You are on page 1of 5

1

มโนทัศน์ของการตัรบียะฮฺ : วิถีแห่งตัรบียะฮฺ
อิบรอฮีม อาแล : แปล/เรียบเรียง
ค าว่า “ตั ร บี ย ะฮฺ ” นั้ น มาจากค าในภาษาอาหรับ ซึ่ งมี ค วามหมายว่า การเฝ้ าดู แ ล การเลี้ ย งดู และ
การศึกษา “ตัรบียะฮฺ อิสลามียะฮฺ จึงหมายถึง การเฝ้าดูแล การเลี้ยงดู และการศึกษาที่มีแหล่งกาเนิดจากอัลกุ
รอานและซุนนะห์ของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) แหล่งกาเนิดดังกล่าวเรียกว่า “แหล่งกาเนิดร็อบ
บานีย์”จากแหล่งกาเนิดดังกล่าวนี่เองที่ชนรุ่นศอหาบะฮฺได้รับการหล่อหลอมจากท่านรอซูลุล ลอฮฺ (ขอความสันติจง
มีแด่ท่าน) จนกระทั่งประสบความสาเร็จ สามารถผลิต “ร็อบบานีย์ชน” ที่ได้รับการยกย่องจากอัลลอฮฺ (ซุบฮา
นะฮูวะตาอาลา) ดั่งที่มีปรากฏคายกย่องนั้นในอัลกุรอานความว่า
“พวกเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสาหรับมนุษยชาติ โดยที่ พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ
และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ” [3.110]
บทบาทของตัรบียะฮฺอิสลามียะฮฺ
ตัรบียะฮฺมีบทบาทและผลที่สาคัญต่อการยกระดับและ พัฒนาความเจริญก้าวหน้าของสังคมหนึ่งสังคมใด
ความเจริญก้าวหน้าหรือล้าหลังของสังคมนั้นๆจะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าหรือล้าหลังของการตัรบียะฮฺในสังคม
ดังกล่าว ด้วยเหตุนั้นการตัรบียะฮฺจึงมีความสาคัญในการพัฒนาสังคม จากการศึกษาประวัติของท่านรอซูลุลลอฮฺ
(ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เองเป็นที่ประจักษ์ว่าการตัรบียะฮฺนั้นเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนามนุ ษย์ซึ่งสามารถ
แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
จุดเริ่มต้นของตัรบียะฮฺอิสลามียะฮฺ
ในหนังสือ “ตัรบียะฮฺอัรรูฮียะฮฺ” สะอีด ฮาวอ ได้ให้ความกระจ่างแก่เราว่า สิ่งที่เป็นรากฐานและ
จุดเริ่มต้นของการศึกษาอิสลามนั้นเกิดจาก“อีมาน”หรือ“ความศรัทธา”นั่นเอง
ดร.อับ ดุลการีม ซัยดานในหนั งสื อ “อุศูลอัดดะวะฮฺ ” ได้อรรถาธิบายค่อนข้างยาวเกี่ยวกับการวาง
ระเบียบและรูปแบบของสังคมอิสลาม เขากล่าวว่ารากฐานของสังคมอิสลามคือ “อะกีดะฮฺอิสลามียะฮฺ ” นั่นคือ
“เตาฮีดรูบูบียะฮฺติลละฮฺ”และ”เตาฮีดอูลูฮียะฮฺติลละฮฺ”มนุษย์ทุกคนควรได้รับการศึกษาจนเกิดความเชื่อมั่นในอากี
ดะฮฺนี้เพื่อให้พวกเขารู้จักสถานภาพของตนเองและตาแหน่งของชีวิต เพื่อจะได้เข้าใจว่ามนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ
อะไรเข้าใจความเชื่อมโยงและการชี้น าของสติปัญญาความคิดของมนุษย์ อริยบทและกิจกรรมต่างๆของเขาที่
เชื่อมโยงต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)”
2

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมุหัมมัด ชะดีดในหนังสือ “มันฮัจอัลกุรอานฟีตัรบียะฮฺ”ได้ทวนซ้าประวัติศาสตร์และให้ความ


กระจ่างแก่เราว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) คือแบบอย่างที่สาคัญและดีที่สุดในการปฏิบัติตาม"
มันฮัจอัลกุรอาน"ท่านคือนักดะอฺวะฮฺที่เข้าใจเกี่ยวกับการดะอฺวะฮฺอย่างแท้จริง และเป็นมุร็อบบี (ผู้ให้การฝึกอบรม)
ซึ่งได้แสดงออกถึงคุณลักษณะต่างๆในฐานะมุร็อบบีที่ดีเยี่ยม ท่านได้เชิญชวนบรรดาศอหาบะฮฺของท่านและคนทั้ง
มวลสู่การศรัทธาในอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) เชื่อสัมพันธ์ กับพวกเขาด้วยอัลกุรอาน และได้ทาความเข้าใจว่า
แท้จริงอัลกุรอานนั้นคือพระบัญชาจากอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) เพื่อการปฏิบัติตาม และคาบัญชานั้นจะ
ได้รับการตอบรับจากหัวใจที่ศรัทธาแล้วเท่านั้น ดังนั้นสะอีด ฮาวอ เห็นว่ามีความจาเป็นที่จะต้องให้ความสาคัญกับ
ระบบการศึกษาเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามันได้แสดงออกถึงการเริ่มต้นที่ถูกต้อง
ตัรบียะฮฺ อีมานียะฮฺ ในทุกๆด้าน
อีมานหรือความศรัทธานั้นไม่สามารถที่จะแยกออกจากกิจกรรมของชีวิต ทุกกิจการงานที่ปฏิบัติควรที่จะ
เกิดขึ้นและดาเนินตามความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ด้วยการทาเช่นนั้นจึงนับเป็นการ“อูบูดี
ยะฮฺ”(อิบาดะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)
ตามทัศนะของมุสตาฟา มัชฮูร อิบาดะฮฺที่แท้จริงและถูกต้องนั้นจะเกิดขึ้นจากอากีดะฮฺที่ดี คาว่า “อิบา
ดะฮฺ” นั้นประกอบด้วยคุณลักษณะที่สมบูรณ์และครอบคลุมด้านต่างๆของชีวิต มิใช่เพียงการละหมาด การถือศีล
อด การจ่ายซะกาต และการประกอบพิธีหัจญ์เท่านั้น เนื่องจากสารัตถะและหน้าที่ของมนุษย์ในการมีชีวิตอยู่นั้น
เพื่อการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ชีวิตทั้งหมดคือการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)
“และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า” [51.56]
ด้วยเหตุนี้มุสลิมทุกคนควรจะทาความเข้าใจสิ่งเหล่านี้อย่างถ่องแท้ด้วยเจตนา(เนียต)ที่ถูกต้องในทุกกิจการ
งานของพวกเขา ด้วยการทาเช่นนั้น การกิน การดื่ม ความรู้และการกระทา การออกกาลังกายและการแต่ งงานจึง
จะเป็น “วะศีละฮฺ” (แนวทาง) ในการ”ฏออัต” หรือ”เคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ” บ้านจะกลายเป็น”มิหฺร็อบ” (สถานที่
เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ) เช่นเดียวกันที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานที่ประกอบธุรกิจ เรือกสวนไร่นา ลานกิจกรรม
และโลกทั้งมวลก็จะกลายเป็นสถานที่แห่งการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) และอาจกล่าวได้ว่าทุก
ความพยายามและทุกคาพูดที่แสดงออกมาจากมุสลิมก็คือการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) นั่นเอง
ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ดารงอยู่ระหว่างบ่าวกับผู้ทรงสร้าง (คอลิก)ในทุกมิติของชีวิต และทุกกิจการงานนั้น
จะเชื่อมโยงไปยั งกฏหมาย (ชะรีอ ะฮฺ) ของอัล ลอฮฺ (ซุบ ฮานะฮูว ะตาอาลา) ความผู กพั นด้ านจิตใจของมนุ ษ ย์
ต่ออัลลอฮฺตลอดเวลาคือรากฐานที่สาคัญอย่างยิ่งของการดาเนินการตัรบัยะฮฺอิสลามียะฮฺที่จะประสบความสาเร็จ
3

แนวคิด”ร็อบบานีย์” ในตัรบียะฮฺอิสลามียะฮฺเป็นแนวคิดที่สาคัญมากเนื่องจากเป้าหมายของการศึกษา
อิสลามคือมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยศรัทธา (มุอฺมินที่แท้จริง) หรือมนุษย์ที่ได้ครอบครองความศรัทธาซึ่งมีอิทธิพลต่อหัวใจ
ความคิด และได้แสดงออกมาในรูปของการกระทาและความเป็นอยู่ ดั่งอาษัร(คากล่าวของศอฮาบะฮฺ)ที่ว่า
“...มันจุติขึ้นในใจและเกิดเป็นจริงในการกระทา” อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ตรัสว่า
“แท้จริงศรัทธาชนที่แท้จริงนั้น คือ บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ แล้วพวกเขาไม่สงสัยเคลือบ
แคลงใจ แต่ พ วกเขาได้ เสี ย สละต่ อ สู้ ดิ้ น รนด้ ว ยทรั พ ย์ ส มบั ติ ข องพวกเขา และชี วิต ของพวกเขาไปในหนทาง
ของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละคือบรรดาผู้สัตย์จริง” [49.15]
รากฐานของ “ตัรบียฺฮฺร็อบบานียะฮฺ” คือหัวใจที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผูกพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตา
อาลา) อยู่เสมอ มีความเชื่อมั่นต่อการพบกับพระองค์ หวังในความเมตตาของพระองค์และเกรงกลัวต่อการลงโทษ
ของพระองค์ หัวใจที่มีชีวิตเช่นนี้จึงเป็นจุดศูนย์กลางที่อัลลอฮฺจะทรงประทาน”นูร” หรือ”รัศมี” เข้าไปส่องสว่าง
ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) กล่าวไว้ความว่า
“แท้จริงแล้วอัลลอฮฺมิทรงมองที่รูปร่างหน้าตาของพวกท่าน แต่พระองค์ทรงมองดูหัวใจและการกระทาของพวก
ท่าน”
“สาหรับวันซึ่งที่นั่นไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทองและลูกหลาน เว้นแต่ผู้ที่กลับคืนยังอัลลอฮฺด้วยหัวใจที่สงบ”
ตัรบัยะฮฺอิสลามียะฮฺพยายามที่จะฟื้นฟูหัวใจให้กลับมีชีวิต เพื่อที่จะไม่ตาย ทาให้รุ่งเรืองเพื่อที่จะไม่เ กิด
ความเสียหาย ทาให้อ่อนโยนเพื่อที่จะไม่แข็งกระด้าง เพราะหัวใจที่แข็งกระด้างและสติปัญญาที่แข็งตัวอุปมาดั่ง
ความชั่งร้ายที่ควรขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ให้พ้นไปจากมัน
“ซึ่งนบี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ให้ห่างไกลจากความรู้ที่ไม่มีประโยชน์
และให้ห่างไกลจากหัวใจที่ขาดความแน่วแน่ (มีสมาธิมั่นคง)”
หัวใจที่ดีงาม (ซอลิหฺ)
ดีชั่วในแต่ละคนนั้นมีสาเหตุมาจากหัวใจของเขา ดั่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้
กล่าวไว้ในหะดิษของท่านความว่า
“จงรู้เถิดว่าในร่างกายของมนุษย์นั้น มีเนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง หากว่ามันดี ทุกส่วนของร่างกายก็จะดีไปด้วย แต่หากมัน
ไม่ดีทุกส่วนของร่างกายก็จะพลอยไม่ดีเช่นเดียวกัน จงรู้เถิดว่ามันคือ หัวใจ”
4

ด้วยเหตุนี้ การรักษาและดูแลหัวใจจากโรคเป็นสิ่งที่มีความสาคัญมาก หัวใจควรได้ รับการทาความสะอาด


ให้ปลอดพ้นจากการชีริกและคุณลักษณะที่ไม่ดีงามต่างๆ เช่น ความอิจฉาริษยา เย่อหยิ่งจองหอง ทะนงตน ตระหนี่
ลุ่มหลงในโลกดุนยา เป็นทาสของกิเลศตัณหา (ฮาวอนัฟซู) และอื่นๆ
ตามทัศนะของอิบนุก็อยยิม อัลเญาซี หัวใจจะดีเมื่อมันรู้จักอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ผู้ที่ทรงสร้าง
มันขึ้นมา รู้จักพระนามของพระองค์ รู้จักคุณลักษณะของพระองค์ รู้จักการกระทาของพระองค์ และการบันดาล
บริหารของพระองค์ หัวใจที่ดีจะตระหนักในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) อยู่เสมอและรัก
ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงโปรดปราน รวมทั้งการห่างไกลจากทุกสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามและโกรธกริ้ว
ความเป็นจริงของสังคมอิสลามในปัจจุบัน
ความเป็นจริงที่ง่ายต่อการทาความเข้าใจประการหนึ่งก็คือ มนุษย์ที่ต้องการเป็นมุสลิมจะต้องได้รับการ
อบรมเลี้ยงดูด้วยการศึกษาอิสลามเท่านั้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่ง่ายๆดัง กล่าวนี้กลับไม่เป็นที่เข้าใจของอุมมะฮฺอิสลาม
ในวันนี้ หรือเป็นสิ่งที่คลุมเครือสาหรับพวกเขา
อุมมะฮฺอิสลามในวันนี้ได้สูญสิ้นไปซึ่งเอกลักษณ์หรือศักยภาพของอุมมะฮฺที่ได้รับเลือกโดยถ้วนหน้า ขาด
ความเข้มแข็งและเป็นประหนึ่งฟองน้า และไม่เป็นที่เกรงขามหรือหวั่นเกรงอีกต่อไป ดังที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ขอความ
สันติจงมีแด่ท่าน) กล่าวไว้ความว่า
“มนุษย์เกือบทั้งหมดได้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อทาลายล้างพวกท่าน ประหนึ่งคนที่หิวกระหายกระทาต่ออาหาร
ในสารับ”พวกเขาถามว่า”เพราะว่าเรามีจานวนน้อยในวันนั้นใช่ไหมครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ”ท่านนบี ตอบว่า”หา
มิได้ในวันนั้นพวกท่านมีจานวนมาก แต่เป็นดั่งฟองของน้าท่วม”
ปัญหาของมนุษย์ในปัจจุบันนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้จนกว่ามนุษย์จะได้กลับคืนสู่อิสลามอีกครั้งหนึ่ง และ
อิสลามเองก็ไม่อาจดาเนินภารกิจดังกล่าวได้เว้นแต่จะมีบรรดาผู้สนับสนุน (‘amilin)
จากการศึกษาประวัติของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) บรรดาผู้สนับสนุนจะได้รับการ
ฝึกฝนอบรมด้วยกระบวนการตัรบัยะฮฺอิสลามียะฮฺโดยการปฏิญาณตนว่าจะ”อูบูดียะฮฺ”เฉพาะต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮา
นะฮูวะตาอาลา) เท่านั้น “อูบูดียะฮฺ” ที่ครอบคลุมถึง อิอฺติก็อด อิบาดะฮฺ และการจัดระเบียบของการปฏิบัติในชีวิต
จริงของพวกเขา “กระบวนการอูบูดียะฮฺ” เช่นนี้จะช่วยขัดเกลาจิตใจของพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากความ
เชื่อถือศรั ทธาที่แปลกปลอมอื่น ๆและคอยระแวดระวังการปฏิ บัติของพวกเขาจากการมุ่งเป้าหมายเพื่ อสิ่ งอื่น
นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)
5

ด้ ว ยกระบวนการดั ง กล่ า วเท่ า นั้ น ที่ อุ ม มะฮฺ อิ ส ลามได้ รั บ การสถาปนาขึ้ น อุ ม มะฮฺ นี้ จ ะเป็ น รากฐาน
ความสาเร็จของอิสลาม อุมมะฮฺที่ประกอบด้วยสมาชิกเช่นพวกเขาซึ่งผ่านกระบวนการที่ผลักดันจาก”กะลีมะฮฺเตา
ฮีต” ซึ่งได้รับการยืนยันจากทุกคนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์”
ตราบใดที่ “ค าปฏิ ญ าณ” นี้ ไม่ ถู ก แปรเป็ น การกระท าในแต่ ล ะบุ ค คล แม้ ว่ า สั ง คมคื อ ผลลั พ ธ์ ข อง
กระบวนการดังกล่าว พวกเขาก็จะขาดความเหมาะสมที่จะเป็นสมาชิกของอุมมะฮฺมุสลิมะฮฺในมโนทัศน์ที่แท้จริง
ของมัน แนวคิดที่แจ่มชัดนี้ ควรจะเป็นที่เข้าใจจากมุสลิมทุกคน ซึ่งจะต้องอาศัยความแน่วแน่มั่นคงในการตัดขาด
ความสัมพันธ์ใดๆกับญาฮีลียะฮฺและเชิดชู “อูบูดียะฮฺ” เฉพาะเพื่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) เท่านั้น
ความเข้าใจที่แจ่มชัดมีความสาคัญมากเพื่อว่าการปฏิบัติในชีวิตประจาวันของมุสลิมทุกคนจะเป็นอิบา
ดะฮฺที่ได้รับการยอมรับ(ริฎอ) จากอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ในอีกแง่หนึ่งคาปฏิญาณนั้นเป็นเงื่อนไขหรือ
รากฐานของระบบที่สมบูรณ์และสามารถปฏิบัติได้ ด้วยเหตุนั้นชีวิตของอุมมะฮฺอิสลามียะฮฺได้ถูกวางรากฐานและ
ควบคุมด้วยเงื่อนไขนี้ ไม่ใช่ด้วยเงื่อนไขอื่นๆ หรื อร่วมกับเงื่อนไขอื่นๆ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในซูเราะฮฺยูซุฟ อายะฮฺที่
๔๐ ความว่า
”...การตัดสินมิได้เป็นสิทธิของใครนอกจากอัลลอฮฺพระองค์ทรงใช้มิให้พวกท่านเคารพอิบาดะฮฺสิ่งใด นอกจาก
พระองค์เท่านั้น นั่นคือศาสนาที่เที่ยงธรรม แต่ส่วนใหญ่ของมนุษย์ไม่รู้” [12.40]
ในซูเราะฮฺ อันนิซะอฺ อายะฮฺที่ ๘๐ อัลลอฮฺทรงตรัสความว่า
“ผู้ใดเชื่อฟังรอซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว...” [4.80]
สืบเนื่องจากรากฐานของกระบวนการก่อตั้งและการเคลื่อนไหวดังกล่าว ก้าวแรกของมันคือ การขัดเกลา
จิตใจให้สะอาดจากการ “อูบูดียะฮฺ” ต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)ทั้งในรูปของ อิอฺติก็
อด อิบาดะฮฺ และกฏหมาย (ชะรีอะฮฺ) อุมมะฮฺที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีหัวใจสะอาดบริสุทธิ์และด้วยหัวใจเช่นนั้น
เท่านั้นที่จะสถาปนาสังคมอิสลามขึ้นมาได้
อุมมะฮฺที่อุบัติขึ้นบนรากฐานของ”เตาฮีต” ไม่สามารถจะเกิดมีได้เว้นแต่จะได้ก้าวขึ้นสู่ระดับความเข้มแข็ง
ที่สามารถเผชิญหน้ากับการทดสอบและการกดดันจากสังคมญาฮีลียะฮฺ ความเข้มแข็งในที่นี้หมายถึง ความมั่นคง
ของอากีดะฮฺ ความเข้มแข็งด้านกฏหมาย (ชะรีอะฮฺ) ความแข็งแกร่งด้านจริยธรรม ความเข้มแข็งขององค์กร ความ
เข้มข้นของความรู้และสารพัดความเข้มแข็งที่จาเป็นสาหรับการต่อต้านการรุกรานของระบบญาฮีลียะฮฺหรืออย่าง
น้อยที่สุดสามารถต้านทานตนเองจากการถูกอิทธิพลของญาฮีลียะฮฺครอบงา

You might also like