You are on page 1of 44

บทที่ 1 การพัฒนาระบบราง รถจักรและล้อเลื่อนรถไฟ

(World Railways and Rolling Stock)


Xxxxxxxxxx

นายสิทธิพงษ์ พรมลา
อาจารย์ผู ้เชีย่ วชาญ ศูนย์วศ
ิ วกรรมระบบราง KURAIL
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อดีดรองผู ้ว่าการหน่วยธุรกิจการซ่อมบารุง การรถไฟ

ในการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษยชาติในโลกนี้ ทั้งในด้านสังคม ด้าน


เศรษฐกิจ คุณภาพการดารงชีวิต จากความทุกข์ยาก จากสิ่งแวดล้อมตามความร้อนความอบอุ่นความหนาวตาม
ฤดูกาล อาหารที่จะต้องทาให้ชีวิตรอดพ้น ชนชั้นของสังคมจากอานาจของรัฐและผู้ปกครอง การทาให้ชีวิตดารงอยู่
อย่างเสรีชน ได้มีการพัฒนาการจากนักคิด นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิบัติทดลอง นัก
อุตสาหกรรม วิศวกร รัฐบุรุษ นักธุรกิจ นักเทคโนโลยี และช่างฝีมือผู้ชานาญการ ผู้ใช้แรงงานในแขนงต่างๆ ก่อเกิด
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ๆ รวม 4 ยุค ได้แก่

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี 1784 โดยมีต้นกาเนิดจากการพัฒนาไอน้าซึ่งนาไปสู่การพัฒนา


เครื่องจักรไอน้าและการพัฒนาการขนส่งทั้งทางเรือและทางบก การผลิตสินค้าเดิมใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์
รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน การผลิตในลักษณะของ
อุตสาหกรรม เริ่มจากการประดิษฐ์ที่พัฒนาควบคู่กับการทอผ้า คือ การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้า โดยเจมส์ วัตต์
(JAMES WATT) ชาวสก็อต ประดิษฐ์ได้ใน ค.ศ. 1769 โดยใช้เป็นต้นกาลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงาน น้า
ซึ่งส่งผลให้นาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่และการทอผ้า ต่างใช้เครื่องจักรไอน้า เป็นพลังขับเคลื่อน
เครื่องจักรกลทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจักร กลไอน้า ทาให้อุตสาหกรรมเหล็ก
ขยายปริมาณการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเฮนรี คอร์ต (HENRY CORT) ชาวอังกฤษคิดค้นวิธีการ หลอมเหล็กให้
มีคุณภาพดีขึ้น ก็ส่งผลให้มีการปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่ ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มี ประสิทธิภาพขึ้น เมื่อมี
การผลิตเกิดขึ้นในปริมาณที่สูง จึงเกิดการพัฒนาของการขนส่งเพื่อนาสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่ตลาด และนาวัตถุดิบเข้า
ป้อนในโรงงาน จึงเกิดการพัฒนาการขนส่งเพื่อให้ได้ปริมาณมากและเดินทางได้รวดเร็ว มีการสร้างเรือกลไฟใช้
พลังงานไอน้า สร้างรถจักรไอน้าเพื่อลากจูงสินค้าและการโดยสารทางราง พร้อมทั้งขยายตลาดออกไปในโลกอาณา
นิคม และทั่วโลก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงก่อนปี 1870 มีการสั่งสมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบ
และเกิดสิ่งประดิษฐ์ มีการค้นพบความรู้ธรรมชาติเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น Voltaic battery, Solenoid,
มอเตอร์ไฟฟ้า, กฎทางไฟฟ้าของ Ohm, Orsted, และ Kirchhoff 1839 Charles Goodyear ปรับปรุงคุณภาพ
ของยาง 1855 Bessemer ปรับปรุงคุณภาพเหล็กกล้า 1856 Werner Siemens ปรับปรุงการสร้างเครื่องกาเนิด
ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ 1859 เริ่มการขุดเจาะน้ามันปิโตรเลียมที่อเมริกา 1861 James Maxwell กับทฤษฎี
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า 1873 Zenobe Gramme พบว่า DC generator กับ DC motor ทางานกลับหน้าที่กันได้
1876 Alexander Graham Bell ประดิษฐ์โทรศัพท์ 1876 Nicolaus August Otto ประดิษฐ์เครื่องยนต์สันดาป
ภายใน 1879 Thomas Alva Edison ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าที่ใช้งานได้ดีมีคุณภาพ และเริ่มโรงไฟฟ้าสาหรับระบบ
แสงสว่างในตัวเมืองหลายแห่ง 1883 Karl Benz ประดิษฐ์รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์เล็กติดตั้งขับเคลื่อน 1883-1886
Nicola Tesla ประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่สาคัญ เช่น AC generator, Transformer และ Induction
motor 1884 Charles Pearson ประดิษฐ์เครื่องกังหันใช้ไอน้าขับเพื่องผลิตกระแสไฟฟ้า 1892 Rudolf Diesel
ประดิษฐ์เครื่องยนต์ดีเซล 1892 อุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกาเริ่มต้น 1903 Henry Ford จัดตั้งบริษัทผลิตรถยนต์
และออกแบบสายการผลิตแบบ Mass production รถยนต์ Ford Model T รถยนต์สีดา ราคาไม่แพง เริ่มผลิต
1908 เมื่อถึงปี 1924 เป็นรถที่ทั้งโลกใช้กันเกินกว่าครึ่ง เมื่อถึงปี 1927 รถฟอร์ดคันที่ 15,000,000 ออกจาก
โรงงาน ถือเป็นโรงงานที่ประสบความสาเร็จอย่างยอดเยี่ยม และเป็นต้นแบบให้โรงงานผลิตทั่วโลกนาวิธีการไป
ปรับปรุงใช้การ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มผลผลิตมากมาย

จะเห็นว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เป็นการนาเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้อย่างกว้างขวาง หลอดไฟฟ้าทา


ให้กลางวันกลางคืนไม่เป็นข้อจากัด อีกทั้งน้ามันปิโตรเลียมซึ่งมีปริมาณมากมายมหาศาล สามารถเข้าใช้งานในพื้นที่
หรือช่องว่างที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าไปใช้งานได้
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ปี 1969 อันเป็นผลจากอิเล็คทรอนิคส์ IT และการผลิตแบบอัตโนมัติ
(Automatic Production) จุดเริ่มต้นของโลกกาภิวัฒน์ เริ่มต้นด้วยโลกาภิวัฒน์ข้อมูลที่เผยแพร่ไปทั่วโลกส่งผลให้
คอมมิวนิสต์ล่มสลายในปี 1989 และสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 เปลี่ยนจากยุคสงครามเย็นเป็นยุคหลัง
สงครามเย็น เปลี่ยนจากความมั่นคงทางทหารเป็นความมั่นคงทางการค้า ส่งผลให้เกิดการเปิดการค้าเสรีและการ
รวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขันทางการค้า

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการปฏิวัติ system เพราะเป็นการพบบรรจบกัน (convergence)


ระหว่าง 4 ระบบ คือ ระบบ IT ระบบชีวภาพ ระบบนาโน และระบบฟิสิกส์ ซึ่งจะนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิง
ความเร็ว (Speed) ความลึก (Scope) และความกว้าง ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ชัดจากโดรน การ
ขยายตัวของหุ่นยนต์ (Robot) โดยเฉพาะมีการนาเอาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาอยู่ในกระบวนการผลิตทั้งสายการผลิต
การพัฒนารถที่ไม่มีคนขับ การปลูกถ่ายอวัยวะ การตัดต่อพันธุกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะมีผลกระทบและเกิดการใน
ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเป็นอย่างมาก
การพัฒนารถไฟในระบบราง

เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1804 ริชาร์ด เทรวีทิก (RICHARD TREVITICK) นาพลังงานไอน้ามาขับเคลื่อน


รถบรรทุก รถจักรไอน้าจึงมีบทบาทสาคัญใน อุตสาหกรรมขนส่งสินค้าจากเมืองแมนเชสเตอร์ ไปที่เมืองลิ
เวอร์พูล และต่อมาจอร์จ สตีเฟนสัน (GEORGE STEPHENSON) ได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในการ
พัฒนารถไฟนั้นระยะเริ่มแรกที่มีชื่อเสียงมาก คือ หัวรถจักรไอน้า ชื่อ ร็อกเกต (ROCKET) ในปี 1814 ทาให้
มีการเปิดบริการรถจักรไอน้ารับส่งผู้โดยสารเป็นครั้งแรก และมีการพัฒนาเทคโนโลยี จากรถจักรไอน้าร็อก
เกต (ROCKET) ลากจูงขบวนรถโดยสารมีรถพ่วงเพียง 4 คัน ความเร็วสูงสุด 45 กม./ชม. และรถจักรไอน้า
ชื่อ มอลลาร์ด (Mallard) ประเทศอังกฤษทาความเร็วได้ถึง 203 กม./ชม. รถจักรไอน้าที่มีความเร็วสูงสุด
ในปี 1938
- การปรับปรุงก้าลังลากจูงให้สูงขึ้นเพื่อให้สามารถลากจูงขบวนรถที่มีน้าหนักมาก และสามารถท้า
ความเร็วได้สูง

- ปรับปรุงความแข็งแรงของโครงสร้างทางเพื่อให้สามารถรองรับน้้าหนักและความเร็วที่สูงขึ้นได้โดย
ปลอดภัย
- ปรับปรุงลักษณะของรถไฟให้มีแรงต้านน้อยลง ทั้งแรงต้านการหมุนของแบริ่ง (Plain
bearing/Roller bearing) แรงเสียดทานในการเข้าโค้ง (Bogie & Body design) การออกแบบ
ตัวรถให้มีแรงต้านของอากาศน้อยลง (Aerodynamics design) เป็นต้น

- ปรับปรุงให้การเคลื่อนตัวของล้อรถไฟที่หมุนไปตามราง ให้มีนุ่มนวล และมีความ


ปลอดภัยไม่ปีนออกนอกราง (Rail-wheel interface & Dynamics)
- ปรับปรุงระบบควบคุม และระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling and Train Control System) เพื่อให้
ขบวนรถไฟเดินในตอนที่กาหนดได้ทีละคัน ด้วยการกาหนดความเร็วให้เหมาะสม และสามารถควบคุม
ให้การเคลื่อนที่ของขบวนรถเป็นไปอย่างปลอดภัย รวดเร็ว และเดินได้หลายขบวนติดต่อกัน
-
การจาแนกระบบรถไฟและล้อเลื่อน
เนื่องจากการขนส่งด้วยระบบรางมีการพัฒนามายาวนานและหลากหลายรูปแบบ จึงมีวิธีการแบ่งประเภท
ของระบบรางไว้หลายรูปแบบ สาหรับ Division of Rail Vehicle, Dept. of Aeronautical & Vehicle
Engineering, KTH Stockholm ได้แบ่งประเภทตามรูปแบบของการบริการกลุ่มลูกค้าและระบบการควบคุมการ
เดินขบวนรถไฟ ได้แก่
- ระบบรถราง (Tramways) รถรางเป็นรถไฟฟ้า (Electric Multiple Unit) ที่เดินรับส่งผู้โดยสารในตัว
เมืองใหญ่ พื้นหรือบันไดจะต่าผู้โดยสารขึ้นลงสะดวก รางส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ฝังในพื้นถนน ความเร็วไม่
สูง สามารถเดินรถไฟร่วมกับการจราจรทางถนนทั่วไปได้
-
- ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Subways or Metros.) เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารได้ตั้งแต่ประมาณ
6,000-35,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง อาจจะเป็นระบบใต้ดินบางส่วน ทางยกระดับบางส่วนก็ได้ แต่จะ
เป็นระบบที่แยกออกจากระบบถนนและระบบรถไฟอื่นๆ
-
- ระบบรถไฟขนส่งทางไกล (Railways) เป็นระบบที่ขนส่งทางรางที่ผสมผสานการบริการหลายอย่างทั้ง
ด้านโดยสารและสินค้า ขบวนรถทางไกล ขบวนรถความเร็วสูง ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถสินค้า และ
อาจจะเป็นระบบที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็ได้
-

-
-
-

-
-
-
ขบวนรถไฟ (Train / Loco-hauled Train)
หมายถึง ขบวนรถพาหนะที่ใช้วิ่งบนทางรถไฟสาหรับรับส่งผู้โดยสารหรือสินค้า ประกอบด้วยรถพ่วงชนิด
ต่างๆกัน พ่วงต่อกันเป็นขบวน มีรถจักร (Locomotive) เป็นหัวขบวน มีกาลังลากจูงไปบนรางซึ่งเป็นรางเหล็กมีสอง
รางวางขนานคู่กันไป ขบวนที่ประกอบด้วยรถโดยสารล้วน เรียกว่าขบวนรถโดยสาร (Passenger Train) ถ้า
ประกอบด้วยรถสินค้าล้วน เรียกว่าขบวนรถสินค้า (Freight Train) และมีรถพ่วงทั้งสองชนิดเรียกว่าขบวนรถรวม
(Mixed Train)
ประเภทของขบวนรถไฟและล้อเลื่อนชนิดต่างๆ ตามเวลาที่เริ่มพัฒนาใช้การ
กาลานุกรม (Timeline)การพัฒนารถไฟ
สถิติที่น่าสนใจของระบบการขนส่งรถไฟของโลก

International Union of Railways (UIC) ได้จัดทาสถิติที่เกี่ยวข้องการเดินรถไฟของประเทศ


ต่างๆ และตีพิมพ์ใน Railway Statistics 2015 synopsis ซึ่งรวบรวมข้อมูลของความยาวเส้นทางรถไฟ
ยานพาหนะรถไฟ เช่นรถจักรดีเซลรวมทั้งรถไฟฟ้าที่เป็นรถมีกาลังขับเคลื่อน รถโดยสารรวมทั้งรถไฟฟ้าที่เป็น
รถพ่วงไม่มีมอเตอร์ขับเคลื่อน รถบรรทุกสินค้า ปริมาณการขนส่งโดยสารเป็นจานวน ผู้โดยสาร-กิโลเมตรและ
ปริมาณการขนส่งสินค้าเป็นจานวน ตันขนส่ง-กิโลเมตร (รวมทั้งระบบรถไฟความเร็วสูง) แต่ไม่รวมสถิติข้อมูล
ของรถขนส่งมวลชนในเมือง (Mass Transit & Metro) ซึ่งจะสังเกตได้ว่าปริมาณการขนส่งจะมีความสัมพันธ์
กับขนาดของเศรษฐกิจเช่นรายได้มวลรวมประชาชาติ จานวนประชากร ขนาดพื้นที่ การสนับสนุนการขนส่ง
ทางรางของภาครัฐ
ขนาดความกว้างของรางและชื่อเรียกรางแต่ละขนาดของประเทศต่างๆ

โครงข่ายความเชื่อมโยงของระบบรางประเทศในทวีปเอเชีย
โครงข่ายความเชื่อมโยงของระบบรางประเทศในทวีปยุโรป และออสเตรเลีย
โครงข่ายความเชื่อมโยงของระบบรางประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
โครงข่ายความเชื่อมโยงของระบบรางประเทศในทวีปอัฟริกา
สถิติการขนส่งด้านการโดยสาร
สถิติการขนส่งด้านการโดยสาร
สถิติการขนส่งด้านการสินค้า
สถิติการขนส่งด้านการสินค้า
สถิติการขนส่งปริมาณการขนส่งรถไฟความเร็วสูง

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
สถิติการโดยสารระบบขนส่งมวลชนในเมือง (Metro System)
Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
เอกสารนี้จัดทาเพื่อจุดประสงค์ในการเรียนการสอนนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และเพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระบบราง กับบุคคลทั่วไป
ขอขอบคุณแหล่งตาราวิชาการ แหล่งความรู้ แหล่งภาพประกอบที่ได้นามาใช้ ไว้เป็นอย่างสูง
เอกสารนี้ใช้เพื่อสาหรับจุดประสงค์ทางวิชาการ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่งส่วนใด
รวบรวม และเรียบเรียง โดย
นายสิทธิพงษ์ พรมลา
อาจารย์สอน/ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิศวกรรมระบบราง KURAIL ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อดีตวิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล และ อดีดรองผู้ว่าการหน่วยธุรกิจการซ่อมบารุง การรถไฟแห่งประเทศไทย
อดีตกรรมการบริ หารบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จากัด (แอร์พอร์ตเรลลิ้งค์)
Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

You might also like