You are on page 1of 60

1

บทที่ 1 คว าม หม ายแ ละป ระ วั ติค วา มเป ็น มา ขอ งผ ้า มั ดย ้อ ม


บทที่ 2 ส่ว นปร ะก อบ ของ คุณส มบ ัติท าง กา ยภ าพ ขอ งเส้ นใ ย
บทที่ 3 กา รเ ตรี ยม ผ้ า
บทที่ 4 สีย้ อม แล ะก าร จำา แนกส ี
บทที่ 5 ทฤษฎีสี (C ol or Th eor y)
บทที่ 6 จิตว ิทย าข องส ี (Psy co lo gy of Co lo ur)

บทท ี่ 1
2
ความ หม าย แล ะปร ะวั ติค วาม เป ็นมาขอ งผ้ ามัด ย้ อม

คว าม หม าย
การทำาผ้ามัดและย้อมสี หมายถึง การทำาผ้าให้เกิดรอยด่าง ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการ
ย้อมสี อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจของผู้ทำาการย้อมสีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมองดูแล้วเกิดความสวยงาม
จึงได้ใช้เส้นด้ายมามัดและนำามาไปย้อมสี และนำา มาทอเป็นผ้าผืนเกิดเป็นลวดลายที่ได้ออกแบบไว้
และได้รับการพัฒนาจากการมัดเส้นด้ายมาเป็นการมัดผืนผ้า ดังที่ได้เห็นกันทุกวันนี้ ซึ่งสามารถทำาผ้า
มัดย้อมได้กับผ้าทุกชนิด เช่น ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือผ้าที่ทำาจากเส้นใยประดิษฐ์ จะเลือกชนิด
ของสีย้อมให้ถูกกับชนิดของเส้นใยที่นำามาทำา สีย้อมที่ใช้ย้อมเส้นใยแต่ละประเภท มีความเหมาะสม
และวิธีการย้อมเฉพาะอย่างเท่านั้น จะนำาสีประเภทที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของเส้นใยๆ ไปย้อม สีก็จะ
ไม่ติด หรือติดจะไม้ได้ความเข้มและความทนตามที่ต้องการ

ภา พที ่ 1.1 แสดงรูปภาพ ผ้ามัดย้อม


ที่มา : Kennedy, J. and Varrall, J. 1994 : 37

ประว ัต ิค วา มเป็ นม าข อง ผ้ าม ัด ย้ อม
3
กระบวนการกั น สี ย้ อ มที่ ทำา สื บ ทอดกั น มา รวมทั้ ง การมั ด (Tying) ผู ก ปม (Knotting) การ
ผูกพัน (Binding) หรือการเย็บ (Stitching) ผ้าก่อนนำาไปจุ่มหรือแช่ในสีย้อม จากการพิจารณาว่า แหล่ง
กำาเนิดอยูใ่ นบริเวณภาคพืน้ เอเชียตะวันออก ได้มกี ารชีแ้ จงสิง่ ทีม่ ีการขัดแย้งกับหลักฐานทีค่ ้นพบ และ
ได้มีการค้นคว้าหาสิง่ ที่ทำาขึ้นจากแหล่งกำาเนิดที่ถูกต้อง หลักฐานที่ให้ความรู้ที่พอจะเชื่อถือได้มีการทำา
ในยุคแรกๆ ในอินเดีย (India) จีน (China) ญี่ปุ่น (Japan) ชวา (Java) และบาหลี (Bali) ในอาฟริกา
(Africa) มีความคุ้นเคยกับเทคนิคการใช้สยี อ้ มทีม่ อี ย่างอุดมสมบูรณ์ เป็นประโยชน์และสำาคัญมากเช่นเดียว
กับสิง่ ทออืน่ ๆ

ความสำา คัญของการออกแบบจากอาฟริกา มีความแตกต่างกันจากการค้นพบสิ่งเหล่านี้ใน


เอเซีย สิ่งทอยุคแรกๆ ที่การค้นพบชิ้นส่วนของผ้ามัดย้อมจากเปรู (Peru) เป็นสิ่งทอที่เชื่อว่าได้มีการ
เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ได้แพร่หลายจากเปรูเข้าไปในเม็กซิโก (Mexico) กัวเตมาลา (Guatemala)
โบริเวีย (Bolivia) ปารากวัย (Paraguay) อาร์เจนตินา (Argentina) และตะวันตกเฉียงใต้ของอาฟริกา
(Southwestern United States) ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคนิคการกันสีย้อมที่ใช้กัน
อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ (North American Continent) อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของชาวเปรู (Peruvian) ที่
แพร่หลายมากอย่างต่อ เนื่ อ งและประยุ ก ต์ ใ ช้ ที่ ห ลากหลายในเอเชี ยตะวั น ออก (East Asian) และ
อารยธรรมตะวันออก (Oriental Civilizations)

นักมนุษยวิทยาพบรูปแบบแรกๆ สำาหรับการกันสีในวัฒนธรรมดั้งเดิมทั้งหมดของขั้นตอนการ
ฟอกสีออกด้วยดวงอาทิตย์ จะโดยบังเอิญหรือโดยตรงของการไปถึงผิวหน้ารูปแบบโดยกันสีจากการ
ทำาให้เป็นจริง การเตรียมวัสดุกันสีย้อมมีการพัฒนามาตลอด ในยุคแรกๆ ของงานมัดและย้อมสีบนผ้า
ทอ ซึ่งเป็นไปได้ว่า คนสมัยโบราณมีการปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นเทคนิคของ “Ikat” เป็นที่ทราบ
แล้วว่าเกิดขึน้ ในช่วงระยะเวลาเกินกว่าศตวรรษทางทิศตะวันออกของอินโดนีเซีย (Eastern Indonesia)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบาหลี (Bari) ใช้การกันสีย้อมบนเส้นด้ายทอหรือเส้นด้ายที่แก้แล้ว การออกแบบ
ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการทำาผ้าสำาหรับการป้องกันสีย้อมอย่างดีเยี่ยม เมื่อหลายร้อยปีประชาชนเหล่านี้
ผลิตสิ่งทอที่มีความปราณีตทัง้ รูปแบบและใช้เป็นเครื่องประดับอย่างสวยงาม

กระบวนการทำา ที่สืบทอดกันมา ประกอบด้วย การมัดที่แยกออกจากกั นและการมัดเล็ กๆ


อย่างแน่นหนา มีการควบคุมวิธีการทำา อย่างละเอียดตามปกติ การจัดรูปแบบจะเป็นลายเรขาคณิต
(Geometric) วงกลม (Circlets) เป็นริ้ว (Stripes) มัดด้วยเชือกจากธรรมชาติเพื่อป้องกันสีย้อมภาย
หลังการย้อมสีและแก้มัดเชือกออกจะปรากฎเป็นลวดลายออกมา รูปแบบพื้นฐานจำานวนมากในการ
มัดและย้อมสีเป็นรูปวงกลมเล็กๆ มีอยู่ทั่วๆ ไปบนผ้าจากอินเดีย (India) ชูดาน (Sudan) ส่วนต่างๆ
ของอาฟริกา (Africa) และมอร๊อกโค (Morocco) แม้กระนั้นเทคนิคง่ายๆ ของการจับให้แน่นและมัด
ส่วนที่เล็กจิ๋วของผ้า ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นจำานวนมาก ส่วนใหญ่ของผ้าอาจเก็บโดย
การรวบรวมเข้าด้วยกัน มีการกำา หนดขอบเขตโดยวิธีการพับตามยาว มีการผูกมัดให้เป็นวงกลม
(Circles) สีเหลี่ยม (Squares) เรขาคณิต (Geometric)
4

ภา พที ่ 1. 2 แสดงรูปภาพผ้ามัดย้อมจากไนจีเรีย (Nigeria)


ที่มา : Gillow, J. 2001 : 62

ในการเย็บ หรือ “Tritik” วิธีทำานี้มีอยู่ทั่วๆ ไปในสิ่งทอของอาฟริกา (African Textiles) ด้ายที่


ยาวและเหนียวเมื่อเย็บเข้าไปในผ้าระหว่างเส้นที่กำาหนดไว้ล่วงหน้าเป็นตัวชี้ทางอาจจะตรง (Straight)
เป็นคลื่น (Wavy) รูปซิกแซก (Zigzag) และอื่นๆ ต้องดึงเส้นด้ายให้ตึง จากนั้นก็เก็บรวบผ้าจะเป็นก
ลุ่มก้อนขึ้น มัดให้แน่นระหว่างเส้นของด้าย เป็นการไปเพื่อสร้างเป็นรูปร่างกันสีย้อมไม่ให้ผ่านทะลุ
เข้าไป

ภา พที ่ 1. 3 แสดงรูปภาพผ้าที่มัดย้อมโดยการเย็บ “Tritik”


ที่มา : Gillow, J. 1992 : 98

เทคนิคการกันสีทั้งหมดเหล่านี้มีขึ้นและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป มีการปฏิบัติกันมาในหมู่บ้าน
ชนบทของอินเดีย (India) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตอนกลางของหมู่บ้านได้มีการศึกษาผ้าเหล่านี้เป็น
ผลงานที่สร้างสรรค์จากที่เคยพบเศษผ้า ซึ่งทำาขึ้นย้อนหลัง 5,000 ปี สะท้อนให้เห็นภาพคนทั่วๆ ไป
หรือประเพณีตามชนบทของอินเดีย ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์การใช้สีย้อม เช่น ชุดสาหรี (Saris)
กระโปรงบาน (Flared Skirts) และผ้าโพกหัว (Head Scarves) มาตรฐานและข้อปลีกย่อยของการทำา
ผ้ามัดย้อมที่เป็นแถวของสีที่สดใส แต่ละเฉดสีมีความเกี่ยวเนื่องทางสัญลักษณ์ที่มีความหมายมาก
ที่สุ ดตามที่ กระทำา อยู่เสมอเฉพาะแห่งและพิธีทางศาสนา ชาวอิ นเดียรู้จั กผ้ามั ดย้อ มว่า บันดานะ
(Bhandhana) (Belfer, N. 1972 : 73 – 74)
5
ประเทศญีป่ ุ่นเรียกผ้ามัดย้อมว่า ซิโบรุ (Shiboru) เหมาะสำาหรับทำาผ้าโกโซดะ (Kosode) หรือ
กิโมโน (Kimono) ของพวกชนชั้นสูง พระ ทำาจากผ้าไหมมีความสวยงามมาก จากนั้นได้นำาผ้าฝ้ายมา
ทำามัดย้อมและเป็นที่รู้จักกันดี ในสมัยโมโนยามา (Monoyama) มีการทำา ผ้ามัดย้อมสลับสีทำา ให้เกิด
ลวดลายแตกต่างออกไป (Belfer, N. 1972 : 8)

ภา พที ่ 1.4 แสดงรูปภาพผ้ามัดย้อม “ซิโบรุ (Shiboru)”


ที่มา : Wada, et al. 1983 : 39

การทำาผ้ามัดย้อมในประเทศไทยรู้จักกันในนาม “ผ้ามัดหมี่” ตามภาษาชาวบ้าน หมายถึง การ


มัดเส้นด้ายเพื่อให้เกิดลวดลายก่อนที่จะนำาไปทอโดยมัดเฉพาะเส้นด้าย โดยใช้วัสดุที่ไม่ดูดซึมสีมัด
บริเวณที่ไม่ต้องการให้ถูกย้อม ทำาให้เกิดลวดลายบนเส้นด้าย ซึ่งจะถูกนำาไปทอออกมาเป็นผืนผ้าตาม
แบบที่ได้กำา หนดไว้แล้ว มีอยู่ 2 วิธี คือ การมัดแบบไม่ได้กำา หนดลวดลายและการมัดแบบกำา หนด
ลวดลาย (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2526 : 11)

การทำาผ้ามัดย้อมในแต่ละประเทศจะมีรูปแบบสีสันที่แตกต่างกันไป มีลักษณะเฉพาะตามแต่ผู้
สร้างสรรค์ ช่วงเวลา วัฒนธรรม แต่ก็ยังมีความคล้ายคลึงกันบ้าง ผ้าที่ใช้ก็มีความหลากหลาย เนื้อดี
บางใช้ผูกมัดลายเล็กๆ ผ้าหนาเหมาะกับการทำาลวดลายที่ใหญ่ ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีเทคนิคพื้นฐาน
ที่เหมือนกัน ผ้าจะถูกมัด พับ ผูก เย็บ แล้วนำาไปย้อมสี เพราะการย้อมเป็นส่วนหนึ่งของการมัดเพื่อ
สร้างสี ทุกเทคนิคมีการพัฒนามาตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ และเกิดวิธีใหม่ๆ มีการผสมผสานกัน ซึ่งการ
ทำาผ้ามัดย้อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำานวนการมัด แต่เกี่ยวเนื่องภายในพื้นที่ทั้งหมดของผ้าและการใช้สีได้
อย่างเหมาะสม (Meilach, Dona Z. 1973 : 18-19)

ลั กษณะ ของ ผ้ าม ัด ย้ อม
6
การมัดย้อมสี (Tie – Dye) เป็นการทำา ลวดลายให้เกิดบนผืนผ้าที่เป็นแบบ Resist Dyeing
หมายถึง การนำาเอาวัสดุ อุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ไปปิดบังส่วนหนึ่งของผืนผ้าเพื่อมิให้สีแทรกซึม
เข้าไปในเนื้อผ้าได้โดยสะดวก โดยวิธีการผูก มัด พัน รัด ผูกปม หรือหนีบจับผืนผ้า แล้วนำาไปย้อมสี
ก็จ ะทำา ให้เ กิ ดลวดลายขึ้ น ลั ก ษณะของการทำา ผ้ า มั ดย้ อ มและการทำา ผ้ า บาติ ก (Batik) มี ลั ก ษณะ
คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันก็เพียงแต่ผ้าบาติกใช้การป้องกันสีไม่ให้แทรกซึมลงบนผ้าตรงส่วนที่ไม่
ต้องการให้ติดสีด้วยขี้ผึ้ง เทียนที่หลอมละลาย แต่ผ้ามัดย้อมใช้เชือก เส้นด้าย เชือกฟาง หนังยาง (
ยางรัด ) หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ป้องกันสีบนส่วนของผืนผ้าไว้ การผูกมั ดด้วยเส้ นด้ายหรือ เชือ กนี้
ทำา ให้เกิดแรงดึง ซึ่งเป็ นหลั กเกณฑ์ง่ายๆ จะมีผลทำา ให้เ กิ ดแรงกดดันลงไปในผืนผ้าส่ วนนั้นๆ จะ
สามารถป้องกันมิให้สีแทรกซึมเข้าไปในบริเวณที่มีแรงดันของเชือกหรือเส้นด้ายดังกล่าว

การย้อมสีผ้ามัดย้อมสามารถใช้สีได้หลายประเภท ย้อมได้ทั้งที่ใช้ความร้อนในอุณหภูมิสูง
และสีย้อมเย็น (อุณหภูมิห้อง) เหมือนกับการย้อมมัดหมี่บนเส้นด้ายซึ่งเป็นงานฝีมือที่เชิดหน้าชูตา
ของชาวตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การทำา ผ้ามัดหมี่เป็นการมัดเส้นด้ายให้เกิดลวดลาย
แล้วจึงนำาไปทอเป็นผืนผ้าให้เกิดเป็นลวดลาย ส่วนการทำาผ้ามัดย้อมเป็นการนำาผ้าเป็นผืนหรือเสื้อผ้า
สำา เร็จรูปแล้วนำา ไปย้อม ลวดลายที่ได้จึงไม่เหมือนกั น การทำา ผ้าบาติก และการทำา ผ้ามั ดหมี่ จะได้
ลวดลายที่คมชัดและละเอียดมากกว่าผ้ามัดย้อม ซึ่งงานแต่ละอย่างมีเอกลักษณ์ความงดงามอยู่ในตัว
ของมันเองโดยเฉพาะ (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2540: 1)

บทท ี่ 2
7
ส่วน ประ กอบขอ งค ุณสมบ ัติท าง กา ยภ าพข อง เส้นใ ย

เส้นใยผ้า มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากพืช สัตว์ สารอนินทรีย์ และที่ผลิตขึ้นได้จาก


วัตถุดิบที่มิใช่เส้นใยก็มีวัตถุดิบเหล่านี้ บางทีก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้วนำามาดัดแปลงให้เป็น
เส้นใย บางที ก็ เ ป็ นเพี ยงธาตุ ต่ างๆ นำา มารวมกั นเข้ าด้ว ยกั น ทำา ให้เ กิ ดปฏิ กิ ริ ยาเคมี ร วมกั นเป็ น
สารประกอบชนิดใหม่ มีคุณสมบัติทำาเป็นเส้นใยได้ มีอยู่มากมายหลายสิบชนิด ซึ่งวีระศักดิ์ อุดมกิจ
เดชา. มีนาคม - เมษายน 2546 : 13 – 17 ได้จำาแนกเส้นใยไว้ดังนี้

1. เส้น ใยธ รร มช าต ิ (Nat ur al Fib ers)


เส้นใยธรรมชาติที่ใช้กันอยู่มีมากมายหลายชนิด ทั้งชนิดที่ได้จากพืช และชนิดที่ได้จาก
สัตว์ เป็นเส้นใยทีเ่ กิดจากผลผลิตทางเกษตรกรรมและมีการใช้งานสืบทอดอย่างยาวนาน มาตั้งแต่ครั้ง
ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ในการแบ่งชนิดย่อยลงไปของเส้นใยธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3
ชนิด ดังนี้
1.1 เส้นใยจากพืช (Vegetable Fibers)
เส้นใยจากพืช มีโครงสร้างทางเคมีที่ประกอบไปด้วยเซลลูโลสเป็นตัวหลัก
ดัง นั้น สมบัติ โ ดยทั่ วไปของเส้ นใยพืช คื อ ดูด ซึม ความชื้ นดี นำา ความร้ อ นได้ ดี
ความสามารถในการทนต่ออุณหภูมิสูง การคืนตัวจากแรงอัดตำ่า เส้นใยสามารถ
เกาะกันแน่นในขณะเป็นด้าย เป็นตัวนำา ไฟฟ้าที่ดี ความหนาแน่นสูง (1.5 ±) ถูก
ทำา ลายได้ด้วยกรดจำา พวกกรดแร่ (mineral acid) แต่มีผลเล็กน้อย เนื่องจากกรด
อินทรีย์ ทนต่อแมลง ถูกทำาลายด้วยรา และจุดติดไฟ นอกจากนั้น สมบัติทางเคมีที่
คล้ายกันก็มี เช่น ทนกรดอ่อน หรือกรดอินทรีย์ แต่ไม่ทนกรดแก่ สามารถทนต่อ
ด่างได้ดี ทนต่อสารละลายอินทรีย์ สามารถซักแห้งได้ ทนได้ดีต่อสารซักฟอกที่มี
จำาหน่ายทั่วไป แต่ต้องระวังสารซักฟอกประเภทออกซิไดส์ เช่น โปแตสเซียมเปอร์
แมงกาเนต และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ อาจทำาให้ความแข็งแรงลดลงขาดง่ายและ
เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ข้อเด่นประการหนึ่งของเส้นใยพืช คือ ความสามารถในการรับ
สีย้อมได้หลายชนิด เช่น สีรีแอคทีฟ สีแว๊ต สีไดเร็กท์ เป็นต้น เส้นใยเหล่านี้มีทั้ง
เส้นใยที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น
• เส้ น ใยจากลำา ต้ น เช่ น ลิ นิ น (Flax) ปอกระเจา (Jute) ป่ า นเฮมป์
(Hemp) ป่านรามี (Ramie)
• เส้นใยจากเมล็ด เช่น ฝ้าย (Cotton) นุ่น (Kapok)
• เส้นใยจากใบ เช่น สับปะรด (Sative) กล้วย (Abaca) ป่านศรนารายณ์
(Sisal)

1.2 เส้นใยสัตว์ (Animal Fibers)


8
เส้นใยสัตว์ จะต่างจากเส้นใยพืชโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้องค์ประกอบหลักทางเคมี
ของเส้นใยสัตว์จะเป็นจำาพวกโปรตีน ซึ่งมีลักษณะการต่อกันของกรดอะมิโนเชื่อม
ต่อกันด้วยแขนที่เรียกว่า Amide หรือ Peptide ทำา ให้มีนำ้า หนักโมเลกุลสูง เส้นใย
สัตว์ที่รู้จักกันกว้างขวางที่สุด คือ เส้นใยที่ได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ ได้แก่
ขนแกะ (Wool Hair) ไหม (Silk) ผมและขนสัตว์อื่นๆ (Hair) เช่น ขนอูฐ แคชเมียร์
โมแฮร์ เป็นต้น ซึ่งต่างก็มีองค์ประกอบทางเคมีที่สำาคัญคล้ายกัน ต่างกันอยู่บ้างที่
ปริมาณกำา มะถัน หรือซัลเฟอร์ที่พบในขนสัตว์ แต่ แทบไม่พบในไหมเลย ดังนั้น
สมบัติโดยทั่วไปของเส้นใยสัตว์การคืนตัวดี การดูดซึมความชื้นดี ความแข็งแรงลด
ลงเมื่อเปียก ความถ่วงจำา เพาะตำ่า ถูกทำา ลายได้ด้วยด่าง ถูกทำา ลายได้ด้วยสารที่
ทำา ให้ เ กิ ดการออกซิ ไ ดส์ ถู ก ทำา ลายได้ด้ ว ยความร้ อ นแห้ ง และทนต่ อ เปลวไฟ
เส้นใยโปรตีนจะมีความแข็งแรงลดลงเล็กน้อยเมื่อเปียก ทั้งเส้นใยขนสัตว์และไหม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนสัตว์จะมีปัญหาในด้านการหดตัวด้วย แต่มีความสามารถใน
การดูดซึมความชื้นได้สงู ทำาให้ดูดซึมสีย้อมได้ดีไม่ว่าจะเป็นสีแอสิค สีเบสิก หรือ สี
ไดเร็กท์ ผ้าไหมเมื่อย้อมสีจะได้สที ี่เข้มกว่าขนสัตว์

1.3 เส้นใยจากแร่ธาตุ (Mineral Fibers)


เป็นเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากแร่ ได้แก่ ใยหิน (Asbestos)

2. เส้น ใยป ระด ิษฐ์ (Ma n – Mad e Fi be rs)


เป็ นเส้ นใยประดิษ ฐ์ที่ ม นุษ ย์จั ดทำา ขึ้ นมาเพื่อ ทดแทนเส้ นใยธรรมชาติ ที่ นับ วั น ก็ จ ะมี
ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เส้นใยประดิษฐ์ที่ทำาขึ้นหลักการโดยทั่วไป
คือ ความพยายามลอกเลียนเส้นใยธรรมชาติให้ใกล้เคียงมากที่สุด และพัฒนาให้มีคุณสมบัติเฉพาะ
ด้านที่ดีขึ้น ปัจจุบันชนิดของเส้นใยประดิษฐ์จึงมีจำานวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น การจัดแบ่งชนิดของเส้นใยจึง
ต้องมีระบบรองรับเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยการแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมีของเส้นใย ซึ่ง
อธิบายได้ดังต่อไปนี้
2.1 เส้นใยประดิษฐ์เซลลูโลส (Natural Polymer)
กลุ่ ม เส้ น ใยนี้ เป็ น เส้ น ใยที่ มี อ งค์ ป ระกอบทางเคมี เ ป็ น เซลลู โ ลส ทั้ ง นี้
เนื่ อ งจากวั ต ถุ ดิ บ ที่ ใ ช้ เ ป็ น เยื่ อ ไม้ แ ละเศษผ้ า ซึ่ ง ล้ ว นแต่ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ ที่ ไ ด้ จ าก
ธรรมชาติ ได้แก่ พวกวิสโคส (Viscose) เรยอน (Rayon) โปลิโนซิค (Polynosic)
อะซิเตต (Acetate) ไตรอะซิเตท (Tri Ace Tate) เส้นใยเรยอนสามารถรับสีย้อมได้
สมำ่าเสมอ และหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น สีไดเร็กท์ สีแอสิด และสีดิสเพอร์ส ส่วนเส้น
ใยอะซีเตตกับมีปัญหาในการรับสีย้อม ส่วนมากจึงนิยมย้อมในลักษณะที่ทำา เป็น
Solution Dyes เพื่อให้การติดสีเป็นไปอย่างถาวรแทน

2.2 เส้นใยประดิษฐ์ชนิดพอลิเมอร์ที่ไม่ใช่เซลลูโลส (Synthetics Fibers)


9
เส้นใยกลุ่มนี้ครอบคลุมเส้นใยประดิษฐ์อย่างกว้างขวาง โดยรอบเส้นใยทุก
ชนิ ด ที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ด้ ว ยวั ต ถุ ดิ บ ที่ เ ป็ น พอลิ เ มอร์ สั ง เคราะห์ อั น เป็ น ผลผลิ ต จาก
อุตสาหกรรมปิโตรเลียมทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเรียกเส้นใยนี้ว่าเส้นใย
สังเคราะห์ (Synthetic Fibers) ที่ในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอรู้จักกันดีและใช้งาน
อย่ า งกว้ า งขวาง มี ตั้ ง แต่ โ พลี เ อสเทอร์ (Polyester) ไนลอน (Nylon) อะคริ ลิ ก
(Acrylic) เป็ น ต้ น ด้ ว ยเหตุ ผ ลที่ เ ส้ น ใยเหล่ า นี้ ล้ ว นแต่ เ ป็ น เส้ น ใยที่ ไ ด้ จ ากการ
สังเคราะห์ ทางเคมี ดังนั้น จึงมักมีสมบัติที่มีความคล้ายคลึงกันในหลายประเด็นดัง
ต่อไปนี้ อ่อนไหวต่อความร้อน ทนต่อสารเคมีส่วนใหญ่ ทนต่อแมลงและรา การดูด
ซึมความชื้นตำ่า เป็นพวกที่เข้ากับนำ้ามันได้ ไฟฟ้าสถิตย์ ทนทานต่อการขัดถูได้ดี (
เส้นใยอะคริลิกตำ่าที่สุด) ความแข็งแรง การคืนตัวจากแรงอัดดี ทนทานต่อแสงแดด
ความหนาแน่นหรือความถ่วงจำาเพาะ และการเกิดขุย
สมบัติที่ต่างไปจากเส้นใยธรรมชาติ ในด้านความสามารถในการดูดซึม
ความชื้นตำ่า ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากองค์ประกอบทางเคมีของเส้นใยที่เป็นพวกไม่
ชอบนำ้า สมบัติดังกล่าวส่งผลสะท้อนต่อไปถึงสมบัติอื่นๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
ปัญหาการเกิดไฟฟ้าสถิต ปัญหาของความไม่สบายในการใช้งาน ตลอดจนถึงการ
ย้อมสี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ เส้นใยโพลีเอสเตอร์ ในระยะแรกที่ผลิตออกมา
มีปัญหาอย่ามากกับการย้อมสี จนในที่สุดได้มีการพัฒนาสีย้อมชนิดดิสเพอร์ส เข้า
มาแก้ปัญหา เป็นต้น

บทท ี่ 3
10
การ เตรี ยมผ้ า

การเตรียมผ้า เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำาคัญมากต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตขึ้นมา
และต่อความสำา เร็จของกระบวนการใช้สีและตกแต่งสำา เร็จที่จะตามมา เพราะขั้นตอนนี้เป็นการนำา
ผ้าดิบมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเตรียมผ้าให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำาไปได้เป็นอย่างดี ซึ่งนันท
ยา ยานุเมศ. ม.ป.ป. อัดสำาเนา: 2-6 ได้ให้จุดมุ่งหมายของการเตรียมผ้าดังต่อไปนี้
1.เพื่อขจัดสิ่งสกปรกในเส้นใยให้มีค วามขาวสะอาดมีการดูดติ ดสีย้อม–พิม พ์ และสารเคมี
ต่างๆ อย่างสมำ่าเสมอ
2.เพื่อให้เส้นใยหรือผ้ามีการดูดซึมนำ้าได้ดีขึ้น อันจะทำาให้กระบวนการย้อม–พิมพ์ และตกแต่ง
สำาเร็จที่ตามมาสามารถดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ประหยัดเวลา และสารเคมี
3.เพื่อทำาให้เส้นใยมีการดูดติดสีและสารเคมีได้มากขึ้น
4.เพื่อให้เส้นใยคงรูปไม่เสียรูปในระหว่างขั้นตอนการตกแต่งอื่นๆ ในภายหลัง

ข ั้น ต อ น ก า ร เ ต ร ีย ม ผ ้า
กระบวนการต่างๆ ในการเตรียมผ้า มีดังต่อไปนี้
1.การเผาขน (Singeing) คือ การขจัดเส้นขนใยสั้นที่โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิวของเส้นด้ายเป็น
จำา นวนมาก โดยการผ่ า นผ้ า ไปยั ง เปลวแก๊ ส หรื อ แผ่ น ทองแดง ด้ ว ยการใช้ ค วามร้ อ นกำา จั ด ปลายเส้ น ใยนี้ เ สี ย
กระบวนการเผาขนมีจุดมุ่งหมายที่สำาคัญ ดังนี้
1)เพื่อทำาให้ผ้ามีพื้นผิวที่ดูเรียบ และมีความเงามันดีขึ้น กระบวนการนี้มีความจำาเป็นโดย
ฉพาะสำาหรับผ้าทีจ่ ะนำาไปชุบมัน อัดรีด หรือขัดมัน
2)การเผาขนเป็นสิ่งจำา เป็นสำา หรั บผ้าย้อม–พิมพ์ ทำา ให้ก ารดูดซึม สีและจะไม่ มีปั ญหา
ความคมชัดต่อการพิมพ์ลาย
3)ลดปัญหาการเกิดขุยบนผ้าโพลีเอสเตอร์เมื่อใช้ไปนานๆ
2.การลอกแป้ง (Desizing) เป็นขั้นตอนที่มีความจำาเป็นสำาหรับผ้าทอ เนื่องจากในการทอผ้า
จะต้องมีการลอกแป้งเส้นด้ายยืนก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทอ แต่เมื่อนำาผ้าที่ทอเสร็จแล้วไปทำา การฟอก
ย้อม แป้งที่เคลือบอยู่บนเส้นด้ายจะมีผลกระทบต่อคุณสมบัติในการดูดซึมนำ้าและสารเคมีของเส้นใย ดังนั้น จึงจำาเป็นที่
จะต้องทำาการขจัดออกไป การลอกแป้งมีความสำาคัญพอสรุปได้ดังนี้
1)การลอกแป้งทำาให้ผ้ามีคุณสมบัติในการเปียกนำ้าได้ดีสมำ่าเสมอ ช่วยทำาให้การตกแต่งผ้า
นขั้นตอนต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2)ทำาให้มีคุณสมบัติในการดูดติดสีและสารเคมีอย่างสมำ่าเสมอทั่วผืน
3)ทำาให้ผ้ามีความนุ่มต่อการสัมผัส ไม่หยาบ และแข็งกระด้าง

บทท ี่ 4
สีย ้อม แล ะการจ ำาแ นกสี
ประว ัต ิค วา มเป็ นม าข องส ีย ้อ ม
11
ประวัติการใช้สีย้อมของมนุษย์สามารถสืบย้อนหลังไปถึงเกือบ 5,000 ปี อาจกล่าวได้วา่ ศิลปะ
การย้อมสีมีวิวัฒนาการขึ้นมาพร้อมๆ กับความเจริญอื่นๆ หลักฐานของการย้อมผ้าได้ถูกค้นพบใน
ประเทศจีน อินเดีย และอียิปต์ ซึ่งเป็นอารยธรรมอันเก่าแก่ของมนุษย์ และศิลปะแขนงนี้ได้รับการ
ปรับปรุงขึ้นมาเรื่อยๆ อันแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความรักสวยรักงาม และมีความ
พยายามที่จะปรับปรุงเสริมแต่งเสื้อผ้าเครื่องประดับให้สวยงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ ในสมัยก่อนนั้น สีย้อมที่
ใช้ล้วนได้จากธรรมชาติทั้งสิน เช่น จากพืช สัตว์ และอินทรีย์สารต่างๆ สีย้อมที่มีประวัติเก่าแก่ที่สุด
เป็นจะได้จากสีคราม ซึ่งได้จากการหมักใบจากต้นคราม แม้ในปัจจุบันสีครามจากต้นครามก็ยังมีการ
ใช้กันอยู่โดยเฉพาะในชุมชนบท ตัวอย่างสีที่ได้จากสัตว์ ได้แก่ สีม่วง (Tyrian Purple) ซึ่งชาวโรมันใช้
เป็นสีประจำา ตระกูลชั้นสูง ได้มาจากหอยชนิดหนึ่งที่จับได้ในแถบทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน การใช้สี
ธรรมชาติในการย้อมผ้านี้ได้ดำาเนินมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1856 (พ.ศ. 2399) ได้มีการค้นพบ
วิธีสังเคราะห์สีย้อมขึ้นครั้งแรก โดยนายวิเลียม เปอร์กิน (William Perkin) ซึ่งขณะนั้นอายุ 18 ปี สีที่
ผลิตขึ้นตัวแรก ชื่อ Mauveine ผลิตโดยการนำาสารอะนิลิน (Aniline) มาทำาปฏิกิริยาออกซิเดชัน เกิด
เป็นตะกอนสีดำา จากนั้นนำาตะกอนดังกล่าวมาสกัดด้วยแอลกฮอล์ก็จะได้สีม่วงสด (Mauve) และตั้งชื่อ
ว่า “Anilin Purple” หรือ “Tyrian Purple” ผลจากการค้นพบครั้งนั้น ทำาให้เกิดมีการค้นคว้าวิจัยเพื่อหา
วิธีการสังเคราะห์สีใหม่ๆ ขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน อังกฤษ
และสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันสีสังเคราะห์ได้เข้ามาแทนทีส่ ีธรรมชาติเกือบทั้งหมดแล้ว เนื่องจากสีย้อม
สังเคราะห์มีการผลิตและมีคุณภาพที่แน่นอนกว่าสีย้อมธรรมชาติและยังทำา ได้ง่ายกว่า โดยทั่วไปมี
ราคาถูกกว่าสีย้อมธรรมชาติประเภทเดียวกันด้วย มีผู้ประเมินจำานวนสีย้อมสังเคราะห์ที่ใช้กันอย่างทุก
วันนี้ว่า มีอยู่ประมาณ 8,000 ชนิดต่างๆ กัน (อัจฉรพร ไศละสุต. 2527:1-5)

ชน ิด ขอ งสี ย้ อม
สีย้อมจัดเป็นสารให้สีที่สามารถละลายนำ้าหรือกระจายตัวในนำ้าหรือวัสดุได้ โดยทั่วไปแล้ววัสดุ
หนึ่งๆ จะมีความสามารถในการยึดเหนี่ยวสีย้อมแต่ละชนิดแตกต่างกันไป และหากแบ่งกลุ่มของสี
ย้อมตามความสามารถในการละลายแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. สีย้อมที่ละลายนำ้าได้
สีย้อมที่สามารถละลายนำ้า ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีหมู่เกลืออยู่ในโครงสร้ างอย่างน้อ ย 1 หมู่
เกลือที่พบมากที่สุด ได้แก่ เกลือของกรดซัลโฟนิค (Sulphonic Acid) ซึ่งมักเติมเข้าไปในโครงสร้าง
ของสารตัวกลางระหว่างการผลิตสี นอกจากกรดซัลโฟนิคแล้ว กรดที่นิยมเติมเข้าไปในสารตัวกลางให้
เกิดเป็นเกลือ ได้แก่ กรดคาร์บอซีลิก (Carboxylic Acid) สีย้อมที่ละลายนำ้าได้เหล่านี้มักอยู่ในรูปของ
เกลือโซเดียม และเมื่อละลายในนำ้าสีชนิดนี้จะมีประจุลบ (Anion) เกิดขึ้นโดยส่วนที่มีประจุลบนี้เองที่
เป็นส่วนที่ให้สี ตัวอย่างของสีกลุ่มนี้ ได้แก่ สีไดเร็กท์ สีแอสิด และสีรีแอคทีพ

2. สีย้อมที่ไม่ละลายนำ้า
สีย้อมที่ไม่ละลายนำ้าสามารถจำาแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
2.1 ที่ละลายในเนื้อวัสดุ (Dyes Soluble in The Substrate) สีกลุ่มนี้ ได้แก่ สีดิสเพอส ซึ่ง
ย้อมโดยการเตรียมให้สีกระจายตัวในนำ้าก่อนที่จะย้อมบนเส้นใยสังเคราะห์ นอกจากนี้
12
ยังได้แก่ สีที่ละลายได้ตัวทำาละลาย (Solvent–Soluble Dyes) ซึ่งหมายถึง สีที่สามารถ
ละลายในตัวทำาละลายทุกชนิด
2.2 ละลายนำ้า ได้ชั่วคราว (Temporarily Solubilised Dyes) สีเหล่านี้ ได้แก่ สีที่ในสภาวะ
ปกติ จ ะไม่ ส ามารถละลายนำ้า ได้ แต่ ส ามารถเปลี่ ย นให้ อ ยู่ ใ นรู ป ที่ ล ะลายนำ้า ได้ โ ดย
กระบวนการทางเคมี จากนั้นนำาสารละลายสีนั้นไปย้อมเส้นใย แล้วจึงเปลี่ยนกลับให้อยู่
ในรูปสีที่ไม่ละลายนำ้าเมื่อสีแทรกซึมเข้าไปในเส้นใยแล้ว ตัวอย่างของสีกลุ่มนี้ ได้แก่ สี
ซัลเฟอร์ และสีแว๊ต ซึ่งถูกเปลี่ยนให้อ ยู่ใ นรู ปที่ ละลายนำ้า ได้โดยปฏิ กิริ ยารี ดัก ชั่นใน
สารละลายด่าง และสามารถเปลี่ยนกลับให้มาอยู่ในรูปที่ไม่ละลายนำ้า ได้โดยปฏิกิริยา
ออกซิเดชั่นด้วยอากาศหรือสารเคมี
2.3 สีผนึกควบ (Poly Condensation Dyes) สีชนิดนี้ ได้แก่ สีทสี่ ามารถเกิดพันธะโควาเลน
ท์ (Covalent Bond) กับโมเลกุลสีด้วยกันหรือกับสารประกอบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่วัสดุสิ่งทอ)
เกิดเป็นสารประกอบหรือโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มักเรียกสีชนิดนี้ว่า “สีผนึกควบ”
(Condense Dyes)
2.4 สี ที่ เ กิ ด ภายในเส้ น ใย (Dyes Formed Within the Fiber) สี ก ลุ่ ม นี้ ได้ แ ก่ สี อ ะโซอิ ค
(Azoic Dyes) ซึ่งจัดเป็นสีอะโซที่ไม่ละลายนำ้า (Insoluble Azo) การย้อมสีชนิดนี้ทำาโดย
การใช้ ส ารเคมี คู่ ค วบ (Coupling Component) ทำา ปฏิ กิ ริ ย ากั บ สารไดอะโซ (Diazo
Component) เกิดเป็นสีอะโซขึ้นภายในเส้นใย จากนั้นเมื่อนำาวัสดุสิ่งทอมาทำาการกำาจัด
สีส่วนเกินออก โดยต้มกับนำ้าสบู่ก็จะทำาให้ผนึกติดเส้นใยได้ดียิ่งขึ้นทำาให้สีชนิดนี้มีความ
คงทนต่อการซัก
2.5 พิกเม้นท์ (Pigments) พิกเม้นท์ต่างจากสีย้อมที่พิกเม้นท์ไม่มีความสามารถในการยึด
เหนี่ยวกับเส้นใยหรือวัสดุ นอกจากนั้นอาจรวมตัวกันเพียงไม่กี่โมเลกุลเป็นเม็ดสี พิก
เม้นท์มักใช้ในรูปสารแขวนลอยในนำ้ามันหรือสารที่มีลักษณะคล้ายเรซิน ซึ่งมักเป็นสาร
ทีไ่ ม่ละลายนำ้า (อังคณา อมรศรี. มีนาคม – เมษายน 2546 : 21- 22)

กา รจำา แนก ตั วส ีต าม วิธ ีที่ใ ช้


สีย้อม (Dyes) คือ สารที่มีสีที่ละลายนำ้าได้หรืออาจทำาให้อยู่ในรูปที่ละลายนำ้าได้เวลาใช้มักจะ
ถูกดูดซึมเข้าไปในวัสดุที่ถูกย้อมจากสารละลายในนำ้า ประโยชน์ที่สำาคัญที่สุดของสีย้อมก็คือ การให้สี
แก่วัสดุสิ่งทอในปัจจุบันสามารถแบ่งสีย้อมออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สีย้อมธรรมชาติ (Natural Dyes)
2. สีย้อมสังเคราะห์ (Synthetic Dyes)

1. สีย้อมธรรมชาติ (Natural Dyes)


สีย้อมธรรมชาติเป็นสีย้อมตั้งแต่ดั้งเดิมจะเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ ตามหลักฐานศิลปะการ
ย้อมสีที่เกิดขึ้นทางภาคพื้นตะวันออก เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซีย และอียิปต์ ซึ่งทำาใช้กันในสมัยก่อน
13
ประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000 ปี สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งได้จากพืชและสัตว์ ส่วนที่ได้จากพืชนั้น
ได้จากต้นไม้ เปลือก ราก แก่น ใบ และผล มีวิธีการย้อมแบบ พื้นบ้าน โดยเฉพาะชาวอีสานและภาค
เหนือนิยมใช้สีธรรมชาติในการย้อมด้ายฝ้าย เพราะมีความเชื่อกันว่า สีสังเคราะห์มักจะได้สีที่ไม่ค่อย
สดใส ในสมัยโบราณนิยมใช้ย้อมผ้าไหม สไบ จีวรพระ ผ้าฝ้าย แห และอวน ซึ่งจะต้องนำาต้น เปลือก
หรือราก ฯลฯ ดังกล่าวมาบด สับ และมีตัวช่วยเสริมให้สีนั้นติดแน่น สีย้อมจากธรรมชาติที่ยังใช้อยู่ใน
ปัจจุบันนี้มีดังต่อไปนี้
1) สีแดง ได้จากรากยอ แก่นฝาง ลูกดำาแสด เปลือกสมอ นิยมใช้ย้อมไหม
2) สีคราม ได้จากต้นครามหรือต้นฮ่อม โดยใช้ใช้รากและใบต้นคราม ผสมกับปูนขาวและนำ้า
3) สีเหลือง ได้จากแก่นเข หรือแก่นตาล แก่นขนุน เนื้อไม้ของต้นหม่อนใช้ย้อมผ้าไหม ใบ
เสนียด ยางของต้นธงทอง แก่นของสุพรรณิการ์ ลูกมะคาย ลูกมะแสดรวมกับด่างไม้
สะแกและหัวขมิ้นสวน และเปลือกไม้นมแมว
4) สีตองอ่อน ได้จากเปลือกของต้นมะพูด เปลือกผลทับทิม แก่นแกแลรวมกับต้นคราม ใบ
หูกวาง เปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มปอยผสมกับผงขมิ้น จะให้สีเขียว นอกจากนี้ยังมี
ใบสับปะรดอ่อน ใบแค
5) สีดำา ได้จากลูกมะเกลือ ลูกกระจาย ต้นกระเม็ง ผลและเปลือกของสมอ
6) สีส้ม ได้จากเปลือกและรากยอ เปลือกรากจะให้สีแดง เนื้อของรากยอจะให้สีเหลือง ถ้าใช้
เปลือกรากผสมกับเนื้อรากจะให้สีส้ม นิยมใช้ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม ไหมพรม หลอดสีส้ม
ของดอกกรรณิการ์นำามาตากแห้งแล้วต้มจะได้นำ้าสีส้ม เมล็ดของลูกสะตี
7) สีเหลืองอมส้ม ได้จากดอกคำาฝอย
8) สีม่วงอ่อน ได้จากลูกหว้า
9) สีชมพู ได้จากต้นฝาง ต้นมหากาฬ
10) สีนำ้าตาลแก่ ได้จากเปลือกไม้โกงกาง
11) สีกากีแกมเหลือง ได้จากหมากสงกับแก่นแกแล
12) สีเขียว ได้จากเปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ เปลือกกระหูด คราม แล้วทับ
ด้วยแถลง
13) สีเปลือกไม้ ได้จากต้นลูกฟ้า หนามกราย ไม้โกงกาง เปลือกตะบูน
(กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2529:150-151)

2. สีย้อมสังเคราะห์ (Synthetic Dyes)


อัจราพร ไศละสูต. 2527 : 80-85 ได้กล่าวถึงสีสังเคราะห์ว่า สีสงั เคราะห์ ได้แก่ สีที่ได้ค้นคว้า
ผลิตขึ้นโดยการนำาสารเคมีมาประกอบกันเป็นตัวสี โดยเกิดปฏิกิริยาระหว่างตัวสารเคมี ซึ่งถ้ามีการ
จำาแนกสีตามส่วนประกอบจะมีความยุ่งยากมาก ขณะที่สีในกลุ่มเคมีเดียวกันมีวิธีการย้อมแตกต่างกัน
14
ใช้กับเส้นใยแตกต่างกัน เช่น สีในกลุ่มอะโซ (Azo) บางตัวย้อมง่ายโดยตรงเป็นสีไดเร็กท์ (Direct)
บางตัวจำาเป็นต้องมีสารบางอย่างมาช่วยจึงจะติดเส้นใยได้ เรียกว่า สีมอร์แดนท์ จะเห็นได้ว่าจดจำาได้
ยาก จำาแนกตามวิธีเดิม คือ เรียกตามกระบวนการย้อมและตามลักษณะของสีเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้
จึงพอจะแยกได้ ดังนี้
1) สีเบสิค (Basic Dyes) คือ สีย้อมซึ่งเมื่อละลายในนำ้า โมเลกุลสีจะมีประจุบวก ใช้ย้อมเส้น
ใยอะครีลิค โปรตีน และไนลอนได้ ติดดี การเกาะติดของสีย้อมประเภทนี้ในเส้นใย อาศัย
แรงดึงดูดระหว่างประจุบวกบนสีย้อมกับประจุบนเส้นใยเป็นสำาคัญ
2) สีแอสิด (Acid Dyes) คือ สีย้อมเมื่อละลายในนำ้าแล้ว โมเลกุลของสีจะมีประจุเป็นลบ และ
มักจะใช้ย้อมในนำ้าย้อมที่มีความเป็นกรด ใช้ย้อมเส้นใยโปรตีน และไนลอนได้ ติดดี การ
เกาะติดของสีย้อมประเภทนี้ในเส้นใยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างประจุลบบนโมเลกุลของสี
กับประจุบวกบนโมเลกุลของเส้นใยเป็นสำาคัญ สีกลุ่มนี้มักจะมีกลุ่มซัลโฟนิค (Sulphonic
Groups) ซึ่งให้ประจุลบในนำ้า สีแต่ล ะชนิดในกลุ่ ม นี้มี ค วามคงทนต่อ แสงสว่างมี ค วาม
คงทนต่อการซักและเหงือไคลไม่เท่ากัน ซึ่งจำาเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประโยชน์
ใช้สอย
3) สีไดเร็กท์ (Direct Dyes) คือ สีย้อมซึ่งเมื่อละลายในนำ้าแล้วโมเลกุลสีจะมีประจุลบ ใช้ย้อม
พวกเส้นใยเซลลูโลสได้ ติดดี และโดยปกติในการย้อมมักจะต้องมีการใส่สารพวกอีเลค
โตรไลท์ เช่น พวกเกลื อ โซเดี ย มคลอไรด์ ลงไปช่ ว ยในการย้ อ มด้ว ยการเกาะติ ด บน
โมเลกุลของเส้นใยอาศัยแรงดึงดูดแวนเดอวาลส์ (Van Der Waals’s Forces) เป็นสำาคัญ
สีไดเร็กท์ส่วนใหญ่ ไม่ทนต่อกระบวนการที่ใช้นำ้า เช่น ซักการทำาความสะอาด สีบางตัว
ทนแดดได้ดี บางตัวใช้ไม่ได้เลย ข้อบกพร่องนี้แก้ไขด้วยการตกแต่งภายหลังโดยการย้อม
ทั บ (Coupling) ด้ ว ยฟี น อล หรื อ สาร Aromatic Amine ทำา ให้ สี ไ ม่ ต ก แต่ สี (Hue) จะ
เปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของสารที่นำามาย้อมทับ
4) สีแว๊ต (Vat Dyes) คือ สีย้อมที่ไม่ละลายนำ้าที่มีกลุ่มคีโต (Keto Group C=O) อยู่ ปกติใช้
ย้อมเส้นใยฝ้ายเป็นส่วนใหญ่ ในการย้อมจะต้องนำ้าสีย้อมมาทำาปฏิกิริยาเคมี (Redyction)
ให้อยู่ในรูปที่ละลายได้ในนำ้าที่มีความเป็นด่าง เพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในเส้นใยได้เมื่อเข้าไป
อยู่ในเส้นใยแล้วจึงทำาปฏิกิริยาเคมี (Oxidation) ให้กลับไปอยู่ในรูปเดิมที่ละลายนำ้าไม่ได้
ด้วยวิธีนี้สีย้อมจะมีความติดทนอยู่ในเส้นใยไม่หลุดกลับออกมาในการซัก สีแว๊ต ใช้ย้อม
เส้นใยเซลลูโลส โดยเฉพาะฝ้าย ไม่นิยมย้อมเส้นใยโปรตีน เพราะในกระบวนการย้อม
ต้องใช้สารละลายที่เป็นด่างซึ่งทำาลายเส้นใยโปรตีน ความคงทนของสีแว๊ตไม่เท่ากันทุก
ตัว บางตัวค่อนข้างสูง
5) สีดิสเพอส (Disperse Dyes) คือ สีย้อมที่มีการละลายนำ้า ได้ตำ่า ใช้ย้อมเส้นใยที่มีการดูด
ซึม นำ้า น้ อ ย (Hydrophobic Fibers) โดยเฉพาะพวกเส้ นใยสั ง เคราะห์ ต่ า งๆ ได้ ดี เช่ น
เส้นใยอาซิเตท โพลีเอสเตอร์ อะครีลิค และไนลอน เป็นต้น ในนำ้า ย้อมสีส่วนใหญ่จะไม่
ละลายในนำ้าแต่จะอยู่ในนำ้าย้อมในลักษณะของสารกระจาย (Dispersion) ที่เหมาะสมใช้
ย้อมในนำ้าย้อมธรรมดาไม่ต้องใช้สารเคมีอย่างอื่นช่วยอีกนอกจากสารพา (Carrier) ให้ตัว
สีเข้าไปใกล้เส้นใยเท่านั้น สีดิสเพอส มีความคงทนต่อแสง การซักฟอกและเหงื่อไคลได้ดี
15
สีมักซีดเมื่อแขวนไว้ให้ถูกกับไนโตรเจนในบรรยากาศนานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าอาซิ
เตรท
6) สีอะโซอิค (Azoic Dyes) คือ สีย้อมที่ไม่ละลายนำ้าได้จากการสังเคราะห์ขึ้นภายในเส้นใย
ด้วยการทำาปฏิกิริยาทางเคมี (Coupling Reaction) ระหว่างเกลือ ไดอะโซเนียม (Diazo
Component) กั บสารประกอบที่ เ หมาะสม (Coupling Component) เกิ ดเป็ นสี ย้อ มที่ มี
สูตรโครงสร้างของสีอะโซ ในการย้อมตัวทำา ปฏิกิริยาทั้งสองจะถูกย้อมเข้าไปในเส้นใย
ก่อน แล้วจึงนำาผ้าที่ย้อมแล้วไปจุ่มในสารเคมีซึ่งจะทำาให้สารที่สองตัวทำาปฏิกิริยากัน เกิด
เป็นสีย้อมภายในเส้นใย สีย้อมประเภทนี้นิยมใช้กับการย้อมเส้นใยฝ้ายมากที่สุด ติดทน
มากกว่าสีชนิดอื่น ยกเว้น สีแว๊ต ทนต่อการซัก ทนกรด ด่าง แสงสว่าง และคลอรีน แต่
เนื่องจากเป็นสีที่ติดบนเส้นใยจึงอาจหลุดออกเมื่อถูแรงๆ
7) สีรีแอคทีฟ (Reactive Dyes) คือ สีย้อมที่ละลายนำ้า ได้ สามารถทำา ปฏิกิริยาทางเคมีกับ
เส้ น ใยโดยตรง ทำา ให้ เ กาะติ ด อยู่ กั บ โมเลกุ ล ของเส้ น ใย พั น ธะทางเคมี (Covalent
Bonding) ส่วนใหญ่ใช้ย้อมเส้นใยเซลลูโลส เนื่องจากสีรวมกับเส้นใยเป็นโมเลกุลเดียวกัน
จึงติดทน เวลาซักนำ้าสีไม่ตกเหมือนสีแว๊ต ทัง้ ยังย้อมง่าย ให้สสี ดใส
8) ซัลเฟอร์ (Sulphur Dyes) คือ สีย้อมที่ไม่ละลายนำ้า และมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบใน
โครงสร้างที่ทำา ให้เกิดสี ใช้ในการย้อมเส้นใยฝ้ายเป็นส่วนใหญ่ วิธีย้อมคล้ายกับสีแว๊ต
กล่าวคือ ก่อนย้อมจะต้องนำาไปทำาปฏิกิริยาให้อยู่ในรูปที่ละลายนำ้าได้ก่อนเมื่อย้อมเสร็จ
แล้วจึงทำาปฏิกริ ยิ าให้กลับไปอยูใ่ นรูปเดิมทีไ่ ม่ละลายนำ้า สีซลั เฟอร์ ใช้ย้อมเส้นใยเซลลูโลส
ให้สีค่อนข้างขรึม เช่น ดำา นำ้าตาล นำ้าเงิน เขียว เป็นต้น ผ้าที่ย้อมแล้วสีติดทนมาก ทนต่อ
การซัก ทนต่อแสงแดด เหงื่อไคล กรด ด่าง แต่ไม่ทนต่อสารฟอกสีประเภทคลอรีน
9) สี ม อร์ แ ดนท์ (Mordant Dyes) คื อ สี ย้ อ มที่ เ กาะติ ด อยู่ ภ ายในเส้ น ใยในลั ก ษณะของ
สารประกอบเชิงช้อนกับโลหะ ส่วนใหญ่ใช้ในการย้อมเส้นใยโปรตีนและไนลอน การย้อม
ในขั้นตอนแรกเป็นไปอย่างธรรมดาคล้ายกับการย้อมด้วยสีแอสิด แต่เมื่อเสร็จแล้วจะต้อง
นำาไปทำาปฏิกิริยากับสารละลายของเกลือโลหะ เช่น เกลือและโลหะโครเมียม เพื่อให้เกิด
เป็นประกอบเชิงซ้อนขึ้นในเส้นใย การเกิดสารประกอบเชิงซ้อนในเส้นใยนี้ ทำาให้สีย้อมมี
ความติดทนอยู่ในเส้นใยได้ดีขึ้น เนื่องจากโมเลกุลสีมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
10) สีอ๊อกซิเดชัน (Oxidation Dyes) คือ สีย้อมที่สามารถถูกอ๊อกซิไดซ์ให้อยู่ในรูปที่ละลายนำ้า
ภายหลังที่ได้ย้อมให้เข้าไปเกาะติดในเส้นใยแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในการย้อมเส้นใยฝ้าย สี
พวกนี้ถูกอ๊อกซิไดซ์ในเส้นใยจะทำา ปฏิกิริยาเกิดเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ซึ่งยังไม่เป็นที่
ทราบแน่ชัดว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นไปในรูปใด และโมเลกุลขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นมีสูตร
ทางเคมีอย่างใด
11) สีอิ นเกรน (Ingrain Dyes) คื อ สี ย้อ มที่ ไ ด้จ ากการสัง เคราะห์ขึ้ นในเส้ น ใยด้ ว ยการทำา
ปฏิกิริยาระหว่างสารตัวกลาง (Intermediates) ในเส้นใย นอกเหนือจากพวกที่เป็นสีอะ
โซอิค ตัวอย่างที่สำาคัญ ได้แก่ สีธอลโลไชยานิน ซึ่งใช้ย้อมเส้นใยฝ้ายเป็นส่วนใหญ่
12) สีโอเนียม (Onium Dyes) เป็นที่พิกเม้นท์ที่ละลายนำ้า ได้ โดยเลือกเอาตัวสีพิกเม้นท์ที่มี
ความคงทนต่อสารเคมีและแสงนำามาปรับปรุงให้มีกลุ่มเคมีที่ละลายนำ้าได้ กลวิธีการย้อม
16
จะดำาเนินแบบเดียวกับสีแว๊ตที่ละลายนำ้าได้ โดยให้สีดูดซึมเข้าไป ในผ้าแล้วเปลี่ยนกลับ
มาเป็นตัวสีที่ไม่ละลายนำ้าอีกครั้ง ปกติใช้พิมพ์มากกว่าย้อม

บทท ี่ 5
ทฤษฎีส ี (C ol or Th eory)

สี (Color) หมายถึ ง ลั ก ษณะความเข้ ม ของแสงที่ ก ระทบกั บ สายตาให้ เ ห็ น เป็ น สี มี ผ ลถึ ง


จิตวิทยา คือ มีอำา นาจบันดาลให้เกิดอารมณ์ และความรู้สึกได้จากการที่ได้เห็นสีจากสายตาและส่ง
17
ความรู้สึกที่รับรู้ไปยังสมองทำา ให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น
เศร้า สีมีความหมายอย่างมาก เพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของ
ศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้ยังเกิดแก่ผู้ดู

คว าม เป็น มา ขอ งสี (C ol our Hi st ory)


สีมีอยู่ในธรรมชาติทั่วๆ ไป มีความกลมกลืน มีความสัมพันธ์และมีความแตกต่างกัน มีถิ่น
กำาเนิดจากธรรมชาติ นักวิชาการทางทฤษฎีสีได้ให้คำาจำากัดความได้ว่า สี คือ คลื่นของแสงหรือความ
เข้มของแสงที่มากระทบตาเรา ลักษณะของแสงที่ปรากฎแก่สายตาเราให้เห็นเป็นสีขาว ดำา เขียว
เป็นต้ น ซึ่งสามารถมองเห็นด้วยจั กษุสั มผัสจากการสะท้ อนรั ศ มี ข องแสง (Spectrum) มาสู่ต าเรา
นั่นเอง สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า-
เย็น สีของรุ้งกินนำ้า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตลอดจนสีของดอกไม้ ต้นไม้
พื้นดิน ท้องฟ้า นำ้าทะเล เป็นต้น
2. สีทมี่ นุษย์สร้างขึน้ หรือได้จากการสังเคราะห์ เช่น สีวทิ ยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ
เช่น ไฟฟ้า หรือแสงพิเศษ นำามาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำามาใช้ประโยชน์ในด้านการ
ละคร การจัดฉากเวที ภาพยนตร์ โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่ และการออกแบบงานด้าน
ต่างๆ
สีที่มนุษย์สร้างขึ้น ยังมีสีวัตถุธาตุที่จัดเป็นวัสดุของสี เช่น สีนำ้า สีนำ้า มัน สีเมจิก สีชอล์ก สี
โปสเตอร์ ตลอดจนสีย้อมและสีเพนท์สิ่งทอ ซึ่งสีเหล่านี้นำามาสร้างสรรค์งานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และ
มีการผสมที่เข้าด้วยกันตั้งแต่ 2 สีขึ้นไป ก็จะทำาให้เกิดสีที่แตกต่างออกไปจากเดิมและแต่ละสีจะทำาให้
เกิดความรู้สึกผ่านการสัมผัสโดยใช้ตาเป็นสื่อมองเห็น
สีส่วนใหญ่นำา มาจากวัตถุในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำา หรับเขียน เช่น สีขาวได้จากดินขาว สี
เหลือง สีแดง ได้มาจากดินเหลืองและดินแดง สีดำาเอามาจากเขม่าไฟหรือตัวหมึก ชนชาติจีนมีความ
สามารถค้นหาสีจากธรรมชาติได้มาก คือ นำา เอาหินสีมาบดเป็นสีต่างๆ สีเหลืองทำา จากยางรงค์ สี
ครามได้จากต้นคราม ส่วนใหญ่คิดค้นสีมาย้อมเสื้อผ้าหรือเส้นด้ายสำาหรับทอผ้า แต่ไม่นิยมเอามาใช้
ในการเขียนภาพ เพราะจีนมีคติการเขียนภาพด้วยสีดำาเพียงสีเดียว ส่วนภาพเขียนของไทยโบราณใช้
สีหลายสีเท่าที่จะหาได้จากธรรมชาติจึงมีเพียงสีดำา สีขาว สีดินแดง และสีเหลือง เท่านั้น ผิดกับสมัยนี้
มนุษย์สามารถผลิตสีได้มากมายหลายชนิด การใช้สีจึงเป็นเรื่องยาก สีสดๆ บางสีเมื่ออยู่ใกล้เคียงกัน
เข้ ากั นไม่ไ ด้ สีบางตั วจะตั ดกั นอย่างรุนแรง เช่น สีเ ขียวกั บสี แดง สีเ หลื อ งกั บสี ม่ วง และสี ส้ ม กั บ
สีนำ้าเงิน เป็นต้น จึงจำา เป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ในการใช้สีก่อนจึงจะปฏิบัติงานได้เป็นผล
สำาเร็จตามจุดมุ่งหมาย (ทวีเดช จิ๋วบาง. 2536 : 1-4)
คุณ ลักษ ณะเ ฉพ าะ ขอ งสี (Co lo ur C har ac ter is ti c)
สีเกิดจากการผสมของเนื้อสี (Pigment Colours) มีลักษณะเฉพาะ 3 ชนิด คือ
1. วรรณะ (Hue) คือ คุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสีว่าเป็นสีใดสีหนึ่ง เช่น สีแดง
แตกต่างจากสีเขียว โดยไม่ต้องคำา นึงถึงนำ้า หนักอ่อนแก่ และความเข้มของสี เพราะความเป็น
วรรณะ (Hue) จะคงเดิมอยู่เสมอ เช่น สีชมพู คือ สีหนึ่งของสีแดง เป็นต้ น แยกออกได้เป็น 2
ประเภท ดังนี้
18
1. Charomatic Colours คือ สีที่มีวรรณะของสีอยู่ สามารถจำาแนก
ออกเป็นสีขียว สีแดง สีเหลือง เป็นต้น ได้อย่างแน่ชัด
2. Achromatic Colours คื อ สี ที่ ไ ม่ มี ว รรณะของสี Hue ผสมอยู่
จำาแนกเป็นนำ้าหนักอ่อน เข้ม ได้แก่ สีขาว สีเทา สีดำา
2. ความเข้มของสี (Chrome หรือ Intensity หรือ Saturation) คือ คุณสมบัติของสีเกี่ยวกับความคิด
(Brightness) เช่น สีแดงเป็นสีที่สดที่สุด หรือ ความหม่น (Dullness) ที่เกิดขึ้นเพราะมีการผสมสีต
รงข้าม (Contrast) ทำาให้ความสดใสลดน้อยลง เช่น สีม่วงเจือจางในสีเหลือง เป็นต้น
3. คุณค่าของสี (Tonal Value) คือ คุณสมบัติเกี่ยวเนื่องกับนำ้า หนักอ่อนแก่ (Lightness Darkness)
เพื่อใช้เปรียบเทียบค่าของสีที่แตกต่างกันของสีทุกสี เช่น สีชมพู คือ นำ้า หนักอ่อนของสีแดง สี
นำ้าตาล คือนำ้าหนักอ่อนแก่ของสีส้ม เป็นต้น โดยมีสีขาวอ่อนทีส่ ุด สีดำาเป็นสีแก่ที่สุด ระหว่างสีขาว
ถึงสีดำา จะมีสีเทาอีก 7 นำ้าหนัก มีนำ้าหนักที่ 5 เป็นนำ้าหนัก (Middle Value) ดังนั้น ถ้าต้องการให้สี
ใดสีหนึ่งเป็นสีอ่อนก็ผสมสีขาว สีอ่อนที่เกิดขึ้นจะมีนำ้าหนักอ่อนกว่านำ้าหนักกลาง เรียกว่า Shade
ถ้าต้องการให้สีใดสีหนึ่งแก่ยิ่งขึ้น ก็ผสมสีดำา สีเข้มที่เกิดขึ้นมีนำ้าหนักแก่กว่านำ้าหนักกลาง เรียกว่า
Shade
4. คุณสมบัติสะท้อนแสง (Finish) คือ คุณสมบัติของสีเกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพทางด้านสะท้อน
แสงทำาให้เกิดปฏิกิริยาค่าของสีแปลเปลี่ยนไปจากเดิม (ทวีเดช จิว๋ บาง. 2536 : 8-9)

แม ่สี (Pri mar ie s)


สีต่างๆ นั้นมีอยู่มากมาย แหล่งกำาเนิดของสี และวิธีการผสมสีตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อสีของ
มนุษย์แต่ละกลุ่มย่อมจะไม่เหมือนกัน สีต่างๆ ที่ปรากฎนั้นย่อมเกิดขึ้นจากแม่สีในลักษณะที่แตกต่าง
กันตามชนิดและประเภทของสี
1. แม่สีวัตถุธาตุ (Pigmentary Primries) แม่สีวัตถุธาตุนั้น หมายถึง วัตถุที่มีสีอยู่ในตัวสามารถนำา
มาระบาย ทา ย้อม และผสมได้ เพราะมีเนื้อสีและสีเหมือนกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แม่สีของช่าง
เขียน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

สี ขั้ น ที่ 1 (Pigmentary Primaries) เป็ น สี แ ท้ ไ ม่ ถู ก ผสม


ด้วยสีใดเลย ดังนี้
1.สีนำ้าเงิน (Prussian Blue)
2.สีแดง (Crimson Leke)
3.สีเหลือง (Gamboge Tint) ภา พที ่ 5.1 แสดงรูปภาพ สีขั้นที่ 1
ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2545 : 6
19
แม่สที ั้งสามถ้านำามาผสมกับจะได้เป็นสีกลาง (Neutra Tint)

สี ขั้ น ที่ 2 (Secondary Hues) เกิ ด จากการนำา สี ขั้ น ที่ 1


จำานวน 2 สีมาผสมกันโดยปริมาณเท่าๆ กัน จะเกิดสีใหม่
ขึ้น ดังนี้
1.สีนำ้าเงิน ผสม สีแดง ได้ สีม่วง (Violet)
2.สีนำ้าเงิน ผสม สีเหลือง ได้ สีเขียว (Green)
3.สีแดง ผสม สีเหลือง ได้ สีส้ม (Orange)

ภา พที ่ 5.2 แสดงรูปภาพ สีขั้นที่ 2


ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2545 : 6

สีขั้นที่ 3 (Tertiary Hues) เกิดจากการผสมสีขั้นที่ 2 กับ


แม่สี (สีขั้นที่ 1) ได้สีเพิ่มขึ้นอีก ดังนี้
1.สี เ หลื อ ง ผสม สี เ ขี ย ว เป็ น สี เ ขี ย วอ่ อ น
(Yellow Creen)
2.สีนำ้าเงิน ผสม สีเขียว เป็น สีเขียวแก่ (Blue –
Creen)
3.สีนำ้าเงิน ผสม สีม่วง เป็น สีม่วงนำ้าเงิน (Blue
Violet) ภา พที ่ 5.3 แสดงรูปภาพ สีขั้นที่ 3
4.สี แ ดง ผสม สี ม่ ว ง ได้ สี ม่ ว งแดง (Red – ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2545 : 6
Violet)
5.สีแดง ผสม สีส้ม ได้ สีแดงส้ม (Red – Orange)
6.สีเหลือง ผสม สีส้ม ได้ สีเหลืองส้ม (Yellow – Orange)

จากการผสมสีของสีขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 จะได้สีรวมทั้งหมด 12 สี ถ้าทำาผังผสมสีเป็น


วงกลมจะได้สีเรียงจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เรียกว่า วงจรสี (Colour Wheel)
20
- วงจรสี (Colour Wheel) เห็นได้ว่าสีจะเรี ยงไป
ตามลำา ดับอ่อนแก่ สีที่อ่อนที่สุด คือ สีเหลือง ส่วนสีที่แก่
ทีส่ ุด คือ สีม่วง นำ้าหนักของสีอยู่ในระบบที่กล่าวได้ว่าผสม
กลมกลืนกันและเอาสีเหลืองไว้บนสุด สีม่วง ซึ่งอยู่ทิศทาง
ตรงกันข้ามจะอยู่เบื้องล่าง จะทำา ให้เห็นว่า สภาพของสี
แยกออกเป็ น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งประกอบด้วย สีเหลือ ง สี
เหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีแดงม่วง และสีม่วง อีก
ฝ่ า ยหนึ่ ง ประกอบด้ ว ย สี เ หลื อ ง สี เ ขี ย วเหลื อ ง สี เ ขี ย ว ภา พที ่ 5.4 แสดงรูปภาพ วงจรสี
นำ้าเงิน สีนำ้าเงิน สีม่วงนำ้าเงิน สีม่วงแดง เป็นต้น ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2545 : 6

แม ่สี วิท ยา ศาส ตร ์ (Spe ctr um Prima ie s)


• แม่สีวิทยาศาสตร์ เป็นสีที่เกิดจากแสงไฟฟ้า หรือแสงพิเศษผสมด้วยการสะท้อนแสงประสานกัน
จะเห็นได้จากการทดสอบโดยการให้แสงผ่านแท่งแก้วรูปสามเหลีย่ มจะเกิดเป็นสีรงุ้ ปรากฏว่ามีสอี อ่ น
แก่ตามความเข้มของแสง ในระยะเวลาทีท่ ำาการทดลอง เช่น เช้าอาจมีสเี หลืองมาก กลางวันอาจจะมีสี
เหลืองแดง เย็นมีสีเหลือง แดง ม่วง มาก
• สีวิทยาศาสตร์ เป็นการผสมสีด้วยแสง มิใช่ผสมด้วยเนื้อสี ดังนี้

สีขั้นที่ 1 มีอยู่ 3 สี คือ


1.สีสม้ แดง (Vermilion Red)
2.สีเขียว (Emerald Green)
3.สีม่วง (Violet)

สีขั้นที่ 2 การผสมสีสว่างนี้ จะต้องผสมโดยการใช้แสง


ของสีนั้นซ้อนกันจะได้สีดังต่อไปนี้
ภา พที ่ 5.5 แสดงรูปภาพ แม่สีวิทยาศาสตร์
1.สีม่วง ผสม สีเขียว เป็น สีนำ้าเงิน
ที่มา : เสน่ห์ ธนารัตนสฤษดิ์. 2547 : 2
2.สีม่วง ผสม สีแดงส้ม เป็น สีแดง
3.สีเขียว ผสม สีแดงส้ม เป็น สีเหลือง

ถ้าเรานำาสีสว่าง สีแดงส้ม สีเขียว และสีม่วง มาผสมกัน ทั้งสามสีก็จะกลายเป็นสีของอากาศร


อบๆ ตัวเราที่เห็นคล้ายจะเป็นสีขาวแท้ที่จริงก็ คือ ไม่มีสีนั่นเอง (โชดก เก่งเขตรกิจ. 2528 : 36-39)

บทที่ 6
จิ ตวิทยาขอ งสี (Psycology Of Colour)
21

สีทุกสีย่อมมีอิทธิพลอยู่เหนือจิตใจมนุษย์ทั่วไป ดังนั้น สีกับมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก


ทุกคนจะรู้สึกในอารมณ์ทันทีเมื่อได้เห็นสี โดยเฉพาะถ้าได้เห็นสีที่ตนเองชอบเป็นพิเศษ หรือได้เห็นสี
ที่ตนเองไม่ชอบ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมมีอารมณ์ชอบบางสีมากที่สุดและรู้สึกเฉยๆ ในบางสีและไม่
ชอบบางสีเอาเสียเลย ซึ่งจะต้องเห็นคนบางคนชอบใช้สีเพียงบางสีอยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะความ
ผูกพันและเคยชินกับสีนั้นจนไม่ย่อมใช้สีอื่น หรือถ้าจะใช้บ้างก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นจะควรกรณีใดๆ ก็ตาม
จะเกิดความรู้สึกขัดเขินดูไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง ในลักษณะการวางตัวหรือบุคลิกท่าทาง (ทวีเดช จิ๋ว
บาง. 2536 : 58) นอกจากนี้ ชลอ พงษ์สามารถ. 2526 : 47 ได้เขียนไว้ในศิลปะสำา หรับครูมัธยมว่า
มนุษย์มีนิสัยชอบและพอใจในสิ่งใหม่ๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากสมัยนิยมหรือชาตินิยม เช่น ชาวจีน
ชอบสีแดง ถือว่าสีแดงมีอานุภาพ ชาวตะวันตกชอบสีแดงเลือดนก หมายถึง ความเป็นผู้ดีมีเชื้อสาย
สูงศักดิ์ การนิยมเสื้อผ้าสีสดนิยมกันในหมู่สตรี ให้ข้อคิดว่าสีแท้ทุกสีเป็นสีสวย แต่บางสีก็มีข้อแม้ว่าให้
ใช้ปริมาณน้อยหรือมากจึงสวย ความรู้สึกของคนเราจึงขึ้นอยู่กับการใช้สีและสีมีอำา นาจอิทธิพลต่อ
จิตใจของบุคคล ดังนี้

- สีนำ้าเงิน เงียบขรึมเอาการเอางาน สงบสุข มีสมาธิ


- สีเขียว ปกติ มีชีวิต มีพลัง มีความสุข บำาบัดโรคประสาทได้ดี
- สีแดง กระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น เร้าใจ
- สีเหลืองแก่ เกิดพลัง กระชุ่มกระชวย เป็นสัญลักษณ์ความมั่งมี มั่งคั่ง
- สีเหลือง สดใส ร่าเริง เบิกบาน
- สีส้ม ทำาให้เกิดกำาลังวังชา
- สีเขียวเหลือง มีชีวิต เป็นสีแห่งความเจริญวัย เป็นหนุ่ม เป็นสาว
- สีม่วง ชัยชนะ เสน่ห์ ความเร้นลับ มีอำานาจ
- สีเทา ความเศร้า เงียบขรึม แก่ชรา สงบนิ่ง สลดใจ
- สีขาว บริสทุ ธิ์ ใหม่ สดใส สะอาด ร่าเริง
- สีชมพู ประณีต มีความหวัง อ่อนโยน ร่าเริง มีชีวิตชีวา เบาบาง
- สีแดงเข้ม มั่งคัง่ สมบูรณ์
- สีเทาอมเขียว ชรา ห่อเหี่ยว ไม่มีพลัง
- สีนำ้าตาล อบอุ่น แห้งแล้ง น่าเบื่อ
- สีดำา มั่งคัง่ หนักแน่น มืด โศกเศร้า

บทที่ 7
วิธี การย้อมสี (D yei ng)
22

การย้อมสีเป็นการตกแต่งผ้าวิธีหนึ่งซึ่งเป็นกิจกรรมในฝีมือทางช่างที่มีประโยชน์มาก ทำาให้
เกิดความพึงพอใจ และยังเป็นวิธีที่ง่ายกับสิ่งที่เกิดจากการกระทำา ให้บรรลุผลได้อย่างรวดเร็ว การ
ควบคุมเวลาตามความต้องการที่ไม่เหมือนกัน

ในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งชาติ ที่นั่นมีตัวอย่างศิลปะของชาวแอฟริกา (African)


ชาวญี่ปุ่น (Japanese) และอินเดีย (Indian) ที่ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดสิ่งดลใจเกี่ยวกับแนวความคิด
ใหม่ๆ ในเทคนิคการย้อมสีทเี่ ก่าแก่อันหนึ่ง ถ้าย้อนกลับไปในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์และจนกระทั่ง
ถึงทุกวันนี้ก็ยังได้รับการพิจารณาให้เป็นศิลปะสมัยใหม่ทั้งหมด

ผ้าไหม เป็นสิ่งสำาคัญอย่างหนึ่งที่สำาคัญนำามาสร้างงานศิลปะบวกกับความชาญฉลาดในการ
จัดวางสีย้อม เพื่อจะนำาไปใช้ทำาการตกแต่งพื้นที่นอกเหนือจากความเหมาะสม ซึ่งการกระทำาเหล่านี้
จะเกี่ยวข้องกับการกันสีย้อม ถ้าส่วนที่แตกต่างกันของชิ้นส่วนวัสดุที่ได้เป็นการมั ด (Tied) ผูกปม
(Knotted) ผูก มั ดเข้ า ด้ว ยกั น (Bound Together) รอยพั บ (Pleated) หรื อ การเย็ บ (Sewn) เป็ นรู ป
แบบของพื้นที่ทสี่ ีย้อมไม่แทรกซึมเข้าไปได้ หรืออาจจะยอมให้ผ่านทะลุเพียงปริมาณน้อยเท่านั้น
- อุปกรณ์ และวัสดุ (Equipment and Materials)
อุปกรณ์พื้นฐานและวัสดุต่างๆ ที่จำา เป็นต้องใช้ ได้แก่ ผ้า (Fabric) สีย้อม (Dyes) เกลือ
(Salt) เส้ นด้ าย (Thread) ภาชนะสำา หรั บย้อ มสี (Containers for The Dyes) และพืน้ ทีก่ ารทำางานที่
เหมาะสมสำาหรับการซัก-ล้าง และการทำาให้ผา้ ทีย่ อ้ มแล้วแห้ง ส่วนภาชนะจำา เป็นต้องใหญ่พอกับความ
ต้องการสำาหรับใส่ผ้าอย่างเพียงพอ แต่ก็ไม่ใหญ่จนเกินไป ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองสีย้อม สำา หรับ
การซัก-ล้าง อ่างนำ้าที่ใช้ต้องเป็นอ่างที่มีนำ้าไหลออกได้ดี แต่ถังนำ้าหรือชามขนาดใหญ่สามารถนำาไป
ใช้ได้เหมือนกันเพราะอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อไรก็ตามที่จำาเป็นต้องเปลี่ยนนำ้าบ่อยๆ
อุ ป กรณ์ ที่ เ พิ่ ม เติ ม ที่ ต้ อ งใช้ แ ท่ ง ไม้ หรื อ แท่ ง แก้ ว เล็ ก ๆ สำา หรั บ ผสมสี ย้ อ ม (Small
Wooden or Glass Sticks for Mixing The Dye) ถุ ง มื อ ย า ง (Rubber Globes) ห นั ง สื อ พิ ม พ์
(Newspaper) และเหยือก หรือขวดฝาเกลียวสำาหรับเก็บสี (Screw–Top Japs หรือ Bottles in Which
to Keep The Dye)

- ชนิดของสีย้อม (Types of Dye)


สีย้อ ม (Dyes) สามารถแบ่ง ออกได้เ ป็ น 2 ชนิด ได้แก่ สี ย้อ มจากธรรมชาติ (Natural
Dyes) และสีย้อมสังเคราะห์ (Synthetic Dyes) ซึ่งสีย้อมธรรมชาติมีจำา นวนหนึ่งเท่านั้นที่ใช้ให้เป็น
ประโยชน์ได้ จนกระทั่งได้ค้นพบสีสังเคราะห์ในช่วงยุคกลางของศตวรรษที่ 19 สารสีเหล่านี้ได้มาจาก
หลากหลายชนิด เช่น พืชผัก (Vegetable) สัตว์ (Animal) หรือแหล่งแร่ (Mineral Sources) ชื่อเหล่านี้
ได้จากการก่อตัวของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ลักษณะทั่วไปไม่ทนต่อสภาพกลางแจ้งที่ถูกแสง หรือ
การซัก-ล้าง ดังเช่น สีย้อมสังเคราะห์
สีย้อ มสั งเคราะห์ เช่น สีแอสิ ด (Acid) สีอะโซอิค (Azoic) สีพิก เมนท์ (Pigments) และ
อื่นๆ ซึ่งสีย้อมที่นำา มาใช้กันบ่อยๆ ในหมู่ศิลปินและนักออกแบบเป็นจำา พวกสีรีแอคทีฟ (Reactive
23
Dyes) เนื่องจากสีเหล่านี้เคยเป็นสีที่ใช้กันอย่างกว้างขวางกับชนิดของผ้าที่ไม่ต้องใช้เครื่องจักรกล
พิเศษในการผนึกติดสีย้อม

- วิธีการย้อมสี (Dyeing Methodes)


เป็นกรรมวิธีธรรมดาที่สุดของการย้อมสีผ้าทั้งในนำ้าร้อนและในนำ้าเย็น การกันสีเป็นปัจจัย
สำาคัญต่ออุณหภูมิที่เหมาะสมสำาหรับวิธีการสมัยก่อน ในขณะที่ต่อมาใช้เฉพาะสีรีแอคทีฟ (Reactive
Dyes) เท่านั้น
การย้อมผ้าสามารถทำา ให้เกิดสีสดใส ให้เฉดสีและเพิ่มความเด่น การผสมสี นำ้า โดยไม่
ทำา ให้ผ้าเปลีย่ นแปลง จะพบว่าสีย้อมในรูปของแป้งหรือนำ้าสามารถใช้เทคนิคเฉพาะและสามารถปรับ
เปลีย่ นได้เกือบทุกอย่าง สีย้อมที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ สีรีแอคทีฟ (Reactive Dyes) Procion MX
ในรูปสีผงผสมและใช้ได้ที่อุณหภูมิห้อง ใช้สำาหรับย้อมผ้าเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าไหม (Silk), ผ้าฝ้าย
(Cotton), ผ้าเรยอน (Rayon), หรือ ผ้าขนสัตว์ (Wool) เป็นต้น
ถึงแม้ว่าสีรีแอคทีฟ (Reactive Dyes) จะไม่เป็นพิษ แต่ก็ควรระมัดระวังในการใช้ควรจะ
สวมหน้ากากกันฝุ่น เมื่อผสมสีย้อมควรหลีกเลี่ยงการสูดดม สวมถุงมือยาง และใช้อุปกรณ์ภาชนะใน
การผสมแยกต่างหากไม่ปะปนกับภาชนะใส่อาหาร เก็บส่วนผสมทั้งหมดให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงสี
ย้อมที่ผสมแล้วไม่ได้ใช้สามารถเททิ้งได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Morgades, C. 2001 :
128-129)

เทคน ิค ชิโ บริ (Shi bor i T ec hn iq ue)


เทคนิค ชิโบริ (Shibori Technique) เป็นรูปแบบของการทำาผ้ามัดย้อมที่ริเริ่มในประเทศญี่ปุ่น
ขอบเขต และเทคนิคทั่วๆ ไป เป็นการปกปิดสิ่งทอในส่วนของพื้นที่ที่จะทำาให้เกิดสีที่ต้องการ ตลอด
จนเพิ่มข้อปลีกย่อย การจัดเก็บที่ต้องมัดลวดลายและสีสันตามต้องการ เพราะเหตุว่าด้วยวิธีการที่มี
ความหลากหลายในการทำางานโดยสามารถมัด (Tie) เก็บรวม (Gather) เย็บ (Sew) หรือวัสดุห่อหุ้ม
(Fold Material) และการวางแผนการใช้สที ี่มีอยู่เป็นผลให้สามารถสร้างความประหลาดใจมากกว่าที่จะ
คาดคิดได้
เพื่อเป็นการให้สอดคล้องกับคำาอธิบายภาพ ชิโบริ (Shibori) เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์โดยชาวญี่ปุ่น
จากการสังเกตสิ่งที่บังเกิดขึ้นเมื่อซึ่งเข้าผลักดันชิ้นกระดาษเข้าไปในกล้องยาสูบ เขาได้สังเกตดูว่า
เวลามันเคลื่อนที่และยืดออกไป บางชิ้นรอยยืดออกมีความน่าสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการสร้างสรรค์
โดยขี้เถ้าจากยาสูบ จากเหตุการณ์ดังกล่าวเข้าได้มีการทดสอบต่อไปอีกว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขากด
ทับผ้าในอ่างย้อมในสภาวะที่เหมือนกัน นอกจากนี้มีวิธีการที่หลากหลายจำานวนมาก เกี่ยวกับการใช้
เทคนิค ชิโบริ (Shibori Technique) ขึ้นอยู่กับจะบังคับผ้าอย่างไร การเพิ่มเติมจินตนาการและความ
สามารถหรือกระบวนการสร้างสรรค์จะก่อให้เกิดความหลากหลายอย่างกว้างขวาง ในส่วนนี้จะอธิบาย
วิธีการของ ชิโบริ (Shibori) นั้น เรียกว่า “Arashi” ซึ่งมีความหมายว่า “พายุ” เพราะรูปแบบของเส้น
เป็นผลเนื่องมาจากภายหลัง วิธีการระลึก ถึงความหลังของการเกิ ดปรากฏการณ์ ไหลเชี่ยวของนำ้า
เทคนิ ค พิ เ ศษเฉพาะนี้ เ ป็ น การสร้ า งสรรค์ ใ นปี 1880 โดย Kanezo Suzuki in Arimatsu จากนั้ น
เป็นต้นมา ชาวญี่ปุ่นก็กลายเป็นแบบอย่างทีส่ ำาคัญของ Arashi Shibori และต่อมาได้สร้างสรรค์ขึ้นอีก
มากกว่า 100 รูปแบบทีใ่ ห้ความแตกต่างกัน
24
Karla De Ketelaere จาก เบลเยี่ยม (Belgium) เป็นศิลปินที่ไดรับการยอมรับจากนานาชาติ
ทำางานเกี่ยวกับเทคนิค ชิโบริ (Shibori Technique) เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญการตกแต่งการเพนท์สีบนผ้า
ในปี 1984 ถึงแม้ว่าจะมีการทำาสืบทอดต่อๆ มากับครอบครัว ซึ่งติดสอยห้อยตามกันมา เธอเริ่มต้น
เมื่อตอนเป็นเด็กหญิง Karla มีการพัฒนาแนวความคิดที่มีอีกมากมายในงานศิลปะบนผืนผ้า ซึ่งการ
ทำางานที่เต็มไปด้วยความพิถีพิถัน อันเป็นประสบการณ์ส่วนตัวเธอเกี่ยวกับการตกแต่งอันเป็นศิลปะ
ตามจารีตประเพณีของแอฟริกา (Africa) และเอเซีย (Asia)
ในปี ค.ศ. 1987 เธอได้ไปตัง้ ถิ่นฐานในสเปน (Spain) ทีน่ ี่เธอได้ให้คำาแนะนำาเกี่ยวกับแนวทาง
ในการปฏิบัติเป็นจำานวนมาก โดยเฉพาะเทคนิคการทำาผ้าบาติก (Batik) และเทคนิคชิโบริ (Shibori)
ในทุกวันนี้ เธอเป็นหนึ่งในสองของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผ้า โดยการนำา ขบวนการทั้งสองมารวมกัน
Karla มีก ารเลือ กสรรสำา หรับหัวข้อ ที่ต ามมาทีล ะน้อ ย ซึ่ง เป็ นรู ป แบบงานหนึ่ง ในร้ อ ยของ Arashi
Shibori เพราะเธอพิจารณาแล้วว่าเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขณะเดียวกันก็สนองความพึงพอใจ เป็นการนำาไป
ใช้กับเส้นใยไหมเพื่อพิสูจน์ให้เห็นปฏิกิริยากับผ้าไหมชนิดอื่นๆ ยังจำาได้ว่าเส้นใยไหมทำามาจากเส้นใย
สั้นเป็นผ้าค่อนข้างหนา เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน ชิโบริ (Shibori) สามารถนำามาใช้ได้เหมือนกันเป็นการ
ประยุกต์ใช้กับผ้าชนิดอื่นๆ (Morgades, C. 2001 : 130)

1. วั ส ดุ อุ ป กรณ์ สำา หรั บ เทคนิ ค ชิ โ บริ (Shibori) ท่ อ


PVC (PVC Pipe), ผ้าไหม (Silk) ซึง่ ผ่านการทำาความ
สะอาดแล้ ว เข็ ม (Needle) ด้ า ยเย็ บ ผ้ า (Sewing
Thread) เข็มหมุด (Ping) ดินสออ่อน (Soft Pencil) ยาง
รัด (Rubber Bands) ภาชนะสำา หรับ ย้อ มสี สีแ อสิด
(Acid Dyes) สารเคมี (Chemicals) บิก๊ เกอร์ (Beaker),
แท่งแก้ว ไม้พาย ยางรัด (Rubber Bands)

ภา พที ่ 12. 1 แสดงรูปภาพ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในเทคนิคนี้

2. เตรี ย มผ้ า ไหม ท่ อ PVC เข็ ม เย็ บ ผ้ า เส้ น ด้ า ย


กรรไกร ให้พร้อม

ภา พที ่ 12. 2 แสดงรูปภาพ เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ให้พร้อม


3. สิ่ ง สำา คั ญ ที่ ต้ อ งทำา คื อ การวั ด เส้ น รอบวงของท่ อ
PVC กับงานที่จะทำา เพื่อกำา หนดความกว้างของผ้า
ไหมที่จะนำามาปกคลุมได้อย่างเหมาะสม
25

ภา พที ่ 12. 3 แสดงรูปภาพ การวัดเส้นรอบวงท่อ PVC

4. หลังจากวัดขนาดของท่อแล้วให้กำา หนดรอยด้วยเข็ม
หมุด

ภา พที ่ 12. 4 แสดงรูปภาพ การกำาหนดรอยด้วยเข็มหมุด

5. จากนั้นขีดเส้นด้วยดินสอเป็นเส้นตรงตามที่ได้กำาหนด
ไว้ตามขนาดของท่อ

ภา พที ่ 12. 5 แสดงรูปภาพ การขีดเส้นด้วยดินสอ

6. จากนัน้ นำาผ้าไหมไปหุม้ ท่อแล้วกลัดด้วยเข็มหมุดให้แน่น


และเริ่มต้นเย็บ
26

ภา พที ่ 12. 6 แสดงรูปภาพ การกลัดด้วยเข็มหมุด


7. เย็บส่วนหนึ่งก่อนแล้วตรวจดูว่าผ้าไหมนั้นคลุมท่อ
PVC ดีหรือยัง ถ้าดีแล้วให้เย็บต่อได้เลยจนสำาเร็จ
เส้นด้ายที่ใช้เย็บควรจะมีความเหนียว ทนทาน
เพราะต้องการให้ผ้าไหมฟิตกับท่อ รัดให้แน่น และ
เริ่มต้นเย็บ

ภา พที ่ 12. 7 แสดงรูปภาพ การเย็บผ้าไหมให้รัดแน่นกับท่อ

8. เลื่อนและรูดผ้าเข้าหากันและให้แน่น

ภา พที ่ 12. 8 แสดงรูปภาพ การรูดผ้าเข้าหากันให้แน่น

9. บีบอัดผ้าไหมที่ปกคลุมท่อ PVC โดยอัดผ้าเข้าหา


กันให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้างอย่างสมำ่าเสมอแล้ว
ใช้ยางรัด (Rubber Bands) ส่วนท้ายให้แน่นเพื่อ
ไม่ให้ผ้าไหมคลายออก
27

ภา พที ่ 12. 9 แสดงรูปภาพ การบีบอัดผ้าไหมให้แน่น


10. เตรียมการย้อมสี : สีแอสิด (Acid Dyes),
โซเดียมซัลเฟต (Sodium Sulfate), กรดส้ม
(Acftic Acid), Levelling Agent) หรือ สบู่เทียม
(Wetting Agent)

ภา พที ่ 12. 10 แสดงรูปภาพ การเตรียมการย้อมสี

11. การผสมสีย้อมและสารเคมีตามที่คำานวณไว้และคน
ให้เข้ากัน

ภา พที ่ 12. 11 แสดงรูปภาพ การผสมสีย้อม

12. นำาผ้าไหมไปชุบนำ้าก่อนที่จะนำาไปย้อมสี เพื่อให้


ผ้าดูดซึมสีได้ดี
28

ภา พที ่ 12. 12 แสดงรูปภาพ นำาผ้าไหมชุบนำ้าก่อนลงย้อมสี


13. นำาผ้าไหมลงย้อมสีในอุณหภูมิ 90-95°C ใช้เวลา
ย้อม 1 ชั่วโมง ต้องคอยคนผ้าอยู่เสมอ

ภา พที ่ 12. 13 แสดงรูปภาพ การย้อมสี

14. เมื่อครบเวลาการย้อมสี นำาท่อ PVC ทีท่ ่อหุ้มด้วย


ผ้าไหมขึ้นจากหม้อย้อม ล้างผ้าไหมให้สะอาด
โดยการเปิดนำ้าให้ผ่านจนนำ้าล้างใส

ภา พที ่ 12. 14 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง ผ้าไหมให้สะอาด

15. การเตรียมการต้มนำ้าสบู่ เพื่อขจัดสีส่วนเกินและสาร


เคมีออกให้หมดโดยใช้อัตราส่วนนำ้า 1 ลิตร
ต่อสบู่เทียม 1 กรัม
29

ภา พที ่ 12. 15 แสดงรูปภาพ การเตรียมการต้มนำ้าสบู่


16. ขั้นตอนสุดท้ายของการย้อมสี คือ นำาผ้าที่ย้อมสีแล้ว
ลงต้มกับนำ้าสบู่ที่เตรียมไว้ในอุณหภูมิ 100°C เวลา
20 นาที

ภา พที ่ 12. 16 แสดงรูปภาพ นำาผ้าที่ย้อมแล้วลงต้มกับนำ้าสบู่

17. นำาผ้าไหมออกจากท่อจะเห็นเป็นลวดลายอันเกิดจาก
การอัดผ้าให้แน่น

ภา พที ่ 12. 17 แสดงรูปภาพ การนำาผ้าออกจากทอ

18. เมื่อนำาผ้าไหมออกจากท่อหมดแล้วให้ตัดเส้นด้ายที่
เย็บไว้ให้หมดแล้วคลี่ผ้าดูจะเห็นลวดลายชัดเจน
30

ภา พที ่ 12. 18 แสดงรูปภาพ ตัดเส้นด้ายทีเ่ ย็บออก


19. นำาผ้าไหมไปซักล้างอีกครั้งให้สะอาด แล้วนำาไปผึ่ง
หรือตากให้แห้ง

ภา พที ่ 12. 19 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง ผ้าไหมอีกครั้งเพื่อให้สะอาด

20. ผ้าย้อมเทคนิคชิโบริ (Shibori) ที่สำาเร็จแล้ว

ภา พที ่ 12. 20 แสดงรูปภาพ ผ้าไหมที่สำาเร็จแล้วด้วยเทคนิค ชิโบริ (Shibori)

ศิลปะ Aras hi บน ผิ วผ้ าโ ดย กา รบ ิด เก ลี ยว (Ara sh i Art on Fabr ic by Tw ist in g)


การบิดเกลียว หมายถึง การนำาผ้ามาพับกับไป-มา หรือนำาผ้ามาม้วนให้ตลอดผืน จากนั้นจับ
ปลายผ้าทั้งสองด้านหัวบิดไปคนละทางบิดให้แน่นจนเป็นเกลียวแล้วนำามาพันรอบๆ ท่อนไม้กลมหรือ
31
ท่อ PVC ให้แน่นแล้ วนำา ไปเพนท์สี หรื อ ย้อ มสี ตามต้อ งการ เป็นการสร้ างสรรค์ ก ารทำา งานและได้
ลวดลายที่แปลกใหม่ผ้าที่ใช้ควรเป็นผ้าที่มีความเบาบาง นุ่มนวล
1. วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำา เป็นในเทคนิคนี้ ผ้าไหม (Silk)
ที่ ผ่ า นการทำา ความสะอาดแล้ ว สี รี แ อคที ฟ
(Reactive Dyes) ท่ อ PVC (PVC Pipe) ยางรั ด
(Rubber Bands) ภาชนะสำา หรั บ ย้ อ มสี สารเคมี
(Chemicals) บิ๊กเกอร์ (Beaker) แท่งแก้ว ไม้พาย

ภา พที ่ 12. 21 แสดงรูปภาพ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในเทคนิคนี้

2. เตรียมผ้าไหม, ท่อ PVC, กรรไกร, ยางรัด ให้


พร้อม

ภา พที ่ 12. 22 แสดงรูปภาพ การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ให้พร้อม

3. นำาผ้าไหมมาม้วนโดยม้วนจากริมหรือปลายผ้า
ทัง้ 2 ด้าน เข้าหากันและมาบรรจบกันที่
กึ่งกลางผืนผ้า
32

ภา พที ่ 12. 23 แสดงรูปภาพ การม้วนผ้า

4. บิดผ้าให้เป็นเกลียวตลอดทั้งผืนให้แน่น ถ้าผ้า
บิดเกลียวไม่แน่นสีย้อมจะซึมเข้าไปได้

ภา พที ่ 12. 24 แสดงรูปภาพ การบิดผ้าให้เป็น


เกลียว

5. เริ่มต้นพันผ้าที่บิดเป็นเกลียวโดยจุดเริ่มต้นให้
ยางรัด เพื่อไม่ให้ผ้าหลุดออกและเป็นการกันไม่
ให้ผ้าเคลื่อนที่ออกไปจากนั้นพันผ้าให้รอบท่อ
PVC จนหมดผ้าแล้วใช้ยางรัดคาดทับตรงจุดจบ
เหมือนตอนเริ่มต้น
33

ภา พที ่ 12. 25 แสดงรูปภาพ การพันผ้าที่บิดเป็นเกลียวรอบท่อ PVC

6. ผ้าที่บิดเป็นเกลียวพันรอบท่อ PVC เรียบร้อย


แล้ว

ภา พที ่ 12. 26 แสดงรูปภาพ ผ้าที่พันรอบท่อเรียบร้อย

7. เตรียมสีย้อมให้ครบจำานวนสีที่ต้องการ ซึ่งในที่
นี้สที ี่ใช้ ได้แก่ สีเหลือง (Yellow MX-8G), สีฟ้า
(Turquoise MX-G), สีนำ้าเงิน (Blue MX-G)

ภา พที ่ 12. 27 แสดงรูปภาพ การเตรียมสีย้อม

8. วิธีการใช้สจี ะกระทำาได้โดยการใช้พู่กันจุ่มสีและเพนท์
สีลงไปบนผ้าได้เลย หรือจะใช้วิธีการเทสีดังในภาพก็
กระทำาได้ ซึ่งในที่นี้สีแรกเป็นสีเหลือง (Yellow)
34
ภา พที ่ 12. 28 แสดงรูปภาพ การเทสีเหลือง (Yellow) ลงบนผ้าเป็นสีแรก

9. เมือ่ เทสีเหลือง (Yellow) เป็นทีพ่ อใจแล้ว ก็เริม่ เทสีฟา้ นำ้า


ทะเล (Turquoise) ต่อเป็นสีที่ 2 เลือกเทตามที่ต้องการ
ซึ่งเมื่อเทสีฟ้าลงไปผสมกับ สีเหลือง ก็จะได้สีใหม่
เป็นสีเขียว (Green)

ภา พที ่ 12. 29 แสดงรูปภาพ การเทสีฟ้านำ้าทะเล (Turquoise) ลงบนผ้าเป็นสีที่ 2

10. เมือต้องการสี
่ เขียว (Green) ทีเข้มกว่าจึ
่ งจำาเป็น ต้องใช้
สีนำ้าเงิน (Blue) เทลงไปอีกครั้งหนึ่งเป็นสีที่ 3

ภา พที ่ 12. 30 แสดงรูปภาพ การเทสีนำ้าเงิน (Blue) ลงบนผ้าเป็นสีที่ 3

11. เตรียมสีย้อมและสารเคมี อีกครั้งเพื่อจะทำาการย้อมสี


โดยใช้สีรีแอคทีฟ (Reactive Dyes), โซเดียมซัลเฟต
(Sodium Sulfate), โซดาแอช (Soda Ash), สบูเ่ ทียม
(Wetting Agent)
35
ภา พที ่ 12. 31 แสดงรูปภาพ การเตรียมสีเพื่อย้อม

12. การผสมสารเคมีและสีย้อมตามที่คำานวณไว้และคนให้
เข้ากันในการย้อมครั้งนี้ใช้สีนำ้าเงิน (Blue)

ภา พที ่ 12. 32 แสดงรูปภาพ การผสมสารเคมีและสีย้อม

13. นำาผ้าไหมลงย้อมสีต่อในอุณหภูมิห้องใช้เวลาย้อม 1
ชั่วโมง

ภา พที ่ 12. 33 แสดงรูปภาพ การย้อมสี

14. เมื่อครบเวลาที่กำาหนด นำาท่อ PVC ทีพ่ ันรอบด้วย


ผ้าไหมบิดเป็นเกลียวขึ้นจากหม้อย้อม ล้างผ้าไหม
ให้สะอาดโดยการเปิดนำ้าให้ผ่านจนนำ้าล้างใส
36
ภา พที ่ 12. 34 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง ผ้าให้สะอาด

15. การเตรียมการต้มนำ้าสบู่ เพื่อขจัดสีที่ไม่เกาะติด


เส้นใยออกให้หมดโดยใช้อัตราส่วนนำ้า 1 ลิตร ต่อ
สบูเ่ ทียม 1 กรัม

ภา พที ่ 12. 35 แสดงรูปภาพ การเตรียมการต้มนำ้าสบู่

16. นำาผ้าไหมลงต้มนำ้าสบู่ในอุณหภูมิ 100°C เวลา 20


นาที

ภา พที ่ 12. 36 แสดงรูปภาพ การต้มผ้าด้วยนำ้าสบู่

17. เมือต้
่ มนำ้าสบูเสร็
่ จ นำาออกซัก-ล้าง นำ้าให้สะอาด ดึงยางรัด
ออกและนำาเอาผ้าไหมที่พันไว้กับท่อ PVC ออก
พร้อมทั้งคลี่ผ้าจากการบิดเกลียวและการม้วน
37
ภา พที ่ 12. 37 แสดงรูปภาพ การคลี่ผ้าออก

18. นำาผ้าไหมลงซัก-ล้างอีกครั้ง เพื่อให้สีและสารเคมี


ออกให้หมด

ภา พที ่ 12. 38 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง ผ้าไหมให้สะอาด

19. ผ้าที่ย้อมสำาเร็จแล้ว ซึ่งเป็นศิลปะ Shibori หรือ


Arashi บนผิวผ้า โดยการบิดเกลียวที่สวยงาม

ภา พที ่ 12. 39 แสดงรูปภาพ ผ้าไหมย้อมศิลปะ Shibori หรือ Arashi บนผิวผ้าโดยการบิดเกลียว


(Arashi Art On Fabric By Twisting)

ศิลปะ Aras hi บน ผิ วผ้ าโ ดย กา รพ ับ (Ara sh i Art On Fabr ic By Fo ld in g)


เทคนิคในการทำา Shibori หรือ Arashi อีกประเภทหนึ่งเป็นการใช้ความยาวของไม้หรือวัสดุ
อื่นในการทำาเป็นการพับผ้าแล้วม้วนปกคลุมท่อ PVC หรือไม้กลมยาวในขนาดต่างๆ กัน เพราะเส้น
รอบวงหรือความกว้างของท่อตลอดการพันเส้นด้ายรอบๆ ผ้า การจัดช่องไฟให้มีความเหมาะสมซึ่งมี
ความสำาคัญมากต่อลวดลายทีจ่ ะออกมา
38
1. วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำาเป็นในเทคนิคนี้ : ผ้าไหม (Silk) ที่
ผ่านการทำาความสะอาดแล้ว, สีรแี อคทีฟ (Reactive
Dyes), ท่อ PVC (PVC Pipe), ด้ายเย็บผ้า (Sewing Thread),
ยางรัด (Rubber Bands), ภาชนะสำาหรับย้อมสี, สารเคมี
(Chemicals), บิกเกอร์
๊ (Beaker), แท่งแก้ว, ไม้พาย

ภา พที ่ 12. 40 แสดงรูปภาพ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำาเป็นในเทคนิคนี้

2. เตรียมผ้าไหม, ท่อ PVC, เส้นด้าย, กรรไกร, ยางรัด


ให้พร้อม

ภา พที ่ 12. 41 แสดงรูปภาพ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ให้พร้อม

3. พับผ้ากลับไป-มา ขนาดของการพับ เล็ก ใหญ่ ตามใจ


ชอบการพับกลับไป-มา เพื่อให้ผ้าดูดซึมสีได้ดี
39

ภา พที ่ 12. 42 แสดงรูปภาพ การพับผ้ากลับไป-มา

4. วางท่อ PVC ตามแนวเฉียงของผ้าแล้วเริ่มม้วนผ้า


ตามแนวเฉียงให้แน่น

ภา พที ่ 12. 43 แสดงรูปภาพ การวางท่อ PVC บนผ้าตามแนวเฉียง

5. เริ่มพันเส้นด้ายจากปลายท่อให้แน่นระหว่างที่พับควร
พันให้มีช่องไฟเท่าๆ กัน เมื่อพันไปได้ระยะหนึ่งให้
ทำาการรูดผ้าลงมาที่ปลายท่อให้ย่นและแน่น เส้นด้าย
ที่พันจะต้องมีความเหนียวเวลาดึงจะได้ไม่ขาด

ภา พที ่ 12. 44 แสดงรูปภาพ การพันเส้นด้ายรอบท่อ

6. การบีบอัดผ้าไหมที่ม้วนพันท่อ PVC โดยการอัดผ้า


เข้าหากันให้แน่นด้วยมือให้มีความสมำ่าเสมอ แล้วใช้
ยางรัด (Rubber Bands) ส่วนท้ายทั้งสองด้านเพื่อไม่
ให้ผ้าคลายออก
40

ภา พที ่ 12. 45 แสดงรูปภาพ การบีบอัดผ้าไหมให้แน่น

7. การเตรียมการย้อมสี : สีรีแอคทีฟ (Reactive Dyes),


โซเดียมซัลเฟต (Sodium Sulfate), โซดาแอช (Soda
Ash), สบู่เทียม (Wetting Agent)

ภา พที ่ 12. 46 แสดงรูปภาพ การเตรียมสีย้อมและสารเคมี

8. การผสมสารเคมีและสีย้อมตามที่คำานวณไว้และคนให้
เข้ากัน โดยในการย้อมครั้งนี้ย้อม 2 สี 2 ครั้ง

- การผสมสารเคมี

- การผสมสีย้อมกับสารเคมี

ภา พที ่ 12. 47 แสดงรูปภาพ การผสมสารเคมีและสี


ย้อม

9. นำาผ้าไหมไปชุบนำ้าก่อนที่จะนำาไปย้อมสีเพื่อให้ผ้าดูด
ซึมสี
41

ภา พที ่ 12. 48 แสดงรูปภาพ นำาผ้าไหมชุบนำ้าก่อนลงย้อมสี

10. นำาผ้าไหมลงย้อมสีในอุณหภูมิ 60°C ใช้เวลาย้อม 1


ชั่วโมง ต้องคอยคนผ้าอยู่เสมอ ซึ่งในการย้อมสีแรก
เป็นสีแดง (Red)

ภา พที ่ 12. 49 แสดงรูปภาพ การย้อมสีแรกเป็นสีแดง (Red)


11. เมื่อการย้อมสีแรกครบเวลา ให้นำาท่อขึ้นจากสีย้อม
และนำาไปล้างนำ้าให้สะอาดหลายๆ ครั้ง ต่อจากนั้นให้
ย้อมต่อในสีที่ 2 ซึ่งเป็น สีนำ้าเงินที่เข้มกว่า สำาหรับ
การเตรียมนำ้าย้อมเหมือนกับครั้งแรกเพียงแต่ค่าของสี
จะเข้ม กว่าเท่านั้น ย้อมในอุณหภูมิ 60°C เวลา 1
ชั่วโมง เช่นกัน

ภา พที ่ 12. 50 แสดงรูปภาพ การย้อมสีที่ 2 เป็นสีนำ้าเงิน (Blue)

12. เมื่อครบเวลาที่กำาหนด นำาท่อ PVC ทีห่ ่อหุ้มด้วยผ้า


ไหมขึ้นจากหม้อย้อม ล้างผ้าไหมให้สะอาดโดยการ
เปิดนำ้าให้ผ่านจนนำ้าล้างใส
42

ภา พที ่ 12. 51 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง ผ้าให้สะอาด

13. การเตรียมการต้มนำ้าสบู่ เพื่อขจัดสีที่ไม่ทำาปฏิกิริยา


กับเส้นใยให้หลุดไปโดยใช้อัตราส่วนนำ้า 1 ลิตร ต่อสบู่
เทียม 1 กรัม

ภา พที ่ 12. 52 แสดงรูปภาพ การเตรียมการต้มนำ้าสบู่


14. นำาผ้าที่ย้อมสีแล้วลงต้มกับนำ้าสบู่ในอุณหภูมิ 100°C
เวลา 20 นาที

ภา พที ่ 12. 53 แสดงรูปภาพ การต้มนำ้าสบู่

15. เมื่อต้มนำ้าสบู่เสร็จนำามาล้างนำ้าอีกครั้งโดยเปิดให้นำ้า
ไหลผ่านผ้าจนแน่ใจว่าไม่มีสีหลุดออกแล้ว
43

ภา พที ่ 12. 54 แสดงรูปภาพ ล้างผ้าโดยการให้นำ้าไหลผ่านผ้าจนสะอาด


16. ตัดเส้นด้ายที่พันผ้าออกและค่อยๆ คลี่ผ้าออกจากท่อ
ทำาให้เห็นลวดลายผ้าเด่นชัดขึ้น

ภา พที ่ 12. 55 แสดงรูปภาพ คลี่ผ้าออกจากท่อ


17. เมื่อคลี่ผ้าออกแล้วนำาไปซักล้างอีกครั้งเพื่อให้สีและ
สารเคมีที่ยังติดเคลือบอยู่จากรอยย่นของผ้าไหมออก
ให้หมด

ภา พที ่ 12. 56 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง

18. ผ้าที่ย้อมสำาเร็จแล้ว ซึ่งเป็นศิลปะ Shibori หรือ


Arashi บนผิวผ้าโดยการพับและพันรอบผ้า
44

ภาพท ี่ 12 .5 7 แสดงรูปภาพ ผ้าย้อมศิลปะ Shibori หรือ


Arashi บนผิวผ้าโดยการพับและพันรอบผ้า (Arashi Art On
Fabric By Folding)

กา รย ้อ มแ บบจุ ่ม (D ip – Dy es )
เทคนิคนี้จะจุ่มผ้าลงในสีย้อมที่ทำาขึ้นเพียงบางส่วน ซึ่งสีจะจางจากสีอ่อนไปสียังเข้ม ซึ่งง่าย
มากในการทำาและดูเหมือนจะเป็นผ้าทางด้านตะวันออกย้อมได้ทั้งสีย้อมร้อนและสีย้อมเย็น ซึ่งผ้าที่
เหมาะที่สุดในการย้อมวิธีนี้ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าไหม (Silk), ผ้าขนสัตว์ (Wool), ผ้าฝ้าย
(Cotton) หรือ ผ้าลินิน (Liner) เป็นต้น ซึ่งผ้าเหล่านี้จะดูดซึมสีย้อมผ้าได้อย่างสมำ่าเสมอกันสีย้อมผ้า
จะใช้แบบสีผงหรือสีนำ้าก็ได้ (Stokoe, S. 1999 : 47)
1. วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำาเป็นในเทคนิคนี้ : ผ้าไหม (Silk) ที่
ผ่านการทำาความสะอาดแล้ว, สีรแี อคทีฟ (Reactive Dyes),
โซเดียมซัลเฟต (Sodium Sulfate), โซดาแอช (Soda Ash),
สบูเที
่ ยม (Wetting Agent), อ่างย้อม (Dye Bath), ทีหนี
่ บผ้า
(Clother Pegs), ผ้าคลุมกันเปือน
้ (Drop Cloth), ถุงมือยาง
(Rubber Gloves), บิกเกอร์
๊ (Beaker), เตาไฟฟ้า (Hot
Plate), ไม้พาย

ภา พที ่ 12. 58 แสดงรูปภาพ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำาเป็นในเทคนิคนี้

2. เลือกอ่างย้อมหรือภาชนะย้อมสีให้มีขนาดใหญ่เพียง
พอทีจ่ ะบรรจุความกว้างของผ้าโดยไม่ต้องพับผ้าขึ้น
มากเกินไป และให้ลึกเพียงพอทีจ่ ะยึดผ้าไว้ เมื่อจุ่ม
ผ้าลงไปในสีย้อม
45

ภา พที ่ 12. 59 แสดงรูปภาพ ภาชนะสำาหรับย้อมสี

3. เตรียมสีและสารเคมี เช่น เมือย้


่ อมด้วยสีรแี อคทีฟ
(Reactive Dyes) สารเคมีที่จำาเป็นต้องใช้ ได้แก่
โซเดียมซัลเฟต (Sodium Sulfate), โซดาแอช (Soda
Ash), สบูเ่ ทียม (Wetting Agent) เป็นต้น

ภา พที ่ 12. 60 แสดงรูปภาพ การเตรียมสีและสารเคมี


4. ผสมสีย้อมโดยละลายสีในเปอร์เซ็นต์เฉดที่ตำ่าเพื่อให้
ได้สที ี่อ่อน

ภา พที ่ 12. 61 แสดงรูปภาพ การผสมสีในนำ้าย้อมที่เตรียมไว้

5. นำาผ้าจุ่มนำ้าสะอาดก่อนเพื่อให้ผ้าเปียกและดูดซึมสีได้
ดี
46

ภา พที ่ 12. 62 แสดงรูปภาพ ทำาให้ผ้าไหมเปียกตลอดทั้งผืน

6. ต่อจากนั้นนำาผ้าหนีบกับไม้หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำาให้
ผ้ายึดเกาะได้ แล้วจุ่มผ้าด้านล่างสุดลงในอ่างย้อม
และแกว่งผ้าบ้างในบางครั้งเพื่อไม่ให้สีย้อมเป็นแนว
เส้นตรง จนครบเวลา นำาออกซัก-ล้าง และพร้อมที่
จะย้อมสีต่อไป

ภา พที ่ 12. 63 แสดงรูปภาพ การย้อมแบบจุ่มที่มีเฉดอ่อนเป็นการย้อมสีแรก


7. เตรียมสีย้อมและสารเคมี อีกครั้งเพื่อจะย้อมสีที่เข้ม
กว่าสีแรก โดยใช้สีรีแอคทีฟ (Reactive Dyes)
สีนำ้าเงิน (Blue), โซเดียมซัลเฟต (Sodium Sulfate),
โซดาแอช (Soda Ash), สบูเ่ ทียม (Wetting Agent)

ภา พที ่ 12. 64 แสดงรูปภาพ การเตรียมสีเพื่อย้อมสีที่


2

8. ผสมสีย้อมโดยละลายสีในเปอร์เซ็นต์เฉดที่สูงเพื่อจะ
ได้สที ี่เข้มกว่าสีแรก
47

ภา พที ่ 12. 65 แสดงรูปภาพ การผสมสีในนำ้าย้อมที่เข้มกว่า

9. ในกรณีที่ผ้าแห้งต้องนำาผ้าลงชุบนำ้าก่อนแล้วจึงนำาลง
ย้อมสี

ภา พที ่ 12. 66 แสดงรูปภาพ นำาผ้าลงชุบนำ้าก่อนย้อม


10. นำาผ้าลงย้อมต่อทำาเหมือนกับวิธีแรก ดึงผ้าขึ้นลง
จนกว่าสีจะซึมติดอยู่ในผ้า เมื่อได้ผ้าสีเข้มตามที่
ต้องการและจำาไว้ว่าผ้าเปียกสีจะเข้มกว่าผ้าแห้ง
เพราะฉะนั้นการย้อมสีจะต้องเผื่อส่วนนี้ด้วย

ภา พที ่ 12. 67 แสดงรูปภาพ การย้อมสีที่ 2 ทีม่ ีเฉดสีเข้มขึ้น

11. เมื่อย้อมจนครบเวลาให้นำาผ้าขึ้นจากอ่างย้อมแล้ว
นำาไปซัก-ล้าง ให้สะอาดหลายๆ ครั้ง
48

ภา พที ่ 12. 68 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง ภายหลังย้อมสี

12. การเตรียมการต้มนำ้าสบู่ในอัตราส่วนนำ้า 1 ลิตร ต่อ


สบูเ่ ทียม 1 กรัม

ภา พที ่ 12. 69 แสดงรูปภาพ การเตรียมการต้มนำ้าสบู่

13.ต้มนำ้าสบู่ในอุณหภูมิ 100°C เวลา 20 นาที เพื่อขจัดสี


ทีไ่ ม่เกาะติดเส้นใยออกให้หมด

ภา พที ่ 12. 70 แสดงรูปภาพ การต้มนำ้าสบู่

14. เมื่อต้มนำ้าสบู่เสร็จ นำามาซัก-ล้าง อีกครั้งให้สะอาด


แล้วผึ่งหรือตากให้แห้ง
49

ภา พที ่ 12. 71 แสดงรูปภาพ การซัก-ล้าง


15. ผ้าที่ย้อมแบบจุ่มที่สำาเร็จแล้วพร้อมที่จะนำาไปใช้ทำา
เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ หรือเคหะสิง่ ทอได้อย่าง
สวยงามและขบวนการทำาก็ง่าย

ภา พที ่ 12. 72 แสดงรูปภาพ ผ้าไหมที่ย้อมแบบจุ่ม (Dip – Dyes)

กา รม ัด ผ้ าย ้อ มเป ็น ลว ดล ายต ่า ง ๆ
กา รอ อก แบ บลว ดล าย
การออกแบบลวดลายบนผืนผ้าในการทำาผ้ามัดย้อมทั่วๆ ไป ผู้ออกแบบมักจะตั้งจุดมุ่งหมาย
ทีจ่ ะให้ได้ลวดลายแปลกๆ อยู่เสมอ ตลอดจนประโยชน์ใช้สอยในด้านต่างๆ ด้วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้า
พันคอ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าม่าน ผ้าตัดเสื้อ เป็นต้น การออกแบบลวดลายจำาเป็นต้องให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้ง
ไว้ ตัวอย่างผ้าที่ต้องใช้เป็นประจำาก็ควรจะเป็นลวดลายที่เรียบง่าย ไม่ฉูดฉาด ผู้ออกแบบลวดลายและ
สีสันไปพร้อมๆ กันว่าควรใช้สีเดียวหรือหลายสี เมื่อได้แบบที่ต้องการจึงร่างด้วยดินสอหรือชอล์คสี
อ่อนๆ ไม่ควรเป็นลวดลายที่ยุ่งยาก สลับซับซ้อนมากนัก ซึ่งจะไม่สะดวกในการมัดหรือเนา

1. เทคน ิค กา รอ อก แบ บก ารก ัน สีใ นม ัด ย้ อม


เทคนิคการกันสีโดยการผูกมัดอันเป็นเรื่องพิเศษเฉพาะและมีการสำา รวจชนิด
ของสีย้อมเพื่อที่จะปรับให้มีความเหมาะสมระหว่างผู้ออกแบบและส่วนประกอบต่างๆ
ตลอดจนอิทธิพลจากการมองเห็นซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการระบายสี การย้อมสี
อย่างมีอิสระ โดยเฉพาะความโปร่งใสผ่านทะลุตลอด แม้จะมีการย้อมทับหลายครั้ง สิ่ง
เหล่านี้มีความชัดเจนมากในงานศิลปะ
การควบคุม เป็นการบังคับการจัดรอยจีบ การเย็บและการมัด ซึ่งต้องใช้ความ
คิดกำา หนดล่วงหน้า ซึ่งจะทำา ให้เกิดผลตามที่ตามองเห็น การแนะนำา ผู้ที่เริ่มต้นทดลอง
นอกเหนือจากการบรรยาย ควรทำาบนผ้าหรือกระดาษชิน้ เล็กๆ และทำาซำ้าๆ กัน หลายๆ ครั้ง
ให้มีความถูกต้อง แม่นยำา หรืออาจประยุกต์ เปลี่ยนแปลงแบบให้มีความหลากหลาย
50
การเปลี่ยนแปลงความหนาและขนาดของผ้า โดยให้ความสำาคัญต่อเส้นใย วิธี
การพับเป็นจีบ การผูก และการมัดให้แน่น ตลอดจนอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมของ
การย้อมสี ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่
แน่นอนของเทคนิคเหล่านี้เป็นแบบแผนและความรู้พื้นฐาน ส่วนประกอบที่สำาคัญสำาหรับ
การกำาหนดตัวกันสีและทิศทางของรูปแบบของชิ้นงานที่ใหญ่ วิธีการที่หลากหลายของ
การพับ การจีบเป็นความคงเส้นคงวาในการกำาหนดทิศทาง เป็นริ้วหรือลายยาวในแนวตั้ง
ตรงแนวนอน เส้นทะแยงมุมเป็นรูปตัววี (V) หรือสี่เหลี่ยม
เกี่ยวกับการเย็บและการใช้เครื่องหนีบจับ ซึ่งเป็นไปได้ต่อการควบคุมการจัด
วาง การกำาหนดพื้นที่ทั้งสองด้านทั้งรูปแบบที่ใหญ่และเล็กเทคนิค “Tritk” เป็นความพิเศษ
อย่างเหมาะสมสำาหรับการทำางานของผู้มีอารมณ์ที่อ่อนไหว และมีเหตุผลโดยการกำาหนด
ลีลา จังหวะ บนผิวหน้าผ้าไว้ล่วงหน้าสำา หรับผู้เริ่มต้ นไปสู่การจัดวาง เพิ่มเติม เข้ าไป
จำา นวนหนึ่งโดยเฉพาะวิธีการทำา งานให้มีความสมบูรณ์โดยบังเอิญ ซึ่งจะปรากฏผลต่อ
ความรู้สึกของการออกแบบที่ไม่เสียไป สิ่งตอบแทนในการทำางานในกระบวนการเหล่านี้
มาจากการเรียนรู้สู่การประยุกต์ที่พยากรณ์ไม่ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ การ
คิดค้นขึ้นเองมากกว่าการแก้ปัญหา ดังนั้น ในข้อนี้เป็นสิ่งสำา คัญมากต่อการค้นพบโดย
การทดลองทำาเป็นตัวอย่างและหาข้อผิดพลาดซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ การบังเอิญอาจเกิด
ขึ้นได้เสมอและสามารถกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดใหม่ๆ ในความรู้สึกอาจจะเป็น
ผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อน
เทคนิคการทำางานในสิ่งเหล่านี้มีระยะเวลาอันยาวไกล การทำางานโดยช่างผู้มี
ฝีมือมีความลึกซึ้ง มีสติปัญญา ความรู้สึกที่อยากรู้อยากเห็นของความสมดุลระหว่างวิธี
การและสิ่งที่ไม่อาจพยากรณ์ไ ด้ ซึ่งเทคนิคของคนสมัยโบราณปรากฏขึ้ นทั้ งทางด้าน
ความคิด การประดิษฐ์ สามารถนำามาใช้ประโยชน์และมีวิธีการทำา ที่แตกต่างกัน บางสิ่ง
บางอย่างมีการปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานสู่ความต้องการกลายเป็นความคุ้นเคยอันเป็นวิธีการที่
บรรลุผลจากการสังเกตและการสร้างสรรค์ที่เป็นแบบแผน (Belfer, N. 1972 : 80)

2. กา รม ัด ให ้เก ิด ลว ดล าย
การทำาผ้ามัดย้อม บางทีก็ให้ความสนุกสนานเมื่อได้พิจารณาถึงการออกแบบ
และวิธีการมัดที่แตกต่างกันต่อผลที่ออกมา การฝึกหัดทำาผ้ามัดย้อมแต่ละวิธีเป็นการเรียน
รู้วิธีการทำางานเป็นอย่างไร จากการทำางานแต่ละชิ้น แต่ละวิธีของการมัดย้อมและมีการ
จำาแนก เพื่อให้เห็นผลงานที่มีคุณค่าในชิ้นงานโดยพยายามออกแบบ ตลอดจนเอาแบบ
อย่างงานทั่วๆ ไป ให้เท่าเทียมหรือดีกว่า
การมัดมีความหลากหลาย สามารถจัดเป็นหมวดหมู่อย่างง่ายๆ เช่น ทำา เป็น
วงกลม การรวบรวม การพับ การใช้เครื่องหนีบจับ หรือใช้วัสดุที่ใช้หุ้มห่อสิ่งของภายใน
การเย็บ เป็นต้น รวมทั้งแบบอย่างที่ไม่สลับซับซ้อนมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ และ
รวมถึงวิธีการมัดแบบพื้นฐาน การใช้เชือกมัดเป็นการวางการมัดด้วยเชือกบนผ้าเพื่อให้
เส้นของเชือกเป็นตัวกันสี มีการทดลองอันหลากหลายวิธีของการมัดด้วยเชือกบนชิ้นงาน
และการนำา ไปย้อมสี ซึ่งสังเกตได้จากผลงานที่ออกมา ถ้าวัสดุในการมัดที่มีความกว้าง
51
เช่น ยางรัดที่หนา หรือแผ่นยางยืดจะทำาให้พื้นที่ส่วนนั้นจะยังคงขาวซึ่งเป็นส่วนกว้างของ
การมัด ถ้ามัดด้วยเชือกห่างออกไปเพียงเล็กน้อยจะทำาให้ผลที่ออกมาในเส้นเกี่ยวกับสีจะ
ค่อยๆ เข้ามาระหว่างเชือก วัสดุที่ใช้ห่อหุ้มนั้นต้องมัดให้แน่นๆ จากส่วนบนสู่ตอนล่างสุด
จะให้ผลของเส้นชัดเจน ถ้าส่วนบนและตอนล่างสุดมัดอย่างหลวมๆ ไม่แน่นเส้นจะอ่อนไม่
ค่อยชัดเจนนัก (Meilach. Dona Z. 1973 : 179 –185)
เชือกที่ผ่านการเลือกมาสำาหรับผูกมัด มันจะไม่ขาดง่ายๆ ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อ
การดึงอย่างรุนแรง เมื่อเริ่มต้นมั ดควรเผื่อปลายให้ยาวเมื่อจบจะหาตำา แหน่งของการ
ผูกมัดตลอดจนเมื่อต้องการแก้จะทำาได้ง่ายขึ้น การมัดผ้าก่อนการย้อมสีมีวิธีการมัดหลาย
แบบหลายวิธีขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทำาหรือเพื่อความเหมาะสมในงานที่นำาไปใช้แต่
เพื่ อเป็ นหลั กในการปฏิ บัติ เ บื้อ งต้ น (กรมส่งเสริม อุต สาหกรรม. 2540 : 19-20) ได้ใ ห้
แนวทางในการมัดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
การมัดแบบไขว้ไปมา เรียกว่า มัดโปร่ง เป็นการมัดที่ต้องการให้สีแทรกซึม
เข้าไปในบางส่วนของผ้าที่ไม่ถูกเชือกมัด ทับ ซึ่งหลังจากย้อมสีเสร็จแล้ว ช่องว่าง ใน
ระหว่างเชือกที่ไขว้ไปมา สีจะแทรกซึมเข้าไปได้จะเกิดเป็นลายในตัวและมีรอยเชือกที่มัด
เป็นสีขาวไขว้ไปมา ส่วนด้านในของผ้าก็จะเป็นสีขาวสลับกับบางส่วนที่สีแทรกเข้าไปได้
การมัดโปร่งนี้สามารถมัดผ้าให้ได้ความกว้างเท่าไรก็ได้แล้วแต่ความต้องการของเรา โดย
การมัดจะเริ่มต้นในส่วนของผ้าที่ต้องการจะเก็บสีไว้ โดยเริ่มจรดปลายเชือกให้ปลายเชือก
เหลือไว้ประมาณ 4-5 นิ้ว มัดเชือกไปรอบผ้าประมาณ 2-3 รอบ ให้เชือกทับกับปลาย
เชือกแล้วจึงเริ่มไขว้ไปตามความต้องการ ซึ่งจะให้มีความกว้างของส่วนที่จะเก็บสีเดิมไว้
เท่าใด เมื่อได้ตามต้องการแล้ว จึงวนเชือกไขว้กลับมาหาปลายเชือกที่เริ่มต้นแล้วจึงมัด
ให้แน่น

การมัดแบบไขว้ “มัดโปร่ง” ผลของการมัดแบบไขว้

ภา พที ่ 2.1 แสดงรูปภาพ วิธีการมัดผ้าแบบไขว้ และผลจากการมัดไขว้

การมัดโดยวิธีให้ริมของเชือกซ้อนทับกันไปเรื่อยๆ เรียกว่า มัดทึบ เป็นการ


ซ้อนเชือกทับกันจนได้ความกว้างที่ต้องการ เก็บบริเวณผ้าที่ไม่ต้องการให้สีแทรกซึม
เข้าไป จึงพับกลับมาที่จุดเริ่มต้นโดยใช้วิธีเดิม (เชือกที่ใช้ควรเป็นเชือกฟาง เพราะคลี่
ขยายให้กว้างเท่าใดก็ได้) ให้ริมของเชือกฟางนั้นทับกันพอประมาณและเมื่อปลายเชือก
52
ทั้งสองมาบรรจบกัน ก็ผูกมัดให้แน่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริเวณที่มัดโดยใช้ริมเชือกซ้อนกัน
นั้นจะปิดบังไม่ให้สีเข้าไปได้เลย จุดประสงค์ของการมัดวิธีนี้ คือ ไม่ต้องการให้สีที่เราจะ
ย้อมแทรกซึมเข้าไปไม่ว่าจะย้อมสีแรกหรือการเก็บสีแรก

วิธีการมัดแบบทึบ ผล
ของการมัดแบบทึบ

ภา พที ่ 2.2 แสดงรูปภาพ วิธีการมัดแบบทึบ และผลจากการมัดแบบทึบ

1. กา รอ อก แบ บกา รพ ับ และ มั ดใ ห้เ กิ ดล วด ลา ย


การทำา ผ้ามัดย้อมแต่ละครั้ง ผู้ปฏิบัติทุกคนจะมีความปรารถนาที่จะไม่ต้องการให้ลวดลาย
ซำ้าๆ กัน แต่ต้องการความแปลกใหม่ของลวดลาย ดังนั้น การเตรียมลวดลายจึงเป็นสิ่งจำาเป็น การทำา
ผ้ามัดย้อมนี้มีทั้งลวดลายที่เป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบ ส่วนมากแล้วจะเตรียมลายที่เป็นระเบียบ
เท่านั้นด้วยการใช้ดินสอหรือชอล์คสีอ่อนๆ ร่างลวดลายเบาๆ หรือจุดให้ทราบตำาแหน่งที่ต้องการเพื่อ
ให้ได้ช่องไฟของลายเท่าๆ กัน หรืออาจหาตำาแหน่ง เส้นตรง วงกลม วงรี สี่เหลี่ยม เส้นโค้ง เป็นต้น
การออกแบบลวดลายที่ จ ะกำา หนดลงบนผ้า นั้น ในเบื้อ งต้ นนี้ก ารประดิษ ฐ์ ล วดลายต่ า งๆ
สามารถทดลองประดิษฐ์ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง โดยการพับกระดาษแล้วใช้วิธีการสมมุติว่าตรงไหนเป็น
รอยพับและการพับครั้งสุดท้ายสมมุติเป็นรอยที่ถูกเส้นด้าย หรือเชือกมัดซึ่งจะต้องพับกระดาษให้เป็น
รอยชำ้า หรือจุ่มสี แล้วค่อยๆ คลี่กระดาษออกดูพิจารณาตามรอยพับครั้งสุดท้าย ซึ่งจะเป็นลายที่แท้
จริง เมื่ อได้ลายที่ต้ องการแล้ วนำา ลายที่ ไ ด้ม าถ่ ายแบบ คื อ พับลวดลายนั้ นลงบนผ้า และรอยพั บ
กระดาษครั้งสุดท้าย คือ รอยเชือกมัด นำาผ้าที่พับและมัดเสร็จแล้วนำาไปย้อมสี รอยเชือกมัดก็จะไม่ติด
สีแล้วลองเปรียบเทียบดูกับแม่แบบที่พับกระดาษ ดูว่าเหมือนกันหรือไม่ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

1. การออกแบบลวดลายการพับและมัด
53
1.1ลวดลายเส้นตรง


 

 

ลวดลายจากการพับ – มัดกระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัดผ้า

ภา พที ่ 2.3 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “เส้นตรง”


1.2ลวดลายเส้นซิกแซก


 

 

ลวดลายจากการพับ – มัดกระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัดผ้า


54

ภา พที ่ 2.4 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “ซิกแซก”


1.3ลวดลายวงกลมจากจุดศูนย์กลาง

  

 
 

ลวดลายจากการพับ – มัด กระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัด ผ้า

ภา พที ่ 2.5 แสดงรูปภาพ วิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “วงกลม”


จากจุดศูนย์กลาง
55
1.4ลวดลายวงกลมที่เกิดจากการพับและมัดรูปทรงสามเหลี่ยม

  

  

    11

ลวดลายจากการพับ – มัด กระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัดผ้า

ภา พที ่ 2.6 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “วงกลม” อันเกิดจาก


การพับและมัดรูปทรงสามเหลี่ยม

1.5ลวดลายวงกลมทีเ่ กิดจากการพับและมัดในลักษณะการพับแนวทแยง
มุม
56

ลวดลายจากการพับ – มัด กระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัด ผ้า


  
ภา พที ่ 2.7 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “วงกลม”
ในลักษณะการพับแนวทแยงมุม
 
1.6ลวดลายวงกลมที่เกิดจากการพับและหนีบ
ด้วยที่หนีบผ้า
รูปสามเหลี่ยม

    11
57

ลวดลายจากการพับ – หนีบจับกระดาษสา ลวดลายจากการพับ – หนีบจับผ้า

ภา พที ่ 2.8 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – หนีบจับกระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “วงกลม”


อันเกิดจากการพับและหนีบจับรูปสามเหลี่ยม

1.7ลวดลายสี่เหลี่ยมด้วยวิธีการพับที่แตกต่างกัน
58
วิธ ีที่ 1

  

  

ลวดลายจากการพับ – มัด กระดาษสา


ลวดลายจากการพับ – มัด ผ้า

ภา พที ่ 2.9 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “สี่เหลี่ยม” วิธีที่ 1

วิธ ีที่ 2
59


 


 

ลวดลายจากการพับ – มัด กระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัด ผ้า

ภา พที ่ 2.1 0 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “สี่เหลี่ยม” วิธีที่ 2


  

วิธ ีที่ 3
  



60

ลวดลายจากการพับ – มัด กระดาษสา ลวดลายจากการพับ – มัด ผ้า

ภา พที ่ 2.1 1 แสดงรูปภาพวิธีการพับ – มัด กระดาษสาและผ้าให้เกิดลวดลาย “สี่เหลี่ยม” วิธีที่ 3

You might also like