You are on page 1of 29

วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 155

การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยถิ่ นภูเก็ตปั จจุบนั


ผ่านการสัมผัสภาษาถิ่ น

ฌัลลิกา มหาพูนทอง
ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทยิ 

บทคัดย่อ

บทความวิจยั นี้มวี ตั ถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์การสัมผัสภาษาถิน่


ในภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต ผู้วจิ ยั เลือกใช้ตวั แปรทางภาษาประกอบด้วยศัพท์จานวน
36 หน่ วยอรรถและตัวแปรเสียง 2 ตัวแปร ได้แก่ พยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตาย
สระเสียงยาวและสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด ผูบ้ อกภาษาเป็ นคนในจังหวัดภูเก็ต
จ านวน 120 คน แบ่ งออกเป็ น 4 กลุ่ มตามภู มิลาเนาบรรพบุรุ ษของผู้บอกภาษา
ได้แก่ ภูเก็ต ภาคใต้และเป็ นคนพูดภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันออก ภาคใต้และเป็ นคนพูด
ภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก และภาคกลาง นอกจากนี้ แบ่งตามรุ่นอายุ 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่
1 อายุ 60 ปี ขน้ึ ไป รุ่นที่ 2 อายุ 35-45 ปี และรุ่นที่ 3 อายุ 10-20 ปี โดยเก็บข้อมูล
รุ่นอายุละ 10 คน การเก็บข้อมูลใช้วธิ กี ารสัมภาษณ์ผบู้ อกภาษา (4 ถิน่ x 3 รุ่นอายุ
x รุ่นละ 10 คน) โดยใช้การสนทนาแบบไม่เป็ นทางการ ผลการวิจยั พบว่า กลุ่มรุ่น

บทความนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุ ษฎีบณั ฑิตเรื่อง “การแปร
ของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตตามอายุ: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิน่ ”

นิสติ ระดับดุษฎีบณั ฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ติดต่อได้ท:่ี chally.ma@gmail.com

ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ประจาภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ติดต่อได้ท:่ี kalaya.t@chula.ac.th
156 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

อายุมาก (60 ปี ขน้ึ ไป) ส่วนใหญ่ใช้รูปแปรทางภาษาตามภาษาถิ่นของบรรพบุ รุษ


กลุ่มรุ่นอายุกลาง (35-45 ปี ) ใช้รปู แปรทางภาษาทีห่ ลากหลาย ในขณะกลุ่มรุ่นอายุน้อย
(10-20 ปี ) ใช้รูปแปรทางภาษาทีเ่ ป็ นภาษาไทยมาตรฐานมากทีส่ ุด ดังนัน้ สรุปได้ว่า
ภาษาไทยถิ่นภู เก็ตในปั จจุ บ ันมีแนวโน้ มการเปลี่ยนแปลงที่ลู่ เข้าหาภาษาไทย
มาตรฐาน
คาสาคัญ: การสัมผัสภาษาถิน่ ; ภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต; ภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันออก;
ภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก; ภาษาไทยมาตรฐาน
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 157

Linguistic Change in Present Day Phuket Thai


through Dialect Contact

Challika Mahaphuntong
M.R.Kalaya Tingsabadh

Abstract

This research aimed at analyzing the dialect contact phenomenon


in Phuket Thai. The linguistic variables consist of 36 lexical items and two
phonological variables: final glottal stop ( Ɂ ) in long checked syllables and
the vowels ( ei, əɨ, ou) in open syllables. The data were collected from 120
informants in Phuket province. They were classified into four groups
according to their ancestors’ birthplaces: Phuket, Southern Thailand where
Eastern Southern Thai is spoken, Southern Thailand where Western
Southern Thai is spoken and Central Thailand. Each of these groups was
divided into three age groups: over 60 years old, 35-45 years old and 10-20


This paper is a part of the author’ s dissertation titled “ Lexical and
Phonological Variation in Phuket Thai by Age: An Implication for Dialect Contact”

Ph.D.’s student, Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn
University, e-mail: chally.ma@gmail.com

Assistant Professor, Department of Linguistics, Faculty of Arts,
Chulalongkorn University, e-mail: kalaya.t@chula.ac.th
158 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

years old, and, ten informants were selected from each of the three age
groups. The informants (four birthplaces x three age groups x 10 persons)
were interviewed to obtain informal speech. The result showed that the
elderly group (the over 60-year-old group) mostly used the linguistic variants
in their ancestors’ dialects. The middle- aged group ( the 35- 45 year- old
group) used a variety of linguistic variants while the young group (the 10-20
year- old group) mostly used the Standard Thai variants. It may be thus
concluded that present day Present Day Phuket Thai is tending to converge
with Standard Thai.
Keywords: dialect contact; Phuket Thai dialect; Eastern Southern Thai;
Western Southern Thai; Standard Thai
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 159

1. บทนา

ภูเก็ตเป็ นจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยทีม่ กี ลุ่มชาติพนั ธุห์ ลายกลุ่ม


อพยพเข้ามาอยู่อาศัย โดยเฉพาะคนจีนฮกเกีย้ น นอกจากนี้ ภูเก็ตยังเป็ นจังหวัดทีม่ ี
ความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒนธรรม อีกทัง้ ยังมีปรากฏการณ์ในเรื่องการ
สัมผัสภาษามาแต่ในอดีต วริษา กมลนาวิน (Kamalanavin, 2005, p. 233) กล่าวว่า
ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตมีลกั ษณะเฉพาะและผู้พูดเป็ นผู้รู้สองภาษาคือ ภาษาไทยและ
ภาษาจีนฮกเกี้ยน นอกจากนี้ ตามใจ อวิรุทธิโยธิน ( 2553, น. 2) กล่าวย้าว่า คน
ภูเก็ตได้สมั ผัสกับนักท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทัง้ คนภูเก็ตเชือ้ สาย
จีนก็มเี ป็ นจานวนมาก ด้วยเหตุน้ี ภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตจึงแตกต่างจากภาษาไทยถิน่ ใต้
จังหวัดอื่นๆ อันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา (language contact) จากคากล่าวของ
นักวิจยั ทัง้ สองทาให้พบว่า ภาษาไทยภูเก็ตมีปรากฏการณ์ในเรื่องการสัมผัสภาษา
ซึง่ เห็นได้จากการใช้คายืมภาษาจีนฮกเกีย้ นในชีวติ ประจาวันของคนภูเก็ตในงานวิจยั
เรื่อง คายืมภาษาจีนฮกเกีย้ นทีใ่ ช้ในภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต (นพดล กิตติกุล, 2534)
ปั จจุบนั จังหวัดภูเก็ตเป็ นเมืองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มกี ารพัฒนา
และขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทาให้มคี นไทยจากถิน่ ต่างๆ หลังไหลเข้
่ ามา
อาศัยและประกอบอาชีพในจังหวัดมากขึ้น เมื่อพิจารณาทางด้านประชากรของ
จังหวัดภูเก็ตในงานวิจยั ทีผ่ ่านมา เช่น งานของชมพูนุท พุ่มท่าอิฐ (2534) และสถิติ
สารวจประชากรและเคหะของสานักงานสถิตแิ ห่งชาติ ประจาปี พ.ศ.2553 พบว่า ใน
จังหวัดภูเก็ตมีประชากรหนาแน่ น สาเหตุสาคัญคือ การย้ายถิน่ กลุ่มคนหลากหลาย
ท้องถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็ นคนที่ย้ายถิ่นมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล
รองลงมา ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา และตรัง (ชมพูนุท พุ่มท่าอิฐ, 2534)
การทีค่ นจากถิน่ หนึ่งย้ายไปอีกถิ่นหนึ่ง คนเหล่านี้ต่างมีภาษาถิน่ ดัง้ เดิมที่
ติดตัวมา เมื่อต้องย้ายเข้ามาอยู่อกี ถิน่ หนึ่ง ซึง่ ในถิน่ นัน้ อาจมีกลุ่มคนจากหลายท้องที่
เข้ามาอาศัยร่วมกัน เพราะฉะนัน้ จึงต้องมีการปรับเข้าหากัน (accommodation) ใน
เรื่องการใช้ภาษาสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน (mutual intelligibility)
160 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

แม้ว่าจะเป็ นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกันก็ตาม ทรัดกิลล์ (Trudgill, 1986, 2009)


กล่าวว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้มาเจอกันจึงต้องปรับเข้าหากันเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่
เข้าใจตรงกัน ทาให้เกิดการสัมผัสภาษาถิน่ โดยผูพ้ ดู เหล่านี้จะพยายามปรับภาษาให้
คล้ า ยหรื อ ใกล้ เ คี ย งกับ คู่ ส นทนา เมื่ อ ระยะเวลาผ่ า นไป ย่ อ มก่ อ ให้ เ กิ ด การ
เปลีย่ นแปลงในภาษาได้ เพราะเกิดการใช้ภาษาถิน่ ปะปนกัน ต่างมีอทิ ธิพลซึง่ กันและ
กัน ทาให้เกิดการแทรกแซงในภาษา และหากมีการผ่านกระบวนการเกิดภาษาร่วม
(koineization) โดยสมบูรณ์แบบ ก็ทาให้เกิดภาษาถิน่ ใหม่ (new-dialect formation)
กล่าวคือ ในช่วงสถานการณ์ของการปนภาษาถิน่ จะพบรูปแปรจานวนมากจากภาษา
ถิ่นหลายภาษาที่แตกต่ างกัน เมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการเกิดภาษาร่วมก็จ ะ
เกิดขึ้น กลไกที่ก่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย การปรับให้เสมอกัน
(leveling) คือ การใช้รูปแปรที่มลี กั ษณะแปลกเด่น (marked variants) ลดน้อยลง
จนในทีส่ ุดเหลือรูปแปรทีน่ ิยมใช้กนั เพียงรูปแปรเดียว การทาให้เรียบง่ายและใช้เป็ น
ปกติ (simplification) คือ คนในชุมชนยอมรับที่จะใช้รูปแปรที่ผ่านการการปรับให้
เสมอกันอย่างกว้างขวางและใช้อย่างสม่าเสมอ การเลือกใช้รปู แปร (reallocation) ใน
บางครัง้ รูปแปรที่ผ่านการปรับให้เสมอกันอาจมีมากกว่าหนึ่งรูปแปร เพราะฉะนัน้
คนในชุมชนจึงมีการเลือกว่าจะใช้รูปแปรตามวัจนลีลา สิง่ แวดล้อมทางเสียง เป็ นต้น
หลังจากผ่านกระบวนการเกิดภาษาร่วมดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ ก็จะเหลือรูปภาษาที่
เป็ นบรรทัดฐานของชุมชน และภาษาถิน่ ใหม่กจ็ ะค่อยๆ ปรากฏขึน้
การปนภาษาถิ่นมีสาเหตุมาจากการอพยพ การย้ายถิ่น การตัง้ เมืองใหม่
การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเป็ นเมืองอุตสาหกรรม ลักษณะดังกล่าวนี้ตรงกับ
จังหวัดภูเก็ตที่มกี ารขยายตัวทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาเป็ นเมืองอุตสาหกรรม
ใหม่ คือ เปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็ นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทัง้
จานวนประชากรต่างถิน่ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ในจังหวัดภูเก็ต เพราะฉะนัน้ การทีค่ นหลากหลาย
ท้องที่เข้ามาตัง้ ถิ่นฐานในภูเก็ต มีการใช้ภาษาถิ่นที่หลากหลาย อาจก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในภาษาไทยถิ่นภู เก็ต ด้วยเหตุ น้ี ท าให้ผู้วิจ ัยสนใจปรากฏการณ์
ดังกล่าว จึงเลือกศึกษาเรื่องการเปลีย่ นแปลงของภาษาไทยถิ่นภูเก็ตโดยใช้แนวคิด
การสัมผัสภาษาถิน่ ผูว้ จิ ยั ใช้ตวั แปรทางภาษาและตัวแปรทางสังคมในงานวิจยั นี้
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 161

ตัวแปรทางภาษาทีใ่ ช้ในงานวิจยั คือ ศัพท์และเสียงทีเ่ ป็ นลักษณะเด่นของ


ภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต ได้แก่ ศัพท์ พยัญชนะท้าย (Ɂ)1 ในพยางค์ตายสระเสียงยาว และ
สระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด
ตัวแปรศัพท์ ในภาษาไทยถิ่นภู เก็ตมีรูปแปรศัพท์ท่พี บมาก คือ ค ายืม
ภาษาจีนฮกเกีย้ น เนื่องด้วยอิทธิพลของชาวจีนฮกเกีย้ นทีอ่ พยพเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานเป็ น
เวลาช้านาน (สุรยี ์ เสียงแสงทอง, 2524) ทาให้มกี ารเผยแพร่วฒ ั นธรรมต่างๆ อาหาร
การกิน ตลอดจนภาษาจีนฮกเกี้ยนที่ใช้ในการสื่อสารในชีวติ ประจาวัน ส่งผลให้คน
ภูเก็ตใช้คายืมภาษาจีนฮกเกีย้ นในชีวติ ประจาวันจนกลายเป็ นส่วนหนึ่งในภาษาไทย
ถิน่ ภูเก็ต นอกจากนี้ ยังมีรปู แปรศัพท์ทเ่ี ป็ นศัพท์ภาษาไทยถิน่ ใต้และศัพท์ภาษาไทย
ถิน่ กลาง/ไทยมาตรฐาน
ตัวแปรพยัญชนะท้าย ผู้วจิ ยั เลือกพยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระ
เสียงยาว ซึ่งแบ่งภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันออกและภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก โดยผู้พูด
ภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตใช้เสียงพยัญชนะท้าย /Ɂ/2 เช่น คาว่า ‘ปาก’ /pa:Ɂ 5/3 ‘แยก’ /jɛ: Ɂ 4/4
ลักษณะดังกล่าวเป็ นลักษณะสาคัญของภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก5 และภาษาไทยถิน่
ภู เก็ต ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก 6 เป็ นเสียงพยัญชนะท้าย / k/ (Diller,
1976; ภิญโญ จิตต์ธรรม, 2513; เรืองเดช ปั นเขื่อนขัติย์, 2531; อัครา บุญทิพย์,
2535; ฌัลลิกา มหาพูนทอง, 2540)

1( ) แทนตัวแปรภาษา
2/ / แทนหน่วยเสียงหรือเสียงทีเ่ ป็ นมาตรฐานของภาษานัน้
3 หน่ วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หมายถึง เสียงวรรณยุกต์สงู ระดับในภาษาไทยถิน ่ ภูเก็ต
4 หน่ วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หมายถึง เสียงวรรณยุกต์ต่ าขึน ้ ในภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต
5 ภาษาไทยถิ่น ใต้ตะวันตก หมายถึง ภาษาไทยถิ่นใต้ท ี่พูด ในจังหวัดชุม พร

สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง พังงา ภิญโญ จิตต์ธรรม (2513) เรียกภาษาไทยถิน่ ใต้กลุ่มนี้ว่า


ภาษาไทยถิน่ ใต้เขต 1
6 ภาษาไทยถิน ่ ใต้ตะวันออก หมายถึง ภาษาไทยถิน่ ใต้ท่พี ูดในจังหวัดตรัง พัทลุง
นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ยะลา ปั ตตานี และนราธิวาส ภิญโญ จิตต์ธรรม (2513) เรียก
ภาษาไทยถิน่ ใต้กลุ่มนี้ว่า ภาษาไทยถิน่ ใต้เขต 2
162 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

ตัวแปรสระ ผูว้ จิ ยั เลือกสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด จากงานวิจยั ทีผ่ ่าน
มา สระสูงยาว /i:, ɨ:, u:/ ในพยางค์เปิ ดในภาษาไทยมาตรฐาน เป็ นสระประสม /ei, əɨ,
ou/ ในภาษาไทยถิน ่ าและภูเก็ต (Brown, 1985, p. 139) ขณะทีเ่ จริญขวัญ
่ ใต้ตะกัวป่
ธรรมประดิษฐ์ (2524) พบว่า สระ /i:, u:/ จะออกเสียงเป็ นสระประสม [ei]7 และ [ou]
ในพยางค์เปิ ดที่อยู่ในวรรณยุกต์ A1-23-4 และ B1-23 ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นใต้
ทัวไปออกเสี
่ ยงเป็ นสระกึ่งสูง [e:], [ə:] และ [o:] และภาษาไทยมาตรฐานออกเสียง
เป็ นสระสูง [i:], [ɨ:] และ [u:] ดังนัน้ สระ /ei, əi, ou/ ถือเป็ นลักษณะเด่นของภาษาไทย
ถิน่ ภูเก็ต
ตัวแปรทางสังคม ได้แก่ ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษและอายุ เนื่องจากการศึกษา
เรื่องการสัมผัสภาษาถิ่น ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษหรือภูมลิ าเนาของคนที่ยา้ ยถิ่นมาอยู่
พื้น ที่ใ หม่ เ ป็ นปั จ จัย ส าคัญ ที่จ ะแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การปนภาษาถิ่ น ในพื้น ที่ ใ หม่
นอกจากนี้ ผูว้ จิ ยั ใช้การศึกษาแบบเวลาเสมือนจริง ดังนัน้ อายุเป็ นตัวแปรทีส่ าคัญใน
การศึกษา ผู้วิจยั แบ่งอายุของผู้พูดออกเป็ นสามรุ่นอายุ โดยผู้พูดรุ่นอายุมากเป็ น
ตัวแทนของภาษาในอดีต ผูพ้ ูดรุ่นอายุกลางแทนภาษาในปั จจุบนั และผูพ้ ดู รุ่นอายุน้อย
แทนภาษาในอนาคต
การศึกษานี้มวี ตั ถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์การสัมผัสภาษาถิน่
ของภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตซึง่ ส่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงของภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต ผล
การศึกษาครัง้ นี้จะเป็ นการเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาการสัมผัสภาษาถิ่น
ต่อไป

7 [ ] แทนรูปแปรภาษาหรือการออกเสียง
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 163

2. วิ ธีดาเนิ นการวิ จยั

ในการดาเนินการวิจยั ผู้วจิ ยั จะกล่าวถึง การคัดเลือกตัวแปรทางภาษา


การคัดเลือกผูบ้ อกภาษา การกาหนดจุดเก็บข้อมูล เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การ
เก็บข้อมูลภาคสนาม และการวิเคราะห์ขอ้ มูล ดังนี้

2.1 การคัดเลือกตัวแปรทางภาษา

ในงานวิจยั นี้ ผูว้ จิ ยั คัดเลือกตัวแปรทางภาษาทัง้ ศัพท์และเสียง เนื่องจากใน


การศึกษาทัง้ ศัพท์และเสียงจะทาให้เห็นภาพรวมของภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตในทุกแง่มุม
ลักษณะตัวแปรทีเ่ ลือกมานัน้ เป็ นตัวแปรทีเ่ ป็ นลักษณะเด่นของภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต มี
ดังนี้

2.1.1 ตัวแปรศัพท์
ศัพท์ประกอบด้วย 3 รู ปแปร คือ ค ายืมภาษาจีนฮกเกี้ยน (ฮก) ศัพท์
ภาษาไทยถิ่นใต้ (ทต) และศัพท์ภาษาไทยถิ่นกลาง/ไทยมาตรฐาน (ทม) รูปแปร
ดัง้ เดิมของภาษาไทยถิ่นภู เก็ต คือ ค ายืมภาษาจีนฮกเกี้ยน รูปแปรดัง้ เดิมของ
ภาษาไทยถิน่ ใต้ คือ ศัพท์ภาษาไทยถิน่ ใต้ (ทต) และรูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิ่น
กลาง/ไทยมาตรฐาน คือ ศัพท์ภาษาไทยถิน่ กลาง/ไทยมาตรฐาน (ทม)

2.1.2 พยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว


พยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว เป็ นตัวแปรทีแ่ บ่งภาษาไทย
ถิน่ ใต้ตะวันออกและภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก รูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต
และภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก คือ [Ɂ] รูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันออกคือ
[k] และรูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิน่ กลาง/ไทยมาตรฐานคือ [k]
164 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

2.1.3 สระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด


รูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิ่นภูเก็ตคือ [ei, əɨ, ou] รูปแปรดัง้ เดิมของ
ภาษาไทยถิ่นใต้ (รวมภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออกและภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก) คือ
[e:, ə:, o:] และรูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิน่ กลาง/ไทยมาตรฐานคือ [i:, ɨ:, u:]

2.2 การคัดเลือกผูบ้ อกภาษา

งานวิจ ัยนี้ ศึกษาเรื่องการสัมผัสภาษาถิ่น ดังนัน้ ตัวแปรสาคัญที่น ามา


พิจารณาคือ ภูมลิ าเนาและอายุ เนื่องจากผูอ้ พยพรุ่นแรกทีเ่ ข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานในพืน้ ทีใ่ หม่
จะนาภาษาถิน่ ของตนเองมาใช้สอ่ื สารในพืน้ ทีใ่ หม่ดว้ ย ส่วนตัวแปรอายุ แสดงให้เห็นว่า
ผูพ้ ดู รุ่นแรก (รุ่นอายุมาก) ทีอ่ พยพมาอยู่ในพืน้ ทีใ่ หม่ รุ่นลูก (รุ่นอายุกลาง) และรุ่นหลาน
(รุ่นอายุน้อย) มีการใช้รูปแปรทางภาษาอย่างไรเมื่ออยู่ในสภาวการณ์ของการสัมผัส
ภาษาถิ่น และพิจารณาแนวโน้ มการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยถิ่นภู เก็ต ดังนัน้
ผูว้ จิ ยั ได้กาหนดคุณสมบัตผิ บู้ อกภาษา ดังนี้

2.2.1 แบ่งตามอายุออกเป็ น 3 รุ่นอายุ ได้แก่


ก. รุ่นที่ 1 อายุ 60 ปี ขน้ึ ไป อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จานวน 40 คน
ข. รุ่ นที่ 2 อายุ 35-45 ปี เป็ นบุ ตรของรุ่ นที่ 1 ต้องเกิดและอาศัยอยู่ ใ น
จังหวัดภูเก็ต จานวน 40 คน
ค. รุ่ นที่ 3 อายุ 10-20 ปี เป็ นบุ ตรของรุ่ นที่ 2 ต้องเกิดและอาศัยอยู่ ใ น
จังหวัดภูเก็ต จานวน 40 คน
ผู้บอกภาษาทัง้ สามรุ่นอายุมาจากครอบครัวเดียวกัน รวม 40 ครอบครัว
120 คน

2.2.2 ในแต่ละรุ่นอายุ แบ่งออกเป็ น 4 กลุ่มๆ ละ 10 คน ตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษ


ได้แก่
ก. จังหวัดภูเก็ต และพูดภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตเป็ นภาษาแม่
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 165

ข. ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่


พังงา พูดภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตกเป็ นภาษาแม่ (ภาคใต้/ตต)
ค. ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุ ง ตรัง
สงขลา สตูล ยะลา ปั ตตานี และนราธิวาส และพูดภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออกเป็ น
ภาษาแม่ (ภาคใต้/ตอ)
ง. ภาคกลางของประเทศไทย พูดภาษาไทยถิ่นกลางรวมถึงภาษาไทย
มาตรฐานเป็ นภาษาแม่
ตารางที่ 1
ผูบ้ อกภาษาแบ่งตามรุ่นอายุและภูมลิ าเนาบรรพบุรุษ
ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษ ภูเก็ต ภาคใต้/ ตต ภาคใต้/ ตอ ภาคกลาง
รุน่ อายุ (คน) (คน) (คน) (คน)
รุน่ ที่ 1 อายุ 60 ปี ขน้ึ ไป 10 10 10 10
รุน่ ที่ 2 อายุ 35-45 ปี 10 10 10 10
รุน่ ที่ 3 อายุ 10-20 ปี 10 10 10 10
รวม 30 30 30 30

2.3 การกาหนดจุดเก็บข้อมูล

ในช่วงแรก ผูว้ จิ ยั พิจารณาพืน้ ทีใ่ นจังหวัดภูเก็ตโดยไม่ระบุจุดเก็บข้อมูลไว้


ก่อน หลังจากสารวจข้อมูลเบือ้ งต้น พบว่า บริเวณทีม่ กี ลุ่มคนจากหลายพืน้ ทีย่ ้ายถิ่น
เข้ามาอาศัยอย่างหนาแน่ น คือ อาเภอเมืองภูเก็ต ดังนัน้ ผู้วิจยั จึงกาหนดจุดเก็บ
ข้อมูลในงานวิจยั นี้ทอ่ี าเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

2.4 เครือ่ งมือในการเก็บข้อมูล

เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามและหัวข้อในการ
สนทนา ดังนี้
166 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

แบบกรอกประวัติส่วนตัวของผู้บอกภาษา เป็ นแบบสอบถามแสดงให้เห็น


ถึงคุณสมบัตขิ องผู้บอกภาษาทีก่ าหนดไว้ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เพศ อายุ ภูมลิ าเนา
สถานภาพการสมรส จานวนบุตร เป็ นต้น
หัวข้อสนทนา เป็ นเรื่องเกีย่ วกับเรื่องรอบตัวของผูบ้ อกภาษา เช่น ประวัติ
ส่วนตัวและชีวติ ความเป็ นอยู่ ประเพณีและเทศกาลที่สาคัญในจังหวัดภูเก็ต ความ
ประทับใจในจังหวัดภูเก็ต เป็ นต้น จากงานวิจยั ทีผ่ ่านมา หากเก็บข้อมูลแบบคาพูด
ต่อเนื่อง การใช้หวั ข้อสนทนาเกีย่ วกับเรื่องรอบตัวของผูบ้ อกภาษาจะเป็ นการกระตุน้
ให้ผบู้ อกภาษาสามารถพูดคุยได้เป็ นอย่างดี ซึง่ ทาให้การสนทนาเป็ นไปอย่างราบรื่น

2.5 การเก็บข้อมูลภาคสนาม

2.5.1 ผูว้ จิ ยั ใช้วธิ หี าผูบ้ อกภาษาแบบเครือข่าย คือ เริม่ ต้นจากคนรูจ้ กั แนะนาบุคคล


ทีจ่ ะมาเป็ นผูบ้ อกภาษาทีม่ คี ุณสมบัตติ ามข้อ 2.2 หลังจากเสร็จสิน้ การเก็บข้อมูลจาก
ผูบ้ อกภาษาแล้ว ผูว้ จิ ยั จะให้ผบู้ อกภาษาคนดังกล่าวแนะนาบุคคลทีจ่ ะมาเป็ นผูบ้ อก
ภาษาต่อไปจนครบตามจานวนทีต่ อ้ งการ

2.5.2 ผูว้ จิ ยั ใช้วธิ กี ารสนทนาแบบไม่เป็ นทางการ เริม่ แรกผูว้ จิ ยั ทาความรูจ้ กั กับ


ผูบ้ อกภาษาก่อนเพื่อสร้างความเป็ นกันเอง จากนัน้ สัมภาษณ์ประวัตขิ องผูบ้ อกภาษา
ผูว้ จิ ยั ใช้เวลาพูดคุยกับผูบ้ อกภาษาประมาณ 1 ชัวโมง ่ ในการสนทนากับผูบ้ อกภาษา
ผู้วิจ ัยได้สร้างสถานการณ์ จาลอง โดยมีคู่สนทนาที่ใช้ภาษาถิ่นต่ างกัน กล่ าวคือ
ผูว้ จิ ยั ใช้ภาษาไทยถิน่ ใต้และมีผชู้ ่วยวิจยั ใช้ภาษาไทยถิน่ กลาง/ภาษาไทยมาตรฐาน
ในการสนทนา เพื่อให้ผู้บอกภาษารู้สกึ ว่าเป็ นเสมือนสถานการณ์ จริงที่เกิดขึ้นใน
ชีวิตประจาวันที่ผู้บอกภาษาต้องพูดคุยกับคนในภูเก็ตที่พูด ภาษาถิ่นต่ างกัน ใน
ระหว่างการสนทนา ผู้วจิ ยั ได้บนั ทึกเสียงและจดบันทึกข้อมูลทีจ่ ะนามาวิเคราะห์ใน
งานวิจยั นี้
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 167

2.6 การวิ เคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ขอ้ มูล ผูว้ จิ ยั คัดเลือกคาทดสอบ (test token) จานวน 20 คา


แรกทีม่ รี ปู แปรของตัวแปรศัพท์และเสียงตามทีก่ าหนดไว้ในข้อ 2.1 จากข้อมูลของ
ผู้บอกภาษาแต่ ละคน จากนัน้ วิเคราะห์ลกั ษณะทางภาษาที่ปรากฏว่าเป็ นรูปแปร
ภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต รูปแปรภาษาไทยถิน่ ใต้ หรือรูปแปรภาษาไทยมาตรฐาน และแจง
นับรูปแปรที่ผู้บอกภาษาใช้ แสดงค่ าอัตราร้อยละ และประมวลผลที่ได้โดยการ
เปรียบเทียบอัตราการใช้รูปแปรทัง้ ศัพท์และเสียงของคนแต่รุ่นละอายุตามภูมลิ าเนา
บรรพบุรุษ และพิจารณาดูแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต

3. ผลการศึกษา

ในหัวข้อนี้ ผูว้ จิ ยั แบ่งประเด็นผลการศึกษาออกเป็ น 3 ส่วน ดังนี้

3.1 ตัวแปรศัพท์

ข้อมูลศัพท์ท่มี ี 3 รูปแปรที่ได้จากผู้บอกภาษาจานวน 120 คน มีจานวน


ทัง้ สิน้ 36 หน่วยอรรถ ซึง่ หน่วยอรรถทัง้ หมดนี้มรี ปู แปรศัพท์ 3 รูปแปรตามทีก่ าหนด
ในข้อ 2.1.1 คือ คายืมภาษาจีนฮกเกีย้ น ศัพท์ภาษาไทยถิน่ ใต้ และศัพท์ภาษาไทย
ถิน่ กลาง/ไทยมาตรฐาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง
หน่ วยอรรถ คายืมภาษาจีน ภาษาไทยถิน่ ใต้ ภาษาไทยถิน่ กลาง/
ฮกเกี้ยน ไทยมาตรฐาน
‘แตงโม’ ซีกวั ้ /si:6ku:a6/ แตงจีน แตงโม
‘ถั ่วงอก’ ตาวเหง /ta:w6ŋe:4/, หน่อถั ่ว ถั ่วงอก
ตาวแหง /ta:w6ŋɛ:4/
168 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

หน่ วยอรรถ คายืมภาษาจีน ภาษาไทยถิน่ ใต้ ภาษาไทยถิน่ กลาง/


ฮกเกี้ยน ไทยมาตรฐาน
‘ขนมถ้วย’ โกสุย้ /ko:6suj5/ หนมจอก ขนมถ้วย
‘ผงชูรส’ บีเ่ จ้ง /bi:6ʨe:ŋ5/, แป้ งหวาน ผงชูรส
หมีเ่ จ้ง /mi:6ʨe:ŋ5/
‘ผ้าขาวม้า’ จุย้ มั ่ว /ʨuj5mua5/ ผ้าชุบ ผ้าขาวม้า
‘ปู่ ตา’ ก้อง /kɔ:ŋ5/ พ่อแก่ พ่อเฒ่า ปู่ ตา
‘กะละมัง’ บิน่ ผูน /bin6phu:n4/ โคม กะละมัง
‘สะเดาะเคราะห์’ โก้ยห่าน / เดาะเคราะห์ สะเดาะเคราะห์
koj5ha:n6/
‘รถสองแถว’ โพถ้อง รถไม้ รถสองแถว
/pho:6thɔ:ŋ5/

จากหน่ วยอรรถที่ได้ มีความถี่ในการปรากฏเป็ นรูปแปรคายืมภาษาจีน


ฮกเกีย้ น 588 ครัง้ รูปแปรศัพท์ภาษาไทยถิน่ ใต้ 318 ครัง้ และรูปแปรศัพท์ภาษาไทย
ถิน่ กลาง/ไทยมาตรฐาน 1,494 ครัง้ รวมทัง้ สิน้ 2,400 ครัง้ ประเภทของหน่ วยอรรถ
ส่วนใหญ่ เป็ นศัพท์ท่เี กี่ยวกับผัก ผลไม้ อาหาร เครื่องแต่ งกาย อุปกรณ์ เครื่องใช้
ยานพาหนะ คาสรรพนาม คาเรียกญาติ และคากริยา
ผูว้ จิ ยั แจงนับความถีก่ ารใช้รูปแปรศัพท์จาแนกตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษใน
แต่ละรุ่นอายุ ซึง่ นามาจากปริมาณการใช้รปู แปรทัง้ หมดของผูบ้ อกภาษาจาแนกตาม
รุ่นอายุ (3 รุ่นอายุ) รุ่นอายุละ 40 คน และในแต่ละรุ่นอายุแบ่งตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษ
4 ถิน่ ถิน่ ละ 10 คน จากข้อมูลของผูบ้ อกภาษาแต่ละคน ผูว้ จิ ยั ได้เลือกคาทดสอบจานวน
20 คาแรกทีเ่ ป็ นรูปแปรตามทีก่ าหนดไว้ในข้อ 2.1 ดังนัน้ ความถี่การใช้รปู แปรศัพท์
ของผูบ้ อกภาษาจาแนกตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษในแต่ละรุ่นอายุมจี านวนรวมทัง้ สิ้น
200 ครัง้ คิดคานวณใช้สตู รดังนี้
อัตราร้อยละของการใช้ = ความถี่การใช้รปู แปรศัพท์ x 100
200
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 169

ผลการวิเคราะห์ความถี่และอัตราการใช้รูปแปรศัพท์จาแนกตามภูมลิ าเนา
บรรพบุรุษในทุกรุ่นอายุมรี ายละเอียดแสดงในตารางที่ 2 และภาพที่ 1
ตารางที่ 2
อัตราการใช้รปู แปรศัพท์จาแนกตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษในทุกรุ่นอายุ
ภูมลิ าเนา ภูเก็ต ภาคใต้/ ตต. ภาคใต้/ ตอ. ภาคกลาง
บรรพบุรษุ
อายุ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ
60 ปี ฮก 145 72.5 96 48 20 10 22 11
ขึน้ ไป ทต 10 5 42 21 102 51 6 3
ทม 45 22.5 62 31 78 39 172 86
35-45 ฮก 116 58 33 16.5 46 23 25 12.5
ปี ทต 11 5.5 62 31 61 30.5 1 0.5
ทม 73 36.5 105 52.5 93 46.5 174 87
10-20 ฮก 32 16 15 7.5 16 8 22 11
ปี ทต 0 0 7 3.5 12 6 4 2
ทม 168 84 178 89 172 86 174 87

ภาพที ่ 1. เปรียบเทียบอัตราการใช้รปู แปรศัพท์จาแนกตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษ


ในทุกรุ่นอายุ
170 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

จากตารางที่ 2 และภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ผูบ้ อกภาษารุ่นที่ 1 อายุ 60 ปี


ขึน้ ไปที่มภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษต่างถิน่ กันจะใช้รูปแปรศัพท์ดงั ้ เดิมของภาษาถิน่ ของ
ตนเป็ นส่วนใหญ่ กล่าวคือ ผูบ้ อกภาษาทีม่ ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษอยู่ทภ่ี ูเก็ตใช้รูปแปร
ศัพท์คายืมภาษาจีนฮกเกีย้ นมากทีส่ ุด ในขณะทีผ่ บู้ อกภาษาทีม่ ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษ
มาจากภาคใต้/ตอ ใช้รูปแปรศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้มากที่สุด และผู้บอกภาษาที่มี
ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคกลางใช้รูปแปรศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุด
ส่วนผู้บอกภาษาที่มีภูมิลาเนาบรรพบุรุษมาจากภาคใต้/ตต ใช้รูปแปรศัพท์คายืม
ภาษาจีนฮกเกี้ยนมากที่สุด ซึ่งรูปแปรดัง้ เดิมของภาษาถิ่นของคนกลุ่มนี้เป็ นศัพท์
ภาษาไทยถิ่นใต้ สาเหตุ เพราะมีผู้บ อกภาษาที่ม าจากจังหวัดพังงาซึ่งใช้ ศ ัพ ท์
คล้ายคลึงกับผู้บอกภาษาที่มีภูมิลาเนาบรรพบุรุ ษอยู่ท่ภี ู เก็ตคือ ค ายืมภาษาจีน
ฮกเกีย้ นมากกว่าศัพท์ภาษาไทยถิน่ ใต้ อย่างไรก็ตาม เมื่อผูบ้ อกภาษาต่างถิน่ กันมาอยู่
รวมกันย่อมก่อให้เกิดการปนภาษาถิน่ ดังนัน้ ผูบ้ อกภาษาแต่ละคนทีม่ าจากต่างถิ่น
กันเริม่ ปรับเข้าหากันและใช้รปู แปรศัพท์ของถิน่ อื่นๆ
ผู้บอกภาษารุ่นที่ 2 อายุ 35-45 ปี ใช้รูปแปรศัพท์ท่เี ป็ นภาษาถิ่นตาม
บรรพบุรุษของตนลดลงและนิยมใช้รูปแปรศัพท์ของภาษาถิ่นอื่นมากขึน้ นอกจากนี้
ความถี่ในการใช้รูปแปรศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานเพิม่ ขึน้ จากรุ่นที่ 1 แสดงให้เห็นถึง
การปนภาษาถิน่ ความหลากหลายของการใช้รปู แปร และการเลือกใช้รปู แปรในรุ่นที่ 2
ผูบ้ อกภาษารุ่นที่ 3 อายุ 10-20 ปี นิยมใช้รปู แปรศัพท์ภาษาไทยมาตรฐาน
สูงถึงประมาณร้อยละ 90 และใช้รูปแปรศัพท์ภาษาไทยถิน่ ใต้น้อยทีส่ ุด ผูบ้ อกภาษา
เลือกใช้รูปแปรคายืมภาษาจีนฮกเกี้ยนในบางหน่ วยอรรถ เนื่องจากเป็ นคาเฉพาะ
เรียกสิง่ นัน้ เช่น อาหารท้องถิน่ พิธกี รรม ประเพณีทอ้ งถิน่
จากผลทีน่ าเสนอข้างต้นเป็ นการสนับสนุ นแนวคิดการสัมผัสภาษาถิ่นที่ว่า
คนที่ย้ายถิ่นฐานมาตัง้ รกรากในพื้นที่ใหม่จะใช้ภาษาถิ่นของตนในการสื่อสาร แต่ก็
พยายามทีจ่ ะปรับเข้าหากันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสือ่ สาร ในงานนี้พบว่า แม้
ผูบ้ อกภาษาในรุ่นที่ 1 จะใช้รูปแปรภาษาถิน่ ของตน แต่ผบู้ อกภาษาก็ปรับเข้าหากัน
ทาให้มกี ารใช้รปู แปรของภาษาถิน่ อื่นด้วย ซึง่ ก่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้
รูปแปรในรุ่นที่ 2 มากขึน้ และรูปแปรทีน่ ิยมใช้กนั คือรูปแปรภาษาไทยมาตรฐาน ส่วน
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 171

รุ่ นที่ 3 จะเลือกใช้รูปแปรที่นิ ยมใช้และเป็ นที่ยอมรับกันมากขึ้นคือ รูป แปรศัพท์


ภาษาไทยมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ผู้บอกภาษารุ่นที่ 3 ยังคงเลือกใช้รูปแปรคายืม
ภาษาจีนฮกเกีย้ น ในกรณีทเ่ี ป็ นศัพท์เฉพาะเกีย่ วกับพิธกี รรม เช่น ‘สะเดาะเคราะห์’
โก้ยห่าน /koj5ha:n6/ ยานพาหนะ เช่น ‘รถสองแถว’ โพถ้อง /pho:6thɔ:ŋ5/ และ
ขนมท้องถิน่ เช่น ‘ขนมถ้วย’ โกสุย้ /ko:6suj5/

3.2 พยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว

ข้อมูลคาทีไ่ ด้จากการนับรูปแปรทีใ่ ช้ของผูบ้ อกภาษาจานวน 120 คน เพื่อ


นามาวิเคราะห์การแปรของพยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว มีจานวน
ทัง้ สิน้ 35 คา ได้แก่ หมวก ลวก งอก ดอก นอก บอก หงอก ตาก ปาก ฝาก มาก ราก
ยาก ปี ก ฉีก ปลูก ถูก ลูก เขก เมฆ เลิก เบิก เปี ยก เรียก เกือก เลือก เปลือก เหงือก
แจก แตก แลก แรก แยก กะโหลก โลก ต่ อไปนี้ เป็ นตัวอย่ างแสดงการแปรของ
พยัญชนะท้ายในคาบางคา
ตัวอย่าง
ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย
ถิน่ ภูเก็ต ถิน่ ใต้ตะวันตก ถิน่ ใต้ตะวันออก มาตรฐาน
‘มาก’ /ma:ʔ4/8 /ma:ʔ4/ /ma:k4/ /ma:k3/9
‘เขก’ /khe:ʔ5/10 /khe:ʔ5/ /khe:k5/ /tɛ:k2/ 11
‘ลูก’ /lu:ʔ4/ /lu:ʔ4/ /lu:k 4/ /lu:k3/

8/4/ หมายถึง วรรณยุกต์ต่าขึน้ ในภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต ภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันออก


และภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก
9 /3/ หมายถึง วรรณยุกต์สงู ตก ในภาษาไทยมาตรฐาน
10 /5/ หมายถึง วรรณยุ กต์ สู งระดับ ในภาษาไทยถิ่นภู เก็ต ภาษาไทยถิ่ น ใต้

ตะวันออก และภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก


11 /2/ หมายถึง วรรณยุกต์ต่ าตก ในภาษาไทยมาตรฐาน
172 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย


ถิน่ ภูเก็ต ถิน่ ใต้ตะวันตก ถิน่ ใต้ตะวันออก มาตรฐาน
‘ดอก’ /dↄ:ʔ5/ /dↄ:ʔ6/12 /dↄ:k6/ /dↄ:k2/

จากข้อมูลคาข้างต้น มีความถี่ในการปรากฏเป็ นรูปแปร [Ɂ] จานวน 1,207


ครัง้ รูปแปร [k] จานวน 1,193 ครัง้ รวมจานวนทัง้ สิน้ 2,400 ครัง้
ผู้วิจ ัยใช้วิธีการค านวณอัตราการใช้รู ปแปรของพยัญชนะท้าย (Ɂ) ใน
พยางค์ตายสระเสียงยาวจาแนกตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษในแต่ละรุ่นอายุเช่นเดียวกับ
อัตราการใช้รปู แปรศัพท์ในข้อ 3.1 ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 3 และภาพที่ 2
ตารางที่ 3
อัตราการใช้รูปแปรของพยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาวตามภูมลิ าเนา
บรรพบุรุษในทุกรุ่นอายุ
ภูมลิ าเนา ภูเก็ต ภาคใต้/ ตต. ภาคใต้/ ตอ. ภาคกลาง
บรรพบุรษุ
อายุ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ
60 ปี [Ɂ] 188 94 190 95 3 1.5 1 0.5
ขึน้ ไป [k] 12 6 10 5 197 98.5 199 99.5
35-45 [Ɂ] 166 83 177 88.5 50 25 12 6
ปี [k] 34 17 23 11.5 150 75 188 94
10-20 [Ɂ] 110 55 138 69 90 45 82 41
ปี [k] 90 45 62 31 110 55 118 59

12 /6/ หมายถึง วรรณยุกต์กลางระดับ ในภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันออกและภาษาไทย


ถิน่ ใต้ตะวันตก
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 173

ภาคกลาง
ภาคใต้/ตอ
10 - 20 ปี ภาคใต้/ตต
ภูมลิ าเนาบรรพบุรษุ และอายุ

ภูเก็ต
ภาคกลาง
35 - 45 ปี

ภาคใต้/ตอ
ภาคใต้/ตต
[Ɂ]
ภูเก็ต
ภาคกลาง [k]
60 ปี ขน้ึ ไป

ภาคใต้/ตอ
ภาคใต้/ตต
ภูเก็ต
0 50 100
อัตราการใช้ (ร้อยละ)

ภาพที ่ 2. เปรียบเทียบอัตราการใช้รปู แปรของพยัญชนะท้าย (ʔ)


ในพยางค์ตายสระเสียงยาวตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษในทุกรุ่นอายุ

จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า ผู้บอกภาษารุ่นที่ 1 อายุ 60 ปี ข้นึ ไปที่มี


ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษอยู่ทจ่ี งั หวัดภูเก็ตและมาจากภาคใต้/ตต ใช้รูปแปร [ʔ] มากทีส่ ดุ
ส่วนผูบ้ อกภาษาทีม่ ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคใต้/ตอ และภาคกลางใช้รูปแปร
[k] มากทีส่ ดุ ซึง่ ต่างก็ใช้รปู แปรดัง้ เดิมของภาษาถิน่ ของตน
ผู้บอกภาษารุ่ นที่ 2 อายุ 35-45 ปี ท่ีมีภู มิลาเนาบรรพบุ รุ ษอยู่ท่จี ังหวัด
ภูเก็ตและมาจากภาคใต้/ตต ใช้รูปแปร [ʔ] มากที่สุด ส่วนผู้บอกภาษาที่มภี ูมลิ าเนา
บรรพบุรุษมาจากภาคใต้/ตอ และภาคกลางใช้รูปแปร [k] มากทีส่ ุด กล่าวคือ ผูบ้ อก
ภาษารุ่นนี้ต่างเลือกใช้รูปแปรตามพ่อแม่ของตนคือ รุ่นที่ 1 อย่างไรก็ตาม ผู้บอก
ภาษาเริม่ ใช้อกี รูปแปรหนึ่งเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย
ผู้บอกภาษารุ่ นที่ 3 อายุ 10-20 ปี ท่ีมีภู มิลาเนาบรรพบุ รุ ษอยู่ท่จี ังหวัด
ภูเก็ตและมาจากภาคใต้/ตต ใช้รปู แปร [ʔ] ลดลงจากทีผ่ บู้ อกภาษารุ่นที่ 2 ใช้ และเริม่ ใช้
174 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

รูปแปร [ʔ] มากขึน้ ในขณะทีผ่ บู้ อกภาษาทีม่ ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคใต้/ตอ


และภาคกลางใช้รปู แปร [ʔ] เพิม่ ขึน้
จากภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่า ผูบ้ อกภาษารุ่นที่ 1 ทีม่ บี รรพบุรุษต่างถิน่ กันจะ
ใช้รูปแปรของพยัญชนะท้าย (ʔ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาวที่เป็ นภาษาถิน่ ของตน
ในขณะที่ผู้บอกภาษารุ่นที่ 2 รับรูปแปรทางภาษาจากพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม ผู้บอก
ภาษาเริม่ รับเอารูปแปรของอีกภาษาถิน่ หนึ่งเข้ามาใช้ และส่งผลให้ผบู้ อกภาษารุ่นที่ 3
ใช้ทงั ้ รูปแปร [ʔ] และ [k] ในอัตราทีใ่ กล้เคียงกันทัง้ สองรูปแปร ซึง่ สะท้อนให้เห็นว่าใน
ตัวแปรดังกล่าวมีกลไกการปรับให้เสมอกัน (dialect levelling) เกิดขึน้ อย่างเห็นได้ชดั
สาเหตุเนื่องจากเกิดการแทรกแซงทางเสียง นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมี
ศักดิศรี ์ ของรูปแปรดัง้ เดิมของภาษาไทยถิน่ ภูเก็ต แม้ว่าในเรื่องการสัมผัสภาษาถิน่ จะ
ถือว่าเป็ นรูปแปรแปลกเด่น (marked variant) ก็ตาม

3.3 สระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด

ข้อมูลคาทีไ่ ด้จากการนับรูปแปรทีใ่ ช้ของผูบ้ อกภาษาจานวน 120 คนเพื่อ


นามาวิเคราะห์การแปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด มีจานวนทัง้ สิน้ 28 คา
ได้แก่ ขี่ ซี่ ตี ที่ (กระ)บี่ สี่ หนี้ ขู่ คู่ ชู้ ปู่ ผู้ (ชม)พู่ รู้ สบู่ สู้ หู อยู่ (กิง้ )กือ ชื่อ ซือ้
(สะ)ดือ ถือ มือ มือ้ รือ้ (ข่าว)ลือ (หนัง)สือ
ตัวอย่าง
ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย
ถิน่ ภูเก็ต ถิน่ ใต้ตะวันตก ถิน่ ใต้ตะวันออก มาตรฐาน
‘ขี’่ /khei1/13 /khe:1/ /khe:1/ /khi:2/14

/1/ หมายถึง วรรณยุกต์สูงขึ้นตก ในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ภาษาไทยถิ่นใต้


13

ตะวันออก และภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก


14 /2/ หมายถึง วรรณยุกต์ต่ าตก ในภาษาไทยมาตรฐาน
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 175

ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาไทย


ถิน่ ภูเก็ต ถิน่ ใต้ตะวันตก ถิน่ ใต้ตะวันออก มาตรฐาน
‘มือ’ /məɨ 3/15 /mə:3/ /mə:3/ /mɨ:1/16
‘หู’ /hou1/ /ho:1/ / /ho:1/ /hu:5/17

สระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ดจาแนกตามความถี่การปรากฏ พบว่า เป็ น


รูปแปร [ei, əɨ, ou] จานวน 345 ครัง้ รูปแปร [e:, ə:, o:] จานวน 445 ครัง้ รูปแปร
[i:ə, ɨ:ə, u:ə] จานวน 228 ครัง้ และรูปแปรจานวน [i:, ɨ:, u:] 1,382 ครัง้ รวมจานวน
ทัง้ สิน้ 2,400 ครัง้
ผูว้ จิ ยั ใช้วธิ กี ารคานวณอัตราการใช้รูปแปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์
เปิ ดจาแนกตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษในแต่ละรุ่นอายุเช่นเดียวกับอัตราการใช้รูปแปร
ศัพท์ในข้อ 3.1 ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 4 และภาพที่ 3
ตารางที่ 4
อัตราการใช้รปู แปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ดตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษ
ในทุกรุ่นอายุ
ภูมลิ าเนา ภูเก็ต ภาคใต้/ ตต. ภาคใต้/ ตอ. ภาคกลาง
บรรพบุรษุ
อายุ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ
60 ปี [ei,əɨ,ou] 157 78.5 60 30 0 0 0 0
ขึน้ [e:,ə:,o:] 0 0 96 48 144 72 0 0
ไป [i:ə,ɨ:ə,u:ə] 4 2 10 5 0 0 0 0
[i:,ɨ:,u:] 39 19.5 34 17 56 28 200 100

/3/ หมายถึง วรรณยุกต์ต่ าขึ้นตก ในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ภาษาไทยถิ่นใต้


15

ตะวันออก และภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก


16 /1/ หมายถึง วรรณยุกต์กลางระดับ ในภาษาไทยมาตรฐาน
17 /5/ หมายถึง วรรณยุกต์ต่ าขึน
้ ในภาษาไทยมาตรฐาน
176 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

ภูมลิ าเนา ภูเก็ต ภาคใต้/ ตต. ภาคใต้/ ตอ. ภาคกลาง


บรรพบุรษุ
35- [ei,əɨ,ou] 80 40 32 16 10 5 0 0
45 ปี [e:,ə:,o:] 0 0 76 36 100 50 0 0
[i:ə,ɨ:ə,u:ə] 70 35 45 22.5 20 10 0 0
[i:,ɨ:,u:] 50 25 47 23.5 70 35 200 100
10- [ei,əɨ,ou] 6 3 0 0 0 0 0 0
20 ปี [e:,ə:,o:] 0 0 21 10.5 8 4 0 0
[i:ə,ɨ:ə,u:ə] 34 17 30 15 15 7.5 0 0
[i:,ɨ:,u:] 160 80 149 74.5 177 88.5 200 100

ภาพที ่ 3. เปรียบเทียบอัตราการใช้รปู แปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด


ตามภูมลิ าเนาบรรพบุรุษในทุกรุ่นอายุ

จากตารางที่ 4 และภาพที่ 3 แสดงให้เห็นว่า มีการปนกันของภาษาถิ่นและ


เกิดการปรับให้เสมอกันตัง้ แต่รุ่นที่ 1 โดยทีผ่ บู้ อกภาษารุ่นที่ 1 อายุ 60 ปี ขน้ึ ไปทีม่ ี
ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษอยู่ทจ่ี งั หวัดภูเก็ตใช้รปู แปร [ei, əɨ, ou] มากทีส่ ดุ ผูบ้ อกภาษาที่
มีภูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคใต้/ตอ และภาคใต้/ตต ใช้รูปแปร [e:, ə:, o:] มาก
ทีส่ ุด ส่วนผูบ้ อกภาษาทีม่ ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคกลางใช้รูปแปร [i:, ɨ:, u:]
มากที่สุด สิง่ ที่เกิดขึ้นในรุ่นนี้ คือ กลุ่มที่มีภูมิลาเนาบรรพบุรุษอยู่ท่จี งั หวัดภูเก็ต
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 177

ภาคใต้ / ตอ และภาคใต้ / ตต ต่ า งมี ก ารปรับ ให้ เ สมอกัน และเลื อ กใช้ รู ป แปรที่


หลากหลาย ในขณะทีก่ ลุ่มทีม่ ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคกลางยังคงใช้รูปแปร
ดัง้ เดิมของตนอย่างเดียว
ผู้บอกภาษารุ่ นที่ 2 อายุ 35-45 ปี ท่ีมีภู มิลาเนาบรรพบุ รุ ษอยู่ท่ีจงั หวัด
ภูเก็ตใช้รูปแปร [ei, əɨ, ou] มากที่สุด ผู้บอกภาษาที่มภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจาก
ภาคใต้/ตอ และภาคใต้/ตต ใช้รูปแปร [e:, ə:, o:] มากที่สุด ส่วนผู้บอกภาษาที่มี
ภูมลิ าเนาบรรพบุรุษมาจากภาคกลางใช้รปู แปร [i:, ɨ:, u:] มากทีส่ ดุ
ผูบ้ อกภาษารุ่นที่ 3 อายุ 10-20 ปี ทม่ี ภี ูมลิ าเนาบรรพบุรุษต่างกันต่างก็ใช้
รูปแปร [i:, ɨ:, u:] มากทีส่ ุด จากผลทีเ่ กิดขึน้ ในผูบ้ อกภาษาทัง้ สามรุ่นอายุ พบว่า ผูบ้ อก
ภาษาพยายามปรับเข้าหากันโดยใช้รูปแปรที่ไม่ปรากฏอยู่ในรูปแปรดัง้ เดิมของทัง้
สามถิ่น คือ รูปแปร [i:ə,ɨ:ə,u:ə] ลักษณะดังกล่าวเป็ นรูปแปรที่เรียกว่า ภาษาถิ่นใน
ระหว่าง (interdialect form)

3.3 ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงภาษาไทยถิ่ นภูเก็ต

จากการศึกษาในครัง้ นี้ ซึง่ ใช้วธิ กี ารศึกษาแบบเวลาเสมือนจริง (apparent-


time study) โดยพิจารณาเรื่องอายุเป็ นสาคัญ พบว่า ภาษาของผูพ้ ดู อายุน้อยจะเป็ น
ตัวแทนภาษาในอนาคต ดังนัน้ จึงสามารถแสดงแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงภาษาไทย
ถิน่ ภูเก็ตของการแปรศัพท์ การแปรของพยัญชนะท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว
และการแปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด ดังภาพที่ 4
178 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

อัตราการใช้รปู แปรศัพท์ภาษาไทยมาตรฐาน

อัตราการใช้รปู แปรพยัญชนะท้าย [k] ในพยางค์ตายสระเสียงยาว


วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 179

อัตราการใช้รปู แปรสระ [i:, ɨ:, u:] ในพยางค์เปิ ด

ภาพที ่ 4-ภาพที ่ 6. แนวโน้มการเปลีย่ นแปลงการใช้รปู แปรศัพท์และเสียงทีเ่ ป็ นรูป


แปรภาษาไทยมาตรฐาน

จากภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยถิ่น


ภู เก็ตในเรื่องของการแปรศัพท์มีทิศทางที่ใช้ศ ัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากขึ้น
เช่นเดียวกับการแปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ดทีผ่ พู้ ูดรุ่นที่ 3 หรือผูพ้ ูดอายุ
น้อยใช้รูปแปรภาษาไทยมาตรฐานมากขึน้ คือ [i:, ɨ:, u:] ส่วนการแปรของพยัญชนะ
ท้าย (Ɂ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาวยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีแนวโน้มการ
เปลีย่ นแปลงเป็ นอย่างไร เนื่องจากผูพ้ ดู อายุน้อยใช้รปู แปรภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตและ
รูปแปรภาษาไทยมาตรฐานในอัตราทีใ่ กล้เคียงกันและยังอยู่ในช่วงการปรับให้เสมอกัน

4. สรุปและอภิ ปรายผลการศึกษา

จากการศึกษาการสัมผัสภาษาถิน่ ในจังหวัดภูเก็ต โดยนาตัวแปรภาษาทัง้


ศัพท์และเสียงมาพิจารณา นอกจากนี้ ผูว้ จิ ยั ได้ใช้ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ภูมลิ าเนา
180 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

ของผู้อพยพ (รุ่นที่ 1) และอายุของผูบ้ อกภาษามาวิเคราะห์ สามารถสรุปข้อค้นพบ


ออกเป็ นประเด็นสาคัญได้ดงั นี้
จากตัวแปรทางศัพท์และเสียง พบว่า ตัวแปรศัพท์มกี ารเปลีย่ นแปลงใช้
รูปแปรภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุด โดยมีการใช้เพิ่มมากขึ้นตามอายุท่นี ้ อยลง
กล่าวคือ ผู้บอกภาษารุ่นอายุน้อยใช้รูปแปรศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานเพิ่มมากขึน้
แม้ว่าผู้บอกภาษาส่วนใหญ่ต่างนิยมใช้รูปแปรภาษาไทยมาตรฐาน แต่ยงั ใช้ศพั ท์ท่ี
เป็ นคายืมภาษาจีนฮกเกี้ยนในกรณีท่เี ป็ นศัพท์เกี่ยวกับพิธกี รรม ยานพาหนะ และ
ขนมท้องถิ่น นอกจากนี้ ผู้บอกภาษาจะเลือกใช้ศพั ท์ท่เี ป็ นคายืมภาษาจีนฮกเกีย้ น
กับคนที่คุ้นเคยหรือคนในพื้นที่ หากพูดคุยกับคนนอกพื้นที่ เช่น นักท่องเที่ย ว จะ
เลือกใช้ศพั ท์ภาษาไทยมาตรฐานแทน ลักษณะดังกล่าวถือเป็ นการเลือกใช้รูปแปร
(reallocation) ตามหน้าทีท่ างภาษาหรือสังคม (Britain and Trudgill, 1999 อ้างใน
Kerswill, 2010, p. 235) ซึง่ เป็ นกลไกหนึ่งของการสัมผัสภาษาถิน่
การแปรของสระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิ ด มีการใช้รูปแปรภาษาไทย
มาตรฐานมากทีส่ ดุ ในผูบ้ อกภาษารุ่นอายุน้อย อย่างไรก็ตาม ผูบ้ อกภาษาได้ใช้รปู แปรที่
ไม่ใช่รูปแปรดัง้ เดิมของภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง รูปแปรภาษาถิ่นใน
ระหว่าง (interdialect form) คือ รูปแปร [i:ə, ɨ:ə, u:ə] ซึ่งตรงกับงานของเชมเบอร์
และทรัดกิลล์ (Chamber and Trudgill, 1980 อ้างใน Trudgill, 1986) ที่พบว่า ใน
บริเวณที่มกี ารปนภาษาถิ่น ผู้พูดภาษาถิ่นต่างๆ อาจมีการปรับเข้าหากันบางส่วน
หรือไม่สมบูรณ์ (partial accommodation) หรือมีการปรับคาศัพท์เพียงบางส่วน
หรือ ปรับ แค่ เ สีย งบางส่ ว น ซึ่ง เป็ นการสัม ผัสภาษาของรู ป แบบที่ เ ป็ นกลางๆ
(intermediate form) ระหว่ างภาษาถิ่นดัง้ เดิม กับภาษาถิ่นเป้ าหมาย ที่เรียกว่ า
fudged dialects ตัวอย่ างเช่ นในบริเวณที่เป็ นเขตปรับเปลี่ยน ( transition zone)
ระหว่างอังกฤษตอนเหนือกับอังกฤษตอนใต้ ซึ่งมีการสัมผัสภาษาถิ่นกัน ระหว่าง
ภาษาถิน่ ทีม่ เี สียงสระ /ʌ/ และภาษาถิน่ ทีม่ เี สียงสระ /ʊ/ ทาให้เกิดเสียงสระที่เป็ น
รูปกลางขึน้ คือ [ɤ] การพัฒนาของรูปภาษาถิน่ ในระหว่างเป็ นกลไกทีม่ ผี ลมาจากการ
สนทนากันระหว่างผูพ้ ดู ภาษาถิน่ ต่างๆ ซึง่ อาจเป็ นรูปทีเ่ รียบง่ายและใช้เป็ นปกติมาก
ขึน้ หรือเป็ นรูปกลางๆ ที่เกิดขึน้ ในระดับการออกเสียงหรือเกิดจากสาเหตุท่มี ีการ
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 181

แก้ไขเกินเหตุ (hypercorrection) นอกจากนี้ การเกิดรูปแปรภาษาถิ่นในระหว่างจะ


เกิดขึน้ ตัง้ แต่ผบู้ อกภาษารุ่นที่ 1 ทีเ่ ป็ นช่วงการปรับเข้าหากัน (Trudgill, 1986, p. 94)
เป็ นทีน่ ่ าสังเกตว่า การแปรของพยัญชนะท้าย (ʔ) ในพยางค์ตายสระเสียง
ยาว ผู้บอกภาษารุ่นอายุน้อยใช้ทงั ้ รูปแปร [ʔ] และ [k] ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง
แตกต่างไปจากการแปรศัพท์และการแปรของสระที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า
เมื่อเกิดการปรับให้เสมอกัน แต่ยงั คงเหลือรูปแปรมากกว่าหนึ่งรูปแปร หากเป็ นไป
ตามเรื่องการสัมผัสภาษาถิน่ โดยปกติแล้วจะมีการเลือกใช้รูปแปรเกิดขึน้ ซึง่ จะเป็ น
การเลือกใช้ตามหน้าทีท่ างสังคม วัจนลีลา หรือตามสิง่ แวดล้อมของเสียง แต่ในงานนี้
ยังเห็นไม่ชดั เจนว่าเกิดการเลือกใช้รปู แปรตามปั จจัยใด แต่สาเหตุหนึ่งทีค่ นใช้รปู แปร
[ʔ] มากขึน้ เนื่องจากเกิดการแทรกแซงทางเสียง นอกจากนี้ ผูบ้ อกภาษาเห็นว่า การ
ใช้รปู แปร [ʔ] ในภาษาไทยถิน่ ภูเก็ตเป็ นรูปแปรทีม่ ศี กั ดิศรี
์ จึงทาให้เกิดการใช้รูปแปร
นี้มากกว่ารูปแปร [k] ซึง่ เป็ นรูปแปรภาษาไทยมาตรฐาน
เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดการสัมผัสภาษาถิน่ มีขอ้ ค้นพบในงานวิจยั นี้ว่า
การปรับให้เสมอกันไม่จาเป็ นต้องเกิดอย่างสมบูรณ์ภายใน 3 รุ่นอายุหรือระยะเวลา
ประมาณ 50 ปี ตามที่ทรัดกิลล์ (Trudgill, 1986, 2004) กล่าวไว้ อาจใช้ระยะนาน
กว่านัน้ อย่างในกรณีของการแปรของพยัญชนะท้าย (ʔ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว
ในงานนี้ยงั พบว่า มีกลไกต่างๆ ที่เกิดขึน้ ทัง้ การปนภาษาถิ่น การปรับให้
เสมอกัน และการเลือกใช้รูปแปร อีกทัง้ มีการพัฒนาของรูปภาษาถิน่ ในระหว่าง หาก
ผูบ้ อกภาษามีการใช้รปู แปรทีผ่ ่านการปรับให้เสมอกันอย่างสม่าเสมอ (focusing) ซึง่
ถือเป็ นกลไกทีร่ ปู แปรใหม่นนั ้ เป็ นรูปแปรมาตรฐาน ท้ายทีส่ ดุ จะก่อให้เกิดภาษาถิน่ ใหม่
(new-dialect formation) ในอนาคตได้
การศึกษาเรื่องการสัมผัสภาษาถิน่ โดยใช้ตวั แปรทัง้ ศัพท์และเสียงทาให้เห็น
ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของภาษาถิ่นชัดเจน งานวิจยั นี้พบว่าการเปลี่ยนแปลงมี
แนวโน้มที่ใช้ภาษาไทยมาตรฐานมากขึน้ ยกเว้นการแปรของพยัญชนะท้าย (ʔ) ใน
พยางค์ตายสระเสียงยาวทีย่ งั ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ในงานวิจยั นี้ การศึกษาทัง้ การ
แปรศัพท์และเสียงไปพร้อมกัน ทาให้เห็นภาพการเปลีย่ นแปลงทีแ่ ตกต่างกันออกไป
182 Humanities Journal Vol.25 No.1 (January-June 2018)

คือ ศัพท์มกี ารแปรและเปลีย่ นแปลงรวดเร็วทีส่ ุด รองลงมาคือ สระและพยัญชนะท้าย


ศัพท์และสระเปลีย่ นแปลงเร็วกว่าพยัญชนะท้าย เนื่องจากมีกลไกการปรับให้เสมอกัน
เกิดขึน้ ตัง้ แต่ผบู้ อกภาษารุ่นที่ 1 และเกิดขึน้ มากกว่าการแปรของพยัญชนะท้าย
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตเปลี่ยนแปลงไปสู่
ภาษาไทยมาตรฐาน ได้แก่ นโยบายของรัฐทีร่ ณรงค์ให้บุคลากรในหน่ วยงานราชการ
ใช้ภาษาไทยมาตรฐานสื่อสารกับคนที่มาติดต่ อ ทัศนคติของคนในครอบครัวที่
ต้องการให้บุตรหลานพูดภาษาไทยมาตรฐานได้ชดั เจนขึน้ สัดส่วนจานวนประชากร
ต่ างถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คนภู เก็ตดัง้ เดิมได้ย้ายถิ่นออกไปก็มีจ านวนมาก
ปั จจัยเหล่านี้เป็ นส่วนหนึ่งทีท่ าให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทางภาษาได้เช่นกัน

รายการอ้างอิ ง

เจริญขวัญ ธรรมประดิษฐ์. (2524). การใช้ลกั ษณะทางสัทศาสตร์ของสระสูง ในการแบ่งเขต


ภาษาถิน่ ในจังหวัดตรัง กระบี ่ พังงา และภูเก็ต (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ชมพูนุท พุม่ ท่าอิฐ. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิน่ และการเลือ่ นฐานะทางสังคม
ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต อันเป็ นผลมาจากการพัฒนาการท่องเทีย่ ว
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สงิ่ แวดล้อม).
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2539). การกาหนดแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิน่ ตะวันออกกับ
ภาษาไทยถิน่ ใต้ตะวันตก โดยใช้พยางค์ทมี ่ สี ระเสียงยาวกับพยัญชนะท้าย /k/
หรือ /ʔ/ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ.
ตามใจ อวิรทุ ธิโยธิน. (2553). การศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะ สระ และ
วรรณยุกต์ ในภาษาไทยมาตรฐานสาเนียงใต้โดยเปรียบเทียบกับภาษาไทย
มาตรฐานและภาษาไทยถิน่ ใต้ (วิทยานิพนธ์ดษุ ฎีบณ ั ฑิต สาขาภาษาศาสตร์).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) 183

นพดล กิตติกุล. (2534). คายืมภาษาจีนฮกเกี้ยนทีใ่ ช้ในภาษาไทยถิน่ จังหวัดภูเก็ต


(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
กรุงเทพฯ.
ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2513). ภาษาถิน่ . สงขลา: โรงพิมพ์เมืองสงขลา.
เรืองเดช ปั นเขื่อนขัตยิ .์ (2531). ภาษาถิน่ ตระกูลไทย. นครปฐม: สถาบันวิจยั ภาษาและ
วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรยี ์ เสียงแสงทอง. (2524). การศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเมืองภูเก็ตระหว่าง พ.ศ.
2396-2475 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาประวัตศิ าสตร์).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อัครา บุญทิพย์. (2535). ภาษาไทยถิน่ ใต้. กรุงเทพฯ: สหมิตร ออฟเซ็ท บางลาพู.
Brown, Marvin J. (1985). From Ancient Thai to Modern Dialects. Bangkok:
Social Science Association Press of Thailand.
Chambers, J.K. and Peter Trudgill. (1980). Dialectology. Cambridge:
Cambridge University Press.
Diller, Anthony V.N. (1976). Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech
Variation. Ph.D. Dissertation, Cornell University.
Kamalanavin, Varisa. (2005). Phonetic features of standard Thai spoken by southern
Thai speakers. Journal of Liberal Arts. 5(2), 200-240.
Kerswill, Paul. (2010). Contact and new variety. In Raymond Hickey (ed.).
The Handbook of Language Contact. (pp. 230-251). West Sussex:
Blackwell Publishing Ltd.
Trudgill, Peter. (1986). Dialects in Contact. Oxford: Blackwell.
Trudgill, Peter. (2004). New-Dialect Formation. Edinburgh: Edinburgh University
Press.

You might also like