You are on page 1of 13

112 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ.

ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

ระบบป้ องกันฟ้ าผ่าภายนอกสิ่ งปลูกสร้าง


External Lightning Protection Systems
มงคล ปุษยตานนท์ บงกช สุขอนันต์ *
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อ.วารินชาราบ จ.อุบลราชธานี 34190

Mongkol Pusayatanont Bongkoj Sookananta*


Department of Electrical and Electronic Engineering, Faculty of Engineering, Ubon Ratchathani
University, Warinchamrap, Ubon Ratchathani 34190
E-mail: enbongso@ubu.ac.th

บทคัดย่อ understanding of the protection system. Information


บทความนี้ ท บทวนวรรณกรรมเกี่ ย วกั บ ระบบ on their operations, effectiveness and standards are
ป้องกันฟ้าผ่าภายนอกสิง่ ก่อสร้าง โดยเน้ นที่แท่งตัวนา provided for benefit in selection of further use of the
อากาศ ซึง่ ติดตัง้ บนส่วนยอดของสิง่ ปลูกสร้างและมีหลาย lightning protection system. Although, many types of
ชนิ ด แตกต่ า งกัน ได้แ ก่ แท่ ง แฟรงกลิน กรงฟาราเดย์ lightning protection system are not accepted by Thai
แท่งอีเอสอี แท่งดีเอเอส และแท่งเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อให้ and international standards, they are utilized
เข้าใจหลักการทางานของระบบป้องกันฟ้าผ่า บทความนี้ worldwide and give high risk of losses to the sites of
จึง อธิบ ายการเกิด ฟ้ าผ่ า หลัก การท างานพื้น ฐานและ installation.
ข้อ มู ล ประสิท ธิภ าพของระบบป้ องกัน แต่ ล ะประเภท Keywords: Lightning occurrence, lightning
รวมถึง การรับรองจากมาตรฐานต่างๆ เพื่อประโยชน์ใน protection system, franklin rod, faraday cage, early
การเลือกใช้ระบบป้องกันฟ้าผ่า เนื่องจากระบบป้องกัน steamer emission
ฟ้ า ผ่ า ห ล า ย ป ร ะ เ ภ ท ไ ม่ ไ ด้ รั บ ก า ร ย อ ม รั บ จ า ก
มาตรฐานสากลและมาตรฐานประเทศไทย แต่ มีการใช้ 1. บทนา
อย่างแพร่ห ลาย ทาให้มีความเสี่ยงสูงต่ อการเกิดความ ฟ้าผ่า เป็ นปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ อย่างไม่แน่ นอน มี
เสียหาย เนื่องจากป้องกันสิง่ ปลูกสร้างจากฟ้าผ่าไม่ได้จริง ความซับซ้อน และทานายไม่ได้ [1] จึงเป็ นการยากที่จะ
คาหลัก การเกิดฟ้าผ่ า ระบบป้องกันฟ้าผ่า แท่งแฟรง- ป้ อ งกัน ไม่ ใ ห้เ กิด ขึ้น อีก ทัง้ ในป จั จุ บ ัน ตึก สูง มีจ านวน
กลิน กรงฟาราเดย์ แท่งอีเอสอี เพิม่ ขึน้ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในตึกหรือทีอ่ ยู่อาศัยมี
มูลค่าเพิม่ มากขึน้ ดังนัน้ ระบบป้องกันอันตรายทีเ่ กิดจาก
Abstract ฟ้าผ่าจึงมีความสาคัญมากขึน้ ด้วย ความเสีย่ งต่อการถูก
This article reviews lightning protection system ฟ้ าผ่ า หมายถึ ง ความเสี่ ย งต่ อ การสู ญ เสีย ชี วิ ต และ
outside structures, especially the air terminal which ทรัพย์สนิ ทัง้ นี้อนั ตรายจากฟ้าผ่า เกิดจาก 3 สาเหตุ
is installed at the top of the protected structure. ได้แก่ ความร้อน แรงกลและกระแสไฟฟ้า โดยความร้อน
There are several types of lightning air terminal เป็ นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ แรงกลเป็ นเหตุ ให้เกิดระเบิดได้
including Franklin rod, Faraday cage, Early Streamer และกระแสไฟฟ้าเป็ นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและชีวติ
Emission (ESE), Dissipation Array System (DAS) ตัวอย่างความสูญเสียเนื่องจากการถูกฟ้าผ่าเห็นได้ชดั เจน
and Semi-conductor Lightning Eliminator (SLE). เช่น กรณีคนไทยถูกฟ้าผ่าถึงแก่ชีวติ ที่แกรนด์แคนยอน
Lightning occurrence is given for better [2] และกรณี บ้า นหรู ร าคาหลายล้ า นปอนด์ ข องเซอร์
บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 113

ริชาร์ด แบรนสัน มหาเศรษฐีชาวอัง กฤษ ที่สร้างอยู่บน อากาศหรือทีน่ ิยมเรียกว่า แท่งล่อฟ้าเป็ นแท่งตัวนาทีต่ ิด


เกาะส่วนตัวกลางทะเลแคริบเบียน ดังเห็นจากรูปที่ 1 ใน ตัง้ อยู่สว่ นบนของสิง่ ก่อสร้าง ส่วนใหญ่ทาหน้าทีล่ ่อให้เกิด
ระหว่างทีเ่ กิดพายุลมแรง มีฟ้าผ่าลงมาทีบ่ า้ นทาให้เกิดไฟ ฟ้าผ่าลงมาที่แท่งตัวนา แทนที่จะผ่าลงที่สงิ่ ปลูกสร้างที่
ไหม้ลุกลามจนเสียหายหมดทัง้ หลัง ดัง เห็นจากรูปที่ 2 ต้องการป้องกัน สายตัวนาทาหน้ าที่เชื่อมต่อแท่งล่อฟ้า
ทัง้ นี้เหตุ การณ์ ท่ีเกิดขึ้น ยังเสี่ย งต่ อการสูญเสียถึงชีวิต และแท่งอิเล็กโทรดซึ่งฝงั ลงดิน เพื่อนากระแสไฟฟ้าจาก
เนื่องจากเกิดเหตุในช่วงเวลากลางคืน และมีผู้สงู อายุอยู่ ฟ้าผ่าลงไปทีด่ นิ โดยไม่ทาความเสียหายต่อสิง่ ปลูกสร้าง
ในบ้านด้วย ความหลากหลายของระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอก
สิง่ ปลูก สร้า งนี้ อยู่ท่ีแท่ง ตัว นาอากาศ ซึ่ง มีหลายแบบ
ได้แก่ แท่ง แฟรงกลิน (franklin rod) กรงฟาราเดย์
(faraday cage) แท่งอีเอสอี (early steamer emission-
enhanced ionizing air terminal) แท่งเซมิคอนดักเตอร์
(semi-conductor lightning eliminator) และแท่งดีเอเอส
รูปที่ 1 บ้านของเซอร์รชิ าร์ด แบรนสัน ก่อนถูกฟ้าผ่า [3] (dissipation array system) เป็ นต้น โดยความรูใ้ นเรื่อง
เกี่ ย วกับ ระบบป้ องกัน แต่ ล ะชนิ ด มี ค วามส าคัญ มาก
เนื่องจากบางชนิดไม่ได้รบั การรับรองจากมาตรฐานให้ใช้
งานตามที่ผู้ผลิต กาหนด ซึ่งพบว่า การเลือ กใช้อุป กรณ์
ของเจ้าของสิง่ ปลูกสร้างหรือผูอ้ อกแบบ มีแนวโน้ม เลือก
ตามคาแนะนาของผูข้ ายทีม่ เี ทคนิคต่างๆ ในการนาเสนอ
และสร้างความเชื่อมัน่ [5] ในประเทศไทย พบว่ามีการใช้
รูปที่ 2 บ้านของเซอร์รชิ าร์ด แบรนสัน ขณะเกิดเพลิงไม้
อุปกรณ์ ท่ไี ม่ได้รบั การรับรองมาตรฐานอย่างแพร่หลาย
เนื่องจากถูกฟ้าผ่า [3]
และการใช้งานอุปกรณ์เหล่านัน้ ก็เป็ นเหตุให้มคี วามเสีย่ ง
ระบบป้องกันฟ้าผ่าได้ถูกพัฒนาขึน้ ตัง้ แต่ช่วงปลาย สูงต่อการเกิดความไม่สะดวกและสูญเสียถึงชีวติ ได้
คริสตศตวรรษที่ 18 และพัฒนาต่อมาจนถึงปจั จุบนั มี บทความนี้ อ ธิบ ายการเกิด ฟ้ าผ่ า เพื่อ เป็ น พื้น ฐาน
การออกแบบติดตัง้ ทีเ่ ป็ นมาตรฐาน โดยการป้องกันฟ้าผ่า ความเข้าใจแนวทางการทางานของระบบป้องกันฟ้าผ่า
สิง่ ปลูกสร้าง แบ่งออกได้เป็ นสองส่วน คือระบบป้องกัน ทบทวนวรรณกรรมทีเ่ กีย่ วกับระบบซึง่ มีความแตกต่างกัน
ฟ้ าผ่ า ภายนอก ซึ่ ง มี ไ ว้ เ พื่ อ ป้ องกัน ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ความ ทีแ่ ท่งตัวนาอากาศ ประสิทธิภาพการทางานระบบแต่ละ
เสียหายต่อสิง่ ปลูกสร้างจากการถูกฟ้าผ่าลงโดยตรง และ ชนิด และข้อแนะนาจากมาตรฐานต่างๆ ทัวโลก ่ รวมถึง
ระบบป้ องกัน ฟ้ าผ่ า ภายใน ซึ่ง มีไ ว้เ พื่อ ป้ องกัน ความ มาตรฐานที่ใช้ในประเทศไทยด้วย เพื่อเป็ นข้อมูลความรู้
เสียหายของอุปกรณ์ ท่อี ยู่ภายในสิง่ ปลูกสร้างอันเป็ นผล แก่ผสู้ นใจและวิศวกรในการเลือกใช้ระบบการป้องกันได้
เนื่องจากการเกิดฟ้าผ่าภายนอก โดยการป้องกันฟ้าผ่า อย่างถูกต้องเหมาะสม
ภายในสามารถทาได้โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิรจ์ (surge
protection) และต่อระบบกราวน์ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ตาม 2. การเกิ ดฟ้ าผ่า
คาแนะนาในมาตรฐาน “การป้องกันบ้านและองค์ประกอบ ฟ้าผ่ามักเกิดขึ้นในเวลาที่มีพายุ ฟ้าคะนอง ฝนตก
จากฟ้ าผ่ า ” [4] ของสมาคมวิศ วกรรมไฟฟ้ าและ และลมแรง ฟ้าผ่าก่อให้เกิดเสียงดังกึกก้อง และบางครัง้
อิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) จะเห็นฟ้าแลบเกิดขึน้ ก่อนฟ้าผ่า เนื่องจากฟ้าผ่านัน้ เกิด
บทความนี้ ท บทวนวรรณกรรมที่ เ กี่ ย วกั บ การ จาก ความต่างศักย์ระหว่างเมฆและพืน้ ดินทีม่ มี ากพอทา
้ปองกันฟ้าผ่าภายนอกสิง่ ปลูกสร้าง ซึ่ง มีส่วนประกอบ ให้เกิดเบรกดาวน์ได้ในทีส่ ดุ
หลัก ของระบบป้ องกัน ได้ แ ก่ แท่ ง ตั ว น าอากาศ (air การเกิดฟ้าผ่า มีสแ่ี บบคือ
terminal) สายตัวนาและแท่งอิเล็กโทรด โดยแท่งตัวนา  เกิดภายในก้อนเมฆ
 เกิดระหว่างก้อนเมฆ
114 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

 เกิดระหว่างก้อนเมฆและอากาศ 3. หลักการทางานของระบบป้ องกันฟ้ าผ่า


 เกิดระหว่างก้อนเมฆและพืน้ ดิน ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกสิง่ ปลูกสร้างสามารถ
การเกิดฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆเป็ นปรากฏการณ์ท่ี แยกออกเป็ นสองประเภทใหญ่ได้แก่
เกิดขึน้ มากทีส่ ุด เป็ นสัดส่วนมากกว่า 50% ของการเกิด  แบบดัง้ เดิม (conventional system) หมาย
ทัง้ หมด แต่ ฟ้ าผ่ า แบบที่ท าให้ เ กิ ด ความเสีย หายต่ อ รวมถึง ระบบที่ใช้แท่งแฟรงกลิน และกรงฟารา
ทรัพย์สนิ และชีวิตของมนุ ษย์ เป็ น การเกิดระหว่างก้อน เดย์
เมฆและพืน้ ดิน มีสดั ส่วนการเกิดขึน้ ประมาณ 45% โดย  ไม่ใ ช่แ บบดัง้ เดิม (unconventional system)
ก้อนเมฆทีท่ าให้เกิดฟ้าผ่าได้จะต้องมีขนาดความลึก 3 ถึง หมายรวมถึง ระบบทัง้ หมดที่ไม่ใช้แท่งแฟรง-
4 กิโลเมตร ยิง่ มีขนาดใหญ่มากก็จะสามารถเกิดฟ้าผ่าได้ กลินหรือกรงฟาราเดย์ เช่น ระบบทีใ่ ช้แท่งอีเอส
บ่อยมากขึน้ ลักษณะการเกิดลาประจุ เริม่ (step-leader) อี แท่งเซมิคอนดักเตอร์ และแท่งดีเอเอส
ของการเกิดฟ้าผ่า ในแบบทีเ่ กิดขึน้ บ่อยทีส่ ุดคือ ลาประจุ แต่ละชนิดมีลกั ษณะและการทางานดังต่อไปนี้
ลบที่ก้อนเมฆเคลื่อนทีล่ งสู่พ้ืนดินซึง่ มีประจุเป็ นบวก ดัง
รูปที่ 3 เมื่อประจุลบนัน้ อยู่เหนือพื้นดินประมาณ 45.7 3.1 แท่งแฟรงกลิ น
เมตร หรือ 150 ฟุต จึงจะทาให้เกิดฟ้าผ่าลงทีว่ ตั ถุ [6-7] แท่งแฟรงกลินเป็ นแท่งตัวนาทีท่ าหน้าทีส่ กัดจับฟ้า
ลาประจุก ารเริ่ม ของการเกิดฟ้ าผ่า อาจเกิด ได้ใ น ทีผ่ ่าลงมา จากนัน้ ประจุไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านลงไปทีด่ นิ โดย
ลักษณะอื่นอีก ได้แก่ การเคลื่อนที่ของลาประจุบวกจาก ผ่า นสายตัวน าและแท่ งอิเ ล็ก โทรดซึ่ง ฝงั อยู่ใ นดิน แท่ ง
เมฆลงมา การเคลื่อนที่ของลาประจุลบขึ้นจากพื้นโลก แฟรงกลินเป็ นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันไฟฟ้า ซึง่ ถูกติด
และการเคลื่อนทีข่ องลาประจุบวกขึน้ จากพื้นโลก ซึง่ การ ตัง้ อยู่ส่วนบนสุดของสิ่งก่อสร้างที่ต้องการป้ องกัน โดย
เคลื่อนทีข่ น้ึ ของลาประจุเป็ นกรณีทเ่ี กิดขึน้ น้อยมาก แท่งตัวนานี้มปี ลายแหลมดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 แท่งแฟรงกลินปลายแหลม

ภายหลังมีการค้นพบว่า แท่งตัวนาปลายทู่ ดังรูปที่


EE-UBU 5 สามารถมีประสิทธิภาพในการสกัดจับฟ้าผ่าได้ดกี ว่า
รูปที่ 3 การคายประจุจากเมฆลงสู่พน้ื ดิน แท่งปลายแหลม [8- 9] จากการทดลองฟ้าผ่าในธรรมชาติ
บนยอดเขาในนิวเมกซิโก [10-11] พบว่าแท่งแฟรงกลินป
วัตถุ ปลายแหลมหรือสิง่ ที่อยู่สูงขึน้ มาจากพื้นโลก ลายทู่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7 – 25.4 มิลลิเมตร
และสิง่ อื่นรอบข้าง จะเริม่ คายประจุทาให้อากาศแตกตัว ถูก ฟ้ าผ่ า ในช่ ว งเวลาเจ็ด ปี ข องการทดลอง แต่ แ ท่ ง แฟ
เป็ นอิออน เมื่อความเข้มสนามไฟฟ้ามีค่าเกิน 1.5 – 2 รงกลินปลายแหลมและแท่งอีเอสอีไม่ถูกฟ้าผ่าเลย
กิโ ลโวลต์ต่ อ เมตร [6] เรีย กว่ า เกิด จุด คายประจุ (point
discharge)
ฟ้าผ่าเกิดขึน้ เมื่อมีความต่างศักย์ ระหว่างจุดเริม่ กับ
พืน้ โลก มากกว่า 10 เมกะโวลต์ ทาให้เกิดกระแสไฟฟ้า
ได้ระหว่าง 20 – 400 กิโลแอมแปร์ และอุณหภูมมิ ากถึง
30,000 เคลวิน [4, 6] รูปที่ 5 แท่งแฟรงกลินปลายทู่

จากการศึกษาจาลองการทางาน ของแท่งแฟรงกลิน
บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 115

ทีม่ วี งแหวนล้อมรอบ ตามระบุในมาตรฐานของเซอร์เบีย


JUS N. B4. 811 ดังรูปที่ 6 พบว่ามีประสิทธิภาพการ
ทางานได้ดีกว่าแท่งแฟรงกลินธรรมดา ที่ระยะความสูง
r = 150
จากพืน้ ดินเท่ากัน โดยเฉพาะกับตึกทีม่ คี วามกว้างแคบๆ
เมื่อเทียบกับความสูงของตึก [12]
รูปที่ 8 พืน้ ทีก่ ารป้องกันแบบทรงกลมกลิง้

จุด ที่ฟ้ าผ่ า ลงมา ขึ้น อยู่ก ับ ระยะห่ า งของลาประจุ


เริม่ ต้น และวัตถุ ดังเห็นได้จากผลการทดลองใน [13] โดย
การแปรผันความสูงของแท่งล่อฟ้า ระยะของแท่งตัวนาที่
มีแรงดันสูง (ใช้แทนลาประจุเริม่ ต้นในธรรมชาติ) เหนือ
รูปที่ 6 แท่งแฟรงกลินทีม่ วี งแหวนล้อมรอบ[12] พืน้ ดิน และระยะห่างในแนวแกนนอน ของแท่งล่อฟ้าและ
ในช่วงก่อนปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เชื่อว่า แท่งตัวนาที่มแี รงดัน ซึง่ การแปรผันระยะนี้เป็ นผลทาให้
พืน้ ทีป่ ้ องกันหลังติดตัง้ มีลกั ษณะเป็ นรูปกรวยคว่าทามุ ม เกิดฟ้าผ่าแตกต่างกันสามลักษณะคือ ผ่าลงพืน้ ผ่าลงแท่ง
45 องศา จากยอดของแท่งแฟรงกลินลงมาถึงพืน้ ดิน ดัง ล่อฟ้า และผ่าลงทัง้ พื้นและแท่งล่อฟ้า การเคลื่อนทีข่ อง
รูปที่ 7 โดยเรียกพื้นที่ป้องกันนี้ว่า zone หรือ cone of ประจุ ล งที่จุ ด ต่ า งๆ กัน สามารถอธิบ ายได้โ ดยการใช้
protection [6] โมเดลเรขาคณิตไฟฟ้า (electrogeometric model) [14]
และความสัมพันธ์ของระยะห่างระหว่างลาประจุเริ่มต้น
กับวัตถุทฟ่ี ้ าผ่าลงสามารถคานวณได้จาก [14-15]
D = kI m (1)
เมื่อ D เป็ นระยะห่างระหว่างลาประจุเริม่ ต้นและวัตถุ มี
หน่วยเป็ นเมตร
I เป็ นค่ากระแสทีเ่ กิดจากฟ้าผ่า มีหน่ วยเป็ น กิโลแอมแปร์
k และ m เป็ นค่าคงที่ ซึง่ มีค่าต่างกันไปจากผลการวิจยั
ของนักวิจยั หลายท่าน ตัวอย่างเช่น สมการของ E. R.
รูปที่ 7 พืน้ ทีก่ ารป้องกันรูปกรวย Love [14, 16] ทีน่ ิยมใช้กนั อย่างแพร่หลาย
D = 10I0.65 (2)
ภายหลังพบว่า สิง่ ปลูกสร้างมักถูกฟ้าผ่าลงด้านข้าง
จากสมการที่ (2) เมื่อกระแสมีค่า 10 กิโลแอมแปร์
แทนที่จะผ่าลงส่วนยอด แนวความคิดเรื่องพื้นที่ป้องกัน
D มีค่าประมาณ 150 ฟุต
หลังการติดตัง้ จึงได้ถูกอธิบายใหม่ในแบบ ลูกบอลกลิ้ง
จากแนวคิดว่าฟ้าผ่าลงวัตถุทอ่ี ยู่ในแนวรัศมี D ของ
(rolling ball) หรือทรงกลมกลิง้ (rolling sphere) ซึง่ หาก
ทรงกลมกลิง้ จึงมีความเป็ นไปได้ทฟ่ี ้ าผ่าลงบนสิง่ ก่อสร้าง
นึกภาพลูก บอลขนาดใหญ่ พิงอยู่ก ับสิ่งปลูกสร้า ง และ
ทีม่ ลี ่อฟ้าปกั อยู่ ดังรูปที่ 9 ทัง้ นี้ขน้ึ อยู่กบั ตาแหน่งของการ
พืน้ ทีป่ ้ องกันอยู่ใต้ลูกบอลนัน้ ดังรูปที่ 8 ค่ารัศมีของลูก
เกิดลาประจุเริม่ ด้วย
บอลทีน่ ิยมใช้คอื 150 ฟุต ซึง่ พืน้ ที่ป้องกันตามแนวคิดนี้
เล็กว่าแนวความคิดรูปกรวยแบบเดิม จะเห็นว่าขอบตึก
บริเวณดาดฟ้าของตึกสูงที่อยู่ในเงาของวงกลมในรูปที่ 8
ไม่อยู่ในพืน้ ที่ป้องกัน เป็ นจุดเสีย่ งถูกฟ้าผ่าได้มากกว่า
บริเวณอื่น
116 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

โครงสร้างกรงฟาราเดย์ตามคาแนะนาในข้างต้น มี
ค่าใช้จ่ายสูง ดังนัน้ จึงนิยมใช้แท่งแฟรงกลินร่วมด้วย เพื่อ
เพิม่ ขีดความสามารถในการป้องกัน
D
แต่ หากสิง่ ก่อ สร้า งนัน้ สร้า งจากวัสดุท่ีเป็ น ฉนวน
เช่น พลาสติก แต่ไม่หนาหรือมีความเป็ นฉนวนดีมากพอ
ฟ้าจะผ่าลงจุดทีล่ งดินได้ง่ายทีส่ ดุ ภายในสิง่ ก่อสร้าง [15]

3.3 แท่งล่อฟ้ าอีเอสอี


แท่ ง ล่ อ ฟ้ าอีเ อสอี เป็ น แท่ ง ล่ อ ฟ้ าแบบเริ่ม ปล่ อ ย
รูปที่ 9 การเกิดฟ้าผ่าลงสิง่ ก่อสร้างตามหลักคิดแบบทรงกลมกลิง้ ประจุก่อน มีราคาตามท้องตลาดสูงกว่าแท่งแฟรงกลินได้
มากถึงกว่าร้อยเท่า โดยผูผ้ ลิตอ้างว่าแท่งล่อฟ้าชนิดนี้มี
3.2 กรงฟาราเดย์
ประสิท ธิภ าพการป้ องกัน มากกว่ า แท่ ง แฟรงกลิน แต่
กรงฟาราเดย์เป็ นแท่งตัวนาหรือโลหะต่ อเชื่อมกัน อย่างไรก็ตามไม่มขี อ้ มูลหรือทฤษฎีใดๆ สนับสนุ นว่าเป็ น
เป็ นตาข่าย ล้อมรอบวัตถุ หรือสิง่ ก่อสร้าง เป็ นผลทาให้ เช่นนัน้ จริงตามอ้าง [21]
เกิด ฉนวนไฟฟ้ าสถิต การป้อ งกันโดยใช้ก รงฟาราเดย์
หลักการทางานของแท่งอีเอสอีคอื เมื่อมีลาประจุเริม่
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็ นวิธตี าข่าย (mesh method) จากก้อนเมฆลงมา ทาให้สนามไฟฟ้ามีค่าสูงเพิม่ ขึน้ แท่ง
โดยทัวไปอาคารที
่ ่มีโ ครงสร้างเป็ นคอนกรีตเสริม อีเอสอี จะปล่อยประจุออกมาและสร้างลาประจุขน้ึ มาได้
เหล็ก ก็เ ข้า ข่า ยกรงฟาราเดย์ แต่ ค วามถี่ห่ า งของโครง อย่างรวดเร็วทาให้เกิดฟ้าผ่าลงทีแ่ ท่งอีเอสอีแทนการลงที่
เหล็ก ก็มีผ ลต่ อ การป้ องกัน มีข้ อ มู ล วิ จ ัย เรื่อ งการลด จุดอื่นซึง่ ไม่มปี ระจุล่อ
สนามแม่เหล็กไฟฟ้าว่าขนาดช่องตาข่ายของกรงควรมี แท่งอีเอสอีมอี ยู่ 3 ชนิด [1] คือ
ขนาดเล็ ก กว่ า หนึ่ ง ในแปดของความยาวคลื่ น ของ
 แท่งที่มสี ารกัมมันตรังสีท่บี รรจุไว้ท่สี ่วนปลาย
สัญญาณกระแสทีเ่ กิดจากฟ้าผ่า [17] จะทาให้การเปลีย่ น
ของแท่งล่อฟ้า
ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอกกรงไม่มผี ลต่อสิง่ ที่อยู่
ในกรงตาข่าย ดังนัน้ การใช้กรงฟาราเดย์ขนาดเท่านี้จะ  แท่งทีม่ อี ุปกรณ์ไฟฟ้าปล่อยแรงดันอิมพัลส์เพื่อ
ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ภายในสิง่ ปลูกสร้างด้วย สร้างประจุ
จากการศึ ก ษาพบความยาวคลื่ น ของสัญ ญาณ  แท่งทีป่ ล่อยลาแสงเลเซอร์
กระแสจากฟ้าผ่าแปรผันตัง้ แต่ 3.2 ถึง 195 เซนติเมตร แท่ ง อีเอสอีท่นี ิ ย มใช้ก ัน มากที่สุด คือ ชนิ ด ที่มีสาร
แต่สญ ั ญาณทีม่ คี วามยาวคลื่นน้อยกว่า 5 เซนติเมตร พบ กัมมันตรังสีบรรจุไว้ท่สี ่วนปลายของแท่งล่อฟ้า ดังรูปที่
ได้ น้ อ ยมาก สัญ ญาณส่ ว นมากที่พ บมีค วามยาวคลื่น 10
ประมาณ 11 เซนติเมตร [18]
โดยทัวไปขนาดช่
่ องตาข่ายของกรงฟาราเดย์ เพื่อ
การป้องกันฟ้าผ่าด้านนอกสิง่ ปลูกสร้าง กาหนดจากการ
ใช้ประสบการณ์มากกว่าการคานวณทีแ่ น่ นอน อย่างไรก็
ตาม มาตรฐานสากล IEC61024 และมาตรฐานไทย
EIT2009-53 ระบุว่า ตาข่ายป้องกันขนาด 55 ตาราง
เมตร มีประสิทธิภาพป้องกันร้อยละ 98 สามารถป้องกัน
ฟ้า ผ่า ที่มีร ัศ มีท รงกลมกลิ้ง 20 เมตรได้ และตาข่า ย
ป้องกันขนาด 1515 ตารางเมตร มีประสิทธิภาพป้องกัน
ร้อยละ 90 สามารถป้องกันฟ้าผ่าทีม่ รี ศั มีทรงกลมกลิง้ 45 รูปที่ 10 แท่งล่อฟ้าอีเอสอี
เมตร [19-20]
บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 117

สารกัม มัน ตรังสีท่สี ามารถใช้บรรจุไ ว้ท่ีส่ว นปลาย ได้จ ริง ในธรรมชาติ เนื่ องจากเวลาในการเปลี่ย นแปลง
ของแท่งล่อฟ้าได้แก่ เรเดียม226 โคบอล60 อเมอริเซียม สนามไฟฟ้ าในห้อ งปฏิบตั ิก ารและในธรรมชาติมีความ
241 คริบตอน85 และโพโลเนียม210 โดยสารทีม่ คี วาม แตกต่างกัน และการจาลองการเพิม่ ขึน้ ของสนามไฟฟ้าใน
แรงจากัดที่ 1 มิลลิคูรี ไม่เป็ นอันตรายต่อมนุ ษย์ [6] ใน ห้องปฏิบตั กิ ารไม่ตรงกับสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริงในธรรมชาติ [29]
สภาวะปกติสารทีใ่ ช้กบั แท่งอีเอสอีทาให้ออิ อนในอากาศ นอกจากนั น้ มีก ารพบว่ า เกิด ฟ้ าผ่ า ลงบนสิ่ง ปลู ก
แตกตัวได้ในรัศมี 1 – 3 เซนติเมตร [1] สร้างที่อยู่ภายในพื้นที่ป้องกันของแท่งอีเอสอีหลายแห่ง
แท่ ง ล่ อ ฟ้ าชนิ ด นี้ ถู ก ออกแบบและเริ่ ม ผลิ ต ใน ด้ ว ยกัน เช่ น เหตุ ฟ้ าผ่ า ลงที่ ผ้ า สัญ ลัก ษณ์ ข องพระ
ประเทศฝรังเศส ่ จากนัน้ ได้ถูกผลิตในประเทศสเปนและ สันตปาปา (papal crest) ในกรุงโรม เมื่อปี คศ. 1976 ทัง้
ออสเตรเลียด้วย โดยจากร่า งที่ย่นื ขอรับ รองมาตรฐาน ที่มีการป้องกันจากแท่งล่อฟ้าที่มสี ารกัมมันตรังสีสูง 22
NFPA ระบุ ว่า แท่ง อีเอสอีมีรศั มีการป้องกัน มากกว่ า เมตรสองแท่งติดตัง้ อยู่ [30] เหตุ การณ์ ฟ้าผ่าในบริเวณ
แท่งแฟรงกลิน [22] เป็ นระยะ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ในปี ค.ศ. 2011 [31] ฟ้าผ่าลงบน
L  106 T (3) หลังคาอพาร์ตเมนต์หลายแห่งในมาเลเซีย ในช่วงปี ค.ศ.

เมื่อ L คือระยะที่แท่งล่อฟาแบบเริม่ ปล่อยประจุก่อน 1997 – 2003 [32] ฟ้าผ่าลงหลังคาของรอยัลสลังงอคลับ
และเป็ น ระยะป้ องกัน ที่ค รอบคลุ ม พื้น ที่ ม ากกว่ า พื้น ที่ ในปี ค.ศ. 2001 อาคารในโรงเรี ย นสอนศาสนาใน
ป้องกันของแท่งแฟรงกลิน มาเลเซียในปี คศ. 2002 [5] ฟ้าผ่ามัสยิตปุตราจายา ในปี
T คือความต่างของเวลาทีแ่ ท่งแฟรงกลินและแท่ง ค.ศ. 2005 [33] ศูนย์กฬี ามหาวิทยาลัยอิสลามเมละกา ปี
อีเอสอีเริม่ ปล่อยประจุ มีหน่วยเป็ นวินาที ค.ศ. 2012 [34] และอาคารอีกกว่า 20 แห่งในมาเลเซีย
ตัวอย่างการทดสอบในห้องปฏิบตั ิการโดยใช้แท่ง [5, 32, 33, 35]
อีเอสอี Helita Pulsar และแท่งแฟรงกลิน พบแท่งอีเอสอี ผูผ้ ลิตแท่งอีเอสอีของฝรังเศสได้
่ ออกมาตรฐาน NFC
ปล่อยประจุเร็วกว่า 10 – 50 ไมโครวินาที [23] 17-102 แต่ องค์กรทางวิทยาศาสตร์ (INERIS) ของ
ดังนัน้ ระยะทีแ่ ท่งอีเอสอีสามารถล่อให้ฟ้าผ่าลงทีม่ นั ฝรังเศส
่ เองได้แนะนาว่าไม่ควรนามาตรฐานนี้ไปใช้ โดย
ได้ มีค่าเท่ากับ D + L โดย D เป็ นค่ารัศมีทแ่ี ท่งแฟรง- เอ กส า รนี้ ไ ด้ เ ป็ นข้ อ มู ล พื้ น ฐ า น ใ นก า รน า ไ ป ข อ
กลิน ล่ อ ให้ฟ้ าผ่ า ลงได้แ ละค านวณได้จ ากสมการที่ (1) มาตรฐานสากลและมาตรฐานที่ใช้ในประเทศใหญ่ๆ อีก
ทัง้ นี้ มีข้อ มู ลและความเห็น แย้ง เรื่อ งประสิท ธิภ าพการ หลายมาตรฐาน แต่ไม่ผ่านการรับรอง [33] ผู้ผลิตแท่ง
ทางานของแท่งอีเอสอีเป็ นจานวนมาก นักวิทยาศาสตร์ท่ี อี เ อสอี ใ นออสเตรเลี ย ได้ น าเอาวิ ธี ซี วี เ อ็ ม (CVM,
ค้นคว้าเรื่องระบบป้องกันฟ้าผ่าหลายท่าน ไม่สามารถระบุ Collection Volume Method) มาใช้ในการคานวณพืน้ ที่
ได้ว่า แท่งอีเอสอี ทางานได้อย่างทีผ่ ผู้ ลิตกล่าวอ้างไว้จริง ป้ อ งกัน ของแท่ ง อีเ อสอี แทนการใช้วิธีท่ีป รากฏอยู่ ใ น
[24-25] มีผลจากการทดลองพบว่า ความสามารถในการ มาตรฐานสากล (วิธี Air Terminal Placement method)
ล่อฟ้าผ่าของแท่งอีเอสอีไม่แตกต่ างจากแท่งแฟรงกลิน โดยการออกแบบจากการคานวณด้วยวิธีซีวีเอ็ม ทาให้
[26] และจากการทดลองกับ แท่ ง อีเ อสอีแ บบที่ป ล่ อ ย เกิด ความไม่ ป ลอดภัย เนื่ อ งจากการประมาณค่ า และ
แรงดัน อิม พัล ส์พ บว่ า เวลาที่ท าให้เ กิด การเบรกดาวน์ สมมติฐานทีใ่ ช้ในวิธดี งั กล่าวไม่ถูกต้อง [36]
ดีก ว่ าแท่ งแฟรงกลิน เพีย งเล็ก น้ อ ยเท่ า นัน้ [27] แต่ สภาระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ CIGRE
ภายหลัง มีการค้น พบจากการทดลองที่คล้ายกัน ว่ามัน (international council on large electric systems) [37]
ทางานได้ใกล้เคียงกันเมื่อ ประจุเริม่ ก่อตัวอย่างช้าๆ แต่ ซึง่ มีสานักงานกลางอยู่ในประเทศฝรังเศส ่ ได้ให้เหตุผลใน
ท างานได้ดีข้ึน หลัง จากที่ เ กิด ล าประจุ เ ริ่ม มากขึ้น โดย การไม่ ส นั บ สนุ น การใช้ แ ท่ ง อีเ อสอี เนื่ อ งจากทฤษฎี
สนามไฟฟ้าโดยรอบ [28] พื้นฐานการทางานของอีเอสอีไ ม่ถูก ต้องในทางเทคนิ ค
อย่ า งไรก็ต ามการก่ อ ตั ว ของประจุ ใ นธรรมชาติ ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ [23]
เกิดขึน้ ในอัตราช้าเร็วแตกต่างกันออกไป ซึง่ คาดเดาไม่ได้  ถึงแม้อเี อสอีจะสร้างประจุได้เร็วกว่าแท่งแฟรงกลิน
มีขอ้ สรุปจากการทดลองหนึ่งว่า แท่งอีเอสอีทางานได้ดี แต่การเกิดเบรกดาวน์ตอ้ งมีสนามไฟฟ้าเท่ากัน
ตามอ้างในห้องปฏิบตั ิการแต่ไม่สามารถทางานตามอ้าง
118 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

 การสมมติว่าประจุท่สี ร้างขึ้นจากอีเอสอี มีความเร็ว ฟ้ าผ่ า ลงตัว มัน เองหรือ อุ ป กรณ์ ภ ายใต้ ม ัน ได้ [26] แต่
106 เมตรต่ อวินาที ขัดกับข้อมูลที่ได้จากการเกิด อย่ า งไรก็ต ามการต่ อ ลงดินอย่ า งดี ก็ท าให้ม ัน สามารถ
ฟ้าผ่าจริงและจากในห้องปฏิบตั กิ าร ป้องกันหรือลดอันตรายจากการเกิดฟ้าผ่าได้ ในหลักการ
เดียวกันกับระบบทีใ่ ช้แท่งแฟรงกลิน
3.4 แท่งดีเอเอส
Dissipation Array System (DAS) เป็ นอุปกรณ์ท่ี 3.5 แท่งเซมิ คอนดักเตอร์
ออกแบบมาเพื่อ ป้ อ งกัน ไม่ ใ ห้ฟ้ าผ่ า ลง ณ จุ ด ที่ม ัน ติด ความหมา ยตามชื่ อ ในภาษา อั ง กฤษ (semi-
ตัง้ อยู่ ประกอบขึน้ จากแถวตัวนาปลายแหลมหลายๆ แถว conductor lightning eliminator) คือ ตัวลดฟ้าผ่าแบบเซ
ทัว่ ไปตั ว น าปลายแหลมมีลัก ษณะเหมือ นลวดหนาม มิคอนดักเตอร์ มีลกั ษณะดังรูปที่ 12 ถูกคิดค้นขึน้ ใน
ประกอบรวมกันมีลกั ษณะเหมือนโครงร่มดังรูปที่ 11 ใช้ ประเทศจีน เชื่อว่าสามารถลดกระแสจากฟ้าผ่าลงได้ถึง
ติดตัง้ อยู่เหนือ หรือใกล้จุดที่ไม่ต้องการให้เ กิด ฟ้าผ่ าลง ร้อยละ 99 แต่จากการศึกษาทดลองของนักวิทยาศาสตร์
โดยออกแบบจากหลัก การที่ว่ า การเกิด โคโรนาจะลด ไม่ พ บว่ า กระแสจากฟ้ าผ่ า ลดลงและเคยวัด กระแสได้
ความแรงของสนามไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง เมื่อความ มากกว่า 6 กิโลแอมแปร์ในการทดลองครัง้ หนึ่ง [39] จาก
แรงของสนามไฟฟ้าลดลงจึงทาให้ไม่เกิดลาประจุเริม่ ต้น ผลการทดลองจึงชัดเจนว่า แท่งป้องกันนี้ไม่สามารถลด
และเบรกดาวน์ จากก้อ นเมฆ [21-22] โดยดีเอเอสต้อ ง กระแสจากฟ้าผ่าลงจนถึงระดับที่ไม่ เป็ นอันตรายต่ อสิ่ง
สามารถสร้างประจุออกมาให้ได้มากและเร็วเท่ากับทีเ่ กิด ปลูกสร้างและชีวติ ได้
ลาประจุเริม่ จากก้อนเมฆ คือ 5 คูลอมบ์ใน 10 วินาที ซึง่ ทัง้ นี้ มีห ลัก ฐาน ความล้ม เหลวในการใช้แ ท่ ง เซมิ
ต้องใช้ตวั นาทีม่ ปี ลายแหลม 5000 จุด แต่ไม่มหี ลักฐานว่า คอนดักเตอร์ ที่ติด ตัง้ อยู่บนอาคารโอเรียนทัล เพิร์ล ทีวี
ดีเ อเอสปล่ อยประจุ อ อกมาได้มากเพีย งพอในเวลาเร็ว ทาวเวอร์ในเซียงไฮ้ ซึ่งถูกฟ้าผ่าจนเกิดไฟไหม้เสียหาย
ขนาดนัน้ ในปี ค.ศ. 2006 [40]
คุณสมบัติการทางานของดีเอเอสที่ผู้ผลิตอ้างไว้ไม่
เป็ นจริง เนื่องจากมีช่างภาพสามารถจับภาพฟ้าผ่าลงที่
แท่งดีเอเอส ได้หลายครัง้ ภายหลังจึงใช้ช่อื เรียกว่า ซีที
เอส (CTS, Charge Transfer System) [5] การศึกษาและ
รายงานที่ว่า ซีทีเอสทางานได้มีป ระสิท ธิภาพกว่า แท่ ง
แฟรงกลิน ก็เ กิด จากการวิเคราะห์ท่ผี ิดพลาด โดยร่ า ง
มาตรฐาน PAR1576 ที่เ สนอเข้า รับ รองมาตรฐานกับ
IEEE ไม่ได้รบั การรับรอง ในปี ค.ศ. 2004 [38]
รูปที่ 12 แท่งป้องกันฟ้าผ่าแบบเซมิคอนดักเตอร์ [5]
ในช่วงปี ค.ศ. 1989 ถึง 2005 มีการยื่นขอให้รวมซี
ทีเอสในมาตรฐาน NFPA780 ถึงห้าครัง้ แต่ ได้รบั การ 4. มาตรฐานและการรับรองระบบป้ องกันแบบต่างๆ
ปฏิเสธ [33] มาตรฐานทีก่ ล่าวถึงระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกสิง่
ปลูกสร้างกาหนดโดยหน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง สาหรับในแต่
ละประเทศ
มาตรฐานสากลของยุ โ รป ซึ่ ง ก าหนดโดย The
International Electrotechnical Commission (IEC) [41]
มาตรฐานนี้มขี น้ึ ครัง้ แรกที่กรุงลอนดอน ประเทศสหราช
รูปที่ 11 แท่งป้องกันฟ้าผ่าแบบกระจายประจุ
อาณาจัก ร ตัง้ แต่ ปี ค.ศ. 1906 จนถึง ป จั จุ บ ัน ได้ใ ห้
นอกจากนี้ ย ัง มีค วามเห็น และเหตุ ผ ลแย้ง ในทาง มาตรฐานเกีย่ วกับไฟฟ้ามากกว่า 100 มาตรฐาน ทีไ่ ด้รบั
วิท ยาศาสตร์ว่ า แท่ ง ดีเ อเอสไม่ ส ามารถป้ องกัน ไม่ ใ ห้ การยอมรับจากทัวโลก ่ IEC ได้กาหนดมาตรฐาน IEC
บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 119

61024 ในปี ค.ศ.1993 ส าหรับ ใช้ ใ นประเทศที่ ไ ม่ ไ ด้ ให้ติดตัง้ แท่งล่อฟ้าในจุดเสี่ยงเช่นเดียวกับ ที่ระบุรวมใน


ก าหนดมาตรฐานของตนเอง และเป็ น แนวทางในการ มาตรฐาน IEC ด้วย ปี 2007
ทบทวนมาตรฐานในประเทศที่กาหนดมาตรฐานเองด้วย ในประเทศอังกฤษ ใช้มาตรฐาน BS6651 ตัง้ แต่ปี
[22] หลังจากนัน้ มีการทบทวนและออกมาตรฐาน IEC ค.ศ. 1985 มาจนถึงปี ค.ศ. 2008 ได้เริม่ ใช้มาตรฐาน
62305 [33] เพื่อใช้แทน IEC 61024 ในปี ค.ศ. 2006 BS62305 [46] ซึง่ แบ่งออกเป็ นสีส่ ว่ นเหมือนกับมาตรฐาน
ครอบคลุ ม การใช้ตัว นาอากาศแบบดัง้ เดิม และวิธีก าร IEC ได้แก่
คานวณการติดตัง้ (air terminal placement method) ส่วนที่ 1: ข้อกาหนดทัวไป ่ (part 1: general
และระบุให้ตดิ ตัง้ แท่งล่อฟ้าในจุดเสีย่ งดังหลักฐานทีบ่ นั ทึก principles) เป็ นบทนาเข้าสูส่ ว่ นอื่นๆ ของมาตรฐาน
ได้ในประเทศมาเลเซีย คือ ส่วนที่ 2: การบริหารความเสีย่ ง (Part 2: risk
 ยอดแหลมของหลังคา หรือจุดยอดแหลมที่ย่นื management) เป็ นวิธกี ารจัดการความเสีย่ ง ซึง่ ในส่วนนี้
ขึน้ มาจากหลังคา ไม่ได้เน้นที่ความเสียหายต่อสิง่ ปลูกสร้าง แต่เน้นทีค่ วาม
 จุดปลายสันหลังคา เสี่ยงต่ อการเสีย ชีวิต การสูญเสีย การบริก ารสาธารณะ
 มุมหลังคาด้านนอก มรดกทางวัฒนธรรมและ ความสูญเสียด้านเศรษฐศาสตร์
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้มาตรฐาน NFPA780 ส่ว นที่ 3: ความเสีย หายทางกายภาพต่ อ สิ่ง ปลู ก
ซึง่ กาหนดโดย National Fire Protection Association สร้าง และอันตรายต่อชีวติ (part 3: physical damage to
(NFPA) มีเนื้อหาครอบคลุม การใช้ระบบป้องกันแบบ structures and life hazard) กล่าวถึงระดับของการ
ดัง้ เดิม โดยผู้ผลิต แท่ งอีเ อสอี ได้เ สนอ ร่ า งมาตรฐาน ป้องกันฟ้าผ่า สีร่ ะดับ และวิธกี ารคานวณตาแหน่ งที่วาง
NFPA781 สาหรับการใช้แท่ง อีเอสอีใ นระบบป้องกัน แท่งตัวนาอากาศแบบดัง้ เดิม
ฟ้าผ่า ทัง้ นี้รายงานการวิจยั ภายใต้กองทุนของ NFPA ใน ส่วนที่ 4: ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในสิง่
ปี ค.ศ. 1995 มีข้อสรุป ว่า ไม่ มีข้อ มูลเพียงพอในการ ปลูกสร้าง (part 4: electrical and electronic systems
เปรียบเทียบการทางานของอีเอสอีและแท่งแฟรงกลินใน within structures) ครอบคลุมการป้องกันอุปกรณ์และ
การทางานจริงในธรรมชาติ จึง ต้องมีการศึกษาอีก [42] ระบบไฟฟ้าภายในสิง่ ปลูกสร้าง
และ NFPA มีผลการพิจารณา ไม่รบั รองร่างมาตรฐาน ในประเทศมาเลเซี ย เดิ ม ใช้ ม าตรฐาน MS939
NFPA781 [43] ภายหลังเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานที่องิ ตาม IEC เรียกว่า
ในปี ค.ศ. 1995 นักวิทยาศาสตร์จานวน 17 คนซึง่ MS-IEC61024 [5]
เป็ นสมาชิกของคณะกรรมการ การประชุมระบบป้องกัน ในประเทศสิงคโปร์ ใช้มาตรฐาน CP33 ตัง้ แต่ ปี
ฟ้าผ่าสากล (international conference on lightning ค.ศ. 1985 มีการทบทวนออกมาตรฐานในปี ค.ศ. 1996
protection) จาก 15 ประเทศทัวโลก ่ รวมถึง ประเทศ [47]

สหรัฐ อเมริก า อัง กฤษ ญี่ปุ น และอีก 12 ประเทศใน ในประเทศไทย ใช้ ม าตรฐานที่ ป ระกาศใช้ โ ดย
สหภาพยุโรป โดย 14 คนในนี้เป็ นศาสตราจารย์จาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย [48] โดยมาตรฐานทีใ่ ช้
มหาวิ ท ยาลั ย ที่ มี ช่ื อ เสี ย ง มี ห นั ง สื อ ไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ ในประเทศไทย อ้างอิงมาจากมาตรฐาน IEC ซึ่งแบ่ง
หลักการทางานของแท่งอีเอสอี และ ในปี ค.ศ. 2011 เนื้อหาเป็ นสีส่ ว่ นเช่นกัน คือ
มาตรฐาน NFPA ก็ยงั ไม่ครอบคลุมการใช้งานแท่งอีเอสอี  EIT2007-53 มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาค
[44] ที่ 1 ข้อกาหนดทัวไป ่ [49]
ในประเทศออสเตรเลี ย ออกก าหนดมาตรฐาน  EIT2008-53 มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาค
AS/NZS1768 ในปี ค.ศ. 1991 ครอบคลุมการใช้แท่งล่อ ที่ 2 การบริหารความเสีย่ ง [50]
ฟ้าแบบดัง้ เดิม โดยรวมข้อมูลวิธกี ารคานวณแบบซีวเี อ็ม  EIT2009-53 มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาค
ไว้ใ นภาคผนวกด้ว ย แต่ ห ลัง จากออกฉบับ ทบทวนใน ที่ 3 ความเสีย หายทางกายภาพต่ อ สิ่ง ปลู ก
ปลายปี ค.ศ. 2003 วิธซี วี เี อ็มได้ถูกลบออกไป [45] และ สร้าง และอันตรายต่อชีวติ [20]
120 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

 EIT2010-53 มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาค 9 .

ที่ 4 ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในสิง่
ปลูกสร้าง [51]
22 .
โดยในหน้าที่ 5-2 บทที่ 5 ของมาตรฐานภาคที่ 3 X

ระบุไว้ว่า “ตัวนาล่อฟ้าชนิดกัมมันตรังสีไม่ได้รบั อนุ ญาต


ให้ใช้”
44 .

5. กรณี ศึกษา รูปที่ 14 ตาแหน่งทีต่ ดิ ตัง้ ล่อฟ้า และตาแหน่งทีถ่ ูกฟ้าผ่า อาคาร


หอพักอาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยแพทยฯ ม.อบ.
ดังทีไ่ ด้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า ตัวนาล่อฟ้าหลายชนิด
ไม่ได้รบั การรับรองจากมาตรฐานสากลและมาตรฐานของ ระบบล่ อ ฟ้ าแบบอีเ อสอีท่ีใ ช้ ระบุ ม าตรฐาน NFC
ประเทศไทย แต่บางชนิดถูกใช้อย่างแพร่หลาย อย่างเช่น 17-102 ซึง่ เป็ นมาตรฐานของผูผ้ ลิต มีคุณสมบัตปิ ้ องกัน
ภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีจานวนอาคารสิง่ ฟ้าผ่าได้ในรัศมี 60 เมตร ซึง่ มีพน้ื ทีป่ ้ องกันอาคารดังรูปที่
ปลู ก สร้ า งทัง้ หมดประมาณ 60 หลัง อาคารจ านวน 15
มากกว่า 20 หลัง ติดตัง้ ระบบล่อฟ้าแบบอีเอสอี
ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556 อาคารหอพัก แท่งล่อฟ้า
อาจารย์ แ ละบุ ค ลากร วิ ท ยาลั ย แพทยศาสตร์ แ ละ = 60 .
สาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มรี ะบบล่อฟ้า
19.4 .
แบบอีเอสอีติดตัง้ อยู่ ได้ถูกฟ้าผ่า จนหลังคาของอาคาร 15.4 .
ได้รบั ความเสียหาย ดังรูปที่ 13
รูปที่ 15 พืน้ ทีป่ ้ องกันฟ้าผ่า โดยระบบป้องกันแบบอีเอสอี
ทีถ่ ูกติดตัง้ ไว้ท่ี อาคารหอพักอาจารย์และบุคลากร
วิทยาลัยแพทยฯ ม.อบ. ตามมาตรฐานผูผ้ ลิต

แท่งล่อฟ้ า จากรูปที่ 15 จะเห็นได้ว่า ตามที่ผู้ผลิตได้อ้างไว้


ระบบล่อฟ้านี้มพี ้นื ที่ป้องกันครอบคลุมพื้นที่ทงั ้ หมดของ
อาคารประกอบทัง้ สองหลัง แต่ ในสภาพการทางานจริง
ระบบล่ อฟ้ าไม่สามารถทาการป้อ งกันฟ้ าผ่า ได้ในพื้น ที่
ป้องกันที่ออกแบบไว้ตามมาตรฐานของผู้ผลิต โดยจาก
การศึกษาเกี่ยวกับระบบล่อฟ้าอีเอสอี ที่ได้นาเสนอไว้ใน
ข้างต้น พืน้ ทีก่ ารป้องกันในการใช้งานจริง ไม่แตกต่างกับ
แท่งแฟรงกลินซึง่ วิเคราะห์พน้ื ทีป่ ้ องกันได้โดยใช้หลักการ
ทรงกลมกลิง้ จะพบว่าพืน้ ทีป่ ้ องกันอาคารในกรณีศกึ ษานี้
รูปที่ 13 อาคารหอพักอาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยแพทยศาสตร์ อยู่ภายใต้เส้นประทีแ่ สดงไว้ดงั รูปที่ 16 ซึง่ ไม่ครอบคลุม
และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พืน้ ทีส่ ว่ นทีถ่ ูกฟ้าผ่า

อาคารมีลกั ษณะเป็ นอาคารประกอบสองหลัง และ


เชื่ อ มต่ อ กัน ด้ ว ยบัน ไดตรงกลางระหว่ า งสองอาคาร 19.4 .
อาคารแต่ละหลังกว้าง 7 เมตร ยาว 44 เมตร โดย 15.4 .
ตาแหน่ งทีต่ ิดตัง้ ล่อฟ้า และตาแหน่ งทีถ่ ูกฟ้าผ่า แสดงไว้
รูปที่ 16 พืน้ ทีป่ ้ องกันฟ้าผ่า โดยระบบป้องกันแบบอีเอสอี
ในรูปที่ 14
ทีถ่ ูกติดตัง้ ไว้ท่ี อาคารหอพักอาจารย์และบุคลากร
วิทยาลัยแพทยฯ ม.อบ. ตามหลักการทรงกลมกลิง้
บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 121

6. สรุป [3] English, R. and Gardner, D. 'I ran naked


ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกสิง่ ปลูกสร้าง ทีน่ ิยมใช้ to rescue Kate Winslet and my mother': Sir
สาหรับตึกสูงโดยทัวไป ่ คือ ระบบที่มีแท่งตัวนาอากาศ Richard Branson tells of terrifying inferno on
เป็ นแท่ ง แฟรงกลิ น และ แท่ ง อี เ อสอี แ บบที่ มี ส าร his £60m paradise island. Dailymail. 2011.
กัมมันตรังสีบรรจุได้ทส่ี ่วนบน แต่แท่งอีเอสอีไม่ได้รบั การ [4] IEEE. 2005. How to protect your house and
รับรองจากมาตรฐานสากล รวมถึงมาตรฐานของ วสท.ที่ its contents from lightning: surge protection:
ใช้ใ นประเทศไทยด้วย เนื่องจากพื้นที่ป้องกันไม่เป็ นไป IEEE guide for surge protection of
ตามที่ผผู้ ลิตแท่งอีเอสอีอา้ งไว้ว่า มีพน้ื ที่ป้องกันมากกว่า equipment connected to AC power and
แท่ ง แฟรงกลิน โดยจากการศึก ษาและสัง เกตจากการ communication circuits. Standard
ติดตัง้ จริง พบว่าประสิทธิภาพในการทางานใกล้เคียงกับ information network, IEEE Press.
แท่งแฟรงกลิน อย่างไรก็ตามมีบนั ทึกการถูกฟ้าผ่าลงบน [5] Hartono, Z. A. and Robiah, I. 2004.
สิง่ ก่อสร้าง ซึ่งมีแท่งตัวนาอากาศทัง้ สองแบบติดตัง้ อยู่ Conventional and unconventional lightning
มาตรฐานจึงระบุให้ติดตัง้ แท่งตัวนาอากาศที่จุดเสี่ยงซึ่ง air terminal: An overview. Forum on
พบการถูกฟ้าผ่าลงบ่อยด้วย lightning protection; Hilton Petaling Jaya,
ระบบป้ อ งกัน แบบอื่น ๆ ที่แ ท่ ง ตัวน าอากาศไม่ ใ ช่ Malaysia.
แบบดัง้ เดิม ก็ไม่ได้รบั การรับรองจากมาตรฐานสากล และ [6] Zipse, D. W. 1994. Lightning Protection
ไม่สามารถทางานตามที่ผผู้ ลิตอ้างไว้ แต่เนื่องจากระบบ Systems: Advantages and Disadvantages.
เหล่านัน้ ประกอบด้วยสายตัวนาและแท่งอิเล็กโทรดเพื่อ IEEE Transactions on Industry Applications,
นาไฟฟ้าลงดิน มันจึงสามารถทางานได้เหมือนกับการใช้ 30(5):1351 - 1361.
แท่งแฟรงกลินเท่านัน้ การใช้งานระบบล่อฟ้าทีไ่ ม่ได้รบั [7] Zipse, D. W. 2001. Lightning protection
การรับรองจากมาตรฐานเหล่านี้ จึงทาให้เกิดความเสีย่ ง methods: An update and a discredited
ต่อชีวติ และทรัพย์สนิ เพราะมีพน้ื ทีป่ ้ องกัน น้อยกว่าทีไ่ ด้ system vindicated. IEEE Transactions on
คานวณออกแบบไว้ และยังทาให้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ Industry Applications, 37(2):407 - 414.
อุปกรณ์ ล่อ ฟ้า มากขึ้น ดังนัน้ จึง ควรใช้ร ะบบล่อ ฟ้า ที่ใ ช้ [8] Rison, W. Moore, C. B. and Aulich, G. D.
แท่ ง แฟรงกลิน ร่ ว มกับ กรงฟาราเดย์ ตามก าหนดใน 2004. Lightning air terminals - is shape
มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานของประเทศไทยทีเ่ ผยแพร่ important? International Symposium on
โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย Electromagnetic Compatibility, EMC 2004,
2004.
7. เอกสารอ้างอิ ง [9] Ahmad, H. and Ong, L. M. 2005. An
[1] Brunt, R. J. V. Nelson, T. L. and klett, K. Account of A Modified Lightning Protection
L. S. 2000. Early streamer Emission System For Power Stations. The 7th
Lightning Protection Systems: An Overview. International Power Engineering
DEIS Future article, 16(1). Conference, IPEC 2005, 2005.
[2] สื่อนอกตีข่าว “คู่ฮนั นีมูนชาวไทย” ถูกฟ้าผ่า [10] Moore, C. B. Aulich, G. D. and Rison, W.
เสียชีวติ ใกล้ “แกรนด์แคนยอน” [Online] 2013. 2000. Measurements of lightning rod
Available from: responses to nearby strikes. Geophysical
http://www.manager.co.th/around/viewnews. Research Letters, 27(10):1487 - 1490.
aspx?NewsID=9560000092345. Access 27 [11] Lightning protection principle and
กรกฎาคม พ.ศ. 2556. applications part I [Online]. Available from:
http://www.costp18-
122 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

lightning.org/Courses/Kiten_Bulgaria/Docu/Li lightning. Journal of Atmospheric sciences,


ghtning%20Protection%20Principles%20and 46(9):1173 - 1185.
%20Applications%20I.pdf. Access [19] Szczerbinski, M. 2006. Lightning protection
November 3, 2012. with the mesh method: Some models for
[12] Ilic, S. S. and Aleksic, S. R. 2009. the effectiveness analysis. Journal of
Comparison of results for the effective Electrostatics, 64:283-288.
height and atmospheric electric field [20] วิศ วกรรมสถานแห่ ง ประเทศไทยในพระบรม
distribution surrounding a parallelepiped ราชูปถัมภ์. 2553. มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า
building with Franklin’s rod and lightning ภาคที่ 3 ความเสียหายทางกายภาพต่อสิง่ ปลูก
protection rod JUS N. B4. 811. Journal of สร้าง และอันตรายต่อชีวติ (Thai Standard :
Electrostatics, 67:616-624. Protection Against Lightning Part 3 Physical
[13] Agoris, D. P. Charalambakos, V. P. Damage to Structures and Life Hazard).
Pyrgloti, E. and Grzybowski, S. 2004. A [21] Uman, M. A. and Rakov, V. A. 2002. A
computational approach on the sudy of critical review of nonconventional
Franklin rod height impact on striking approaches to lightning protection.
distance using a stochastic model. Journal American meteorological society,
of Electrostatics, 60:175 - 181. 83(12):1809-1820.
[14] Okyere, P. Y. and Eduful, G. 2006. [22] Mackerras, D. Darveniza, M. and Liew, A.
Evaluation of Rolling Sphere Method Using C. 1997. Review of claimed enhanced
Leader Potential Concept: A Case Study. lightning protection of buildings by early
The 2006 IJME – INTERTECH Conference, streamer emission air terminals. IEE
2006 Proceedings Science and Measurement
[15] Szczerbinski, M. 2000. A discussion of Technology, 144(1):1-10.
'Faraday cage' lightning protection and [23] Evaluation of Early Streamer Emission Air
application to real building structures. Terminals [Online]. Available from:
Journal of Electrostatics, 48:145 - 154. http://www.devill.net/Infos/Electricite/foudre/
[16] Hasbrouck, R. T. Determining the ESE-paper.pdf. Access November 1, 2010.
probability of lightning striking the device [24] Cooray, V. and Theethayi, N. 2007 The
assembly facility: Lawrence Livermore striking distance of lightning flashes and the
National Laboratory 1996 Contract No.: earlystreamer emission (ESE) hypothesis.
UCRL-ID-123334. Journal of Electrostatics, 65:336-341.
[17] Metwally, I. A. and Heidler, F. H. 2008. [25] I.D.Chalmers J.C.Evans and W.H.Siew.
Reduction of Lightning-Induced Magnetic 1999. Considerations for the assessment of
Fields and Voltages Inside Struck Double- early streamer emission lightning protection.
Layer Grid-Like Shields. IEEE IEE Proceedings- Science Measurement
TRANSACTIONS ON and Technology, 146(2):57-63.
ELECTROMAGNETIC COMPATIBILITY, [26] Cooray, V. 2010. Non conventional lightning
50(4):905 - 912. protection systems. 30th International
[18] Williams, E. R. and Geotis, S. G. 1989. A conference on Lightning protection,
radar study of the plasma and geometry of ICLP2010; Cagliari, Italy.
บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 123

[27] Allen, N. L. Cornick, K. J. Faircloth, D. C. [35] Adventure island lightning incident: Report
and Kouzis, C. M. 1998. Tests of the 'early on the deadly failure of an early streamer
streamer emission' principle for protection emission lightning rod (Revision 1) [Online]
against lightning. IEE Proceedings Science 2012. Available from: http://www.lightning
and Measurement Technology, 145(5):200- safetyalliance.com/documents/Adventure%2
206. 0Island%20Lightning%20Incident.pdf.
[28] Allen, N. L. and Evans, J. C. 2000. New Access November 1, 2012.
investigations of the 'early streamer [36] Mousa, A. M. 2012. Failure of the Collection
emission' principle. IEE Proceedings Volume Method and Attempts of the ESE
Science and Measurement Technology, Lightning ROD Industry to Resurrect it.
147(5):243 - 248. Journal of Lightning Research, 4:118-128.
[29] Becerra, M. and Cooray, V. 2007. The [37] CIGRE; [November 9, 2012]; Available
early streamer emission principle does not from: http://www.cigre.org/.
work under natural lightning!! IX [38] Hartono, Z. A. and Robiah, I. 2006. A
International symposium on lightning review of studies on Early Streamer
protection; Foz do Iguacu, Brazil. Emission and Charge Transfer System
[30] Rakov, V. A. and Uman, M. A. 2003. conducted in Malaysia. 17th International
Lightning: Physics and Effects Cambridge Zurich Symposium on Electromagnetic
University Press, Cambridge, UK. Compatibility.
[31] Mikeš, J. Kutác, J. Martínek, Z. and [39] Zhang, Y. and Liu, X. 2004. Experiment
Petrák, M. 2011. Biogas plant explosion of artificially triggered lightning to lightning
protected early streamer emission (ESE) air rod and semiconductor lightning eliminator
terminal. Elektro, 21(11):23-26. Asia-Pacific Radio Science Conference,
[32] Hartono, Z. A. and Robiah, I. 2003. A 2004
Long Term Study on the Performance of [40] Shanghai Pearl of the Orient, such as
Early Streamer Emission Air Terminals in a matches, fire lightning [Online] 2006.
High Keraunic Region. Asia-Pacific Available from: http://www.dab9.com/tag/
Conference on Applied Electromagnetics lightning-eliminator/. Access November 6,
(APACE 2003)146 - 150 2012.
[33] Conventional and Unconventional Lightning [41] International Electrotechnical Commission;
Air Terminals: An Update [Online] 2007. Available from: http://www.iec.ch.
Available from: [42] Brunt, R. J. V. Nelson, T. L. and
www.lightningsafety.com/nlsi_lhm/ACEM_Jo Firebaugh, S. L. Early streamer emission air
urnal_Q1_2007.pdf. Access November 25, terminals lightning protection systems:
2010. literature review and technical analysis.
[34] Death at the stadium: Report on the fatal Massashusetts, USA.: National Fire
use of an early streamer emission lightning Protection Research Foundation1995.
rod in Malaysia [Online] 2012. Available [43] Scientists Oppose Early Streamer Air
from: www.lightningsafetyalliance.com/. Terminals [Online]. Available from:
Access November 1, 2012. http://www.lightningsafety.com/nlsi_lhm/char
124 บทความวิชาการ วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556

ge_transfer_opp.html. Access 3 November Against Lightning Part 4 Electrical and


2010. Electronic Systems within Structures).
[44] Association, N. F. P. 2011. NFPA standard
directory 2011. 87.
[45] Case studies on the Collection Volume
Method including comparisons with the ESE
standard, NF C 17-102 [Online] 2010.
Available from: http://www.lightning-
risk.org/pdfs/CASESTUDIES.pdf. Access
November 3, 2012.
[46] A summary of the key differences between
BS 6651:1999 and BS EN 62305 Protection
against Lightning and the new standard’s
key requirements [Online]. English Heritage.
Available from: http://www.english-
heritage.org.uk/publications/protection-
against-lightning/lightningbsen62305
web.pdf. Access November 3, 2012.
[47] SINGAPORE STANDARD CP 33 : 1996 -
Code of Practice for Lightning protection
(Incorporating Amendment No. 1, February
1999).
[48] วิศวกรรมสถานแห่ง ประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์. [November 10, 2012]; Available
from: www.eit.or.th/.
[49] วิศ วกรรมสถานแห่ ง ประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์. 2553. มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า
ภาคที่ 1 ข้อกาหนดทัวไป ่ (Thai Standard:
Protection against lightning Part 1 General
Principles).
[50] วิศ วกรรมสถานแห่ ง ประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์. 2553. มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า
ภ า ค ที่ 2 ก า ร บ ริ ห า ร ค ว า ม เ สี่ ย ง ( Thai
Standard : Protection Against Lightning Part
2 Risk Management).
[51] วิศ วกรรมสถานแห่ ง ประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์. 2553. มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า
ภาคที่ 4 ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายใน
สิง่ ปลูกสร้าง (Thai Standard : Protection

You might also like