีเส้ นผ่าศูนย์กลาง d ( =


2R)

วิธีทา แบ่งรู ปวงกลมออกเป็ นรู ปย่อยที่เป็ นวงแหวนหนา dr รัศมี r ห่างจากจุดศูนย์กลางดังรู ป


 พื้นที่ของรู ปวงแหวนคือ dA  2π r dr
d d
2
π r4  2
Jo   r 2 dA   2π r 3 dr  
A 0
2 0
π d4 π r4
Jo  หรื อ
32 2
เนื่องจากวงกลมมีลกั ษณะสมมาตรรอบแกน x และ y ที่ผา่ นจุดศูนย์กลาง o
 Ix  Iy
แต่ (จากสมการ(6.3))
Jo  Ix  Iy
Jo π d4 π r4
 Ix  Iy   หรื อ
2 64 4
π d4
รัศมีไจเรชัน่ rx  ry 
Ix
 64
A π 2
d
4

d หรื อ r
4 2
305

4. ทฤษฎีแกนขนาน (Parallel – Axis Theorem)


ค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยจะขึ้ นอยู่กบั แกนอ้างอิ ง ดังนั้นค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่
เดี ยวกันรอบแกนอ้างอิงที่ต่างกันจะมี ค่าไม่เท่ากัน แต่ค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยรอบแกนที่ผ่านจุด
เซนทรอยด์ของพื้นที่ (ซึ่ งเป็ นค่าคงที่) จะเป็ นค่าคงที่ ในทางปฏิ บตั ิเรามักจะหาค่าโมเมนต์ของ
ความเฉื่ อย ของพื้นที่ รอบแกนใด ๆ ที่ ขนานกับแกนที่ผ่านจุดเซนทรอยด์ โดยใช้ “ทฤษฎี แกน
ขนาน” (Parallel – Axis Theorem) หรื อ “ทฤษฎีการย้ายแกน” (Transfer Theorem)

รู ปที่ 6.2
ลองพิจารณาพื้นที่ A ในรู ปที่ 6.2 ซึ่ งมีจุดเซนทรอยด์อยูท่ ี่ C และ I xc , I yc , J o เป็ นค่า
โมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ A รอบแกน x , y และ z ที่ผา่ นจุดเซนทรอยด์ตามลาดับ
สมมติวา่ เราต้องการหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่รอบแกน x , y และ z  ซึ่ งขนานกับ
แกน x , y และ z และมีระยะห่าง d1 , d 2 และ ρ ตามลาดับ

I x   (y) dA   (y  d )
2 2
1 dA
A A

  y dA  2d  ydA  d  dA
2 2
1 1
A A A

เนื่องจากแกน x ผ่านจุดเซนทรอยด์ C
  ydA
A
 0

และ d12  dA  Ad12 ,  y dA


2
 Ixc
A A

I x  I x c  Ad 2
1 ................. (6.5)
ในทานองเดียวกันจะพิสูจน์ได้วา่
I y  I yc  Ad 22 ...................... (6.6)
และ J o  I x  I y
306

 I x  I y  A(d12  d 22 ) .................. (6.7)


แสดงว่า “โมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่รอบแกนใด ๆ มีค่าเท่ากับโมเมนต์ของความ
เฉื่ อยรอบแกนที่ ผ่านจุ ด เซนทรอยด์ ที่ ข นานกัน บวกกับ ผลคู ณ ของพื้ น ที่ และก าลัง สองของ
ระยะทางระหว่างแกนทั้งสองนั้น”

5. โมเมนต์ ของของความเฉื่อยของรู ปผสม (Moment of inertia of composite areas)


สาหรับพื้นที่รูปผสมซึ่ งประกอบขึ้นด้วย พื้นที่ยอ่ ยหลายรู ปที่มีรูปทรงเรขาคณิ ตแตกต่าง
กัน การหาโมเมนต์ความเฉื่ อยของรู ปทรงผสม จะหาได้โดยทฤษฎีแกนขนาน หาค่าโมเมนต์ของ
ความเฉื่ อยของแต่พ้ืนที่ยอ่ ยรอบแกนที่ผา่ นจุดเซนทรอยด์ของพื้นที่น้ นั ซึ่ งเป็ นค่าคงที่หาไว้แล้ว
เป็ นสู ตรมาตรฐานดังแสดงไว้ในตารางของภาคผนวก แล้วย้ายแกนมายังแกนดังเดียวกัน และนา
ค่าเหล่านี้ มาบวกกัน (หรื อลบกันในกรณี ที่เป็ นรู ปย่อยที่ตอ้ งตัดออกหรื อเจาะรู ) เป็ นค่าโมเมนต์
ของความเฉื่อยของรู ปผสมรอบแกนที่ตอ้ งการ

n
ดังนั้น I x   (I
i 1
xc  Ad12 ) i
n
I y   (I
i 1
yc  Ad 22 ) i
n
Jo   (J
i 1
c  Aρ 2 ) i

ตัวอย่ างที่ 1. จงหาโมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้ นที่ รูป สี่ เหลี่ ยมผืนผ้าในตัวอย่างที่ 6.1 รอบแกน
x , y และ z 
307

วิธีทา จากตัวอย่างที่ 6.1 I xc 


bh 2
, I yc 
hb 3
12 12
และ Jc 
bh 2
(b  h 2 )
12
แทนค่าในสมการ (6.5) จะได้
I x  I xc  A d12
2
bh 3 h
  (bh) 
12 2
bh 3 bh 3
 
12 4
bh 3
I x 
3
ในทานองเดียวกัน I y 
hb 3
3
และ J o  J c  Aρ 2
bh 2  b  2  h  2 
 (b  h )  (bh)      
2

12  2   2  
bh 2
Jo  (b  h 2 )
3

ตัวอย่ างที่ 2. จงหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่รูปสามเหลี่ยมในตัวอย่างที่ 6.2 รอบแกน


x ที่ผา่ นจุด C

วิธีทา จากตัวอย่างที่ 6.2 ค่ า I x ซึ่ งในที่ น้ ี


คือ I x รอบแกนที่ผา่ นฐานสามเหลี่ยม คือ
bh 3
I x 
12
จากสมการ (6.5) I x  I xc  Ad12

2
bh 3  1  h 
 I xc   bh  
12  2  3 
bh 3 bh 3
 I xc  
12 18
3
bh
I xc 
36

ตัวอย่างที่ 3. จงหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อย
308

ของพื้นที่ในรู ปรอบแกน x และ y ที่ผา่ นจุดเซนทรอยด์ของมันเอง

วิธีทา แบ่งพื้นที่ยอ่ ย คือ สี่ เหลี่ยมผืนผ้า – วงกลม แล้วหาจุดเซนทรอยด์ของรู ปผสมแล้วหาจุด


เซนทรอยด์ของรู ปผสมซึ่งหาได้จากสมการ
x 
 Ax 
A1 x1  A2 x2
A A1  A2
π 
(120  120)(60)   (40) 2 (30)
 4  
8263
 62.9 mm
π  1314.3
(120  120)   (40) 2 
4 
โดยลักษณะสมมาตรของรู ป y  x  62.9 mm
ใช้ทฤษฎีแกนขนานหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของแต่ละรู ปย่อยรอบแกน x และ y ที่
ผ่านจุดเซนทรอยด์ของรู ปผสมดังนี้
รู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า
I x  I xc  Ad12
1
 (120)(120) 3  (120)(120)(62.9  60) 2
12
 17.28(10 6 )  0.121(10 6 )
 17.4 10 6 mm 4
รู ปวงกลม
π π 
Ix  (40) 4   (40) 2 (62.9  30) 2
12 4 
 0.127(10 6 )  1.360(10 6 )
 1.487  10 6 mm 4
 Ix ของรู ปผสม  17.4(10 6 )  1.487(10 6 )
 15.91 10 6 mm 4
โดยลักษณะสมมาตรของรู ป I y  I x  15.69  10 6 mm 4
309

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู
ทดสอบ
1. ให้ผเู้ รี ยนทาแบบทดสอบเรื่ อง แรงกระจาย จุดศูนย์ถ่วงและ จุดศูนย์กลางมวล
จุดศูนย์ถ่วงจุดเซนทรอยด์ จุดศูนย์กลางมวลของรู ปทรงประกอบ ( 30 นาที )
2. ผูส้ อนเฉลยแบบทดสอบ ( 10 นาที )

ขั้นนา
1. ผูส้ อนพูดถึงเนื้ อหาเรื่ อง โมเมนต์ความเฉื่ อยพื้นที่ รัศมีไจเรชัน่ ( 10 นาที )

ขั้นสอน
1. สอนแบบบรรยายในหน่วยที่ 7 ( ในหัวข้อย่อย 1 ,2 ,3) ( 70 นาที )
2. สอนสาธิ ตหลักการคานวณตัวอย่างที่ 1 , 2 ,3 ( 20 นาที )
3. ให้นกั เรี ยนทาแบบฝึ กหัดและเปิ ดโอกาสให้ผเู้ รี ยนเรี ยนถาม ( 25 นาที )
4. เฉลยแบบฝึ กหัด ( 10 นาที )

ขั้นสรุ ป
1. สรุ ปเนื้ อให้ผเู ้ รี ยนฟัง ( 10 นาที )
310

งานทีม่ อบหมายหรือกิจกรรม
1. ให้ศึกษาเอกสารประกอบการเรี ยนตามหัวข้อ 1 และทารายงานส่ ง
2. ให้ทาแบบฝึ กหัด

สื่ อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนเนื้อหาข้อย่อย 1
2. แผ่นใสเนื้ อหาข้อย่อย 1

การวัดผลและประเมินผล
1. สังเกตความสนใจผูเ้ รี ยน
2. ความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย
3. การให้ความร่ วมมือในการทากิจกรรมระหว่างเรี ยน
4. ทาแบบทดสอบ
311

แบบฝึ กหัด

1. จงหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ในรู ปผสมรอบแกน x


312

เฉลยแบบฝึ กหัด
1. จงหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ในรู ปผสมรอบแกน x

วิธีทา แบ่งพื้นที่ยอ่ ยออกเป็ นสองส่ วนคือ แผ่นสี่ เหลียมผืนผ้าและลบออกด้วยรู ปวงกลม ดังรู ปใช้
ทฤษฎีแกนขนานหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของแต่ละรู ปย่อยรอบแกน x แล้วนามาลบกันดังนี้
รู ปวงกลม I x  I xc  Ad12
π
 (25) 4  π(25) 2 (75) 2
4
 11.4 10 6 mm 4
รู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า
I x  I xc  Ad12
(100)(150) 3
  (100)(150)(75) 2
12
 112.5 10 6 mm 2
ดังนั้น โมเมนต์ของความเฉื่ อยของรู ปผสมผสมคือ I x  112.5(10 6 )  11.4(10 6 )
 101.1 10 6 mm 4
313

แบบทดสอบสั ปดาห์ ที่ 17

1. จงหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ในรู ปผสมรอบแกน x


314

เฉลยแบบทดสอบสั ปดาห์ ที่ 17

1. จงหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของพื้นที่ในรู ปผสมรอบแกน x

วิธีทา แบ่งพื้นที่ยอ่ ยออกเป็ นสองส่ วนคือ แผ่นสี่ เหลียมผืนผ้าและลบออกด้วยรู ปวงกลม ดังรู ปใช้
ทฤษฎีแกนขนานหาค่าโมเมนต์ของความเฉื่ อยของแต่ละรู ปย่อยรอบแกน x แล้วนามาลบกันดังนี้
รู ปวงกลม I x  I xc  Ad12
π
 (25) 4  π(25) 2 (75) 2
4
 11.4 10 6 mm 4
รู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า
I x  I xc  Ad12
(100)(150) 3
  (100)(150)(75) 2
12
 112.5 10 6 mm 2
ดังนั้น โมเมนต์ของความเฉื่ อยของรู ปผสมผสมคือ I x  112.5(10 6 )  11.4(10 6 )
 101.1 10 6 mm 4
315

บันทึกหลังการสอน
ผลการใช้แผนการสอน.......................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

ผลการเรี ยนของนักเรี ยน......................................................................................................................


.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ผลการสอนของครู .............................................................................................................................
............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

You might also like