You are on page 1of 84

“ของบ่กิ๋นฮู้เน่า ของบ่เล่าฮู้ลืม”

“บ่ลืมของเก่า บ่เมาของใหม่”

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 1
ชื่อหนังสือ : สุขภาพจิตดี...ด้วยวิถีล้านนา
จัดพิมพ์ โดย : ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 (เชียงใหม่)
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เรียบเรียงโดย : อรทัย เจียมดำารัส
ขอบคุณภาพประกอบโดย :
อ.บุญร่วม บุญเลิง
อ.นิตย์ ใจงิ้วคำา
อ.เสกสรรค์ สิงห์อ่อน
อ.มานิตย์ โกวฤทธิ์
อ.สมบูรณ์ สูงขาว
พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรกฎาคม 2559
จำานวนพิมพ์ : 2,000 เล่ม
พิมพ์ที่ : หจก.นันทกานต์ กราฟฟิค/การพิมพ์

2 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
คำานำล้าานนามีศลิ ปวัฒนธรรมทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตน มีภาษาเป็นของตน
ทัง้ ภาษาพูดและภาษาเขียนทีเ่ รียกว่า “กำาเมือง” และ “ตัว๋ เมือง” รวมทัง้ ความคิด
ความเชือ่ ความรูด้ ๆี และพิธกี รรมต่างๆ ทีย่ งั เป็นประโยชน์สามารถส่งเสริม
สุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้ดี น่าเสียดายหากความรูเ้ หล่านี้
จะสูญหายไป “ของบ่กิ๋นฮู้เน่า ของบ่เล่าฮู้ลืม” สิ่งดีๆ ที่ ไม่ ได้ถูกนำามาใช้
นำามาพูดคุย นานวันเข้าก็จะลืมเลือนหายไป
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 “บ่ลืมของเก่า บ่เมาของใหม่” จึงได้พยายาม
รวบรวมของดีของล้านนาทีเ่ ป็นภูมปิ ญ ั ญาในการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยแบ่งเป็น
3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเรื่องของคำาสอน ข้อคิด หรือ”กำาบ่าเก่า” ของ
คนล้านนา พิธกี รรมทีช่ ว่ ยส่งเสริมสุขภาพจิต และหมอเมือง หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า
ผู้อ่านที่เป็นคนรุ่นเก่าจะได้ระลึกถึง และคนรุ่นใหม่ ได้เปิดใจเรียนรู้รับฟัง
คำาและความคิดของคนโบราณล้านนา

นายมนตรี นามมงคล
ผู้อำานวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 (เชียงใหม่)

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 3
4 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
สารบั
บทนำา
ญ 7
กำาบ่าเก่า คนเฒ่าสอนลูกหลาน 11
เข้าใจชีวิต 13
เข้าใจคน 17
เข้าใจปัญหา 20
คนบ่ดี 25
คนดี 29
การทำางาน 33
อุ้ย 37
ความสุข 42
พิธีกรรมล้านนา 45
พิธีกรรมบำาบัด 47
พิธีกรรมสำาคัญของล้านนา 52
หมอเมือง: การแพทย์ล้านนา 71
บรรณานุกรม 79
ผู้ร่วมให้ข้อมูล 81
คณะทำางาน 82

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 5
“ล้านนา”
อาณาจักรโบราณพันปี
โยนกเชียงแสน หริภุญไชย
สถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกโลก
ครั้งแรกในไทย
แหล่งกำาเนิดแม่น้ำาสายใหญ่
เจ้าพระยา
หลอมรวมใจหลายชาติพันธุ์
ไทยวน ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ลัวะ เม็ง
เมี้ยน ม้ง กะเหรี่ยง อาข่า ลาหู่ ลีซู

6 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
บทนำ า
ล้านนา : แดนดินถิ่นอารยธรรม
อาณาจักรล้านนา เริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพญามังราย
เป็ น ผู้ ร วบรวมหั ว เมื อ งน้ อ ยใหญ่ ท างภาคเหนื อ แล้ ว ตั้ ง เชี ย งราย
เป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ.1805 ต่อมาได้รวบรวม 2 อาณาจักรใหญ่
เข้าด้วยกัน คือ อาณาจักรโยนกเชียงแสน และอาณาจักรหริภุญไชย
รวมเรียกว่า “อาณาจักรล้านนา” ใน พ.ศ.1835
อาณาจักรล้านนาเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช มหาราช
แห่งล้านนา ในสมัยของพระองค์ดินแดนล้านนาขยายอาณาเขตถึงพม่า
และลาว ในด้านจิตใจ ยุคนี้พุทธศาสนาเจริญอย่างมาก จนเป็นสถานที่
สังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลก และเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ณ วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 7
ปัจจุบันนี้ถ้าพูดถึงล้านนา จะหมายถึงพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ
ตอนบน อันได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำาพูน ลำาปาง พะเยา แพร่
แม่ฮอ่ งสอน และน่าน คนกลุม่ นีจ้ ะเรียกตนเองว่าเป็น “คนเมือง” มีภาษาพูด
และภาษาเขียนเป็นของตนเรียกกัน “กำาเมือง” และ “ตั๋วเมือง” มีวิถีชีวิต
และวัฒนธรรมทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ไม่วา่ จะเป็นเสือ้ ผ้า อาหาร การแพทย์
บ้านเรือนสิง่ ก่อสร้าง ดนตรี(สะล้อ ซอ ซึง) การขับร้อง(จ๊อย ซอ) บทประพันธ์
(โคลง ค่าว) การฟ้อนรำา การต่อสู้ และประเพณีพิธีกรรม

วิถีล้านนา : ส่งเสริมสุขภาพจิต
ความอุดมสมบูรณ์และความงามของธรรมชาติก่อเกิดต้นน้ำาปิง
วัง ยม น่าน แม่นา้ำ 4 สายรวมเป็นแม่นา้ำ สายใหญ่ “เจ้าพระยา” ทีห่ ล่อเลีย้ ง
ผู้คนจากภาคเหนือถึงภาคกลาง นับจากนครสวรรค์ถึงสมุทรปราการ
รวม 10 จังหวัด ธรรมชาติหล่อหลอมความคิดและความเชื่อของคน
คนล้านนาโบราณจึงมีวถิ ชี วี ติ ทีเ่ คารพและเห็นคุณค่าของธรรมชาติ ตระหนักถึง
ความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เชื่อว่าธรรมชาติของคน สัตว์ สิ่งของจะมีขวัญ
เชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์ และอำานาจเหนือธรรมชาติ
วิถีชีวิตของคนล้านนามีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนาพุทธ ผี
พิธีกรรม ในด้านสุขภาพคนล้านนามีความเชื่อว่าสาเหตุของการเจ็บป่วย
มี 7 ประการ คือ การเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 ภาวะจิตอ่อนแอหรือ
ขวัญอ่อน ชะตากรรมหรือมีเคราะห์ ถูกผีทำา ถูกผีเข้า ถูกคุณไสยมนตร์ดำา
และขึด การรักษาจึงต้องรักษาตามเหตุ
หากการเจ็บป่วยเกิดจากสาเหตุแรก คือ การเสียสมดุลของธาตุ
ทั้ง 4 หมอพื้นบ้านล้านนา หรือ “หมอเมือง” มีวิธีการรักษา 23 วิธี ได้แก่
การนวด เอาเอ็น ดัดดึง ตอกเส้น เช็ดแหก ยำาขาง เหน่น เข้าเฝือก
ขวากซุย ลั่นม่าน ฝังจอบพิษ แช่น้ำาร้อน แช่น้ำาเย็น ลาบสาร สับสาร เช็ดไข่
แทงมือ บ่งก้น เผาเทียน โฮมไฟ ขูด ปัด เป่าห่า ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธี ใด
หมอผู้รักษาต้อง มีศีล มีครู มีความรู้เรื่องสมุนไพร และมีมนต์คาถา
8 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
โดยเชื่อว่านั่นคือพลังของหมอผู้รักษา ถ้าผู้รักษามีศีลจะมีพลังในการรักษา
และถ้ามีครูและคาถาจะช่วยเพิ่มความศักดิ์สิทธ์ ทำาให้หายขาดจากโรค
ที่เป็นอยู่
การเจ็บป่วยทางจิต นับตั้งแต่การเป็นโรคจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล
หรือแม้แต่ความทุกข์ ใจเมือ่ มีปญั หาเข้ามาในชีวติ ไม่วา่ จะเป็นปัญหาสุขภาพ
เจ็บป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยร้ายแรง ประสบอุบัติเหตุ ปัญหาครอบครัว ปัญหา
การงาน โดยเฉพาะถ้าผูป้ ระสบปัญหาได้พยายามทำาดีแล้ว แต่ยงั เกิดปัญหา
อีก คนล้านนาเชื่อมีสาเหตุมาจาก 6 สาเหตุหลัง คือ ภาวะจิตอ่อนแอหรือ
ขวัญอ่อน ชะตากรรมหรือมีเคราะห์ ถูกผีทำาถูกผีเข้า ถูกคุณไสยมนตร์ดำา
และขึด จึงไม่น่าแปลกใจที่ยังมีคนล้านนาไปใช้บริการของหมอพื้นบ้าน
ล้านนาอยู่ เพราะเป็นการรักษาทีเ่ ชือ่ ว่าแก้ ได้ตรงกับสาเหตุ หรือ เกาถูกทีค่ นั
ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคจิต ชาวบ้านมักอาศัยการรักษาทางการแพทย์
แผนปัจจุบันเป็นหลัก แต่ ในกรณีที่มีปัญหาเข้ามาในชีวิต ทำาให้ชีวิตมีแต่
อุปสรรค ติดขัด ไม่ราบรื่น ชาวบ้านมักไปหาหมอพื้นบ้านล้านนา เช่น
เมือ่ เด็กเล็กๆ เลีย้ งยาก งอแง เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุบอ่ ยๆ ครอบครัว
จะต้องทำาพิธี “ส่งหาบส่งคอน” ให้ “พ่อเกิดแม่เกิด” หรือทำา “พิธีแกว่งข้าว”
ถาม “ผีย่าหม้อนึ้ง” เพื่อถามถึงสาเหตุที่ป่วย หรือถามหาของหายก็ ได้
เมื่อทำางานไม่ก้าวหน้า ชีวิตมีแต่ปัญหาอุปสรรค ประสบอุบัติเหตุ ก็จะ
“สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ฮ้องขวัญ” เมื่อบุคคลใกล้ชิดเสียชีวิตก็จะทำา
“พิธีสูดถอน / พิธีตัด” “ตานขันข้าว” รวมถึง “การลงขอน” เพื่อติดต่อกับ
ผู้เสียชีวิต
แม้ประเพณี พิธีกรรมบางอย่างจะถูกหลงลืม ละเลยการสืบทอด
แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ “คนเมือง” ยังมีความเชื่อและปฏิบัติอยู่ สิ่งที่
ยังคงปฏิบัติกันอยู่นี้ย่อมแสดงถึงคุณค่าของมัน ที่ทำาให้ผู้ปฏิบัติมีพลังใจ
มีความหวังในการดำาเนินชีวติ เป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหา
สุขภาพจิตทางหนึ่ง

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 9
การรักษาของหมอเมืองถือเป็นแพทย์ทางเลือกที่เป็นการรักษา
แบบองค์รวม ดูแลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ความเป็นเอกลักษณ์ของคนล้านนา ทำาให้ภูมิภาคนี้มีปัญหาสุขภาพ
จิตที่เป็นเอกลักษณ์เช่นกัน ด้วยนิสัยที่สุภาพ อ่อนโยน รักความสงบ
ขีเ้ กรงใจ ไม่ชอบมีเรือ่ งกระทบกระทัง่ เมือ่ มีปญ
ั หาจึงไม่พดู อย่างตรงไปตรงมา
กับคู่กรณี แต่จะเก็บกดไว้ ในใจ หรือไม่ก็จะระบายความในใจออกด้วย
การพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งทำาให้กลายเป็นการนินทากัน ลักษณะนี้เป็นสาเหตุ
หนึ่งของการฆ่าตัวตาย ภูมิภาคล้านนาเป็นพื้นที่ที่มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุด
ในประเทศไทยต่อเนือ่ งเป็นระยะเวลานาน ตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั การให้ความ
รู้ที่ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทของชุมชนจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม
สุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 “บ่ลืมของเก่า บ่เมาของใหม่” จึงได้รวบรวม
องค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยแบ่งเป็น
3 ส่วน คือ
กำาบ่าเก่า คนเฒ่าสอนหลาน รวบรวมคำาสอนดีๆ ที่คนโบราณ
ล้านนาสั่งสอน เตือนสติ ในเรื่องการเข้าใจชีวิต เข้าใจคน เข้าใจปัญหา
รวมทั้งการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
พิธีกรรมล้านนา พิธีกรรมบำาบัดช่วยเสริมขวัญและกำาลังใจ
เป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
หมอเมือง การแพทย์ล้านนาที่ยังได้รับความนิยมอยู่ โดยเฉพาะ
เรือ่ งของ การนวดกล้ามเนือ้ เส้นเอ็นเพือ่ คลายความตึงเครียด บำาบัดรักษา
โรคและเสริมภูมิคุ้มกัน

10 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
กำาบ่าเก่า
คนเฒ่าสอนลูกหลาน

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 11
12 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
เข้าใจ
ชีวิต
อายุ 10 ปี๋ อาบน้ำาบ่หนาว
อายุ 20 ปี๋ แอ่วสาวบ่ก้าย
อายุ 30 ปี๋ บ่หน่ายสงสาร
อายุ 40 ปี๋ เยี่ยะก๋ารเหมือนฟ้าผ่า
อายุ 50 ปี๋ สาวหน้อยด่าบ่เจ็บใจ๋
อายุ 60 ปี๋ ไอเหมือนฟานโขก
อายุ 70 ปี๋ บ่าโหกเต๋มตั๋ว
อายุ 80 ปี๋ ใค่หัวเหมือนไห้
อายุ 90 ปี๋ ไข้ก็ต๋ายบ่ ไข้ก็ต๋าย
อายุ 100 ปี๋ บ่ตา๋ ยก๋ายเป๋นละอ่อน

โฉลกล้านนาบทนี้แสดงถึงความเข้าใจ
เรื่องชีวิตคนแต่ละวัย

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 13
เด็กอายุ 10 ร่างกายแข็งแรงมีพลัง อาบน้าำ ก็ ไม่รสู้ กึ หนาว พอเข้าสู่
วัยรุน่ อายุ 20 ปี ก็เริม่ มีความสนใจเรือ่ งรักๆ ใคร่ๆ อายุ 30 ปี ก็ยงั รูส้ กึ ว่า
ชีวติ มีความสุข ไม่รเู้ บือ่ พออายุ 40 ปี ทำางานหนักเพือ่ สร้างครอบครัว อายุ
50 ปี ผ่านโลกมีประสบการณ์ชีวิตมามากพอที่จะไม่สนใจเรื่องเล็กๆ น้อย
สาวน้อยด่าก็ ไม่เจ็บใจ สามารถปล่อยวางได้ หรืออีกความหมาย คือ โคแก่
ที่อยากกินหญ้าอ่อน
อายุ 60 ปี เข้าสู่วัยชรา เริ่มมี โรคประจำาตัว 70 ปี โรครุมเร้า
หลายอย่าง 80 ปี สังขารเสือ่ มลงอย่างชัดเจน หัวเราะก็เหมือนร้องไห้ 90 ปี
เสียชีวติ ได้งา่ ยแม้ ไม่ปว่ ยก็ตายได้ บางคนสำาลักอาหารตาย บางคนนอนหลับตาย
และถ้าอายุถงึ 100 ปี ก็สงั ขารก็เสือ่ มลงมาก สมองเสือ่ ม ช่วยเหลือตนเองไม่ ได้
เหมือนเด็ก ต้องมีคนคอยดูแลเอาใจใส่

นอกจากแสดงถึงความเข้าใจเรือ่ งพัฒนาการของคนเราแต่ละวัยแล้ว
โฉลกบทนี้ยังเตือนสติ ให้ ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท เพราะชีวิตผ่าน
ไปอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่อายุไม่ถึงร้อยปีก็ตายแล้ว ที่น่าคิดไปกว่านั้น
ก็คอื เราไม่รวู้ า่ เวลาของเราเหลือเท่าไร บางคนอาจเหลือ 50 ปี 30 ปี 10 ปี
14 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
5 ปี หรือ 5 วัน เคยถามตัวเองบ้างไหมว่า “เวลาทีผ่ า่ นไปเราทำาอะไรอยู”่
ถ้าชีวิตคือการเดินทางจากฟากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง “ตอนนี้เราเดินมา
ถึงไหนแล้ว” “เราเดินมาถูกทางหรือหลงทาง” “เราเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง”
“อะไรคือสิง่ สำาคัญทีส่ ดุ ในชีวติ ทีเ่ ราควรจะทำาแล้วยังไม่ ได้ทาำ ” “เราอยากจะ
ทำาชีวติ ให้ดกี ว่านี้ ไหม” “ถ้าเดินทางไปถึงอีกฝัง่ แล้วมองกลับมา จะรูส้ กึ เสียดาย
การใช้ชีวิตที่ผ่านมาของตนเองไหม”
เราจะไม่เสียดาย หรือเสียใจภายหลัง หากใช้ชีวิตด้วยความ
ไม่ประมาท และทำาชีวิตให้ดีที่สุด ณ เวลานั้น
พระ ว.วชิรเมธี พระภิกษุชาวล้านนา แนะนำาว่าหัวใจของการดำารงชีวติ
อยู่อย่างดีที่สุด คือ การดำารงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ไม่ประมาทในชีวิต ว่าจะยืนยาว
ไม่ประมาทในวัย ว่ายังหนุ่มสาว
ไม่ประมาทในสุขภาพ ว่ายังแข็งแรงอยู่
ไม่ประมาทในเวลา ว่ายังมีอีกมาก
ไม่ประมาทในธรรม ว่าเอาไว้ก่อน วันหลังค่อยสนใจ

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 15
ฉะนั้น “รีบตื่น” “รีบทำา” ถามตนเองอีกครั้งถึงเป้าหมายชีวิต
อะไรคือความสุขที่แท้จริง อะไรคือสิ่งที่ต้องการมากที่สุด อะไรคือสิ่งที่
อยากทำามากที่สุด

เวลาเปลี่ยนไป วัยก็เปลี่ยนแปลง จากเด็กน้อย กลายเป็นผู้สูงวัย


จากความสุขกลายเป็นความเสื่อม เวลาแต่ละปีผ่านไปอย่างรวดเร็ว ลงมือ
ทำาตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะสายเกินไป

“คนหนุ่มผ่อตางหน้าอย่างมีความหวัง..คนเฒ่าผ่อตางหลัง
ด้วยความเสียดาย”
(คนหนุ่มสาวมองไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง..คนเฒ่ามองกลับไป
ข้างหลังด้วยความเสียดาย)
คนบ่าเก่าเปิ้นเตือนไว้.....

16 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
เข้าใจ
คน
ถ้าพูดถึงคนแล้ว คนโบราณล้านนามีความเข้าใจคนและให้ความสำาคัญ
ความแตกต่างของคนไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องความต่างกันของคน…

ต่างกันเพราะ...วัย
“ละอ่อนหันแต่กาำ เป๊า คนเฒ่าหันแต่กาำ กิน๋ ” เด็กเล็กชอบคำายกยอ
ผู้สูงอายุชอบอาหารการกิน
“จับใจ๋งู บ่จูใจ๋เขียด จับใจ๋เปี๊ยด บ่เปิงใจ๋ ไม้กาน จับใจ๋หลาน
บ่ถกู ใจ๋คนเฒ่า” ถูกใจงู ไม่ถกู ใจ เขียด ถูกใจกระบุง ไม่ถกู ใจไม้คาน ถูกใจหลาน
ไม่ถูกใจผู้สูงอายุ เด็กกับผู้สูงอายุก็คิดและชอบไม่เหมือนกัน

ต่างกันเพราะ...บทบาทหน้าที่
“จับ๋ ใจ๋แฮ้งบ่แน่นใจ๋กา๋ จับ๋ ใจครูบาบ่จบั๋ ใจ๋พระน้อย” ถูกใจแร้ง
แต่ ไม่ถกู ใจกา ถูกใจเจ้าอาวาสแต่ ไม่ถกู ใจพระลูกวัด เจ้าอาวาสกับพระลูกวัด
ก็คิดและชอบไม่เหมือนกัน

ต่างกันเพราะ...รสนิยม ความชอบ
“ของกิ๋นลำาอยู่ตี้คนมัก ของจักฮักอยู่ตี้เปิงใจ” อาหารจะอร่อย
ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ของอย่างหนึ่งจะเป็นของรักหรือไม่
ก็อยู่ที่ความพึงพอใจของคนๆ นั้น แต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 17
ต่างกันเพราะ...การให้คุณค่า
“ขีแ้ ห้งจับ๋ ต๋าหมา” (ขีแ้ ห้งต้องตาสุนขั ) ของที่ ไม่มคี ณ
ุ ค่าในสายตา
คนหนึง่ อาจมีคณ ุ ค่าสำาหรับอีกคนหนึง่ แต่ละคนก็ ให้คณ ุ ค่าต่อสิง่ หนึง่ สิง่ ใด
ต่างกัน
ความแตกต่างนีย้ งั เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทีแ่ ม้แต่พนี่ อ้ งก็ ไม่เหมือนกัน
“ไม้เล่มเดียวก็ต่างปล้อง ปี้น้องกั๋นแต้ๆก็ยังต่างใจ๋” ถึงจะเป็นพี่น้อง
ท้องเดียวกัน ก็ ไม่เหมือนกัน
เพราะมีทมี่ าต่างกัน พืน้ ฐานความคิด ความชอบ ทัศนคติ การศึกษา
ฐานะ สถานภาพ ประสบการณ์ชีวิต ฯลฯ ต่างกัน ฉะนั้นแล้ว ไม่มี ใคร
เหมือนใคร
ถ้าเข้าใจธรรมชาติของความต่าง อย่างทีค่ นโบราณเข้าใจ ก็เท่ากับว่า
เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
เข้าใจคน เข้าใจผูอ้ นื่ ทีเ่ ขาไม่เหมือนกับเรา สามารถยอมรับความคิด
และการกระทำาของเขาได้ แม้จะคิด ชอบ หรือทำาไม่เหมือนกับเรา
เราจะกลายเป็นคนที่จิตใจเปิดกว้าง เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง

18 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
และมีใจเป็นสุข ไม่รู้สึกหงุดหงิด ไม่รู้สึกโกรธที่เขาไม่ ได้ดั่งใจเรา
เพราะรูเ้ ป็นเรือ่ งปกติธรรมดาทีเ่ ขาจะไม่เหมือนเรา เข้าใจเขา เราก็เป็นสุข
เข้าใจตน ในเมื่อเขาไม่เหมือนเรา และเราก็ ไม่เหมือนเขา ก็เป็น
เรื่องธรรมดาที่เราจะไม่สามารถทำาให้ทุกคนถูกใจได้ จึงไม่จำาเป็นที่เรา
จะต้องตำาหนิตนเอง เพราะไม่มีทางที่จะทำาให้ทุกคนพอใจ เราจะรักและ
ยอมรับตนเองได้ แม้ว่าเราจะมีบางอย่างที่ต่างจากผู้อื่น ไม่จำาเป็นที่เรา
ต้องเหมือนใคร ไม่ขาว จมูกไม่ โด่ง แต่ก็ยังพอใจตัวเอง
เข้ า ใจชี วิ ต ในชี วิ ต มี ค วามต่ า งจึ ง อยู่ ไ ด้ เหมื อ นหายใจเข้ า
ก็ต้องหายใจออก หัวใจที่บีบแล้วก็ต้องคลาย หลับแล้วก็ต้องตื่น กินแล้ว
ก็ต้องขับถ่าย ฯลฯ ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งชีวิตก็อยู่ ไม่ ได้ ในสังคมก็ต้องมี
คนแตกต่างกัน เหมือนคำาโบราณว่า “คนง่าวบ่มี คนผญ๋าดีก็ง่อม”
ถ้าไม่มีคนโง่ คนปัญญาดีก็เหงา แม้ว่าคนปัญญาดีจะเก่งหลายเรื่อง
แต่ก็มีหลายอย่างที่คนปัญญาดีทำาไม่ ได้ แต่คนโง่ทำาได้ดี ต้องอาศัยพึ่งพา
คนโง่ ชีวิตต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ ได้
ในทางจิตวิทยากล่าวว่า คนเรามีความเหมือนกัน อยู่ 5 เรื่อง
คือ ความต้องการทางกาย (เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ ยารักษาโรค)
ต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ต้องการความรัก ต้องการ
มีศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจตนเอง และต้องการเป็นมนุษย์ โดยสมบูรณ์

ไม่ว่าจะเป็นความเหมือนกัน หรือความต่างกัน
ถ้ามีความเข้าใจตนเอง ก็ทำาให้เราเข้าใจผู้อื่น เข้าใจชีวิต
นี่คือสิ่งที่ทำาให้เรามีชีวิต “อยู่รอด” และ “อยู่ร่วม” กับผู้อื่นได้

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 19
เข้าใจ
ปัญหา
สุขหรือทุกข์ อยูท่ กี่ ารคิดหรือมอง ปัญหาเรือ่ งเดียวกัน บางคน
ก็คดิ ว่าเป็นปัญหาและทุกข์อยูก่ บั มัน อีกคนอาจไม่คดิ อะไรเลย “ปูม๋ ผญ๋า”
หรือ ภูมปิ ญ
ั ญาในการมองชีวติ ของคนล้านนาทีส่ อนวิธคี ดิ ที่ ไม่สร้างความเครียด
สอนให้คิดเป็น คือ คิดแล้วเป็นประโยชน์ต่อแก้ปัญหา

ทุกชีวิตมีปัญหา
“ฝนบ่ตก บ่ฮู้เฮือนไผฮั่ว” ถ้าฝนไม่ตก ก็ ไม่รู้ว่าเรือนของใครรั่ว
ช่วงทีเ่ รามีปญั หา มีความทุกข์ เรามักจะคิดว่า “ทำาไมถึงต้องเป็นเรา” “ทำาไม
เราถึงโชคร้ายอย่างนี้” “ทำาไมชีวิตของคนอื่นไม่เห็นมีปัญหาเหมือนเรา”
“โลกนี้ ไม่มคี วามยุตธิ รรม” แล้วเราก็จะรูส้ กึ โกรธ น้อยใจในวาสนาโชคชะตา
ของตนเอง และอิจฉาชีวติ ของคนอืน่ ทีม่ แี ต่ความสุข โดยลืมนึกไปว่า แท้จริงแล้ว
ชีวิตของเขาก็ ไม่ ได้ต่างกันกับชีวิตของเรา เขาก็มีปัญหาหรือมีทุกข์เช่นกัน
เพียงแต่เราไม่เห็น ไม่รู้ เห็นแต่ด้านที่เขามีความสุข ฉะนั้นอย่าคิดว่า
เราเป็นคนเดียวที่มีปัญหา ความทุกข์เป็นเรื่องปกติของทุกคน

ไม่มี ใครมีชีวิตสมบูรณ์แบบและสมหวังทุกอย่าง
“พระจัน๋ อยูฟ ่ า้ เป๋นเหยือ่ ราหู ปล๋าเหยีย่ นอยูฮ่ ยู งั ต๋ายถูกส้อม”
พระจันทร์ทอี่ ยูบ่ นฟ้ายังถูกราหูอม ปลาไหลทีอ่ ยู่ ในรูยงั ตายเพราะถูกส้อม
(ส้อม อุปกรณ์จับปลาไหลของล้านนา)

20 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
“ขีเ้ หมีย้ งเกิดกับ๋ เหล็ก” สนิมเกิดกับเหล็ก ทุกสิง่ ย่อมมีขอ้ บกพร่อง
แม้แต่เหล็กที่ว่าแข็งก็เป็นสนิม
คนที่แข็งแรงที่สุด คนที่ดีที่สุด คนที่เก่งที่สุด คนที่รวยที่สุด หรือ
แม้แต่คนทีม่ อี าำ นาจมากทีส่ ดุ ล้วนมีปญ ั หา มีจดุ อ่อน มีขอ้ บกพร่อง มีชว่ งเวลา
ที่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเขามีปัญหาแบบไหน บางคนชีวิต
มีแต่ปัญหา ทำาอะไรก็ ไม่ก้าวหน้า มีแต่อุปสรรค คิดหวังสิ่งใดไว้ก็ ไม่เคย
สมหวัง อย่างทีค่ นล้านนาเรียกว่า “จ้ะต๋าบ่ากอกแห้ง” บางคนชีวติ ส่วนใหญ่
ดีเป็นปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไป แต่บางช่วงที่ “จ้ะต๋าตก” ก็มีปัญหา
เข้ามาในชีวติ ทีละเรือ่ ง สองเรือ่ ง ชีวติ จะมีปญ
ั หาแบบใดก็ขนึ้ อยูก่ บั “ก๋รรมไผ
เวรมัน” กรรมเวรของแต่ละคน แต่ทแี่ น่นอนทีส่ ดุ คือทุกคนมีปญ ั หา ไม่มี ใคร
มีชีวิตสมบูรณ์แบบและสมหวังทุกอย่าง

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 21
ชีวิตมีสองด้านเสมอ
“ม่วนงันมี ไหน โศกตุก๊ มีหนั้ ” สุขทุกข์เป็นของคูก่ นั ชีวติ มีสองด้าน
มีทั้งความสุขและความทุกข์ จึงไม่ ใช่เรื่องแปลกที่บางช่วงของชีวิตของ
คนเราจะมีปัญหา มีความทุกข์ แต่อย่างไรก็ตามความทุกข์หรือปัญหานี้
ก็ ไม่ ได้อยูก่ บั เราไปตลอด วันหนึง่ มันก็จะจากไป ปัญหามันมีวนั จบ มีทสี่ นิ้ สุด
แม้วา่ บางเรือ่ งอาจต้องใช้เวลา แต่มนั ก็ตอ้ งจบ ถ้าเราคิดได้อย่างนีเ้ ราก็จะทุกข์
น้อยลง แต่ถ้าคิดไม่ ได้ก็เท่ากับทุกข์คูณสอง คือทุกข์จากความเครียด
ในการหาทางแก้ปญ ั หา และทุกข์ทเี่ กิดจากความรูส้ กึ ท้อถอย สิน้ หวัง เมือ่ รูว้ า่
สุขทุกข์เป็นของคู่กัน เป็นสิ่งที่เราต้องพบเจอโดยอย่างแน่นอน จึงควรมี
การเตรียมใจและไม่ประมาทในการใช้ชวี ติ เพราะขณะทีช่ วี ติ กำาลังอยู่ ในช่วง
ความสุข ความทุกข์ก็อาจจะตามมาในอีกไม่ช้า

อย่าหนีปัญหา
เมื่อมีปัญหาอย่าหนีปัญหา ปัญหาบางอย่างถ้าไม่รีบแก้ก็ยิ่งสะสม
เป็นดินพอกหางหมู ยิง่ นานวันยิง่ แก้ ไขยาก เช่น ปัญหาทีเ่ กิดนิสยั พฤติกรรม
ความเคยชินบางอย่าง และในบางครัง้ การแก้ปญ ั หาก็ตอ้ งอาศัยความพร้อม
ทางใจในการเผชิญหน้ากับมัน อาจหยุดพัก รอและแก้ ในเวลาที่เหมาะสม
แต่ ในทีส่ ดุ ก็ตอ้ งหาทางแก้ ไข เพราะจะหนีอย่างไรก็หนี ไม่พน้ โดยเฉพาะปัญหา
ความทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรือ่ งทีห่ นีอย่างไรก็ ไม่พน้ อย่างที่
คนล้านนาพูดว่า “หนีฝนบ่ป๊นฟ้า” “ตุ๊กจะไปหนี มีจะไปอวด” จึงต้อง
เรียนรู้และทำาใจยอมรับ

อย่าเก็บปัญหามาคิดให้หนักใจ
ปัญหาเมือ่ เกิดขึน้ แล้วเหมือน “น้าำ ควาำ บ่เต็มไห” น้าำ ทีห่ กควาำ ไปแล้ว
ยากทีจ่ ะเก็บกลับคืนมาได้ สิง่ ทีส่ ญ
ู เสียไปแล้ว ยากทีจ่ ะกลับคืนมา แม้จะเสียใจ
มากเท่าไร เสียดายมากเท่าไร คิดถึงมากแค่ ไหน ก็ ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
มีแต่จะทำาให้เป็นทุกข์มากขึน้ เท่านัน้ “หน่วยนักหนักกิง่ กำากึดยิง่ หนักใจ๋”
(ต้นไม้ยิ่งมีผลมากยิ่งหนักกิ่ง ความคิดยิ่งคิดมากยิ่งหนักใจ)

22 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
รู้จักใช้ โอกาสที่เกิดให้เกิดประโยชน์ แม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
จะเป็นเรือ่ งไม่ดี คิดกลุม้ กังวลใจไปก็มแี ต่จะทำาให้เกิดความเครียด แต่ถา้ คิด
ในด้านดีก็สามารถใช้เป็นประโยชน์จากมันได้ เช่น “เก็บผักหักหลัว ตกขั๋ว
ลวดอาบน้ำา” เก็บผักเลยหักฟืน ตกสะพานเลยอาบน้ำา ถ้าพลาดไปแล้ว
ก็หาโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น “มารบ่มี ปารมีบ่กล้า” ไม่มีมาร
บารมีก็ ไม่แก่กล้า ไม่มปี ญ
ั หา ก็ ไม่มปี ญ
ั ญา อุปสรรคทำาให้มปี ญ
ั ญาและเข้มแข็ง

อย่าสร้างปัญหาหรือภาระเพิ่ม
ขณะที่มีปัญหาอยู่แล้ว พยายามอย่าสร้างปัญหาเพิ่ม เพราะจะยิ่ง
สร้างภาระให้ตอ้ งจัดการกับปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน “ขีเ่ รือน้าำ นอง ซ้อนสอง
จ๊างล่ม” นั่งเรือตอนน้ำาหลาก ถ้าซ้อนสองคนจะล่มได้

แก้ปัญหาให้ถูกทาง
การแก้ปญ
ั หาให้ ได้จริง ต้องแก้ ให้ตรงจุด คือแก้ทตี่ น้ เหตุของปัญหา
ซึ่งต้องมีความละเอียดรอบคอบ ไม่ด่วนตัดสินสาเหตุของปัญหา ก่อนจะ
ตัดสินใจใดๆ ควรพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ จึงจะแก้ปัญหาให้หมด
ไปได้อย่างแท้จริง

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 23
“ก้นหม้อบ่ฮอ้ น บ่เป็นแต่ ไห มันเป๋นแต่ ไฟ บ่ ใจ่กบั หม้อ” ก้นหม้อ
ไม่รอ้ น ไม่ ใช่เพราะไหนึง้ ข้าว แต่เป็นเพราะไฟ การจะทำาให้หม้อร้อนก็ตอ้ งแก้
ที่ ไฟ ไม่ ใช่ที่หม้อ
ลดความคาดหวัง ลดเป้าหมาย
เมือ่ สิง่ ต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่ ใจต้องการ อาจต้องลดความคาดหวังลง
ปรับความคิดใหม่ “ก๋ำาขี้ดีกว่าก๋ำาตด” (กำาขี้ดีกว่ากำาตด) ได้น้อยดีกว่า
ไม่ ได้เลย พอใจในสิ่งที่ ได้ ทำาให้ ไม่ทุกข์เพราะผิดหวัง และมีความสุขได้
เมื่อได้ทำาสุดความสามารถแล้วสำาเร็จ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม หรือ
จำาเป็นต้อง “กกหางปล่อยวัด” ตัดหางปล่อยวัด เรียนรูท้ จี่ ะปล่อยไป เมือ่ พยายาม
ทำาดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยงั ไม่ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นก็ปล่อยวาง เพราะสัตว์ โลก
ย่อมเป็นไปตามกรรมของตน

คิดแต่ไม่เครียดและแก้ปัญหาได้ หรือจะคิดแล้วเครียด
และเพิ่มปัญหา วิธีคิดเป็นสิ่งสำาคัญในการจัดการชีวิต
เมื่อมีปัญหาความทุกข์ใจ

24 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
คน
บ่ดี
ในชีวิตของคุณเคยเจอคนอย่างนี้บ้างไหม ?
คนเกียจคร้าน
“กิน๋ ข้าวงายแล้วนอน กิน๋ ข้าวตอนแล้วแอ่ว” กินข้าวเช้าแล้วนอน
กินข้าวกลางวันแล้วเที่ยว
“เจ๊าก็วา่ งาย ขวายก็วา่ แดด” เช้าก็วา่ สาย สายก็วา่ ร้อน คนขีเ้ กียจ
มักผลัดวันประกันพรุ่ง มีข้ออ้างที่จะไม่ ไปทำางาน
“เจื้อบ่าแต๋งลาย มันตึงบ่ขึ้นซ้าง” พันธุ์แตงไทยย่อมไม่ขึ้นร้าน
หมายถึงคนไม่เอาไหน

คนเห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น
“กิ๋นของเปิ้น ไว้ของตั๋ว” กินของคนอื่น เก็บของตน

คนไม่มีน้ำาใจ
“คนขีจ้ ิไผบ่ถามหา คนมีเมตต๋าไปไหนบ่กลัน้ ” คนตระหนีถ่ เี่ หนียว
ใครก็ ไม่อยากคบ คนมีเมตตาย่อมได้รับน้ำาใจเสมอ

คนที่ชอบตำาหนิผู้อื่น
“ว่าหื้อเปิ้น บ่ซวามง่อนตั๋ว” ว่าให้เขา ไม่ดูตนเอง

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 25
คนลืมตัว
“หนังแห้งบ่เคยปอง” คนที่ตกยากมานาน พอได้ดีมักจะลืมตัว

คนโอ้อวด
“น้ำาบ่เต็มต้นมันตึงดัง” คนไม่รู้จริงมักอวดรู้ หรือคนไม่รวยจริง
มักอวดรวย
“กึดว่าตั๋วหล็วกคือง่าว กึดว่าตั๋วง่าวคือหล็วก” คนฉลาดย่อม
ถ่อมตน คนโง่อวดฉลาด
“สูงล้าำ จัง้ หัก หนักล้าำ จัง้ โก้น” อย่าโอ้อวดตัวหรือทำาอะไรเกินพอดี
อาจเกิดผลเสียได้

คนโกหก หลอกลวง ไม่ซื่อสัตย์


“หล็วกบ้านนอก บ่เต้าสอกกอกในเวียง สิบในเวียงบ่เปียงในคอก
สิบในคอกบ่เต้าวอกขีย้ า สิบขีย้ าบ่เต้าฮาจะหือ้ สิบจะหือ้ บ่เต้าดักจือ้ กือ้
เตียวหนี” เป็นการเปรียบเทียบคนที่ โกหก ปลิ้นปล้อน จากน้อยไปมาก
คนฉลาดบ้านนอกยังสู้ โง่ ในเมืองไม่ ได้ คนฉลาดในเมืองยังไม่เท่าคนขี้คุก
คนขี้คุกยังไม่เท่าคนติดยา คนติดยายังโกหกกลิ้งกอกแพ้คนที่สัญญาว่า
จะให้ คนที่ว่าจะให้ก็ยังไม่เท่ากับคนเงียบๆ เดินหนี

คนใจร้อน
“เปียะได้ ไหม้เสี้ยง” เปียกได้ ไหม้เสีย คนใจเย็นย่อมได้เปรียบ
คนใจร้อน

คนเก็บกด
“กึม้ งึม้ ดืม่ ใน น้าำ บ่ ไหลเจีย่ วปืน้ ” เงียบนิง่ แต่ภายในเหมือนน้าำ เชีย่ ว
อยู่เบื้องล่าง หรือน้ำานิ่งไหลลึก
“หมาบ่เห่า ขี้ขบ” หมาไม่เห่ามักกัด คนเงียบๆ มักเอาเรื่อง

26 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
คนที่มีความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
“จ๊างเฒ่ายำางวง ปล๋าตั๋วหลวงต๋ายน้ำาตื้น” คนฉลาดมีความรู้
แต่พลาดท่าเสียทีด้วยเรื่องง่ายๆ
“หล็วกก๊านแหลม” หรือ “หล็วกบ่าเต่าแหลม” คนฉลาดแพ้คน
มีปฏิภาณไหวพริบดี ฉลาดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต้องมี ไหวพริบปฏิภาณ
ด้วยจึงจะดี
นี่คือคน 10 ประเภทที่ คนโบราณล้านนาว่าเป็นคนบ่ดี
จะทำาอย่างไรถ้าจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ?
“คนบ่ด”ี ซึง่ ไม่ ได้หมายถึงคนชัว่ แต่เป็นคนทีอ่ าจนำาความเดือดร้อน
มาให้ เช่น คนที่ ไม่ซื่อสัตย์ หลอกลวง หรือแค่ทำาให้รู้สึกหงุดหงิดรำาคาญใจ
เช่น คนทีช่ อบโอ้อวด ความรูส้ กึ จะรุนแรงแค่ ไหนอยูก่ บั ผลกระทบทีม่ ตี อ่ เรา
คนที่ มี ค วามรู้ ท่ ว มหั ว เอาตั ว ไม่ ร อด ถ้ า คนๆ นั้ น เป็ น ลู ก ของเรา
ก็จะส่งผลกระทบกับเรามาก การมีชีวิตอยู่กับคนเหล่านี้สร้างอารมณ์
ทางลบให้ ได้ ไม่น้อย
กลับมาคิดทบทวนตัวเอง?
“คุณรู้สึกอย่างไรกับความเบื่อ/ความหงุดหงิด/ความเกลียดในใจ
ของตัวเอง?”
“คุณอยากจะรู้สึกอย่างนี้ต่อไป หรืออยากจะเปลี่ยน?”
“ถ้าคุณอยากจะเปลี่ยน มีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เปลี่ยนความรู้สึก
ให้ดีขึ้น?”
“ถ้าคุณไม่อยากเปลีย่ น คุณคิดว่าจะเก็บความรูส้ กึ นี้ ไว้นานแค่ ไหน?”
“คุณเคยลองคิดมองคนเหล่านี้ต่างไปจากเดิมไหม?”
มองใหม่
“ตกต่าเปิน้ เป๋นดี ใคร่หวั ตกต่าตัว๋ เป๋นดี ใคร่ ไห้” คำาโบราณทีแ่ ปลว่า
ถึงทีคนอื่นโดน น่าหัวเราะ ถึงทีตนเองโดนบ้าง อยากร้องไห้ บางครั้ง
ถ้าเราไม่เป็นเขาเราก็ ไม่รู้ แต่ถ้าเราเป็นอย่างเขาบ้าง เราก็จะเข้าใจเขา
และอาจจะทำาอย่างที่เขาทำา ถ้ามองเขาอย่างเข้าใจ จะให้อภัยได้มากขึ้น
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 27
มองหาข้อดีของเขา
ไม่มี ใครสมบูรณ์แบบดี ไปทุกอย่าง และไม่มี ใครเลวไปทุกเรื่อง
ลองค้นหา พฤติกรรมด้านอื่นๆ ของเขาที่เป็นข้อดี เช่น เป็นคนเกียจคร้าน
แต่มีน้ำาใจ เป็นคนใจร้อนแต่เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ เป็นคนเก็บกด
แต่ตั้งใจทำางาน
ลดความคาดหวัง
บางทีที่เราหงุดหงิดมากเพราะความคาดหวังในใจของเราเอง
อยากได้ลูกเก่ง อยากได้ลูกน้องขยัน อยากได้คู่ชีวิตที่มีความซื่อสัตย์
หากมองเห็นแล้วว่าเขาไม่สามารถทีจ่ ะพัฒนาได้ดกี ว่านีแ้ ล้วลดความคาดหวัง
ลงบ้าง ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น แล้วหาวิธีที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไป
หาทางเลือก
ถ้าจำาเป็นจะต้องอยู่ร่วมกันต่อไป จะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้มีปัญหา
น้อยที่สุด บางทีเราต้องเป็นฝ่ายที่จะต้องปรับตัวเข้าหาเขา ถ้าวิธีการเดิมๆ
ไม่ ได้ผล ถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในการอยู่ร่วมกัน
ฉะนัน้ แล้ว “อยูล่ มุ่ ฟ้า บ่ถา้ กลัว๋ ฝน หือ้ กลัว๋ แต่ลม ปัดกิง่ ไม้แห้ง”
คนบ่าเก่าว่าไว้... เกิดเป็นคนต้องมีปัญหาเป็นธรรมดา

28 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
คน
ดี
คนโบราณล้านนา มีข้อคิดคำาสอนเรื่องการใช้ชีวิต โดยเฉพาะ
ในเรื่องของการพัฒนาตนให้เป็นคนดี นั่นคือ การกระทำาเพื่อให้ตนเอง
มีความเจริญก้าวหน้า เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งไม่ ได้หมายถึง
ความก้าวหน้าทางด้านหน้าทีก่ ารงาน ฐานะทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ยังหมายถึงความก้าวหน้าทางจิตใจ

เป้าหมายชีวิตและความมุ่งมั่น
เป้าหมายชีวิตคือเข็มทิศของการเดินทาง คนที่มีเป้าหมายชีวิต
จะคิดอยูเ่ สมอว่าจะทำาอย่างไรให้ถงึ ทีห่ มายและจะไม่หลงทาง ไม่เสียเวลา
ไปกับเรือ่ งที่ ไม่เป็นประโยชน์ เป้าหมายชีวติ ดีหากขาดความมุง่ มัน่ อาจไปไม่ถงึ
ทีห่ มาย เพราะระหว่างทางทีเ่ ดินไปจะต้องพบกับปัญหาอุปสรรค ถ้าท้อถอย
ขาดความมุ่งมั่นก็ ไปไม่ถึงฝั่งฝัน คนบ่เก่าล้านนาจึงสอนลูกหลานว่า
“เกิดเป๋นคนขึน้ ห้วยไหนหือ้ สุด ขุดฮูไหนหือ้ ตึก๊ ” (เกิดเป็นคนไปห้วยที่ ไหน
ให้ ไปให้ถงึ ทีส่ ดุ ขุดรูที่ ไหนก็ขดุ ให้สดุ ) หมายถึงการไม่ยอมแพ้ ไม่ละความตัง้ ใจ
ทำาให้สดุ ความสามารถ ทำาให้เต็มศักยภาพของตนเอง ไม่ลดละความพยายาม
แม้จะต้องพบกับปัญหาอุปสรรคก็จะไม่ลม้ เลิกความตัง้ ใจจนกว่าจะถึงเป้าหมาย

ความรู้
“เก้าเหลีย้ มสิบเหลีย้ ม บ่เต้าเหลีย้ มใบคา เก้าหนาสิบหนา บ่เต้า
หนาความฮู”้ (เก้าแหลมสิบแหลม ไม่เท่าแหลมใบคา เก้าหนาสิบหนา ไม่เท่า
หนาความรู้) ความรู้เป็นสิ่งสำาคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับ

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 29
การทำางาน ความรูเ้ กีย่ วกับการปรับตัวเข้ากับคนในสังคม ความรูเ้ ป็นเรือ่ งที่
เรียนรู้ ฝึกฝนให้ดีขึ้นได้ ถ้าเป็นคนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ หมั่นขยันฝึกฝน
ทบทวนวิชาความรู้อยู่เสมอ รวมทั้งการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์
“ไก่เกยจน คนเกยฟ้อน” (ไก่เคยชน คนเคยฟ้อน) คนมีประสบการณ์
ย่อมทำางานได้ดี
“ข้ามน้าำ หือ้ ผ่อคนไปก่อน” (ข้ามน้าำ ให้ดคู นไปก่อน) การเรียนรูจ้ าก
ผู้อื่นที่มีประสบการณ์มาก่อน
“เสียมบ่คมหือ้ ใส่ดา้ มหนักๆ ความฮูบ้ น่ กั หือ้ หมัน่ ฮาำ หมัน่ เฮียน”
(เสียมไม่คมให้ ใส่ด้ามหนักๆ คนที่มีความรู้ ไม่มากให้ขยันร่ำาเรียน)
“ใคร่ฮหู้ อื้ ถาม ใคร่งามหือ้ หย้อง”(อยากรู้ ให้ถาม อยากงามให้แต่ง)

การวางแผน เตรียมความพร้อม
การวางแผนจะช่วยให้การดำาเนินชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า
เป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในชีวติ ไม่วา่ จะเป็นชีวติ ประจำาวัน
การทำางาน ฯลฯ ควรมีการวางแผนชีวิตการงานไว้ล่วงหน้า ดีกว่าการ
หวังลมๆ แล้งๆ ว่าจะโชคดีหรือไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้น เพราะหากมีปัญหา
เกิดขึน้ จริง อาจสายเกินกว่าจะแก้ ไขได้ทนั และอาจต้องเสียใจไปตลอดชีวติ
“จะไปหวังน้ำาห้วยหน้า น้ำาฟ้าบ่ ไหลลงฮอม” อย่าฝากความหวัง
ไว้กับสิ่งที่ ไม่แน่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่
“ใคร่ขี้ล่นหาขอน ใคร่นอนล่นหาสาด” (จะถ่ายทุกข์วิ่งหาขอน
จะนอนวิ่งหาเสื่อ)
“งูแผวหน้าแข้ง ฟัง แล่นหาค้อน” (งูมาถึงหน้าแข้ง รีบวิง่ หาค้อน )

ความสุขุมรอบคอบ
ความสุขมุ รอบคอบ ไม่รบี ร้อนหรือลัดขัน้ ตอนจนเกินไป เพราะแม้จะ
เร็วแต่อาจเกิดความผิดพลาด ต้องเสียเวลากลับมาแก้ ไข เข้าทำานอง “ยิง่ รีบ
ยิง่ ช้า” แต่ถา้ ทำางานด้วยความรอบคอบแม้จะช้าบ้างแต่ ไม่ตอ้ งกลับมาแก้ ไขอีก
ช้านิดแต่แน่นอนกว่า ให้เวลาในการพิจารณา ตรวจสอบ งานเสร็จเรียบร้อย
สมบูรณ์
30 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
“ต๋ำาฮาดี ยกจ๊า” (ตำาราดี ยกช้า)
“ใคร่เวยหือ้ กาน ใคร่นานหือ้ ล้น” (อยากให้เร็วให้คลาน อยากให้ชา้
ให้วิ่ง)
“อืนเหมือนฟาน บ่เต้ากานเหมือนเต่า” (วิง่ เร็วเหมือนเก้ง ไม่เท่า
คลานเหมือนเต่า)
“บ่ตนั นัง่ ฟัง เหยียดแข้ง” (ยังไม่ทนั นัง่ อย่ารีบเหยียดแข้ง) รีบร้อน
ทำาอะไรลัดขั้นตอนอาจเกิดผลเสียตามมา
“ไปตางหน้า หือ้ หมัน่ เหลียวหลัง ลืมอะหยังจะได้ฮ”ู้ (ไปข้างหน้า
ให้เหลียวหลังดูบ่อยๆ ลืมอะไรจะได้รู้) การทำางานควรพิจารณาทบทวน
ขั้นตอน วิธีการ ว่ามีปัญหาหรือไม่ ผิดพลาดจะแก้ ไขทัน ตรวจสอบ
อย่างรอบคอบมีปัญหาจะแก้ ไขทัน
“จะนัง่ ฮือ้ ผ่อตี้ จะหนีฮอื้ ผ่อก้น” จะนัง่ จะลุกให้ดทู ี่ จะได้ปลอดภัย
และไม่ลืม

มีคุณธรรมในการดำาเนินชีวิต
สิ่งที่สำาคัญยิ่งกว่าเงินทอง ค่าตอบแทน อำานาจยศศักดิ์ คือ
คุณธรรมความดีงามของคน ไม่วา่ จะเป็นคุณธรรมทีม่ ตี อ่ กันระหว่างคนกับคน
และคุณธรรมที่คนมีต่อหน้าที่ของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์
คนโบราณล้านนาสอนให้ลูกหลานอย่าเห็นเงินสำาคัญกว่ามิตรภาพ หรือ
สำาคัญกว่าหน้าที่ อย่าเห็นแก่สินจ้างรางวัลจนลืมศีลธรรม เพราะในที่สุด
แล้วคนไม่มีคุณธรรมเป็นคนที่ ไม่มีประโยชน์ ไม่มี ใครต้องการ แต่คนดี
มีคุณธรรมแม้สิ้นชีวิตไปแล้วก็มีคนยกย่องสรรเสริญ
“เงินคำาหาได้ น้ำาใจ๋หายาก” (เงินทองหาได้ น้ำาใจหายาก)
“ไม้กด๊ แป๋งขอ เหล็กงอแป๋งเคียว คนก๊ดอย่างเดียวแป๋งอะหยัง่ บ่ ได๋”
(ไม้คดใช้ทำาขอ ไม้งอใช้ทำาเคียว คนคดใช้ประโยชน์ ไม่ ได้)
“อยูห่ อื้ เปิน้ อาลัย ไปหือ้ เปิน้ กึด๊ เติงหา” (อยู่ ให้เขาอาลัย เมือ่ ไปอยูท่ อี่ นื่
เขาก็คิดถึง)
“หนีหอื้ เปิน้ เสียดาย ต๋ายหือ้ เปิน้ ได้เล่า” (คนดีเมือ่ จากไปเขาก็รสู้ กึ
เสียดาย เมื่อตายไปเขาก็พูดถึง)
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 31
“งัวควายต๋ายละเขาละหนัง คนเฮาต๋ายละจือ้ ละเสียง” (วัวควาย
ตายเหลือเขาและหนัง คนตายลงเหลือชื่อเสียงความดีงาม

การประมาณตน
แม้ว่าจะประสบความสำาเร็จในหน้าที่การงาน แต่ถ้าต้องแลกด้วย
สุขภาพอ่อนแอ ขี้ โรค ครอบครัวแตกร้าว ความสำาเร็จนัน้ ก็ ไม่มคี วามหมาย
การประมาณตน ไม่ทำางานหนักเกินไป จัดสมดุลระหว่างชีวิตการทำางาน
ครอบครัว และการดูแลตนเอง รวมถึงประมาณตนในเรื่อง การใช้จ่าย
ให้สมกับฐานะ ประมาณตน อย่าทำาในสิง่ ทีเ่ กินความสามารถหรือศักยภาพ
ของตน
“กิ๋นฮื้อปอคาบ หาบฮื้อปอแฮง แป๋งฮื้อปอใจ๊ ไข้ฮื้อปอนอน”
ทำาให้พอประมาณ
“อย่าค่อมอยู่เยียะก๋ารหนัก” (อย่าโหมทำางานหนัก)
“เคร่งล้ำาจั้งปุด” (ตึงนักมักขาด : อย่าจริงจังมากจนเกินไป)
“แขนตั๋วสั้น จะไปอุ้มไหใหญ่” (แขนสั้น อย่าอุ้มไหใหญ่)
ประมาณตนเอง อย่าทำาตัวเกินฐานะ
“บ่ดีตี๋กลองแข่งฟ้า บ่ดีขี่ม้าแข่งตะวัน” (ไม่ควรตีกลองแข่งฟ้า
ไม่ควรขี่ม้าแข่งตะวัน).
“หันจ๊างขี้ จะไปขี้ตวยจ๊าง” (เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง)
“กิ๋นเหมือนเปิ้น จะไปกิ๋นอย่างเปิ้น” (กินเหมือนเขา แต่อย่ากิน
อย่างเขา/ไม่จำาเป็นต้องกินอาหารราคาแพงแบบคนรวย)

ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตเกิดจากรากฐานของความคิด
และความเชื่อที่ ถูกต้องดีงาม ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมภายนอก

32 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
การทำา
งาน
วัยทำางาน เป็นช่วงระยะเวลายาวนานทีส่ ดุ ประมาณ 35 – 40 ปี
ยิ่งก้าวเข้าสู่การทำางานเร็วเท่าใดระยะเวลายิ่งนานมากขึ้น บางคนก้าวสู่
วัยทำางานตัง้ แต่อายุยงั น้อย อายุ 15 – 16 ปี ก็เริม่ ทำางานแล้ว ชีวติ วัยทำางาน
ผ่านวัยหนุ่มสาว วัยผู้ ใหญ่ วัยกลางคน และเข้าสู่วัยสูงอายุ ในที่ทำางาน
จึงต้องเจอกับคนหลายวัย หลายตำาแหน่ง การปรับตัวในการใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกัน
จึงเป็นสิ่งสำาคัญ ถ้าเราใช้ชีวิตในที่ทำางานวันละ 8 ชั่วโมง ก็เท่ากับเรา
ใช้ชีวิต 1 ใน 3 ของเวลาในแต่ละวัน ถ้าชีวิตในที่ทำางานไม่มีความสุข
ก็จะส่งผลต่อชีวิตด้านอื่นๆ ทำาให้ ไม่มีความสุขไปด้วย
การอยู่ร่วมกันในที่ทำางานอย่างมีความสุขสงบ จึงต้องการทำาตาม
หน้าที่ของตน มีความขยัน อดทน มีการทำางานเป็นทีม และมีการปรับตัว
เข้าหากัน

ทำาตามหน้าที่ของตนเอง
การตั้งใจทำางานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ทำาให้งาน
ประสบความสำาเร็จ เพราะการทำางานที่ทำาเป็นประจำาสร้างประสบการณ์
และความเชีย่ วชาญ และการใส่ ใจลงไปในงานทีท่ าำ ไม่วอกแวก สนใจเรือ่ งอืน่
ผลงานออกมาย่อมมีคุณภาพสูง นอกจากนี้การมุ่งสนใจในงานของตน
ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น ยังช่วยให้องค์กรมีความสุข ไม่ก่อให้เกิด
ความขัดแย้ง
“น้อยบ่ดเี ป็นอาจาร๋ย์ หนานบ่ดเี ป๋นจ่างซอ” (น้อย : ชายทีผ่ า่ น
การบวชเป็นเณรมาแล้วไม่ควรเป็นอาจารย์ หมายถึง รู้ข้อจำากัดของตนเอง
ความรู้ประสบการณ์ ไม่เพียงพอ ก็ ไม่ควรทำา
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 33
หนานหรือทิด : ชายที่ผ่านการบวชเป็นพระภิกษุมาแล้วไม่ควรเป็น
ช่างซอ (ศิลปินพื้นบ้านล้านนาประเภทขับร้อง) หมายถึงการทำางานตาม
ความถนัด ตามจริตและไม่จัดกับธรรมชาติของตน)
“ตางหนูกห็ นูไต่ ตางไหน่ก็ ไหน่เตียว” (ทางหนู หนูก็ ไต่ ทางกระแต
กระแตก็เดิน) แต่ละคนต่างทำาหน้าที่ของตนเองที่ตนถนัด
ความขยัน อดทน
แม้วา่ ความรูจ้ ะมีความสำาคัญ แต่คนมีความรูห้ รือคนเก่งอย่างเดียว
ไม่อาจประสบความสำาเร็จในชีวติ ถ้าขาดความขยัน อดทน คนทีข่ ยัน อดทน
ขวานขวายหางาน ไม่เลือกงานเกินไป นอกจากจะไม่อดตายแล้ว ยังมีความเจริญ
ก้าวหน้าในชีวติ เพราะนอกจากจะประสบความสำาเร็จในหน้าทีก่ ารงานแล้ว
คนตั้งใจทำางานยังเป็นคนที่มีคุณค่า เป็นที่รักที่ต้องการของผู้อื่น
“เงินอยู่ ในน้ำา คำาอยู่ ในดิน” (เงินอยู่ ในน้ำา ทองคำาอยู่ ในดิน)
“เงินคำาอยูต่ คี้ มพร้า เสือ้ ผ้าอยูต่ คี้ มขวาน” (เงินทองอยูท่ คี่ มมีดพร้า
เสื้อผ้าอยู่ที่คมขวาน)
“งาบ่บีบบ่ ได้น้ำามัน คนบ่หมั่นบ่ ได้เงินได้คำา” (เมล็ดงาไม่บีบ
ไม่ ได้น้ำามัน คนไม่ขยันไม่มีเงินทอง )
“บ่มีหื้อหา บ่มาหื้อเซาะ” (ไม่มี ให้ ไปหา ไม่มาให้ ไปตามหา)
“แมงบ้งบ่ต๋ายกลั้นใบไม้” (ตัวบุ้งไม่ตายเพราะอดกินใบไม้)
“งัวเลือกหญ้า นานตุ้ย” (วัวเลือกหญ้าอ้วนช้า) คนเลือกงานย่อม
ไม่ก้าวหน้า
“อย่าขีค้ ร้านลุกขวาย กิน๋ ข้าวหงายแล้วหลับ” (อย่าเกียจคร้าน
นอนตื่นสาย กินข้าวเช้าแล้วหลับ)
“ลุกเจ๊ากิ๋นผักตางป๋าย ลุกขวายกิ๋นผักตางเก๊า” (คนขยันตื่นเช้า
ไปเก็บผักจะได้ยอดผัก คนตื่นสายเก็บได้แต่ผักใบแก่ๆ)
“ตกก่อนเป๋นขุน ตกลูนเป๋นไพร่” (เริม่ ก่อนเป็นขุน เริม่ ทีหลังเป็นไพร่)
เริ่มทำางานก่อนตอนมี โอกาส ย่อมเจริญก้าวหน้ากว่า
“ใคร่หอื้ เปิน้ ฮัก ต้องหมัน่ เยียะก๋าร ใคร่หอื้ เปิน้ จัง หือ้ หมัน่ แอ่วเล่น”
(อยากให้เขารัก ต้องหมั่นทำางาน อยากให้เขาชังให้เที่ยวเล่นบ่อยๆ)

34 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
การทำางานเป็นทีม
แม้จะมีอำานาจ มีความฉลาด เป็นคนเก่ง แต่ถ้าตัวคนเดียวก็ยาก
ทีจ่ ะทำางานให้ประสบความสำาเร็จ การทำางานเป็นทีม เป็นหมูค่ ณะ นอกจาก
จะประสบความสำาเร็จง่ายกว่าแล้ว ยังช่วยให้เพลิดเพลิน สนุกสนาน คลายเครียด
เข้าทำานอง งานก็สาำ เร็จ คนก็สาำ ราญ ยิง่ ไปกว่านัน้ ยังแสดงถึงความสามัคคี
เป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
“หมาหลวงก๊านหมาหลาย” (หมาตัวโตตัวเดียวแพ้หมาตัวเล็ก
หลายตัว)
“หล็วกคนเดียว บ่เต้าง่าวตึงหมู่” (ฉลาดคนเดียวยังไม่เท่า
คนโง่ทั้งกลุ่ม)
“เยีย้ ะก๋ารคนเดียวเหมือนจะต๋าย เยีย้ ะก๋ารหลายคนเหมือนเล่น”
(ทำางานคนเดียวเหมือนจะเป็นจะตาย ทำางานหลายคนเหมือนเล่นกัน)
นอกจากคนโบราณล้านนาจึงให้คาำ แนะนำาการปฏิบตั ติ นในการทำางาน
ทั้งฝ่ายนายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกน้อง และลูกน้องต้องปฏิบัติต่อนายจ้าง
การปรับตัวเข้าหากัน ทัง้ นายจ้างและลูกจ้าง ผูบ้ ริหารและผูป้ ฏิบตั ิ
ควรปรับตัวเข้าหากัน “นอนตี้สูงหื้อนอนควำา นอนตี้ตำาหื้อนอนหงาย”
ผู้ที่อยู่ตำาแหน่งสูงให้มองลงมาเบื้องล่าง ผู้อยู่ตำาแหน่งตำาควรมองข้างบน
นายจ้างหรือผู้บริหาร
ผูเ้ ป็นนายหรือผูบ้ ริหารควรวางตัวให้เหมาะสม มีจติ วิทยาในการบริหาร
จัดการคน เช่น ความเข้าใจคน รู้จักใช้คนให้เหมาะกับงาน ให้ความสำาคัญ
กับการบริหารด้วยการใช้ “พระคุณ” มากกว่า “พระเดช” ไม่ ใช้อำานาจ
เกินกว่าเหตุ และมีวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม
“คนมาใหม่จะไปฟัง ใจ้กา๋ ร เมียมานจะไปฟัง ก๊า” คนมาใหม่อย่าเพิง่
รีบใช้งาน (ภรรยาตั้งครรภ์ก็อย่าเพิ่งรีบเดินทางไปค้าขาย)
“เปิ้นอิดจะไปถาม เปิ้นหามจะไปเติก” เขาเหนื่อยอย่างเพิ่งถาม
เขาหามอย่าเกะกะ ควรรู้กาลเทศะ เวลาที่เหมาะสม
“น้าำ เย็นมี ไหนปล๋าย่อมไหลข้อน วังใดน้าำ ฮ้อนปล๋าย่อมป้ายไปตีอ้ นื่ ”
ที่ ไหนอยู่แล้วมีความสงบสุข คนย่อมไปอยู่ที่นั้น

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 35
“แฮงคนอยู่ตี้น้ำาลาย แฮงควายอยู่ตี้แม่น้ำา” แรงคนอยู่ที่คำาพูด
การใช้วาจาที่ ไพเราะเสนาะหู จะโน้มน้าวจิตใจคนให้ทาำ งานอย่างเต็มกำาลัง
ความสามารถ
“ว่าฮ้ายก็หนี ว่าดีก็อยู่” พูดไม่ดีคนก็หนี พูดดีคนก็อยู่ด้วย
“ทำาปอหลาบ ปราบปออยู”่ การลงโทษควรทำาแต่พอดี ให้พอหลาบจำา
“ต๋ามใจ๋ปล๋าจะกิน๋ เบ็ด ตามใจ๋เป็ดจะกินหอย” ควรรูจ้ กั อะลุม้ อะล่วย
ซึ่งกันและกัน
“เล่นหน้าหมา หมาเลียหน้า” วางตัวให้สมฐานะ มิเช่นนัน้ จะไม่มี ใคร
ยำาเกรง
ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงาน
แม้ว่าปัจจุบันนี้ผู้ปฏิบัติงานจะมีอิสรเสรี ในการทำางานมากกว่า
ในอดีต แต่ธรรมชาติของนายจ้างหรือผู้บริหารยังต้องการลูกจ้าง ลูกน้อง
หรือผูป้ ฏิบตั งิ านทีม่ คี วามขยัน กระตือรือร้นในการทำางาน เป็นคนดี รับฟังคำา
สัง่ สอนของนายจ้าง รวมทัง้ ไม่ขดั ขวางหรือทำาให้นายจ้างไม่พอใจ คำาสอน
ของผู้เฒ่าล้านนาหลายอย่างยังเป็นข้อคิดเตือนสติได้ดี
“เจ้ามีเวียกก๋ารหือ้ แล่นจ้วย” นายมีงานต้องรีบช่วย กระตือรือร้น
ไม่ต้องรอให้นายจ้างเรียก
“เจ้าใจ้หอื้ ด่วนพัน” นายใช้ตอ้ งรีบทำา อย่ารีรอ ผลัดวันประกันพรุง่
“เจ้าสอนอย่าเกี้ยด” นายสั่งสอนอย่าโกรธ ให้รับฟังก่อน
“จ๊างแล่นอย่าจัก๊ หาง” (ช้างวิง่ อย่าดึงหาง) อย่างขัดขวางนายจ้าง
หรือผู้บริหารโดยเฉพาะในขณะที่กำาลังมีอารมณ์รุนแรง จะทำาให้มีปัญหา
ในการทำางานตามมา
“ข้าดีนายบ่ขาย” “มีคณ ุ ท่านบ่ฆา่ ” ลูกน้องหรือลูกจ้างทีเ่ ป็นคนดี
มีฝีมือ นายจ้างย่อมไม่อยากให้ ไปอยู่ ใคร
ท้ายทีส่ ดุ ไม่วา่ จะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง เป็นผูบ้ ริหารหรือผูป้ ฏิบตั ิ
ต่างก็มหี วั ใจเหมือนกัน มีรกั โลภ โกรธ หลงเหมือนกัน ความต้องการการยอมรับ
และรักสุขเกลียดทุกข์เหมือนๆ กัน จึงควรมีความเห็นอกเห็นใจกัน ต่างฝ่าย
ต่างพยายามทำาความเข้าใจซึง่ กันและกัน “ใจ๋เจ้า ใจ๋ ไพร่ยอ่ มห้อยตีเ้ ดียวกัน๋ ”
(ใจของนายจ้างหรือใจของลูกจ้างก็เหมือนๆ กัน)
36 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
อุ๊ย
อายุ 60 ปี๋ ไอเหมือนฟานโขก
70 ปี๋ บ่าโหกเต๋มตั๋ว
80 ปี๋ ไค่หัวเหมือนไห้
90 ปี๋ ไข้ก็ต๋ายบ่ ไข้ก็ต๋าย
100 ปี๋ บ่ต๋ายก๋ายเป็นละอ่อน

“อุ้ย” เป็น “คำาเมือง” หรือภาษาล้านนา หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย


ปัจจุบนั ไม่คอ่ ยได้ยนิ เด็กๆ เรียกผูส้ งู อายุวา่ “อุย้ ” แล้ว “อุย้ ” จึงเป็นผูส้ งู อายุ
วัยที่หลายๆ คนไม่อยากให้มาถึง พยายามชะลอไว้ ให้นานที่สุด แต่ก็ต้อง
มาถึงอยู่ดี คนโบราณล้านนาจึงมีคำาสอนให้กับผู้สูงอายุ และคนหนุ่มสาว
ทุกคนทีจ่ ะเป็นผูส้ งู อายุในวันข้างหน้าได้เข้าใจ เรียนรูท้ จี่ ะปรับตัวเข้าหากัน

สังขารย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
เมือ่ เข้าวัยผูส้ งู อายุสขุ ภาพร่างกายไม่แข็งแรง เสือ่ มถอยและทรุดโทรม
ไปเรือ่ ยๆ คนโบราณล้านนามีความละเอียดอ่อน สังเกตเห็นความเปลีย่ นแปลง
ของคนเราในแต่ละวัย พออายุ 60 ปี เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ สุขภาพร่างกาย
เริ่มเสื่อม เริ่มมี โรคประจำาตัว “ไอเหมือนฟานโขก” ไอเสียงเหมือนเก้ง
เอาเขาของมันโขกกับต้นไม้ “บ่าโหกเต๋มตัว๋ ” มี โรคทางกาย “ไค่หวั เหมือนไห้”
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 37
เสียงหัวเราะก็เหมือนเสียงร้องไห้ ยิ่งสูงวัยสุขภาพยิ่งแย่ ถึงเวลาที่
จะต้องจากโลกนี้ ไป แม้ ไม่มี โรคประจำาตัวมาก่อนก็ต้องตาย “ไข้ก็ต๋าย
บ่ ไข้กต็ า๋ ย” และถ้าหากยังมีชวี ติ อยูก่ อ็ าจเป็นโรคสมองเสือ่ ม ช่วยเหลือตนเอง
ไม่ ได้ ต้องมีคนคอยดูแล รวมถึงมีพฤติกรรมกลับไปเหมือนเด็กเล็กๆ “บ่ตา๋ ย
ก๋ายเป็นละอ่อน”
ประสิทธิภาพการคิด ความจำา การตัดสินใจแก้ปญ ั หา และการเรียนรู้
ต่างๆ ลดลง งานทีเ่ คยทำาได้ดเี มือ่ ครัง้ ยังเป็นหนุม่ เป็นสาว เมือ่ ถึงวัยสูงอายุ
ก็ทาำ ไม่ ได้เหมือนเดิม และยังเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ ได้ยาก เปลีย่ นแปลงตัวเองยาก
ในทำานอง ไม้แก่ดัดยาก
“เฒ่าแก่แล้ว ดักแฮ้วบ่หมาน หัวหงอกซุนซาน เยียะก๋ารบ่ ได้”
(เฒ่าแก่แล้ว ดักแร้วก็ ไม่ค่อยได้เหยื่อ งกๆ เงิ้นๆ ทำางานไม่ ได้)
“คนแก่แล้วบ่ตอ้ งมี ไผมาสอน ไม้ขอนนอนมันตึงบ่ตงั้ ” (คนแก่แล้ว
ไม่ต้องสอน ขอนไม้นอนมันก็ ไม่ตั้ง)
“เฒ่าแก่คา้ ว ไม้สา้ วล้าำ คุม่ ” (คนแก่เหมือนไม้สอยทีย่ าวเกินพุม่ ไม้)
“ขิงแก่ มันเผ็ด”
แม้วา่ สุขภาพร่างกายจะไม่แข็งแรง สังขารเริม่ เสือ่ มถอยไปตามกาล
เวลา แต่ ในดีมีเสีย ในเสียมีดี หากคนรอบข้างเข้าใจ จะเห็นคุณประโยชน์
คุณความดีของผู้สูงอายุ
“เฒ่าแก่ค้าวบ่าป้าวหัวสี จ่องใจ้มันมี ขูดใส่ข้าวต้ม” (เฒ่าแก่
เหมือนมะพร้าว ช่องทางใช้มี ขูดใส่ข้าวต้มมัดได้) คนแก่เฒ่าก็มีประโยชน์
ถ้ารู้ทางก็ยังใช้ประโยชน์ ได้
“หนามแก่ทแู่ ข็งแตงเข้า หนามใหม่แหลมแตงอ่อนอยู”่ (หนามแก่
ทู่แข็งแทงเข้า แหลมใหม่แหลมอ่อนแทงไม่เข้า)
ประสบการณ์ชวี ติ ยาวนานบนโลก ทำาให้ผสู้ งู อายุมคี วามรู้ มีทกั ษะ
และมีความเข้าใจโลกและชีวติ ได้ดี แม้จะมีความรู้ ใหม่ๆ เกิดขึน้ บนโลกทีท่ าำ ให้
ผูส้ งู อายุตามไม่ทนั แต่สาระสำาคัญในการดำาเนินชีวติ บนโลกไม่ ได้เปลีย่ นไป
ผู้สูงอายุจึงเป็นผู้ที่จะให้คำาแนะนำาเรื่องการใช้ชีวิตได้ดีที่สุด หากลูกหลาน
คนรุน่ ใหม่มคี วามเข้าใจก็จะได้เรียนรูภ้ มู ปิ ญ ั ญาดีๆ อีกมากมายจากผูส้ งู อายุ
38 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
สิง่ ทีผ่ สู้ งู อายุควรทำา คนล้านนาโบราณมีขอ้ แนะนำาในการปฏิบตั ติ วั
ให้กับผู้สูงอายุ
1. “ขอนบ่มเี ห็ด ไผตึงบ่เข้าใกล้” ผูส้ งู อายุควรวางแผนชีวติ บัน้ ปลาย
โดยเฉพาะคนทีจ่ ะมาดูแล ปกติแล้วผูส้ งู อายุจะรักลูกหลาน และมักจะรักหลาน
มากกว่ารักลูก “ฮักลูกปอประมาณ ฮักหลานซ้าำ ยิง่ โยด” (รักลูกพอประมาณ
แต่รกั หลานมากยิง่ กว่า) หรือ “สิบลูกบ่เต้าหลาน” (ความรักทีม่ ี ให้ลกู สิบคน
ไม่เท่ากับรักที่มี ให้หลานหนึ่งคน) ด้วยรักมาก มีอะไรก็ยกให้ลูกหลานหมด
ในทีส่ ดุ ก็จะไม่เหลืออะไรเลย “ลูกหลานหลาย แม่เฒ่าต๋ายอยาก” (มีลกู หลาน
หลายคน ย่ายายเหนื่อยและตายอดตายอยาก) ถ้าผู้สูงอายุไม่มีทรัพย์สิน
ก็ ไม่มี ใครปรนนิบัติดูแล เหมือนขอนไม้ที่ ไม่มีเห็ด ก็ ไม่มีประโยชน์ ไม่มี ใคร
สนใจ

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 39
2. พูดจาไพเราะ ความเสือ่ มของร่างกายทำาให้ผสู้ งู อายุเหนือ่ ยง่าย
เมื่อยง่าย เจ็บง่าย ป่วยง่าย เมื่อกายไม่สบายมักทำาให้ ใจไม่สบายด้วย
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ ไม่ ได้ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง เมื่อร่างกายอ่อนแอ ใจก็จะ
อ่อนแอด้วย หงุดหงิดง่าย น้อยใจง่าย จึงพูดบ่นมาก ประกอบกับการหลงลืม
ทำาให้พดู จาซ้าำ ๆ ทำาให้ลกู หลายไม่อยากเข้าใกล้ คนโบราณจึงเตือนสติผสู้ งู อายุ
เรื่องการสื่อสารพูดคุยที่ทำาให้ลูกหลานอยากเข้าหา “คนเฒ่าปากหวาน
ลูกหลานฮัก คนเฒ่าปากนัก ลูกหลานจัง” (คนเฒ่าปากหวาน ลูกหลานรัก
คนเฒ่าที่พูดมากลูกหลานเกลียด)
3. “แป๋งผิดไว้หื้อลูก แป๋งถูกไว้หื้อหลาน” ผู้สูงอายุควรทำาตน
ให้มีคุณค่า ไม่ ใช่ “แก่เพราะกิ๋นข้าว เฒ่าเพราะเกิดเมิน” (แก่เพราะกินข้าว
เฒ่าเพราะอยู่นาน) แต่ควรปฏิบัติตนให้คนดี มีคุณค่า โดยการสืบสาน
ภูมปิ ญั ญาให้กบั ลูกหลานคนรุน่ หลัง เพราะผูส้ งู อายุมคี วามรูป้ ระสบการณ์
ในชีวิตมากกว่าหนุ่มสาว หากไม่ ได้สืบทอดความรู้ดีๆ ก็จะหายไป อย่างที่
คนโบราณกล่าวไว้ว่า “ของบ่กิ๋นฮู้เน่า ของบ่เล่าฮู้ลืม” (อาหารไม่กินก็จะเน่า
เรือ่ งที่ ไม่เล่าก็จะลืม) รวมไปถึงการฝึกพัฒนาจิตใจตนเองให้สงู ขึน้ “ขะโยมดี
เปื้อตุเจ้า ลูกเต้าดีเปื้อพ่อแม่ คนแก่ดีเปื้อฟังธรรม” (ลูกศิษย์วัดดีเพราะ
พระภิกษุ ลูกดีเพราะเพ่อแม่ คนแก่ดีเพราะฟังธรรม)
40 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
4. เปิดใจเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ “หล้างเตือ้ ปูส่ อนหลาน หล้างก๋ารหลาน
สอนปู”่ บางครัง้ ปูส่ อนหลาน บางครัง้ หลานก็สอนปูบ่ า้ ง ต่างเรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนรุน่ ใหม่ นอกจากช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยแล้ว
การได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยังช่วยฝึกสมองชะลอความเสื่อมอีกด้วย
สิง่ ทีล่ กู หลานคนรุน่ ใหม่ควรทำา คนรุน่ ใหม่ควรเรียนรู้ ในการอยูร่ ว่ มกับ
ผู้สูงอายุโดย...
1. เปิดใจเรียนรู้ สืบสานภูมิปัญญา ผู้สูงอายุมีความรู้ดีๆ ที่ผ่าน
การกลัน่ กรองจากประสบการณ์ชวี ติ จริง ถ้าคนรุน่ ใหม่เปิดใจ ค้นหา จะได้เรียนรู้
สิ่งดีๆ จากผู้สูงอายุ โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนรู้ลองผิดลองถูกใหม่
“ใคร่หอื้ เปิน้ ฮัก หือ้ อูป้ ากหวาน ใคร่ ไป่ ใคร่สาน หือ้ ถามคนเฒ่าคนแก่”
(อยากให้เขารัก ให้พูดหวานๆ อยากจะจักสาน ให้ถามคนเฒ่าคนแก่)ฯลฯ
2. เปิดใจรับฟัง “กำาจ่มกำาด่า นัน้ เป๋นกำาดี ถ้าฟังบ่ถี่ มันตึงบ่มว่ นหู”
คำาชีแ้ นะ คำาสัง่ สอนของผูส้ งู อายุอาจฟังไม่รนื่ หู แต่ถา้ เปิดใจ มองทีเ่ จตนาและ
ความปรารถนาดีของท่าน แล้วคิดตาม นำาไปปฏิบัติจะมีประโยชน์ ไม่น้อย
3. ให้การช่วยเหลือ “คนหนุม่ เอาเก๊า คนเฒ่าเอาปล๋าย” (คนหนุม่
แข็งแรงหามโคนไม้ ผู้สูงวัยแรงน้อยหามปลายยอด) สภาพความแข็งแรง
ของร่างกายน้อย คนหนุ่มสาวร่างกายแข็งแรงกว่า ควรให้การช่วยเหลือ
ผ่อนแรงให้ผู้สูงวัย
4. ให้เกียรติ ให้ความเคารพ “หน่อในดิน หินในต้า ปูย่ า่ กับเมือง”
(หน่อไม้ ในดิน หินในท่าน้ำา ปู่ย่ากับเมือง) ผู้สูงอายุคืออดีตคนหนุ่มสาว
ทีเ่ ป็นผูท้ สี่ ร้างรากฐานบ้านเมืองให้กบั คนรุน่ ปัจจุบนั คือผูบ้ กุ เบิก ผูเ้ ริม่ ต้น
สร้างฐานให้กับเรา จึงเป็นคนที่ควรให้เคารพนับถือ ให้เกียรติ
เมื่อถึงวันหนึ่ง เราก็จะได้เป็นผู้สูงอายุ คำาสั่งสอน คำาแนะนำาของ
คนล้านนาทีม่ องจากมุมของทัง้ สองฝ่าย ในผูส้ งู อายุปรับตัวเข้ากับคนรุน่ ใหม่
และลูกหลานคนรุ่นใหม่ปรับตัวเข้ากับผู้สูงวัย น่ามีจะประโยชน์ ไม่น้อย

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 41
ความ
สุข
สุข มีข้าวไว้กิ๋น
สุข มีดินไว้อยู่
สุข มีกู้นอนนำา
สุข มีเงินคำาเต๋มไห
สุข มีเฮือนใหญ่มุงกระดาน
สุข มีลูกหลานมานั่งเฝ้า
สุข ยามเฒ่าได้ฟังธรรม

สุขมีข้าวในยุ้ง สุขมีที่ดินอยู่ สุขมีคู่ครอง สุขมีเงินมีทองเต็มถุง


สุขมีบ้านใหญ่มุงไม้กระดาน สุขมีลูกหลานมาดูแลยามเจ็บป่วย สุขได้ฟัง
พระธรรมคำาสัง่ สอนของพระพุทธองค์ นีค่ อื ความสุขของคนล้านนาสมัยก่อน
ดูแล้วก็ ไม่ต่างกับความสุขของคนปัจจุบัน คือ…
มีความสุขเมือ่ ชีวติ มีความพร้อมด้านความจำาเป็นพืน้ ฐานในการดำารงอยู่
เช่น มีอาหาร มีที่อยู่อาศัย มีที่ดินทำากิน มีทรัพย์สินเงินทองไว้ ใช้จ่าย
มีครอบครัวทีอ่ บอุน่ และสุดท้ายมี โอกาสพัฒนาจิตใจตนเองให้เข้าถึงความสุขสงบ
ตามหลักธรรมคำาสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นความสุขที่แท้ของชีวิต

42 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด ความสุขของคนเราก็ ไม่ต่างกันนัก
ลองกลับถามตัวเองซิว่า...
วันนี้เรามีความสุขอยู่ ไหม ?
ความสุขของเราอยู่ที่ ไหน ?
ความสุขนั้นต้องใช้เงินซื้อมาหรือไม่ ?
เงินกับความสุขเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
หากมีชวี ติ เหลืออยู่ไม่กเ่ี ดือน ความสุขของเรายังเป็นเรือ่ งเดิมอยู่ไหม ?
เราต้องปรับเวลาอย่างไรเพื่อให้มีความสุขมากขึ้น ?
โฉลกล้านนาพูดถึงสิ่งที่ดีที่สุดว่า...
สิบแหลมซาวแหลม บ่เต้าแหลมใบข้าว
สิบเหล้าซาวเหล้า บ่เต้าเหล้าเดือนเกี๋ยง
สิบเสียงซาวเสียง บ่เต้าเสียงแมงว้าง
สิบจ๊างซาวจ๊าง บ่เต้าจ๊างเอราวัณ
สิบวันซาววัน บ่เต้าวันนี้วันเดียว”
สิบแหลม ยี่สิบแหลมไม่เท่าเหลี่ยมของใบข้าว
สิบเหล้า ยี่สิบเหล้าไม่เท่าเหล้าดีเดือนเกี๋ยง(เดือนสิบเอ็ด)
สิบเสียงยี่สิบเสียงไม่เท่าเสียงของแมลงว้าง(จักจั่น)
สิบช้าง ยี่สิบช้างไม่เท่าช้างเอราวัณ (ช้างทรงของพระอินทร์)
สิบวันยี่สิบวันไม่สำาคัญหรือมีค่าเท่ากับวันนี้

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 43
วันนี้ เวลานี้ คือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะอดีตก็ผ่านไปแล้ว
อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เวลาปัจจุบันขณะนี้เองที่เป็นเวลาของเรา
อย่างแท้จริง เวลาที่เราเป็นเจ้าของ เวลาที่เราสามารถกำาหนดได้
เลือกได้ว่าจะทำาอะไร เวลาที่เป็นตัวกำาหนดอนาคต
เวลาที่จะปรับเปลี่ยนชะตาชีวิต ฉะนั้นอย่าผัดวันประกันพรุ่ง
ลงมือตั้งแต่วันนี้ เราคือผู้กำาหนดความสุขในชีวิตของเราเอง

44 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
พิธีกรรมล้านนา

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 45
46 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
พิธีกแม้รรมบำ า บั ด
ความรู้ ทางการแพทย์สมัยใหม่จะพัฒนาก้าวไกล สามารถรักษา
โรคหลายชนิดให้หายขาดได้ แต่ โรคทางจิตเวชเป็นโรคทีเ่ กีย่ วข้องกับ “ความคิด”
“ความเชือ่ ” ซึง่ ความคิดความเชือ่ นีส้ ามารถกำาหนดพฤติกรรมของคนเราได้
การรักษาทางจิตเวชปัจจุบนั มีพนื้ ฐานมาจากตะวันตก ซึง่ มีพนื้ ฐานทางสังคม
และวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างจากสังคมวัฒนธรรมของคนไทยภาคเหนือ ภูมภิ าค
ล้านนาที่มีความคิดความเชื่อด้านศาสนาพุทธและเรื่องผีควบคู่กัน จึงไม่
น่าแปลกใจที่ชาวบ้านส่วนหนึ่งไปรับการรักษากับหมอพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็น
หมอเมื่อ หรือ หมอดู คนทรงเจ้า พระสงฆ์

สาเหตุที่ชาวบ้านไปรักษากับหมอพื้นบ้าน
1. ข้อจำากัดในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา การเดินทางไปรักษา
ที่ โรงพยาบาลมีคา่ ใช้จา่ ยสูง ไม่เฉพาะค่าใช้จา่ ยของผูป้ ว่ ย แต่รวมถึงค่าใช้จา่ ย
ของญาติทมี่ าดูแล เช่น ค่าอาหาร ค่าทีพ่ กั ค่าเดินทาง และค่ารักษาพยาบาล
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 47
2. ความสะดวกในการเดินทาง ในพืน้ ทีท่ อี่ ยู่ ไกล การคมนาคมลำาบาก
การรับการรักษาจากหมอพื้นบ้านที่อยู่ ในชุมชน จึงเป็นทางเลือกที่จำาเป็น
ในเบื้องต้น
3. รักษาทางการแพทย์แผนใหม่แล้วอาการไม่ดีขึ้น รักษาแล้ว
ไม่หายขาดได้ ไม่สามารถอธิบายสาเหตุการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะความเจ็บป่วย
ทางจิตใจ ที่ ไม่ ได้มสี าเหตุเรือ่ งกายภาพเพียงอย่างเดียว การรักษากับหมอพืน้ บ้าน
สามารถให้คำาตอบบางเรื่องได้ดีกว่า
4. การรักษาของหมอพืน้ ฐานสอดคล้องกับวิถชี วี ติ ความคิด ความเชือ่
ของชาวบ้านในท้องถิน่ ได้ดกี ว่า เช่น ชาวล้านนามีพนื้ ฐานความคิด ความเชือ่
เรือ่ งผี เรือ่ งอำานาจเหนือธรรมชาติทมี่ อี ทิ ธิพลต่อชีวติ คน สามารถทำาให้เกิด
การเจ็บป่วยทางจิตใจได้
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านมักเลือกใช้วิธีการรักษาที่หลากหลาย
ทัง้ การแพทย์แผนปัจจุบนั และหมอพืน้ บ้าน เนือ่ งจากการแพทย์แบบใดแบบหนึง่
ไม่สามารถตอบสนองต่อบริบทสภาพการณ์และเงือ่ นไขต่างๆ ได้ครบถ้วนนัน่ เอง

สาเหตุการเจ็บป่วยตามความเชื่อของล้านนา
ล้านนาเป็นพื้นที่ที่มีรากฐานความเชื่อเรื่องผี พุทธศาสนา และ
พิธกี รรมแบบพราหมณ์ จึงอธิบายเกีย่ วกับสาเหตุการเกิดโรค อาการเจ็บป่วย
ไว้ ในลักษณะของความเกีย่ วพันระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์
ผลของกรรม การกระทำาของผี ไสยศาสตร์ ดังนี้
1.การเสียสมดุลของธาตุทงั้ 4 ในร่างกายของคนเราประกอบด้วย
ธาตุทงั้ 4 คือดิน น้าำ ลม ไฟ หากธาตุทงั้ 4 ขาดความสมดุล เช่น อายุมากขึน้
ทำาให้ธาตุ 4 เปลี่ยนแปลง หรือแม่หลังคลอดไม่ ได้ “อยู่ ไฟ” จะทำาให้เป็น
”ลมผิดเดือน” สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง สุขภาพจิตไม่ปกติ
2. ภาวะจิตอ่อนแอ คนล้านนาเชือ่ ว่าคนเรามีขวัญอยู่ 32 ขวัญ คน
ทีข่ วัญอ่อนหรือจิตอ่อน เมือ่ เจอเรือ่ งตืน่ เต้นตกใจ เรือ่ งทีท่ ำาให้ “สะเทือนขวัญ”

48 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
“เสียขวัญ” อาจทำาให้ “ขวัญหาย” คือสติไม่อยู่กับตัว ไม่ครบ 32 ขวัญ
ทำาให้ป่วย หรือเสียสติได้ ต้องทำาพิธีเรียกขวัญหรือ ฮ้องขวัญให้กลับคืนมา
3. เคราะห์ กรรม ชะตา ความเจ็บป่วยเกิดจากกรรมที่ ได้กระทำามา
ทัง้ ในชาตินแี้ ละชาติกอ่ นนัน้ ผลของกรรมชัว่ ส่งผลก็จะทำาให้ชวี ติ เจ็บป่วย มีปญั หา
ทีเ่ รียกว่า “ดวงตก” “มีเคราะห์” จึงต้องมีพธิ สี ะเดาะเคราะห์ และสืบชะตา
4. ถูกผีทำา คือ ผีมาทักทาย ผีมาขอส่วนบุญ หรือไปรบกวนผี
ทำาให้ผี ไม่พอใจจึงมาทำาร้าย โดยเฉพาะคนที่ดวงตกผีจะทำาร้ายได้ง่ายขึ้น
ซึ่งจะทำาให้เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุได้ จึงต้องทำาพิธีเลี้ยงผี
5. ถูกผีกะเข้าสิง คนที่ขวัญอ่อน ขวัญหาย สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
ก็จะถูกผีเข้าได้ ผีกะเป็นผีกลุม่ เดียวกันกับผี โพง ผีปอบ ผีกระสือ ผูท้ ถี่ กู ผีกะสิง
จะมีบคุ ลิกภาพเปลีย่ นไป ควบคุมตนเองไม่ ได้ จึงต้องมีพธิ ี ไล่ผี โดยหมอทีม่ วี ชิ า
ความรู้
6. ถูกคุณไสยมนตร์ดำา คนที่ถูกคุณไสย บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น
จากคนเรียบร้อยเป็นคนอารมณ์รา้ ยหงุดหงิดโมโหง่าย เหม่อลอย กระวนกระวาย
จึงต้องไปหาหมอพืน้ บ้านหรือพะสงฆ์เพือ่ รดหรืออาบน้าำ มนต์ ถวายสังฆทาน
7. ขึด หมายถึง การกระทำาหรือเหตุการณ์ ใดๆ ที่ ไม่ดี จะนำาความหายนะ
วิบัติ อัปมงคลมาสู่บุคคลหรือชุมชน จึงทำาพิธีถอน ขึดมีทั้งข้อปฏิบัติและ
ข้อห้าม ช่วยให้ชุมชนสงบสุข ร่มเย็น และยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี
ทีด่ งี ามไว้ เช่น ขึดเกีย่ วกับการสร้างบ้านเรือน การปฏิบตั ติ น กิรยิ ามารยาท
ของบุคคล และการจัดพิธีศพ
หมอพื้นบ้านล้านนาหรือ “หมอเมือง” จึงต้องมีความรู้ผสมผสาน
ทั้งเรื่องสมุนไพร การกินอยู่ มนต์คาถา โหราศาสตร์ และพิธีกรรมต่างๆ
จึงจะสามารถให้การช่วยเหลือผูป้ ว่ ยได้ เช่น หาสาเหตุโรค โดยดูอายุ อาชีพ
ครอบครัว ความประพฤติ อาหาร การกิน การเจ็บป่วยในอดีต ดูดวง
คำานวณธาตุตามอายุ การเสีย่ งทายโดยหมอเมือ่ (หมอดู) ใช้คาถา นัง่ ทางใน
ทำานายจากนิมิต

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 49
ทำาไมพิธีกรรมบำาบัดจึงมีความสำาคัญ
พิธีกรรมเป็นการรักษาที่สอดคล้องกับความคิด ความเชื่อของ
ชาวล้านนา เมือ่ เชือ่ ว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยคือธาตุ 4 ไม่สมดุล ขวัญหาย
มีเคราะห์ ถูกผีทัก ผีมาขอส่วนบุญ ถูกผีเข้า ถูกคุณไสย หรือทำาอะไรขึด
การบำาบัดรักษาก็ต้องรักษาให้สอดคล้องกับเหตุ เช่น เมื่อขวัญหายก็ต้อง
เรียกขวัญ เมือ่ มีเคราะห์กต็ อ้ งสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา พิธกี รรมจึงมีความสำาคัญ
สำาหรับชาวล้านนา ซึ่งจะทำาทั้งในช่วงที่มีปัญหาและทำาเป็นประเพณี

วัตถุประสงค์ของพิธีกรรม
สำาหรับชาวล้านนาพิธีกรรมมีความสำาคัญต่อชีวิต ชาวล้านนา
ใช้พธิ กี รรมในการแก้ปญ ั หาและส่งเสริมสุขภาพจิต ซึง่ พิธกี รรมแต่ละอย่าง
มีวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้
เพื่อหาฤกษ์ยาม เช่น ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ฤกษ์บวช
มักจะไปขอฤกษ์จากพระภิกษุ หรือมัคทายกที่มีความรู้
เพือ่ ขอคำาแนะนำาปรึกษาเมือ่ มีปญ ั หาชีวติ เช่น การดูเมือ่ ลงผีหม้อนึง่
หาเจ้าทรง
เพือ่ ขจัดปัดเป่าสิง่ ชัว่ ร้าย เช่น การเลีย้ งผี การสะเดาะเคราะห์
หรือส่งเคราะห์ การสวดถอน
เพือ่ สร้างขวัญและกำาลังใจ เช่น การสืบชะตา การฮ้องขวัญ ผูกข้อมือ
เพื่อความสงบของจิตใจ เช่น เข้าวัดฟังธรรม ถือศีล สวดมนต์
ปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อสร้างความร่มเย็น เช่น การเลี้ยงผีปู่ย่า ทำาบุญ “ตานขันข้าว”
ให้ญาติผู้ล่วงลับ
ถ้าวิเคราะห์วิธีการของหมอเมือง หรือหมอพื้นบ้านล้านนา ก็มี
ความคล้ายคลึงกันกับการบำาบัดของแพทย์แผนปัจจุบนั เริม่ ด้วยการพูดคุย
ทักทายสร้างสัมพันธภาพ (small talk) และให้คำาปรึกษาแบบสั้น (Brief
counseling) ด้วยการให้กำาลังใจ จูงใจและวางแผนการรักษาสั้นๆ โดย
50 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
ใช้พิธีกรรมเป็นสื่อ เป็นเครื่องมือโน้มน้าวจิตใจ เชิญชวน ชักจูง ให้คนไข้
ได้รวบรวมสติกลับมาอยู่ที่ตัวเอง ปลุกพลังความเชื่อมั่นศรัทธาของคนไข้
ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมที่จะเดินหน้าต่อสู้กับชีวิตต่อไป
“ศรัทธาทีข่ าดปัญญา พระท่านว่าคือความงมงาย” เรือ่ งของจิตใจ
เป็นเรื่องที่อยู่ภายใน จับต้องไม่ ได้ จึงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย
พิธีกรรมจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนเข้าใจเรื่องจิตใจง่ายขึ้น เป็นเครื่องมือ
เสริมสร้างกำาลังใจ ทำาให้รู้สึกอบอุ่นมั่นคง และช่วยให้จิตที่กำาลังฟุ้งซ่าน
ล่องลอย เตลิดกระเจิดกระเจิง กลับมารวบรวม มีสติอีกครั้ง

พิธีกรรมเป็นทางเลือกที่ควรระมัดระวัง
เพราะหากเชื่อโดยขาดการไตร่ตรอง ขาดวิจารณญาณ
อาจถูกหลอกให้เสียทรัพย์ หรือมุ่งรักษาทางพิธีกรรมมากจนเกินไป
ทำาให้มาพบจิตแพทย์ช้าเกินไป

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 51
พิธกี รรมสำาคัญของชาวล้านนา
ล้านนา เป็นดินแดนทีม่ รี ากฐานความเชือ่ ทางพุทธศาสนา ผี และ
พิธกี รรมแบบพราหมณ์ การประกอบพิธกี รรมจึงยังคงมี ให้เห็นอยู่ ในปัจจุบนั
พิธีกรรมช่วยเสริมสร้างพลังใจ ทำาให้ผู้ที่กำาลังมีปัญหาชีวิต ผู้ป่วย มีขวัญ
และกำาลังใจในการต่อสูช้ วี ติ ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ พิธกี รรมสามารถแก้ ไข บำาบัด
ขจัดปัดเป่าสิง่ ชัว่ ร้ายอัปมงคลให้ออกไปจากชีวติ ซึง่ จะทำาให้ชวี ติ ทีก่ าำ ลังทุกข์ยาก
ลำาบากของผูป้ ระสบปัญหา ผูป้ ว่ ย และญาติดขี นึ้ พิธกี รรมล้านนาทีช่ ว่ ยในการส่งเสริม
สุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เช่น การสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา
ฮ้องขวัญ การสวดถอน ตานขันข้าว ปูจาเทียน และลงขอน ซึ่งพิธีกรรม
บางอย่างจะทำาร่วมกัน
1. การสะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
พิธีกรรมที่จะทำาเมื่อมีเหตุการณ์ ไม่ดีเกิดขึ้น เช่น การเจ็บป่วย
ที่รักษาไม่หาย ประสบอุบัติเหตุ ป่วยเป็นไข้ ไม่สบาย ค้าขายขาดทุน
ทำางานผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายบ่อย ทำาอะไรก็มีปัญหาอุปสรรค
ไม่ประสบความสำาเร็จ มีเคราะห์รา้ ยต่างๆ บ่อยครัง้ ซึง่ เชือ่ กันว่าอาจมีสาเหตุ
มาจากถูกผีหรืออำานาจอื่นกระทำา บุคคลนั้นกำาลังมีเคราะห์ การแก้ ไข
อย่างหนึ่งคือ การส่งหรือการสังเวยแก่เทพหรือผีนั้นๆ การส่งเคราะห์
จะทำาให้เคราะห์ทั้งหลายหายไปได้
52 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
ประเภทของการส่งเคราะห์
ส่งไฟไหม้ หรือ ปูจาส่งไฟไหม้ ส่งเคราะห์เมื่อเกิดไฟไหม้วัด บ้าน
ยุ้งข้าว
ส่งแม่เกิด หรือส่งเกิด หรือ ส่งวานเกิด หรือ ส่งพ่อเกิดแม่เกิด
เด็กหรือทารกป่วยกระเสาะกระแสะ จึงทำาพีธีส่งแม่เกิดและพิธีส่งวานเกิด
ให้พ่อเกิดแม่เกิดและญาติ
ส่งนพเคราะห์ การทำาพิธบี ชู าดาวนพเคราะห์ทมี่ อี ทิ ธิพลต่อเจ้าชะตา
เพื่อให้พ้นจากอาเพศเหตุร้ายที่จะเกิดกับเจ้าของชะตาชีวิต
ส่งโลกาวุฑฒิ หรือโลกวุฒิ เป็นพิธสี ง่ หรือการสังเวย กรณีทตี่ าำ แหน่ง
ปลูกเรือนไม่ดี
ส่งหาบ หรือส่งหาบส่งคอน พิธสี ง่ หาบนีท้ าำ ขึน้ เมือ่ เด็กทีม่ อี ายุหนึง่ ปี
ถึงสิบปี มีสุขภาพไม่ดีขี้ โรค ป่วยบ่อย
ส่งหาบส่งหาม เป็นพิธกี รรมของพรานป่าเพือ่ เลีย้ งผีปา่ ทีด่ แู ลรักษา
สัตว์ป่า เพื่อให้พ้นจากความเลวร้าย
ส่งอุบาทว์แปดประการ เมื่ออุบาทว์คือสิ่งที่นำามาซึ่งความเป็น
เสนียดจัญไร ลางร้ายต่างๆ ปรากฏ จะทำาพิธี แก้ ไขภายใน 3 วัน 5 วัน
ส่งเคราะห์เรือน เป็นพิธีกรรมที่จัดทำาขึ้นเมื่อเห็นว่ามีผู้ป่วยหนัก
จนอาจถึงแก่ชีวิต เมื่อทำาพิธีนี้แล้วจะทำาให้ผู้ป่วยนั้นพ้นจากความป่วยไข้
หรืออุปัทวันตรายทั้งปวง และช่วยให้เกิดสิริมงคลแก่สมาชิกในเรือนหรือ
ในครอบครัว
ส่งไข้ บางแห่งเรียกว่า ส่งผี หรือส่งเทวดา ทำาเมือ่ สมาชิกในครอบครัว
เดินทางไปทำาธุระ แล้วกลับมาเจ็บไข้ ได้ปว่ ยมาในวันนัน้ หรือว่าเจ็บปวดป่วยไข้
อย่างกะทันหัน เชื่อว่าเป็นเพราะ “ถูกผีทัก” “ถูกเทวดาทัก”
ส่งกิ่ว “กิ่ว” หมายถึงชะตาชีวิต โชควาสนาหรือ“ดวง” ในกรณีที่
บ้านเมืองเกิดมีอบุ ตั ภิ ยั หรือโรคภัยเช่นโรคระบาดต่างๆ หรือในกรณีทบี่ คุ คล
ค้าขายขาดทุนหรือมีวถิ ชี วี ติ ลุม่ ๆดอนๆโดยหาสาเหตุไม่พบการส่งกิว่ นีจ้ ะช่วยให้
ภาวะที่เลวร้ายดังกล่าวนั้นหมดไปได้
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 53
ส่งขึด คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการแก้ ไขสภาพความอัปมงคล
ซึ่งตกแก่ผู้กระทำาผิดจารีตของชุมชน หรือที่เรียกว่า ต้องขึด ซึ่งจำาเป็น
จะต้องแก้ ไขโดยการ “ส่งขึดหรือถอนขึด”
ส่งพญานาค เมื่อเจ้าของเรือนใหม่ ได้เตรียมไม้เครื่องเรือนต่างๆ
พร้อมแล้วก็จะขุดหลุมเพือ่ จะลงเสาเรือนซึง่ ก่อนทีจ่ ะขุดหลุมนัน้ เจ้าของเรือน
จะต้องทำาพิธี ส่งพญานาค หรือขอที่ดินจากพญานาคเสียก่อนทั้งนี้เพื่อ
ความอยู่เย็นเป็นสุขของบุคคลในเรือนนั้นๆ

วิธกี าร การส่งเคราะห์จะต้องให้ผมู้ วี ชิ าความรูเ้ ป็นพ่อหนาน


หรืออาจารย์ซงึ่ ผ่านการบวชเป็นพระมาแล้ว มีความรูเ้ กีย่ วกับพิธกี รรม
เป็นผูท้ าำ โดยการจัดเตรียม “สะตวง” หรือกระทงเครือ่ งเซ่น มักทำากัน
ล่วงหน้าก่อนหนึง่ วัน เมือ่ ถึงการประกอบพิธกี ารส่งเคราะห์ พ่อหนาน
ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มจากการบูชาขั้นตั้งหรือขึ้นขันตั้ง เพื่อรำาลึกถึง
พระคุณครูบาอาจารย์ จากนั้นเจ้าชะตาคนป่วยหรือกลุ่มคน
ทีจ่ ะทำาการส่งเคราะห์มานัง่ ด้านหน้า ผูป้ ระกอบพิธจี ะอ่านโองการ
ส่งเคราะห์ เสร็จแล้วผูกข้อเพื่อเรียกขวัญกำาลังใจ และประพรม
น้าำ ขมิน้ ส้มป่อย เมือ่ ทำาพิธเี สร็จแล้วก็จะสะตวงไปวางตามทางแยก
หรือทางสามแพ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีผีมาชุมนุมกัน

54 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
2.สืบชะตา หรือสืบจาต๋า พิธีกรรมแห่งมงคลชีวิต
“พิธีสืบชะตา” เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนเมือง
หรือคนล้านนามายาวนาน พิธสี บื ชะตานัน้ เป็นพิธมี งคล คำาว่า “สืบ” หมายถึง
การต่อให้ยาวขึ้น “จาต๋า” หรือชะตาชีวิตของแต่ละคน พิธีนี้จึงเป็นพิธีกรรม
ในการต่ออายุให้ยืนยาวขึ้น การสืบชะตาจัดขึ้นในหลายโอกาส คือ
การสืบชะตาคน นิยมทำาเมือ่ ขึน้ บ้านใหม่ ย้ายทีอ่ ยู่ ใหม่ ได้รบั ยศหรือ
ตำาแหน่งสูงขึน้ วันครบรอบเกิด เช่น 24 ปี 36 ปี 48 ปี 60 ปี 72 ปี เสริมสร้าง
กำาลังใจให้ผู้ทำามีชีวิตยืนยาวต่อไป นอกจากนี้ยังมีการสืบชะตาในกรณี
ฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีคนทักทายว่าชะตาไม่ดี จำาเป็นต้องสะเดาะเคราะห์
และสืบชะตา เชื่อว่าการสืบชะตาจะทำาให้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น เนื่องจาก
ผ่านเคราะห์กรรมไปแล้ว พิธีสืบชะตาเป็นการเสริมกำาลังใจให้กับผู้ป่วย
ต่อสูก้ บั การเจ็บป่วย เพราะได้ “สืบชะตา”หรือได้ “ต่อชะตาอายุ”ของตนเอง
แล้ว และเสริมขวัญให้กับเป็นการรักษาทางใจให้กับผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 55
สืบชะตาบ้าน นิยมทำาเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน
หรือเจ็บป่วยหรือมีการตายติดต่อกันมากกว่า 3 คน ขึ้นไป ถือเป็นเสนียด
ของหมูบ่ า้ น ชาวบ้านอาจทำาพิธสี บื ชะตาบ้าน ในช่วงสงกรานต์ คือวันปากปี
ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันปี๋ ใหม่เมือง
หรือวันสงกรานต์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
สืบชะตาเมือง จัดขึน้ เมือ่ บ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพล
ของดาวพระเคราะห์ตามความเชือ่ ทางโหราศาสตร์ จะทำาให้บา้ นเมืองปัน่ ป่วน
วุ่นวาย มีการจราจลการศึก หรือเกิดโรคระบาด ผู้ปกครองเมือง จึงจัดพิธี
สืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำาเนินต่อเนื่องสืบ
สืบชะตาหลวง เป็นการสืบชะตาแบบกลุ่มใหญ่ๆ มักทำาในช่วง
เทศกาลสงกรานต์หรือ “ป๋าเวณีปี๋ ใหม่เมือง” ชาวบ้านในแต่ละชุมชนหรือ
แต่ละคุ้มวัด จะจัดให้มีพิธีสืบชะตาหลวงและพิธีการส่งเคราะห์ของคน
ทั้งชุมชน เพื่อความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของคนในชุมชน
โดยส่วนใหญ่จะทำากันที่วัด

56 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
วิธีการ
- จัดเตรียมสถานทีแ่ ละอุปกรณ์ จัดทำาเป็นกระโจมไม้ตงั้ 3 ขา
กว้างพอทีเ่ จ้าชะตาจะเข้าไปนัง่ ในนัน้ ได้ โดยใช้ดา้ ยสายสิญจน์ โยงจาก
ศีรษะไปสู่ยอดกระโจมและดึงไปหาบาตรน้ำามนต์หน้าพระพุทธรูป
พระสงฆ์จะถือด้ายสายสิญจน์ขณะสวดมนต์และจะใช้ผูกข้อมือ
เจ้าชะตา บางตำาราก็จะให้ทาำ พิธขี นึ้ ท้าวทัง้ สีก่ อ่ นทำาพิธเี ครือ่ งประกอบพิธี
อย่างอื่น ได้แก่ ขันตั้งสืบชะตา ขันคารวะเครื่องสืบชะตา
- พระสงฆ์จำานวน 5,7 หรือ 9 รูป แล้วแต่ความเหมาะสม
และความพร้อมของเจ้าภาพ และปูจ่ า๋ นหรืออาจารย์วดั ร่วมทำาพิธเี ทศน์
ธรรมสืบชะตาทั้ง 9 ผูก เสร็จพระสงฆ์ทำาประพรมน้ำาพระพุทธมนต์
(รดน้ำามนต์) เจ้าชะตาและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์
พิธีกรรมสืบชะตาบ้าน กับชะตาเมืองนั้น เครื่องสืบชะตา
จะเพิม่ มากขึน้ มีการโยงสายสิญจน์จากวัดหรือสถานประกอบพิธผี า่ น
ไปยังบ้านแต่ละหลังจนครบทั้งหมู่บ้านและทุกครอบครัว ก็จะเตรียม
น้าำ ส้มป่อย น้าำ อบ น้าำ หอม และทรายมาร่วมพิธเี มือ่ เสร็จแล้วจะได้นาำ กลับ
ไปโปรยที่บ้านเรือนของตน
การสืบชะตาคล้ายกับการสะเดาะเคราะห์ แต่การสืบชะตา
มีขั้นตอน วิธีการ และวัสดุอุปกรณ์มากกว่า

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 57
3. ฮ้องขวัญ หรือเรียกขวัญ พิธีกรรมเสริมพลังใจ
ชาวล้านนา มีความเชือ่ ว่า คนเรามีขวัญ 32 ขวัญ อยูต่ ามอวัยวะต่างๆ
เช่น ขวัญแข้ง ขวัญขา ขวัญตา ขวัญใจ ขวัญคอ ขวัญหรือจิตมีความสัมพันธ์
กับร่างกาย คือเมื่อร่างกายป่วย ขวัญก็จะอ่อนแอไปด้วย และเมื่อใดที่ขวัญ
อ่อนแอ เช่น เมือ่ รูส้ กึ เครียด กลัว ตกใจ ทีเ่ รียกว่า “ขวัญหาย” “ขวัญหนีดฝี อ่ ”
ร่างกายก็จะอ่อนแอด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
จึงต้องมีการ “ฮ้องขวัญ” หรือเรียกให้ “ขวัญกลับมาอยูก่ บั เนือ้ กับตัว” เหมือนเดิม
เป็นการรักษาทางจิตใจ แต่ถ้าร่างกายป่วย “หมอเมือง” หรือหมอพื้นบ้าน
ล้านนาก็จะรักษาด้วยสมุนไพร
“พิธีฮ้องขวัญ” หรือ “สู่ขวัญ” เป็น พิธีกรรมของชาวล้านนาซึ่งมัก
จะทำาใน 2 กรณี คือ
1. เมื่อประสบกับปัญหาหรือวิกฤตชีวิตที่ทำาให้ “ขวัญหาย” หรือ
“ขวัญหนีดีฝ่อ” ไม่ว่าจะเป็นเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ประสบภัยพิบัติ ฯลฯ
จึงมีการเรียกขวัญให้กลับคืนสู่ร่างกาย
2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น บวชเรียน แต่งงาน มีเหตุ
ต้องจากบ้านไปไกล หรือในกรณีที่มีบุคคลสำาคัญมาเยี่ยมเยือนบ้านเมือง
พิธีฮ้องขวัญเป็นพิธีกรรมชโลมใจ ปลอบใจ สร้างเสริมกำาลังใจ
เนือ่ งจากคนล้านนามีความเข้าใจว่าการเปลีย่ นแปลงในชีวติ ไม่วา่ จะเปลีย่ นแปลง
ไปในทางที่ดีหรือไม่ดีล้วนก่อให้เกิดความเครียด

58 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
การฮ้องขวัญเป็นการช่วยปลอบใจ ให้กาำ ลังใจ ทำาให้เกิดความอบอุน่ ใจ
หรือมัน่ ใจในการดำาเนินชีวติ ต่อไป การฮ้องขวัญของชาวล้านนามีหลายลักษณะ
ได้แก่ การฮ้องขวัญเด็ก ขวัญลูกแก้ว (นาค) ขวัญสามเณร ขวัญผูป้ ว่ ย
ขวัญบ่าวสาว ขวัญผูท้ จี่ ะเดินทางไกล ขวัญผูท้ มี่ าเยือน ขวัญผู้ ใหญ่บา้ น
และอาจารย์วัด รวมทั้งขวัญข้าว ขวัญช้าง ขวัญวัวควาย ขวัญเรือน
ขวัญเสา
วิธกี าร เตรียมสถานทีแ่ ละอุปกรณ์ที่ ใช้ ในพิธกี รรม มีเครือ่ งบายศรี
ไข่ต้ม ข้าว กล้วย น้ำา ใบพลู หมากเมี่ยง บุหรี่ ด้ายดิบและด้าย
ผูกข้อมือ พร้อมกับเชิญอาจารย์ที่หน้าที่ฮ้องขวัญมาทำาพิธีตามฤกษ์
ยามที่กำาหนดไว้ หมอขวัญจะทำาพิธีเรียกขวัญ โดยเริ่มจากกล่าวคำา
อัญเชิญเทวดา บทเรียกขวัญ ช่วงเรียกขวัญจะทำาพิธเี สีย่ งทายว่าขวัญ
มาแล้วหรือยัง จากนัน้ หมอขวัญจะเอาน้าำ มนต์มาพรมให้เจ้าของขวัญ
พร้อมทัง้ อวยพรให้อยูเ่ ย็นเป็นสุข และใช้ดา้ ยสายสิญจน์มามัดมือซ้าย
ของเจ้าของขวัญเพือ่ ให้ขวัญมา และมัดมือขวาเพือ่ ให้ขวัญอยูก่ บั เนือ้ กับตัว
จากนัน้ ผูท้ มี่ าร่วมงานและเจ้าของขวัญร่วมทานอาหารและทานไข่ตม้
ที่ประกอบพิธี แล้วญาติจะนำาเครื่องบายศรี ไปวางไว้ที่หัวเตียงนอน
ของเจ้าของขวัญ 3 วัน 7 วัน
สิง่ สำาคัญในการฮ้องขวัญนอกจากวัสดุทตี่ อ้ งเตรียม คือหมอขวัญ
ที่ทำาพิธีจะต้องกล่าวคำาเรียกขวัญ ซึ่งฟังแล้วจะเป็นคำาพูดที่ดีๆ
ที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจและเสริมสร้างพลังใจให้เข้มแข็ง
“...อะชะในวันนีก้ เ็ ป๋นวันดี ศรี ไชยโชค วันนีเ้ ป๋นป้นโทษโศกา
ข้าจักผูกข้อมือขวาแห่งเจ้า จักผูกมือไว้เล่าด้วยฝ้ายอันบริสทุ ธิ์ เพือ่ หือ้
เป๋นมงคล หื้อป้นจากกังวลทุกสิ่ง หื้อขวัญอยู่หมั้นยิ่งกับตน......”
พิธีกรรมฮ้องขวัญของชาวล้านนามักปฏิบัติร่วมกับพิธีกรรม
สะเดาะเคราะห์ และพิธีสืบชะตา โดยเริ่มจากการสะเดาะเคราะห์
การสืบชะตาและการฮ้องขวัญ ตามลำาดับ

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 59
4.สวดถอน พิธีกรรมเพื่อล้างอาถรรพ์
“การสวดถอน” หรือ “การสูตรถอน” เป็นพิธกี รรมทีช่ าวล้านนา
กระทำาเพือ่ ปัดเป่า แก้ ไข เมือ่ มีการเคลือ่ นย้าย บางสิง่ บางอย่างออกจากพืน้ ที่
เช่นการสวดถอนสีมา ย้ายพระภูมิเจ้าที่ บ่อน้ำาเก่า โรงสี โดยการสวดถอน
เป็นการถอดถอนเอาสิง่ ที่ ไม่ดี ไม่เป็นมงคล ทีเ่ ชือ่ กันว่าฝังอยูห่ รือติดอยู่ ในตัวคน
ทีอ่ ยูอ่ าศัย ผืนดิน วัตถุสงิ่ ของออกไป เป็นการขับไล่ความไม่ดี หรือสิง่ ชัว่ ร้ายต่างๆ
ไม่เป็นมงคลออกไป และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัว เจ้าบ้าน
พิธีการสวดถอนนั้น ต้องหาฤกษ์ยามในการทำา จัดเตรียมสะตวง มีขันตั้ง
สำาหรับการไหว้ครู โดยมีพระสงฆ์หรือพ่อหนานเป็นผู้ทำาพิธี
การสวดถอนที่ชาวล้านนาทำามีหลายอย่าง ดังนี้
พิธีถอนบ้านเรือน ในการสร้างบ้านเรือนอาจสร้างทับสิ่งไม่ดี
เช่น ที่ที่เป็นบ่อน้ำา หนองน้ำา บึง หรือตอไม้ หรือไม้ที่นำามาสร้างบ้านอาจมี
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าที่หรือรุกเทวดาสถิตอยู่ หรือที่แห่งนั้นมีเจ้าของเดิมหรือ
มีเจ้าทีเ่ จ้าทาง วิญญาณต่างๆ สิงสถิต จึงต้องมีการทำาพิธสี วดถอน บางแห่ง
ทำาพิธีก่อนที่จะเริ่มสร้างบ้านหรือลงเสาเอก บางแห่งทำาหลังสร้างบ้านแล้ว
บางแห่งทำาก่อนทำาบุญขึน้ บ้านใหม่ บางแห่งทำาพิธที งั้ ก่อนและหลังสร้างบ้าน
พิธีถอนแผ่นดิน ที่ดินผืนใดถ้าผู้เป็นเจ้าของอยู่ ไม่เจริญ มีเหตุอาเพศต่างๆ
อยู่บ่อยๆ เจ้าของบ้านอยู่แล้วเกิดความทุกข์ร้อนไม่สบาย ชาวล้านนาเชื่อว่า
ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ อาจเนือ่ งมาจาก เดิมทีด่ นิ นัน้ เป็นทีด่ นิ ของวัดร้าง เมืองโบราณ
วังเจ้านายเก่า ป่าช้า สนามรบ หรือเคยเป็นหนองน้าำ บึง ถนนหนทางมาก่อน
ถือว่าเป็นที่ขึดหลวง ไม่สามารถแก้ ไขได้หรือ “แก้ ไม่ตก” แต่ถ้าตกขึด
ที่ ไม่ร้ายแรงก็แก้ด้วยการถอนขึดได้
พิธถี อนตีนเสา การถอนตีนเสา หมายถึงการถอนตีนเสาของบ้านเรือน
เมื่อสร้างบ้านแล้ว ก่อนที่เจ้าของบ้านจะเข้าไปอยู่ จำาเป็นต้องมีการถอน

60 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
ตีนเสาเรือนก่อน เนื่องจากไม้ที่นำามาสร้างบ้านนั้นมาจากหลายแห่ง หรือ
อาจเป็นไม้เรือนเก่าหรือไม้ที่คนโบราณต้องห้ามไว้ ดังนั้นจึงต้องทำาพิธีถอน
ออกไป
พิธีถอนคนเป็นพยาธิ เมื่อมีคนเจ็บป่วยเรื้อรัง รักษาไม่ดีข้ึน
ชาวล้านนาจะใช้วิธีการรักษาด้วยพิธีถอนพยาธิ เมื่อทำาแล้วเชื่อว่าผู้ป่วย
จะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยในที่สุด
พิธีถอนศพ/วิญญาณ พิธีถอนศพ คือการถอนดวงวิญญาณของ
ผู้ตายให้ออกจากที่แห่งนั้น ชาวล้านนาเชื่อว่าเมื่อคนตายที่ ใด วิญญาณของ
ผูต้ ายก็จะติดอยูท่ แี่ ห่งนัน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าเป็นการตายโหง วิญญาณ
ของผูต้ ายจะวนเวียนไม่ ไปไหน จึงต้องทำาพิธถี อน เพือ่ ให้วญ ิ ญาณของผูต้ าย
ได้ ไปผุดไปเกิด

พิธสี วดถอนสีมา เมือ่ การสร้างพระอุโบสถ มีรอื้ โบสถ์เพือ่ สร้างใหม่


จึงต้องการสวดถอนสีมาเป็นพิธกี รรมสำาคัญแตกต่างจากการสวดถอนอืน่ ๆ

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 61
พิธถี อนป่าช้า การสวดถอนป่าช้าจะทำาใน 3 กรณี คือ ป่าช้าเดิม
เป็นทีล่ มุ่ ฤดูฝนน้าำ จะท่วมเป็นประจำา หลุมฝังศพเต็มหมดแล้ว ไม่มที ี่ ให้
ขุดหลุมฝัง และคนในหมูบ่ า้ นมีการตายบ่อยผิดสังเกต จึงมักเชือ่ ว่า “ป่าช้า
กินคน”
พิธีกรรมมีความสำาคัญในการบำาบัดทางจิตใจ ส่วนใหญ่
จะทำาเมื่อมีเรื่องหรือมีปัญหา เช่น พิธีสวดถอน ฮ้องขวัญเด็ก และ
พิธีที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต มักจะเป็น
พิธีกรรมที่ทำาตามประเพณี เช่น พิธีสืบชะตาหลวง พิธีฮ้องขวัญ
คูบ่ า่ วสาว พิธกี รรมเป็นกุศโลบายเพือ่ สร้างขวัญและกำาลังใจให้กบั คนเรา
ช่วยให้ผู้ที่ป่วยอยู่มีพลังใจที่เข้มแข็งกลับมาสู้อีกครั้ง และช่วยให้
คนปกติมีความเชื่อมั่นในตนเอง พิธีเป็นสื่อปลุก “ความเชื่อตนเอง”
ทำาให้คนกลับมาเชื่อในศักยภาพ พลังความสามารถของตน

62 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
การตานขันข้าว
“ตาน” ชาวล้านนา หมายถึง การถวาย หรือ การทำาบุญ “ขันข้าว”
คือ สำารับอาหาร “ตานขันข้าว” จึงหมายถึงการถวายอาหารหรือภัตตาหาร
ให้กับพระสงฆ์ โดยนำาอาหารคาว หวาน ใส่ ในถาดหรือใส่ขันโตก หรือ
ปัจจุบันนี้อาจใส่ปิ่นโต ภาชนะเป็นสัดส่วน ยกไปถวายพระสงฆ์
วัตถุประสงค์ของการตานขันข้าว เพื่อเป็นการทำาบุญอุทิศกุศล
ให้กับ…
ญาติพี่น้อง บรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไป
พ่อเกิดแม่เกิด เทพเทวดาที่คอยปกป้องคุ้มครอง
เจ้ากรรมนายเวร
ตนเอง หรือ ที่เรียกว่า “ตานไปตางหน้า” เป็นสะสมบุญให้ตนเอง
ในภพหน้าจะได้มีกิน มี ใช้
ที่มาของการทำาตานขันข้าว
การทำาบุญอุทศิ กุศลให้บรรพบุรษุ หรือญาติทลี่ ว่ งลับไปแล้ว เป็นประเพณี
ที่มีความเชื่อมาจากคัมภีร์ทางพุทธศาสนา คือ
คัมภีร์เปรตพล ซึ่งกล่าวถึงพระเจ้าพิมพิสารทำาบุญอุทิศให้ญาติ
ที่เกิดเป็นเปรตได้พ้นทุกข์
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 63
คัมภีรม์ าลัยสูตร เป็นเรือ่ งพระมาลัยเถระไปพบพญายมราชในนรก
พญายมราชสัง่ มาบอกประชาชนในชมพูทวีป ให้ทาำ บุญอุทศิ กุศลให้ญาติพนี่ อ้ ง
ที่ทุกข์ทรมานในนรกภูมิ
คัมภีร์พราหมณ์ปัญหา หรือ อมตปัญหา เรื่องพราหมณ์เศรษฐี
ให้คนใช้นำาอาหารไปส่งที่ฝังศพลูกในป่าช้าทุกวันเป็นเวลา 12 ปี วันหนึ่ง
น้ำาท่วมคนใช้ ไม่สามารถเดินทางไปป่าช้าได้ จะทิ้งก็เสียดาย จึงนำาอาหาร
ไปถวายพระสงฆ์พร้อมกับบอกอุทศิ กุศลให้ลกู ชายเศรษฐี วิญญาณลูกชาย
ได้รบั ผลบุญจึงแสดงตนแก่พราหมณ์ และต่อว่าพ่อไม่รกั เพราะตายไป 12 ปี
เพิ่งได้กินอาหาร
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความเชื่อเรื่องการทำาบุญอุทิศกุศลให้ผู้ล่วงลับ
ไปแล้วจะช่วยให้วิญญาณของผู้ตายได้พ้นทุกข์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ช่วงเวลาที่ทำา
1. “ตานสิบสองเป็ง” หรือ“ ประเพณีปล่อยผีปล่อยเปรต (ภาคกลาง
เรียกว่า ”ตรุษสารท” ภาคใต้เรียกว่าประเพณีเดือนชิงเปรต อีสานเรียก
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน)
ชาวล้านนามีความเชือ่ ว่าเดือนสิบสองเหนือ(เดือนกันยายน) ขึน้ 14 คาำ
พญายมราชจะปล่อยวิญญาณกลับสู่ โลกมนุษย์เพื่อรอรับบุญกุศลจากญาติ
จะได้พ้นจากภาวะแห่งเปรต อสูรกายทั้งหลาย
2. วันสำาคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา
วันออกพรรษา วันลอยกระทง(ยี่เป็ง) รวมทั้งวันพญาวัน (15 เมษายน)
3. วันคล้ายวันเกิด เชือ่ ว่าเป็นการทำาบุญให้พอ่ เกิดแม่เกิด เพือ่ เป็น
ศิริมงคลกับตนเอง….
4. เมื่อฝันร้าย ฝันเห็นญาติที่ตายไปแล้วมาขอให้ทำาบุญไปให้
อยู่ ในสภาพลำาบาก

64 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
5. เมื่อมีผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะถ้าเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย
จะต้อง “ตานขันข้าวนอกวัด” คือ การนิมนต์พระสงฆ์มานอกวัด อาจเป็น
ที่นอกกำาแพงวัดหรือที่บ้านของเจ้าภาพ แล้วญาติจะเตรียมสำารับอาหาร
และสังฆทาน ไปประเคน ระบุชอื่ ผูต้ ายทีจ่ ะอุทศิ กุศลให้อย่างชัดเจน พระสงฆ์
จะกล่าวอุทิศกุศลและกรวดน้ำาไปให้ผู้ตาย

วิธีการ
ชาวบ้านจัดเตรียมข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ พร้อมกับ
ดอกไม้ธปู เทียน แล้วนำาไปถวายพระในตอนเช้าก่อนเวลาฉันเพล ชาว
บ้านจะนำาอาหารใส่ถาดหรือสำารับ ในปัจจุบนั อาจใส่ปนิ่ โตหรือภาชนะ
ที่เป็นสัดส่วน ไปวัดเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วกรวดน้ำาอุทิศ
บุญกุศล ถ้ามีญาติหลายคนต้องอุทิศให้คนละขัน หรือคนละถาด
หรือคนละชุด ตามจำานวนญาติที่จะอุทิศให้ และจดรายชื่อญาติที่
ล่วงลับไปแล้วให้พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ ให้พรจะเอ่ยชื่อผู้ตาย

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 65
ตานขันข้าวนอกวัด
โดยเฉพาะในกรณี “การฆ่าตัวตาย” ชาวล้านนาเชือ่ ว่าผูต้ ายจะต้อง
ทนทุกข์ทรมาน มีกรรมมาก จะอดอยากเร่ร่อน เวทนา ถูกผีอื่นรังแก
จะเข้าวัดมารับบุญกุศลที่ญาติอุทิศให้ก็ ไม่ ได้ ดังนั้นจึงต้องนิมนต์พระมาทำา
พิธีนอกวัด

“ตานขันข้าว” เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ
แสดงถึงการระลึกจดจำาทีญ ่ าติมตี อ่ ผูต้ าย แม้วา่ ผูต้ ายจะตายไปแล้วก็ตาม
แต่เมื่อถึงช่วงเทศกาลสำาคัญ เมื่อตนเองได้กินดีมีความสุข ก็อยากให้ญาติ
ล่วงลับไปแล้วได้กนิ ดีดว้ ย การตานข้าวนอกวัดเป็นภูมปิ ญ ั ญาแก้ความคับข้องใจ
ของญาติได้ดี ความรูส้ กึ ว่าตนเองได้มอบสิง่ ดีๆ ให้กบั คนทีต่ นรัก หรือได้ชว่ ยให้
บุคคลที่ตนรักได้พ้นทุกข์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยให้ญาติรู้สึกสุขใจ
และไม่รู้สึกผิดต่อผู้ตายด้วย

66 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
ลงขอน
การจากไป ของบุคคลอันเป็นทีร่ กั อย่างไม่มวี นั กลับ สร้างความรูส้ กึ
สะเทือนใจให้กับญาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการจากไปครั้งนั้นเกิดขึ้น
โดยไม่คาดคิด ไม่ทนั ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน เช่น การตายด้วยอุบตั เิ หตุ
ถูกฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย ทีช่ าวล้านนาเรียกว่า “ตายโหง” ผูต้ ายไม่มี โอกาส
ได้พูดคุย สั่งเสีย หรือบอกลาคนที่ตนรัก นอกจากความโศกเศร้าเสียใจ
อาลัยรักแล้ว ญาติยงั มีความรูส้ กึ ค้างคาใจ ความสงสัย หรือมีความรูส้ กึ ผิด
สำาหรับคนทีส่ ญ
ู เสียบุคคลอันเป็นทีร่ กั อย่างไม่ทนั ได้ตงั้ ตัว หากย้อนเวลา
กลับไปได้เขาก็อยากจะย้อนเวลากลับไปใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกันใหม่ ได้ดแู ลกัน พูด
คุยกัน ฯลฯ และถ้าเป็นไปได้กอ็ ยากจะได้พบคนทีเ่ ขารักอีกสักครัง้ อยากมี
โอกาสได้พูดคุย ได้ถามในสิ่งที่สงสัย และได้บอกในสิ่งที่ยังไม่เคยได้บอก
ชาวล้านนามีพิธีกรรมที่จะทำาให้ผู้ตายและญาติได้มี โอกาสมาพบพูดคุยกัน
เรียกว่า “การลงขอน”
“ลงขอน” หรือ “ลงขอนผี” หรือ “ลงขอนกระด้าง” ญาติจะไปหา
ผูท้ ที่ าำ หน้าที่ “ลงขอน” เพือ่ เชิญวิญญาณของผูต้ ายมาสิงร่างทรง หรือ “ม้าขี”่
และญาติกับผู้ตายจะได้พบกันอีกครั้ง พิธีกรรมนี้ยังมีอยู่ ในชนบทปัจจุบัน
มักจะทำาในช่วงไม่เกิน 100 วันหลังการสูญเสีย จะได้ผลดี
สาเหตุสำาคัญที่ญาติ ไป “ลงขอน” คือ
1. ญาติมีความห่วงหาอาลัยผู้ตาย ญาติต้องการทราบชีวิต
ความเป็นอยู่หลังความตาย จึงไป “ลงขอน” เพื่อสอบถามว่าวิญญาณของ
ผูต้ ายไปอยูท่ ี่ ใด สุขทุกข์ประการใด บุญทีท่ ำาไปให้นน้ั ได้รบั หรือไม่ และต้องการ
สิ่งใดเพิ่มเติมหรือไม่
2. ญาติมคี วามสงสัยคลางแคลงใจ โดยเฉพาะในกรณีทผี่ ตู้ าย “ตายโหง”
ถูกฆาตกรรม หรือกรณีฆา่ ตัวตายรายทีญ ่ าติคดิ ว่าผูต้ ายไม่นา่ จะฆ่าตัวตาย
จึงต้องการสอบถามสาเหตุการตาย นอกจากนีผ้ ทู้ ตี่ ายโดยไม่ ได้สงั่ ลาหรือ
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 67
สั่งเสียก่อน ญาติต้องการทราบว่าผู้ตายมีความต้องการจะจัดการสิ่งต่างๆ
อย่างไร หรือญาติอยากพูดคุยบอกกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับผู้ตาย
3. ญาติฝันถึงผู้ตาย โดยฝันเห็นผู้ตายมีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ดี
ตกระกำาลำาบาก ไม่มีที่อยู่ที่กิน ร่างกายผ่ายผอม ผิวพรรณหมองคล้ำา
ใส่เสื้อผ้าเก่าขาด หรือฝันวิญญาณมาขอความช่วยเหลือ ฯลฯ ญาติจะไป
“ลงขอน” เพื่อสอบถามสภาพความเป็นอยู่และความต้องการความช่วย
เหลือให้แน่ชัด

ขั้นตอนการลงขอน
“การลงขอน” เป็นพิธกี รรมทีญ ่ าติเชิญวิญญาณของผูต้ ายมาสิงร่างทรง
เพือ่ พบปะพูดคุยกัน ต่างกับร่างทรงทัว่ ไปทีเ่ ป็นร่างทรงองค์เทพ การลงขอน
ส่วนใหญ่มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. การเลือกร่างทรง ญาติมักจะสอบถามข้อมูล “การลงขอน”
จากเพือ่ นบ้านทีเ่ คยไปใช้บริการลงขอนมาก่อน ถึงเรือ่ งมีความถูกต้องแม่นยำา
เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ถูกร่างทรงหลอกลวง
2. การเชิญวิญญาณเพื่อเข้าร่าง ร่างทรงจะทำาพิธีเชิญเจ้าพ่อ
ซึ่งเป็นวิญญาณที่ทำาหน้าที่ติดต่อกับผู้ตายที่อยู่ ในโลกวิญญาณให้เข้าร่าง
ของร่างทรงทีส่ าำ นักทรง เมือ่ วิญญาณเข้าร่างของร่างทรงแล้ว ร่างทรงจะมีอาการ
เหมือนศพผู้ตายนอนนิ่ง ตัวแข็งทื่อแข็งกระด้างเหมือนขอนไม้ จึงเป็นที่มา
ของการเรียกว่า “ขอนกระด้าง” สักครู่จะมีลักษณะท่าทางเหมือนผู้ตาย
ช่วงที่กำาลังสิ้นลมหายใจ เช่น ตายเพราะถูกยิงร่างทรงก็จะดิ้นทุรนทุราย
ตายเพราะรถชนร่างกายของร่างทรงก็กระเด็นออกมา ฯลฯ สักครูผ่ ชู้ ว่ ยร่างทรง
ก็เรียกชื่อผู้ตาย ร่างทรงก็จะลุกขึ้นโดยมีวิญญาณของผู้ตายอยู่ ในร่าง
3. การตรวจสอบวิญญาณ เมือ่ วิญญาณเข้าร่างทรงแล้ว ญาติจะมีวธิ ี
ตรวจสอบว่าวิญญาณทีม่ าเข้าร่างนัน้ เป็นวิญญาณผูต้ ายทีต่ นต้องการพบจริง
หรือไม่ โดย
68 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
3.1 ให้เลือกเสือ้ ผ้า ของใช้ประจำาตัวของตนเอง เช่น บัตรประจำาตัว
ประชาชน รูปหมู่
3.2 ให้เลือกอาหารที่เคยชอบกิน
3.3 ให้ชี้ตัวญาติคนสนิท เช่น ลูก คู่ครอง
3.4 สังเกตจากพฤติกรรมการพูดจาท่าที เช่น สำาเนียงการพูด
ท่าทางขณะทีพ่ ดู หรือแม้แต่เรือ่ งราวทีพ่ ดู เป็นเรือ่ งเฉพาะทีค่ นใกล้ชดิ เท่านัน้ ทีร่ ู้
รวมทัง้ สังเกตจากบคลิกลักษณะ เช่น ขณะมีชวี ติ อยูเ่ ป็นขีเ้ มา ร่างทรงก็จะมี
ลักษณะท่าทางเหมือนคนเมา
4. การพูดคุยสอบถามความเป็นอยูแ่ ละความต้องการช่วยเหลือ
เมื่อญาติตรวจสอบและมั่นใจว่าวิญญาณที่มาเข้าร่างนั้นเป็นผู้ตายที่ตน
ต้องการพบจริง ญาติจะรูส้ กึ ดี ใจ บางรายสวมกอดกัน ร้องไห้ที่ ได้พบกันอีก
พูดคุยสอบถามความเป็นอยู่ เช่น อยูท่ ี่ ไหน ทำาอะไร สบายดี ไหม บุญทีท่ าำ ให้
ได้รับหรือไม่ ความต้องการช่วยเหลือสิ่งใดอีกหรือไม่ หรือถามถึงสาเหตุ
การตายกรณีที่ถูกฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย
การลงขอนช่วยส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของญาติ
อย่างไร
1. ลดความรูส้ กึ ผิดในใจของญาติ โดยเฉพาะในกรณีทญ ี่ าติคดิ ว่า
ตนเองเป็นสาเหตุการตาย เช่น ก่อนตายมีเรื่องทะเลาะขัดแย้งกันรุนแรง
การได้พดู คุยทำาให้ญาติได้ระบายความในใจ ได้รบั การยกโทษหรืออโหสิกรรม
หรือถ้าวิญญาณบอกว่าเป็นเพราะ “หมดอายุขยั ” “เป็นกรรม” “ผีจะเอาไปอยูด่ ว้ ย”
ญาติก็ ไม่รู้สึกผิด
2. ญาติได้สะสางเรือ่ งทีค่ า้ งคาใจ กรณีทญ ี่ าติสงสัยสาเหตุการตาย
หรืออยากทราบสภาพความเป็นอยูข่ องผูต้ าย ถ้าได้คาำ ตอบทีด่ ี “สุขสบายดี
บุญที่ทำาให้ ได้รับทั้งหมด” ญาติก็จะสบายใจหายห่วง แต่ถ้าได้คำาตอบไม่ดี

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 69
ญาติก็จะสอบถามความต้องการจัดการสิ่งต่างๆ เช่น เรื่องทรัพย์สมบัติ
รวมทั้งความต้องการการช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ ในโลก
วิญญาณดีขึ้น
3.ญาติยงิ่ รูส้ กึ สบายใจ มีความสุขมากขึน้ เพราะได้มี โอกาสทำาสิง่ ดีๆ
ให้กับคนที่ตนรัก ได้มี โอกาสช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์ทรมานในโลก
ของวิญญาณ ได้ช่วยให้เขาได้มีชีวิตที่ดีขึ้นตามที่เขาร้องขอ
การลงขอน จึงเป็นพิธกี รรมทีย่ งั ทรงคุณค่าทางใจสำาหรับผูท้ สี่ ญ ู เสีย
บุคคลอันเป็นทีร่ กั เป็นวิธเี ดียวทีส่ ามารถนำาวิญญาณของผูท้ จี่ ากไปมาพูดคุย
กับญาติได้ สำาหรับผูท้ คี่ วามรักใคร่ผกู พันกันแล้ว แม้จะไม่ ได้ ใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกัน
แต่ความห่วงหาอาทรยังมีอยู่ ขอให้ ได้รวู้ า่ เขามีความสุขอยู่ ไหม ขอเพียงแค่
ได้รวู้ า่ มีสงิ่ ใดทีจ่ ะทำาให้คนทีเ่ รารักพ้นจากความทุกข์และมีความสุขได้ ญาติกจ็ ะทำา
การลงขอนไม่ ใช่แค่ทำาเพื่อผู้ที่จากไป แต่เป็นความสุขสบายใจของญาติ
ผู้ที่ยังอยู่ด้วย

70 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
หมอเมือง
การแพทย์ล้านนา

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 71
72 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
“หมอเมือง” หรือหมอพื้นบ้านล้านนา ผู้ที่ทำาการรักษาโรคภัย
ไข้เจ็บด้วยภูมิปัญญาล้านนาโบราณที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
มีการบันทึกใน “ปับ๊ สา” หรือตำาราล้านนาโบราณ มีเอกลักษณ์ตามวัฒนธรรม
สุขภาพแบบล้านนา ทัง้ วิชาความรู้ วิธกี าร ความคิด ความเชือ่ และวิถชี วี ติ
ในการดูแลรักษาสุขภาพที่เป็นแบบเฉพาะถิ่นล้านนา

เอกลักษณ์ของหมอเมือง
การรักษาของ “หมอเมือง” มีพื้นฐานความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนา
ผี และพิธกี รรม หมอผูร้ กั ษาเป็นบุคคลสำาคัญทีท่ าำ ให้การรักษาได้ผลหรือไม่
หมอเมืองจึงต้องมีสิ่งสำาคัญ 5 อย่าง คือ “มีครูบา จรรยา ศีล 5 คาถา
ยาสมุนไพร” ผสมผสานกันจึงจะช่วยให้การรักษามีคุณภาพ
มีครูบา หรือ “มีครูบาอาจารย์” หรือ “มีครู” คนล้านนาจะให้ความเคารพ
นอบน้อมต่อครูบาอาจารย์ซงึ่ เป็นผูป้ ระสิทธิป์ ระสาทวิชา และเชือ่ ว่าความศรัทธา
ในครูเป็นพลังศักดิ์สิทธิที่ช่วยในการรักษา

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 73
มีจรรยาบรรณ มีคณ ุ ธรรมของความเป็นหมอ เช่น มีความเมตตาจิต
ต่อผู้ป่วย ไม่เห็นลาภสักการะ ไม่ โอ้อวด ไม่ปิดบังความดีของผู้อื่นไม่บิดปัง
ความเขลาของตน
มีศลี หมอผูร้ กั ษาจะต้องเป็นคนดีมศี ลี ธรรม หรืออย่างน้อยต้องเป็น
ผู้ “มีสัจจะ” คือ เป็นคนรักษาคำาพูด หากเป็นผู้ที่สวดมนต์และปฏิบัติสมาธิ
เป็นประจำายิ่งดี เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยหายป่วยเร็วยิ่งขึ้น
มีคาถา การรักษาของหมอล้านนาจะรักษาควบคู่ ไปกับการใช้
“คาถาเฉพาะบทต่างๆ ในการรักษา เชื่อว่าคาถาและการไหว้ครู ทำาให้เกิด
ความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะทำาให้อาการป่วยหายขาดและป้องกันโรคจากผู้ป่วย
สะท้อนเข้าหาตัวผู้รักษา
ยาสมุนไพร สมุนไพรที่ ใช้จะถูกปลูกไว้เผื่อใช้ ในครอบครัวและ
แบ่งปันให้ ไปรักษา เมื่อจะไปเก็บสมุนไพร หมอจะต้องกล่าวขอบูชาจาก
เทวดาขอให้สมุนไพรใบหญ้าให้มฤี ทธิ์ ในการรักษา และเป็นการแสดงเจตนา
นำาต้นไม้มารักษาไม่ ได้ทำาลายธรรมชาติ

74 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
วิธีการรักษาโรคของหมอเมือง
คนล้านนามีความเชื่อว่าสาเหตุของการเจ็บป่วย มี 7 ประการ
คือ การเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 ภาวะจิตอ่อนแอหรือขวัญอ่อน ชะตากรรม
หรือมีเคราะห์ ถูกผีทำา ถูกผีเข้า ถูกคุณไสยมนตร์ดำา และขึด การรักษา
จึงต้องรักษาตามเหตุ
การเจ็บป่วยที่เกิดจากการเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 หมอเมือง
มีวิธีการรักษา 23 วิธี ได้แก่ การนวด เอาเอ็น ดัดดึง ตอกเส้น เช็ดแหก
ยำาขาง เหน่น เข้าเฝือก ขวากซุย ลั่นม่าน ฝังจอบพิษ แช่น้ำาร้อน แช่น้ำาเย็น
ลาบสาร สับสาร เช็ดไข่ แทงมือ บ่งก้น เผาเทียน โฮมไฟ ขูด ปัด เป่าห่า
ซึ่งจะต้องมีครู มีคาถากำากับด้วย
การเจ็บป่วยทางจิต ไม่วา่ จะเป็นโรคจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือ
แม้แต่ความทุกข์ ใจเมือ่ มีปญั หาเข้ามาในชีวติ ไม่วา่ จะเป็นปัญหาสุขภาพ เจ็บ
ป่วยเรือ้ รัง เจ็บป่วยร้ายแรง ประสบอุบตั เิ หตุ ปัญหา ครอบครัว ปัญหาการงาน
โดยเฉพาะถ้าผู้ประสบปัญหาได้พยายามทำาดีแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาอีก
คนล้านนาเชื่อมีสาเหตุมาจากขวัญอ่อน มีเคราะห์ ถูกผีทำา ถูกผีเข้า
ถูกคุณไสยมนตร์ดำา หรือขึด คือไปทำาสิ่งที่ ไม่ดีหรือไม่ทำาในสิ่งที่ควร
ทำาการรักษาจึงต้องแก้ดว้ ยพิธกี รรม เช่น สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ฮ้องขวัญ
ดูเมื่อทำานายทายทัก

ตัวอย่างวิธีการรักษาของหมอเมือง
การแฮก หรือแหก เป็นการใช้วัตถุที่ผ่านการเสกเป่าด้วยคาถา
นำาไปกดหรือขูดตามร่างกายตามจุดทีจ่ ะทำาการรักษา มักใช้รกั ษาโรคทีเ่ ป็น
ก้อนเนื้อหรืออาการปวด อุปกรณ์ที่ ใช้แหกอาจเป็นหัวไพลหรือมีดที่ทำาจาก
วัตถุต่างๆเช่น เขาวัวควายที่ตายจากฟ้าผ่า งาช้าง หรือเหล็ก นำาไปแหกขูด
บริเวณจุดทีท่ าำ การรักษา โดยใช้ ไพลสดฝนและปลุกเสกน้าำ มนต์ ให้คนไข้ ไปดืม่

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 75
การเป่า เป็นการบริกรรมคาถาเป่าลงไปบนร่างกายทีเ่ จ็บป่วย เช่น โรควิงเวียน
ตาแดง งูสวัด แผล แมลง หรือสัตว์มีพิษกัดต่อย และปลุกเสกน้ำามนต์
ให้คนไข้ ไปดื่มที่บ้านด้วย
การเช็ด เป็นการนำาใบไม้หรือใบพลูเสกเป่าด้วยอาคมมาเช็ดถูบริเวณ
ที่มีอาการเจ็บป่วยตามร่างกาย
การใช้นา้ำ มันมนต์ ใช้นา้ำ มันที่ ได้จากสัตว์ เช่น น้าำ มันเยือง (เลียงผา)
น้าำ มันหมูจากหมูดาำ น้าำ มันจากพืช เช่น น้าำ มันมะพร้าว น้าำ มันงา นำามาบริกรรมคาถา
และเสกเป่า ใช้รักษาโรคปวดจากกระดูกแตกหัก เอ็นพลิก บอบช้ำ า
ตามร่างกาย
ขวากซุย การรักษาแผลสดและแผลเน่าเปื่อย โดยใช้อิฐ (มะดินกี่)
ถ่านไม้สัก ขี้ข่าหง้อง (หยากไย่ ใน ห้องครัวที่ถูกรมควัน) ปูนขาวและ
หมิ่นหม้อนึ่ง (เขม่าที่จับอยู่ที่ก้นหม้อนึ่ง) นำามาผสมแล้วตำาให้เข้ากันแล้ว
นำาไปทาบนแผล พร้อมกับมีการเสกเป่าด้วยคาถา
การนวด มีหลายแบบ เช่น หมอนวดเท้า เหยียบขา ตอกเส้น
ประคบสมุนไพรด้วย คลายเส้น ยาำ ขาง กดจุดจับเส้น เป็นการรักษาทีผ่ รู้ กั ษา
ต้องมีองค์ความรูเ้ รือ่ งกายวิภาคศาสตร์ เพือ่ รักษาอาการเจ็บ ตึงปวดเมือ่ ย
อวัยวะต่างๆ และต้องมีความรู้เรื่องคาถาด้วยเช่นกัน

การนวดอัตลักษณ์ล้านนา
การนวด การนวดเป็นการใช้พลังของการสัมผัสในการคลายเครียด
และลดความเจ็บปวด การนวดมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
เมือ่ ร่างกายได้รบั การนวด กล้ามเนือ้ จะผ่อนคลาย การไหลเวียนของเลือด
และน้ำาเหลืองจะดีขนึ้ ทำาให้รา่ งกายต่อสูก้ บั เชือ้ โรคต่างๆได้ดี คลายความ
เมือ่ ยล้าปลอดโปร่ง เบาสบาย มีความสดชืน่ แจ่มใส กระฉับกระเฉง มีพลัง
เมื่อทำางานอยู่ ในอิริยาบถเดียวในท่าที่ ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานทำาให้เกิด
อาการปวดเมือ่ ยได้ หรือภาวะความเครียดทำาให้กล้ามเนือ้ เกิดการหดเกร็ง
76 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
การนวดล้านนามีหลายแบบที่ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน มีทั้งการนวดเพื่อ
ผ่อนคลาย และการนวดเพื่อรักษา
การจู้(ประคบ) จะใช้ผ้าม้วนแล้วเป่าเอาลมร้อนสู่ผ้าแล้วประคบ
บริเวณรอยช้าำ หรือใช้ลกู ประคบสมุนไพร นำาไปนึง่ หรือเผาแล้วนำาไปประคบ
นาบบริเวณทีท่ าำ การรักษา ความร้อนและสมุนไพรจะทำาให้กล้ามเนือ้ คลายตัว
เป็นการนวดโดยใช้การประคบช่วย
นวดจับเส้นเอาเอ็น รักษาด้วยการใช้มือบีบ ซึ่งต้องอาศัยหมอ
ที่มีความรู้ ในด้านยาสมุนไพร เรื่องเส้นเอ็น และจุดสำาหรับการบีบนวด
การนวดจับเส้นหรือ “เอาเอ็น” เป็นการนวดไปตามแนวเส้นประธานสิบ
เพือ่ ให้เส้นทีห่ ดเกิดการคลายตัว ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขนึ้ แต่ ในกรณี
ทีม่ อี าการมากเช่น เส้นจม หรืออยูผ่ ดิ ตำาแหน่ง ”นวดเอาเอ็น” โดยการบีบเส้น
เขี่ยเส้น โกยเส้น ประคองเส้น จกเส้น ถกเส้น และเหยียบเส้น เพื่อเส้น
กลับมาปกติ
การตอกเส้น การนวดโดยใช้ลิ่มไม้และค้อนไม้ตอกกระตุกเส้น
ทีอ่ ยูล่ กึ เพือ่ ให้เส้นสะดุง้ แล้วใช้สมุนไพรประคบ หมอจะกล่าวคำาไหว้ครูแล้วใช้
น้าำ มันเยือง(น้าำ มันเลียงผา)หรือน้าำ มันนวดทาบริเวณทีป่ วด แล้วตอกเน้นกระตุน้
จุดหรือเส้นตรงๆ ทำาให้เส้นที่อยู่ลึกดีด สะดุ้ง กลายเนื้อขยายตัวได้ดีกว่า
การนวดสัมผัสทัว่ ไป ทำาให้เลือดไหลเวียนได้ดขี นึ้ เหมาะสำาหรับผูท้ ปี่ วดเมือ่ ย
เป็นเวลานาน เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อแข็งเกินกว่าจะนวดด้วยมือเปล่า

สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 77
การยาำ ขาง เป็นการใช้รกั ษา
โรคโป่งคือมีอาการปวดตามแข้งขา
โดยหมอผู้ทำาพิธีจะกล่าวคำาไหว้ครู
และเอาน้าำ มันงาทาตัวคนไข้ แล้วหมอ
จะเอาเท้าจุม่ น้าำ มันไพลแล้วไปเหยียบ
ที่ ใบขางที่เป็นเหล็กหล่อได้จากใบไถ
ที่ ใช้ ไถนาที่วางอยู่บนเตา เมื่อถูก
ความร้อนน้ำาที่เท้าหมอจะร้อนซ่า
เป็ น ไอ แล้ ว หมอใช้ เ ท้ า ดั ง กล่ า ว
เหยียบลงไปบริเวณที่ทำาการรักษา
การนวดยาำ ขางเป็นการนวดต้องอาศัย
ทักษะขัน้ สูง มีความเสี่ยงสูง ครูจะเลือกศิษย์ทเี่ หมาะสมโดยดูจากภาวะจิต
ของผูเ้ รียน ผูเ้ รียนต้องเป็นคนดีและมีจติ นิง่ มัน่ คง เพือ่ จะได้ ไม่เป็นอันตราย
ต่อตนเองและคนไข้
การแพทย์พื้นบ้านล้านนา เป็นการรักษาแบบองค์รวม คือรักษา
ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้ป่วย โดยผสมผสาน
องค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรค การเจ็บไข้ร่วมกับระบบสังคมวัฒนธรรม
ของชุมชน ความเชือ่ กฎ ระเบียบ ประเพณี เนือ่ งจากชาวล้านนามีความเชือ่ ว่า
สาเหตุของการเจ็บป่วยมิได้มสี าเหตุมาจากธรรมชาติสงิ่ แวดล้อมหรือสุขภาพ
ความแข็งแรงของคนไข้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผลของกรรม
การกระทำาของผี ไสยศาสตร์ ขวัญอ่อน การรักษาจึงต้องสอดคล้องกับ
ความเชือ่ ซึง่ เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยทางจิตใจ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อของคนมาก
การรักษาของหมอเมืองยังมีอยู่ ในปัจจุบนั แม้วา่ พิธกี รรมการรักษา
บางอย่างอาจลดน้อยลง แต่ก็มีบางอย่างที่มีมากขึ้น เช่น การนวด

78 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
บรรณานุกรม
กลุม่ ชาติพนั ธ์ทสี่ าำ คัญในดินแดนล้านนา. [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า http://
www.lannacorner.cmu.ac.th/ lanna 2014/index.php
(10 กรกฎาคม 2559)
กำาบ่าเก่า. [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า http://www.krutermsakin. th/ index.php
(17 มิถุนายน2559)
ขวัญฤทัย ธนารักษ์. (2549). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความเชื่อ
ในพิธกี รรมเรียกขวัญของล้านนาและความต้องการด้านจิตวิญญาณ
ทีม่ ตี อ่ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา
จิตวิทยาการปรึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ล้านนาคดีศึกษาด้านการแพทย์
และสาธารณสุข. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.med.
cmu.ac.th/research/lanna-medstudies (16 มิถุนายน 2559)
จิราพร เพิ่มเยาว์. (2547). ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ดูแล
ผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต
และการพยาบาลจิตเวช. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณัฐยา สมวะเวียง. (2556) .การแพทย์พนื้ บ้านกับการเยียวยารักษา “ความบ้า”
ในสังคมไทยภาคเหนือ วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 32(2) ,
68 -89
ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2556). คู่มือถามชีวิต. มปม.:โรงพิมพ์ชุมชน
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.
พนม นันติ.2557. ฮีตฮอยคนเมือง วิถชี วี ติ คนล้านนา. [ระบบออนไลน์] แหล่ง
ที่มา https://www.facebook.com /phanomkorn.nun(20
พฤษภาคม 2559)
ยิง่ ยง เทาประเสริฐ. เรียกขวัญ. [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า http://lib.payap.
ac.th/webin/ntic/essay/reak% 20quan.pdf (18 มิถนุ ายน2559)
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 79
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา. ผีล้านนา. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา
http://www.ittd.mju.ac.th/lanna/ images/stories/data/Ghost
(16 มิถุนายน2559)
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ขึด : สิ่งไม่ควรกระทำา. [ระบบ
ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.sri.cmu.ac.th/ ~elanna/
lannachild/scripts/belief/belief_kut.html(15 มิถุนายน2559)
สมร เจนจิจะ. (2547). ภาษิตล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ :สถาพรบุ๊ค
สมาพันธ์แพทย์แผนไทยล้านนา. ภูมปิ ญ ั ญาหมอเมือง. [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า
http://www.lannahealth.com (15 มิถุนายน2559)
สำานักวัฒนธรรมลำาปาง.(2553). ตานขันข้าว. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา
http://culturelampang-chit130512.blogspot.com/2010/06/
blog-post_9683.html (17 มิถุนายน2559)
อาณาจักรล้านนา. วิกพิ เิ ดีย [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า https://th.wikipedia.
org/ (10กรกฎาคม 2559)

80 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา
ที่ปรึกษา
นพ.มนตรี นามมงคล ผู้อำานวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 1

ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาวิชาการ
ผศ.มุกดา ชาติบัญชาชัย นักวิชาการอิสระ นักจัดรายการวิทยุ
รายการ “มรดกล้านนา” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นพ.ปริทรรศ ศิลปะกิจ นายแพทย์เชีย่ วชาญ โรงพยาบาลสวนปรุง

ผู้ร่วมให้ข้อมูล
1. พ่อหนานอินผล ชัยวงษ์ มัคทายกประจำาวัดมงคล ต.มะขามหลวง
อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
2. นางพิมพ์วนิดา โพธิต์ นุ่ หมอพืน้ บ้านล้านนา ม.4 ต.ท่าวังตาล
อ.สารภี จ.เชียงใหม่
3. นางธนภรณ์ จมูศรี จิตอาสา ม.5 ต.หนองผึง้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่
4. นางบุษบา อนุศักดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำานาญการ
สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดลำาพูน
5.นายพัชรี คำาธิตา พยาบาลวิชาชีพชำานาญการ โรงพยาบาลแม่ทา
จ.ลำาพูน
6.นางสาวรัชฎาพร ธรรมน้อย พยาบาลวิชาชีพชำานาญการ
โรงพยาบาลลี้ จ.ลำาพูน
7. นางสวรีรตั น์ พิงพราวลี พยาบาลวิชาชีพชำานาญการ โรงพยาบาล
แม่แตง จ.เชียงใหม่
8. นางเบญพรรณ คำาก้อน พยาบาลวิชาชีพชำานาญการ โรงพยาบาล
สารภี จ.เชียงใหม่
9. นางศศิธร หมวกเครือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำานาญงาน
สำานักงานสาธาณสุขอำาเภอสารภี จ.เชียงใหม่
สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา 81
10. นางทิพย์พิมาน ไชยจินดา พยาบาลวิชาชีพชำานาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลท่าวังตาล จ.เชียงใหม่
11. นางสุพรรณ ยาประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุขชำานาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลบ้านท่าต้นกวาง จ.เชียงใหม่
12. นางสาวหทัยรัตน์ แสนปัญญา พยาบาลวิชาชีพชำานาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลหนองผึ้ง จ.เชียงใหม่

คณะทำางาน ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1
1. อรทัย เจียมดำารัส นักจิตวิทยาคลินิกชำานาญการ
2. นายวงค์พรรณ มาลารัตน์ นักกิจกรรมบำาบัดชำานาญการ
3. นายกันต์กร กาใจ นักจิตวิทยาคลินิกชำานาญการ
4. นางสาวชัฌฎา ลอมศรี นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ
5. นายภูวดล วงศ์ศรี ใส นักวิชาการสาธารณสุข
6. นายธวัชชัย สุบิน นักวิชาการสาธารณสุข
7. นางสาวชฎาธาร ใจกว้าง นักวิชาการสาธารณสุข

82 สุขภาพจิตดี... ด้วยวิถีล้านนา

You might also like