You are on page 1of 4

1

ใบกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น


กลุ่มที่..............
1. สมาชิกในกลุ่ม 1.....................................................................ชั้น.......................เลขที.่ ....................
2.....................................................................ชั้น.......................เลขที.่ .......................
3.....................................................................ชั้น.......................เลขที่........................
4.....................................................................ชั้น.......................เลขที่........................
5.....................................................................ชั้น.......................เลขที่........................
6.....................................................................ชั้น.......................เลขที่........................
2. จุดประสงค์
1. อธิบายการแยกสารโดยวิธีการสกัดเย็นได้ (K)
2. สกัดน้ำมันมะพร้าวด้วยวิธีการสกัดเย็นได้ (P)
3. มีความรอบคอบ ซื่อสัตย์ และทำงานเป็นทีมได้ (A)
คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาวิธีการทดลอง ทำการทดลอง และเขียนใบกิจกรรมให้เรียบร้อย
อุปกรณ์ และสารเคมี (ให้แต่ละกลุ่มเตรียมมาเอง)
1. เนื้อมะพร้าวแก่ขูด 1 กิโลกรัม
2. ผ้าขาวบาง 1 ผืน
3. กะละมังพลาสติก สำหรับคั้น 1 ใบ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร)
4. ภาชนะใส ใส่น้ำกะทิ ปริมาตร 1.5- 2 ลิตร พร้อมฝาปิด (เช่น เหยือกน้ำใส หรือ กล่องพลาสติกใส
ทรงสูง ขวดน้ำ เป็นต้น)
5. กระชอนกรองน้ำกะทิ 1 อัน
6. ขวดใสขนาดเล็ก หรือภาชนะสำหรับเก็บน้ำมันมะพร้าว ปริมาตร 100 มิลลิลิตร
การสกัดเย็น
น้ำมันสกัดเย็น คือ การแยกน้ำมันออกจากเมล็ด หัว ใบ ดอก ผล เปลือก ลำต้นของพืช โดยไม่ใช้
ความร้อนและสารเคมี ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจึงได้น้ำมันที่ใสบริสุทธิ์ และคงคุณค่าและสรรพคุณของพืชชนิดนั้น
อยู่ด้วย
น้ำมันสกัดเย็นอุดมไปด้วสารต้านอนุมูลอิสระ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ซึ่งกรดไขมันชนิด
นี้ช่วยลดไขมันพวกไตรกลีเซอไรด์ และลดคอเลสเตอรอลตัวไม่ดี
น้ำมันสกัดเย็นใช้เป็นยากันมานานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ไทยเรารับเข้ามาทางหลักอายุรเวท จุดประสงค์
แรกที่นำน้ำมันสกัดเย็นมาใช้เพื่อการรักษา ปัจจุบันนำมาประยุกต์ใช้ในหลายด้าน ได้แก่ เป็น ยาสามัญประจำ
บ้าน เครื่องสำอาง และบริโภค

เรียบเรียงโดย นางจิรฐา เจริญสลุง โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี


2

การสกัดเย็นคือการแยกส่วนของน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของพืชอย่าง เมล็ด หัว ใบ ดอก ผล และ


เปลือก โดยการบีบอัดที่อุณหภูมิปรกติโดยพืชที่นำมาสกัดเย็นจะต้องไม่ผ่านความร้อนหรือสารเคมีมาก่อนแล้วตั้ง
ทิ้งไว้จนตกตะกอน จากนั้นจึงกรองเอาเฉพาะส่วนของน้ำมันที่บริสุทธิ์มาใช้ น้ำมันที่ได้จะใส สะอาด ไม่มีกลิ่นหืน
และยังคงสภาพวิตามินต่างๆ ตามธรรมชาติไว้อย่างครบถ้วน ผลิตภัณฑ์หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง แชมพู
ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูลบางอย่างก็ทำมาจากน้ำมันสกัดเย็น พืชที่นำมาสกัดเย็นจะเป็น
พวกมะพร้าว งา จมูกข้าว และมะกรูด ไม่ควรเก็บน้ำมันสกัดเย็นไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
วิธีการทดลอง
1. นำเนื้อมะพร้าวแก่ ขูดเองหรือซื้อมา ใช้เนื้อมะพร้าว 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน คั้นด้วยน้ำอุ่น อุณหภูมิ
ประมาณ 60 องศาเซลเซียส
2. แล้วกรองใส่ภาชนะหมัก ภาชนะใส เพื่อมองเห็นการแยกชั้น ของกะทิที่จะเป็นน้ำมัน ปิดฝาตั้งวาง
ไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ
3. ใช้เวลา 9-18 ชั่วโมง จะมองเห็นการแยกชั้นชัดเจน (ได้น้ำมันช้าหรือเร็ว อยู่ที่อากาศ และมะพร้าว
แก่หรือไม่ด้วย และทุกขั้นตอนต้องสะอาดหมด) คือมองจากชั้นบน 1. ชั้นฝ้า 2.ชั้นน้ำมันใส 3.ชั้นครีมโปรตีน
กะทิ 4.ชั้นน้ำหมัก 5.ชั้น โปรตีนกัม (ถ้าครบ 18 ชม.ลืมกรองหรือไม่ว่างกรองก็ไม่เป็นไร วางไว้ที่เดิมตัว
น้ำมันจะคงที่ไม่เป็นไรแต่อย่าให้นานเกินไป ) 25 องศาเซลเซียสเพราะจะทำให้เป็นไข

เรียบเรียงโดย นางจิรฐา เจริญสลุง โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี


3

4. เมื่อแยกชั้นดีแล้วเตรียมภาชนะกรอง โดยใช้ผ้าขาวบางพับ 6-8 ชั้น มากชั้นน้ำมันยิ่งใส วางบน


กระชอนหรือที่กรองมีภาชนะรองด้านใต้

(ถ้าหมัก 9 ชั่วโมงแล้วไม่เกิดน้ำมันใส ให้ตักครีมกะทิชั้นบนทั้งหมดเคี่ยวไฟอ่อนแบบโบราณ ก็จะได้น้ำมันใส


คุณประโยชน์เหมือนกันแต่กลิ่นหอมกว่า สกัดเย็น)
5. เปิดฝ้าตักน้ำมันใสใส่บนผ้าขาวบาง ในส่วนที่คิดว่าไม่มีน้ำติดขึ้นมานี้เมื่อกรองเสร็จ ใช้ได้ทันที แยก
ใส่ขวดไว้ต่างหาก ส่วนที่เหลือ ชั้น 3 บนน้ำหมักก็ตักขึ้นกรอง ชึ่งจะตักง่ายจะแยกจากน้ำชัดเจน หรือจะตัก
พร้อมกันครั้งเดียวก็ได้ 3 ชั้นกรอง ห้ามคนหรือบี้ครีมปล่อยให้ค่อยๆหยดเอง เพราะจะทำให้น้ำมันขุ่น (น้ำหมัก
ใสออกขุ่น และโปรตีนกัมนอนก้น ทิ้งไปหรือทำปุ๋ย หรือทำน้ำส้มสายชู )เมื่อน้ำมันหยดหมดแล้ว น้ำมันที่ได้ ทำ
การระเหยเอาน้ำออกจากน้ำมันที่มีติดมา ได้ 2 วิธี
6. นำน้ำมันใส่ตู้เย็น เมื่อน้ำมันแข็ง นำออกมา แล้วเจาะหรือดันก้อนน้ำมันขึ้นจะเห็นน้ำให้เอาทิ้งไป
ถ้าน้ำมันมีน้ำปนอยู่จะขึ้นราดำ และเหม็นตึๆถึงแม้จะใส่ตู้เย็นก็ตาม ไม่ควรเก็บไว้หลายวันใช้ให้หมดเร็ว ถ้า
เก็บไว้นานต้องทำวิธีที่ 2
7. ทำการระเหยน้ำเพื่อไม่ให้น้ำมันเหม็นไม่ขึ้นรา และเก็บได้นาน โดย ตั้งหม้อน้ำร้อนให้เดือดเบาๆ
วางตะแกรง (หรือใช้หม้อซึ้ง) แล้วนำน้ำมันที่ได้วางบนใช้ช้อนหรือทัพพีคนจะมีฟองอากาศเดือดปุดๆ คนไปมา
จนไม่มีฟองอากาศปุด ก็ยกขึ้น ตั้งวางไว้ สักพักน้ำมันใช้ได้ทันที

เรียบเรียงโดย นางจิรฐา เจริญสลุง โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี


4

แต่ถ้าจะเก็บไว้นานๆให้ตั้งวางไว้ประมาณ 7 วัน น้ำมันที่ระเหยน้ำหมดสามารถเก็บได้นานมากกว่า 1 ปี ได้


ปกติคงที่ จนแน่ใจว่าน้ำระเหยออกหมดแล้วโดยตั้งวางจนใส ค่อยบรรจุขวด

ผลการทดลอง
จากมะพร้าวขูด จำนวน ..................กรัม ได้น้ำมันมะพร้าว จำนวน.............................มิลลิลิตร

เรียบเรียงโดย นางจิรฐา เจริญสลุง โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี

You might also like