You are on page 1of 3

มกราคม - มีนาคม 2559 65

ถาม: แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีการใช้งานอะไรบ้าง?


ตอบ: แบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออนทีม่ ใี ช้ในปัจจุบนั มี 6 ประเภทหลัก โดยทัว่ ไปจะแบ่งตามวัสดุทใี่ ช้ทำ� ขัว้ บวก ส่วน
ขั้วลบท�ำจากแกรไฟต์เป็นหลัก แต่จะมีประเภท LTO (Lithium Titanate) ที่แตกต่างออกไปคือ มีขั้วลบเป็น
ลิเทียมไททาเนต ทั้งนี้ เนื่องจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน จึงเหมาะสมต่อ
การใช้งานที่แตกต่างกันไปด้วย ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1: แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนประเภทต่างๆ วัสดุขั้วลบและบวก และการใช้งาน [3]
ประเภทที่ วัสดุขั้วบวก วัสดุขั้วลบ การใช้งาน
1 Lithium Cobalt Oxide แกรไฟต์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แล็ปท็อป
(LiCoO2 , LCO) กล้องดิจิทัล
2 Lithium Manganese แกรไฟต์ เครื่องมือไฟฟ้า (Power tools)
Oxide (LiMn2O4, LMO) อุปกรณ์การแพทย์ ระบบส่งก�ำลังในยาน
พาหนะไฟฟ้า
3 Lithium Nickel Manga- แกรไฟต์ จักรยานไฟฟ้า อุปกรณ์การแพทย์
nese Cobalt Oxide ระบบส่งก�ำลังในยานพาหนะไฟฟ้า (มักใช้
(Li(Ni,Mn,Co)O2, NMC,NCM) ในรถไฮบริด) ระบบส�ำรองไฟฟ้า
4 Lithium Nickel Cobalt แกรไฟต์ อุปกรณ์การแพทย์ ระบบส่งก�ำลังใน
Aluminum Oxide ยานพาหนะไฟฟ้า (เช่นที่พบใน
(Li(Ni,Co,Al)O2, NCA) Tesla Model S) ระบบส�ำรองไฟฟ้า
5 Lithium Iron Phos- แกรไฟต์ ระบบส่งก�ำลังในยานพาหนะไฟฟ้า
phate (LiFePO4, LFP) หรือแทนแบตเตอรี่กรดตะกั่วใน
รถยนต์ (Start-Lighting-Ignition
battery) ระบบที่ต้องการกระแส
และความทนทานสูง
6 แกรไฟต์ หรือ LMO Lithium Titanate ระบบส�ำรองไฟฟ้า ระบบส่งก�ำลังใน
(Li4Ti5O12, LTO) ยานพาหนะไฟฟ้า (Mitsubishi i-MiEV,
Honda Fit EV)

ถาม: แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแต่ละประเภทมีสมบัติอะไรบ้าง?
ตอบ: สมบัตขิ องแบตเตอรีแ่ ต่ละประเภทแสดงในตารางที่ 2 นอกจากสมบัตขิ องแบตเตอรีจ่ ะขึน้ อยูก่ บั วัสดุทใี่ ช้
เป็นขัว้ แล้ว ผูผ้ ลิตแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออนยังสามารถออกแบบให้แบตเตอรีม่ สี มบัตเิ ด่นด้านความจุพลังงาน ก�ำลัง
ไฟฟ้า หรือจ�ำนวนรอบในการใช้งานได้ด้วย ท�ำให้สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต่อลักษณะการใช้งาน เช่น
ผู้บริโภคต้องการให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาสามารถใช้งานได้ยาวนาน ดังนั้น ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้จะ
เลือกใช้แบตเตอรีท่ อี่ อกแบบให้มคี วามจุพลังงานสูง หรือหากเลือกแบตเตอรีเ่ พือ่ ใช้งานในสว่านไฟฟ้าแบบไร้สาย
ผู้ผลิตก็ควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่เน้นด้านก�ำลังไฟฟ้า เป็นต้น
66 มกราคม - มีนาคม 2559

ตารางที่ 2: เปรียบเทียบสมบัติของแบตเตอรี่แต่ละประเภท (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิง [4, 5, 6])


วัสดุขั้วบวก หน่วย LCO หรือ NCA NMC LMO LFP
วัสดุขั้วลบ แกรไฟต์ แกรไฟต์ แกรไฟต์ LTO แกรไฟต์
ออกแบบโดยเน้น ความจุพลังงาน ความจุพลังงาน ก�ำลังไฟฟ้า จ�ำนวนรอบ ก�ำลังไฟฟ้า
หรือก�ำลังไฟฟ้า ในการใช้งาน
ช่วงแรงดันในการใช้งาน V 2.5-4.2 2.5-4.2 2.5-4.2 1.5-2.8 2.0-3.6
(Operating voltage range)
แรงดันเฉลี่ย (Nominal V 3.6-3.7 3.6-3.7 3.7-3.8 2.3 3.3
cell voltage)
ความจุพลังงานต่อน�้ำหนัก Wh/kg 175-240 (cylindrical) 100-240 100-150 70 60-110
130-450 (pouch)
ความจุพลังงานต่อปริมาตร Wh/L 400-640 (cylindrical) 250-640 250-350 120 125-250
250-450 (pouch)
อัตราการคายประจุอย่างต่อ C2 2-3 2-3 ส�ำหรับ >30 10 10-125
เนื่อง (Continuous แบตเตอรี่ความจุ
discharge rate) พลังงานสูง
>30 ส�ำหรับ
แบตเตอรี่ก�ำลัง
ไฟฟ้าสูง
อายุการใช้งาน3 รอบ 500+ 500+ 500+ 4000+ 1000+
ช่วงอุณหภูมิที่สามารถอัด ºC 0-45 0-45 0-45 -20-45 0-45
ประจุได้
ช่วงอุณหภูมิที่สามารถคาย ºC -20-60 -20-60 -30-60 -30-60 -30-60
ประจุได้
ความปลอดภัย 1-4 (4 = 2 3 3 4 4
ปลอดภัยที่สุด)
ราคา 1-4 (4 = ราคา 3 (LCO) 3 3 1 3
ต�่ำที่สุด) 2 (NCA)

2
อัตราการอัดหรือคายประจุ หรือ C-rate คือ ค่ากระแสทีใ่ ช้ในการอัดหรือคายประจุของแบตเตอรี่ โดยเทียบกับความจุ (capacity)
ของแบตเตอรี่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ส�ำหรับแบตเตอรี่ที่มีความจุ 100 Ah การอัดหรือคายประจุด้วยอัตรา 1C จะต้องให้กระแสแก่
แบตเตอรี่ (ถ้าอัดประจุ) หรือดึงกระแสจากแบตเตอรี่ (ถ้าคายประจุ) เท่ากับ 100 A และกว่าที่จะอัดประจุจนเต็ม (จากแบตเตอรี่
ที่หมด) หรือคายประจุจนหมด (จากแบตเตอรี่เต็ม) จะใช้เวลา 1 ชั่วโมง การอัดหรือคายประจุที่อัตรา 2C ต้องใช้กระแส 200 A
(100 A x 2) เป็นเวลา 30 นาที (1 ชั่วโมง ÷ 2) ส่วนอัตรา C/4 คือการอัดหรือคายประจุด้วยกระแส 25 A (100 A ÷ 4) โดยใช้
เวลา 4 ชั่วโมง (1 ชั่วโมง x 4) เป็นต้น
3
จ�ำนวนครั้งการใช้งาน เมื่อมีการคายประจุจนหมดทุกครั้ง และถือว่าแบตเตอรี่หมดอายุเมื่อความจุพลังงานเหลือ 80% ของ
ความจุพลังงานเริ่มต้น
70 มกราคม - มีนาคม 2559

การใช้งานแบตเตอรี่อย่างหนัก เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือโดยคุยโทรศัพท์ เปิดฟังก์ชันติดตามต�ำแหน่ง


(track location) บลูทูธ 3G และใช้งานหลายๆ แอพพลิเคชันพร้อมกันก็ท�ำให้แบตเตอรี่เสื่อมอายุได้ไวขึ้น
เช่นกัน นอกจากนี้ ระดับการคายประจุ (Depth of Discharge; DoD) ก็มีผลต่อจ�ำนวนรอบการใช้งานด้วย หาก
ใช้งานแบตเตอรี่ (คายประจุ) ไปเล็กน้อย เช่น จากเต็ม 100% เหลือ 90% (เรียกว่า 10% DoD) แล้วอัดประจุ
กลับเข้าไปใหม่ และท�ำเช่นนีเ้ ป็นประจ�ำ จะพบว่าแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออนมีอายุการใช้งานทีย่ นื ยาวกว่าแบตเตอรี่
ที่ใช้งานแบบคายประจุจนหมด (เรียกว่า 100% DoD) แล้วจึงอัดประจุใหม่ ดังแสดงเป็นตัวอย่างในตารางที่ 4
ตารางที่ 4: ผลของระดับการคายประจุต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (ดัดแปลงจาก [3])
ระดับการคายประจุในแต่ละครั้ง (DoD) (%) อายุการใช้งาน (ครั้ง)
100 300-500
50 1,200-1,500
25 2,000-2,500
10 3,750-4,700

เอกสารอ้างอิง
[1] R. Brodd, “Synopsis of the Lithium-Ion Battery Markets,” in Lithium-Ion Batteries: Science and Technologies,
M. Yoshio, R. Brodd and A. Kozawa, Eds., Springer, 2009, pp. 1-2.
[2] J. Dahn and G. Ehrlich, “Lithium-Ion Batteries,” in Linden’s Handbook of Batteries, 4th ed., T. Reddy and
D. Linden, Eds., McGraw-Hill, 2011, pp. 26.1-26.79.
[3] Battery University, [Online]. Available: www.batteryuniversity.com.
[4] Lighting Global, “Technical Notes: Lithium-ion Battery Overview,” 2012. [Online]. Available: https://www.
lightingglobal.org/wp-content/uploads/bsk-pdf-manager/67_Issue10_Lithium-ionBattery_TechNote_final.pdf.
[5] I. Buchmann, “Basics about Batteries,” [Online]. Available: http://www.cadex.com/en/batteries/basics-
about-batteries.
[6] A. Dinger, R. Martin, X. Mosquet, M. Rabl, D. Rizoulls, M. Russo and G. Sticher, “Batteries for Electric Cars:
Challenges, Opportunities, and the Outlook to 2020,” 2010. [Online]. Available: https://www.bcg.com/
documents/file36615.pdf.
[7] B. Scrosati, “Lithium Polymer Electrolytes,” in Advances in Lithium-Ion Batteries, W. van Schalkwijk and
B. Scrosati, Eds., Kluwer Academic Publishers, 2002, pp. 251-266.
[8] “DIY Trade,” [Online]. Available: http://www.diytrade.com/china/pd/8991184/Lithium_ion_Polymer_Battery_
LiFePO4.html#normal_img.
[9] “CNET.com,” [Online]. Available: http://www.cnet.com/news/international-battery-expands-for-utility-
storage/.
[10] A. Golubkov, D. Fuchs, J. Wagner, H. Wiltsche, C. Stangl, G. Fauler, G. Voitic, A. Thaler and V. Hacker,
“Thermal-runaway experiments on consumer Li-ion batteries with metal-oxide and olivin-type cathodes,”
RSC Advances, vol. 4, pp. 3633-3642, 2014.
[11] “SAE,” [Online]. Available: http://www.sae.org/events/gim/presentations/2012/stephensbattelle.pdf].

You might also like