You are on page 1of 32

ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ความรู้เรื่องผ้า

หน่วยที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้เรื่องผ้า
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

เสื้อผ้าแบ่งตามชนิดของเส้นใยที่นำมาทอเป็นผืนผ้าได้เป็น ๓ ประเภทดังนี้

๑. เสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติซึ่งเป็นเส้นใยที่มีอยู่ในธรรมชาติเช่น ผ้าฝ้ายผลิตจากปุยฝ้ายซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ด
ฝ้าย ผ้าลินินผลิตจากลำ ต้นแฟลกซ์ผ้าไหมผลิตจากรังไหม ผ้าขนสัตว์ผลิตจากขนแกะอูฐกระต่าย โดยผ้าแต่ละชนิดมี
คุณสมบัติและการนำ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

ชนิดของผ้า คุณสมบัติ การนำ ไปใช้ประโยชน์


ผ้าฝ้าย(Cotton) เงามันน้อย ยืดหยุ่นตํ่า อาจหดหลังซักเหนียวปานกลาง ตัดเย็บเสื้อผ้าสวมใส่ในฤดูร้อน
เมื่อเปียกจะเหนียวเพิ่มขึ้น ดูดความชื้นระบายความร้อน
ได้ดีไม่มีปัญหาไฟฟ้าสถิต ไม่เป็นขุย ทนความร้อนสูงได้ดี ทำผ้าเช็ดตัวผ้าเช็ดมือผ้าปูที่นอน
ทนทานต่อการขัด ถูและด่าง ไม่ทนกรดยับง่ายติดไฟเร็ว
ปลอกหมอน เสื้อผ้าเด็กอ่อน

ผ้าอ้อม
ผ้าลินิน(Linen) เงามันสวยงามดูดซับความชื้นได้ดีกว่า ผ้าฝ้าย แห้งเร็ว ตัดเย็บเสื้อผ้าสวมใส่ในฤดูร้อน
ทนความร้อน และแสงแดดได้ดีต้านทานราและ
แบคทีเรียได้ดีกว่าผ้าฝ้าย ไม่มีปัญหาไฟฟ้าสถิตแต่ไม่ ทำผ้าลูกไม้ผ้าเช็ดหน้าผ้าปูโต๊ะ
ทนทานต่อการขัดถูเนื้อผ้าแข็งไม่ทิ้งตัว ยืดหยุ่นต่ำ ยับ
ผ้าเช็ดปาก
ง่าย ไม่ทนต่อ สารฟอกขาว
ผ้าไหม(Silk) เงามัน สวยงาม ผ้าทิ้งตัวดีดูดซับความชื้นได้ดีจึงย้อมสี ตัดเย็บเสื้อผ้าสำหรับไปงานหรือ
และตกแต่งด้วย สารเคมีได้ง่าย สภาพอากาศร้อนสวมใส่
แล้วจะรู้สึกเย็นสบาย และอบอุ่นเมื่อ สวมใส่ในฤดูหนาว ตัดเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ
มีสีสดใส มีปัญหา ไฟฟ้าสถิตน้อยมากไม่เป็นขุยไม่ดูดซับ
ผ้าพันคอผ้าเช็ดหน้า ริบบิ้น
ความสกปรกเข้าไปในเส้นใย ติดไฟได้ แต่เมื่อนำออก
จากเปลวไฟจะดับได้เอง ถ้าได้รับความร้อนเกิน ๑๕๐
องศา-เซลเซียส ใยจะไหม้กรอบและสลายตัวทนทานต่อ
การใช้งานพอสมควร สูญเสียความเหนียวเมื่อเปียกนํ้า
ไม่ทนต่อการกัดแทะของแมลงและแสงแดด กรดและ
ด่าง
ผ้าขนสัตว์(Wool) อยู่ตัวดีเมื่อแห้ง เมื่อชื้นจะทิ้งตัวและยืดหยุ่นดีดูด ตัดเย็บสูทเสื้อกันหนาวผ้าห่ม
ความชื้นได้ดีให้ความอบอุ่นไม่มีปัญหาไฟฟ้าสถิตเมื่อติด
ไฟจะค่อย ๆ ดับได้เอง ทนทานต่อกรดต่างๆได้ดีแต่ไม่
เงามันจะสูญเสียความเหนียวเมื่อเปียกไม่ทนด่าง
๒. เสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งเป็นใยที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมีแล้วผลิตเป็นผืนผ้า เสื้อผ้าใย
สังเคราะห์ดูแลรักษาง่าย เพราะไม่ยับยืดหยุ่นและคืนตัวได้ดีแต่ไม่ค่อยดูดซึมนํ้าและไม่ระบายความร้อนจึงเหมาะที่จะ
สวมใส่ในห้องปรับอากาศ ผ้าใยสังเคราะห์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติและการนำ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

ชนิดของผ้า คุณสมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์


ผ้าไนลอน(Nylon) มีความเหนียว แข็งแรงทนทานมาก ใช้ทำถุงน่องสตรีและเสื้อผ้าต่างๆ
ยืดหยุ่นง่ายเมื่อถูกไฟจะละลายไม่ไหม้
เมื่อนำ ออกไฟจะดับ เถ้าเป็นก้อนแข็ง
บีบไม่แตก
ผ้าพอลิเอสเทอร์ ส้นใยนุ่มดูดความชื้นได้น้อยนํ้าหนักเบา ใช้เลียนแบบและผสมกับ
ไม่ยับง่าย ไม่หดตัว รีดจับจีบถาวรได้ไม่
(Polyester) ย้วย แห้งไว ซักง่าย ดูแลง่าย เมื่อเผาจะ เส้นใยอื่นได้ดีนิยมใช้ในวงการ
กลายเป็นยางสีดำ บางส่วนจะกรอบ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้า
ผ้าอไครลิก ไม่หด แห้งง่าย ทนต่อการซักฟอกนํ้า ใช้ทำ เสื้อขนสัตว์เทียม ผลิตผ้าที่
หนักเบา เมื่อเผาไฟจะสลายไหม้เป็น
(Acrylic) ยาง มีขนไหมพรม ผ้าห่มถุงเท้า

พรมปูพื้น
ผ้าสแปนเด็กซ์ ต้านทานแรงดึงได้สูง ใช้ทำ เสื้อชั้นในสตรียางยืดและ
(Spandex)หรือ
ผ้าที่ใช้ทางการแพทย์
ไลครา (Lycra)

๓. เสื้อผ้าจากเส้นใยกึ่งสังเคราะห์ซึ่งเป็นเส้นใยผสมระหว่างใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์หรือนำ เอาเส้นใย
ธรรมชาติมาดัดแปลงด้วยวิธีทางเคมีผ้าจะมีเนื้อนุ่ม เป็นมันเงา ดูดซึมนํ้าได้ดีแต่ไม่ค่อยมีความเหนียว เสียรูปทรงเมื่อ
ถูกนํ้า ไม่ทนกรดเข้มข้น ผ้าใยกึ่งสังเคราะห์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติและการนำ ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

ชนิดของผ้า คุณสมบัติ การนำไปใช้ประโยชน์


ผ้าเรยอน(Rayon) เนื้อนุ่ม สวยงาม มีความเงามันคล้ายไหมดูดซึมนํ้าได้ดี ใช้ทำ เสื้อผ้าไหมเทียม
ยับง่ายคลายยับยากรีดเรียบทิ้งไว้จะลู่ลง เปื่อยง่ายติด
ไฟรวดเร็วการไหม้จะคล้ายผ้าฝ้ายแต่ไหม้ได้เร็วกว่า
ผ้าอะซิเตต เนื้อนุ่ม เป็นเงามัน ไม่ยับ ไม่หด ไม่ค่อยดูดความชื้น ใช้ทำผ้าแพรต่วน
ใส่แล้วจะรู้สึกเหนอะหนะรีดเรียบง่าย ไม่ทนความร้อน
(Acetate) สูง ละลายเมื่อสัมผัสนํ้ายาล้างเล็บ
ผ้าที/ซี(T/C)(ผ้าที่มีส่วนผสม ซับเหงื่อได้ดีกว่าผ้าพอลิเอสเทอร์ไม่ยืดไม่หด ทนต่อ ใช้ตัดเสื้อผ้าทั่วไป
ของ การซักด้วยเครื่องซักผ้าเนื้อผ้าไม่ขึ้นเม็ด

ใยฝ้าย๖๕ % และใยพอลิ
เอสเทอร์ ๓๕ %)
ผ้าซีทีซี(CTC)(ผ้าที่มี ไม่หดตัวทนทานกว่าผ้าฝ้าย ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าแทนผ้าฝ้าย
ส่วนผสมของใยฝ้าย ๗๐ %
และใยพอลิเอสเทอร์๓๐ %) และมีความทนทานกว่า

ผ้าฝ้าย
ใบงานที่ เรื่อง ความรู้เรื่องผ้า
6 รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มที่........................ชื่อกลุ่ม..........................................................................................................................
สมาชิกกลุ่ม 1.……………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.…………………………………………………………………………..……………………………………………………………….
3.…………………………….……………………………………………………………………………………………………………..
4.…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
5.…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
6.…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
คำชี้แจง ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4-5 คน ศึกษาใบความรู้และสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ต ในหัวข้อที่
นักเรียนได้รับ และนำมาเขียน Mind Map ในเรื่องที่นักเรียนต้องการนำเสนอ
Mind Map เรื่อง .................................................................................................................

ชื่อ.............................................................สกุล..............................................เลขที.่ ...................ชัน้
............./.............
ใบความรู้ที่ 7 เรื่อง การเลือกใช้เสื้อผ้าตามลักษณะ
หน่วยที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เสื้อผ้าน่าใช้
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หุ่นทรงแอปเปิ้ล

คือสาวๆที่มีท่อนบนส่วนไหล่และหน้าอก กับส่วนล่าง ตั้งแต่บั้นท้าย จนถึงต้นขา แคบกว่าช่วงกลางลำตัว


หรือส่วนเอว การแต่งกายที่เหมาะกับสาวๆหุ่นแอปเปิ้ล ควรดึงดูดความสนใจจากส่วนสะโพกที่อวบอิ่มให้มาอยู่ที่ท่อน
บน คือ เสื้อควรเลือกเสื้อคอคว้าน เสื้อคอวี เสื้อคอรูปหัวใจ เสื้อคอลึก และ การใส่เสื้อป้ายแบบเข้ารูป ที่มีจีบหรือ
ตะเข็บปิดหน้าท้องจะช่วยเพิ่มความยาวให้ช่วงลำตัวได้ค่ะ
กระโปรงควรเลือก กระโปรงผ่าสูง กระโปรงทรงตรง ทรงดินสอ กระโปรงที่มีระบายเป็นชั้น กระโปรงปลาย
บานเป็นจีบ และควรเลือกสวมใส่กระโปรงสั้นจะดูสวยกว่าใส่กระโปรงยาว
กางเกงควร เลือกกางเกงที่ไม่มีรอยจีบที่ด้านหน้า โดยสามารถใส่ได้ทั้งทรงตรง กางเกงขาสามส่วน หรือแม้แต่
เลกกิ้ง และที่เหมาะที่สุดคือกางเกงทรงตรงปลายสอบนิดๆ
สี ควรเลือกสีเข้มเป็นหลักเพื่ออำพรางรูปร่างที่ใหญ่ไม่ได้สัดส่วนและ ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูป สำหรับสาวอวบ
รองเท้า ควรเลือกรองเท้าที่มีส้นจะทำให้รูปร่างดูสูงเพรียว มากขึ้นค่ะ
หุ่นทรงนาฬิกาทราย

สาวหุ่นแบบนาฬิกาทราย เป็นสาวๆที่มีหุ่นสวยสมบูรณ์แบบค่ะ ซึ่งสาวหุ่นแบบนาฬิกาทรายนี้จะมีหน้าอก ที่ดู


เต็มสวยไม่ใหญ่จนเกินไป มีส่วนของเอวที่คอดสวยได้รูป สมดุลกับส่วนของสะโพกที่เต็มผายพอเหมาะ กับความกว้าง
ของช่วงไหล่ และมีช่วงขาที่เต็มสวยงามดูดีค่ะ การแต่งกายของสาวๆทรงนาฬิกาทราย สาวๆทรงนี้จะหาเสื้อผ้าในการ
สวมใส่ที่ค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่เข้ารูปเน้นสัดส่วนที่สวยงาม
เสื้อ ลองเลือกเสื้อผ้าที่มีลูกเล่นที่คอเสื้อ ผ้าที่ระบายเป็นคลื่น มีจีบพองอ่อน ๆหรือจะเป็นทรงคอเสื้อที่ตั้งใจ
ทำมาให้เป็นทรงไม่สมมาตรกันก็ได้
กระโปรงทรงดินสอ เดรสเข้ารูป หรืออะไรก็ตามที่เน้นดีเทลที่ช่วงเอว กางเกงขบาน หรือกระโปรงชายบานจะ
ช่วย เสริมสะโพกที่อิ่มเต็มให้ดูสมดุลสวยงามยิ่งขึ้น
ส่วนเครื่องประดับใช้ได้แทบจะทุกแบบ เช่นโชว์เอวคอดด้วยเข็มขัดสวยๆจะทำให้ชวนมองมากขึ้น
ข้อควรระวังในการแต่งตัวของสาวทรงนาฬิกาทราย คือไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่หลวมๆ หรือดูรุงรัง เพราะเวลามองแล้วจะ
ดูตัวตันๆ ไม่มีรูปทรง ควรใส่ชุดที่เน้นสัดส่วนจะดีที่สุด

หุ่นทรงสามเหลี่ยม

คือ มีช่วงบนส่วนไหล่ และหน้าอกเล็กกว่าช่วงล่าง มีเอวคอด สะโพกผายเต็มอิ่มใหญ่กว่าช่วงบนอย่างเห็นได้


ชัด เป็นหุ่นที่มีโค้งเว้าสวยงามพอควร การแต่งกายที่เหมาะกับสาวๆหุ่นรูปร่างแบบลูกแพร์ นี้ควรดึงดูดความสนใจมา
ที่ช่วงบน พรางช่วงล่างให้เพรียวลงด้วยผ้าสีพื้นเข้ม
เสื้อ ลองเลือกเสื้อที่ช่วยเพิ่มความกว้างของช่วงไหล่ หรือเสื้อที่มีลูกเล่น เช่นเสื้อปกแบะ ปกที่คอทรงไม่
สมมาตร เสื้อที่คอมีมีจีบสวยๆ เสื้อคอวี หรือเสื้อคอรูปหัวใจ สีสันสดใส จะช่วยให้ชว่ งบนดูเด่น และสมดุลกับช่วงล่าง
มากขึ้น ความยาวของชายเสื้อควรจะหยุดที่สะโพกบน ไม่ควรยาวคลุมสะโพก แต่สำหรับสูทหรือแจ๊คเก็ตยาวคลุม
สะโพกจะเหมาะกับสาวหุ่นลูกแพร์มากช่วยให้สวยดูดีขึ้นได้มากค่ะ
กระโปรง แนะนำ กระโปรงบานทรงเอ กระโปรงพลิ้วบาน กระโปรงทรงดินสอกระโปรงที่มีดีเทลเป็นพลีท
หรือจีบระบายเบา ๆ หรือกางเกงขากว้าง กางเกงทรงบู้ทคัท จะช่วยพรางช่วงสะโพก และขา ที่อวบอิ่มเกินสมดุลกับ
ช่วงบนของลำตัวได้ดีทีเดียวค่ะไม่ควรใส่กระโปรงสั้นพวกมินิสเกิ๊ต เพราะจะทำให้ขาดูสั้นมองดูไม่สวย เน้นเอวให้สวย
เด่นด้วยเข็มขัดขนาดพอดีใต้เอวหรือเดรสเข้ารูปที่เอว และมีลูกเล่นที่คอเสื้อด้วยก็สวยดีค่ะ
หุ่นทรงสามเหลี่ยมหัวกลับ

สาวๆที่มีหุ่นแบบสามเหลี่ยมหัวกลับ คือ สาวๆที่มีช่วงบนใหญ่กว่าช่วงล่าง ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนไหล่กว้าง


และหน้าอกอิ่มเอิบกว่าสะโพก และช่วงขาจะเรียวสวย ควรเลือกเสื้อผ้าที่ช่วยพรางความกว้างของไหล่ กับส่วนหน้าอก
ให้ดูสมดุลกับสะโพกและช่วงขา สีเสื้อผ้าช่วงบนควรเป็นสีเข้มกว่าส่วนล่าง
เสื้อ ควรเลือกเสื้อที่ช่วยลดความกว้างของไหล่และความอิ่มเอมของหน้าอกลง เช่น เสื้อคอลึก เสื้อคอวี เสื้อ
คอคว้านลึก หรือเสื้อคอรูปตัวยู เสื้อเกาะอกที่เส้นพาดหน้าอกเป็นรูปหัวใจ จะช่วยทำให้ช่วงบนดูเล็กลงได้ และเพิ่ม
ความระหงส์ให้กับลำคอเพิ่มขึ้นได้ด้วยค่ะ หรือเลือกเสื้อผ้าที่มีรอยต่อของช่วงไหล่ของแขนเสื้อ ที่แคบกว่าความกว้าง
ของไหล่จริง หรือแขนเสื้อที่มีตะเข็บเฉียงจากคอเสื้อลงมาก็ช่วยพรางช่วงบนให้ดูเล็กลงได้ เหมือนกัน
ควรหลีกเลี่ยงเสื้อตัวบนที่มีฟองน้ำเสริมไหล่ มีอินธนู หรือเป็นแขนแบบตุ๊กตา หรือแขนพองๆ ตรงหัวไหล่หรือเสื้อคอ
ปาดค่ะ
กระโปรง อาจหากระโปรงลายขวาง มาช่วยดึงดูดความสนใจจากช่วงบนได้ ลองเลือก กระโปรง ควรเลือก
กระโปรงทรงเอ กระโปรงทรงดินสอ หรือกระโปรงมีระบายใต้เอว (peplum) มาใส่คู่กับเสื้อเข้ารูป หรือเลือกชุดเดรส
สไตล์ peplumมาสวมใส่ก็จะช่วยทำให้สาวๆ หุ่นสามเหลี่ยมหัวกลับสวยหุ่นดีได้ตลอดเลยค่ะ
หุ่นทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงตรง

หุ่นทรงกระบอก คือสาวๆที่มีหุ่นลักษณะรูปร่างช่วงบนของลำตัว และช่วงล่างของลำตัวที่มีขนาดค่อนข้าง


เท่าๆกัน ช่วงเอวไม่โค้งเว้ามากนัก แต่มักจะมีช่วงขาเรียวสวย การแต่งกายของสาวทรงตรงควรจะเน้นช่วงเอวเป็น
พิเศษโดยใช้เข็มขัดช่วยให้ช่วงเอวดูมีส่วนโค้งมากขึ้น เสื้อผ้าสามารถใส่สีได้ตามชอบ แต่สำหรับชุดที่เป็นโทนสีเดียวกัน
ทั้งที่เป็นแบบชุดแยกชิ้นแบบเข้าชุด หรือชุดเดรสสวยๆก็จะทำให้สาวๆ ดูสวยสง่ามากขึ้นค่ะ
เสื้อ ควรเลือกเสื้อที่ช่วยเสริมช่วงอกให้ดูสวยงามน่ามองขึ้นกว่าเดิม เช่น เสื้อคอวี เสื้อคอรูปหัวใจ เสื้อคอ
คว้าน เสื้อที่คอไม่สมมาตร เสื้อคอกว้าง ประดับด้วยสร้อยคอสวยๆสักเส้น ที่ตัวเสื้ออาจจะมีลูกเล่นที่ช่วงอก เช่นเสื้อที่
มีจีบระบายตรงช่วงอก หรือปักลวดลายเก๋ หรือลูกเล่นสวยที่ตัวเสื้อก็ได้ค่ะ
กระโปรงหรือกางเกง ควรเป็นทรงตรงที่บานออกปลายนิดหน่อย จะช่วยให้รูปร่างดูมีทรวดทรงสวยงามขึ้น
และไม่ควรใส่กางเกงขาบาน เพราะจะทำให้ดูรูปร่างดูตรงมากยิ่งขึ้น
หุ่นรูปร่างทรงกลม

สาวๆที่มีหุ่นทรงรี คือสาวๆที่มีช่วงเอวอวบอิ่มกว่าช่วงอกและสะโพกอยู่เล็กน้อย ควรเลือกเสื้อผ้าที่ช่วยพราง


รูปร่าง ที่ช่วยเสริมให้หุ่นดูเพรียวขึ้น สีของเครื่องแต่งกายทั้งเสื้อผ้า กางเกง รองเท้า ให้เป็นไปในโทนสีเดียวกัน จะช่วย
ให้หุ่นเพรียวสูงขึ้นได้
เสื้อ ควรเลือกเสื้อคอคว้าน คอกว้าง จะช่วยทำให้ช่วงคอดูงามระหงส์ขึ้น หรือเลือกเสื้อ หรือชุดเดรสที่มีสาย
คาดเอวจะช่วยให้มองดูเอวคอดขึ้น
กระโปรงควรเลือก กระโปรงผ่าสูง กระโปรงที่จับจีบต่ำกว่าช่วงเอว กระโปรงเอวต่ำที่ไม่โป๊ หรือกางเกงที่ไม่มี
รอยจีบด้านหน้า ควรหลีกเลี่ยงกางเกงเอวสูง เพราะจะไปเน้นช่วงท้องให้ใหญ่ขึ้น

การเลือกใส่สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับโอกาศต่างๆ
เสื้อผ้าสำหรับงานมงคล งานฉลอง
งานมงคลหรืองานฉลอง อย่างเช่น งานฉลองมงคลสมรส งานวันเกิด งานเลี้ยงบริษัท งานฉลองรับตำแหน่ง
งานขึ้นบ้านใหม่ ควรเลือกที่เป็นแบบสุภาพ มีสีสันสดใส ลวดลายควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปร่างและวัยของผู้สวมใส่
ถ้าเป็นงานที่จัดในเวลากลางคืนและเป็นงานที่จัดในสถานที่ดูดีระดับ เราควรเลือกเสื้อที่เป็นแบบหรูหรา เนื้อผ้าควร
เป็นมันวาว พลิ้วเบา อย่างเช่น ชุดราตรี ชุดเดรส และควรสวมเครื่องประดับเพิ่มเติมเพื่อความสวยงามให้กับเสื้อผ้า
และตัวคุณเอง
เสื้อผ้าสำหรับใส่ไปเที่ยว
การไปท่องเที่ยวสังสรรค์กับครอบครัว คนสนิท หรือเพื่อนฝูง เช่น ไปท่องเที่ยวชายทะเล ไปเที่ยวภูเขา น้ำตก
ท่องเที่ยวต่างจังหวัด หรือไปเดินเล่นในห้างสรรพสินค้า เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย มีสีสันสดใส
อย่างเช่น เสื้อเชิ้ต หรือเสื้อยืด ส่วนกางเกงอาจเลือกเป็นกางเกงยีนส์ หรือกางเกงผ้าที่สวมใส่สบายก็ได้ ที่สำคัญไม่ควร
ใส่ให้สั้นหรือรัดรูปจนเกินไป
เสื้อผ้าสำหรับใส่เล่นกีฬา
สำหรับเสื้อผ้าที่ใส่เล่นกีฬานั้นอันดับแรกเราควรดูว่ากีฬาที่เราจะเล่นเป็น กีฬาประเภทใด แล้วจึงเลือกชุดกีฬา
และรองเท้าให้เหมาะสมกับประเภทของกีฬาที่จะเล่น เนื้อผ้าควรเป็นเนื้อผ้าที่มีความยืดหยุ่นได้ดี สวมใส่สบาย
เคลื่อนไหวได้สะดวก
เสื้อผ้าสำหรับใส่ไปงานศพ
งานศพควรเป็นแบบเรียบร้อยและสุภาพ ไม่รัดรูปและสั้นจนเกินไป ตามประเพณีของคนไทยนิยมใส่เป็น
เสื้อผ้าสีขาวหรือสีดำ คุณผู้หญิงอาจสวมใส่ได้ทั้งกางเกงและกระโปรง แต่ควรเลือกรูปแบบที่สุภาพเป็นหลักเสื้อผ้า
สำหรับใส่ไปติดต่อสถานที่ราชการหรือไปสมัครงานควรเป็นเสื้อผ้าแนวสุภาพ เรียบร้อย สวมใส่แล้วดูสง่างาม ภูมิฐาน
น่าเชื่อถือ และยังถือได้ว่าเป็นการเคารพสถานที่และบุคคลที่เราจะไปติดต่อด้วย คุณผู้หญิงสามารถเลือกสวมใส่ได้ทั้ง
กระโปรงและกางเกงเช่นกัน แต่การเลือกสวมใส่กระโปรงจะดูสุภาพและเรียบร้อยกว่าการสวมกางเกง
การเลือกใช้สีของเสื้อผ้า

ผิวเข้ม
ควรเลือกใส่เสื้อผ้าสีกลางๆ เอิร์ทโทน ไม่เข้มหรืออ่อนมากเกินไป เช่น สีนู๊ด สีชมพูอ่อน สีเหลืองอ่อน สีพีช สีม่วงลา
เวนเดอร์ และสีขาว หรือจะให้เป็นทางการหน่อย ก็อาจจะเลือกสีที่กลมกลืนกั บผิว อย่างสีกรมท่า สีฟ้า สีม่วง หรือสี
เทา เพราะการเลือกโทนสีนี้จะช่วยให้ชุดและผิว ดูโดเด่นขึ้นค่า สีที่ควรหลีกเลี่ยง คือสีที่ฉูดฉาด หรือสว่างเกินไป เช่น
สีแดง สีเหลือง หรือสีที่ดูสว่างมากๆ
ผิวขาวเหลือง
สำหรับสาวๆผิวสีนี้ถือว่าโชคดีมากค่ะ เพราะการเลือกสีชุดไม่ยากมากนัก เพราะสามารถใส่ได้ทั้งสีเข้มและสี
อ่อน สีที่ควรหลีกเลี่ยง สีเทา ที่เขียวหม่นๆ สีครีม สีเบจ สีนู๊ด เพราะอาจจะทำให้ผิวเราดูซีด กว่าเดิมได้ค่ะ
ผิวขาวอมชมพู
เป็นผิวที่ดูมีสุขภาพดี และสามารถเลือกใส่เสื้อผ้าได้ง่าย และเข้าได้หมดกับทุกสี พูดง่ายๆก็คือ ใครผิวสีนี้
สามารถเลือกแต่ง ตัวได้หลากหลายโทนสีค่า แต่ถ้าอยากดูโดดเด่นและดูดี ขึ้น แนะนำให้เลือกสีอ่อนๆ สดใสๆ ยิ่งถ้า
เป็นสีพาสเทลก็จะยิ่งทำให้ดูโดดเด่นขึ้นมาก
ผิวขาวซีด
สำหรับสาวผิวขาวซีด แนะนำให้เลือกชุดสีเข้มๆไว้ ก่อน ให้ดูตัดกับสีผิว เพราะจะช่วยให้ผิวของเราดูเข้มขึ้น
เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำตาลไหม้ หรือสีเขียวเข้มก็ได้ค่ะ สีที่ควรหลีกเลี่ยง คือสีที่หม่นๆ อย่างสีม่วงหรือสีเทาค่ะ เพราะ
ด้วยสีผิวที่ขาวซีดอยู่แล้ว มันจะทำให้ดูกลมกลืนทำให้ดู ซีดกว่าเดิมไม่สดใส แนะนำสาวๆผิวสีนี้ให้ออกกำลังกาย และ
ลองอาบแดดบ้างเป็นครั้งคราว จะทำให้ผิวดูมีสุขภาพดีขึ้น ค่ะ
ผิวสีน้ำผึ้งหรือผิวสองสี
ใครสีผิวนี้บอกเลยว่า จะดูเป็นสาวที่มีความเซ็กซี่ การเลือกสีเสื้อผ้าก็ไม่มีอะไรยาก แค่เพิ่มความโดดเด่นให้กับ
สีผิวเราไปอีกหน่อยก็สวยแล้ว ค่ะ เช่น สีชมพูอมส้ม สีชมพูอมม่วง สีฟ้าอมเขียว สีที่ควรหลีกเลี่ยง ก็คือสีนีออน และสี
เข้มๆ ตุ่นๆ อย่างสีกรมท่า น้ำตาล หรือเทา เพราะมันจะทำให้ผิวดูหมองคล้ำขึ้นนั่นเอง
ใบความรู้ที่ 8 เรื่อง การลบรอยเปื้อน
หน่วยที่ 2 เรื่อง การดูแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การลบรอยเปื้อน
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การลบรอยเปื้อน

1.รอยเปื้อนชอล์คเขียนผ้า

นำผ้าที่เปื้อนไปแช่ในน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำผสมผงซักฟอก ก่อนนำผ้าไปซัก โดยเน้นขยี้ตามแนวรอยเปื้อนจนกว่ารอย


จะออก หรือโรยผงซักฟอกทิ้งไว้ตามแนวรอยเปื้อนก่อนนำผ้าไปซัก

2.คราบจากเตารีดไหม้

ให้นำหัวหอมไปถูบริเวณที่มีคราบ ทิ้งไว้ซักพักแล้วล้างน้ำออก

3.น้ำผลไม้, น้ำมันพืช

นำผ้าที่เปื้อนไปขึงให้ตึงบนปากกะละมัง เทน้ำเดือดลงบนรอยเปื้อน แล้วจึงนำผ้าไปซัก

4.รอยเปื้อนน้ำส้มสายชู

ผสมแอมโมเนีย ๑ ช้อนชา ในน้ำ ๒ ถ้วย (ครึ่งลิตร) แล้วนำผ้าไปแช่ ๒-๓ นาที ล้างออกแล้วซักตามปกติ

5.คราบน้ำชา

รีบเทน้ำเดือดลงบนรอยเปื้อนบนผ้าที่เพิ่งเปื้อนจนรอยจางลง จากนั้นนำไปซักในน้ำอุ่นกับสบู่ ถ้ายังไม่ออกให้ใช้น้ำยา


ฟอกขาวเช็ด แล้วจึงนำไปซัก

6.รอยเปื้อนกาว

ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดที่รอยเปื้อน นำมาแช่ในน้ำเย็น แล้วซักตามปกติ

7.รอยเปื้อนกาแฟ

ใช้แป้งข้าวเจ้าถูบริเวณรอยเปื้อน แล้วจึงนำไปซักตามปกติ

8.รอยเปื้อนน้ำหมึก

ก่อนซักให้นำเกลือป่นโรยตรงรอยเปื้อน แล้วบีบน้ำมะนาวลงไปให้ชุ่ม ผึ่งแดดไว้ครึ่งวัน จึงค่อยนำไปซัก

9.รอยเปื้อนช็อกโกแลต

รีบนำผ้าที่เปื้อนไปแช่น้ำอุ่นทันทีที่เปื้อน อาจใช้น้ำยาขจัดคราบช่วยด้วย จากนั้นนำไปซักตามปกติ


10.รอยเปื้อนเลือด

นำนมข้นหวานทาบริเวณรอยเปื้อน ทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำไปขยี้น้ำออก

11.รอยเปื้อนคราบเลือดจางๆ (คราบเก่า)

ใช้เบกกิ้งโซดาผสมน้ำสักเล็กน้อย จนข้น นำไปถูเบาๆ ตรงรอยเปื้อน เมื่อแห้งจึงปัดฝุ่นออก

12.รอยเปื้อนคราบเลือดฝังแน่น

ใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำเย็นที่ผสมเกลือจนชุ่ม ถูเบาๆ จนรอยค่อยๆ จางลง แล้วใช้น้ำเปล่าถูอีกครั้ง สุดท้ายใช้ทิชชูซับน้ำให้


แห้ง

13.เปื้อนครีม เนย น้ำมัน

นำแป้งฝุ่นทาตัวมาโรย ใช้กระดาษทิชชู หรือกระดาษบางอื่นๆ วางทับ นำเตารีดที่ร้อนพอสมควร วางทับบนกระดาษ


จนแป้งดูดคราบมันออกหมด จึงนำไปซัก

14.รอยเปื้อนสนิม

นำผ้ามาชุบน้ำให้เปียกก่อน บีบน้ำมะนาวลงไปบนรอยเปื้อนทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงนำไปซักตามปกติ

15.ผ้าขาวที่ออกสีเหลือง

ใช้เปลือกไข่ป่นละเอียด ใส่ในกะละมังซักผ้า แช่ทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงซักตามปกติ

16.ผ้าขึ้นรา (เล็กน้อย)

นำผ้าไปซักในน้ำสบู่ร้อนๆ หรือบีบมะนาวลงไปตรงที่มีราขึ้น แล้วแช่ผ้าไว้ในผงซักฟอกสักครู่ แล้วจึงซักผ้าตามปกติ

17.รอยเปื้อนยาแดง

เช็ดรอยเปื้อนด้วยแอมโมเนีย หรือซักด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำ

18.รอยเปื้อนยาทาเล็บ

ซับที่รอยเปื้อนด้วยน้ำยาล้างเล็บ และเช็ดด้วยผ้าที่สะอาดจนรอยเปื้อนจางลง (ควรลองหยดน้ำยาทาเล็บลงผ้าก่อน)

19.รอยเปื้อนยางกล้วย

ใช้มะนาวที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ ถูตรงรอยเปื้อนที่เป็นคราบดำแล้วรีบนำมาซักทันที
20.รอยเปื้อนลิปสติก

ใช้ มันเปลวหมูทาตรงรอยเปื้อน แล้วจึงซักในน้ำสบู่ร้อนๆ หรือใช้ผงซักฟอกโรยตรงรอยเปื้อน แล้วขยี้ จากนั้นจึงซัก


ตามปกติ หรือใช้วาสลินถูตรงรอยเปื้อน แล้วนำไปซักตามปกตินำผ้าที่เปื้อนไปแช่ในน้ำผสมเกลือทิ้งไว้ ๑ คืน จะทำ
ให้รอยลิปสติกหายไป

21.รอยเปื้อนดินสอ

ใช้ยาสีฟันป้ายลงบนรอยดินสอแล้วขยี้

22.รอยเปื้อนปากกาลูกลื่น

ใช้ฟองน้ำชุบแอลกอฮอล์เช็ดจนรอยจางลง แล้วจึงนำไปซัก

23.รอยเปื้อนหมากฝรั่ง

ขูดยางหมากฝรั่งออกด้วยสันมีดเบา แล้วใช้น้ำแข็งถูเพื่อให้ยางนั้นแข็งตัว แล้วค่อยๆ แกะออก จากนั้นใช้สำลีชุบ


แอลกอฮอล์เช็ด นำไปซักในน้ำสบู่อ่อน

24.คราบเหงื่อไคล

ซักด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย หรือน้ำมะนาวละลายยาแก้ปวด ๒ เม็ดลงในน้ำ แช่ผ้าไว้สักครู่ จึงค่อยซัก


ตามปกติ

25.คราบโคลน

ปล่อยให้โคลนแห้ง แล้วใช้แปรงปัดออก ซักด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้งจนไม่มีน้ำโคลนออกมา จึงซักด้วยผงซักซอก

26.คราบน้ำตาเทียน

ใช้ก้อนน้ำแข็งขูดเกล็ดเทียนออกให้มากที่สุด จากนั้นจึงใช้กระดาษประกบบริเวณที่เปื้อนทั้ง ๒ ด้าน แล้วใช้เตารีด


อุ่นๆ รีดทับจนน้ำตาเทียนซึมออกมาติดกับกระดาษแล้วจึงนำผ้าไปซักตามปกติ

27.รอยเปื้อนไข่

ผสมน้ำซักผ้ากับน้ำอุ่น แล้วนำผ้าเปื้อนไปซัก

28.รอยเปื้อนขี้ผึ้ง

วางกระดาษซับบนรอยเปื้อนแล้วกดด้วยเตารีดที่ร้อน เปลี่ยนกระดาษจนกระทั่งไขทั้งหมดถูกดูดซับไปหมด สำหรับ


ผ้าเนื้อบางหรือผ้าไหมให้ใช้กระดาษทิชชูซับแทนกระดาษธรรมดา และใช้เตารีดที่ไม่ร้อนมาก
เรื่อง การซักเสื้อผ้า
ใบงาน
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4-5 คน ปฏิบัติการซักผ้าและบันทึกผลในใบงานนี้

เสื้อผ้าที่นักเรียนนำมาซักคือ...............................................................................................................................................
บนเสื้อผ้ามีรอยเปื้อนอะไรบ้าง
................................................................................................................................................................................... .........
วิธีการลบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า คืออะไร
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซักเสื้อผ้า ได้แก่
............................................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
ขั้นตอนการซักเสื้อผ้าได้แก่
......................................................................................................................................................... ...................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
นักเรียนคิดว่า การซักเสื้อผ้าด้วยตนเอง มีผลดีอย่างไร
............................................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................................................................................
นักเรียนประสบปัญหาอะไรบ้าง ในการทำกิจกรรมนี้ และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร
................................................................................................................................................................................... .........
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ..............................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
.
ชื่อ.............................................................สกุล..............................................เลขที.่ ...................ชัน้
............./.............
ใบความรู้ เรื่อง การซักเสื้อผ้า
หน่วยที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การซักเสื้อผ้า
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การซัก คือ การทำให้สิ่งสกปรก ได้แก่ เหงื่อไคล ฝุ่นละออง คราบสกปรกต่างๆ หลุดออกจากเสื้อผ้า


โดยใช้สารช่วยทำความสะอาด เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง สารฟอกขาวสารเหล่านี้จะช่วยให้การซักผ้า สะดวก
ไม่ต้องขยี้มาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องซักผ้าช่วยผ่อนแรงในการซักอีกอย่างหนึ่งด้วย
1. ไม่ควรทิ้งผ้าสกปรกไว้นานเกินไป เพราะจะทำให้ซักยาก
2. ตรวจรอยเปื้อน กำจัดรอยเปื้อนต่างหากถ้าเปื้อนไม่มาก สามารถซักออกหรือลบออกได้ง่ายให้ปฏิบัติทันที
แล้วนำไปซัก ถ้าเป็นรอยเปื้อนที่เปื้อนมากซักหรือลบยากให้แยกออกไปเพื่อกำจัดรอยเปื้อนต่างหาก
3. ตรวจรอยชำรุด ถ้าชำรุดเล็กน้อย เช่น กระดุมหลุด ชายกระโปรงหลุด ควรซ่อมทันทีแล้วจึงนำไปซัก ถ้า
ชำรุดมาก เช่น ขาด ก็แยกเพื่อนำไปซ่อมแซมตามวิธีที่เหมาะสม
4. เสื้อ กระโปรง กางเกง ที่มีกระเป๋า ควรตรวจดูว่ามีสิ่งใดตกค้างอยู่บ้าง เช่น ผ้าเช็ดหน้า ธนบัตรหรือ
กระดาษเช็ดหน้า เก็บออกให้หมด เพราะถ้าเปียกน้ำจะเสียทั้งของและเสื้อผ้า
5. แยกผ้าสีตกซักต่างหาก ถ้าไม่แน่ใจว่าสีตกหรือไม่ ลองซักด้านใน เช่น สาบก่อน
6. แยกผ้าสกปรกน้อยออกจากผ้าสกปรกมาก แยกเสื้อออกจากกระโปรง และกางเกง
7. แยกผ้าสีออกจากผ้าขาว แล้วแยกซักคนละพวก
วิธีซักผ้าด้วยมือ ควรปฏิบัติดังนี้
๑. ใส่ผงซักฟอกลงในน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับผ้าหรือตามคำแนะนำของผู้ผลิตคนให้ผงซักฟอกละลายทั่วกัน
๒. แช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาที เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาบ้าง
๓. ซัก ขยี้ หรือใช้แปรงซักผ้า แปรงส่วนที่สกปรกมากกว่าเช่น คอเสื้อ ขอบข้อมือ ปกเสื้อ
๔. ซักผ้าในน้ำใสสะอาด ล้างผงซักฟอกออกให้หมด เปลี่ยนน้ำ ๒ – ๓ ครั้งอาจใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มผสมในน้ำสุดท้ายที่
ใช้ล้างผ้าก็ได้
ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
๑. แยกผ้าสี และผ้าขาวออกจากกัน
๒.ซักผ้าในน้ำสะอาด ๑ ครั้ง
๓.ใส่ผงซักฟอกลงในกะละมังประมาณ๑ ช้อนโต๊ะ แล้วจึงใส่น้ำประมาณ ๑ ขันใหญ่ต่อเสื้อนักเรียน ๑ ตัว คนให้
ผงซักฟอกละลายกระจายทั่ว นำเสื้อนักเรียนลงแช่ทิ้งไว้ในน้ำผสมผงซักฟอกประมาณ ๑๕ นาที
๔. ขยี้หรือใช้แปรงถูที่คอ แขนเสื้อ กระเป๋าและทั้งตัวให้สะอาด บีบน้ำออก ไม่ควรบิด
๕.ซักผ้าในน้ำสะอาด ๒-๓ ครั้ง ให้หมดคราบฟองผงซักฟอก
๖.นำเสื้อขึ้นตากโดยกลับตะเข็บเสียก่อนแล้วใส่ไม้แขวน แขวนไว้ในที่ร่ม ลมพัดผ่าน
ใบความรู้ เรื่อง การซักเสื้อผ้า
หน่วยที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การซักเสื้อผ้า
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การรีดเสื้อผ้า

การรีดผ้าให้เรียบมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ความร้อน แรงกด และความชื้น (น้ำ) ซึ่งจะต้องดูแลให้


เหมาะสมกับผ้า ผ้าที่รีดแล้วจึงจะเรียบ สวย วิธีรีดผ้ามีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
1. พรมน้ำผ้าที่จะรีดตามลักษณะของเส้นใยที่ต้องการความชื้นมากหรือน้อย จัดเตรียมอุปกรณ์ในการรีดผ้าให้สะดวก
ต่อการใช้
2. เตรียมเตารีด ปรับอุณหภูมิของเตารีดให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าตามตัวเลขหรือตัวหนังสือที่กำหนดไว้ที่เตารีด
ทดลองความร้อนด้วยการรีดที่ด้านในของเสื้อผ้า เช่น สาบ ก่อนรีดลงบนตัวเสื้อ
3. ใช้วิธีรีดที่ถูกต้องตามส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้า เช่น รีดบริเวณส่วนที่เป็นสาบ ขอบเอว รีดปกเสื้อบริเวณด้านหลัง
ด้านหน้า ระวังอย่าให้ย่น
4. รีดแขนเสื้อทั้งสองข้าง ไม่ให้มีรอยสันแขน
5. รีดแขนเสื้อทั้งสองข้าง ไม่ให้มีรอยสันแขน
6. ผ้าที่ทอจากเส้นใยสังเคราะห์ หรือเส้นใยผสม ควรรีดแต่น้อย เฉพาะตะเข็บหรือส่วนที่ยับ
7. ควรรีดตามความยาวของเส้นใย เพราะถ้ารีดตามขวางเส้นใย ผ้าจะยืดเสียรูปทรงเสื้อผ้า
8. ปิดสวิตช์เตารีดเมื่อรีดเสร็จและถอดปลั๊ก ช่วงนี้ความร้อนที่เตารีดยังมีอยู่ เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ควรรีด
ปลอกหมอน หรือผ้าเช็ดหน้าเพิ่มได้

หมายเหตุ ผ้าประเภทที่ไม่ต้องรีด

1. เสื้อผ้าประเภทผ้ายืด ผ้าอัดพรีท ผ้าใยสังเคราะห์แท้


2. ชุดชั้นใน
3. ผ้าเช็ดตัว รองเท้าผ้าใบ
4. มุ้ง ผ้าห่ม ผ้าม่านบางชนิด

ลำดับขั้นตอนการรีดเสื้อผ้า

1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการรีดเสื้อผ้าได้

2. ปฏิบัติการรีดเสื้อผ้านักเรียนได้ถูกต้อง

3. เก็บอุปกรณ์ในการรีดเสื้อผ้าได้เรียบร้อย

วัสดุและอุปกรณ์

1. น้ำสำหรับพรมผ้า 2.เสื้อที่ต้องการรีด 3.ที่พรมน้ำ

4.ที่รองรีด 5.เตารีด 6.ไม้แขวนเสื้อ


ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1.พรมน้ำให้ทั่วตัวเสื้อ ไม่ต้องเปียก

2. เตรียมที่รองรีด

3.เตรียมเตารีด ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับเสื้อผ้าที่จะรีด

4. รีดส่วนที่เป็นสาบเสื้อ ขอบเอวเสื้อ

5. รีดปกเสื้อด้านหลัง ด้านหน้า ระวังอย่าให้ย่น

6. รีดตัวเสื้อด้านหน้า

7. รีดตัวเสื้อด้านหลัง

8. รีดแขนเสื้อทั้งสองข้างไม่ให้มีรอยสันแขน

9. ใส่ไม้แขวนเสื้อ จัดให้เรียบร้อย

การเก็บรักษาเสื้อผ้า

เสื้อผ้าที่ซักทำความสะอาดหรือรีดแล้ว ควรจัดเก็บให้เป็นระเบียบ อาจใส่ตู้เสื้อผ้า หรือวางบนชั้นที่มี

ผ้าม่านกั้น เพื่อรักษาเสื้อผ้าให้สะอาด น่าใช้ หยิบได้สะดวก และมีความเป็นระเบียบ วิธีการเก็บรักษาเสื้อผ้าทำ

ได้ดังนี้

1. เก็บเสื้อในที่แห้ง สะอาด ปราศจากฝุ่น และปลอดภัยจากแมลง

2. พับและแยกเสื้อผ้าเป็นหมวดหมู่

3. การแขวนเสื้อผ้า ควรใช้ไม้แขวน ไม่ควรแขวนกับตะปูหรือโลหะอื่นๆ

4. เสื้อผ้าประเภทผ้ายืด ไม่ควรเก็บโดยการแขวน ควรพับให้เรียบร้อย

5. เสื้อผ้าที่ใส่ตามฤดูกาล เช่น เสื้อกันหนาว เมื่อหมดเวลาใช้ให้ทำความสะอาดซ่อมแซมให้เรียบร้อย แล้วเก็บใส่กล่อง


หรือคลุมพลาสติกแขวนไว้

6. ถุงเท้าควรเก็บเป็นคู่ๆให้อยู่ด้วยกัน ของใช้เล็กๆน้อยๆ เช่น เนคไท ผ้าพันคอ ผ้าเช็ดหน้าควรมีกล่องเก็บเข้าที่เพื่อ


ความเป็นระเบียบ

7. ควรซ่อมแซมเสื้อผ้าและของใช้ที่ทำด้วยผ้าทันทีที่ชำรุด

8. ใส่ยากันแมลงสาบหรือใส่กระดาษคาร์บอนในตู้เสื้อผ้า
เรื่อง การรีดเสื้อผ้าและการเก็บรักษาเสื้อผ้า
ใบงาน
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4-5 คน ปฏิบัติการซักผ้าและบันทึกผลในใบงานนี้

เสื้อผ้าที่นักเรียนนำมารีดคือ.......................................................................................................................... .....................
ขั้นตอนการรีดผ้า
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
..................................................................................................................................................................... .......................
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
การเก็บรักษาเสื้อผ้าหลังจากการรีดแล้วคือ
.............................................................................................................................. ..............................................................
............................................................................................................................................................................................
นักเรียนคิดว่า การรีดเสื้อผ้าด้วยตนเอง มีผลดีอย่างไร
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
นักเรียนประสบปัญหาอะไรบ้าง ในการทำกิจกรรมนี้ และแก้ปัญหาอย่างไร
............................................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
นักเรียนคิดว่า การซักเสื้อผ้าด้วยตนเอง มีผลดีอย่างไร
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................. ...............................................................
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ชื่อ.............................................................สกุล..............................................เลขที.่ ...................ชัน้
............./.............
ใบความรู้ เรื่อง การซ่อมแซมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
หน่วยที่ 2 เรื่อง การดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การซ่อมแซมเสื้อผ้า
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สายวัดตัว
เป็นผ้าอาบน้ำยาเคมีกันยืด มีหน่วยวัดความยาว 2 ด้าน คือเป็น
นิ้ว ยาว 60 นิ้วด้านหนึ่ง และเป็นเซนติเมตร ยาว 150
เซนติเมตรด้านหนึ่ง ส่วนปลายทั้งสองข้างหุ้มด้วยโลหะ
ใช้วัดตัวเพื่อทราบขนาดสัดส่วนของบุคคลและสร้าง
แบบเสื้อผ้า
ไม้บรรทัด
มีทั้งชนิดสั้นและชนิดยาว ความยาวอย่างต่ำ 12 นิ้วฟุต ทำด้วย
พลาสติกใสเพราะสามารถโค้งงอได้ ตอนปลายมีรูสำหรับแขวน
ใช้ขีดเส้นเมื่อสร้างแบบเสื้อ

กรรไกร
มี 2 ชนิด คือ กรรไกรตัดกระดาษและกรรไกรตัดผ้า ควรเลือก
กรรไกรที่มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว จับเหมาะมือ มีความคม
ตั้งแต่โคนถึงปลายกรรไกรเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน กรรไกรตัด
กระดาษ และ กรรไกรตัดผ้าแยกกันใช้โดยเด็ดขาด เพราะกรรไกร
ตัดผ้าหากนำไปตัดกระดาษ หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ผ้าจะทำให้กรรไกร
ทื่อ นำไปตัดผ้าไม่ขาดการเก็บรักษา ควรเก็บในกล่องใส่เครื่องมือ
ตัดเย็บระวังอย่าให้กรรไกรตกหรือหล่นเพราะจะทำให้ความคม
ของกรรไกรเสีย ตัดผ้าไม่ขาด
ที่เลาะผ้า
มีด้ามจับเป็นไม้หรือพลาสติก ตรงปลายที่เลาะทำด้วยโลหะ
เคลือบไม่เป็นสนิม มีปลอกสวมเพื่อป้องกันอันตรายจาก
ปลายแหลม ใช้เลาะรอยเย็บผ้าที่ไม่ต้องการ หรือเมื่อมีการแก้ไข
ตะเข็บ หรือใช้เลาะด้ายเนา

เข็มมือ
หลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ขนาดเล็กสุดเบอร์
10, 11 ขนาดกลางเบอร์ 9 และขนาดใหญ่เบอร์ 8
เข็มสอยใช้ขนาดเล็กค่อนข้างยาวมีปลายแหลมคม คือ
เบอร์ 10, 11 เข็มเนาใช้เบอร์ 8, 9
เข็มจักร
มีหลายขนาด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อผ้าและเส้นด้าย เข็ม
จักรขนาดเล็กที่สุด เบอร์ 9, 11 ขนาดกลางเบอร์ 13, 14 และ
ขนาดใหญ่เบอร์ 16, 18
เข็มจักรเบอร์ 9, 11 ใช้เย็บผ้าเนื้อบาง เบอร์ 13, 14
ใช้เย็บผ้าเนื้อไม่หนามากเกินไป ส่วนเบอร์ 16, 18ใช้
เย็บผ้าที่มีเนื้อหนา
ชอล์กเขียนผ้า
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสีของผ้าที่จะตัด ก่อนใช้ควร
เหลาให้สันของชอล์กบาง เพื่อความเม่นยำในการเขียนหรือ
ท าเครื่องหมายใช้เขียนหรือทำเครื่องหมายบนผ้า

เข็มหมุด
มีหลายขนาด เลือกใช้ให้เหมาะกับเนื้อผ้า
แต่ละชนิด เลือกที่ปลายแหลมคมไม่เป็นสนิม หัวหุ้มด้วย
พลาสติกใสใช้กลัดผ้าให้ติดกันเพื่อสะดวกในการสอยหรือเนา

ด้ายเย็บผ้า
มีหลายชนิด หลายสี และหลายขนาด ควรเลือกให้เหมาะกับผ้า เข็ม
และงานที่ทำใช้เย็บผ้าทัว่ ๆ ไป คือเบอร์ 60
เรื่อง การซ่อมแซมเสื้อผ้า
ใบงาน
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ชื่อสมาชิกกลุ่ม
1…………………………………………………………………………………………………………………….ชั้น..................เลขที่......................
2…………………………………………………………………………………………………………………….ชั้น..................เลขที่......................
3…………………………………………………………………………………………………………………….ชั้น..................เลขที่......................
4…………………………………………………………………………………………………………………….ชั้น..................เลขที่......................
5…………………………………………………………………………………………………………………….ชั้น..................เลขที่......................
คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปการซ่อมแซมเสื้อผ้า และเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมเสื้อผ้าเป็นแผนที่ความคิด
(Mind MAPPING) ใช้เวลาประมาณ 10 นาที

ชื่อ.............................................................สกุล..............................................เลขที.่ ...................ชัน้
............./.............
ใบความรู้ เรื่อง การเย็บด้วยมือ
หน่วยที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การเย็บด้วยมือ
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ภาพที่ ๓ ภาพที่ ๔
ตะเข็บเนาไม่เท่า คือ การเนาทีใ่ ช้ฝีเข็มถี่และฝีเข็มห่างสลับกัน โดยฝีเข็มห่างจะอยู่ดา้ นถูก ส่วนฝีเข็มถี่จะอยู่ด้าน
ผิด การที่ฝีเข็มถี่อยู่ข้างล่างนัน้ จะช่วยทำให้เนื้อผ้าแน่น ส่วนฝีเข็มห่างซึ่งอยู่ด้านบนจะช่วยให้เห็นเส้นด้ายยาว ทำให้เป็นแนว
ที่จะเย็บจักรตามได้งา่ ย โดยทั่วไปฝีเข็มห่างที่ใช้จะมีความห่างประมาณ ๑ เซนติเมตร และฝีเข็มถี่จะมีความห่างประมาณ
๐.๕ เซนติเมตร

ภาพที่ ๓ ภาพที่ ๔
ตะเข็บเนาเฉียง คือการเนาฝีเข็มทแยงไปตามเนื้อผ้า โดยใช้เนาผ้าสองชิ้นให้อยู่ด้วยกัน เช่น ผ้า
ชั้นนอกกับผ้ารองปกด้านในสาบเสื้อผ้าที่จะเย็บและมีความหนาพอสมควร
ตะเข็บด้น
ตะเข็บด้นตะลุย เป็นฝีเข็มเย็บด้วยมือ ทำได้ง่าย คือแทงเข็ม ลง – ขึ้น บนผ้าทีละหลายๆ ฝีเข็ม แล้วจึงดึงเข็มขึ้นครั้งหนึ่ง
ตะเข็บด้นที่ใช้แทนตะเข็บจักรเย็บควรใช้ฝีเข็มถี่ๆ ใช้ด้นเพื่อเย็บจีบรูด เย็บยึดผ้าหลายๆ
ตะเข็บด้นถอยหลัง ลักษณะฝีเข็มด้านถูกจะเหมือนเย็บด้วยจักร แต่ด้านผิดจะมีเส้นด้ายข้ามโยงซ้อนกัน คือ เย็บ
ไป ๑ ฝีเข็ม ฝีเข็มต่อไปจะแทงเข็มย้อนหลังมาตรงฝีเข็มครั้งแรก และจะไม่มีเนื้อผ้าระหว่างฝีเข็มโดยทั่วไปใช้เย็บด้วยฝีเข็ม
ถี่ๆ ฝีเข็มห่างที่สุดจะห่างประมาณ ๑/๘ นิ้วตะเข็บด้นถอยหลัง ใช้เย็บแทนตะเข็บที่เย็บด้วยจักรได้
ตะเข็บด้นถอยหลังแบบดำน้ำ เป็นการเย็บด้นถอยหลังอีกวิธีหนึ่ง ฝีเข็มถอยหลังจะถี่มากเพียง ๑-๒เส้นด้ายของผ้าที่เย็บ
เมื่อดึงด้ายลงใต้ผา้ ให้ตึงจะเห็นฝีเข็มเป็นจุดตรึงเท่านั้น ความยาวของ ฝีเข็มเดินหน้า จะขึน้ อยู่กับชนิดของผ้าและบริเวณที่
เย็บนั้นๆ ตะเข็บด้นถอยหลังแบบดำน้ำ ใช้เย็บตะเข็บเพื่อยึดสาบทางด้านถูกและตะเข็บติดซิปต่างๆ
ตะเข็บสอย
เป็นส่วนประกอบของตะเข็บเย็บอื่นๆบนเสื้อผ้า เช่น ปกเสื้อ สาบตัวเสื้อ ปลายแขนเสื้อ ชายเสือ้ ชายกระโปรง ชาย
กางเกง ขอบกระโปรง ขอบกางเกง หรือสอยริมผ้าเพื่อกันลุ่ย เป็นต้นตะเข็บสอยที่ใช้ทั่วไปในงานตัดเย็บ ได้แก่
ตะเข็บสอยซ่อนด้าย คือ การใช้ฝีเข็มแทงสอดเข็มเข้าไปในสันทบผ้าพับริม ดันเข็มไปด้านหน้าประมาณ ๑/๔ นิ้ว
หรือ ๑/๘ นิ้ว ดึงเข็มขึ้นแทงสะกิดบนผ้าผืนล่างเพียง ๑-๒ เส้นด้าย แล้วสอดด้ายเข้าทางด้านผิดจะซ่อนในสันทบมองไม่เห็น
ใช้สอยริมผ้าที่พบั ริมโดยทัว่ ไป เช่น ชายเสื้อ ชายกระโปรง และส่วนอื่นๆของเสื้อผ้าอีกหลายแห่ง
ตะเข็บสอยพันริม
ตะเข็บสอยพันริม คือ การสอยที่มองเห็นด้ายทางด้านผิดใช้วิธีแทงเข็มสะกิดเส้นด้าย ๒ เส้นบนผืนผ้าแล้ว
แทงเข็มยึดริมผ้า ก้าวฝีเข็มไปสะกิดด้ายทีผ่ ืนผ้าต่อไป จะไม่ซ่อนด้ายด้านผิดตะเข็บสอยพันริม เป็นตะเข็บที่มฝี ีเข็มแข็งแรง
ทนทานนิยมใช้สอยชายเสื้อ
ตะเข็บสอยหักมุมไขว้กลับ
ตะเข็บสอยหักมุมไขว้กลับ คือ ตะเข็บสอยอย่างหลวมแต่ยึดอยู่ตามแนวได้แน่นอน ตะเข็บด้านที่ผิด
จะเห็นเป็นเส้นด้ายเย็บไขว้ โดยแนวสอยติดริมผ้าพับชายนั้นเส้นด้ายจะไขว้แบบขวาทับซ้าย ส่วนด้านที่สอยติด
ผืนผ้านั้น เส้นด้ายจะไขว้แบบซ้ายทับขวา ใช้สอยชายกระโปรงหรือสอยพันริมเสื้อผ้าและส่วนประกอบของเสื้ อ
เช่น สาบเสื้อ เป็นต้น
ใบความรู้ เรื่อง การปะผ้า
หน่วยที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาเสื้อผ้าและการแต่งกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การปะผ้า
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง21101 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การปะผ้า เป็นการซ่อมแซมเสื้อผ้าบริเวณที่เนื้อผ้าขาดหายไป เช่น รอยไหม้จากเตารีด ผ้าถูกเกี่ยวขาดเป็น


ปากฉลาม โดยการนำเอาผ้าชิ้นใหม่มาปิดซ้อนไว้ด้านในตรงรอยขาดแล้วเย็บสอยเพื่อพยุงเนื้อผ้าเดิมให้คงรูปและมี
ความทนทานในการใช้งานมากขึ้น การปะผ้ามีขั้นตอนดังต่อไปนี้

You might also like