You are on page 1of 7

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบโครงงาน
ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ณัฐรี แจ้งสุวรรณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอน ปีการศึกษา 25๖๑


โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม จังหวัดราชบุรี
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๘
ความสาคัญและที่มาของปัญหา
การเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์เป็นลักษณะการเรียนรู้โดยครูผู้สอนบรรยายเนื้อหาจากแบบเรียน
และหลักสูตรการศึกษา เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนมากกว่าให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วย
ตนเอง โดยไม่คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายและส่งผลให้
ผู้เรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสาคัญของการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ (กรมวิชาการ. ๒๕๔๕ : ๓-๖)
นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุทาให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ต่า ซึ่งสอดคล้องกับระวิวรรณ
ภาคพรต, สุมาลีโตสกุล, และเฉลิมชัย พันธ์เลิศ, บรรณาธิการ, (๒๕๕๔ : ๔๒) ที่กล่าวว่า การจัดการ
เรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เน้นวิธีการสอนด้วยการบรรยาย การเล่าเรื่อง กิจกรรมการ
เรียนการสอนส่วนใหญ่ยังมีเอกสาร มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกับวิธีสอนและเนื้อหาที่ใช้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงมีผลทาให้ผู้สอนและผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียนรู้ผู้เรียน
มิได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สาคัญ ผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนไม่มีกิจกรรมในการ
ทางานร่วมกัน
การสอนแบบกิจกรรมโครงงานเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ให้ผู้ เรียนเรียนรู้ด้วย
ตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเป็นผู้คอย
กระตุ้นแนะนาและให้คาปรึกษาอย่างใกล้ชิด ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักวิธีทาโครงการวิจัยเล็กๆ ผู้เรียนลงมือ
ปฏิ บั ติ เ พื่อ พั ฒ นาความรู้ ทั ก ษะและสร้ างผลผลิ ต ที่ มี คุ ณภาพระเบี ย บวิธี ด าเนิน การเป็ น วิ ธี การทาง
วิทยาศาสตร์ จุดประสงค์หลักของการสอนโครงงานต้องกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักสังเกต รู้จักตั้งสมมุติฐาน
ครูจักตั้งคาถาม รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อตอบคาถามที่ตนเองอยากรู้สามารถสรุปและทา
ความเข้าใจกับสิ่งที่ค้นโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ การเรียนการสอน
แบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกสิ่งที่จะปรึกษาหรือโครงการที่สนใจ (วิมลรัตน์สุนทร
โรจน์. ๒๕๔๔ : ๒) ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติในรูปของโครงงานเป็นการบูรณาการความรู้ทักษะ
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ได้จากการเรียนรู้มากาหนดโครงงานและการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดองค์
ความรู้ตนเอง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยได้ตระหนักและสนใจที่จะจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วิชา
ประวัติศาสตร์โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์กลุ่มสาระเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียน
มัธยมวัดดอนตูม อาเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๘
อันจะเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์
ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๒. เพือ่ ศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทาง
ประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์โดยใช้
กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ขอบเขตของการวิจัย
๑. ของเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ
โครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน
ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสาคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบโดยการเรียนรู้แบบกลุ่ม คละความสามารถ
คละนักเรียนชายและนักเรียนหญิง สมาชิกในกลุ่มต้องช่วยเหลือกันเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านสติ
ปัญญา อารมณ์ และทักษะด้านสังคม ซึ่งได้ทาการวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การสืบค้นความเป็นมา
ของท้องถิ่น จานวน 9 แผน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 14 ชั่วโมง และการปฐมนิเทศก่อนเรียน
ชั่วโมงจานวนดังนี้
๑) วิธีการสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น
๒) หลักฐานทางประวัติศาสตร์
๓) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาท้องถิ่น
๔) การนาเสนอความเป็นมาของท้องถิ่นโดยอ้างอิงจากหลักฐาน – ความรู้ทั่วไป
เกี่ยวกับโครงงาน
๕) การนาเสนอความเป็นมาของท้องถิ่นโดยอ้างอิงจากหลักฐาน
๖) การตั้งคาถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล – การเขียนเค้าโครงของ
โครงงาน
๗) การตอบคาถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล – การปฏิบัติและการเขียน
รายงานโครงงาน
๘) ความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น
๙) ความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น – การแสดงผลงานโครงงาน
๒. กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม
จังหวัดราชุบรี ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จานวน ๑๑๐ คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบ
เจาะจง
๓. ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ระหว่าง
เดือนพฤษภาคม – กันยายน ๒๕๖๑ โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจานวน ๙ แผน

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ทฤษฎีหลักการและแนวคิดที่ได้จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อนามา
พัฒนาและสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยการพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้
กระบวน การเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมี
รายละเอียด
ของกรอบแนวคิดดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ หน่วยการเรียนที่ ๑ การ
สืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น
๑. การเตรียมความพร้อม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
๒. การคิดและเลือกหัวข้อ
๓. การเขียนเค้าโครง
๔. การปฏิบัติโครงงาน
๕. การนาเสนอโครงงาน

วิธีการดาเนินการวิจัย
การพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โ ดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทาง
ประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีวิธีการดังต่อไปนี้
๑. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์
ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์
รหัสวิชา ส ๓๑๑๐๓ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จานวน ๙ แผน
๒. การศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน
ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบวัดผลการ
เรียนรู้แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ และแบบประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์โดยใช้
กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๔ เครื่องมือ
ที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนมัธยมวัด
ดอนตูม จังหวัดราชบุรี

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
๑. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๓๑๑๐๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปี
การศึกษา ๒๕๖๑ จานวน ๙ แผน
๒. แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ และแบบ
ประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ
โครงงานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์

การเก็บรวบรวมข้อมูล
มีการดาเนินการดังนี้
๑. ทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม จังหวัดราชบุรี จานวน ๑๑๐ คน
๒. ผู้วิจัยนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาประวัติศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ความเป็นมา
ของท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จานวน ๓๐ ข้อ
๓. ผู้วิจัยนาแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
ทางประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เป็น
แบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จานวน ๑๐ ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดาเนินการนาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยการหาประสิทธิภาพกระบวนการ
และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ดังนี้
1.1 ประสิทธิภาพของกระบวนการ คานวณจากการรวมคะแนนการประเมิน
ผลงานกลุ่ม การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม และการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
นามาคานวณเป็นค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยร้อยละ
1.2 คานวณประสิทธิภาพของผลลัพธ์จากคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการ
เรียนหลังเรียนเป็นค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยร้อยละ
2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนการจัด การเรียนรู้แบบ
โครงงาน วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๔ โดยการหาค่า t
3. การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๔ โดยใช้แบบแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ
ตามเกณฑ์และการแปลความหมายค่าเฉลี่ย ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2546 : 162)
4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
1.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
1.00 – 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

ผลการวิจัย
ผลการวิจัยการพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ
โครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้จานวน ๙ แผน
ประกอบด้วยชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ สาระสาคัญ จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ สื่อประกอบ การวัดและประเมินผลโดยภาพรวมแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ใน
ระดับมาก
๒. ผลการพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทาง
ประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พบว่ามีผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สูงขึ้นอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
๓. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการ
เรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล
๑. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทาง
ประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มี
ความความสอดคล้องเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน โดยแผนการจัดการเรียนรู้ ประวัติ- ศาสตร์
โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับวิธีการทาง ประวัติศาสตร์มีจานวน ๙ แผน ประกอบด้วย
ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ สาระสาคัญ มาตรฐาน ตัวชี้วัด จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ สื่อประกอบ การวัดและประเมินผล และผลการประเมิ นแผนการจัดการ- เรียนรู้พบว่าการประเมิน
ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบโครงงานร่วมกับ
วิธีการทางประวัติศาสตร์ของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีความเหมาะสม ในระดับมาก เนื่องจาก
ระบวนการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้พัฒนาตามขั้นตอนการจั ดทาอย่าง มีระบบและวิธีการ
เขียนแผนการจัดการ เรียนรู้ที่เหมาะสม โดยศึกษาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. ผลการศึกษาผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติ-
ศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พบว่า มีผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สูง ขึ้น อย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทาง
ประวัติศาสตร์ดีกว่าการเรียนรู้แบบปกติทั้งนี้เนื่องจากแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวน
การเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ทาให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ศึกษา ค้นคว้า
ข้อมูล ทางานร่วมกับเพื่อน
๓. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ประวัติ -
ศาสตร์โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.54 ซึ่งอยู่ในระดับ
มากที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องจากครูผู้สอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อ ความต้องการของผู้เรียน
สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิภา ฤดี วิภาวิน (2543, น. 64) ที่พบว่า ถ้าครูให้โอกาสกับนักเรียนได้คิด อย่าง
เต็มที่ทาให้บรรยากาศการเรียนมีความ สนุกสนาน การให้ความเป็นกันเองของครูทาให้นักเรียนได้ ถ่ายทอด
ความคิดของตนเองได้อย่างอิสระ จะทาให้นักเรียนที่ขลาดอายเปลี่ยนพฤติกรรมกล้าแสดงออก มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ
ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนการสอนของผู้เรียนที่หลากหลายจะทาให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ
การคิด อย่างเป็นขั้นตอน ทาให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้ในกระบวนการคิดเป็นอย่างดี
บรรณานุกรม

กิ่งแก้ว อารีรักษ์ละเอียด จุฑานันท์ทิศนา แขมมณีและชาริณีตรีวรัญญู(2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้


รูปแบบหลากหลาย.กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์จากัด.

ระวิวรรณ ภาคพรต, มาลีโตสกุล, และเฉลิมชัย พันธ์เลิศ . (บรรณาธิการ). (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่


ครูแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2558). แผนปฏิบัติการประจาปีงบประมาณ 2559,
กลุ่มพัฒนาระบบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ.
สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
(2558) การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่ง
ประเทศไทย จากัด.

You might also like