You are on page 1of 4

คุณค่าและความสาคัญของวรรณกรรมท้องถิ่นและ

การมีส่วนร่วมเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่น

ความสาคัญของวรรณคดีวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมท้องถิ่นมีความสาคัญต่อท้องถิ่นและประเทศชาติ ดังต่อไปนี้

๑ ด้านการใช้ภาษา ผู้เขียนหรือผู้เล่าได้แสดงความสามารถทางด้านการใช้ภาษาในการถ่ายทอดความ
ไพเราะ ความหมายที่ดี ความลึกซึ้ง ทาให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดปัญญาหาเหตุผลได้
๒ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวติ ของคน ผู้อ่านหรือผู้ฟังวรรณคดี จะได้รับความรู้เกี่ยวกับความคิด
ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาตินั้นๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและ
๓ สืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม การสร้างวรรณกรรมวัฒนธรรมหลายประเภท ทาให้การสืบทอด
วัฒนธรรมด้านวัตถุต่าง ๆ
๔ เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ กฎ ระเบียบ คาสอน ศีลธรรม โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นให้ผู้รับฟัง ผู้อ่านได้
รับรู้และเข้าใจโดยไม่รู้ตัว เช่น วรรณกรรมศาสนา คาสอน ตานาน หรือวรรณกรรมเบ็ดเตล็ด เป็นต้น
๕ เป็นเครื่องมือสร้างกาลังใจและสร้างศรัทธา ทาให้เกิดความเชื่อมั่น มีกาลังใจได้ เช่น วรรณกรรมทีใ่ ช้
ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น มนต์ คาถา บทสวด บททาขวัญ เป็นต้น
๖ เป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคี วรรณกรรมท้องถิ่นสามารถสร้างความสามัคคี ของคนในหมู่คณะ
เดียวกันและประเทศชาติได้

คุณค่าของวรรณคดีวรรณกรรมท้องถิ่น
คุณค่าของวรรณคดีวรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง ความดีงาม ของงานพูด งานเขียนของนักพูด นักเขียน ซึ่ง
วรรณกรรมท้องถิ่นมีคุณค่าดังนี้

๑ คุณค่าด้านจริยศาสตร์
จริยศาสตร์ ความประพฤติ การครองชีวิตว่าอะไรดี ชั่ว หรืออะไรถูก ผิด วรรณกรรม ท้องถิ่นจะทาหน้าที่
รักษาแบบแผนและความประพฤติ การครองชีวิตของชาวบ้านให้ดาเนิน ไปอย่างถูกต้องตามข้อตกลง กฎ
ระเบียบของสังคม
๒ คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ หมายถึง การนิยมความงาม ความไพเราะของถ้อยคา ภาษาที่ใช้ใน วรรณกรรมท้องถิ่น การใช้
คาสัมผัส คล้องจอง ความไพเราะของท่วงทานอง บทกวี เมื่อฟังหรืออ่าน แล้วเกิดจินตนาการ ความรู้สึกและ
อารมณ์ วรรณกรรมท้องถิ่นทุกประเภทจะมีคุณค่าทางด้านนี้
๓ คุณค่าทางด้านศาสนา
วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อถ่ายทอดคาสอนและปรัชญาทางศาสนาเผยแพร่ไปสู่ประชาชน ทาให้ประชาชนมี
หลักยึดเหนี่ยวใจ ได้ข้อคิดและมีแนวทางในการดารงชีวิต ประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นคนดีของสังคม วรรณกรรม
ที่ให้คุณค่าทางด้านนี้ เช่น นิทานชาดก มหาชาติชาดก เป็นต้น
๔ คุณค่าด้านการศึกษา
วรรณกรรมท้องถิ่นทุกประเภทเป็นสื่อที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อย่างมากมาย นอกเหนือจากการ
ให้ความบันเทิงแล้ว เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ ศาสนา คาสอน ชีวิตความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียม
ประเพณีของคนในท้องถิ่น เป็นต้น
๕ คุณค่าทางด้านภาษา
วรรณกรรมทุกประเภททั้งงานเขียนและการพูด ต้องใช้ถ้อยคา ภาษาเป็นสื่อในการ เสนอเรื่อง ดังนั้นจึงมี
คุณค่าทางด้านภาษาของคนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึง วัฒนธรรมและวิวัฒนาการด้านภาษาของ
ชาติที่มีภาษาเป็นของตัวเอง ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป
๖ คุณค่าด้านเศรษฐศาสตร์
วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคาสอน ภาษิต นิทาน ศาสนา จะให้ความรูเ้ กี่ยวกับ การเก็บออม การใช้จ่ายอย่าง
ประหยัดและการหารายได้ นอกจากนี้วรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทตารายา ตาราพยากรณ์ ตาราบทสวด ตารา
บททาขวัญในพิธีกรรมต่างๆ ยังให้ความรู้ แก่ผู้ที่ศึกษาจริงจัง สามารถนาไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ได้อีก
ด้วย
๗ คุณค่าด้านสังคม
วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อที่ปลูกฝังค่านิยมเรื่องความสามัคคี การดาเนินชีวิตอยู่ในสังคม แบบพึ่งพาอาศัย
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อความร่มเย็น เป็นสุขของสังคมและท้องถิ่น เช่น
วรรณกรรมประเภทคาสอนต่างๆ
๘ คุณค่าด้านประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี
วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทตานาน หรือนิทานต่างๆ ทาให้ผู้อ่านหรือผูฟ้ ังได้มีความรู้ เรื่องประวัติศาสตร์
โบราณสถาน โบราณวัตถุได้เป็นอย่างดี เช่น เรื่องสามมุก ของ จ.ชลบุรี เป็นต้น
๙ คุณค่าด้านจิตใจ
วรรณกรรมทุกประเภทมักนาเสนอเรื่องราวที่ทาให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังมีความรู้ ความเพลิดเพลินและความบันเทิง
ทาให้เกิดความจรรโลงใจ คลี่คลายความทุกข์ได้
๑๐ คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย
วรรณกรรมท้องถิ่นนอกจากจะมีประโยชน์ด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังให้ประโยชน์ ด้านใช้สอยด้วย
เช่น ตารารักษาโรคและตาราพิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น
การอนุรักษ์วฒ
ั นธรรมไทย

การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้


๑ ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่น เพื่อทราบความหมาย และความสาคัญของ
วัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดงั กล่าวถือเป็นรากฐานของการดาเนิน
ชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทาให้เกิดการยอมรับ และนาไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
๒ ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น เพื่อสร้าง
ความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอืน่ ๆ อย่างเหมาะสม
๓ รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสาคัญ ของวัฒนธรรม ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้อง
ให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน
๔ สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษา
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ
๖ จัดทาระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน
เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดาเนินชีวิต
อ้างอิง

วันทนา มาศวรรณา./(2556).//วรรณกรรมท้องถิ่น./สืบค้น 30 มกราคม 2566//จาก


https://www.gotoknow.org/posts/536827

IM JK./(2560).//การอนุรักษ์และเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่น./สืบค้น 30 มกราคม 2566//จาก


https://sites.google.com/site/wrrnkrrmtongthin12/hnwy-kar-reiyn-ru8

You might also like