You are on page 1of 6

เกร็ดความรู้ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ประเด็นที่ 1 การทำยุทธหัตถี (ช้างศึก)


ยุทธหัตถี หรือ การชนช้าง (Elephant Duel) คือ การทำสงครามบนหลังช้างตามประเพณีโบราณ
และถือว่ามีเกียรติยศสูงสุด เพราะเป็นการสู้รบแบบตัวต่อตัวของกษัตริย์หรือแม่ทัพที่มียศเสมอกัน และเป็น
การสู้รบแบบสุภาพบุรุษที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับฝีมือซึ่งกันและกัน การรบบนหลังช้างถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะใน
ภูมิภาคอุษาคเนย์

ที่มาของภาพ ภาพยนตร์ ตานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

การกระทำยุท ธหัตถีเป็น ประเพณี สงครามที ่ ร ั บมาจากอิ น เดี ย โดยช้ างที ่ ใช้ เรี ย กว่ า "ช้ างศึ ก "
ซึ่งการเลือกคชลักษณ์ช้างศึก กล่าวกันว่าในการทำศึกต้องมี คชลักษณ์ที่ดีตามตำรา คือ จะต้องเป็นช้างพลายที่
มีรูปร่างใหญ่โตกำยำ หัวกะโหลกหนาและใหญ่ แก้มเต็มสมบูรณ์ หน้าเชิด หลังต่ำ งายาวใหญ่มี ความโค้ง และ
แหลมคม โดยช้างเชือ กที่ถูก ฝึก ซ้อ มมาเป็ น อย่ างดี และสามารถสู ้ เ อาชนะช้ างเชื อ กอื ่ น ได้ จะถู ก เรี ย กว่า
ช้างชนะงา นอกจากนี้จะต้องมีกำลังมากและกำลังตกมันเพื่อไม่ให้เกรงกลัวต่อข้าศึก หรือเสียงโห่ร้องของทหาร
ในสงครามจะแต่ง ช้างให้พร้อมในการรบ เช่น ใส่เกราะที่งวงหรื องาเพื ่อรื ้อทำลายค่ ายดู ของฝ้ ายตรงข้ าม
เรียกว่า "ช้างกระทืบโรง" หรือล่ามโซ่หรือหนามแหลมที่เท้าทั้งสี่ ใช้ผ้าสีแดงผืนใหญ่ปิดตาช้างให้ เห็น แต่เ ฉพาะ
ด้านหน้าเพื่อไม่ให้ช้างตกใจและเสียสมาธิ เรียกว่า "ผ้าหน้าราหู" ตำแหน่งของผู้ที่นั่งบนหลังช้างจะมีด้วยกัน 3
คน คือ ตำแหน่งบนคอช้าง จะเป็นผู้ทำการต่อสู้ โดยอาวุธที่ใช้สู้ส่วนมากจะเป็นง้าว ตำแหน่งกลางช้าง จะเป็น
ตำแหน่งที่จะให้สัญญาณและส่งอาวุธที่อยู่บนสับคับให้แก่คอช้าง โดยอาวุธได้แก่ ง้าว, หอก, โตมร, หอกชัด
และครื่องป้องกันต่าง ๆ เช่น โล่ห์ เป็นต้น และตำแหน่งควาญช้างซึ่งจะเป็นผู้บังคับช้าง จะนั่งอยู่หลังสุด และ
หากเป็ น ช้ างทรงของพระมหากษัตริย์ จะมี ท หารฝี มือ ดี 4 คนประจำตำแหน่ง เท้ าช้ างทั ้ง 4 ข้ าง เรี ยกว่า
"จาตุรงคบาท" ซึ่งไม่ว่าช้างทรงจะไปทางไหนจาตุรงคบาทต้องตามไปคุ้มกันด้วย หากตามไม่ทันจะมีโทยถึงชีวิต
จะเห็นได้ว่าผลแพ้ - ชนะของการทำยุทธหัตถีจะขึ้นอยู่กับขนาดของช้าง ช้างที่ตัวใหญ่กว่าจะสามารถข่มขวัญ
ช้างที่ตัวเล็กกว่า เมื่อช้างที่ตัวเล็กกว่าหนีหรือหันท้ายให้ หรือช้างตัวใดที่สามารถงัดช้างอีกตัวให้ถอยขึ้นได้
จะเปิดจุดอ่อนให้ไจมตีได้ตรง ๆ การฟันด้วยของ้าวเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้ถึงชีวิตได้ โดยร่างอาจขาดหรือ
เกือบขาดเป็นสองท่อนได้ เรียกว่า "ขาดสะพายแล่ง"

ประเด็นที่ 2 คลองโคกขามมีความสำคัญอย่างไร
คลองโคกขาม เป็นลำคลองที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมโดยรอบ มีความคดเคี้ยวและน้ำไหลเชี่ยว โดยความ
คดเคี้ยวของคลองโคกขามเกิดขึ้นโดยปัจจัยทางธรรมชาติ และคลองนี้มีความสำคัญอย่างมากในอดีต เพราะ
เป็นคลองที่ใช้ติดต่อคมนาคมทางน้ำและมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 8
หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ โดยครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด
ณ ปากน้ ำ เมื อ งสาครบุ ร ี ขณะเรื อ พระที ่น ั ่ ง ถึ ง ตำบลโคกขาม ซึ ่ ง เป็ น คลองคดเคี ้ ย ว และมี ก ระแสน้ ำ
เชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งไม่สามารถคัดแก้ไขได้ทัน ทำให้หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่ งไม้ใหญ่
หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้ว่าความผิดครั้งนี้มีโทษถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ที่กำหนดว่า
“ถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสีย” ซึ่งเหตุการ์ณดังกล่าว
ทำให้คลองโคกขามเป็นที่รู้จักในนามคลองที่มีความคดเคี้ยว
ดังนั้นการสั่งให้ขุดคลองโคกขามใหม่ได้เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าเสือ จนแล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระเจ้า
ท้ ายสระ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหั ต ถเลขา บั น ทึ ก ไว้ ว่ า สมเด็ จพระเจ้ าเสื อ มี พ ระราชดำริ ว่ า
“คลองโคกขามนั้นคดเคี้ยวนัก คนทั้งปวงจะเดินเรือเข้าออกยาก ต้องอ้อมวงไปไกลกันดารนัก ควรให้ขุดคลอง
ลัดเสียให้ตรงจึงจะซอย แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้เกณฑ์เลกหัวเมืองได้ 30,000 ไปขุดคลอง
โคกขาม และให้ขุดลัดให้ตรงตลอดไป โดยลึกหกศอก ปากคลองกว้างแปดวา พื้นคลองกว้างห้าวา และให้
พระราชสงครามเป็ น แม่ ก องคุ ม พลหั ว เมื อ งทั ้ ง ปวงขุ ด คลองจงแล้ ว สำเร็ จ ดุ จ พระราชกำหน ด”
แม้ จะเกณฑ์ กำลัง คนถึง 30,000 คน จากเมื อ งนนทบุ รี เมื อ งราชบุ ร ี และเมื อ งสมุ ทรปราการ เริ ่ ม ขุดใน
ปี พ.ศ. 2248 จนสิ ้ น รั ช สมั ย สมเด็ จ พระเจ้ า เสื อ ในปี พ.ศ. 2251 ก็ ย ั ง ไม่ เ สร็ จ จึ ง ค้ า งมาในรั ชสมั ย
สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เมื่อปี พ.ศ. 2264 เสด็จประพาสปากอ่าวสาครบุรี เห็นคลองนั้นขุดยังไม่แล้วเสร็จ
จึงตรัสสั่งให้พระราชสงครามเป็นนายกอง ให้เกณฑ์คนหัวเมืองปากใต้แปดหัวเมือง ได้คนสามหมื่นเศษสี่ หมื่น
ไปขุดคลองมหาไชย จึงให้ฝรั่งเศสส่องกล้อ งแก้ ว ดูให้ตรงปากคลอง ปักกรุยเป็นสำคัญทางไกล 340 เส้น
คลองมหาชัยขุดเชื่อมคลองด่านขุดตรงเป็นแนว ตั้งแต่หน้าวัดแสมดำ เขตบางขุนเทียน ไปบรรจบแม่น้ำท่าจีน
ที่บริเวณหน้าศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ใช้เวลาขุดเพียงสองเดือนเศษก็แล้วเสร็จ เมื่อขุดเสร็จจึงได้พระราชทาน
นามว่า คลองสนามไชย ต่อมาเปลี่ยนเป็น คลองมหาชัย แต่บางทีชาวบ้านก็เรียกว่า คลองถ่าน และที่ปาก
คลองมหาชัยติดกับคลองโคกขามจะมีศาลพันท้ายนรสิงห์อีกศาลหนึ่ง
ประเด็นที่ 3 เรือเอกไชยคือเรืออะไร

ชื่อเรือลำนี้ปรากฏในสมุดภาพริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ ปรากฏชื่อ
เรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือกระบวนปิดทอง เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ เรือทั้ง
๒ ลำได้รับความเสียหายจากระเบิดทางอากาศยาน กรมศิลปากรและกองทัพเรือจึงได้ร่วมกันสร้างเรือทัง้ ๒ ลำ
ขึ้นใหม่ โดยลักษณะของเรือประดับตกแต่งด้วยการเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทองรูปเหรา (เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ใน
ตำนานที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ มีลักษณะผสมระหว่างมังกรกับพญานาค หัวเรือเป็นรูปดั้ง
เชิดสูงขึ้นสอดคล้องกับชื่อเรือ ปัจจุบันพบการสะกดชื่อเรือเป็นสองแบบ และมีการสะกดคำว่า เหิร เป็น เหิน
ตามหลักไวยากรณ์ภาษาไทย (แต่ยังคงความหมายเดิม)
เอกไชยเหิน หาว แปลว่า ความเจริญความดี เลิศทะยานสู ่ท้ องฟ้ า หากเขี ย นเป็น เอกชั ย เหินหาว
แปลว่า ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า
เอกไชยหลาวทอง แปลว่า เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อความเจริญและความดี
เลิศ หากเขียนเป็น เอกชัยหลาวทอง แปลว่า เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ
ปัจจุบันเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองใช้เป็นเรือคู่ชัก จัดอยู่ในริ้วที่ ๒ และริ้วที่ ๔
ขนาบข้างเรือพระที่นั่ง เรือทั้ง ๒ ลำมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่สามารถสังเกตความแตกต่างได้ คือ บนเรือ
เอกไชยเหินหาวจะมีกระบอกสำหรับปักพระอภิรุม ซึ่งประกอบด้วย ฉัตร ๗ ชั้น ฉัตร ๕ ชั้น ฉัตรชุม สาย
(ฉัตร ๓ ชั้น) ซึ่งจะไม่พบบนเรือเอกไชยหลาวทอง ปัจจุบันมีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ดังรูปต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังมีเรือพระที่นั่งอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่
ในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่ง
โบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณ
หงส์ เรือครุฑเหินเห็ด เรือครุฑเตร็จไตรจักร ซึ่งชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มี
ต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับ
พระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำ
ภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า
นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองู
ทั้งหลาย จะเห็นได้ว่าขบวนพยุหยาตราหรือการสร้างเรือ มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและความเชื่อของคนไทย
ที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ประเด็นที่ 4 ด้านจิตรกรรมที่ปรากฏ
ภาพวาดประกอบโคลงของพระสุริโยทัยขาดคอช้างและพันทายนรสิงห์ถวายชีวิตมีการแสดงถึงศิลปะ
ไทยในด้านจิตรกรรมลายเส้นแบบไทย มีการใช้สีแบบพหุรงค์ เป็นการเขียนภาพหรือลวดลายไทยระบายสี
หลาย ๆ สี บางครั้งก็มีการปิดทองคำเปลวประกอบ มีทั้งภาพเดี่ยว ภาพลวดลายและประกอบกันเป็น เรื่องราว
ประดับผนัง สมุดช่อย หรือผืนผ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ศิลปะในด้านจิตรกรรมที่ยังสามารถสอดแทรกความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจิตรกรรมไทย
ที่พบเห็นได้ยากในปัจจุบัน อย่างเช่น ลายรดน้ำ ซึ่งเป็นงานประณีต ศิ ลป์ ของไทยชนิ ดหนึ ่ง จัดอยู่ในงาน
จิ ต รกรรม ขั ้ น ตอนการเขียนลายรดน้ำ จะเริ ่ ม จากการร่างแบบโดยใช้ ดิ น สอพองเขี ยนบนพื ้น กระดานรัก
งานลายรดน้ำจะเริ่มจากการเตรียมพื้นผิววัสดุให้พร้อมก่อน โดยใช้ยางรักสีดำๆ ทาบนแผ่นไม้ให้ทั่ว โดยจะมีตัว
ช่วยในการอุคร่อง และรูบนลายไม้ให้เรียบเนียนขึ้น นั่นคือ สมุก
ลายรดน้ำ เป็นลวดลายหรือภาพ รวมไปถึงภาพประกอบลายต่าง ๆ ที่ปิดด้วยทองคำเปลวบนพื้นรัก
โดยขั้นตอนการทำสุดท้ายคือการเอาน้ำรด ให้ปรากฎเป็นลวดลาย จึงกล่าวได้ว่า "ลายรดน้ำ" คือ ลายทองที่
ล้างด้วยน้ำ นอกจากนี้ ลายรดน้ำ ยังสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จากหลักฐานในจดหมาย
เหตุ ก รุ ง สยามและกรุง จีน ซึ่ง บรรยายถึง พ่ อ ขุ น รามคำแหงทรงเจริ ญพระอั กษรแต่ ง ตั ้ ง ราชทู ต ไปเจริญ
สัมพันธไมตรีกับจีนโดยการเขียนพระราชสาส์นเป็นลายรดน้ำ
ประเด็นที่ 5 ศาลเพียงตา หรือศาลพันทายนรสิงห์คืออะไร
หลังจากที่พันทายนรสิงห์ถูกประหารชีวิตได้มีการพูดถึงว่า สมเด็จพระเจ้าเสือทรงอาลัยรักน้ ำใจพันท้าย
เป็นอย่างมาก ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด รับสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิง ห์แล้ วโปรด
ให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ศาลเพียงตา จากนั้นได้นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัว
เรื อ พระที ่น ั ่ง เอกไชยซึ่ง หักนั้น ขึ้น พลีก รรมไว้ด ้ วยกัน บนศาล พั น ท้ ายนรสิ งห์ จึ งได้ ชื่ อว่ า เป็ น บุ คคลที่มี
ความซื ่ อ สั ต ย์ ส ุ จ ริ ต และจงรั ก ภั ก ดี ศาลพั น ท้ า ยนรสิ ง ห์ แห่ ง แรกตั ้ ง อยู ่ บ ริ เ วณปากคลองโคกขาม
ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เชื่อว่าเป็นศาลพันท้ายนรสิง ห์ที่เก่ าแก่ที่ สุด
และเป็นจุดที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต ต่อมาได้มีการผุพังไปตามกาลเวลาและถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง จึงได้มี
การสร้างใหม่

ประเด็นที่ 6 พันทายนรสิงห์มีจริงหรือไม่
เรื ่ อ งของ “พัน ท้ายนรสิง ห์” ปรากฏครั ้ ง แรกในพระราชพงศาวดารกรุ ง สยาม จากต้ น ฉบั บของ
บริติชมิวเซียม ซึ่ง พบในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยกล่าวว่า “พ.ศ. ๒๒๔๗ พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่ง
เอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยว
และมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่ง
กระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตาม
พระกำหนดถึงสามครั้งด้ วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็ น
อุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้
ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์
และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน” แต่ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเก่า
กว่าฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๖๔ โดยไม่ได้มีการ
กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าเสือ หรือเหตุการณ์ “พันท้ายนรสิงห์” ในกฎมณเฑียรบาลก็ไม่มี
การระบุโทษของพันท้ายเรือพระที่นั่งดังที่พงศาวดารบันทึกไว้ โทษส่วนใหญ่เป็นการรับผิดชอบของคนทั้ง เรือ
พระที่นั่ง และพันท้ายเรือพระที่นั่งมี ๒ คน แต่พระราชพงศาวดาร กลับระบุถึงการประหารพันท้ายนรสิงห์
เพียงผู้เดียว ดังนั้นสรุปได้ว่า ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่สามารถสามารถระบุได้ว่าพันทายนรสิงห์มีจริงหรือไม่
ประเด็นที่ 7 ทุ่งภูเขาทองสถานที่รบในกรุงศรีอยุธยา

หากย้อนกลับไปยังยุคกรุงศรีอยุธยา ทุ่งภูเขาทองนอกจากเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว ที่อุดมสมบูรณ์


ไปด้ วยสั ต ว์ น้ำและพืช แต่เมื่อ เกิดยามศึกสงคราม “ทุ่ ง ภู เ ขาทอง” จึ ง เปลี่ ย นเป็ น สมรภู มิร บของกองทัพ
ไทย ใช้ เ ป็ น ฐานที่ ม ั ่ น ตั้ ง รั บ ศึ ก ไม่ ใ ห้ ข้ า ศึ ก เข้ า มาใช้ เ ป็ น ที ่ ต ั ้ ง ทั พ ล้ อ มเมื อ ง ดั ่ ง เช่ น เหตุ ก ารณ์ ท าง
ประวั ติ ศาสตร์ที่ ส ำคั ญ สงครามไทย ระหว่ างกรุ ง ศรี อ ยุ ธยากั บพม่ า ในสมั ย สมเด็ จพระมหาจั ก รพรรดิ
(ปลายพุทธศตวรรษที่ 21) ใช้พื้นที่ทุ่งภูเขาทองและวัดภูเ ขาทอง เป็นสมรภูมิและที่ตั้งทัพถึง 6 ครั้ง รวมถึง
ตอนที่พระสุริโยทัยรบกับพระเจ้าแปร แม่ทัพของพม่า ปัจจุบันทุ่งภูเขาทอง เป็นทุ่งกว้างบริเวณเกาะเมือ ง
พระนครศรี อยุธยา และมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุ คสมั ย ทั้ ง เป็ น ทุ่ งนาข้ าวของเกษตรกร เป็ น ที่ อยู่
อาศัย เป็นแหล่งทำกิน และยังเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุ สาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สถานที่ร ำลึก
ถึ ง พระมหากษั ต ริ ย์ นั ก รบ ผู้ ท รงอุ ท ิศ พระองค์ ก อบกู ้ เ อกราชของชาติ อี ก ทั ้ ง เป็ น การอนุ รั ก ษ์ บ ริ เ วณ
ประวั ติ ศาสตร์ แ ละโบราณสถานสำคั ญของชาติ ซึ่ ง กลายเป็ น จุ ด ท่ อ งเที ่ ย วแห่ ง ใหม่ ของจั ง หวั ด ที่ เ ป็ น
จุ ด หมายปลายของของนั ก ท่ อ งเที ่ ย วที ่ ไ ม่ พ ลาดเข้ า มาเรี ย นรู ้ ป ระวั ต ิ ศ าสตร์ และรำลึ ก ถึ ง
บูรพมหากษัตริย์ และบรรพบุรุษ ที่เสียสละเลือดเนื้อคงไว้ความเป็นชาติจนถึงปัจจุบัน

You might also like