You are on page 1of 6

1

โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ทาโครงงานจะต้องนาเอา
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process) มาใช้เพื่อ
ศึกษาหาทางแก้ปัญหาเรื่องใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยผู้ทาโครงงาน เป็นผู้คิดเรื่องหรือ เลือกเรื่อง
ที่ต้องการศึกษา มีการวางแผนดาเนินการ (ลงมือปฏิบัติ ) บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอผลงาน
ด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นจนสาเร็จทุกขั้นตอน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
1. โครงงานประเภทสารวจ หมายถึง การสารวจข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น เพื่อนามาประกอบ
การศึกษาหรือการจาแนกเป็นหมวดหมู่ ทั้งนี้ไม่ต้องคานึงถึงตัวแปรต่าง ๆ การเก็บข้อมูลโดยการออกไปสารวจ
นอกห้องปฏิบัติการหรือที่เรียกว่า สารวจภาคสนามหรือบางครั้งอาจจะนาส่วนต่าง ๆ นั้นมาศึกษาใน
ห้องปฏิบัติการด้วยก็ได้
2. โครงงานประเภทการทดลอง หมายถึง โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองเป็นโครงงานที่มีการออกแบบ
การทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตาม โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่จะมี อิทธิพลต่อผล
การทดลอง
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่ประยุกต์หลักการหรือทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ มา
ประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ในการใช้สอย อาจคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือ
ปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. โครงงานประเภททฤษฏี เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฏี หลักการใหม่ ตามแนวคิดของตนเอง หรือการอธิ บาย
แนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตรสมการ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล

ลาดับขั้นตอนการทาโครงงาน
1. สารวจและตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะโครงงาน
2. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทาจากเอกสารและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
3. วางแผนการทดลอง การใช้วัสดุอุปกรณ์และระยะเวลาในการดาเนินงาน
4. เขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์
5. ลงมือศึกษาทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

เอกสารประกอบการทาโครงงานวิชาฟิสิกส์ 2 ว30202 | โดยครูสุนารี มีใหม่


2

6. เขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
7. เสนอผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=201

ส่วนประกอบเค้าเล่มโครงงาน
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
บทนา
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
อุปกรณ์และวิธีดาเนินงาน
ผลการศึกษาทดลอง
สรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
แหล่งเรียนรู้
ผู้จัดทา
รูปภาพและเกียรติบัตร

ขั้นตอน โครงงานวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สาคัญที่สุดและยากที่สุ ด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อ
เรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วย
ตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป
ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทาโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนวิธี ดาเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จาเป็นต้องใช้ในการ
ออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดาเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะ
ดาเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนาเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคาแนะนาเพิ่มเติม และขอ ความ
เห็นชอบ

เอกสารประกอบการทาโครงงานวิชาฟิสิกส์ 2 ว30202 | โดยครูสุนารี มีใหม่


3

ขั้นที่ 3 การลงมือทาโครงงาน
ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บ
รวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภ ทใดและ
การค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของ
การศึกษาค้นคว้า
ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบ
รายละเอียดทั้งหมดของการทาโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทาการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา
วิธีดาเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทาโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ๆ วิธีเขียนรายงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่นเอง
ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสาเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทาได้หลาย
รูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ
ในการจัดแสดงผลงานของการทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทาได้ในหลายระดับ เช่น
- การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน
- การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน
- การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจาปีของโรงเรียน
- การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่ม
โรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

เอกสารประกอบการทาโครงงานวิชาฟิสิกส์ 2 ว30202 | โดยครูสุนารี มีใหม่


4

ตัวอย่างขั้นตอนการทาโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"

รายชื่อผู้จัดทา
1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์
2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม
3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี
2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์
3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์

ที่มาและความสาคัญและปัญหา
จากการที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทาให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทาให้เกิดผล
กระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทาโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริม
ฝั่งทะเล จึงคิดว่าน่าจะนาพืชเหล่านั้นมาดูดซั บเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ซึ่งจะแก้ปัญหา
สิ่งแวดล้อมได้

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นามาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง
3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม
4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่ หา่ งไกล
ชายฝั่งทะเล

เอกสารประกอบการทาโครงงานวิชาฟิสิกส์ 2 ว30202 | โดยครูสุนารี มีใหม่


5

สมมติฐาน

พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทานากุ้ง

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ตัวแปรต้น พืชทะเลบางชนิด
- ตัวแปรตาม การลดความเค็มของดิน
- ตัวแปรควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลอง

วิธีการวิเคราะห์ความเค็ม
1. วิเคราะห์โดยการสังเกตการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญ
แสดงว่าดินไม่เค็ม
2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทาปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก

วิธีการทดลอง
1. สารวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่ง
ทะเลมาลดมลพิษการแพร่กระจายของเกลือ
2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง
3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง
4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริ เวณ
ดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่ห่างไกลจากทะเล)

ผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ผล
1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้ว
หมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนาพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ
2. การนาผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน

เอกสารประกอบการทาโครงงานวิชาฟิสิกส์ 2 ว30202 | โดยครูสุนารี มีใหม่


6

3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน


4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้
5. ผลการวิเคราะห์ในลาต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็ม

ประโยชน์ของโครงงาน
จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้น
ผู้ทาโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนาไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ
1. นาไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง
2. อาจนาไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มี
การทดลอง)

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์อนื่ ๆ
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ยางกล้วยช่วยเพ็ นท์ผ้า
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "พริกขี้หนูสู้กับมด"
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เปลวไฟลอยน้า
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทียนไขกระหายน้า
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ครีมขัดเครื่องเงินและเครื่องทอง
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทาขี้ผึ้งบาล์ม (ยาหม่อง)
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทาดินน้ามันอย่างง่าย
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารสกัดจากข่าและพริกไทยปราบแมลง

ที่มา http://entertain.tidtam.com/data/12/0056-1.html

เอกสารประกอบการทาโครงงานวิชาฟิสิกส์ 2 ว30202 | โดยครูสุนารี มีใหม่

You might also like