You are on page 1of 18

295

Received: 11 March 2020


การแปรทางภาษา: การแปรของภาษาอังกฤษ Revised: 7 May 2021
ในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง Accepted: 20 May 2021

ปรภัทร คงศรี

การแปรของภาษาอัง กฤษได้ม ีก ารแปรในระบบภาษามาตัง้ แต่ บทความวิ ช าการ


ภาษาอังกฤษยุคเก่าจนมาถึงภาษาอังกฤษในยุคปั จจุบนั ทีเ่ กิดจากผูใ้ ช้ภาษา บทคัดย่อ
ต่ างกลุ่มต่ างท้องถิ่น รูปแบบของภาษาอังกฤษแต่ ละส าเนี ยงมีรูปแบบที่ คาสาคัญ
แตกต่างกันซึง่ เป็ นความหลากหลายของภาษาอังกฤษสาเนียงต่างๆ โดยเริม่
การแปรภาษา;
จากภาษาอังกฤษรู ปแบบต่ างๆ ที่ใช้ในยุ คแรกๆ และเป็ นภาษาอัง กฤษ
การแปรของภาษาอังกฤษ;
ดัง้ เดิม หลังจากนัน้ ได้ขยายกว้างข้ามทวีป ตลอดจนกลายเป็ นภาษาที่สอง
กลุม่ ชาติพนั ธุก์ ะเหรีย่ ง
และภาษาต่างประเทศทีใ่ ช้ในทวีปเอเชีย ความหลากหลายของภาษาอังกฤษ
ที่ใช้ในทวีปเอเชียถูกมองว่าปั จจัยหลักทางสังคมที่ทาให้เกิดการแปรของ
ภาษาคือกลุ่มผูใ้ ช้ภาษาหลากหลายชาติพนั ธุท์ ม่ี ภี าษาแม่เป็ นของตนเอง จน
เกิดเป็ นภาษาอังกฤษสาเนียงเฉพาะของแต่ละกลุ่ม บทความนี้มวี ตั ถุประสงค์
เพื่อ น าเสนอทฤษฎีก ารแปรทางภาษาที่ช่ วยในการอธิบ ายการแปรของ
ภาษาอังกฤษ การจัดกลุ่มภาษาอังกฤษ การแปรของภาษาอังกฤษในกลุ่ม
ประเทศเอเชีย พร้อมทัง้ แสดงให้เห็นว่ามีการแปรคุณสมบัตทิ างภาษาอังกฤษ
และการแปรภาษาอังกฤษของกลุ่มชาติพนั ธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย ซึ่ง
นาเสนอความแตกต่างของภาษากะเหรีย่ งและภาษาอังกฤษทีน่ ามาสูล่ กั ษณะ
การแปรทางคุ ณสมบัติและการผสมทางภาษาของภาษาอังกฤษโดยชาว
กะเหรีย่ ง แสดงถึงการเกิดภาษาอังกฤษสาเนียงกะเหรีย่ ง


อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อได้ท่:ี
Poraphat_kho@g.cmru.ac.th
296

Received: 11 March 2020


Linguistic Variation: English Variation in Karen Ethnicity Revised: 7 May 2021
Accepted: 20 May 2021

Poraphat Khongsri

The variation in the English language has changed in its Academic Article
system from the old English language to the modern English language Abstract
caused by users in different languages and different dialects. The Keywords
English features of each accent are different in a variety of English
linguistic variation;
accents. At the beginning the English language in early era was used
English language variation;
as an original English; after that it expanded across the continents, as
Karen ethnicity
well as becoming a second language and foreign language used in
Asia. Regarding the diversity of the English language used in Asia, the
group of multi-ethnic language users who have their own mother
tongue was the main social variable which caused variation in the
English language, when it became an English accent for each group.
The purpose of this article is to present the theory of language variation
which could explain the variation in the English language, English
grouping, and the variation of English in Asian countries, as well as
exploring how the English language has been changed in English
language used by the Karen ethnicity in Thailand. Linguistic features
of the Karen language and the English language are different leading
to code-mixing and style shifting of the language characteristics of the
English language used by the Karen. This eventually leads to an
emergence of the Karen English accent.


Lecturer, English for Communication Program, Mae Hong Son College, Chiang Mai Rajabhat University, e-mail:
Poraphat_kho@g.cmru.ac.th
297
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

1. ความนา

ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีม่ กี ารกระจายไปทัวโลก ่ การเรียนภาษาอังกฤษในอดีตมักจะถูกปลูกฝั งว่าควร


จะคานึงถึงสาเนียงที่เหมือนเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเป็ นภาษาอังกฤษสาเนียงแบบอเมริกนั หรือภาษาอังกฤษ
สาเนียงแบบอังกฤษ จึงอาจเป็ นข้อจากัดทาให้ผูใ้ ช้ภาษาคิดว่าการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษยาก จากความคิดและ
ข้อจากัดดังกล่าวมีการเปลีย่ นแปลงความเข้าใจของผูใ้ ช้ภาษาในปั จจุบนั ว่า การพูดภาษาอังกฤษเบือ้ งต้นอาจไม่
จาเป็ นต้องให้มสี าเนียงเหมือนเจ้าของภาษา แค่ออกเสียงถูกและสามารถสือ่ ความหมายกับชาวต่างชาติได้ ความจริง
อีกอย่างทีม่ กี ารใช้ภาษาอังกฤษได้ในพืน้ ทีท่ ก่ี ว้างขึน้ ผูค้ นเห็นความสาคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพือ่ จะสื่อสาร
ระหว่างกันเพิม่ ขึน้ ในพืน้ ทีท่ วโลก
ั่ จึงเกิดเป็ นภาษาอังกฤษแบบสาเนียงต่างๆ จากเดิมเข้าใจว่าภาษาอังกฤษใน
โลกนี้มเี พียงแค่ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบอเมริกนั และภาษาอังกฤษสาเนียงแบบอังกฤษ เมื่อมีผูใ้ ช้ ภาษาจาก
พืน้ ทีต่ ่างๆ ใช้ภาษาอังกฤษจึงเกิดการแปรของภาษาอังกฤษเพิม่ เป็ นหลายๆ สาเนียง แต่ทงั ้ นี้ความแตกต่างของ
สาเนียงก็ไม่เป็ นปั ญหาในการสื่อสารระหว่างกัน จากการศึกษาการแปรของภาษาอังกฤษพบว่ามีการแปรทาง
ภาษาเกิดขึน้ มากมาย กลุ่มประเทศแอฟริกาก็เป็ นอีกส่วนทีม่ กี ารศึกษาและพบการแปรของการใช้ภาษาอังกฤษ
โดยเฉพาะในเรื่องของการแปรที่เกิดจากการแทรกแซงภาษาแม่ เป็ นลักษณะของการสลับภาษา (code-switching)
ภาษาแม่ในภาษาอังกฤษ (Stell, 2010)
ภาษาอังกฤษทีใ่ ช้อย่างกว้างขวางนัน้ เกิดจากกลุ่มประเทศทีม่ ตี น้ กาเนิดของภาษาอังกฤษดัง้ เดิม ได้แก่
ประเทศออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา (Kachru & Nelson, 2006) ซึ่งเป็ นกลุ่ม
ประเทศที่ม ีผู้ใช้ภาษาอังกฤษมากมายและหลากหลาย แต่เมื่อผู้คนสามารถเดินทางอพยพและแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมก็เกิดการแพร่กระจายของภาษาอังกฤษไปในวงกว้างสูพ่ น้ื ทีป่ ระเทศอื่นเพิม่ ขึน้ ในเวลาต่อมา กลายเป็ น
อีกกลุ่มประเทศทีม่ กี ารใช้ภาษาอังกฤษและเกิดแนวคิดการปรับเปลีย่ นภาษาอังกฤษตามภาษาแม่ (L1) ดังนัน้ จึง
เป็ นเหตุผลหนึ่งทีท่ าให้เห็นว่าภาษาอังกฤษทีใ่ ช้สอ่ื สารกันไม่มคี วามเหมือนกันถึงแม้จะเรียกว่าเป็ นภาษาอังกฤษ
ก็ตาม ในความแตกต่างของผูใ้ ช้ภาษาจากหลายพืน้ ทีย่ งิ่ ทาให้เกิดการเปลีย่ นของภาษาอังกฤษยิง่ ขึน้ เรามักจะได้
ยินการกล่าวถึงภาษาอังกฤษหลากหลายส าเนี ยง เกิดเป็ นปรากฏการณ์ การเปลี่ยนแปลงและการแปรของ
ภาษาอังกฤษ โดยเกิดจากผู้ใช้ภาษาที่อยู่อาศัยต่างพื้นที่และถิ่นฐาน หรือแม้แต่ภายในประเทศเดียวกันซึ่ง
ประกอบด้วยกลุ่มประชากรต่างกลุ่มต่างชาติพนั ธุ์ ต่างมีภาษาแม่เป็ นของตนเองที่เป็ นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป
เช่นชาวอเมริกนั เชื้อสายจีนทีอ่ าศัยอยู่ในนิวยอร์กพูดภาษาอังกฤษสาเนียงแตกต่างจากชาวนิวยอร์กโดยกาเนิด
โดยการแปรของเสียงสระ [ɔ]-raising และ [œ]-tensing (Wong, 2007) การแปรของคาหลายพยางค์ทล่ี งท้ายคา
ด้วย -er ทีม่ ลี กั ษณะการใช้ภาษาและท่าทางแตกต่างกันในภาษาอังกฤษสาเนียงออสเตรเลียโดยผูใ้ ช้ภาษาเชือ้ สาย
กรีกในประเทศออสเตรเลีย (Kiesling, 2004) นอกจากนี้ปรากฏการณ์การแปรของภาษาอังกฤษทีเ่ กิดขึน้ ในเอเชีย
พบว่ามีการตัดเสียงพยัญชนะเสียงกัก /-t, -d/ (coronal stop deletion) ทีเ่ ป็ นเสียงควบท้ายคาในภาษาอังกฤษที่
ใช้ในประเทศจีน (China English) ภาษาอังกฤษในฮ่องกง (Hong Kong English) และภาษาอังกฤษในเวียดนาม
(Viet Nam English) (Edwards, 2016) เป็ นปรากฏการณ์การได้รบั อิทธิพลจากภาษาแม่ส่ภู าษาอังกฤษ ส่งผลให้
ภาษาอังกฤษมีสาเนียงแตกต่างออกไป ฉะนัน้ การรับรูภ้ าษาทีส่ องอาจมีการปรับเปลีย่ นไปจากภาษาดัง้ เดิม และ
จากการที่ผู้เขียนได้มโี อกาสใกล้ชิดและทางานร่วมกับกลุ่มชาติพ นั ธุ์บางกลุ่มในภาคเหนือของประเทศไทย
โดยเฉพาะกลุ่มชาติพนั ธุก์ ะเหรีย่ ง ทาให้ผเู้ ขียนมองเห็นว่าสังคมของกลุ่มชาติพนั ธุก์ ะเหรีย่ งในปั จจุบนั เรียนรูท้ จ่ี ะ
เปิ ดรับการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มภายนอก รวมถึงมีโอกาสได้ใกล้ชดิ กับชาวต่างชาติ และให้ความสาคัญกับการ
298
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

เรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น จึงมักได้ยนิ การพูดภาษาอังกฤษที่แปรไปจากสาเนียงภาษาอังกฤษของคนไทย


ดังนัน้ บทความนี้มวี ตั ถุ ประสงค์เพื่ออธิบายการแปรของภาษาอังกฤษจนเกิดเป็ นภาษาอังกฤษกลุ่มที่มคี วาม
แตกต่างทางสาเนียงต่างๆ ตลอดจนการแปรของภาษาอังกฤษของผูใ้ ช้ภาษากลุ่มชาติพนั ธุ์กะเหรีย่ งในประเทศ
ไทย และนาเสนอการแปรคุณสมบัตทิ างภาษาทีท่ าให้เห็นว่ามีสาเนียงเฉพาะ ศึกษารูปแบบของภาษาอังกฤษและ
การแปรภาษาอังกฤษในกลุ่มชาติพนั ธุ์กะเหรี่ยง โดยนาทฤษฎีการแปรทางภาษา และการแปรคุณสมบัติทาง
ภาษามาอธิบาย นอกจากจะให้ความรูท้ างด้านการแปรของภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษหลากหลายสาเนียง
ของกลุ่มผูใ้ ช้จากความแตกต่างของกลุ่มชาติพนั ธุ์แล้ว ยังทาให้เห็นความสาคัญของกลุ่มภาษาอังกฤษสาเนียง
ใหม่ และจัดได้ว่าเป็ นภาษาอังกฤษกลุ่มใหม่ (new Englishes) ที่ปรากฏขึน้ เป็ นส่วนหนึ่งของความหลากหลาย
ของภาษาอังกฤษ และเพือ่ ให้เห็นว่าภาษาอังกฤษสาเนียงแบบกะเหรีย่ งเป็ นภาษาอังกฤษสาเนียงใหม่ทป่ี รากฏใน
ประเทศไทย เป็ นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาอังกฤษสาเนียงแบบกะเหรีย่ งต่อไป

2. ทฤษฎีการแปรของภาษา (language variation: dialect variation)

ทฤษฎี ก ารแปรทางภาษา (language variation) เป็ นทฤษฎี ก ารศึ ก ษาภาษาศาสตร์ เ ชิ ง สั ง คม


(sociolinguistics) ทีแ่ สดงให้เห็นความเกีย่ วข้องของภาษาและสภาพทางสังคม ไม่วา่ จะเป็ นความสัมพันธ์ระหว่าง
ภาษากับเพศ (language and gender) ภาษากับกลุ่ มเชื้อชาติ (language and ethnic group) ภาษากับระดับ
ชัน้ ในสังคม (language and social class) ภาษากับบริบท (language and contexts) เป็ นต้น จากการศึกษาของ
นักภาษาศาสตร์เชิงสังคม คือ ทรัดกิลล์ (Trudgill, 1995) ทาให้เห็นกระบวนการการแปรและเปลี่ยนแปลงทาง
ภาษาในความสัมพันธ์ระหว่างสังคมต่างๆ เกิดการใช้และการเเปรของภาษาที่ใช้ ดังนัน้ การแปรทางภาษา
(language variation) เป็ นผลของการใช้ภาษาและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของระบบไวยากรณ์ระหว่างมีการใช้
ภาษาในระหว่ างการสนทนาในช่ ว งเวลาของชีวิต ซึ่ง ระบบทางภาษาของผู้ใ ช้แ ต่ ล ะคนอาจมีก ารแปรและ
ปรับเปลี่ยน (Labov, 1972) ทฤษฎีการแปรทางภาษามีแนวคิดว่าผูใ้ ช้ภาษาหนึ่งคนสามารถพูดภาษาเดียวกัน
ด้วยการใช้รูปแบบ ถ้อยคาและสาเนียงที่แตกต่างกันเกิดเป็ นลักษณะของภาษาย่อย (dialect) ที่เกิดขึน้ ภายใน
ภาษานัน้ ภาษาทีใ่ ช้ร่วมกันมีแบบแผนและเอกลักษณ์ของกลุม่ สังคมเดียวกัน ผูใ้ ช้ภาษาหนึ่งคนทีอ่ ยูใ่ นกลุ่มสังคม
และใช้ภาษาเดียวกัน แต่ไม่สามารถพูดเหมือนกันในสถานการณ์ และมีวตั ถุ ประสงค์เดียวกันทัง้ หมด ความ
แตกต่างภายในตัวผูพ้ ูดของคนคนหนึ่งและมีวธิ กี ารพูดแบบใดแบบหนึ่ง ลักษณะแบบนี้เป็ นภาษาเฉพาะบุคคล
(ideolect) ซึ่งแน่ นอนว่าแม้แต่บุคคลคนเดียวอาจจะไม่สามารถออกเสียงหรือใช้สาเนียงแบบเดียวกัน อาจมีการ
เปลีย่ นแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ ตามบริบทตัวแปรทางสังคมด้านอาชีพ เพศ อายุ การศึกษาและถิน่ ที่อยู่
อาศัย ความแตกต่างทีเ่ กิดขึน้ ในภาษาเดียวกันมีหลายรูปแบบ เช่น ความแตกต่างของการใช้ภาษาถิน่ (regional
dialect) ภาษาที่ใช้ในเฉพาะกลุ่มอาชีพ (occupational dialect) หรือภาษาของแต่ละระดับชนชัน้ (social class
dialect หรือ sociolect) (Wardhaugh,1992; 2006, p. 135) ถึงแม้จะอยูใ่ นสังคมทีใ่ ช้ภาษาเดียวกัน แต่สาหรับบางคน
แสดงออกซึ่งลักษณะทางภาษาไม่เหมือนกัน จึงเป็ นการใช้ภาษาทีแ่ ปรไปขึน้ อยู่กบั แต่ละคน เช่น การอยู่ร่วมกัน
ในสัง คมที่ใ ช้ภาษาอัง กฤษ ค าว่ า car /ːr/ มัก จะออกเสีย งละเสีย ง / r/ เป็ น เสีย ง /ː/ ส าหรับ สัง คมที่ใ ช้
ภาษาไทยร่วมกัน ยังมีความแตกต่างกันเรื่องของการออกเสียง ร และ ล ในคาว่า เรา (ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา
บารุงรักษ์, 2558, น. 199) หลายครัง้ ที่เราได้ยนิ บางคนออกเสียงเป็ น ร ซึ่งถูกต้องตามหลักของคาในภาษาไทย
และบ้างก็ได้ยนิ ออกเสียงเป็ นเสียง ล เป็ น เลา แต่เมื่ออยู่ในบริบทนัน้ ผูฟ้ ั งก็สามารถคาดเดาได้ว่าผูพ้ ูดทัง้ สอง
299
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

ต้องการสื่อถึงคาว่า เรา ตัวอย่างนี้เป็ นตัวอย่างการแปรเสียง ร ในภาษาไทย นอกจากการแปรของภาษาทัง้ สอง


ตัวอย่างทีเ่ ป็ นการแสดงการแปรระดับเสียง การแปรเกิดขึน้ ทุกระดับของภาษา ได้แก่ การแปรระดับคา การแปร
ระดับโครงสร้าง การแปรระดับความหมายและการใช้ในบริบท รวมถึงการแปรด้านการเขียนและสะกดคา
ความสนใจในการศึกษาการแปรของภาษา (language variation) มีนักภาษาศาสตร์ทม่ี ชี ่อื เสียงหลายคน
ศึกษาเรื่องนี้ ทีป่ รากฏชัดเจนในการศึกษาของนักภาษาศาสตร์เชิงสังคมอย่างลาบอฟ (Labov) โดยได้รบั แนวคิด
และหลักการจากนักภาษาศาสตร์ แล้วจึงนามาประยุกต์และปรับใช้ในการศึกษาของเขาเอง โดยนาการศึกษาทาง
สังคมมารวมเข้ากับการศึกษาทางภาษาศาสตร์ในงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก รวมทัง้ ในการศึกษาและการค้นพบ
อีกมากมาย โดยเฉพาะผลจากการศึกษาการแปรทางภาษาของผูใ้ ช้ภาษาในแถบ Lower East Side ของนิวยอร์ก
หนึ่งในการศึกษาทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงสังคม คือการศึกษา Social Stratification of English in
New York City เป็ นการแบ่ ง ชนชั น้ ทางสัง คมจากการออกเสี ย ง /r/ โดยเก็ บ ข้ อ มู ล จากผู้ ใ ช้ ภ าษาจาก
ห้างสรรพสินค้า 3 แห่งในนิวยอร์กทีม่ คี วามแตกต่างทางสถานะทางสังคม ได้แก่ ห้าง Sake Fifth Avenue เป็ นห้าง
ของกลุ่มชัน้ กลางระดับบน มีกาลังซื้อของแพง ห้าง Macy’s เป็ นห้างของกลุ่มชัน้ กลางระดับบนและห้าง S. Klein
เป็ นห้างของกลุ่มผูท้ างาน โดยวิธกี ารถามคาถามเพือ่ ให้กลุ่มตัวอย่างตอบว่า “fourth floor” ผลปรากฏว่าการออก
เสียง /r/ ในคา “fourth floor” จานวนมากกว่า สามารถบ่งชี้และระบุได้ว่าเป็ นกลุ่มชนชัน้ ทางเศรษฐกิจระดับสูง
ส่วนผูท้ ่อี อกเสียง /r/ จานวนน้อยว่าเป็ นกลุ่มชนชัน้ ทีม่ สี ถานะทางเศรษฐกิจระดับล่าง (Hazen, 2010) แสดงให้
เห็นว่าปั จจัยทางสัง คมมีผลต่อรูปแบบโครงสร้างของภาษาหลังจากนัน้ ลาบอฟได้สมั ภาษณ์ และศึกษาการ
เปลี่ ย นแปลงทางภาษาและปฏิ ส ั ม พั น ธ์ ภ ายในชุ ม ชนภาษา ( The speech community) (Hazen, 2010)
เช่นเดียวกันกับข้อมูลของ (Bell, Sharma, & Britain, 2016, p. 1) กล่าวว่าการศึกษา social stratification of /r/
English in New York City เป็ นการศึกษาพืน้ ฐานแรกๆ ของนักศึกษาภาษาในทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม

3. รูปแบบภาษาอังกฤษนานาชนิ ดทัวโลก
่ (varieties of English in the world)
หากจะกล่าวถึงภาษาอังกฤษ ต้องกล่าวถึงความสาคัญของภาษาอังกฤษต่อประชากรโลกทีม่ มี ายาวนาน
ประชากรทัวโลกที
่ ม่ าจากต่างถิน่ ต่างภาษาทีต่ อ้ งสื่อสารเชื่อมโยงกัน ต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็ นสื่อในการ
เชื่อมความสัมพันธ์นนั ้ ได้ ภาษาอังกฤษทีใ่ ช้สอ่ื สารกันไม่ได้มเี พียงรูปแบบเดียวหรือลักษณะของภาษาอังกฤษทีม่ ี
แค่บรรทัดฐานเดียวเท่านัน้ เมื่อเกิดการกระจายของภาษาไปทัวโลก ่ สิง่ ที่เกิดขึน้ ตามมาเป็ นลักษณะของความ
หลากหลายทางภาษาอัง กฤษ (varieties of English) และมีค วามแตกต่ า งภายในความหลากหลายของ
ภาษาอังกฤษทีเ่ กิดขึน้ ภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็ นช่วงๆ ตามยุคประวัตศิ าสตร์ ความเป็ นมาของภาษาอังกฤษเริม่
จากยุคสมัยการใช้ภาษาตระกูลเจอร์แมนิ ก (Proto-Germanic language) มีภาษาต่างๆ ที่จดั อยู่ในยุคนี้ ได้แก่
ภาษาสันสกฤต อินดิก กรีก เปอร์เซีย โรมัน อเมริกนั ฯลฯ ยุคนี้เป็ นจุดเริม่ ต้นการเปลีย่ นแปลงภาษา เกิดการแปร
เสียงพยัญชนะตามกฎ Grimm’s law เสียง p กลายเป็ นเสียง f เมือ่ พิจารณาคาว่า father จากภาษาอังกฤษในยุค
เก่า (old English ค.ศ. 449-1066) จนถึงสมัยภาษาอังกฤษยุคใหม่ (modern English ค.ศ. 1776-1997) การยืมคา
ในภาษาอังกฤษยุคเก่าได้ประยุกต์ใช้คายืมจากภาษาละติน อย่างเช่นคาว่า ‘Saturday’ มาจากภาษาละตินเดิมว่า
‘sœtern-dœg‘ (Kirkpatrick, 2010, pp. 17-18) ต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงสระ นัน่ คือ เกิดการเลื่อน
ของเสียงสระ (The great vowel shift) ในช่วงของยุคกลาง (middle English ค.ศ. 1066) และยุคก่อนสมัยใหม่
(early modern English ค.ศ. 1476) เช่น meet เสียงสระเดิมเป็ นเสียง /eː/ เลื่อนเป็ นเสียง /iː/ และ boot เสียงสระ
300
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

/oː/ เลื่อนเป็ นเสียง /uː/ รวมถึงการเปลีย่ นระบบโครงสร้างไวยากรณ์ การเติม -(e)s หลังคากริยาแทน -(e)th และ
การใช้ค าสรรพนามบุ รุ ษ ที่ส อง thou, thee, thy, thin แทนด้ว ย ye (ต่ อ มาใช้เ ป็ น you), you, your, yours ใน
ภาษาอังกฤษยุคปั จจุบนั เมื่อแบ่งกลุ่มภาษาอังกฤษตามยุคต่างๆ ภาษาอังกฤษยุคเก่าประกอบด้วยภาษาอังกฤษ
แบบอัง กฤษ (British English) ภาษาอัง กฤษแบบอเมริก ัน (American English) ภาษาอัง กฤษแบบแคนาดา
(Canada English) ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย (Australia English) และภาษาอังกฤษแบบนิวซีแลนด์ (New
Zealand English) ต่อมาเกิดภาษาอังกฤษแบบนานาชนิดทัวโลกซึ ่ ง่ เกิดในยุคหลัง เช่น ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบ
อินเดีย (Indian English) ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบศรีลงั กา (Sri Lankan English) ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบ
แอฟริกา (African English) ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบสิงคโปร์ (Singapore English) ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบ
มาเลเซีย (Malaysia English) ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบญี่ป่ ุน (Japanese English) รวมทัง้ ภาษาอังกฤษที่ใช้ใน
ประเทศไทย (Thai English) ก็จดั ว่าเป็ นภาษาอังกฤษอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้การแบ่งกลุ่มภาษาอังกฤษมีการ
แบ่งออกเป็ น 3 กลุม่ ตามรูปแบบของคาครูและเนลสัน (Kachru & Nelson, 2006) ดังแสดงในภาพที่ 1
ภาษาอังกฤษปั จจุบนั มีการนาไปใช้ในการสื่อสารเป็ นที่แพร่หลาย จากทีเ่ ป็ นภาษาอังกฤษแบบดัง้ เดิม
เมื่อมีการแผ่ขยายสู่แต่ละพืน้ ทีท่ าให้เกิดความหลากหลายของภาษาอังกฤษ มีความแตกต่างในเรื่องของสาเนียง
ดังนัน้ จึงมีการแบ่งกลุม่ ภาษาอังกฤษทีใ่ ช้อยู่เป็ น 3 กลุม่ ใหญ่ ได้แก่ กลุม่ ภาษาอังกฤษแบบดัง้ เดิมเป็ นกลุ่มผูท้ พ่ี ดู
ภาษาอังกฤษสาเนียงภาษาอังกฤษแท้และเป็ นกลุ่มทีพ่ ดู ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาแม่ (English as first language)
กลุม่ ต่อมาเป็ นกลุ่มภาษาอังกฤษทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีส่ อง หมายความว่ากลุม่ ผูพ้ ดู มีภาษาแม่ทส่ี อ่ื สารใน
กลุ่มอยูแ่ ล้ว แต่ใช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทางการและเป็ นภาษาทีส่ อง (English as second language) และกลุ่ม
ทีส่ ามเป็ นกลุม่ ผูพ้ ดู ทีป่ ระกอบด้วยภาษาแม่และประกอบด้วยภาษาถิน่ ทีห่ ลากหลาย การสือ่ สารด้วยภาษาอังกฤษ
จึงมีการผสมกับสาเนียงของภาษาถิน่ มากขึ้น ภาษาอังกฤษจึงเป็ นภาษาต่า งประเทศ (English as a foreigner
language) พบการแบ่งกลุม่ ภาษาอังกฤษของทัวโลก ่ (Kachru & Nelson, 2006) ดังภาพประกอบต่อไปนี้

ภาพที ่ 1. Three Concentric Circles of Asian Englishes


(ดัดแปลงจาก Asian Englishes Today: World English in Asian Contexts, 2006, p. 14)

กลุ่มแรก กลุ่มประเทศ inner circle หรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมาตัง้ แต่ยุคเก่า นอกเหนือจาก


อเมริกาและอังกฤษเป็ นพืน้ ทีท่ ก่ี ลุ่มผูใ้ ช้ภาษาอพยพไป เกิดการกระจายทางภาษาอังกฤษซึง่ เป็ นภาษาแม่ในกลุ่ม
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดาและกลุ่มแอฟริกาใต้ เป็ นต้น กลุ่มทีส่ อง outer circle เป็ นกลุ่มผูใ้ ช้ภาษาทีม่ กี าร
ถ่ายเททางด้านภาษา เช่น นักธุรกิจ นักการศึกษา รวมถึงผูพ้ ดู สองภาษาซึง่ ใช้ภาษาอังกฤษสาหรับวัตถุประสงค์
301
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

เฉพาะของตนเองทัง้ ขอบเขตภายในชาติหรือนานาชาติ กลุม่ ทีม่ กี ารพูดภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีส่ อง เช่น อินเดีย


สิงคโปร์ ฟิ ลปิ ปิ นส์ ศรีลงั กา ฮ่องกง มาเลเซีย รวมถึงแอฟริกาตะวันตก เช่น กานา ไนจีเรีย เป็ นต้น กลุ่มประเทศ
ที่อ ยู่ใ นกลุ่ม expanding circle จัดเป็ น กลุ่ ม ที่ม ีค วามหลากหลายทางภาษาถิ่น เดิม และใช้ภาษาอัง กฤษเป็ น
ภาษาต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลี ไทย เป็ นต้น ภาษาอังกฤษทีน่ ามาใช้อาจเพือ่ วัตถุประสงค์เฉพาะหรือ
ความจาเป็ นสาหรับการสื่อสารระดับนานาชาติทางด้านธุรกิจและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาอังกฤษระดับชาติอาจจะ
เพื่องานวิชาการ สื่อและงานอาชีพเท่านัน้ ภาษาอังกฤษทีใ่ ช้ในกลุ่มนี้จงึ มีลกั ษณะของภาษาทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปได้
อย่างรวดเร็ว ลักษณะของการเปลีย่ นแปลงทางภาษาเกิดขึน้ จากปั จจัยทีท่ าให้เกิดการเปลีย่ นแปลงและลักษณะ
ของภาษาทีเ่ ปลีย่ นแปลง

4. การแปรของภาษาอังกฤษในกลุ่มประเทศเอเชีย
(English language variation: Asian English)

กลุม่ ประเทศเอเชียเป็ นกลุ่มทีภ่ าษาอังกฤษแพร่ขยายเข้ามาในภายหลัง จึงจัดเป็ นกลุม่ ทีน่ าภาษาอังกฤษ


เข้ามาใช้ในฐานะภาษาทีส่ องหรือในฐานะภาษาต่างประเทศ เมื่อมีการซึมซับภาษาถิน่ ของแต่ละถิน่ ซึ่งเป็ นภาษา
แม่ของตนเอง ก็จะส่งผลต่อการรับภาษาทีส่ องและภาษาต่างประเทศ ทาให้ภาษามีการเปลีย่ นแปลงไปจากภาษา
มาตรฐาน ดังนัน้ ชาวเอเชียทีเ่ กิดและมีชวี ติ เติบโตในประเทศ รวมถึงใช้ภาษาตามถิน่ ของตนเองตัง้ แต่เกิด เมื่อ
พยายามเรียนรูภ้ าษาอังกฤษจึงมีแนวโน้มว่าอาจไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเหมือนกับภาษาอังกฤษมาตรฐาน แต่ก็
ไม่ได้รวมถึงผูใ้ ช้ภาษาอังกฤษทีม่ กี ารเกิดในประเทศ แล้วมีการย้ายไปอยู่อาศัยในแถบประเทศทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษ
สื่อสารในชีวติ ประจาวันภายหลัง เมื่อเปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษของบุคคลทัง้ สองกลุ่มค่อนข้างมีความ
แตกต่างกัน ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างทีน่ อกเหนือจากเหตุผลทีก่ ล่าวมาทาให้ภาษาอังกฤษของผูใ้ ช้แตกต่างกัน ทัง้
เรื่องของระยะเวลาการศึกษาภาษา ความชานาญและพื้นฐานทางเชื้อ ชาติและชาติพนั ธุ์ กลุ่มประเทศเอเชีย
ประกอบด้วยหลายประเทศ สาเนียงภาษาอังกฤษจึงมีช่อื เรียกตามสาเนียงของท้องถิน่ นัน้ ภาษาอังกฤษทีเ่ กิดขึน้
ในกลุ่มประเทศเหล่านี้เปลีย่ นแปลงได้อย่างรวดเร็ว เกิดการผสมระหว่างภาษาแม่หรือภาษาถิน่ กับภาษาอังกฤษ
และกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางภาษาของกลุ่มเอเชียก็มลี กั ษณะภาษาอังกฤษแบบเอเชีย (Asian Englishes)
ประเทศในแถบเอเชียจะปรากฏอยู่ในกลุ่มที่สองและกลุ่มที่สาม นัน่ คือใช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาที่สองและ
ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ การแพร่ขยายของการใช้ภาษาอังกฤษและการใช้ภาษาที่แปรไปจาก
ภาษาอังกฤษมาตรฐาน ไม่ว่าภาษาอังกฤษแบบอเมริกนั (American English) หรือภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ
(British English) ประเทศกลุ่มทีส่ อง (the outer circle) ใช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีส่ อง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย
อินเดีย เป็ นต้น ประชากรผูใ้ ช้ภาษามีเชือ้ ชาติหลากหลาย แต่มบี างส่วนใช้ภาษาอังกฤษ ถึงแม้ประเทศเหล่านี้ใช้
ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีส่ อง แต่ในบางบริบทและบางสถานการณ์กย็ งั ใช้ภาษาถิน่ เป็ นภาษาแม่
ภาษาอังกฤษสาเนี ยงแบบสิ งคโปร์ (Singlish) ประเทศสิงคโปร์เป็ นประเทศหนึ่งในเอเชียที่มคี วาม
หลากหลายของเชื้อชาติและการอพยพจากต่างประเทศ มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทางการ แต่มปี ระชากร
จานวนมาก มีความแตกต่างในเรื่องของเชือ้ ชาติ เช่น มาเลย์ จีนและทมิฬ ล้วนมีพน้ื ฐานของภาษาถิน่ ทาให้เกิด
การแทรกแซงของภาษาถิน่ ในภาษาอังกฤษ เป็ นการลดความเป็ นทางการของภาษาอังกฤษลง ภาษาอังกฤษที่
ชาวสิงคโปร์ใช้จงึ เกิดเป็ นภาษาอังกฤษสาเนียงแบบสิงคโปร์ (Singlish)
302
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

ภาษาอังกฤษสาเนี ยงแบบมาเลย์ (Manglish) ประเทศมาเลเซียเป็ นประเทศทีม่ พี น้ื ทีต่ ดิ ต่อกับประเทศ


สิงคโปร์ มีลกั ษณะทีค่ ล้ายกันคือมีประชากรหลายเชือ้ ชาติ ภาษาเดิมทีใ่ ช้กนั เป็ นภาษาทางการและเป็ นภาษาหลัก
คือภาษามาเลย์ (Malay) แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง ภาษาอังกฤษแพร่หลายมากขึน้ มีอทิ ธิพลเข้าสู่โครงสร้าง
ทางการศึกษา นอกจากในส่วนของการศึกษาแล้ว ยังมีความสาคัญในทางธุรกิจ การปฏิสมั พันธ์ทางสังคม
กลายเป็ นการสือ่ สารแบบกว้างขึน้ สูร่ ะดับนานาชาติ ประชากรมาเลเซียจึงได้สง่ ลูกหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ไม่วา่ จะเป็ นประเทศอังกฤษ อเมริกา หรือออสเตรเลีย จนในปั จจุบนั มีวทิ ยาเขตของสถาบันการศึกษาและสถาบัน
ความร่วมมือกับต่างประเทศจัดตัง้ ขึน้ ทีป่ ระเทศมาเลเซีย ส่งผลให้การใช้ภาษาอังกฤษแพร่หลายมากขึน้ ไม่เพียงแต่
ในองค์กรทางการศึกษา แต่รวมไปถึงองค์กรทางสังคมอื่นๆ ภายนอกประเทศมาเลเซีย ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึง
อาจเป็ นไปได้ว่าชาวมาเลย์ใช้ภาษาอังกฤษที่ แปรไปจากภาษาอังกฤษมาตรฐาน ทาให้เกิดเป็ นภาษาอังกฤษ
สาเนียงมาเลเซีย (Manglish) อย่างทีท่ ราบว่าผูใ้ ช้ภาษาในประเทศมาเลเซียประกอบด้วยคนหลายเชือ้ ชาติ ไม่วา่
จะเป็ นเชื้อสายจีน -มาเลย์ อินเดีย ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเป็ นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วหลายภาษา เมื่อมีการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษก็อาจจะยังไม่ทง้ิ พืน้ ฐานของภาษาแม่ (mother tongue) (Vu, 2012)
นอกจากภาษาอังกฤษทัง้ สองสาเนี ยงข้างต้น ทัง้ ภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์และภาษาอังกฤษแบบ
มาเลเซีย ซึง่ เป็ นประเทศทีม่ พี น้ื ทีต่ ดิ ต่อกันและการเปลีย่ นแปลงทางภาษาเกิดจากความหลากหลายของกลุ่มชาติ
พันธุ์ ประเทศบรูไนก็มลี กั ษณะไม่ต่างไปจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียทีป่ ระกอบด้วยกลุ่มชาติพนั ธุแ์ ละกลุ่ม
พืน้ เมืองหลากหลาย กลุ่มประชากรหลักทีม่ จี านวนมากเป็ นอันดับต้น คือกลุ่มมาเลย์ จีนและอินเดีย ดังนัน้ ภาษา
แม่ของแต่ละกลุ่มก็ลว้ นใช้แตกต่างกัน ประกอบด้วยภาษามาเลย์ ภาษาจีน ภาษาอินเดีย ภาษาอารบิกและอื่นๆ
อีกหลายภาษา แน่ นอนว่า ด้วยกลุ่ มเชื้อชาติของประชากรเป็ นกลุ่ มเดียวกับประเทศสิ งคโปร์และมาเลเซีย
ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบบรูไน (Brunei English) ก็อาจจะมีความต่างกันไม่มากนัก
ภาษาอังกฤษสาเนี ยงแบบฟิ ลิ ปปิ นส์ (Philippine English) ประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์เป็ นประเทศหนึ่งทีม่ เี กาะ
หลายพันเกาะ รวมทัง้ ภาษามากมายหลายร้อยภาษา เพราะประกอบด้วยกลุ่มชาติพนั ธุม์ ากมาย ภาษาอังกฤษใน
ประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์แตกต่างจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียและบรูไนทีเ่ ป็ นการรับอิทธิพลภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ
แต่เมือ่ ประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์ได้ถูกสหรัฐอเมริกาเข้ามายึดอานาจหลังจากประเทศสเปน ภาษาอังกฤษแบบอเมริกาถึง
ได้ถูกนามาเผยแพร่ให้แก่ชาวฟิ ลปิ ปิ นส์ ภาษาทางการของฟิ ลปิ ปิ นส์ประกอบด้วย 2 ภาษา คือภาษาอังกฤษและ
ภาษาฟิ ลปิ ิ โน (Filipino) ซึ่งเป็ นภาษาท้องถิน่ เนื่องด้วยประเทศฟิ ลปิ ปิ นส์เคยเป็ นอาณานิคมของสเปน ดังนัน้
ภาษาสเปนก็เป็ นอีกภาษาหนึ่งทีป่ ระชากรสามารถพูดได้นอกจากสองภาษาทีเ่ ป็ นภาษาทางการ
ส าหรับ ประเทศไทยมีภ าษาไทยเป็ นภาษาแม่ แ ละใช้ เ ป็ นภาษาราชการ ใช้ ภ าษาอัง กฤษเป็ น
ภาษาต่างประเทศและมักจะไม่มกี ารใช้ส่อื สารในชีวติ ประจาวันกันภายในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน จึงทาให้
ภาษาอังกฤษเกิดการแปรไปจากภาษาอังกฤษมาตรฐาน ลักษณะการแปรของภาษาอังกฤษทีพ่ ดู โดยผูพ้ ดู ชาวไทย
เกิดเป็ น ภาษาอังกฤษสาเนี ยงแบบไทย (Thai English) ที่มคี วามเป็ น Thainess ผสมผสานในภาษาอังกฤษ
ข้อมูลเบือ้ งต้นทีแ่ สดงให้เห็นว่าเป็ นลักษณะการแปรเปลีย่ นไปของภาษาอังกฤษ คือชาวไทยพูดภาษาอังกฤษด้วย
สาเนียงไทย มีการออกเสียงหน่ วยเสียงภาษาไทยแทนเสียงในภาษาอังกฤษ มักมีการใช้คาศัพท์ภาษาไทยแทน
คาศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจเป็ นลักษณะของคายืมหรือการแทนเสียงเองโดยผูใ้ ช้ภาษา ลักษณะที่ปรากฏขึน้ จริง
ของการใช้ภาษานี้เป็ นลักษณะที่ก่อให้เกิดการแปรที่สอดคล้องและเกี่ยวกับลักษณะการแปรทางโครงสร้างของ
ภาษา ไม่วา่ จะเรือ่ งของเสียง (phonology) คาศัพท์ (lexis) โครงสร้างไวยากรณ์ (syntax) และภาษาระดับข้อความ
หรือ กระบวนการน าไปใช้ใ นการสื่อ สาร (discourse) กระบวนการการใช้ภ าษาในบริบ ท (contextualization
303
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

processes) ทาให้เกิดการแปรภาษาอังกฤษของผูใ้ ช้ภาษาชาวไทย ประกอบด้วย 6 กระบวนการคือ การถ่ายโอน


ภาษาไทยในภาษาอังกฤษ (transfer) การแปล (translation) การเปลีย่ นคา (shift) การยืมคา (lexical borrowing)
การผสม (hybridization) และการใช้คาซ้าซ้อน (reduplication) เป็ นต้น

การถ่ายโอนภาษาไทยในภาษาอังกฤษ (transfer) ภาษาไทยมีคาเรียกนาหน้าชื่อทีแ่ สดงถึงมารยาทและ


การแสดงความเคารพด้วยระบบคาเรียกญาติ (kinship terms) ลาดับความเป็ นพีน่ ้องหรือคาเรียกคนรูจ้ กั เช่น
ภาษาไทย Thai English
ลุงคมสันต์ Uncle Khomsan
ป้ านิภา Aunt Nipa
คุณอดัม Khun Adum

การแปล (translation) เป็ นการแปลยืมภาษาไทยในภาษาอังกฤษ กลายเป็ นบทแปลสาเนียงไทยในการ


กล่าวถึงบางสิง่ บางอย่าง สานวนหรือวลีทไ่ี ม่มใี นภาษาอังกฤษ เช่น
So ends my biographical sketch from the early part of my life to the
completion of the sixth cycle of age.
วลี the sixth cycle of age ต้องการสื่อถึงการครบรอบอายุ 72 ปี จึงแปลมาแบบภาษาไทย เป็ น sixth
cycle เพราะ a cycle เท่ากับ 12 ปี

การเปลีย่ นคา (shift) เป็ นการเปลีย่ นแปลงลีลาการเขียนแบบภาษาไทย โดยนาสานวนหรือคาโบราณ


มาเขียนในภาษาอังกฤษ เช่น
Father inclined to favor his third wife. The old saying, “new rice
tastes better than the old one.”
จากตัวอย่างบอกว่า พ่อเอนเอียงทีจ่ ะโปรดปรานภรรยาคนทีส่ ามของเขา ซึง่ สอดคล้องกับคากล่าวของ
โบราณไทยว่า ข้าวใหม่ยอ่ มรสชาติดกี ว่าข้าวเก่า

การยืมคา (lexical borrowing) เมื่อภาษาอังกฤษต้องใช้ในบริบทภาษาไทย บางคาไม่สามารถอธิบาย


ได้ในภาษาอังกฤษ จึงมีการนาคาภาษาไทยมาใช้ในการแปล
Thai style omelete → Kai Cheo
ในบริบทของการพูดถึงไข่ทอดประเภทหนึ่ง ซึ่งมีกรรมวิธกี ารทาแบบไทย นัน่ คือ Thai style omelet
แต่พบว่าใช้คา Kai Cheo แทน

การผสม (hybridization) คือการนาคาภาษาไทยมาผสมในประโยคหรือวลีภาษาอังกฤษ


A farang (foreigner) man
304
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

A big klong (canal)

การใช้คาซ้าซ้อน (reduplication) เพื่อเน้นย้าซึง่ พบในการซ้าคาภาษาไทย มีการนาหลักการนี้มาใช้ใน


ภาษาอังกฤษเช่นกัน
ภาษาไทย Thai English
หลายหลายครัง้ many many time
เหมือนเหมือนกัน same same

นอกจากการแปรของภาษาอังกฤษทีเ่ กิดจากกลุ่มชาติพนั ธุ์ในกลุ่มประเทศเอเชียแล้ว กลุ่มผูใ้ ช้ภาษาที่


เป็ นกลุ่มคนเชือ้ สายเอเชีย (Asian descent) ทีอ่ าศัยในต่างประเทศก็เกิดการแปรทางภาษาอังกฤษเช่นกัน กลุ่ม
ชาติพนั ธุต์ ่างๆ ทีอ่ าศัยในต่างประเทศอาจเป็ นกลุม่ คนทีพ่ อ่ แม่ มีเชือ้ สายเอเชีย ไม่ได้พดู ภาษาอังกฤษเป็ นภาษา
แม่ ต ัง้ แต่ ก าเนิ ด ภายหลัง คนกลุ่ ม นี้ ย้ายที่อ ยู่อ าศัย เพื่อ ศึก ษาต่ อ ท างาน หรือ ไปอยู่ต่ างประเทศ มีก ารใช้
ภาษาอังกฤษในชีวติ ประจาวัน ภาษาอังกฤษทีใ่ ช้กย็ งั คงไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษของถิน่ นัน้ ด้วยลักษณะทาง
ภาษาทีเ่ กิดขึน้ ยังคงมีพน้ื ฐานและไม่ละทิง้ ความเป็ นภาษาแม่ทไ่ี ม่ใช่ภาษาอังกฤษมาตัง้ แต่ตน้ ในความแตกต่าง
ระหว่างภาษาที่อาจมีตงั ้ แต่ระดับเสีย ง คา โครงสร้าง ความหมายและการใช้ภาษาในบริบททางวัฒนธรรมที่
แตกต่างกัน เมือ่ มาเรียนรูอ้ กี ภาษาจึงมีการนาภาษามาใช้ผสมผสานกัน
กล่าวได้วา่ ภาษาอังกฤษในกลุ่มประเทศเอเชียทีม่ หี ลากหลายกลุ่มหลากหลายชาติพนั ธุ์ ภาษาอังกฤษจึง
มีรูปแบบแตกต่างกันขึน้ อยู่กบั ผูใ้ ช้ภาษา แม้ว่าภาษาอังกฤษดัง้ เดิมที่ได้แ พร่กระจายและสร้างอิทธิพลในแถบ
เอเชีย ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าภาษาอังกฤษจะมีสาเนียงทีเ่ หมือนกัน แต่อาจจะถูกสร้างเป็ นภาษาอังกฤษคนละ
สาเนียงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กบั ภูมหิ ลังของภาษาแม่ท่นี ามาปะปนกับภาษาอังกฤษ เกิดเป็ นภาษาอังกฤษ
สาเนียงต่างๆ โดยมีกระบวนการทางภาษาทีถ่ ่ายทอดจากภาษาถิน่ เดิมสู่ภาษาอังกฤษในรูปแบบทีแ่ ตกต่างกัน
ข้อสรุปดังกล่าวสอดคล้องกับส่วนหนึ่งในงานเขียนของเรเยส (Reyes, 2010, p. 403) กล่าวถึงความเกี่ยวข้อง
ระหว่างภาษากับความเป็ นชาติพนั ธุ์ในแวดวงการศึกษาและการวิจยั ทางภาษาและสังคมว่า ข้อมูลของตัวภาษา
(ภาษาอังกฤษ) มีการเชื่อมต่อและเปลีย่ นไปตามกลุ่มทางสังคม ด้วยการใช้ภาษาอังกฤษได้มกี ารเปลีย่ นแปลงไป
ตามการใช้ภาษาของกลุม่ ชาติพนั ธุแ์ ละกลุม่ ทางสังคมต่างๆ ด้วย

5. การแปรของคุณสมบัติทางภาษาของกลุ่มชาติ พนั ธุใ์ นกลุ่มประเทศเอเชีย


(The variation in linguistics feature of Asian ethnolects)

การแปรของคุณสมบัตทิ างภาษาของภาษาอังกฤษแบบต่างๆ ของกลุ่มชาติพนั ธุใ์ นกลุ่มประเทศเอเชีย มี


ตัวอย่างให้เห็นลักษณะการแปรคุณสมบัตทิ างภาษาของภาษาอังกฤษสาเนียงแบบสิงคโปร์ ภาษาอังกฤษสาเนียง
แบบมาเลเซียและภาษาอังกฤษสาเนียงแบบฟิ ลปิ ปิ นส์ ซึง่ แสดงให้เห็นชัดเรือ่ งการแปรทางภาษาอังกฤษจากกลุม่
ผูพ้ ดู ทีม่ คี วามหลากหลาย ในหัวข้อนี้ผเู้ ขียนนาเสนอให้เห็นว่าภาษามีการแปรอย่างไร โดยเริม่ จากการแปรภาษา
ในระดับเสียง คา ไวยากรณ์และการใช้ภาษาในบริบท
305
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

5.1 การแปรภาษาระดับเสียง (phonology)

ในการใช้ภาษาอังกฤษของชาวสิงคโปร์หรือ ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบสิงคโปร์ (Singlish) มักมีการใช้


ภาษาทีแ่ ปรไปจากภาษาอังกฤษมาตรฐาน (Vu, 2012, p. 42) ดังนี้
(1) พยัญชนะเสียงกัก (stop) มักไม่ออกเสียงพ่นลม (aspirate) ในทุกตาแหน่งทีป่ รากฏเสียง
(2) เสียง /ɵ/ ออกเสียงเป็ น /t/ และเสียง /ð/ ออกเสียงเป็ น /d/ ทีป่ รากฏก่อนเสียงสระ เช่น คาว่า thin
→ /tin/; then →/den/ นอกจากนี้เสียง /ð/ ออกเสียงเป็ น /f/ ทีป่ รากฏในตาแหน่ งท้ายคา เช่น คาว่า breath
→ /brɛf/; breathe → /brif/
(3) พยัญชนะกักเสียงก้องออกเสียงกลายเป็ นเสียงไม่กอ้ ง ในตาแหน่งท้ายคา เช่น /lɛɡ/→ /lɛk/
(4) ไม่มคี วามแตกต่างของสระเสียงสัน้ -ยาว เช่น คาว่า bit, beat → /bit/
(5) ไม่ออกเสียงสระผสม (diphthongs) แต่จะออกเป็ นเสียงสระเดีย่ ว เช่น คาว่า face /feɪs/ → /feːs/
และ goat /ɡoʊt/ → /ɡoːt/
ภาษาอังกฤษสาเนียงแบบมาเลย์ (Manglish) ทีเ่ กิดจากการใช้ภาษาของกลุ่มผูพ้ ดู หลากหลายเชือ้ ชาติ
ในประเทศมาเลเซีย มีลกั ษณะการแปรทางเสียง เช่น
(1) การรวมเสียง (merger) ของเสียงสระ
- คาที่มเี สียงสระ /iː/ และ /ɪ/ ออกเป็ นเสียงสระ /i/ เช่น คาว่า feel /fiːl/ และ fill /fɪl/ ออกเสียง
เป็ น /fɪl/ และ bead /biːd/ และ bid /bɪd/ ออกเสียงสระเป็ น /bɪd/
- คาที่มเี สียงสระ /uː/ และ /ʊ/ ออกเสียงเป็ น /u/ เช่น คาว่า pool /puːl/ และ pull /pʊl/ ออกเสียง
เป็ น /pul/ และ Luke /luːk/ และ look /lʊk/ ออกเสียงเป็ น /luk/
- คาทีม่ เี สียงสระ /ɒ/ และ /ɔː/ ออกเสียงเป็ น /ɔ/ เช่น คาว่า pot /pɒt/ และ port /pɔːrt/ ออกเสียง
เป็ น /pɔt/, /pɔrt/ และ cot /kɒt / และ caught /kɔːt/ ออกเสียงเป็ น /kɔt/
(2) เสียงสระผสม (diphthongs) ถูกแปลงเป็ นเสียงเดีย่ ว (monophthongization) เช่น คาว่า coat, load
เป็ นเสียง /_o_/ และ make, steak เป็ นเสียง /_e_/
ภาษาอังกฤษสาเนียงฟิลปิ ปินส์ (Philippine English) ปรากฏลักษณะการแปรภาษาอังกฤษ ดังนี้
(1) ไม่มเี สียงเสียงพยัญชนะพ่นลมในกลุม่ เสียงกัก (stop)
(2) การแทนเสียงสระ เสียง /a/ แทนเสียง //, /ɔ/ แทนเสียง /o/, /ɪ/ แทนเสียง /i/ และ /ɛ/ แทนเสียง /e/
(3) การแทนเสียงพยัญชนะ เสียง /s/ แทน /z/, /ʃ/ แทน /ʒ/, /t/ แทน /θ/, /d/ แทน /ð/, /p/ แทน /f/ และ
/f/ แทน /v/
(4) ไม่มคี วามซับซ้อนของพยัญชนะท้ายควบเสียง
(5) ออกเสียง /r/ (rhotic) เกือบทุกตาแหน่งของคา
306
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

5.2 การแปรระดับคาศัพท์ (lexis)

เป็ นลักษณะการใช้คาศัพท์ของภาษาเดิมหรือภาษาท้องถิน่ ทีม่ คี วามหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกันแทน


คาศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยส่วนมากผูใ้ ช้ภาษาชาวสิงคโปร์มเี ชือ้ สายจีน ทมิฬ ดังนัน้ การใช้คาศัพท์บางคาจึงนา
คาจากภาษาจีนและทมิฬมาแทนทีค่ าศัพท์ภาษาอังกฤษ (Vu, 2012, pp. 45-46) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตารางที่ 1
การแปรความหมายคาศัพท์ภาษาอังกฤษของผูพ้ ดู ชาวสิงคโปร์
Singlish meaning
1. Abang elder brother, male cousin
2. Bodoh dull, unintelligent
3. Hanram prohibited

ตารางที่ 2
การแปรความหมายคาศัพท์ภาษาอังกฤษของผูพ้ ดู ชาวฟิลปิ ปินส์
Philippine English meaning
1. amok crazy
2. boondock mountain
3. kundiman A love song

ส่วนลักษณะการแปรของคาศัพท์ทพ่ี บในภาษาอังกฤษสาเนียงแบบมาเลย์และภาษาอังกฤษสาเนียงแบบ
ฟิ ลปิ ปิ นส์เป็ นลักษณะการแปรทางภาษาเพิม่ เติมจากตัวอย่างคือมีการแปลยืม (loan translation) ซึง่ ลักษณะการ
แปลยืมพบเป็ นส่วนมากในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย อาจเนื่องจากนาการเชื่อมโยงความหมายของคาดังกล่าวมา
แสดงการเชื่อมโยงกับลักษณะของสิง่ ๆ นัน้ จัดเป็ นลักษณะการแปลทางความหมาย (semantic components)
หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การยืมทางภาษา แต่อาจจะมีความหมายที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้ อย ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

ตารางที่ 3
การแปลยืมคาศัพท์ภาษาอังกฤษของผูพ้ ดู ชาวมาเลเซีย
Manglish Loan Translation
1. red packet a sum of money folder inside red paper and given
at the Chinese New Year to unmarried younger
relatives.
2. spring roll dish consisting of a savory mixture of vegetables
and meat rolled up in a thin pancake and fried
307
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

ตารางที่ 4
การแปลยืมคาศัพท์ภาษาอังกฤษของผูพ้ ดู ชาวฟิลปิ ปินส์

Philippine English Loan Translation


1. open the light Turn on the light
2. since before yet For a long time

5.3 การแปรภาษาในระดับบริ บท (discourse)

การแปรทางภาษาที่เกิดขึ้นในคุณสมบัตขิ องการนาไปใช้ในบริบท ในภาษาปรากฏให้เห็นการใช้คา


อนุ ภาค (particle) ท้ายประโยคและถูกเพิม่ ไปในถ้อยคาดังตัวอย่างบางคาทีพ่ บโดยไลมกรูเบอร์ (Leimgruber)
(Vu, 2012, p. 51) ต่อไปนี้

ตารางที่ 5
คาอนุ ภาคปรากฏท้ายประโยคภาษาอังกฤษโดยผูพ้ ดู ในประเทศสิงคโปร์

Partical meaning
1. Drink lah! Just drink! (mood marker)
2. ah! tentative marker
3. hah question marker

มีขอ้ สังเกตว่าลักษณะภาษาทีเ่ กิดขึน้ กับผูใ้ ช้ภาษาอังกฤษมีลกั ษณะการแปรไม่ต่างจากปรากฏการณ์


การแปรของผูพ้ ดู ชาวไทย จากตัวอย่างข้อมูลข้างต้นแสดงการใช้ภาษาของกลุ่มผูใ้ ช้ภาษาอังกฤษทีม่ คี วาม
หลากหลายชาติพนั ธุใ์ นประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียและฟิ ลปิ ปิ นส์ ทาให้เห็นว่ามีก ารแปรของภาษาอังกฤษใน
ระดับต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งเป็ นประเทศทีม่ คี วามหลากหลายทางชาติพนั ธุโ์ ดยเฉพาะในแถบ
ภาคเหนือ
จากการนาเสนอและการยกตัวอย่างข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการแปรของภาษาอังกฤษทีเ่ กิดจาก
กลุ่มผูใ้ ช้ภาษาหลากหลายเชือ้ ชาติและมีก ารใช้ภาษาแม่ทไี่ ม่ใช่ภาษาอังกฤษเกิดการแปรในทุกระดับ ทาง
ภาษา เริม่ ตัง้ แต่ระดับเสียง คาและความหมาย ไวยากรณ์ และการใช้ในบริบท แต่อาจแปรในระดับมากน้อย
หรือเกิดขึน้ บ่อยในระดับทีแ่ ตกต่างกัน ทัง้ นี้ อาจเกิดขึน้ ในบริบทการใช้ภาษาระดับทางการด้วย อย่างไรก็ตาม
อาจมีรูปแบบความต่างในเรื่องของระดับความเป็ นทางการและไม่เป็ นทางการ ความเป็ นทางการยังคงต้องยึด
ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ความไม่เป็ นทางการอาจมีการนาภาษาถิน่ ผสมในภาษาอังกฤษและระบบ
ภาษาอังกฤษทีใ่ ช้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของวู (Vu, 2012, p. 52) ทีก่ ล่าวว่า
กลุ่มประเทศในเอเชียทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีส่ อง จะใช้ภาษาอังกฤษทีผ่ สมด้วยภาษาถิน่ ในสถานการณ์
การพูดภาษาอังกฤษในชีวติ ประจาวัน การนาเสนอผ่านสื่อ หนังสือหรือนิตยสารที่ เป็ นสถานการณ์ไม่เป็ น
ทางการ
308
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

6. การแปรภาษาอังกฤษของกลุ่มชาติ พนั ธุก์ ะเหรี่ยงในประเทศไทย


(English variation of Karen ethnic groups in Thailand)

ประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลายเชือ้ ชาติ หลากหลายกลุ่มชาติพนั ธุ์ทก่ี ระจัดกระจายอาศัย


อยู่ทวประเทศ
ั่ ได้มกี ารอพยพเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานทัง้ ในชุมชนเมืองและพืน้ ทีร่ อบนอก แม้แต่บริเวณชายแดนหลาย
พืน้ ทีม่ กี ลุม่ ชาติพนั ธุต์ ่างๆ รวมกลุม่ จัดตัง้ เป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็ นกลุ่ม เป็ นชุมชน กลุม่ ชาติพนั ธุอ์ พยพมาจากประเทศ
เพื่อนบ้านด้วยเหตุผลของการหลีกหนีสงคราม หรือการเข้ามาทามาหากิน การศึกษา กลุ่มชาติพนั ธุ์ทเ่ี ข้ามาตัง้
ถิน่ ฐานบริเวณชายแดนของประเทศไทยจานวนมากลาดับต้นๆ คือ กลุ่มชาติพนั ธุก์ ะเหรีย่ ง ซึ่งเป็ นกลุ่มเชือ้ ชาติ
หนึ่งในประเทศพม่า และอพยพเข้ามายังประเทศไทยเพราะการลีภ้ ยั สงคราม มาอยู่บริเวณชายแดนของประเทศ
ไทยในหลายพืน้ ที่ มีกลุ่มชาติพนั ธุก์ ะเหรีย่ งหลายกลุ่มทีก่ ระจัดกระจายอยู่ในประเทศไทย ประกอบด้วยกะเหรีย่ ง
โป (Pwo) กะเหรี่ยงสะกอ (Sgaw) กะเหรี่ยงปะโอ (Pa-O) กะเหรี่ยงกะยัน (Kayan) กะเหรี่ยงกะยา (Kayah)
กะเหรีย่ งกะยอ (Kayaw) (Intajamornrak, 2012, p. 1)
ภาษากะเหรีย่ งเป็ นภาษาทีม่ โี ทนเสียงเหมือนกับภาษาไทย รูปแบบการออกเสียงในบางเสียงมีลกั ษณะ
คล้ายกับภาษาไทย แต่มบี างเสียงทีเ่ ป็ นเสียงสระมีความคาบเกีย่ วกับภาษาอังกฤษสาเนียงอเมริกนั เช่นเดียวกับ
เสียงพยัญชนะบางเสียงใกล้เคียงกับเสียงพยัญชนะของภาษาอังกฤษ ยกเว้นกลุ่มเสียงกัก (plosive) ทีม่ ที งั ้ เสียง
พ่นลมและไม่พน่ ลม (aspiration) ได้แก่ /p, t, k, pʰ, tʰ, kʰ/
จากการศึกษาลักษณะการแปรภาษาของกลุ่มผูใ้ ช้ภาษาทีเ่ ป็ นกลุ่มชาติพนั ธุใ์ นระดับต่างๆ จากตัวอย่างที่
กล่ าวมา มีล ัก ษณะของการแปรเสีย งภาษาอัง กฤษจากกลุ่ ม ชาติพ ัน ธุ์ท่ีผู้เ ขีย นได้พ บ คือ เสีย งพยัญ ชนะ
ภาษาอังกฤษของกลุ่มชาติพนั ธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยแถบภาคเหนือของประเทศไทยเกิ ดปั ญหาในการออกเสียง
พยัญชนะภาษาอังกฤษ ชาวกะเหรี่ยงมีการแปรเสียงพยัญชนะท้ายภาษาอังกฤษในคาว่า next /_kst/ โดยไม่
สามารถออกเสียงได้ถูกต้องครบทัง้ 3 เสียง มีบางคนทีอ่ อกเสียง [_s] ได้เพียงเสียงเดียว บางคนออกเสียง [_st]
เป็ นลักษณะการลดเสียงพยัญชนะท้ายเสียงควบ (clusters reduction) ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักการออก
เสียงของภาษาอังกฤษมาตรฐาน แต่เมื่อฟั งแล้วก็รบั รูไ้ ด้ว่าผูพ้ ูดต้องการสื่อ ถึงคาว่าอะไร เมื่อพิจารณาลักษณะ
การออกเสียงที่เป็ นเช่นนี้ เพราะภาษากะเหรี่ยงเป็ นภาษาที่ไม่มพี ยัญชนะท้ายเสียง ดังนัน้ เมื่อมีการออกเสีย ง
ภาษาอังกฤษจึงออกเสียงเพียงแค่เสียงเดียวหรืออาจจะออกเสียงอีกเสียงไม่ช ดั เจน ไม่เพียงแต่ เสียงท้าย
ภาษาอังกฤษทีเ่ ป็ นปั ญหาในการออกเสียง เสียง /v/ คาว่า never ชาวกะเหรีย่ งออกเสียงผิดไม่ต่างไปจากคนไทย
เสียงในภาษากะเหรีย่ งเหมือนกับภาษาไทยทีไ่ ม่มเี สียง /v/ ดังนัน้ จึงออกเสียงโดยใช้รมิ ฝี ปากเป็ นเสียง /w/ ว ที่
ใช้ฐานกรณ์ใกล้เคียงกันออกเสียงแทน /v/
โครงสร้างประโยคภาษากะเหรี่ยงมีรูปแบบ SVO (Subject + Verb + Object) เช่นกัน แต่ในระดับของ
กลุ่มวลี คานามวลีมลี าดับการวางแตกต่างจากนามวลีภาษาอังกฤษ ชาวกะเหรี่ยงวางตาแหน่ งค าคุ ณศัพท์
ตามหลังคานาม
English language structure: adjective + noun (the blue house)
Karen language structure: noun + adjective (the house blue)
นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษากะเหรีย่ งทีน่ ามาซึง่ การแปรทางภาษาและการ
ใช้ไม่ถูกตามหลักภาษาอังกฤษของผูพ้ ดู ชาวกะเหรีย่ ง มีดงั นี้
309
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

1) ชาวกะเหรี่ยงมักจะออกเสียงโดยการตัดเสียงท้ายคาภาษาอังกฤษ จึงเหมือนเป็ นการออกเสียง


glottal stop /ʔ/ เนื่องจากภาษากะเหรีย่ งไม่มพี ยัญชนะเสียงท้าย
2) ภาษากะเหรีย่ งเกือบจะทุกคาเป็ นแบบพยางค์เดีย่ ว (monosyllabic) จึงค่อนข้างเป็ นอุปสรรคสาหรับ
ชาวกะเหรีย่ งในการพูดคาหลายพยางค์ (multi-syllabics) ภาษาอังกฤษ
3) การแทนเสีย งสระภาษาอัง กฤษด้วยเสีย งสระภาษากะเหรี่ย ง เสีย งสระภาษากะเหรี่ ย งไม่ไ ด้ม ี
สระผสมเหมือนภาษาอังกฤษหรืออาจมีเสียงน้อยกว่า บางเสียงอาจคล้ายกับสระภาษาอังกฤษแบบอเมริกนั แต่
แตกต่างในเรือ่ งของตาแหน่งการออกเสียง กะเหรีย่ งจึงออกเสียงแทนด้วยเสียงสระกะเหรีย่ งทีใ่ กล้เคียงกัน
4) เสียงพยัญชนะควบภาษากะเหรีย่ งมีแค่ 2 เสียง ในตาแหน่ ง CCV ประกอบด้วย 4 เสียง /j, w, r, l/
เท่านัน้ ในตาแหน่ง C2 โดย /w/ มีการเกิดร่วมกับเสียงพยัญชนะฐานกรณ์ฟัน (dental) และปุ่มเหงือกเพดานแข็ง
(alveolar-palatal) เช่ น /kʰwí/ ‘fishhook’, /ȶʰwɪ/ ‘crab’, /nwé/ ‘seven’ เสี ย ง /j, r, l/ เกิ ด ร่ ว มกั บ เสี ย ง
พยัญชนะริมฝี ปาก (bilabial) และเพดานอ่อน (velar) เช่น /mjú/ ‘kind’, /bjɛ/ ‘blanket’, /pʰle/ ‘fast’, /blài/
‘thin’, /kʰrài/ ‘reach’, /pr/ ‘together’ (Manson, 2011, p. 6) แตกต่างจากภาษาอังกฤษ สามารถมีเสียงควบ
พยัญชนะได้ 2-4 เสียง ทัง้ ในตาแหน่งต้นคาและท้ายคา เช่น gray // (CCV), scrap // (CCCV), lisp
/lp/ (VCC), helps /l/ (VCCC), texts // (VCCCC)
จากความแตกต่างของลักษณะทางภาษาในภาษากะเหรี่ยงและภาษาอังกฤษทัง้ ระดับเสียงพยัญชนะ
เสียงสระ และโครงสร้างไวยากรณ์ จึงมีการลาดับส่วนประกอบทางภาษาต่างกัน เมื่อใช้ภาษาอังกฤษทาให้เรา
สามารถมองเห็นถึงแนวโน้มของการแปรภาษาอังกฤษที่เกิดขึน้ จากผูพ้ ูดกะเหรี่ยง จึงเกิดเป็ นภาษาอังกฤษอีก
สาเนียง คือ ภาษาอังกฤษสาเนียงกะเหรีย่ ง (Karen English) ทีเ่ กิดจากการใช้ภาษาอังกฤษด้วยการผสมผสาน
ภาษากะเหรีย่ งทีอ่ าจเห็นรูปแบบทางภาษาของทัง้ สองมาผสมกันหรือเป็ นรูปแบบทางภาษาทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ น่าสนใจ
ศึกษาต่อไปถึงเรื่องภาษาอังกฤษสาเนียงกะเหรี่ยงในแง่มุม ทางภาษาศาสตร์แขนงต่างๆ หรือศึกษาด้านอื่นที่
เกีย่ วข้อง และอาจเกิดภาษาอังกฤษอีกหลายสาเนียงเพิม่ มากขึน้ จากผูใ้ ช้ทม่ี คี วามแตกต่างทางเชือ้ ชาติ หรืออาจ
เป็ นไปได้ว่าชาวกะเหรีย่ งมีแนวโน้มใช้ภาษาอังกฤษดีขน้ึ ปราศจากการผสมสาเนียงของภาษาแม่ ชาวกะเหรีย่ ง
รุ่นใหม่อาจมีการแปรภาษาอังกฤษน้อยลง เนื่องจากคนรุ่นใหม่เริม่ เข้ามาอาศัยและเข้าสังคมเมืองตัง้ แต่อายุน้อย
จึงได้ซึมซับและสัมผัสกับสังคมที่กาลังเปลี่ยนแปลง การซึม ซับการใช้ภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศที่ได้
สาเนียงไม่แปรมากเกินไป แตกต่างจากชาวกะเหรี่ยงรุ่นเก่า ทัง้ นี้หากการได้อยู่ในครอบครัวที่ยงั คงพูดและใช้
ภาษาแม่ทค่ี ่อนข้างเข้มงวดก็เป็ นปั จจัยหนึ่งทีท่ าให้เกิดการปะปนของภาษาทีส่ องการได้คลุกคลีและเน้นเพียงการ
ได้เรียนรู้ ฟั ง พูดและสือ่ สารภาษาไทยให้เข้าใจ ก็ยงั คงพูดภาษาไทยด้วยสาเนียงภาษากะเหรีย่ ง แต่ชาวกะเหรีย่ ง
รุ่นหลัง ช่วงอายุประมาน 30 ปี สามารถพูดภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศในรูปแบบของการลดสาเนี ยง
กะเหรีย่ ง และดูเหมือนว่าภาษากะเหรีย่ งจะยิง่ ห่างหายไปจากคนรุ่นใหม่เรื่อยๆ อีกทัง้ ยังพบว่าชาวกะเหรีย่ งรุ่นใหม่
(รวมถึงชาติพนั ธุ์กลุ่มอื่นด้วย) ให้ความสนใจศึกษาต่อด้านภาษาอังกฤษ และการทางานที่เกี่ยวข้องกับการใช้
ภาษาอังกฤษเพิม่ ขึน้
310
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

7. บทสรุป

ในบทความนี้ได้นาเสนอปรากฏการณ์ทางภาษาอังกฤษทีไ่ ด้มกี ารเปลีย่ นแปลงไปทุกช่วงเวลา เนื่องด้วย


ปั จจัยทางสังคมต่างๆ ทีม่ ผี ลทาให้ภาษามีการเปลีย่ นแปลง ทฤษฎีการแปรทางภาษาเป็ นทฤษฎีทางภาษาศาสตร์
เชิงสังคมทีส่ ามารถอธิบายถึงการแปรของภาษาอังกฤษตัง้ แต่ยุคเก่ามาจนถึงภาษาอังกฤษทีใ่ ช้ในปั จจุบนั ทาให้
เกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าภาษาอังกฤษมีกระบวนการเปลีย่ นแปลงมาเป็ นระบบ และค่อยๆ ขยายการใช้
ภาษาอังกฤษทัวโลก ่ ดังนัน้ ภาษาอังกฤษจึงไม่ได้มแี ค่สาเนียงภาษาอังกฤษดัง้ เดิมทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาแม่
และเป็ นภาษาเริ่มต้น แต่ภาษาอังกฤษได้ม ีการกระจายไปอย่างกว้างขวางทุ กทวีป สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเกิด
ภาษาอังกฤษแบบใหม่หรือภาษาอังกฤษสาเนียงใหม่ จึงเป็ นทีม่ าให้เกิดการจัดกลุม่ ภาษาอังกฤษในโลกนี้ออกเป็ น
3 กลุม่ ประกอบด้วย inner circle, outer circle และ expanding circle รวมถึงภาษาอังกฤษรูปแบบต่างๆ ทีป่ รากฏ
ในแถบเอเชีย จัดอยู่ในกลุ่ม outer circle และ expanding circle เพราะได้รบั ภาษาอังกฤษมาหลังยุคอาณานิคม
เกิด การเข้า มายึด อ านาจประเทศที่ใ ช้ ภ าษาแม่ เ ป็ นหลัก จึง ได้ร ับ ภาษาอัง กฤษมาเป็ นภาษาที่ส องหรือ
ภาษาต่างประเทศ ดังนัน้ จึงเป็ นเหตุผลหนึ่งทีท่ าให้ระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษต่างกัน หากจะกล่าวว่าการใช้
ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาทีส่ องหรือเป็ นภาษาต่างประเทศจะทาให้ภาษาแม่ซ่งึ เป็ นภาษาทีม่ เี อกลักษณ์ประจากลุ่ม
ชาติพนั ธุ์ยงิ่ สูญหายไป จนในทีส่ ุดถูกจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาใกล้สูญ (endangered language) ก็เป็ นแนวโน้มที่
อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากปิ ดกัน้ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในปั จจุบนั ก็ดูเหมือนจะเป็ นการปิ ดกัน้ ความ
เจริญก้าวหน้าสู่สงั คมภายนอกและโอกาสทีจ่ ะสร้างความเจริญเติบโตแก่ตนเองและประเทศชาติ จะดีกว่าหากมี
การส่งเสริมการอนุ รกั ษ์ไว้ซ่งึ ภาษาของกลุ่มชาติพนั ธุด์ ว้ ยรูปแบบทางสังคมต่างๆ และสร้างความตระหนักให้แก่
คนรุ่นใหม่วา่ ควรคงไว้ซง่ึ ภาษาแม่ ภาษาดัง้ เดิม ถึงแม้วา่ ความสาคัญของการใช้ภาษาอังกฤษจะยิง่ มีความสาคัญ
มากขึน้ ก็ตาม
ความหลากหลายของภาษาอัง กฤษในเอเชีย เกิด จากการที่ม ีผู้ใ ช้ภ าษาจากหลากหลายเชื้อ ชาติ
หลากหลายกลุ่มชาติพนั ธุ์ เป็ นความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษาทีม่ ภี าษาแม่อนั สื่อถึงความเป็ นเอกลักษณ์
ประจากลุ่มชาติพนั ธุ์นัน้ ๆ ภาษาอังกฤษที่ใช้จงึ เกิดการผสมและแทรกแซงจากภาษาแม่ เกิดเป็ นภาษาอังกฤษ
สาเนียงเฉพาะของประเทศนัน้ ๆ เช่น ภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์ ภาษาอังกฤษแบบมาเลเซีย ภาษาอังกฤษแบบ
ฟิ ลิป ปิ น ส์ เป็ น ต้น ภาษาอัง กฤษเหล่ า นี้ ม ีค วามแตกต่ า งทางคุ ณ สมบัติท างภาษาที่เ กิด จากตัว ผู้ใ ช้ภ าษา
หลากหลายชาติพนั ธุ์ทงั ้ ในระดับของระบบเสียงพยัญชนะและสระ (phonology) คาและความหมาย (lexis and
meaning) ไวยากรณ์ ข องภาษา (grammar) และการใช้ ภ าษาในบริบ ทการสื่อ สาร (discourse) จากการ
เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างภาษาอังกฤษดัง้ เดิมกับภาษาอังกฤษแบบต่างๆ มีการผสมผสานและการ
แทรกแซงของภาษาแม่ของกลุ่มชาติพนั ธุ์ รวมทัง้ กลุ่มชาติพนั ธุ์กะเหรีย่ งในประเทศไทยทีม่ ภี าษากะเหรีย่ งเป็ น
ภาษาแม่ พบว่าชาวกะเหรีย่ งมีการใช้ภาษาอังกฤษแปรไปจากภาษาอังกฤษดัง้ เดิม ภาษากะเหรีย่ งมีระบบทาง
ภาษาทีค่ ่อนข้างแตกต่างจากภาษาอังกฤษ เมือ่ ชาวกะเหรีย่ งใช้ภาษาอังกฤษจึงมีการนาระบบภาษากะเหรีย่ งและ
วัฒ นธรรมถ่ า ยทอดสู่ ภ าษาอัง กฤษ ลัก ษณะของภาษาที่เ กิด ขึ้น จึง เป็ น ภาษาอัง กฤษอีก รู ป แบบหนึ่ ง คือ
ภาษาอังกฤษสาเนียงกะเหรีย่ ง (Karen English) ทานองเดียวกับกระบวนการการนาหลักทางภาษาไทยเข้ามาใช้
ในภาษาอังกฤษโดยการผ่านกระบวนการต่างๆ จนทาให้เกิดเป็ นภาษาอังกฤษสาเนี ยงไทย (Thai English/
ThaiE) (Rogers, 2013; Singhasak & Methitham, 2016) และโรเจอร์ (Rogers, 2013, pp. 252-253) ก็ไ ด้จ ัด
ThaiE เป็ น variety of world English โดยให้เหตุผลว่า โครงสร้างภาษาบางลักษณะของภาษาอังกฤษสาเนียงไทย
311
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

มีความคล้ายคลึงกับลักษณะทางภาษาของ world English และในเมือ่ ชาวกะเหรีย่ งเป็ นกลุ่มชาติพนั ธุห์ นึ่งทีอ่ าศัย
ในประเทศไทย ก็มคี วามเป็ นไปได้ทภ่ี าษาอังกฤษสาเนียงกะเหรีย่ งสามารถจัดให้เป็ น variety of world English
เพราะด้วยกระบวนการการถ่ายทอดภาษากะเหรีย่ งสู่ภาษาอังกฤษทีอ่ าจคล้ายกับกระบวนการของภาษาไทยที่
ถ่ายทอดสูภ่ าษาอังกฤษ จากเหตุผลดังกล่าวสามารถเป็ นแนวทางในการศึกษาเพิม่ เติมในอนาคตถึงกระบวนการ
ทางภาษาการใช้ภาษากะเหรี่ยงในภาษาอังกฤษ จนทาให้เ กิดการภาษาแปรเป็ นภาษาอังกฤษสาเนียงแบบ
กะเหรีย่ ง แต่ในเมื่อกลุ่มชาติพนั ธุก์ ะเหรีย่ งมีกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม ก็เป็ นทีน่ ่ าสนใจว่าภูมหิ ลังทางภาษาของภาษา
แม่ทแ่ี ตกต่างกัน จะส่งผลทาให้เกิดการแปรเป็ นภาษาอังกฤษสาเนียงทีค่ ล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร

รายการอ้างอิ ง

ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา บารุงรักษ์. (2558). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


Bell, A., Sharma D., & Britain, D. (2016). Labov in Sociolinguistics: An Introduction. Journal of Sociolinguistics,
20(4), 1-9.
Edwards, J. H. (2016). Sociolinguistic Variation in Asian English: The Case of Coronal Stop Deletion.
English World-Wide, 37(2), 138-167.
Hazen, K. (2010). Labov: Language variation and change. Research Gate of West Virgnia University, 23-39.
Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/293091756.
Intajamornrak, C. (2012). Variation and change of the Phrae Pwo Karen vowels and tones induced by
Language contact with the Tai language. MANUSYA; Journal of Humanities Regular, 15(2), 1-20.
Kachru, Y. & Nelson, C. (2006). Asian Englishes Today: World Englishes in Asian Contexts. Hong Kong:
Hong Kong University Press.
Kiesling, S. (2004). A variable, a style, a stance: Word-final-er and ethnicity in Australian English. Australia.
Retrieved from https://www.academia.edu/2699018/A_variable_a_style_a_stance_Word_final_er_and
_ethnicity_ in_Australian_English.
Kirkpatrick, A. (2010). The Routledge Handbook of World Englishes. USA: Routledge.
Labov, W. (1972). Sociolinguistic Patterns. Philadelphia: University of Pensylvania Press.
Manson, K. (2011). The Subgrouping of Karen Languages. Paper presented at the 21st Southeast Asian
Linguistics Society, Bangkok.
Reyes, A. (2010). Language and Ethnicity. In N. Hornberger & S. McKay, (Series Ed.),
Sociolinguistics and Language Education (pp. 398-426). UK: Short Run Press.
Rogers, U. (2013). Thai English as a Variety (Doctoral Dissertation in Philosophy), Ariisona State University,
Arisona.
Singhasak, P. & Methitham, P. (2016). Non-native English Varieties: Thainess in English Narratives.
English Language Teaching, 9(4), 128-138.
Stell G. (2010). Ethnicity in Linguistic Variation: White and Coloured Identities in Afrikaans-English
Code-Switching. International Pragmatics Association, 20(3), 425-447.
Trudgill, P. (1995). Sociolinguistics: An introduction to language and society (3rd ed.). England: Clays Ltd.
312
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
Manutsayasat Wichakan Vol.29 No.2 (July-December 2022)

Vu, P. (2012). English in Southeast Asian Countries. Literature. Retrieved from https://dumas.ccsd.cnrs.fr/dumas-
00931949.
Wardhaugh, R. (1992). An Introduction to Sociolinguistics. Cambridge, MA: Blackwell.
Wardhaugh, R. (2006). An Introduction to Sociolinguistics. New York: Wiley-Blackwell.
Wong, A. (2007). Two Vernacular Features in the English of Four American-Born Chinese in New York City.
University of Pennsylvania Working Papers in Linguistics, 13(2), 215-230.

You might also like