You are on page 1of 223

คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่

เคมี เล่ม ๒
ตามมาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชีว้ ดั กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ตารางธาตุ

1 18
IA VIIIA
1 โลหะ 2
H
hydrogen
2 อโลหะ 13 14 15 16 17 He
helium
1.01 IIA IIIA IVA VA VIA VIIA 4.00
กึง่ โลหะ
3 4 5 6 7 8 9 10
Li Be B C N O F Ne
lithium beryllium boron carbon nitrogen oxygen fluorine neon
6.94 9.01 10.81 12.01 14.01 16.00 19.00 20.18
11 12 13 14 15 16 17 18
Na
sodium
Mg
magnesium
3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 Al
aluminium
Si
silicon
P
phosphorus
S
sulfur
Cl
chlorine
Ar
argon
22.99 24.30 IIIB IVB VB VIB VIIB VIIIB IB IIB 26.98 28.08 30.97 32.06 35.45 39.95
19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
potassium calcium scandium titanium vanadium chromium manganese iron cobalt nickel copper zinc gallium germanium arsenic selenium bromine krypton
39.10 40.08 44.96 47.87 50.94 52.00 54.94 55.85 58.93 58.69 63.55 65.38 69.72 72.63 74.92 78.97 79.90 83.80
37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe
rubidium strontium yttrium zirconium niobium molybdenum technetium ruthenium rhodium palladium silver cadmium indium tin antimony tellurium iodine xenon
85.47 87.62 88.91 91.22 92.91 95.95 101.07 102.91 106.42 107.87 112.41 114.82 118.71 121.76 127.60 126.90 131.29
55 56 57-71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86
Cs Ba lanthanoids
Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn
caesium barium hafnium tantalum tungsten rhenium osmium iridium platinum gold mercury thallium lead bismuth polonium astatine radon
132.91 137.33 178.49 180.95 183.84 186.21 190.23 192.22 195.08 196.97 200.59 204.38 207.20 208.98
87 88
*
89-103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118
Fr Ra actinoids
Rf Db Sg Bh Hs Mt Ds Rg Cn Nh Fl Mc Lv Ts Og
francium radium rutherfordium dubnium seaborgium bohrium hassium meitnerium darmstadtium roentgenium copernicium nihonium flerovium moscovium livermorium tennessine oganesson
**
57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
กลุม ธาตุ La Ce Pr Nd Pm Sm Eu Gd Tb Dy Ho Er Tm Yb Lu
lanthanum cerium praseodymium neodymium promethium samarium europium gadolinium terbium dysprosium holmium erbium thulium ytterbium lutetium
*แลนทานอยด 138.91 140.12 140.91 144.24 150.36 151.96 157.25 158.93 162.50 164.93 167.26 168.93 173.05 174.97
89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103
กลุม ธาตุ Ac Th Pa U Np Pu Am Cm Bk Cf Es Fm Md No Lr
actinium thorium protactinium uranium neptunium plutonium americium curium berkelium californium einsteinium fermium mendelevium nobelium lawrencium
**แอกทินอยด 232.04 231.04 238.03
คู่มือครู

รายวิชาเพิม
่ เติมวิทยาศาสตร์
วิชา

เคมี
ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๒
ตามผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๖๑

เผยแพร่ พฤษภาคม ๒๕๖๒


คำ�นำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้รับมอบหมายจากกระทรวง


ศึกษาธิการในการพัฒนามาตราฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ และยังมีบทบาทหน้าทีใ่ นการรับผิดชอบเกีย
่ วกับการจัดทำ�หนังสือเรียน คูม
่ อ
ื ครู แบบฝึก
ทักษะ กิจกรรม และสือ
่ การเรียนรู้ ตลอดจนวิธก
ี ารจัดการเรียนรูแ
้ ละการวัดและประเมินผล เพือ
่ ให้การ
จัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๒ นี้ จัดทำ�ขึ้นเพื่อ
ประกอบการใช้หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๒ โดย
ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามการเรียนรู้เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในสาระเคมี
โดยมีตารางวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ การให้ความรู้เพิ่มเติมที่จำ�เป็นสำ�หรับครูผู้สอน รวมทั้งการเฉลย
คำ�ตอบ และแบบฝึกหัดในหนังสือเรียน
สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญใน
การพัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการศึกษา กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขอขอบคุณผู้ทรง
คุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มี่ส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้
คำ�ชี้แจง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดและสาระการ


เรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกน
กลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
ความสามารถที่ ทั ด เที ย มกั บ นานาชาติ ได้ เ รี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ที่ เ ชื่ อ มโยงความรู้ กั บ กระบวนการ
ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ
เพือ
่ ให้ผเู้ รียนได้ใช้ทก
ั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึง่ ในปีการศึกษา
๒๕๖๑ เป็นต้นไปโรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
๒๕๖๐) สสวท.ได้มก
ี ารจัดทำ�หนังสือเรียนทีเ่ ป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพือ
่ ให้โรงเรียนได้ใช้ส�ำ หรับ
จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเพื่อให้ครูผู้สอนสามารถสอนและจัดกิจกรรมต่างๆ ตามหนังสือ
เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ�คู่มือครูสำ�หรับใช้ประกอบหนังสือเรียนดังกล่าว
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๒ นี้ ได้บอกแนวการ
จัดการเรียนการสอนตามเนือ
้ หาในหนังสือเรียนเกีย
่ วกับ การคำ�นวณเกีย
่ วกับมวลอะตอม มวลโมเลกุล
และสูตรมวล ความสัมพันธ์ของโมล จำ�นวนอนุภาค มวลและปริมาตรของแก๊สที่ STP การคำ�นวณสูตร
อย่างง่ายและสูตรโมเลกุลของสาร ความเข้มข้นของสารละลายและการเตรียมสารละลาย ซึง่ ครูผส
ู้ อน
สามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรูใ้ ห้บรรลุจด
ุ ประสงค์ทต
ี่ งั้ ไว้ โดยสามารถ
นำ�ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของโรงเรียน ในการจัดทำ�คู่มือครู
เล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ รวมทั้งครูผู้สอน
นักวิชาการ จากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เล่ม ๒ นี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาด้าน
วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่ง
ขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วยจะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการใช้คู่มือครู

วิทยาศาสตร์มค
ี วามเกีย
่ วข้องกับทุกคนทัง้ ในชีวต
ิ ประจำ�วันและการงานอาชีพต่าง ๆ
รวมทัง้ มีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในการอำ�นวยความสะดวกทัง้ ในชีวต

และการทำ�งาน นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยพัฒนาวิธีคิดและทำ�ให้มีทักษะที่จำ�เป็นใน
การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และ
ทักษะที่สำ�คัญตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำ�คัญยิ่ง ซึ่ง
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขต และข้อจำ�กัดของวิทยาศาสตร์
3. เพือ
่ ให้เกิดทักษะทีส
่ �ำ คัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพือ
่ พัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปญ
ั หาและการจัดการ
ทักษะในการสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ
5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และ
สภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
6. เพือ
่ นำ�ความรูค
้ วามเข้าใจเรือ
่ งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ

สังคมและการดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณค่า
7. เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

คู่มือครูเป็นเอกสารที่จัดทำ�ขึ้นควบคู่กับหนังสือเรียน สำ�หรับให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางใน
การจัดการเรียนรูเ้ พือ
่ ให้นก
ั เรียนได้รบ
ั ความรูแ
้ ละมีทก
ั ษะทีส
่ �ำ คัญตามจุดประสงค์การเรียน
รูใ้ นหนังสือเรียน ซึง่ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ รวมทัง้ มีสอ
ื่ การเรียนรูใ้ นเว็บไซต์ทส
ี่ ามารถ
เชื่ อ มโยงได้ จ าก QR code หรื อ URL ท่ี อ ยู่ ป ระจำ � แต่ ล ะบท ซึ่ ง ครู ส ามารถใช้
ส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ อย่างไรก็ตามครู
อาจพิ จ ารณาดั ด แปลงหรื อ เพิ่ ม เติ ม การจั ด การเรี ย นรู้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ บริ บ ทของแต่ ล ะ
ห้องเรียนได้ โดยคู่มือครูมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

ผลการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้เป็นผลลัพธ์ที่ควรเกิดกับนักเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะ ซึ่งช่วยให้ครูได้
ทราบเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้
สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ได้ ทั้งนี้ครูอาจเพิ่มเติมเนื้อหาหรือทักษะตามศักยภาพของ
นักเรียน รวมทั้งอาจสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความ
เข้าใจมากขึ้นได้

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ
จิตวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละผลการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้

ผังมโนทัศน์
แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อ
ช่วยให้ครูเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในบทเรียน

สาระสำ�คัญ
การสรุปเนือ
้ หาสำ�คัญของบทเรียน เพือ
่ ช่วยให้ครูเห็นกรอบเนือ
้ หาทัง้ หมด รวมทัง้ ลำ�ดับของ
เนื้อหาในบทเรียนนั้น

เวลาที่ใช้
เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูอาจดำ�เนินการตามข้อเสนอแนะที่กำ�หนดไว้ หรืออาจ
ปรับเวลาได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

ความรู้ก่อนเรียน
คำ�สำ�คัญหรือข้อความที่เป็นความรู้พื้นฐาน ซึ่งนักเรียนควรมีก่อนที่จะเรียนรู้เนื้อหาใน
บทเรียนนั้น
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน
ชุดคำ�ถามและเฉลยทีใ่ ช้ในการตรวจสอบความรูก
้ อ
่ นเรียนตามทีร่ ะบุไว้ในหนังสือเรียน เพือ

ให้ครูได้ตรวจสอบและทบทวนความรูใ้ ห้นก
ั เรียนก่อนเริม
่ กิจกรรมการจัดการเรียนรูใ้ นแต่ละ
บทเรียน

การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้ออาจมีองค์ประกอบแตกต่างกัน​​​​​​​​​​​​​​​​​โดยรายละเอียดแต่ละ
องค์ประกอบ เป็นดังนี้

• จเปุ้ดาประสงค์ การเรียนรู้
หมายของการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้หรือทักษะหลังจาก
ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรูใ้ นแต่ละหัวข้อ ซึง่ สามารถวัดและประเมินผลได้ ทัง้ นีค
้ รูอาจ
ตั้งจุดประสงค์เพิ่มเติมจากที่ให้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

• คเนืวามเข้ าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
้อหาที่นักเรียนอาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบบ่อย ซึ่งเป็นข้อมูลให้ครูได้
พึงระวังหรืออาจเน้นย้�ำ ในประเด็นดังกล่าวเพือ
่ ป้องกันการเกิดความเข้าใจทีค
่ ลาดเคลือ
่ นได้

• สสือ่ื่อการเรี
การเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
ยนรูแ
้ ละแหล่งการเรียนรูท
้ ใ่ี ช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น บัตรคำ� วีดท
ิ ศ
ั น์
เว็บไซต์ ซึ่งครูควรเตรียมล่วงหน้าก่อนเริ่มการจัดการเรียนรู้

• แแนวทางการจั
นวการจัดการเรียนรู้
ดการเรียนรูท
้ ส
่ี อดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีการนำ�เสนอทัง้
ในส่วนของเนื้อหาและกิจกรรมเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด ทั้งนี้ครูอาจปรับหรือเพิ่มเติม
กิจกรรมจากทีใ่ ห้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

กิจกรรม
การปฏิบต
ั ท
ิ ช
ี่ ว่ ยในการเรียนรูเ้ นือ
้ หาหรือฝึกฝนให้เกิดทักษะตามจุดประสงค์การเรียนรู้
ของบทเรียน โดยอาจเป็นการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่ง
ควรให้ นั ก เรี ย นลงมื อ ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมด้ ว ยตนเอง โดยองค์ ป ระกอบของกิ จ กรรมมี
รายละเอียดดังนี้
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

- จุดประสงค์
เป้าหมายทีต
่ อ
้ งการให้นก
ั เรียนเกิดความรูห
้ รือทักษะหลังจากผ่านกิจกรรมนัน

- วัสดุ และอุปกรณ์
รายการวัสดุ อุปกรณ์ หรือสารเคมี ที่ต้องใช้ในการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูควรเตรียมให้
เพียงพอสำ�หรับการจัดกิจกรรม

- การเตรียมล่วงหน้า
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้าสำ�หรับการจัดกิจกรรม เช่น การเตรียม
สารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่าง ๆ การเตรียมตัวอย่างสิง่ มีชวี ต

- ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ข้อมูลที่ให้ครูแจ้งต่อนักเรียนให้ทราบถึ งข้ อควรระวั ง ข้ อควรปฏิ บัติ หรื อข้ อมู ล
เพิ่มเติมในการทำ�กิจกรรมนั้น ๆ

- ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตัวอย่างผลการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอืน
่ ๆ เพือ
่ ให้ครูใช้
เป็นข้อมูลสำ�หรับตรวจสอบผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียน

- อภิปรายและสรุปผล
ตัวอย่างข้อมูลที่ควรได้จากการอภิปรายและสรุปผลการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูอาจใช้
คำ�ถามท้ายกิจกรรมหรือคำ�ถามเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นักเรียนอภิปรายในประเด็น
ที่ต้องการ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดและอภิปรายถึงปัจจัยต่าง ๆ
ทีท
่ �ำ ให้ผลของกิจกรรมเป็นไปตามทีค
่ าดหวัง หรืออาจไม่เป็นไปตามทีค
่ าดหวัง

นอกจากนี้อาจมีความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ
เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ควรนำ�ไปเพิ่มเติมให้นักเรียน เพราะเป็นส่วนที่เสริมจากเนื้อหาที่มีในหนังสือ
เรียน
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู


• แนวทางการวัดและประเมินผล
แนวทางการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งประเมิน
ทั้ ง ด้ า นความรู้ ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21 และ
จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ควรเกิดขึ้นหลังจากได้เรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ ผลที่ได้จากการ
ประเมินจะช่วยให้ครูทราบถึงความสำ�เร็จของการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งใช้เป็นแนวทาง
ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียน

เครื่องมือวัดและประเมินผลมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ
แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ซึง่ ครูอาจเลือกใช้เครือ
่ งมือ
สำ�หรับการวัดและประเมินผลจากเครื่องมือมาตรฐานที่มีผู้พัฒนาไว้แล้ว ดัดแปลงจาก
เครื่องมือที่ผู้อ่ืนทำ�ไว้แล้ว หรือสร้างเครื่องมือใหม่ข้ึนเอง ตัวอย่างของเครื่องมือวัดและ
ประเมินผล ดังภาคผนวก


• เฉลยคำ�ถาม
แนวคำ�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียนและคำ�ถามท้ายบทเรียนในหนังสือเรียน เพือ
่ ให้
ครูใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบการตอบคำ�ถามของนักเรียน
- เฉลยคำ�ถามระหว่างเรียน
แนวคำ�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียนซึง่ มีทง้ั คำ�ถามชวนคิด ตรวจสอบความเข้าใจ
และแบบฝึกหัด ทั้งนี้ครูควรใช้คำ�ถามระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความ
เข้าใจของนักเรียนก่อนเริ่มเนื้อหาใหม่ เพื่อให้สามารถปรับการจัดการเรียนรู้ให้
เหมาะสมต่อไป

- เฉลยคำ�ถามท้ายบทเรียน
แนวคำ�ตอบของแบบฝึกหัดท้ายบท ซึง่ ครูควรใช้ค�ำ ถามท้ายบทเรียนเพือ
่ ตรวจสอบ
ว่า หลังจากเรียนจบบทเรียนแล้ว นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด
เพื่อให้สามารถวางแผนการทบทวนหรือเน้นย้ำ�เนื้อหาให้กับนักเรียนก่อนการ
ทดสอบได้
สารบัญ

4
บทที่ 4 โมลและสูตรเคมี 1
ผลการเรียนรู้ 1
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 1
ผังมโนทัศน์ 3
สาระสำ�คัญ 4
เวลาที่ใช้ 4
ǩǕǖǛDžǏǑǐǗǣǘความรู้ก่อนเรีǛLjǴ
4.1 มวลอะตอม 6
โมลและสูตรเคมี
เฉลยแบบฝึกหัด 4.1 8
4.2 โมล 12
เฉลยแบบฝึกหัด 4.2 18
เฉลยแบบฝึกหัด 4.3 22
เฉลยแบบฝึกหัด 4.4 30
4.3 สูตรเคมี 32
เฉลยแบบฝึกหัด 4.5 36
เฉลยแบบฝึกหัด 4.6 37
เฉลยแบบฝึกหัด 4.7 40
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 49
สารบัญ

5
บทที่ 5 สารละลาย 58
ผลการเรียนรู้ 58
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 58
ผังมโนทัศน์ 60
สาระสำ�คัญ 61
เวลาที่ใช้ 61
ǩǕǖǛDžǏǑǐǗǣǘǁǑǥljǏ̀˥ƮˣǣLjǩǏ˱ǛLjǶDZ
ความเข้มข้นของสารละลาย
5.1 64
สารละลาย
เฉลยแบบฝึกหัด 5.1 70
5.2 การเตรียมสารละลาย 76
เฉลยแบบฝึกหัด 5.2 82
5.3 สมบัติบางประการของสารละลาย 90
เฉลยแบบฝึกหัด 5.3 100
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 104
สารบัญ

6
บทที่ 6 ปริมาณสัมพันธ์ 111
ผลการเรียนรู้ 111
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 111
ผังมโนทัศน์ 113
สาระสำ�คัญ 114
เวลาที่ใช้ 114

ปริมาณสัมพันธ์ 6.1 ปฏิกิริยาเคมี และ 6.2 สมการเคมี 116


เฉลยแบบฝึกหัด 6.1 126
6.3 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี 132
เฉลยแบบฝึกหัด 6.2 143
เฉลยแบบฝึกหัด 6.3 146
เฉลยแบบฝึกหัด 6.4 148
เฉลยแบบฝึกหัด 6.5 150
6.4 สารกำ�หนดปริมาณ และ 6.5 ผลได้ร้อยละ 155
เฉลยแบบฝึกหัด 6.6 162
เฉลยแบบฝึกหัด 6.7 168
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 170
สารบัญ

ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล 192
ภาคผนวก

บรรณานุกรม 206
คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู 207
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
1

บทที่ 4

โมลและสูตรเคมี ipst.me/7705

ผลการเรียนรู้

1. บอกความหมายของมวลอะตอมของธาตุ และคำ�นวณมวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุ มวลโมเลกุล
และมวลสูตร
2. อธิบายและคำ�นวณปริมาณใดปริมาณหนึ่งจากความสัมพันธ์ของโมล จำ�นวนอนุภาค มวล
และปริมาตรของแก๊สที่ STP
3. คำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบตามกฎสัดส่วนคงที่
4. คำ�นวณสูตรอย่างง่ายและสูตรโมเลกุลของสาร

การวิิเคราะห์ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้
1. บอกความหมายของมวลอะตอมของธาตุ และคำ�นวณมวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุ มวลโมเลกุล
และมวลสูตร
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของมวลอะตอมของธาตุ มวลอะตอมสัมพัทธ์ และมวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุ
2. คำ�นวณมวลอะตอมของธาตุและมวลอะตอมสัมพัทธ์
3. คำ�นวณมวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จำ�นวน - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วิจารณญาณ

ผลการเรียนรู้
2. อธิบายและคำ�นวณปริมาณใดปริมาณหนึ่งจากความสัมพันธ์ของโมล จำ�นวนอนุภาค มวล
และปริมาตรของแก๊สที่ STP

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
2

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของโมลและเลขอาโวกาโดร
2. คำ�นวณมวลโมเลกุลและมวลสูตร
3. อธิบายความสัมพันธ์ของโมล มวล จำ�นวนอนุภาค และปริมาตรของแก๊สที่ STP
4. คำ�นวณปริมาณสารจากความสัมพันธ์ของโมล มวล จำ�นวนอนุภาค และปริมาตรของแก๊สที่ STP

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จำ�นวน 1. การสื่อสารสารสนเทศและ 1. ความรอบคอบ
การรู้เท่าทันสื่อ
2. ความร่ ว มมื อ การทำ � งาน
เป็นทีมและภาวะผู้นำ�

ผลการเรียนรู้
3. คำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบตามกฎสัดส่วนคงที่
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบตามกฎสัดส่วนคงที่

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จำ�นวน - 1. ความรอบคอบ

ผลการเรียนรู้
4. คำ�นวณสูตรอย่างง่ายและสูตรโมเลกุลของสาร
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของสูตรอย่างง่ายและสูตรโมเลกุลของสาร
2. คำ�นวณมวลเป็นร้อยละของธาตุองค์ประกอบ
3. คำ�นวณสูตรอย่างง่ายจากอัตราส่วนโดยโมลของธาตุองค์ประกอบ
4. คำ�นวณสูตรโมเลกุลของสาร จากสูตรอย่างง่ายและมวลโมเลกุลของสาร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
3

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จำ�นวน 1. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 1. การใช้วิจารณญาณ
2. การลงความเห็นจากข้อมูล การรู้เท่าทันสื่อ 2. ความใจกว้าง
3. การตีความหมายข้อมูลและ 3. ความรอบคอบ
ลงข้อสรุป

ผังมโนทัศน์
บทที่ 4 โมลและสูตรเคมี

มวลต่อโมล

จำ�นวนอนุภาคของสาร
มวลโมเลกุล มวลสูตร
มวล ปริมาตรของแก๊ส ที่ STP

มวลอะตอม โมล

โมลและสูตรเคมี

การคำ�นวณเกี่ยวกับสูตรเคมี

กฎสัดส่วนคงที่ ร้อยละโดยมวล สูตรอย่างง่าย

อัตราส่วนโดยมวล สูตรโมเลกุล

อัตราส่วนโดยโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
4

สาระสำ�คัญ

มวลอะตอมเป็นมวลของธาตุ 1 อะตอม แต่อะตอมมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถชัง่ ได้โดยตรง จึง


นิยมใช้มวลอะตอมสัมพัทธ์ ซึง่ ได้จากการเปรียบเทียบมวลอะตอมกับมวลของธาตุมาตรฐาน ซึง่ ปัจจุบน

ใช้ 12C เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบมวล มวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุเป็นค่าเฉลีย
่ จากค่ามวลอะตอม
ของแต่ละไอโซโทปของธาตุชนิดนัน
้ ตามปริมาณทีม
่ ใี นธรรมชาติ มวลโมเลกุลและมวลสูตรเป็นผลรวม
ของมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารนั้น
โมลเป็นปริมาณสารที่มีจำ�นวนอนุภาคเท่ากับเลขอาโวกาโดรหรือค่าคงตัวอาโวกาโดร คือ
6.02 × 1023 อนุภาค มวลของสาร 1 โมล ที่มีหน่วยเป็นกรัม เรียกว่า มวลต่อโมล ซึ่งมีค่าตัวเลขเท่ากับ
มวลอะตอม มวลโมเลกุลหรือมวลสูตรของสารนั้น สำ�หรับสารที่มีสถานะแก๊ส 1 โมล จะมีปริมาตร
เท่ากับ 22.4 ลิตรที่ STP
สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุ
อัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบในสารประกอบสามารถแสดงในรูปของร้อยละโดยมวล
ประกอบคงที่เสมอตามกฎสัดส่วนคงที่
สูตรเคมีสามารถแสดงได้ดว้ ยสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั หรือสูตรอย่างง่าย และสูตรโมเลกุล ซึง่ สูตรอย่างง่าย
สามารถคำ�นวณได้จากอัตราส่วนโดยโมลของธาตุองค์ประกอบ และถ้าทราบมวลโมเลกุลของสารจะ
สามารถคำ�นวณสูตรโมเลกุลได้

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 20 ชั่วโมง
4.1 มวลอะตอม 2 ชั่วโมง
4.2 โมล 9 ชั่วโมง
4.3 สูตรเคมี 9 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

เลขนัยสำ�คัญ หน่วยวัด แฟกเตอร์เปลีย


่ นหน่วย วิธก
ี ารเทียบหน่วย อนุภาคในอะตอม ไอโซโทป
พันธะเคมี และสูตรเคมี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
5

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน

ใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเครื่องหมาย หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง

... ... 1. อะตอมของธาตุประกอบด้วยอนุภาคที่สำ�คัญ 3 ชนิดคือ โปรตอน นิวตรอน และ


อิเล็กตรอน
... ... 2. อิเล็กตรอนมีมวลมากกว่าโปรตอนประมาณ 1800 เท่า
อิเล็กตรอนมีมวลน้อยกว่าโปรตอนประมาณ 1800 เท่า
... ... 3. โปรตอนและนิวตรอนมีมวลใกล้เคียงกัน ซึ่งมีค่าประมาณ 1.66 × 10-24 กรัม
... ... 4. 42He เป็นสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุฮีเลียม
... ... 5. ไอโซโทป หมายถึง ธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำ�นวนโปรตอนไม่เท่ากัน
ไอโซโทป หมายถึง ธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำ�นวนโปรตอนเท่ากัน แต่มีจำ�นวน
นิวตรอนไม่เท่ากัน
... ... 6. เมทานอลมีสูตรเคมีเป็น CH3OH เป็นสารประกอบไอออนิก
เมทานอลมีสูตรเคมีเป็น CH3OH เป็นสารประกอบโคเวเลนต์
... ... 7. แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เป็นสารโคเวเลนต์
แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เป็นสารประกอบไอออนิก
... ... 8. เอทานอล (CH 3CH 2OH) 1 โมเลกุ ล มี จ ำ � นวนธาตุ อ งค์ ป ระกอบเท่ า กั บ
ไดเมทิลอีเทอร์ (CH3OCH3) 1 โมเลกุล
... ... 9. เอทานอลมีความหนาแน่น 0.789 กรัมต่อมิลลิลิตร ถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยเป็น
กิโลกรัมต่อลิตร ต้องใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย 1 kg และ 1000 mL
1000 g 1L

... ... 10. สารประกอบไอออนิกไม่มส


ี ต
ู รโมเลกุล เนือ
่ งจากมีโครงสร้างต่อเนือ
่ งไปเป็นสามมิติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
6

4.1 มวลอะตอม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของมวลอะตอมของธาตุ มวลอะตอมสัมพัทธ์ และมวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุ
2. คำ�นวณมวลอะตอมของธาตุและมวลอะตอมสัมพัทธ์
3. คำ�นวณมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ตัวเลขมวลอะตอมในตารางธาตุเป็นมวลอะตอม ตัวเลขมวลอะตอมในตารางธาตุเป็นมวลอะตอม
ของธาตุ เฉลี่ยของธาตุ แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า มวลอะตอม

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตั้งคำ�ถามโดยใช้แนวคำ�ถาม ดังนี้
- มวลอะตอมของธาตุ หาได้อย่างไรและมีคา่ เท่าใด
นักเรียนควรตอบได้ว่า หาได้จากผลรวมของมวลโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่
อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก มวลอะตอมจึงมีคา่ ใกล้เคียงกับผลรวมของมวลโปรตอนและนิวตรอน ซึง่ มี
ค่าน้อยมากในหน่วยกรัมหรือกิโลกรัม
- อะตอมของแต่ละธาตุมม
ี วลเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด
นักเรียนควรตอบได้วา่ ไม่เท่ากัน เนือ
่ งจากธาตุแต่ละชนิดมีจ�ำ นวนโปรตอนและนิวตรอนไม่เท่ากัน
จากนั้นครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการหามวลอะตอมซึ่งไม่สามารถหาได้ด้วยวิธีการ
ชั่งมวล เพื่อนำ�เข้าสู่วิธีการหามวลอะตอมสัมพัทธ์โดยเปรียบเทียบกับธาตุมาตรฐาน
2. ครูให้ความรูเ้ กีย
่ วกับมวลอะตอมสัมพัทธ์ซงึ่ เป็นค่าทีไ่ ม่มห
ี น่วยกำ�กับ และวิธก
ี ารเปรียบเทียบ
มวลอะตอมของธาตุกับธาตุมาตรฐาน โดยปัจจุบันใช้ 12C ที่เป็นไอโซโทปหลักของคาร์บอนเป็นธาตุ
มาตรฐานในการเปรียบเทียบจากนั้นครูอธิบายการคำ�นวณโดยยกตัวอย่างประกอบ
3. ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับไอโซโทปของธาตุ แล้วให้ความรู้เกี่ยวกับมวลอะตอมและ
12
ปริมาณของไอโซโทปในธรรมชาติ เช่น คาร์บอนมี 3 ไอโซโทป คือ C มีมวลอะตอม 12.0000
13
ในธรรมชาติมีอยู่ร้อยละ 98.930 C มีมวลอะตอม 13.0034 ในธรรมชาติมีอยู่ร้อยละ 1.070
14
ส่ ว น C เป็ น ไอโซโทปกั ม มั น ตรั ง สี มี ป ริ ม าณน้ อ ยมาก แล้ ว อภิ ป รายร่ ว มกั น เกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารหา
มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ ซึ่งหาได้จาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
7

ผลรวมของ [(%ไอโซโทป)(มวลอะตอมของไอโซโทป)]
มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ =
100

จากนั้นคำ�นวณมวลอะตอมเฉลี่ยของคาร์บอน ซึ่งคำ�นวณได้เท่ากับ 12.011


4. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นพิ จ ารณามวลอะตอมในตารางธาตุ เพื่ อ อภิ ป รายและลงข้ อ สรุ ป ว่ า ค่ า
มวลอะตอมทีป
่ รากฏในตารางธาตุเป็นค่ามวลอะตอมเฉลีย
่ ซึง่ นิยมเรียกว่า มวลอะตอม ซึง่ สังเกตได้จาก
ค่ามวลอะตอมของคาร์บอนในตารางธาตุไม่เท่ากับ 12.0000 แต่เท่ากับ 12.01 จากนั้นยกตัวอย่าง
มวลอะตอมของธาตุอื่น ๆ ที่ปรากฏในตารางธาตุเปรียบเทียบกับค่ามวลอะตอมเฉลี่ยในตาราง 4.1
5. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.1 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับความหมายของมวลอะตอม มวลอะตอมสัมพัทธ์ และมวลอะตอมเฉลีย
่ ของ
ธาตุ และวิธก
ี ารคำ�นวณ จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จ�ำ นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด
3. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความใจกว้างและและการใช้วจ
ิ ารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
8

แบบฝึกหัด 4.1

1. มวลอะตอมสัมพัทธ์ของไฮโดรเจนเท่ากับ 1.01 ไฮโดรเจน 1 อะตอม มีมวลกีก


่ รัม

มวลอะตอมสัมพัทธ์ของไฮโดรเจน = มวลของไฮโดรเจน-241 อะตอม


1.66 × 10 g
มวลของไฮโดรเจน 1 อะตอม = มวลอะตอมสัมพัทธ์ของไฮโดรเจน × 1.66 × 10-24 g

-24
= 1.01 × 1.66 × 10 g

-24
= 1.68 × 10 g

้ ไฮโดรเจน 1 อะตอมมีมวล 1.68 × 10-24 กรัม


ดังนัน

2. มวลอะตอมสัมพัทธ์ของโซเดียมเท่ากับ 22.99 โซเดียม 1 อะตอมมีมวลเป็นกีเ่ ท่าของ 1


12
มวลของคาร์บอน–12 1 อะตอม

มวลอะตอมสัมพัทธ์ของโซเดียม = มวลของโซเดียม 1 อะตอม (g)


1 มวลของ12C 1 อะตอม (g)
12
22.99 = มวลของโซเดียม 1 อะตอม (g)
1 มวลของ12C 1 อะตอม (g)
12
มวลของโซเดียม 1 อะตอม (g) = 22.99 × 1 มวลของ 12C 1 อะตอม (g)
12
้ โซเดียม 1 อะตอมมีมวลเป็น 22.99 เท่าของ 1 มวลของ 12C 1 อะตอม
ดังนัน
12

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
9

3. จงหามวลอะตอมสัมพัทธ์ของ 32S เมือ


่ 32S 1 อะตอมมีมวล 53.05 × 10-24 กรัม และค่าที่
คำ�นวณได้มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าทีป
่ รากฏในตารางธาตุ อธิบายได้อย่างไร
มวลอะตอมของ 32S (g)
มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ 32S =
1.66 × 10-24 g
53.05 × 10-24 g
=
1.66 × 10-24 g
= 31.96

ดังนั้น มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ 32S เท่ากับ 31.96 ซึ่งมีค่าน้อยกว่ามวลอะตอมใน


ตารางธาตุ ทีม
่ ค ่ งจากค่านีเ้ ป็นมวลอะตอมสัมพัทธ์ของไอโซโทป 32S
ี า่ เท่ากับ 32.06 เนือ
แต่มวลอะตอมในตารางธาตุเป็นมวลอะตอมเฉลีย
่ แสดงว่าในธรรมชาติมก
ี �ำ มะถันไอโซโทป
อืน
่ ทีม
่ ม
ี วลอะตอมของไอโซโทปมากกว่า 32.06

4. ธาตุออกซิเจนมีมวลอะตอมสัมพัทธ์ 16.00 ธาตุ A 1 อะตอมมีมวลเป็น 4 เท่าของมวลของ


ออกซิเจน 2 อะตอม ธาตุ A จะมีมวลอะตอมสัมพัทธ์เท่าใด

หามวลของ O
-24
มวลของ O 1 อะตอม = มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ O × 1.66 × 10 g

= 16.00 × 1.66 × 10-24 g

หามวลอะตอมของ A หรือ มวลของ A 1 อะตอม


-24
มวลของ O 2 อะตอม = 2 × 16.00 × 1.66 × 10 g
-24
มวลอะตอมของ A = 4 × 2 × 16.00 × 1.66 × 10 g

หามวลอะตอมสัมพัทธ์ของ A
มวลอะตอมของ A (g)
มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ A =
-24
1.66 × 10 g
-24
= 4 × 2 × 16.00 × 1.66
-24
× 10 g
1.66 × 10 g
= 128

ดังนัน
้ มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ A เท่ากับ 128

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
10

5. จงหามวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุอริ เิ ดียม (Ir) จากข้อมูลต่อไปนี้

มวลอะตอมของ ปริมาณร้อยละใน
ไอโซโทป
ไอโซโทป ธรรมชาติ
Ir – 191 191.961 37.30
Ir – 193 192.963 62.70

มวลอะตอมของ Ir = (191.961 × 37.300) + (192.963 × 62.700)


100
= 192.22

ดังนัน
้ มวลอะตอมของ Ir เท่ากับ 192.22

6. ธาตุซล
ิ ค
ิ อน (Si) ทีพ
่ บในธรรมชาติมี 3 ไอโซโทป มีมวลอะตอมของแต่ละไอโซโทปเท่ากับ
27.98 28.98 และ 29.97 โดยมีปริมาณร้อยละ 92.21 4.70 และ 3.09 ตามลำ�ดับ จง
หามวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุซล
ิ ค
ิ อน

มวลอะตอมเฉลีย ิ อน = (92.21 × 27.98) + (4.70 × 28.98) + (3.09 × 29.97)


่ ของซิลค
100
= 28.09

ดังนัน
้ มวลอะตอมของซิลค
ิ อนเท่ากับ 28.09

107
7. ธาตุเงิน (Ag) ทีพ
่ บในธรรมชาติมี 2 ไอโซโทปคือ Ag มีมวลอะตอมเท่ากับ 106.91
109
และ Ag พบในธรรมชาติรอ
้ ยละ 48.16 ถ้าธาตุเงินมีมวลอะตอมเฉลีย
่ เท่ากับ 107.87
จงคำ�นวณหามวลอะตอมของ 109Ag

กำ�หนดให้

มวลอะตอมของ 109Ag = Z

ปริมาณเป็นร้อยละของ 109Ag = 51.82

้ ปริมาณร้อยละของ 107Ag = 100 – 51.82 = 48.18


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
11

(48.18 × 106.91) + (51.82 × Z)


มวลอะตอมเฉลีย
่ ของ Ag =
100
5150 + 51.82 Z
107.87 =
100
Z = 108.8

้ มวลอะตอมของ 109Ag เท่ากับ 108.8


ดังนัน

8. ธาตุยโู รเพียม (Eu) พบในธรรมชาติ 2 ไอโซโทปคือ 151Eu มีมวลอะตอมเท่ากับ 150.92


153
และ Eu มีมวลอะตอมเท่ากับ 152.92 ถ้ามวลอะตอมเฉลีย
่ ของธาตุยโู รเพียม เท่ากับ
151.96 จงหาปริมาณร้อยละของธาตุยโู รเพียมแต่ละไอโซโทป

กำ�หนดให้

ปริมาณร้อยละของ 151Eu ในธรรมชาติ = A

้ ปริมาณร้อยละของ 153Eu ในธรรมชาติ


ดังนัน = 100 – A

่ ของ Eu = (A × 150.92) + [(100 - A) × (152.92)]


มวลอะตอมเฉลีย
100
151.96 = 150.92 A + 15292 - 152.92 A
100
A = 48.00

151 153
ดังนั้น ปริมาณของ Eu ในธรรมชาติมีร้อยละ 48.00 และปริมาณของ Eu ใน
ธรรมชาติมรี อ
้ ยละ 52.00

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
12

4.2 โมล
4.2.1 มวลต่อโมล
4.2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล และปริมาตรของแก๊ส

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของโมลและเลขอาโวกาโดร
2. คำ�นวณมวลโมเลกุลและมวลสูตร
3. อธิบายความสัมพันธ์ของโมล มวล จำ�นวนอนุภาค และปริมาตรของแก๊สที่ STP
4. คำ�นวณปริมาณสารจากความสัมพันธ์ของ โมล มวล จำ�นวนอนุภาค และปริมาตรของแก๊สที่ STP

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

หน่วยโมลใช้กับอะตอมเท่านั้น หน่วยโมลใช้ได้กับทั้งอะตอม ไอออน โมเลกุล


หรือหน่วยสูตร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตรวจสอบความรูเ้ ดิมเกีย ่ วกับหน่วยวัดปริมาณในชีวต
ิ ประจำ�วัน เช่น กรัม ลิตร โหล เพือ

เชือ
่ มโยงเข้าสูก
่ ารบอกปริมาณสารเคมีทอ ่ี าจบอกเป็นหน่วยมวล หน่วยปริมาตร หรือหน่วยแสดงจำ�นวน
อนุภาค แล้วเชือ ่ มโยงเข้าสูห
่ น่วยโมล โดยอธิบายความหมายของโมลทีส ่ ม
ั พันธ์กบ
ั เลขอาโวกาโดร หรือ
-24
ค่าคงตัวอาโวกาโดร และให้สงั เกตว่า เลขอาโวกาโดรเป็นส่วนกลับของ 1.66 × 10 ซึง่ เท่ากับ 1 หน่วย
มวลอะตอม
2. ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาตาราง 4.2 เพือ
่ ให้ได้ขอ
้ สรุปว่า หน่วยโมลสามารถใช้ในการบอกจำ�นวน
อนุภาคซึง่ อาจเป็นอะตอม โมเลกุล ไอออน หรืออืน
่ ๆ ขึน
้ อยูก
่ บ
ั ประเภทของสาร จากนัน
้ อธิบายเกีย
่ วกับ
การหาจำ�นวนอะตอมหรือไอออนที่เป็นองค์ประกอบของสาร โดยพิจารณาจากสูตรเคมีและความ
สัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนโมลและจำ�นวนอนุภาคของสาร แล้วให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามเพือ
่ ตรวจสอบความ
เข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
13

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. น้�ำ (H2O) 0.5 โมล ประกอบด้วยไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) อย่างละกีโ่ มลและคิด
เป็นอย่างละกีอ
่ ะตอม
2 mol H
จำ�นวนโมลของ H = 0.5 mol H2O ×
1 mol H2O
= 1 mol H
ดังนัน
้ น้�ำ 0.5 โมล ประกอบด้วยไฮโดรเจน 1 โมล และมีจ�ำ นวนอะตอมของไฮโดรเจน
เท่ากับ 6.02 × 1023 อะตอม
1 mol O
จำ�นวนโมลของ O = 0.5 mol H2O ×
1 mol H2O
= 0.5 mol O
6.02 × 1023 atom O
จำ�นวนอะตอมของ O = 0.5 mol O ×
1 mol O
23
= 3.01 × 10 atom O
ดังนัน
้ น้�ำ 0.5 โมล ประกอบด้วยออกซิเจน 0.5 โมล และมีจ�ำ นวนอะตอมของออกซิเจน
เท่ากับ 3.01 × 1023 อะตอม

2. แคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) 2 โมล ประกอบด้วยแคลเซียมไอออน (Ca2+) และฟอสเฟต


ไอออน (PO43-) อย่างละกีไ่ อออน
จำ�นวนไอออนของ Ca2+
23 2+
= 2 mol Ca3(PO4)2 × 3 mol Ca2+ × 6.02 × 10 ion Ca
1 mol Ca3(PO4)2 1 mol Ca2+
= 3.61 × 1024 ion Ca2+

จำ�นวนไอออนของ PO43-
2 mol PO43- 6.02 × 1023 ion PO43-
= 2 mol Ca3(PO4)2 × ×
1 mol Ca3(PO4)2 1 mol PO43-
24 3-
= 2.41 × 10 ion PO4
้ แคลเซียมฟอสเฟต 2 โมล ประกอบด้วยแคลเซียมไอออน 3.61 × 1024 ไอออน
ดังนัน
และฟอสเฟตไอออน 2.41 × 1024 ไอออน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
14

3. ครูอธิบายว่า เนื่องจากสารมีจำ�นวนโปรตอนและนิวตรอนไม่เท่ากัน ดังนั้นสารแต่ละชนิด


ปริมาณ 1 โมล อาจมีมวลและปริมาตรไม่เท่ากัน โดยใช้รป
ู 4.1 ประกอบการอธิบาย จากนัน
้ ครูอธิบาย
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย จากความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนโมลและจำ�นวน
อนุภาค
4. ให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.2 เพือ
่ ทบทวนความรู้
5. ครูตง้ั คำ�ถามว่าคาร์บอน–12 1 โมล มีมวลเท่าใด จากนัน
้ ร่วมกันคำ�นวณมวลของคาร์บอน-12
ซึ่งควรตอบได้ว่า 12 กรัม แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่การอธิบายความหมายของมวลต่อโมล จากนั้นครูให้
นักเรียนพิจารณาตัวอย่างการหามวลต่อโมลของธาตุบางชนิดในตาราง 4.3 เพือ
่ ให้อภิปรายร่วมกันว่า
ธาตุ 1 โมล มีมวลเท่าใดในหน่วยกรัม ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า มวลของธาตุ 1 โมล ในหน่วยกรัม (หรือ
มวลต่อโมล) มีคา่ เป็นตัวเลขเท่ากับมวลอะตอมของธาตุนน
้ั จากนัน
้ ครูอธิบายการคำ�นวณเกีย
่ วกับมวล
และโมลโดยยกตัวอย่าง 3 ประกอบการอธิบาย
6. ครูอธิบายเกี่ยวกับวิธีคำ�นวณมวลโมเลกุลและมวลสูตรของสาร ซึ่งหาได้จากผลรวมของ
มวลอะตอมของธาตุองค์ประกอบตามสูตรเคมี จากนัน
้ ครูอธิบายการคำ�นวณโดยยกตัวอย่าง 4 และ 5
ประกอบ
7. ครูในนักเรียนตอบคำ�ถามเพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. สารต่างชนิดกันทีม
่ จ
ี �ำ นวนโมลเท่ากันจะมีมวลเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด
ส่วนใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะสารต่างชนิดกันส่วนใหญ่มส
ี ต
ู รเคมีตา่ งกันทำ�ให้มม
ี วลสูตรต่างกัน

2. สารต่างชนิดกันมีจ�ำ นวนโมลเท่ากันจะมีจ�ำ นวนอนุภาคเท่ากันหรือไม่


สารที่มีอนุภาคอยู่ในรูปของอะตอมและโมเลกุลที่มีจำ�นวนโมลเท่ากันมีจำ�นวนอนุภาค
เท่ากัน เช่น โลหะโซเดียมและแก๊สออกซิเจนจำ�นวน 1 โมล มีจ�ำ นวน 6.02 × 1023 อนุภาค
เท่ากัน
ส่วนสารทีอ
่ นุภาคอยูใ่ นรูปของไอออนทีม
่ จ
ี �ำ นวนโมลเท่ากัน อาจมีจ�ำ นวนอนุภาคไม่เท่ากับ
สารอืน
่ ขึน
้ อยูก
่ บ
ั องค์ประกอบของสารนัน
้ เช่น โซเดียมคลอไรด์ 1 โมล มีโซเดียมไอออน
6.02 × 1023 ไอออน และคลอไรด์ไอออน 6.02 × 1023 ไอออน จึงมีจ�ำ นวนไอออนทัง้ หมด
2 × 6.02 × 1023 ไอออน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
15

3. สารต่างชนิดกันมีมวลเท่ากันจะมีจ�ำ นวนอนุภาคเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด


ส่วนใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะสารต่างชนิดกันส่วนใหญ่มม
ี วลต่อโมลไม่เท่ากัน ดังนัน
้ ถ้ามวลเท่ากัน
จะมีจ�ำ นวนโมลไม่เท่ากัน จึงมีจ�ำ นวนอนุภาคไม่เท่ากัน

ความรูเ้ พิม
่ เติมสำ�หรับครู
สารต่างชนิดกันที่มีสูตรเคมีเหมือนกัน เรียกว่า ไอโซเมอร์ จะมีมวลสูตรและมวลต่อโมล
เท่ากัน

8. ครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.3 เพือ
่ ทบทวนความรู้
9. ครูอธิบายเกีย
่ วกับการวัดปริมาณสารทีม
่ ส
ี ถานะแก๊สซึง่ นิยมวัดในหน่วยปริมาตร ซึง่ ต้องระบุ
อุณหภูมแ
ิ ละความดัน รวมทัง้ อุณหภูมแ
ิ ละความดันทีภ
่ าวะมาตรฐานของแก๊ส หรือที่ STP จากนัน
้ ครู
ให้นก
ั เรียนพิจารณาตาราง 4.4 ทีแ
่ สดงมวลของแก๊สบางชนิดปริมาตร 1 ลิตร ที่ STP แล้วใช้ค�ำ ถาม
ว่า แก๊ส 1 โมลมีปริมาตรเท่าใดที่ STP ซึ่งควรตอบได้ว่า แก๊สใด ๆ 1 โมลมีปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์
เดซิเมตรหรือ 22.4 ลิตร ที่ STP โดยครูแสดงการคำ�นวณปริมาตรของแก๊สฮีเลียม 1 โมล ซึง่ มีมวล 0.179
กรัมประกอบการอธิบาย
10. ครูให้นก
ั เรียนสรุปความรูเ้ กีย
่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างโมล จำ�นวนอนุภาค มวล และปริมาตร
ของแก๊สที่ STP ซึง่ ควรสรุปได้วา่ สาร 1 โมลมี 6.02 × 1023 อนุภาค และมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลต่อโมล
ของสารนัน
้ และถ้าสารเป็นแก๊สจะมีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลิตร ที่ STP ตามรูป 4.2 จากนัน
้ ครูอธิบาย
การคำ�นวณปริมาณสารในหน่วยต่าง ๆ ทีส
่ ม
ั พันธ์กบ
ั โมลโดยยกตัวอย่าง 6 ประกอบ
11. ครูให้นักเรียนจับคู่กันและทำ�กิจกรรม 4.1 เพื่อสร้างโจทย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
โมล จำ�นวนอนุภาค มวล ความหนาแน่น และปริมาตรของแก๊สที่ STP ของสารทีเ่ ป็นแก๊ส 1 โมล โดย
เริ่มที่กำ�หนดและเขียนสูตรเคมีและจำ�นวนโมลของแก๊สก่อน แล้วคำ�นวณมวล จำ�นวนอนุภาค และ
ปริมาตรที่ STP และใส่ตวั เลขทีไ่ ด้ลงไปในแต่ละหน้าของลูกบาศก์ จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนแลกลูกบาศก์กบ

เพือ
่ นเพือ
่ เติมความหนาแน่นที่ STP ทัง้ นีส
้ ามารถให้นก
ั เรียนเว้นข้อมูลเพิม
่ เติมหรือกำ�หนดข้อมูลอืน
่ ที่
ยากขึน
้ แล้วให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมเหมือนเดิม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
16

กิจกรรม 4.1 ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล จำ�นวนอนุภาค ความหนาแน่น


และปริมาตรของแก๊สที่ STP

จุดประสงค์ของกิจกรรม
คำ�นวณปริมาณสารจากความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล จำ�นวนอนุภาค ความหนาแน่น
และปริมาตรของแก๊สที่ STP

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 5 นาที


ทำ�กิจกรรม 15 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 5 นาที
รวม 25 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม
1. กระดาษแข็ง 1 แผ่น
2. ปากกาเมจิก 2 ด้าม
3. กรรไกร 1 เล่ม
4. กาว 1 อัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
17

การเตรียมล่วงหน้า
เตรียมแบบลูกบาศก์ที่ทำ�จากกระดาษแข็ง จำ�นวน 1 แผ่นต่อกลุ่ม ดังรูป

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตัวอย่างการคำ�นวณความสัมพันธ์ของแก๊สไนโตรเจน จำ�นวน 1 โมล

1.25 g/L
ความหนาแน่น
ที่ STP (g/L)

6.02 × 1023
โมเลกุล
จำ�นวนอนุภาค

N2 1 mol 22.4 L
ปริมาตร
สูตรเคมีของแก๊ส โมล ที่ STP (L)

28.02 g
มวล (g)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
18

อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม
เมื่อทราบสูตรเคมีและจำ�นวนโมลของแก๊สจะสามารถคำ�นวณมวล จำ�นวนอนุภาค
และปริมาตรที่ STP ได้ โดยใช้ความสัมพันธ์ สาร 1 โมล มี 6.02 × 1023 อนุภาค ซึ่งมีมวล
เป็นกรัมเท่ากับมวลต่อโมลของสารนั้น และถ้าสารเป็นแก๊สจะมีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลิตร
ที่ STP นอกจากนี้เมื่อทราบมวลและปริมาตรจะสามารถคำ�นวณความหนาแน่นของแก๊ส
ที่ STP ได้

12. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพือ
่ สรุปความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล จำ�นวนอนุภาค และ
ปริมาตรของแก๊สที่ STP รวมทัง้ ความหนาแน่นที่ STP
13. ครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.4 เพือ
่ ทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับความหมายของโมลและเลขอาโวกาโดร การคำ�นวณมวลโมเลกุล มวลสูตร
และปริมาณสารจากความสัมพันธ์ระหว่างโมล จำ�นวนอนุภาค มวล และปริมาตรของแก๊สที่ STP จาก
การทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จ�ำ นวน จากการทำ�กิจกรรม การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
3. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและ
ภาวะผูน
้ �ำ จากการทำ�กิจกรรม
4. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความรอบคอบจากผลการทำ�กิจกรรม และการทำ�แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด 4.2

1. จงคำ�นวณจำ�นวนโมลของสารต่อไปนี้
1.1 ฮีเลียม 1.02 × 1022 อะตอม
จำ�นวนโมลของ He = 1.02 × 1022 atom He × 1 mol He
6.02 × 1023 atom He
= 0.0169 mol He

้ ฮีเลียม 1.02 × 1022 อะตอม มีจ�ำ นวน 0.0169 โมล


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
19

1.2 แก๊สแอมโมเนีย 3.01 × 1025 โมเลกุล


จำ�นวนโมลของ NH3
1 mol NH3
= 3.01 × 1025 molecule NH3 ×
6.02 × 1023 molecule NH3
= 50.0 mol NH3

้ แก๊สแอมโมเนีย 3.01 × 1025 โมเลกุล มีจ�ำ นวน 50.0 โมล


ดังนัน

1.3 เหล็ก 3.61 × 1020 อะตอม


1 mol Fe
จำ�นวนโมลของ Fe = 3.61 × 1020 atom Fe ×
6.02 × 1023 atom Fe
-4
= 6.00 × 10 mol Fe

-4
้ เหล็ก 3.61 × 1020 อะตอม มีจ�ำ นวน 6.00 × 10 โมล
ดังนัน

1.4 กำ�มะถัน 1 อะตอม


1 mol S
จำ�นวนโมลของ S = 1 atom S ×
6.02 × 1023 atom S
-24
= 1.66 × 10 mol S

-24
ดังนัน
้ กำ�มะถัน 1 อะตอม มีจ�ำ นวน 1.66 × 10 โมล

1.5 โพแทสเซียมไอออน 100 ไอออน


1 mol K+
จำ�นวนโมล ของ K+ = 100 ion K+ ×
6.02 × 1023 ion K+
-22
= 1.66 × 10 mol K+

-22
ดังนัน
้ โพแทสเซียมไอออน 100 ไอออน มีจ�ำ นวน 1.66 × 10 โมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
20

2. จงคำ�นวณจำ�นวนอนุภาคของสารต่อไปนี้
2.1 อาร์กอน 3.00 โมล
6.02 × 1023 atom Ar
จำ�นวนอะตอมของอาร์กอน = 3.00 mol Ar ×
1 mol Ar
24
= 1.81 × 10 atom Ar
้ อาร์กอน 3.00 โมล มีจ�ำ นวน 1.81 × 1024 อะตอม
ดังนัน

2.2 เหล็ก 8.50 โมล


6.02 × 1023 atom Fe
จำ�นวนอะตอมของเหล็ก = 8.50 mol Fe ×
1 mol Fe
= 5.12 × 1024 atom Fe
้ เหล็ก 8.50 โมล มีจ�ำ นวน 5.12 × 1024 อะตอม
ดังนัน

2.3 โซเดียมไอออน 0.001 โมล


6.02 × 1023 ion Na+
จำ�นวนไอออนของโซเดียม = 0.001 mol Na+ ×
1 mol Na+
= 6 × 1020 ion Na+
้ โซเดียมไอออน 0.001 โมล มีจ�ำ นวน 6 × 1020 ไอออน
ดังนัน

2.4 น้�ำ 5.00 โมล


6.02 × 1023 molecule H2O
จำ�นวนโมเลกุลของน้�ำ = 5.00 mol H2O ×
1 mol H2O
= 3.01 × 1024 molecule H2O
้ น้�ำ 5.00 โมล มีจ�ำ นวน 3.01 × 1024 โมเลกุล
ดังนัน

-5
2.5 ไนเทรตไอออน 1.0 × 10 โมล -
-5 - 6.02 × 1023 ion NO3
จำ�นวนไอออนของไนเทรต = 1.0 × 10 mol NO3 × -
1 mol NO3
-
= 6.0 × 1018 ion NO3
-5
้ ไนเทรตไอออน 1.0 × 10 โมล มีจ�ำ นวน 6.0 × 1018 ไอออน
ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
21

3. โพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4) 0.1 โมล มีจ�ำ นวนโพแทสเซียมไอออน (K+) และซัลเฟตไอออน


(SO42-) อย่างละกีโ่ มล
2 mol K+
จำ�นวนโมลของ K+ = 0.1 mol K2SO4 ×
1 mol K2SO4
= 0.2 mol K+
1 mol SO42-
จำ�นวนโมลของ SO42- = 0.1 mol K2SO4 ×
1 mol K2SO4
= 0.1 mol SO42-
ดังนัน
้ โพแทสเซียมซัลเฟต 0.1 โมล มีโพแทสเซียมไอออน 0.2 โมล และซัลเฟตไอออน
0.1 โมล

่ ามารถให้ Al3+ 6.02 × 1022 ไอออน และในปริมาณ


4. อะลูมเิ นียมซัลเฟต (Al2(SO4)3) กีโ่ มลทีส
ั เฟตไอออน (SO42-) กีโ่ มล
สารดังกล่าวมีซล
จำ�นวนโมลของ Al2(SO4)3
1 mol Al3+ 1 mol Al2(SO4)3
= 6.02 × 1022 ion Al3+ × 3+ ×
23
6.02 × 10 ion Al 2 mol Al3+
= 0.0500 mol Al2(SO4)3
้ อะลูมเิ นียมซัลเฟต 0.0500 โมล สามารถให้อะลูมเิ นียมไอออน 6.02 × 1023 ไอออน
ดังนัน
3 mol SO42-
จำ�นวนโมลของ SO42- = 0.0500 mol Al2(SO4)3 ×
1 mol Al2(SO4)3
= 0.150 mol SO42-
ดังนัน
้ อะลูมเิ นียมซัลเฟต 0.5 โมล มีซล
ั เฟตไอออน 0.150 โมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
22

แบบฝึกหัด 4.3

1. จงหามวลโมเลกุลและมวลต่อโมลของสารต่อไปนี้ โดยใช้คา่ มวลอะตอมจากตารางธาตุใน


หนังสือเรียน
1.1 แอสไพริน (C9H8O4)
มวลโมเลกุลของแอสไพริน
= (9 × มวลอะตอมของ C) + (8 × มวลอะตอมของ H) + (4 × มวลอะตอมของ O)
= (9 × 12.01) + (8 × 1.01) + (4 × 16.00)
= 180.17
ดังนัน
้ แอสไพรินมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 180.17 และมีมวลต่อโมลเท่ากับ 180.17
กรัมต่อโมล

1.2 แอซีตก
ิ (C2H4O2)
มวลโมเลกุลของกรดแอซีตก

= (2 × มวลอะตอมของ C) + (4 × มวลอะตอมของ H) + (2 × มวลอะตอมของ O)
= (2 × 12.01) + (4 × 1.01) + (2 × 16.00)
= 60.06
ดังนัน
้ กรดแอซีตก
ิ มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 60.06 และมีมวลต่อโมลเท่ากับ 60.06
กรัมต่อโมล

1.3 ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)


มวลโมเลกุลของไนโตรเจนไดออกไซด์
= (1 × มวลอะตอมของ N) + (2 × มวลอะตอมของ O)
= (1 × 14.01) + (2 × 16.00)
= 46.01
ดังนัน
้ ไนโตรเจนไดออกไซด์มม
ี วลโมเลกุลเท่ากับ 46.01 และมีมวลต่อโมลเท่ากับ
46.01 กรัมต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
23

1.4 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)


มวลโมเลกุลของไฮโดรเจนซัลไฟด์
= (2 × มวลอะตอมของ H) + (1 × มวลอะตอมของ S)
= (2 × 1.01) + (1 × 32.06)
= 34.08
ดั ง นั้น ไฮโดรเจนซั ล ไฟด์ มีม วลโมเลกุ ล เท่ า กั บ 34.08 และมี ม วลต่ อ โมลเท่ า กั บ
34.08 กรัมต่อโมล

2. ฟอสฟอรัส 1 โมเลกุล มีสต


ู รโมเลกุลเป็น P4 ถ้ามวลโมเลกุลของฟอสฟอรัสเท่ากับ 123.88
จงหามวลอะตอมของฟอสฟอรัส
มวลโมเลกุลของฟอสฟอรัส = 4 × มวลอะตอมของฟอสฟอรัส
123.8 = 4 × มวลอะตอมของฟอสฟอรัส
123.88
มวลอะตอมของฟอสฟอรัส =
4
= 30.97
ดังนัน
้ มวลอะตอมของฟอสฟอรัสเท่ากับ 30.97

3. ในปี พ.ศ.2528 นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ค้ น พบอั ญ รู ป ใหม่ ข องคาร์ บ อนที่ เ ป็ น โมเลกุ ล ซึ่ ง มี


มวลโมเลกุลประมาณ 720 และ 840 อัญรูปทัง้ สองชนิดนีม
้ ส
ี ต
ู รโมเลกุลเป็นอย่างไร
กำ�หนดให้ อัญรูปของคาร์บอนมีสต
ู รโมเลกุล Cn

อัญรูปทีม
่ ม
ี วลโมเลกุลเท่ากับ 720
มวลโมเลกุลของ Cn = n × 12.01
720 = n × 12.01
n 720 = 60.0
=
12.01
ดังนัน
้ อัญรูปทีม
่ ม
ี วลโมเลกุลเท่ากับ 720 มีสต
ู รโมเลกุล C60

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
24

อัญรูปทีม
่ ม
ี วลโมเลกุลเท่ากับ 840
มวลโมเลกุลของ Cn = n × 12.01
840
= n × 12.01
n = 840 = 69.9 ≈ 70
12.01
ดังนัน
้ อัญรูปทีม
่ ม
ี วลโมเลกุลเท่ากับ 840 มีสต
ู รโมเลกุล C70

-22
4. สารประกอบ A 1 โมเลกุล มีมวล 2.56 × 10 กรัม จงคำ�นวณมวลต่อโมลของสารประกอบนี้
-22
2.56 × 10 g 6.02 × 1023 molecule
มวลต่อโมลของสาร A = ×
1 molecule 1 mol
= 154 g/mol
ดังนัน
้ มวลต่อโมลของสารประกอบ A เท่ากับ 154 กรัมต่อโมล

5. คำ�นวณจำ�นวนโมลของสารทีก
่ �ำ หนดให้ตอ
่ ไปนี้
5.1 อะลูมเิ นียม (Al) 2.70 กรัม
mol ของ Al = 2.70 g Al × 1 mol Al
26.98 g Al
= 0.100 mol Al
ดังนัน
้ อะลูมเิ นียม 2.70 กรัม มีจ�ำ นวน 0.100 โมล

5.2 ดีบก
ุ (Sn) 17.5 กรัม
mol ของ Sn = 17.5 g Sn × 1 mol Sn
118.71 g Sn
= 0.147 mol
ดังนัน
้ ดีบก
ุ 17.5 กรัม มีจ�ำ นวน 0.147 โมล

5.3 น้�ำ (H2O) 0.36 กรัม


1 mol H2O
mol ของ H2O = 0.36 g H2O ×
18.02 g H2O
= 0.020 mol H2O
ดังนัน
้ น้�ำ 0.36 กรัม มีจ�ำ นวน 0.020 โมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
25

5.4 เลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) 82.75 กรัม


1 mol Pb(NO3)2
mol ของ Pb(NO3)2 = 82.75 g Pb(NO3)2 ×
331.22 g Pb(NO3)2
= 0.2498 mol
ดังนัน
้ เลด(II)ไนเทรต 82.75 กรัม มีจ�ำ นวน 0.2498 โมล

6. สารต่อไปนีม
้ จ
ี �ำ นวนอนุภาคเท่าใด
6.1 เฮกเซน (C6H14) 43.0 กรัม
จำ�นวนอนุภาคของ C6H14
1 mol C6H14 6.02 × 1023 molecule C6H14
= 43.0 g C6H14 × ×
86.20 g C6H14 1 mol C6H14
23
= 3.00 × 10 molecule 1 mol

้ เฮกเซน 43.0 กรัม มี 3.00 × 1023 โมเลกุล


ดังนัน

6.2 คาร์บอน (C) 4.0 กรัม


จำ�นวนอนุภาคของ C
23
= 4.0 g C × 1 mol C × 6.02 × 10 atom C
12.01 g C 1 mol C
23
= 2.0 × 10 atom C

้ คาร์บอน 4.0 กรัมมี 2.0 × 1023 อะตอม


ดังนัน

6.3 แก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) 30.0 กรัม


จำ�นวนอนุภาคของ NO
6.02 × 1023 molecule NO
= 30.0 g NO × 1 mol NO ×
30.01 g NO 1 mol NO
= 6.02 × 1023 molecule NO

้ ไนโตรเจนมอนอกไซด์ 30.0 กรัมมี 6.02 × 1023 โมเลกุล


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
26

6.4 ไนเทรตไอออนในเลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) 82.75 กรัม


-
จำ�นวนอนุภาคของ NO3
-
1 mol Pb(NO3)2 2 mol NO3
= 82.75 g Pb(NO3)2 × ×
331.22 g Pb(NO3)2 1 mol Pb(NO3)2
-
6.02 × 1023 ion NO3
× 1 mol NO3
-

23 -
= 3.01 × 10 ion NO3
้ เลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) 82.75 กรัม มีไนเทรตไอออน 3.01 × 1023 ไอออน
ดังนัน

7. จงคำ�นวณจำ�นวนโมลและมวลของสารต่อไปนี้
7.1 ตะกัว่ 1 อะตอม
1 mol Pb
mol ของ Pb = 1 atom Pb ×
6.02 × 1023 atom Pb
= 1.66 × 10-24 mol Pb

้ ตะกัว่ 1 อะตอม มีจ�ำ นวน 1.66 × 10-24 โมล


ดังนัน
1 mol Pb 207.20 g Pb
มวลของ Pb = 1 atom Pb × ×
6.02 × 1023 atom Pb 1 mol Pb
-22
= 3.44 × 10 g Pb
้ ตะกัว่ 1 อะตอม มีมวล 3.44 × 10-22 กรัม
ดังนัน

7.2 ฟอสฟอรัส 6.02 × 1022 อะตอม


1 mol P
mol ของ P = 6.02 × 1022 atom P ×
6.02 × 1023 atom P
= 0.100 mol P
้ ฟอสฟอรัส 6.02 × 1022 อะตอม มีจ�ำ นวน 0.100 โมล
ดังนัน
1 mol P
มวลของ P = 6.02 × 1022 atom P × × 30.97 g P
23
6.02 × 10 atom P 1 mol P
= 3.10 g P
้ ฟอสฟอรัส 6.02 × 1022 อะตอม มีมวล 3.10 กรัม
ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
27

7.3 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 1.81 × 1024 โมเลกุล


1 mol CO2
mol ของ CO2 = 1.81 × 1024 molecule CO2 ×
6.02 × 1023 molecule CO2
= 3.01 mol CO2
้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 1.81 × 1024 โมเลกุล มีจ�ำ นวน 3.01 โมล
ดังนัน
มวลของ CO2
1 mol CO2
= 1.81 × 1024 molecule CO2 × × 44.01 g CO2
23
6.02 × 10 molecule CO2 1 mol CO2
= 132 g CO2
้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 1.81 × 1024 โมเลกุล มีมวล 132 กรัม
ดังนัน

7.4 เลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) ซึง่ มีไนเทรตไอออน 3.01 × 1023 ไอออน
mol ของ Pb(NO3)2
-
23 - 1 mol NO3 1 mol Pb(NO3)2
= 3.01 × 10 ion NO × 3 23 -
× -

6.02 × 10 ion NO 3 2 mol NO3
= 0.250 mol Pb(NO3)2

้ เลด(II)ไนเทรต ซึง่ มีไนเทรตไอออน 3.01 × 1023 ไอออน มีจ�ำ นวน 0.250 โมล
ดังนัน
มวลของ Pb(NO3)2
-
23 - 1 mol NO3 1 mol Pb(NO3)2
= 3.01 × 10 ion NO3 × -
× -
23
6.02 × 10 ion NO 3 2 mol NO3
× 331.22 g Pb(NO3) 2
1 mol Pb(NO3) 2
= 82.8 g Pb(NO3)2
้ เลด(II)ไนเทรต ซึง่ มีไนเทรตไอออน 3.01 × 1023 ไอออน มีมวล 82.8 กรัม
ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
28

8. แก๊สไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) เป็นแก๊สพิษซึง่ มีขอ


้ กำ�หนดว่าในอากาศ 1 ลิตร ไม่
ควรมีแก๊สนีเ้ กิน 2.4 × 10-8 โมล จงหามวลของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และธาตุองค์ประกอบ
แต่ละชนิดในปริมาณแก๊สในอากาศ 1 ลิตร ตามข้อกำ�หนดนี้
-8
24 × 10 mol H2S 34.08 g H2S
มวลของ H2S ในอากาศ 1 ลิตร = 1 L air × ×
1 L air 1 mol H2S
-7
= 8.2 × 10 g H2S
-8
้ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ 2.4 ×10 โมล มีมวล 8.2 × 10-7 กรัม
ดังนัน
-8
2.4 × 10 mol H2S 1.01 g H
มวลของ H = 1 L air × × 2 mol H ×
1 L air 1 mol H2S 1 mol H
-8
= 4.8 × 10 g H
-8 -8
้ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ 2.4 ×10 โมล มีมวลของไฮโดรเจน 4.8 × 10 กรัม
ดังนัน
-8
24 × 10 mol H2S 1 mol S 32.06 g S
มวลของ S = 1 L air × × ×
1 L air 1 mol H2S 1 mol S
-7
= 7.7 × 10 g S
-8 -7
้ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ 2.4 ×10 โมล มีมวลของกำ�มะถัน 7.7 × 10 กรัม
ดังนัน

9. กรดซัลฟิวริก (H2SO4) 9.8 กรัม แก๊สไฮโดรเจน (H2) 2 กรัม และแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์


(HCl) 36.5 กรัม สารใดมีจ�ำ นวนโมเลกุลน้อยทีส
่ ด

จำ�นวนโมเลกุลของ H2SO4
1 mol H2SO4 6.02 × 1023 molecule H2SO4
= 9.8 g H2SO4 × ×
98.08 g H2SO4 1 mol H2SO4
22
= 6.0 × 10 molecule H2SO4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
29

1 mol H2 6.02 × 1023 molecule H2


จำ�นวนโมเลกุลของ H2 = 2 g H2 × ×
2.02 g H2 1 mol H2
= 6 × 1023 molecule H2
1 mol HCl 6.02 × 1023 molecule HCl
×
จำ�นวนโมเลกุลของ HCl = 36.5 g HCl ×
36.46 g HCl 1 mol HCl
23
= 6.03 × 10 molecule HCl
ดังนัน
้ กรดซัลฟิวริกมีจ�ำ นวนโมเลกุลน้อยทีส
่ ด

10. สารประกอบของธาตุไนโตรเจนและออกซิเจนมีหลายชนิด ซึง่ มีสต


ู รโมเลกุลแตกต่างกัน
จงเสนอสูตรโมเลกุลของสารประกอบของธาตุไนโตรเจนและออกซิเจนทีม
่ ม
ี วลโมเลกุลเป็น
30.01 44.02 และ 46.01
สูตรโมเลกุลของสารประกอบของธาตุไนโตรเจนและออกซิเจนทีเ่ ป็นไปได้ สามารถเขียน
เรียงลำ�ดับตามมวลโมเลกุลได้ดงั นี้
NO มีมวลโมเลกุล = 14.01 + 16.00 = 30.01
N2O มีมวลโมเลกุล = (2 × 14.01) + 16.00 = 44.02
NO2 มีมวลโมเลกุล = 14.01 + (2 × 16.00) = 46.01
N2O2 มีมวลโมเลกุล = (2 × 14.01) + (2 × 16.00) = 60.02
(มีคา่ มากกว่ามวลโมเลกุลทีก
่ �ำ หนด)
ดังนั้นสารประกอบของธาตุไนโตรเจนและออกซิเจนที่มีมวลโมเลกุลเป็น 30.01
44.02 และ 46.01 คือ NO N2O และ NO2 ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
30

แบบฝึกหัด 4.4

1. เปรียบเทียบจำ�นวนโมลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และแก๊สไฮโดรเจน (H2) ทีม


่ ี
ปริมาตร 5.6 มิลลิลต
ิ ร ที่ STP
แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ STP ดังนัน
้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สไฮโดรเจน
ซึง่ มีปริมาตรเท่ากันที่ STP จึงมีจ�ำ นวนโมลเท่ากัน

2. คำ�นวณมวล โมล จำ�นวนอนุภาค และปริมาตรที่ STP ของสารต่อไปนี้

มวล โมล จำ�นวนอนุภาค ปริมาตรที่


แก๊ส
(g) (mol) (โมเลกุลหรืออะตอม) STP (L)
โอโซน (O3) 2.40 0.0500 3.01 × 1022 1.12

คลอรีน (Cl2) 2.40 0.0339 2.04 × 1022 0.758

มีเทน (CH4) 0.802 0.0500 3.01 × 1022 1.12

อาร์กอน (Ar) 0.200 0.0500 3.01 × 1022 1.12

3. แก๊สออกซิเจน (O2) 48.0 กรัม มีความหนาแน่นเท่าใดที่ STP


1 mol O2 22.4 L
ปริมาตรของ O2 ที่ STP = 48.0 g O2 × ×
32.00 g O2 1 mol O2
= 33.6 L
48.0 g
ความหนาแน่นของ O2 ที่ STP =
33.6 L
= 1.43 g/L
ดังนัน
้ แก๊สออกซิเจนมีความหนาแน่น 1.43 กรัมต่อลิตร ที่ STP

4. ความหนาแน่นที่ STP ของแก๊สฮีเลียม (He) มากกว่าหรือน้อยกว่าอากาศ เพราะเหตุใด


อากาศมีความหนาแน่นมากกว่าแก๊สฮีเลียม เนื่องจากอากาศมีแก๊สไนโตรเจนและแก๊ส
ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ซึง่ แก๊สทัง้ สองมีมวลโมเลกุลมากกว่าแก๊สฮีเลียม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
31

5. คำ�นวณมวลโมเลกุลของแก๊สชนิดหนึง่ ซึง่ มีความหนาแน่นที่ STP เป็น 1.79 กรัมต่อลิตร


มวลโมเลกุลมีคา่ เป็นตัวเลขเท่ากับมวลต่อโมล และแก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร จึง
หามวลของแก๊สปริมาตร 22.4 ลิตร ดังนี้
มวล (g)
ความหนาแน่น (g/L) =
ปริมาตร (L)
มวล (g) = ความหนาแน่น (g/L) × ปริมาตร (L)
1.79 g
มวล (g) = × 22.4 L
1L
= 40.1 g
มวลทีค
่ �ำ นวณได้คอ
ื มวลของแก๊ส 1 โมล ดังนัน
้ แก๊สนีม
้ ม
ี วลต่อโมลเท่ากับ 40.1 กรัม
ต่อโมล จึงมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 40.1

6. คำ�นวณมวลโมเลกุลของแก๊สชนิดหนึง่ ซึง่ มีมวล 0.74 กรัม และมีปริมาตร 340.0 มิลลิลต


ิ ร
ที่ STP
หามวลของแก๊สปริมาตร 22.4 L ที่ STP ดังนี้
0.74 g 1000 mL 22.4 L
มวลต่อโมล = × ×
340 mL 1L 1 mol
= 49 g/mol
แก๊สชนิดนีม
้ ม
ี วลต่อโมลเท่ากับ 49 กรัมต่อโมล ดังนัน
้ จึงมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 49

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
32

4.3 สูตรเคมี
4.3.1 กฎสัดส่วนคงที่
4.3.2 ร้อยละโดยมวลของธาตุ
4.3.3 การหาสูตรโมเลกุลและสูตรอย่างง่าย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบตามกฎสัดส่วนคงที่
2. อธิบายความหมายของสูตรอย่างง่าย และสูตรโมเลกุลของสาร
3. คำ�นวณมวลเป็นร้อยละของธาตุองค์ประกอบ
4. คำ�นวณสูตรอย่างง่ายจากอัตราส่วนโดยโมลของธาตุองค์ประกอบ
5. คำ�นวณสูตรโมเลกุลของสารจากสูตรอย่างง่ายและมวลโมเลกุลของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับธาตุและสารประกอบ โดยครูยกตัวอย่างสูตรเคมีของธาตุและ
สารประกอบบางชนิด เช่น Mg S8 CuSO4 CO2 แล้วให้นักเรียนระบุว่าสารที่กำ�หนดให้เป็นธาตุหรือ
สารประกอบ จากนัน
้ ใช้ค�ำ ถามนำ�ว่า นักวิทยาศาสตร์ทราบเกีย
่ วกับอัตราส่วนโดยโมลของอะตอมธาตุ
ได้อย่างไร เพือ
่ นำ�ไปสูก
่ ารหาอัตราส่วนโดยโมลของธาตุองค์ประกอบทีเ่ กิดเป็นสารประกอบ
2. ครูตง้ั คำ�ถามว่า ถ้าทราบอัตราส่วนโดยมวลจะหาอัตราส่วนโดยโมลได้หรือไม่ อย่างไร ซึง่ ควร
ตอบได้วา่ เนือ
่ งจากมวลและโมลของสารมีความสัมพันธ์กน
ั เมือ
่ ทราบอัตราส่วนโดยมวลจะสามารถหา
อัตราส่วนโดยโมลได้ จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนวิเคราะห์ขอ
้ มูลในตาราง 4.5 เพือ
่ ศึกษาอัตราส่วนโดยมวล
ของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ แล้วให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
33

ชวนคิด

1. ในการทดลองแต่ละครัง้ อัตราส่วนระหว่างมวลของทองแดงต่อมวลของกำ�มะถันมีคา่ เท่าใด


และมีคา่ เฉลีย
่ เท่าใด

มวลของสารที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน อัตราส่วนโดยมวลของ
การทดลองที่
มวลของทองแดง มวลของกำ�มะถัน ทองแดงต่อกำ�มะถัน
(g) (g)
1 1.0 0.5 2.0 : 1.0

2 1.9 1.0 1.9 : 1.0

3 2.9 1.5 1.9 : 1.0

4 4.0 2.0 2.0 : 1.0

5 4.9 2.5 2.0 : 1.0

ดังนัน
้ อัตราส่วนระหว่างมวลของทองแดงต่อมวลของกำ�มะถันมีคา่ เฉลีย
่ 2.0 : 1.0

2. อั ต ราส่ ว นโดยโมลของทองแดงต่ อ กำ � มะถั น ที่ ทำ � ปฏิ กิ ริ ย าพอดี กั น เป็ น สารประกอบ


คอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ มีคา่ เฉลีย
่ เท่าใด
อัตราส่วนโดยมวลของ Cu : S = 2.0 : 1.0
2.0 1.0
อัตราส่วนโดยโมลของ Cu : S = :
63.55 32.06
= 0.031 : 0.031
= 1.0 : 1.0
ดังนัน
้ อัตราส่วนโดยโมลของทองแดงต่อกำ�มะถันมีคา่ เฉลีย
่ 1.0 : 1.0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
34

3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า มวลของทองแดงทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ ากับกำ�มะถัน
เพิม
่ ขึน
้ ตามมวลของกำ�มะถัน โดยเมือ
่ คำ�นวณอัตราส่วนระหว่างมวลของทองแดงกับกำ�มะถันแต่ละครัง้
มีคา่ ประมาณ 2 : 1 จึงกล่าวได้วา่ ทองแดงทำ�ปฎิกริ ย
ิ ากับกำ�มะถันได้สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์
ด้วยอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 2 : 1
4. ครูให้ความรูว้ า่ ถ้าทำ�การสังเคราะห์สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ โดยใช้สารละลายทีม
่ ี
คอปเปอร์(II)ไอออน ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับสารละลายทีม
่ ซ
ี ล
ั ไฟด์ไอออน จะได้อต
ั ราส่วนโดยมวลของทองแดง
กับกำ�มะถันทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกน
ั เท่ากับ 2 : 1 เช่นเดียวกัน จึงสรุปได้วา่ การเตรียมคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์
ด้วยวิธใี ดก็ตาม อัตราส่วนโดยมวลของทองแดงทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั กำ�มะถันจะเป็น 2 : 1 เสมอ ซึง่
เป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่
5. ครูต้งั คำ�ถามว่า อัตราส่วนโดยโมลของทองแดงกับกำ�มะถันมีค่าเท่าใด ซึ่งควรตอบว่า มีค่า
เท่ากับ 1 : 1 โดยคำ�นวณได้จากการหารอัตราส่วนโดยมวลด้วยมวลอะตอมของธาตุแต่ละชนิด จากนัน

ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า อัตราส่วนโดยโมลของสารประกอบหนึ่ง ๆ จะมีค่าคงที่เช่นเดียวกับอัตราส่วน
โดยมวล ซึง่ การคำ�นวณอัตราส่วนโดยโมลนีเ้ ป็นขัน
้ ตอนสำ�คัญในการหาสูตรเคมีของสารประกอบ
6. ครูอธิบายการคำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบตามกฎ
สัดส่วนคงที่ โดยยกตัวอย่าง 7 ประกอบ แล้วครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.5 เพือ
่ ทบทวนความรู้
7. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการคำ�นวณร้อยละโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสาร 1
โมเลกุล โดยแสดงตัวอย่าง 8 และ 9 ประกอบการอธิบาย
8. ครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.6 เพือ
่ ทบทวนความรู้
9. ครูนำ�อภิปรายเพื่อเชื่อมโยงกฏสัดส่วนคงที่กับสูตรเคมี โดยใช้คำ�ถามว่า อัตราส่วนโดยโมล
ของทองแดงกับกำ�มะถันในสารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ สัมพันธ์กบ
ั สูตรเคมี CuS อย่างไร ซึง่ ควร
ตอบได้ว่า จำ�นวนโมลของธาตุในอัตราส่วนโดยโมลเท่ากับจำ�นวนอะตอมของธาตุในสูตรเคมี จากนั้น
ครูอธิบายความหมายของสูตรอย่างง่ายหรือสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั และสูตรโมเลกุลพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
การอธิบาย
10. ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาสูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของสารบางชนิดในตาราง 4.6 แล้ว
อภิปรายร่วมกันเกีย
่ วกับสูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของสารโคเวเลนต์และสารประกอบไอออนิก ซึง่
ควรได้ขอ
้ สรุปดังนี้
- สารโคเวเลนต์มท
ี ง้ั สูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ซึง่ อาจเหมือนกันหรือต่างกัน
- สารประกอบไอออนิกมีแต่สต
ู รเอมพิรค
ิ ล

- สารโคเวเลนต์บางชนิดมีสต
ู รโมเลกุลต่างกัน แต่มส
ี ต
ู รเอมพิรค
ิ ล
ั เหมือนกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
35

11. ครูอธิบายวิธีการคำ�นวณสูตรเอมพิริคัล โดยใช้อัตราส่วนโดยมวลจากกฎสัดส่วนคงที่หรือ


ร้อยละโดยมวล แล้วทำ�เป็นอัตราส่วนโดยโมลและอัตราส่วนอย่างต่�ำ โดยโมล จากนัน
้ ครูแสดงการคำ�นวณ
โดยยกตัวอย่าง 10 และ 11 ประกอบการอธิบาย
12. ครูอธิบายวิธีการคำ�นวณสูตรโมเลกุลจากสูตรเอมพิริคัล โดยแสดงตัวอย่าง 12 และ 13
ประกอบการอธิบาย
13. ครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.7 เพือ
่ ทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับวิธก
ี ารคำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลและร้อยละโดยมวล ของธาตุองค์ประกอบ
ความหมายและวิธีการคำ�นวณสูตรอย่างง่าย หรือสูตรเอมพิริคัล และสูตรโมเลกุล จากการอภิปราย
การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จ�ำ นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด
3. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป และการสื่อสาร
สารสนเทศและการรูเ้ ท่าทันสือ
่ จากการอภิปราย
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้าง และการใช้วิจารณญาณจากการสังเกตพฤติกรรมในการ
อภิปราย
5. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความรอบคอบ จากการทำ�แบบฝึกหัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
36

แบบฝึกหัด 4.5

1. คาร์บอน (C) 1.20 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย


ิ าพอดีกบ
ั แก๊สออกซิเจน (O2) 3.20 กรัม ได้แก๊สไม่มส
ี ี
ชนิดหนึง่ แก๊สชนิดเดียวกันนีส
้ ามารถเตรียมได้จากปฏิกริ ย
ิ าระหว่างกรดไฮโดรคลอริก (HCl)
กับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึง่ วิเคราะห์แล้วพบว่าแก๊สทีเ่ กิดขึน
้ 100 กรัม ประกอบด้วย
คาร์บอน 27.25 กรัม ข้อมูลเหล่านีเ้ ป็นไปตามกฎสัดส่วนคงทีห
่ รือไม่ เพราะเหตุใด
แก๊สไม่มส
ี ช
ี นิดหนึง่ เกิดจาก C 1.20 g ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั O 3.20 g
นัน
่ คือ แก๊สนีม
้ อ
ี ต
ั ราส่วนโดยมวลของ C : O = 1.20 : 3.20
= 1.00 : 2.67
แก๊สชนิดนี้เมื่อเตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดไฮโดรคลอริกกับแคลเซียมคาร์บอเนต
พบว่า แก๊ส 100 g ประกอบด้วย C 27.25 g ดังนัน
้ จึงมี O 72.75 g
นัน
่ คือ อัตราส่วนโดยมวลของ C : O ในแก๊สนี ้ = 27.25 : 72.75
= 1.000 : 2.670
ดังนัน
้ อัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบชนิดนีม
้ ค
ี า่ เท่ากันแม้
จะเตรียมด้วยวิธต
ี า่ งกัน จึงเป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่

2. ในการเผาเหล็ก (Fe) 11.17 กรัม กับกำ�มะถัน (S) 9.00 กรัม พบว่ามีก�ำ มะถันเหลืออยู่
2.59 กรัม จงคำ�นวณอัตราส่วนโดยมวล และอัตราส่วนโดยโมลของสารประกอบทีเ่ กิดขึน

เมือ
่ เผาเหล็ก 11.17 g กับกำ�มะถัน 9.00 g มีก�ำ มะถันเหลืออยู่ 2.59 g
กำ�มะถันทีใ่ ช้เมือ
่ เกิดปฏิกริ ย
ิ าเท่ากับ 9.00 g – 2.59 g = 6.41 g
อัตราส่วนโดยมวลของ Fe : S = 11.17 : 6.41
= 1.74 : 1.00
1.74 1.00
อัตราส่วนโดยโมลของ Fe : S = :
55.85 32.06
= 0.312 : 0.312
= 1.00 : 1.00
ดังนัน
้ สารประกอบทีเ่ กิดขึน
้ มีอต
ั ราส่วนโดยมวลของ Fe : S เท่ากับ 1.74 : 1.00 และ
อัตราส่วนโดยโมลของ Fe : S เท่ากับ 1 : 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
37

3. โซเดียม (Na) 2.30 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย


ิ าพอดีกบ
ั แก๊สคลอรีน (Cl2) 3.55 กรัม เกิดเป็นเกลือ
โซเดียมคลอไรด์ ถ้านำ�เกลือโซเดียมคลอไรด์ 2.92 กรัม มาทำ�ให้สลายตัวจะได้โซเดียมและ
แก๊สคลอรีนอย่างละกีก
่ รัม
โซเดียม 2.30 g ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั แก๊สคลอรีน 3.55 g ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
2.30 g + 3.55 g = 5.85 g
นำ� NaCl 2.92 g มาทำ�ให้สลายตัว คำ�นวณ Na และ Cl2 ทีเ่ กิดขึน
้ ได้ดงั นี้
2.30 g Na
มวลของ Na = 2.92 g NaCl ×
5.85 g NaCl
= 1.15 g Na
3.55 g Cl2
มวลของ Cl2 = 2.92 g NaCl ×
5.85 g NaCl
= 1.77 g Cl2
ดังนัน
้ เกลือโซเดียมคลอไรด์ 2.92 กรัม สลายตัวได้โซเดียม 1.15 กรัม และแก๊สคลอรีน
1.77 กรัม

แบบฝึกหัด 4.6

1. ฟอร์มาลดีไฮด์ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) มีสมบัติ


เป็นแก๊สพิษทีม
่ ก
ี ลิน
่ ฉุน ใช้มากในอุตสาหกรรมพลาสติกและการดองสัตว์ ถ้าฟอร์มาลดีไฮด์
300 กรัม มีคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ 120 กรัม และ 20 กรัม ตามลำ�ดับ
จงคำ�นวณร้อยละโดยมวลของธาตุองค์ประกอบแต่ละชนิดในฟอร์มาลดีไฮด์
120 g C
ร้อยละโดยมวลของ C = × 100
300 g formaldehyde
= 40.00
20 g H
ร้อยละโดยมวลของ H = × 100
300 g formaldehyde
= 6.7
ร้อยละโดยมวลของ O = 100.0 – 40.00 – 6.7 = 53.3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
38

2. จงคำ�นวณมวลเป็นร้อยละของธาตุแต่ละชนิดในสารต่อไปนี้
2.1 พารา-ไดคลอโรเบนซีน (C6H4Cl2) ซึง่ เป็นส่วนผสมหนึง่ ของลูกเหม็น
มวลต่อโมลของ C6H4Cl2 = 147.00 g/mol

ธาตุองค์ จำ�นวนโมลอะตอมของ
มวลของธาตุ (g) ร้อยละโดยมวล
ประกอบ ธาตุใน 1 โมลของสาร

12.01 g 72.06
C 6 6 mol × × 100
1 mol 147.00
= 72.06 g = 49.02

1.01 g 4.04
H 4 4 mol × × 100
1 mol 147.00
= 4.04 g = 2.75

35.45 g 70.90
Cl 2 2 mol × × 100
1 mol 147.00
= 70.90 g = 48.2

2.2 ทิน(II)ฟลูออไรด์ (SnF2) ซึง่ เป็นส่วนผสมของยาสีฟน


ั บางชนิด
มวลต่อโมลของ SnF2 = 156.71 g/mol

ธาตุองค์ จำ�นวนโมลอะตอมของ
มวลของธาตุ (g) ร้อยละโดยมวล
ประกอบ ธาตุใน 1 โมลของสาร

118.71 g 118.71
Sn 1 1 mol × × 100
1 mol 156.71
= 118.71 g = 75.751

19.00 g 38.00
F 2 2 mol × × 100
1 mol 156.71
= 38.00 g = 24.25

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
39

3. จงคำ�นวณมวลเป็นกรัมของออกซิเจนในแร่ควอตซ์ (SiO2) และหินปูน (CaCO3) อย่างละ


1.00 กิโลกรัม
มวลของ O ในแร่ควอตซ์ 1.00 kg
มวลต่อโมลของ SiO2 = 60.08 g/mol
1 mol SiO2 2 mol O 16.00 g O
มวลของ O = 1000 g SiO2 × × ×
60.08 g SiO2 1 mol SiO2 1 mol O
= 532.6 g O
มวลของ O ในหินปูน 1.00 kg
มวลต่อโมลของ CaCO3 = 100.09 g/mol
1 mol CaCO3 3 mol O 16.00 g O
มวลของ O = 1000 g CaCO3 × × ×
100.09 g CaCO3 1 mol CaCO3 1 mol O
= 479.6 g O
ดังนัน
้ มวลของออกซิเจนในแร่ควอตซ์และหินปูนอย่างละ 1.00 กิโลกรัม เท่ากับ 532.6 กรัม
และ 479.6 กรัม ตามลำ�ดับ

4. สารตัวอย่าง 0.500 กรัม ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O)


เมือ
่ เผาไหม้อย่างสมบูรณ์ พบว่าเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 0.687 กรัม และไอน้�ำ
(H2O) 0.140 กรัม จงคำ�นวณร้อยละโดยมวลของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนในสาร
ตัวอย่าง
ร้อยละโดยมวลของ C ในสารตัวอย่าง 0.500 g

มวลของ C ใน CO2
1 mol CO2 1 mol C 12.01 g C
= 0.687 g CO2 × × ×
44.01 g CO2 1 mol CO2 1 mol C
= 0.187 g C
0.187 g C
ร้อยละโดยมวลของ C ในสารตัวอย่าง = × 100
0.500 g sample
= 37.4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
40

ร้อยละโดยมวลของ H ในสารตัวอย่าง 0.500 g

มวลของ H ใน H2O
1 mol H2O 2 mol H 1.01 gH
= 0.140 g H2O × × ×
18.02 g H2O 1 mol H2O 1 mol H
= 0.0157 g H
0.0157 g H
ร้อยละโดยมวลของ H ในสารตัวอย่าง = × 100
0.500 g sample
= 3.14
ร้อยละโดยมวลของ O ในสารตัวอย่าง 0.500 g
ร้อยละโดยมวลของ O ในสารตัวอย่าง = 100.0 – 37.4 – 3.14 = 59.5
ดังนัน
้ ร้อยละโดยมวลของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนในสารตัวอย่าง เท่ากับ
37.4 3.14 และ 59.5 ตามลำ�ดับ

แบบฝึกหัด 4.7

1. คำ�นวณสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของสารทีป
่ ระกอบด้วยร้อยละโดยมวลของธาตุองค์ประกอบ ดังนี้

ร้อยละโดยมวลของธาตุองค์ประกอบ
ข้อ
โพแทสเซียม (K) คลอรีน (Cl) ออกซิเจน (O)

1.1 43.18 39.15 17.67

1.2 31.90 28.93 39.17

1.3 28.22 25.59 46.19

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
41

1.1 K 43.18 % Cl 39.15 % และ O 17.67 %

K Cl O

มวล (g) 43.18 39.15 17.67

1 mol K 1 mol Cl 1 mol O


43.18 g K × 39.15 g Cl × 17.67 g O ×
โมล (mol) 39.10 g K 35.45 g Cl 16.00 g O
= 1.104 = 1.104 = 1.104

หารด้วย
1.104 1.104 1.104
เลขจำ�นวน = 1.000 = 1.000 = 1.000
1.104 1.104 1.104
น้อยที่สุด

สูตร
KClO
เอมพิริคัล

1.2 K 31.90 % Cl 28.93 % และ O 39.17 %

K Cl O

มวล (g) 31.90 28.93 39.17

1 mol K 1 mol Cl 1 mol O


31.90 g K × 28.93 g Cl × 39.17 g O ×
โมล (mol) 39.10 g K 35.45 g Cl 16.00 g O
= 0.8159 = 0.8161 = 2.448

หารด้วย
0.8159 0.8161 2.448
เลขจำ�นวน = 1.000 = 1.000 = 3.000
0.8159 0.8159 0.8159
น้อยที่สุด

สูตร
KClO3
เอมพิริคัล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
42

1.3 K 28.22 % Cl 25.59 % และ O 46.19 %

K Cl O

มวล (g) 28.22 25.59 46.19

1 mol K 1 mol Cl 1 mol O


28.22 g K × 25.59 g Cl× 46.19 g O ×
โมล (mol) 39.10 g K 35.45 g Cl 16.00 g O
= 0.7217 = 0.7219 = 2.887

หารด้วย
0.7217 0.7219 2.887
เลขจำ�นวน = 1.000 = 1.000 = 4.000
0.7217 0.7217 0.7217
น้อยที่สุด

สูตร
KClO4
เอมพิริคัล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
43

2. เมือ
่ ฟอสฟอรัส (P) 9.29 กรัม เกิดการเผาไหม้จะได้สารประกอบออกไซด์หนัก 21.29 กรัม
จงหาสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของสารประกอบออกไซด์

หามวลของ O

จากโจทย์เมือ
่ เผาฟอสฟอรัส 9.29 g ได้สารประกอบออกไซด์ 21.29 g

ดังนัน
้ มวลของ O = 21.29 – 9.29 = 12.00 g

P O

มวล (g) 9.29 12.00

1 mol P 1 mol O
9.29 g P × 12.00 g O ×
โมล (mol) 30.97 g P 16.00 g O
= 0.300 = 0.7500

หารด้วย
0.300 0.7500
เลขจำ�นวน = 1.00 = 2.50
0.300 0.300
น้อยที่สุด

ทำ�ให้เป็น
1.00 × 2 = 2.00 2.50 × 2 = 5.00
เลขจำ�นวนเต็ม
สูตร
P2O5
เอมพิริคัล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
44


3. สารประกอบชนิดหนึง่ ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O)
เท่านั้น จากการวิเคราะห์พบว่ามีคาร์บอนร้อยละ 48.83 และไฮโดรเจนร้อยละ 8.12
โดยมวล จงหาสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของสารประกอบนี้

สารประกอบนีม
้ อ
ี อกซิเจนร้อยละ 100.00 – 48.83 – 8.12 = 43.05

C H O

มวล (g) 48.83 8.12 43.05

1 mol C 1 mol H 1 mol O


48.83 g C × 8.12 g H × 43.05 g O ×
โมล (mol) 12.01 g C 1.01 g H 16.00 g O
= 4.066 = 8.04 = 2.691

หารด้วย
4.066 8.04 2.691
เลขจำ�นวน = 1.511 = 2.99 = 1.000
2.691 2.691 2.691
น้อยที่สุด

ทำ�ให้เป็น
1.511 × 2 = 3.022 2.99 × 2 = 5.98
เลขจำ�นวน 1.000 × 2 = 2.000
≈3 ≈6
เต็ม
สูตร
C3H6O2
เอมพิริคัล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
45

4. เมื่ อ นำ � สารประกอบไฮโดรคาร์ บ อนชนิ ด หนึ่ ง มาเผาไหม้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ จ ะได้ แ ก๊ ส


คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 6.60 กรัม และไอน้�ำ (H2O) 4.10 กรัม จงหาสูตรเอมพิรค
ิ ล

ของสารประกอบนี้

หามวลของ C จาก CO2 ทีเ่ กิดขึน



12.01 g C
มวลของ C = 6.60 g CO2 ×
44.01 g CO2
= 1.80 g

หามวลของ H จาก H2O ทีเ่ กิดขึน



2 × 1.01 g H
มวลของ H = 4.10 g H2O ×
18.02 g H2O
= 0.460 g

C H

มวล (g) 1.80 0.460

1 mol C 1 mol H
1.80 g C × 0.460 g H ×
โมล (mol) 12.01 g C 1.01 g H
= 0.150 = 0.455

หารด้วย
0.150 0.455
เลขจำ�นวน = 1.00 = 3.03 ≈ 3
0.150 0.150
น้อยที่สุด
สูตร
CH3
เอมพิริคัล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
46


5. สารประกอบชนิดหนึง่ ประกอบด้วยกำ�มะถัน (S) และไนโตรเจน (N) เท่านัน
้ ถ้าสารประกอบนี้
มีก�ำ มะถันเป็นองค์ประกอบร้อยละ 69.60 โดยมวล และมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 184 จงหา
สูตรโมเลกุลของสารประกอบนี้

สารประกอบนีม
้ ไี นโตรเจนร้อยละ 100.00 – 69.60 = 30.40

S N

มวล (g) 69.60 30.40

1 mol S 1 mol N
69.60 g S × 30.40 g N ×
โมล (mol) 32.06 g S 14.01 g N
= 2.171 = 2.170

หารด้วย
2.171 2.170
เลขจำ�นวน = 1.000 = 1.000
2.170 2.170
น้อยที่สุด
สูตร
SN
เอมพิริคัล

สูตรโมเลกุล = (สูตรเอมพิรค
ิ ล
ั )n

= (SN)n

มวลโมเลกุล = n(มวลสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั )
มวลโมเลกุล
n =
มวลสูตรเอมพิรค
ิ ลั
= 184
32.06 + 14.01
= 184
46.07
= 3.99 ≈ 4

้ สูตรโมเลกุลของสารประกอบนี้ คือ (SN)4 = S4N4


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
47

6. กรดซอร์บก
ิ (sorbic acid) ใช้ผสมในอาหารเพือ
่ ยับยัง้ การเจริญเติบโตของจุลน
ิ ทรียบ
์ าง
ชนิด สารนีม
้ ม
ี วลโมเลกุล 112.13 ประกอบด้วยคาร์บอน (C) ร้อยละ 64.3 ไฮโดรเจน (H)
ร้อยละ 7.2 และออกซิเจน (O) ร้อยละ 28.5 โดยมวล จงหาสูตรโมเลกุลของกรดซอร์บก

C H O

มวล (g) 64.3 7.2 28.5

1 mol C 1 mol H 1 mol O


64.3 g C × 7.2 g H × 28.5 g O ×
โมล (mol) 12.01 g C 1.01 g H 16.00 g O
= 5.35 = 7.1 = 1.78

หารด้วย
5.35 7.1 1.78
เลขจำ�นวน = 3.01 ≈ 3 = 3.99 ≈ 4 = 1.00
1.78 1.78 1.78
น้อยที่สุด

สูตร
C3H4O
เอมพิริคัล

จาก มวลโมเลกุล = n(มวลสูตรเอมพิรค


ิ ล
ั )
มวลโมเลกุล
n =
มวลสูตรเอมพิรค
ิ ล

= 112.13
56.07
= 2.000

้ สูตรโมเลกุลของกรดออกซาลิก คือ (C3H4O)2 = C6H8O2


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
48


7. แก๊สชนิดหนึง่ ประกอบด้วยคาร์บอน (C) ร้อยละ 79.89 และไฮโดรเจน (H) ร้อยละ 20.11
โดยมวล และมีความหนาแน่น 1.34 กรัมต่อลิตร ที่ STP จงหาสูตรโมเลกุลของแก๊สนี้

C H

มวล (g) 79.89 20.11

1 mol C 1 mol H
79.89 g C × 20.11 g H ×
โมล (mol) 12.01 g C 1.01 g H
= 6.652 = 19.9

หารด้วย
6.652 19.9
เลขจำ�นวน = 1.000 = 2.99 ≈ 3.00
6.652 6.652
น้อยที่สุด
สูตร
CH3
เอมพิริคัล

มวลโมเลกุลมีคา่ เป็นตัวเลขเท่ากับมวลต่อโมล และแก๊ส 1 mol มีปริมาตร 22.4 L ที่ STP

จึงหามวลต่อโมลของแก๊ส จากความหนาแน่น 1.34 g/L ดังนี้

มวลต่อโมล = 1.34 g × 22.4 L


1L 1 mol
= 30.0 g/mol

จาก มวลโมเลกุล = n(มวลสูตรเอมพิรค


ิ ล
ั )
มวลโมเลกุล
n =
มวลสูตรเอมพิรค
ิ ล

= 30.0
15.04
= 1.99 ≈ 2.00

้ สูตรโมเลกุลของแก๊สนี้ คือ (CH3)2 = C2H6


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
49
แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด

แบบทดสอบ เฉลยแบบทดสอบ
แบบฝึกหัดท้ายบท

1. จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1.1 12C มีมวลอะตอมในหน่วยของหน่วยมวลอะตอม (u) และกรัม และมวลอะตอมสัมพัทธ์
เป็นเท่าใด
12C มีมวลอะตอม = 12 u
1.66 × 10-24 g
12C มีมวลอะตอม = 12 u ×
1u
= 2.0 × 10-23 g
12
C มีมวลอะตอมสัมพัทธ์ = 12

1.2 คาร์บอนมีมวลอะตอมเฉลีย
่ เป็นเท่าใด
มวลอะตอมเฉลี่ยของคาร์บอนที่เฉลี่ยจากมวลอะตอมหรือมวลอะตอมสัมพัทธ์ของ
ทุกไอโซโทปทีม
่ ใี นธรรมชาติซง่ึ มีคา่ เท่ากับ 12.01 u หรือ 12.01 ตามลำ�ดับ

1.3 มวลอะตอม มวลอะตอมสัมพัทธ์ และมวลอะตอมเฉลีย


่ เหมือนและต่างกันอย่างไร
มวลอะตอมและมวลอะตอมสัมพัทธ์เป็นค่าของแต่ละไอโซโทป โดยมวลอะตอมใน
หน่วย u มีคา่ เป็นตัวเลขเท่ากับมวลอะตอมสัมพัทธ์ แต่มวลอะตอมสัมพัทธ์เป็นค่าที่
ไม่มห
ี น่วย ต่างจากมวลอะตอมเฉลีย
่ ซึง่ เป็นค่าเฉลีย
่ จากมวลอะตอมของทุกไอโซโทป
ทีม
่ อ
ี ยูใ่ นธรรมชาติ โดยอาจมีหน่วยหรือไม่มห
ี น่วยก็ได้

2. สารละลายในข้อใด มีมวลมากทีส
่ ด

ส่วนผสมของสารละลาย
ข้อ
สารเคมี น้ำ�
2.1 HCl 0.500 mol 10.0 mL
2.2 NaCl 0.300 mol 15.0 mL
2.3 CuSO4.5H2O 0.070 mol 20.0 mL
2.4 C6H12O6 0.010 mol 25.0 mL

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
50


หาผลรวมมวลของสารเคมีและน้�ำ ในสารละลายแต่ละข้อได้ดงั นี้
มวลของสารละลายข้อ 2.1
36.46 g HCl 1 g H2O
= (0.500 mol HCl × ) + (10.0 mL H2O × )
1 mol HCl 1 mL H2O
= 28.2 g

มวลของสารละลายข้อ 2.2
58.44 g NaCl 1 g H2O
= (0.300 mol NaCl × ) + (15.0 mL H2O × )
1 mol NaCl 1 mL H2O
= 27.53 g

มวลของสารละลายข้อ 2.3
249.71 g CuSO4⋅5H2O 1 g H2O
= (0.0700 mol CuSO4⋅5H2O × ) + (20.0 mL H2O × )
1 mol CuSO4⋅5H2O 1 mL H2O
= 37.5 g

มวลของสารละลายข้อ 2.4
180.18 g C6H12O6 1 g H2O
= (0.010 mol C6H12O6 × ) + (25.0 mL H2O × )
1 mol C6H12O6 1 mL H2O
= 26.8 g
ดังนัน
้ สารละลายข้อ 2.3 มีมวลมากทีส
่ ด

3. จงหามวลของโซเดียม (Na) ทีม


่ จ
ี �ำ นวนอะตอมเท่ากับโพแทสเซียม (K) 8.00 กรัม
1 mol K 6.02 × 1023 atom K
จำ�นวนอะตอมของ K = 8.00 g K × ×
39.10 g K 1 mol K
23
= 1.23 × 10 atom K

มวลของ Na ทีม ี �ำ นวนอะตอมเท่ากับ 1.23 × 1023 atom


่ จ
1 mol Na 22.99 g Na
= 1.23 × 1023 atom Na × ×
6.02 × 10 atom Na 1 mol Na
23

= 4.70 g Na

ดังนัน
้ โซเดียม 4.70 กรัม มีจ�ำ นวนอะตอมเท่ากับโพแทสเซียม 8.00 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
51


4. ภาชนะใบหนึง่ มีมวล 400.00 กรัม เมือ
่ นำ�มาบรรจุแก๊สไนโตรเจน (N2) ที่ STP จนเต็ม จะ
มีมวลเท่ากับ 408.11 กรัม ถ้านำ�ภาชนะใบนีม
้ าบรรจุน�ำ้ จนเต็มจะมีมวลเป็นเท่าใด
หาปริมาตรของแก๊สไนโตรเจนในภาชนะ
1 mol N2 22.4 L N2 1000 mL N2
= (408.11 – 400.00) g N2 × × ×
28.02 g N2 1 mol N2 1 L N2
3
= 6.48 × 10 mL N2

ปริมาตรของแก๊สไนโตรเจนที่ได้ คือ ปริมาตรของภาชนะ เมื่อนำ�ภาชนะนี้มาบรรจุนำ้�


จนเต็ม จะหามวลของน้�ำ ทีบ
่ รรจุได้ดงั นี้

1 g H2O
มวลของน้�ำ ในภาชนะ = 6.48 × 103 mL H2O ×
1 mL H2O
= 6.48 × 103 g H2O

่ นำ�ภาชนะมาบรรจุน�ำ้ จนเต็ม จะมีมวล = 400.00 g + (6.48 × 103) g


เมือ
= 6.88 × 103 g
ดังนัน ่ รรจุน�ำ้ จนเต็มมีมวล 6.88 × 103 กรัม
้ ภาชนะทีบ

5. จงหาความหนาแน่นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ STP ในหน่วยกรัมต่อลิตร


แก๊ส CO2 1 mol มีมวล 44.01 g และมีปริมาตร 22.4 L

44.01 g CO2
ความหนาแน่นของแก๊ส CO2 ที่ STP = = 1.96 g/L
22.4 L CO2

ดังนัน
้ ความหนาแน่นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 1.96 กรัมต่อลิตร ที่ STP

6. ตะกัว่ (Pb) มีมวลอะตอม 207.2 มีความหนาแน่น 11.4 กรัมต่อมิลลิลต


ิ ร จงคำ�นวณ
6.1 ปริมาตรของตะกัว่ 1 โมล

207.2 g Pb 1 mL Pb
ตะกัว่ 1 mol มีปริมาตร = ×
1 mol Pb 11.4 g Pb

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
52


= 18.2 mL Pb/mol Pb
ดังนัน
้ ตะกัว่ 1 โมล มีปริมาตร 18.2 มิลลิลต
ิ ร

6.2 ปริมาตรของตะกัว่ 1 อะตอม


ตะกัว่ 1 mol หรือ 6.02 × 1023 atom มีปริมาตร 18.2 mL

18.2 mL Pb 1 mol Pb
ตะกัว่ 1 atom มีปริมาตร = × × 1 atom Pb
1 mol Pb 6.02 × 1023 atom Pb

= 3.02 × 10-23 mL Pb
้ ตะกัว่ 1 อะตอม มีปริมาตร 3.02 × 10-23 มิลลิลต
ดังนัน ิ ร

7. แอมเฟตามีน (amphetamine) มีสูตร C9H13N มีความหนาแน่น 0.949 กรัมต่อมิลลิลิตร


จงคำ�นวณ
7.1 จำ�นวนโมลของแอมเฟตามีน 6.75 กรัม
มวลต่อโมลของ C9H13N = (9 × 12.01) + (13 × 1.01) + 14.01
= 135.23 g/mol
1 mol C9H13N
โมลของ C9H13N = 6.75 g C9H13N ×
135.23 g C9H13N
= 0.0500 mol C9H13N
ดังนัน
้ แอมเฟตามีน 6.75 กรัม มีจ�ำ นวน 0.0500 โมล

7.2 ปริมาตรของแอมเฟตามีน 1.25 โมล


135.23 g C9H13N 1 mL C9H13N
ปริมาตรของ C9H13N = 1.25 mol C9H13N × ×
1 mol C9H13N 0.949 g C9H13N
= 178 mL C9H13N

ดังนัน
้ แอมเฟตามีน 1.25 โมล มีปริมาตร 178 มิลลิลต
ิ ร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
53


7.3 จำ�นวนอะตอมของธาตุองค์ประกอบในแอมเฟตามีน 18.04 กรัม
จำ�นวนอะตอมของธาตุใน C9H13N 1 molecule
= (C 9 atom + H 13 atom + N 1 atom) = 23 atom

จำ�นวนอะตอมของ C9H13N 18.04 g

1 mol C9H13N 6.02 × 1023 molecule C9H13N


= 18.04 g C9H13N × ×
135.23 g C9H13N 1 mol C9H13N
23 atom C9H13N
×
1 molecule C9H13N

= 1.85 × 1024 atom C9H13N


้ แอมเฟตามีน 18.04 กรัม มีจ�ำ นวนธาตุองค์ประกอบ 1.85 × 1024 อะตอม
ดังนัน

8. ธาตุ A จำ�นวน 0.500 โมล ทำ�ปฏิกริ ย


ิ าพอดีกบ
ั แก๊สคลอรีน (Cl2) 16.8 ลิตร ที่ STP เกิด
เป็นสารประกอบ B เพียงอย่างเดียว จำ�นวน 0.500 โมล ถ้ากำ�หนดให้สารประกอบ B มี
มวลต่อโมลเท่ากับ 133.33 กรัม จงคำ�นวณมวลต่อโมลของอะตอมธาตุ A

1 mol Cl2
โมลของ Cl2 = 16.8 L Cl2 × = 0.750 mol Cl2
22.4 L Cl2

แสดงว่าธาตุ A 0.500 mol ทำ�ปฏิกริ ย


ิ ากับ Cl2 0.750 mol ได้สาร B 0.500 mol
นัน
่ คือ
มวล A (g) 70.90 g Cl2
[0.500 mol A × ] + [ 0.750 mol Cl2 × ]
1 mol A 1 mol Cl2
133.33 g B
= 0.500 mol B ×
1 mol B

มวล A (g) = 27.0 g/mol


มวล A ทีค
่ �ำ นวณได้เป็นมวลของ A ปริมาณ 1 โมล ดังนัน
้ มวลต่อโมลของอะตอมของ
ธาตุ A เท่ากับ 27.0 กรัมต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
54


9. เมือ
่ สาร Z 15.0 กรัม กลายเป็นไอหมดจะมีปริมาตร 5.6 ลิตร ที่ STP มวลโมเลกุลของสาร
Z มีคา่ เท่าใด
มวลโมเลกุลมีคา่ เป็นตัวเลขเท่ากับมวลต่อโมล และแก๊ส 1 mol มีปริมาตร 22.4 L ที่ STP
มวลต่อโมลของสาร Z หาได้ดงั นี้
15.0 g Z 22.4 L Z
มวลต่อโมลของสาร Z = ×
5.6 L Z 1 mol Z
= 60 g/mol Z
ดังนัน
้ สาร Z มีมวลของโมเลกุลเท่ากับ 60

10. ดี เ กลื อ เป็ น สารเคมี ท่ี ส ามารถดู ด ความชื้ น ได้ ดี โดยสู ต รเคมี ท่ั ว ไปของดี เ กลื อ คื อ
MgSO4⋅nH2O ถ้านำ�ดีเกลือมาวิเคราะห์พบว่า มีแมกนีเซียม (Mg) อยู่ร้อยละ 9.86
โดยมวล จงคำ�นวณสูตรเคมีของดีเกลือ
มวลต่อโมลของ MgSO4⋅nH2O = 24.30 + 32.06 + 4(16.00) +
n[2(1.01) + 16.00] g/mol
= 120.36 + n18.02 g/mol
มวลต่อโมลของ Mg
ร้อยละโดยมวลของ Mg = × 100
molar mass MgSO4⋅nH2O

24.30 g/mol
9.86 = × 100
(120.36 + n18.02 ) g/mol

24.30
120.36 + n18.02 = × 100
9.86

n = 7
ดังนัน
้ สูตรเคมีของดีเกลือ คือ MgSO4⋅7H2O

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
55


11. ของเหลวชนิดหนึง่ ปริมาตร 1.758 × 10-2 ลิตร มีความหนาแน่นเท่ากับ 2.480 กรัมต่อ
มิลลิลิตร เมื่อเป็นแก๊สจะมีปริมาตร 16.80 ลิตร ที่ STP เมื่อนำ�สารชนิดนี้มาวิเคราะห์
องค์ประกอบพบว่า มีรอ
้ ยละโดยมวลของธาตุคาร์บอน (C) และธาตุไฮโดรเจน (H) เท่ากับ
82.628 และ 17.372 ตามลำ�ดับ จงคำ�นวณสูตรโมเลกุลของสารชนิดนี้
หามวลโมเลกุล
หามวลของสารจากปริมาตรและความหนาแน่นเมือ่ อยูใ่ นสถานะของเหลว ดังนี้
1000 mL 2.480 g
มวลของสาร = 1.758 × 10-2 L × ×
1L 1.00 mL
= 43.60 g
หาจำ�นวนโมลของสารจากปริมาตรที่ STP เมือ
่ อยูใ่ นสถานะแก๊ส ดังนี้
1 mol
จำ�นวนโมลของสาร = 16.80 L × = 0.750 mol
22.4 L
43.60 g
มวลต่อโมลของสาร = = 58.13 g/mol
0.750 mol

นัน
่ คือ มวลโมเลกุลของสารนีเ้ ท่ากับ 58.13
หาสูตรเอมพิรค
ิ ล

อัตราส่วนโดยมวลของ C : H = 82.628 : 17.372

82.628 17.372
อัตราส่วนโดยโมลของ C : H = :
12.01 1.01

= 6.880 : 17.2
ทำ�ให้เป็นเลขจำ�นวนเต็มโดยหารด้วย 6.880 จะได้
อัตราส่วนโดยโมลของ C : H = 1 : 2.5
= 1 × 2 : 2.5 × 2
= 2 : 5
สูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของสารประกอบนีค
้ อ
ื C2H5
หาสูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล = n(มวลสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั )
= n(มวลสูตร C2H5)
58.13 = n[(2 × 12.01) + (5 × 1.01)]

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2
56


58.13 = n(29.07)
n = 2.000
ดังนัน
้ สูตรโมเลกุลของสารประกอบนีค
้ อ
ื (C2H5)2 = C4H10

12. ดีลดริน (dieldrin) เป็นสารฆ่าแมลงประเภทเดียวกับ ดี.ดี.ที. ทีม


่ ผ
ี ลตกค้างต่อสิง่ แวดล้อม
เป็นอย่างมาก โมเลกุลของดีลดรินประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน
(O) และคลอรี น (Cl) การเผาไหม้ ข องดี ล ดริ น 29.72 มิ ล ลิ ก รั ม ทำ � ให้ เ กิ ด แก๊ ส
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 41.21 มิลลิกรัม และไอน้�ำ (H2O) 5.63 มิลลิกรัม และในการ
วิเคราะห์ดีลดรินจำ�นวน 25.31 มิลลิกรัม จะได้ตะกอนซิลเวอร์คลอไรด์ (AgCl) 57.13
มิลลิกรัม จงหาสูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของดีลดริน
หามวลของ C จาก CO2 41.21 mg
มวลของ C
1 g CO2 1 mol CO2 1 mol C 12.01 g C
= 41.21 mg CO2 × × × ×
1000 mg CO2 44.01 g CO2 1 mol CO2 1 mol C

= 1.125 × 10-2 g C = 11.25 mg C



หามวลของ H จาก H2O 5.63 mg
มวลของ H
1 g H2O 1 mol H2O 2 mol H 1.01 g H
= 5.63 mg H2O × × × ×
1000 mg H2O 18.02 g H2O 1 mol H2O 1 mol H

= 6.31 × 10-4 g H = 0.631 mg H

หามวลของ Cl ในดีลดริน 29.72 mg


โดยหามวลของ Cl จาก AgCl 57.13 mg
มวลของ Cl
1 g AgCl 1 mol AgCl 1 mol Cl 35.45 g Cl
= 57.13 mg AgCl × × × ×
1000 mg AgCl 143.32 g AgCl 1 mol AgCl 1 mol Cl

= 1.413 × 10-2 g Cl = 14.13 mg Cl

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี
57

`
นัน
่ คือ ดีลดริน 25.31 mg มี Cl 14.13 mg จากนัน
้ หามวลของ Cl ในดีลดริน 29.72 mg
ดังนี้
14.13 mg Cl
มวลของ Cl = × 29.72 mg dieldrin
25.31 mg dieldrin

= 16.59 mg Cl
หามวลของ O ในดีลดริน 29.72 mg
มวลของ O = 29.72 mg – 11.25 mg – 0.631 mg – 16.59 mg
= 1.25 mg
หาสูตรเอมพิรค
ิ ล

C H O Cl
มวล (g) 11.25 × 10-3 0.631 × 10-3 1.25 × 10-3 16.59 × 10-3

โมล (mol) 11.25 × 10-3 0.631 × 10-3 1.25 × 10-3 16.59 × 10-3
12.01 1.01 16.00 35.45
= 0.9367 × 10-3 = 0.625 × 10-3 = 0.0781 × 10 -3
= 0.4680 × 10-3
หารด้วย 0.9367 × 10-3 0.625 × 10-3 0.0781 × 10-3 0.4680 × 10-3
เลขจำ�นวน 0.0781 × 10-3 0.0781 × 10-3 0.0781 × 10-3 0.0781 × 10-3
น้อยที่สุด = 11.99 ≈ 12.00 = 8.00 = 1.00 = 5.99 ≈ 6.00

สูตรเอมพิริคัล C12H8OCl6

ดังนัน
้ สูตรเอมพิรค
ิ ล
ั ของดีลดริน คือ C12H8OCl6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
58

บทที่ 5

สารละลาย
ipst.me/7706

ผลการเรียนรู้

1. คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่าง ๆ
2. อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตี และปริมาตรของ
สารละลายตามที่กำ�หนด
3. เปรี ย บเที ย บจุ ด เดื อ ดและจุ ด เยื อ กแข็ ง ของสารละลายกั บ สารบริ สุ ท ธิ์ ​​​​​​​​​​​​​​รวมทั้ ง คำ � นวณ
จุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลาย

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้
1. คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่าง ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหน่วยความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ ส่วนในล้านส่วน
ส่วนในพันล้านส่วน โมลาริตี โมแลลิตี และเศษส่วนโมล
2. คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ ส่วนในล้านส่วน ส่วนในพันล้านส่วน
โมลาริตี โมแลลิตี และเศษส่วนโมล

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จ�ำ นวน - 1. ความใจกว้าง
2. ความรอบคอบ

ผลการเรียนรู้
2. อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตี และปริมาตรของ
สารละลายตามที่กำ�หนด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
59

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธก
ี ารและเตรียมสารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นในหน่วยโมลาริตแ
ี ละปริมาตรตามทีก
่ �ำ หนด
จากสารบริสท
ุ ธิ์
2. อธิบายวิธก
ี ารและเตรียมสารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นในหน่วยโมลาริตแ
ี ละปริมาตรตามทีก
่ �ำ หนด
ด้วยวิธก
ี ารเจือจาง

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การวัด 1. การสื่ อ สารสารสนเทศ 1. ความรอบคอบ
2. การใช้จ�ำ นวน และการรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
2. ความร่วมมือ การทำ�งาน
เป็นทีม และภาวะผูน
้ �ำ

ผลการเรียนรู้
3. เปรียบเทียบจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายกับสารบริสุทธิ์ รวมทั้งคำ�นวณจุดเดือด
และจุดเยือกแข็งของสารละลาย
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความแตกต่างระหว่างจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายกับสารบริสท
ุ ธิ์
2. บอกความหมายของค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (Kb) และค่าคงที่ของการลดลงของ
จุดเยือกแข็ง (Kf)
3. คำ�นวณจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลาย

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การทดลอง 1. การสื่ อ สารสารสนเทศ 1. ความมุง่ มัน
่ อดทน
2. การสังเกต และการรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. ความรอบคอบ
3. การลงความเห็นจากข้อมูล 2. ความร่วมมือ การทำ�งาน 3. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
4. การตี ค วามหมายข้ อ มู ล เป็นทีม และภาวะผูน
้ �ำ
และลงข้อสรุป
5. การใช้จ�ำ นวน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
60

ผังมโนทัศน์
บทที่ 5 สารละลาย

ส่วนในล้านส่วน โมลาริตี เศษส่วนโมล

ร้อยละ ส่วนในพันล้านส่วน โมแลลิตี

ความเข้มข้น

สารละลาย

การเตรียมสารละลาย สมบัติของสารละลาย

การเตรียมจาก การเจือจาง จุดเดือด จุดหลอมเหลว


สารบริสุทธิ์ สารละลาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
61

สาระสำ�คัญ

สารที่พบในชีวิตประจำ�วันจำ�นวนมากอยู่ในรูปของสารละลาย ซึ่งประกอบด้วยตัวทำ�ละลาย
และตัวละลาย การบอกปริมาณของสารในสารละลายบอกเป็นความเข้มข้นในหน่วยต่าง ๆ เช่น
ร้อยละ ส่วนในล้านส่วน ส่วนในพันล้านส่วน โมลาริตี โมแลลิตี และเศษส่วนโมล
การเตรียมสารละลายให้มค
ี วามเข้มข้นและปริมาตรตามทีก
่ �ำ หนด ทำ�ได้โดยการละลายตัวละลาย
ที่เป็นสารบริสุทธิ์ในตัวทำ�ละลาย หรือนำ�สารละลายที่มีความเข้มข้นมาเจือจางด้วยตัวทำ�ละลาย โดย
ปริมาณของสารที่ใช้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลายที่ต้องการ
สารละลายมี จุ ด เดื อ ดและจุ ด เยื อ กแข็ ง แตกต่ า งไปจากสารบริ สุ ท ธิ์ ที่ เ ป็ น ตั ว ทำ � ละลายใน
สารละลาย โดยสมบัตท
ิ เี่ ปลีย
่ นแปลงไปเป็นสมบัตค
ิ อลลิเกทีฟ ซึง่ ขึน
้ อยูก
่ บ
ั ชนิดของตัวทำ�ละลาย และ
ความเข้มข้นในหน่วยโมแลลที่บอกปริมาณของตัวละลายในตัวทำ�ละลาย

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 15 ชัว่ โมง


5.1 ความเข้มข้นของสารละลาย 6 ชั่วโมง
5.2 การเตรียมสารละลาย 5 ชั่วโมง
5.3 สมบัติบางประการของสารละลาย 4 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย การวัดปริมาณสาร โมล มวลต่อโมล และการละลายของสาร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
62

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน

จงทำ�เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และทำ�เครื่องหมาย หน้าข้อความที่


ไม่ถูกต้อง
… ... 1. อากาศเป็นสารบริสุทธิ์
อากาศเป็นสารละลาย ประกอบด้วยแก๊สหลายชนิด
… … 2. สารละลายมีสถานะเป็นของเหลวเสมอ
สารละลายมีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
… ... 3. แอลกอฮอล์ล้างแผลเข้มข้นร้อยละ 70 โดยปริมาตร มีแอลกอฮอล์เป็นตัวละลาย
และน้ำ�เป็นตัวทำ�ละลาย
แอลกอฮอล์ล้างแผลเข้มข้นร้อยละ 70 โดยปริมาตร มีน้ำ�เป็นตัวละลาย และ
แอลกอฮอล์ เ ป็น ทำ � ตัว ละลาย เนื่อ งจากแอลกอฮอล์มีปริมาณมากกว่าน้ำ�จึง
เป็นตัวทำ�ละลาย
… … 4. สารละลายกลูโคสร้อยละ 5 โดยมวล หมายถึง สารละลายที่มีกลูโคส 5 กรัม ในน้ำ�
100 กรัม
สารละลายกลูโคสร้อยละ 5 โดยมวล หมายถึง สารละลายที่มีกลูโคส 5 กรัม ใน
สารละลาย 100 กรัม
… ... 5. แอลกอฮอล์มีความหนาแน่น 0.79 กรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนน้ำ�มีความหนาแน่น
1.00 กรัมต่อมิลลิลิตร ดังนั้น แอลกอฮอล์ 1 กรัม จะมีปริมาตรมากกว่าน้ำ� 1
กรัม
… ... 6. ถ้าต้องการตวงสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ปริมาตร 10.00 มิลลิลิตร
ให้มีความถูกต้องแม่นยำ� ควรใช้บีกเกอร์
ถ้าต้องการตวงสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ปริมาตร 10.00 มิลลิลิตร
ให้มีความถูกต้องแม่นยำ� ควรใช้ปิเปตต์
… ... 7. เฮกเซนมีความหนาแน่น 0.66 กรัมต่อมิลลิลิตร ถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยเป็น
1L
กิโลกรัมต่อลิตร ต้องใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย และ 1000 g
1000 mL 1 kg

1000 mL 1 kg
ต้องใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย และ
1L 1000 g

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
63


… … 8. กลูโคส (C6H12O6) 1 โมล กับกรดไฮโดรคลอริก (HCl) 12 โมล เมื่อละลายน้ำ�
+
ปริมาตรเท่ากัน แตกตัวให้ปริมาณ H เท่ากัน
+
กลูโคสเป็นสารโคเวเลนต์เมื่อละลายน้ำ�จึงไม่แตกตัวให้ H
… … 9. แมกนีเซียมไนเทรต (Mg(NO3)2) 0.5 โมล มีมวล 74.16 กรัม เมื่อมวลต่อโมล
ของแมกนีเซียมไนเทรตเท่ากับ 148.32 กรัมต่อโมล
… ... 10. กรดแอซีติก (C2H4O2) 1 โมล มีมวลเท่ากับ 60.06 กรัม เมื่อกำ�หนดให้มวลต่อโมล
ของธาตุ C = 12.01 กรัมต่อโมล H = 1.01 กรัมต่อโมล และ O = 16.00 กรัมต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
64

5.1 ความเข้มข้นของสารละลาย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหน่วยความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ ส่วนในล้านส่วน
ส่วนในพันล้านส่วน โมลาริตี โมแลลิตี และเศษส่วนโมล
2. คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ ส่วนในล้านส่วน ส่วนในพันล้านส่วน
โมลาริตี โมแลลิตี และเศษส่วนโมล

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ความเข้มข้นในหน่วยโมแลล เป็นปริมาณของ ความเข้มข้นในหน่วยโมแลล เป็นปริมาณของ


ตัวละลายในสารละลาย ตัวละลายในตัวทำ�ละลาย

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. ตัวอย่างรูปหรือแก้วที่มีน้ำ�แดงเต็มแก้ว แก้วที่มีน้ำ�แดงครึ่งแก้ว และแก้วที่มีน้ำ�แดงผสมน้ำ�
เต็มแก้ว
2. ตารางสำ�หรับตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความเข้มข้นในหน่วยต่าง ๆ

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูแสดงตัวอย่างรูปหรือแก้วที่ใส่น้ำ�แดง 3 แก้ว ต่อไปนี้
1) น้ำ�แดงเต็มแก้ว 2) น้ำ�แดงครึ่งแก้ว 3) น้ำ�แดงผสมน้ำ�เต็มแก้ว ดังรูป

1) 2) 3)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
65

2. ครูตั้งคำ�ถามว่า น้ำ�แดงทั้ง 3 แก้วเป็นสารบริสุทธิ์หรือสารละลาย ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า


น้ำ�แดงทั้ง 3 แก้วเป็นสารละลาย จากนั้นครูให้นักเรียนเปรียบเทียบความเข้มข้นและปริมาตรของ
น้ำ�แดงทั้ง 3 แก้ว ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า
- น้ำ�แดงแก้วที่ 1) และ 2) มีความเข้มข้นเท่ากัน แต่มีปริมาตรต่างกัน
- น้ำ�แดงแก้วที่ 1) และ 3) มีปริมาตรเท่ากัน แต่มีความเข้มข้นต่างกัน
- น้ำ�แดงแก้วที่ 2) มีความเข้มข้นมากกว่าแก้วที่ 3) แต่มีปริมาตรน้อยกว่า
จากนั้นครูสรุปเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปการบอกปริมาณของสารละลายส่วนใหญ่ระบุเป็นความ
เข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย
3. ครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความหมายของความเข้มข้น เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
ความเข้มข้นของสารละลายส่วนใหญ่เป็นอัตราส่วนของปริมาณตัวละลายต่อปริมาณสารละลาย จาก
นั้นใช้คำ�ถามว่า นักเรียนทราบหน่วยความเข้มข้นใดบ้าง ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า หน่วยร้อยละ
4. ครูทบทวนความหมายของความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละทั้งร้อยละโดยมวล
ร้อยละโดยปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร จากนัน
้ ครูยกตัวอย่างสารละลายทีพ
่ บในชีวต
ิ ประจำ�วัน
เช่น แอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 70 โดยปริมาตร แล้วให้นักเรียนระบุชนิดและปริมาณของตัวละลาย
และตัวทำ�ละลาย ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ในสารละลาย 100 มิลลิลิตร ตัวละลายคือ น้ำ�ปริมาตร 30
มิลลิลิตร และ ตัวทำ�ละลายคือ แอลกอฮอล์ปริมาตร 70 มิลลิลิตร จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถาม
เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. คำ�นวณความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวลของสารละลายต่อไปนี้
1.1 โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 50.0 กรัม ในน้ำ� 200.0 กรัม

มวลของ NaCl (g)


ร้อยละโดยมวลของสารละลาย NaCl = × 100 %
มวลของสารละลาย (g)
50.0 g NaCl
= ×
n 100 %
(50.0 + 200.0)g sol
n
= 20.0 % g NaCl/g sol
ดังนัน
้ สารละลายโซเดียมคลอไรด์มค
ี วามเข้มข้นร้อยละ 20 โดยมวล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
66

1.2 กรดแอซีติก (C2H4O2) 0.50 โมล ในน้ำ� 3.0 โมล

มวลของ C2H4O2 (g)


ร้อยละโดยมวลของสารละลาย C2H4O2 = × 100 %
มวลของสารละลาย (g)

นั่นคือ ต้องคำ�นวณมวลของ C2H4O2 และมวลของสารละลาย ดังนี้


มวลต่อโมลของ C2H4O2 = (2 × 12.01) + (4 × 1.01) + (2 × 16.00)
= 60.06 g/mol
60.06 g C2H4O2
มวลของ C2H4O2 = 0.50 mol C2H4O2 ×
1 mol C2H4O2
= 30 g C2H4O2
มวลต่อโมลของ H2O = (2 × 1.01) + (1 × 16.00)
= 18.02 g/mol

18.02 g H2O
มวลของ H2O = 3.0 mol H2O ×
1 mol H2O
= 54 g H2O
มวลของสารละลาย = มวลของ C2H4O2 + มวลของ H2O
= 30 g + 54 g = 84 g
30 g C2H4O2
ร้อยละโดยมวลของสารละลาย C2H4O2 = ×
n
100 %
84 g sol
n
= 36 % g C2H4O2/g sol
ดังนั้น สารละลายกรดแอซีติกมีความเข้มข้นร้อยละ 36 โดยมวล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
67

2. สารละลายน้�ำ ตาลทราย (C12H22O11) เข้มข้นร้อยละ 22.0 โดยมวล มีความหนาแน่น 1.09


กรัมต่อมิลลิลิตร ในสารละลาย 1.0 มิลลิลิตร มีน้ำ�ตาลทรายละลายอยู่กี่กรัม

มวลของน้ำ�ตาลทรายในสารละลาย 1.0 มิลลิลิตร


n
1.09 g sol
n 22.0 g C12H22O11
= 1.0 mL sol × ×
n n
1 mL sol 100 g sol
= 0.24 g C12H22O11
ดังนั้น มวลของน้ำ�ตาลทรายในสารละลาย 1.0 มิลลิลิตร เท่ากับ 0.24 กรัม

3. สารละลายกรดซัลฟิวริก (H2SO4) เข้มข้นร้อยละ 35 โดยมวล มีความหนาแน่น 1.26 กรัม


ต่อมิลลิลิตร ที่ 20 องศาเซลเซียส
3.1 ในสารละลาย 100 ลิตร มีกรดซัลฟิวริกละลายอยู่กี่กรัม

มวลของ H2SO4 ในสารละลาย 100 L


n n
35 g H SO4 1.26 g sol 1000 mL sol n
= 2 n × × ×
n n
100 L sol
100 g sol 1 mL sol 1 L sol

= 4.4 × 104 g H2SO4


ดังนั้น สารละลายกรดซัลฟิวริก 100 ลิตร มีกรดซัลฟิวริก 4.4 × 104 กรัม

3.2 สารละลายที่มีกรดซัลฟิวริกละลายอยู่ 500 กรัม มีปริมาตรกี่ลิตร

ปริมาตรของสารละลายที่มี H2SO4 500 g


n n n
100 g sol 1 mL sol 1 L sol
= 500 g H2SO4 × × ×
n n
35 g H2SO4 1.26 g sol 1000 mL sol
n
= 1.1 L sol
ดังนั้น สารละลายที่มีกรดซัลฟิวริกละลายอยู่ 500 กรัม มีปริมาตร 1.1 ลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
68

5. ครูอธิบายความหมายของความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยส่วนในล้านส่วนและส่วนใน
พันล้านส่วน พร้อมทั้งแสดงการคำ�นวณตามตัวอย่าง 1 และ 2 จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามจาก
ตัวอย่างคำ�ถามที่กำ�หนดให้ แล้วเฉลยคำ�ตอบร่วมกัน
ตัวอย่างคำ�ถาม
จงเติมข้อมูลที่เกี่ยวกับสารละลายเอทานอลในน้ำ�ลงในตารางที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้

ปริมาตรของ ปริมาตรของ ปริมาตรของ ส่วนใน ส่วนใน


ตัวละลาย (mL) ตัวทำ�ละลาย (mL) สารละลาย (mL) ล้านส่วน พันล้านส่วน
3.24 103.24

แนวคำ�ตอบ

ปริมาตรของ ปริมาตรของ ปริมาตรของ ส่วนใน ส่วนใน


ตัวละลาย (mL) ตัวทำ�ละลาย (mL) สารละลาย (mL) ล้านส่วน พันล้านส่วน
4
3.24 100.00 103.24 3.14 × 10 3.14 × 107

จงเติมข้อมูลที่เกี่ยวกับความเข้มข้นของแมงกานีสในน้ำ�ลงในตารางที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้

มวลของ มวลของ มวลของ ส่วนใน ส่วนใน


ตัวละลาย (g) น้ำ� (g) สารละลาย (g) ล้านส่วน พันล้านส่วน
5.0 1.0 × 105

แนวคำ�ตอบ

มวลของ มวลของ มวลของ ส่วนใน ส่วนใน
ตัวละลาย (g) น้ำ� (g) สารละลาย (g) ล้านส่วน พันล้านส่วน
5.0 1.0 × 105 1.0 × 105 50 5.0 × 104

6. ครูอธิบายความหมายของโมลาริตี พร้อมทั้งแสดงการคำ�นวณตามตัวอย่าง 3 และ 4 และ


อธิบายความหมายของโมแลลิตี พร้อมทัง้ แสดงการคำ�นวณตามตัวอย่าง 5 และ 6 จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียน
ตอบคำ�ถามจากตัวอย่างคำ�ถามที่กำ�หนดให้ แล้วเฉลยคำ�ตอบร่วมกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
69

ตัวอย่างคำ�ถาม
จงเติมข้อมูลที่เกี่ยวกับสารละลาย A ในน้ำ�ลงในตารางที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้ (มวลต่อโมลของ A
เท่ากับ 40 กรัมต่อโมล และความหนาแน่นของสารละลายเท่ากับ 1.2 กรัมต่อมิลลิลิตร)

ปริมาตรของ
มวลของ A (g) โมลของ A (mol) โมลาริตี (M) โมแลลิตี (m)
สารละลาย (mL)
20 250

แนวคำ�ตอบ

ปริมาตรของ
มวลของ A (g) โมลของ A (mol) โมลาริตี (M) โมแลลิตี (m)
สารละลาย (mL)
20 250 0.50 2.0 1.8

7. ครูอธิบายความหมายของเศษส่วนโมล พร้อมทั้งแสดงการคำ�นวณตามตัวอย่าง 7 และ 8


จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามจากตัวอย่างคำ�ถามที่กำ�หนดให้ แล้วเฉลยคำ�ตอบร่วมกัน
ตัวอย่างคำ�ถาม
จงเติมข้อมูลทีเ่ กีย
่ วกับสารละลายกลูโคสในน้�ำ ลงในตารางทีก
่ �ำ หนดให้ตอ
่ ไปนี้ (มวลต่อโมลของ
กลูโคสและน้ำ�เท่ากับ 180.18 และ 18.02 กรัมต่อโมล ตามลำ�ดับ)

มวล มวล โมล โมล เศษส่วนโมล ร้อยละโดยโมล


ของน้�ำ (g) ของกลูโคส (g) ของน้�ำ ของกลูโคส ของกลูโคส ของกลูโคส
100.0 20.0

แนวคำ�ตอบ

มวล มวล โมล โมล เศษส่วนโมล ร้อยละโดยโมล


ของน้�ำ (g) ของกลูโคส (g) ของน้�ำ ของกลูโคส ของกลูโคส ของกลูโคส
100.0 20.0 5.549 0.111 0.0196 1.96

8. ครูให้ความรูเ้ พิม
่ เติมว่า หน่วยความเข้มข้นของสารละลายสามารถเปลีย
่ นจากหน่วยหนึง่ ไป
เป็นอีกหน่วยหนึง่ ได้ เช่น ร้อยละเป็นโมลาร์ โมลาร์เป็นโมแลล โมแลลเป็นเศษส่วนโมล พร้อมทัง้ แสดง
การคำ�นวณตามตัวอย่าง 9 – 12
9. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 5.1 เพื่อทบทวนความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
70

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยความเข้มข้นของสารละลายและวิธีการคำ�นวณความเข้มข้นของ
สารละลายในหน่วยต่าง ๆ จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้าง จากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปราย
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากการทำ�แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด 5.1

1. สินแร่ตัวอย่างชนิดหนึ่ง 0.456 กรัม เมื่อนำ�มาวิเคราะห์พบว่ามีโครเมียม(III)ออกไซด์


(Cr2O3) อยู่ 0.560 มิลลิกรัม สินแร่ตวั อย่างมีโครเมียม(III)ออกไซด์ อยูก
่ ส
่ี ว่ นในล้านส่วน

1 g Cr2O3
มวลของ Cr2O3 = 0.560 mg Cr2O3 ×
1000 mg Cr2O3

= 5.60 × 10-4 g Cr2O3


มวลของสารละลาย = 0.456 g

มวลของ Cr2O3 (g)


ความเข้มข้นของสารละลาย = × 106 ppm
มวลของสินแร่ (g)

5.60 × 10-4
= × 106 ppm
0.456 g

= 1.23 × 103 ppm
้ ในสินแร่ตวั อย่างมีโครเมียม(III)ออกไซด์อยู่ 1.23 × 103 ส่วนในล้านส่วน
ดังนัน

2. ในการตรวจสอบน้�ำ จากแหล่งน้�ำ แห่งหนึง่ พบว่ามีปริมาณของเลด(II)ไอออน (Pb2+) 0.20
ส่วนในล้านส่วน และมีซิงค์(II)ไอออน (Zn2+) 3.00 ส่วนในล้านส่วน ถ้าแหล่งน้ำ�นี้มี
ความกว้างเท่ากับ 3.00 เมตร มีความยาวเท่ากับ 10.00 เมตร และมีน�ำ้ อยูล
่ ก
ึ ประมาณ
1.50 เมตร ในแหล่งน้�ำ นีม
้ เี ลด(II)ไอออนและซิงค์(II)ไอออน ปนเปือ
้ นอยูก
่ ก
่ี รัม
1 m3 = 1000 L
ำ = 3.00 m × 10.00 m × 1.50 m = 45.00 m3
ปริมาตรของแหล่งน้�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
71


เนื่องจากสารละลายเจือจางมาก ดังนั้นจึงถือว่าปริมาตรของสารละลายในแหล่งน้ำ�
เท่ากับปริมาตรของน้�ำ
มวลของ Pb2+

0.20 mg Pb2+ 1 g Pb2+ 1000 L H2O


= × × 45.00
2+
m3 H2O ×
1 L H2O 1000 mg Pb 1 m3 H2O

= 9.0 g Pb2+

มวลของ Zn2+
3.00 mg Zn2+ 1 g Zn2+ 1000 L H2O
= × × 45.00
2+
m3 H2O ×
1 L H2O 1000 mg Zn 1 m3 H2O

= 135 g Zn2+
ดังนัน
้ ในแหล่งน้�ำ นีม
้ เี ลด(II)ไอออน 9.0 กรัม และซิงค์(II)ไอออน 135 กรัม

3. จงคำ�นวณความเข้มข้นในหน่วยโมลต่อลิตรของสารละลายต่อไปนี้
3.1 โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 3.0 โมล ในสารละลาย 0.650 ลิตร
3.0 mol NaCl
L soln
ความเข้มข้นของสารละลาย NaCl = 0.650

n
= 4.6 mol NaCl/L sol
ดังนัน
้ สารละลายโซเดียมคลอไรด์มค
ี วามเข้มข้น 4.6 โมลต่อลิตร

3.2 กรดไฮโดรคลอริก (HCl) 0.015 โมล ในสารละลาย 10 มิลลิลต


ิ ร
0.015 mol HCl 1000 mL sol
n

ความเข้มข้นของสารละลาย HCl = 10 ×
mL sol
n
1 L sol
n

n
= 1.5 mol HCl/L sol
ดังนัน
้ สารละลายกรดไฮโดรคลอริกมีความเข้มข้น 1.5 โมลต่อลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
72

3.3 กลูโคส (C6H12O6) 400 กรัม ในสารละลาย 800 มิลลิลต


ิ ร

ความเข้มข้นของสารละลาย C6H12O6
n
400 g C6H12O6 1000 mL sol 1 mol C6H12O6
= n ×
n ×
800 mL sol 1 L sol 180.18 g C6H12O6
n
= 2.78 mol C6H12O6/L sol
ดังนัน
้ สารละลายกลูโคสมีความเข้มข้น 2.78 โมลต่อลิตร

3.4 โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) 53 กรัม ในสารละลาย 1 ลิตร

53 g Na2CO3 1 mol Na2CO3


ความเข้มข้นของสารละลาย Na2CO3 = ×
n
1 L sol 105.99 g Na2CO3

n
= 0.50 mol Na2CO3/L sol
ดังนัน
้ สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตมีความเข้มข้น 0.50 โมลต่อลิตร

4. กรดเปอร์คลอริก (HClO4) มีมวลต่อโมล 100.46 กรัมต่อโมล ถ้าสารละลายกรดนีเ้ ข้มข้น


9.20 โมลต่อลิตร มีความหนาแน่น 1.54 กรัมต่อมิลลิลิตร จงคำ�นวณความเข้มข้นของ
สารละลายนีเ้ ป็นร้อยละโดยมวล
ความเข้มข้นของสารละลาย HClO4
n
9.20 mol HClO4 100.46 g HClO4 1 L sol
= 1 L
sol × 1 mol
n
HClO4 × 1000 mL soln
1 mL soln
× 1.54
g sol n × 100 %

n
= 60.0 %g HClO4/g sol
ดังนัน
้ สารละลายกรดเปอร์คลอริกเข้มข้นร้อยละ 60.0 โดยมวล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
73

5. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เข้มข้น 0.25 โมลต่อกิโลกรัม ถ้าสารละลายนีม


้ โี ซเดียม
คลอไรด์ละลายอยู่ 234 กรัม จะมีน�ำ้ กีก
่ โิ ลกรัม

มวลต่อโมลของ NaCl = 58.44 g/mol


1 mol NaCl 1 kg H2O
มวลของ H2O = 234 g NaCl × ×
58.44 g NaCl 0.25 mol NaCl

= 16 kg H2O
ดังนัน
้ สารละลายทีม
่ โี ซเดียมคลอไรด์ 234 กรัม จะมีน�
ำ้ 16 กิโลกรัม

6. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เข้มข้นร้อยละ 10.0 โดยมวล มีความเข้มข้นกีโ่ มลต่อ


กิโลกรัม

ความเข้มข้นของสารละลาย NaCl
10.0 g NaCl 1 mol NaCl 1000 g H2O
= × ×
90.0 g H2O 58.44 g NaCl 1 kg H2O

= 1.90 mol NaCl/kg H2O
ดังนัน
้ สารละลายโซเดียมคลอไรด์มค
ี วามเข้มข้น 1.90 โมลต่อกิโลกรัม

7. จงคำ�นวณหาเศษส่วนโมลของกรดซัลฟิวริก (H2SO4) ในสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น


15.5 โมลต่อลิตร และมีความหนาแน่น 1.760 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร

มวลต่อโมลของ H2SO4 และ H2O เท่ากับ 98.08 และ 18.02 g/mol ตามลำ�ดับ
n n
n 1000 mL sol 1.760 g sol
มวลของสารละลาย = 1 L sol × ×
n n
1 L sol 1 mL sol
n
= 1760 g sol

มวลของ H2SO4 = 15.5 mol H2SO4 × 98.08 g H2SO4


1 mol H2SO4
= 1520.2 g H2SO4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
74

มวลของ H2O = 1760 g – 1520.2 g


= 239.8 g

1 mol H O
โมลของ H2O = 239.8 g H2O × 2
18.02 g H2O

= 13.31 mol H2O

จำ�นวนโมลของ H2SO4
เศษส่วนโมลของ H2SO4 =
จำ�นวนโมลของ H2SO4 + จำ�นวนโมลของ H2O
15.5 mol H2SO4
=
15.5 mol H2SO4 + 13.31 mol H2O

= 0.538
ดังนัน
้ เศษส่วนโมลของกรดซัลฟิวริกในสารละลายเท่ากับ 0.538

8. จงคำ�นวณเศษส่วนโมลของทุกองค์ประกอบในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เข้มข้น


ร้อยละ 10.0 โดยมวล
มวลต่อโมลของ NaCl และ H2O เท่ากับ 58.44 และ 18.02 g/mol ตามลำ�ดับ

1 mol NaCl
จำ�นวนโมลของ NaCl = 10.0 g NaCl ×
58.44 g NaCl

= 0.171 mol NaCl



1 mol H2O
จำ�นวนโมลของ H2O = 90.0 g H2O ×
18.02 g H2O

= 4.99 mol H2O

0.171 mol NaCl
เศษส่วนโมลของ NaCl =
(0.171 mol NaCl + 4.99 mol H2O)

= 0.0331

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
75

4.99 mol H2O


เศษส่วนโมลของ H2O =
(0.171 mol NaCl + 4.99 mol H2O)

= 0.967
ดังนั้น เศษส่วนโมลของโซเดียมคลอไรด์เท่ากับ 0.0331 และเศษส่วนโมลของน้ำ�
เท่ากับ 0.967

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
76

5.2 การเตรียมสารละลาย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตีและปริมาตรตามที่
กำ�หนด จากสารบริสุทธิ์
2. อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตีและปริมาตรตามที่
กำ�หนด ด้วยวิธีการเจือจางจากสารละลายเข้มข้น

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า ถ้าต้องการเตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ให้มีความเข้มข้นและ
ปริมาตรตามที่ต้องการ มีวิธีการเตรียมอย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ต้องคำ�นวณปริมาณโซเดียม
คลอไรด์ที่ใช้ นำ�มาละลายน้ำ � แล้ ว ปรั บ ปริ มาตรตามที่ ต้องการ จากนั้ น นำ � เข้ า สู่ วิ ธี การเตรี ย ม
สารละลายจากสารบริสุทธิ์และการเตรียมสารละลายเจือจางจากสารละลายเข้มข้น
2. ครูอธิบายวิธีการเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์และการเตรียมสารละลายเจือจาง
จากสารละลายเข้มข้น
3. ครูเปิดวีดิทัศน์หรือสาธิตวิธีการเตรียมสารละลายเพื่อแสดงขั้นตอนการเตรียม จากนั้น
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อแนะนำ�ในการเตรียมสารละลายดังนี้
- การเตรียมสารละลายให้มค ี วามเข้มข้นถูกต้อง จะต้องชัง่ มวลและวัดปริมาตรของสาร
อย่างละเอียดเพื่อให้ได้ค่าถูกต้องที่สุด
- การปรับปริมาตร ไม่ควรเติมน้ำ�กลั่นเพียงครั้งเดียวให้ถึงขีดบอกปริมาตรของขวด
กำ�หนดปริมาตร เพราะจะทำ�ให้ทวี่ า่ งในขวดเหลือน้อย ไม่สะดวกในการเขย่าสาร และไม่ควรปรับ
ปริมาตรเกินขีดบอกปริมาตร เนือ ่ งจากจะไม่สามารถคำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายทีถ ่ ก
ู ต้อง
ได้
4. ครูให้นก ั เรียนแต่ละกลุม ่ ทำ�กิจกรรม 5.1 เพือ
่ เตรียมสารละลายจากสารบริสท ุ ธิแ ์ ละเตรียม
สารละลายเจือจางจากสารละลายเข้มข้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
77

กิจกรรม 5.1 การเตรียมสารละลาย

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. คำ�นวณมวลของตัวละลายเพื่อใช้เตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นและปริมาตรตาม
ต้องการ
2. เตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นและปริมาตรตามต้องการ

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 2.338 g
2. น้ำ�กลั่น 200 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. เครื่องชั่ง 1 เครื่อง
2. ขวดกำ�หนดปริมาตร ขนาด 100 mL 2 ใบ
3. ปิเปตต์แบบใช้ตวง ขนาด 10 mL 1 อัน
4. กรวยกรอง 1 อัน
5. บีกเกอร์ 2 ใบ
6. แท่งแก้วคน 1 อัน
7. ขวดน้ำ�กลั่น 1 ใบ
8. หลอดหยด 2 อัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
78

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ครูทบทวนเทคนิคและวิธก
ี ารใช้อป
ุ กรณ์ในการเตรียมสารละลาย เช่น ปิเปตต์ ขวดกำ�หนด
ปริมาตร เครือ
่ งชัง่
2. ครูอาจให้นก
ั เรียนเตรียมสารละลายโดยเปลีย
่ นจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์เป็นสารอืน

ได้ตามความเหมาะสม

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตอนที่ 1 เตรียม NaCl 0.40 mol/L ปริมาตร 100 mL
มวลต่อโมลของ NaCl = 58.44 g/mol
คำ�นวณมวล NaCl ที่ต้องใช้
n
0.40 mol NaCl n 58.44 g NaCl 1 L sol
มวล NaCl = × 100 mL sol × × n
1 L sol
n
1 mol NaCl 1000 mL sol

= 2.3 g NaCl
มวลของ NaCl ที่ชั่งได้จริง = 2.338 g
ดังนั้นการเตรียมสารละลายทำ�ได้โดยชั่ง NaCl 2.338 กรัม แล้วละลายด้วยน้ำ�กลั่น
ในบีกเกอร์ เทสารใส่ลงขวดกำ�หนดปริมาตรขนาด 100 mL ชะบีกเกอร์และแท่งแก้วคนด้วย
น้ำ�กลั่น แล้วเทใส่ขวดกำ�หนดปริมาตร หมุนวนขวดกำ�หนดปริมาตร จากนั้นปรับปริมาตร
ด้วยน้ำ�กลั่นคำ�นวณความเข้มข้นจริงที่ได้จากการเตรียม
ความเข้มข้นของสารละลาย
n
2.338 g NaCl 1 mol NaCl 1000 mL sol
= ×
n
× n
100 mL sol 58.44 g NaCl 1 L sol

= 0.4001 mol/L
ดังนั้น ความเข้มข้นของสารละลายที่เตรียมได้จริงเท่ากับ 0.4001 mol/L

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
79

ตอนที่ 2 เตรียม NaCl 0.040 mol/L ปริมาตร 100 mL โดยเจือจางจากสารละลายที่


เตรียมได้ในตอนที่ 1
คำ�นวณจำ�นวนโมลของโซเดียมคลอไรด์เข้มข้น 0.040 mol/L ปริมาตร 100 mL
ที่ต้องการเตรียม
0.040 mol NaCl n
จำ�นวนโมลของ NaCl = n × 100 mL sol
1000 mL sol

= 0.0040 mol
คำ�นวณปริมาตรของ NaCl 0.4001 mol/L จากสารละลายตอนที่ 1
n
1000 mL sol
ปริมาตรของสารละลาย = 0.0040 mol NaCl ×
0.4001 mol NaCl

= 10 mL
ดังนัน
้ การเตรียมสารละลาย ทำ�ได้โดยปิเปตต์ NaCl 0.4001 mol/L (จากตอนที่ 1)
ปริมาตร 10 mL ใส่ลงขวดกำ�หนดปริมาตรขนาด 100 mL แล้วปรับปริมาตรด้วยน้ำ�กลั่น

อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม
1. จากการทำ�กิจกรรรมตอนที่ 1 การเตรียม NaCl 0.40 mol/L ปริมาตร 100 mL
ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก คือ คำ�นวณมวลของ NaCl ที่จะใช้ ชั่งสารซึ่งได้เท่ากับ 2.338 g
แล้วนำ�มาละลายในน้�
ำ ปรับปริมาตรของสารละลายให้ได้ตามต้องการในขวดกำ�หนดปริมาตร
และเมื่อคำ�นวณความเข้มข้นจริงของสารละลายที่ได้จากการเตรียมจะได้ว่าสารละลายมี
ความเข้มข้น 0.4001 mol/L
2. จากการทำ�กิจกรรรมตอนที่ 2 เตรียม NaCl 0.040 mol/L ปริมาตร 100 mL โดย
เจือจางจากสารละลายที่เตรียมได้ในตอนที่ 1 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก คือ คำ�นวณ
จำ�นวนโมลของตัวละลายในสารละลายในตอนที่ 1 ซึ่งเท่ากับ 0.0040 mol และคำ�นวณ
ปริมาตรสารละลายเข้มข้นที่จะใช้ได้เท่ากับ 10 mL เตรียมโดยปิเปตต์สารละลายใน
ตอนที่ 1 ตามปริมาตรที่คำ�นวณได้ใส่ลงในขวดกำ�หนดปริมาตร และปรับปริมาตรของ
สารละลายให้ได้ตามต้องการในขวดกำ�หนดปริมาตร

5. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดและคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
80

ชวนคิด

ถ้าปรับปริมาตรเกินขีดบอกปริมาตร จะมีผลต่อความเข้มข้นของสารละลายอย่างไร
ความเข้มข้นของสารละลายทีไ่ ด้จะน้อยกว่าทีต
่ อ
้ งการ

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 0.050 โมลต่อลิตร ปริมาตร 50 มิลลิลต
ิ ร ต้อง
ใช้โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตกีก
่ รัม
มวลต่อโมลของ KMnO4 = 158.04 g/mol

0.050 mol KMnO4 n 158.04 g KMnO4


มวลของ KMnO4 = × 50
n mL sol ×
1000 mL sol 1 mol KMnO4

= 0.40 g KMnO4
ดังนัน
้ ต้องใช้โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต 0.40 กรัม

2. ถ้าใช้โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต 0.79 กรัม ในการเตรียมสารละลายทีม


่ ค
ี วามเข้มข้น 0.10
โมลต่อลิตร สารละลายทีไ่ ด้มป
ี ริมาตรเท่าใด
n
1 mol KMnO4 1000 mL sol
ปริมาตรของสารละลาย = 0.79 g KMnO4 × ×
158.04 g KMnO4 0.10 mol KMnO4
n
= 50 mL sol
ดังนัน
้ สารละลายทีไ่ ด้มป
ี ริมาตร 50 มิลลิลต
ิ ร

3. ถ้าต้องการสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเข้มข้น 0.003 โมลต่อลิตร ปริมาตร 75


มิลลิลต
ิ ร จากสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต เข้มข้น 0.050 โมลต่อลิตร จะทำ�ได้
อย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
81

เนือ
่ งจากไม่มข
ี วดกำ�หนดปริมาตรขนาด 75 mL จึงต้องเตรียมสารละลายปริมาตรเกินกว่า
ทีต
่ อ
้ งการ คือ 100 mL
คำ�นวณจำ�นวนโมลของ KMnO4 ในสารละลายเข้มข้น 0.003 mol/L ปริมาตร 100 mL
ทีต
่ อ
้ งการเตรียม

0.003 mol KMnO4 n


จำ�นวนโมลของ KMnO4 = ×
n 100 mL sol
1000 mL sol

= 3 × 10-4 mol KMnO4



คำ�นวณปริมาตรของ KMnO4 0.050 mol/L ทีต
่ อ
้ งใช้
n
1000 mL sol
ปริมาตรของสารละลาย = 3 × 10-4 mol KMnO4 ×
0.050 mol KMnO4

n
= 6 mL sol
การเตรียมสารละลายทำ�ได้โดยการปิเปตต์ KMnO4 0.050 mol/L ปริมาตร 6 mL
ใส่ลงในขวดกำ�หนดปริมาตรขนาด 100 mL แล้วนำ�มาเติมน้�ำ กลัน
่ ซึง่ เป็นตัวทำ�ละลาย จน
สารละลายมีปริมาตรเป็น 100 mL จากนัน
้ แบ่งมาใช้ปริมาตร 75 mL

หมายเหตุ
คำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจนีส
้ �ำ หรับให้นก
ั เรียนฝึกการคำ�นวณเท่านัน
้ ในทางปฏิบต
ั ิ
จะไม่สามารถเตรียมสารละลาย KMnO4 ให้มีความเข้มข้นตามที่ต้องการได้ เนื่องจากเป็น
สารทีไ่ ม่บริสท
ุ ธิ์

6. ครู อ ธิ บ ายว่า การเตรียมสารละลายโดยทำ�ให้เจือจางเป็นการทำ�ให้ความเข้มข้นของ


สารละลายลดลง เพราะว่าในสารละลายมีจำ�นวนโมลตัวละลายคงที่ แต่มีการเติมตัวทำ�ละลายลงไป
เพื่อทำ�ให้ปริมาตรของสารละลายเพิ่มขึ้น โดยใช้รูป 5.1 ประกอบการอธิบาย
7. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ รื่ อ งการหาความเข้ ม ข้ น หรื อ ปริ ม าตรของสารละลายที่ ไ ด้ จ ากการทำ �
สารละลายเข้มข้นให้เจือจาง โดยใช้วิธีคำ�นวณจากสูตร M1V1 = M2V2 พร้อมทั้งแสดงการคำ�นวณ
ตามตัวอย่าง 13 และ 14
8. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 5.2 เพื่อทบทวนความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
82

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับวิธก
ี ารคำ�นวณและวิธก
ี ารเตรียมสารละลายในหน่วยโมลต่อลิตร และปริมาตร
ของสารละลายตามทีก
่ �ำ หนด จากการทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการวัด จากการทำ�กิจกรรม
3. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�กิจกรรม การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
4. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมขณะทำ�
กิจกรรม
5. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ จากการทำ�กิจกรรมและการอภิปราย
6. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�กิจกรรมและการทำ�
แบบฝึกหัด
8. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปราย

แบบฝึกหัด 5.2

1. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) 2.00 โมลต่อลิตร จำ�นวน 250


มิลลิลต
ิ ร จะต้องใช้โพแทสเซียมไอโอไดด์กก
่ี รัม
มวลต่อโมลของ KI = 166.00 g/mol

2.00 mol KI n 166.00 g KI


มวลของ KI = × 250
n
mL sol ×
1000 mL sol 1 mol KI

= 83.0 g KI
ดังนัน
้ ต้องใช้โพแทสเซียมไอโอไดด์ 83.0 กรัม

2. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต (MgSO4⋅7H2O) เข้มข้น


0.10 โมลต่อลิตร ปริมาตร 100 มิลลิลต
ิ ร จะต้องใช้แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรตกีก
่ รัม
มวลต่อโมลของ MgSO4⋅7H2O = 246.51 g/mol

มวลของ MgSO4⋅7H2O

0.10 mol MgSO4⋅7H2O n 246.51 g MgSO4⋅7H2O


= n × 100 mL sol ×
1000 mL sol 1 mol MgSO4⋅7H2O

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
83

= 2.5 g MgSO4⋅7H2O
ดังนัน
้ จะต้องใช้แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต 2.5 กรัม

3. เลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) 3.31 กรัม ใช้เตรียมสารละลายเข้มข้น 0.25 โมลต่อลิตร ได้ก่ี


มิลลิลต
ิ ร
มวลต่อโมลของ Pb(NO3)2 = 331.22 g/mol

ปริมาตรของสารละลาย
n
1 mol Pb(NO3)2 1000 mL sol
= 3.31 g Pb(NO3)2 × ×
331.22 g Pb(NO3)2 0.25 mol Pb(NO3)2
n
= 40 mL sol
ดังนัน
้ เตรียมสารละลายได้ 40 มิลลิลต
ิ ร

4. จงอธิบาย
4.1. วิธีเตรียมสารละลายซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) 0.100 โมลต่อลิตร ปริมาตร 250
มิลลิลต
ิ ร จากผลึกซิลเวอร์ไนเทรต
มวลต่อโมลของ AgNO3 = 169.88 g/mol
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณมวลของ AgNO3
มวลของ AgNO3

0.100 mol AgNO3 n 169.88 g AgNO3


= × 250
n mL sol ×
1000 mL sol 1 mol AgNO3

= 4.25 g AgNO3
ขั้นที่ 2 ทำ�ให้เป็นสารละลาย โดยชั่ง AgNO3 จำ�นวน 4.25 g นำ�มาละลายในน้ำ�

เล็กน้อยจนละลายหมดแล้วเทใส่ขวดกำ�หนดปริมาตร จากนั้นเติมน้ำ�กลั่นลงไปอีกจนได้
สารละลายปริมาตร 250 mL

4.2 วิธเี ตรียมสารละลายซิลเวอร์ไนเทรต 0.025 โมลต่อลิตร ปริมาตร 500 มิลลิลต


ิ ร จาก
สารละลายทีเ่ ตรียมได้ในข้อ 4.1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
84

ขัน
้ ที่ 1 หาปริมาตรของสารละลายในข้อ 4.1 (เข้มข้น 0.100 โมลต่อลิตร) ทีต
่ อ
้ งใช้

ปริมาตรสารละลาย
n
1000 mL sol n 0.025 mol AgNO3
= × 125 mL sol × n
0.100 mol AgNO3 1000 mL sol
n
= 125 mL sol
หรือคำ�นวณโดยใช้ความสัมพันธ์
M1V1 = M2V2
(0.100 mol/L) (V1) = (0.025 mol/L) (500 mL)

(0.025 mol/L) (500 mL)


V1 =
(0.100 mol/L)

= 125 mL
ขัน
้ ที่ 2 ทำ�สารละลายให้เจือจาง โดยปิเปตต์ AgNO3 0.100 mol/L ปริมาตร 125 mL
แล้วเติมน้�ำ กลัน
่ จนได้สารละลายปริมาตร 500 mL ในขวดกำ�หนดปริมาตร

5. ถ้ามีแบเรียมคลอไรด์ (BaCl2) 2.08 กรัม และต้องการเตรียมสารละลายเข้มข้น 0.050 โมล


ต่อลิตร
5.1 ถ้าต้องการเตรียมสารละลายเข้มข้น 0.050 โมลต่อลิตร ปริมาตร 400 มิลลิลต
ิ ร จะ
ทำ�ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
มวลต่อโมลของ BaCl2 = 208.23 g/mol

0.050 mol BaCl2 n 208.23 g BaCl2
มวลของ BaCl2 = n × 400 mL sol ×
1000 mL sol 1 mol BaCl2

= 4.2 g BaCl2
ถ้าต้องการเตรียมสารละลาย BaCl2 0.050 mol/L ปริมาตร 400 mL ต้องใช้ BaCl2
4.2 g แต่โจทย์ก�ำ หนดให้มี BaCl2 2.08 g ดังนัน
้ จึงไม่สามารถทำ�ได้ เพราะปริมาณของ
BaCl2 ทีม
่ อ
ี ยูไ่ ม่เพียงพอทีจ
่ ะใช้เตรียมสารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นและปริมาตรดังกล่าวได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
85

5.2 สารละลายเข้มข้น 0.050 โมลต่อลิตร ปริมาตรมากทีส


่ ด
ุ ทีจ
่ ะเตรียมได้เป็นเท่าใด

ปริมาตรของสารละลาย
n
1 mol BaCl2 1000 mL sol
= 2.08 g BaCl2 × ×
208.23 g BaCl2 0.050 mol BaCl2
n
= 2.0 × 102 mL sol
ดังนัน
้ สามารถเตรียมสารละลายได้ปริมาตรมากทีส ุ 2.0 × 102 มิลลิลต
่ ด ิ ร

6. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายเลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) เข้มข้น 0.050 โมลต่อลิตร ปริมาตร


100 มิลลิลต
ิ ร จากสารละลายเลด(II)ไนเทรต เข้มข้น 0.20 โมลต่อลิตร
6.1. ต้องใช้สารละลายเลด(II)ไนเทรต เข้มข้น 0.20 โมลต่อลิตร ปริมาตรกีม
่ ล
ิ ลิลต
ิ ร

มวลต่อโมลของ Pb(NO3)2 = 331.22 g/mol

ปริมาตรของสารละลาย
n
0.050 mol (Pb(NO3)2
n 1000 mL sol
= 100 mL sol × n
×
1000 mL sol 0.20 mol Pb(NO3)2
n
= 25 mL sol
หรือคำ�นวณโดยใช้ความสัมพันธ์ดงั นี

M1V1 = M2V2

(0.050 mol/L) (100 mL)


V1 =
(0.20 mol/L)

= 25 mL
ดังนัน
้ ต้องใช้สารละลายเลด(II)ไนเทรต 0.2 โมลต่อลิตร ปริมาตร 25 มิลลิลต
ิ ร

6.2 สารละลายทีเ่ จือจางแล้วมีเลด(II)ไนเทรต ละลายอยูก


่ ก
่ี รัม


มวลของ Pb(NO3)2
0.050 mol Pb(NO ) n 331.22 g Pb(NO3)2
= n 3 2 × 100 mL sol ×
1000 mL sol 1 mol Pb(NO3)2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
86

= 1.7 g Pb(NO3)2
ดังนัน
้ สารละลายเลด(II)ไนเทรตทีเ่ จือจาง มีเลด(II)ไนเทรตละลายอยู่ 1.7 กรัม

7. เมือ
่ ผสมสาร 2 ชนิด ในแต่ละข้อต่อไปนี้ สารละลายผสมทีไ่ ด้มค
ี วามเข้มข้นกีโ่ มลต่อลิตร
(เมื่อถือว่าปริมาตรของสารละลายผสมมีค่าเท่ากับผลรวมของปริมาตรของสารละลาย
เริม
่ ต้น)
7.1 สารละลายซิงค์ซล
ั เฟต (ZnSO4) เข้มข้น 0.60 โมลต่อลิตร ปริมาตร 70.0 มิลลิลต
ิ ร
กับน้�
ำ 500 มิลลิลต
ิ ร

เมื่อผสมสารละลายจะพบว่าจำ�นวนโมลของ ZnSO4 ซึ่งเป็นตัวละลายก่อนผสม
กับหลังผสมมีคา่ เท่ากัน
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณจำ�นวนโมลของ ZnSO4

0.60 mol ZnSO4 n
จำ�นวนโมลของ ZnSO4 = n × 70.0 mL sol
1000 mL sol

= 0.042 mol ZnSO4
ขัน
้ ที่ 2 คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายหลังเติมน้�ำ
ปริมาตรสารละลายหลังเติมน้�
ำ = 70.0 mL + 500 mL = 570.0 mL
n
0.042 mol ZnSO4 1000 mL sol
ความเข้มข้นของสารละลาย = ×
n n
570.0 mL sol 1 L sol

n
= 0.074 mol ZnSO4/L sol
ดังนัน
้ สารละลายทีไ่ ด้มค
ี วามเข้มข้น 0.074 โมลต่อลิตร

หรือคำ�นวณโดยใช้ความสัมพันธ์
M1V1 = M2V2
(0.60 mol/L) (70.0 mL) = (M2) (570.0 mL)

(0.60 mol/L) (70.0 mL)


M2 =
(570.0 mL)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
87

= 0.074 mol/L
ดังนัน
้ สารละลายทีไ่ ด้มค
ี วามเข้มข้น 0.074 โมลต่อลิตร
7.2 สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เข้มข้น 1.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 100 มิลลิลต
ิ ร
กับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 2.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 100 มิลลิลต
ิ ร
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณจำ�นวนโมลของ HCl ในสารละลายเข้มข้น 1.0 mol/L ปริมาตร 100 mL

1.0 mol HCl n


จำ�นวนโมลของ HCl = ×
n 100 mL sol
1000 mL sol

= 0.10 mol HCl


ขัน
้ ที่ 2 คำ�นวณจำ�นวนโมลของ HCl ในสารละลายเข้มข้น 2.0 mol/L ปริมาตร 100 mL

2.0 mol HCl n


จำ�นวนโมลของ HCl = n × 100 mL sol
1000 mL sol

= 0.20 mol HCl


หลังจากผสมสารละลาย จำ�นวนโมลทัง้ หมดของ HCl ในสารละลายผสม
= 0.10 mol + 0.20 mol = 0.30 mol
ปริมาตรของสารละลายผสม = 100 mL + 100 mL = 200 mL
n
0.30 mol 1000 mL sol
ความเข้มข้นของสารละลายทีไ่ ด้ = ×
n n
200 mL sol 1 L sol
n
= 1.5 mol HCl/L sol
ดังนัน
้ สารละลายทีไ่ ด้มค
ี วามเข้มข้น 1.5 โมลต่อลิตร

8. คำ�นวณปริมาตรของสารละลายเริม
่ ต้น ทีต
่ อ
้ งนำ�มาใช้ในการเตรียมสารละลายต่อไปนี้
8.1 สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เข้มข้น 6.00 โมลต่อลิตร ปริมาตร 500 มิลลิลต
ิ ร
จากสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 12.00 โมลต่อลิตร

คำ�นวณจำ�นวนโมลของ HCl ในสารละลายเข้มข้น 6.00 mol/L ปริมาตร 500 mL ที่
ต้องการเตรียม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
88

6.00 mol HCl n


จำ�นวนโมลของ HCl = ×
n
500 mL sol
1000 mL sol

= 3.00 mol HCl


คำ�นวณปริมาตรของสารละลาย HCl เริม
่ ต้น ทีม
่ จี �ำ นวนโมลของ HCl ตามทีต
่ อ
้ งการเตรียม
n
1000 mL sol
ปริมาตรของ HCl = 3.00 mol HCl ×
12.00 mol HCl

n
= 250 mL sol
หรือคำ�นวณโดยใช้ความสัมพันธ์
M1V1 = M2V2
(12.00 mol/L) (V1) = (6.00 mol/L) (500 mL)

(6.00 mol/L) (500 mL)


V1 =
(12.00 mol/L)

= 250 mL
ดังนัน
้ ปริมาตรสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเริม
่ ต้นทีต
่ อ
้ งใช้คอ
ื 250 มิลลิลต
ิ ร

8.2 สารละลายกรดไนทริก (HNO3) เข้มข้น 1.00 โมลต่อลิตร ปริมาตร 100 มิลลิลต


ิ ร จาก
สารละลายกรดไนทริก เข้มข้น 16.00 โมลต่อลิตร
คำ�นวณจำ�นวนโมลของ HNO3 ในสารละลายเข้มข้น 1.00 mol/L ปริมาตร 100 mL
ทีต
่ อ
้ งการเตรียม

1.00 mol HNO3 n


จำ�นวนโมลของ HNO3 = ×
n
100 mL sol
1000 mL sol

= 0.100 mol HNO3

คำ�นวณปริมาตรของสารละลาย HNO3 เริม


่ ต้น ทีต
่ อ
้ งใช้
n
1000 mL sol
ปริมาตรของ HNO3 = 0.100 mol HNO3 ×
16.00 mol HNO3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
89

n
= 6.25 mL sol
หรือคำ�นวณโดยใช้ความสัมพันธ์
M1V1 = M2V2
(16.00 mol/L) (V1) = (1.00 mol/L) (100 mL)

(1.00 mol/L) (100 mL)


V1 =
(16.00 mol/L)

= 6.25 mL
ดังนัน
้ ปริมาตรของสารละลายกรดไนทริกทีต
่ อ
้ งใช้คอ
ื 6.25 มิลลิลต
ิ ร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
90

5.3 สมบัติบางประการของสารละลาย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความแตกต่างระหว่างจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายกับสารบริสุทธิ์
2. บอกความหมายของค่าคงทีข
่ องการเพิม
่ ขึน
้ ของจุดเดือด (Kb) และค่าคงทีข
่ องการลดลงของ
จุดเยือกแข็ง (Kf)
3. คำ�นวณจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลาย

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสารละลาย เช่น น้ำ�เกลือ น้ำ�เชื่อม จากนั้นครูตั้งคำ�ถามว่า
สารละลายดังกล่าวมีสารชนิดใดเป็นตัวทำ�ละลายและตัวละลาย ซึ่งควรตอบได้ว่า น้ำ�เกลือมีน้ำ�
เป็นตัวทำ�ละลายและเกลือเป็นตัวละลาย น้�ำ เชือ่ มมีน�้ำ เป็นตัวทำ�ละลายและน้�ำ ตาลเป็นตัวละลาย
2. ครูตั้งคำ�ถามว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารละลายและสารบริสุทธิ์ซึ่งเป็น
ตัวทำ�ละลายของสารละลายนั้น เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรตอบได้ว่า ต่างกัน
โดยสารบริสุทธิ์ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้น ส่วนสารละลาย
มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของตัวละลายกับตัวทำ�ละลายด้วย
3. ครูตงั้ คำ�ถามว่าแรงยึดเหนีย
่ วระหว่างอนุภาคของสารมีผลต่อจุดเดือดและจุดหลอมเหลว
ของสารหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ถ้าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคสูงจะส่งผลให้สารมี
จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 5.2
4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาขั้นตอนการทดลอง และเขียนแผนการทดลอง เพื่อทำ�
กิจกรรม 5.2 แล้วอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามท้ายการทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
91

กิจกรรม 5. 2 การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย
2. บอกความแตกต่างระหว่างจุดเดือดของสารบริสุทธิ์กับสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้น
เป็นตัวทำ�ละลาย

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 10 นาที


ทำ�การทดลอง 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม
สารเคมี
1. เอทานอล 20 หยด
2. สารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลเข้มข้น 2 mol/kg 20 หยด
วัสดุและอุปกรณ์
1. หลอดทดลองขนาดเล็ก 2 หลอด
2. หลอดคะปิลลารี 2 หลอด
3. เทอร์มอมิเตอร์ 0 – 100 °C 1 อัน
4. บีกเกอร์ขนาด 100 mL 1 ใบ
5. แท่งแก้วคน 1 อัน
6. ขาตั้งพร้อมที่จับหลอดทดลอง 1 ชุด
7. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด
8. ด้ายยาว 20 cm (ใช้ผูกหลอดคะปิลลารีกับเทอร์มอ- 1 เส้น
มิเตอร์)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
92

การเตรียมล่วงหน้า
1. เตรียมสารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลเข้มข้น 2 mol/kg โดยใช้กลีเซอรอล 11.70 mL
ละลายในเอทานอล 127.70 mL บรรจุใส่ขวดปิดจุกให้แน่นและไม่ควรเก็บสารละลาย
ไว้เกิน 1 สัปดาห์ (สารละลายทีเ่ ตรียมสามารถใช้ได้กบ
ั การทดลองของนักเรียนประมาณ
6 กลุม
่ )
2. เตรียมหลอดคะปิลลารีโดยหลอมหลอดคะปิลลารี แล้วบิดหลอดหรือใช้คม
ี เหล็กบีบหลอด
ให้ตด
ิ กัน ให้หา่ งจากปลายด้านหนึง่ ประมาณ 1 cm
1 cm

ตำ�แหน่งทีห
่ ลอมติดกัน

ข้อแนะนำ�สำ�หรับครู
1. ครูอธิบายให้นก
ั เรียนทราบว่าทีต
่ อ
้ งทำ�ให้ภายในหลอดคะปิลลารีมท
ี ว่ี า่ งจากปลายด้านหนึง่
เพียงเล็กน้อยเพือ
่ ให้ไอของสารเข้าไปแทนทีอ
่ ากาศภายในหลอดได้ทง้ั หมดอย่างรวดเร็ว จะ
ทำ�ให้ได้ค่าจุดเดือดของสารที่ถูกต้อง เพราะถ้ามีอากาศอยู่มากจะต้องใช้เวลานาน จึงจะ
ทำ�ให้ไอของสารเข้าไปแทนที่อากาศได้ท้ังหมด ทำ�ให้จุดเดือดที่วัดได้คลาดเคลื่อนจาก
ความเป็นจริง
2. ครูเน้นให้นก
ั เรียนใช้ดา้ ยผูกหลอดทดลองไว้กบ
ั เทอร์มอมิเตอร์ แล้วยึดเทอร์มอมิเตอร์ไว้กบ

ที่จับหลอดทดลองที่ติดไว้กับขาตั้ง และจัดให้เทอร์มอมิเตอร์ตั้งฉากกับพื้นเพื่อให้อ่าน
อุณหภูมไิ ด้ถก
ู ต้อง
3. ครูเน้นให้นักเรียนหยุดให้ความร้อนกับสาร เมื่อสังเกตเห็นฟองแก๊สออกมาอย่างต่อเนื่อง
และบันทึกอุณหภูมข
ิ ณะทีฟ
่ องแก๊สสุดท้ายออกมา
4. การหาจุดเดือดของสารละลายกลีเซอรอลในเอทานอล เพือ ่ ประหยัดเวลาอาจเริม ่ ต้นจาก
อุณหภูมิประมาณ 50 ° C โดยเทน้ำ�ร้อนในบี ก เกอร์ เ ดิ มออกบางส่ ว นแล้ ว เติ มน้ำ� เย็ น
ลงไปเล็ ก น้ อ ย แต่ ร ะวั ง อย่ า ให้ อุ ณ หภู มิ สู ง จนทำ � ให้ เ มื่ อ จุ่ ม หลอดคะปิ ล ลารี ล งใน
สารละลายแล้วมีฟองแก๊สขึน
้ มาทันที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
93

ตัวอย่างผลการทดลอง

ความเข้มข้น จุดเดือด
สาร o
(mol/kg) ( C)
เอทานอล - 78.0

สารละลายกลีเซอรอลในเอทานอล 2.0 80.0

อภิปรายผลการทดลอง
เอทานอลมีจด ุ เดือด 78.0 °C ซึง่ ต่�ำ กว่าสารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลความเข้มข้น
2.0 mol/kg ทีม
่ จ ุ เดือด 80 °C
ี ด

สรุปผลการทดลอง
จุดเดือดของสารบริสุทธิ์มีค่าต่ำ�กว่าจุดเดือดของสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์น้ันเป็น
ตัวทำ�ละลาย

5. ครู อ ธิ บ ายเกี่ ย วกั บ การทดลองว่ า ของเหลวจะไม่ เ ข้ า ไปในหลอดคะปิ ล ลารี ก่ อ นการให้


ความร้อน เพราะขณะนัน
้ ความดันของอากาศภายในหลอดคะปิลลารีเท่ากับความดันภายนอก เมือ
่ เริม

ให้ความร้อนของเหลวจะกลายเป็นไอเข้าไปในหลอดคะปิลลารี ทำ�ให้ความดันภายในหลอดเพิ่มขึ้น
จึงดันอากาศให้ออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อลดอุณหภูมิลงการกลายเป็นไอของของเหลวจะลดลง ฟอง
แก๊ ส ที่ อ อกมาจึ ง ช้ า ลงเรื่ อ ย ๆ จนถึ ง ฟองสุ ด ท้ า ย แสดงว่ า ความดั น ไอในหลอดคะปิ ล ลารี เ ท่ า กั บ
ความดันภายนอก อุณหภูมิขณะนั้นคือจุดเดือดของสารนั้น
6. ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาข้อมูลจุดเดือดของสารบริสท
ุ ธิแ
์ ละสารละลายบางชนิด ในตาราง 5.1
แล้ว ตอบคำ�ถามชวนคิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
94

ชวนคิด

จากตาราง 5.1 จุดเดือดของสารละลายในแต่ละหัวข้อต่อไปนี้แตกต่างกันหรือไม่


อย่างไร
1. สารละลายกลีเซอรอลในน้�ำ ทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่างกัน
มีจุดเดือดต่างกัน โดยสารละลายกลีเซอรอลในน้ำ�ที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะมี
จุดเดือดสูงกว่า
2. สารละลายน้�ำ ตาลทรายในน้�ำ ทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่างกัน
มีจุดเดือดต่างกัน โดยสารละลายน้ำ�ตาลทรายในน้ำ�ที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะ
มีจด
ุ เดือดสูงกว่า
3. สารละลายกลีเซอรอลในน้ำ�กับสารละลายน้ำ�ตาลทรายในน้ำ�ทั้งที่มีความเข้มข้น
เท่ากันและแตกต่างกัน
สารละลายกลีเซอรอลในน้ำ�กับสารละลายน้ำ�ตาลทรายในน้ำ�ที่มีความเข้มข้น
เท่ า กั น จะมี จุ ด เดื อ ดเท่ า กั น ส่ ว นสารละลายกลี เ ซอรอลในน้ำ � กั บ สารละลาย
น้�ำ ตาลทรายในน้�ำ ทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่างกันจะมีจด
ุ เดือดต่างกัน โดยสารละลายทีม
่ ี
ความเข้มข้นมากกว่าจะมีจด
ุ เดือดสูงกว่า

ครูอาจชี้ประเด็นในการเปรียบเทียบข้อมูลในตาราง 5.1 ดังต่อไปนี้


- น้ำ�บริสุทธิ์มีจุดเดือดต่ำ�กว่าสารละลายกลีเซอรอลในน้ำ�
- สารละลายกลีเซอรอลในน้�ำ ทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 2 โมลต่อกิโลกรัม มีจด
ุ เดือดสูงกว่าสารละลาย
ชนิดเดียวกันที่มีความเข้มข้น 1 โมลต่อกิโลกรัม
- สารละลายน้�ำ ตาลทรายในน้�ำ ทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 2 โมลต่อกิโลกรัม มีจด
ุ เดือดสูงกว่าสารละลาย
ชนิดเดียวกันที่มีความเข้มข้น 1 โมลต่อกิโลกรัม
- สารละลายกลีเซอรอลในน้ำ�และสารละลายน้ำ�ตาลทรายในน้ำ�ที่มีความเข้มข้นเท่ากัน มี
จุดเดือดเท่ากัน ส่วนสารละลายกลีเซอรอลในน้ำ�และสารละลายน้ำ�ตาลทรายในน้ำ�ที่มีความเข้มข้น
แตกต่างกัน มีจุดเดือดแตกต่างกัน
7. ครูให้นก
ั เรียนร่วมกันอภิปรายเกีย
่ วกับจุดเดือดของสารบริสท
ุ ธิแ
์ ละสารละลายทีม
่ ส
ี ารบริสท
ุ ธิ์
นั้นเป็นตัวทำ�ละลาย เพื่อให้ได้ข้อสรุปดังนี้
- จุดเดือดของสารสารละลายสูงกว่าจุดเดือดของสารบริสท
ุ ธิท
์ เ่ี ป็นตัวทำ�ละลายในสารละลายนัน

- สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกันถึงแม้ว่าตัวละลายจะเป็นสารต่างชนิดกัน ถ้ามี
ความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมเท่ากันจะมีจุดเดือดเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
95

- สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกัน แต่มีความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมต่างกัน
สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะมีจุดเดือดสูงกว่า
8. ครูอาจซักถามและให้นก
ั เรียนร่วมกันอภิปรายต่อไปถึงสมบัตป
ิ ระการอืน
่ ๆ ของสารละลาย
เช่น สมบัตเิ กีย
่ วกับจุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งว่าจะมีแนวโน้มเช่นเดียวกับจุดเดือดหรือไม่ อย่างไร
เพื่อนำ�ไปสู่กิจกรรม 5.3 โดยครูอธิบายเพิ่มเติมว่าอุณหภูมิของจุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งเป็น
อุณหภูมิเดียวกัน แต่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงสถานะในทิศทางตรงกันข้ามจึงใช้แทนกันได้
9. ครูให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ ศึกษาขัน
้ ตอนการทดลอง และเขียนแผนการทดลอง เพือ
่ ทำ�กิจกรรม
5.3 แล้วอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามท้ายการทดลอง

กิจกรรม 5. 3 การทดลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย
2. บอกความแตกต่างระหว่างจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์กับสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์
นั้นเป็นตัวทำ�ละลาย

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 10 นาที


ทำ�การทดลอง 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. แนฟทาลีน 0.5 g
2. สารละลายกรดเบนโซอิกในแนฟทาลีนเข้มข้น 0.5 0.5 g
mol/kg

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
96

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม
วัสดุและอุปกรณ์
1. หลอดคะปิลลารี 2 หลอด
2. เทอร์มอมิเตอร์ 0 – 100 °C 1 อัน
3. บีกเกอร์ ขนาด 100 mL 1 ใบ
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด
5. ด้ายยาว 20 cm 1 เส้น
6. แท่งแก้วคน 1 อัน
7. ขาตั้งพร้อมที่จับหลอดทดลอง 1 ชุด
การเตรียมล่วงหน้า
1. เตรียมสารละลายกรดเบนโซอิกในแนฟทาลีนให้มีความเข้มข้น 0.5 mol/kg โดยผสม
กรดเบนโซอิก 0.3 g กับแนฟทาลีน 5 g ในหลอดทดลองขนาดกลาง ปิดจุกแล้วให้ความร้อน
อย่างช้า ๆ จนสารทั้งสองหลอมเหลวเป็นเนื้อเดียวกัน เทสารละลายใส่ถ้วยกระเบื้อง
และปิดทันทีดว้ ยกระจกนาฬิกา เมือ
่ สารผสมแข็งตัวและเย็นแล้วจึงขูดและบดให้ละเอียด
สารละลายทีใ่ ช้ในการทดลองนีค
้ วรเป็นสารละลายทีเ่ ตรียมขึน
้ ใหม่ เนือ
่ งจากแนฟทาลีน
ระเหิดได้ง่าย จึงอาจทำ�ให้ความเข้มข้นของสารละลายคลาดเคลื่อนได้
2. การเตรียมหลอดคะปิลลารี ทำ�ได้โดยหลอมปิดปลายด้านหนึ่งของหลอดคะปิลลารีด้วย
ความร้อน

ตำ�แหน่งทีห
่ ลอมปิด

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ต้องบรรจุสารลงในหลอดคะปิลลารีให้สูงประมาณ 0.2 – 0.5 cm โดยใช้ปลายด้านเปิด
ของหลอดคะปิลลารีตักสารที่บดละเอียด แล้วเคาะก้นหลอดกับพื้น หรือปล่อยให้หลอด
คะปิลลารีตกลงในหลอดแก้วยาวประมาณ 30 cm หลาย ๆ ครั้งจนสารอัดตัวกันแน่น
อยู่ที่ก้นหลอด
2. การผูกหลอดคะปิลลารีติดกับเทอร์มอมิเตอร์ ควรให้สารในหลอดคะปิลลารีอยู่ในระดับ
เดียวกับกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ โดยจัดเทอร์มอมิเตอร์ให้ตง้ั ฉากกับพืน
้ และให้ระดับ
ของสารในหลอดคะปิลลารีจุ่มอยู่ในน้ำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
97

3. ขณะทำ�การทดลองต้องสังเกตอุณหภูมิตลอดเวลา และบันทึกอุณหภูมิเมื่อสารเริ่ม
หลอมเหลวและหลอมเหลวหมด
4. ในการหาจุดหลอมเหลวของสารในครั้งต่อมา เพื่อประหยัดเวลาจึงควรใช้น้ำ�ในบีกเกอร์
เดิมแต่รินน้ำ�ร้อนออกเล็กน้อยแล้วเติมน้ำ�เย็นลงไปให้มีอุณหภูมิประมาณ 50 °C

ตัวอย่างผลการทดลอง
ช่วงอุณหภูมิ จุด
ความเข้มข้น อุณหภูมิ (°C)
สาร ทีห
่ ลอมเหลว หลอมเหลว
(mol/kg) เริม
่ หลอม หลอมหมด (°C) (°C)
แนฟทาลีนบริสุทธิ์ - 80.0 81.0 1.0 80.50
สารละลายกรด
0.5 74.5 79.5 5.0 77.0
เบนโซอิกในแนฟทาลีน

อภิปรายผลการทดลอง
แนฟทาลี น มี จุ ด หลอมเหลว​​​​​​​80.50​​​​° C​​​​​​​​​ซึ่ ง สู ง กว่ า สารละลายกรดเบนโซอิ ก ใน
แนฟทาลีน ที่มีจุดหลอมเหลว 77.0 °C

สรุปการทดลอง
สารบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำ�ละลาย

10. ครูให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลในตาราง 5.2 ความเข้มข้นและจุดหลอมเหลวของสารบาง


ชนิด แล้วตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

จากตาราง 5.2 จุดหลอมเหลวของสารละลายในแต่ละหัวข้อต่อไปนีแ


้ ตกต่างกันหรือ
ไม่ อย่างไร
1. สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่างกัน
มีจุดหลอมเหลวต่างกัน โดยสารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนที่มีความเข้มข้น
มากกว่าจะมีจด
ุ หลอมเหลวต่�ำ กว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
98

2. สารละลายเฮกเซนในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่างกัน
มี จุ ด หลอมเหลวต่ า งกั น โดยสารละลายเฮกเซนในเบนซี น ที่ มี ค วามเข้ ม ข้ น
มากกว่าจะมีจด
ุ หลอมเหลวต่�ำ กว่า
3. สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนกับสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความ
เข้มข้นเท่ากันและมีความเข้มข้นแตกต่างกัน
สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนกับสารละลายเฮกเซนในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น
เท่ากันจะมีจุดหลอมเหลวเท่ากัน ส่วนสารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนกับ
สารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้นต่างกันจะมีจุดหลอมเหลวต่างกัน
โดยสารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นมากกว่าจะมีจด
ุ หลอมเหลวต่�ำ กว่า

ครูอาจชี้ประเด็นในการเปรียบเทียบข้อมูลในตาราง 5.2 ดังต่อไปนี้


- เบนซีนบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าจุดหลอมเหลวของสารละลายที่มีเบนซีนเป็น
ตัวทำ�ละลาย
- สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 2 โมลต่อกิโลกรัม มีจด
ุ หลอมเหลว
ต่�ำ กว่าสารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 1 โมลต่อกิโลกรัม
- สารละลายเฮกเซนในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 2 โมลต่อกิโลกรัม มีจด
ุ หลอมเหลวต่�ำ กว่า
สารละลายเฮกเซนในเบนซีนทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 1 โมลต่อกิโลกรัม
- สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนและสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น
เท่ากันมีจด
ุ หลอมเหลวเท่ากัน
- สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนและสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น
แตกต่างกัน มีจด
ุ หลอมเหลวแตกต่างกัน
11. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลายที่ใช้
สารบริสท
ุ ธิน
์ น
้ั เป็นตัวทำ�ละลาย เพือ
่ ให้ได้ขอ
้ สรุปดังนี้
- จุดหลอมเหลวของสารละลายต่ำ�กว่าจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์ท่เี ป็นตัวทำ�ละลาย
ในสารละลายนัน

- สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกันถึงแม้ว่าตัวละลายจะเป็นสารต่างชนิดกัน
ถ้ามีความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมเท่ากันจะมีจด
ุ หลอมเหลวเท่ากัน
- สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกัน แต่มีความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมต่างกัน
สารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นมากกว่าจะมีจด
ุ หลอมเหลวต่�ำ กว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
99

12. ครูอธิบายสรุปว่า สารละลายทีม


่ ต
ี วั ทำ�ละลายชนิดเดียวกัน ถ้ามีความเข้มข้นเป็นโมแลล
หรือโมลต่อกิโลกรัมเท่ากัน จะมีจด
ุ เดือดและจุดหลอมเหลวเท่ากัน แต่ถา้ มีความเข้มข้นแตกต่างกัน จะมี
จุดเดือดและจุดหลอมเหลวไม่เท่ากัน โดยไม่ขน
้ึ กับชนิดของตัวละลาย แต่ขน
้ึ กับชนิดของตัวทำ�ละลาย
ซึง่ เป็นสมบัตเิ ฉพาะของสารละลายทีเ่ รียกว่า สมบัตค
ิ อลลิเกทีฟ
13. ครูอธิบายเพิม
่ เติมว่า ผลต่างระหว่างจุดเดือดของสารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้น 1 โมแลลกับ
จุดเดือดของตัวทำ�ละลายบริสท
ุ ธิ์ มีคา่ เท่ากับค่าคงทีข
่ องการเพิม
่ ขึน
้ ของจุดเดือด และผลต่างระหว่าง
จุดเยือกแข็งของสารละลายที่มีความเข้มข้น 1 โมแลล กับจุดเยือกแข็งของตัวทำ�ละลายบริสุทธิ์มีค่า
เท่ากับค่าคงที่ของการลดลงของจุดเยือกแข็ง ทั้งนี้ค่าคงที่ท้งั สองขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำ�ละลาย จาก
นัน
้ ยกตัวอย่างโดยใช้ตาราง 5.3
14. ครูอธิบายความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือดที่แปรผันตรงกับความเข้มข้นของ
สารละลาย และความสั ม พั น ธ์ ข องการลดลงของจุ ด เยื อ กแข็ ง ที่ แ ปรผั น ตรงกั บ ความเข้ ม ข้ น ของ
สารละลาย พร้อมทัง้ แสดงการคำ�นวณตามตัวอย่าง 15 และ 16
15. ให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 5.3 เพือ
่ ทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับความหมายของค่าคงทีข
่ องการเพิม
่ ขึน
้ ของจุดเดือดและค่าคงทีข
่ องการลดลง
ของจุดเยือกแข็ง รวมทัง้ การเปรียบเทียบและวิธก
ี ารคำ�นวณจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารละลาย
กับสารบริสท
ุ ธิ์ จากการทดลอง การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการทดลอง การสังเกต การลงความเห็นจากข้อมูล จากการทำ�การทดลอง
3. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการทำ�การทดลองและการตอบคำ�ถาม
4. ทักษะการใช้จ�ำ นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด
5. ทักษะการสือ
่ สารสารสนเทศและการรูเ้ ท่าทันสือ
่ จากการอภิปราย
6. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�
การทดลอง
7. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความมุง่ มัน
่ อดทน จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลอง
8. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลองและการ
ทำ�แบบฝึกหัด
9. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นการใช้วจ
ิ ารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
100

แบบฝึกหัด 5.3

1. กำ�หนดให้จด
ุ เดือดของคาร์บอนไดซัลไฟด์ (CS2) เท่ากับ 46.00 องศาเซลเซียส และมีคา่
คงทีข
่ องการเพิม
่ ขึน
้ ของจุดเดือด (Kb) เท่ากับ 2.42 องศาเซลเซียสต่อโมแลล จงคำ�นวณ
ความเข้มข้นเป็นโมแลลของสารละลายซัลเฟอร์ในคาร์บอนไดซัลไฟด์ เมื่อสารละลายมี
จุดเดือดเท่ากับ 46.72 องศาเซลเซียส
ΔTb = Kb m
46.72 °C – 46.00 °C = 2.42 °C/m × m
m = 0.298 m
ดังนัน
้ สารละลายซัลเฟอร์ในคาร์บอนไดซัลไฟด์มค
ี วามเข้มข้น 0.298 โมแลล

2. คำ�นวณจุดเยือกแข็งของสารละลายต่อไปนี้
2.1 สารละลายคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) 3.00 กรัม ในเบนซีน 190 กรัม
มวลต่อโมลของ CCl4 = 153.81 g/mol

ความเข้มข้นของสารละลาย
3.00 g CCl4 1 mol CCl4 1000 g C6H6
= × ×
190 g C6H6 153.81 g CCl4 1.00 kg C6H6

= 0.103 mol CCl4/kg C6H6 หรือ 0.103 m


Kf ของเบนซีน = 5.07 °C/m จุดเยือกแข็งของเบนซีน = 5.49 °C
ΔTf = Kf m
Tf (benzene) – Tf (soln) = 5.07 °C/m × 0.103 m
5.49 C – Tf (soln) = 0.522 °C
o

Tf (soln) = 5.49 °C – 0.522 °C
= 4.97 °C
ดั ง นั้น สารละลายคาร์ บ อนเตตระคลอไรด์ 3.00 กรั ม ในเบนซี น 190 กรั ม มี
จุดเยือกแข็ง 4.97 องศาเซลเซียส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
101

2.2 สารละลายเมทานอล (CH4O) ในน้�ำ เข้มข้น 1.50 โมแลล


ำ = 1.86 °C/m จุดเยือกแข็งของน้�
Kf ของน้� ำ = 0.00 °C
ΔTf = Kf m
Tf (H2O) – Tf (soln) = 1.86 °C/m × 1.50 m
0.00 °C – Tf (soln) = 2.79 °C
Tf (soln) = 0.00 °C – 2.79 °C
= -2.79 °C
ดังนัน
้ สารละลายเมทานอลในน้�ำ เข้มข้น 1.50 โมแลล มีจด
ุ เยือกแข็ง -2.79 องศา
เซลเซียส
2.3 สารละลายแนฟทาลีน (C10H8) 1.00 กรัม ในไซโคลเฮกเซน (C6H12) 25.0 กรัม
มวลต่อโมลของ C10H8 = 128.18 g/mol

ความเข้มข้นของสารละลาย
1.00 g C10H8 1 mol C10H8 1000 g C6H12
= × ×
25.0 g C6H12 128.18 g C10H8 1.00 kg C6H12

= 0.312 mol C10H8/kg C6H12 หรือ 0.312 m


Kf ของ C6H12 = 20.80 °C/m จุดเยือกแข็งของ C6H12 = 6.59 °C
ΔTf = Kf m
Tf (cyclohexane) – Tf (soln) = 20.80 °C/m × 0.312 m
6.59 C – Tf (soln) = 6.49 °C
o

Tf (soln) = 6.59 °C – 6.49 °C


= 0.10 °C
ดั ง นั้น สารละลายแนฟทาลี น 1.00 กรั ม ในไซโคลเฮกเซน 25.0 กรั ม มี
จุดเยือกแข็ง 0.10 องศาเซลเซียส
2.4 สารละลายกรดเบนโซอิก (C7H6O2) 0.00250 โมล ในน้�
ำ 200 กรัม
ความเข้มข้นของสารละลาย
0.00250 mol C7H6O2 1000 g H2O
= ×
200 g H2O 1 kg H2O

= 0.0125 mol C7H6O2/kg H2O หรือ 0.0125 m

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
102

ำ = 1.86 °C/m จุดเยือกแข็งของน้�


Kf ของน้� ำ = 0.00 °C
ΔTf = Kf m
Tf (H O) – Tf (soln) = 1.86 °C/m × 0.0125 m
2

0.00 °C – Tf (soln) = 0.0233 °C


Tf (soln) = 0.00 °C – 0.0233 °C
= -0.023 °C
ดังนัน
้ สารละลายกรดเบนโซอิก 0.00250 โมล ในน้�
ำ 200 กรัม มีจด
ุ เยือกแข็ง
-0.023 องศาเซลเซียส

3. คำ�นวณมวลของเอทิลน
ี ไกลคอล (C2H6O2) ในหน่วยเป็นกรัม ทีต
่ อ
้ งเติมลงในน้�ำ ปริมาตร
1 ลิตร เพือ
่ ทำ�ให้สารละลายมีจด
ุ เยือกแข็ง -30.00 องศาเซลเซียส
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลาย
Kf ของน้� ำ = 1.86 °C/m จุดเยือกแข็งของน้�
ำ = 0.00 °C
ΔTf = Kf m
Tf (H2O) – Tf (soln) = Kf m
0.00 °C – (-30.00 °C) = 1.86 °C/m × m

30.00 °C
m =
1.86 °C/m

= 16.1 m

ขัน
้ ที่ 2 คำ�นวณมวลของ C2H6O2
น้�
ำ 1 L = 1 kg และมวลต่อโมลของ C2H6O2 = 62.08 g/mol

16.1 mol C2H6O2 62.08 g C2H6O2 1.0 kg H2O


มวลของ C2H6O2 = × ×
1 kg H2O 1 mol C2H6O2 1.0 L H2O

= 9.99 × 102 g C2H6O2 /L H2O


ดังนัน ี ไกลคอล 9.99 × 102 กรัม ลงในน้�
้ ต้องเติมเอทิลน ำ 1 ลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
103

4. สารตัวอย่างชนิดหนึง่ จำ�นวน 20.0 กรัม ละลายในโทลูอน


ี จำ�นวน 500 กรัม วัดจุดเยือกแข็ง
ของสารละลายได้ -96.37 องศาเซลเซียส สารตัวอย่างมีมวลต่อโมลเท่าใด
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณความเข้มข้นของสารละลาย
Kf ของโทลูอน ี = 3.55 °C/m จุดเยือกแข็งของโทลูอน
ี = -94.95 °C
ΔTf = Kf m
-94.95 °C – (-96.37 °C) = 3.55 °C/m × m
m = 0.400 m
ขัน
้ ที่ 2 คำ�นวณมวลต่อโมลของสารตัวอย่าง
กำ�หนดให้ มวลต่อโมลของสารตัวอย่าง (sample) = W g/mol

20.0 g
จำ�นวนโมลของ sample =
W g/mol
mol sample
นัน
่ คือ m =
kg C7H8
0.400 mol sample 20.0 g 1000 g C7H8
= ×
1 kg C7H8 W g/mol × 500 g C7H8 1 kg C7H8

W = 100
ดังนัน
้ สารตัวอย่างมีมวลต่อโมลเท่ากับ 100 กรัมต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
104
แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด

แบบทดสอบ เฉลยแบบทดสอบ
แบบฝึกหัดท้ายบท

1. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เข้มข้น 1.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 50 มิลลิลต


ิ ร เมือ

นำ�มาเติมน้�ำ จนมีปริมาตร 250 มิลลิลต
ิ ร สารละลายทีไ่ ด้มค
ี วามเข้มข้นกีโ่ มลต่อลิตร
ความเข้มข้นของสารละลาย HCl
n n
1.0 mol HCl 50 mL sol 1000 mL sol
= n × n × n
1000 mL sol 250 mL sol 1 L sol
n
= 0.20 mol HCl/L sol
หรือคำ�นวณโดยใช้ความสัมพันธ์
M1V1 = M2V2
(1.0 mol/L) (50 mL) = (M2) (250 mL)
(1.0 mol/L) (50 mL)
M2 =
(250 mL)
= 0.20 mol/L
ดังนัน
้ สารละลายทีไ่ ด้มค
ี วามเข้มข้น 0.20 โมลต่อลิตร

2. กรดซิทริก (C6H8O7) มีอยู่ในพืชตระกูลส้ม ใช้ผสมในเครื่องดื่มและลูกกวาดเพื่อเพิ่มรส


เปรีย
้ ว ถ้าสารละลายของกรดซิทริกในน้�ำ เข้มข้น 0.710 โมลต่อกิโลกรัม มีความหนาแน่น
1.049 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร สารละลายนีม
้ ค
ี วามเข้มข้นกีโ่ มลต่อลิตร
มวลต่อโมลของ C6H8O7 = 192.14 g/mol
192.14 g C6H8O7
มวลของ C6H8O7 = 0.710 mol C6H8O7 ×
1 mol C6H8O7
= 136 g C6H8O7
มวลของสารละลาย = 1000 g + 136 g = 1136 g

ความเข้มข้นของสารละลาย C6H8O7
n
0.710 mol C6H8O7 1.049 g sol
n
1000 mL sol
= × n × n
1136 g sol
n
1 mL sol 1 L sol
n
= 0.656 mol C6H8O7/L sol
ดังนัน
้ สารละลายกรดซิทริกมีความเข้มข้น 0.656 โมลต่อลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
105

3. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) กับสารละลายโพแทสเซียมไนเทรต (KNO3) มีความ


เข้ ม ข้ น และปริ ม าตรเท่ า กั น คื อ 0.010 โมลต่ อ ลิ ต ร และ 300 มิ ล ลิ ลิ ต ร ตามลำ � ดั บ
สารละลายทั้งสองนี้มีมวลของตัวละลายเท่ากันหรือไม่ และสารละลายแต่ละชนิดมีมวล
ของตัวละลายเป็นกีก
่ รัม
มวลต่อโมลของ NaCl = 58.44 g/mol และ KNO3 = 101.11 g/mol

0.010 mol NaCl n 58.44 NaCl


มวลของ NaCl = n × 300 mL sol ×
1000 mL sol 1 mol NaCl

= 0.18 g NaCl

0.010 mol KNO3 n 101.11 g KNO3


มวลของ KNO3 = n × 300 mL sol ×
1000 mL sol 1 mol KNO3

= 0.30 g KNO3
ดังนัน
้ สารละลายทัง้ สองมีมวลของตัวละลายไม่เท่ากัน โดยมีโซเดียมคลอไรด์ 0.18
กรัม และมีโพแทสเซียมไนเทรต 0.30 กรัม

4. น้�ำ ส้มสายชู (C2H4O2) เข้มข้น 0.836 โมลต่อลิตร มีความหนาแน่น 1.005 กรัมต่อมิลลิลต


ิ ร
จะมีความเข้มข้นกีโ่ มลต่อกิโลกรัม
มวลต่อโมลของ C2H4O2 = 60.06 g/mol

60.06 g C2H4O2
มวลของ C2H4O2 = 0.836 mol C2H4O2 ×
1 mol C2H4O2

= 50.2 g C2H4O2
n
n 1.005 g sol
มวลของสารละลาย = 1000 mL sol × n
1 mL sol
n
= 1005 g sol
มวลของ H2O = 1005 g – 50.2 g = 954.8 g

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
106

0.836 mol C2H4O2 1000 g H2O


ความเข้มข้นของสารละลาย C2H4O2 = ×
954.8 g H2O 1 kg H2O

= 0.876 mol C2H4O2/kg H2O
ดังนัน
้ น้�ำ ส้มสายชู เข้มข้น 0.836 โมลต่อลิตร มีความเข้มข้น 0.876 โมลต่อกิโลกรัม

5. คาเฟอีน (C8H10N4O2) เป็นสารทีพ


่ บได้ในชาและกาแฟ ถ้าละลายคาเฟอีนจำ�นวนหนึง่ ใน
คลอโรฟอร์ม (CHCl3) 50.0 กรัม พบว่าได้สารละลายเข้มข้น 0.0946 โมแลล สารละลาย
นีม
้ ค
ี าเฟอีนอยูก
่ ก
่ี รัม
มวลต่อโมลของ C8H10N4O2 = 194.22 g/mol

มวลของ C8H10N4O2

0.0946 mol C8H10N4O2 194.22 g C8H10N4O2


= × 50.0 g CHCl3 ×
1000 g CHCl3 1 mol C8H10N4O2

= 0.919 g C8H10N4O2
ดังนัน
้ สารละลายคาเฟอีนเข้มข้น 0.0946 โมแลล มีคาเฟอีน 0.919 กรัม

6. สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) เข้มข้นร้อยละ 20.0 โดยมวล มีความหนาแน่น


1.22 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร จงคำ�นวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่อไปนี้
6.1 โมลต่อลิตร
มวลต่อโมลของ MgSO4 = 120.36 g/mol

ความเข้มข้นของสารละลาย
n n
20.0 g MgSO4 1.22 g sol 1000 mL sol 1 mol MgSO4
= n × n × n ×
100.0 g sol 1 mL sol 1 L sol 120.36 g MgSO4
n
= 2.03 mol MgSO4/L sol
ดังนัน
้ สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตเข้มข้น 2.03 โมลต่อลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
107

6.2 โมลต่อกิโลกรัม

ความเข้มข้นของสารละลาย
20.0 g MgSO4 1000 g H2O 1 mol MgSO4
= × ×
80.0 g H2O 1 kg H2O 120.36 g MgSO4

= 2.08 mol MgSO4/kg H2O


ดังนัน
้ สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตเข้มข้น 2.08 โมลต่อกิโลกรัม

7. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ปริมาตร 500 มิลลิลต


ิ ร พบว่ามีจ�ำ นวนไฮดรอกไซด์
-
ไอออน (OH ) เท่ากับ 2.01 × 1023 ไอออน ในการเตรียมสารละลายนีป
้ ริมาตร 1 ลิตร จะ
ต้องใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์กก
่ี รัม
มวลต่อโมลของ NaOH = 40.00 g/mol

มวลของ NaOH ในสารละลาย 1 ลิตร


-
2.01 × 1023 ion OH 1000 mL sol
n
1 mol NaOH
= ×
n
×
n -
500 mL sol 1 L sol 6.02 x 1023 ion OH
40.00 g NaOH
×
1 mol NaOH

= 26.7 g NaOH/L
ดังนัน
้ ต้องใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ 26.7 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
108

8. ในการวิเคราะห์เนือ
้ สัตว์ชนิดหนึง่ พบว่า มีตะกัว่ ปนเปือ
้ นอยู่ 120 ส่วนในล้านส่วน คนที่
มีนำ�้ หนัก 59.00 กิโลกรัม ต้องรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดนี้อย่างต่อเนื่องกี่กิโลกรัม จึงจะ
เกิดการสะสมของตะกัว่ ในกระแสเลือด จนถึงระดับทีเ่ ป็นอันตราย
กำ�หนดให้
1. ปริมาณตะกัว่ ในเลือดของคนทัว่ ไปไม่เกิน 0.40 ส่วนในล้านส่วน ถ้ามีปริมาณตะกัว่ เกิน
0.80 ส่วนในล้านส่วน จะเป็นอันตราย
2. ร่างกายคนมีปริมาณเลือดเท่ากับ 80 มิลลิลต
ิ รต่อน้�ำ หนัก 1 กิโลกรัม
3. เลือดมีความหนาแน่น 1.06 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร

80 mL
ปริมาณเลือดของคนทีม
่ น
ี �ำ้ หนัก 59.00 กิโลกรัม = 59.00 kg ×
1 kg

ปริมาณตะกัว่ ทีเ่ ป็นอันตรายของคนทีม


่ น
ี �ำ้ หนัก 59.00 กิโลกรัม

80 mL 1.06 g 1 kg 0.80 mg Pb
= 59.00 kg × × × ×
1 kg 1 mL 1000 g 1 kg

= 4.0 mg Pb

1 kg
น้�ำ หนักของเนือ
้ สัตว์ = 4.0 mg Pb × = 0.033 kg
120 mg Pb

ดังนั้น ถ้ารับประทานเนื้อสัตว์ชนิดนี้เข้าไป 0.033 กิโลกรัม จะถึงระดับที่เป็น
อันตรายต่อคนน้�ำ หนัก 59.00 กิโลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 5 | สารละลาย
109

9. จงคำ � นวณมวลเป็ น กรั ม ของกลู โ คส (C 6H 12O 6) ที่ ล ะลายในน้ำ � 2500 กรั ม ที่ ทำ � ให้
จุดเยือกแข็งของสารละลายลดลงเท่ากับการเติมเอทิลน
ี ไกลคอล (C2H6O2) จำ�นวน 69.84
กรัม ลงในน้�
ำ 1500 กรัม
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณผลต่างของจุดเยือกแข็งทีเ่ ปลีย
่ นไปของสารละลาย C 2H6O2 ในน้�ำ
มวลต่อโมลของ C 2H6O2 = 62.08 g/mol และ Kf ของ H2O = 1.86 °C/m
ΔTf = Kf m

1.86 °C 69.84 g C2H6O2 1 mol C 2H6O2 1000 g H2O


= × × ×
1 mol/kg 1500 g H2O 62.08 g C 2H6O2 1 kg H2O

= 1.40 °C
ขัน
้ ที่ 2 คำ�นวณมวลของกลูโคส ทีท
่ �ำ ให้สารละลายกลูโคสมีผลต่างของจุดเยือกแข็งที่
่ นไป 1.40 °C
เปลีย
มวลต่อโมลของกลูโคส (C6H12O6) = 180.18 g/mol
กำ�หนดให้มวลของกลูโคส = W
ΔTf = Kf m

1.86 °C W g C6H12O6 1 mol C6H12O6 1000 g H2O


1.40 °C = × × ×
1 mol/kg 2500 g H2O 180.18 g C6H12O6 1 kg H2O

W = 339
ดังนัน
้ มวลของกลูโคสเท่ากับ 339 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2
110

10. ตัวทำ�ละลาย A มีจด


ุ เดือดเท่ากับ 72.00 องศาเซลเซียส เมือ
่ ละลายแนฟทาลีน (C10H8)
จำ�นวน 128.18 กรัม ลงไปในตัวทำ�ละลาย A จำ�นวน 1.25 กิโลกรัม พบว่าสารละลาย
ที่ไ ด้ มีจุด เดื อ ด 73.92 องศาเซลเซี ย ส จงคำ � นวณจุ ด เดื อ ดของสารละลาย เมื่อ เติ ม
แนฟทาลีน (C10H8) จำ�นวน 500.00 กรัม ลงไปในตัวทำ�ละลาย A 10.00 กิโลกรัม
ขัน
้ ที่ 1 คำ�นวณ Kb ของตัวทำ�ละลาย A
มวลต่อโมลของ C10H8 = 128.18 g/mol
ΔTb = Kb m

128.18 g C10H8 1 mol C10H8
Tb (sol ) – Tb (A) = Kb × ×
1.25 kg A
n

128.18 g C10H8

73.92 °C – 72.00 °C = Kb × 0.800 m


Kb = 2.40 °C/m
ขัน
้ ที่ 2 คำ�นวณจุดเดือดของสารละลาย
เติม C10H8 จำ�นวน 500.00 g ลงไปในตัวทำ�ละลาย A 10.00 kg
ΔTb = Kb m

2.40 °C 500.00 g C10H8 1 mol C10H8


Tb (sol ) – 72.00 °C = × ×
1 mol/kg
n

10.00 kg A 128.18 g C10H8

Tb (sol ) = 72.94 °C
n

ดังนัน
้ จุดเดือดของสารละลายเท่ากับ 72.94 องศาเซลเซียส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
111

บทที่ 6

ปริมาณสัมพันธ์ ipst.me/7707

ผลการเรียนรู้

1. แปลความหมายสัญลักษณ์ในสมการเคมี เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าเคมีบางชนิด
2. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับมวลสาร
3. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย
4. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับปริมาตรแก๊ส
5. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีหลายขัน
้ ตอน
6. ระบุสารกำ�หนดปริมาณและคำ�นวณปริมาณสารต่าง ๆ ในปฏิกริ ย
ิ าเคมี
7. คำ�นวณผลได้รอ
้ ยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกริ ย
ิ าเคมี

การวิเคราะห์ผลการเรียน

ผลการเรียนรู้
1. แปลความหมายสัญลักษณ์ในสมการเคมี เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าเคมีบางชนิด
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าเคมีบางชนิดเมือ
่ ทราบสารตัง้ ต้นและผลิตภัณฑ์
2. แปลความหมายสัญลักษณ์ในสมการเคมี
3. ระบุอต
ั ราส่วนโดยโมลจากสมการเคมี

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การทดลอง 1. ความร่ ว มมื อ การทำ � งาน 1. ความซื่อสัตย์
2. การกำ � หนดและควบคุ ม เป็นทีมและภาวะผู้นำ� 2. ความเชื่ อ มั่ น ต่ อ หลั ก ฐาน
ตัวแปร เชิงประจักษ์
3. ก า ร จั ด ก ร ะ ทำ � แ ล ะ สื่ อ
ความหมายข้อมูล
4. การตี ค วามหมายข้ อ มู ล
และลงข้อสรุป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
112

ผลการเรียนรู้
2. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับมวลสาร
3. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย
4. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับปริมาตรแก๊ส
5. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับมวลสาร
2. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย
3. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับปริมาตรแก๊ส
4. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมี โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล ความเข้มข้น และ
ปริมาตรของแก๊ส
5. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีหลายขัน
้ ตอน

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จำ�นวน - -

ผลการเรียนรู้
6. ระบุสารกำ�หนดปริมาณและคำ�นวณปริมาณสารต่าง ๆ ในปฏิกิริยาเคมี
7. คำ�นวณผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมี
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุสารกำ�หนดปริมาณ
2. คำ�นวณปริมาณสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับสารกำ�หนดปริมาณ
3. คำ�นวณผลได้รอ
้ ยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกริ ย
ิ าเคมี

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จ�ำ นวน 1. ความร่ ว มมื อ การทำ � งาน 1. ความเชือ
่ มัน
่ ต่อหลักฐานเชิง
2. การทดลอง เป็นทีมและภาวะผู้นำ� ประจักษ์
2. ความซือ
่ สัตย์
3. ความรอบคอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
113

ผังมโนทัศน์
บทที่ 6 ปริมาณสัมพันธ์

สถานะ ปัจจัย

สารตั้งต้น ลูกศร ผลิตภัณฑ์ สัญลักษณ์อื่น เลขสัมประสิทธิ์

สมการเคมี

ขั้นตอนเดียว
ปฏิกิริยาเคมี
หลายขั้นตอน
จำ�นวนโมลของ
สารในปฏิกิริยาเคมี
ปริมาณสัมพันธ์

อัตราส่วนโดยโมล

มวล ความเข้มข้น ปริมาตรของแก๊ส สารกำ�หนดปริมาณ ผลได้ร้อยละ

ปริมาตรที่ STP สมมติฐานของอาโวกาโดร ผลได้ตามทฤษฎี ผลได้จริง

กฎของเกย์-ลูสแซก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
114

สาระสำ�คัญ

ปฏิกิริยาเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้นโดยชนิดและจำ�นวนอะตอมของธาตุไม่
เปลี่ยนแปลง ปฏิกิริยาเคมีเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี ซึ่งประกอบด้วยสูตรเคมีของสารตั้งต้นและ
ผลิตภัณฑ์ โดยมีลก
ู ศรแสดงทิศทางของการเกิดปฏิกริ ย
ิ า และเลขสัมประสิทธิท
์ ไี่ ด้จากการดุลสมการเคมี
ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณต่าง ๆ ของสารที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น และ
อาจมีสัญลักษณ์แสดงสถานะของสาร หรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี
เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีบอกถึงจำ�นวนโมลของสารในปฏิกิริยาเคมี และสามารถนำ�มาใช้
ในการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ของสาร เช่น มวล ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาตรของแก๊ส และ
ใช้ในการคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่มีหลายขั้นตอนได้
สำ � หรั บ ปฏิ กิ ริ ย าเคมี ที่ ส ารตั้ ง ต้ น ทำ � ปฏิ กิ ริ ย าไม่ พ อดี กั น ปริ ม าณผลิ ต ภั ณ ฑ์ พิ จ ารณาจาก
สารกำ�หนดปริมาณ ซึง่ เป็นสารตัง้ ต้นทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าหมด ในปฏิกริ ย
ิ าเคมีสว่ นใหญ่มผ
ี ลิตภัณฑ์ทเ่ี กิดขึน
้ จริง
น้อยกว่าผลได้ตามทฤษฎีที่คำ�นวณได้จากสารกำ�หนดปริมาณตามสมการเคมี ผลได้ร้อยละคือการ
เปรียบเทียบผลได้จริงกับผลได้ตามทฤษฎีเป็นร้อยละ ซึ่งสามารถบอกถึงประสิทธิภาพของการทำ�
ปฏิกิริยา

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 25 ชั่วโมง
6.1 ปฏิกิริยาเคมี 1 ชั่วโมง
6.2 สมการเคมี 4 ชั่วโมง
6.3 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี 13 ชั่วโมง
6.4 สารกำ�หนดปริมาณ 3 ชั่วโมง
6.5 ผลได้ร้อยละ 4 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

สูตรเคมี โมล ปริมาตรของแก๊สที่ STP ความเข้มข้นของสารละลาย แฟกเตอร์เปลีย


่ นหน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
115

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน

1. เขียนสูตรเคมีของสารเคมีต่อไปนี้
1.1 ทองแดง Cu
1.2 ซิลเวอร์ซัลไฟด์ Ag2S
1.3 แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ Mg(OH)2
1.4 ไนโตรเจนไดออกไซด์ NO2
1.5 แอมโมเนีย NH3
1.6 โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต KMnO4
1.7 คาร์บอนเตตระคลอไรด์ CCl4
1.8 แอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต (NH4)2HPO4

2. เติมคำ�ต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
2.1 คาร์บอนไดออกไซด์ 1.50 โมล
มีมวลเท่ากับ....................66.0...................กรัม
มีจำ�นวนอนุภาคเท่ากับ.....9.03 × 1023.....อนุภาค
มีปริมาตรที่ STP เท่ากับ.........33.6 ...........ลิตร
2.2 สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์ เข้มข้น 1.50 โมลต่อลิตร ปริมาตร 250 มิลลิลิตร
มีแมกนีเซียมไอออน……………0.375…………….โมล
มีคลอไรด์ไอออน................... 0.750................โมล

3. แสดงการคำ�นวณจำ�นวนโมลของน้�ำ ทีม
่ ค
ี วามหนาแน่น 1.00 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร ปริมาตร 9.0
มิลลิลิตร โดยใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

1.00 g H2O 1 mol H2O


โมลของ H2O = 9.0 mL H2O × ×
1.00 mL H2O 18.02 g H2O

= 0.50 mol H2O


ดังนั้น น้ำ�ปริมาณ 9.0 มิลลิลิตร มี 0.50 โมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
116

6.1 ปฏิกิริยาเคมี
6.2 สมการเคมี

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเมื่อทราบสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์
2. แปลความหมายสัญลักษณ์ในสมการเคมี
3. ระบุอัตราส่วนโดยโมลจากสมการเคมี

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิมีการเพิ่มขึ้นหรือ การเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิมีการเพิ่มขึ้นหรือ
ลดลงเป็นปฏิกิริยาเคมี ลดลงอาจเป็นการเปลีย
่ นแปลงทางกายภาพหรือ
ปฏิกริ ย
ิ าเคมี เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ละลายน้�ำ
แล้ ว อุ ณ หภู มิ ข องสารละลายสู ง ขึ้ น เป็ น การ
เปลี่ ย นแปลงทางกายภาพ ส่ ว นการเผาไหม้
ของเชือ
้ เพลิงทีม
่ อ
ี ณ
ุ หภูมส
ิ งู ขึน
้ เป็นปฏิกริ ย
ิ าเคมี

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. รูปภาพการเปลีย
่ นแปลงทีพ
่ บในชีวต
ิ ประจำ�วัน เช่น การเกิดสนิมของเหล็ก การจุดดอกไม้ไฟ
2. สื่อเกี่ยวกับการดุลสมการเคมีจากเว็ปไซต์
3. วีดิทัศน์การเกิดโซเดียมคลอไรด์จากโลหะโซเดียมและแก๊สคลอรีน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูทบทวนความหมายของปฏิกริ ย
ิ าเคมีวา่ เป็นการเปลีย
่ นแปลงทีม
่ ส
ี ารใหม่เกิดขึน
้ โดยชนิด
และจำ�นวนอะตอมของธาตุไม่เปลี่ยนแปลง แล้วยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำ�วัน เช่น
ปฏิกิริยาของกรดซิทริกและโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตในยาลดกรดเมื่อละลายน้ำ� ปฏิกิริยาการ
เผาไหม้ของแก๊สโพรเพนในแก๊สหุงต้ม ดังรูป 6.1 และแสดงสมการเคมีของปฏิกิริยาดังกล่าว เพื่อชี้ให้
เห็นว่ามีการเปลีย
่ นแปลงของสูตรเคมีของสารตัง้ ต้นไปเป็นสูตรเคมีของผลิตภัณฑ์ โดยอะตอมของธาตุ
ทุกชนิดมีจำ�นวนเท่าเดิม แต่มีการจัดเรียงตัวใหม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
117

2. ครูยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่พบในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเกิดสนิมของเหล็ก การจุด


ดอกไม้ไฟ โดยอาจใช้ภาพประกอบ แล้วตั้งคำ�ถามว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาเคมีหรือ
ไม่ สังเกตได้อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า การเกิดสนิมของเหล็กเป็นปฏิกิริยาเคมี สังเกตได้จากเหล็ก
เกิดการเปลี่ยนสี การจุดดอกไม้ไฟเป็นปฏิกิริยาเคมี สังเกตได้จากมีแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น จากนั้นครูให้
ความรูเ้ พิม
่ เติมว่า การเกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมีอาจสังเกตได้จากการเกิดฟองแก๊ส การเกิดตะกอน การเกิดกลิน

การเปลี่ยนสี การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
3. ครูตั้งคำ�ถามว่า การต้มน้ำ�จนเดือดกลายเป็นไอเป็นปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ เพราะเหตุใด ซึ่ง
ควรได้ค�ำ ตอบว่า ไม่เป็นปฏิกริ ย
ิ าเคมี แต่เป็นการเปลีย
่ นแปลงทางกายภาพ เนือ
่ งจากน้�ำ และไอน้�ำ เป็น
สารเคมีชนิดเดียวกัน แต่สถานะต่างกัน จากนั้นครูอาจสาธิตหรือยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่าง
สารละลายกรดและสารละลายเบส ซึ่งไม่สามารถสั งเกตเห็ นการเปลี่ ย นแปลง แล้ ว ตั้ งคำ � ถามว่ า
นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งควรตอบได้ว่า ต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบ
เช่น ใช้กระดาษ pH วัดค่า pH ดังนั้นการจะระบุว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ อาจไม่
สามารถบอกได้ด้วยการสังเกต แต่ต้องทราบว่ามีสารใหม่เกิดขึ้นหรือไม่
4. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

ในแต่ละการทดลองมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือไม่ ทราบได้อย่างไร
ตารางผลการทดลอง
การ สารที่นำ�มา
สมบัติของสาร ผลที่สังเกตได้หลังผสม
ทดลองที่ ผสมกัน

1 A กับ B สาร A เป็นโลหะสีเงิน ได้ของเหลวใส ไม่มีสี


สาร B เป็นของเหลวใส ไม่มีสี โลหะ A ผุกร่อนและมีฟองแก๊ส
เกิดขึ้นที่ผิวของโลหะ

2 C กับ D สาร C เป็นของแข็ง สีขาว ได้ของเหลวใส ไม่มีสี


สาร D เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิ
สารทัง้ สองมีอณ
ุ หภูมเิ ท่ากับอุณหภูมห
ิ อ
้ ง ห้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
118

การ สารที่นำ�มา
สมบัติของสาร ผลที่สังเกตได้หลังผสม
ทดลองที่ ผสมกัน

3 E กับ F สาร E เป็นของเหลวใส ไม่มส



ี ได้ของเหลวใส ไม่มีสี และ
เปลีย
่ นสีกระดาษลิตมัสสีน�ำ้ เงินเป็นแดง ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
สาร F เป็นของเหลวใส ไม่มส

ี ทั้งสองสี
เปลีย
่ นสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นน้�ำ เงิน

4 G กับ H สาร G เป็นของเหลวใส ไม่มส


ี ี ได้ของเหลวใส ไม่มีสี
สาร H เป็นของเหลวใส ไม่มส
ี ี

5 I กับ J สาร I เป็นสารละลายใส ไม่มส


ี ี มีตะกอนสีขาวเกิดขึ้น
สาร J เป็นสารละลายใส ไม่มส
ี ี

การทดลองที่ สรุป

1 มีปฏิกริ ย
ิ าเคมีเกิดขึน
้ เพราะการผุกร่อนของโลหะเป็นการเปลีย
่ นโลหะไปเป็น
ไอออนของโลหะ และมีฟองแก๊ส แสดงว่ามีสารชนิดใหม่เกิดขึน

2 ไม่สามารถสรุปได้วา่ มีปฏิกริ ย
ิ าเคมีเกิดขึน
้ หรือไม่ เพราะข้อมูลการเปลีย
่ นแปลง
อุณหภูมข
ิ องสารผสม ไม่อาจสรุปได้วา่ มีสารใหม่เกิดขึน
้ หรือไม่

3 มีปฏิกริ ย
ิ าเคมีเกิดขึน
้ เพราะสารตัง้ ต้นมีสมบัตเิ ป็นกรดและเบส ซึง่ เมือ
่ ผสมกัน
ได้สารทีม
่ ส
ี มบัตเิ ป็นกลาง แสดงว่ามีสารใหม่เกิดขึน

4 ไม่สามารถสรุปได้วา่ มีปฏิกริ ย
ิ าเคมีเกิดขึน
้ หรือไม่ เพราะสังเกตไม่เห็นการ
เปลีย
่ นแปลง จึงไม่อาจสรุปได้วา่ มีสารใหม่เกิดขึน
้ หรือไม่

5 มีปฏิกริ ย
ิ าเคมีเกิดขึน
้ เพราะเกิดตะกอนสีขาวซึง่ เป็นสารใหม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
119

5. ครูแสดงสมการข้อความและสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าเคมีบางชนิด เช่น ปฏิกริ ย
ิ าเคมีระหว่าง
ผงฟูกับสารละลายกรดแอซีติกในหัวข้อ 6.2 จากนั้นตั้งคำ�ถามว่า สมการเคมีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
มากกว่าสมการข้อความอย่างไร ซึ่งควรตอบได้ว่า สมการเคมีมีข้อมูลของสูตรเคมีของสารตั้งต้นและ
ผลิตภัณฑ์ และมีการระบุสถานะของสารโดยใช้สญ
ั ลักษณ์ในวงเล็บหลังสูตรเคมี ซึง่ ใช้พน
ื้ ทีใ่ นการเขียน
น้อยกว่า และเป็นการเขียนที่เป็นสากล สามารถเข้าใจได้ตรงกัน
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรม 6.1 เพื่อศึกษาปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟต
กับแบเรียมคลอไรด์ แล้วให้นักเรียนอภิปรายผลการทดลองโดยใช้คำ�ถามท้ายการทดลอง

กิจกรรม 6.1 การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับ


แบเรียมคลอไรด์

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตและแบเรียมคลอไรด์เพื่อศึกษาการทำ�
ปฏิกิริยาพอดีกันของสาร
2. หาอัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมฟอสเฟตต่อแบเรียมคลอไรด์ที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 10 นาที


ทำ�การทดลอง 50 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 40 นาที
รวม 100 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. สารละลายโซเดียมฟอสเฟต (Na3PO4) 10 mL
0.20 mol/L
2. สารละลายแบเรียมคลอไรด์ (BaCl2) 10 mL
0.20 mol/L

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
120

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

วัสดุและอุปกรณ์
1. หลอดทดลองขนาดกลาง 5 หลอด
2. บีกเกอร์ขนาด 50.0 mL 2 ใบ
3. หลอดฉีดยาขนาด 3.0 mL หรือ 6.0 mL 2 อัน
4. หลอดหยดแบบยาว 5 อัน
5. หลอดหยดแบบสั้น 2 อัน
6. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
7. แผ่นใส 1 แผ่น
8. ไม้บรรทัด 1 อัน
9. กระดาษกราฟ 1 แผ่น

การเตรียมล่วงหน้า
เตรียม Na3PO4 และ BaCl2 ตามความเข้มข้นทีก
่ �ำ หนด โดยพยายามทำ�ให้สารละลาย
ทั้งสองชนิดมีความเข้มข้นเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
1. เตรียม Na3PO4 0.20 mol/L ปริมาตร 100 mL โดยชัง่ โซเดียมฟอสเฟตโดเดคะไฮเดรต
(Na3PO4⋅12H2O) 7.6 g ละลายน้ำ� แล้วทำ�ให้มีปริมาตร 100.00 mL โดยใช้ขวดกำ�หนด
ปริมาตร
2. เตรียม BaCl2 0.20 mol/L ปริมาตร 100 mL โดยชั่งแบเรียมคลอไรด์ไดไฮเดรต
(BaCl2⋅2H2O) 4.9 g ละลายน้ำ� แล้วทำ�ให้มีปริมาตร 100.00 mL โดยใช้ขวดกำ�หนด
ปริมาตร

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ให้นักเรียนใช้หลอดทดลองที่มีขนาดเท่ากันทุกหลอด
2. เตือนนักเรียนให้ระวังเกี่ยวกับการใช้หลอดฉีดยาดูดสารละลายว่า อย่าให้มีฟองแก๊สใน
หลอดฉีดยา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
121

3. แจ้งให้นักเรียนทราบว่าแต่ละกลุ่มใช้สารละลายแต่ละชนิดประมาณ 10 มิลลิลิตร จึง


ไม่ควรแบ่งสารละลายมากกว่าปริมาตรที่ต้องใช้ โดยครูอาจให้นักเรียนนำ�บีกเกอร์ที่
แห้งมาแบ่งสารละลายหรือครูแบ่งสารละลายไว้ให้

ตัวอย่างผลการทดลอง
ตอนที่ 1
1. เมื่อผสม Na3PO4 กับ BaCl2 ปริมาณต่าง ๆ จะมีตะกอนสีขาวเกิดขึ้น ดังรูป

ผลการทดลองผสม Na3PO4 กับ BaCl2 ในหลอดที่ 1 – 5

2. ตารางบันทึกผลความสูงของตะกอนที่เกิดขึ้น

ปริมาตรของ Na3PO4 ปริมาตรของ BaCl2 ความสูงของตะกอน


หลอดที่
0.20 mol/L (mL) 0.20 mol/L (mL) (cm)

1 1.00 0.50 0.80


2 1.00 1.00 0.90
3 1.00 1.50 1.00
4 1.00 2.00 1.00
5 1.00 2.50 1.00

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
122

3. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของตะกอนกับปริมาตรของ BaCl2

1.10

1.00
ความสูงของตะกอน (cm)

0.90

0.80

0.70

0.60

0.50
0.00 0.50 1.00 1.50 2.00 2.50
ปริมาตรของ BaCl2 (mL)

ตอนที่ 2
การตรวจสอบสารละลายที่เหลือหลังเกิดปฏิกิริยาได้ผลดังนี้
1. เมื่อนำ�สารละลายใสจากหลอดที่ 1 – 5 ชุดแรกมาเติม Na3PO4 พบว่าหลอดที่ 4 และ 5
มีตะกอนสีขาวเกิดขึ้น ส่วนหลอดที่ 1 – 3 ไม่เกิดตะกอน
2. เมือ
่ นำ�สารละลายใสจากหลอดที่ 1 – 5 อีกชุดหนึง่ มาเติม BaCl2 พบว่าหลอดที่ 1 และ 2
มีตะกอนสีขาวเกิดขึ้น ส่วนหลอดที่ 3 – 5 ไม่เกิดตะกอน

หลอดที่ 1 หลอดที่ 2 หลอดที่ 3 หลอดที่ 4 หลอดที่ 5

ชุดที่ 1

ชุดที่ 2

ผลการตรวจสอบสารละลายที่เหลือหลังเกิดปฏิกิริยาในหลอดที่ 1 – 5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
123

อภิปรายผลการทดลอง
1. Na3PO4 ทำ�ปฏิกิริยากับ BaCl2 ได้ตะกอนสีขาวเป็นผลิตภัณฑ์
2. ผลการทดลองตอนที่ 1 เมื่อนำ�มาเขียนกราฟพบว่า ความสูงของตะกอนเริ่มคงที่ตั้งแต่
หลอดที่ 3 แสดงว่า BaCl2 0.20 mol/L ปริมาตร 1.50 มิลลิลิตร ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับ
Na3PO4 0.20 mol/L ปริมาตร 1.00 มิลลิลิตร
3. การทดสอบสารละลายที่เหลือชุดที่ 1 ด้วย Na3PO4 พบว่าหลอดที่ 4 และ 5 มี
ตะกอนสีขาวเกิดขึ้น แสดงว่ามี BaCl2 เหลืออยู่ในหลอดทั้งสอง ส่วนการทดสอบ
สารละลายที่เหลือชุดที่ 2 ด้วย BaCl2 พบว่าหลอดที่ 1 และ 2 มีตะกอนสีขาว
เกิดขึ้น แสดงว่ามี Na3PO4 เหลืออยู่ในหลอดทั้งสอง จึงสรุปได้ว่าหลอดที่ 3 เป็น
หลอดที่ Na3PO4 ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับ BaCl2 สอดคล้องกับผลการทดลองที่ได้จากกราฟ
4. คำ�นวณจำ�นวนโมลของ Na3PO4 และ BaCl2 ที่ทำ�ปฏิกิริยาเคมีกันพอดี ได้ดังนี้

0.20 mol Na3PO4 n


จำ�นวนโมลของ Na3PO4 = n
× 1.00 mL sol
1000 mL sol
-4
= 2.0 × 10 mol Na3PO4

0.20 mol BaCl2 n


จำ�นวนโมลของ BaCl2 = n
× 1.50 mL sol
1000 mL sol
-4
= 3.0 × 10 mol BaCl2
5. การทดลองนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเตรียมสารละลาย การวัดปริมาตร
ของสารละลาย และการวัดความสูงของตะกอน

สรุปผลการทดลอง
อัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมฟอสเฟตต่อแบเรียมคลอไรด์ที่ทำ�ปฏิกิริยาเคมีกัน
พอดีเท่ากับ 2 : 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
124

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติม
ในกรณีที่การทดลองมีความคลาดเคลื่อน อาจพบว่าปริมาตรของสารที่ทำ�ปฏิกิริยา
พอดีกันไม่ใช่หลอดที่ 3 แต่อยู่ระหว่างหลอดที่ 2 – 3 หรือ 3 – 4 ซึ่งสามารถหาปริมาตรของ
BaCl2 ที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับ Na3PO4 โดยการหาจุดตัดระหว่างเส้นกราฟของหลอดที่ 1 – 3
และเส้นกราฟของหลอดที่ 4 – 5 ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.10

1.00
ความสูงของตะกอน (cm)

0.90

0.80

0.70

0.60

0.50
0.00 0.50 1.00 1.50 2.00 2.50
ปริมาตรของ BaCl2 (mL)

จากกราฟแสดงว่า BaCl2 ปริมาตร 1.75 มิลลิลิตร ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับ Na3PO4


ปริมาตร 1.00 มิลลิลิตร

7. ครูอธิบายการเขียนสมการเคมีดว้ ยสูตรเคมีและลูกศร โดยใช้ปฏิกริ ย


ิ าเคมีจากกิจกรรม 6.1 ดังนี้
Na3PO4(aq) + BaCl2(aq) Ba3(PO4)2(s) + NaCl(aq)
จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงสถานะของสารในสมการเคมี ตามตาราง 6.1 และ
อาจยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีอื่น ๆ เพิ่มเติม ให้ครบทุกสถานะ เช่น
HCl(aq) + CaCO3(s) CaCl2(aq) + CO2(g) + H2O(l)
8. ครูใช้สมการเคมีจากกิจกรรม 6.1 ในการอธิบายเกี่ยวกับการดุลสมการเคมี โดยการนำ�
เลขสัมประสิทธิ์มาเติมหน้าสูตรเคมีของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ เพื่อทำ�ให้จำ�นวนอะตอมของแต่ละ
ธาตุในสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เท่ากัน ดังนี้
2Na3PO4(aq) + 3BaCl2(aq) Ba3(PO4)2(s) + 6NaCl(aq)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
125

ทั้งนี้ครูควรชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างตัวเลขที่อยู่ในสูตรเคมีกับเลขสัมประสิทธิ์ว่า ตัวเลขที่อยู่
ในสูตรเคมีบอกจำ�นวนอะตอมหรือไอออนในสูตรเคมีนั้น ๆ ส่วนเลขสัมประสิทธิ์บอกจำ�นวนโมล
หรือจำ�นวนอนุภาคของสารนั้น ๆ ในสมการเคมี
9. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากกิจกรรม 6.1 อัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมฟอสเฟตต่อแบเรียมคลอไรด์สม


ั พันธ์
กับสมการเคมีทด
่ี ล
ุ แล้วอย่างไร
อั ต ราส่ ว นโดยโมลของโซเดี ย มฟอสเฟตต่ อ แบเรี ย มคลอไรด์ จ ากการทดลองกั บ
เลขสัมประสิทธิใ์ นสมการเคมีทด
่ี ล
ุ แล้วมีคา่ เท่ากัน

10. ครูอธิบายสรุปว่า เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีที่ดุลแล้ว แสดงจำ�นวนโมลของสารใน


สมการเคมี โดยยกตัวอย่างสมการเคมีในกิจกรรม 6.1 ดังนี้ โซเดียมฟอสเฟต 2 โมล ทำ�ปฏิกิริยาพอดี
กับแบเรียมคลอไรด์ 3 โมล ได้แบเรียมฟอสเฟต 1 โมล และโซเดียมคลอไรด์ 6 โมล จากนั้นครูอธิบาย
เกีย
่ วกับอัตราส่วนโดยโมลของสารซึง่ เป็นอัตราส่วนจำ�นวนโมลของสารในสมการเคมีทด
ี่ ล
ุ แล้ว ซึง่ จาก
กิจกรรม 6.1 จะได้ว่าอัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมฟอสเฟตที่ทำ�ปฏิกิริยากับแบเรียมคลอไรด์ได้
แบเรียมฟอสเฟตและโซเดียมคลอไรด์เท่ากับ 2 : 3 : 1 : 6
11. ครูอธิบายการดุลสมการเคมีว่าไม่มีลำ�ดับขั้นตอนและวิธีที่เป็นกฎเกณฑ์แน่นอน แต่มี
ข้อแนะนำ�บางประการตามรายละเอียดในหนังสือเรียน พร้อมยกตัวอย่าง 1-3 ประกอบการอธิบาย
12. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์การเกิดโซเดียมคลอไรด์จากโลหะโซเดียมและแก๊สคลอรีน แล้วตั้ง
คำ�ถามว่า ถ้าให้สารตัง้ ต้นทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีทอ
ี่ ณ
ุ หภูมห
ิ อ
้ ง ปฏิกริ ย
ิ าเคมีดงั กล่าวจะเกิดขึน
้ หรือไม่ ซึง่ ควร
ตอบได้ว่า ปฏิกิริยาเคมีจะไม่เกิดขึ้น จากนั้นอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแสดงปัจจัยที่ทำ�ให้เกิด
ปฏิ กิ ริ ย าเคมี เช่ น ความร้ อ น ความดั น ในสมการเคมี ด้ ว ยสั ญ ลั ก ษณ์ ต่ า ง ๆ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ ขี ย น
แสดงไว้ที่ลูกศร ดังตัวอย่างในตาราง 6.2 โดยครูอาจยกตัวอย่างสมการเคมีที่มีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม
13. ครูใช้ค�ำ ถามนำ�ว่า ในสมการเคมีทด
ี่ ล
ุ แล้ว อะตอมของแต่ละธาตุในสารตัง้ ต้นและผลิตภัณฑ์
มีจ�ำ นวนเท่ากัน นักเรียนคิดว่ามวลของสารตัง้ ต้นและผลิตภัณฑ์มค
ี วามสัมพันธ์กน
ั หรือไม่ อย่างไร เพื่อ
นำ�เข้าสู่การคำ�นวณมวลรวมของสารก่อนทำ�ปฏิกิริยาเคมีและมวลรวมของสารหลังเกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมี
14. ครูยกตัวอย่างสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าระหว่างโลหะโซเดียมกับแก๊สคลอรีน เกิดเป็นโซเดียม
คลอไรด์ แล้วให้นักเรียนคำ�นวณมวลรวมของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์จากเลขสัมประสิทธิ์ เพื่อให้ได้
ข้อสรุปว่า มวลรวมของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์มีค่าเท่ากัน ซึ่งสอดคล้องกับกฎทรงมวล จากนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
126

ยกตัวอย่าง 4 เพือ
่ แสดงการคำ�นวณเกีย
่ วกับการใช้กฎทรงมวลหามวลของสารทีเ่ กีย
่ วข้องในปฏิกริ ย
ิ าเคมี
15. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.1 หรือสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับการเขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าเคมี การแปลความหมายสัญลักษณ์
ในสมการเคมี และการระบุอัตราส่วนโดยโมลของสารในสมการเคมี จากการอภิปราย รายงานการ
ทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการทดลอง การกำ�หนดและควบคุมตัวแปร การจัดกระทำ�ข้อมูลและสื่อความหมาย
ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากรายงานการทดลองและการสังเกตพฤติกรรมใน
การทำ�การทดลอง
3. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผูน
้ �
ำ จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การ
ทดลอง
4. จิตวิทยาศาสตรด้านความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการสังเกตพฤติกรรมในการ
อภิปรายและการทำ�การทดลอง
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความซื่อสัตย์ จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลอง

แบบฝึกหัด 6.1

1. ดุลสมการเคมีตอ
่ ไปนี้
1.1. C2H6(g) + O2(g) CO2(g) + H2O(g)
2C2H6(g) + 7O2(g) 4CO2(g) + 6H2O(g)
1.2 CaCO3(s) + HCl(aq) CaCl2(aq) + H2O(l) + CO2(g)
CaCO3(s) + 2HCl(aq) CaCl2(aq) + H2O(l) + CO2(g)
1.3 Na2SO4(aq) + BaCl2(aq) BaSO4(s) + NaCl(aq)
Na2SO4(aq) + BaCl2(aq) BaSO4(s) + 2NaCl(aq)
1.4 Mg(s) + HNO3(aq) Mg(NO3)2(aq) + H2(g)
Mg(s) + 2HNO3(aq) Mg(NO3)2(aq) + H2(g)
1.5 CaCO3(s) + H2SO4(aq) CaSO4(s) + H2O(l) + CO2(g)
CaCO3(s) + H2SO4(aq) CaSO4(s) + H2O(l) + CO2(g)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
127

1.6 Al2O3(s) + H2SO4(aq) Al2(SO4)3(s) + H2O(l)


Al2O3(s) + 3H2SO4(aq) Al2(SO4)3(s) + 3H2O(l)
1.7 (NH4)3PO4(aq) + NaOH(aq) Na3PO4(aq) + NH3(g) + H2O(l)
(NH4)3PO4(aq) + 3NaOH(aq) Na3PO4(aq) + 3NH3(g) + 3H2O(l)
1.8 Fe3O4(s) + H2(g) Fe(s) + H2O(l)
Fe3O4(s) + 4H2(g) 3Fe(s) + 4H2O(l)
1.9 O2(g) + CS2(s) CO2(g) + SO2(g)
3O2(g) + CS2(s) CO2(g) + 2SO2(g)
1.10 NaCN(aq) + CuCO3(s) Na2CO3(aq) + Cu(CN)2(s)
2NaCN(aq) + CuCO3(s) Na2CO3(aq) + Cu(CN)2(s)
1.11 N2H4(g) + N2O4(g) N2(g) + H2O(l)
2N2H4(g) + N2O4(g) 3N2(g) + 4H2O(l)
1.12 Na2O2(s) + H2O(l) NaOH(aq) + O2(g)
2Na2O2(s) + 2H2O(l) 4NaOH(aq) + O2(g)

2. เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าเคมีตอ
่ ไปนี้
2.1 แก๊สแอมโมเนียทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับแก๊สออกซิเจน ได้น�ำ้ และแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์
4NH3(g) + 5O2(g) 6H2O(l) + 4NO(g)
2.2 การสังเคราะห์แก๊สแอมโมเนีย ทำ�ได้โดยใช้แก๊สไนโตรเจนและแก๊สไฮโดรเจน โดยมี
เหล็กเป็นตัวเร่งปฏิกริ ย
ิ า
Fe
N2(g) + 3H2(g) 2NH3(g)
2.3 ต้มโลหะแมกนีเ ซียมในน้ำ�ได้แ ก๊สไฮโดรเจนและแมกนี เ ซี ย มไฮดรอกไซด์ ซ่ึงเป็ น
ของแข็ง
Mg(s) + 2H2O(l) ∆
Mg(OH)2(s) + H2(g)
2.4 ผสมสารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟตกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกิดตะกอน
ของอะลูมเิ นียมไฮดรอกไซด์และสารละลายโซเดียมซัลเฟต
Al2(SO4)3(aq) + 6NaOH(aq) 2Al(OH)3(s) + 3Na2SO4(aq)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
128

2.5 เมื่อวางโลหะเงินไว้ในอากาศจะพบว่าเงินหมอง เนื่องจากโลหะเงินทำ�ปฏิกิริยากับ


แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และแก๊สออกซิเจนในอากาศได้ซล
ิ เวอร์ซล
ั ไฟด์ซงึ่ เป็นของแข็ง
และน้ำ�
4Ag(s) + 2H2S(g) + O2(g) 2Ag2S(s) + 2H2O(l)

3. ดุลสมการเคมีและเติมข้อมูลลงในตารางต่อไปนีใ้ ห้สมบูรณ์
ข้อ สารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ* สมการเคมี

C(s) ∆
3.1 CO2(g) ความร้อน C(s) + O2(g) CO2(g)
O2(g)

H2O(l) MnO2
3.2 H2O2(aq) MnO2 2H2O2(aq) 2H2O(l) + O2(g)
O2(g)

ZnS(s) ZnO(s) ∆
3.3 ความร้อน 2ZnS(s) + 3O2(g) 2ZnO(s) + 2SO2(g)
O2(g) SO2(g)

PbO(s) ∆
3.4 Pb(NO3)2(s) ความร้อน 2Pb(NO3)2(s)
NO2(g)
2PbO(s) + 4NO2(g) + O2(g)
O2(g)

CO2(g) C6H12O6(aq) 6CO2(g) + 6H2O(l)


3.3 แสง
H2O(l) O2(g) C6H12O6(aq) + 6O2(g)

หมายเหตุ * อืน
่ ๆ หมายถึง ปัจจัยในการเกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมี เช่น ความร้อน แสง ตัวเร่งปฏิกริ ย
ิ า

4. ดุลสมการเคมี และระบุอต
ั ราส่วนโดยโมลของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีตอ
่ ไปนี้
4.1 Al(s) + H2O(l) Al(OH)3(s) + H2(g)
2Al(s) + 6H2O(l) 2Al(OH)3(s) + 3H2(g)
อัตราส่วนโดยโมลของ Al : H2O : Al(OH)3 : H2 = 2 : 6 : 2 : 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
129

4.2 BaF2(aq) + K3PO4(aq) Ba3(PO4)2(s) + KF(aq)


3BaF2(aq) + 2K3PO4(aq) Ba3(PO4)2(s) + 6KF(aq)
อัตราส่วนโดยโมลของ BaF2 : K3PO4 : Ba3(PO4)2 : KF = 3 : 2 : 1 : 6
4.3 NaOH(aq) + NO2(g) + O2(g) NaNO3(aq) + H2O(l)
4NaOH(aq) + 4NO2(g) + O2(g) 4NaNO3(aq) + 2H2O(l)
อัตราส่วนโดยโมลของ NaOH : NO2 : O2 : NaNO3 : H2O = 4 : 4 : 1 : 4 : 2

5. ซิลเวอร์คลอไรด์มโี ลหะเงินเป็นองค์ประกอบร้อยละ 75.24 โดยมวล นำ�โลหะเงินจำ�นวน


10.00 กรัม มาทำ�ปฏิกิริยาในภาชนะปิดที่มีแก๊สคลอรีน เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดพบว่าเกิด
ซิลเวอร์คลอไรด์จ�ำ นวน 6.45 กรัม เหลือโลหะเงิน 5.15 กรัม และไม่มแ
ี ก๊สคลอรีนเหลือ
อยูใ่ นระบบ ในตอนเริม
่ ต้นปฏิกริ ย
ิ ามีแก๊สคลอรีนอยูใ่ นระบบกีก
่ รัม
ใช้โลหะเงินไป 10.00 g – 5.15 g = 4.85 g
จากกฎทรงมวล
มวลของสารก่อนทำ�ปฏิกริ ย
ิ า = มวลของสารหลังทำ�ปฏิกริ ย
ิ า
มวลของ Ag + มวลของ Cl2 = มวลของ AgCl
4.85 g + มวลของ Cl2 = 6.45 g
มวลของ Cl2 = 6.45 g – 4.85 g
= 1.60 g
ดังนัน
้ ในตอนเริม
่ ต้นปฏิกริ ย
ิ ามีแก๊สคลอรีนอยูใ่ นระบบ 1.60 กรัม

แบบฝึกหัด 6.1 เพิ่มเติม

1. ดุลสมการเคมีตอ
่ ไปนี้
1.1 Zn(s) + HClO4(aq) Zn(ClO4)2(aq) + H2(g)
Zn(s) + 2HClO2(aq) Zn(ClO4)2(aq) + H2(g)
1.2 KMnO4(s) K2MnO4(s) + MnO2(s) + O2(g)

2KMnO4(s) K2MnO4(s) + MnO2(s) + O2(g)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
130

1.3 Cu(s) + HNO3(aq) Cu(NO3)2(aq) + NO(g) + H2O(l)


3Cu(s) + 8HNO3(aq) 3Cu(NO3)2(aq) + 2NO(g) + 4H2O(l)
1.4 Al(s) + H2O(l) Al2O3(s) + H2(g)
2Al(s) + 3H2O(l) Al2O3(s) + 3H2(g)
1.5 Al(s) + H2SO4(aq) Al2(SO4)3(aq) + H2(g)
2Al(s) + 3H2SO4(aq) Al2(SO4)3(aq) + 3H2(g)
1.6 NH3(g) + NO(g) N2(g) + H2O(g)

4NH3(g) + 6NO(g) 5N2(g) + 6H2O(g)
1.7 K2Cr2O7(aq) + H2SO4(aq) KHSO4(aq) + Cr2(SO4)3(aq) + H2O(l) + O2(g)

2K2Cr2O7(aq) + 10H2SO4(aq)
4KHSO4(aq) + 2Cr2(SO4)3(aq) + 8H2O(l) + 3O2(g)
1.8 KMnO4(aq) + H2SO4(aq) + H2O2(aq) K
2SO4(aq) + MnSO4(aq) + H2O(l)
+ 5O2(g)

2KMnO4(aq) + 3H2SO4(aq) + 5H2O2(aq)
K2SO4(aq) + 2MnSO4(aq) + 8H2O(l) + 5O2(g)

2. โซเดี ย มไฮโดรเจนคาร์ บ อเนต 8.4 กรั ม ทำ � ปฏิ กิ ริ ย ากั บ สารละลายกรดแอซี ติ ก


(CH3COOH) 20.0 กรัม ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น หลังจากที่ปฏิกิริยาสิ้นสุด
ปรากฏว่ามีสารเหลืออยู่ 24.0 กรัม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทเ่ี กิดขึน
้ มีมวลกีก
่ รัม
จากกฎทรงมวล
มวลของสารก่อนทำ�ปฏิกริ ย
ิ า = มวลของสารหลังทำ�ปฏิกริ ย
ิ า
มวลของ NaHCO3 + มวลของ CH3COOH = มวลของสารทีเ่ หลือ + มวลของ CO2
8.4 g + 20.0 g = 24.0 g + มวลของ CO2
มวลของ CO2 = 8.4 g + 20.0 g – 24.0 g
=
4.4 g
ดังนัน
้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทเ่ี กิดขึน
้ มีมวล 4.4 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
131

3. แก๊สแอมโมเนีย (NH3) ประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 82 กับไฮโดรเจนร้อยละ 18 โดย


มวล ถ้าใช้ไนโตรเจน 10.0 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับไฮโดรเจน 10.0 กรัม จะได้แก๊สแอมโมเนีย
กีก
่ รัม และมีสารใดเหลืออยูเ่ ป็นปริมาณกีก
่ รัม
แก๊สแอมโมเนียมีอต
ั ราส่วนโดยมวลของ N : H = 82 : 18 ซึง่ แสดงว่าไนโตรเจนเป็น
องค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สแอมโมเนีย แต่โจทย์ก�ำ หนดให้ไฮโดรเจนและไนโตรเจนที่
ใช้ท�ำ ปฏิกริ ย
ิ ามีมวลเท่ากัน ดังนัน
้ เมือ
่ ปฏิกริ ย
ิ าสิน
้ สุดจึงควรมีแก๊สไฮโดรเจนเหลืออยู่
หาปริมาณไฮโดรเจนทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั ไนโตรเจนได้ดงั นี้

18 g H
มวลของ H = 10.0 g N ×
82 g N
= 2.2 g H
นัน
่ คือ ไนโตรเจน 10.0 กรัม จะทำ�ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั ไฮโดรเจน 2.2 กรัม
ดังนัน
้ มีแก๊สไฮโดรเจนเหลืออยู
่ = 10.0 g – 2.2 g = 7.8 g
จากกฎทรงมวล
มวลของสารก่อนทำ�ปฏิกริ ย
ิ า = มวลของสารหลังทำ�ปฏิกริ ย
ิ า
มวลของ N2 + มวลของ H2 = มวลของ NH3
10.0 g + 2.2 g = มวลของ NH3
มวลของ NH3 = 12.2 g
ดังนัน
้ มีแก๊สแอมโมเนียเกิดขึน
้ 12.2 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
132

6.3 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี
6.3.1 การคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับมวล
6.3.2 การคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้น
6.3.3 การคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับปริมาตรของแก๊ส
6.3.4 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับมวลสาร
2. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย
3. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับปริมาตรแก๊ส
4. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมี โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล ความเข้มข้น
และปริมาตรของแก๊ส
5. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีแสดงอัตราส่วน เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีแสดงอัตราส่วน
โดยมวลของสาร จึงใช้มวลในการคำ�นวณได้โดย โดยโมลของสาร
ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นโมล

ปฏิกิริยาเคมีที่เป็นแก๊ส ปริมาตรรวมของแก๊สที่ ปฏิกิริยาเคมีที่เป็นแก๊ส ปริมาตรรวมของแก๊สที่


เป็ น สารตั้ ง ต้ น เท่ า กั บ ปริ ม าตรรวมของแก๊ ส ที่ เป็นสารตั้งต้นอาจมีค่าเท่ากับปริมาตรรวมของ
เป็นผลิตภัณฑ์ แก๊สที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ได้

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูอธิบายความหมายของปริมาณสัมพันธ์ว่าเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ
สารตัง้ ต้นทีใ่ ช้ไปและปริมาณผลิตภัณฑ์ทเี่ กิดขึน
้ ในปฏิกริ ย
ิ าเคมี ซึง่ พิจารณาได้จากเลขสัมประสิทธิใ์ น
สมการเคมี
2. ครูยกตัวอย่างสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าระหว่างโลหะโซเดียมกับแก๊สคลอรีน แล้วให้นก
ั เรียน
หาอัตราส่วนโดยโมลของโลหะโซเดียมที่ทำ�ปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีนและโซเดียมคลอไรด์ที่เกิดขึ้น ซึ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
133

ควรตอบได้ว่า มีค่าเท่ากับ 2 : 1 : 2 จากนั้นครูทบทวนเกี่ยวกับการเขียนแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยและ


วิธีการเทียบหน่วย
3. ครูอธิบายการคำ�นวณจำ�นวนโมลของสารในสมการเคมี เมื่อกำ�หนดจำ�นวนโมลของสารใด
สารหนึ่งด้วยวิธีการเทียบหน่วยจากอัตราส่วนโดยโมล โดยยกตัวอย่าง 5 ประกอบการอธิบาย
4. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากสมการเคมีในตัวอย่าง 5 ถ้าใช้อะลูมิเนียม 3.0 โมล จะต้องใช้โบรมีนในการทำ�


ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกโ่ี มล

จากสมการเคมีในตัวอย่าง 5
2Al(s) + 3Br2(l) 2AlBr3(s)
อัตราส่วนโดยโมลของ Al : Br2 = 2 : 3 ดังนัน
้ คำ�นวณจำ�นวนโมลของ Br2 ทีใ่ ช้ในการ
ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกบ
ั Al 3.0 mol ได้ดงั นี้
3 mol Br2
โมลของ Br2 = 3.0 mol Al ×
2 mol Al
= 4.5 mol Br2
ดังนัน
้ ถ้าใช้อะลูมเิ นียม 3.0 โมล จะต้องใช้โบรมีน 4.5 โมล

5. ครูตั้งคำ�ถามว่า จากอัตราส่วนโดยโมล เมื่อทราบจำ�นวนโมลของสาร สามารถเปลี่ยนเป็น


ปริมาณใดได้บ้าง ซึ่งควรตอบได้ว่า จากจำ�นวนโมลสามารถเปลี่ยนเป็นปริมาณอื่น ๆ ได้ เช่น จำ�นวน
อนุภาค มวล ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาตรของแก๊สที่ STP เพื่อนำ�เข้าสู่การคำ�นวณจำ�นวน
โมลของสารในปฏิกิริยาเคมีกับปริมาณอื่น ๆ
6. ครูตงั้ คำ�ถามว่า ในทางปฏิบต
ั น
ิ ย
ิ มวัดปริมาณของสารด้วยวิธก
ี ารใด ซึง่ ควรตอบได้วา่ วัดมวล
ของสารจากการนำ�สารไปชั่ง เนื่องจากสะดวกต่อการวัด
7. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนหน่วยจากโมลไปเป็นมวล โดยใช้มวลต่อโมล เพื่อนำ�
ไปใช้คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับมวลสาร โดยใช้อัตราส่วนโดยโมลในการ
หาจำ�นวนโมลของสารที่ต้องการ และใช้มวลต่อโมลในการเปลี่ยนจำ�นวนโมลให้เป็นมวลของสาร
จากนั้นอธิบายการคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับมวล โดยยกตัวอย่าง 6 - 9 ประกอบการอธิบาย
8. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.2 เพื่อทบทวนความรู้
9. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีบางชนิดที่สารตั้งต้นเป็นสารละลาย เช่น ปฏิกิริยาระหว่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
134

สารละลายกรดกับเบส สารทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกน
ั คือตัวละลาย โดยปริมาณของตัวละลายในสารละลาย
แสดงในรูปของความเข้มข้นของสารละลาย สำ�หรับในวิชาเคมีนย
ิ มแสดงความเข้มข้นของสารละลาย
ในหน่วยโมลาร์หรือโมลต่อลิตร เนือ
่ งจากมีความสัมพันธ์กบ
ั โมล จากนัน
้ ครูทบทวนความรูเ้ กีย
่ วกับการ
คำ�นวณจำ�นวนโมล จากความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย
10. ครูยกตัวอย่าง 10 - 11 ประกอบการอธิบายการคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่
เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย
11. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.3 เพื่อทบทวนความรู้
12. ครูตงั้ คำ�ถามว่า สำ�หรับสารทีม
่ ส
ี ถานะแก๊ส ซึง่ วัดมวลได้ยาก ในทางปฏิบต
ั จ
ิ ะใช้ปริมาณใด
ในการวัดแก๊ส ซึ่งควรตอบได้ว่า ส่วนใหญ่วัดปริมาตรของแก๊ส จากนั้นครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการ
เปลีย
่ นจำ�นวนโมลเป็นปริมาตรของแก๊สที่ STP โดยใช้ความสัมพันธ์ แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร
ที่ STP เพื่อเชื่อมโยงสู่การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับแก๊สที่ STP พร้อมทั้ง
ยกตัวอย่าง 12 ประกอบการอธิบาย
13. ครูทบทวนเกี่ยวกับกฎสัดส่วนคงที่ซึ่งมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่เป็นองค์ประกอบคงที่
เสมอ แล้วใช้ค�ำ ถามนำ�ว่า ถ้านำ�แก๊สสองชนิดมาทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากัน อัตราส่วนโดยปริมาตรระหว่างแก๊สทัง้
สองที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันจะเป็นอย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่การสาธิตกิจกรรม 6.2 เ นื่อ งจากการทดลองนี้
ใช้แก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ทเ่ี ป็นอันตรายจึงเป็นการสาธิต แต่สามารถให้นักเรียนทำ�การทดลองได้ถ้า
มีตค
ู้ วันหรือทำ�การทดลองในบริเวณทีอ
่ ากาศถ่ายเทสะดวก จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนอภิปรายผลการทดลอง
ตามคำ�ถามท้ายการทดลอง และสรุปผลการทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
135

กิจกรรม 6.2 การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สออกซิเจนและ


แก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สออกซิเจนและแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์
2. หาอัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สออกซิเจนต่อแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ที่ทำ�ปฏิกิริยา
พอดีกัน

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนการทดลอง 10 นาที


ทำ�การทดลอง 20 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 20 นาที
รวม 50 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. ทองแดง (Cu) ชิ้นเล็ก ๆ 2 g
2. สารละลายกรดไนทริก (HNO3) 6 mol/L 10 mL
3. โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) 2 ช้อนเบอร์ 2
วัสดุและอุปกรณ์
1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 2 หลอด
2. จุกยางทีเ่ สียบหลอดนำ�แก๊ส พร้อมสายพลาสติก 2 ชุด
สำ�หรับปิดหลอดทดลองขนาดใหญ่
3. หลอดทดลองขนาดกลาง (ที่มีขนาดเท่ากัน) 8 หลอด
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด
5. กระบอกตวงขนาด 100 mL 1 ใบ
6. อ่างน้ำ�ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 1 ใบ
cm และสูงประมาณ 12 cm

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
136

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

7. ขาตั้งพร้อมที่จับหลอดทดลอง 1 ชุด
8. แผ่นกระจก สำ�หรับปิดปากกระบอกตวง 1 อัน
9. ธูปหรือก้านไม้ขีด สำ�หรับทดสอบแก๊ส 1 อัน

การเตรียมล่วงหน้า
1. เตรียม HNO3 6.0 mol/L ปริมาตร 20.0 mL โดยละลาย HNO3 15 mol/L ปริมาตร
8.0 mL ลงในน้ำ�กลั่นประมาณ 10.0 mL และทำ�ให้ได้ปริมาตร 20.0 mL
2. เลือกหลอดทดลองขนาดกลางทีม
่ ข
ี นาดเท่ากันสำ�หรับเก็บแก๊ส เพือ
่ ให้ได้แก๊สออกซิเจน (O2)
และแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) ในแต่ละหลอดมีปริมาตรเท่ากัน

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. HNO3 มีสมบัติกัดกร่อน ควรใช้อย่างระมัดระวัง
2. อธิบายวิธีเตรียม O2 และ NO แล้วเตรียมแก๊สทีละชนิดโดยจัดเครื่องมือตามรูปใน
บทเรียน หรืออาจเตรียมแก๊สทั้งสองชนิดในหลอดทดลองขนาดกลางอย่างละ 4 หลอด
ไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อเตรียมแก๊สทั้งสองชนิดเสร็จแล้ว ต้องคว่ำ�หลอดเก็บแก๊สที่เตรียมได้
ไว้ในอ่างน้ำ�ตลอดเวลาจนกว่าจะนำ�มาทำ�ปฏิกิริยาเคมี
3. การเตรียม NO ต้องทำ�ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และล้างอุปกรณ์การทดลอง
ทันทีหลังจากทดลองเสร็จเรียบร้อย
4. O2 และ NO ที่เก็บไว้ในหลอดทดลองที่มีขนาดเดียวกันถือว่ามีปริมาตรเท่ากัน
5. แนะนำ�วิธีทดสอบแก๊สที่เหลือ ซึ่งอาจทำ�ได้ดังนี้
- ใช้ธูปหรือก้านไม้ขีดที่ติดไฟเหลือเป็นถ่านแดง ๆ หย่อนลงไป ถ้าปลายธูปสว่าง
ขึ้นหรือมีเปลวไฟเกิดขึ้น แสดงว่าแก๊สที่เหลือคือ O2 เพราะ O2 ช่วยให้ไฟติด แต่
ถ้าแก๊สที่เหลือเป็น NO จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- ผ่าน NO เข้าไปในกระบอกตวง ถ้าแก๊สทีเ่ หลือเป็น O2 จะเกิดแก๊ส ไนโตรเจนไดออกไซด์
(NO2) ซึง่ มีสน
ี �ำ้ ตาลแดงแล้วจางหายไป เนือ
่ งจาก NO2 ละลายน้ำ�ได้แต่ถ้าแก๊ส
ทีเ่ หลือเป็น NO ปริมาตรของแก๊สในกระบอกตวงจะเพิม
่ ขึน
้ และแก๊สยังคงไม่มส
ี ี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
137

- ผ่าน O2 เข้าไปในกระบอกตวง ถ้าแก๊สที่เหลือเป็น O2 ปริมาตรของแก๊สใน


กระบอกตวงจะเพิ่มขึ้น และแก๊สยังคงไม่มีสี

ตัวอย่างผลการทดลอง
1. O2 และ NO เป็นแก๊สไม่มีสี
2. เมื่อผ่าน NO เข้าไปรวมกับ O2 ในกระบอกตวงพบว่าระดับน้ำ�ในกระบอกตวงลดลงมี
แก๊สสีน้ำ�ตาลแดงเกิดขึ้น แล้วระดับน้ำ�จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับแก๊สสีน้ำ�ตาลแดง
จางหายไป เมื่อระดับน้ำ�ในกระบอกตวงไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว อ่านปริมาตรของแก๊สที่
เหลือในกระบอกตวงได้ผลดังตาราง

การทดลองครั้งที่ ปริมาตรของ O2 (mL) ปริมาตรของแก๊สที่เหลือ (mL)


1 20.00 10.00
2 20.00 9.80
3 20.00 10.60

3. การทดสอบแก๊สที่เหลือพบว่าธูปที่ติดไฟเหลือเป็นถ่านแดงมีเปลวไฟเกิดขึ้น

อภิปรายผลการทดลอง
1. เมือ
่ ผสม O2 กับ NO จะมีแก๊สสีน�ำ้ ตาลแดงของ NO2 เกิดขึน
้ จากนัน
้ ระดับน้�ำ ในกระบอกตวง
สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่แก๊สสีน้ำ�ตาลแดงค่อย ๆ จางหายไป เนื่องจาก NO2
ละลายในน้ำ�จึงทำ�ให้ความดันของแก๊สในกระบอกตวงลดลง น้ำ�จากภายนอกจะเข้าไป
แทนที่ ทำ�ให้ระดับน้�ำ ในกระบอกตวงสูงขึน
้ อย่างรวดเร็วและในทีส
่ ด
ุ ระดับน้�ำ ในกระบอกตวง
จะคงที่แต่ไม่เต็มกระบอก แสดงว่ายังมีแก๊สเหลืออยู่
2. เมือ
่ ทดสอบแก๊สทีเ่ หลือด้วยธูปทีต
่ ด
ิ ไฟเหลือเป็นถ่านแดง พบว่ามีเปลวไฟเกิดขึน
้ แสดงว่า
คือ O2 เนื่องจากเป็นแก๊สที่ช่วยให้ไฟติด
3. อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันคำ�นวณได้ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
138

การทดลองครั้งที่ 1
ปริมาตรของ O2 1 หลอด = 20.00 mL
ปริมาตรของ NO 1 หลอด = 20.00 mL
มี O2 เหลือ = 10.00 mL
ดังนั้นปริมาตรของ O2 ที่ใช้ไป 20.00 mL – 10.00 mL = 10.00 mL
อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊ส O2 : NO ที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน
= 10.00 : 20.00
= 1:2
คำ�นวณอัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันในแต่ละการทดลอง
ได้ผลดังนี้
ปริมาตร O2 ปริมาตร NO อัตราส่วนของ
การทดลองที่
(mL) (mL) O2 : NO โดยปริมาตร
1 10.00 20.00 1.000 : 2.000
2 10.20 20.00 1.000 : 1.961
3 9.40 20.00 1.000 : 2.31

การทดลองทุกครั้งได้ผลใกล้เคียงกัน แสดงว่า O2 ทำ�ปฏิกิริยากับ NO ด้วยอัตราส่วนคงที่


เท่ากับ 1 : 2 โดยปริมาตร
4. ความคลาดเคลื่อนในการทดลองอาจเกิดจากขนาดของหลอดทดลองไม่เท่ากัน การเก็บ
แก๊สไม่เต็มหลอดเนื่องจาก O2 ละลายน้ำ�ได้เล็กน้อย หรือขณะถ่ายแก๊สเข้ากระบอกตวง
อาจมีแก๊สบางส่วนออกไปนอกกระบอกตวง

สรุปผลการทดลอง
อัตราส่วนโดยปริมาตรของ O2 และ NO ที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน เท่ากับ 1 : 2

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติม
ครูอาจนำ�อภิปรายเกี่ยวกับการวัดปริมาตรของ NO2 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งควร
สรุปได้ว่า ไม่สามารถวัดปริมาตรของ NO2 ได้ เนื่องจากเป็นแก๊สที่ละลายน้ำ� จึงไม่ทราบ
ปริมาตรของแก๊สหลังเกิดปฏิกิริยา ทำ�ให้สรุปไม่ได้ว่าปริมาตรของแก๊สก่อนเข้าทำ�ปฏิกิริยา
กับปริมาตรของแก๊สหลังเกิดปฏิกิริยามีอัตราส่วนเป็นเท่าใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
139

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
การเตรียมแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ท�ำ ได้โดยใช้ทองแดงทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับกรดไนทริก
เจือจาง เขียนสมการเคมีได้ดังนี้
3Cu(s) + 8HNO3(aq) 3Cu(NO3)2(aq) + 4H2O(l) + 2NO(g)
แต่ถ้าใช้ทองแดงทำ�ปฏิกิริยากับกรดไนทริกเข้มข้น จะได้แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ เขียน
สมการเคมีได้ดังนี้
Cu(s) + 4HNO3(aq) Cu(NO3)2(aq) + 2H2O(l) + 2NO2(g)

14. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สออกซิเจนกับแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ เกิด


เป็นแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีอัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊ส O2 : NO : NO2 เท่ากับ 1 : 2 : 2
ดังรูป 6.3 เพื่ออธิบายเกี่ยวกับกฎของเกย์–ลูสแซก ซึ่งกล่าวว่า ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ ปริมาตร
ของสารตัง้ ต้นและผลิตภัณฑ์ทเ่ี ป็นแก๊ส สามารถแสดงด้วยอัตราส่วนของตัวเลขจำ�นวนเต็มทีม
่ ค
ี า่ น้อย
15. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎของเกย์–ลูสแซกที่ใช้กับสารสถานะแก๊ส ที่อุณหภูมิและ
ความดันเดียวกัน โดยไม่รวมปริมาตรของของแข็งหรือของเหลวในปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากของแข็ง
และของเหลวมีปริมาตรคงที่ พร้อมทั้งยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างผงกำ�มะถันกับแก๊สออกซิเจน
ได้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ประกอบการอธิบาย
16. ครู ย กตั ว อย่ า งปฏิ กิ ริ ย าเคมีร ะหว่ า งแก๊ ส ไฮโดรเจนและแก๊สคลอรีน เกิ ด เป็ น แก๊ส
ไฮโดรเจนคลอไรด์ ดังรูป 6.4 แล้วตั้งคำ�ถามว่า อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมี
มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนโดยโมลของสารในปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรตอบได้ว่า
อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมีมีค่าเท่ากับอัตราส่วนโดยโมล จากนั้นครูอธิบายความ
สัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊สกับจำ�นวนโมเลกุลและโมล ดังรูป 6.5 รวมทั้งสมมติฐานของ
อาโวกาโดร ซึ่งกล่าวว่า ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ แก๊สใด ๆ ที่มีปริมาตรเท่ากัน จะมีจำ�นวน
โมเลกุลเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
140

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
1. ในปี พ.ศ. 2351 กฎของเกย์–ลูสแซก ยังไม่สามารถอธิบายได้ เนื่องจากในขณะนั้น
นักวิทยาศาสตร์คด
ิ ว่าธาตุทเ่ี ป็นแก๊สประกอบด้วย 1 อะตอม ดังนัน
้ การทีแ
่ ก๊สไฮโดรเจน
และแก๊สออกซิเจนเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ จะต้องแบ่งอะตอมของไฮโดรเจน
และออกซิเจนเป็น 2 ส่วน ซึง่ ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของดอลตันทีก
่ ล่าวว่าอะตอม
แบ่งแยกไม่ได้ จนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2354 อาโวกาโดรได้เสนอสมมติฐานของอาโวกาโดรว่า
ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ แก๊สใด ๆ ที่มีปริมาตรเท่ากัน จะมีจำ�นวนโมเลกุลเท่ากัน
โดยคิดว่าอนุภาคทีเ่ ล็กทีส
่ ด
ุ ของธาตุทเ่ี ป็นแก๊สคือโมเลกุล ซึง่ ประกอบด้วย 2 อะตอม และ
ใช้ในการอธิบายปฏิกริ ย
ิ าทีเ่ กิดขึน
้ ว่า โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจนแตก
ออกเป็นอะตอม แล้วรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ 2 โมเลกุล
H2(g) + Cl2(g) 2HCl(g)

H2 1 โมเลกุล Cl2 1 โมเลกุล HCl 2 โมเลกุล


หรือ H 2 อะตอม Cl 2 อะตอม HCl 2 โมเลกุล
หรือ H 1 อะตอม Cl 1 อะตอม HCl 1 โมเลกุล
แต่ในสมัยนัน
้ สมมติฐานของอาโวกาโดรยังไม่ได้รบ
ั การยอมรับ จนกระทัง่ 50 ปีตอ
่ มา จึง
ได้รับการยอมรับเป็นกฎของอาโวกาโดร
2. สมมติฐานเป็นแนวคิดที่ตั้งหรือเสนอขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือผลการทดลอง
ต่าง ๆ ถ้าสมมติฐานใดมีผลการทดลองมาสนับสนุนเป็นจำ�นวนมากหรือใช้อธิบาย
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้กว้างขวางและพิสูจน์จนยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง จะได้รับการ
ยอมรับเป็นกฎ เช่น สมมติฐานของอาโวกาโดร ได้รบ
ั การยอมรับเป็นกฎของอาโวกาโดร
เมื่อสตานิสลาฟ คันนิซซาโร เสนอว่า โมเลกุลของธาตุที่เป็นแก๊สประกอบด้วย 2 อะตอม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
141

17. ครูให้นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับกฎของเกย์–ลูสแซกและสมมติฐานของอาโวกาโดร
ซึ่งควรสรุปได้ดังนี้
- เมื่อวัดปริมาตรของแก๊สภายใต้อุณหภูมิและความดันคงที่ แก๊สจะทำ�ปฏิกิริยากันพอดีด้วย
อัตราส่วนโดยปริมาตรคงที่
- อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยากันพอดี และที่ได้จากปฏิกิริยา ณ อุณหภูมิ
และความดันเดียวกันจะเป็นเลขจำ�นวนเต็มลงตัวน้อย ๆ
- แก๊สที่มีปริมาตรเท่ากันเมื่อวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน จะมีจำ�นวนอนุภาคเท่ากัน
18. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

จากรูป 6.3 และ 6.4 ปริมาตรรวมของแก๊สทีท


่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ ากันพอดีกบ
ั ปริมาตรรวมของ
แก๊สทีเ่ กิดขึน
้ มีคา่ เท่ากันเหมือนมวลของสารตามกฎทรงมวลหรือไม่
ปริมาตรรวมของแก๊สก่อนเกิดปฏิกิริยาและหลังปฏิกิริยาอาจเท่ากันหรือแตกต่างกัน
ก็ได้ ซึง่ แตกต่างจากกฎทรงมวล

จากนั้นครูอธิบายการคำ�นวณปริมาตรของแก๊สที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี และสูตรโมเลกุล
ของแก๊ส โดยยกตัวอย่าง 13 - 14 ประกอบการอธิบาย
19. ครู ย กตั ว อย่ า งปฏิ กิ ริ ย าเคมี ร ะหว่ า งแก๊ ส ซั ล เฟอร์ ไ ดออกไซด์ แ ละแก๊ ส ออกซิ เ จนเกิ ด
เป็นแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ แล้วอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมี
กับปริมาณต่าง ๆ ของสารว่า เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีมีความสัมพันธ์กับจำ�นวนโมเลกุล
ปริมาตรของแก๊ส และจำ�นวนโมล จึงสามารถนำ�มาใช้ในการคำ�นวณปริมาณสารในหน่วยต่าง ๆ ได้
เช่น มวล ความเข้มข้น ปริมาตรของแก๊สที่ STP ดังนั้นเมื่อทราบปริมาณของสารชนิดใดชนิดหนึ่ง จะ
สามารถคำ�นวณปริมาณของสารอื่น ๆ ที่ต้องการทราบในปฏิกิริยานั้นได้
20. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
142

ตรวจสอบความเข้าใจ

เติมค่าในช่องว่างต่อไปนีใ้ ห้สมบูรณ์

2SO2(g) + O2(g) 2SO3(g)


จำ�นวนโมล 2 mol + 1 mol 2 mol
มวล 128.12 g + 32.00 g 160.12 g
ปริมาตรที่ STP 2(22.4 L) + 22.4 L 2(22.4 L)

2(6.02 × 1023) + 6.02 × 1023 2(6.02 × 1023)


จำ�นวนอนุภาค
molecule molecule molecule

FeCl3(aq) + 3NaOH(aq) Fe(OH)3(s) + 3NaCl(aq)


จำ�นวนโมล 1 mol + 3 mol 1 mol + 3 mol
มวล 162.20 g + 120.00 g 106.88 g + 175.32 g
ความเข้มข้น 1 mol/L + 3 mol/L 1 mol/L + 3 mol/L

จำ�นวนอนุภาค
6.02 × 1023 + 3(6.02 × 1023) 6.02 × 1023+3(6.02 × 1023)
formula unit formula unit formula unit formula unit

21. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.4 เพื่อทบทวนความรู้


22. ครูให้ความรู้ว่าปฏิกิริยาเคมีบางชนิดมีหลายขั้นตอน จึงมีสมการเคมีที่เกี่ยวข้องหลาย
สมการ จากนั้นครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีของการถลุงโลหะสังกะสี พร้อมแสดงสมการเคมีที่
เกี่ยวข้องประกอบการอธิบาย ดังนี้
2C(s) + O2(g) 2CO(g) .....(1)
ZnO(s) + CO(g) Zn(s) + CO2(g) …..(2)
ครูตั้งคำ�ถามว่า สมการเคมีทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งควรตอบได้ว่า ในสมการเคมีทั้งสอง
มีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นตัวร่วมของทั้งสองสมการ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ในสมการ (1) และ
เป็นสารตั้งต้นในสมการ (2) จากนั้นครูอธิบายเกี่ยวกับวิธีการรวมสมการเคมี ซึ่งต้องทำ�ให้ตัวร่วมของ
ทั้งสองสมการเท่ากัน แล้วนำ�ไปหักล้างกัน ได้สมการเคมีรวมดังนี้
2C(s) + O2(g) + 2ZnO(s) 2Zn(s) + 2CO2(g)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
143

จากนั้นครูสรุปว่า ถ้าทราบปริมาณของสารใดสารหนึ่งในสมการหนึ่ง จะสามารถหาปริมาณของ


สารในอีกสมการหนึ่งได้
23. ครูอธิบายการคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กีย
่ วข้องกับสมการเคมีหลายขัน
้ ตอน
โดยยกตัวอย่าง 15 - 16 ประกอบ
24. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.5 เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับการรวมสมการเคมี และ
การคำ�นวณปริมาณของสารทีเ่ กีย
่ วข้องกับปฏิกริ ย
ิ าเคมีหลายขัน
้ ตอน โดยครูควรตรวจสอบความถูกต้อง
และอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่นักเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้ เ กี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารคำ � นวณปริ ม าณของสารในปฏิ กิ ริ ย าเคมี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มวล
ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาตรแก๊ส และปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน จากการอภิปราย การทำ�
แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด 6.2

1. เมือ
่ ผ่านแก๊สคลอรีนลงในสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ทร่ี อ
้ น เกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมี
ดังสมการ

3Cl2(g) + 6KOH(aq) 5KCl(aq) + KClO3(aq) + 3H2O(l)

จงคำ�นวณ
1.1 จำ�นวนโมลของโพแทสเซียมคลอเรตทีเ่ กิดขึน
้ เมือ
่ ใช้แก๊สคลอรีน 1.86 โมล

1 mol KClO3
โมลของ KClO3 = 1.86 mol Cl2 ×
3 mol Cl2

= 0.620 mol KClO3


ดังนัน
้ จะมีโพแทสเซียมคลอเรตเกิดขึน
้ 0.620 โมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
144

1.2 มวลของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เมือ


่ ต้องการโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.450 โมล
6 mol KOH 56.11 g KOH
มวลของ KOH = 0.450 mol KCl × ×
5 mol KCl 1 mol KOH
= 30.3 g KOH
ดังนัน
้ ต้องใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 30.3 กรัม

2. การผลิตกรดฟอสฟอริก (H3PO4) เพือ


่ การค้าจะใช้ปฏิกริ ย
ิ าเคมีดงั สมการ

Ca3(PO4)2(s) + 3H2SO4(aq) + 6H2O(l) 3CaSO4⋅2H2O(s) + 2H3PO4(aq)

จงคำ�นวณมวลของกรดซัลฟิวริกเข้มข้น ทีต
่ อ
้ งใช้ท�ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั แคลเซียมฟอสเฟต
100.0 กรัม
มวลของ H2SO4
1 mol Ca3(PO4)2 3 mol H2SO4 98.08 g H2SO4
= 100.0 g Ca3(PO4)2 × × ×
310.18 g Ca3(PO4)2 1 mol Ca3(PO4)2 1 mol H2SO4
= 94.86 g H2SO4
ดังนัน
้ ต้องใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้น 94.86 กรัม

3. แอสไพริน (C9H8O4) สังเคราะห์ได้จากปฏิกริ ย


ิ าเคมีระหว่างกรดซาลิซล
ิ ก
ิ (C7H6O3) และ
แอซีตก
ิ แอนไฮไดรด์ (C4H6O3) ดังสมการ

C7H6O3(s) + C4H6O3(l) C9H8O4(s) + C2H4O2(l)

2
ถ้าใช้กรดซาลิซล
ิ ก
ิ 5.00 × 10 กรัม จงคำ�นวณ
3.1 มวลของแอสไพรินทีเ่ กิดขึน
้ จากปฏิกริ ย
ิ าเคมี
มวลของ C9H8O4
2 1 mol C7H6O3 1 mol C9H8O4 180.17 g C9H8O4
= 5.00 × 10 g C7H6O3 × × ×
138.13 g C7H6O3 1 mol C7H6O3 1 mol C9H8O4
= 652 g C9H8O4
ดังนัน
้ มีแอสไพรินเกิดขึน
้ 652 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
145

3.2 ปริมาตรของแอซีตก
ิ แอนไฮไดรด์ทต
่ี อ
้ งใช้ในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมี เมือ
่ แอซีตก
ิ แอนไฮไดรด์
มีความหนาแน่น 1.082 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร
ปริมาตรของ C4H6O3
2 1 mol C7H6O3 1 mol C4H6O3
= 5.00 × 10 g C7H6O3 × ×
138.13 g C7H6O3 1 mol C7H6O3
102.10 g C4H6O3 1 mL C4H6O3
× ×
1 mol C4H6O3 1.082 g C4H6O3

= 342 mL C4H6O3
ดังนัน
้ ต้องใช้แอซีตก
ิ แอนไฮไดรด์ 342 มิลลิลต
ิ ร

4. จะต้องใช้อากาศกีก
่ รัม เพือ
่ เผาไหม้ถา่ นหิน 120.0 กรัม ถ้าถ่านหินประกอบด้วยคาร์บอน
ร้อยละ 95.0 และส่วนประกอบอื่นที่ไม่เกิดการเผาไหม้ร้อยละ 5.0 โดยมวล กำ�หนดให้
อากาศมีแก๊สออกซิเจนเป็นองค์ประกอบร้อยละ 23.0 โดยมวล
เขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
C(s) + O2(g) CO2(g)

95.0 g C
มวลของ C ในถ่านหิน = 120.0 g ถ่านหิน × = 114 g C
100.0 g ถ่านหิน

1 mol C 1 mol O2 32.00 g O2


มวลของ O2 ทีใ่ ช้เผาไหม้ = 114 g C × × ×
12.01 g C 1 mol C 1 mol O2
= 304 g O2

100.0 g อากาศ
มวลของอากาศ = 304 g O2 ×
23.0 g O2

= 1.32 × 103 g อากาศ

้ จะต้องใช้อากาศ 1.32 × 103 กรัม


ดังนัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
146

แบบฝึกหัด 6.3

1. แอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟตนิยมนำ�มาใช้เป็นส่วนประกอบของปุย
๋ ซึง่ สังเคราะห์จาก
สารละลายแอมโมเนีย (NH3) และสารละลายกรดฟอสฟอริก (H3PO4) ถ้าใช้สารละลาย
แอมโมเนียเข้มข้น 7.4 โมลต่อลิตร ปริมาตร 3.48 ลิตร จะต้องใช้กรดฟอสฟอริกเข้มข้น
12.9 โมลต่อลิตร ปริมาตรกีล
่ ต
ิ ร
เขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
2NH3(aq) + H3PO4(aq) (NH4)2HPO4(aq)
ปริมาตรของ H3PO4
n
7.4 mol NH3
n 1 mol H3 PO4 1 L H3 PO4 sol
= 3.48 L NH3 sol × n × ×
1 L NH3 sol 2 mol NH3 12.9 mol H3 PO4
n
= 1.0 L H3 PO4 sol
ดังนัน
้ ต้องใช้กรดฟอสฟอริกเข้มข้น 12.9 โมลต่อลิตร ปริมาตร 1.0 ลิตร

2. นำ�สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 1.00 โมลาร์ ปริมาตร 100 มิลลิลิตร มาทำ�


ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกบ
ั สารละลายกรดไนทริกเข้มข้น 0.800 โมลาร์ จะต้องใช้สารละลายกรดไนทริก
กีม
่ ล
ิ ลิลต
ิ ร และได้โซเดียมไนเทรตเข้มข้นกีโ่ มลาร์

NaOH(aq) + HNO3(aq) NaNO3(aq) + H2O(l)

ปริมาตรของ HNO3

n 1.00 mol NaOH 1 mol HNO3
= 100 mL NaOH sol × n × ×
1000 mL NaOH sol 1 mol NaOH

n
1000 mL HNO3 sol
0.800 mol HNO3
n
= 125 mL HNO3 sol
ดังนัน
้ ใช้สารละลายกรดไนทริกปริมาตร 125 มิลลิลต
ิ ร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
147

ปริมาตรของสารละลายเมือ
่ ผสมกัน = 100 mL + 125 mL = 225 mL
ความเข้มข้นของ NaNO3

n 1.00 mol NaOH 1 mol NaNO3


= 100 mL NaOH sol × n × ×
1000 mL NaOH sol 1 mol NaOH
1 1000 mL sol
n
× n n
255 mL sol 1 L sol

= 0.444 mol/L NaNO3


ดังนัน
้ ได้โซเดียมไนเตรทเข้มข้น 0.444 โมลาร์

3. โลหะสังกะสีทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เขียนสมการเคมีได้ดังนี้
(สมการเคมียงั ไม่ดล
ุ )

Zn(s) + HCl(aq) H2(g) + ZnCl2(aq)

ถ้าใช้โลหะสังกะสี 13.07 กรัม จะต้องใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 2.0 โมลต่อลิตร


ปริมาตรกีม
่ ล
ิ ลิลต
ิ ร
ดุลสมการเคมีได้ดงั นี้
Zn(s) + 2HCl(aq) H2(g) + ZnCl2(aq)
ปริมาตรของ HCl
n
1 mol Zn 2 mol HCl 1000 mL HCl sol
= 13.07 g Zn × × ×
65.38 g Zn 1 mol Zn 2.0 mol HCl
n
= 2.0 × 102 mL HCl sol
2
ดังนัน
้ ใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 2.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 2.0 × 10
มิลลิลต
ิ ร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
148

4. ปฏิ กิ ริ ย าเคมี ร ะหว่ า งโลหะทองแดงและสารละลายซิ ล เวอร์ ไ นเทรต เขี ย นแสดงได้


ดังนี(้ สมการเคมียงั ไม่ดล
ุ )

Cu(s) + AgNO3(aq) Ag(s) + Cu(NO3)2(aq)

ถ้าใช้สารละลายซิลเวอร์ไนเทรตเข้มข้น 2.50 โมลต่อลิตร ปริมาตร 5.0 ลิตร ทำ�ปฏิกริ ย


ิ า
พอดีกบ
ั โลหะทองแดง จะได้โลหะเงินกีก
่ โิ ลกรัม
ดุลสมการเคมีได้ดงั นี้
Cu(s) + 2AgNO3(aq) 2Ag(s) + Cu(NO3)2(aq)
มวลของ Ag
n 2.50 mol AgNO3 2 mol Ag 107.87 g Ag
= 5.0 L AgNO3 sol × n × ×
1 L AgNO3 sol 2 mol AgNO3 1 mol Ag
1 kg Ag
×
1000 g Ag
= 1.3 kg Ag
ดังนัน
้ ได้โลหะเงิน 1.3 กิโลกรัม

แบบฝึกหัด 6.4

1. ทีอ
่ ณ
ุ หภูมแ
ิ ละความดันเดียวกัน เมือ
่ นำ�แก๊สไฮโดรเจน 100 มิลลิลต
ิ ร ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับแก๊ส
ออกซิเจน 85 มิลลิลิตร ได้ไอน้ำ� ไอน้ำ�ที่เกิดขึ้นและแก๊สออกซิเจนที่เหลือมีปริมาตรกี่
มิลลิลต
ิ ร
เขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
2H2(g) + O2(g) 2H2O(g)
อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 1 2
2 mL H2O
ปริมาตรของ H2O = 100 mL H2 ×
2 mL H2
= 100 mL H2O
ดังนัน
้ มีไอน้�ำ เกิดขึน
้ 100 มิลลิลต
ิ ร
1 mL O2
ปริมาตรของ O2 = 100 mL H2 ×
2 mL H2
= 50 mL O2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
149

ปริมาตรของ O2 ทีเ่ หลืออยู


่ = 85 mL – 50 mL = 35 mL
ดังนัน
้ มีแก๊สออกซิเจนเหลือ 35 มิลลิลต
ิ ร

2. จากปฏิกริ ย
ิ าต่อไปนี้

CH4(g) + 2O2(g) CO2(g) + 2H2O(g)

้ ยละ 21 โดยปริมาตร จะต้องใช้แก๊สมีเทน (CH4) กีล


ถ้าอากาศมีแก๊สออกซิเจนอยูร่ อ ่ ต
ิ ร จึง
จะทำ�ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั อากาศปริมาตร 30.0 ลิตร
21 L O2 1 L CH4
ปริมาตรของ CH4 = 30.0 L อากาศ × ×
100 L อากาศ 2 L O2
= 3.2 L CH4
ดังนัน
้ ต้องใช้แก๊สมีเทน 3.2 ลิตร

3. การสังเคราะห์ดว้ ยแสงของพืช เกิดปฏิกริ ย


ิ าเคมีดงั นี้
hu
6CO2(g) + 6H2O(g) C6H12O6(g) + 6O2(g)
กลูโคส
พืชต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก่ีลิตร ที่ STP จึงจะสามารถสังเคราะห์กลูโคสได้
36.0 กรัม
ปริมาตรของ CO2 ที่ STP
1 mol C H O 6 mol CO2 22.4 L CO2
= 36.0 g C6H12O6 × 6 12 6 × ×
180.18 g C6H12O6 1 mol C6H12O6 1 mol CO2
= 26.9 L CO2
ดังนัน
้ พืชจะต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 26.9 ลิตร ที่ STP

4. แก๊ส A เป็นออกไซด์ของฟลูออรีน เมือ


่ นำ�แก๊ส A ปริมาตร 150 มิลลิลต
ิ ร มาสลายตัวจน
หมดด้วยพลังงาน จะได้แก๊สออกซิเจน 75 มิลลิลต
ิ ร และแก๊สฟลูออรีน 150 มิลลิลต
ิ ร โดย
วัดทีอ
่ ณ
ุ หภูมแ
ิ ละความดันเดียวกัน จงหาสูตรโมเลกุลของแก๊ส A
แก๊ส A เป็นออกไซด์ของฟลูออรีน กำ�หนดสูตรโมเลกุลเป็น OxFy

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
150

เขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
OxFy(g) O2(g) + F2(g)
ปริมาตรของแก๊ส (mL) 150 75 150

หาอัตราส่วนอย่างต่�ำ 150
= 2.0 75 = 1.0 =
150 2.0
75 75 75

อัตราส่วนโดยปริมาตรเท่ากับอัตราส่วนโดยโมล จึงเขียนสมการเคมีได้ดงั นี้


2OxFy(g) O2 (g) + 2F2(g)
เมือ
่ พิจารณาจำ�นวนอะตอมของออกซิเจน
จำ�นวนอะตอมของ O ในสารตัง้ ต้น = จำ�นวนอะตอมของ O ในผลิตภัณฑ์
2x = 2
x = 1
เมือ
่ พิจารณาจำ�นวนอะตอมของฟลูออรีน
จำ�นวนอะตอมของ F ในสารตัง้ ต้น = จำ�นวนอะตอมของ F ในผลิตภัณฑ์
2y = 4
y = 2
ดังนัน
้ สูตรโมเลกุลของแก๊ส A คือ OF2

แบบฝึกหัด 6.5

1. ดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าย่อย พร้อมทัง้ เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ ารวมต่อไปนี้
1.1 ปฏิกริ ย
ิ า (1) 2NO(g) N2O2(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (2) N2O2(g) + O2(g) 2NO2(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม ............................
2NO(g) + O2(g) 2NO2(g)
........................................ .....

1.2 ปฏิกริ ย
ิ า (3) N2(g) + O2(g) 2NO(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (4) 2NO(g) + Cl2(g) 2NOCl(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม .....
N2(g) + O2(g)
............... + Cl2(g)
................ 2NOCl(g)
.....................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
151

1.3 ปฏิกริ ย
ิ า (5) Na2O2(s) 2Na(l) + O2(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (6) 4Na(l) + O2(g) 2Na2O(s)
ปฏิกริ ย ิ ารวม ...........
2Na2O ... 2(s) 2Na2O(s)
......................................... + O2(g)
................... .....
ซึง่ ทำ�ได้โดย นำ� 2 คูณกับปฏิกริ ย
ิ า (5) แล้วกำ�หนดให้เป็นปฏิกริ ย ิ า (5.1) จะได้
ปฏิกริ ย
ิ า (5.1) 2Na2O2(s) 4Na(l) + 2O2(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม = (6) + (5.1) 2Na2O2(s) 2Na2O(s) + O2(g)

1.4 ปฏิกริ ย
ิ า (7) CO(g) + 2H2(g) CH3OH(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (8) CO2(g) + C(s) 2CO(g)
ปฏิกริ ย ิ ารวม .........
CO2(g) + C(s) + 4H2(g)
.................................. 2CH3OH(g)
........................................ ..............
ซึง่ ทำ�ได้โดย นำ� 2 คูณกับปฏิกริ ย
ิ า (7) แล้วกำ�หนดให้เป็นปฏิกริ ย ิ า (7.1) จะได้
ปฏิกริ ย
ิ า (7.1) 2CO(g) + 4H2(g) 2CH3OH(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม = (8) + (7.1) CO2(g) + C(s) + 4H2(g) 2CH3OH(g)

1.5 ปฏิกริ ย
ิ า (9) HBr(g) + O2(g) HOOBr(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (10) HOOBr(g) + HBr(g) 2HOBr(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (11) HOBr(g) + HBr(g) H2O(g) + Br2(g)
ปฏิกริ ย ิ ารวม ..............................
4HBr(g) + O2(g) 2H2........................
.................................... O(g) + 2Br2(g) ....
ซึง่ ทำ�ได้โดย นำ� 2 คูณกับปฏิกริ ย
ิ า (11) แล้วกำ�หนดให้เป็นปฏิกริ ย ิ า (11.1) จะได้
ปฏิกริ ย
ิ า (11.1) 2HOBr(g) + 2HBr(g) 2H2O(g) + 2Br2(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม = (9) + (10) + (11.1)
4HBr(g) + O2(g) 2H2O(g) + 2Br2(g)

2. วิธก
ี ารกำ�จัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์วธิ ห
ี นึง่ ทำ�ได้โดยใช้ซล
ั เฟอร์ไดออกไซด์ท�ำ ปฏิกริ ย
ิ าเคมี
กับแคลเซียมออกไซด์ ซึง่ ได้จากการเผาหินปูน ปฏิกริ ย
ิ าเคมีทเ่ี กิดขึน
้ เขียนแสดงได้ดงั นี้

CaCO₃(s) CaO(s) + CO₂(g) .....(1)


Δ
CaO(s) + SO₂(g) CaSO₃(s) .....(2)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
152

เมื่อใช้หินปูนหนัก 1.35 × 103 กิโลกรัม จะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปริมาตรกี่ลิตร


ที่ STP
สมการรวม CaCO3(s) + SO2(g) CaSO3(s) + CO2(g)
ปริมาตรของ SO2 ที่ STP

1000 g CaCO3 1 mol CaCO3 1 mol SO2


= 1.35 × 103 kg CaCO3 × × ×
1 kg CaCO3 100.09 g CaCO3 1 mol CaCO3
22.4 L SO2
×
1 mol SO2

= 3.02 × 105 L SO2


ดังนัน
้ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทถ ู กำ�จัดมีปริมาตร 3.02 × 105 ลิตร ที่ STP
่ี ก

3. ซิลค
ิ อนทีใ่ ช้ในชิน
้ ส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีขน
้ั ตอนการผลิตเพือ
่ ให้ได้ซล
ิ ค
ิ อนบริสท
ุ ธิ์
ดังสมการ (สมการเคมียงั ไม่ดล
ุ )

SiO₂(s) + C(s) Si(s) + CO(g) .....(1)


Si(s) + Cl₂(g) SiCl₄(l) .....(2)
SiCl₄(l) + H₂(g) Si(s) + HCl(g) .....(3)

ถ้าต้องการซิลิคอน 100.0 กิโลกรัม จะต้องใช้คาร์บอนในการผลิตกี่กิโลกรัม


ดุลสมการเคมี
SiO₂(s) + 2C(s) Si(s) + 2CO(g) .....(1)
Si(s) + 2Cl₂(g) SiCl₄(l) .....(2)
SiCl₄(l) + 2H₂(g) Si(s) + 4HCl(g) .....(3)
สมการรวม (1) + (2) + (3)
SiO2(s) + 2C(s) + 2Cl2(g) + 2H2(g) Si(s) + 2CO(g) + 4HCl(g)
มวลของ C
1000 2 mol C 12.01 g C
= 100.0 kg Si × g ×
Si 1 mol Si × ×
1 kg Si 28.08 g Si 1 mol Si 1 mol C
= 85.54 × 103 g C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
153

= 85.54 kg C
ดังนัน
้ ต้องใช้คาร์บอนในการผลิต 85.54 กิโลกรัม

4. กระบวนการออสต์วอลด์ (Ostwald process) เป็นกระบวนการสังเคราะห์กรดไนทริก มี


ขัน
้ ตอนดังนี้

ขัน
้ ที่ 1 เผาแก๊สแอมโมเนีย (NH₃) ทีอ
่ ณ
ุ หภูมิ 800 องศาเซลเซียส เพือ
่ ให้ท�ำ ปฏิกริ ย
ิ ากับ
แก๊สออกซิเจน โดยใช้โลหะแพลทินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดแก๊สไนโตรเจน
มอนอกไซด์ (NO) ดังนี้ (สมการเคมียังไม่ดุล)
Pt
NH₃(g) + O₂(g) NO(g) + H₂O(g)

ขั้นที่ 2 เมื่ออุณหภูมิในเตาเผาเย็นลงประมาณ 50 องศาเซลเซียส แก๊สไนโตรเจน


มอนอกไซด์จะทำ�ปฏิกริ ย ิ าเคมีกบ
ั แก๊สออกซิเจน เกิดเป็นแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์
ดังนี้ (สมการเคมียังไม่ดุล)

NO(g) + O₂(g) NO₂(g)

ขั้นที่ 3 นำ�แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์มาผ่านลงในน้ำ� จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารละลาย


กรดไนทริก (HNO₃) และแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ดังนี้ (สมการเคมียังไม่ดุล)

NO₂(g) + H₂O(l) HNO₃(aq) + NO(g)

ถ้าต้องการเตรียมสารละลายกรดไนทริกเข้มข้น 15.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 10.0


ลิตร จะต้องใช้แก๊สแอมโนเนียกี่กิโลกรัม
ดุลสมการเคมี
้ ที่ 1 4NH3(g) + 5O2(g)
ขัน 4NO(g) + 6H2O(g) .....(1)
ขัน
้ ที่ 2 2NO(g) + O2(g) 2NO2(g) .....(2)
ขัน
้ ที่ 3 3NO2(g) + H2O(l) 2HNO3(aq) + NO(g) .....(3)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
154

รวมสมการ (2) และ (3) โดย


สมการ (2) × 3; 6NO(g) + 3O2(g) 6NO2(g) .....(4)
สมการ (3) × 2; 6NO2(g) + 2H2O(l) 4HNO3(aq) + 2NO(g) .....(5)
สมการ (4) + (5); 6NO(g) + 3O2(g) + 2H2O(l) 4HNO3(aq) + 2NO(g) .....(6)
รวมสมการ (1) และ (6) โดย
สมการ (1) × 6; 24NH3(g) + 30O2(g) 24NO(g) + 36H2O(g) .....(6)
สมการ (6) × 4;
24NO(g) + 12O2(g) + 8H2O(l) 16HNO3(aq) + 8NO(g) .....(7)
สมการ (6) + (7);
24NH3(g) + 42O2(g) 16HNO3(aq) + 8NO(g) + 28H2O(g)
หรือ 12NH3(g) + 21O2(g) 8HNO3(aq) + 4NO(g) + 14H2O(g)
มวลของ NH3

n 15.0 mol HNO3 12 mol NH3 17.04 g NH3


= 10.0 L HNO3 sol × n
× ×
1 L HNO3 sol 8 mol HNO3 1 mol NH3
= 3.83 × 103 g NH3
= 3.83 kg NH3
ดังนัน
้ ต้องใช้แก๊สแอมโมเนีย 3.83 กิโลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
155

6.4 สารกำ�หนดปริมาณ
6.5 ผลได้ร้อยละ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุสารกำ�หนดปริมาณ
2. คำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับสารกำ�หนดปริมาณ
3. คำ�นวณผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมี

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

สารกำ�หนดปริมาณเป็นสารทีม
่ ป
ี ริมาณน้อยกว่า สารกำ�หนดปริมาณเป็นสารตัง้ ต้นทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ า
เสมอ หมดก่อน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนเล่นเกมเก้าอี้ดนตรี ดังนี้
- แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละประมาณ 15 คนหรือมากกว่า 10 คน แล้วให้นักเรียนแต่ละ
กลุ่มร่วมกันทำ�กิจกรรมเก้าอี้ดนตรี โดยนำ�เก้าอี้ 10 ตัวมาเรียงเป็นวงกลม
- เปิดเพลงหรือร้องเพลงแล้วเดินรอบเก้าอี้ เมือ
่ เสียงเพลงจบแล้ว ให้นบ
ั จำ�นวนนักเรียนที่
นั่งเก้าอี้และนักเรียนที่ไม่มีเก้าอี้นั่ง
ครูนำ�อภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรม โดยใช้ประเด็นคำ�ถามต่อไปนี้
- นักเรียนสามารถนั่งเก้าอี้ได้กี่คน และมีอีกกี่คนที่ไม่มีเก้าอี้นั่ง
- นักเรียนหรือเก้าอี้เป็นตัวกำ�หนดการนั่งของนักเรียน
ซึ่งควรตอบได้ว่า นักเรียนนั่งเก้าอี้ได้ 10 คน จำ�นวนนักเรียนที่เหลือคือคนที่ไม่มีเก้าอี้นั่ง และ
เก้าอี้เป็นตัวกำ�หนดการนั่งของนักเรียน
2. ครูอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่มีปริมาณของสารตั้งต้นบางชนิดมากกว่าอัตราส่วนที่ทำ�
ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกน
ั ตามสมการเคมี และสารกำ�หนดปริมาณซึง่ เป็นสารตัง้ ต้นทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าหมดก่อนสาร
อืน
่ จึงเป็นสารทีก
่ �ำ หนดปริมาณผลิตภัณฑ์ทเ่ี กิดขึน
้ แล้วตัง้ คำ�ถามว่า จากเกมเก้าอีด
้ นตรี ถ้าเปรียบเทียบ
เก้าอี้และนักเรียนเป็นสารตั้งต้นที่เข้าทำ�ปฏิกิริยาเคมี สิ่งใดเป็นสารกำ�หนดปริมาณ ซึ่งควรตอบได้ว่า
เก้ า อี้ เ ปรี ย บได้ กั บ สารกำ � หนดปริ ม าณ เนื่ อ งจากเป็ น สารตั้ ง ต้ น ที่ ทำ � ปฏิ กิ ริ ย าหมดก่ อ น และเป็ น
ตัวกำ�หนดปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
156

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากกิจกรรม 6.1 จงระบุสารกำ�หนดปริมาณและสารที่เหลือในหลอดที่ 1 – 5


ในหลอดที่ 1 และ 2 สารกำ�หนดปริมาณคือ BaCl2 และสารที่เหลือคือ Na3PO4
ในหลอดที่ 3 สารกำ�หนดปริมาณ คือ BaCl2 หรือ Na3PO4 เนื่องจากสารทำ�ปฏิกิริยาพอดี
กัน โดยไม่มีสารตั้งต้นเหลือ
ในหลอดที่ 4 และ 5 สารกำ�หนดปริมาณคือ Na3PO4 และสารที่เหลือคือ BaCl2

3. ครูให้นก
ั เรียนพิจารณารูป 6.6 ซึง่ เป็นปฏิกริ ย
ิ าเคมีระหว่างแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน
ที่มีปริมาณแก๊สไฮโดรเจนมากกว่าอัตราส่วนที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันตามสมการ แล้วให้นักเรียนตอบ
คำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากรูป 6.6 ตอบคำ�ถามต่อไปนี้


1. สารตั้งต้นใดเป็นสารกำ�หนดปริมาณ
แก๊สออกซิเจนเป็นสารกำ�หนดปริมาณ
2. เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีน้ำ�เกิดขึ้นกี่โมเลกุล
เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดมีน้ำ�เกิดขึ้น 4 โมเลกุล
3. เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีสารตั้งต้นใดที่เหลืออยู่ และเหลืออยู่ปริมาณเท่าใด
เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดมีแก๊สไฮโดรเจนเหลือ 2 โมเลกุล
4. ถ้าให้แก๊สไฮโดรเจน 6 โมล ทำ�ปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน 2 โมล จะเกิดน้ำ�กี่กรัม
18.02 g H2O
มีน้ำ�เกิดขึ้น 4 mol ดังนั้น มีน้ำ� = 4 mol H2O ×
1 mol H2O

= 72.08 g H2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
157

4. ครูแสดงสมการเคมีของปฏิกิริยาระหว่างแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจนได้น้ำ� ดังนี้
2H2(g) + O2(g) 2H2O(l)
จากนัน
้ ครูอธิบายสรุปเกีย
่ วกับปฏิกริ ย
ิ าในรูป 6.6 โดยเชือ
่ มโยงกับสมการเคมีวา่ จากสมการเคมี
แก๊ ส ไฮโดรเจน 2 โมลทำ � ปฏิ กิ ริ ย าพอดี กั บ แก๊ ส ออกซิ เ จน 1 โมล เกิ ด เป็ น น้ำ � 2 โมล ดั ง นั้ น ถ้ า มี
แก๊สไฮโดรเจน 6 โมล จะต้องใช้แก๊สออกซิเจน 3 โมล แต่ถ้าในปฏิกิริยามีแก๊สออกซิเจนเพียง 2 โมล
แก๊สออกซิเจนจึงทำ�ปฏิกิริยาหมดและเป็นสารกำ�หนดปริมาณ โดยใช้แก๊สไฮโดรเจนไปเพียง 4 โมล
เท่านั้น เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาจึงได้น้ำ� 4 โมลหรือ 72.08 กรัม และเหลือแก๊สไฮโดรเจน 2 โมล
5. ครูนำ�อภิปรายโดยตั้งคำ�ถามว่า ในกรณีที่ปริมาณของสารตั้งต้นบางชนิดมากกว่าอัตราส่วน
ทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกน
ั ตามสมการเคมี จะคำ�นวณปริมาณผลิตภัณฑ์และสารตัง้ ต้นทีเ่ หลือได้อย่างไร ซึง่
ควรสรุ ป ได้ ว่ า ต้ อ งหาสารกำ � หนดปริ ม าณก่ อ น โดยคำ � นวณว่ า สารใดที่ ทำ � ปฏิ กิ ริ ย าหมด แล้ ว ใช้
สารกำ�หนดปริมาณในการคำ�นวณปริมาณผลิตภัณฑ์และสารตั้งต้นที่เหลือ จากนั้นครูยกตัวอย่าง
17 - 19 ประกอบการอธิบาย
6. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.6 เพื่อทบทวนความรู้
7. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า ในทางปฏิบัติปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจริงมีค่าเท่ากับผลที่คำ�นวณได้
ตามทฤษฎีหรือไม่ จากนั้นให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 6.3 และอภิปรายผลการทดลองโดยใช้คำ�ถามท้าย
การทดลอง

กิจกรรม 6.3 การทดลองผลได้ร้อยละของปฏิกิริยาระหว่าง


โซเดียมคาร์บอเนตกับกรดไฮโดรคลอริก

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองหามวลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมคาร์บอเนต
กับกรดไฮโดรคลอริก
2. เปรียบเทียบมวลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ตามทฤษฎีและมวลที่หาได้จากการทดลอง

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 10 นาที


ทำ�การทดลอง 20 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 20 นาที
รวม 50 นาที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
158

วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) 2 g
2. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) 1.0 mol/L 40 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด 50 mL 1 ใบ
2. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
3. ช้อนตักสาร ใช้ร่วมกัน
4. กระบอกตวงขนาด 50 mL ใช้ร่วมกัน
5. เครื่องชั่ง ใช้ร่วมกัน

การเตรียมล่วงหน้า
เตรียม HCl 1.0 mol/L ปริมาตร 250 mL โดยละลาย HCl 6.0 mol/L ปริมาตร 42.00 mL
ในน้ำ�กลั่นจำ�นวนหนึ่ง แล้วทำ�ให้สารละลายมีปริมาตรเป็น 250 mL

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. HCl มีสมบัติกัดกร่อน ควรใช้อย่างระมัดระวัง
2. เตือนนักเรียนให้เท Na2CO3 ลงในสารละลาย HCl ทีละน้อยจนหมด และต้องระวังสาร
กระเด็น เนื่องจากมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น
3. เมือ
่ ผสมสารเข้าด้วยกันแล้วต้องแกว่งบีกเกอร์เพือ
่ ให้สารทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากันจนหมดและทำ�ให้
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบีกเกอร์จนหมด
4. ในการคำ�นวณต้องใช้มวลของ Na2CO3 ที่ได้จากการชั่ง

ตัวอย่างผลการทดลอง
1. เมื่อผสมสารละลาย Na2CO3 ลงใน HCl จะมีฟองแก๊สเกิดขึ้น
2. ชั่งมวลของสารได้ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
159

รายการ มวล (g)

บีกเกอร์ที่บรรจุ HCl 154.38


Na2CO3 2.00
มวลของบีกเกอร์ที่บรรจุสารหลังเกิดปฏิกิริยา 155.60

อภิปรายผลการทดลอง
1. เมือ
่ ผสม Na2CO3 กับ HCl จะเกิดฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารละลายโซเดียมคลอไรด์
(NaCl) ซึ่งไม่มีสี และน้ำ� (H2O) เขียนสมการเคมีได้ดังนี้

Na2CO3(s) + 2HCl(aq) CO2(g) + 2NaCl(aq) + H2O(l)

2. มวลของ CO2 ที่เกิดขึ้นในการทดลองหาได้โดยพิจารณาจากกฎทรงมวล ดังนี้


มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยา = มวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา
มวลของ HCl + Na2CO3 = (มวลของ NaCl และ H2O) + มวลของแก๊ส CO2
m1 + m2 = m3 + มวลของแก๊ส CO2
เมื่อ m1 คือ มวลของบีกเกอร์ที่บรรจุ HCl
m2 คือ มวลของ Na2CO3
m3 คือ มวลของบีกเกอร์ที่บรรจุสารหลังเกิดปฏิกิริยาเคมี
หามวลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการทดลอง ได้ดังนี้
มวลของแก๊ส CO2 = (m1 + m2) – m3
= (154.38 g + 2.00 g) – 155.60 g
= 0.78 g
ดังนั้น ในการทดลองมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น 0.78 กรัม
3. คำ�นวณมวลของ CO2 ตามทฤษฎี ได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 คำ�นวณสารกำ�หนดปริมาณ
คำ�นวณมวลของ Na2CO3 ทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั HCl 1.0 mol/L ปริมาตร 40.0 mL
ได้ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
160

มวลของ Na2CO3

n 1.0 mol HCl 1 mol Na2CO3 105.99 g Na2CO3


= 40.0 mL HCl sol × n× ×
1000 mL HCl sol 2 mol HCl 1 mol Na2CO3

= 2.1 g Na2CO3
นั่นคือ HCl 1.0 mol/L ปริมาตร 40.0 mL จะทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับ Na2CO3
2.1 g แต่ชั่ง Na2CO3 มวล 2.00 g ดังนั้น Na2CO3 เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

ขั้นที่ 2 คำ�นวณมวลของ CO2


คำ�นวณมวลของ CO2 จากสารกำ�หนดปริมาณ ซึง่ คือ มวลของ Na2CO3 ทีช
่ ง่ั ได้ ดังนี้
มวลของ CO2

1 mol Na2CO3 1 mol CO2 44.01 g CO2
= 2.00 g Na2CO3 × × ×
105.99 g Na2CO3 1 mol Na2CO3 1 mol CO2

= 0.830 g CO2
ดังนั้น มวลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ตามทฤษฎีเท่ากับ 0.830 กรัม
4. การทดลองนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการวัดมวลของสาร การผสม Na2CO3
การละลายของ CO2 ในน้ำ� และความเข้มข้นของ HCl ซึ่งอาจไม่ใช่ 0.1 โมลต่อลิตรพอดี

สรุปผลการทดลอง
มวลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ตามทฤษฎีมากกว่ามวลที่หาได้จากการทดลอง

8. ครู ใ ห้ ค วามรู ้ เ กี่ย วกั บ ผลได้ ตามทฤษฎีว่าเป็นปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่คำ�นวณได้จาก


สารกำ�หนดปริมาณตามสมการเคมี ส่วนผลได้จริงเป็นปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจริง รวมทั้งสาเหตุ
ที่ทำ�ให้ผลได้จริงมีค่าน้อยกว่าผลได้ตามทฤษฎี จากนั้นอธิบายเกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพของ
ปฏิกิริยาโดยการแสดงด้วยผลได้ร้อยละ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลได้จริงกับผลได้ตามทฤษฎีเป็น
ร้อยละ แล้วให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
161

ตรวจสอบความเข้าใจ

ผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมีจากกิจกรรม 6.3 มีค่าเท่าใด


คำ�ตอบขึ้นกับผลการทดลอง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

0.78 g
ผลได้ร้อยละ = × 100
0.830 g

=
94
ดังนั้น ปฏิกิริยานี้มีผลได้ร้อยละเท่ากับ 94

9. ครูอธิบายวิธีการคำ�นวณผลได้ร้อยละ โดยยกตัวอย่าง 20 - 21 ประกอบ แล้วให้นักเรียน


ทำ�แบบฝึกหัด 6.7 เพื่อทบทวนความรู้
10. ครูสรุปความสำ�คัญของเนื้อหาในบทปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมีที่เป็นพื้นฐานใน
การคำ�นวณปริมาณสารในบทต่อ ๆ ไป แล้วให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดท้ายบท

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสารกำ�หนดปริมาณ วิธีการคำ�นวณปริมาณสารต่าง ๆ เมื่อมีสารกำ�หนด
ปริมาณ และผลได้ร้อยละ จากการอภิปราย การทำ�กิจกรรม รายงานการทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด
และการทดสอบ
2. ทักษะใช้จำ�นวน จากรายงานการทดลองและการทำ�แบบฝึกหัด
3. ทักษะการทดลอง จากรายงานการทดลองและการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลอง
4. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการ
ทำ�การทดลอง
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย
6. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความซื่อสัตย์และความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมในการ
ทำ�การทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
162

แบบฝึกหัด 6.6

1. แคลเซียมคาร์บอเนตทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับกรดไฮโดรคลอริก ดังนี้ (สมการเคมียงั ไม่ดล
ุ )

CaCO3(s) + HCl(aq) CaCl2(aq) + H2O(l) + CO2(g)

เมือ
่ ใช้แคลเซียมคาร์บอเนต 50.0 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับกรดไฮโดรคลอริก 0.500 โมล จะ
เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กล
่ี ต
ิ ร ที่ STP
ดุลสมการเคมี

CaCO3(s) + 2HCl(aq) CaCl2(aq) + H2O(l) + CO2(g)

ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ

1 mol CaCO3 100.09 g CaCO3


มวลของ CaCO3 = 0.500 mol HCl × ×
2 mol HCl 1 mol CaCO3

= 25.0 g CaCO3
นัน
่ คือ เมือ
่ ใช้ HCl 0.500 โมล จะต้องใช้ CaCO3 25.0 กรัม ซึง่ มี CaCO3 50.0 กรัม
ดังนัน
้ HCl เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

ขัน
้ ที่ 2 หาปริมาตรของ CO2 ที่ STP

1 mol CO2 22.4 L CO2


ปริมาตรของ CO2 ที่ STP = 0.500 mol HCl × ×
2 mol HCl 1 mol CO2

= 5.60 L CO2
ดังนัน
้ เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 5.60 ลิตร ที่ STP

2. จากปฏิกริ ย
ิ าเคมี 2H2S(g) + SO2(g) 3S(s) + 2H2O(l)
ถ้าผสมแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์อย่างละ 5.00 กรัม เมือ
่ ปฏิกริ ย
ิ าเคมี
เกิดอย่างสมบูรณ์จะเหลือสารใด และเหลืออยูก
่ ก
่ี รัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
163

ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
มวลของ H2S

1 mol SO2 2 mol H2S 34.08 g H2S


= 5.00 g SO2 × × ×
64.06 g SO2 1 mol SO2 1 mol H2S
= 5.32 g H2S

นัน ่ ใช้ SO2 5.00 กรัม จะต้องใช้ H2S 5.32 กรัม แต่มี H2S 5.00 กรัม เแสดง
่ คือ เมือ
ว่า H2S เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของ SO2
มวลของ SO2

1 mol H2S 1 mol SO2 64.06 g SO2


= 5.00 g H2S × × ×
34.08 g H2S 2 mol H2S 1 mol SO2
= 4.70 g SO2

นัน
่ คือ เมือ
่ ใช้ H2S 5.00 กรัม จะต้องใช้ SO2 4.70 กรัม ดังนัน
้ เหลือแก๊สซัลเฟอร์ได-
ออกไซด์ 5.00 g – 4.70 g = 0.30 g

3. ถ้านำ�แก๊สไฮโดรเจน 30.0 ลิตร มาทำ�ปฏิกริ ย


ิ ากับแก๊สไนโตรเจน 20.0 ลิตร จะเกิดแก๊ส
แอมโมเนีย (NH3) มากทีส
่ ด
ุ กีโ่ มล ที่ STP
เขียนและดุลสมการเคมี

3H2(g) + N2(g) 2NH3(g)

ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
1 L N2
ปริมาตรของ N2 = 30.0 L H2 ×
3 L H2
= 10.0 L N2

นัน
่ คือ ถ้าใช้ H2 30.0 ลิตร จะต้องใช้ N2 10.0 ลิตร และมี N2 20.0 ลิตร ดังนัน
้ H2 เป็น
สารกำ�หนดปริมาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
164

ขัน
้ ที่ 2 หาโมลของ NH3 ที่ STP

2 L NH3 1 mol NH3


โมลของ NH3 ที่ STP = 30.0 L H2 × ×
3 L H2 22.4 L NH3

= 0.893 mol NH3


ดังนัน
้ เกิดแอมโมเนีย 0.893 โมล ที่ STP

4. ผสมสารละลายกรดเกลือเข้มข้น 1.50 โมลต่อลิตร ปริมาตร 25.0 มิลลิลต


ิ ร กับสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0.800 โมลต่อลิตร ปริมาตร 40.0 มิลลิลต
ิ ร ปฏิกริ ย
ิ าทีเ่ กิดขึน

เขียนแสดงได้ดงั นี้

HCl(aq) + NaOH(aq) NaCl(aq) + H2O(l)

จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
4.1 สารใดเป็นสารกำ�หนดปริมาณ
ขัน
้ ที่ 1 หาโมลของสารก่อนทำ�ปฏิกริ ย
ิ า

ิ า = 1.50 mol HCln × 25.0 mL sol


n
โมลของ HCl ก่อนทำ�ปฏิกริ ย
1000 mL sol
= 0.0375 mol HCl
0.800 mol NaOH n
โมลของ NaOH ก่อนทำ�ปฏิกริ ย
ิ า = n × 40.0 mL sol
1000 mL sol
= 0.0320 mol NaOH

ขัน
้ ที่ 2 หาสารกำ�หนดปริมาณ
1 mol NaOH
โมลของ NaOH = 0.0375 mol HCl ×
1 mol HCl
= 0.0375 mol NaOH

นัน
่ คือ เมือ
่ ใช้ HCl 0.0375 โมล จะต้องใช้ NaOH 0.0375 โมล แต่มี NaOH
0.0320 โมล ดังนัน
้ NaOH เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
165

4.2 เมือ
่ ปฏิกริ ย
ิ าสิน
้ สุดจะได้สารละลายโซเดียมคลอไรด์กโ่ี มลต่อลิตร
ปริมาตรของสารละลายหลังผสมกัน = 25.0 mL + 40.0 mL = 65.0 mL
ความเข้มข้นของสารละลาย NaCl
1 mol NaCl 1 1000 mL sol
n
= 0.0320 mol NaOH × × ×
n n
1 mol NaOH 65.0 mL sol 1 L sol
n
= 0.492 mol NaCl/L sol
ดังนัน
้ สารละลายเกลือแกงมีความเข้มข้น 0.492 โมลต่อลิตร

4.3 เมือ
่ ทดสอบสารละลายหลังสิน
้ สุดปฏิกริ ย
ิ ากับกระดาษลิตมัสสีแดงและน้�ำ เงิน มีการ
เปลีย
่ นแปลงหรือไม่ อย่างไร
จากข้อ 4.1 สารกำ�หนดปริมาณคือ NaOH แสดงว่าเหลือ HCl ซึง่ มีสมบัตเิ ป็น
กรด ดังนัน
้ เมือ
่ ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสสีแดงจะไม่เปลีย
่ นสี แต่จะเปลีย
่ นสีกระดาษ
ลิตมัสสีน�ำ้ เงินเป็นแดง

แบบฝึกหัด 6.6 เพิ่มเติม

1. เมือ
่ นำ�ผงอะลูมเิ นียมจำ�นวน 0.150 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับแก๊สคลอรีนจำ�นวน 1.00 กรัม จะ
มีอะลูมเิ นียมคลอไรด์ซง่ึ เป็นของแข็งเกิดขึน
้ กีก
่ รัม
เขียนและดุลสมการเคมี

2Al(s) + 3Cl2(g) 2AlCl3(s)

ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
1 mol Cl2 2 mol Al 26.98 g Al
มวลของ Al = 1.00 g Cl2 × × ×
70.90 g Cl2 3 mol Cl2 1 mol Al
= 0.254 g Al

่ คือ ถ้าใช้ Cl2 1.00 กรัม จะต้องใช้ Al 0.254 กรัม แต่มี Al เพียง 0.150 กรัม
นัน
ดังนัน
้ Al เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
166

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของ AlCl3

1 mol Al 2 mol AlCl3 133.33 g AlCl3


มวลของ AlCl3 = 0.150 g Al × × ×
26.98 g Al 2 mol Al 1 mol AlCl3

= 0.741 g AlCl3
ดังนัน
้ เกิดอะลูมเิ นียมคลอไรด์ 0.741 กรัม

2. การผลิตไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ในอุตสาหกรรม จะใช้แก๊สแอมโมเนีย (NH3) แก๊ส


ออกซิเจน (O2) และแก๊สมีเทน (CH4) เป็นสารตัง้ ต้น เกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมีดงั นี้ (สมการเคมียงั
ไม่ดล
ุ )

NH3(g) + O2(g) + CH4(g) HCN(g) + H2O(g)

ถ้าใช้แก๊สแอมโมเนีย แก๊สออกซิเจน และแก๊สมีเทน อย่างละ 5.00 × 103 กิโลกรัม ทำ�


ปฏิกริ ย
ิ ากันอย่างสมบูรณ์ จะเกิดไฮโดรเจนไซยาไนด์กก
่ี โิ ลกรัม และเกิดไอน้�ำ กีล
่ ต
ิ ร
(กำ�หนดให้ ความหนาแน่นของไอน้�ำ เท่ากับ 0.804 กรัมต่อลิตร)

เขียนและดุลสมการเคมี

2NH3(g) + 3O2(g) + 2CH4(g) 2HCN(g) + 6H2O(g)

ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
มวลของ NH3

1 mol O2 2 mol NH3 17.04 g NH3


= 5.00 × 103 × 103 g O2 × × ×
32.00 g O2 3 mol O2 1 mol NH3

= 1.78 × 106 g NH3 หรือ 1.78 × 103 kg NH3

่ คือ ถ้าใช้ O2 5.00 × 103 กิโลกรัม จะต้องใช้ NH3 1.78 × 103 กิโลกรัม แต่มี NH3
นัน
5.00 × 103 กิโลกรัม แสดงว่าแก๊สแอมโมเนียเหลือ ส่วนแก๊สออกซิเจนหมด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
167

มวลของ CH4

1 mol O2 2 mol CH4 16.05 g CH4
= 5.00 × 103 × 103 g O2 × × ×
32.00 g O2 3 mol O2 1 mol CH4

= 1.67 × 106 g CH4 หรือ 1.67 × 103 kg CH4

่ คือ ถ้าใช้ O2 5.00 × 103 กิโลกรัม จะต้องใช้ CH4 1.67 × 103 กิโลกรัม แต่มี CH4
นัน
5.00 × 103 kg แสดงว่าแก๊สมีเทนเหลือ ส่วนแก๊สออกซิเจนหมด
ดังนัน
้ แก๊สออกซิเจนเป็นสารกำ�หนดปริมาณ

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของ HCN และปริมาตรของ H2O
มวลของ HCN

1 mol O2 2 mol HCN 27.03 g HCN


= 5.00 × 103 × 103 g O2 × × ×
32.00 g O2 3 mol O2 1 mol HCN

= 2.82 × 106 g HCN หรือ 2.82 × 103 kg HCN

้ เกิดไฮโดรเจนไซยาไนด์ 2.82 × 103 กิโลกรัม


ดังนัน

ปริมาตรของ H2O
1 mol O2 6 mol H2O 18.2 g H2O
= 5.00 × 103 × 103 g O2 × × ×
32.00 g O2 3 mol O2 1 mol H2O
1 L H2O
×
0.804 g H2O

= 7.00 × 106 L H2O

ดังนัน ำ 7.00 × 106 ลิตร


้ เกิดไอน้�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
168

แบบฝึกหัด 6.7

1. แก๊สแอมโมเนียทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกบ
ั แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ ได้แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึง่ เป็น
ของแข็งสีขาว ถ้าใช้แอมโมเนีย 0.200 กรัม จงคำ�นวณ
1.1. มวลของแอมโมเนียมคลอไรด์ทเ่ี กิดขึน

เขียนและดุลสมการเคมี

NH3(g) + HCl(g) NH4Cl(s)

มวลของ NH4Cl
1 mol NH3 1 mol NH4Cl 53.50 g NH4Cl
= 0.200 g NH3 × × ×
17.04 g NH3 1 mol NH3 1 mol NH4Cl
= 0.628 g NH4Cl
ดังนัน
้ มีแอมโมเนียมคลอไรด์เกิดขึน
้ 0.628 กรัม

1.2 ผลได้รอ
้ ยละของปฏิกริ ย
ิ าเคมี ถ้ามีแอมโมเนียมคลอไรด์เกิดขึน
้ 0.20 กรัม

้ ยละ = 0.20 g × 100


ผลได้รอ
0.628 g
= 32
ดังนัน
้ ปฏิกริ ย
ิ านีม
้ ผ
ี ลได้รอ
้ ยละเท่ากับ 32

2. ไนโตรเบนซีน (C6H5NO2) เป็นสารทีใ่ ช้มากในอุตสาหกรรมการทำ�สี เตรียมได้จากปฏิกริ ย


ิ าเคมี
ระหว่างเบนซีน (C6H6) กับกรดไนทริก (HNO3) ดังสมการเคมีตอ
่ ไปนี้

C6H6(l) + HNO3(aq) C6H5NO2(l) + H2O(l)

ถ้าใช้เบนซีน 20.30 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย


ิ าเคมีกบ
ั กรดไนทริกมากเกินพอ จะเกิดไนโตรเบนซีน
กีก
่ รัม และถ้าได้ไนโตรเบนซีนเพียง 28.7 กรัม ผลผลิตทีไ่ ด้คด
ิ เป็นร้อยละเท่าใด
ขัน
้ ที่ 1 หามวลของ C6H5NO2
มวลของ C6H5NO2
1 mol C6H6 1 mol C6H5NO2 123.12 g C6H5NO2
= 20.30 g C6H6 × × ×
78.12 g C6H6 1 mol C6H6 1 mol C6H5NO2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
169

= 31.99 g C6H5NO2
ดังนัน
้ มีไนโตรเบนซีนเกิดขึน
้ 31.99 กรัม

ขัน
้ ที่ 2 หาผลได้รอ
้ ยละ
28.7 g
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100
31.99 g
= 89.7
ดังนัน
้ ปฏิกริ ย
ิ านีม
้ ผ
ี ลได้รอ
้ ยละเท่ากับ 89.7

3. น้�ำ มันระกำ� (methyl salicylate) เตรียมได้จากปฏิกริ ย


ิ าต่อไปนี้

C7H6O3(s) + CH4O(l) C8H8O3(l) + H2O(l)


กรดซาลิซล
ิ ก
ิ เมทานอล น้�ำ มันระกำ�

จากการทดลองพบว่าเมือ
่ ใช้กรดซาลิซล
ิ ก
ิ 15.0 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกบ
ั เมทานอล 11.20
กรัม จะได้น�ำ้ มันระกำ� 12.4 กรัม จงหาผลได้รอ
้ ยละจากการทดลองนี้
ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
มวลของ CH4O
1 mol C7H6O3 1 mol CH4O 32.05 g CH4O
= 15.0 g C7H6O3 × × ×
138.13 g C7H6O3 1 mol C7H6O3 1 mol CH4O
= 3.48 g CH4O
นัน
่ คือ ถ้าใช้กรดซาลิซล
ิ ก
ิ 15.0 กรัม ต้องใช้เมทานอล 3.48 กรัม และมีเมทานอล
11.20 กรัม ดังนัน
้ กรดซาลิซล
ิ ก
ิ เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของ C8H8O3
มวลของ C8H8O3
1 mol C7H6O3 1 mol C8H8O3 152.16 g C8H8O3
= 15.0 g C7H6O3 × × ×
138.13 g C7H6O3 1 mol C7H6O3 1 mol C8H8O3
= 16.5 g C8H8O3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
170

ดังนัน
้ มีน�ำ้ มันระกำ�เกิดขึน
้ 16.5 กรัม

ขัน
้ ที่ 3 หาผลได้รอ
้ ยละ

12.4 g
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100 = 75.2
16.5 g

ดังนัน
้ ปฏิกริ ย
ิ านีม
้ ผ
ี ลได้รอ
้ ยละเท่ากับ 75.2

แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดท้ายบท แบบทดสอบ เฉลยแบบทดสอบ

1. ดุลสมการต่อไปนี้
1.1 PCl3(l) + H2O(l) H3PO3(aq) + HCl(aq)
PCl3(l) + 3H2O(l) H3PO3(aq) + 3HCl(aq)
1.2 FeS(s) + HCl(aq) FeCl2(aq) + H2S(g)
FeS(s) + 2HCl(aq) FeCl2(aq) + H2S(g)
1.3 CH3OH(l) + O2(g) CO2(g) + H2O(g)

2CH3OH(l) + 3O2(g) 2CO2(g) + 4H2O(g)
1.4 Al(s) + O2(g) Al2O3(s)
4Al(s) + 3O2(g) 2Al2O3(s)
1.5 KNO3(s) KNO2(s) + O2(g)

2KNO3(s) 2KNO2(s) + O2(g)
1.6 AlCl3(aq) + NaOH(aq) Al(OH)3(s) + NaCl(aq)

AlCl3(aq) + 3NaOH(aq) Al(OH)3(s) + 3NaCl(aq)
1.7 Na3PO4(aq) + CaCl2(aq) NaCl(aq) + Ca3(PO4)2(s)

2Na3PO4(aq) + 3CaCl2(aq) 6NaCl(aq) + Ca3(PO4)2(s)
1.8 Fe(s) + H2O(g) H2(g) + Fe3O4(s)
3Fe(s) + 4H2O(g) 4H2(g) + Fe3O4(s)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
171

1.9 Cu(NO3)2(aq) + NH3(aq) + H2O(l) Cu(OH)2(s) + NH4NO3(aq)


Cu(NO3)2(aq) + 2NH3(aq) + 2H2O(l) Cu(OH)2(s) + 2NH4NO3(aq)
1.10 NaCl(s) + SO2(g) + H2O(g) + O2(g) Na2SO4(s) + HCl(g)
4NaCl(s) + 2SO2(g) + 2H2O(g) + O2(g) 2Na2SO4(s) + 4HCl(g)

2. เขียนสมการเคมี พร้อมทัง้ ดุลสมการของปฏิกริ ย


ิ าเคมีจากข้อความต่อไปนี้
2.1 เมื่อเติมเกล็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในสารละลายกรดซัลฟิวริก จะได้สารละลาย
โซเดียมซัลเฟตและน้�ำ
2NaOH(s) + H2SO4(aq) Na2SO4(aq) + 2H2O(l)
2.2 เมื่อใส่แผ่นสังกะสีลงในสารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต พบว่ามีผงทองแดงเกาะที่
แผ่นสังกะสี และมีซงิ ค์ซล
ั เฟตซึง่ ละลายน้�ำ ได้เกิดขึน

Zn(s) + CuSO4(aq) Cu(s) + ZnSO4(aq)
2.3 เมื่อแยกน้ำ�ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะ
ได้แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน
H2SO4
2H2O(l) 2H2(g) + O2(g)
2.4 เมื่อนำ�แก๊สอีทีน (C2H4) มาทำ�ปฏิกิริยาเคมีกับแก๊สไฮโดรเจน โดยมีนิกเกิลเป็น
ตัวเร่งปฏิกริ ย
ิ า จะได้แก๊สอีเทน (C2H6) เป็นผลิตภัณฑ์
Ni
C2H4(g) + H2(g) C2H6(g)
2.5 เมื่อผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่า
สารละลายขุน
่ เนือ
่ งจากมีตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตและน้�ำ เกิดขึน

CO2(g) + Ca(OH)2(aq) CaCO3(s) + H2O(l)

3. จากสมการเคมี ต่อไปนี้
A+B C
เมือ
่ ทำ�การทดลองโดยนำ�สาร A ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับสาร B ผลดังตารางต่อไปนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
172

ครั้งที่ มวลของสาร A (g) มวลของสาร B (g) มวลของสาร C (g)


1 2 10 4
2 4 8 8
3 6 6 12
4 8 4 8
5 10 2 4

ถ้าใช้สาร A จำ�นวน 15 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย


ิ ากับสาร B จำ�นวน 20 กรัม จะเกิดสาร C กีก
่ รัม
หาอัตราส่วนโดยมวลของสารในปฏิกริ ย
ิ าเคมีของในแต่ละการทดลอง ได้ผลดังนี้

ครั้งที่ อัตราส่วนโดยมวลของ A : B : C
1 1:5:2
2 1:2:2
3 1:1:2
4 2:1:2
5 5:1:2

จากการทดลองครัง้ ที่ 1 – 3 แสดงว่า อัตราส่วนโดยมวลของ A : C = 1 : 2


จากการทดลองครัง้ ที่ 3 – 5 แสดงว่า อัตราส่วนโดยมวลของ B : C = 1 : 2
แสดงว่า อัตราส่วนโดยมวลของ A : B : C = 1 : 1 : 2
ดังนัน
้ ถ้าใช้สาร A จำ�นวน 15 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับสาร B จำ�นวน 20 กรัม จะมีสาร
B เหลือ 5 กรัม และมีสาร C เกิดขึน
้ 30 กรัม

4. จากปฏิกริ ย
ิ าต่อไปนี้

4FeS2(s) + 11O2(g) 2Fe2O3(s) + 8SO2(g)

จะต้องใช้แก๊สออกซิเจนกีล
่ ต
ิ ร ที่ STP จึงจะทำ�ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั ไอร์ออน(IV) ซัลไฟด์ 0.500
กิโลกรัม และจะเกิดไอร์ออน(III)ออกไซด์กก
่ี โิ ลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
173

คำ�นวณปริมาตรของ O2 ทีจ
่ ะต้องใช้ ที่ STP
ปริมาตรของ O2 ที่ STP

3 1 mol FeS2 11 mol O2 22.4 L O2


= 0.500 × 10 g FeS2 × × ×
119.97 g FeS2 4 mol FeS2 1 mol O2

= 257 L O2
ดังนัน
้ ต้องใช้แก๊สออกซิเจน 257 ลิตร ที่ STP

คำ�นวณมวลของ Fe2O3 ทีเ่ กิดขึน



มวลของ Fe2O3

3 1 mol FeS2 2 mol Fe2O3 159.70 g Fe2O3
= 0.500 × 10 g FeS2 × × ×
119.97 g FeS2 4 mol FeS2 1 mol Fe2O3

1 kg Fe2O3
×
1000 g Fe2O3

= 0.333 kg Fe2O3
ดังนัน
้ มีไอร์ออน(III)ออกไซด์เกิดขึน
้ 0.333 กิโลกรัม

5. คำ�นวณปริมาตรของสารละลายกรดซัลฟิวริก (H2SO4) เข้มข้น 0.50 โมลต่อลิตร ทีต


่ อ
้ งใช้
ในการทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับโซเดียมคาร์บอเนต 4.235 กรัม ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารละลาย
โซเดียมซัลเฟต น้�
ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เขียนและดุลสมการเคมี

H2SO4(aq) + Na2CO3(s) Na2SO4(aq) + H2O(l) + CO2(g)

ปริมาตรของ H2SO4
n
1 mol Na CO 1 mol H2SO4 1000 mL H2SO4 sol
= 4.235 g Na2CO3 × 2 3 × ×
105.99 g Na2CO3 1 mol Na2CO3 0.50 mol H2SO4

n
= 80 mL H2SO4 sol
ดังนัน
้ ต้องใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 0.50 โมลต่อลิตร ปริมาตร 80 มิลลิลต
ิ ร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
174

6. แก๊สแอมโมเนียทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกบ
ั แก๊สออกซิเจนได้ไอน้�ำ และแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์
ในอัตราส่วน 4 : 5 : 6 : 4 โดยปริมาตร ถ้าใช้แก๊สแอมโมเนีย 500 ลิตร ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าพอดี
กับแก๊สออกซิเจนทีอ
่ ณ
ุ หภูมแ
ิ ละความดันเดียวกัน จะเกิดไอน้�ำ กีล
่ ต
ิ ร ที่ STP

6 L H2O
ปริมาตรของ H2O = 500 L NH3 ×
4 L NH3

= 750 L H2O
ดังนัน
้ เกิดไอน้�
ำ 750 ลิตร

7. เมือ
่ นำ�แก๊สชนิดหนึง่ ซึง่ เป็นออกไซด์ของไนโตรเจนปริมาตร 100 มิลลิลต
ิ ร ไปทำ�ให้สลายตัว
จนหมด จะได้แก๊สไนโตรเจน 100 มิลลิลิตร และแก๊สออกซิเจน 50 มิลลิลิตร โดยวัดที่
STP จงหาสูตรโมเลกุลของออกไซด์น้ี
กำ�หนดให้ออกไซด์ของไนโตรเจนมีสต
ู รโมเลกุล NxOy
เขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
NxOy (g) N2(g) + O2(g)
ปริมาตรของแก๊ส (mL) 100 100 50
100 100 50
หาอัตราส่วนอย่างต่�ำ = 2.0 = 2.0 = 1.0
50 50 50
อัตราส่วนโดยปริมาตรเท่ากับอัตราส่วนโดยโมล จึงเขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
2NxOy (g) 2N2(g) + O2(g)
เมือ
่ พิจารณาจำ�นวนอะตอมของไนโตรเจน
จำ�นวนอะตอมของ N ในสารตัง้ ต้น = จำ�นวนอะตอมของ N ในผลิตภัณฑ์
2x = 4
x = 2
เมือ
่ พิจารณาจำ�นวนอะตอมของออกซิเจน
จำ�นวนอะตอมของ O ในสารตัง้ ต้น = จำ�นวนอะตอมของ O ในผลิตภัณฑ์
2y = 2
y = 1
ดังนัน
้ สูตรโมเลกุลของแก๊สชนิดนี้ คือ N2O

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
175

8. เขียนและดุลสมการเคมีทอ
่ี ยูใ่ นช่องว่าง
8.1 ปฏิกริ ย
ิ า (1) H2(g) + IBr(g) HI(g) + HBr(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (2) HI(g) + IBr(g) HBr(g) + I2(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม H2(g) + 2IBr(g) 2HBr(g) + I2(g)

8.2 ปฏิกริ ย
ิ า (3) 2H2S(g) + 3O2(g) 2SO2(g) + 2H2O(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (4) SO2(g) + Cl2(g) SO2Cl2(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม 2H2S(g) + 3O2(g) + 2Cl2(g) 2SO2Cl2(g) + 2H2O(g)
............................................................................. .....
8.3 ปฏิกริ ย
ิ า (5) 2CH4(g) C2H2(g) + 3H2(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (6) C2H2(g) + H2O(g) CH3CHO(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม ........
2CH......................
4(g) + H2O(g) CH3...................
....................................... CHO(g) +..........
3H2(g)

8.4 ปฏิกริ ย
ิ า (7) C(s) + 2H2(g) CH4(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (8) CH4(g) + NH3(g) HCN(g) + 3H2(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม ...........
C(s) + ................................
NH3(g) HCN(g) +....H2(g)
... ...................

8.5 ปฏิกริ ย
ิ า (9) 2NO(g) N2O2(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (10) N2O2(g) + H2(g) N2O(g) + H2O(g)
ปฏิกริ ย
ิ า (11) N2O(g) + H2(g) N2(g) + H2O(g)
ปฏิกริ ย
ิ ารวม ........
2NO(g) + 2H2............................................................
................... (g) N2(g) + 2H2O(g) .....

.... ................... ..................................... .............. ..........

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
176

9. ในการเผาไหม้ถ่านหินจะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึ้น ซึ่งสามารถกำ�จัดได้โดยทำ�ให้
แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์กลายเป็นสารละลายกรดซัลฟิวริก ถ้ามีสารละลายกรดซัลฟิวริก
เกิดขึน
้ 100 ตัน จะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึน
้ จากการเผาไหม้เป็นปริมาตรเท่าใดที่
STP ปฏิกริ ย
ิ าทีเ่ กิดขึน
้ เขียนสมการได้ดงั นี้

2SO2(g) + O2(g) 2SO3(g) .....(1)


SO3(g) + H2O(l) H2SO4(aq) .....(2)

รวมสมการเคมี

(2) × 2 ; 2SO3(g) + 2H2O(l) 2H2SO4(aq) .....(3)


(1) + (3) ; 2SO2(g) + O2(g) + 2H2O(l) 2H2SO4(aq)
ปริมาตรของ SO2 ที่ STP
1 mol H2SO4 2 mol SO2 22.4 L SO2
= 100 × 106 g H2SO4 × × ×
98.08 g H2SO4 2 mol H2SO4 1 mol SO2
7
= 2.28 × 10 L SO2
ดังนัน ้ 2.28 × 107 ลิตร ที่ STP
้ มีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึน

10. ฟรีออน–12 (CCl2F2) เคยเป็นสารทีใ่ ช้ท�ำ ความเย็นในตูเ้ ย็น เตรียมได้จากปฏิกริ ย


ิ าเคมี
ต่อไปนี้

3CCl4(l) + 2SbF3(l) 3CCl2F2(l) + 2SbCl2(s) + Cl2(g)

ถ้าในปฏิกิริยาเคมีใช้คาร์บอนเตตระคลอไรด์ 150.0 กรัม กับแอนติโมนีไตรฟลูออไรด์


100.0 กรัม
10.1 สารใดเหลือ และเหลือกีก
่ รัม
ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
จากสมการเคมีและมวลต่อโมลของสาร คำ�นวณมวลของ CCl4 ทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ า
พอดีกบ
ั SbF3 100.0 g ได้ดงั นี้
มวลของ CCl4

1 mol SbF3 3 mol CCl4 153.81 g CCl4


= 100.0 g SbF3 × × ×
178.76 g SbF3 2 mol SbF3 1 mol CCl4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
177

= 129.1 g CCl4
นัน
่ คือ ถ้าใช้ SbF3 100.0 กรัม จะต้องใช้ CCl4 129.1 กรัม แต่มี CCl4 150.0 กรัม
แสดงว่า SbF3 เป็นสารกำ�หนดปริมาณ และ CCl4 ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าไม่หมด

ขัน
้ ที่ 2 หาสารทีเ่ หลือ
ดังนัน
้ มีคาร์บอนเตตระคลอไรด์เหลือ = 150.0 g – 129.1 g = 20.9 g

10.2 ฟรีออน-12 ทีเ่ กิดขึน


้ มีมวลกีก
่ รัม
คำ�นวณมวลของ CCl2F2 จาก SbF3 100.0 g ได้ดงั นี้
มวลของ CCl2F2
1 mol SbF3 3 mol CCl2F2 120.91 g CCl2F2
= 100.0 g SbF3 × × ×
178.76 g SbF3 2 mol SbF3 1 mol CCl2F2
= 101.5 g CCl2F2
ดังนัน
้ มีฟรีออน-12 เกิดขึน
้ 101.5 กรัม

11. จากปฏิกริ ย
ิ าเคมี PCl3(g) + Cl2(g) PCl5(g)
เมือ
่ ใช้ฟอสฟอรัสไตรคลอไรด์ 57.0 กรัม ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับแก๊สคลอรีนทีม
่ ากเกินพอ พบว่า
มีผลได้ร้อยละของฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์เท่ากับ 84.0 ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ท่ี
เกิดขึน
้ มีมวลกีก
่ รัม
ขัน
้ ที่ 1 หามวลของ PCl5 ตามทฤษฎี
มวลของ PCl5 ตามทฤษฎี
1 mol PCl3 1 mol PCl5 208.22 g PCl5
= 57.0 g PCl3 × × ×
137.32 g PCl3 1 mol PCl3 1 mol PCl5
= 86.4 g PCl5
ดังนัน
้ มวลของ PCl5 ตามทฤษฎีเี ท่ากับ 86.4 กรัม

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของ PCl5 ทีเ่ กิดขึน

ผลได้จริง
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100
ผลได้ตามทฤษฎี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
178

ผลได้จริง
84.0 = × 100
86.4 g

ผลได้จริง = 72.6 g
ดังนัน
้ มีฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์เกิดขึน
้ 72.6 กรัม

12. ปฏิกริ ย
ิ าการสังเคราะห์เมทิลเบนโซเอต เป็นดังสมการเคมีตอ
่ ไปนี้
H2SO4
C7H6O2(aq) + CH4O(aq) C8H8O2(s) + H2O(l)
กรดเบนโซอิก เมทานอล เมทิลเบนโซเอต

เมื่อผสมสารละลายกรดเบนโซอิกเข้มข้น 1.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 250 มิลลิลิตร กับ


เมทานอลเข้มข้นร้อยละ 95 โดยปริมาตร (ความหนาแน่น 0.79 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร) ปริมาตร
50 มิลลิลิตร และเติมสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปริมาตร 10
มิลลิลต
ิ ร
12.1 สารใดคือสารกำ�หนดปริมาณ
1.0 mol C7H6O2 n
จำ�นวนโมลของ C7H6O2 = n × 250 mL C7H6O2 sol
1000 mL C7H6O2 sol
= 0.25 mol C7H6O2

จำ�นวนโมลของ CH4O
n 95 mL CH4O 0.79 g CH4O 1 mol CH4O
= 50 mL CH4O sol × n × ×
100 mL CH4O sol 1 mL CH4O 32.05 g CH4O
= 1.2 mol CH4O
จากสมการเคมี อัตราส่วนโดยโมลของ C7H6O2 : CH4O = 1 : 1 นัน
่ คือ ถ้าใช้
กรดเบนโซอิก 0.25 โมล จะต้องใช้เมทานอล 0.25 โมล จากโจทย์มเี มทานอล 1.2
โมล ดังนัน
้ กรดเบนโซอิกเป็นสารกำ�หนดปริมาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
179

12.2 เมทิลเบนโซเอตทีส
่ งั เคราะห์ได้ตามทฤษฎีมม
ี วลกีก
่ รัม
มวลของ C8H8O2ตามทฤษฎี
n 1.0 mol C7H6O2 1 mol C8H8O2
= 250 mL C7H6O2 sol × n ×
1000 mL C7H6O2 sol 1 mol C7H6O2
136.16 g C8H8O2
×
1 mol C8H8O2
= 34 g C8H8O2
ดังนัน
้ เมทิลเบนโซเอตทีส
่ งั เคราะห์ได้ตามทฤษฎีมม
ี วล 34 กรัม

12.3 ถ้าสังเคราะห์เมทิลเบนโซเอตได้ 28.9 กรัม ผลได้รอ


้ ยละของปฏิกริ ย
ิ านีม
้ ค
ี า่ เท่าใด
ผลได้จริง
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100
ผลได้ตามทฤษฎี
28.9 g
= × 100
34 g
= 85
ดังนัน
้ ปฏิกริ ย
ิ านีม
้ ผ
ี ลได้รอ
้ ยละเท่ากับ 85

13. การเตรียมสารส้ม (KAl(SO4)2⋅12H2O) จากกระป๋องอะลูมเิ นียมมีขน


้ั ตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ต้ ม โลหะอะลู มิ เ นี ย มกั บ สารละลายโพแทสเซี ย มไฮดรอกไซด์ ซึ่ ง เกิ ด
ปฏิกิริยาเคมีดังนี้

2Al(s) + 2KOH(aq) + 6H2O(l) 2KAl(OH)4(aq) + 3H2(g)

ขั้น ที่ 2 เมื่ อ เติ ม สารละลายกรดซั ล ฟิ ว ริ ก ลงไปในสารละลายที่ ไ ด้ จ ากขั้ น ที่ 1 จะมี

อะลูมเิ นียมไฮดรอกไซด์ซง่ึ เป็นตะกอนสีขาวเกิดขึน


้ ดังนี้

2KAl(OH)4(aq) + H2SO4(aq) 2Al(OH)3(s) + K2SO4(aq) + 2H2O(l)

ขัน
้ ที่ 3 เมือ
่ นำ�ตะกอนจากข้อ 2 มาต้มกับสารละลายกรดซัลฟิวริกจะเกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมีได้
สารละลายอะลูมเิ นียมซัลเฟต ดังนี้

2Al(OH)3(s) + 3H2SO4(aq) Al2(SO4)3(aq) + 6H2O(l)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
180

ขัน
้ ที่ 4 เมื่อปล่อยให้สารละลายที่เตรียมไว้ให้เย็น อะลูมิเนียมซัลเฟตจะรวมตัวกับ
โพแทสเซียมซัลเฟตทีเ่ ป็นผลิตภัณฑ์ในขัน
้ ที่ 2 เกิดเป็นผลึกของสารส้ม ดังนี้

Al2(SO4)3(aq) + K2SO4(aq) + 12H2O(l) 2KAl(SO4)2⋅12H2O(s)

จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
13.1 ถ้าต้องการเตรียมสารส้ม 1.00 กิโลกรัม จะต้องใช้กระป๋องอะลูมเิ นียม อย่างน้อยกีก
่ รัม
เมือ
่ กำ�หนดให้กระป๋องอะลูมเิ นียมมีโลหะอะลูมเิ นียมร้อยละ 98.0 โดยมวล
ขัน
้ ที่ 1 หามวลของ Al ทีต
่ อ
้ งใช้
รวมสมการเคมี ตัง้ แต่ขน
้ั ที่ 1 – 4 ได้ดงั นี้
2Al(s) + 2KOH(aq) + 4H2SO4(aq) + 10H2O(l) 2KAl(SO4)2⋅12H2O(s) + 3H2(g)
กำ�หนดให้ สารส้ม KAl(SO4)2⋅12H2O แทนด้วย A
มวลของ Al
1000 g A 1 mol A 2 mol Al 26.98 g Al
= 1.00 kg A × × × ×
1 kg A 474.44 g A 2 mol A 1 mol Al
= 56.9 g Al
ดังนัน
้ ต้องใช้อะลูมเิ นียม 56.9 กรัม เพือ
่ เตรียมสารส้ม 1.00 กิโลกรัม

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของกระป๋องอะลูมเิ นียม

100 g กระป๋อง
มวลของกระป๋องอะลูมเิ นียม = 56.9 g Al ×
98.0 g Al

= 58.1 g กระป๋อง
ดังนัน
้ ใช้กระป๋องอะลูมเิ นียม 58.1 กรัม เพือ
่ เตรียมสารส้ม 1.00 กิโลกรัม

13.2 ถ้าใช้กระป๋องอะลูมเิ นียม 1.00 กิโลกรัม จะเกิดสารส้มกีก


่ รัม และถ้ามีสารส้มเกิดขึน

13.8 กิโลกรัม ปฏิกริ ย
ิ านีม
้ ผ
ี ลได้รอ
้ ยละเท่าใด
ขัน
้ ที่ 1 หามวลของสารส้มตามทฤษฎี
กำ�หนดให้ สารส้ม KAl(SO4)2⋅12H2O แทนด้วย A
กระป๋องอะลูมเิ นียม 1.00 กิโลกรัม = 1000 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
181

มวลของ A

98.0 g Al 1 mol Al 2 mol A


= 1000 g กระป๋อง × × × ×
100 g กระป๋อง 26.98 g Al 2 mol Al
474.44 g A
1 mol A

= 1.72 × 104 g A
ดังนัน ้ 1.72 × 104 กรัม
้ มีสารส้มเกิดขึน

ขัน
้ ที่ 2 หาผลได้รอ
้ ยละ
้ 13.8 กิโลกรัม หรือ 13.8 × 103 กรัม คำ�นวณผลได้รอ
ถ้ามีสารส้มเกิดขึน ้ ยละของ
ปฏิกริ ย
ิ าได้ดงั นี้

13.8 × 103 g
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100
1.72 × 104 g

= 80.2
ดังนัน
้ ผลได้รอ
้ ยละของปฏิกริ ย
ิ าเคมีนเ้ี ท่ากับ 80.2

13.3 ถ้าใช้กระป๋องอะลูมเิ นียม 200 กรัม ต้องใช้สารละลายกรดซัลฟิวริก เข้มข้น 10.0


โมลต่อลิตร ปริมาตรกีล
่ ต
ิ ร
ปริมาตรของสารละลาย H2SO4

98.0 g Al 1 mol Al 4 mol H2SO4


= 200 g กระป๋อง × × ×
100 g กระป๋อง 26.98 g Al 2 mol Al
n
1 L H2SO4 sol
×
10.0 mol H 2SO4
n
= 1.45 L H2SO4 sol
ดังนัน
้ ใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 10.0 โมลต่อลิตร ปริมาตร 1.45 ลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
182

14. นำ�แผ่นโลหะทองแดง 2.51 กรัม หย่อนลงในสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1.50 โมลต่อลิตร


ปริมาตร 50.0 มิลลิลต
ิ ร เกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมีดงั สมการ

Cu(s) + 2H2SO4(aq) CuSO4(aq) + SO2(g) + 2H2O(l)

เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดและกำ�จัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกแล้ว พบว่าสารละลายที่ได้ทำ�
ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0.3 โมลต่อลิตร ปริมาตร
18.0 มิลลิลต
ิ ร ดังสมการเคมี

H2SO4(aq) + 2NaOH(aq) Na2SO4(aq) + 2H2O(l)

จงคำ�นวณร้อยละของทองแดงในแผ่นโลหะทองแดงทีน
่ �ำ มาทดลอง
ขัน
้ ที่ 1 หาจำ�นวนโมลของ H2SO4ทีใ่ ช้ในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับโลหะทองแดง
จำ�นวนโมลของ H2SO4 ทีใ่ ช้ในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับโลหะทองแดง
= จำ�นวนโมลของ H2SO4 เริม
่ ต้น - จำ�นวนโมลของ H2SO4 ทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ ากับ NaOH
จึงหาจำ�นวนโมลของ H2SO4 ต่าง ๆ ดังนี้
หาจำ�นวนโมลของ H2SO4 เริม
่ ต้น

1.50 mol H2SO4 n


จำ�นวนโมลของ H2SO4 เริม
่ ต้น = × 50.0
n
mL H2SO4 sol
1000 mL H2SO4 sol

= 0.0750 mol H2SO4


หาจำ�นวนโมลของ H2SO4 ทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ ากับ NaOH
จากสมการ H2SO4(aq) + 2NaOH(aq) Na2SO4(aq) + 2H2O(l)

H2SO4 ทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับ NaOH จึงหาจำ�นวนโมลของ H2SO4 ได้ดงั นี้

จำ�นวนโมลของ H2SO4 ทีท


่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ าพอดีกบ
ั NaOH

n
0.3 mol NaOH 1 mol H2SO4
= 18.0 mL NaOH sol × n ×
1000 mL NaOH sol 2 mol NaOH

= 0.003 mol H2SO4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
183

หาจำ�นวนโมลของ H2SO4ทีใ่ ช้ในการทำ�ปฏิกริ ย


ิ ากับโลหะทองแดง
จำ�นวนโมลของ H2SO4 ทีใ่ ช้ในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ ากับโลหะทองแดง
= 0.0750 mol – 0.003 mol
= 0.072 mol

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของโลหะทองแดงทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ ากับ H2SO4
จากสมการ Cu(s) + 2H2SO4(aq) CuSO4(aq) + SO2(g) + 2H2O(l)
คำ�นวณมวลของโลหะทองแดงทีท
่ �ำ ปฏิกริ ย
ิ ากับ H2SO4 0.072 mol ได้ดงั นี้
1 mol Cu 63.55 g Cu
มวลของ Cu = 0.072 mol H2SO4 × ×
2 mol H2SO4 1 mol Cu

= 2.3 g Cu

ขัน
้ ที่ 3 หาร้อยละของทองแดงในแผ่นโลหะทองแดง
ใช้แผ่นโลหะทองแดง 2.51 กรัม ในการใช้ท�ำ ปฏิกริ ย
ิ า แต่มโี ลหะทองแดงทำ�ปฏิกริ ย
ิ า
2.3 กรัม
2.3 g
ร้อยละของ Cu = × 100
2.51 g
= 92

ดังนัน
้ ร้อยละของทองแดงในแผ่นโลหะทองแดงเท่ากับ 92

15. เมื่อนำ�สารประกอบโบรไมด์ของโลหะ A ที่มีสูตร ABr4 3.060 กรัม ทำ�ปฏิกิริยากับ


สารละลายซิลเวอร์ไนเทรตทีม
่ ากเกินพอ ได้สารประกอบซิลเวอร์โบรไมด์ซง่ึ เป็นของแข็ง
5.000 กรัม และสารละลาย A(NO3)4 จงคำ�นวณมวลอะตอมของโลหะ A
เขียนสมการเคมีได้ดงั นี้
ABr4(s) + 4AgNO3(aq) 4AgBr(s) + A(NO3)4(aq)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
184

กำ�หนดให้ มวลต่อโมลของ A = A g/mol


ดังนัน
้ มวลต่อโมลของ ABr4 = (A + 319.60) g/mol

1 mol ABr4 4 mol AgBr


มวลของ AgBr = 3.060 g ABr4 × ×
(A + 319.60) g ABr4 1 mol ABr4
187.77 g AgBr
×
1 mol AgBr

4 × 187.77 g AgBr
5.000 g AgBr = 3.060 g ABr4 ×
(A + 319.60) g ABr4
4 × 187.77 g AgBr
(A + 319.60) g ABr4 = 3.060 g ABr4 ×
5.000 g AgBr

A g ABr4 = (459.7 – 319.60) g ABr4


= 140.1 g ABr4
ดังนัน
้ มวลอะตอมของโลหะ A มีคา่ เท่ากับ 140.1

16. สารประกอบคลอไรด์ของโลหะ M (MCln) ทำ�ปฏิกิริยากับสารละลายกรดซัลฟิวริก ดัง


สมการเคมี

2MCln(s) + nH2SO4(aq) M2(SO4)n(aq) + 2nHCl(g)

ถ้าใช้สารประกอบคลอไรด์ของโลหะ M มวล 3.48 กรัม ทำ�ปฏิกิริยากับสารละลายกรด


ซัลฟิวริกมากเกินพอ จะได้แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์มวล 2.95 กรัม เมือ
่ กำ�หนดให้ M คือ
โลหะทีม
่ ม
ี วลอะตอมเท่ากับ 30.4 จงคำ�นวณค่า n ในสมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ านี้
จากสมการเคมี อัตราส่วนโดยโมลของ MCln : HCl = 2 : 2n
มวลต่อโมลของ MCln = (30.4 + 35.45n) g/mol
มวลต่อโมลของ HCl = 36.46 g/mol

1 mol MCln 2n mol HCl 36.46 g HCl


มวลของ HCl = 3.48 g MCln × × ×
(30.4 + 35.45n) g MCln 2 mol MCln 1 mol HCl

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
185

(3.48 × n × 36.46) g HCl



2.95 g HCl =
(30.4 + 35.45n)
(3.48 × n × 36.46) g HCl
30.4 + 35.45n =
2.95 g HCl

30.4 + 35.45n = 43.0n


n = 4.0
ดังนัน
้ n ในสมการเคมีมค
ี า่ เท่ากับ 4.0

แบบฝึกหัดท้ายบทเพิ่มเติม

1. เมือ
่ แคลเซียมไฮไดรด์ (CaH2) ทำ�ปฏิกริ ย
ิ าอย่างรุนแรงกับน้�
ำ แล้วเกิดแก๊สไฮโดรเจนและ
สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ จะต้องใช้แคลเซียมไฮไดรด์กก
่ี รัม จึงจะได้แก๊สไฮโดรเจน
10.0 ลิตร ที่ STP
เขียนและดุลสมการเคมี

CaH2(s) + 2H2O(l) 2H2(g) + Ca(OH)2(aq)

มวลของ CaH2
1 mol H2 1 mol CaH2 42.10 g CaH2
= 10.0 L H2 × × ×
22.4 L H2 2 mol H2 1 mol CaH2
= 9.40 g CaH2
ดังนัน
้ ต้องใช้แคลเซียมไฮไดรด์ 9.40 กรัม

2. แอสไพริน (acetylsalicylic acid) ใช้เป็นยาแก้ปวด เตรียมได้จากปฏิกริ ย


ิ าระหว่างกรด
ซาลิซล
ิ ก
ิ กับแอซีตก
ิ แอนไฮไดรด์ ดังสมการ
C7H6O3(s) + C4H6O3(l) C9H8O4(s) + C2H4O2(l)
กรดซาลิซล
ิ ก
ิ แอซีตก
ิ แอนไฮไดรด์ แอสไพริน กรดแอซีตก

ถ้าใช้กรดซาลิซิลิก 2.00 กรัม ทำ�ปฏิกิริยากับแอซีติกแอนไฮไดรด์ 4.00 กรัม เกิดเป็น
แอสไพริน 2.21 กรัม จงคำ�นวณผลได้รอ
้ ยละของปฏิกริ ย
ิ า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
186

ขัน
้ ที่ 1 หาสารกำ�หนดปริมาณ
มวลของ C7H6O3

1 mol C H O 1 mol C7H6O3 138.13 g C7H6O3


= 4.00 g C4H6O3 × 4 6 3 × ×
102.10 g C4H6O3 1 mol C4H6O3 1 mol C7H6O3

= 5.41 g C7H6O3
นัน
่ คือ ถ้าใช้ C4H6O3 4.00 กรัม ต้องใช้ C7H6O3 5.41 กรัม แต่มี C7H6O3 2.00
กรัม แสดงว่า C7H6O3 เป็นสารกำ�หนดปริมาณ

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของ C9H8O4
มวลของ C9H8O4

1 mol C7H6O3 1 mol C 9H8O4 180.17 g C9H8O4


= 2.00 g C7H6O3 × × ×
138.13 g C7H6O3 1 mol C7H6O3 1 mol C 9H8O4

= 2.61 g C9H8O4

ขัน
้ ที่ 3 หาผลได้รอ
้ ยละ

2.21 g
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100
2.61 g

=
84.7
ดังนัน
้ ผลได้รอ
้ ยละของปฏิกริ ย
ิ าเท่ากับ 84.7

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
187

3. เมือ
่ นำ�สารตัวอย่างหินปูน (CaCO3) 1.00 กิโลกรัม มาเผาจะเกิดการสลายตัวอย่างสมบูรณ์
ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่ม
ี ีมวลเท่ากับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่เี กิดจากการเผาไหม้
แก๊สโพรเพน (C3H8) 120 กรัม อย่างสมบูรณ์ ร้อยละโดยมวลของแคลเซียมคาร์บอเนตใน
สารตัวอย่างมีคา่ เท่าใด
สมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าทีเ่ กิดขึน
้ เป็นดังนี้ (สมการเคมียงั ไม่ดล
ุ )
CaCO3(s) CaO(s) + CO2(g)
C3H8(g) + O2(g) CO2(g) + H2O(g)
ขัน
้ ที่ 1 หามวลของ CO2 จากการเผาไหม้ C3H8
ดุลสมการเคมี
C3H8(g) + 5O2(g) 3CO2(g) + 4H2O(g)
มวลของ CO2

1 mol C3H8 1 mol CO2 44.01 g CO2


= 120 g C3H8 × × ×
44.11 g C3H8 1 mol C3H8 1 mol CO2

= 359 g CO2
ดังนัน
้ แก๊สโพรเพน 120 กรัม เผาไหม้อย่างสมบูรณ์ เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 359 กรัม

ขัน
้ ที่ 2 หามวลของหินปูนทีท
่ �ำ ให้เกิด CO2 359 g
ดุลสมการเคมี
CaCO3(s) CaO(s) + CO2(g)
มวลของ CaCO3

1 mol CO2 1 mol CaCO3 100.09 g CaCO3


= 359 g CO2 × × ×
44.01 g CO2 1 mol CO2 1 mol CaCO3

= 816 g CaCO3
ดังนัน
้ แคลเซียมคาร์บอเนตทีส
่ ลายตัวมีมวล 816 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
188

ขัน
้ ที่ 3 หาร้อยละโดยมวลของ CaCO3 ในสารตัวอย่าง 1.00 kg

816 g CaCO3
ร้อยละโดยมวลของ CaCO3 = × 100
1000 g ของตัวอย่าง

= 81.6
ดังนัน
้ ร้อยละโดยมวลของแคลเซียมคาร์บอเนตในสารตัวอย่างเท่ากับ 81.6

4. ในการเผาไหม้น�ำ้ มันเบนซิน (C9H20) ทีผ


่ สมกับเอทานอล (C2H6O) ในอัตราส่วน 91 : 9
โดยปริมาตร จำ�นวน 1.00 ลิตร เมื่อกำ�หนดให้ ความหนาแน่นของน้ำ�มันเบนซินและ
เอทานอลเท่ากับ 0.68 และ 0.79 กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร ตามลำ�ดับ
สมการเคมีของปฏิกริ ย
ิ าการเผาไหม้เป็นดังนี้ (สมการเคมียงั ไม่ดล
ุ )
C9H20(l) + O2(g) CO2(g) + H2O(g)
C2H6O(l) + O2(g) CO2(g) + H2O(g)
การทีจ
่ ะเกิดปฏิกริ ย
ิ าการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้แก๊สออกซิเจนกีล
่ ต
ิ ร ที่ STP
ดุลสมการเคมีได้ดงั นี้
C9H20(l) + 14O2(g) 9CO2(g) + 10H2O(g)
C2H6O(l) + 3O2(g) 2CO2(g) + 3H2O(g)
น้�ำ มันเบนซินผสมกับเอทานอลในอัตราส่วน 91 : 9 โดยปริมาตร นัน
่ คือ น้�ำ มันปริมาตร
1.00 L มี C9H20 910.0 mL และ C2H6O 90.0 mL
ปริมาตรของ O2 ทีใ่ ช้ในการเผาไหม้ C9H20 ที่ STP

0.68 g C9H20 1 mol C9H20 14 mol O2


= 910.0 mL C9H20 × × ×
1 mL C9H20 128.29 g C9H20 1 mol C9H20

22.4 L O2
×
1 mol O2

= 1.51 × 103 L O2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์
189

ปริมาตรของ O2 ทีใ่ ช้ในการเผาไหม้ C2H6O ที่ STP

0.79 g C2H6O 1 mol C2H6O 3 mol O2


= 90.0 mL C2H6O × × ×
1 mL C2H6O 46.08 g C2H6O 1 mol C2H6O
22.4 L O2
×
1 mol O2

= 1.04 × 102 L O2 หรือ 0.104 × 103 L O2


ปริมาตรแก๊สออกซิเจนทีใ่ ช้ท่ี STP = (1.51 + 0.104) × 103 L
= 1.61 × 103 L
ดังนัน ิ าการเผาไหม้ 1.61 × 103 ลิตร ที่ STP
้ ใช้แก๊สออกซิเจนในปฏิกริ ย

5. การถลุงโลหะทองแดงจากแร่คาลไพไรต์ (CuFeS2) ต้องผ่านกระบวนการหลายขัน


้ ตอนดังนี้
2CuFeS2(s) + 4O2(g) Cu2S(s) + 2FeO(s) + 3SO2(g) …..(1)
2Cu2S(s) + 3O2(g) 2Cu2O(s) + 2SO2(g) ..…(2)
2Cu2O(s) + Cu2S(s) 6Cu(s) + SO2(g) …..(3)
3
ถ้าถลุงแร่คาลไพไรต์ 15.0 กิโลกรัม แล้วได้โลหะทองแดง 4.80 × 10 กรัม ปฏิกริ ย
ิ าเคมี
นีม
้ ผ
ี ลได้รอ
้ ยละเป็นเท่าใด
สมการ (2) + (3);
3Cu2S(s) + 3O2(g) 6Cu(s) + 3SO2(g) …..(4)
รวมสมการ (1) และ (4) โดยคูณสมการ (1) ด้วย 3
6CuFeS2(s) + 12O2(g) 3Cu2S(s) + 6FeO(s) + 9SO2(g) .....(5)
สมการ (4) + (5);
6CuFeS2(s) + 15O2(g) 6Cu(s) + 6FeO(s) + 12SO2(g)
หรือ 2CuFeS2(s) + 5O2(g) 2Cu(s) + 2FeO(s) + 4SO2(g)
มวล Cu

1000 g CuFeS2 1 mol CuFeS2 2 mol Cu


= 15.0 kg CuFeS2 × × ×
1 kg CuFeS2 183.52 g CuFeS2 2 mol CuFeS2

63.55 g Cu
×
1 mol Cu

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2
190

= 5.19 × 103 g Cu
นั่ น คื อ ถ้ า ถลุ ง แร่ ค าลไพไรต์ 15.0 กิ โ ลกรั ม ตามทฤษฎี จ ะได้ โ ลหะทองแดง
5.19 × 103 กรัม

4.80 × 103 g
ผลได้รอ
้ ยละ = × 100 = 92.5
5.19 × 103 g

ดังนัน
้ ผลได้รอ
้ ยละของปฏิกริ ย
ิ าเคมีนเ้ี ท่ากับ 92.5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
191

ภาคผนวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
192

ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล

แบบทดสอบ
การประเมินผลด้วยแบบทดสอบเป็นวิธท
ี น
ี่ ย
ิ มใช้กน
ั อย่างแพร่หลายในการวัดผลสัมฤทธิใ์ นการเรียน
โดยเฉพาะด้านความรูแ
้ ละความสามารถทางสติปญ
ั ญา ครูควรมีความเข้าใจในลักษณะของแบบทดสอบ
รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของแบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือเลือกใช้แบบ
ทดสอบให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด โดยลักษณะของแบบทดสอบ รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของ
แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ เป็นดังนี้
1) แบบทดสอบแบบที่มีตัวเลือก
แบบทดสอบแบบทีม
่ ต
ี วั เลือก ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด และ
แบบทดสอบแบบจับคู่ รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละแบบเป็นดังนี้
1.1) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ
เป็นแบบทดสอบทีม
่ ก
ี ารกำ�หนดตัวเลือกให้หลายตัวเลือก โดยมีตวั เลือกทีถ
่ ก
ู เพียงหนึง่ ตัวเลือก
องค์ประกอบหลักของแบบทดสอบแบบเลือกตอบมี 2 ส่วน คือ คำ�ถามและตัวเลือก แต่บางกรณีอาจ
มีส่วนของสถานการณ์เพิ่มขึ้นมาด้วย แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีหลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบ
แบบเลือกตอบคำ�ถามเดีย
่ ว แบบทดสอบแบบเลือกตอบคำ�ถามชุด แบบทดสอบแบบเลือกตอบคำ�ถาม
2 ชั้น โครงสร้างดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถามเดี่ยวที่ไม่มีสถานการณ์

คำ�ถาม…………………………………………………………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
193

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถามเดี่ยวที่มีสถานการณ์

สถานการณ์……………………………………………………………......................

คำ�ถาม…………………………………………………....................………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถามเป็นชุด

สถานการณ์……………………………………………………………......................

คำ�ถาม…………………………………………………....................………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

คำ�ถามที่ 2 ……………………………………………………………..................

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
194

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถาม 2 ชั้น

สถานการณ์……………………………………………………………......................

คำ�ถาม…………………………………………………....................………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

คำ�ถามที่ 2 (ถามเหตุผลของการตอบคำ�ถามที่ 1)
……………………………………………………………........................................
……………………………………………………………........................................

แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีขอ
้ ดีคอ
ื สามารถใช้วด
ั ผลสัมฤทธิข
์ องนักเรียนได้ครอบคลุมเนือ
้ หา
ตามจุดประสงค์ สามารถตรวจให้คะแนนและแปลผลคะแนนได้ตรงกัน แต่มข
ี อ
้ จำ�กัดคือ ไม่เปิดโอกาส
ให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างอิสระจึงไม่สามารถวัดความคิดระดับสูง เช่น ความคิดสร้างสรรค์ได้
นอกจากนี้นักเรียนที่ไม่มีความรู้สามารถเดาคำ�ตอบได้

1.2) แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด
เป็นแบบทดสอบทีม
่ ต
ี วั เลือก ถูกและผิด เท่านัน
้ มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ คำ�สัง่ และข้อความ
ให้นักเรียนพิจารณาว่าถูกหรือผิด ดังตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
195

แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด

คำ�สั่ง ให้พิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด แล้วใส่เครื่องหมาย หรือ หน้า


ข้อความ

………… 1. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 2. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 3. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 4. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 5. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....

แบบทดสอบรูปแบบนี้สามารถสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และครอบคลุมเนื้อหา สามารถตรวจได้


รวดเร็วและให้คะแนนได้ตรงกัน แต่นก
ั เรียนมีโอกาสเดาได้มาก และการสร้างข้อความให้เป็นจริงหรือ
เป็นเท็จโดยสมบูรณ์ในบางเนื้อทำ�ได้ยาก
1.3) แบบทดสอบแบบจับคู่
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำ�สั่ง และข้อความ 2 ชุด ที่ให้จับคู่กัน โดยข้อความชุดที่ 1 อาจเป็น
คำ�ถาม และข้อความชุดที่ 2 อาจเป็นคำ�ตอบหรือตัวเลือก โดยจำ�นวนข้อความในชุดที่ 2 อาจมีมากกว่า
ในชุดที่ 1 ดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบจับคู่

คำ�สั่ง ให้น�ำ ตัวอักษรหน้าข้อความในชุดคำ�ตอบมาเติมในช่องว่างหน้าข้อความในชุด


คำ�ถาม

ชุดคำ�ถาม ชุดคำ�ตอบ

……… 1. ………………………………… ก. …………………………………


……… 2. ………………………………… ข. …………………………………
……… 3. ………………………………… ค. …………………………………
ง. …………………………………

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
196

แบบทดสอบรูปแบบนี้สร้างได้ง่ายตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน และเดาคำ�ตอบได้ยากเหมาะ
สำ�หรับวัดความสามารถในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคำ�หรือข้อความ 2 ชุด แต่ในกรณีที่นักเรียน
จับคู่ผิดไปแล้วจะทำ�ให้มีการจับคู่ผิดในคู่อื่น ๆ ด้วย

2) แบบทดสอบแบบเขียนตอบ
เป็นแบบทดสอบที่ให้นักเรียนคิดคำ�ตอบเอง จึงมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและสะท้อน
ความคิดออกมาโดยการเขียนให้ผอ
ู้ า่ นเข้าใจ โดยทัว่ ไปการเขียนตอบมี 2 แบบ คือ การเขียนตอบแบบ
เติมคำ�หรือการเขียนตอบอย่างสั้น และการเขียนตอบแบบอธิบาย รายละเอียดของแบบทดสอบที่มี
การตอบแต่ละแบบเป็นดังนี้
2.1) แบบทดสอบเขียนตอบแบบเติมคำ�หรือตอบอย่างสั้น
ประกอบด้วยคำ�สั่ง และข้อความที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งจะมีส่วนที่เว้นไว้เพื่อให้เติมคำ�ตอบหรือ
ข้อความสัน
้ ๆ ทีท
่ �ำ ให้ขอ
้ ความข้างต้นถูกต้องหรือสมบูรณ์ นอกจากนีแ
้ บบทดสอบยังอาจประกอบด้วย
สถานการณ์และคำ�ถามที่ให้นักเรียนตอบโดยการเขียนอย่างอิสระ แต่สถานการณ์และคำ�ถามจะเป็น
สิ่งที่กำ�หนดคำ�ตอบให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
แบบทดสอบรูปแบบนี้สร้างได้ง่าย มีโอกาสเดาได้ยาก และสามารถวินิจฉัยคำ�ตอบที่นักเรียน
ตอบผิดเพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องทางการเรียนรู้หรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ แต่การจำ�กัด
คำ�ตอบให้นักเรียนตอบเป็นคำ� วลี หรือประโยคได้ยาก ตรวจให้คะแนนได้ยากเนื่องจากบางครั้งมี
คำ�ตอบถูกต้องหรือยอมรับได้หลายคำ�ตอบ
2.2) แบบทดสอบเขียนตอบแบบอธิบาย
เป็นแบบทดสอบที่ต้องการให้นักเรียนสร้างคำ�ตอบอย่างอิสระ ประกอบด้วยสถานการณ์และ
คำ�ถามที่สอดคล้องกัน โดยคำ�ถามเป็นคำ�ถามแบบปลายเปิด
แบบทดสอบรูปแบบนีใ้ ห้อส
ิ ระแก่นก
ั เรียนในการตอบจึงสามารถใช้วด
ั ความคิดระดับสูงได้ แต่
เนือ
่ งจากนักเรียนต้องใช้เวลาในการคิดและเขียนคำ�ตอบมาก ทำ�ให้ถามได้นอ
้ ยข้อ จึงอาจทำ�ให้วด
ั ได้ไม่
ครอบคลุมเนือ
้ หาทัง้ หมด รวมทัง้ ตรวจให้คะแนนยาก และการตรวจให้คะแนนอาจไม่ตรงกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
197

แบบประเมินทักษะ
เมื่ อ นั ก เรี ย นได้ ล งมื อ ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมจริ ง จะมี ห ลั ก ฐานร่ อ งรอยที่ แ สดงไว้ ทั้ ง วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ แ ละ
ผลการปฏิบต
ั ิ ซึง่ หลักฐานร่องรอยเหล่านัน
้ สามารถใช้ในการประเมินความสามารถ ทักษะการคิด และ
ทักษะปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

การปฏิบต
ั ก
ิ ารทดลองเป็นกิจกรรมที่ส�ำ คัญทีใ่ ช้ในการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยทัว่ ไปจะ
ประเมิ น 2 ส่ ว น คื อ ประเมิ น ทั ก ษะการปฏิ บั ติ ก ารทดลองและการเขี ย นรายงานการทดลอง
โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินดังตัวอย่าง

ตัวอย่างแบบสำ�รวจรายการทักษะปฏิบัติการทดลอง

ผลการสำ�รวจ
รายการที่ต้องสำ�รวจ
มี ไม่มี
(ระบุจำ�นวนครั้ง)
การวางแผนการทดลอง

การทดลองตามขั้นตอน

การสังเกตการทดลอง

การบันทึกผล

การอภิปรายผลการทดลองก่อนลงข้อสรุป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
198

ตัวอย่างแบบประเมินทักษะปฏิบต
ั ก
ิ ารทดลองทีใ่ ช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย

คะแนน
ทักษะปฏิบัติ
3 2 1
การทดลอง

การเลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ / เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ / เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ / เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ /
เครื่องมือในการทดลอง เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร
ทดลองได้ ถู ก ต้ อ ง ทดลองได้ถก
ู ต้องแต่ ทดลองไม่ถก
ู ต้อง
เหมาะสมกับงาน ไม่เหมาะสมกับงาน

การใช้อป
ุ กรณ์/เครือ
่ งมือ ใช้อป
ุ กรณ์/เครือ
่ งมือ ใช้อุปกรณ์/เครื่องมือ ใช้อป
ุ กรณ์/เครือ
่ งมือ
ในการทดลอง ใ น ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ ในการทดลองได้ ถู ก ในการทดลองไม่ถูก
อย่ า งคล่ อ งแคล่ ว ต้องตามหลักการ ต้อง
แ ล ะ ถู ก ต้ อ ง ต า ม ปฏิบัติ แต่ไม่
หลักการปฏิบัติ คล่องแคล่ว

การทดลองตามแผนที่ ทดลองตามวิ ธี ก าร ทดลองตามวิ ธี ก าร ทดลองตามวิ ธี ก าร


กำ�หนด แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่ แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่ แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่
กำ � หนดไว้ อ ย่ า งถู ก กำ � ห น ด ไ ว้ มี ก า ร กำ � ห น ด ไ ว้ ห รื อ
ต้อง มีการปรับปรุง ปรับปรุงแก้ไขบ้าง ดำ � เ นิ น ก า ร ข้ า ม
แก้ไขเป็นระยะ ขั้นตอนที่กำ�หนดไว้
ไม่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง
แก้ไข

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
199

ตัวอย่างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการทดลองที่ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า

ผลการประเมิน
ทักษะที่ประเมิน
ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1

1. วางแผนการทดลองอย่างเป็น ระดับ 3 หมายถึง ระดับ 2 หมายถึง ระดับ 1 หมายถึง


ขั้นตอน ปฏิบต
ั ไิ ด้ทง้ั 3 ข้อ ปฏิบต
ั ไิ ด้ทง้ั 2 ข้อ ปฏิบต
ั ไิ ด้ทง้ั 1 ข้อ
2. ป ฏิ บั ติ ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ อ ย่ า ง
คล่ อ งแคล่ ว สามารถเลื อ กใช้
อุ ป กรณ์ ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง เหมาะสม
และจัดวางอุปกรณ์เป็นระเบียบ
สะดวกต่อการใช้งาน
3. บันทึกผลการทดลองได้ถูกต้อง
และครบถ้วนสมบูรณ์

ตัวอย่างแนวทางการให้คะแนนการเขียนรายงานการทดลอง

คะแนน

3 2 1

เขี ย นรายงานตาม เขี ย นรายงานการ เขี ย นรายงานโดย


ลำ � ดั บ ขั้ น ต อ น ทดลองตามลำ � ดั บ ลำ � ดั บ ขั้ น ตอนไม่
ผลการทดลองตรง แต่ไม่สอ
่ื ความหมาย สอดคล้องกัน และ
ตามสภาพจริงและ ไม่สื่อความหมาย
สื่อความหมาย

แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์
การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำ�ได้โดยตรง โดยทั่วไปทำ�โดยการตรวจสอบพฤติกรรม
ภายนอกที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะของคำ�พูด การแสดงความคิดเห็น การปฏิบัติหรือพฤติกรรมบ่งชี้
ทีส
่ ามารถสังเกตหรือวัดได้ และแปลผลไปถึงจิตวิทยาศาสตร์ซงึ่ เป็นสิง่ ทีส
่ ง่ ผลให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว
เครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ดังตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
200

ตัวอย่างแบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์

คำ�ชี้แจง จงทำ�เครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับคุณลักษณะที่นักเรียนแสดงออก โดยจำ�แนก


ระดับพฤติกรรมการแสดงออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
มาก หมายถึง นักเรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างสม่ำ�เสมอ
ปานกลาง หมายถึง นักเรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นครั้งคราว
น้อย หมายถึง นักเรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นน้อยครั้ง
ไม่มีการแสดงออก หมายถึง นักเรียนไม่แสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นเลย

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
รายการพฤติกรรมการแสดงออก
มาก ปาน น้อย ไม่มีการ
กลาง แสดงออก
ด้านความอยากรู้อยากเห็น
1. นักเรียนสอบถามจากผู้รู้หรือไปศึกษา
ค้นคว้าเพิ่มเติม เมื่อเกิดความสงสัยใน
เรื่องราววิทยาศาสตร์
2. นักเรียนชอบไปงานนิทรรศการ
วิทยาศาสตร์
3. นักเรียนนำ�การทดลองที่สนใจไป
ทดลองต่อที่บ้าน
ด้านความซื่อสัตย์
1. นักเรียนรายงานผลการทดลองตามที่
ทดลองได้จริง
2. เมือ
่ ทำ�การทดลองผิดพลาด นักเรียนจะ
ลอกผลการทดลองของเพื่อส่งครู
3. เมื่อครูมอบหมายให้ทำ�ชิ้นงาน
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ นักเรียนจะ
ประดิษฐ์ตามแบบที่ปรากฏอยู่ใน
หนังสือ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
201

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
รายการพฤติกรรมการแสดงออก
มาก ปาน น้อย ไม่มีการ
กลาง แสดงออก
ด้านความใจกว้าง
1. แม้วา่ นักเรียนจะไม่เห็นด้วยกับการสรุป
ผลการทดลองในกลุ่ม แต่ก็ยอมรับผล
สรุปของสมาชิกส่วนใหญ่
2. ถ้าเพือ
่ นแย้งวิธก
ี ารทดลองของนักเรียน
และมีเหตุผลที่ดีกว่า นักเรียนพร้อมที่
จ ะ นำ � ข้ อ เ ส น อ แ น ะ ข อ ง เ พื่ อ น ไ ป
ปรับปรุงงานของตน
3. เมื่อ งานที่นัก เรี ย นตั้ง ใจและทุ่ม เททำ �
ถูกตำ�หนิหรือโต้แย้ง นักเรียนจะหมด
กำ�ลังใจ
ด้านความรอบคอบ
1. นั ก เรี ย นสรุ ป ผลการทดลองทั น ที เ มื่ อ
เสร็จสิ้นการทดลอง
2. นักเรียนทำ�การทดลองซ้ำ� ๆ ก่อนที่จะ
สรุปผลการทดลอง
3. นั ก เรี ย นตรวจสอบความพร้ อ มของ
อุปกรณ์ก่อนทำ�การทดลอง
ด้านความมุ่งมั่นอดทน
1. ถึ ง แม้ ว่ า งานค้ น คว้ า ที่ ทำ � อยู่ มี โ อกาส
สำ�เร็จได้ยาก นักเรียนจะยังค้นคว้าต่อไป
2. นักเรียนล้มเลิกการทดลองทันที เมือ
่ ผล
การทดลองทีไ่ ด้ขด
ั จากทีเ่ คยได้เรียนมา
3. เมื่อทราบว่าชุดการทดลองที่นักเรียน
สนใจต้องใช้ระยะเวลาในการทดลอง
นาน นักเรียนก็เปลี่ยนไปศึกษาชุดการ
ทดลองที่ใช้เวลาน้อยกว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
202

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
รายการพฤติกรรมการแสดงออก
มาก ปาน น้อย ไม่มีการ
กลาง แสดงออก
เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนนำ�ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มา
ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วันอยู่เสมอ
2. นักเรียนชอบทำ�กิจกรรมทีเ่ กีย
่ วข้องกับ
วิทยาศาสตร์
3. นั ก เ รี ย น ส น ใ จ ติ ด ต า ม ข่ า ว ส า ร ที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

วิธีการตรวจให้คะแนน
ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์โดยกำ�หนดน้ำ�หนักของตัวเลือกในช่องต่าง ๆ เป็น 4 3 2 1 ข้อความที่มี
ความหมายเป็นทางบวก กำ�หนดให้คะแนนแต่ละข้อความดังนี้

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก คะแนน

มาก 4

ปานกลาง 3

น้อย 2

ไม่มีการแสดงออก 1

ส่วนของข้อความที่มีความหมายเป็นทางลบการกำ�หนดให้คะแนนในแต่ละข้อความจะมีลักษณะ
เป็นตรงกันข้าม

การประเมินการนำ�เสนอผลงาน
การประเมินผลและให้คะแนนการนำ�เสนอผลงานใช้แนวทางการประเมินเช่นเดียวกับการประเมิน
ภาระงานอื่น คือ การใช้คะแนนแบบภาพรวม และการให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย ดังราย
ละเอียดต่อไปนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
203

1) การให้คะแนนในภาพรวม เป็นการให้คะแนนทีต ่ อ
้ งการสรุปภาพรวมจึงประเมินเฉพาะประเด็น
หลักทีส
่ �ำ คัญ ๆ เช่น การประเมินความถูกต้องของเนือ
้ หา ความรูแ้ ละการประเมินสมรรถภาพด้านการ
เขียนโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินความถูกต้องของเนื้อหาความรู้ (แบบภาพรวม)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

เนื้อหาไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ต้องปรับปรุง

เนื้อหาถูกต้องแต่ให้สาระสำ�คัญน้อยมาก และไม่ระบุแหล่งที่มาของความรู้ พอใช้

เนือ
้ หาถูกต้อง มีสาระสำ�คัญ แต่ยงั ไม่ครบถ้วน มีการระบุแหล่งทีม
่ าของความรู้ ดี

เนื้อหาถูกต้อง มีสาระสำ�คัญครบถ้วน และระบุแหล่งที่มาของความรู้ชัดเจน ดีมาก

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพด้านการเขียน (แบบภาพรวม)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

เขียนสับสน ไม่เป็นระบบ ไม่บอกปัญหาและจุดประสงค์ ขาดการเชื่อมโยง ต้องปรับปรุง


เนื้อหาบางส่วนไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมและสะกดคำ�
ไม่ถูกต้อง ไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้

ขียนเป็นระบบแต่ไม่ชัดเจน บอกจุดประสงค์ไม่ชัดเจน เนื้อหาถูกต้องแต่มี พอใช้


รายละเอียดไม่เพียงพอ เนื้อหาบางตอนไม่สัมพันธ์กัน การเรียบเรียบเนื้อหา
ไม่ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้

เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเรือ
่ ง บอกความสำ�คัญและทีม
่ าของ ดี
ปัญหา จุดประสงค์ แนวคิดหลักไม่ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญทั้งหมด เนื้อหา
บางตอนเรียบเรียงไม่ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง มีการยกตัวอย่าง รูปภาพ
แผนภาพประกอบ อ้างอิงแหล่งทีม
่ าของความรู้

เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเรื่อง บอกความสำ�คัญและที่มา ดีมาก


ของปัญหา จุดประสงค์ แนวคิดหลักได้ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญทั้งหมด
เรี ย บเรี ย งเนื้ อ หาได้ ต่ อ เนื่ อ ง ใช้ ภ าษาถู ก ต้ อ ง ชั ด เจนเข้ า ใจง่ า ย มี ก าร
ยกตัวอย่าง รูปภาพ แผนภาพประกอบ อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 2
204

2) การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย เป็นการประเมินเพือ ่ ต้องการนำ�ผลการประเมินไปใช้


พัฒนางานให้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ และพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เกณฑ์
ย่อย ๆ ในการประเมินเพื่อทำ�ให้รู้ทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริมและจุดด้อยที่ควรแก้ไขปรับปรุงการทำ�งาน
ในส่วนนั้น ๆ เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย มีตัวอย่างดังนี้ตัวอย่างเกณฑ์การประ
เมนสมรรถภาพ (แบบแยกองค์ประกอบย่อย)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

ด้านการวางแผน

ไม่สามารถออกแบบได้ หรือออกแบบได้แต่ไม่ตรงกับประเด็นปัญหาทีต
่ อ
้ งการ ต้องปรับปรุง
เรียนรู้

ออกแบบการได้ตามประเด็นสำ�คัญของปัญหาเป็นบางส่วน พอใช้

ออกแบบครอบคลุมประเด็นสำ�คัญของปัญหาเป็นส่วนใหญ่ แต่ยงั ไม่ชด


ั เจน ดี

ออกแบบได้ครอบคลุมทุกประเด็นสำ�คัญของปัญหาอย่างเป็นขัน
้ ตอนทีช
่ ด
ั เจน ดีมาก
และตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ

ด้านการดำ�เนินการ

ดำ � เนิ น การไม่ เ ป็ น ไปตามแผน ใช้ อุ ป กรณ์ แ ละสื่ อ ประกอบถู ก ต้ อ งแต่ ไ ม่ ต้องปรับปรุง


คล่องแคล่ว

ดำ � เนิ น การตามแผนที่ ว างไว้ ใช้ อุ ป กรณ์ แ ละสื่ อ ประกอบถู ก ต้ อ งแต่ ไ ม่ พอใช้


คล่องแคล่ว

ดำ�เนินการตามแผนที่วางไว้ ใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบการสาธิตได้อย่าง ดี
คล่องแคล่วและเสร็จทันเวลา ผลงานในบางขัน
้ ตอนไม่เป็นไปตามจุดประสงค์

ดำ�เนินการตามแผนทีว่ างไว้ ใช้อป


ุ กรณ์และสือ
่ ประกอบได้ถก
ู ต้อง คล่องแคล่ว ดีมาก
และเสร็จทันเวลา ผลงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามจุดประสงค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 ภาคผนวก
205

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

ด้านการอธิบาย

อธิบายไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกับแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ต้องปรับปรุง

อธิ บ ายโดยอาศั ย แนวคิ ด หลั ก ทางวิ ท ยาศาสตร์ แต่ ก ารอธิ บ ายเป็ น แบบ พอใช้
พรรณนาทั่วไปซึ่งไม่คำ�นึงถึงการเชื่อมโยงกับปัญหาทำ�ให้เข้าใจยาก

อธิบายโดยอาศัยแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหาแต่ ดี
ข้ามไปในบางขัน
้ ตอน ใช้ภาษาได้ถก
ู ต้อง

อธิบายตามแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหาและ ดีมาก


จุดประสงค์ ใช้ภาษาได้ถูกต้องเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บรรณานุกรม เคมี เล่ม 2
206

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559).


คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม เคมี เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559).
หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม เคมี เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
Averill, B., & Eldredge, P. (2007). Chemistry: Principles, Patterns, and A
pplications.
San Francisco : Benjamin Cummings.
Brown, L.S., & Holme, T. A. (2006). Chemistry for Engineering Students. California:
Thomas-Brooks/Cole.
Chang, R. (2010). Chemistry (10th ed). New York: The McGraw-Hill.
Davis, R.E., & et al. (2009). Modern Chemistry Teacher’s Edition. Texas: Holt,
Rinehart and Winston.
International Union of Pure and Applied Chemistry (2016). Periodic Table of Elements.
Retrieved June 15, 2016, from https://iupac.org/what-we- do/periodic-table-of-elements/
Wieser, M. E., & Berglund, M. (2009, September). Atomic weights of the elements
2007 (IUPAC technical report). Pure Appl. Chem, 81 (11), 2131-2156
Jenkins, F., et al. (2002). Chemistry 11. Ontario: Nelson Thomson Learning.
Kessel, H. V., et al. (2003). Chemistry 12. Ontario: Nelson Thomson Learning.
Laurel, D., et al. (2005). Glencoe Science Chemistry : Matter and Change (Teacher
Wraparound Edition). Ohio: McGraw-Hill.
Myers, R. T., Oldham, K. B., & Tocci, S. (2000). Chemistry: Visualizing Matter,
Technology Edition. Texas: Holt, Rinehart and Winston.
Ryan, L., & Norris, R. (2014). Cambridge International AS and A Level Chemistry Coursebook
(2nd ed). Cambridge: Cambridge University Press.
Silberberg, M.S. (2009). Chemistry: The Molecular Nature of Matter and Change. (5th ed).
New York: McGraw-Hill.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 2 คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู
207

คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี เล่ม 2


ตามผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

คณะที่ปรึกษา
1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. รศ.ดร.สัญญา มิตรเอม รองผู้อำ�นวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้จัดทำ�คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
1. ศ.ดร.มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ.ดร.จินดา แต้มบรรจง ผู้ชำ�นาญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นายณรงค์ศิลป์ ธูปพนม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษอาวุโส
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. นางสาวศศินี อังกานนท์ ผู้ชำ�นาญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. นางสุทธาทิพย์ หวังอำ�นวยพร ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. นางสาวศิริรัตน์ พริกสี ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. ดร.สนธิ พลชัยยา ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. นายชาญณรงค์ พูลเพิ่ม นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9. นางสาวณัฏฐิกา งามกิจภิญโญ นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู เคมี เล่ม 2
208

คณะผู้ร่วมพิจารณาคู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2 (ฉบับร่าง)
1. นางสมศรี เซี๊ยกสาด นักวิชาการอิสระ
2. นายโสภณ พวงพันธ์บต
ุ ร โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพมหานคร

3. นางสาวมาลี จิรธนวิทย์ โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ กรุงเทพมหานคร

4. นายจิรพงษ์ สร้อยน้อย โรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร

5. นางสาวเมธ์วดี กาญจนสรวง โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพมหานคร

6. นายสุชากรณ์ พวงทอง โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี

7. นางลัดดาวรรณ เหล่าเกียรติกุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี จ.นนทบุรี

8. นางศุภลักษณ์ ขุนสังวาลย์ โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

คณะบรรณาธิการ
1. ศ.ดร.มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. รศ.ดร.วัลภา เอื้องไมตรีภิรมย์ิ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. รศ.ดร.อภิชาติ อิ่มยิ้ม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. นายณรงค์ศิลป์ ธูปพนม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษอาวุโส


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. ผศ.ดร.จินดา แต้มบรรจง ผู้ชำ�นาญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
6. นางสาวศศินี อังกานนท์ิ์ ผู้ชำ�นาญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
7. นางสุทธาทิพย์ หวังอำ�นวยพร ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส�งเสริมการสอนวิทยาศาสตร�และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ

You might also like