You are on page 1of 3

5919030170_ NAPUSSAWAN VUTTIRONARIT

คำถำมกำรเขียนงำนสะท้อนบทควำมที่ 3
Stories of Experience and Narrative Inquiry
F. Michaek Connelly and D. Jean Clandinin

1. ‘Good narrative’ มีลักษณะอย่างไรบ้าง อธิบายรายละเอียด

งานวิจัยเชิงคุณภาพแบบการใช้เรื่องเล่า หรือ Narrative Approach เป็นการศึกษา


ประสบการณ์ชีวิตของบุคคลผ่านเรื่องเล่า โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยจะมีบทบาทเป็นทั้งผู้เล่าเรื่อง
และเป็นตัวละครในเรื่องของเขาเองและของผู้เข้าร่วมคนอื่น วิธีการเล่าเรื่องยังให้
ความสาคัญกับผู้เล่าเรื่องในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัยที่เป็นผู้มีความสามารถ ในการสะท้อนตัวตน
ออกมาแทนการมองว่าผู้วิจัยเป็นผู้กาหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ควรศึกษาเพียงอย่างเดียว
ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลนั้นจะเป็นการทางานร่วมกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้เข้าร่วม เมื่อเรื่องราว
ถูกสร้างขึ้น ผู้ฟังหรือนักวิจัยและผู้เล่าได้ทางานสอดประสานกัน เปิดโอกาสให้ผู้เล่าได้หวน
ย้อนราลึกถึงความทรงจาและเลือกที่จะถ่ายทอดในมุมมองของเขา ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้เขา
ได้ย้อนคิด ทบทวนและเกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น เพราะได้นาสิ่งที่ผ่านมา มาจัด
ระเบียบและเชื่อมโยงเพื่อให้ตนเองและผู้ฟังเกิดความเข้าใจสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและเป็น
พื้นฐานในการมองไปยังอนาคต ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ทชี่ ่วยให้เกิดความ
ต่อเนื่อง ซึ่งทั้งผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้สึกถึงความเท่าเทียม ความใส่ใจ การมี
เป้าประสงค์ร่วมกัน และความตั้งใจ ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีสิทธิ์มีเสียงในการเล่าเรื่องของพวก
เขา ในกระบวนการสืบเสาะนั้น ผู้ปฏิบัติจะถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตผ่านการเก็บข้อมูลที่
ค่อยๆดาเนินไปเรื่อยๆ ดังนั้นข้อมูลจึงมีความซับซ้อนในเรื่องของเวลาทั้งเรื่องที่กาลังเกิด การ
เล่าใหม่ โดยสามารถเก็บข้อมูลนั้นสามารถเก็บได้หลายรูปแบบ กล่าวคือ field note,
journal record, บทถอดสัมภาษณ์ บันทึกการสังเกต เรื่องเล่า การเขียนจดหมาย
อัตชีวประวัติ ข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งกฎหรือหลักปรัชญาส่วนบุคคล ความท้าทายของวิธีวิจัย
แบบนี้ยังปรากฏในขั้นตอนการเขียนบรรยาย คือถึงแม้ผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในมือ
แล้ว แต่ในขั้นตอนการเขียนบรรยาย ผู้วิจัยก็ยังคงต้องพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมอยู่

ปัจจัยที่ทาให้งานวิจัยแบบใช้เรื่องเล่าเป็นงานที่ดีก็เช่นเดียวกับงานวิจัยเชิงคุณภาพอื่นๆ ที่
จะต้องมีความสมเหตุสมผล(validity) ความน่าเชื่อถือ(reliability) และความเป็นสากลทั่วไป
(generalizability) นั่นคือต้องมีความเป็นจริง(verisimilitude) ชัดเจน(apparency) และเชื่อมโยง
ถ่ายโอนประสบการณ์ไปสู่กรณีอื่นๆที่ใกล้เคียงกันได้(transferability) นอกจากนี้ในการเขียน
บรรยายต้องมีการเขียนเปิดหรือเชื้อเชิญ(invitation) โดยอาจเขียนเปิดในลักษณะคาถามเพื่อดึง
ประสบการณ์ร่วมของผู้อ่าน เป็นการตั้งคาถามว่า ชีวิตได้รับการตีความอย่างไร และถูกนามาเล่าใหม่
5919030170_ NAPUSSAWAN VUTTIRONARIT

อย่างไร ซึ่งนักวิจัยมิได้มุ่งไปที่การพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสิ่งที่ผู้เล่ากาลังบอก แต่เป็นการ


หาความหมายจากคาพูดที่เขาเลือกใจ ว่าตัวบทสร้างความหมายขึ้นมาอย่างไร ส่วนความถูกต้อง
(authenticity) นั้นคือการมีความครอบคลุมสัมพันธ์กับโครงเรื่องและฉากของเรื่อง ลักษณะเฉพาะ
ของงานวิจัยประเภทนี้คือเรื่องของ เวลาและสถานที่ โครงเรื่องและฉาก ซึ่งจะต้องสอดประสานกัน
เพื่อทาให้เกิดบทบรรยายหรือเรื่องเล่าเชิงประสบการณ์ โดยผู้วิจัยจะต้องเขียนเรียบเรียงเรื่อง
ธรรมดาๆให้มีความน่าสนใจ การเขียนบรรยายฉากในเชิงกายภาพให้กลมกลืมกับบริบท ซึ่งบริบทนี้
ประกอบไปด้วยตัวละครและบรรยากาศเชิงกายภาพ สาหรับโครงเรื่องนั้นจะต้องเรียงแบบอดีต
ปัจจุบันและอนาคต เป็นการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากเหตุการณ์หนึ่งไปสู่เหตุการณ์หนึ่ง เรียบ
เรียงเหตุการณ์ตามลาดับเวลา มีจุดเริ่มและจุดจบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เรื่องเล่าจะเคลื่อนไหวไป
ตามบริบททางสังคมของผู้เล่า และมีการเขียนที่มีความกลมกลืนต่อเนื่อง โดยงานวิจัยเรื่องหนึ่ง
สามารถเขียนขึ้นจากข้อมูลที่มาจากหลายรูปแบบ โดยส่วนที่เป็นเรื่องราวในอดีตมักมาจากเรื่องเล่า
และอัตชีวประวัติ การสัมภาษณ์มักจะสืบค้นข้อมูลในปัจจุบัน และการเขียนจดหมาย journal

2. Multiple I มีความหมายอย่างไร และการทาความเข้าใจเรื่อง multiple I มีความสาคัญ


อย่างไร

Multiple I คือ การมีสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือ “I” แทนคนหลายคนในงานวิจัยแบบใช้เรื่อง


เล่า ซึ่งในขั้นตอนการเขียนนั้นจะต้องแยกแยะให้ได้ว่า เสียงของใคร(เรื่องราวของใคร) ถือเป็นตัว
ละครหลักในส่วนนั้นๆ สิ่งที่จะต้องให้ความสาคัญคือ “a place for the voice of each
participant” นั้นคือการกาหนดสถานที่ หรือมุมมองของตัวละครก็จะทาให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ว่า
“I” ในที่นี้หมายถึงใคร มองในมุมของใคร นอกจากนี้การใช้ “multiple I” ยังอาจหมายถึง บุคคลคน
เดียวกัน และมองผ่านหลายๆ มุมมองก็ได้ เช่น ครั้งแรกอาจมองผ่านมุมของการเป็นผู้หญิง
เช่นเดียวกัน “I ที่ 2” มองผ่านการเป็นเพื่อนกับผู้ถูกวิจัย(ในกรณีที่เป็นเพื่อนกัน) และ “I ที่ 3” มอง
ผ่านการเป็นคนในชุมชนเดียวกัน

การทาความเข้าใจเรื่อง Multiple I จะทาให้เข้าใจลักษณะเฉพาะของงานวิจัยเชิงคุณภาพ


แบบใช้เรื่องเล่า และไม่ก่อให้เกิดความสับสนว่า บุรุษที่ 1 คือคนคนเดียวกัน หรือมองผ่านมุมมอง
เดียวกัน ทาให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วมเสมือนว่าตนเป็นบุรุษที่ 2 ซึ่งอาจทาให้ข้อมูล อารมณ์
ความรู้สึกต่างๆ จากผู้เล่าสามารถส่งผ่านมายังผู้อ่านได้ดีกว่า
5919030170_ NAPUSSAWAN VUTTIRONARIT

นภาภรณ์ หะวานนท์. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2552). วิธีการศึกษาเรื่องเล่า: จุดเปลี่ยนของการวิจัยทางด้าน


สังคมศาสตร์. วารสารสังคมลุ่มน้าโขง, 5(2).
Connelly, M. & Clandinin, D. J. (1990). Stories of Experience and Narrative Inquiry.
Educational Researcher, 5(19). Retrieved from http://www.jstor.org/stable/1176100

You might also like