You are on page 1of 66

คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่

เคมี เล่ม ๑
ตามมาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชีว้ ดั กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ตารางธาตุ

1 18
IA VIIIA
1 โลหะ 2
H
hydrogen
2 อโลหะ 13 14 15 16 17 He
helium
1.01 IIA IIIA IVA VA VIA VIIA 4.00
กึง่ โลหะ
3 4 5 6 7 8 9 10
Li Be B C N O F Ne
lithium beryllium boron carbon nitrogen oxygen fluorine neon
6.94 9.01 10.81 12.01 14.01 16.00 19.00 20.18
11 12 13 14 15 16 17 18
Na
sodium
Mg
magnesium
3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 Al
aluminium
Si
silicon
P
phosphorus
S
sulfur
Cl
chlorine
Ar
argon
22.99 24.30 IIIB IVB VB VIB VIIB VIIIB IB IIB 26.98 28.08 30.97 32.06 35.45 39.95
19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
potassium calcium scandium titanium vanadium chromium manganese iron cobalt nickel copper zinc gallium germanium arsenic selenium bromine krypton
39.10 40.08 44.96 47.87 50.94 52.00 54.94 55.85 58.93 58.69 63.55 65.38 69.72 72.63 74.92 78.97 79.90 83.80
37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe
rubidium strontium yttrium zirconium niobium molybdenum technetium ruthenium rhodium palladium silver cadmium indium tin antimony tellurium iodine xenon
85.47 87.62 88.91 91.22 92.91 95.95 101.07 102.91 106.42 107.87 112.41 114.82 118.71 121.76 127.60 126.90 131.29
55 56 57-71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86
Cs Ba lanthanoids
Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn
caesium barium hafnium tantalum tungsten rhenium osmium iridium platinum gold mercury thallium lead bismuth polonium astatine radon
132.91 137.33 178.49 180.95 183.84 186.21 190.23 192.22 195.08 196.97 200.59 204.38 207.20 208.98
87 88
*
89-103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118
Fr Ra actinoids
Rf Db Sg Bh Hs Mt Ds Rg Cn Nh Fl Mc Lv Ts Og
francium radium rutherfordium dubnium seaborgium bohrium hassium meitnerium darmstadtium roentgenium copernicium nihonium flerovium moscovium livermorium tennessine oganesson
**
57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
กลุม ธาตุ La Ce Pr Nd Pm Sm Eu Gd Tb Dy Ho Er Tm Yb Lu
lanthanum cerium praseodymium neodymium promethium samarium europium gadolinium terbium dysprosium holmium erbium thulium ytterbium lutetium
*แลนทานอยด 138.91 140.12 140.91 144.24 150.36 151.96 157.25 158.93 162.50 164.93 167.26 168.93 173.05 174.97
89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103
กลุม ธาตุ Ac Th Pa U Np Pu Am Cm Bk Cf Es Fm Md No Lr
actinium thorium protactinium uranium neptunium plutonium americium curium berkelium californium einsteinium fermium mendelevium nobelium lawrencium
**แอกทินอยด 232.04 231.04 238.03
คู่มือครู

รายวิชาเพิม
่ เติมวิทยาศาสตร์
วิชา

เคมี
ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๑
ตามผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๖๑
คำ�นำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้รับมอบหมายจากกระทรวง


ศึกษาธิการในการพัฒนามาตราฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ และยังมีบทบาทหน้าทีใ่ นการรับผิดชอบเกีย
่ วกับการจัดทำ�หนังสือเรียน คูม
่ อ
ื ครู แบบฝึก
ทักษะ กิจกรรม และสือ
่ การเรียนรู้ ตลอดจนวิธก
ี ารจัดการเรียนรูแ
้ ละการวัดและประเมินผล เพือ
่ ให้การ
จัดการเรียนรูค
้ ณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คูม
่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี ๔ เล่ม ๑ นี้ จัดทำ�ขึน
้ เพือ
่ ประกอบ
การใช้หนังสือเรียนรายวิชาเพิม
่ เติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี ๔ เล่ม ๑ โดยครอบคลุมเนือ
้ หา
สาระตามการเรียนรูเ้ พิม
่ เติมวิทยาศาสตร์ กลุม
่ สาระการเรียนรูว้ ท
ิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พืน
้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในสาระเคมี โดยมีตารางวิเคราะห์ผล
การเรียนรู้ การให้ความรูเ้ พิม
่ เติมทีจ
่ �ำ เป็นสำ�หรับครูผส
ู้ อน รวมทัง้ การเฉลยคำ�ตอบ และแบบฝึกหัดใน
หนังสือเรียน
สสวท. หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า คูม
่ อ
ื เล่มนีจ
้ ะเป็นประโยชน์ตอ
่ การเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญในการ
พัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ
บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทีม
่ ส
่ี ว่ นเกีย
่ วข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้

(นางพรพรรณ ไวทยางกูร)
ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�ชี้แจง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จด


ั ทำ�ตัวชีว้ ด
ั และสาระการเรียนรู้
แกนกลาง กลุม
่ สาระการเรียนรูว้ ท
ิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษา ขัน
้ พืน
้ ฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจด
ุ เน้นเพือ
่ ต้องการพัฒนาผูเ้ รียนให้มค
ี วามรูค
้ วามสามารถ
ที่ทัดเทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ท่เี ชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึง่ ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
โรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุม
่ สาระการเรียนรูว้ ท
ิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. ได้มี
การจัดทำ�หนังสือเรียนทีเ่ ป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพือ
่ ให้โรงเรียนได้ใช้ส�ำ หรับจัดการเรียนการสอน
ในชั้ น เรี ย น และเพื่ อ ให้ ค รู ผู้ ส อนสามารถสอนและจั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ ตามหนั ง สื อ เรี ย นได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ จึงได้จด
ั ทำ�คูม
่ อ
ื ครูส�ำ หรับใช้ประกอบหนังสือเรียนดังกล่าว
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๑ นี้ ได้บอกแนวการ
จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเกี่ยวกับ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท
ปฏิบัติการเคมี หน่วยวัดและการเปลี่ยนหน่วย โครงสร้างอะตอมและการจัดเรียงอิเล็กตรอนใน
อะตอม สมบัติบางประการของธาตุและการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ พันธะเคมี สมบัติของสารที่มี
ความสัมพันธ์กับพันธะเคมี ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียน
รู้ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสามารถนำ�ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมและ
ความพร้อมของโรงเรียน ในการจัดทำ�คูม
่ อ
ื ครูเล่มนี้ ได้รบ
ั ความร่วมมือเป็นอย่างดียิง่ จากผูท
้ รงคุณวุฒิ
นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณ
มา ณ ที่นี้
สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เล่ม ๑ นี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาด้าน
วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่ง
ขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วยจะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการใช้คู่มือครู

วิทยาศาสตร์มค
ี วามเกีย
่ วข้องกับทุกคนทัง้ ในชีวต
ิ ประจำ�วันและการงานอาชีพต่าง ๆ
รวมทัง้ มีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในการอำ�นวยความสะดวกทัง้ ในชีวต

และการทำ�งาน นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยพัฒนาวิธีคิดและทำ�ให้มีทักษะที่จำ�เป็นใน
การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และ
ทักษะที่สำ�คัญตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำ�คัญยิ่ง ซึ่ง
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขต และข้อจำ�กัดของวิทยาศาสตร์
3. เพือ
่ ให้เกิดทักษะทีส
่ �ำ คัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพือ
่ พัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปญ
ั หาและการจัดการ
ทักษะในการสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ
5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และ
สภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
6. เพือ
่ นำ�ความรูค
้ วามเข้าใจเรือ
่ งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ

สังคมและการดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณค่า
7. เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

คู่มือครูเป็นเอกสารที่จัดทำ�ขึ้นควบคู่กับหนังสือเรียน สำ�หรับให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางใน
การจัดการเรียนรูเ้ พือ
่ ให้นก
ั เรียนได้รบ
ั ความรูแ
้ ละมีทก
ั ษะทีส
่ �ำ คัญตามจุดประสงค์การเรียน
รูใ้ นหนังสือเรียน ซึง่ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ รวมทัง้ มีสอ
ื่ การเรียนรูใ้ นเว็บไซต์ทส
ี่ ามารถ
เชื่ อ มโยงได้ จ าก QR code หรื อ URL ท่ี อ ยู่ ป ระจำ � แต่ ล ะบท ซึ่ ง ครู ส ามารถใช้
ส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ อย่างไรก็ตามครู
อาจพิ จ ารณาดั ด แปลงหรื อ เพิ่ ม เติ ม การจั ด การเรี ย นรู้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ บริ บ ทของแต่ ล ะ
ห้องเรียนได้ โดยคู่มือครูมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

ผลการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้เป็นผลลัพธ์ที่ควรเกิดกับนักเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะ ซึ่งช่วยให้ครูได้
ทราบเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้
สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ได้ ทั้งนี้ครูอาจเพิ่มเติมเนื้อหาหรือทักษะตามศักยภาพของ
นักเรียน รวมทั้งอาจสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความ
เข้าใจมากขึ้นได้

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ
จิตวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละผลการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้

ผังมโนทัศน์
แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อ
ช่วยให้ครูเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในบทเรียน

สาระสำ�คัญ
การสรุปเนือ
้ หาสำ�คัญของบทเรียน เพือ
่ ช่วยให้ครูเห็นกรอบเนือ
้ หาทัง้ หมด รวมทัง้ ลำ�ดับของ
เนื้อหาในบทเรียนนั้น

เวลาที่ใช้
เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูอาจดำ�เนินการตามข้อเสนอแนะที่กำ�หนดไว้ หรืออาจ
ปรับเวลาได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

ความรู้ก่อนเรียน
คำ�สำ�คัญหรือข้อความที่เป็นความรู้พื้นฐาน ซึ่งนักเรียนควรมีก่อนที่จะเรียนรู้เนื้อหาใน
บทเรียนนั้น
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน
ชุดคำ�ถามและเฉลยทีใ่ ช้ในการตรวจสอบความรูก
้ อ
่ นเรียนตามทีร่ ะบุไว้ในหนังสือเรียน เพือ

ให้ครูได้ตรวจสอบและทบทวนความรูใ้ ห้นก
ั เรียนก่อนเริม
่ กิจกรรมการจัดการเรียนรูใ้ นแต่ละ
บทเรียน

การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้ออาจมีองค์ประกอบแตกต่างกัน​​​​​​​​​​​​​​​​​โดยรายละเอียดแต่ละ
องค์ประกอบ เป็นดังนี้

• เป้จุดาประสงค์ การเรียนรู้
หมายของการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้หรือทักษะหลังจาก
ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรูใ้ นแต่ละหัวข้อ ซึง่ สามารถวัดและประเมินผลได้ ทัง้ นีค
้ รูอาจ
ตั้งจุดประสงค์เพิ่มเติมจากที่ให้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

• เนืความเข้ าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
้อหาที่นักเรียนอาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบบ่อย ซึ่งเป็นข้อมูลให้ครูได้
พึงระวังหรืออาจเน้นย้�ำ ในประเด็นดังกล่าวเพือ
่ ป้องกันการเกิดความเข้าใจทีค
่ ลาดเคลือ
่ นได้

• สืสอ่ื่อการเรี
การเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
ยนรูแ
้ ละแหล่งการเรียนรูท
้ ใ่ี ช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น บัตรคำ� วีดท
ิ ศ
ั น์
เว็บไซต์ ซึ่งครูควรเตรียมล่วงหน้าก่อนเริ่มการจัดการเรียนรู้

• แนวทางการจั
แนวการจัดการเรียนรู้
ดการเรียนรูท
้ ส
่ี อดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีการนำ�เสนอทัง้
ในส่วนของเนื้อหาและกิจกรรมเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด ทั้งนี้ครูอาจปรับหรือเพิ่มเติม
กิจกรรมจากทีใ่ ห้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

กิจกรรม
การปฏิบต
ั ท
ิ ช
ี่ ว่ ยในการเรียนรูเ้ นือ
้ หาหรือฝึกฝนให้เกิดทักษะตามจุดประสงค์การเรียนรู้
ของบทเรียน โดยอาจเป็นการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่ง
ควรให้ นั ก เรี ย นลงมื อ ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมด้ ว ยตนเอง โดยองค์ ป ระกอบของกิ จ กรรมมี
รายละเอียดดังนี้
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

- จุดประสงค์
เป้าหมายทีต
่ อ
้ งการให้นก
ั เรียนเกิดความรูห
้ รือทักษะหลังจากผ่านกิจกรรมนัน

- วัสดุ และอุปกรณ์
รายการวัสดุ อุปกรณ์ หรือสารเคมี ที่ต้องใช้ในการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูควรเตรียมให้
เพียงพอสำ�หรับการจัดกิจกรรม

- การเตรียมล่วงหน้า
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้าสำ�หรับการจัดกิจกรรม เช่น การเตรียม
สารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่าง ๆ การเตรียมตัวอย่างสิง่ มีชวี ต

- ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ข้อมูลที่ให้ครูแจ้งต่อนักเรียนให้ทราบถึ งข้ อควรระวั ง ข้ อควรปฏิ บัติ หรื อข้ อมู ล
เพิ่มเติมในการทำ�กิจกรรมนั้น ๆ

- ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตัวอย่างผลการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอืน
่ ๆ เพือ
่ ให้ครูใช้
เป็นข้อมูลสำ�หรับตรวจสอบผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียน

- อภิปรายและสรุปผล
ตัวอย่างข้อมูลที่ควรได้จากการอภิปรายและสรุปผลการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูอาจใช้
คำ�ถามท้ายกิจกรรมหรือคำ�ถามเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นักเรียนอภิปรายในประเด็น
ที่ต้องการ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดและอภิปรายถึงปัจจัยต่าง ๆ
ทีท
่ �ำ ให้ผลของกิจกรรมเป็นไปตามทีค
่ าดหวัง หรืออาจไม่เป็นไปตามทีค
่ าดหวัง

นอกจากนี้อาจมีความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ
เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ควรนำ�ไปเพิ่มเติมให้นักเรียน เพราะเป็นส่วนที่เสริมจากเนื้อหาที่มีในหนังสือ
เรียน
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู


• แนวทางการวั
แนวทางการวัดและประเมินผล
ดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งประเมิน
ทั้ ง ด้ า นความรู้ ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21 และ
จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ควรเกิดขึ้นหลังจากได้เรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ ผลที่ได้จากการ
ประเมินจะช่วยให้ครูทราบถึงความสำ�เร็จของการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งใช้เป็นแนวทาง
ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียน

เครื่องมือวัดและประเมินผลมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ
แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ซึง่ ครูอาจเลือกใช้เครือ
่ งมือ
สำ�หรับการวัดและประเมินผลจากเครื่องมือมาตรฐานที่มีผู้พัฒนาไว้แล้ว ดัดแปลงจาก
เครื่องมือที่ผู้อ่ืนทำ�ไว้แล้ว หรือสร้างเครื่องมือใหม่ข้ึนเอง ตัวอย่างของเครื่องมือวัดและ
ประเมินผล ดังภาคผนวก


• แนวคำ
เฉลยคำ�ถาม
�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียนและคำ�ถามท้ายบทเรียนในหนังสือเรียน เพือ
่ ให้
ครูใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบการตอบคำ�ถามของนักเรียน
- เฉลยคำ�ถามระหว่างเรียน
แนวคำ�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียนซึง่ มีทง้ั คำ�ถามชวนคิด ตรวจสอบความเข้าใจ
และแบบฝึกหัด ทั้งนี้ครูควรใช้คำ�ถามระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความ
เข้าใจของนักเรียนก่อนเริ่มเนื้อหาใหม่ เพื่อให้สามารถปรับการจัดการเรียนรู้ให้
เหมาะสมต่อไป

- เฉลยคำ�ถามท้ายบทเรียน
แนวคำ�ตอบของแบบฝึกหัดท้ายบท ซึง่ ครูควรใช้ค�ำ ถามท้ายบทเรียนเพือ
่ ตรวจสอบ
ว่า หลังจากเรียนจบบทเรียนแล้ว นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด
เพื่อให้สามารถวางแผนการทบทวนหรือเน้นย้ำ�เนื้อหาให้กับนักเรียนก่อนการ
ทดสอบได้
สารบัญ

1
บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี 1
ผลการเรียนรู้ 1
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 1
ผังมโนทัศน์ 4
สาระสำ�คัญ 5
เวลาที่ใช้ 5
ความรู้ก่อนเรียน 5
1.1 ความปลอดภัยในการทำ�งานกับสารเคมี และ1.2 อุบัติเหตุ 9
ความปลอดภัย จากสารเคมี
และทักษะ เฉลยแบบฝึกหัด 1.1 15
ในปฏิบัติการเคมี
เฉลยแบบฝึกหัด 1.2 18
1.3 การวัดปริมาณสาร 22
เฉลยแบบฝึกหัด 1.3 31
1.4 หน่วยวัด 33
เฉลยแบบฝึกหัด 1.4 35
1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 37
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 47
สารบัญ

บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ 53

2
ผลการเรียนรู้ 53
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 54
ผังมโนทัศน์ 59
สาระสำ�คัญ 60
เวลาที่ใช้ 60
ความรู้ก่อนเรียน 61
2.1 แบบจำ�ลองอะตอม 63
เฉลยแบบฝึกหัด 2.1 82

อะตอม 2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป 84


และสมบัติของธาตุ เฉลยแบบฝึกหัด 2.2 87
2.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 89
เฉลยแบบฝึกหัด 2.3 93
2.4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก 95
เฉลยแบบฝึกหัด 2.4 102
2.5 ธาตุแทรนซิชัน 104
เฉลยแบบฝึกหัด 2.5 114
2.6 ธาตุกัมมันตรังสี 115
เฉลยแบบฝึกหัด 2.6 120
2.7 การนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต 122
เฉลยแบบฝึกหัด 2.7 127
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 129
สารบัญ

3
บทที่ 3 พันธะเคมี 140
ผลการเรียนรู้ 140
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 141
ผังมโนทัศน์ 147
สาระสำ�คัญ 148
เวลาที่ใช้ 148
ความรู้ก่อนเรียน 148
3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต 151
3.2 พันธะไอออนิก 153
พันธะเคมี เฉลยแบบฝึกหัด 3.1 163
เฉลยแบบฝึกหัด 3.2 165
เฉลยแบบฝึกหัด 3.3 172
เฉลยแบบฝึกหัด 3.4 181
เฉลยแบบฝึกหัด 3.5 184
3.3 พันธะโคเวเลนต์ 187
เฉลยแบบฝึกหัด 3.6 194
เฉลยแบบฝึกหัด 3.7 197
เฉลยแบบฝึกหัด 3.8 201
เฉลยแบบฝึกหัด 3.9 210
เฉลยแบบฝึกหัด 3.10 211
เฉลยแบบฝึกหัด 3.11 215
3.4 พันธะโลหะ 218
3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก 219
สารโคเวเลนต์ และโลหะ
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 223
สารบัญ

ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล 234
ภาคผนวก

บรรณานุกรม 248
คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู 251
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
1

บทที่ 1

คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
goo.gl/HfRaqE

ผลก�รเรียนรู้

1. บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำาปฏิบัติ
การเคมีเพื่อให้มีความปลอดภัย ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิด
อุบัติเหตุ
2. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย
การใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
4. นำาเสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง
ก�รวิิเคร�ะห์ผลก�รเรียนรู้

ผลก�รเรียนรู้
1. บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำา
ปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมีเพือ
่ ให้มค
ี วามปลอดภัย ทัง้ ต่อตนเอง ผูอ
้ น
่ื และสิง่ แวดล้อม และเสนอแนวทาง
แก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
1. ระบุความเป็นอันตรายของสารเคมีจากสัญลักษณ์และข้อมูลบนฉลากสารเคมี
2. อธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้นและการปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำาปฏิบัติการ
เคมีเพือ
่ ให้มค
ี วามปลอดภัย ทัง้ ต่อตนเอง ผูอ
้ น
่ื และสิง่ แวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไข
เมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุ

ทักษะกระบวนก�ร ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทย�ศ�สตร์


ท�งวิทย�ศ�สตร์
1. การสังเกต 1. การคิดอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ 1. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
และการแก้ปัญหา 2. ความใจกว้าง
2. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 3. ความรอบคอบ
การรู้เท่าทันสื่อ 4. การเห็นคุณค่าทาง
3. ความร่วมมือ การทำางาน วิทยาศาสตร์
เป็นทีมและภาวะผูน
้ าำ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
2

ผลก�รเรียนรู้
2. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
1. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
2. อ่านค่าปริมาณจากการวัดโดยแสดงเลขนัยสำาคัญที่ถูกต้อง

ทักษะกระบวนก�ร ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทย�ศ�สตร์


ท�งวิทย�ศ�สตร์
1. การสังเกต 1. ความร่วมมือ การทำางาน 1. ความรอบคอบ
2. การวัด เป็นทีมและภาวะผูน
้ าำ

ผลก�รเรียนรู้
3. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลีย
่ นหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย
การใช้แฟกเตอร์เปลีย
่ นหน่วย
จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
1. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร
2. เปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

ทักษะกระบวนก�ร ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทย�ศ�สตร์


ท�งวิทย�ศ�สตร์
1. การใช้จาำ นวน - 1. ความรอบคอบ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
3

ผลก�รเรียนรู้
4. นำาเสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง
จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
1. นำาเสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง

ทักษะกระบวนก�ร ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทย�ศ�สตร์


ท�งวิทย�ศ�สตร์
1. การสังเกต 1. การคิดอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ 1. ความอยากรูอ
้ ยากเห็น
2. การวัด และการแก้ปญ
ั หา 2. ความซือ
่ สัตย์
3. การตัง้ สมมติฐาน 2. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 3. ความรอบคอบ
4. การกำาหนดและควบคุม การรูเ้ ท่าทันสือ

ตัวแปร 3. ความร่วมมือ การทำางาน
5. การทดลอง เป็นทีมและภาวะผูน
้ าำ
6. การจัดกระทำาและสือ

ความหมายข้อมูล
7. การตีความหมายข้อมูล
และลงข้อสรุป

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
4

ผังมโนทัศน์
บทที่ 1 คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี

ข้อควรปฏิบต
ั ิ ก�ร ก�รกำ�จัด
GHS NFPA
เบือ
้ งต้น ปฐมพย�บ�ล ส�รเคมี

แสดงด้วยสัญลักษณ์ในระบบ
เช่น
ข้อมูลส�รเคมี ข้อควรปฏิบต
ั ิ
เกีย
่ วข้องกับ

คว�มปลอดภัยในปฏิบต
ั ก
ิ �รเคมี

แบ่งเป็น
แบ่งเป็น

คว�มปลอดภัยและ แบ่งเป็น
วิธก
ี �รท�งวิทย�ศ�สตร์ ทักษะในปฏิบต
ั ก
ิ �รเคมี

ทักษะกระบวนก�ร
ท�งวิทย�ศ�สตร์
ทักษะในปฏิบต
ั ก
ิ �รเคมี
สัมพันธ์กบ

แบ่งเป็น
จิตวิทย�ศ�สตร์
ทักษะก�รทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ �ร ทักษะก�รคำ�นวน

การนำาไปใช้ เช่น
จริยธรรมท�ง ต้อง
อุปกรณ์วด
ั หน่วยวัด
วิทย�ศ�สตร์ ก�รเปลีย
่ นหน่วย รูจ
้ ก

ปริม�ตรและมวล
อาจใช้วธิ ี เช่น
ส่งผลต่อ วิธก
ี �รเทียบหน่วย
ส่งผลต่อ หน่วย
ต้องอาศัย ในระบบ
คว�มเทีย
่ งและ เลขนัยสำ�คัญ เอสไอ
แฟกเตอร์
คว�มแม่น
เปลีย
่ นหน่วย
ต้องคำานึง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
5

ส�ระสำ�คัญ

การทดลองถื อ เป็ น หั ว ใจของการศึ ก ษาค้ น คว้ า ทางเคมี ที่ ส ามารถนำ า ไปสู่ ก ารค้ น พบและ
ความรูใ้ หม่ทางเคมี นอกจากนีย
้ งั สามารถช่วยถ่ายทอดความรูแ
้ ก่นก
ั เรียนให้เกิดความรูแ
้ ละความเข้าใจ
ในบทเรี ย นได้ ด ี ยิ่ ง ขึ้ น การทดลองทางเคมี สำ า หรั บ นั ก เรี ย นนิ ย มทำ า ในห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารและมี
ความเกีย
่ วข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครือ
่ งมือต่าง ๆ ผูท
้ าำ ปฏิบต
ั ก
ิ ารจึงต้องทราบเกีย
่ วกับประเภท
ของสารเคมีที่ใช้ วิธีปฏิบัติการทดลอง ข้อควรปฏิบัติในการทำาปฏิบัติการเคมี และการกำาจัดสารเคมี
เพื่อให้สามารถทำาปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัย รวมถึงมีความรู้และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อลดความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
ในการทำาปฏิบัติการเคมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลพิจารณาได้จากความเที่ยงและความแม่น
ซึ่งสำาหรับการวัดนั้นความน่าเชื่อถือขึ้นกับทักษะของผู้ทำาปฏิบัติการและความละเอียดของเครื่องมือ
และอุปกรณ์ที่ใช้ การบอกปริมาณของสารอาจระบุอยู่ในหน่วยต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ที่ตรงกันจึงมีการกำาหนดหน่วยในระบบเอสไอให้เป็นหน่วยสากล ผู้ทำาปฏิบัติการควรมีทักษะการ
เปลี่ยนหน่วยเพื่อให้เป็นหน่วยสากลโดยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
การทำาปฏิบัติการเคมีต้องมีการวางแผนการทดลอง การทำาการทดลอง การบันทึกข้อมูล
สรุปและวิเคราะห์ นำาเสนอข้อมูล และการเขียนรายงานการทดลองที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน
การทำาปฏิบัติการเคมีต้องคำานึงถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาศาสตร์และจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์

เวล�ที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 10 ชั่วโมง
1.1 ความปลอดภัยในการทำางานกับสารเคมี 2 ชั่วโมง
1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี 1 ชั่วโมง
1.3 การวัดปริมาณสาร 2 ชั่วโมง
1.4 หน่วยวัด 2 ชั่วโมง
1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3 ชั่วโมง

คว�มรู้ก่อนเรียน

อุปกรณ์และเครื่องแก้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
6

ตรวจสอบคว�มรู้ก่อนเรียน

1. ใส่เครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีถ
่ ก
ู ต้อง และเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีไ่ ม่ถก
ู ต้อง

……. 1.1 ถ้านักเรียนทำาขวดบรรจุสารเคมีตกแตกและสารเคมีหกเป��อนโต�ะ นักเรียน


ต้องกันเพื่อน ๆ ออกจากบริเวณนั้น และแจ้งอาจารย์ผู้ดูแลการทดลอง
……. 1.2 วิธจี ด
ุ ตะเกียงแอลกอฮอล์ทาำ โดยการเอียงตะเกียงต่อไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์อน
่ื
วิธีจุดตะเกียงแอลกอฮอล์ไม่ควรใช้วิธีต่อไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์อื่น
……. 1.3 สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำาเงิน
สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำาเงินเป็นแดง
……. 1.4 ควรสวมถุงมือ และใช้ผ้าป�ดปาก ป�ดจมูก เมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีสัญลักษณ์
ความเป็นอันตรายรูปหัวกะโหลกไขว้
……. 1.5 หลอดหยดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทสารปริมาณน้อย ๆ
……. 1.6 การตวงปริมาตรน้ำา สามารถใช้ถ้วยตวงของเหลวสำาหรับทำาขนมแทนการตวง
ด้วยบีกเกอร์ได้

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
7

2. จับคู่รป
ู อุปกรณ์กบ
ั ชือ
่ ให้ถก
ู ต้อง

ก ข ค

ง จ ฉ

ช ซ ญ

…ค... 2.1 บีกเกอร์ …ช... 2.6 บิวเรตต์


…ซ... 2.2 กระบอกตวง …ฉ... 2.7 ป�เปตต์
..ญ... 2.3 เทอร์มอมิเตอร์ …ข... 2.8 กระจกนา�ิกา
…ง... 2.4 กรวยกรอง …จ... 2.9 ถ้วยระเหยสาร
…ก... 2.5 หลอดทดลอง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
8

3. จากรูปต่อไปนี้ อุปกรณ์ใดใช้ในการวัดปริมาณสาร

ก ข ค

ง จ ฉ

ช ซ ญ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาณสาร ได้แก่
ก.บีกเกอร์ ข.กระบอกตวง ค.ขวดรูปกรวย ช.เครื่องชั่ง ซ.ป�เปตต์ และญ.บิวเรตต์

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
9

1.1 คว�มปลอดภัยในก�รทำ�ง�นกับส�รเคมี
1.2 อุบัติเหตุจ�กส�รเคมี

จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
1. ระบุความเป็นอันตรายของสารเคมีจากสัญลักษณ์และข้อมูลบนฉลากสารเคมี
2. อธิบายข้อปฏิบต
ั เิ บือ
้ งต้นและการปฏิบต
ั ต
ิ นทีแ
่ สดงถึงความตระหนักในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี
เพือ
่ ให้มค
ี วามปลอดภัยทัง้ ต่อตนเอง ผูอ
้ น
่ื และสิง่ แวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุ

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อนที่อ�จเกิดขึ้น

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อน คว�มเข้�ใจที่ถูกต้อง

สับสนระหว่างสัญลักษณ์ของสารไวไฟและ
สารออกซิไดส์ สารไวไฟ

สารออกซิไดส์

เมื่อร่างกายสัมผัสกรดให้ปฐมพยาบาลโดย เมื่อที่ร่างกายสัมผัสกรดหรือเบส ให้ซับ


การสะเทินด้วยเบสอ่อน และหากสัมผัสเบส สารเคมีออกจากร่างกายให้มากที่สุด แล้ว
ให้ปฐมพยาบาลโดยการสะเทินด้วยกรดอ่อน ล้างด้วยการเป�ดน้ำาไหลผ่านปริมาณมาก

สื่อก�รเรียนรู้และแหล่งก�รเรียนรู้
1. รูปหรือขวดบรรจุสารเคมีที่มีสัญลักษณ์และข้อมูลในฉลากสารเคมี
2. ข้อความ ภาพ หรือวีดิทัศน์ข่าว สถานการณ์หรือปัญหาที่แสดงถึงความเสียหายรุนแรงที่
เกิดจากการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกวิธี เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี
3. อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้แก่ สำาลี ผ้าพันแผล แผ่นป�ดแผล ยาใส่แผล แอลกอฮอล์
ล้างแผล น้ำาเกลือล้างแผล ถ้วยล้างตา น้ำายาล้างตา ยาใส่แผลไฟไหม้น้ำาร้อนลวก

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
10

แนวก�รจัดก�รเรียนรู้
1. ครูใช้คำาถามนำาว่า การทำาปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัยจะต้องคำานึงถึงเรื่องใดบ้าง เพื่อ
นำาเข้าสู่เรื่องความปลอดภัยในการทำางานกับสารเคมี จากนั้นครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดย
แสดงรูปหรือขวดบรรจุสารเคมีที่มีสัญลักษณ์และข้อมูลในฉลากสารเคมี เช่น โพแทสเซียมไอโอไดด์
(KI) เลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) กรดแอซีติก (CH3COOH)
โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) กรดไฮโดรคลอริก (HCl) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) จากนั้น
ให้นักเรียนจัดกลุ่มสารเคมีโดยใช้รูปสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนฉลากเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม เพื่อ
นำาเข้าสู่เรื่องฉลากและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมี ซึ่งนักเรียนอาจจัดกลุ่มโดยแบ่ง
สารเคมีที่มีรูปสัญลักษณ์เหมือนกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
2. ครู อ ธิ บ ายเกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล บนฉลากของสารเคมี ว่ า ส่ ว นมากประกอบด้ ว ยชื่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์
รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย คำาเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย ข้อควรระวัง และข้อมูลบริษท

ผู้ผลิตสารเคมี และสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีในระบบ Globally Harmonized
System of Classifi cation and Labelling of Chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ
National Fire Protection Association Hazard Identifi cation System (NFPA) ซึ่งเป็นระบบ
ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยยกตัวอย่างฉลากสารเคมี ดังรูป 1.1 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน ได้แก่
กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น (HCl) แอมโมเนีย (NH3) โดยชี้ประเด็นให้นักเรียนเห็นว่ารายละเอียดของ
ข้อมูลมีองค์ประกอบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน แต่ตำาแหน่งของข้อมูลต่าง ๆ บนฉลากอาจต่างกัน
3. ครูอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS โดยยกตัวอย่าง
สัญลักษณ์ ดังรูป 1.2 จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาฉลากของกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและแอมโมเนีย
ในรูป 1.1 แล้วตอบคำาถามเพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

จากฉลากของกรดไฮโดรคลอริกและแอมโมเนีย สารเคมีทั้งสองมีอันตรายตามระบบ
GHS อย่างไรบ้าง
กรดไฮโดรคลอริกเป็นสารกัดกร่อนและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และแอมโมเนียเป็น
สารกัดกร่อน สารไวไฟ และมีอันตรายถึงชีวิต

ทั้ ง นี้ ค รู อ าจอธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ด้ ว ยว่ า อั น ตรายจากสารเคมี นั้ น มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ ปริ ม าณ
ความเข้มข้น และเวลาที่สัมผัสกับสารเคมีด้วย

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
11

4. ครูยกตัวอย่างสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายในระบบ NFPA ของสารเคมี ดังรูป 1.3 ตาม


รายละเอียดในหนังสือเรียน ได้แก่ กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและแอมโมเนีย จากนั้นครูให้นักเรียน
ตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายในระบบ NFPA ของกรดไฮโดรคลอริกและแอมโมเนีย


สารเคมีใดเป็นอันตรายมากกว่ากันในด้านความไวไฟ ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ
ความว่องไวในการเกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมี
แอมโมเนียมีความไวไฟมากกว่ากรดไฮโดรคลอริก แต่กรดไฮโดรคลอริกมีความว่องไว
ในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีมากกว่าแอมโมเนีย และสารทัง้ สารชนิดมีระดับความเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพเท่ากัน

ความรูเ้ พิม
่ เติมสำ�หรับครู
ระดับความเป็นอันตรายด้านต่าง ๆ บนสัญลักษณ์ในระบบ NFPA

สี ความหมาย

สีแดง แทน 0 ไม่ติดไฟ


ความไวไฟ 1 สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์
(93.3 องศาเซลเซียส)
2 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำ�กว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์
(93.3 องศาเซลเซียส)
3 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำ�กว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์
(37.8 องศาเซลเซียส)
4 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำ�กว่า 73 องศาฟาเรนไฮต์
(22.8 องศาเซลเซียส)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
12

สี คว�มหม�ย

สีน้ำาเงิน แทนความ 0 ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


เป็นอันตรายต่อ 1 มีความอันตรายต่อสุขภาพเล็กน้อย อาจทำาให้เกิดการระคายเคือง
สุขภาพ 2 มีความอันตรายต่อสุขภาพปานกลาง
3 มีความอันตรายต่อสุขภาพมาก ทำาให้เกิดการกัดกร่อน หรือเป็น
พิษ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดม
4 มีความอันตรายต่อสุขภาพมาก อาจเสียชีวิตได้

สีเหลือง แทนความ 0 มีความเสถียร ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี


ว่องไวในการเกิด 1 เกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อได้รับความร้อน
ปฏิกิริยาเคมี 2 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยารุนแรง
3 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยารุนแรง อาจเกิดการระเบิดเมื่อกระแทก
หรือได้รับความร้อน
4 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี อาจเกิดการระเบิดได้

สีขาว ใส่อักษร ox สารออกซิไดซ์


หรือสัญลักษณ์ที่ w สารที่ทำาปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำา
แสดงสมบัติที่เป็น cor สารกัดกร่อน
อันตรายด้านอื่น ๆ ACID สารที่เป็นกรด
ALK สารที่เป็นเบส

หม�ยเหตุ จุดวาบไฟ คือ อุณหภูมต


ิ าำ่ สุดทีส
่ ารเคมีเกิดการวาบไฟได้เมือ
่ มีประกายไฟ

5. ครูอาจให้นก
ั เรียนทำากิจกรรมเสนอแนะ โดยพิจารณาฉลากสารเคมีในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารของ
โรงเรียน จากนั้นอภิปรายว่าฉลากสารเคมีในห้องปฏิบัติการของโรงเรียนเหมือนหรือแตกต่างจาก
ฉลากในระบบ GHS และ NFPA หรือไม่ อย่างไร เพือ
่ ให้นก
ั เรียนเข้าใจถึงความเป็นอันตรายของ
สารเคมีทใ่ี ช้ในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารของโรงเรียน อันนำาไปสูค
่ วามตระหนักในการใช้สารเคมีให้ปลอดภัย

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
13

6. ครูอธิบายว่าหากต้องการข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับสารเคมี สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเอกสาร


ความปลอดภัย (safety data sheet, SDS) ของสารเคมีนั้น ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เนต
เกี่ยวกับ HCl ทำาได้โดยใช้คำาสำาคัญว่า “SDS HCl” หรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
เช่น http://www.chemtrack.org
7. ครูอาจให้นักเรียนทำากิจกรรมเสนอแนะ โดยนักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลเอกสารความ
ปลอดภัยของสารเคมี แล้วระบุข้อมูลเบื้องต้น เช่น การป้องกันตนเอง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
8. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในการทำาปฏิบัติการเคมี ทั้งก่อนทำา
ปฏิบัติการ และขณะทำาปฏิบัติการว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า ข้อควรปฏิบัติก่อนการทำาปฏิบัติ
การเคมี เช่น ศึกษาขั้นตอนการทำาปฏิบัติการ ศึกษาข้อมูลสารเคมี ข้อควรปฏิบัติขณะทำาปฏิบัติ
การเคมี เช่น แต่งกายให้เหมาะสม โดยสวมแว่นตานิรภัย ใส่เสื้อคลุมปฏิบัติการ สวมถุงมือ จากนั้นครู
อธิบายเพิ่มเติมตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
9. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ แนวทางในการกำ า จั ด สารเคมี ที่ ใ ช้ แ ล้ ว หรื อ ที่ เ หลื อ ใช้ จ ากการทำ า
ปฏิบัติการเคมี ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
10. ครูตั้งคำาถามว่า สารประกอบของโลหะเป็นพิษ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ที่ใช้แล้วหรือที่เหลือ
ใช้จากการทำาปฏิบัติการเคมี เมื่อรวบรวมไว้แล้วเทลงอ่างน้ำาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ซึ่งควรได้คำาตอบ
ว่า ไม่ได้ เพราะจะทำาให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษจึงควรส่งให้บริษัทรับกำาจัดสารเคมี จากนั้นครูเชื่อมโยง
ว่านอกจากการกำาจัดสารเคมีที่ถูกวิธีแล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่สามารถนำามาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น ออกแบบการทดลองที่ไม่ก่อให้เกิดของเสียที่เป็นอันตราย เลือกใช้
สารเคมีและปฏิกริ ย
ิ าเคมีทป
่ี ลอดภัยและมีความคุม
้ ค่าในการใช้พลังงาน ใช้อป
ุ กรณ์ทดแทนสำาหรับทำา
ปฏิบัติการแบบย่อส่วน เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมีและพลังงาน อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณของ
เสียที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
11. ครูให้นก
ั เรียนสะท้อนความรูค
้ วามเข้าใจและแสดงถึงความตระหนักเกีย
่ วกับความปลอดภัย
ในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี และความเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โดยให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ สรุปความรู ้ และ
นำาเสนอในรูปแบบทีส
่ ามารถสร้างความเข้าใจให้กบ
ั ผูอ
้ น
่ื ได้ด ี เช่น แผนผัง แผ่นพับ วีดท
ิ ศ
ั น์
12. ครูให้นักเรียนทำาแบบฝึกหัด 1.1 เพื่อทบทวนความรู้
13. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยยกตัวอย่างข่าว สถานการณ์หรือปัญหาซึ่งอาจเป็น
ข้อความ ภาพ หรือวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุจากสารเคมี เช่น ภาพข่าวคน
ถูกน้ำากรดสาด คนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกรณีแก�สแอมโมเนียรั่วจากห้องทำาความเย็น เพื่อนำาเข้าสู่
การอภิปรายถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
14

14. ครูยกตัวอย่างอุบต
ั เิ หตุทอ
่ี าจเกิดขึน
้ จากการใช้สารเคมีในห้องปฏิบต
ั ก
ิ าร เช่น สารเคมีหก
ใส่มอ
ื สารเคมีกระเด็นเข้าตา ไอสารเคมีเข้าจมูก แล้วตัง้ คำาถามว่า เมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุดงั กล่าว ควรทำา
อย่างไร ซึง่ ควรได้คาำ ตอบว่า เมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุ ต้องทราบชนิดและปริมาณสารเคมีกอ
่ น แล้วจึงทำาการ
ปฐมพยาบาลเบือ
้ งต้น
15. ครูให้นักเรียนแบ่งเป็น 4 กลุ่มแล้วศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณี
ที่เกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี การ
ปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก�สพิษ และการปฐมพยาบาลเมื่อโดน
ความร้อน จากนั้นนำาเสนอแนวทางในการแก้ไขอุบัติเหตุในรูปแบบที่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับ
ผู้อื่นได้ดี เช่น การแสดงบทบาทสมมติ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและให้ความรู้เพิ่มเติม
16. ครูให้นักเรียนทำาแบบฝึกหัด 1.2 เพื่อทบทวนความรู้

แนวท�งก�รวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับฉลากและสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ข้อปฏิบต
ั เิ บือ
้ งต้น
ในการทำาปฏิบัติการเคมี การกำาจัดสารเคมี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากสารเคมี
จากการทำากิจกรรม การอภิปราย การทำาแบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสังเกต การคิดและการแก้ปญ
ั หาอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ และความร่วมมือ การทำางาน
เป็นทีมและภาวะผู้นำาจากการทำากิจกรรม
3. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ จากการอภิปรายและการนำาเสนอ
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการใช้วิจารณญาณ ความใจกว้าง และความรอบคอบ จากการสังเกต
พฤติกรรมในการอภิปรายและการทำากิจกรรม
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ จากผลงานและการสะท้อนความคิด

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
15

แบบฝ�กหัด 1.1

1. พิจารณาข้อมูลบนฉลากของโซเดียมไฮดรอกไซด์ และวงกลมเพือ
่ ระบุสว่ นทีแ
่ สดงข้อมูล
ต่อไปนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3. คำาเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง

1 Sodium hydroxide, solid


2 DANGER

3
Causes severe skin burns and eye damage.

PREVENTION
Do not breathe dust. Wash skin and eyes thoroughly after handling.
Wear protective gloves and clothing, and eye and face protection.

RESPONSE
If swallowed: Rinse mouth. Do NOT induce vomiting.
If in eyes: Rinse cautiously with water for several minutes. Remove contact lenses,
if present and easy to do. Continue rinsing.
If in skin (or hair): Take off immediately all contaminated clothing. Rinse skin
with water/shower. Wash contaminated clothing before reuse.
If inhaled: Remove person to fresh air and keep comfortable for breathing.
Immediately call a doctor or other medical personnel.

STORAGE
Store locked up. Keep container tightly closed.

DISPOSAL
Dispose of contents to an EPA permitted facility.

2. พิจารณาตัวอย่างฉลากสารเคมีต่อไปนี้
SAF-T-DATA TM System
U5432.2500 2.51 2.5 L HEALTH FLAMMABILITY REACTIVITY CONTACT

Ammonia solution 25%


Nitric Acid,
69.0 - 70.0% 4 0
EXTREME NONE
3 4
SEVERE EXTREME
LABORATORY PROTECTIVE EQUIPMENT

GOGGLES LAB COAT VENT PROPER


& SHIELD & APRON HOOD GLOVE

STORAGE COLOR WHITE

แอมโมเนีย กรดไนทริก

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
16

โพแทสเซียมเปอรแมงกาเนต KMnO4
Potassium permanganate
Mw 158.04 mp 50 ํC

Xn

อาจเกิดการลุกไหมถาสัมผัสสารที่เปนเชื้อไฟ
เปนอันตรายเมื่อกลืนกิน แสบรอนเมื่อสัมผัส
ผิวหนัง, ตา ขนาดบรรจุ 100 กรัม

โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต แบเรียมคลอไรด์

Sodium sulfate Copper(II)nitrate


โซเดียมซัลเฟต คอปเปอร(II)ไนเทรต
n

HEALTH 1 Formula Na 2 SO4 Catalog No. HEALTH 1 Formula Cu(No3)2 Catalog No.
FLAMMABILITY 0 F.W. 142.04 3097170 FLAMMABILITY 0 F.W. 187.54 3091250
REACTIVITY 0 Quantity 450g. REACTIVITY 3 Quantity 250g.
PROTECTIVE 0 R: - technical PROTECTIVE 1 R: 8-22-38 AR
EQUIPMENT S: 22-24/25 P.D. 1206-271 EQUIPMENT S: 28 P.D. 1205-097

โซเดียมซัลเฟต คอปเปอร์(II)ไนเทรต

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด
ดางคลี
Potassium hydroxide
KOH Lead Nitrate
0 Mw 56.11 mp 50 ํC
bp 1320 ํC
Pb(NO3)2
3 1
CAS: 10099-74-8
MW: 331.23
Solubility: 520 g/l at 20 C
ทำใหเกิดแผลไหมเมื่อสัมผัสผิวหนัง, ตา
เมื่อกลืนกินมีผลตอระบบทางเดินอาหาร
OXIDIZER
R: 35
S: 26-37/39-45
5.1
Mfg. Date .............................................. ขนาดบรรจุ 350 กรัม

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เลด(II)ไนเทรต

2.1 สารเคมีใดไม่ควรวางใกล้เปลวไฟ
กรดไนทริก โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต คอปเปอร์(II)ไนเทรต เลด(II)ไนเทรต
2.2 สารเคมีใดเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
แอมโมเนีย
2.3 สารเคมีใดมีฤทธ์ิกัดกร่อนผิวหนัง
กรดไนทริก แอมโมเนีย โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
17

2.4 เมื่อสัมผัสกับโซเดียมซัลเฟต ควรปฏิบัติอย่างไร


ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยการเป�ดน้ำาไหลผ่านมาก ๆ
2.5 สารละลายเลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) เข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร ที่
เหลือจากการทดลอง 5 มิลลิลิตร ควรทิ้งอย่างไร
ทิ้งในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อรวบรวมให้ได้ปริมาณมากพอ
ให้ส่งบริษัทรับกำาจัดสารเคมี เนื่องจาก Pb(NO3)2 มีสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็น
สารเคมีที่มีอันตรายถึงชีวิตได้

3. จากรูปผูท
้ าำ ปฏิบต
ั ก
ิ ารควรปรับปรุงสิง่ ใดบ้าง เพือ
่ ให้เกิดความปลอดภัยในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ าร
เคมี

1. รวบผมให้เรียบร้อย
2. สวมแว่นตานิรภัย
3. ติดกระดุมเสื้อคลุมปฏิบัติการให้เรียบร้อย
4. สวมรองเท้าส้นเตี้ยที่หุ้มปลายและส้นเท้า

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
18

แบบฝ�กหัด 1.2

1. ให้นักเรียนระบุวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่อไปนี้ในห้อง
ปฏิบัติการ
1.1 สารละลายกรดกระเด็นถูกผิวหนัง
ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เป��อนออก ซับสารละลายกรดออกจากร่างกายให้มากที่สุดแล้ว
ล้างน้ำาปริมาณมาก ๆ
1.2 สัมผัสกับเม็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์
ล้างน้ำาปริมาณมาก ๆ
1.3 ไอน้ำาร้อนจากอ่างน้ำาร้อนสัมผัสร่างกาย
แช่นาำ้ เย็นหรือป�ดแผลด้วยผ้าชุบน้าำ จนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขีผ
้ ง้ึ สำาหรับ
ไฟไหม้และน้ำาร้อนลวก
1.4 เศษแก้วจากหลอดทดลองที่แตกบาดมือ
ล้างด้วยน้ำาเกลือล้างแผล แล้วใส่ยาใส่แผลและป�ดพลาสเตอร์
1.5 เมื่อใช้มือสัมผัสโต�ะในห้องปฏิบัติการ แล้วเกิดอาการแสบร้อน
ล้างน้ำาปริมาณมาก ๆ

2. สืบค้นข้อมูล safety data sheet ของ 1-naphthyl methylcarbamate ซึง่ เป็นยาฆ่าแมลง


ในกลุ่มคาร์บาเมต (carbaryl insecticide) ที่นำามาใช้ในการกำาจัดแมลงศัตรูพืช
เพื่อตอบคำาถามต่อไปนี้
2.1 วิธีเก็บรักษา
ควรเก็บในตู้ปราศจากความชื้นที่ป�ดมิดชิด ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง ภายใน
ตู้เก็บควรปราศจากความชื้น และมีอุณหภูมิต่ำากว่า 40 องศาเซลเซียส
2.2 วิธีปฐมพยาบาล เมื่อสัมผัสผิวหนัง
ถอดเสือ
้ ผ้าทีเ่ ป�อ
� นสารเคมีออก ล้างบริเวณทีส
่ ม
ั ผัสสารเคมีดว้ ยน้าำ สบูป
่ ริมาณมาก ๆ
และให้นาำ้ ไหลผ่านบริเวณทีส
่ ม
ั ผัสเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที หากสัมผัสสารปริมาณ
มาก ๆ หรือมีความเข้มข้นสูงให้ไปพบแพทย์

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
19

ตัวอย่�งเอกส�รคว�มปลอดภัย

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
20

7. HANDLING AND STORAGE

10. STABILITY AND REACTIVITY

11. TOXICOLOGICAL INFORMATION

12. ECOLOGICAL INFORMATION

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
21

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
22

1.3 ก�รวัดปริม�ณส�ร

จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
1. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำาปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
2. อ่านค่าปริมาณต่าง ๆ ของสาร

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อนที่อ�จเกิดขึ้น

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อน คว�มเข้�ใจที่ถูกต้อง

เมื่อถ่ายเทของเหลวออกจากป�เปตต์ ป�เปตต์ที่ใช้งานในระดับมัธยมศึกษา เป็นแบบ


จะต้องทำาให้ของเหลวออกจากป�เปตต์ ถ่ายเทของเหลวออกจากป�เปตต์แล้วไม่ต้องเป�าให้
จนหมด ของเหลวออกจนหมด

สื่อก�รเรียนรู้และแหล่งก�รเรียนรู้
ตัวอย่างผลการทดลองทีม
่ ก
ี ารกระจายตัวของข้อมูลแตกต่างกัน เพือ
่ นำาไปสูก
่ ารวิเคราะห์เกีย
่ วกับ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากความเที่ยงและความแม่น

แนวก�รจัดก�รเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนพิจารณาค่าที่วัดได้จากการทดลองในรูป 1.6 แล้วตั้งคำาถามว่า ข้อมูลชุดใด
มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะเหตุใด เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถ
พิจารณาได้จาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยงและความแม่น โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกัน
ของค่าทีไ่ ด้จากการวัดซ้าำ ส่วนความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลีย
่ จากการวัดซ้าำ เทียบกับค่าจริง
ดังนั้นข้อมูลชุด ง มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากมีความเที่ยงและความแม่นสูงที่สุด
2. ครูตง้ั คำาถามว่า ข้อมูลแต่ละชุดมีความเทีย
่ งและความแม่นแตกต่างกันเพราะเหตุใด ซึง่ ควร
ได้คำาตอบว่า ความเที่ยงและความแม่นของข้อมูลขึ้นกับทักษะของผู้ทดลอง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ทำาปฏิบัติการ
3. ครูใช้คาำ ถามนำาว่า ถ้าจะแบ่งกลุม
่ อุปกรณ์วด
ั ปริมาตร ได้แก่ บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง
ป�เปตต์ บิวเรตต์ และขวดกำาหนดปริมาตร โดยใช้ความแม่นเป็นเกณฑ์ จะสามารถแบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม
และอุปกรณ์ในแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง โดยครูอาจแสดงรูปอุปกรณ์ประกอบ เพื่อนำาเข้าสู่เรื่องอุปกรณ์
วัดปริมาตร

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
23

4. ครูสาธิตและอธิบายการใช้งานอุปกรณ์วด
ั ปริมาตร ได้แก่ บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง
ป�เปตต์ บิวเรตต์ ขวดกำาหนดปริมาตร อุปกรณ์วัดมวล เช่น เครื่องชั่งแบบสามคาน เครื่องชั่งไฟฟ้า
ในประเด็นต่อไปนี้
- วัตถุประสงค์และเทคนิคการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ
- การอ่านค่าและการรายงานผลจากการวัด ทัง้ นีใ้ ห้เน้นในประเด็นการอ่านปริมาตรของของเหลว
ต้องให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกับระดับส่วนโค้งของของเหลวดังรูป 1.13 และการประมาณค่าที่ได้
จากการอ่านปริมาตรของของเหลวในบิวเรตต์ ว่าสามารถประมาณตัวเลขได้ตั้งแต่ 0-9
- ข้อควรระวังในการใช้และการดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือ
ทั้งนี้เมื่อครูอธิบายขั้นตอนการใช้บิวเรตต์ ให้เน้นในประเด็นการบรรจุของเหลวใส่บิวเรตต์ซึ่งไม่ควร
ทำาเหนือระดับสายตา และต้องไล่ฟองอากาศออกจากปลายบิวเรตต์ให้หมดก่อนการใช้งาน โดย
ระหว่างที่มีการสาธิตควรให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติร่วมด้วย

ฟองอากาศ

คว�มรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
ในกรณี ท่ี ยั ง มี ฟ องอากาศเหลื อ อยู่ ใ นบิ ว เรตต์ ใ ห้ ห มุ น ก� อ กป� ด เป� ด ไปในตำ า แหน่ ง ที่
ของเหลวไหลออกมาเร็วและแรงที่สุด ปล่อยให้ของเหลวไหลออกมาไล่ฟองอากาศจนหมด
ขณะที่ของเหลวไหลลงมาอาจใช้ลูกยางเคาะเบา ๆ ตรงบริเวณที่มีฟองอากาศอยู่เพื่อช่วยไล่
ฟองอากาศให้ออกมาจนหมด

ทั้งนี้ครูให้นักเรียนตอบคำาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจระหว่างการให้ความรู้แต่ละขั้น

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
24

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

ในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารมีปเ� ปตต์แบบใช้ตวงขนาด 5 มิลลิเมตรและ 10 มิลลิเมตรและมีปเ� ปตต์
แบบปริมาตรขนาด 5 มิลลิเมตรและ 25 มิลลิเมตรหากต้องการของเหลวปริมาตรต่อไปนี้
ต้องเลือกป�เปตต์แบบใดและขนาดปริมาตรใด
1. 2.50 มิลลิเมตร ใช้ปเ� ปตต์แบบใช้ตวง ขนาด 5 หรือ 10 มิลลิเมตร
2. 5.00 มิลลิเมตร ใช้ปเ� ปตต์แบบใช้ตวง ขนาด 5 หรือ 10 มิลลิเมตรหรือใช้ปเ� ปตต์
แบบปริมาตรขนาด 5 มิลลิเมตร
3. 25.00 มิลลิเมตร ใช้ปเ� ปตต์แบบปริมาตร ขนาด 25 มิลลิเมตร

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

1. จากรูป ปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงมีค่าเท่าใด

อ่านค่าปริมาตรของของเหลวได้ประมาณ 6.80
มิลลิลิตร (ทศนิยมตำาแหน่งที่สองเป็นค่าประมาณ
นักเรียนอาจตอบต่างจากแนวคำาตอบได้)

2. ปริมาตรเริ่มต้นและปริมาตรสุดท้ายจากการถ่ายเทของเหลวด้วยบิวเรตต์ เป็นดังรูป
ของเหลวที่ถ่ายเทได้มีปริมาตรเท่าใด
อ่านค่าปริมาตรเริ่มต้นและปริมาตรสุดท้าย
ได้ 6.25 และ 39.30 มิลลิลิตร ดังนั้น
ของเหลวทีถ
่ า่ ยเทได้มป
ี ริมาตร 39.30 – 6.25
เท่ากับ 33.05 มิลลิลต
ิ ร (ทศนิยมตำาแหน่งที่
สองเป็นค่าประมาณ นักเรียนอาจตอบต่าง
จากแนวคำาตอบได้)
ปริมาตรเริ่มต้น ปริมาตรสุดท้าย

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
25

5. ครูให้นักเรียนทำากิจกรรม 1.1 เพื่อฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรและอุปกรณ์วัดมวล


จากนั้นนำาเสนอข้อมูลที่ได้จากการทำากิจกรรม แล้วอภิปรายร่วมกันในประเด็นความแม่นที่ได้จาก
การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรต่างชนิดกัน และร่วมกันสรุปกิจกรรม

กิจกรรม 1.1 ก�รทดลองวัดปริม�ตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่�ง ๆ และ


ก�รวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง

จุดประสงค์ก�รทดลอง
1. ฝึกใช้เครื่องชั่งและเครื่องแก้ววัดปริมาตรบางชนิด
2. เปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตรของกระบอกตวงและป�เปตต์

เวล�ที่ใช้ อภิปรายก่อนทำาการทดลอง 5 นาที


ทำากิจกรรม 10 นาที
อภิปรายหลังทำาการทดลอง 10 นาที
รวม 25 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และส�รเคมี

ร�ยก�ร ปริม�ณต่อกลุ่ม

ส�รเคมี
1. น้ำา 50 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
2. บีกเกอร์ขนาด 100 mL 1 ใบ
3. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
4. ป�เปตต์ ขนาด 25 mL 1 อัน
5. กระบอกตวงขนาด 25 mL 1 อัน
6. เครื่องชั่ง ใช้ร่วมกัน

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
26

ก�รเตรียมล่วงหน้�
ตารางแสดงความหนาแน่นของน้ำาที่อุณหภูมิต่าง ๆ กลุ่มละ 1 ใบ
อภิปร�ยก่อนทำ�ก�รทดลอง
ทบทวนเกี่ยวกับการอ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์
ตัวอย่�งผลก�รทดลอง
การวัดปริมาตรน้ำาด้วยป�เปตต์
อุณหภูมิของน้ำาที่ทำาการทดลอง คือ 20.0 °C
ความหนาแน่นของน้ำาที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998203 g/mL

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 46.98 -

เติมน้ำาครั้งที่ 1 71.59 24.61

เติมน้ำาครั้งที่ 2 96.43 24.84

เติมน้ำาครั้งที่ 3 121.47 25.04

เฉลี่ย 24.83

คำานวณปริมาตรน้ำาที่วัดได้จากค่ามวลน้ำาเฉลี่ย
m
จาก d = V
m
จะได้ V =
d
24.83 g
แทนค่า V
=
0.998203 g/mL
= 24.87 mL

การวัดปริมาตรน้ำาด้วยกระบอกตวง
อุณหภูมิของน้ำาที่ทำาการทดลอง คือ 20.2 °C
ความหนาแน่นของน้ำาที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998162 g/mL

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
27

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 50.72 -

เติมน้ำาครั้งที่ 1 74.92 24.20

เติมน้ำาครั้งที่ 2 99.04 24.12

เติมน้ำาครั้งที่ 3 123.62 24.58

เฉลี่ย 24.30

คำานวณปริมาตรน้ำาที่วัดได้จากค่ามวลน้ำาเฉลี่ย
m
จาก d = V
m
จะได้ V =
d
24.30 g
แทนค่า V =
0.998162 g/mL
= 24.34 mL

อภิปร�ยผลก�รทดลอง
การวัดปริมาตรของน้ำาด้วยป�เปตต์ขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ยของน้ำา
ที่วัดได้เท่ากับ 24.83 กรัม เมื่อนำาค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำานวณหาปริมาตรของน้ำาจาก
ความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำาการวัด พบว่าปริมาตรของน้ำาเท่ากับ 24.87 มิลลิลิตร
การวัดปริมาตรของน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ย
ของน้ำาที่วัดได้เท่ากับ 24.30 กรัม และเมื่อนำาค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำานวณหาปริมาตรของน้ำา
จากความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำาการวัด พบว่าปริมาตรของน้ำาเท่ากับ 24.34 มิลลิลิตร
ดังนั้น ปริมาตรของน้ำาที่วัดด้วยป�เปตต์ต่างจากค่าจริง 0.13 มิลลิลิตร
ส่วนกระบอกตวงต่างจากค่าจริง 0.66 มิลลิลิตร
เมื่อเปรียบเทียบการวัดปริมาตรน้ำาโดยใช้ป�เปตต์และกระบอกตวง พบว่า ปริมาตร
น้ำาที่ได้จากการใช้ป�เปตต์ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่าค่าปริมาตรของน้ำาที่วัดด้วยกระบอกตวง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
28

สรุปผลก�รทดลอง
ป�เปตต์เป็นอุปกรณ์ทว่ี ด
ั ปริมาตรได้ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่ากระบอกตวง หรือกล่าวได้
ว่า การใช้ป�เปตต์มีความแม่นมากกว่ากระบอกตวง

6. ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ป�เปตต์เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่สอบเทียบ (calibrate) โดย


การวัดปริมาตรของของเหลวที่ถ่ายเทออกจากป�เปตต์ ขณะที่กระบอกตวงเป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่
สอบเทียบโดยการวัดปริมาตรของของเหลวที่เติมลงในกระบอกตวง ดังนั้นเมื่อถ่ายเทของเหลวออก
จากกระบอกตวงจะมีของเหลวบางส่วนติดค้างอยู่ในกระบอกตวง ทำาให้ปริมาตรของของเหลวที่
ถ่ายเทออกมาน้อยกว่าที่วัดได้ และชี้ให้เห็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนอุปกรณ์
7. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า อุปกรณ์แต่ละชนิดมีความละเอียดไม่เท่ากัน โดยชี้ให้เห็นตัวเลขที่
ปรากฏบนอุปกรณ์ที่นำามาให้นักเรียนดู เช่น ค่าความคลาดเคลื่อนของกระบอกตวงและป�เปตต์ขนาด
25 มิลลิลิตร เท่ากับ ±0.40 และ ±0.10 ตามลำาดับ ดังรูป

ค่าความ
คลาดเคลื่อน

กระบอกตวง ป�เปตต์

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
29

8. ครูให้นักเรียนพิจารณารูปร่างของกระบอกตวงและป�เปตต์ แล้วตั้งคำาถามเพื่อนำาอภิปราย
ว่า เพราะเหตุใดกระบอกตวงมีค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่าป�เปตต์ ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า ป�เปตต์
มีพื้นที่หน้าตัดบริเวณที่ผิวของของเหลวน้อยกว่ากระบอกตวง ทำาให้ความผิดพลาดของระดับ
ของเหลวที่ถ่ายเทมีค่าน้อยกว่าของกระบอกตวง
นอกจากนั้นครูอาจอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
การอ่านปริมาตรจากอุปกรณ์วด
ั ปริมาตรเป็นการอ่านค่าจากความสูงของของเหลว เมือ
่ พิจารณา
จากสูตรคำานวณปริมาตรทรงกระบอก คือ ปริมาตร = พืน
้ ทีห
่ น้าตัด × สูง จะพบว่า หากพืน
้ ทีห
่ น้าตัดมีคา่
น้อย ความสูงทีอ
่ า่ นได้จะมีคา่ มาก ทำาให้ความผิดพลาดจากการอ่านค่าความสูงน้อยกว่า ซึง่ อธิบายด้วย
ตัวเลขประกอบ ดังนี้
ต้องการตวงของเหลวปริมาตร 1 mL ถ้าพื้นที่หน้าตัดของอุปกรณ์วัดปริมาตรเท่ากับ 1 cm2
ความสูงที่อ่านได้จะเท่ากับ 1 cm ถ้าอ่านค่าความสูงผิดไป 0.1 cm จะอ่านปริมาตรผิดไปร้อยละ 10
แต่ถ้าพื้นที่หน้าตัดของอุปกรณ์วัดปริมาตรเท่ากับ 0.1 cm2 ความสูงที่อ่านได้จะเท่ากับ 10 cm ถ้า
อ่านค่าความสูงผิดไป 0.1 cm เท่าเดิม ปริมาตรที่อ่านผิดไปคิดเป็นเพียงแค่ร้อยละ 1
9. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 1.15 จากนั้นตั้งคำาถามว่า อุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์
ทั้งสองมีค่าเท่าใด ซึ่งนักเรียนอาจตอบว่า อ่านค่าได้ 26.22 และ 26.0 องศาเซลเซียส ตามลำาดับ เพื่อ
นำาเข้าสู่การอธิบายความหมายของเลขนัยสำาคัญ
10. ครูอธิบายเกี่ยวกับหลักการนับเลขนัยสำาคัญ การปัดเศษ และเลขนัยสำาคัญของผลลัพธ์
ที่ได้จากการคำานวณ ทั้งนี้ครูให้นักเรียนตอบคำาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจระหว่างการให้ความรู้
แต่ละขั้น

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

ชัง่ มวลของสารได้ 76.98 และ 34.9 กรัม ตามลำาดับ ผลรวมของมวลสารเป็นเท่าใด


ในการบวก ผลลัพธ์ทไ่ี ด้จะมีจาำ นวนตัวเลขหลังทศนิยมเท่ากับข้อมูลทีน
่ อ
้ ยทีส
่ ด
ุ ดังนัน

ผลรวมของวัตถุทง้ั สองเท่ากับ 111.9 กรัม

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
30

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

ปรอทปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร จะมีมวลเท่าใด เมื่อปรอทมีความหนาแน่นเท่ากับ


1.36 กรัมต่อมิลลิลิตร

m
จาก d =
V
จะได้ m = d × V

m = 1.36 g/mL × 20.00 mL


m = 27.2 g
ในการคูณและหาร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำานวนเลขนัยสำาคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัย
สำาคัญน้อยทีส
่ ด

ดังนั้น ปรอทมีมวล 27.2 กรัม

11. ครูให้นักเรียนตอบคำาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเลขนัยสำาคัญ โดยตรวจสอบ


การบันทึกผลการทำากิจกรรม 1.1 และการคำานวณของตนเองว่าสอดคล้องกับหลักการเกี่ยวกับ
เลขนัยสำาคัญหรือไม่ หากไม่สอดคล้องให้แก้ไขให้ถก
ู ต้อง ทัง้ นีค
้ รูอาจให้ตวั แทนนักเรียนนำาเสนอรายงาน
การตรวจสอบข้อมูลของตนเอง โดยคำาตอบที่ได้ควรสอดคล้องกับความละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การทำากิจกรรม
12. อภิปรายและสรุปบทเรียนร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เทคนิค วิธีการใช้งาน รวมทั้ง
ข้อควรระวังในการใช้และการดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำาปฏิบัติการเคมี และเลขนัยสำาคัญ
13. ครูให้นักเรียนทำาแบบฝึกหัด 1.3 เพื่อทบทวนความรู้

แนวท�งก�รวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้ และการดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้สำาหรับวัดปริมาตร
และวัดมวล การอ่านค่าและการรายงานผลจากการวัดโดยคำานึงถึงเลขนัยสำาคัญ จากรายงานการ
ทดลอง การทำาแบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสังเกตและการวัด จากรายงานการทดลองและการสังเกตพฤติกรรมในการ
ทำาการทดลอง
3. ทักษะความร่วมมือ การทำางานเป็นทีมและภาวะผู้นำา จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การทำาการทดลอง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
31

4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากรายงานการทดลอง และการสังเกตพฤติกรรมใน


การทำาการทดลอง

แบบฝ�กหัด 1.3

1. อ่านปริมาตรของของเหลว จากรูปต่อไปนี้

20.2 มิลลิลิตร 41.6 มิลลิลิตร 44.68 มิลลิลิตร

2. อ่านค่าปริมาตรของของเหลวในบิวเรตต์ที่มีปริมาตรเท่ากันในมุมมองที่แตกต่างกันได้
เท่าใด และค่าที่อ่านได้ในแต่ละข้อถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

1. 30.40 มิลลิลต
ิ ร ค่าทีอ
่ า่ นได้ถก
ู ต้อง เพราะการอ่านปริมาตรของของเหลวต้องให้สายตา
อยูร่ ะดับเดียวกันกับระดับส่วนโค้งของของเหลว
2. 30.30 มิลลิลิตร ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เพราะหากสายตาอยู่สูงกว่าระดับส่วนโค้ง
ของของเหลวจะอ่านค่าปริมาตรได้น้อยกว่าปริมาตรจริง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
32

3. 30.50 มิลลิลิตร ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เพราะหากสายตาอยู่ต่ำากว่าระดับส่วนโค้งของ


ของเหลวจะอ่านค่าปริมาตรได้มากกว่าปริมาตรจริง

3. วิธีการในแต่ละข้อต่อไปนี้ สามารถวัดปริมาตรน้ำาที่ต้องการได้แม่นหรือไม่ เพราะเหตุใด


3.1 ตวงน้าำ โดยใช้กระบอกตวงขนาด 100 มิลลิลต
ิ ร ครัง้ ละ 100.00 มิลลิลต
ิ ร 2 ครัง้ และ
50.00 มิลลิลิตร 1 ครั้ง จะได้น้ำาปริมาตร 250.00 มิลลิลิตร
ไม่สามารถวัดปริมาตรน้ำาได้แม่น เนื่องจากกระบอกตวงเป็นอุปกรณ์วัดปริมาตร
ทีส
่ อบเทียบโดยการวัดปริมาตรของของเหลวทีเ่ ติมลงในกระบอกตวง ดังนัน
้ เมือ
่ ถ่ายเท
ของเหลวออกจากกระบอกตวงจะมีของเหลวบางส่วนติดค้างอยูใ่ นกระบอกตวง ทำาให้
ปริมาตรของของเหลวที่ถ่ายเทออกมาจะน้อยกว่าที่วัดได้
3.2 ไขน้าำ จากบิวเรตต์ทบ
่ี รรจุนาำ้ เริม
่ ต้นทีข
่ ด
ี บอกปริมาตรเลข 0 มาถึงขีดบอกปริมาตร เลข 20
จะได้น้ำาปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร
สามารถวัดปริมาตรน้ำาได้แม่น เนื่องจากบิวเรตต์เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่สอบ
เทียบโดยการวัดปริมาตรของของเหลวทีถ
่ า่ ยเทออกจากบิวเรตต์ ดังนัน
้ เมือ
่ ถ่ายเทน้าำ ออก
จากบิวเรตต์ 20.00 มิลลิลิตร จะได้น้ำาปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร
3.3 เติมน้าำ ลงในขวดกำาหนดปริมาตรขนาด 100 มิลลิลต
ิ ร ปรับให้พอดีกบ
ั ขีดบอกปริมาตร
เมื่อเทน้ำาออกใส่บีกเกอร์จะได้น้ำาปริมาตร 100.00 มิลลิลิตรพอดี
ไม่สามารถวัดปริมาตรน้ำาได้แม่น เนื่องจากขวดกำาหนดปริมาตรเป็นอุปกรณ์วัด
ปริมาตรทีส
่ อบเทียบโดยการวัดปริมาตรของเหลวทีบ
่ รรจุอยูใ่ นขวดกำาหนดปริมาตร เมือ

ถ่ายเทของเหลวออกจากขวดกำาหนดปริมาตรจะมีของเหลวบางส่วนติดค้างอยู ่ ทำาให้
ปริมาตรของเหลวที่ถ่ายเทออกมาน้อยกว่าที่วัดได้

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
33

1.4 หน่วยวัด

จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วยการ
ใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อนที่อ�จเกิดขึ้น

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อน คว�มเข้�ใจที่ถูกต้อง

หน่วยมวลในระบบเอสไอ คือ กรัม หน่วยมวลในระบบเอสไอ คือ กิโลกรัม

แนวก�รจัดก�รเรียนรู้
1. ครู ก ระตุ้ น ความสนใจของนั ก เรี ย นโดยยกตั ว อย่ า งการวั ด ปริ ม าณสิ่ ง ของที่ พ บในชี วิ ต
ประจำาวันซึง่ วัดปริมาณเดียวกันแต่ใช้หน่วยทีแ
่ ตกต่างกัน เช่น การวัดมวลทีร่ ายงานด้วยหน่วยปอนด์
และกิโลกรัม จากนั้นให้นักเรียนยกตัวอย่างอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การระบุปริมาตรในหน่วยลิตร
ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เดซิเมตร ถ้วยตวง แกลลอน การระบุอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส
ฟาเรนไฮต์ แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าหน่วยที่วัดได้จากปริมาณที่ต่างกัน ก็จะมีหน่วยที่
แตกต่างกัน และแต่ละปริมาณก็มีได้หลายหน่วย
2. ครูให้ความรู้ว่า การรายงานค่าปริมาณเดียวกันแต่ใช้หน่วยวัดที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิด
ความเข้าใจไม่ตรงกันได้ ดังนั้นจึงมีการกำาหนดระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศหรือหน่วยเอสไอ ซึ่ง
เป็นหน่วยสากลที่เข้าใจได้ตรงกัน ดังตาราง 1.1 และ 1.2 นอกจากนี้ยังมีหน่วยนอกระบบเอสไอที่ได้รับ
การยอมรับและมีใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การระบุปริมาตรในหน่วยลิตร ตามรายละเอียดในตาราง
1.3
3. ครูให้นักเรียนตอบคำาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
34

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

1. ลวดแมกนีเซียมหนา 0.1 มิลลิเมตร สามารถเขียนแสดงความหนาให้อยูใ่ นรูปสัญกรณ์


วิทยาศาสตร์ในหน่วยเอสไอได้เป็นเท่าใด
0.1 mm = 0.1 × 10-3 m
= 1 × 10-4 m

2. ปริมาตรน้าำ ทีไ่ ด้จากป�เปตต์ 10.00 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถเขียนแสดงปริมาตรให้อยู่


ในรูปสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ในหน่วยเอสไอได้เป็นเท่าใด
1 cm3 = 1 cm × 1 cm × 1 cm
= 0.01 m × 0.01 m × 0.01 m
= 1 × 10-6 m3
้ 10.00 cm3 = 10.00 × 10-6 m3
ดังนัน
= 1.000 × 10-5 m3

4. ครูนำาอภิปรายในประเด็นว่า ในการคำานวณเพื่อเปลี่ยนหน่วยสามารถใช้วิธีใดในการ
คำานวณได้บ้าง เพื่อนำาเข้าสู่การอธิบายเรื่องแฟกแตอร์เปลี่ยนหน่วยและวิธีการเทียบหน่วย
5. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับแฟกแตอร์เปลี่ยนหน่วยและวิธีการเทียบหน่วย
6. ครูให้นักเรียนทำาแบบฝึกหัด 1.4 เพื่อทบทวนความรู้

แนวท�งก�รวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ทางเคมีในระบบเอสไอ และการเปลี่ยนหน่วยวัด
โดยใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย จากการอภิปราย การทำาแบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำานวน จากการทำาแบบฝึกหัด
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากการทำาแบบฝึกหัด

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
35

แบบฝ�กหัด 1.4

1. จงแสดงวิธีการเปลี่ยนหน่วยไปเป็นหน่วยใหม่ที่ต้องการในแต่ละข้อต่อไปนี้

ข้อที่ ปริม�ณและหน่วยเริ่มต้น หน่วยใหม่ที่ต้องก�ร

1.1 59.2 cm dm
1.2 1.8 kg mg

1.3 2,800 mL dm3

1.4 3.2 g/mL kg/dm3

1.1 59.2 cm = 59.2 cm × 1 m × 10 dm


100 cm 1 m
= 5.92 dm

ดังนั้น 59.2 cm เท่ากับ 5.92 dm

1.2 1.8 kg = 1.8 kg × 1000 g


× 1000 mg
1 kg 1 g
6
= 1.8 × 10 mg

ดังนั้น 1.8 kg เท่ากับ 1.8 × 106 mg

1.3 2800 mL = 2800 mL × 1 L 1 dm3


×
1000 mL 1 L
= 2.8 dm3
ดังนั้น 2,800 mL อาจตอบได้เป็น 2.8 dm3 หรือ 2.80 dm3 หรือ 2.800 dm3
เนื่องจากเลขศูนย์อาจมีค่าเป็นศูนย์จริง ๆ จากการวัด หรือเป็นตัวเลขที่ใช้แสดงให้เห็นว่าค่า
ดังกล่าวอยู่ในหลักพัน

1.4 3.2 g/mL = 3.2 g ×


1 kg
×
1000 mL
× 1 L
1 mL 1000 g 1 L 1 dm3
= 3.2 kg/dm3

ดังนั้น 3.2 g/mL เท่ากับ 3.2 kg/dm3

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
36

2. น้ำาบริสุทธิ์ปริมาตร 50.0 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 20.5 องศาเซลเซียสมีมวล


เท่าใด เมื่อความหนาแน่นของน้ำาที่อุณหภูมิ 20.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.998099 กรัม
ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

มวลของน้ำา = 50.0 cm3 × 0.998099 g


1 cm3

= 49.90495 g
คำาตอบต้องมีเลขนัยสำาคัญ 3 ตัว ดังนั้น น้ำามีมวล 49.9 กรัม

3. สารละลายกรดซัลฟ�วริกเข้มข้นร้อยละ 24 โดยมวล มีความหนาแน่น 1.2 กรัมต่อลูกบาศก์


เซนติเมตร ถ้าสารละลายกรดซัลฟ�วริก 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีกรดซัลฟ�วริกกี่กรัม

24 g acid 1.2 g solution
ปริมาณกรดซัลฟ�วริก = × × 200 cm3 solution
100 g solution 3
1 cm solution

= 57.6 g acid

คำาตอบต้องมีเลขนัยสำาคัญ 2 ตัว ดังนั้น มีกรดซัลฟ�วริก 58 กรัม

4. ถ้าทองเหลือง 12 กรัม ต้องใช้ทองแดง 9.0 กรัม มีต้นทุนราคาของทองแดงกิโลกรัมละ


200 บาท หากต้องการทองเหลือง 300 กรัม ต้องซื้อทองแดงกี่บาท

9.0 g Cu 1 kg Cu 200 Baht


ต้องซื้อทองแดง = × × × 300 g brass
12 g brass 1,000 g Cu 1 kg Cu

= 45 Baht

คำาตอบต้องมีเลขนัยสำาคัญ 2 ตัว ดังนั้น ต้องซื้อทองแดง 45 บาท

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
37

1.5 วิธีก�รท�งวิทย�ศ�สตร์

จุดประสงค์ก�รเรียนรู้
นำาเสนอแผนการทดลอง ทดลอง และเขียนรายงานการทดลอง

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อนที่อ�จเกิดขึ้น

คว�มเข้�ใจคล�ดเคลื่อน คว�มเข้�ใจที่ถูกต้อง

ข้อมูลจากการสังเกตมีการเพิ่มเติมความคิด การสั ง เกตเป็ น การใช้ ป ระสาทสั ม ผั ส ทั้ ง 5


เห็นลงไปด้วย เพื่อหาข้อมูล โดยไม่เติมความเห็นใด ๆ ลงไป

การสังเกตใช้ประสาทสัมผัสด้านการมองเห็น การสังเกตต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ


เท่านั้น การมองเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การ
รับรส และการสัมผัส แต่ในการทำาปฏิบัติ
การส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ใ ช้ ก ารดมกลิ่ น และการชิ ม
เนื่องจากเหตุผลทางด้านความปลอดภัย

สื่อก�รเรียนรู้และแหล่งก�รเรียนรู้
กิ จ กรรมหรื อ วี ดิ ทั ศ น์ แ สดงการเปลี่ ย นแปลงทางเคมี ที่ เ ห็ น การเปลี่ ย นแปลงง่ า ย ๆ เช่ น
การผสมสารสองชนิดแล้วสารเปลี่ยนสีหรือเกิดฟองแก�ส

แนวก�รจัดก�รเรียนรู้
1. ครูสาธิตกิจกรรมหรือใช้วีดิทัศน์แสดงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เห็นการเปลี่ยนแปลง
ง่าย ๆ เช่น การผสมสารสองชนิด แล้วสารเปลี่ยนสีหรือเกิดฟองแก�ส เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้สังเกต
และการตั้งสมมติฐาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2. ครูทบทวนเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอน จากนั้นยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ 1 เพื่อให้นักเรียนทบทวนเกี่ยว
กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
3. ครูให้นักเรียนตอบคำาถามจากสถานการณ์ตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ฃ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
38

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

1. การออกแบบการทดลองสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
สอดคล้อง เนื่องจาก pH เป็นค่าที่บอกความเข้มข้นของกรดในสารละลายการเปรียบเทียบ
ค่า pH จึงสามารถบอกความเข้มข้นของกรดคาร์บอนิกทีอ
่ ยูใ่ นน้าำ อัดลม
2. การสรุปผลการทดลองสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานหรือไม่
อย่างไร
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ระบุว่าน้ำาอัดลมที่แช่เย็นมีความเข้มข้นของ กรดคาร์บอนิก
มากกว่า แต่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่สรุปว่าน้ำาอัดลมที่แช่เย็นมีความซ่ามากกว่า
เนื่องจากเป็นการสรุปที่เกินกว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบ
3. สมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ส อดคล้ อ งกั บ สิ่ ง ที่ สั ง เกตได้ ว่ า น้ำ า อั ด ลมที่ แ ช่ เ ย็ น มี ค วามซ่ า มากกว่ า
น้ำาอัดลมที่ไม่แช่เย็นหรือไม่ อย่างไร
ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ ข้ อ สั ง เกตเนื่ อ งจากไม่ ท ราบความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความซ่ า กั บ
ความเข้มข้นของกรดคาร์บอนิก
4. ถ้าต้องการออกแบบการทดลองเพือ
่ ตอบคำาถามว่า เพราะเหตุใดเมือ
่ ดืม
่ น้าำ อัดลมทีแ
่ ช่เย็นจะ
รู้สึกว่ามีความซ่ามากกว่าน้ำาอัดลมที่ไม่แช่เย็น ควรมีข้อมูลใดเพิ่มเติมบ้าง
องค์ประกอบในน้ำาอัดลม ปัจจัยที่ทำาให้เกิดความซ่า

4. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ควรมีในการเขียนรายงานการทดลอง จากนั้นให้นักเรียนทำา
กิจกรรม 1.2 ออกแบบการทดลองและทำาการทดลองเพื่อเปรียบเทียบความแม่นจากการวัดปริมาตร
น้ำาด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน พร้อมทั้งเขียนรายงานการทดลอง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
39

ตัวอย่�งผลก�รออกแบบและเขียนร�ยง�นที่ 1

กิจกรรม 1.2 ก�รออกแบบและทดลองเปรียบเทียบคว�มแม่นในก�รวัด


ปริม�ตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวงที่มีขน�ดต่�งกัน

จุดประสงค์ของก�รทดลอง
เปรียบเทียบความแม่นของกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน

สมมติฐ�น การตวงน้ำาปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร โดยการใช้กระบอกตวงขนาด 25


มิลลิลิตร มีความแม่นมากกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

ตัวแปรต้น ขนาดของกระบอกตวง
ตัวแปรต�ม ความแม่นในการตวงน้ำาปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร
ตัวแปรควบคุม เครื่องชั่ง ผู้ทำาการทดลอง

วัสดุ อุปกรณ์ และส�รเคมี

ร�ยก�ร ปริม�ณต่อกลุ่ม

ส�รเคมี
1. น้ำา 50 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
2. บีกเกอร์ขนาด 100 mL 1 ใบ
3. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
4. กระบอกตวงขนาด 25 mL 1 อัน
5. กระบอกตวงขนาด 50 mL 1 อัน
6. เครื่องชั่ง ใช้ร่วมกัน

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
40

วิธีก�รทดลอง
1. เทน้ำากลั่นปริมาตร 200 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร วัดอุณหภูมิของน้ำา
บันทึกผล
2. ชั่งมวลของบีกเกอร์ขนาด 100 มิลลิลิตร บันทึกผล
3. หามวลของน้ำา 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ตวงน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ 100 มิลลิลิตร ชั่ง
มวลรวมของน้ำาและบีกเกอร์ บันทึกผล และคำานวณมวลของน้ำา 25 มิลลิลิตร
บันทึกผล
ครั้งที่ 2 ตวงน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์เดิม ชั่งมวลรวม
ของน้ำา 50 มิลลิลิตร และบีกเกอร์ บันทึกผล และคำานวณมวลของน้ำา 25
มิลลิลิตรที่เติมครั้งที่ 2 บันทึกผล
ครั้งที่ 3 ตวงน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์เดิม ชั่งมวลรวม
ของน้ำา 75 มิลลิลิตร และบีกเกอร์ บันทึกผล และคำานวณมวลของน้ำา 25
มิลลิลิตรที่เติมครั้งที่ 3 บันทึกผล
4. คำานวณค่ามวลเฉลี่ยของน้ำาที่ได้จากการตวงน้ำาด้วยกระบอกตวง 3 ครั้ง บันทึกผล
5. นำาค่ามวลเฉลี่ยของน้ำาในข้อ 4 มาคำานวณปริมาตรของน้ำา
6. ทำาการทดลองซ้ำาในข้อ 1–5 โดยเปลี่ยนกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร เป็นกระบอกตวง
ขนาด 50 มิลลิลิตร
7. นำาค่าปริมาตรของน้ำาที่คำานวณได้จากการใช้กระบอกตวงขนาด 25 และ 50 มิลลิลิตร
มาเปรียบเทียบความแม่นของการวัดจากการใช้อุปกรณ์ต่างขนาด

ผลก�รทดลอง
การวัดปริมาตรน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร
อุณหภูมิของน้ำาที่ทำาการทดลอง คือ 20.2 °C
ความหนาแน่นของน้ำาที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998162 g/mL

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
41

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 50.72 -

เติมน้ำาครั้งที่ 1 74.92 24.20

เติมน้ำาครั้งที่ 2 99.04 24.12

เติมน้ำาครั้งที่ 3 123.62 24.58

เฉลี่ย 24.30

คำานวณปริมาตรน้ำาที่วัดได้
1 mL H2O
ปริมาตรน้ำาที่วัดได้ = 24.30 g H2O ×
0.998162 g H2O

= 24.34 mL H2O

การวัดปริมาตรน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร
อุณหภูมิของน้ำาที่ทำาการทดลอง คือ 20.0 °C
ความหนาแน่นของน้ำาที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998203 g/mL

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 52.34 -

เติมน้ำาครั้งที่ 1 76.38 24.04

เติมน้ำาครั้งที่ 2 100.56 24.18

เติมน้ำาครั้งที่ 3 124.49 23.93

เฉลี่ย 24.05

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
42

คำานวณปริมาตรน้ำาที่วัดได้
1 mL H2O
ปริมาตรน้ำาที่วัดได้ = 24.05 g H2O ×
0.998203 g H2O

= 24.09 mL H2O

อภิปร�ยหลังก�รทดลอง
การวัดปริมาตรของน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ย
ของน้ำาที่วัดได้เท่ากับ 24.30 กรัม และเมื่อนำาค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำานวณหาปริมาตรของน้ำา
จากความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำาการวัด พบว่าปริมาตรของน้ำาเท่ากับ 24.34 มิลลิลิตร
การวัดปริมาตรของน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ย
ของน้ำาที่วัดได้เท่ากับ 24.05 กรัม และเมื่อนำาค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำานวณหาปริมาตรของน้ำา
จากความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำาการวัด พบว่าปริมาตรของน้ำาเท่ากับ 24.09 มิลลิลิตร
เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจริง ปริมาตรของน้ำาที่วัดด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร
ต่างจากค่าจริง 0.66 มิลลิลิตร ส่วนกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร ต่างจากค่าจริง เท่ากับ
0.91 มิลลิลิตร
เมื่อเปรียบเทียบการวัดปริมาตรน้ำาโดยใช้กระบอกตวงขนาด 25 และ 50 มิลลิลิตร
พบว่า ปริมาตรน้ำาที่ได้จากการใช้กระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่า
ค่าปริมาตรของน้ำาที่วัดด้วยกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

สรุปผลก�รทดลอง
การตวงน้ำาปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตรมี
ความแม่นมากกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
43

ตัวอย่�งผลก�รออกแบบและเขียนร�ยง�นที่ 2

กิจกรรม 1.2 ก�รออกแบบและทดลองเปรียบเทียบคว�มแม่นในก�รวัด


ปริม�ตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวงที่มีขน�ดต่�งกัน

จุดประสงค์ของก�รทดลอง
เปรียบเทียบความแม่นของกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน

สมมติฐ�น ป�เปตต์น้ำาปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร ลงในกระบอกขนาด 25 มิลลิลิตร จะวัด


ปริมาตรได้แม่นกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

ตัวแปรต้น ขนาดของกระบอกตวง
ตัวแปรต�ม ความแม่นในการวัดปริมาตรน้ำา 25.00 มิลลิลิตร
ตัวแปรควบคุม ป�เปตต์ ผู้ทำาการทดลอง

วัสดุ อุปกรณ์ และส�รเคมี

ร�ยก�ร ปริม�ณต่อกลุ่ม

ส�รเคมี
1. น้ำา 100 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. ป�เปตต์ขนาด 25 mL 1 อัน
2. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
3. กระบอกตวงขนาด 25 mL 3 อัน
4. กระบอกตวงขนาด 50 mL 3 อัน

วิธีก�รทดลอง
1. เทน้ำากลั่นปริมาตร 100 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร
2. ป�เปตต์น้ำาด้วยป�เปตต์ขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร อันที่
หนึ่ง อ่านปริมาตรและบันทึกผล

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
44

3. ทำาการทดลองซ้ำาในข้อ 2 โดยเปลี่ยนเป็นกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร อันที่สองและ


สาม
4. คำานวณค่าปริมาตรเฉลี่ยของน้ำาที่วัดได้จากกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร
5. ทำาการทดลองซ้ำาในข้อ 2-4 โดยเปลี่ยนจากกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร เป็น
กระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร
6. นำาค่าปริมาตรของน้ำาที่คำานวณได้จากการใช้กระบอกตวงขนาด 25 และ 50 มิลลิลิตร
มาเปรียบเทียบความแม่นของการวัด

ผลก�รทดลอง

ปริม�ตรที่อ่�นได้จ�ก ปริม�ตรที่อ่�นได้จ�ก

กระบอกตวงขน�ด กระบอกตวงขน�ด
25 มิลลิลิตร (mL) 50 มิลลิลิตร (mL)

ครั้งที่ 1 25.0 24.8


ครั้งที่ 2 24.9 24.7

ครั้งที่ 3 25.0 24.8

เฉลี่ย 25.0 24.8

อภิปร�ยผลก�รทดลอง
การวัดปริมาตรของน้ำาด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า ปริมาตร
เฉลี่ยของน้ำาที่วัดได้เท่ากับ 25.0 มิลลิลิตร ขณะที่การวัดปริมาตรของน้ำาด้วยกระบอกตวง
ขนาด 50 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า ปริมาตรเฉลี่ยของน้ำาที่วัดได้เท่ากับ 24.8 มิลลิลิตร
ปริมาตรน้ำาที่ได้จากการป�เปตต์ คือ 25.00 มิลลิลิตร เมื่อใช้กระบอกตวงขนาด
25 มิลลิลิตร ปริมาตรเฉลี่ยของน้ำาที่วัดได้จะใกล้เคียงกับปริมาตรที่ได้จากการใช้ป�เปตต์
มากกว่าการใช้กระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
45

สรุปผลก�รทดลอง
การวัดน้ำาปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตรมีความแม่น
มากกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

5. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
จิตวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้นักเรียนตอบคำาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

จากการทำากิจกรรมออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตร
น้ำาด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน นักเรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
จิตวิทยาศาสตร์ใดบ้าง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทใ่ี ช้ คือ การสังเกต การวัด การตัง้ สมมติฐาน การ
กำาหนดและควบคุมตัวแปร การจัดกระทำาและสื่อความหมายข้อมูล และการตีความหมาย
ข้อมูลและลงข้อสรุป
จิตวิทยาศาสตร์ทใ่ี ช้ คือ ความอยากรูอ
้ ยากเห็น ความซือ
่ สัตย์ ความรอบคอบ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
46

แนวท�งก�รวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการอภิปราย การทำาการทดลอง และ
รายงานการทดลอง
2. ทักษะการสังเกต การวัด การตั้งสมมติฐาน การกำาหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง
การจัดกระทำาและสือ
่ ความหมายข้อมูล และการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการทำาการทดลอง
และรายงานการทดลอง
3. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ จากรายงานการทดลอง
4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา จากการทำาการทดลองและรายงาน
การทดลอง
5. ทักษะความร่วมมือ การทำางานเป็นทีมและภาวะผู้นำา จากการสังเกตพฤติกรรมในการ
ทำาการทดลอง
6. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความอยากรูอ
้ ยากเห็น ความซือ
่ สัตย์ และความรอบคอบ จากการสังเกต
พฤติกรรมในการทำาการทดลอง

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
47

แบบฝ�กหัดท้�ยบท

1. แปลความหมายของสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS ต่อไปนี ้ และ


ถ้านักเรียนต้องใช้สารเคมีเหล่านี้ในการทำาปฏิบัติการจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติมใด
นอกจากเสือ
้ คลุมปฏิบต
ั ก
ิ าร

อุปกรณ์ป�องกัน
ข้อที่ สัญลักษณ์ ก�รแปลคว�มหม�ยของสัญลักษณ์
เพิ่มเติม
วัตถุกัดกร่อน : กัดกร่อนผิวหนังและระคาย ถุงมือยาง
1.1 เคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ผ้าป�ดจมูก
- ทำาปฏิกิริยากับโลหะทำาให้เกิดแก�สไวไฟ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
แก�สไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ : ไม่ไวไฟ ไม่ ไม่มีอุปกรณ์
1.2 เป็นพิษ แต่อาจเกิดระเบิดได้ หากภาชนะ ป้องกันเพิ่มเติม
บรรจุถูกกระแทกอย่างแรง หรือได้รับ แต่ระวังไม่ให้สาร
ความร้อนสูงจากภายนอก ได้รับความร้อนสูง
เป็นสารก่อมะเร็ง : กระตุ้นอาการแพ้ต่อ ถุงมือยาง
1.3 ระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง ผ้าป�ดจมูก
เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์

เป็นอันตรายต่อชีวิต ถุงมือยาง
1.4 ผ้าป�ดจมูก

มีความเป็นพิษเฉียบพลัน การกัดกร่อน : ถุงมือยาง


1.5 ระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา กระตุ้นอาการ ผ้าป�ดจมูก
แพ้ต่อระบบทางเดินทางใจหรือผิวหนัง

เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำา ไม่มีอุปกรณ์
1.6 ป้องกันเพิ่มเติมแต่
ต้องระวังในการ
กำาจัดหลังใช้งาน

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
48

2. เติมเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีถ
่ ก
ู ต้อง และเติมเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีไ่ ม่ถก
ู ต้อง

... ... 2.1 สามารถใช้แว่นสายตาทดแทนแว่นนิรภัยในการทำาปฏิบัติการเคมีได้


ไม่ควรใช้แว่นสายตาทดแทนแว่นนิรภัยในการทำาปฏิบัติการเคมี
... ... 2.2 ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องปฏิบัติการเคมีเสมอ
ควรสวมรองเท้ามิดชิดส้นเตี้ยเพื่อเข้าทำาปฏิบัติการเคมี
... ... 2.3 การทดสอบปฏิกิริยาเคมีในหลอดทดลองไม่ควรหันปากหลอดทดลองไปทาง
ที่มีคน
... ... 2.4 เมือ
่ สัมผัสบีกเกอร์หรือภาชนะทีร่ อ
้ น ควรใช้ยาสีฟน
ั ทาบริเวณทีส
่ ม
ั ผัสของร้อน
เมือ
่ สัมผัสบีกเกอร์หรือภาชนะทีร่ อ
้ น ควรปฐมพยาบาลโดยการแช่มอ
ื ในน้าำ เย็น
หรือป�ดแผลด้วยผ้าชุบน้ำาจนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสำาหรับ
ไฟไหม้และน้ำาร้อนลวก
... ... 2.5 หลังทำาการทดลอง ควรทำาความสะอาดอุปกรณ์ และโต�ะให้สะอาดก่อนออก
จากห้องปฏิบัติการเคมี
... ... 2.6 ถ้าทำาสารเคมีหกบนเครื่องชั่ง ควรทำาความสะอาดทันทีโดยไม่จำาเป็นต้องป�ด
เครื่องชั่ง
ถ้าทำาสารเคมีหกบนเครื่องชั่ง ต้องป�ดเครื่องชั่งก่อนความสะอาด
... ... 2.7 การวาดกราฟแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นวิธีหนึ่งในการนำาเสนอข้อมูล
เพื่อวิเคราะห์ผล
... ... 2.8 ควรสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการทุกครั้งที่ทำาการทดลอง เพื่อป้องกันสารเคมีหก
รดถูกร่างกาย
... ... 2.9 เอกสารความปลอดภัยเป็นเอกสารทีบ
่ อกสมบัต ิ อันตราย และการปฐมพยาบาล
ของสารเคมีแต่ละชนิด
... ... 2.10 การห้ามรับประทานอาหารและเครือ
่ งดืม
่ ในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี เป็นการป้องกัน
ไม่ให้ได้รับอุบัติเหตุจากการกลืนกินสารเคมี

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
49

3. จากรูปให้นก
ั เรียนระบุวา่ บุคคลใดบ้างทีป
่ ฏิบต
ั ไิ ม่ถก
ู หลักความปลอดภัยในห้องปฏิบต
ั ก
ิ าร
พร้อมระบุว่าบุคคลนั้นปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องในเรื่องใด

บุคคลที่ปฏิบัติไม่ถูกหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ คือ B C D E และ G


โดย B สูดดมสารเคมีโดยตรง ควรใช้มือโบกให้ไอสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
C ไม่รวบผมให้เรียบร้อย เมื่อทำาปฏิบัติการจึงทำาให้เปลวไฟติดปลายผม
D ดื่มน้ำาในห้องปฏิบัติการ
E วิ่งในห้องปฏิบัติการจนทำาให้เกิดอุบัติเหตุทำาสารเคมีรดใส่เพื่อน
G รับประทานอาหารในห้องปฏิบัติการ

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
50

4. เติมเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีถ
่ ก
ู ต้อง และเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีไ่ ม่ถก
ู ต้อง

... ... 4.1 ข้างขวดน้ำาดื่มยี่ห้อหนึ่ง ระบุว่าปริมาตรน้ำาภายในขวดเท่ากับ 0.6 ลิตร


หมายความว่า น้ำาดื่มในขวดนั้นมีน้ำาปริมาตร 600 มิลลิลิตร
... ... 4.2 ใช้ปเ� ปตต์แบบปริมาตรขนาด 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ป�เปตต์สารละลาย A ถ่ายลง
ในบีกเกอร์ สารละลาย A ในบีกเกอร์มีปริมาตรเท่ากับ 10.00 มิลลิลิตร
... ... 4.3 สารละลาย B ในขวดกำาหนดปริมาตรขนาด 250 มิลลิลิตร หมายความว่า
เมื่อเทสารละลาย B ออกมาใส่บีกเกอร์สามารถวัดปริมาตรได้เท่ากับ 250
มิลลิลิตร
สารละลาย B ในขวดกำาหนดปริมาตรขนาด 250 มิลลิลิตร หมายความว่า
ปริมาตรสารละลาย B ทีบ
่ รรจุในขวดกำาหนดปริมาตรเท่ากับ 250.00 มิลลิลต
ิ ร
... ... 4.4 ในการไขสารละลายออกจากบิวเรตต์ จะอ่านเลขทศนิยมของปริมาตรของ
สารละลายได้ 2 ตำาแหน่งเสมอ
... ... 4.5 เมือ
่ ตวงสารละลาย C โดยใช้กระบอกตวงให้มป
ี ริมาตร 100.00 มล
ิ ลิลต
ิ ร แล้วเท
ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร จะสามารถอ่านปริมาตร์ของสารละลาย C
ได้เท่ากับ 100.00 มิลลิลิตร
ตวงสารละลาย C โดยใช้กระบอกตวงให้มีปริมาตร 100.00 มิลลิลิตร แล้วเท
สารละลาย C ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร จะสามารถอ่านปริมาตร
ของสารละลาย C ได้เท่ากับ 100 มิลลิลิตร

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี
51

5. ถ้าใช้อุปกรณ์ 3 ชนิด ตวงน้ำาปริมาตร 15.00 มิลลิลิตร แล้วชั่งด้วยเครื่องชั่ง โดยแต่ละ


อุปกรณ์ ทำาการทดลองซ้ำา 5 ครั้ง ได้ข้อมูลการทดลองดังต่อไปนี้

มวลน้ำ�ที่ชั่งได้ (g)
ครั้งที่
อุปกรณ์ A อุปกรณ์ B อุปกรณ์ C

1 15.12 14.88 15.02

2 15.09 14.93 14.86

3 14.98 14.92 15.37

4 14.95 15.12 15.20

5 15.02 14.81 15.41

หม�ยเหตุ ทำาการตวงน้าำ ทีอ


่ ณ
ุ หภูม ิ 30.0 องศาเซลเซียส น้าำ มีความหนาแน่น 0.995646
กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร
ให้นักเรียนเขียนกราฟความสัมพันธ์โดยแกน x เป็นครั้งที่ชั่ง และแกน y เป็นมวลน้ำาที่
ชั่งได้ (g) และตอบคำาถามต่อไปนี้

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | คว�มปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติก�รเคมี เคมี เล่ม 1
52

คำานวณาหามวลของน้ำาปริมาตร 15.00 มิลลิตร ที่อุณหภูมิ 30.0 องศาเซลเซียส ได้ดังนี้

0.995646 g
มวลของน้ำา = 15.00 mL ×
1 mL

= 14.93 g

5.1 อุปกรณ์ใดมีความเที่ยงมากที่สุด
อุปกรณ์ B
5.2 อุปกรณ์ใดมีความแม่นมากที่สุด
อุปกรณ์ A
5.3 ถ้าต้องใช้อุปกรณ์ในการทำาการทดลอง เพื่อให้ได้ความถูกต้องมากที่สุด ควรเลือก
อุปกรณ์ใด พร้อมทั้งให้เหตุผล
อาจเป็นได้ทั้ง A และ B
หากนักเรียนเลือกตอบ A ควรให้เหตุผลว่า เนื่องจาก A มีความแม่นแต่ไม่มี
ความเที่ยง เมื่อจะใช้อุปกรณ์ A ในการวัดควรทำาการวัดหลาย ๆ ซ้ำา
หากนักเรียนเลือกตอบ B ควรให้เหตุผลว่า เนื่องจาก B มีความเที่ยง ข้อมูล
ที่ได้แต่ละครั้งจึงมีความใกล้เคียงกัน หากใช้อุปกรณ์ B วัดค่าจากตัวอย่าง
มาตรฐานเพื่อทราบความแตกต่างระหว่างค่าจริงกับค่าที่ได้จากการวัด จะสามารถ
ใช้อุปกรณ์ B ในการวัดตัวอย่างอื่น ๆ ได้

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี

You might also like