You are on page 1of 268

คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เคมี
ตามผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ตารางธาตุ

1 18
IA VIIIA
1 โลหะ 2
H
hydrogen
2 อโลหะ 13 14 15 16 17 He
helium
1.01 IIA IIIA IVA VA VIA VIIA 4.00
กึง่ โลหะ
3 4 5 6 7 8 9 10
Li Be B C N O F Ne
lithium beryllium boron carbon nitrogen oxygen fluorine neon
6.94 9.01 10.81 12.01 14.01 16.00 19.00 20.18
11 12 13 14 15 16 17 18
Na
sodium
Mg
magnesium
3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 Al
aluminium
Si
silicon
P
phosphorus
S
sulfur
Cl
chlorine
Ar
argon
22.99 24.30 IIIB IVB VB VIB VIIB VIIIB IB IIB 26.98 28.08 30.97 32.06 35.45 39.95
19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
potassium calcium scandium titanium vanadium chromium manganese iron cobalt nickel copper zinc gallium germanium arsenic selenium bromine krypton
39.10 40.08 44.96 47.87 50.94 52.00 54.94 55.85 58.93 58.69 63.55 65.38 69.72 72.63 74.92 78.97 79.90 83.80
37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe
rubidium strontium yttrium zirconium niobium molybdenum technetium ruthenium rhodium palladium silver cadmium indium tin antimony tellurium iodine xenon
85.47 87.62 88.91 91.22 92.91 95.95 101.07 102.91 106.42 107.87 112.41 114.82 118.71 121.76 127.60 126.90 131.29
55 56 57-71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86
Cs Ba lanthanoids
Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn
caesium barium hafnium tantalum tungsten rhenium osmium iridium platinum gold mercury thallium lead bismuth polonium astatine radon
132.91 137.33 178.49 180.95 183.84 186.21 190.23 192.22 195.08 196.97 200.59 204.38 207.20 208.98
87 88
*
89-103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118
Fr Ra actinoids
Rf Db Sg Bh Hs Mt Ds Rg Cn Nh Fl Mc Lv Ts Og
francium radium rutherfordium dubnium seaborgium bohrium hassium meitnerium darmstadtium roentgenium copernicium nihonium flerovium moscovium livermorium tennessine oganesson
**
57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
กลุม ธาตุ La Ce Pr Nd Pm Sm Eu Gd Tb Dy Ho Er Tm Yb Lu
lanthanum cerium praseodymium neodymium promethium samarium europium gadolinium terbium dysprosium holmium erbium thulium ytterbium lutetium
*แลนทานอยด 138.91 140.12 140.91 144.24 150.36 151.96 157.25 158.93 162.50 164.93 167.26 168.93 173.05 174.97
89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103
กลุม ธาตุ Ac Th Pa U Np Pu Am Cm Bk Cf Es Fm Md No Lr
actinium thorium protactinium uranium neptunium plutonium americium curium berkelium californium einsteinium fermium mendelevium nobelium lawrencium
**แอกทินอยด 232.04 231.04 238.03
คู่มือครู

รายวิชาเพิม
่ เติมวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี

เคมี
ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๑
ตามผลการเรียนรู้
กลุม
่ สาระการเรียนรูว้ ท
ิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๖๑

ฉบับเผยแพร่ เมษายน ๒๕๖๓


คำ�านำ�า

สถาบัน
สถาบั นส่ส่งงเสริ
เสริมมการสอนวิ
การสอนวิททยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี (สสวท.)
(สสวท.) ได้
ได้รรับ
ับมอบหมายจากกระทรวง
มอบหมายจากกระทรวง

ศึศึกกษาธิ
ษาธิกการ
าร ในการพั
ในการพัฒฒนามาตรฐานและตั
นามาตรฐานและตัววชีชี้ ว้ วั ดั ดของหลั
ของหลักกสูสูตตรกลุ
รกลุ่ ม
่ มสาระการเรี
สาระการเรียยนรู
นรู้ ค้ คณิ
ณิตตศาสตร์
ศาสตร์

วิวิท
ทยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี และยั
และยังงมีมีบ
บทบาทหน้
ทบาทหน้าาทีที่ใ่ในการรั
นการรับบผิผิดดชอบเกี
ชอบเกี่ย่ยวกั
วกับบการจั
การจัดดทำทำ�าหนั
หนังงสืสืออเรี
เรียยน

คูคู่ม่มือือครู
ครู แบบฝึ
แบบฝึกกทั
ทักกษะ
ษะ กิกิจจกรรม
กรรม และสื
และสื่อ่อการเรี
การเรียยนรู
นรู้ ้ ตลอดจนวิ
ตลอดจนวิธธีกีการจั
ารจัดดการเรี
การเรียยนรู
นรู้แ้และการวั
ละการวัดดและ
และ
ประเมินนผล
ประเมิ ผล เพื
เพือ
่อ่ ให้
ให้กการจั
ารจัดดการเรี
การเรียยนรู
นรูค
้ค้ ณิ
ณิตตศาสตร์
ศาสตร์ วิวิททยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยีเเป็ป็นนไปอย่
ไปอย่าางมี
งมีปประสิ
ระสิททธิธิภภาพ
าพ

คูคูม
่ม
่ อ
ือ
ื ครู
ครูรรายวิ
ายวิชชาเพิ
าเพิม
่ม่ เติ
เติมมวิวิท
ทยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี เคมี
เคมี ชัชัน
้น
้ มัมัธธยมศึ
ยมศึกกษาปี
ษาปีทท่ี ่ี ๔
๔ เล่
เล่มม ๑
๑ นีนี้ ้ จัจัดดทำทำ�า

ขึขึ้น
้นเพื
เพื่อ่อประกอบการใช้
ประกอบการใช้หหนั
นังงสืสืออเรี
เรียยนรายวิ
นรายวิชชาเพิ
าเพิ่ม่มเติ
เติมมวิวิท
ทยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี เคมี
เคมี ชัชั้น
้นมัมัธธยมศึ
ยมศึกกษา
ษา
ปีท
ปี ท่ี ่ี ๔
๔ เล่
เล่มม ๑
๑ โดยครอบคลุ
โดยครอบคลุมมเนื
เนือ
้อ้ หาตามผลการเรี
หาตามผลการเรียยนรู
นรูแ
้แ้ ละสาระการเรี
ละสาระการเรียยนรู
นรูเ้ เ้ พิ
พิม
่ม่ เติ
เติมม กลุ
กลุม
่ม่ สาระการเรี
สาระการเรียยนรู
นรู้ ้

วิวิท
ทยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี (ฉบั
(ฉบับบปรั
ปรับบปรุ
ปรุงง พ.ศ.
พ.ศ. ๒๕๖๐)
๒๕๖๐) ตามหลั
ตามหลักกสูสูตตรแกนกลางการศึ
รแกนกลางการศึกกษาขั
ษาขัน
้น้ พื
พืน
้น้ ฐาน
ฐาน
พุท
พุ ทธศั
ธศักกราช
ราช ๒๕๕๑
๒๕๕๑ ในสาระเคมี
ในสาระเคมี โดยมี
โดยมีตตารางวิ
ารางวิเเคราะห์
คราะห์ผผลการเรี
ลการเรียยนรู
นรูแ
้แ้ ละสาระการเรี
ละสาระการเรียยนรู
นรูเ้ เ้ พิ
พิม
่ม่ เติ
เติมม เพื
เพือ
่อ่
การจัดดทำ
การจั ทำ�าหน่
หน่ววยการเรี
ยการเรียยนรู
นรู้ใ้ในรายวิ
นรายวิชชาเพิ
าเพิ่ม่มเติ
เติมมวิวิท
ทยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี มีมีแแนวการจั
นวการจัดดการเรี
การเรียยนรู
นรู้ ้
การให้คความรู
การให้ วามรูเ้ เ้ พิ
พิม
่ม่ เติ
เติมมทีทีจ
่จ
่ �ำ าำ เป็
เป็นนสำสำ�าหรั
หรับบครู
ครูผผส
ู้ ส
ู้ อน
อน รวมทั
รวมทัง้ ง้ การเฉลยคำ
การเฉลยคำ�าถามและแบบฝึ
ถามและแบบฝึกกหัหัดดในหนั
ในหนังงสืสืออเรี
เรียยน

สสวท. หวั
สสวท. หวังงเป็
เป็นนอย่
อย่าางยิ
งยิ่ง่งว่ว่าา คูคู่ม่มือือครู
ครูเเล่ล่มมนีนี้จ้จะเป็
ะเป็นนประโยชน์
ประโยชน์ตต่อ่อการเรี
การเรียยนรู
นรู้ ้ และเป็
และเป็นนส่ส่ววนสำ
นสำ�าคัคัญ

ในการพัฒ
ในการพั ฒนาคุ
นาคุณณภาพและมาตรฐานการศึ
ภาพและมาตรฐานการศึกกษา
ษา กล่
กลุ่มุมสาระการเรี
สาระการเรียยนร้
นรู้วูวิท
ิทยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี
ขอขอบคุณ
ขอขอบคุ ณผูผู้ท้ทรงคุ
รงคุณณวุวุฒ
ฒิ ิ บุ
บุคคลากรทางการศึ
ลากรทางการศึกกษาและหน่
ษาและหน่ววยงานต่
ยงานต่าางง ๆๆ ทีที่ม่มี่สี่ส่ว่วนเกี
นเกี่ย่ยวข้
วข้อองในการจั
งในการจัดดทำทำ�าไว้
ไว้
ณ โอกาสนี
ณ โอกาสนี้ ้


(ศาสตราจารย์ชชูกูกิจิจ ลิลิมมปิ
(ศาสตราจารย์ ปิจจำ�ำานงค์
นงค์))

ผูผู้อ้อำ�ำานวยการสถาบั
นวยการสถาบันนส่ส่งงเสริ
เสริมมการสอนวิ
การสอนวิททยาศาสตร์
ยาศาสตร์แและเทคโนโลยี
ละเทคโนโลยี

กระทรวงศึกกษาธิ
กระทรวงศึ ษาธิกการ
าร
คำ�ชี้แจง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จด


ั ทำ�ตัวชีว้ ด
ั และสาระการเรียนรู้
แกนกลาง กลุม
่ สาระการเรียนรูว้ ท
ิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขัน
้ พืน
้ ฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจด
ุ เน้นเพือ
่ ต้องการพัฒนาผูเ้ รียนให้มค
ี วามรู้
ความสามารถที่ทัดเทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ
ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ
เพือ
่ ให้ผเู้ รียนได้ใช้ทก
ั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึง่ ในปีการศึกษา
๒๕๖๑ เป็นต้นไป โรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. ได้มก
ี ารจัดทำ�หนังสือเรียนทีเ่ ป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพือ
่ ให้
โรงเรียนได้ใช้ส�ำ หรับจัดการเรียนการสอนในชัน
้ เรียน และเพือ
่ ให้ครูผส
ู้ อนสามารถสอนและจัดกิจกรรม
ต่าง ๆ ตามหนังสือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ�คู่มือครูสำ�หรับใช้ประกอบหนังสือเรียน
ดังกล่าว
คูม
่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี ๔ เล่ม ๑ นี้ ได้บอก
แนวการจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือเรียนประกอบด้วยเรื่อง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี หน่วยวัดและการเปลีย
่ นหน่วย โครงสร้างอะตอมและการจัดเรียง
อิเล็กตรอนในอะตอม สมบัตบ
ิ างประการของธาตุและการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ พันธะเคมี สมบัตข
ิ อง
สารทีม
่ ค
ี วามสัมพันธ์กบ
ั พันธะเคมี ซึง่ ครูผส
ู้ อนสามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้
ให้บรรลุจด
ุ ประสงค์ทต
่ี ง้ั ไว้ โดยสามารถนำ�ไปจัดกิจกรรมการเรียนรูไ้ ด้ตามความเหมาะสมและความพร้อม
ของโรงเรียน ในการจัดทำ�ค่ม
ู อ
ื ครูเล่มนีไ้ ด้รบ
ั ความร่วมมือเป็นอย่างดียงิ่ จากผ้ท
ู รงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ
คณาจารย์ รวมทัง้ ครูผส
ู้ อน นักวิชาการ จากทัง้ ภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ทีน
่ ้ี
สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้น
มัธยมศึกษาปีท่ี ๔ เล่ม ๑ นี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผส
ู้ อน และผูท
้ เ่ี กีย
่ วข้องทุกฝ่าย ทีจ
่ ะช่วยให้การจัดการ
ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้คู่มือครูเล่มนี้
มีความสมบูรณ์ยง่ิ ขึน
้ โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วยจะขอบคุณยิง่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการใช้คู่มือครู

วิทยาศาสตร์มค
ี วามเกีย
่ วข้องกับทุกคนทัง้ ในชีวต
ิ ประจำ�วันและการงานอาชีพต่าง ๆ
รวมทัง้ มีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในการอำ�นวยความสะดวกทัง้ ในชีวต

และการทำ�งาน นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยพัฒนาวิธีคิดและทำ�ให้มีทักษะที่จำ�เป็นใน
การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และ
ทักษะที่สำ�คัญตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำ�คัญยิ่ง ซึ่ง
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขต และข้อจำ�กัดของวิทยาศาสตร์
3. เพือ
่ ให้เกิดทักษะทีส
่ �ำ คัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพือ
่ พัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปญ
ั หาและการจัดการ
ทักษะในการสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ
5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และ
สภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
6. เพือ
่ นำ�ความรูค
้ วามเข้าใจเรือ
่ งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ

สังคมและการดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณค่า
7. เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

คู่มือครูเป็นเอกสารที่จัดทำ�ขึ้นควบคู่กับหนังสือเรียน สำ�หรับให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางใน
การจัดการเรียนรูเ้ พือ
่ ให้นก
ั เรียนได้รบ
ั ความรูแ
้ ละมีทก
ั ษะทีส
่ �ำ คัญตามจุดประสงค์การเรียน
รูใ้ นหนังสือเรียน ซึง่ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ รวมทัง้ มีสอ
ื่ การเรียนรูใ้ นเว็บไซต์ทส
ี่ ามารถ
เชื่ อ มโยงได้ จ าก QR code หรื อ URL ท่ี อ ยู่ ป ระจำ � แต่ ล ะบท ซึ่ ง ครู ส ามารถใช้
ส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ อย่างไรก็ตามครู
อาจพิ จ ารณาดั ด แปลงหรื อ เพิ่ ม เติ ม การจั ด การเรี ย นรู้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ บริ บ ทของแต่ ล ะ
ห้องเรียนได้ โดยคู่มือครูมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

ผลการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้เป็นผลลัพธ์ที่ควรเกิดกับนักเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะ ซึ่งช่วยให้ครูได้
ทราบเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้
สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ได้ ทั้งนี้ครูอาจเพิ่มเติมเนื้อหาหรือทักษะตามศักยภาพของ
นักเรียน รวมทั้งอาจสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความ
เข้าใจมากขึ้นได้

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ
จิตวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละผลการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้

ผังมโนทัศน์
แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อ
ช่วยให้ครูเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในบทเรียน

สาระสำ�คัญ
การสรุปเนือ
้ หาสำ�คัญของบทเรียน เพือ
่ ช่วยให้ครูเห็นกรอบเนือ
้ หาทัง้ หมด รวมทัง้ ลำ�ดับของ
เนื้อหาในบทเรียนนั้น

เวลาที่ใช้
เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูอาจดำ�เนินการตามข้อเสนอแนะที่กำ�หนดไว้ หรืออาจ
ปรับเวลาได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

ความรู้ก่อนเรียน
คำ�สำ�คัญหรือข้อความที่เป็นความรู้พื้นฐาน ซึ่งนักเรียนควรมีก่อนที่จะเรียนรู้เนื้อหาใน
บทเรียนนั้น
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน
ชุดคำ�ถามและเฉลยทีใ่ ช้ในการตรวจสอบความรูก
้ อ
่ นเรียนตามทีร่ ะบุไว้ในหนังสือเรียน เพือ

ให้ครูได้ตรวจสอบและทบทวนความรูใ้ ห้นก
ั เรียนก่อนเริม
่ กิจกรรมการจัดการเรียนรูใ้ นแต่ละ
บทเรียน

การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้ออาจมีองค์ประกอบแตกต่างกัน​​​​​​​​​​​​​​​​​โดยรายละเอียดแต่ละ
องค์ประกอบ เป็นดังนี้

• จเปุ้ดาประสงค์ การเรียนรู้
หมายของการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้หรือทักษะหลังจาก
ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรูใ้ นแต่ละหัวข้อ ซึง่ สามารถวัดและประเมินผลได้ ทัง้ นีค
้ รูอาจ
ตั้งจุดประสงค์เพิ่มเติมจากที่ให้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

• คเนืวามเข้ าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
้อหาที่นักเรียนอาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบบ่อย ซึ่งเป็นข้อมูลให้ครูได้
พึงระวังหรืออาจเน้นย้�ำ ในประเด็นดังกล่าวเพือ
่ ป้องกันการเกิดความเข้าใจทีค
่ ลาดเคลือ
่ นได้

• สสือ่ื่อการเรี
การเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
ยนรูแ
้ ละแหล่งการเรียนรูท
้ ใ่ี ช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น บัตรคำ� วีดท
ิ ศ
ั น์
เว็บไซต์ ซึ่งครูควรเตรียมล่วงหน้าก่อนเริ่มการจัดการเรียนรู้

• แแนวทางการจั
นวการจัดการเรียนรู้
ดการเรียนรูท
้ ส
่ี อดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีการนำ�เสนอทัง้
ในส่วนของเนื้อหาและกิจกรรมเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด ทั้งนี้ครูอาจปรับหรือเพิ่มเติม
กิจกรรมจากทีใ่ ห้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

กิจกรรม
การปฏิบต
ั ท
ิ ช
ี่ ว่ ยในการเรียนรูเ้ นือ
้ หาหรือฝึกฝนให้เกิดทักษะตามจุดประสงค์การเรียนรู้
ของบทเรียน โดยอาจเป็นการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่ง
ควรให้ นั ก เรี ย นลงมื อ ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมด้ ว ยตนเอง โดยองค์ ป ระกอบของกิ จ กรรมมี
รายละเอียดดังนี้
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู

- จุดประสงค์
เป้าหมายทีต
่ อ
้ งการให้นก
ั เรียนเกิดความรูห
้ รือทักษะหลังจากผ่านกิจกรรมนัน

- วัสดุ และอุปกรณ์
รายการวัสดุ อุปกรณ์ หรือสารเคมี ที่ต้องใช้ในการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูควรเตรียมให้
เพียงพอสำ�หรับการจัดกิจกรรม

- การเตรียมล่วงหน้า
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้าสำ�หรับการจัดกิจกรรม เช่น การเตรียม
สารละลายทีม
่ ค
ี วามเข้มข้นต่าง ๆ การเตรียมตัวอย่างสิง่ มีชวี ต

- ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ข้อมูลที่ให้ครูแจ้งต่อนักเรียนให้ทราบถึ งข้ อควรระวั ง ข้ อควรปฏิ บัติ หรื อข้ อมู ล
เพิ่มเติมในการทำ�กิจกรรมนั้น ๆ

- ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตัวอย่างผลการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรมอืน
่ ๆ เพือ
่ ให้ครูใช้
เป็นข้อมูลสำ�หรับตรวจสอบผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียน

- อภิปรายและสรุปผล
ตัวอย่างข้อมูลที่ควรได้จากการอภิปรายและสรุปผลการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูอาจใช้
คำ�ถามท้ายกิจกรรมหรือคำ�ถามเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นักเรียนอภิปรายในประเด็น
ที่ต้องการ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดและอภิปรายถึงปัจจัยต่าง ๆ
ทีท
่ �ำ ให้ผลของกิจกรรมเป็นไปตามทีค
่ าดหวัง หรืออาจไม่เป็นไปตามทีค
่ าดหวัง

นอกจากนี้อาจมีความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ
เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ควรนำ�ไปเพิ่มเติมให้นักเรียน เพราะเป็นส่วนที่เสริมจากเนื้อหาที่มีในหนังสือ
เรียน
ข้อแนะนำ�ทัว่ ไปในการใช้คม
ู่ อ
ื ครู


• แนวทางการวัดและประเมินผล
แนวทางการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งประเมิน
ทั้ ง ด้ า นความรู้ ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21 และ
จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ควรเกิดขึ้นหลังจากได้เรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ ผลที่ได้จากการ
ประเมินจะช่วยให้ครูทราบถึงความสำ�เร็จของการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งใช้เป็นแนวทาง
ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียน

เครื่องมือวัดและประเมินผลมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ
แบบประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ซึง่ ครูอาจเลือกใช้เครือ
่ งมือ
สำ�หรับการวัดและประเมินผลจากเครื่องมือมาตรฐานที่มีผู้พัฒนาไว้แล้ว ดัดแปลงจาก
เครื่องมือที่ผู้อ่ืนทำ�ไว้แล้ว หรือสร้างเครื่องมือใหม่ข้ึนเอง ตัวอย่างของเครื่องมือวัดและ
ประเมินผล ดังภาคผนวก


• เฉลยคำ�ถาม
แนวคำ�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียนและคำ�ถามท้ายบทเรียนในหนังสือเรียน เพือ
่ ให้
ครูใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบการตอบคำ�ถามของนักเรียน
- เฉลยคำ�ถามระหว่างเรียน
แนวคำ�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียนซึง่ มีทง้ั คำ�ถามชวนคิด ตรวจสอบความเข้าใจ
และแบบฝึกหัด ทั้งนี้ครูควรใช้คำ�ถามระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความ
เข้าใจของนักเรียนก่อนเริ่มเนื้อหาใหม่ เพื่อให้สามารถปรับการจัดการเรียนรู้ให้
เหมาะสมต่อไป

- เฉลยคำ�ถามท้ายบทเรียน
แนวคำ�ตอบของแบบฝึกหัดท้ายบท ซึง่ ครูควรใช้ค�ำ ถามท้ายบทเรียนเพือ
่ ตรวจสอบ
ว่า หลังจากเรียนจบบทเรียนแล้ว นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด
เพื่อให้สามารถวางแผนการทบทวนหรือเน้นย้ำ�เนื้อหาให้กับนักเรียนก่อนการ
ทดสอบได้
สารบัญ

1
บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี 1
ผลการเรียนรู้ 1
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 1
ผังมโนทัศน์ 4
สาระสำ�คัญ 5
เวลาที่ใช้ 5
ความรู้ก่อนเรียน 5
1.1 ความปลอดภัยในการทำ�งานกับสารเคมี และ1.2 อุบัติเหตุ 9
ความปลอดภัย จากสารเคมี
และทักษะ เฉลยแบบฝึกหัด 1.1 15
ในปฏิบัติการเคมี
เฉลยแบบฝึกหัด 1.2 18
1.3 การวัดปริมาณสาร 22
เฉลยแบบฝึกหัด 1.3 31
1.4 หน่วยวัด 33
เฉลยแบบฝึกหัด 1.4 35
1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 37
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 47
สารบัญ

บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ 53

2
ผลการเรียนรู้ 53
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 54
ผังมโนทัศน์ 59
สาระสำ�คัญ 60
เวลาที่ใช้ 60
ความรู้ก่อนเรียน 61
2.1 แบบจำ�ลองอะตอม 63
เฉลยแบบฝึกหัด 2.1 82

อะตอม 2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป 84


และสมบัติของธาตุ เฉลยแบบฝึกหัด 2.2 87
2.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 89
เฉลยแบบฝึกหัด 2.3 93
2.4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก 95
เฉลยแบบฝึกหัด 2.4 102
2.5 ธาตุแทรนซิชัน 104
เฉลยแบบฝึกหัด 2.5 114
2.6 ธาตุกัมมันตรังสี 115
เฉลยแบบฝึกหัด 2.6 120
2.7 การนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต 122
เฉลยแบบฝึกหัด 2.7 127
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 129
สารบัญ

3
บทที่ 3 พันธะเคมี 140
ผลการเรียนรู้ 140
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 141
ผังมโนทัศน์ 147
สาระสำ�คัญ 148
เวลาที่ใช้ 148
ความรู้ก่อนเรียน 148
3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต 151
3.2 พันธะไอออนิก 153
พันธะเคมี เฉลยแบบฝึกหัด 3.1 163
เฉลยแบบฝึกหัด 3.2 165
เฉลยแบบฝึกหัด 3.3 172
เฉลยแบบฝึกหัด 3.4 181
เฉลยแบบฝึกหัด 3.5 184
3.3 พันธะโคเวเลนต์ 187
เฉลยแบบฝึกหัด 3.6 194
เฉลยแบบฝึกหัด 3.7 197
เฉลยแบบฝึกหัด 3.8 201
เฉลยแบบฝึกหัด 3.9 210
เฉลยแบบฝึกหัด 3.10 211
เฉลยแบบฝึกหัด 3.11 215
3.4 พันธะโลหะ 218
3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก 219
สารโคเวเลนต์ และโลหะ
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 223
สารบัญ

ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล 234
ภาคผนวก

บรรณานุกรม 248
คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู 251
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
1

บทที่ 1

ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
ipst.me/7702

ผลการเรียนรู้

1. บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำ�ปฏิบัติ
การเคมีเพื่อให้มีความปลอดภัย ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิด
อุบัติเหตุ
2. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย
การใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
4. นำ�เสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง
การวิิเคราะห์ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้
1. บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำ�
ปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมีเพือ
่ ให้มค
ี วามปลอดภัย ทัง้ ต่อตนเอง ผูอ
้ น
่ื และสิง่ แวดล้อม และเสนอแนวทาง
แก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุความเป็นอันตรายของสารเคมีจากสัญลักษณ์และข้อมูลบนฉลากสารเคมี
2. อธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้นและการปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำ�ปฏิบัติการ
เคมีเพือ
่ ให้มค
ี วามปลอดภัย ทัง้ ต่อตนเอง ผูอ
้ น
่ื และสิง่ แวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไข
เมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต 1. การคิดอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ 1. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
และการแก้ปัญหา 2. ความใจกว้าง
2. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 3. ความรอบคอบ
การรู้เท่าทันสื่อ 4. การเห็นคุณค่าทาง
3. ความร่วมมือ การทำ�งาน วิทยาศาสตร์
เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
2

ผลการเรียนรู้
2. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
2. อ่านค่าปริมาณจากการวัดโดยแสดงเลขนัยสำ�คัญที่ถูกต้อง

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต 1. ความร่วมมือ การทำ�งาน 1. ความรอบคอบ
2. การวัด เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ

ผลการเรียนรู้
3. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลีย
่ นหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย
การใช้แฟกเตอร์เปลีย
่ นหน่วย
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร
2. เปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จ�ำ นวน - 1. ความรอบคอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
3

ผลการเรียนรู้
4. นำ�เสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นำ�เสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต 1. การคิดอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ 1. ความอยากรูอ
้ ยากเห็น
2. การวัด และการแก้ปญ
ั หา 2. ความซือ
่ สัตย์
3. การตัง้ สมมติฐาน 2. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 3. ความรอบคอบ
4. การกำ�หนดและควบคุม การรูเ้ ท่าทันสือ

ตัวแปร 3. ความร่วมมือ การทำ�งาน
5. การทดลอง เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ
6. การจัดกระทำ�และสือ

ความหมายข้อมูล
7. การตีความหมายข้อมูล
และลงข้อสรุป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
4

ผังมโนทัศน์
บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ข้อควรปฏิบต
ั ิ การ การกำ�จัด
GHS NFPA
เบือ
้ งต้น ปฐมพยาบาล สารเคมี

ข้อมูลสารเคมี ข้อควรปฏิบต
ั ิ

ความปลอดภัยในปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี

ความปลอดภัยและ
วิธก
ี ารทางวิทยาศาสตร์ ทักษะในปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี

ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์
ทักษะในปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี

จิตวิทยาศาสตร์
ทักษะการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ าร ทักษะการคำ�นวน

จริยธรรมทาง
อุปกรณ์วด
ั หน่วยวัด
วิทยาศาสตร์ การเปลีย
่ นหน่วย
ปริมาตรและมวล

วิธก
ี ารเทียบหน่วย
หน่วย
ในระบบ
ความเทีย
่ งและ เลขนัยสำ�คัญ เอสไอ
แฟกเตอร์
ความแม่น
เปลีย
่ นหน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
5

สาระสำ�คัญ

การทดลองถื อ เป็ น หั ว ใจของการศึ ก ษาค้ น คว้ า ทางเคมี ที่ ส ามารถนำ � ไปสู่ ก ารค้ น พบและ
ความรูใ้ หม่ทางเคมี นอกจากนีย
้ งั สามารถช่วยถ่ายทอดความรูแ
้ ก่นก
ั เรียนให้เกิดความรูแ
้ ละความเข้าใจ
ในบทเรี ย นได้ ด ี ยิ่ ง ขึ้ น การทดลองทางเคมี สำ � หรั บ นั ก เรี ย นนิ ย มทำ � ในห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารและมี
ความเกีย
่ วข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครือ
่ งมือต่าง ๆ ผูท
้ �ำ ปฏิบต
ั ก
ิ ารจึงต้องทราบเกีย
่ วกับประเภท
ของสารเคมีที่ใช้ วิธีปฏิบัติการทดลอง ข้อควรปฏิบัติในการทำ�ปฏิบัติการเคมี และการกำ�จัดสารเคมี
เพื่อให้สามารถทำ�ปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัย รวมถึงมีความรู้และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อลดความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
ในการทำ�ปฏิบัติการเคมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลพิจารณาได้จากความเที่ยงและความแม่น
ซึ่งสำ�หรับการวัดนั้นความน่าเชื่อถือขึ้นกับทักษะของผู้ทำ�ปฏิบัติการและความละเอียดของเครื่องมือ
และอุปกรณ์ที่ใช้ การบอกปริมาณของสารอาจระบุอยู่ในหน่วยต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ที่ตรงกันจึงมีการกำ�หนดหน่วยในระบบเอสไอให้เป็นหน่วยสากล ผู้ทำ�ปฏิบัติการควรมีทักษะการ
เปลี่ยนหน่วยเพื่อให้เป็นหน่วยสากลโดยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
การทำ�ปฏิบัติการเคมีต้องมีการวางแผนการทดลอง การทำ�การทดลอง การบันทึกข้อมูล
สรุปและวิเคราะห์ นำ�เสนอข้อมูล และการเขียนรายงานการทดลองที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน
การทำ�ปฏิบัติการเคมีต้องคำ�นึงถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาศาสตร์และจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 10 ชั่วโมง
1.1 ความปลอดภัยในการทำ�งานกับสารเคมี 2 ชั่วโมง
1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี 1 ชั่วโมง
1.3 การวัดปริมาณสาร 2 ชั่วโมง
1.4 หน่วยวัด 2 ชั่วโมง
1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

อุปกรณ์และเครื่องแก้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
6

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน

1. ใส่เครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีถ
่ ก
ู ต้อง และเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีไ่ ม่ถก
ู ต้อง

……. 1.1 ถ้านักเรียนทำ�ขวดบรรจุสารเคมีตกแตกและสารเคมีหกเปื้อนโต๊ะ นักเรียน


ต้องกันเพื่อน ๆ ออกจากบริเวณนั้น และแจ้งอาจารย์ผู้ดูแลการทดลอง
……. 1.2 วิธจี ด
ุ ตะเกียงแอลกอฮอล์ท�ำ โดยการเอียงตะเกียงต่อไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์อน
่ื
วิธีจุดตะเกียงแอลกอฮอล์ไม่ควรใช้วิธีต่อไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์อื่น
……. 1.3 สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำ�เงิน
สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำ�เงินเป็นแดง
……. 1.4 ควรสวมถุงมือ และใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีสัญลักษณ์
ความเป็นอันตรายรูปหัวกะโหลกไขว้
……. 1.5 หลอดหยดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทสารปริมาณน้อย ๆ
……. 1.6 การตวงปริมาตรน้ำ� สามารถใช้ถ้วยตวงของเหลวสำ�หรับทำ�ขนมแทนการตวง
ด้วยบีกเกอร์ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
7

2. จับคู่รป
ู อุปกรณ์กบ
ั ชือ
่ ให้ถก
ู ต้อง

ก ข ค

ง จ ฉ

ช ซ ญ

…ค... 2.1 บีกเกอร์ …ช... 2.6 บิวเรตต์


…ซ... 2.2 กระบอกตวง …ฉ... 2.7 ปิเปตต์
..ญ... 2.3 เทอร์มอมิเตอร์ …ข... 2.8 กระจกนาฬิกา
…ง... 2.4 กรวยกรอง …จ... 2.9 ถ้วยระเหยสาร
…ก... 2.5 หลอดทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
8

3. จากรูปต่อไปนี้ อุปกรณ์ใดใช้ในการวัดปริมาณสาร

ก ข ค

ง จ ฉ

ช ซ ญ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาณสาร ได้แก่
ก.บีกเกอร์ ข.กระบอกตวง ค.ขวดรูปกรวย ช.เครื่องชั่ง ซ.ปิเปตต์ และญ.บิวเรตต์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
9

1.1 ความปลอดภัยในการทำ�งานกับสารเคมี
1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุความเป็นอันตรายของสารเคมีจากสัญลักษณ์และข้อมูลบนฉลากสารเคมี
2. อธิบายข้อปฏิบต
ั เิ บือ
้ งต้นและการปฏิบต
ั ต
ิ นทีแ
่ สดงถึงความตระหนักในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี
เพือ
่ ให้มค
ี วามปลอดภัยทัง้ ต่อตนเอง ผูอ
้ น
่ื และสิง่ แวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

สับสนระหว่างสัญลักษณ์ของสารไวไฟและ
สารออกซิไดส์ สารไวไฟ

สารออกซิไดส์

เมื่อร่างกายสัมผัสกรดให้ปฐมพยาบาลโดย เมื่อที่ร่างกายสัมผัสกรดหรือเบส ให้ซับ


การสะเทินด้วยเบสอ่อน และหากสัมผัสเบส สารเคมีออกจากร่างกายให้มากที่สุด แล้ว
ให้ปฐมพยาบาลโดยการสะเทินด้วยกรดอ่อน ล้างด้วยการเปิดน้ำ�ไหลผ่านปริมาณมาก

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. รูปหรือขวดบรรจุสารเคมีที่มีสัญลักษณ์และข้อมูลในฉลากสารเคมี
2. ข้อความ ภาพ หรือวีดิทัศน์ข่าว สถานการณ์หรือปัญหาที่แสดงถึงความเสียหายรุนแรงที่
เกิดจากการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกวิธี เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี
3. อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้แก่ สำ�ลี ผ้าพันแผล แผ่นปิดแผล ยาใส่แผล แอลกอฮอล์
ล้างแผล น้ำ�เกลือล้างแผล ถ้วยล้างตา น้ำ�ยาล้างตา ยาใส่แผลไฟไหม้น้ำ�ร้อนลวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
10

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า การทำ�ปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัยจะต้องคำ�นึงถึงเรื่องใดบ้าง เพื่อ
นำ�เข้าสู่เรื่องความปลอดภัยในการทำ�งานกับสารเคมี จากนั้นครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดย
แสดงรูปหรือขวดบรรจุสารเคมีที่มีสัญลักษณ์และข้อมูลในฉลากสารเคมี เช่น โพแทสเซียมไอโอไดด์
(KI) เลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) กรดแอซีติก (CH3COOH)
โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) กรดไฮโดรคลอริก (HCl) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) จากนั้น
ให้นักเรียนจัดกลุ่มสารเคมีโดยใช้รูปสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนฉลากเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม เพื่อ
นำ�เข้าสู่เรื่องฉลากและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมี ซึ่งนักเรียนอาจจัดกลุ่มโดยแบ่ง
สารเคมีที่มีรูปสัญลักษณ์เหมือนกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
2. ครู อ ธิ บ ายเกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล บนฉลากของสารเคมี ว่ า ส่ ว นมากประกอบด้ ว ยชื่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์
รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย คำ�เตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย ข้อควรระวัง และข้อมูลบริษท

ผู้ผลิตสารเคมี และสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีในระบบ Globally Harmonized
System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ
National Fire Protection Association Hazard Identification System (NFPA) ซึ่งเป็นระบบ
ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยยกตัวอย่างฉลากสารเคมี ดังรูป 1.1 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน ได้แก่
กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น (HCl) แอมโมเนีย (NH3) โดยชี้ประเด็นให้นักเรียนเห็นว่ารายละเอียดของ
ข้อมูลมีองค์ประกอบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน แต่ตำ�แหน่งของข้อมูลต่าง ๆ บนฉลากอาจต่างกัน
3. ครูอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS โดยยกตัวอย่าง
สัญลักษณ์ ดังรูป 1.2 จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาฉลากของกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและแอมโมเนีย
ในรูป 1.1 แล้วตอบคำ�ถามเพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากฉลากของกรดไฮโดรคลอริกและแอมโมเนีย สารเคมีทั้งสองมีอันตรายตามระบบ
GHS อย่างไรบ้าง
กรดไฮโดรคลอริกเป็นสารกัดกร่อนและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และแอมโมเนียเป็น
สารกัดกร่อน สารไวไฟ และมีอันตรายถึงชีวิต

ทั้ ง นี้ ค รู อ าจอธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ด้ ว ยว่ า อั น ตรายจากสารเคมี นั้ น มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ ปริ ม าณ
ความเข้มข้น และเวลาที่สัมผัสกับสารเคมีด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
11

4. ครูยกตัวอย่างสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายในระบบ NFPA ของสารเคมี ดังรูป 1.3 ตาม


รายละเอียดในหนังสือเรียน ได้แก่ กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและแอมโมเนีย จากนั้นครูให้นักเรียน
ตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายในระบบ NFPA ของกรดไฮโดรคลอริกและแอมโมเนีย


สารเคมีใดเป็นอันตรายมากกว่ากันในด้านความไวไฟ ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ
ความว่องไวในการเกิดปฏิกริ ย
ิ าเคมี
แอมโมเนียมีความไวไฟมากกว่ากรดไฮโดรคลอริก แต่กรดไฮโดรคลอริกมีความว่องไว
ในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีมากกว่าแอมโมเนีย และสารทัง้ สารชนิดมีระดับความเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพเท่ากัน

ความรูเ้ พิม
่ เติมสำ�หรับครู
ระดับความเป็นอันตรายด้านต่าง ๆ บนสัญลักษณ์ในระบบ NFPA

สี ความหมาย

สีแดง แทน 0 ไม่ติดไฟ


ความไวไฟ 1 สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์
(93.3 องศาเซลเซียส)
2 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำ�กว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์
(93.3 องศาเซลเซียส)
3 สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์
(37.8 องศาเซลเซียส)
4 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำ�กว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์
(37.8 องศาเซลเซียส)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
12

สี ความหมาย

สีน้ำ�เงิน แทนความ 0 ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


เป็นอันตรายต่อ 1 มีความอันตรายต่อสุขภาพเล็กน้อย อาจทำ�ให้เกิดการระคายเคือง
สุขภาพ 2 มีความอันตรายต่อสุขภาพปานกลาง
3 มีความอันตรายต่อสุขภาพมาก ทำ�ให้เกิดการกัดกร่อน หรือเป็น
พิษ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดม
4 มีความอันตรายต่อสุขภาพมาก อาจเสียชีวิตได้

สีเหลือง แทนความ 0 มีความเสถียร ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี


ว่องไวในการเกิด 1 เกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อได้รับความร้อน
ปฏิกิริยาเคมี 2 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยารุนแรง
3 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยารุนแรง อาจเกิดการระเบิดเมื่อกระแทก
หรือได้รับความร้อน
4 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี อาจเกิดการระเบิดได้

สีขาว ใส่อักษร ox สารออกซิไดซ์


หรือสัญลักษณ์ที่ w สารที่ทำ�ปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ�
แสดงสมบัติที่เป็น cor สารกัดกร่อน
อันตรายด้านอื่น ๆ ACID สารที่เป็นกรด
ALK สารที่เป็นเบส

หมายเหตุ จุดวาบไฟ คือ อุณหภูมต


ิ �ำ่ สุดทีส
่ ารเคมีเกิดการวาบไฟได้เมือ
่ มีประกายไฟ

5. ครูอาจให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมเสนอแนะ โดยพิจารณาฉลากสารเคมีในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารของ
โรงเรียน จากนั้นอภิปรายว่าฉลากสารเคมีในห้องปฏิบัติการของโรงเรียนเหมือนหรือแตกต่างจาก
ฉลากในระบบ GHS และ NFPA หรือไม่ อย่างไร เพือ
่ ให้นก
ั เรียนเข้าใจถึงความเป็นอันตรายของ
สารเคมีทใ่ี ช้ในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารของโรงเรียน อันนำ�ไปสูค
่ วามตระหนักในการใช้สารเคมีให้ปลอดภัย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
13

6. ครูอธิบายว่าหากต้องการข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับสารเคมี สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเอกสาร


ความปลอดภัย (safety data sheet, SDS) ของสารเคมีนั้น ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เนต
เกี่ยวกับ HCl ทำ�ได้โดยใช้คำ�สำ�คัญว่า “SDS HCl” หรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
เช่น http://www.chemtrack.org
7. ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเสนอแนะ โดยนักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลเอกสารความ
ปลอดภัยของสารเคมี แล้วระบุข้อมูลเบื้องต้น เช่น การป้องกันตนเอง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
8. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในการทำ�ปฏิบัติการเคมี ทั้งก่อนทำ�
ปฏิบัติการ และขณะทำ�ปฏิบัติการว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า ข้อควรปฏิบัติก่อนการทำ�ปฏิบัติ
การเคมี เช่น ศึกษาขั้นตอนการทำ�ปฏิบัติการ ศึกษาข้อมูลสารเคมี ข้อควรปฏิบัติขณะทำ�ปฏิบัติ
การเคมี เช่น แต่งกายให้เหมาะสม โดยสวมแว่นตานิรภัย ใส่เสื้อคลุมปฏิบัติการ สวมถุงมือ จากนั้นครู
อธิบายเพิ่มเติมตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
9. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ แนวทางในการกำ � จั ด สารเคมี ที่ ใ ช้ แ ล้ ว หรื อ ที่ เ หลื อ ใช้ จ ากการทำ �
ปฏิบัติการเคมี ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
10. ครูตั้งคำ�ถามว่า สารประกอบของโลหะเป็นพิษ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ที่ใช้แล้วหรือที่เหลือ
ใช้จากการทำ�ปฏิบัติการเคมี เมื่อรวบรวมไว้แล้วเทลงอ่างน้ำ�ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบ
ว่า ไม่ได้ เพราะจะทำ�ให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษจึงควรส่งให้บริษัทรับกำ�จัดสารเคมี จากนั้นครูเชื่อมโยง
ว่านอกจากการกำ�จัดสารเคมีที่ถูกวิธีแล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่สามารถนำ�มาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น ออกแบบการทดลองที่ไม่ก่อให้เกิดของเสียที่เป็นอันตราย เลือกใช้
สารเคมีและปฏิกริ ย
ิ าเคมีทป
่ี ลอดภัยและมีความคุม
้ ค่าในการใช้พลังงาน ใช้อป
ุ กรณ์ทดแทนสำ�หรับทำ�
ปฏิบัติการแบบย่อส่วน เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมีและพลังงาน อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณของ
เสียที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
11. ครูให้นก
ั เรียนสะท้อนความรูค
้ วามเข้าใจและแสดงถึงความตระหนักเกีย
่ วกับความปลอดภัย
ในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี และความเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โดยให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ สรุปความรู้ และ
นำ�เสนอในรูปแบบทีส
่ ามารถสร้างความเข้าใจให้กบ
ั ผูอ
้ น
่ื ได้ดี เช่น แผนผัง แผ่นพับ วีดท
ิ ศ
ั น์
12. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 1.1 เพื่อทบทวนความรู้
13. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยยกตัวอย่างข่าว สถานการณ์หรือปัญหาซึ่งอาจเป็น
ข้อความ ภาพ หรือวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุจากสารเคมี เช่น ภาพข่าวคน
ถูกน้ำ�กรดสาด คนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกรณีแก๊สแอมโมเนียรั่วจากห้องทำ�ความเย็น เพื่อนำ�เข้าสู่
การอภิปรายถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
14

14. ครูยกตัวอย่างอุบต
ั เิ หตุทอ
่ี าจเกิดขึน
้ จากการใช้สารเคมีในห้องปฏิบต
ั ก
ิ าร เช่น สารเคมีหก
ใส่มอ
ื สารเคมีกระเด็นเข้าตา ไอสารเคมีเข้าจมูก แล้วตัง้ คำ�ถามว่า เมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุดงั กล่าว ควรทำ�
อย่างไร ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า เมือ
่ เกิดอุบต
ั เิ หตุ ต้องทราบชนิดและปริมาณสารเคมีกอ
่ น แล้วจึงทำ�การ
ปฐมพยาบาลเบือ
้ งต้น
15. ครูให้นักเรียนแบ่งเป็น 4 กลุ่มแล้วศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณี
ที่เกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี การ
ปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ และการปฐมพยาบาลเมื่อโดน
ความร้อน จากนั้นนำ�เสนอแนวทางในการแก้ไขอุบัติเหตุในรูปแบบที่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับ
ผู้อื่นได้ดี เช่น การแสดงบทบาทสมมติ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและให้ความรู้เพิ่มเติม
16. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 1.2 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับฉลากและสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ข้อปฏิบต
ั เิ บือ
้ งต้น
ในการทำ�ปฏิบัติการเคมี การกำ�จัดสารเคมี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากสารเคมี
จากการทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสังเกต การคิดและการแก้ปญ
ั หาอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ และความร่วมมือ การทำ�งาน
เป็นทีมและภาวะผู้นำ�จากการทำ�กิจกรรม
3. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ จากการอภิปรายและการนำ�เสนอ
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการใช้วิจารณญาณ ความใจกว้าง และความรอบคอบ จากการสังเกต
พฤติกรรมในการอภิปรายและการทำ�กิจกรรม
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ จากผลงานและการสะท้อนความคิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
15

แบบฝึกหัด 1.1

1. พิจารณาข้อมูลบนฉลากของโซเดียมไฮดรอกไซด์ และวงกลมเพือ
่ ระบุสว่ นทีแ
่ สดงข้อมูล
ต่อไปนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3. คำ�เตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง

1 Sodium hydroxide, solid


2 DANGER

3
Causes severe skin burns and eye damage.

PREVENTION
Do not breathe dust. Wash skin and eyes thoroughly after handling.
Wear protective gloves and clothing, and eye and face protection.

RESPONSE
If swallowed: Rinse mouth. Do NOT induce vomiting.
If in eyes: Rinse cautiously with water for several minutes. Remove contact lenses,
if present and easy to do. Continue rinsing.
If in skin (or hair): Take off immediately all contaminated clothing. Rinse skin
with water/shower. Wash contaminated clothing before reuse.
If inhaled: Remove person to fresh air and keep comfortable for breathing.
Immediately call a doctor or other medical personnel.

STORAGE
Store locked up. Keep container tightly closed.

DISPOSAL
Dispose of contents to an EPA permitted facility.

2. พิจารณาตัวอย่างฉลากสารเคมีต่อไปนี้
SAF-T-DATA TM System
U5432.2500 2.51 2.5 L HEALTH FLAMMABILITY REACTIVITY CONTACT

Ammonia solution 25%


Nitric Acid,
69.0 - 70.0% 4 0
EXTREME NONE
3 4
SEVERE EXTREME
LABORATORY PROTECTIVE EQUIPMENT

GOGGLES LAB COAT VENT PROPER


& SHIELD & APRON HOOD GLOVE

STORAGE COLOR WHITE

แอมโมเนีย กรดไนทริก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
16

โพแทสเซียมเปอรแมงกาเนต KMnO4
Potassium permanganate
Mw 158.04 mp 50 ํC

Xn

อาจเกิดการลุกไหมถาสัมผัสสารที่เปนเชื้อไฟ
เปนอันตรายเมื่อกลืนกิน แสบรอนเมื่อสัมผัส
ผิวหนัง, ตา ขนาดบรรจุ 100 กรัม

โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต แบเรียมคลอไรด์

Sodium sulfate Copper(II)nitrate


โซเดียมซัลเฟต คอปเปอร(II)ไนเทรต
n

HEALTH 1 Formula Na 2 SO4 Catalog No. HEALTH 1 Formula Cu(No3)2 Catalog No.
FLAMMABILITY 0 F.W. 142.04 3097170 FLAMMABILITY 0 F.W. 187.54 3091250
REACTIVITY 0 Quantity 450g. REACTIVITY 3 Quantity 250g.
PROTECTIVE 0 R: - technical PROTECTIVE 1 R: 8-22-38 AR
EQUIPMENT S: 22-24/25 P.D. 1206-271 EQUIPMENT S: 28 P.D. 1205-097

โซเดียมซัลเฟต คอปเปอร์(II)ไนเทรต

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด
ดางคลี
Potassium hydroxide
KOH Lead Nitrate
0 Mw 56.11 mp 50 ํC
bp 1320 ํC
Pb(NO3)2
3 1
CAS: 10099-74-8
MW: 331.23
Solubility: 520 g/l at 20 C
ทำใหเกิดแผลไหมเมื่อสัมผัสผิวหนัง, ตา
เมื่อกลืนกินมีผลตอระบบทางเดินอาหาร
OXIDIZER
R: 35
S: 26-37/39-45
5.1
Mfg. Date .............................................. ขนาดบรรจุ 350 กรัม

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เลด(II)ไนเทรต

2.1 สารเคมีใดไม่ควรวางใกล้เปลวไฟ
กรดไนทริก โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต คอปเปอร์(II)ไนเทรต เลด(II)ไนเทรต
2.2 สารเคมีใดเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
แอมโมเนีย
2.3 สารเคมีใดมีฤทธ์ิกัดกร่อนผิวหนัง
กรดไนทริก แอมโมเนีย โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
17

2.4 เมื่อสัมผัสกับโซเดียมซัลเฟต ควรปฏิบัติอย่างไร


ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยการเปิดน้ำ�ไหลผ่านมาก ๆ
2.5 สารละลายเลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) เข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร ที่
เหลือจากการทดลอง 5 มิลลิลิตร ควรทิ้งอย่างไร
ทิ้งในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อรวบรวมให้ได้ปริมาณมากพอ
ให้ส่งบริษัทรับกำ�จัดสารเคมี เนื่องจาก Pb(NO3)2 มีสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็น
สารเคมีที่มีอันตรายถึงชีวิตได้

3. จากรูปผูท
้ �ำ ปฏิบต
ั ก
ิ ารควรปรับปรุงสิง่ ใดบ้าง เพือ
่ ให้เกิดความปลอดภัยในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ าร
เคมี

1. รวบผมให้เรียบร้อย
2. สวมแว่นตานิรภัย
3. ติดกระดุมเสื้อคลุมปฏิบัติการให้เรียบร้อย
4. สวมรองเท้าส้นเตี้ยที่หุ้มปลายและส้นเท้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
18

แบบฝึกหัด 1.2

1. ให้นักเรียนระบุวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่อไปนี้ในห้อง
ปฏิบัติการ
1.1 สารละลายกรดกระเด็นถูกผิวหนัง
ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนออก ซับสารละลายกรดออกจากร่างกายให้มากที่สุดแล้ว
ล้างน้ำ�ปริมาณมาก ๆ
1.2 สัมผัสกับเม็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์
ล้างน้ำ�ปริมาณมาก ๆ
1.3 ไอน้ำ�ร้อนจากอ่างน้ำ�ร้อนสัมผัสร่างกาย
แช่น�ำ้ เย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้�ำ จนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขีผ
้ ง้ึ สำ�หรับ
ไฟไหม้และน้ำ�ร้อนลวก
1.4 เศษแก้วจากหลอดทดลองที่แตกบาดมือ
ล้างด้วยน้ำ�เกลือล้างแผล แล้วใส่ยาใส่แผลและปิดพลาสเตอร์
1.5 เมื่อใช้มือสัมผัสโต๊ะในห้องปฏิบัติการ แล้วเกิดอาการแสบร้อน
ล้างน้ำ�ปริมาณมาก ๆ

2. สืบค้นข้อมูล safety data sheet ของ 1-naphthyl methylcarbamate ซึง่ เป็นยาฆ่าแมลง


ในกลุ่มคาร์บาเมต (carbaryl insecticide) ที่นำ�มาใช้ในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช
เพื่อตอบคำ�ถามต่อไปนี้
2.1 วิธีเก็บรักษา
ควรเก็บในตู้ปราศจากความชื้นที่ปิดมิดชิด ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง ภายใน
ตู้เก็บควรปราศจากความชื้น และมีอุณหภูมิต่ำ�กว่า 40 องศาเซลเซียส
2.2 วิธีปฐมพยาบาล เมื่อสัมผัสผิวหนัง
ถอดเสือ
้ ผ้าทีเ่ ปือ
้ นสารเคมีออก ล้างบริเวณทีส
่ ม
ั ผัสสารเคมีดว้ ยน้�ำ สบูป
่ ริมาณมาก ๆ
และให้น�ำ้ ไหลผ่านบริเวณทีส
่ ม
ั ผัสเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที หากสัมผัสสารปริมาณ
มาก ๆ หรือมีความเข้มข้นสูงให้ไปพบแพทย์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
19

ตัวอย่างเอกสารความปลอดภัย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
20

7. HANDLING AND STORAGE

10. STABILITY AND REACTIVITY

11. TOXICOLOGICAL INFORMATION

12. ECOLOGICAL INFORMATION

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
21

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
22

1.3 การวัดปริมาณสาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เลือกและใช้อป
ุ กรณ์หรือเครือ
่ งมือในการทำ�ปฏิบต
ั ก
ิ าร และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
2. อ่านค่าปริมาณต่าง ๆ ของสาร

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เมื่อถ่ายเทของเหลวออกจากปิเปตต์ ปิเปตต์ที่ใช้งานในระดับมัธยมศึกษา เป็นแบบ


จะต้องทำ�ให้ของเหลวออกจากปิเปตต์ ถ่ายเทของเหลวออกจากปิเปตต์แล้วไม่ต้องเป่าให้
จนหมด ของเหลวออกจนหมด

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
ตัวอย่างผลการทดลองทีม
่ ก
ี ารกระจายตัวของข้อมูลแตกต่างกัน เพือ
่ นำ�ไปสูก
่ ารวิเคราะห์เกีย
่ วกับ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากความเที่ยงและความแม่น

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนพิจารณาค่าที่วัดได้จากการทดลองในรูป 1.6 แล้วตั้งคำ�ถามว่า ข้อมูลชุดใด
มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะเหตุใด เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถ
พิจารณาได้จาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยงและความแม่น โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกัน
ของค่าทีไ่ ด้จากการวัดซ้�ำ ส่วนความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลีย
่ จากการวัดซ้�ำ เทียบกับค่าจริง
ดังนั้นข้อมูลชุด ง มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากมีความเที่ยงและความแม่นสูงที่สุด
2. ครูตง้ั คำ�ถามว่า ข้อมูลแต่ละชุดมีความเทีย
่ งและความแม่นแตกต่างกันเพราะเหตุใด ซึง่ ควร
ได้คำ�ตอบว่า ความเที่ยงและความแม่นของข้อมูลขึ้นกับทักษะของผู้ทดลอง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ทำ�ปฏิบัติการ
3. ครูใช้ค�ำ ถามนำ�ว่า ถ้าจะแบ่งกลุม
่ อุปกรณ์วด
ั ปริมาตร ได้แก่ บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง
ปิเปตต์ บิวเรตต์ และขวดกำ�หนดปริมาตร โดยใช้ความแม่นเป็นเกณฑ์ จะสามารถแบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม
และอุปกรณ์ในแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง โดยครูอาจแสดงรูปอุปกรณ์ประกอบ เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องอุปกรณ์
วัดปริมาตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
23

4. ครูสาธิตและอธิบายการใช้งานอุปกรณ์วด
ั ปริมาตร ได้แก่ บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง
ปิเปตต์ บิวเรตต์ ขวดกำ�หนดปริมาตร อุปกรณ์วัดมวล เช่น เครื่องชั่งแบบสามคาน เครื่องชั่งไฟฟ้า
ในประเด็นต่อไปนี้
- วัตถุประสงค์และเทคนิคการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ
- การอ่านค่าและการรายงานผลจากการวัด ทัง้ นีใ้ ห้เน้นในประเด็นการอ่านปริมาตรของของเหลว
ต้องให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกับระดับส่วนโค้งของของเหลวดังรูป 1.13 และการประมาณค่าที่ได้
จากการอ่านปริมาตรของของเหลวในบิวเรตต์ ว่าสามารถประมาณตัวเลขได้ตั้งแต่ 0-9
- ข้อควรระวังในการใช้และการดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือ
ทั้งนี้เมื่อครูอธิบายขั้นตอนการใช้บิวเรตต์ ให้เน้นในประเด็นการบรรจุของเหลวใส่บิวเรตต์ซึ่งไม่ควร
ทำ�เหนือระดับสายตา และต้องไล่ฟองอากาศออกจากปลายบิวเรตต์ให้หมดก่อนการใช้งาน โดย
ระหว่างที่มีการสาธิตควรให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติร่วมด้วย

ฟองอากาศ

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
ในกรณี ที่ ยั ง มี ฟ องอากาศเหลื อ อยู่ ใ นบิ ว เรตต์ ใ ห้ ห มุ น ก๊ อ กปิ ด เปิ ด ไปในตำ � แหน่ ง ที่
ของเหลวไหลออกมาเร็วและแรงที่สุด ปล่อยให้ของเหลวไหลออกมาไล่ฟองอากาศจนหมด
ขณะที่ของเหลวไหลลงมาอาจใช้ลูกยางเคาะเบา ๆ ตรงบริเวณที่มีฟองอากาศอยู่เพื่อช่วยไล่
ฟองอากาศให้ออกมาจนหมด

ทั้งนี้ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจระหว่างการให้ความรู้แต่ละขั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
24

ตรวจสอบความเข้าใจ

ในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารมีปเิ ปตต์แบบใช้ตวงขนาด 5 มิลลิเมตรและ 10 มิลลิเมตรและมีปเิ ปตต์
แบบปริมาตรขนาด 5 มิลลิเมตรและ 25 มิลลิเมตรหากต้องการของเหลวปริมาตรต่อไปนี้
ต้องเลือกปิเปตต์แบบใดและขนาดปริมาตรใด
1. 2.50 มิลลิเมตร ใช้ปเิ ปตต์แบบใช้ตวง ขนาด 5 หรือ 10 มิลลิเมตร
2. 5.00 มิลลิเมตร ใช้ปเิ ปตต์แบบใช้ตวง ขนาด 5 หรือ 10 มิลลิเมตรหรือใช้ปเิ ปตต์
แบบปริมาตรขนาด 5 มิลลิเมตร
3. 25.00 มิลลิเมตร ใช้ปเิ ปตต์แบบปริมาตร ขนาด 25 มิลลิเมตร

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. จากรูป ปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงมีค่าเท่าใด

อ่านค่าปริมาตรของของเหลวได้ประมาณ 6.80
มิลลิลิตร (ทศนิยมตำ�แหน่งที่สองเป็นค่าประมาณ
นักเรียนอาจตอบต่างจากแนวคำ�ตอบได้)

2. ปริมาตรเริ่มต้นและปริมาตรสุดท้ายจากการถ่ายเทของเหลวด้วยบิวเรตต์ เป็นดังรูป
ของเหลวที่ถ่ายเทได้มีปริมาตรเท่าใด
อ่านค่าปริมาตรเริ่มต้นและปริมาตรสุดท้าย
ได้ 6.25 และ 39.30 มิลลิลิตร ดังนั้น
ของเหลวทีถ
่ า่ ยเทได้มป
ี ริมาตร 39.30 – 6.25
เท่ากับ 33.05 มิลลิลต
ิ ร (ทศนิยมตำ�แหน่งที่
สองเป็นค่าประมาณ นักเรียนอาจตอบต่าง
จากแนวคำ�ตอบได้)
ปริมาตรเริ่มต้น ปริมาตรสุดท้าย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
25

5. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 1.1 เพื่อฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรและอุปกรณ์วัดมวล


จากนั้นนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม แล้วอภิปรายร่วมกันในประเด็นความแม่นที่ได้จาก
การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรต่างชนิดกัน และร่วมกันสรุปกิจกรรม

กิจกรรม 1.1 การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ และ


การวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง

จุดประสงค์การทดลอง
1. ฝึกใช้เครื่องชั่งและเครื่องแก้ววัดปริมาตรบางชนิด
2. เปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตรของกระบอกตวงและปิเปตต์

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 5 นาที


ทำ�กิจกรรม 10 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 10 นาที
รวม 25 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. น้ำ� 50 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
2. บีกเกอร์ขนาด 100 mL 1 ใบ
3. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
4. ปิเปตต์ ขนาด 25 mL 1 อัน
5. กระบอกตวงขนาด 25 mL 1 อัน
6. เครื่องชั่ง ใช้ร่วมกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
26

การเตรียมล่วงหน้า
ตารางแสดงความหนาแน่นของน้ำ�ที่อุณหภูมิต่าง ๆ กลุ่มละ 1 ใบ
อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง
ทบทวนเกี่ยวกับการอ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์
ตัวอย่างผลการทดลอง
การวัดปริมาตรน้ำ�ด้วยปิเปตต์
อุณหภูมิของน้ำ�ที่ทำ�การทดลอง คือ 20.0 °C
ความหนาแน่นของน้ำ�ที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998203 g/mL

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 46.98 -

เติมน้ำ�ครั้งที่ 1 71.59 24.61

เติมน้ำ�ครั้งที่ 2 96.43 24.84

เติมน้ำ�ครั้งที่ 3 121.47 25.04

เฉลี่ย 24.83

คำ�นวณปริมาตรน้ำ�ที่วัดได้จากค่ามวลน้ำ�เฉลี่ย

จาก d = m
V
m
จะได้ V =
d
24.83 g
แทนค่า V =
0.998203 g/mL
= 24.87 mL

การวัดปริมาตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวง
อุณหภูมิของน้ำ�ที่ทำ�การทดลอง คือ 20.2 °C
ความหนาแน่นของน้ำ�ที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998162 g/mL

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
27

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 50.72 -

เติมน้ำ�ครั้งที่ 1 74.92 24.20

เติมน้ำ�ครั้งที่ 2 99.04 24.12

เติมน้ำ�ครั้งที่ 3 123.62 24.58

เฉลี่ย 24.30

คำ�นวณปริมาตรน้ำ�ที่วัดได้จากค่ามวลน้ำ�เฉลี่ย

จาก d = m
V
m
จะได้ V =
d
24.30 g
แทนค่า V =
0.998162 g/mL
= 24.34 mL

อภิปรายผลการทดลอง
การวัดปริมาตรของน้ำ�ด้วยปิเปตต์ขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ยของน้ำ�
ที่วัดได้เท่ากับ 24.83 กรัม เมื่อนำ�ค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำ�นวณหาปริมาตรของน้ำ�จาก
ความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำ�การวัด พบว่าปริมาตรของน้ำ�เท่ากับ 24.87 มิลลิลิตร
การวัดปริมาตรของน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ย
ของน้ำ�ที่วัดได้เท่ากับ 24.30 กรัม และเมื่อนำ�ค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำ�นวณหาปริมาตรของน้ำ�
จากความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำ�การวัด พบว่าปริมาตรของน้ำ�เท่ากับ 24.34 มิลลิลิตร
ดังนั้น ปริมาตรของน้ำ�ที่วัดด้วยปิเปตต์ต่างจากค่าจริง 0.13 มิลลิลิตร
ส่วนกระบอกตวงต่างจากค่าจริง 0.66 มิลลิลิตร
เมื่อเปรียบเทียบการวัดปริมาตรน้ำ�โดยใช้ปิเปตต์และกระบอกตวง พบว่า ปริมาตร
น้ำ�ที่ได้จากการใช้ปิเปตต์ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่าค่าปริมาตรของน้ำ�ที่วัดด้วยกระบอกตวง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
28

สรุปผลการทดลอง
ปิเปตต์เป็นอุปกรณ์ทว่ี ด
ั ปริมาตรได้ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่ากระบอกตวง หรือกล่าวได้
ว่า การใช้ปิเปตต์มีความแม่นมากกว่ากระบอกตวง

6. ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ปิเปตต์เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่สอบเทียบ (calibrate) โดย


การวัดปริมาตรของของเหลวที่ถ่ายเทออกจากปิเปตต์ ขณะที่กระบอกตวงเป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่
สอบเทียบโดยการวัดปริมาตรของของเหลวที่เติมลงในกระบอกตวง ดังนั้นเมื่อถ่ายเทของเหลวออก
จากกระบอกตวงจะมีของเหลวบางส่วนติดค้างอยู่ในกระบอกตวง ทำ�ให้ปริมาตรของของเหลวที่
ถ่ายเทออกมาน้อยกว่าที่วัดได้ และชี้ให้เห็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนอุปกรณ์
7. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า อุปกรณ์แต่ละชนิดมีความละเอียดไม่เท่ากัน โดยชี้ให้เห็นตัวเลขที่
ปรากฏบนอุปกรณ์ที่นำ�มาให้นักเรียนดู เช่น ค่าความคลาดเคลื่อนของกระบอกตวงและปิเปตต์ขนาด
25 มิลลิลิตร เท่ากับ ±0.40 และ ±0.10 ตามลำ�ดับ ดังรูป

ค่าความ
คลาดเคลื่อน

กระบอกตวง ปิเปตต์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
29

8. ครูให้นักเรียนพิจารณารูปร่างของกระบอกตวงและปิเปตต์ แล้วตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�อภิปราย
ว่า เพราะเหตุใดกระบอกตวงมีค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่าปิเปตต์ ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า ปิเปตต์
มีพื้นที่หน้าตัดบริเวณที่ผิวของของเหลวน้อยกว่ากระบอกตวง ทำ�ให้ความผิดพลาดของระดับ
ของเหลวที่ถ่ายเทมีค่าน้อยกว่าของกระบอกตวง
นอกจากนั้นครูอาจอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
การอ่านปริมาตรจากอุปกรณ์วด
ั ปริมาตรเป็นการอ่านค่าจากความสูงของของเหลว เมือ
่ พิจารณา
จากสูตรคำ�นวณปริมาตรทรงกระบอก คือ ปริมาตร = พืน
้ ทีห
่ น้าตัด × สูง จะพบว่า หากพืน
้ ทีห
่ น้าตัดมีคา่
น้อย ความสูงทีอ
่ า่ นได้จะมีคา่ มาก ทำ�ให้ความผิดพลาดจากการอ่านค่าความสูงน้อยกว่า ซึง่ อธิบายด้วย
ตัวเลขประกอบ ดังนี้
ต้องการตวงของเหลวปริมาตร 1 mL ถ้าพื้นที่หน้าตัดของอุปกรณ์วัดปริมาตรเท่ากับ 1 cm2
ความสูงที่อ่านได้จะเท่ากับ 1 cm ถ้าอ่านค่าความสูงผิดไป 0.1 cm จะอ่านปริมาตรผิดไปร้อยละ 10
แต่ถ้าพื้นที่หน้าตัดของอุปกรณ์วัดปริมาตรเท่ากับ 0.1 cm2 ความสูงที่อ่านได้จะเท่ากับ 10 cm ถ้า
อ่านค่าความสูงผิดไป 0.1 cm เท่าเดิม ปริมาตรที่อ่านผิดไปคิดเป็นเพียงแค่ร้อยละ 1
9. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 1.15 จากนั้นตั้งคำ�ถามว่า อุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์
ทั้งสองมีค่าเท่าใด ซึ่งนักเรียนอาจตอบว่า อ่านค่าได้ 26.22 และ 26.0 องศาเซลเซียส ตามลำ�ดับ เพื่อ
นำ�เข้าสู่การอธิบายความหมายของเลขนัยสำ�คัญ
10. ครูอธิบายเกี่ยวกับหลักการนับเลขนัยสำ�คัญ การปัดเศษ และเลขนัยสำ�คัญของผลลัพธ์
ที่ได้จากการคำ�นวณ ทั้งนี้ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจระหว่างการให้ความรู้
แต่ละขั้น

ตรวจสอบความเข้าใจ

ชัง่ มวลของสารได้ 76.98 และ 34.9 กรัม ตามลำ�ดับ ผลรวมของมวลสารเป็นเท่าใด


ในการบวก ผลลัพธ์ทไ่ี ด้จะมีจ�ำ นวนตัวเลขหลังทศนิยมเท่ากับข้อมูลทีน
่ อ
้ ยทีส
่ ด
ุ ดังนัน

ผลรวมของวัตถุทง้ั สองเท่ากับ 111.9 กรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
30

ตรวจสอบความเข้าใจ

ปรอทปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร จะมีมวลเท่าใด เมื่อปรอทมีความหนาแน่นเท่ากับ


1.36 กรัมต่อมิลลิลิตร

จาก d = m
V
จะได้ m = d × V

m = 1.36 g/mL × 20.00 mL


m = 27.2 g
ในการคูณและหาร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำ�นวนเลขนัยสำ�คัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัย
สำ�คัญน้อยทีส
่ ด

ดังนั้น ปรอทมีมวล 27.2 กรัม

11. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเลขนัยสำ�คัญ โดยตรวจสอบ


การบันทึกผลการทำ�กิจกรรม 1.1 และการคำ�นวณของตนเองว่าสอดคล้องกับหลักการเกี่ยวกับ
เลขนัยสำ�คัญหรือไม่ หากไม่สอดคล้องให้แก้ไขให้ถก
ู ต้อง ทัง้ นีค
้ รูอาจให้ตวั แทนนักเรียนนำ�เสนอรายงาน
การตรวจสอบข้อมูลของตนเอง โดยคำ�ตอบที่ได้ควรสอดคล้องกับความละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การทำ�กิจกรรม
12. อภิปรายและสรุปบทเรียนร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เทคนิค วิธีการใช้งาน รวมทั้ง
ข้อควรระวังในการใช้และการดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำ�ปฏิบัติการเคมี และเลขนัยสำ�คัญ
13. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 1.3 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้ และการดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับวัดปริมาตร
และวัดมวล การอ่านค่าและการรายงานผลจากการวัดโดยคำ�นึงถึงเลขนัยสำ�คัญ จากรายงานการ
ทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสังเกตและการวัด จากรายงานการทดลองและการสังเกตพฤติกรรมในการ
ทำ�การทดลอง
3. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การทำ�การทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
31

4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากรายงานการทดลอง และการสังเกตพฤติกรรมใน


การทำ�การทดลอง

แบบฝึกหัด 1.3

1. อ่านปริมาตรของของเหลว จากรูปต่อไปนี้

20.2 มิลลิลิตร 41.6 มิลลิลิตร 44.68 มิลลิลิตร

2. อ่านค่าปริมาตรของของเหลวในบิวเรตต์ที่มีปริมาตรเท่ากันในมุมมองที่แตกต่างกันได้
เท่าใด และค่าที่อ่านได้ในแต่ละข้อถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

1. 30.40 มิลลิลต
ิ ร ค่าทีอ
่ า่ นได้ถก
ู ต้อง เพราะการอ่านปริมาตรของของเหลวต้องให้สายตา
อยูร่ ะดับเดียวกันกับระดับส่วนโค้งของของเหลว
2. 30.30 มิลลิลิตร ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เพราะหากสายตาอยู่สูงกว่าระดับส่วนโค้ง
ของของเหลวจะอ่านค่าปริมาตรได้น้อยกว่าปริมาตรจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
32

3. 30.50 มิลลิลิตร ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เพราะหากสายตาอยู่ต่ำ�กว่าระดับส่วนโค้งของ


ของเหลวจะอ่านค่าปริมาตรได้มากกว่าปริมาตรจริง

3. วิธีการในแต่ละข้อต่อไปนี้ สามารถวัดปริมาตรน้ำ�ที่ต้องการได้แม่นหรือไม่ เพราะเหตุใด


3.1 ตวงน้�ำ โดยใช้กระบอกตวงขนาด 100 มิลลิลต
ิ ร ครัง้ ละ 100.00 มิลลิลต
ิ ร 2 ครัง้ และ
50.00 มิลลิลิตร 1 ครั้ง จะได้น้ำ�ปริมาตร 250.00 มิลลิลิตร
ไม่สามารถวัดปริมาตรน้ำ�ได้แม่น เนื่องจากกระบอกตวงเป็นอุปกรณ์วัดปริมาตร
ทีส
่ อบเทียบโดยการวัดปริมาตรของของเหลวทีเ่ ติมลงในกระบอกตวง ดังนัน
้ เมือ
่ ถ่ายเท
ของเหลวออกจากกระบอกตวงจะมีของเหลวบางส่วนติดค้างอยูใ่ นกระบอกตวง ทำ�ให้
ปริมาตรของของเหลวที่ถ่ายเทออกมาจะน้อยกว่าที่วัดได้
3.2 ไขน้�ำ จากบิวเรตต์ทบ
่ี รรจุน�ำ้ เริม
่ ต้นทีข
่ ด
ี บอกปริมาตรเลข 0 มาถึงขีดบอกปริมาตร เลข 20
จะได้น้ำ�ปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร
สามารถวัดปริมาตรน้ำ�ได้แม่น เนื่องจากบิวเรตต์เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่สอบ
เทียบโดยการวัดปริมาตรของของเหลวทีถ
่ า่ ยเทออกจากบิวเรตต์ ดังนัน
้ เมือ
่ ถ่ายเทน้�ำ ออก
จากบิวเรตต์ 20.00 มิลลิลิตร จะได้น้ำ�ปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร
3.3 เติมน้�ำ ลงในขวดกำ�หนดปริมาตรขนาด 100 มิลลิลต
ิ ร ปรับให้พอดีกบ
ั ขีดบอกปริมาตร
เมื่อเทน้ำ�ออกใส่บีกเกอร์จะได้น้ำ�ปริมาตร 100.00 มิลลิลิตรพอดี
ไม่สามารถวัดปริมาตรน้ำ�ได้แม่น เนื่องจากขวดกำ�หนดปริมาตรเป็นอุปกรณ์วัด
ปริมาตรทีส
่ อบเทียบโดยการวัดปริมาตรของเหลวทีบ
่ รรจุอยูใ่ นขวดกำ�หนดปริมาตร เมือ

ถ่ายเทของเหลวออกจากขวดกำ�หนดปริมาตรจะมีของเหลวบางส่วนติดค้างอยู่ ทำ�ให้
ปริมาตรของเหลวที่ถ่ายเทออกมาน้อยกว่าที่วัดได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
33

1.4 หน่วยวัด

จุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วยการ
ใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

หน่วยมวลในระบบเอสไอ คือ กรัม หน่วยมวลในระบบเอสไอ คือ กิโลกรัม

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครู ก ระตุ้ น ความสนใจของนั ก เรี ย นโดยยกตั ว อย่ า งการวั ด ปริ ม าณสิ่ ง ของที่ พ บในชี วิ ต
ประจำ�วันซึง่ วัดปริมาณเดียวกันแต่ใช้หน่วยทีแ
่ ตกต่างกัน เช่น การวัดมวลทีร่ ายงานด้วยหน่วยปอนด์
และกิโลกรัม จากนั้นให้นักเรียนยกตัวอย่างอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การระบุปริมาตรในหน่วยลิตร
ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เดซิเมตร ถ้วยตวง แกลลอน การระบุอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส
ฟาเรนไฮต์ แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าหน่วยที่วัดได้จากปริมาณที่ต่างกัน ก็จะมีหน่วยที่
แตกต่างกัน และแต่ละปริมาณก็มีได้หลายหน่วย
2. ครูให้ความรู้ว่า การรายงานค่าปริมาณเดียวกันแต่ใช้หน่วยวัดที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิด
ความเข้าใจไม่ตรงกันได้ ดังนั้นจึงมีการกำ�หนดระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศหรือหน่วยเอสไอ ซึ่ง
เป็นหน่วยสากลที่เข้าใจได้ตรงกัน ดังตาราง 1.1 และ 1.2 นอกจากนี้ยังมีหน่วยนอกระบบเอสไอที่ได้รับ
การยอมรับและมีใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การระบุปริมาตรในหน่วยลิตร ตามรายละเอียดในตาราง
1.3
3. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
34

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. ลวดแมกนีเซียมหนา 0.1 มิลลิเมตร สามารถเขียนแสดงความหนาให้อยูใ่ นรูปสัญกรณ์


วิทยาศาสตร์ในหน่วยเอสไอได้เป็นเท่าใด
0.1 mm = 0.1 × 10-3 m
= 1 × 10-4 m

2. ปริมาตรน้�ำ ทีไ่ ด้จากปิเปตต์ 10.00 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถเขียนแสดงปริมาตรให้อยู่


ในรูปสัญกรณ์วท
ิ ยาศาสตร์ในหน่วยเอสไอได้เป็นเท่าใด
1 cm3 = 1 cm × 1 cm × 1 cm
= 0.01 m × 0.01 m × 0.01 m
= 1 × 10-6 m3
้ 10.00 cm3 = 10.00 × 10-6 m3
ดังนัน
= 1.000 × 10-5 m3

4. ครูนำ�อภิปรายในประเด็นว่า ในการคำ�นวณเพื่อเปลี่ยนหน่วยสามารถใช้วิธีใดในการ
คำ�นวณได้บ้าง เพื่อนำ�เข้าสู่การอธิบายเรื่องแฟกแตอร์เปลี่ยนหน่วยและวิธีการเทียบหน่วย
5. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับแฟกแตอร์เปลี่ยนหน่วยและวิธีการเทียบหน่วย
6. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 1.4 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ทางเคมีในระบบเอสไอ และการเปลี่ยนหน่วยวัด
โดยใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากการทำ�แบบฝึกหัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
35

แบบฝึกหัด 1.4

1. จงแสดงวิธีการเปลี่ยนหน่วยไปเป็นหน่วยใหม่ที่ต้องการในแต่ละข้อต่อไปนี้

ข้อที่ ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น หน่วยใหม่ที่ต้องการ

1.1 59.2 cm dm
1.2 1.8 kg mg

1.3 2,800 mL dm3

1.4 3.2 g/mL kg/dm3

1.1 59.2 cm = 59.2 cm × 1m 10 dm


×
100 cm 1m
= 5.92 dm

ดังนั้น 59.2 cm เท่ากับ 5.92 dm

1.2 1.8 kg = 1.8 kg × 1000 g × 1000 mg


1 kg 1g
= 1.8 × 106 mg

ดังนั้น 1.8 kg เท่ากับ 1.8 × 106 mg

1.3 2800 mL = 2800 mL × 1L 1 dm3


×
1000 mL 1L
= 2.8 dm3
ดังนั้น 2,800 mL อาจตอบได้เป็น 2.8 dm3 หรือ 2.80 dm3 หรือ 2.800 dm3
เนื่องจากเลขศูนย์อาจมีค่าเป็นศูนย์จริง ๆ จากการวัด หรือเป็นตัวเลขที่ใช้แสดงให้เห็นว่าค่า
ดังกล่าวอยู่ในหลักพัน

1.4 3.2 g/mL = 3.2 g 1 kg 1000 mL 1L


× × ×
1 mL 1000 g 1L 1 dm3
= 3.2 kg/dm3

ดังนั้น 3.2 g/mL เท่ากับ 3.2 kg/dm3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
36

2. น้ำ�บริสุทธิ์ปริมาตร 50.0 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 20.5 องศาเซลเซียสมีมวล


เท่าใด เมื่อความหนาแน่นของน้ำ�ที่อุณหภูมิ 20.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.998099 กรัม
ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

มวลของน้ำ� = 50.0 cm3 × 0.998099 g


1 cm3

= 49.90495 g
คำ�ตอบต้องมีเลขนัยสำ�คัญ 3 ตัว ดังนั้น น้ำ�มีมวล 49.9 กรัม

3. สารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้นร้อยละ 24 โดยมวล มีความหนาแน่น 1.2 กรัมต่อลูกบาศก์


เซนติเมตร ถ้าสารละลายกรดซัลฟิวริก 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีกรดซัลฟิวริกกี่กรัม

24 g acid 1.2 g solution


ปริมาณกรดซัลฟิวริก = × × 200 cm3 solution
100 g solution 3
1 cm solution

= 57.6 g acid

คำ�ตอบต้องมีเลขนัยสำ�คัญ 2 ตัว ดังนั้น มีกรดซัลฟิวริก 58 กรัม

4. ถ้าทองเหลือง 12 กรัม ต้องใช้ทองแดง 9.0 กรัม มีต้นทุนราคาของทองแดงกิโลกรัมละ


200 บาท หากต้องการทองเหลือง 300 กรัม ต้องซื้อทองแดงกี่บาท

9.0 g Cu 1 kg Cu 200 Baht


ต้องซื้อทองแดง = × × × 300 g brass
12 g brass 1,000 g Cu 1 kg Cu

= 45 Baht

คำ�ตอบต้องมีเลขนัยสำ�คัญ 2 ตัว ดังนั้น ต้องซื้อทองแดง 45 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
37

1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้
นำ�เสนอแผนการทดลอง ทดลอง และเขียนรายงานการทดลอง

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ข้อมูลจากการสังเกตมีการเพิ่มเติมความคิด การสั ง เกตเป็ น การใช้ ป ระสาทสั ม ผั ส ทั้ ง ​​​​​​​​5


เห็นลงไปด้วย เพื่อหาข้อมูล โดยไม่เติมความเห็นใด ๆ ลงไป

การสังเกตใช้ประสาทสัมผัสด้านการมองเห็น การสังเกตต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ


เท่านั้น การมองเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การ
รับรส และการสัมผัส แต่ในการทำ�ปฏิบัติ
การส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ใ ช้ ก ารดมกลิ่ น และการชิ ม
เนื่องจากเหตุผลทางด้านความปลอดภัย

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
กิ จ กรรมหรื อ วี ดิ ทั ศ น์ แ สดงการเปลี่ ย นแปลงทางเคมี ที่ เ ห็ น การเปลี่ ย นแปลงง่ า ย ๆ เช่ น
การผสมสารสองชนิดแล้วสารเปลี่ยนสีหรือเกิดฟองแก๊ส

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูสาธิตกิจกรรมหรือใช้วีดิทัศน์แสดงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เห็นการเปลี่ยนแปลง
ง่าย ๆ เช่น การผสมสารสองชนิด แล้วสารเปลี่ยนสีหรือเกิดฟองแก๊ส เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้สังเกต
และการตั้งสมมติฐาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2. ครูทบทวนเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอน จากนั้นยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ 1 เพื่อให้นักเรียนทบทวนเกี่ยว
กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
3. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามจากสถานการณ์ตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ฃ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
38

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. การออกแบบการทดลองสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
สอดคล้อง เนื่องจาก pH เป็นค่าที่บอกความเข้มข้นของกรดในสารละลายการเปรียบเทียบ
ค่า pH จึงสามารถบอกความเข้มข้นของกรดคาร์บอนิกทีอ
่ ยูใ่ นน้�ำ อัดลม
2. การสรุปผลการทดลองสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานหรือไม่
อย่างไร
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ระบุว่าน้ำ�อัดลมที่แช่เย็นมีความเข้มข้นของ กรดคาร์บอนิก
มากกว่า แต่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่สรุปว่าน้ำ�อัดลมที่แช่เย็นมีความซ่ามากกว่า
เนื่องจากเป็นการสรุปที่เกินกว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบ
3. สมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ส อดคล้ อ งกั บ สิ่ ง ที่ สั ง เกตได้ ว่ า น้ำ � อั ด ลมที่ แ ช่ เ ย็ น มี ค วามซ่ า มากกว่ า
น้ำ�อัดลมที่ไม่แช่เย็นหรือไม่ อย่างไร
ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ ข้ อ สั ง เกตเนื่ อ งจากไม่ ท ราบความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความซ่ า กั บ
ความเข้มข้นของกรดคาร์บอนิก
4. ถ้าต้องการออกแบบการทดลองเพือ
่ ตอบคำ�ถามว่า เพราะเหตุใดเมือ
่ ดืม
่ น้�ำ อัดลมทีแ
่ ช่เย็นจะ
รู้สึกว่ามีความซ่ามากกว่าน้ำ�อัดลมที่ไม่แช่เย็น ควรมีข้อมูลใดเพิ่มเติมบ้าง
องค์ประกอบในน้ำ�อัดลม ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดความซ่า

4. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ควรมีในการเขียนรายงานการทดลอง จากนั้นให้นักเรียนทำ�
กิจกรรม 1.2 ออกแบบการทดลองและทำ�การทดลองเพื่อเปรียบเทียบความแม่นจากการวัดปริมาตร
น้ำ�ด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน พร้อมทั้งเขียนรายงานการทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
39

ตัวอย่างผลการออกแบบและเขียนรายงานที่ 1

กิจกรรม 1.2 การออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัด


ปริมาตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวงทีม ่ ีขนาดต่างกัน

จุดประสงค์ของการทดลอง
เปรียบเทียบความแม่นของกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน

สมมติฐาน การตวงน้ำ�ปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร โดยการใช้กระบอกตวงขนาด 25


มิลลิลิตร มีความแม่นมากกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

ตัวแปรต้น ขนาดของกระบอกตวง
ตัวแปรตาม ความแม่นในการตวงน้ำ�ปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร
ตัวแปรควบคุม เครื่องชั่ง ผู้ทำ�การทดลอง

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. น้ำ� 50 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
2. บีกเกอร์ขนาด 100 mL 1 ใบ
3. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
4. กระบอกตวงขนาด 25 mL 1 อัน
5. กระบอกตวงขนาด 50 mL 1 อัน
6. เครื่องชั่ง ใช้ร่วมกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
40

วิธีการทดลอง
1. เทน้ำ�กลั่นปริมาตร 200 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร วัดอุณหภูมิของน้ำ�
บันทึกผล
2. ชั่งมวลของบีกเกอร์ขนาด 100 มิลลิลิตร บันทึกผล
3. หามวลของน้ำ� 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ตวงน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ 100 มิลลิลิตร ชั่ง
มวลรวมของน้ำ�และบีกเกอร์ บันทึกผล และคำ�นวณมวลของน้ำ� 25 มิลลิลิตร
บันทึกผล
ครั้งที่ 2 ตวงน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์เดิม ชั่งมวลรวม
ของน้ำ� 50 มิลลิลิตร และบีกเกอร์ บันทึกผล และคำ�นวณมวลของน้ำ� 25
มิลลิลิตรที่เติมครั้งที่ 2 บันทึกผล
ครั้งที่ 3 ตวงน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์เดิม ชั่งมวลรวม
ของน้ำ� 75 มิลลิลิตร และบีกเกอร์ บันทึกผล และคำ�นวณมวลของน้ำ� 25
มิลลิลิตรที่เติมครั้งที่ 3 บันทึกผล
4. คำ�นวณค่ามวลเฉลี่ยของน้ำ�ที่ได้จากการตวงน้ำ�ด้วยกระบอกตวง 3 ครั้ง บันทึกผล
5. นำ�ค่ามวลเฉลี่ยของน้ำ�ในข้อ 4 มาคำ�นวณปริมาตรของน้ำ�
6. ทำ�การทดลองซ้ำ�ในข้อ 1–5 โดยเปลี่ยนกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร เป็นกระบอกตวง
ขนาด 50 มิลลิลิตร
7. นำ�ค่าปริมาตรของน้ำ�ที่คำ�นวณได้จากการใช้กระบอกตวงขนาด 25 และ 50 มิลลิลิตร
มาเปรียบเทียบความแม่นของการวัดจากการใช้อุปกรณ์ต่างขนาด

ผลการทดลอง
การวัดปริมาตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร
อุณหภูมิของน้ำ�ที่ทำ�การทดลอง คือ 20.2 °C
ความหนาแน่นของน้ำ�ที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998162 g/mL

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
41

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 50.72 -

เติมน้ำ�ครั้งที่ 1 74.92 24.20

เติมน้ำ�ครั้งที่ 2 99.04 24.12

เติมน้ำ�ครั้งที่ 3 123.62 24.58

เฉลี่ย 24.30

คำ�นวณปริมาตรน้ำ�ที่วัดได้
1 mL H2O
ปริมาตรน้ำ�ที่วัดได้ = 24.30 g H2O ×
0.998162 g H2O

= 24.34 mL H2O

การวัดปริมาตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร
อุณหภูมิของน้ำ�ที่ทำ�การทดลอง คือ 20.0 °C
ความหนาแน่นของน้ำ�ที่อุณหภูมินี้ เท่ากับ 0.998203 g/mL

มวลที่ชั่งได้ (g) มวลของน้ำ�ที่ได้ (g)

บีกเกอร์เปล่า 52.34 -

เติมน้ำ�ครั้งที่ 1 76.38 24.04

เติมน้ำ�ครั้งที่ 2 100.56 24.18

เติมน้ำ�ครั้งที่ 3 124.49 23.93

เฉลี่ย 24.05

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
42

คำ�นวณปริมาตรน้ำ�ที่วัดได้
1 mL H2O
ปริมาตรน้ำ�ที่วัดได้ = 24.05 g H2O ×
0.998203 g H2O

= 24.09 mL H2O

อภิปรายหลังการทดลอง
การวัดปริมาตรของน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ย
ของน้ำ�ที่วัดได้เท่ากับ 24.30 กรัม และเมื่อนำ�ค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำ�นวณหาปริมาตรของน้ำ�
จากความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำ�การวัด พบว่าปริมาตรของน้ำ�เท่ากับ 24.34 มิลลิลิตร
การวัดปริมาตรของน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า มวลเฉลี่ย
ของน้ำ�ที่วัดได้เท่ากับ 24.05 กรัม และเมื่อนำ�ค่ามวลเฉลี่ยที่ได้ไปคำ�นวณหาปริมาตรของน้ำ�
จากความหนาแน่น ณ อุณหภูมิที่ทำ�การวัด พบว่าปริมาตรของน้ำ�เท่ากับ 24.09 มิลลิลิตร
เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจริง ปริมาตรของน้ำ�ที่วัดด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร
ต่างจากค่าจริง 0.66 มิลลิลิตร ส่วนกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร ต่างจากค่าจริง เท่ากับ
0.91 มิลลิลิตร
เมื่อเปรียบเทียบการวัดปริมาตรน้ำ�โดยใช้กระบอกตวงขนาด 25 และ 50 มิลลิลิตร
พบว่า ปริมาตรน้ำ�ที่ได้จากการใช้กระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่า
ค่าปริมาตรของน้ำ�ที่วัดด้วยกระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

สรุปผลการทดลอง
การตวงน้ำ�ปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตรมี
ความแม่นมากกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
43

ตัวอย่างผลการออกแบบและเขียนรายงานที่ 2

กิจกรรม 1.2 การออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัด


ปริมาตรน้ำ�ด้วยกระบอกตวงทีม ่ ีขนาดต่างกัน

จุดประสงค์ของการทดลอง
เปรียบเทียบความแม่นของกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน

สมมติฐาน ปิเปตต์น้ำ�ปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร ลงในกระบอกขนาด 25 มิลลิลิตร จะวัด


ปริมาตรได้แม่นกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

ตัวแปรต้น ขนาดของกระบอกตวง
ตัวแปรตาม ความแม่นในการวัดปริมาตรน้ำ� 25.00 มิลลิลิตร
ตัวแปรควบคุม ปิเปตต์ ผู้ทำ�การทดลอง

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. น้ำ� 100 mL
วัสดุและอุปกรณ์
1. ปิเปตต์ขนาด 25 mL 1 อัน
2. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
3. กระบอกตวงขนาด 25 mL 3 อัน
4. กระบอกตวงขนาด 50 mL 3 อัน

วิธีการทดลอง
1. เทน้ำ�กลั่นปริมาตร 100 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร
2. ปิเปตต์น้ำ�ด้วยปิเปตต์ขนาด 25 มิลลิลิตร ลงในกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร อันที่
หนึ่ง อ่านปริมาตรและบันทึกผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
44

3. ทำ�การทดลองซ้ำ�ในข้อ 2 โดยเปลี่ยนเป็นกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร อันที่สองและ


สาม
4. คำ�นวณค่าปริมาตรเฉลี่ยของน้ำ�ที่วัดได้จากกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร
5. ทำ�การทดลองซ้ำ�ในข้อ 2-4 โดยเปลี่ยนจากกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร เป็น
กระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร
6. นำ�ค่าปริมาตรของน้ำ�ที่คำ�นวณได้จากการใช้กระบอกตวงขนาด 25 และ 50 มิลลิลิตร
มาเปรียบเทียบความแม่นของการวัด

ผลการทดลอง

ปริมาตรที่อ่านได้จาก ปริมาตรที่อ่านได้จาก
กระบอกตวงขนาด กระบอกตวงขนาด
25 มิลลิลิตร (mL) 50 มิลลิลิตร (mL)

ครั้งที่ 1 25.0 24.8


ครั้งที่ 2 24.9 24.7

ครั้งที่ 3 25.0 24.8

เฉลี่ย 25.0 24.8

อภิปรายผลการทดลอง
การวัดปริมาตรของน้ำ�ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า ปริมาตร
เฉลี่ยของน้ำ�ที่วัดได้เท่ากับ 25.0 มิลลิลิตร ขณะที่การวัดปริมาตรของน้ำ�ด้วยกระบอกตวง
ขนาด 50 มิลลิลิตร 3 ครั้ง พบว่า ปริมาตรเฉลี่ยของน้ำ�ที่วัดได้เท่ากับ 24.8 มิลลิลิตร
ปริมาตรน้ำ�ที่ได้จากการปิเปตต์ คือ 25.00 มิลลิลิตร เมื่อใช้กระบอกตวงขนาด
25 มิลลิลิตร ปริมาตรเฉลี่ยของน้ำ�ที่วัดได้จะใกล้เคียงกับปริมาตรที่ได้จากการใช้ปิเปตต์
มากกว่าการใช้กระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
45

สรุปผลการทดลอง
การวัดน้ำ�ปริมาตร 25.00 มิลลิลิตร ด้วยกระบอกตวงขนาด 25 มิลลิลิตรมีความแม่น
มากกว่ากระบอกตวงขนาด 50 มิลลิลิตร

5. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
จิตวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากการทำ�กิจกรรมออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตร
น้ำ�ด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน นักเรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
จิตวิทยาศาสตร์ใดบ้าง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทใ่ี ช้ คือ การสังเกต การวัด การตัง้ สมมติฐาน การ
กำ�หนดและควบคุมตัวแปร การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล และการตีความหมาย
ข้อมูลและลงข้อสรุป
จิตวิทยาศาสตร์ทใ่ี ช้ คือ ความอยากรูอ
้ ยากเห็น ความซือ
่ สัตย์ ความรอบคอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
46

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการอภิปราย การทำ�การทดลอง และ
รายงานการทดลอง
2. ทักษะการสังเกต การวัด การตั้งสมมติฐาน การกำ�หนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง
การจัดกระทำ�และสือ
่ ความหมายข้อมูล และการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการทำ�การทดลอง
และรายงานการทดลอง
3. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ จากรายงานการทดลอง
4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา จากการทำ�การทดลองและรายงาน
การทดลอง
5. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการ
ทำ�การทดลอง
6. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความอยากรูอ
้ ยากเห็น ความซือ
่ สัตย์ และความรอบคอบ จากการสังเกต
พฤติกรรมในการทำ�การทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
47

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. แปลความหมายของสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS ต่อไปนี้ และ


ถ้านักเรียนต้องใช้สารเคมีเหล่านี้ในการทำ�ปฏิบัติการจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติมใด
นอกจากเสือ
้ คลุมปฏิบต
ั ก
ิ าร

อุปกรณ์ป้องกัน
ข้อที่ สัญลักษณ์ การแปลความหมายของสัญลักษณ์
เพิ่มเติม
วัตถุกัดกร่อน : กัดกร่อนผิวหนังและระคาย ถุงมือยาง
1.1 เคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ผ้าปิดจมูก
- ทำ�ปฏิกิริยากับโลหะทำ�ให้เกิดแก๊สไวไฟ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
แก๊สไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ : ไม่ไวไฟ ไม่ ไม่มีอุปกรณ์
1.2 เป็นพิษ แต่อาจเกิดระเบิดได้ หากภาชนะ ป้องกันเพิ่มเติม
บรรจุถูกกระแทกอย่างแรง หรือได้รับ แต่ระวังไม่ให้สาร
ความร้อนสูงจากภายนอก ได้รับความร้อนสูง
เป็นสารก่อมะเร็ง : กระตุ้นอาการแพ้ต่อ ถุงมือยาง
1.3 ระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง ผ้าปิดจมูก
เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์

เป็นอันตรายต่อชีวิต ถุงมือยาง
1.4 ผ้าปิดจมูก

มีความเป็นพิษเฉียบพลัน การกัดกร่อน : ถุงมือยาง


1.5 ระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา กระตุ้นอาการ ผ้าปิดจมูก
แพ้ต่อระบบทางเดินทางใจหรือผิวหนัง

เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ� ไม่มีอุปกรณ์
1.6 ป้องกันเพิ่มเติมแต่
ต้องระวังในการ
กำ�จัดหลังใช้งาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
48

2. เติมเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีถ
่ ก
ู ต้อง และเติมเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีไ่ ม่ถก
ู ต้อง

... ... 2.1 สามารถใช้แว่นสายตาทดแทนแว่นนิรภัยในการทำ�ปฏิบัติการเคมีได้


ไม่ควรใช้แว่นสายตาทดแทนแว่นนิรภัยในการทำ�ปฏิบัติการเคมี
... ... 2.2 ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องปฏิบัติการเคมีเสมอ
ควรสวมรองเท้ามิดชิดส้นเตี้ยเพื่อเข้าทำ�ปฏิบัติการเคมี
... ... 2.3 การทดสอบปฏิกิริยาเคมีในหลอดทดลองไม่ควรหันปากหลอดทดลองไปทาง
ที่มีคน
... ... 2.4 เมือ
่ สัมผัสบีกเกอร์หรือภาชนะทีร่ อ
้ น ควรใช้ยาสีฟน
ั ทาบริเวณทีส
่ ม
ั ผัสของร้อน
เมือ
่ สัมผัสบีกเกอร์หรือภาชนะทีร่ อ
้ น ควรปฐมพยาบาลโดยการแช่มอ
ื ในน้�ำ เย็น
หรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำ�จนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสำ�หรับ
ไฟไหม้และน้ำ�ร้อนลวก
... ... 2.5 หลังทำ�การทดลอง ควรทำ�ความสะอาดอุปกรณ์ และโต๊ะให้สะอาดก่อนออก
จากห้องปฏิบัติการเคมี
... ... 2.6 ถ้าทำ�สารเคมีหกบนเครื่องชั่ง ควรทำ�ความสะอาดทันทีโดยไม่จำ�เป็นต้องปิด
เครื่องชั่ง
ถ้าทำ�สารเคมีหกบนเครื่องชั่ง ต้องปิดเครื่องชั่งก่อนความสะอาด
... ... 2.7 การวาดกราฟแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นวิธีหนึ่งในการนำ�เสนอข้อมูล
เพื่อวิเคราะห์ผล
... ... 2.8 ควรสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการทุกครั้งที่ทำ�การทดลอง เพื่อป้องกันสารเคมีหก
รดถูกร่างกาย
... ... 2.9 เอกสารความปลอดภัยเป็นเอกสารทีบ
่ อกสมบัติ อันตราย และการปฐมพยาบาล
ของสารเคมีแต่ละชนิด
... ... 2.10 การห้ามรับประทานอาหารและเครือ
่ งดืม
่ ในห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารเคมี เป็นการป้องกัน
ไม่ให้ได้รับอุบัติเหตุจากการกลืนกินสารเคมี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
49

3. จากรูปให้นก
ั เรียนระบุวา่ บุคคลใดบ้างทีป
่ ฏิบต
ั ไิ ม่ถก
ู หลักความปลอดภัยในห้องปฏิบต
ั ก
ิ าร
พร้อมระบุว่าบุคคลนั้นปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องในเรื่องใด

A
C

B coffee

E
G

บุคคลที่ปฏิบัติไม่ถูกหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ คือ B C D E และ G


โดย B สูดดมสารเคมีโดยตรง ควรใช้มือโบกให้ไอสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
C ไม่รวบผมให้เรียบร้อย เมื่อทำ�ปฏิบัติการจึงทำ�ให้เปลวไฟติดปลายผม
D ดื่มน้ำ�ในห้องปฏิบัติการ
E วิ่งในห้องปฏิบัติการจนทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุทำ�สารเคมีรดใส่เพื่อน
G รับประทานอาหารในห้องปฏิบัติการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
50

4. เติมเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีถ
่ ก
ู ต้อง และเครือ
่ งหมาย หน้าข้อความทีไ่ ม่ถก
ู ต้อง

... ... 4.1 ข้างขวดน้ำ�ดื่มยี่ห้อหนึ่ง ระบุว่าปริมาตรน้ำ�ภายในขวดเท่ากับ 0.6 ลิตร


หมายความว่า น้ำ�ดื่มในขวดนั้นมีน้ำ�ปริมาตร 600 มิลลิลิตร
... ... 4.2 ใช้ปเิ ปตต์แบบปริมาตรขนาด 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปิเปตต์สารละลาย A ถ่ายลง
ในบีกเกอร์ สารละลาย A ในบีกเกอร์มีปริมาตรเท่ากับ 10.00 มิลลิลิตร
... ... 4.3​​​ สารละลาย B ในขวดกำ�หนดปริมาตรขนาด 250 มิลลิลิตร หมายความว่า
เมื่อเทสารละลาย B ออกมาใส่บีกเกอร์สามารถวัดปริมาตรได้เท่ากับ 250
มิลลิลิตร
สารละลาย B ในขวดกำ�หนดปริมาตรขนาด 250 มิลลิลิตร หมายความว่า
ปริมาตรสารละลาย B ทีบ
่ รรจุในขวดกำ�หนดปริมาตรเท่ากับ 250.00 มิลลิลต
ิ ร
... ... 4.4 ในการไขสารละลายออกจากบิวเรตต์ จะอ่านเลขทศนิยมของปริมาตรของ
สารละลายได้ 2 ตำ�แหน่งเสมอ
... ... 4.5 เมือ
่ ตวงสารละลาย C โดยใช้กระบอกตวงให้มป
ี ริมาตร 100.00 มิลลิลต
ิ ร แล้วเท
ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร จะสามารถอ่านปริมาตร์ของสารละลาย C
ได้เท่ากับ 100.00 มิลลิลิตร
ตวงสารละลาย C โดยใช้กระบอกตวงให้มีปริมาตร 100.00 มิลลิลิตร แล้วเท
สารละลาย C ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร จะสามารถอ่านปริมาตร
ของสารละลาย C ได้เท่ากับ 100 มิลลิลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
51

5. ถ้าใช้อุปกรณ์ 3 ชนิด ตวงน้ำ�ปริมาตร 15.00 มิลลิลิตร แล้วชั่งด้วยเครื่องชั่ง โดยแต่ละ


อุปกรณ์ ทำ�การทดลองซ้ำ� 5 ครั้ง ได้ข้อมูลการทดลองดังต่อไปนี้

มวลน้ำ�ที่ชั่งได้ (g)
ครั้งที่
อุปกรณ์ A อุปกรณ์ B อุปกรณ์ C

1 15.12 14.88 15.02

2 15.09 14.93 14.86

3 14.98 14.92 15.37

4 14.95 15.12 15.20

5 15.02 14.81 15.41

หมายเหตุ ทำ�การตวงน้�ำ ทีอ


่ ณ
ุ หภูมิ 30.0 องศาเซลเซียส น้�ำ มีความหนาแน่น 0.995646
กรัมต่อมิลลิลต
ิ ร
ให้นักเรียนเขียนกราฟความสัมพันธ์โดยแกน x เป็นครั้งที่ชั่ง และแกน y เป็นมวลน้ำ�ที่
ชั่งได้ (g) และตอบคำ�ถามต่อไปนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1
52

คำ�นวณาหามวลของน้ำ�ปริมาตร 15.00 มิลลิตร ที่อุณหภูมิ 30.0 องศาเซลเซียส ได้ดังนี้

0.995646 g
มวลของน้ำ� = 15.00 mL ×
1 mL

= 14.93 g

5.1 อุปกรณ์ใดมีความเที่ยงมากที่สุด
อุปกรณ์ A
5.2 อุปกรณ์ใดมีความแม่นมากที่สุด
อุปกรณ์ B
5.3 ถ้าต้องใช้อุปกรณ์ในการทำ�การทดลอง เพื่อให้ได้ความถูกต้องมากที่สุด ควรเลือก
อุปกรณ์ใด พร้อมทั้งให้เหตุผล
อาจเป็นได้ทั้ง A และ B
หากนักเรียนเลือกตอบ A ควรให้เหตุผลว่า เนื่องจาก A มีความเที่ยง ข้อมูล
ที่ได้แต่ละครั้งจึงมีความใกล้เคียงกัน หากใช้อุปกรณ์ A วัดค่าจากตัวอย่าง
มาตรฐานเพื่อทราบความแตกต่างระหว่างค่าจริงกับค่าที่ได้จากการวัด จะสามารถ
ใช้อุปกรณ์ A ในการวัดตัวอย่างอื่น ๆ ได้
หากนักเรียนเลือกตอบ B ควรให้เหตุผลว่า เนื่องจาก B มีความแม่นแต่ไม่มี
ความเที่ยง เมื่อจะใช้อุปกรณ์ B ในการวัดควรทำ�การวัดหลาย ๆ ซ้ำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
53

บทที่ 2

อะตอมและสมบัติของธาตุ
ipst.me/7703

ผลการเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูล สมมติฐาน การทดลองหรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอ


แบบจำ�ลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำ�ลองอะตอม
2. เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และระบุจำ�นวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของ
อะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ รวมทั้งบอกความหมายของไอโซโทป
3. อธิบายและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อยเมื่อ
ทราบเลขอะตอมของธาตุ
4. ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของกลุ่มธาตุธาตุเรพรีเซนเททีฟ และ
ธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ
5. วิเคราะห์และบอกแนวโน้มสมบัติของกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ ตามหมู่และตามคาบ
6. บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุ
เรพรีเซนเททีฟ
7. อธิบายสมบัติและคำ�นวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี
8. สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำ�ธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
54

การวิิเคราะห์ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูล สมมติฐาน การทดลองหรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอ
แบบจำ�ลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำ�ลองอะตอม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความหมายของแบบจำ�ลองอะตอม พร้อมทั้งบอกสาเหตุที่ทำ�ให้
แบบจำ�ลองอะตอมเปลี่ยนแปลง
2. อธิบายแบบจำ�ลองอะตอมของดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และแบบกลุ่มหมอก

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต 1. การสือ
่ สารสารสนเทศ และ 1. ความใจกว้าง
2. การลงความเห็นจาก การรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. การใช้วิจารณญาณ
ข้อมูล 2. ความร่วมมือ การทำ�งาน 3. ความเชื่อและค่านิยมที่
3. การสร้างแบบจำ�ลอง เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
55

ผลการเรียนรู้
2. เขียนสัญลักษณ์นวิ เคลียร์ของธาตุ และระบุจ�ำ นวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของ
อะตอมจากสัญลักษณ์นวิ เคลียร์ รวมทัง้ บอกความหมายของไอโซโทป
ประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนและแปลความหมายสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
2. อธิบายความหมายและยกตัวอย่างไอโซโทปของธาตุ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การตีความหมายข้อมูล 1. ความร่วมมือ การทำ�งาน -
และลงข้อสรุป เป็นทีมและภาวะผู้นำ�

ผลการเรียนรู้
3. อธิบายและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อยเมื่อ
ทราบเลขอะตอมของธาตุ
ประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความแตกต่างของระดับพลังงานหลัก พลังงานย่อย และออร์บิทัล
2. จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมเมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ พร้อมทั้งระบุ หมู่ คาบ และกลุ่ม
ของธาตุในตารางธาตุ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- 1. การสือ
่ สารสารสนเทศ และ -
การรูเ้ ท่าทันสือ

2. ความร่วมมือ การทำ�งาน
เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
56

ผลการเรียนรู้
4. ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึง่ โลหะ ของกลุม
่ ธาตุเรพรีเซนเททีฟ และธาตุ
แทรนซิชน
ั ในตารางธาตุ
ประสงค์การเรียนรู้
1. บอกแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่จนได้เป็น
ตารางธาตุ พร้อมทั้งระบุปัญหาของการจัดกลุ่มธาตุ
2. จำ�แนกธาตุเป็นกลุ่มโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ หรือเป็นกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟหรือธาตุ
หมู่หลัก และธาตุแทรนซิชัน หรือตามการจัดเรียงอิเล็กตรอน เมื่อทราบเลขอะตอม

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การจำ�แนกประเภท 1. ความร่วมมือ การทำ�งาน -
2. การตีความหมายข้อมูล เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ
และลงข้อสรุป
3. การสร้างแบบจำ�ลอง

ผลการเรียนรู้
5. วิเคราะห์และบอกแนวโน้มสมบัติของกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ ตามหมู่และตามคาบ
ประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะและสรุปแนวโน้มสมบัติต่าง ๆ ของธาตุตามหมู่และคาบเกี่ยวกับขนาดอะตอม รัศมี
ไอออน พลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน พร้อมทั้ง
อธิบายเหตุผลประกอบ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การตีความหมายข้อมูล 1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1. การใช้วิจารณญาณ ความ
และลงข้อสรุป และการแก้ปัญหา มุ่งมั่นอดทน
2. การสื่อสารสารสนเทศและ
การรู้เท่าทันสื่อ
3. ความร่วมมือ การทำ�งาน
เป็นทีมและภาวะผู้นำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
57

ผลการเรียนรู้
6. บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุ
เรพรีเซนเททีฟ
ประสงค์การเรียนรู้
1. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของโลหะเรพรีเซนเททีฟหรือโลหะหมู่หลัก และโลหะ
แทรนซิชัน

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต 1. ความร่วมมือ การทำ�งาน 1. การใช้วิจารณญาณ
2. การตั้งสมมติฐาน เป็นทีมและภาวะผู้นำ�
3. การกำ�หนดนิยามเชิง
ปฏิบัติการ
4. การกำ�หนดและควบคุม
ตัวแปร
5. การทดลอง
6. การตีความหมายข้อมูล
และลงข้อสรุป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
58

ตัวชี้วัด
7. อธิบายสมบัตแ
ิ ละคำ�นวณครึง่ ชีวต
ิ ของไอโซโทปกัมมันตรังสี
ประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และรังสีแอลฟา รีงสีบีตา และรีงสีแกมมา
2. คำ�นวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จำ�นวน 1. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 1. ความใจกว้าง
การรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. การใช้วิจารณญาณ
2. การคิดอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ 3. ความรอบคอบ
และการแก้ปัญหา 4. การเห็นคุณค่าทาง
3. ความร่วมมือ การทำ�งาน วิทยาศาสตร์
เป็นทีมและภาวะผู้นำ� 5. คุณธรรมและจริยธรรมที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
ตัวชี้วัด
8. สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำ�ธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทัง้ ผลกระทบต่อสิง่ มีชวี ต
ิ และ
สิง่ แวดล้อม
ประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำ�ธาตุมาใช้ประโยชน์รวมทั้งผลกระทบต่อ สิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อม
ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์
ทางวิทยาศาสตร์
- 1. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 1. ความอยากรู้อยากเห็น
การรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. ความใจกว้าง
2. การคิดอย่างมีวจ
ิ ารณญาณ 3. ความมุ่งมั่นอดทน
และการแก้ปัญหา
3. ความร่วมมือ การทำ�งาน
เป็นทีมและภาวะผู้นำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
59

ผังมโนทัศน์
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ

จำ�นวนโปรตอน จำ�นวนโปรตอน + นิวตรอน รัทเทอร์ฟอร์ด

ทอมสัน โบร์
เลขอะตอม เลขมวล

ดอลตัน กลุม
่ หมอก

สัญลักษณ์นวิ เคลียร์

อะตอม แบบจำ�ลองอะตอม
อนุภาคในอะตอม

อะตอมและสมบัตข
ิ องธาตุ

โปรตอน นิวตรอน อโลหะ

อิเล็กตรอน กึง่ โลหะ


ธาตุ

ตารางธาตุ โลหะ

ธาตุกม
ั มันตรังสี

กลุม
่ ธาตุ กลุม
่ ธาตุ
หมูห
่ ลัก แทรนซิชน

18 หมู่ 7 คาบ ประโยชน์/โทษ

แอลฟา บีตา แกมมา อืน


่ ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
60

สาระสำ�คัญ

แบบจำ�ลองสร้างขึ้นจากผลการทดลองและองค์ความรู้ที่มีอยู่ขณะนั้น ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมี
ข้อมูลหรือผลการทดลองใหม่ นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีสร้างแบบจำ�ลองเพื่อศึกษาสิ่งที่มองไม่เห็นรวมถึง
เรื่องของอะตอม โดยจะใช้ผลการทดลองและความรู้ที่ค้นพบแล้วเป็นพื้นฐานในการศึกษาสิ่งที่สนใจ
ต่อไป เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ แนวคิดหรือแบบจำ�ลองเกี่ยวกับอะตอมเริ่มจากดอลตัน ทอมสัน
รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และแบบกลุ่มหมอก ซึ่งทำ�ให้ได้รายละเอียดของอะตอมและโอกาสที่จะพบ
อนุภาคในอะตอม จำ�นวนอนุภาคดังกล่าวนี้อาจทราบได้จากการแปลความหมายสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ของธาตุ
การที่นักวิทยาศาสตร์พบธาตุเป็นจำ�นวนมาก จำ�เป็นต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติต่าง ๆ
ของธาตุแล้วนำ�มาจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทั้งนี้ตารางธาตุที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแบ่งธาตุเป็น 7
คาบ 18 หมู่ โดยหมู่ธาตุยังแยกเป็นหมู่ย่อย A ซึ่งเรียกว่ากลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟหรือกลุ่มธาตุหมู่
หลัก และ B ซึ่งเรียกว่ากลุ่มธาตุแทรนซิชัน กลุ่มธาตุหมู่หลักมีแนวโน้มสมบัติบางประการ เช่น ขนาด
อะตอม ขนาดไอออน พลังงานไอออไนเซชัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน และอิเล็กโทรเนกาติวิตี
ตามหมู่และคาบ ส่วนกลุ่มธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายกันตามคาบมากกว่าตามหมู่
ธาตุ กั ม มั น ตรั ง สี มี นิ ว เคลี ย สไม่ เ สถี ย รจึ ง สลายตั ว และแผ่ รั ง ได้ รั ง สี ที่ แ ผ่ อ อกจากธาตุ
กัมมันตรังสีมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน อัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
บอกเป็นครึ่งชีวิต ซึ่งหมายถึงระยะเวลาที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่ง
ของปริมาณเดิม การเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีอาจเป็นการสลายตัวของธาตุ
ที่มีมวลสูงได้เป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า หรือเกิดการรวมตัวของธาตุเบาเป็นนิวเคลียสใหม่ที่
มีมวลสูงกว่าเดิม มนุษย์นำ�ไอโซโทปกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น การเกษตร
อุตสาหกรรม การแพทย์ ธรณีวิทยา

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 25 ชั่วโมง
2.1 แบบจำ�ลองอะตอม 5 ชั่วโมง
2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป 2 ชั่วโมง
2.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 4 ชั่วโมง
2.4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก 5 ชั่วโมง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
61

2.5 ธาตุแทรนซิชัน 3 ชั่วโมง


2.6 ธาตุกัมมันตรังสี 4 ชั่วโมง
2.7 การนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต 2 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

อนุภาคในอะตะอม ธาตุและสัญลักษณ์ธาตุ

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. สารที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้เป็นธาตุหรือสารประกอบ

ลำ�ดับ สาร ธาตุ สารประกอบ

1 Ca
2 H2O

3 He

4 Fe

5 H2

6 O3
7 NaCl

8 C6H12O6

9 โซดาไฟ

10 โครเมียม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
62

2. แบบจำ�ลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ในยุคหนึ่งเป็นดังรูป จงนำ�คำ�ที่กำ�หนดให้ เติมลงใน


ช่องว่างให้ถูกต้อง

นิวตรอน อิเล็กตรอน นิวเคลียส บวก ลบ

อิเล็กตรอน นิวเคลียส

ประกอบด้วย
มีประจุไฟฟ้า

ลบ โปรตรอน นิวตรอน
มีประจุไฟฟ้า

บวก เป็นกลางทางไฟฟ้า

3. ทำ�เครือ
่ งหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และทำ�เครื่องหมาย หน้าข้อความที่
ไม่ถูกต้อง

... ... 3.1 ธาตุเป็นสารผสม พบได้ทั้งสถานะ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส


ธาตุเป็นสารบริสุทธิ์
... ... 3.2 โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน เป็นอนุภาคที่พบในอะตอมของธาตุ
... ... 3.3 อิเล็กตรอนมีประจุบวก
อิเล็กตรอนมีประจุลบ
... ... 3.4 ธาตุบางชนิดสามารถแผ่รังสีได้
... ... 3.5 ทองแดงเป็นโลหะที่สามารถนำ�ไฟฟ้าได้และนิยมนำ�มาทำ�สายไฟฟ้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
63

2.1 แบบจำ�ลองอะตอม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความหมายของแบบจำ�ลองอะตอมพร้อมทั้งบอกสาเหตุที่ทำ�ให้
แบบจำ�ลองอะตอมมีการเปลี่ยนแปลง
2. อธิบายแบบจำ�ลองอะตอมของดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และแบบกลุ่มหมอก

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

รั ง สี แ อ ล ฟ า ส า ม า ร ถ ส ะ ท้ อ น ก ลั บ ไ ด้ โ ด ย ตามแบบจำ � ลองอะตอมของทอมสั น ​​​​​​​​​​รั ง สี


ประจุบวกที่กระจายอยู่ทั่วไปตามแบบจำ�ลอง แอลฟามีโมเมนตัมสูงกว่าประจุบวกที่กระจาย
อะตอมของทอมสันนั้น เมื่อรังสีแอลฟาพุ่งเข้า อยู่ในอะตอมทำ�ให้รังสีแอลฟาไม่สะท้อนกลับ
ชนจะสะท้อนกลับได้ เมื่อเกิดการชนกับประจุบวก

สเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนในช่วงคลื่นที่ตา สเปกตรั ม ของธาตุ ไ ฮโดรเจนในช่ ว งคลื่ น ที่


มองเห็นเกิดจากการคายพลังงานของอิเล็กตรอน ตามองเห็ น เกิ ด จากการคายพลั ง งานของ
จากสถานะกระตุ้นลงมาที่สถานะพื้น อิ เ ล็ ก ตรอนจากสถานะกระตุ้ น ลงมาที่ ร ะดั บ
พลังงานที่ต่ำ�กว่าซึ่งไม่ใช่สถานะพื้น แต่เป็น
ช่วงระดับพลังงานที่ตามองเห็น

จุดในแบบจำ�ลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกแทน จุดในแบบจำ�ลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกแทน
อิเล็กตรอน ทำ�ให้เข้าใจว่ามีอิเล็กตรอนจำ�นวน โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน กลุ่มหมอกทึบมี
มากอยู่รอบนิวเคลียส โอกาสพบอิเล็กตรอนได้มากกว่ากลุม
่ หมอกจาง

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. แหล่งสืบค้นข้อมูล เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
2. สถานที่ที่ปราศจากการรบกวนของแสง หรือมีแสงรบกวนน้อย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
64

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างกระบวนการและทักษะที่ใช้ในการทดลองหรือการทำ�โครงงาน
วิทยาศาสตร์ ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่ากระบวนที่ใช้ในการทดลองหรือการทำ�โครงงานวิทยาศาสตร์
เช่น การวางแผนการทดลอง การศึกษาและรวบรวมข้อมูล การดำ�เนินงาน การวิเคราะห์
ข้อมูล การนำ�เสนอข้อมูล ส่วนทักษะที่ใช้ในการทดลองหรือการทำ�โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
การสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทำ�การทดลอง การจัดกระทำ�ข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและ
ลงข้อสรุป จากนั้นครูโยงเข้าสู่บทเรียนโดยอธิบายให้นักเรียนทราบว่า การทำ�งานของนักวิทยาศาสตร์
เช่น การศึกษาโครงสร้างอะตอม ต้องใช้กระบวนการหรือทักษะต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่กล่าวมา
2. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดของดิโมคริตุสที่ว่า ถ้าแบ่งสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ
จะได้หน่วยย่อยที่ไม่สามารถแบ่งให้เล็กลงได้อีก หน่วยย่อยนี้เรียกว่า อะตอม จากนั้นอภิปรายร่วมกัน
ถึงวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมซึ่งมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วย
ตาเปล่า แล้วนำ�เข้าสู่กิจกรรม 2.1 โดยกิจกรรมนี้ต้องการฝึกกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสารข้อมูลและการทำ�งานร่วมกันเป็นกลุ่ม ไม่เน้นคำ�ตอบว่า
ถูกหรือผิด แต่ให้พิจารณาการให้เหตุและผลที่สอดคล้องกับผลการทดลอง และเพื่อให้สอดคล้องกับ
วิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาหาข้อมูลกับสิ่งที่มองไม่เห็น ครูจึงไม่ต้องเฉลยสิ่งที่อยู่ในกระป๋อง
ปริศนา แม้ว่านักเรียนจะทำ�กิจกรรมเสร็จแล้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
65

กิจกรรม 2.1 กระป๋องปริศนา

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. สร้างแบบจำ�ลองเพื่ออธิบายสิ่งที่มองไม่เห็น
2. อธิบายสาเหตุที่ทำ�ให้องค์ความรู้หรือแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เกิดการเปลี่ยนแปลง

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

1. กระป๋องปริศนา 1 กระป๋อง
2. กระดาษ A4 5-10 แผ่น

การเตรียมล่วงหน้า
จัดเตรียมกระป๋องปริศนาไว้ล่วงหน้าเท่ากับจำ�นวนกลุ่มของนักเรียน โดยใช้อุปกรณ์
และวิธีการทำ�ดังต่อไปนี้

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

1. แกนกระดาษทิ ช ชู ห รื อ กระป๋ อ ง 1 อัน


ทรงสูง ความยาวประมาณ 15 cm

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
66

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

2. เชือกขาว (ประมาณเบอร์ 18) 2 เส้น


ความยาวประมาณเส้นละ 20 cm
3. หนังยางหรือห่วงพลาสติก 1 เส้น/ห่วง
4. กระดาษปิดแกนกระดาษทิชชูหรือ 2 แผ่น
กระป๋อง (สีทึบ)
5. กาว
6. กรรไกร
7. อุปกรณ์สำ�หรับเจาะรู

ลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกระป๋องปริศนา เป็นดังรูป

หนังยาง เชือก

ลักษณะภายนอกของกระป๋อง ลักษณะภายในของกระป๋อง

หมายเหตุ
1. ลักษณะและสิ่งของที่อยู่ในกระป๋องปริศนาอาจเตรียมตามตัวอย่าง หรือมีรูปแบบอื่น ๆ
เช่น ใช้ลวดเสียบกระดาษแทนหนังยาง หรือนำ�เชือกมาพันกันโดยไม่ใช้หนังยาง ที่
สามารถใช้ฝึกกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ได้
2. ความยาวเชือกและระยะห่างระหว่างรูด้านบนกับรูด้านล่างจะมีผลต่อการสังเกต

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
67

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ใช้คำ�ถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายร่วมกันว่า จะมีวิธีการอย่างไรในการศึกษา
ลักษณะของสิ่งที่มองไม่เห็น และสัมผัสด้วยมือไม่ได้
2. แนะนำ�วิธีทดลองและเน้นให้นักเรียนทำ�ตามลำ�ดับขั้นตอนที่ระบุไว้ในกิจกรรมอย่าง
เคร่งครัด และห้ามเปิดกระป๋องปริศนาหรือกระทำ�การใด ๆ ให้ชำ�รุดจนมองเห็นสิ่งที่อยู่
ภายในกระป๋อง
3. ให้นักเรียนซักถามในประเด็นที่สงสัยก่อนเริ่มทำ�กิจกรรม
4. ถ้ามีเวลาและอุปกรณ์เพียงพอ ครูอาจให้นักเรียนลองสร้างแบบจำ�ลองกระป๋องปริศนา
ตามข้อค้นพบของตนเอง

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม

การกระทำ� ผลที่สังเกตได้

1. การสังเกตกระป๋องปริศนา ทำ�ด้วยกระดาษแข็งสีน้ำ�ตาล มีเชือกยื่น


ออกมา 4 เส้น ด้านบน 2 เส้นและด้าน
ล่าง 2 เส้น

2. ดึงปลายเชือกด้านล่างซ้าย ล่าง ปลายเชือกด้านตรงข้ามจะเคลื่อนที่ตาม


ขวา และดึงปลายเชือกทั้งสองด้าน แรงดึง ถ้าดึงปลายเชือกทั้งสองด้านพร้อม
พร้อมกัน กัน เชือกจะตึงตัว

3. ดึงปลายเชือกด้านบนซ้าย บน ปลายเชือกด้านตรงข้ามจะเคลื่อนที่ตาม
ขวา และดึงทั้งปลายเชือกทั้งสอง แรงดึง ถ้าดึงปลายเชือกทั้งสองด้านพร้อม
ด้านพร้อมกัน กัน เชือกจะตึงตัว

4. ดึงปลายเชือกด้านบนขวาและด้าน ปลายเชือกด้านตรงข้ามจะเคลื่อนที่ตาม
ล่างซ้ายพร้อมกัน แรงดึง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
68

อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม
1. นำ � แบบจำ � ลองมาใช้ เ มื่ อ ต้ อ งการศึ ก ษาหรื อ อธิ บ ายปรากฏการณ์ ต่ า ง ๆ หรื อ เมื่ อ
ต้องการสื่อสารเนื้อหาหรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม หรือยากต่อการเข้าใจ ให้เข้าใจได้
ง่ายขึ้น
2. แบบจำ�ลองหรือแนวคิดในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามี
การค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ที่สามารถนำ�มาอธิบายเนื้อหาเรื่องราวได้ถูกต้อง สอดคล้องกับ
ผลการทดลอง หรือช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบจำ�ลองเดิม
3. รูปวาดแบบจำ�ลองของแต่ละกลุม
่ อาจไม่เหมือนกัน ขึน
้ อยูก
่ บ
ั ลำ�ดับขัน
้ และการแปลผล
4. กิจกรรมนี้เชื่อมโยงกับกระบวนการทำ�งานของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการแสวงหา
ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การทำ�งานอย่าง
มีระบบ และใช้ทักษะการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการทำ�กิจกรรม
1. นำ�แบบจำ�ลองมาใช้เมื่อต้องการศึกษาหรืออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ
2. แบบจำ�ลองรวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ส ามารถเปลี่ ย นแปลงได้ ตามข้ อมู ลใหม่ ที่
ค้นพบ

3. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงวิธีการที่ใช้ในการศึกษากระป๋องปริศนา ไปสู่กระบวนการ
สื บ เสาะหาความรู้ แ ละใช้ ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ เ พื่ อ หาองค์ ค วามรู้ ใ หม่ ​​​​​​​​​​​​​เช่ น ​​​​​​​​​การ
สังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดลอง การรวบรวมข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การ
สร้างแบบจำ�ลอง
4. ครูตั้งคำ�ถามให้ร่วมกันอภิปรายว่า นักวิ ทยาศาสตร์มี ว ิ ธ ี ก ารอย่า งไรในการศึ ก ษาและ
อธิ บ ายโครงสร้างอะตอมซึ่งมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าซึ่งควรได้ข้อสรุปร่วมกัน
ว่า ต้องทำ�การศึกษาโดยอาศัยการสร้างแบบจำ�ลองอะตอมที่สอดคล้องกับผลการทดลอง และแบบ
จำ�ลองที่สร้างขึ้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลและผลการทดลองที่เพิ่มขึ้น
5. ให้ น ัก เรี ย นแต่ละกลุ่มสืบค้นข้ อ มู ล เกี่ยวกับที่ ม าและลั ก ษณะของแบบจำ�ลองอะตอม
ของดอลตั น จากนั้ น อภิ ป รายร่วมกันและนำ�เสนอแบบจำ � ลองที่กลุม
่ ของตนคิดว่าสอดคล้องกับ
ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน พร้อมให้เหตุผลประกอบ โดยแบบจำ�ลองทีน
่ ก
ั เรียนเสนออาจเป็นรูปสามมิติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
69

ใด ๆ เช่น ทรงกลมขนาดต่าง ๆ กัน หรือรูปทรงอื่น ๆ เนื่องจากแต่ละธาตุมีลักษณะเฉพาะตัว แล้วจึง


เปรียบเทียบกับแบบจำ�ลองของดอลตัน ในรูป 2.1
6. ให้ นั กเรี ยนร่ วมกัน อภิ ปรายจากคำ � ถามที ่ว ่า ในปัจจุบันทราบว่าอะตอมของธาตุชนิด
เดียวกันอาจมีมวลไม่เท่ากัน และอะตอมมีอนุภาคโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนเป็น
องค์ประกอบ ข้อมูลเหล่านีไ้ ม่สอดคล้องกับข้อความใดในแบบจำ�ลองของดอลตัน ซึง่ คำ�ตอบของคำ�ถาม
จะนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ว่าแบบจำ�ลองอะตอมของดอลตันไม่ถูกต้องจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสร้าง
แบบจำ�ลองอะตอมอื่น ๆ ต่อไป
7. ครูให้ความรูเ้ กีย
่ วกับหลอดรังสีแคโทดว่า เป็นหลอดแก้วทีม
่ แ
ี ก๊สความดันต่�ำ บรรจุอยูภ
่ ายใน
มีขั้วไฟฟ้าต่อกับแหล่งกำ�เนิดไฟฟ้าศักย์สูง เมื่อทำ�ให้ขั้วไฟฟ้าทั้งสองขั้วมีความต่างศักย์สูงขึ้น แก๊ส
จะแตกตัวเป็นอะตอมและมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้
8. ให้นักเรียนศึกษาการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทด ตามรูป 2.2 ก ข และ ค จากนั้นร่วมกัน
อภิปรายซึ่งควรได้ข้อสรุปว่ารังสีแคโทดเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบเนื่องจากเบนเข้าหาขั้วบวก
ในสนามไฟฟ้า รังสีแคโทดเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กได้ เมื่อปรับสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจน
แนวการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทดเป็นเส้นตรง จะทำ�ให้สามารถคำ�นวณอัตราส่วนของประจุต่อมวล
(e/m) ของอนุภาคในรังสีแคโทดได้

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติม
ในกรณีที่โรงเรียนมีหลอดรังสีแคโทด เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าศักย์สูง แท่งแม่เหล็ก และเครื่อง
กำ�เนิดสนามไฟฟ้า ครูอาจสาธิตหรือให้นักเรียนทดลองเกี่ยวกับหลอดรังสีแคโทด ดังนี้

1. จัดอุปกรณ์ดังรูป
ขั้วลบ (สายไฟสีดำ�)

หลอดรังสีแคโทด
เครื่องกำ�เนิด
ไฟฟ้าศักย์สูง

ที่ตั้งหลอดรังสีแคโทด

ขั้วบวก (สายไฟสีแดง)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
70

เมื่อเปิดเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า เมื่อนำ�แท่งแม่เหล็กเข้าใกล้หลอดรังสีแคโทด

2. เมื่อเปิดเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าจะสังเกตเห็นลำ�แสงเกิดขึ้นภายในหลอด
3. เมื่อนำ�แท่งแม่เหล็กเข้าใกล้หลอดรังสีแคโทด ลำ�แสงจะเบนได้

9. ครูตง้ั คำ�ถามว่า ผลการทดลองของทอมสัน ซึง่ พบว่าค่าประจุตอ


่ มวลของรังสีแคโทดมีคา่ คงที่
ไม่ขึ้นกับชนิดของแก๊สที่บรรจุในหลอดและโลหะที่ใช้ทำ�ขั้วไฟฟ้า นักเรียนแปลความหมายผล
การทดลองนี้ได้อย่างไร ซึ่งนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่าอนุภาคของรังสีแคโทดเป็นองค์ประกอบของสาร
ทุกชนิด ซึ่งอนุภาคนี้ภายหลังเรียกว่าอิเล็กตรอน จากนั้นครูเชื่อมโยงให้นักเรียนทราบว่าการค้นพบ
อิเล็กตรอนในอะตอม ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของดอลตันที่ว่าอะตอมแบ่งแยกไม่ได้
10. ครูให้นักเรียนลองเขียนแบบจำ�ลองอะตอมตามข้อมูลที่นักเรียนได้เรียนรู้ โดยครูอาจให้
ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า (แบบจำ�ลองที่นักเรียนเสนอไม่จำ�เป็นต้องถูกต้อง) จาก
นั้นให้นำ�แบบจำ�ลองของนักเรียนไปเปรียบเทียบกับแบบจำ�ลองอะตอมของทอมสัน ในรูป 2.3 และ
ร่วมกันสรุปรายละเอียดแบบจำ�ลองอะตอมของทอมสัน
11. ครูให้ความรู้ว่า นอกจากทอมสันแล้วยังมีรัทเทอร์ฟอร์ดซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกท่านที่
ได้ทำ�การทดลองเพื่อศึกษาโครงสร้างอะตอม จากนั้นถามคำ�ถามว่า รัทเทอร์ฟอร์ดทำ�การทดลองเพื่อ
ศึกษาโครงสร้างอะตอมอย่างไร และผลการทดลองที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับแนวคิดของทอมสัน
เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 2.2
12. ให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 2.2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
71

กิจกรรม 2.2 การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายการทดลองเพื่อศึกษาโครงสร้างอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
2. อธิบายผลการค้นพบของรัทเทอร์ฟอร์ดว่าสนับสนุนหรือขัดแย้งแนวคิดของทอมสัน

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

1. กระดาษปรู๊ฟ 1 แผ่น
2. ปากกาเมจิก 1 ด้าม
3. เทปใส ใช้ร่วมกัน

การเตรียมล่วงหน้า
1. แหล่งสืบค้น เช่น ห้องคอมพิวเตอร์
2. เครื่องพิมพ์

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ครูอาจให้คำ�สำ�คัญในการสืบค้นกับนักเรียน เช่น การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด การยิง
อนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำ�บาง ๆ
2. ครูแนะนำ�นักเรียนว่าการสืบค้นข้อมูลต้องสืบค้นจากหลายแหล่ง และควรอ้างอิงแหล่ง
ที่มาทุกแหล่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
72

3. ในช่วงการนำ�เสนอโปสเตอร์ ครูควรแนะนำ�ให้นักเรียนวางแผนการทำ�งานกับสมาชิกใน
กลุ่มและต้องสลับบทบาท เช่น สมาชิกในกลุ่มมี 5 คน ในช่วง 5 นาทีแรก อาจมีคน
ประจำ�โปสเตอร์ 1 คน ส่วนที่เหลืออีก 4 คนอาจไปชมการนำ�เสนอของกลุ่มอื่นพร้อม
แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยกระจายไปคนละกลุ่ม พอครบ 5 นาที ให้สลับบทบาท

อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม
1. รัทเทอร์ฟอร์ดทำ�การทดลองเพื่อศึกษาโครงสร้างอะตอม โดยการยิงอนุภาคแอลฟา ซึ่ง
มีประจุบวกไปยังแผ่นทองคำ�บาง ๆ และใช้ฉากเรืองแสงที่เคลือบด้วยซิงค์ซัลไฟด์โค้ง
เป็นวงล้อมรอบแผ่นทองคำ�เพื่อตรวจจับอนุภาคแอลฟา
2. ในการทดลองนี้ต้องทำ�แผ่นทองคำ�ให้เป็นแผ่นบาง ๆ เพื่อให้อะตอมของทองคำ�เรียงตัว
อยู่ในระนาบเดียว ไม่เกิดการซ้อนทับกันและเพื่อให้รังสีแอลฟาซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุ
บวกสามารถทะลุทะลวงผ่านได้
3. สมมติฐานของรัทเทอร์ฟอร์ดคือ ถ้าแบบจำ�ลองอะตอมของทอมสันถูกต้องจะต้องเกิด
การเรืองแสงบนฉากด้านหลังของแผ่นทองคำ�เท่านั้น แต่ผลการทดลองที่ได้จริงพบว่า
ส่วนใหญ่จะเกิดการเรืองแสงบนฉากที่อยู่บริเวณด้านหลังของแผ่นทองคำ� มีบางครั้ง
เกิดการเรืองแสงบริเวณด้านข้าง และมีการเรืองแสงบริเวณด้านหน้าของแผ่นทองคำ�
ด้วยแต่น้อยครั้ง ดังรูป ดังนั้นผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดจึงไม่สอดคล้องกับแบบ
จำ�ลองอะตอมของของทอมสัน

แผ่นทองคำ�บาง ๆ

แหล่งกำ�เนิดรังสีแอลฟา

ฉากเรืองแสง
ช่องสำ�หรับให้รังสีแอลฟาผ่าน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
73

4. จากผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด การเรืองแสงบริเวณด้านหน้าของแผ่นทองคำ�ซึ่งมี
สัดส่วนน้อยมาก อาจเป็นเพราะในอะตอมมีกลุ่มอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากแต่มีมวล
สูงกว่ารังสีแอลฟา ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า อนุภาคมีขนาดเล็กมากแต่มีมวลสูงนี้เรียก
ว่านิวเคลียส ส่วนกรณีที่ส่วนใหญ่เกิดการเรืองแสงบนฉากที่อยู่บริเวณด้านหลังของ
แผ่นทองคำ�เป็นไปได้ว่าภายในอะตอมมีที่ว่างอยู่เป็นบริเวณกว้าง โดยมีอิเล็กตรอนซึ่ง
เป็นอนุภาคที่กำ�หนดขอบเขตอะตอมอยู่ที่ผิวด้านนอก
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลในกิจกรรม การนำ�เสนอโปสเตอร์และการอภิปรายร่วมกันทั้ง
ห้อง เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มข้อมูลจากการสืบค้นที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังแก้ไข
องค์ความรู้ที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง (กรณีที่นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่นำ�เสนอ
ข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง)

สรุปผลการทำ�กิจกรรม
1. ผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่สอดคล้องกับแบบจำ�ลองอะตอมของทอมสัน
2. ผลการทดลองของรั ท เทอร์ ฟ อร์ ด นำ � ไปสู่ ข้ อ สรุ ป ที่ ว่ า อะตอมประกอบด้ ว ยนิ ว เคลี ย ส
ที่มีขนาดเล็กมากอยู่ภายในและมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และมีอิเล็กตรอนอยู่ล้อมรอบ

13. ให้นักเรียนเสนอแบบจำ�ลองอะตอมที่สอดคล้องกับผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด แล้ว


เปรียบเทียบแบบจำ�ลองของนักเรียนกับรูป 2.4 จากนั้นให้ศึกษาและสรุปสาระสำ�คัญของแบบจำ�ลอง
อะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด และครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้แบบจำ�ลองอธิบายผลการทดลอง
ของรัทเทอร์ฟอร์ด ตามรูป 2.5
14. ครูให้นักเรียนอภิปรายเพื่อทบทวนความรู้เรื่องโครงสร้างอะตอมตามแบบจำ�ลองของ
รั ท เทอร์ ฟ อร์ ด ​​​​​​​​​ซึ่ ง ควรได้ ข้ อ สรุ ป ว่ า ​​​​​​​​​​แบบจำ � ลองของรั ท เทอร์ ฟ อร์ ด เป็ น แบบจำ � ลองที่ ยั ง ไม่ มี
รายละเอียดว่าอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสอยู่กันอย่างไร จึงนำ�ไปสู่การหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้สร้าง
แบบจำ�ลองใหม่
15. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ ความหมายของสเปกตรั ม แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยคลื่ น
แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ และมีความถี่ต่อเนื่องเป็นช่วงกว้าง ๆ รวมทั้งสมบัติต่าง ๆ
ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงที่มองเห็นได้ และช่วงความยาวคลื่นของแถบสีต่าง ๆ ในสเปกตรัม
ของแสงขาวตามรูป 2.6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
74

16. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ รื่ อ งความสัม พัน ธ์ ข องพลังงาน ความถี่ และความยาวคลื่นของคลื่น


แม่เหล็กไฟฟ้าตามสมการของพลังค์ จากนั้นให้นักเรียนฝึกคำ�นวณคำ�นวณค่าพลังงานโดยครูกำ�หนด
ค่าความยาวคลื่นของแถบสีต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการคำ�นวณกับค่าพลังงาน
ในตาราง 2.1
17. ครูให้นักเรียนร่วมกันตอบคำ�ถามว่า เมื่อธาตุได้รับพลังงานสูงมากพอจะสังเกตเห็น
สเปกตรัมของธาตุได้ นักเรียนคิดว่าสเปกตรัมของแสงขาวกับสเปกตรัมของธาตุเหมือนกันหรือไม่
อย่างไร แล้วนำ�เข้าสู่การทำ�กิจกรรม 2.3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
75

กิจกรรม 2.3 การทดลองการศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุ

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทำ�การทดลองเพื่อศึกษาสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ และ
แสงของหลอดบรรจุแก๊สชนิดต่าง ๆ
2. บอกความแตกต่างระหว่างสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์
และแสงของหลอดบรรจุแก๊สชนิดต่าง ๆ

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

1. แผ่นเกรตติง 1 แผ่น
2. ชุดศึกษาสเปกตรัมของธาตุ 1 เครื่อง
3. หลอดบรรจุแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น 1 ชุด
แก๊สไฮโดรเจน แก๊สฮีเลียม แก๊ส
นีออน ไอปรอท

การเตรียมล่วงหน้า
1. เตรียมปลั๊กไฟหรือปลั๊กพ่วงให้เพียงพอสำ�หรับนักเรียนทุกกลุ่ม
2. เตรียมห้องหรือสถานที่สำ�หรับสังเกตสเปกตรัมของธาตุ โดยสถานที่ดังกล่าวควร
ปราศจากการรบกวนของแสง ถ้าไม่มีสถานที่อาจให้นักเรียนทำ�การทดลองในกล่อง
กระดาษแล้วใช้ผ้าสีดำ�คลุมทับ
3. เตรียมตัวอย่างรูปภาพสเปกตรัมของธาตุที่ศึกษา สำ�หรับประกอบการอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
76

ข้อแนะนำ�สำ�หรับครู
1. แผ่นเกรตติงในการทดลองนี้เป็นแผ่นพลาสติกใสบาง ๆ บนแผ่นมีช่องขนานอยู่ชิดกัน
มาก โดยทั่วไปใน 1 cm อาจแบ่งเป็น 10,000 ช่องหรือมากกว่า การแยกแสงที่มี
ความยาวคลื่นต่างกันออกจากกันให้เป็นสเปกตรัมของแสง อาศัยสมบัติการกระจาย
และการแทรกสอดของคลื่นแสง
2. ให้นักเรียนฝึกใช้แผ่นเกรตติง โดยการปรับมุมรับแสงตกกระทบจากดวงอาทิตย์ จน
สามารถสังเกตเห็นสเปกตรัมผ่านแผ่นเกรตติงได้ จากนั้นจึงนำ�ไปใช้ส่องดูแสงจากหลอด
ฟลูออเรสเซนต์ และแสงของหลอดบรรจุแก๊สชนิดต่าง ๆ
3. เตือนนักเรียนไม่ให้นำ�แผ่นเกรตติงไปส่องดูดวงอาทิตย์โดยตรง เพราะอาจเป็นอันตราย
ต่อดวงตาได้
4. เตือนนักเรียนให้ประกอบอุปกรณ์และต่อวงจรไฟฟ้าของชุดศึกษาสเปกตรัมของธาตุให้
เสร็จก่อน แล้วจึงเปิดสวิตช์ไฟฟ้า

ตัวอย่างผลการทดลอง

แหล่งกำ�เนิดแสง ผลที่ได้จากการสังเกต

แสงจากดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นแถบสีต่าง ๆ ต่อเนื่องคล้ายแถบ


ของรุ้ง

แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแถบสีต่อเนื่องและเส้นสีเข้มบนแถบสี
เช่น เส้นสีเหลืองบนแถบสีเหลือง เส้นสีเขียว
บนแถบสีเขียว

แสงจากหลอดบรรจุแก๊สไฮโดรเจน มองเห็นเป็นเส้นสีคราม น้ำ�เงิน และ แดง

แสงจากหลอดบรรจุแก๊สฮีเลียม มองเห็นเป็นเส้นสีม่วง เขียว และ ส้ม


(มองเห็นสีละหลายเส้น)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
77

แหล่งกำ�เนิดแสง ผลที่ได้จากการสังเกต

แสงจากหลอดบรรจุแก๊สนีออน มองเห็นเป็นเส้นสีเหลือง ส้ม และ แดง (มอง


เห็นสีละหลายเส้น และมีจำ�นวนเส้นมากกว่า
แก๊สฮีเลียม) และมองเห็นม่วงอ่อน (เห็นจาง ๆ)

แสงจากหลอดบรรจุไอปรอท มองเห็นเป็นเส้นสีม่วง เขียว (มองเห็นสีละ


หลายเส้น และมีจำ�นวนเส้นมากกว่าแก๊ส
ฮีเลียมแต่น้อยกว่านีออน) และเห็นสีส้ม
(มองเห็นหลายเส้นแต่เห็นจาง ๆ)

หมายเหตุ ผลการทดลองที่แสดงในตาราง สังเกตผ่านแผ่นเกรตติ้ง 13,400 เส้น/นิ้ว

อภิปรายผลการทดลอง
1. แผ่นเกรตติงทำ�หน้าที่แยกแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันออกเป็นแสงสีต่าง ๆ คล้าย
กับปริซึม
2. แสงจากแหล่งกำ�เนิดแสงต่าง ๆ เมือ
่ ผ่านแผ่นเกรตติง จะให้แถบสีหรือสเปกตรัมแตกต่างกัน
เช่นเมื่อใช้แผ่นเกรตติงส่องดูแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะมองเห็นแถบสีต่าง ๆ ต่อเนื่องกัน
แต่เมื่อส่องดูแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแถบสีต่อเนื่องและเส้นสีเข้มบนแถบสี
เช่น เส้นสีเหลืองบนแถบสีเหลือง เส้นสีเขียวบนแถบสีเขียว เมื่อสังเกตเส้นสเปตรัม
ของไฮโดรเจนจะเห็นเป็นเส้นสี (ไม่ได้เป็นแถบต่อเนื่อง)
3. ผลการทดลองที่ได้อาจแตกต่างจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากข้อจำ�กัด
ของเครื่องมือการรบกวนของแสง และปัจจัยอื่น ๆ เช่น ในการสังเกตเส้นสเปตรัมของ
ไฮโดรเจนอาจเห็นเพียง 3 เส้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับรูปที่ 2.7 ในหนังสือเรียน

คราม น้ำ�เงิน แดง


ผลการสังเกตที่เป็นไปได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
78

4. เส้นสเปกตรัมแต่ละสีปรากฏในตำ�แหน่งต่างกัน เนื่องจากมีความยาวคลื่น และพลังงาน


แตกต่างกัน

สรุปผลการทดลอง
1. สเปกตรัมของแสงขาวที่สังเกตผ่านเกรตติงมีลักษณะเป็นแถบสีต่อเนื่อง
2. สเปกตรั ม ของหลอดฟลู อ อเรสเซนต์ ที่ สั ง เกตผ่ า นเกรตติ ง มี ลั ก ษณะเป็ น แถบสี ต่ อ
เนื่องและอาจเห็นเส้นสีเข้มบางเส้นเด่นขึ้นมา
3. สเปกตรัมของธาตุที่สังเกตผ่านเกรตติงมีลักษณะเป็นเส้น โดยธาตุแต่ละชนิดจะให้สี
จำ�นวนเส้น และตำ�แหน่งที่เกิดแตกต่างกัน

18. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดโดยอาจให้นักเรียนสืบค้น จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อ


เฉลยคำ�ตอบโดยครูคอยชี้แนะ

ชวนคิด

นอกจากแผ่นเกรตติงแล้วยังมีอุปกรณ์หรือเครื่ องมื ออื่ นที่ ส ามารถนำ � มาใช้ ส่ องดู เ ส้ น


สเปกตรัมของธาตุได้อีกหรือไม่
กล้องสเปกโทรสโคป

19. ครูให้นักเรียนศึกษาแถบสเปตรัมของแสงขาวและเส้นสเปกตรัมของธาตุในรูปที่ 2.7 เพื่อ


เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างธาตุต่าง ๆ จากนั้นให้นักเรียนคำ�นวณค่า
พลังงานของเส้นสเปกตรัมแต่ละเส้นของไฮโดรเจน โดยกำ�หนดให้เส้นสเปกตรัมที่มองเห็นมีความ
ยาวคลื่น 410 434 486 และ 656 นาโนเมตร ตามลำ�ดับ จากนั้นให้นักเรียนนำ�ผลการคำ�นวณไป
เปรียบเทียบกับค่าพลังงานในตาราง 2.2
20. ครูตั้งคำ�ถามว่า เส้นสเปกตรัมที่เห็นเกิดจากอิเล็กตรอนดูดหรือคายพลังงาน คำ�ตอบที่ควร
ได้คือค่าพลังงานของเส้นสเปกตรัมที่คำ�นวณได้สอดคล้องกับข้อมูลในตาราง 2.2 และเส้นสเปกตรัมที่
เห็นเกิดจากอิเล็กตรอนคายพลังงาน
21. ครูให้นักเรียนพิจารณาผลต่างระหว่างค่าพลังงานของเส้นสเปกตรัมที่อยู่ถัดกัน จากนั้น
ให้นักเรียนอภิปรายว่าสอดคล้องกับกิจกรรม 2.3 หรือไม่อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่าสอดคล้อง โดย
ตำ�แหน่งเส้นสีแดงกับสีน้ำ�เงิน จะห่างกันมากกว่า เส้นสีน้ำ�เงินกับคราม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
79

22. ครูตั้งคำ�ถามว่า เส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนเกิดจากอิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจนซึ่งมี


1 อิเล็กตรอนแต่จากการทดลองพบว่ามีเส้นสเปกตรัม 4 เส้นที่มีสีต่างกัน ระดับพลังงานของ
อิเล็กตรอนของไฮโดรเจนมีค่าเดียวหรือไม่ อย่างไร ควรได้คำ�ตอบว่ามีพลังงานมากกว่า 1 ระดับ
โดยพลังงานของเส้นสเปกตรัมทั้ง 4 ค่า แสดงให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างระดับพลังงาน ดัง
ตัวอย่าง

ตัวอย่างคำ�ตอบที่เป็นไปได้ของนักเรียน ซึ่งอาจยังไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์

23. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า นอกจากเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น


มี 4 เส้นแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าอิเล็กตรอนของไฮโดรเจนคายพลังงานออกมาในรูปคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นที่ตามองไม่เห็นอีก เช่น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด และจากการคำ�นวณ
พบว่าเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนทั้ง 4 เส้น ที่ปรากฏในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น เกิดจากอิเล็กตรอน
คายพลังงานเมื่อมีการเปลี่ยนระดับพลังงานจากระดับชั้นที่สูงกว่าลงมายังชั้นที่ต่ำ�กว่า ดังรูป 2.8 ซึ่ง
อาจเปรียบเทียบการคายพลังงานได้ดังการกลิ้งตกบันไดของลูกบอลดังรูป 2.9
24. ให้นักเรียนพิจารณารูป 2.6 และ 2.8 อีกครั้ง จากนั้นถามคำ�ถามว่า พลังงานที่อิเล็กตรอน
ของไฮโดรเจนคายออกมาเมื่อเปลี่ยนระดับที่สูงกว่าลงมายัง n = 1 อยู่ในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตหรือ
อินฟราเรด ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่าเป็นช่วงอัลตราไวโอเลตเพราะการคายพลังงานจากระดับ n ใด ๆ มา
ที่ n = 1 มีค่าพลังงานมากกว่า n ใด ๆ มาที่ n = 2 ซึ่งสอดคล้องกับรูป 2.6 ที่ค่าพลังงานในช่วงคลื่น
อัลตราไวโอเลตมีค่ามากกว่าอินฟราเรด
25. ครูให้ความรู้ว่า จากความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอนใน
อะตอมไฮโดรเจน ทำ�ให้ โบร์เสนอแบบจำ�ลองอะตอมว่า อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวง
คล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ และในแต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว ดังรูป
2.10
26. ครูให้ความรู้ว่า ในสภาวะปกติอิเล็กตรอนของไฮโดรเจนจะอยู่ในระดับพลังงานต่ำ�ที่สุด
(n = 1 หรือ K) หรือที่เรียกว่าสถานะพื้น เมื่อได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะถูกกระตุ้นไปอยู่ใน
ระดับพลังงานที่สูงขึ้นที่เรียกว่าสถานะกระตุ้น ซึ่งไม่เสถียร อิเล็กตรอนจึงกลับลงมายังระดับพลังงาน
ที่ต่ำ�กว่าและมีความเสถียรเพิ่มขึ้น รวมทั้งคายพลังงานที่ปรากฏเป็นเส้นสเปกตรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
80

27. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดโดยอาจให้นักเรียนสืบค้น จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อ


เฉลยคำ�ตอบโดยครูคอยชี้แนะ

ชวนคิด

1. จากรูป 2.7 การมองเห็นเส้นสีสเปกตรัมของปรอทมากกว่าไฮโดรเจนแปลความ


หมายได้อย่างไร
การสังเกตเห็นจำ�นวนเส้นสเปกตรัมของปรอทมากกว่าของไฮโดรเจน แปล
ความหมายได้ว่า จำ�นวนระดับพลังงานและจำ�นวนอิเล็กตรอนในอะตอมปรอทมี
มากกว่าของอะตอมไฮโดรเจน
2. พราะเหตุใดแสงของดวงอาทิตย์และหลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อผ่านแผ่นเกรตติงจึง
สังเกตเห็นเป็นแถบสเปกตรัม
เนื่องจากเป็นสเปกตรัมของสารหลายชนิดไม่ใช่ของธาตุเพียงชนิดเดียว และ
ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่ทำ�ให้เกิดแถบสเปกตรัมมีจำ�นวนมากจนต่อเนื่องกัน
เป็นแถบ

28. ครูให้นักเรียนสังเกตวัตถุที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เช่น ปลายปากกาที่กวัดแกว่ง จุดสีบน


ลูกข่างที่กำ�ลังหมุน แล้วให้เสนอแบบจำ�ลองของตำ�แหน่งวัตถุ จากนั้นอธิบายความหมายของแบบ
จำ�ลอง ซึ่งควรสรุปได้ว่าแบบจำ�ลองการเคลื่อนที่ของวัตถุไม่สามารถบอกตำ�แหน่งที่แน่นอนของวัตถุ
ณ เวลาหนึ่ง ๆ ได้ แต่เป็นการแสดงตำ�แหน่งโดยเฉลี่ยหรือขอบเขตของโอกาสที่จะพบวัตถุเท่านั้น ครู
เชื่อมโยงกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสซึ่งเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลาในทิศทาง
ที่ไม่แน่นอน
29. ให้นักเรียนพิจารณาแบบจำ�ลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกในรูป 2.11 แล้วอภิปรายร่วมกัน
ว่า ความเข้มของกลุ่มหมอกที่แสดงในแบบจำ�ลองมีความหมายอย่างไร ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า บริเวณที่
เป็นกลุ่มหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่เป็นกลุ่มหมอกจาง
30. ครูให้ความรูเ้ พิม
่ เติมว่า แบบจำ�ลองแบบกลุม
่ หมอกคำ�นวณได้โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์
31. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.1 แล้วนำ�มาเฉลยร่วมกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
81

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบบจำ�ลองอะตอม การทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องกับแบบจำ�ลองอะตอม จากการทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และ
การทดสอบ
2. ทักษะการสังเกต การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา การ
ลงความเห็นจากข้อมูล การสร้างแบบจำ�ลอง การคิดและแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การสื่อสาร การทำ�งานร่วมกัน จากการทำ�กิจกรรม การอภิปรายและนำ�เสนอ และจากการสังเกต
พฤติกรรมขณะทำ�กิจกรรม
3. จิตวิทยาศาสตร์/เจตคติด้านความมีเหตุผล ความใจกว้าง และความเชื่อและค่านิยม
ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ความร่วมมือช่วยเหลือและความรับผิดชอบ จากการสังเกตพฤติกรรม
ขณะอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
82

แบบฝึกหัด 2.1

1. เส้นสเปกตรัมเส้นหนึ่งของธาตุซีเซียมมีความยาวคลื่น 456 nm จะปรากฏเป็นสีใด


เส้นสเปกตรัมของธาตุซีเซียมมีความยาวคลื่น 456 nm จะปรากฏเป็นสีคราม –
น้ำ�เงิน

2. เหตุใ ดเส้ น สเปกตรั ม ของธาตุ ไ ฮโดรเจนจึ ง มี ห ลายเส้ น ทั้ ง ๆ ที่ เ ป็ น ธาตุ ที่ มี เ พี ย ง 1
อิเล็กตรอน
เพราะว่ า อิ เ ล็ ก ตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนถู ก กระตุ้ น ให้ ไ ปอยู่ ใ นสถานะ
กระตุ้นที่มีพลังงานแตกต่างกันได้หลายระดับ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนระดับพลังงาน
ของอิเล็กตรอนจากระดับสูงมายังระดับต่ำ� จึงคายพลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของ
เส้นสเปกตรัมได้หลายค่า

3. จากรู ป แสดงการเปลี่ ย นแปลงระดั บ พลั ง งานของอิ เ ล็ ก ตรอนในอะตอมไฮโดรเจน


กำ�หนดอนุกรมต่อไปนี้อยู่ในช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงที่ตามองเห็น และช่วงอินฟาเรด

n=7
n=6
n=5

n=4 อนุกรม ค
ระดับพลังงานของอิเล็กตรอน

n=3

อนุกรม ข
n=2

อนุกรม ก

n=1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
83

ถ้า “อนุกรม ข” คือช่วงที่ตามองเห็น อนุกรมใดคือช่วงอัลตราไวโอเลต และอินฟาเรด


ตามลำ�ดับ
จากรูปจะเห็นว่า อนุกรม ก มีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอนใน
ช่วงระดับพลังงานห่างกันมากกว่า อนุกรม ข ซึ่งเป็นช่วงที่ตามองเห็น จึงควรมีพลังงาน
มากกว่า ดังนั้น อนุกรม ก จึงควรอยู่ในช่วงอัลตราไวโอเลต
ส่วน อนุกรม ค มีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอนใน ช่วง
ระดับพลังงานห่างกันน้อยกว่า อนุกรม ข จึงควรมีพลังงานน้อยกว่า ดังนั้น อนุกรม ค
จึงควรอยู่ในช่วงอินฟาเรด

4. จงเขียนผังมโนทัศน์ (concept map) เพื่ออธิบายวิวัฒนาการแบบจำ�ลองอะตอม


ผังมโนทัศน์ (concept map) เพือ
่ อธิบายวิวฒ
ั นาการแบบจำ�ลองอะตอมอาจเขียนได้ดงั นี้

แบบจำ�ลองอะตอม

ได้แก่แบบจำ�ลอง

ดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ กลุ่มหมอก


อธิบายว่า อธิบายว่า อธิบายว่า
อธิบายแทนด้วย อธิบายว่า
มีนิวเคลียสขนาด อิ เ ล็ ก ต ร อ น ก ลุ่ ม ห ม อ ก ร อ บ
ทรงกลม ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ป ร ะ จุ
เล็ ก มากอยู่ ภ าย เ ค ลื่ อ น ที่ี ร อ บ นิ ว เ ค ลี ย ส บ ริ เ ว ณ
บวกและมีอิเล็กตรอน
ใ น แ ล ะ มี อิ เ ล็ ก นิ ว เคลี ย วเป็ น ที่ ทึ บ มี โ อ ก า ส
แสดงด้วย กระจายอยู่ทั่วไป
ต ร อ น เ ค ลื่ อ น ที่ วง แต่ละวงจะมี พ บ อิ เ ล็ ก ต ร อ น ไ ด้
แสดงด้วย อยู่รอบ ระดั บ พลั ง งาน ม า ก ก ว่ า บ ริ เ ว ณ ที่
- เฉพาะตัว จาง
- + - +- แสดงด้วย
-+ + - + - แสดงด้วย แสดงด้วย
-
- - +- -
76 5 4 3 2 1 K L M N O PQ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
84

2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนและแปลความหมายสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
2. อธิบายความหมายและยกตัวอย่างไอโซโทปของธาตุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ธาตุต่างชนิดกันมีเลขมวลต่างกันเสมอ ธาตุต่างชนิดกันอาจมีเลขมวลเท่ากันได้ เช่น


14
₆ C กับ 147 N มีเลขมวลเท่ากันคือ 14

ในการเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ เลขอะตอม ตามข้อกำ�หนดที่เป็นสากล ในการเขียน


อยู่ด้านบน เลขมวลอยู่ด้านล่าง (สับสนกับ สัญลักษณ์นิวเคลียร์เลขอะตอมจะอยู่ด้านล่าง
ตำ�แหน่งของเลขอะตอมในตารางธาตุ ซึ่งบาง ซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ และเลขมวลอยู่ด้าน
ครั้งแสดงเลขอะตอมไว้ด้านบนของธาตุ) บนซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ

เ ล ข ที่ ป ร า ก ฏ ใ น สั ญ ลั ก ษ ณ์ แ บ บ ย่ อ ข อ ง เ ล ข ที่ ป ร า ก ฏ ใ น สั ญ ลั ก ษ ณ์ แ บ บ ย่ อ ข อ ง
ไอโซโทปคือเลขอะตอม เช่น C-14 เลข 14 ไอโซโทปคือเลขมวล เช่น C-14 เลข 14 คือ
คือเลขอะตอม เลขมวล

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครู ท บทวนความรู้ เ ดิ ม ว่ า จากการทดลองของทอมสั น ทำ � ให้ ท ราบว่ า อิ เ ล็ ก ตรอนมี ป ระจุ
เป็นลบ จากนั้นถามคำ�ถามว่าเมื่อทราบค่าประจุต่อมวลของอิเล็กตรอนแล้วนักวิทยาศาสตร์นำ�ข้อมูล
เหล่านั้นมาใช้หาค่าประจุและมวลของอิเล็กตรอนได้อย่างไร​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​เพื่อร่วมกันอภิปรายและนำ�นักเรียน
เข้าสู่การศึกษาการทดลองของมิลลิแกน โดยครูอาจใช้รูป 2.12 ประกอบการอธิปรายและซักถามจน
สรุปได้ว่า อิเล็กตรอนมีประจุ 1.6 × 10-19 คูลอมบ์ และมีมวล 9.11 × 10-28 กรัม
2. ครูตั้งคำ�ถามว่า อนุภาคในอะตอมที่เรียนรู้มาแล้วมีอนุภาคใดบ้าง ซึ่งนักเรียนควรตอบได้
ว่า อิเล็กตรอน และอนุภาคที่มีประจุเป็นบวก (นักเรียนอาจทราบคำ�ศัพท์ “โปรตอน” มาแล้วจาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
85

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) ครูนำ�นักเรียนเข้าสู่การศึกษาการทดลองของโกลด์ชไตน์และการศึกษา
ของรัทเทอร์ฟอร์ด โดยครูอาจใช้รูป 2.13 ประกอบการอภิปรายจนสรุปได้ว่าอนุภาคบวกนั้นคือ
โปรตอน ซึ่งมีประจุเท่าอิเล็กตรอนคือ 1.6 × 10-19 คูลอมบ์ และมีมวล 1.673 × 10-24 กรัม ซึ่งมีค่า
มากกว่ามวลอิเล็กตรอนประมาณ 1,840 เท่า
3. ครูตั้งคำ�ถามว่า นอกจากอิเล็กตรอนและโปรตอนแล้ว ยังมีอนุภาคชนิดอื่น ๆ ในอะตอม
อีกหรือไม่ เพื่อนำ�นักเรียนเข้าสู่การศึกษาการทดลองของแซดวิก จากนั้นให้ความรู้ว่านอกจาก
อิเล็กตรอนและโปรตอนแล้ว ในอะตอมยังมีอนุภาคนิวตรอน ซึ่งอยู่ในนิวเคลียสและเป็นกลางทาง
ไฟฟ้า มีมวลใกล้เคียงกับโปรตอนคือ 1.675 × 10-24 กรัม
4. ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัญลักษณ์ ประจุไฟฟ้าและมวลของอนุภาคโปรตอน
นิวตรอน และอิเล็กตรอนในตาราง 2.3 แล้วเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของอนุภาค
ทั้ง 3 ชนิด ซึ่งควรเปรียบเทียบได้ว่าอิเล็กตรอนกับโปรตอนมีประจุไฟฟ้าเท่ากันแต่ชนิดของประจุ
ตรงข้ามกัน โปรตอนและนิวตรอนมีมวลใกล้เคียงกัน จากนั้นถามคำ�ถามว่าอนุภาคชนิดใดที่มีผล
ต่อมวลของอะตอม ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า มวลของอะตอมเกิดจากมวลของนิวตรอนและโปรตอน
ส่วนอิเล็กตรอนมีมวลน้อยมากเมื่อเทียบกับมวลของโปรตอนและนิวตรอนจึงไม่จำ�เป็นต้องนำ�มา
พิจารณา
5. ครูตั้งคำ�ถามว่า อนุภาคชนิดใดที่บ่งบอกชนิดของธาตุได้ จากนั้นจึงให้ความรู้ว่า ธาตุแต่ละ
ชนิดมีจำ�นวนโปรตอนเฉพาะตัวและไม่ซ้ำ�กับธาตุอื่น ๆ จำ�นวนโปรตอนจึงใช้บ่งบอกชนิดของธาตุ
ได้ ตัวเลขแสดงจำ�นวนโปรตอนในอะตอมเรียกว่าเลขอะตอม ส่วนผลรวมของจำ�นวนโปรตอนกับ
นิวตรอนเรียกว่าเลขมวล
6. ครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า จำ�นวนอนุภาคในอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน
แตกต่างกันได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรสรุปได้ว่ามีจำ�นวนนิวตรอนแตกต่างกันได้
7. ครูถามคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายว่า การที่ธาตุมีจำ�นวนนิวตรอนแตกต่างกัน มีผลต่อ
เลขอะตอมและเลขมวลของธาตุหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า จำ�นวนนิวตรอนมีผลต่อเลขมวล
ของธาตุ
8. ให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อเฉลยคำ�ตอบโดย
ครูคอยชี้แนะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
86

ตรวจสอบความเข้าใจ

โซเดียมมี 11 โปรตอน และมี 12 นิวตรอน โซเดียมมีเลขอะตอมและเลขมวล


เท่ากับเท่าใดตามลำ�ดับ
โซเดียมมีเลขอะตอมเท่ากับ 11 และมีเลขมวลเท่ากับ 11 + 12 = 23

9. ให้นักเรียนศึกษาสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุในรูป 2.14 แล้วตอบคำ�ถามว่าสัญลักษณ์


นิวเคลียร์ของธาตุมีองค์ประกอบใดบ้าง และอธิบายวิธีการเขียนได้อย่างไร ซึ่งควรสรุปได้ว่า
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ สามารถแปลความหมายเป็น จำ�นวนโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน
และชนิดของธาตุได้ จากนั้นให้ความรู้นักเรียนว่าธาตุชนิดเดียวกันแต่มีเลขมวลแตกต่างกันจัดเป็น
ไอโซโทปกัน เช่น ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป โดยมีเลขมวลเท่ากับ 1 2 และ 3 ทั้งนี้ครูให้นักเรียนศึกษา
สัญลักษณ์นิวเคลียร์และชื่อเฉพาะของแต่ละไอโซโทปจากตาราง 2.4
10. ให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อเฉลยคำ�ตอบ
โดยครูคอยชี้แนะ

ตรวจสอบความเข้าใจ

ธาตุตา่ งชนิดกันต้องมีเลขมวลต่างกันเสมอหรือไม่
14 14
ธาตุตา่ งชนิดกันอาจมีเลขมวลเท่ากันได้ เช่น 6 C กับ 7 N แม้จะเป็นธาตุตา่ งชนิดแต่มี
เลขมวลเท่ากัน คือ 14

11. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.2 แล้วเฉลยคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติบางประการของโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน เลขอะตอม
เลขมวล สัญลักษณ์นิวเคลียร์และความหมายของไอโซโทป จากการทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทำ�
แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการอภิปราย
3. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและ
ภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�กิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
87

แบบฝึกหัด 2.2

1. จงเขียนแผนผังเวนน์เปรียบเทียบสมบัติของโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน

โปรตรอน นิวตรอน
อนุภาคใน
ประจุไฟฟ้าบวก นิวเคลียส
เป็นกลางทางไฟฟ้า
สัญลักษณ์ p สัญลักษณ์ n

อนุภาคใน

มีประจุไฟฟ้า อะตอม
× 10
-19
1.602
คูลอมบ์

ประจุไฟฟ้าลบ
สัญลักษณ์ e

อิเล็กตรอน

2. จากการทดลองของมิลลิแกน ถ้าพบว่าหยดน้ำ�มันที่ลอยนิ่งหยดหนึ่งมีค่าประจุเท่ากับ
6.4 × 10-19 คูลอมบ์ หยดน้ำ�มันนี้มีอิเล็กตรอนเกาะอยู่จำ�นวนเท่าใด
จากการทดลองของมิลลิแกน ค่าประจุไฟฟ้าที่แฝงอยู่บนหยดน้ำ�มันของ 1 อิเล็กตรอน
คือ 1.6 × 10-19 คูลอมบ์
-19
นั่นคือหยดน้ำ�มันที่ลอยนิ่งซึ่งมีประจุเท่ากับ 6.4 × 10 คูลอมบ์

1 e-
จำ�นวนอิเล็กตรอนที่เกาะอยู่ = × 6.4 × 10-19 coulomb
-19
1.6 × 10 coulomb

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
88

= 4 อิเล็กตรอน
ดังนั้น หยดน้ำ�มันนี้มีอิเล็กตรอนเกาะอยู่ 4 อิเล็กตรอน

3. ฮีเลียมมี 2 โปรตอน 2 นิวตรอน และ 2 อิเล็กตรอน มวลของอะตอมฮีเลียมที่คำ�นวณ


จากมวลของโปรตอนและนิว ตรอน เทีย บกับมวลที่ คำ�นวณจากองค์ประกอบของ
อนุภาคทั้งหมด ต่างกันร้อยละเท่าใด
มวลของอะตอมฮีเลียมที่คำ�นวณจากมวลของโปรตอนและนิวตรอน
= มวล 2 โปรตอน + มวล 2 นิวตรอน
= (2 × 1.673 × 10-24 g) + (2 × 1.675 × 10-24 g)
= 6.696 × 10-24 g

มวลของอะตอมฮีเลียมที่คำ�นวณจากองค์ประกอบทั้งหมด
= มวล 2 โปรตอน + มวล 2 นิวตรอน + มวล 2 อิเล็กตรอน
= (2 × 1.673 × 10-24 g) + (2 × 1.675 × 10-24 g) + (2 × 9.109 × 10-28 g)
= 6.696 × 10-24 g + 1.8218 × 10-27 g
≈ 6.696 × 10-24 g
ดังนั้น มวลที่คำ�นวณได้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำ�คัญ

4. จงเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของไอโซโทปต่าง ๆ ของธาตุ X ซึ่งมี 9 อิเล็กตรอนและมี


นิวตรอน 9 10 และ 11 ตามลำ�ดับ
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของไอโซโทปต่าง ๆ ของธาตุ X เขียนได้ดังนี้
18 19 20
9 X 9 X 9 X

5. พิจารณาสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุสมมติต่อไปนี้
40 42 40 40
18 A 18 B 19 C 20 D และ 42
21 E ธาตุใดเป็นไอโซโทปกัน เพราะเหตุใด

40 42
ธาตุที่เป็นไอโซโทปกันคือ 18 A 18 B เพราะมีจำ�นวนโปรตอนเท่ากันคือ 18

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
89

2.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความแตกต่างของระดับพลังงานหลัก พลังงานย่อย และออร์บิทัล
2. จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมเมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ พร้อมทั้งระบุ หมู่ คาบ และ
กลุ่มของธาตุในตารางธาตุุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

กรณีที่ธาตุเสียอิเล็กตรอนจะนำ�อิเล็กตรอนที่มี กรณีที่ธาตุเสียอิเล็กตรอนให้บรรจุอิเล็กตรอน
พลังงานสูงสุดออก เช่น ตามปกติก่อน จากนั้นค่อยนำ�อิเล็กตรอนที่อยู่
Fe 2 2 6 2 6
: 1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d 2 6
ชั้นนอกสุดออก เช่น
Fe 2+ 2 2 6 2 6
: 1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d 2 4
Fe : 1s22s22p63s23p64s23d6
Fe2+ : 1s22s22p63s23p63d6
ไม่ใช่ 1s22s22p63s23p64s23d4
หมายเหตุ เสีย 2 อิเล็กตรอน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายว่า แบบจำ�ลองอะตอมของโบว์แตกต่างจากแบบจำ�ลอง
อะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดอย่างไร ควรได้ข้อสรุปว่า อิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสเคลื่อนที่เป็นวงคล้าย
วงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงมีพลังงานเฉพาะตัว แล้วนำ�เข้าสู่เรื่องการจัดเรียง
อิเล็กตรอนของธาตุบางธาตุ
2. ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลในตาราง 2.5 จากนั้นถามนักเรียนว่า ในระดับพลังงานที่ 1 และ
2 มีจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุดเท่าใด ซึ่งได้คำ�ตอบว่า 2 และ 8 ตามลำ�ดับ
3. ครูถามคำ�ถามเพิ่มเติมว่า ถ้าในระดับพลังงานที่ 3 มีจำ�นวนอิเล็กตรอนสุงสุด 18
อิเล็กตรอน ระดับพลังงานกับจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุดในแต่ละระดับพลังงานมีความสัมพันธ์กันหรือ
ไม่ อย่างไร ควรตอบได้ว่า จำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุดกับระดับพลังงานมีความสัมพันธ์ดังนี้ คือ 2n2
เมื่อ n คือตัวเลขแสดงระดับพลังงาน
4. ครูแสดงจำ�นวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานของธาตุ K (2 8 8 1) และ Ca (2
8 8 2) จากนั้นตั้งคำ�ถามว่า จากสูตร 2n2 จำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุดในระดับพลังงานที่ 3 ควรเป็น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
90

18 อิเล็กตรอน แต่เพราะเหตุใดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ 3 ของธาตุ K และ Ca จึงมีเพียง 8


อิเล็กตรอน เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่อง ระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อยของอิเล็กตรอนในอะตอม
5. ครูให้ความรู้ในเรื่องระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อยของอิเล็กตรอนในอะตอม
ตามรูป 2.15 ซึ่งควรได้สาระสำ�คัญดังนี้
5.1. ในระดับพลังงานหลักแบ่งเป็นระดับพลังงานย่อย คือ s p d f ตามลำ�ดับ
5.2. ในระดับพลังงานหลักที่ 1–4 มีจำ�นวนระดับพลังงานย่อยต่าง ๆ ดังนี้
พลังงานหลักที่ 1 มีระดับพลังงานย่อยคือ 1s
พลังงานหลักที่ 2 มีระดับพลังงานย่อยคือ 2s 2p
พลังงานหลักที่ 3 มีระดับพลังงานย่อยคือ 3s 3p 3d
พลังงานหลักที่ 4 มีระดับพลังงานย่อยคือ 4s 4p 4d 4f
5.3. ระดับพลังงานย่อยในระดับพลังงานหลักเดียวกันมีค่าพลังงานแตกต่างกัน
เช่น 2p มีพลังงานมากกว่า 2s
5.4. ลำ � ดั บ ระดั บ พลั ง งานที่ บ รรจุ อิ เ ล็ ก ตรอนไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งเรี ย งตามพลั ง งานหลั ก
เสมอ เช่น 4s มีพลังงานต่ำ�กว่า 3d ดังนั้นจึงบรรจุอิเล็กตรอนใน 4s ก่อน 3d
6. ครูอธิบายความหมายของคำ�ว่าออร์บิทัล จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 2.16 และตาราง 2.6
และร่วมกันอภิปรายว่า ในแต่ละระดับพลังงานย่อยมีจำ�นวนออร์บิทัลเท่ากันหรือไม่ อย่างไร และ
จำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุดในระดับพลังงานย่อยมีเท่าไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ในแต่ละระดับพลังงาน
ย่อยมีจำ�นวนออร์บิทัลแตกต่างกัน และในแต่ละออร์บิทัลมีจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุด 2 อิเล็กตรอน
โดยที่
ระดับพลังงานย่อย s มี 1 ออร์บิทัล มีจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุด 2
ระดับพลังงานย่อย p มี 3 ออร์บิทัล มีจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุด 6
ระดับพลังงานย่อย d มี 5 ออร์บิทัล มีจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุด 10
ระดับพลังงานย่อย f มี 7 ออร์บิทัล มีจำ�นวนอิเล็กตรอนสูงสุด 14
7. ครูให้ความรู้และยกตัวอย่างเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ ดังนี้
7.1. บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำ�สุดและว่างก่อนเสมอ
7.2. การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัล มีลำ�ดับเป็นดังนี้
1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d 4p 5s 4d 5p 6s 4f 5d 6p 7s 5f 6d 7p ……
หรือมีลำ�ดับตามแผนภาพในรูป 2.17
7.3. ครูให้นักเรียนดูรูป 2.18 และอธิบายว่า สัญลักษณ์แสดงการจัดเรียงอิเล็กตรอน
ในอะตอม ให้เขียนตัวเลขแสดงระดับพลังงานหลักตามด้วยตัวอักษรแสดงระดับ
พลังงานย่อย และจำ�นวนอิเล็กตรอนในออร์บิทัลด้วยเลขยกกำ�ลังบนตัวอักษร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
91

เช่น 2s2 มีความหมายดังนี้ 2 คือพลังงานหลัก s คือพลังงานย่อย และ 2 ที่เขียน


เป็นเลขยกกำ�ลังคือจำ�นวนอิเล็กตรอนที่บรรจุอยู่ในออร์บิทัล 2s
8. ครูให้นักเรียนเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุที่มีเลขอะตอม 1-12 (อาจแบ่งให้กลุ่ม
หนึ่งเขียนของธาตุที่มีเลขอะตอมเป็นเลขคี่ อีกกลุ่มหนึ่งเขียนที่เป็นเลขคู่) แล้วนำ�ไปตรวจสอบกับ
ข้อมูลในตาราง 2.7 จากนั้นย้อนกลับไปตอบคำ�ถามว่าเพราะเหตุใดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ 3
ของธาตุ K และ Ca จึงมีเพียง 8 อิเล็กตรอน
9. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมอาจเขียนแบบย่อ โดยแทนการ
จัดเรียงอิเล็กตรอนบางส่วนด้วยแกนแก๊สมีสกุล (noble gas core) ซึ่งใช้สัญลักษณ์ของแก๊สมีสกุลที่อยู่
ในคาบก่อนหน้าไว้ในวงเล็บเหลี่ยม ตามด้วยสัญลักษณ์แสดงการบรรจุอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน
ย่อยที่อยู่ชั้นถัดออกไป เช่น โซเดียม จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s1 เขียนโดยใช้แกนแก๊ส
มีสกุลเป็น [Ne]3s1 โดย [Ne] หมายถึงแกนนีออนซึ่งแทนการจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s22s22p6
10. ครูให้นักเรียนพิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุในตาราง 2.7 อีกครั้งแล้วให้ความ
รู้ว่าอิเล็กตรอนในระดับพลังงานสูงสุดหรือชั้นนอกสุดของอะตอมเรียกว่าเวเลนซ์อิเล็กตรอน เช่น
ฟลูออรีน จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p5 มีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 แล้วให้นักเรียน
ระบุว่าธาตุในตาราง 2.7 แต่ละธาตุมีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด จากนั้นครูกับนักเรียนร่วมกัน
เฉลย

ความรูเ้ พิม
่ เติมสำ�หรับครู
อะตอมของธาตุที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่เต็มทุกออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน เช่น
ธาตุฮีเลียม มี 2 อิเล็กตรอน จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s2 หรือธาตุนีออน มี 10 อิเล็กตรอน
จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p6 การจัดอิเล็กตรอนลักษณะนี้เรียกว่า การบรรจุเต็ม ถ้ามี
อิเล็กตรอนบรรจุอยู่ในออร์บิทัลเพียงครึ่งเดียว เช่น ธาตุไนโตรเจน มี 7 อิเล็กตรอน จัดเรียง
อิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p3 ลักษณะนี้เรียกว่า การบรรจุครึ่ง อะตอมที่จัดอิเล็กตรอนเป็น
แบบบรรจุเต็มหรือบรรจุครึ่ง จะมีความเสถียร

11. ครูตั้งคำ�ถามว่า การที่ธาตุเกิดเป็นไอออน มีการเปลี่ยนแปลงจำ�นวนอนุภาคชนิดใดของ


อะตอม ควรได้คำ�ตอบว่า อิเล็กตรอน ซึ่งไอออนลบเกิดจากอะตอมรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามา ส่วน
ไอออนบวกเกิดจากอะตอมเสียอิเล็กตรอนออกไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
92

12. ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้


12.1 กรณีที่ธาตุได้รับอิเล็กตรอน ให้บรรจุอิเล็กตรอนปกติรวมกับอิเล็กตรอนที่รับเข้ามา
ตามลำ�ดับระดับพลังงานโดยอาศัยแผนภาพตามหลักเอาฟบาว เช่น
N : 1s22s22p3
N3- : 1s22s22p6 (รับเพิ่ม 3 อิเล็กตรอน)
12.2 กรณีทธ่ี าตุเสียอิเล็กตรอน ให้บรรจุอเิ ล็กตรอนตามปกติกอ
่ น จากนัน
้ จึงนำ�อิเล็กตรอน
ที่อยู่ชั้นนอกสุดออก เช่น
Al : 1s22s22p63s23p1
Al3+ : 1s22s22p6 (เสีย 3 อิเล็กตรอน)
Fe : 1s22s22p63s23p64s23d6
Fe2+ : 1s22s22p63s23p63d6 (เสีย 2 อิเล็กตรอน)
ไม่ใช่ 1s22s22p63s23p64s23d4

13. ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.3 แล้วครูกับนักเรียนร่วมกันเฉลย

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก ระดับพลังงานย่อยหรือ
ออร์บิทัล จำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน จากการอภิปราย การทำ�กิจกรรม การทำ�แบบฝึกหัด และ
การทดสอบ
2. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและ
ภาวะผู้นำ�จากการทำ�กิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
93

แบบฝึกหัด 2.3

1. ธาตุวาเนเดียมและแคดเมียม มีเลขอะตอม 23 และ 48 ตามลำ�ดับ จงแสดงการจัด


เรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยและจำ � นวนอิ เ ล็ ก ตรอนในระดั บพลั งงานหลั ก
ของธาตุทั้งสอง
ธาตุวาเนเดียมมีเลขอะตอม 23
จัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย คือ 1s22s22p63s23p64s23d3
หรือ [Ar]4s23d3
จำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก คือ 2 8 11 2

ธาตุแคดเมียมมีเลขอะตอม 48
จัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย คือ 1s22s22p63s23p64s23d104p65s24d10

หรือ [Kr]5s24d10
จำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก คือ 2 8 18 18 2

2. ถ้าธาตุ A B และ C มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังนี้


ธาตุ A 1s22s22p63s23p2
ธาตุ B 1s22s22p63s2
ธาตุ C 1s22s22p63s23p6
2.1. ธาตุ A B และ C มีเลขอะตอมเท่าใด
ธาตุ A มีเลขอะตอม = 2 + 2 + 6 + 2 + 2 = 14
ธาตุ B มีเลขอะตอม = 2 + 2 + 6 + 2 = 12
ธาตุ C มีเลขอะตอม = 2 + 2 + 6 + 2 + 6 = 18
2.2. ธาตุแต่ละชนิดมีอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานใดบ้าง และมีจำ�นวนเท่าใด
ธาตุแต่ละชนิดมีจำ�นวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานดังนี้

จำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่าง ๆ
ธาตุ
n=1 n=2 n=3

A 2 8 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
94

จำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่าง ๆ
ธาตุ
n=1 n=2 n=3

B 2 8 2

C 2 8 8

3. จงระบุสัญลักษณ์ของธาตุที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังต่อไปนี้
3.1 [Ar]4s23d104p2 3.2 [Ne]3s23p3 3.3 [Kr]5s24d5
3.1. ธาตุ Ar มีเลขอะตอม 18 มี 18 อิเล็กตรอน
เมื่อรวมจำ�นวนอิเล็กตรอนทั้งหมดจะได้ 18 + 2 + 10 + 2 = 32 อิเล็กตรอน
ธาตุนี้มีเลขอะตอมเป็น 32 นั่นคือ ธาตุ Ge
3.2. ธาตุ Ne มีเลขอะตอม 10 มี 10 อิเล็กตรอน
เมื่อรวมจำ�นวนอิเล็กตรอนทั้งหมดจะได้ 10 + 2 + 3 = 15 อิเล็กตรอน
ธาตุนี้มีเลขอะตอมเป็น 15 นั่นคือ ธาตุ P
3.3. ธาตุ Kr มีเลขอะตอม 36 มี 36 อิเล็กตรอน
เมื่อรวมจำ�นวนอิเล็กตรอนทั้งหมดจะได้ 36 + 2 + 5 = 43 อิเล็กตรอน
ธาตุนี้มีเลขอะตอมเป็น 43 นั่นคือ ธาตุ Tc

2+ + 2-
4. จงเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยของ Zn Cu และ S
Zn2+ จัดเรียงอิเล็กตรอน 1s22s22p63s23p63d10
หรือเขียนย่อเป็น [Ar]3d10
Cu+ จัดเรียงอิเล็กตรอน 1s22s22p63s23p63d10
หรือเขียนย่อเป็น [Ar]3d10
S2- จัดเรียงอิเล็กตรอน 1s22s22p63s23p6
หรือเขียนย่อเป็น [Ne]3s23p6

หมายเหตุ กรณี S2- ถ้านักเรียนเขียนคำ�ตอบเป็น [Ar] ครูควรอธิบายนักเรียนว่า


การเขียน [Ar] ไม่สอดคล้องตามหลักการเขียน
เพราะ Ar ไม่ใช่แก๊สมีสกุลที่อยู่ในคาบก่อนหน้า S

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
95

2.4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่จนได้เป็น
ตารางธาตุ พร้อมทั้งระบุปัญหาของการจัดกลุ่มธาตุ
2. จำ�แนกธาตุเป็นกลุ่มโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ หรือเป็นกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟหรือ
ธาตุหมู่หลัก ธาตุแทรนซิชัน หรือตามการจัดเรียงอิเล็กตรอน เมื่อทราบเลขอะตอม
3. วิเคราะห์และสรุปแนวโน้มสมบัติต่าง ๆ ของธาตุตามหมู่และคาบเกี่ยวกับขนาดอะตอม
รัศมีไอออน พลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนพร้อมทั้งอธิบาย
เหตุผลประกอบ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ธาตุ H อยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล ธาตุ H เป็นธาตุอโลหะจึงไม่จัดอยู่ในกลุ่ม


โลหะแอลคาไล

เลขมวลกับมวลอะตอมคือสิ่งเดียวกันเนื่องจาก สั ญ ลั ก ษ ณ์ ใ น ต า ร า ง ธ า ตุ ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย
สั บ สนกั บ ตั ว เลขที่ ป รากฏในตารางธาตุ กั บ สัญลักษณ์ของธาตุ เลขอะตอม และมวล
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ อะตอม (ไม่ใช่เลขมวล)

ในคาบเดียวกัน ค่า IE1 ของหมู่ IIIA มีค่า ในคาบเดียวกัน ค่า IE1 ของหมู่ IIIA มีค่าน้อย
มากกว่าหมู่ IIA และ ค่า IE1 ของหมู่ VIA มี กว่าหมู่ IIA และ ค่า IE1 ของหมู่ VIA มี
ค่ามากกว่าหมู่ VA ค่าน้อยกว่าหมู่ VA

จากการจัดเรียงอิเล็กตรอน เช่น จากการจัดเรียงอิเล็กตรอน เช่น


Ga 1s22s22p63s23p64s23d104p1 Ga 1s22s22p63s23p64s23d104p1
เวลาระบุว่าอยู่หมู่ใด จะพิจารณาเฉพาะระดับ เวลาระบุวา่ อยูห
่ มูใ่ ด ต้องรวมจำ�นวนอิเล็กตรอน
พลังงานย่อยสุดท้าย คือ 4p1 ทำ�ให้เข้าใจว่า ในระดับพลังงานนอกสุด ซึ่งในกรณีนี้คือ คือ
อยู่หมู่ IA 4s2 + 4p1 ดังนั้นจึงมีอิเล็กตรอนเท่ากับ 3 จึง
อยู่หมู่ IIIA

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
96

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ในการศึกษาแนวโน้มสมบัติของธาตุ คำ�ว่า คำ�ว่าตามหมู่ คือ การเปรียบเทียบสมบัติของ


ตามหมู่ คือ เปรียบเทียบหมู่ IA IIA IIIA ธาตุในหมู่เดียวกันแต่ต่างคาบ ส่วนคำ�ว่าตาม
........ ส่วนคำ�ว่าตามคาบคือ เปรียบเทียบคาบ คาบคือ เปรียบเทียบสมบัติของธาตุในคาบ
ที่ 1 2 3 ……. เดียวกันแต่ต่างหมู่

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
โปสเตอร์ตารางธาตุ

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า เพราะเหตุใดจึงต้องจัดธาตุเป็นหมวดหมู่
ถ้าใช้เกณฑ์การจัดกลุ่มแตกต่างกัน จะได้ธาตุในกลุ่มเหมือนกันหรือไม่ ซึ่งนักเรียนควรคำ�ตอบว่า เพื่อ
ให้ง่ายต่อการศึกษาและจดจำ� การจัดกลุ่มด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน จะได้ธาตุในกลุ่มไม่เหมือนกัน
จากนั้นนำ�เข้าสู่เรื่องวิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ
2. แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคนที่ใช้จัด
ธาตุเป็นหมวดหมู่ แล้วนำ�เสนอผลการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ตามความคิดของกลุ่มให้เพื่อนรับฟัง
และซักถาม ซึ่งควรได้สาระสำ�คัญว่า เดอเบอไรเนอร์ จัดธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้าย
กัน และพบว่าธาตุกลางจะมีมวลอะตอมเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีกสองธาตุดังตาราง 2.8
นิวแลนด์ จัดกลุ่มธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากและพบว่าธาตุที่ 8 จะมีสมบัติเหมือนกับธาตุ
ที่ 1 เสมอ (ทั้งนี้ไม่รวม H กับ แก๊สมีสกุล) ไมเออร์ ดิมิทรี และเมนเดเลเอฟ จัดเรียงธาตุเป็นกลุ่ม
ตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากและสมบัติที่คล้ายกันเป็นช่วง ๆ รวมทั้งเว้นช่องว่างไว้ โดยคิดว่าน่า
จะเป็นตำ�แหน่งของธาตุที่ยังไม่มีการค้นพบ ใช้ตาราง 2.9 ประกอบการนำ�เสนอ โมสลีย์ จัดเรียงธาตุ
เป็นกลุ่มตามเลขอะตอม เนื่องจากสมบัติต่าง ๆ ของธาตุมีความสัมพันธ์กับประจุบวกในนิวเคลียส
หรือเลขอะตอม
3. ครูให้นักเรียนศึกษาตารางธาตุจากปกหนังสือเรียน หรือจากโปสเตอร์แสดงตารางธาตุที่อยู่
หน้าชั้นเรียน จากนั้นตั้งคำ�ถามเพื่อการอภิปรายว่า แถวของธาตุในแนวตั้งและแนวนอนมีกี่แถว ใน
กรอบสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบธาตุไฮโดรเจน ธาตุฮีเลียมหรือธาตุอื่น ๆ มีข้อมูลเรื่องใดบ้าง และมีข้อมูล
นั้นเหมือนกันทุกกรอบหรือไม่ ธาตุในตารางธาตุจากซ้ายไปขวาเรียงลำ�ดับตามสิ่งใด
4. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับตารางธาตุปัจจุบันโดยใช้รูป 2.19 ประกอบ โดยอธิบายว่าตารางธาตุ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
97

เรียงตามเลขอะตอมจากซ้ายไปขวา แถวธาตุในแนวตั้งเรียกว่าหมู่ มีจำ�นวน 18 หมู่ นอกจากนี้ยังแบ่ง


ได้เป็นหมู่ A และ หมู่ B โดยธาตุบางหมู่มีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ธาตุหมู่ 1 หรือ IA ยกเว้น H คือโลหะ
แอลคาไลน์ ธาตุหมู่ 18 หรือ VIIIA ยกเว้น Og คือแก๊สมีสกุล ส่วนธาตุในแนวนอนเรียกว่าคาบ มี
ทั้งหมด 7 คาบ ธาตุในกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อมูลต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์ธาตุ เลขอะตอม มวลอะตอม และ
สมบัติความเป็นโลหะ
5. ครูตั้งคำ�ถามว่า ถ้านำ�ความรู้เรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมมาใช้เป็นเกณฑ์แบ่ง
กลุ่มธาตุ จะได้ธาตุกี่กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีธาตุใดบ้าง ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแล้วนำ�ผลการ
อภิปรายไปเปรียบเทียบกับรูป 2.20 ซึ่งแบ่งกลุ่มในตารางธาตุเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่ม s p d และ f
6. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างธาตุที่เป็นโลหะ กึ่งโลหะ อโลหะ เช่น นักเรียนอาจยกตัวอย่าง Fe
Ca Si F จากนั้นตั้งคำ�ถามจากสิ่งที่นักเรียนยกตัวอย่างว่าธาตุเหล่านี้มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น
อย่างไร มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่เท่าใด อยู่ตำ�แหน่งใดของตารางธาตุ ทั้งนี้อาจใช้รูปจากปกในหนังสือ
เรียนหรือรูป 2.19 ประกอบ และควรได้คำ�ตอบว่า Fe และ Ca อยู่ด้านซ้ายของตารางธาตุ Si อยู่ตรง
ขั้นบันได ส่วน F อยู่ด้านขวาของตารางธาตุ
7. ครูให้นักเรียนพิจารณาตารางธาตุและตั้งคำ�ถามอีกว่า ธาตุที่มีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
1 หรือ 2 นำ�ไฟฟ้าและนำ�ความร้อนได้ดี ธาตุกลุ่มนี้ควรอยู่ส่วนใดของตารางธาตุ คำ�ตอบคืออยู่ทาง
ด้านซ้าย และถามคำ�ถามเพิ่มเติมว่าธาตุตรงขั้นบันได (เวเลนซ์อิเล็กตรอน 3–7) นำ�ไฟฟ้าได้ไม่ดีที่
อุณหภูมิห้องแต่นำ�ได้ดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อยู่ส่วนใดของตารางธาตุ คำ�ตอบคืออยู่ตรงกลางตาราง
ธาตุ ครูถามเพิ่มเติมว่าธาตุที่มีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 4 5 6 7 หรือ 8 นำ�ไฟฟ้าได้ไม่ดี บางธาตุ
มีสถานะแก๊ส ธาตุกลุ่มนี้ควรอยู่ส่วนใดของตารางธาตุ คำ�ตอบคืออยู่ทางด้านขวา
8. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะของธาตุ รวมถึงตำ�แหน่ง
ของกลุ่มธาตุเหล่านั้นในตารางธาตุ ทั้งนี้ควรนำ�ตารางธาตุที่มีการจำ�แนกกลุ่มธาตุด้วยสีต่าง ๆ กันมา
ใช้ประกอบการอธิบายด้วย
9. ให้นักเรียนยกตัวอย่างสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ จากความรู้เรื่องตารางธาตุ ซึ่งอาจได้คำ�ตอบ
ว่า สมบัติความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ จำ�นวนระดับพลังงานหลักและพลังงานย่อย จำ�นวน
เวเลนซ์อิเล็กตรอน แล้วนำ�เข้าสู่เรื่องสมบัติต่าง ๆ ของธาตุในตารางธาตุ
10. ครูตั้งคำ�ถามว่า ถ้าสมมติให้อะตอมของธาตุต่าง ๆ เป็นลูกบาสเก็ตบอล ลูกปิงปอง หรือวัตถุ
ทรงกลมอื่น ๆ เราจะหาขนาดอะตอมของธาตุหรือวัตถุทรงกลมต่าง ๆ ได้อย่างไร ตัวอย่างคำ�ตอบ
เช่น หาได้จากการวัดเส้นรอบวง และเมื่อได้เส้นรอบวงแล้วอาจนำ�มาคำ�นวณหารัศมีหรือเส้นผ่าน
ศูนย์กลางได้
11. ครูให้ความรู้เรื่องขนาดอะตอมของธาตุ ซึ่งบอกเป็นค่ารัศมีอะตอม มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่ง
ของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองอะตอมที่อยู่ชิดกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
98

12. ครูตั้งคำ�ถามว่า จำ�นวนระดับพลังงานหลักและพลังงานย่อยมีผลต่อขนาดอะตอมของ


ธาตุหรือไม่ อย่างไร คำ�ตอบคือ มีผลต่อขนาดอะตอมของธาตุ โดยอะตอมที่มีจำ�นวนระดับพลังงาน
หลักมากจะเสมือนมีฉากหลายชั้นมากำ�บัง ทำ�ให้แรงดึงดูดของโปรตอนกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนลดลง
อะตอมจะมีขนาดเพิ่มขึ้น ถ้าอยู่ในระดับพลังงานเดียวกันจำ�นวนโปรตอนที่เพิ่มขึ้นจะดึงดูดเวเลนซ์
อิเล็กตรอนได้มากขึ้น อะตอมจะมีขนาดเล็กลง
13. ครูให้นักเรียนนำ�ความรู้จากการตอบคำ�ถามที่ผ่านมา มาใช้อภิปรายเพื่อทำ�นายแนวโน้ม
ขนาดอะตอมของธาตุตามคาบและตามหมู่ แล้วนำ�ผลการอภิปรายมาเปรียบเทียบกับรูป 2.21 ซึ่ง
ควรสรุปได้ว่า ธาตุในคาบเดียวกันมีขนาดลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ส่วนธาตุในหมู่เดียวกันมี
ขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
14. ครูตั้งคำ�ถามว่า เมื่อธาตุเกิดเป็นไอออน อิเล็กตรอนในระดับพลังงานใดที่เปลี่ยนแปลง
ขนาดของไอออนต่างจากขนาดอะตอมเดิมหรือไม่ อย่างไร โดยให้พิจารณารูปที่ 2.22 และ 2.23
ประกอบ ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า การเกิดไอออนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจำ�นวนอิเล็กตรอนใน
ระดับพลังงานชั้นนอกสุด หรือเวเลนซ์อิเล็กตรอน โดยที่ไอออนบวกจะมีขนาดเล็กกว่าอะตอมเดิม
ส่วนไอออนลบมีขนาดใหญ่กว่าอะตอมเดิม
15. ให้ นั ก เรี ย นอภิ ป รายแนวโน้ ม ของขนาดไอออนตามหมู่ แล้ ว นำ � ผลการอภิ ป รายมา
เปรียบเทียบกับรูป 2.24 ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ขนาดไอออนของธาตุตามหมู่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่ม
ขึ้นจากบนลงล่างเช่นเดียวกับขนาดของอะตอม
16. ครูตั้งคำ�ถามว่า ในการทดลองการศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุที่ผ่านมา ขณะสังเกตเห็น
สเปกตรัมของธาตุ ธาตุนั้นอยู่ในสถานะใด และอิเล็กตรอนของธาตุนั้นดูดหรือคายพลังงาน คำ�ตอบ
คื อ ธาตุ อ ยู่ ใ นสถานะแก๊ ส ​​​​​​​​​​และเป็ น การคายพลั ง งานของอิ เ ล็ ก ตรอน​​​​​​​​​​ครู ถ ามต่ อ อี ก ว่ า การทำ � ให้
อิเล็กตรอนเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานกับการทำ�ให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​การกระทำ�
ใดจะใช้พลังงานมากกว่ากัน ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ควรได้คำ�ตอบว่า เส้นสเปกตรัมเกิดจาก
อิเล็กตรอนคายพลังงานออกมาเมื่อเปลี่ยนจากสภาวะกระตุ้นไปสู่สภาวะพื้น แต่อิเล็กตรอนไม่ใด้
หลุดออกจากอะตอม ดังนั้นการทำ�ให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมในสถานะแก๊สต้องใช้พลังงาน
สูงกว่าการที่อิเล็กตรอนเปลี่ยนระดับพลังงาน
17. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ รื่ อ งพลั ง งานไอออไนเซชั น ซึ่ ง เป็ น พลั ง งานปริ ม าณน้ อ ยที่ สุดที่ทำ�ให้
อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมในสถานะแก๊ส ถ้ามีค่าน้อยแสดงว่าทำ�ให้เป็นไอออนบวกได้ง่าย แต่
ถ้ามีค่ามากแสดงว่าทำ�ให้เป็นไอออนบวกได้ยาก
18. ให้นก
ั เรียนศึกษาค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุคาร์บอนและร่วมกันอภิปราย ซึง่ ควรได้
ข้อมูลว่าคาร์บอนมีคา่ พลังงานไอออไนเซซัน 6 ค่า แต่ละค่ามีคา่ ไม่เท่ากันและมีคา่ เพิม
่ ขึน
้ ตามลำ�ดับทีข
่ อง
พลังงานไอออไนเซชัน จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามชวนคิดและช่วยกันเฉลยคำ�ตอบ โดยครูเป็นผูช
้ แ
้ี นะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
99

ชวนคิด

เพราะเหตุใด IE4 กับ IE5 ของธาตุคาร์บอนจึงมีค่าแตกต่างกันมาก


เพราะคาร์บอนอยู่หมู่ IVA และมี 4 เวเลนซ์อิเล็กตรอน การดึงอิเล็กตรอนทั้ง 4
ออกจากอะตอมจึงทำ�ได้ง่ายเพราะอยู่ระดับพลังงานนอกสุด ส่วนอิเล็กตรอนลำ�ดับที่ 5 และ
6 อยู่ในระดับพลังงานชั้นถัดเข้าไปซึ่งใกล้กับนิวเคลียสทำ�ให้มีแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียส
กับอิเล็กตรอนมากกว่า ดังนั้นการที่จะทำ�ให้อิเล็กตรอนเหล่านั้นหลุดออกมาจึงต้องใช้
พลังงานมากกว่า 4 ลำ�ดับแรกอย่างมาก

19. ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุ 20 ธาตุในตาราง 2.10 และ


กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานไอออไนเซชันกับลำ�ดับที่ของพลังงานไอออไนเซชัน จาก
นั้นตั้งคำ�ถามว่า
- ค่า IE1 ของแต่ละธาตุต่างกันอย่างไร ควรได้คำ�ตอบว่า ต่างกันโดยค่า IE1 ของธาตุใน
คาบเดียวกันจะเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม
- ธาตุเดียวกันจะมีล�ำ ดับ IE เป็นอย่างไร ควรได้ค�ำ ตอบว่าเพิม
่ ขึน
้ ตามลำ�ดับ เช่น IE3 > IE2 > IE1
- ถ้าจัดกลุ่มค่า IE ของธาตุ F เป็นกลุ่มจะจัดได้อย่างไร ควรได้คำ�ตอบว่าจัดได้ 2 กลุ่ม
ตาม ค่า IE ที่ใกล้เคียงกัน คือ IE1– IE7 และ IE8– IE9 ดังตาราง 2.10
20. ครูให้นักเรียนตรวจสอบผลการจัดกลุ่ม IE ของธาตุ F โดยใช้กราฟจากรูป 2.25 ข) ซึ่งพบ
ว่าแบ่งเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ กลุ่มที่ประกอบด้วยจุด 7 จุดซึ่งมีค่าใกล้เคียงกันและอยู่บริเวณด้านล่าง
และอีกกลุ่มมี 2 จุดและอยู่บริเวณด้านบนของเส้นกราฟ
21. ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและช่วยกันเฉลยคำ�ตอบ โดยครูคอยชีแ
้ นะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
100

ตรวจสอบความเข้าใจ

นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า ค่ า พลั ง งานไอออไนเซชั น ของธาตุ ใ ช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล สำ � หรั บ การจั ด กลุ่ ม


อิเล็กตรอนทีอ
่ ยูร่ อบนิวเคลียสของแต่ละธาตุได้หรือไม่ อย่างไร
ได้ โดยพิจารณาจากค่า IE ทีใ่ กล้เคียงกันของธาตุนน
้ั ๆ เช่น K สามารถจัดกลุม
่ ตามค่า IE
ทีใ่ กล้เคียงกันได้เป็น 4 กลุม
่ โดยเรียงจากค่า IE น้อยไปมาก กลุม
่ ที่ 1 คือ IE1 กลุม
่ ที่ 2 คือ IE2-IE9
กลุม
่ ที่ 3 คือ IE10-IE17 และ กลุม
่ ที่ 4 คือ IE18-IE19 ซึง่ สัมพันธ์กบ
ั การจัดเรียงอิเล็กตรอน 2 8 8 1

22. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อทำ�นายแนวโน้มของค่าพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1
ของธาตุ ตามคาบและตามหมู่ รวมทั้งเหตุผลสนับสนุน แล้วเปรียบเทียบผลการอภิปรายกับรูป 2.26
จากนั้นศึกษาเหตุผลคำ�อธิบายใต้ภาพเพื่อตรวจสอบสิ่งที่อภิปราย และย้อนกลับไปตอบคำ�ถามเกี่ยว
กับแนวโน้มค่า IE1 ตามขนาดอะตอมที่ได้ทำ�นายไว้ และควรสรุปได้ว่าค่า IE1 มีความสัมพันธ์กับ
ขนาดอะตอมโดยค่า IE1 จะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดอะตอมลดลง
23. ครูทบทวนว่าค่าพลังงาน IE1 เป็นพลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำ�ให้อิเล็กตรอนหลุดออกจาก
อะตอมในสถานะแก๊สเกิดเป็นไอออนบวก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน จากนั้นถาม
คำ�ถามว่าถ้าอะตอมของธาตุมีการรับอิเล็กตรอนจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างไรเพื่อนำ�เข้าสู่
หัวข้อสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
24. ครูทบทวนเรื่องการเกิดไอออน จากนั้นตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ใน
การเกิดเป็นไอออนของธาตุ ธาตุทร่ี บ
ั อิเล็กตรอนได้ดจ
ี ะอยูส
่ ว่ นใดของตารางธาตุ และการรับอิเล็กตรอน
เป็นการดูดหรือคายพลังงาน ควรได้คำ�ตอบว่าอยู่ทางด้านขวาและเป็นการคายพลังงาน
25. ครูให้ความรู้เรื่องสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนว่า เป็นพลังงานที่คายออกเมื่ออะตอมใน
สถานะแก๊สได้รับอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน อะตอมที่สามารถรับอิเล็กตรอนได้ดีจะมีสัมพรรคภาพ
อิ เ ล็ ก ตรอนสู ง กว่ า อะตอมที่ รั บ อิ เ ล็ ก ตรอนได้ ย าก​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ครู อาจให้นักเรียนเปรียบเทียบสัมพรรคภาพ
อิเล็กตรอนกับพลังงานไอออไนเซชันของธาตุเหมือนและต่างกันอย่างไร คำ�ตอบคือทัง้ สองค่าใช้อธิบาย
อะตอมในสถานะแก๊สเหมือนกัน แต่ทต
่ี า่ งกันคือสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นการคายพลังงานออกมา
ส่วนพลังงานไอออไนเซชันเป็นการดูดพลังงาน
26. ให้นักเรียนพิจารณารูป 2.27 เพื่อศึกษาแนวโน้มของค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของ
ธาตุในตารางธาตุ แล้วร่วมกันสรุปสาระสำ�คัญ โดยอาจสรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาธาตุตามคาบ ธาตุโลหะ
หมู่ IA IIA และ IIIA มีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนยากโดยเฉพาะธาตุในหมู่ IIA จะรับอิเล็กตรอน
ยากที่สุด ส่วนธาตุในหมู่ IVA VA VIA และ VIIA มีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนสูงโดยเฉพาะหมู่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
101

VIIA จะรับอิเล็กตรอนได้ดีที่สุด สำ�หรับธาตุหมู่ VIIIA มีค่า EA เป็นลบซึ่งได้จากการคำ�นวณแสดง


ให้เห็นว่าถ้าต้องการให้ธาตุหมู่นั้นรับอิเล็กตรอนนอกจากจะไม่คายพลังงานแล้ว ยังต้องใส่พลังงาน
แก่อะตอมเพิ่มด้วย
27. ครูทบทวนเรื่องธาตุและสารประกอบโดยยกตัวอย่าง เช่น Na HCl จากนั้นให้นักเรียน
บอกความแตกต่างระหว่างธาตุและสารประกอบ แล้วให้ความรู้เพิ่มเติมว่าสารประกอบบางชนิด
เช่น HCl มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน แล้วถามนักเรียนว่าอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันอยู่ตำ�แหน่งใดของ
โมเลกุล (อยู่ใกล้ H หรือ Cl) เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องอิเล็กโทรเนกาติวิตี
28. ครูให้ความหมายของค่าอิเล็กโทรเนกาติวีตีว่าเป็นความสามารถของอะตอมในการดึงดูด
อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันในโมเลกุลของสาร จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 2.28 แล้วร่วมกันสรุปแนวโน้ม
ค่าอิเล็กโทรเนกาติวต
ิ ข
ี องธาตุในตารางธาตุ ซึง่ ควรได้วา่ ธาตุในคาบเดียวกันมีคา่ เพิม
่ ขึน
้ เมือ
่ เลขอะตอม
เพิ่มขึ้น เนื่องจากขนาดของอะตอมเล็กลง ธาตุในหมู่เดียวกันส่วนใหญ่มีค่าลดลง เนื่องจากขนาด
ของอะตอมใหญ่ขึ้น
29. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อกลับไปตอบคำ�ถามว่าในสารประกอบ HCl อิเล็กตรอน
ที่ใช้ร่วมกันน่าจะอยู่ตำ�แหน่งใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่าอิเล็กตรอนอยู่ใกล้อะตอมของคลอรีนมากกว่า
ไฮโดรเจน เนื่องจากมีค่า EN สูงกว่าอะตอมของไฮโดรเจน
30. ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.4 แล้วเฉลยร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของตารางธาตุ การระบุหมู่และคาบของธาตุในตารางธาตุ การ
จัดกลุ่มธาตุในตารางธาตุตามสมบัติความเป็นโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และตามการจัดเรียงอิเล็กตรอน
จากการทำ�กิจกรรม การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ความรูเ้ กีย
่ วกับแนวโน้มของขนาดอะตอม ขนาดไอออน พลังงานไอออไนเซชัน สัมพรรคภาพ
อิเล็กตรอน และอิเล็กโทรเนกาติวิตี ของธาตุหมู่หลักตามคาบและตามหมู่ จากการการอภิปราย
การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
3. ทักษะการจำ�แนกประเภท การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การสร้างแบบจำ�ลอง
และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ�จากการอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
102

แบบฝึกหัด 2.4

1. ธาตุที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้อยู่ในหมู่ใดและคาบใดในตารางธาตุ และมีสมบัติเป็นโลหะ
กึ่งโลหะ หรืออโลหะ (ตอบคำ�ถามโดยไม่ใช้ตารางธาตุ)
1.1 ธาตุ A มีเลขอะตอม 11
ธาตุ A มีจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 1 จึงอยู่ในหมู่ IA คาบ 3 เป็นธาตุโลหะ
1.2 ธาตุ B มีจำ�นวนโปรตอน 20
ธาตุ A มีจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 8 2 จึงอยู่ในหมู่ IIA คาบ 4 เป็นธาตุโลหะ
1.3 ธาตุ C มีจำ�นวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 35
ธาตุ C มีจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 7 จึงอยู่ในหมู่ VIIA คาบ 4 เป็นธาตุอโลหะ
1.4 ธาตุ D มีเลขมวล 31 และมีจำ�นวนนิวตรอน 16
ธาตุ D มีจำ�นวนโปรตอนเท่ากับ 31 – 16 = 15
ธาตุ D จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 5 จึงอยู่ในหมู่ VA คาบ 3 เป็นธาตุอโลหะ
5. ธาตุ E มีเลขมวล 72 และมีเลขอะตอม 32
ธาตุ E จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 4 อยู่ในหมู่ IVA คาบ 4 เป็นธาตุกึ่งโลหะ

2. ธาตุแต่ละคู่ต่อไปนี้ ธาตุใดมีขนาดใหญ่กว่า
1.1 K กับ Ca 1.4 Rb กับ Cs 1.7 N กับ P
K ใหญ่กว่า Ca Cs ใหญ่กว่า Rb P ใหญ่กว่า N
1.2 F กับ Na 1.5 Ca กับ Sr 1.8 B กับ C
Na ใหญ่กว่า F Sr ใหญ่กว่า Ca B ใหญ่กว่า C
1.3 Mg กับ Ca 1.6 S กับ C 1.9 Cl กับ O
Ca ใหญ่กว่า Mg S ใหญ่กว่า C Cl ใหญ่กว่า O

3. ไอออนแต่ละคู่ต่อไปนี้ ไอออนใดมีขนาดใหญ่กว่า
1.1 Mg2+ กับ Ca2+ 1.3 F- กับ Na+
Ca2+ ใหญ่กว่า Mg2+ F- ใหญ่กว่า Na+
1.2 S2- กับ Cl- 1.4 Ca2+ กับ Al3+
S2- ใหญ่กว่า Cl- Ca2+ ใหญ่กว่า Al3+

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
103

4. ธาตุ X Y และ Z เป็นธาตุหมู่ IA IIA และ VIIA ตามลำ�ดับ และอยู่ในคาบเดียวกัน จง


เปรียบเทียบสมบัติต่อไปนี้
4.1 พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1
พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของธาตุเรียงลำ�ดับจากสูงไปต่ำ�ดังนี้
ธาตุ Z สูงที่สุด รองลงมาคือธาตุ Y และต่ำ�ที่สุดคือธาตุ X เนื่องจากเลข
อะตอมเพิ่มขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนจึงเพิ่มขึ้น
ตามคาบ อิเล็กตรอนจึงหลุดจากอะตอมได้ยาก IE1 จึงมีค่าสูงขึ้นตามคาบ

4.2 อิเล็กโทรเนกาติวิตี
ธาตุ Z สูงที่สุด รองลงมาคือธาตุ Y และต่ำ�ที่สุดคือธาตุ X เนื่องจากเลข
อะตอมเพิ่มขึ้นตามคาบ ขนาดอะตอมจะเล็กลง ความสามารถในการดึงดูด
อิเล็กตรอนจึงเพิ่มขึ้น EN จึงมีค่าสูงขึ้นตามคาบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
104

2.5 ธาตุแทรนซิชัน

จุดประสงค์การเรียนรู้
เปรี ย บเที ย บสมบั ติ บ างประการของโลหะเรพรี เ ซนเทที ฟ หรื อ โลหะหมู่ ห ลั ก และโลหะ
แทรนซิชัน

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ปรอทเป็นโลหะที่มีสีแดง เนื่องจากเข้าใจว่า ปรอทเป็ น โลหะที่ มี ส ถานะเป็ น ของเหลวที่


ของเหลวสี แ ดงที่ บ รรจุ ใ นเทอร์ ม อมิ เ ตอร์ คื อ อุณหภูมิห้องและมีสีเงินวาวเหมือนโลหะอื่น ๆ
ปรอท

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. ชุดปฐมพยาบาล
2. เครื่องดับเพลิง

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตั้งคำ�ถามเพื่อทบทวนเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มธาตุในตารางธาตุ และสมบัติของกลุ่มธาตุ
หมู่หลักที่ได้ศึกษามาแล้วว่ามีอะไรบ้าง ให้นักเรียนพิจารณารูป 2.29 แล้วถามว่าธาตุแทรนซิชันอยู่
บริเวณใดของตารางธาตุ ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่าอยู่ระหว่าง IIA กับ IIIA (หมู่ 2 กับ 13) และใช้คำ�ถาม
ต่ออีกว่าเพราะเหตุใดจึงจัดธาตุแทรนซิชันแยกเป็นอีกหนึ่งกลุ่ม เพื่อนำ�เข้าสู่การศึกษาสมบัติของ
ธาตุแทรนซิชัน
2. ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลในตาราง 2.11 กับ 2.12 แล้วอภิปรายในกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบ
สมบัติบางประการของธาตุโพแทสเซียมและแคลเซียมที่เป็นธาตุหมู่ IA และ IIA กับธาตุแทรนซิชัน
ในคาบที่ 4 ซึ่งอยู่ในคาบเดียวกัน จากนั้นครูกับนักเรียนร่วมกันสรุปอีกครั้งซึ่งควรได้สาระสำ�คัญดังนี้
- รัศมีอะตอมของโลหะหมู่หลักจะมีขนาดใหญ่กว่าโลหะแทรนซิชันในคาบเดียวกันโดย
โลหะแทรนซิชันในคาบเดียวกันมีขนาดใกล้เคียงกัน
- ธาตุแทรนซิชันมีจุดหลอมเหลว จุดเดือด ความหนาแน่น สูงกว่าธาตุโพแทสเซียมและ
แคลเซียม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
105

- ทั้งธาตุโพแทสเซียมและแคลเซียมและธาตุแทรนซิชันมีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับ
ที่ 1 และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ�
- อิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุโพแทสเซียมและแคลเซียมจะถูก
บรรจุในระดับพลังงานย่อย 4s ส่วนธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 อิเล็กตรอนตัวสุดท้ายจะถูกบรรจุใน
ระดับพลังงานย่อย 3d เพราะว่าระดับพลังงานย่อย 3d สูงกว่า 4s ตามแผนภาพในรูป 2.15 ที่ได้
ศึกษามาแล้ว
- ธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 ส่วนใหญ่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เช่นเดียวกับ
ธาตุ แ คลเซี ย มยกเว้ น ธาตุ โ ครเมี ย มและทองแดงมี เ วเลนซ์ อิ เ ล็ ก ตรอนเท่ า กั บ ​​​​​​​1​​​​​​​​​​​เช่ น เดี ย วกั บ ธาตุ
โพแทสเซียม
3. ครูให้นักเรียนร่วมกันตอบคำ�ถามว่าเหตุใดขนาดอะตอมของธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 จึง
มีค่าใกล้เคียงกัน ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า เมื่อธาตุแทรนซิชันมีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น จำ�นวนอิเล็กตรอน
ที่เพิ่มขึ้นจะเข้าไปอยู่ที่ออร์บิทัล 3d ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการขยายขนาดกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน (เพราะ
ไม่ใช่ระดับพลังงานชั้นนอกสุด)​​​​​​​​​​​​​​​​​และแม้จำ�นวนโปรตอนจะเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอมแต่เนื่องจากมี
อิเล็กตรอนในออร์บิทัล 3d ทำ�หน้าที่กำ�บังดังนั้นแรงดึงดูดของโปรตอนในนิวเคลียสต่ออิเล็กตรอนใน
ออร์บิทัล 4s จึงมีค่าน้อยทำ�ให้ขนาดอะตอมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
4. ครูถามคำ�ถามว่านอกจากสมบัติต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาแล้ว โลหะแทรนซิชันและโลหะหมู่หลัก
ยังมีสมบัติใดแตกต่างกันอีกบ้าง เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 2.4
5. ให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 2.4

กิจกรรม 2.4 สีของสารประกอบ

จุดประสงค์ของกิจกรรม
เปรียบเทียบสีของสารประกอบของโลหะหมู่หลักกับโลหะแทรนซิชัน

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 5 นาที


ทำ�กิจกรรม 15 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 10 นาที
รวม 30 นาที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
106

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

ชุดบัตรภาพสารประกอบ 1 ชุด

การเตรียมล่วงหน้า
เตรียมชุดบัตรภาพสารประกอบดังตัวอย่างหรือใช้ภาพของสารประกอบอื่น ๆ ที่
สอดคล้องกับจุดประสงค์ ให้เท่ากับจำ�นวนกลุ่มของนักเรียน

คอปเปอร์(II)ซัลเฟต เพนตะไฮเดรต
คอปเปอร์(II)คาร์บอเนต (CuCO3)
(CuSO4•5H2O)

แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
107

ซิงค์ซัลเฟต (ZnSO4) โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)

โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โพแทสเซียมไนเทรต (KNO3)

แมงกานีส(IV)ออกไซด์ (MnO2) ลิเทียมคลอไรด์ (LiCl)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
108

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
จากการสังเกตสีและแบ่งกลุ่มสารประกอบ ได้ผลดังนี้

สารประกอบของโลหะหมู่หลัก สารประกอบของโลหะแทรนซิชัน

สูตรเคมี สีของสารประกอบ สูตรเคมี สีของสารประกอบ

NaCl สีขาว CuSO4•5H2O สีฟ้า


Na2CO3 สีขาว CuCO3 สีเขียวอ่อน
KNO3 สีขาว MnO2 สีเทา-ดำ�
CaSO4 สีขาว ZnSO4 สีเหลืองอ่อน
CaCO3 สีขาว
LiCl สีขาว

อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม
1. สีของสารประกอบเป็นสมบัติทางกายภาพ ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
2. สารประกอบของโลหะหมู่หลักส่วนใหญ่เป็นสีขาว ส่วนสารประกอบของโลหะ
แทรนซิชันมักจะมีสี เช่น CuSO4•5H2O มีสีฟ้า ZnSO4 มีสีเหลืองอ่อน

สรุปผลการทำ�กิจกรรม
สารประกอบของโลหะหมู่ ห ลั ก ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น สี ข าว​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ส่ ว นสารประกอบของโลหะ
แทรนซิชันส่วนใหญ่มีสี

6. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด โดยให้สืบค้นข้อมูลและช่วยกันเฉลย ซึ่งจากการตอบ


คำ�ถามนักเรียนจะพบว่าในกรณีที่สารประกอบมีทั้งโลหะหมู่หลักและโลหะแทรนซิชัน สารประกอบ
จะมีสี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
109

ชวนคิด

นักเรียนคิดว่า KMnO4 K2CrO4 และ Na2CoCl4 เป็นสารประกอบที่มีสีหรือไม่เพราะเหตุใด


สารประกอบทั้ง 3 ชนิดมีสีโดย KMnO4 มีสีม่วง K2CrO4 มีสีเหลือง และ Na2CoCl4 มี
สีน้ำ�เงิน การที่สารประกอบทั้งหมดมีสี เนื่องจากมีธาตุแทรนซิชันเป็นองค์ประกอบ

7. ครู ถ ามคำ � ถามเพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นอภิ ป รายว่ า นอกจากการมี สี ข องสารประกอบแล้ ว โลหะ
แทรนซิชันยังมีสมบัติใดที่แตกต่างโลหะหมู่หลักอีกบ้าง เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 2.5

กิจกรรม 2.5 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ�

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทำ�การทดลองเพือ
่ ศึกษาปฏิกริ ย
ิ าเคมีระหว่างโซเดียม แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสีกบ
ั น้�ำ
2. เปรียบเทียบความว่องไวในการทำ�ปฏิกริ ย
ิ าเคมีกบ
ั น้�ำ ของธาตุหมู ่ IA IIA และธาตุแทรนซิชน

3. ระบุสมบัติความเป็นกรดและเบสของสารละลายที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาเคมี

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 10 นาที


ทำ�การทดลอง 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 20 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. โซเดียมขนาดเท่าครึ่งเมล็ดถั่วเขียว 1 ชิ้น
2. ลวดแมกนีเซียมขนาด 0.5 cm × 1 cm 1 ชิ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
110

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

3. ทองแดงขนาด 0.5 cm × 1 cm 1 ชิ้น


4. สังกะสีขนาด 0.5 cm × 1 cm 1 ชิ้น
5. สารละลาย HCl 0.3 M 1 mL
6. สารละลาย NaOH 0.3 M 1 mL
7. ฟีนอล์ฟทาลีน 12 หยด
8. น้ำ�กลั่น -
วัสดุและอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด 250 mL 1 ใบ
2. หลอดทดลองขนาดเล็ก 2 หลอด
3. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 6 หลอด
4. ที่วางหลอดทดลอง 1 อัน
5. หลอดหยด 1 หลอด
6. กระบอกตวง 10 mL 3 อัน
7. กระดาษทรายเบอร์ 1 ขนาด 3 cm × 3 cm 3 แผ่น
8. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด
9. เทอร์มอมิเตอร์ขนาด 0-100 °C 1 อัน
10. กระจกนาฬิกาหรือแผ่นกระจก 1 อัน
11. ปากคีบ 1 อัน
12. กระดาษทิชชู่ 2 แผ่น

การเตรียมล่วงหน้า
1. ตัดโซเดียม แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี และกระดาษทรายเบอร์ 1 ตามขนาดที่กำ�หนด
และมีจำ�นวนเท่าจำ�นวนกลุ่มของนักเรียนในชั้น สำ�หรับชิ้นโซเดียมที่ตัดแล้วให้แช่ไว้
ในน้ำ�มันพาราฟิน
2. เตรียมสารละลาย HCl 0.3 M ปริมาตร 20 mL โดยรินกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 6 M
ปริมาตร 1 mL ลงในน้ำ�กลั่นประมาณ 15 mL แล้วเติมน้ำ�จนสารละลายมีปริมาตรเป็น
20 mL

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
111

3. เตรียมสารละลาย NaOH 0.3 M ปริมาตร 20 mL โดยละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์


0.24 กรัม ในน้ำ�กลั่นประมาณ 15 mL คนจนสารละลายหมด แล้วเติมน้ำ�จนสารละลาย
มีปริมาตรเป็น 20 mL

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
1. ต้องสวมแว่นตานิรภัยขณะทำ�การทดลองเสมอ
2. การนำ�ชิ้นโซเดียมไปทดลองต้องใช้ปากคีบ ห้ามใช้มือจับโซเดียมเด็ดขาด
3. ก่อนหย่อนโซเดียมลงในน้ำ� ต้องซับน้ำ�มันบนชิ้นโซเดียมด้วยกระดาษทิชชู่ก่อน
4. เมื่อคีบชิ้นโซเดียมใส่ลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำ�และฟีนอล์ฟทาลีนบรรจุอยู่แล้ว ห้ามยื่นหน้า
เข้าใกล้บีกเกอร์ที่ทดลอง รวมถึงต้องทดลองด้วยความระมัดระวังเพราะอาจมีอันตราย
เกิดขึ้นได้
5. ลวดแมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสีต้องใช้กระดาษทรายขัดเพื่อกำ�จัดสารประกอบ
ออกไซด์ ห รื อ สิ่ ง เจื อ ปนที่ เ คลื อ บบนผิ ว โลหะเหล่ า นั้ น ออกให้ ห มดก่ อ นนำ � ไปทำ � การ
ทดลอง

ตัวอย่างผลการทดลอง
ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงกับสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน

สาร การเปลี่ยนแปลงกับสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน*

0.3 M HCl ใส ไม่มีสี

0.3 M NaOH สารละลายเปลี่ยนเป็นสีชมพู

* ในบางประเทศห้ามนำ�สารละลายฟีนอล์ฟทาลีนมาใช้ในการเรียนการสอนเนื่องจากเป็น
สารก่อมะเร็ง ดังนัน
้ จึงใช้อน
ิ ดิเคเตอร์ตวั อืน
่ แทน เช่น ในการทดลองนีถ
้ า้ ใช้สารละลาย
โบรโมไทมอลบลูทดสอบกับ 0.3 M HCl จะเปลีย
่ นสารละลายเป็นสีเหลือง แต่เมือ
่ ทดสอบ
0.3 M NaOH จะได้สารละลายสีน้ำ�เงิน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
112

ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงเมื่อใส่โซเดียม แมกนีเซียม ทองแดงและสังกะสีลงในน้ำ�

ชนิดของ การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้เมื่อทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ�
โลหะ อุณหภูมิห้อง 60-80 °C

โซเดียม ก้ อ นโซเดี ย มวิ่ ง บนผิ ว น้ำ � และทำ �


ปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ�อย่างรวดเร็ว
มีควันสีขาวเกิดขึ้น สารละลาย
เปลี่ยนเป็นสีชมพู

แมกนีเซียม เกิดฟองแก๊สเล็กน้อยเกาะที่แผ่น เกิดฟองแก๊สได้มากขึ้นสารละลาย


แมกนีเซียม (สังเกตเห็นยาก) รอบ ๆ แมกนีเซียมเป็นสีชมพูอ่อน

ทองแดง สังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง สังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง

สังกะสี สังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง สังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง

อภิปรายผลการทดลอง
1. เมื่อหยดสารละลายนอล์ฟทาลีนลงใน 0.3 M HCl สารละลายจะใสไม่มีสี แต่เมื่อ
หยดลงใน 0.3 M NaOH พบว่าสารละลายเปลี่ยนเป็นสีชมพู แสดงว่าสารละลาย
ฟีนอล์ฟทาลีนในสภาวะที่เป็นกรดใสไม่มีสีแต่ในสภาวะที่เป็นเบสจะเป็นสีชมพู
2. โซเดียมเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ�ที่อุณหภูมิห้องได้รวดเร็วและรุนแรง ได้สารละลายมี
สมบัติเป็นเบสเนื่องจากมีสีชมพูจากฟีนอล์ฟทาลีนเกิดขึ้น
3. แมกนีเซียมเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ�ที่อุณหภูมิห้องได้ช้า แต่เกิดปฏิกิริยากับน้ำ�ร้อนได้
เร็วกว่า ได้สารละลายมีสมบัติเป็นเบส เนื่องจากมีสีชมพูจากฟีนอล์ฟทาลีนเกิดขึ้น
4. ปฏิกิริยาของทองแดงและสังกะสีกับน้ำ�ที่อุณหภูมิห้องและในน้ำ�ร้อน สังเกตไม่เห็นการ
เปลี่ยนแปลง
5. ความสามารถในการเกิ ด ปฏิ กิ ริ ย าเคมี กั บ น้ำ � ของธาตุ ทั้ ง 4 ชนิ ด พบว่ า โลหะ
โซเดี ย มเกิ ด ปฏิ กิ ริ ย าได้ ร วดเร็ ว ที่ ส ุ ด รองลงมาคื อ แมกนี เ ซี ย ม ส่ ว นทองแดงและ
สังกะสีไม่ทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
113

สรุปผลการทดลอง
1. โลหะหมู่หลักเกิดปฏิกิริยากับน้ำ�ได้ดีกว่าโลหะแทรนซิชัน
2. เมื่อโลหะหมู่หลักทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ� จะได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นเบส

8. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าแก๊สที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาของโซเดียมและแมกนีเซียมกับน้ำ�คือแก๊ส
ไฮโดรเจน และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน โดยครูเขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยา
เคมีระหว่างโซเดียม แมกนีเซียมกับน้ำ�ประกอบการอธิบาย
9. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด โดยอาจสืบค้นข้อมูลเพื่อตอบคำ�ถามและช่วยกันเฉลย

ชวนคิด

การทดสอบแก๊สเพื่อยืนยันว่าเป็นแก๊สไฮโดรเจนทำ�ได้อย่างไร
แก๊สไฮโดรเจนมีสมบัติติดไฟได้ วิธีทดสอบทำ�ได้โดยใช้ก้านธูปที่มีเปลวไฟ จ่อที่ปาก
หลอดทดลองที่มีแก๊สบรรจุอยู่ ซึ่งจะมีเสียงดังเกิดขึ้น

10. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.5 จากนั้นเฉลยคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับขนาดอะตอม จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่นของธาตุ สีของ
สารประกอบ ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยากับน้ำ� ของธาตุแทรนซิชันและกลุ่มธาตุหมู่หลัก จาก
การทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำ�หนดและ
ควบคุมตัวแปร การทดลอง และการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการทำ�การทดลอง
3. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�
กิจกรรม
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมขณะทำ�กิจกรรมและ
การทดลอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
114

แบบฝึกหัด 2.5

1. ธาตุ A B และ C มีเลขอะตอม 40 50 และ 60 ตามลำ�ดับ ธาตุใดเป็นธาตุหมู่หลักและ


ธาตุใดเป็นธาตุแทรนซิชัน
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ A คือ [Kr]5s24d2 ธาตุ B คือ [Kr]5s24d105p2
และ ธาตุ C คือ [Xe]6s24f4
จะเห็นว่า ธาตุ A และ C บรรจุอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายที่ออร์บิทัล d และ f
จึงเป็นธาตุแทรนซิชัน
ส่วน ธาตุ B บรรจุอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายที่ออร์บิทัล p จึงเป็นธาตุหมู่หลัก

2. เขียนแผนภาพเวนน์เปรียบเทียบสมบัติที่เหมือนและที่แตกต่างของโลหะหมู่หลักและ
โลหะแทรนซิชัน

โลหะหมู่หลัก
โลหะแทรนซิชัน
ขนาดอะตอมในคาบ
เดียวกันมีขนาดต่างกัน ขนาดอะตอมในคาบ
มีค่า IE1 เดียวกันใกล้เคียงกัน
สารประกอบส่วน และ EN ต่ำ�
ใหญ่มีสีขาว สารประกอบมักมีสี
พลังงานสูงสุดของ เป็นโลหะ
พลังงานสูงสุดของ
อิเล็กตรอนที่บรรจุ อิเล็กตรอนที่บรรจุ
ส่วนใหญ่อยู่ใน ส่วนใหญ่อยู่ใน
s orbital d orbital

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
115

2.6 ธาตุกัมมันตรังสี

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
2. คำ�นวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เมื่ อ ธาตุ เ กิ ด การแผ่ รั ง สี ปริ ม าณเนื้ อ สาร เมื่ อ ธาตุ เ กิ ด การแผ่ รั ง สี ปริ ม าณเนื้ อ สาร
ทั้งหมดจะหายไป ทัง้ หมดไม่ได้หายไป เพียงแต่มก
ี ารเปลีย
่ นแปลง
จากไอโซโทปหนึ่งไปเป็นอีกไอโซโทป

ไอโซโทปกัมมันตรังสีสามารถแผ่รังสีได้เพียง นอกจากรังสีแอลฟา แกมมา และบีตา แล้ว


3 ชนิด คือแอลฟา แกมมา และบีตา ไอโซโทปกั ม มั น ตรั ง สี ยั ง แผ่ รั ง สี ช นิ ด อื่ น ได้
เช่น โพซิตรอน นิวตรอน

กั ม มั น ตภาพรั ง สี เ กิ ด จากการคายพลั ง งาน กัมมันตภาพรังสีเกิดจากนิวเคลียสที่ไม่เสถียร


ของอิเล็กตรอนที่ไม่เสถียรจากสถานะกระตุ้น อั น เกิ ด จากสั ด ส่ ว นที่ ไ ม่ เ หมาะสมระหว่ า ง
มายังสถานะพื้น โปรตอนและนิ ว ตรอน ไม่ ไ ด้ เ กี่ ย วข้ อ งกับ
อิเล็กตรอน

ไอโซโทปกั ม มั น ตรั ง สี ม าจากธาตุ ที่ มี เ ลข ไอโซโทปกั ม มั น ตรั ง สี ม าจากธาตุ ที่ มี เ ลข


อะตอมที่สูงกว่า 83 เท่านั้น อะตอมที่ต่ำ�กว่า 83 ได้ เช่น C-14

การเตรียมล่วงหน้า
รูปภาพ ข่าว หรือบทความที่เกี่ยวกับกัมมันตรังสี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
116

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูนำ�รูปภาพตัวอย่างเหตุการณ์ต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ต ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และโทษ
ของไอโซโทปกัมมันตรังสี เช่น คนเก็บของเก่า (Co-60) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เครื่องเอกซเรย์ การทำ�
MRI การหาอายุวัตถุโบราณ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพที่ได้รับ
พร้อมอธิบายว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสมบัติใดของธาตุ ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า เกี่ยวข้องกับ
สมบัติการแผ่รังสี
2. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ�ว่า กัมมันตภาพรังสี ไอโซโทปกัมมันตรังสีหรือสาร
กัมมันตรังสีและธาตุกัมมันตรังสี แล้วให้นักเรียนศึกษาข้อมูลในรูป 2.31 และตาราง 2.13 เพื่อสรุป
ชนิดของรังสี สัญลักษณ์ และสมบัติของรังสี ได้แก่ แอลฟา บีตา แกมมา หรือรังสีอื่น ๆ
3. ครู อ ธิ บ ายการเขี ย นสมการแสดงการสลายตั ว ของไอโซโทปกั ม มั น ตรั ง สี ใ นบทเรี ย น
ซึ่งสังเกตได้ว่า ในกรณีที่การสลายตัวเกิดธาตุใหม่ สัญลักษณ์ธาตุ เลขอะตอมและเลขมวลจะ
204
เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าธาตุเดิมจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะเลขมวล เช่น 82 Pb เมื่อแผ่รังสีแอลฟา สามารถ
เขียนสมการแสดงการสลายตัวได้ดังนี้

204
82 Pb
200
4
80 Hg + He
2

จากสมการสังเกตเห็นว่าผลรวมของเลขมวลและเลขอะตอมด้านซ้ายเท่ากับด้านขวา

4. ให้ นัก เรี ย นพิ จ ารณาอั ต ราส่ ว นของจำ � นวนนิ ว ตรอนต่ อ จำ � นวนโปรตอนของไอโซโทปที่
เสถียรกับไอโซโทปกัมมันตรังสีชนิดต่าง ๆ เช่น 126 C กับ 146 C และ 54 60 23
27 Co กับ 27 Co และ
11 Na กับ
24
11 Na แล้วเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างนิวตรอนกับโปรตอนแต่ละคู่ ซึง่ ควรสังเกตพบว่าไอโซโทป
กั ม มั น ตรั ง สี มีจำ� นวนนิ ว ตรอนแตกต่ า งจากจำ � นวนโปรตอนมากหรื อ มี อัต ราส่ ว นของนิ ว ตรอนต่ อ
โปรตอนมากกว่า 1 ทัง้ นีค
้ รูใช้รป
ู 2.33 ประกอบการอธิบาย
5. ครูตง้ั คำ�ถามว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี เช่น 226 28
88 Ra 13 Al หรือ
99
52 Te เมือ
่ สลายตัวแล้ว
ไอโซโทปทัง้ 3 ชนิดนีส
้ ลายตัวให้รงั สีชนิดใด และสัญลักษณ์นวิ เคลียร์ดงั กล่าวเปลีย
่ นแปลงอย่างไรบ้าง
226
โดยพิจารณารูป 2.32 ประกอบ ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า Ra อาจแผ่
88 รงั สีแอลฟาเพราะมีมวลอะตอม
28
มากและเมื่อเทียบกับเขตเสถียรภาพแล้วอยู่ในช่วงที่แผ่รังสีแอลฟา สำ�หรับ 13 Al แผ่รังสีบีตา
เพราะสัดส่วนของนิวตรอนต่อโปรตอนมีมากเกินไปและเมื่อเทียบกับเขตเสถียรภาพแล้วอยู่ในช่วงที่
99
แผ่บต
ี า ส่วน 52Te แผ่รงั สีแกมมาซึง่ มีพลังงานสูงมากและไม่เสถียรและเมือ
่ สลายตัวแล้วได้ไอโซโทป
เดิม
6. ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและช่วยกันเฉลย โดยครูคอยชีแ
้ นะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
117

ตรวจสอบความเข้าใจ

204 210
1. ปัจจัยใดที่ทำ�ให้ 82 Pb มีแนวโน้มในการแผ่รังสีแอลฟาในขณะที่ 82 Pb มีแนวโน้มใน
การแผ่รงั สีบต
ี า
204
82 Pb มีแนวโน้มในการแผ่รงั สีแอลฟาเนือ
่ งจากมีเลขอะตอมสูง
สำ�หรับ 210
82 Pb ซึง
่ มีเลขอะตอมสูงเช่นกัน แต่ถา้ พิจารณาสัดส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนแล้ว
พบว่ามีคา่ มาก จึงมีแนวโน้มในการลดจำ�นวนนิวตรอนทำ�ให้แผ่รงั สีบต
ี า (ถ้าดูรป
ู 2.32 พบว่า
อยูส
่ ว่ นบนของแถบเสถียรภาพ)
2. นักเรียนคิดว่า 146C มีแนวโน้มในการแผ่รงั สีชนิดใด เพราะเหตุใด
14
6 C มีสด
ั ส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนสูง จึงมีแนวโน้มในการลดจำ�นวนนิวตรอน ทำ�ให้แผ่รงั สี
บีตา

7. ครูให้นักเรียนดูรูป 2.33 จากนั้นร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�


วันที่มนุษย์มีโอกาสได้รับรังสี เช่น การฉายรังสี จากนั้นให้ความรู้เกี่ยวกับปริมาณรังสีที่เป็นอันตราย
และสัญลักษณ์รังสีตามรายละเอียดในบทเรียน โดยใช้รูป 2.34 และ 2.35 ประกอบ โดยครูเน้นย้ำ�ว่า
อันตรายจากรังสีที่มีต่อมนุษย์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณของรังสี ระยะเวลาที่ได้รับ
อวัยวะที่ได้รับรังสี
8. ครู ท บทวนว่ า ไอโซโทปกั ม มั น ตรั ง สี ส ามารถแผ่ รั ง สี ไ ด้ ต ลอดเวลา ซึ่ ง ระยะเวลาใน
การแผ่รังสีของแต่ละไอโซโทปไม่เท่ากัน จากนั้นให้นักเรียนพิจารณารูป 2.36 แล้วครูถามคำ�ถาม
ว่า เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของ Na-24 และ Mg-24 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า
ปริมาณของ Na-24 ลดลง และ Mg-24 เพิ่มขึ้น แต่มวลรวมของสารเท่าเดิม
9. ครูถามต่อว่าเมื่อเวลาผ่านไปทุก ๆ 15 ชั่วโมง ปริมาณ Na-24 เปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งควร
ได้คำ�ตอบว่า ปริมาณ Na-24 จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม จากนั้นครูให้ความหมายของ
คำ�ว่าครึ่งชีวิต คือระยะเวลาที่ไอโซโทปกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม ซึ่งเป็น
สมบัติเฉพาะตัวของธาตุกัมมันตรังสี เช่น Na-24 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 15 ชั่วโมง
10. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและร่วมกันเฉลย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
118

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. เมือ
่ Na-24 สลายตัวจนเหลือครึง่ หนึง่ ของปริมาณเดิม ปริมาณเนือ
้ สารทัง้ หมดควรลดลง
เหลือครึง่ หนึง่ ของปริมาณเดิมหรือไม่ เพราะเหตุใด
มวล Na-24 จะหายไป แต่ปริมาณเนือ
้ สารทัง้ หมดไม่ได้หายไป เพียง Na-24 เปลีย
่ นแปลงไป
เป็นอีกไอโซโทปหนึง่ เช่น Mg-24
2. ถ้าผ่านไป 60 ชัว่ โมง จากจุดเริม
่ ต้น จะเหลือ Na-24 อยูร่ อ
้ ยละเท่าใด
Na-24 มีครึง่ ชีวต
ิ 15 ชัว่ โมง ดังนัน
้ เมือ
่ เวลาผ่านไป 60 ชัว่ โมง (4 ครึง่ ชีวต
ิ )
จึงเหลือ Na-24 6.25% ของปริมาณเดิม

100 g 50 g 25 g 12.5 g 6.25 g

11. ครูให้นักเรียนศึกษาครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีต่าง ๆ ในตาราง 2.14 จากนั้นความ


รู้เกี่ยวกับการหาปริมาณสารที่เหลือหรือการหาครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี โดยวิธีเขียนเป็น
แผนภาพแสดงการลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมตามระยะเวลาที่กำ�หนดให้ และวิธีคำ�นวณโดยใช้
สูตร โดยครูยกตัวอย่างประกอบ
12. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมี เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมกับน้ำ� และปฏิกิริยาการเผาไหม้

2Na(s) + 2H2O(l) 2Na+(aq) + 2OH(aq) + H2(g) + พลังงาน


CH4(g) + 2O2(g) CO2(g) + 2H2O(g) + พลังงาน

และปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น ปฏิกิริยาในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

1
0 n + 235
92 U
141 92
Ba +
56
1
36 Kr + 30 n + พลังงาน

จากนั้นครูถามนักเรียนว่าปฏิกิริยาเคมีกับปฏิกิริยานิวเคลียร์แตกต่างกันอย่างไร ซึ่ง
นักเรียนอาจตอบว่า ให้พลังงานเหมือนกัน ปฏิกริ ย
ิ าเคมีไม่มรี งั สีเกิดขึน
้ จากนัน
้ ครูให้ความรูว้ า่ ปฏิกริ ย
ิ า
เคมีกับปฏิกิริยานิวเคลียร์แตกต่างกัน โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเกี่ยวข้องกับเวเลนซ์อิเล็กตรอน
และจำ�นวนอะตอมของธาตุแต่ละชนิดทั้งก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเท่ากัน ส่วนปฏิกิริยา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
119

นิวเคลียร์เกิดขึ้นที่นิวเคลียส เนื่องจากมีอัตราส่วนของนิวตรอนกับโปรตอนไม่เหมาะสม เมื่อเกิด


ปฏิกิริยานิวเคลียร์จำ�นวนอะตอมของธาตุก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยาอาจไม่เท่ากัน และปฏิกิริยา
นิวเคลียร์จะได้พลังงานจำ�นวนมากกว่าปฏิกิริยาเคมีปริมาณมาก
13. ครูให้ความรู้ว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยกระบวนการที่นิวเคลียสของ
ไอโซโทปหนักที่ไม่เสถียรและแตกออกเป็นไอโซโทปที่เบากว่าเรียกว่าฟิชชัน เมื่อฟิชชันเกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องจะได้ปฏิกิริยาลูกโซ่ดังรูปที่ 2.37 ซึ่งสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
ส่วนกรณีที่ไอโซโทปเบาหลอมรวมกันเป็นไอโซโทปที่มีมวลสูงขึ้นเรียกว่าฟิวชัน พลังงานที่เกิดจาก
ฟิชชันและฟิวชันแตกต่างกันโดยฟิวชันให้พลังงานมากกว่า
14. ครูมอบหมายล่วงหน้า ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้
ประโยชน์จากไอโซโทปกัมมันตรังสี โดยระบุชื่อไอโซโทปกัมมันตรังสีและประโยชน์ที่นำ�ไปใช้ รวมทั้ง
ศึกษาเนื้อหาหัวข้อดังกล่าวในหนังสือเรียน แล้วนำ�มาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หลังจากนั้น
ครูอาจมอบหมายให้จัดทำ�เป็นโปสเตอร์สรุปประโยชน์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไอโซโทป
กัมมันตรังสีในด้านต่าง ๆ
15. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด โดยอาจให้นักเรียนสืบค้น จากนั้นร่วมกันเฉลย

ชวนคิด

สัญลักษณ์ดงั กล่าวบนฉลากอาหาร
มีความหมายว่าอะไร
เป็นอาหารที่ผ่านการฉายรังสี

16. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.6 แล้วเฉลยร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับธาตุกัมมันตรังสี ไอโซโทปกัมมันตรังสี ชนิดของรังสีและสมบัติ สมการ
นิวเคลียร์ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี อันตรายและประโยชน์ของไอโซโทปกัมมันตรังสี จาก
การทำ�กิจกรรม การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำ�นวน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา ความร่วมมือการทำ�
งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ�จากการทำ�กิจกรรม
3. จิตวิทยาศาสตร์ ความใจกว้าง การใช้วิจารณญาณและความรอบคอบ จากการสังเกต
พฤติกรรมขณะทำ�กิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
120

4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์และคุณธรรมและจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
กับวิทยาศาสตร์ จากการอภิปรายเกี่ยวกับการนำ�ธาตุและไอโซโทปกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์

แบบฝึกหัด 2.6

1. จงเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของอนุภาคต่อไปนี้
1.1. อนุภาคแอลฟา
4
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ 2 He
1.2. อนุภาคบีตา
0
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ -1 e
1.3. อนุภาคโพซิตรอน
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ +10e

2. ธาตุแฟรนเซียม คาร์บอน นีออน ทอเรียม ธาตุใดบ้างไม่มีไอโซโทปที่เสถียรใน


ธรรมชาติ
ทอเรียม และแฟรนเซียม ไม่มีไอโซโทปที่เสถียรในธรรมชาติ เนื่องจากมีเลขอะตอมสูง
กว่า 83

3. จงเขียนสมการต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
27 27 0
3.1 14 Si ...... Al....... +
13 +1 e
66 66
3.2 29 Cu 30 Zn + ...... e.........
0
-1

3.3 27
13 Al + 42 He 30
14 Si + ...... H........
1
1


4. ไอโอดีน-131 มีครึง่ ชีวต
ิ 8 วัน จำ�นวน 10 g เมือ
่ เวลาผ่านไปกีว่ น
ั จึงจะมีไอโอดีน-131
เหลือ 2.5 g
8 วัน 8 วัน
ไอโอดีน -131 ไอโอดีน -131 ไอโอดีน -131
10 g 5.0 g 2.5 g

ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมด 16 วัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
121

5. เขียนแผนภาพเวนน์เพื่อเปรียบเทียบฟิวชันและฟิชชัน

ฟิชชัน ฟิวชัน

ไอโซโทปที่มีมวลมาก ไอโซโทปเบารวมตัวกัน
แตกออกเป็นไอโซโทปใหม่ ให้พลังงาน เกิดเป็นไอโซโทปใหม่ที่
ที่มีมวลลดลง มีมวลเพิ่มขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
122

2.7 การนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จุดประสงค์การเรียนรู้
สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำ�ธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่ง
แวดล้อม

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ธาตุประเภทโลหะหนักมีแต่โทษ ธาตุทุกชนิดมีทั้งประโยชน์และโทษ

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนยกตัวอย่างธาตุและการนำ�ธาตุนั้นไปใช้ประโยชน์ แล้วใช้คำ�ถามต่อว่า เพราะ
เหตุใดจึงนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน คำ�ตอบคือ การนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์พิจารณาจากสมบัติ
ของธาตุนั้น ๆ โดยธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวและแตกต่างจากธาตุอื่น ๆ จึงใช้ประโยชน์ได้ต่าง
กัน
2. ให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 2.6

กิจกรรม 2. 6 ตามล่าหาธาตุ

จุดประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับชื่อธาตุและประโยชน์ของธาตุแต่ละชนิด

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 5 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 15 นาที
รวม 50 นาที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
123

การเตรียมล่วงหน้า
1. สำ�เนาใบกิจกรรมให้กับนักเรียนกลุ่มละ 1 ใบ หรือให้ทุกคนตามความเหมาะสม
2. เตรียมแหล่งสืบค้นข้อมูล

ใบกิจกรรม ตามล่าหาธาตุ

1 I 2 3 4

5 R
O
6 7 8 N
9

11 12

10 13

15

14 16 17

18 19

21

20

22

23 24

25

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
124

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
การสะกดชื่อธาตุให้ยึดตาม IUPAC เช่น sulfur ไม่ใช่ sulphur หรือ aluminium
ไม่ใช่ aluminum

ผลการทำ�กิจกรรม
เมื่อนักเรียนเติมชื่อธาตุเป็นภาษาอังกฤษลงในตารางแล้ว ควรเป็นดังนี้

ใบกิจกรรม ตามล่าหาธาตุ

i1 2
c 3h l o r i 4n e
5
s u l f u r y i
o d c
6 c 7a r b 8o n r k
l x 9g o l d e
u y g l
11m a n g a n e s e m
12
l10 i e n i t r
13 o g e n
e n n r
a i 15c c
14s o d i u m 16
p 17m a g n e s i u m
i m h l r
l 18f o c 19p y
v l 21
s i l i c o n
20h e l i u m p u t
r o h m a
r o s
22 t i r s
23 i o d i n e u 24z i n c
n e s u
25
b r o m i n e

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
125

สรุปผลการทำ�กิจกรรม
ธาตุแต่ละชนิดนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

3. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นยกตั ว อย่ า งชื่ อ ธาตุ ​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​และผลกระทบของธาตุ ต่ อ สิ่ ง มี ชี วิ ต และสิ่ ง แวดล้ อ ม
และถามต่ออีกว่าผลกระทบของธาตุเกิดจากสิ่งใดได้บ้าง คำ�ตอบคือตัวธาตุและกระบวนการที่มนุษย์
นำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์
4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรม 2.7 เพื่อสืบค้นข้อมูลผลกระทบของธาตุต่อสิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อม โดยแต่ละกลุ่มไม่ควรซ้ำ�กัน (อาจแบ่งธาตุตามหมู่) นำ�ข้อมูลที่สืบค้นได้มาเสนอและ
อภิปรายร่วมกัน

กิจกรรม 2.7 ประโยชน์และผลกระทบของการใช้ธาตุุ

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. สืบค้นข้อมูลการนำ�ธาตุไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
2. นำ�เสนอข้อมูลการสืบค้นโดยวิธีการสร้างสรรค์และน่าสนใจ

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 5 นาที


ทำ�กิจกรรม 40 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 10 นาที
รวม 50 นาที

การเตรียมล่วงหน้า
เตรียมแหล่งสืบค้นข้อมูล

ผลการทำ�กิจกรรม
ผลการทำ�กิจกรรมขึ้นกับธาตุที่นักเรียนสืบค้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
126

สรุปผลการทำ�กิจกรรม
ธาตุแต่ละชนิดนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ซึ่งการนำ�ธาตุไปใช้อาจทำ�ให้เกิด
ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

5. ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.7 แล้วเฉลยร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการนำ�ธาตุมาใช้ประโยชน์ตามสมบัติของธาตุและผลกระทบที่มีต่อสิ่งมี
ชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากการทำ�กิจกรรม และการทดสอบ
2. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อจากผลการสืบค้นข้อมูล
3. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีม
และภาวะผู้นำ�จากการทำ�กิจกรรม
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความอยากรู้อยากเห็น ความใจกว้าง ความมุ่งมั่นอดทน จากการ
สังเกตพฤติกรรมในการทำ�กิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
127

แบบฝึกหัด 2.7

จากสถานการณ์ดังรูป จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้

1. แต่ละโรงงานใช้ประโยชน์จากธาตุหรือสารประกอบของธาตุใด
- โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ใช้ประโยชน์จากไอโซโทปกัมมันตรังสี เช่น U–239
- โรงงานผลิ ต ปู น ซี เ มนต์ ใช้ ป ระโยชน์ จ ากสารประกอบของธาตุ แ คลเซี ย ม
ธาตุซิลิคอน ธาตุอะลูมิเนียม
- โรงงานอุตสาหกรรมย้อมผ้า ใช้ประโยชน์จากสารประกอบของธาตุไนโตรเจน เช่น
ในสีย้อมประเภท azo dye สารประกอบของธาตุโซเดียมหรือแคลเซียมในสารฟอก
ขาว
- โรงงานผลิตถ่านไฟฉาย ใช้ประโยชน์จากสารประกอบของธาตุสังกะสี คาร์บอน
แมงกานีส คลอรีน

2. หมู่บ้าน ก – จ มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไร


- หมู่บ้าน ก อาจได้รับผลกระทบจากรังสี เสี่ยงต่อการรั่วของสารกัมมันตภาพรังสีเมื่อ
เกิดอุบัติเหตุ ความร้อนจากน้ำ�ที่ใช้เป็นตัวระบายความร้อน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
128

- หมู่บ้าน ข อาจได้รับผลกระทบจากผงฝุ่นของสารประกอบของธาตุแคลเซียม ทำ�ให้


เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
- หมู่บ้าน ค อาจได้รับผลกระทบจากสารประกอบของธาตุแมงกานีส ถ้าเข้าสู่ร่างกาย
จะทำ�ลายระบบประสาท
- หมู่บ้าน ง อาจได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในสีย้อม สารฟอกขาว
สารกำ�จัดไขมัน น้ำ�ทิ้งที่เป็นกรด-เบส จากโรงงานอุตสาหกรรมย้อมผ้า
- หมู่บ้าน จ ได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่เช่นเดียวกับหมู่บ้าน ข และหมู่บ้าน ค
โดยสารเคมีปนเปื้อนมากับน้ำ�

หมายเหตุ คำ�ตอบที่ได้อาจแตกต่างกันตามข้อมูลที่สืบค้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
129

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. วาดรูปพร้อมอธิบายแบบจำ�ลองต่อไปนี้

แบบจำ�ลอง รูปแบบจำ�ลอง คำ�อธิบาย

ดอลตัน เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด แบ่งแยกไม่ได้ อาจ


เขียนแสดงด้วยทรงกลม

-
ทอมสัน
- + - +- เป็นรูปทรงกลมประกอบด้วยเนื้ออะตอม
-+ + - + - ซึ่ ง มี ป ระจุ บ วกและมี อิ เ ล็ ก ตรอนซึ่ ง มี
-
- - +- - ประจุลบกระจายอยู่ทั่วไป

อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาด
รัทเทอร์ฟอร์ด เล็กมากอยู่ภายในและมีประจุไฟฟ้าเป็น
บวก โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ

อิ เ ล็ ก ตรอนเคลื่ อ นที่ ร อบนิ ว เคลี ย สเป็ น


โบร์ วงคล้ า ยกั บ วงโคจรของดาวเคราะห์ ร อบ
76 5 4 3 2 1 K L M N O PQ

ดวงอาทิตย์ แต่ละวงจะมีระดับพลังงาน
เฉพาะตัว

ประกอบด้ ว ยกลุ่ ม หมอกของอิ เ ล็ ก ตรอน


กลุ่มหมอก รอบนิวเคลียส บริเวณที่กลุ่มหมอกทึบ
แสดงว่ า มี โ อกาสที่ จ ะพบอิ เ ล็ ก ตรอนได้
มากกว่าบริเวณที่มีกลุ่มหมอกจาง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
130

2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 300 nm จะปรากฏในช่วงคลื่นของแสงที่มอง


เห็นได้หรือไม่ มีความถี่และพลังงานเท่าใด
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 300 nm ไม่ปรากฏอยู่ในช่วงคลื่นของแสงที่มอง
เห็นได้ เพราะแสงที่มองเห็นได้อยู่ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400–700 nm

หาความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 300 nm ดังนี้

c
ν =
λ
8 -1
= 300 × 10 ms
300 × 10-9 m

= 1.00 × 1015 s-1



15 -1
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้มีความถี่ 1.00 × 10 s หรือ Hz
หาพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 300 nm ดังนี้

E = hν

= 6.626 × 10-34 Js × 1.00 × 1015 s-1

= 6.626 × 10-19 J

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้มีพลังงาน 6.626 × 10-19 J

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
131

3. กำ�หนดข้อมูลเส้นสเปกตรัม เป็นดังนี้
A B C D

λ น้อย λ มาก

จากข้อมูลการคายพลังงานของอิเล็กตรอนที่กำ�หนด จงระบุว่าสเปกตรัมเส้นใดคือ
สเปกตรัม A B C และ D ตามลำ�ดับ

เส้นที่ 1 เส้นที่ 2 เส้นที่ 3 เส้นที่ 4

เนื่องจากพลังงาน (E) แปรผกผันกับความยาวคลื่น ( λ )


และโจทย์กำ�หนดความยาวคลื่น D > C > B > A
ดังนั้น A คือเส้นที่ 1 B คือเส้นที่ 3 C คือเส้นที่ 4 และ D คือเส้นที่ 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
132

4. พิจารณาสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุสมมติต่อไปนี้
126 A 136 B 146 C 14
7 D และ 168 E

4.1 ธาตุใดเป็นไอโซโทปกัน
12
6 A 136 B 146 C เนื่องจากมีจำ�นวนโปรตอนเท่ากันคือ 6

4.2 ธาตุใดมีจำ�นวนนิวตรอนเท่ากัน
13
6B 147 D มีจำ�นวนนิวตรอนเท่ากันคือ 7
14 16
6 C 8 E มีจำ�นวนนิวตรอนเท่ากันคือ 8

5. ไอโซโทปของธาตุชนิดหนึ่งมีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของประจุในนิวเคลียสของ
ไฮโดรเจนและมีเลขมวลเป็น 7 เท่าของเลขมวลไฮโดรเจน ระบุจำ�นวนโปรตอน นิวตรอน
และอิเล็กตรอนของไอโซโทปของธาตุนี้
เนื่องจากในนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วย​​​​​​​​​​1​​​​​​​​​​​​​​​โปรตอนแต่ไม่มีนิวตรอน
เลขมวลของไฮโดรเจนจึงเท่ากับ 1 และประจุในนิวเคลียสเท่ากับ +1
คำ�ถามกำ�หนดให้ธาตุชนิดนี้มีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของไฮโดรเจน
จึงมี 3 โปรตอน
มีเลขมวลเป็น 7 เท่า แสดงว่ามีจำ�นวนโปรตอนรวมกับนิวตรอนเท่ากับ 7
ธาตุนี้จึงมีจำ�นวนนิวตรอน = 7 – 3 = 4

ดังนั้นจำ�นวนอนุภาคในอะตอมของไอโซโทปนี้คือ 3 โปรตอน 4 นิวตรอน และ 3


อิเล็กตรอน

6. A และ B เป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน ถ้า A มีนิวตรอน = a B มีจำ�นวนนิวตรอน = b


และมีเลขมวล = c ธาตุ A จะมีเลขมวลเท่าใด
B มี เลขมวล = c มีนิวตรอน = b ดังนั้นจึงมีโปรตอน = c - b
A และ B เป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมีโปรตอนเท่ากันซึ่ง = c - b
A มี นิวตรอน = a
ดังนั้นจึงมีเลขมวลเท่ากับ = c – b + a

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
133

7. กำ�หนดเลขอะตอมของ Mg = 12 Cl = 17 Ar = 18 K = 19 Ni = 28 จงเขียนการ
จัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยของ K Ar Mg2+ Cl- Ni และ Ni+
K จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p64s1
Ar จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p6
Mg2+ จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p6
Cl- จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p6
Ni จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p64s23d8
หรือ 1s22s22p63s23p63d84s2
Ni+ จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p64s13d8
หรือ 1s22s22p63s23p63d84s1

8. กำ�หนดธาตุ 5 ธาตุ ซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 12 20 23 30 และ 36


8.1 มีธาตุแทรนซิซันทั้งหมดกี่ธาตุ
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุทั้ง 5 ธาตุเป็นดังนี้
ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 12 คือ 1s22s22p63s2
ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 20 คือ 1s22s22p63s23p64s2
ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 23 คือ 1s22s22p63s23p64s23d3
ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 30 คือ 1s22s22p63s23p64s23d10
ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 36 คือ 1s22s22p63s23p64s23d104p6

จะเห็นว่าธาตุที่มีเลขอะตอม 23 และ 30 มีการบรรจุอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายใน


d orbital ดังนั้นจึงมีธาตุแทรนซิชัน 2 ธาตุ

8.2 ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่าใดจัดอยู่ในกลุ่มของแก๊สมีสกุล
ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 36 มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 8 ซึ่งอยู่ในหมู่
18 หรือ VIIIA จึงเป็นแก๊สมีสกุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
134

9. จากการทดลองของมิลลิแกน ถ้าพบว่าหยดน้ำ�มันที่ลอยนิ่งหยดหนึ่งมีค่าประจุเท่ากับ
-19
4.8 × 10 คูลอมบ์ หยดน้ำ�มันนี้มีอิเล็กตรอนเกาะอยู่จำ�นวนเท่าใด
จากการทดลองของมิลลิแกน ค่าประจุไฟฟ้าที่แฝงอยู่บนหยดน้ำ�มันของ 1 อิเล็กตรอน
คือ 1.6 × 10-19 คูลอมบ์
หยดน้ำ�มันที่ลอยนิ่งซึ่งมีประจุเท่ากับ 4.8 x 10-19 คูลอมบ์

1 e-
จำ�นวนอิเล็กตรอนที่เกาะอยู่ = 4.8 × 10-19coulomb ×
1.6 × 10-19 coulomb

= 3.0 e-

10. กำ�หนดให้พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 – 4 ของธาตุ A B C และ D เป็นดังนี้

พลังงานไอออไนเซชัน (kJ/mol) ลำ�ดับที่


ธาตุ
1 2 3 4

A 500 4600 6900 9500


B 740 1500 7700 10500
C 900 1800 14800 21000
D 580 1800 2700 11600

10.1 ธาตุใดมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเกิดเป็นไอออนซึ่งมีประจุ +1
จากค่ า ​​​​​​​IE​​​​​​​สามารถระบุ จำ � นวนอิ เ ล็ ก ตรอนในระดั บ พลั ง งานชั้ น นอกสุ ด ของ
แต่ละธาตุได้ดังนี้
ธาตุ A มีจำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด 1 อิเล็กตรอน
ธาตุ B มีจำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด 2 อิเล็กตรอน
ธาตุ C มีจำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด 2 อิเล็กตรอน
ธาตุ D มีจำ�นวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด 3 อิเล็กตรอน

ดังนั้น ธาตุที่มีแนวโน้มสูงสุดที่จะเกิดเป็นไอออนซึ่งมีประจุ +1 คือ ธาตุ A


เนื่องจากมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
135

10.2 ธาตุใดน่าจะมีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
ธาตุ B และ C มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน คือ 2

11. ธาตุ X และ Y มีเลขอะตอม 37 และ 38 ตามลำ�ดับ จงเปรียบเทียบสมบัติต่อไปนี้


พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
11.1 ขนาดอะตอม
ธาตุ X มีเลขอะตอม 37 จัดเรียงอิเล็กตรอนได้เป็น
1s22s22p63s23p64s23d104p65s1
ธาตุ Y มีเลขอะตอม 38 จัดเรียงอิเล็กตรอนได้เป็น
1s22s22p63s23p64s23d104p65s2

ธาตุ X และ Y อยู่ในคาบเดียวกันคือคาบที่ 5 เนื่องจากมีจำ�นวนระดับ


พลังงาน 5 ระดับเท่ากัน ธาตุ X อยู่ในหมู่ IA แต่ธาตุ Y อยู่ในหมู่ IIA ดังนั้นธาตุ X
จะมีขนาดอะตอมใหญ่กว่าธาตุ Y เพราะมีจำ�นวนโปรตอนในนิวเคลียสน้อยกว่า

11.2 พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1
พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของธาตุ X มีค่าน้อยกว่าธาตุ Y เนื่องจากแรงดึงดูด
ระหว่างโปรตอนในนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนนอกสุดของธาตุ X น้อยกว่าธาตุ Y
อิเล็กตรอนนอกสุดของธาตุ X จึงหลุดจากอะตอมได้ง่ายกว่า

12. ธาตุฮีเลียมมี 2 อิเล็กตรอน และมีค่า IE1 เท่ากับ 2.379 MJ/mol ธาตุโพแทสเซียมมี


19 อิเล็กตรอน และมีค่า IE1 เท่ากับ 0.425 MJ/mol เพราะเหตุใด IE1 ของธาตุฮีเลียม
จึงมีค่าสูงกว่าโพแทสเซียม
ธาตุ He มี 2 อิเล็กตรอน จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s2
ธาตุ K มี 19 อิเล็กตรอน จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p64s1

เมือ
่ พิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสของทัง้ 2 ธาตุ พบว่าเวเลนซ์อเิ ล็กตรอน
ของ He อยูใ่ นระดับพลังงานที่ n = 1 ซึง่ ใกล้นวิ เคลียสมากกว่าเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนของ
K ซึ่งอยู่ในระดับพลังงานที่ n = 4 แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
136

ของ He จึงสูงกว่าแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของ K ดังนั้น


IE1 ของ He จึงมีค่าสูงกว่า IE1 ของ K

13. แนวโน้มของค่า IE1 ของธาตุ K Rb และ Cs ซึ่งมีเลขอะตอม 19 37 และ 55 ตาม


ลำ�ดับ ควรเป็นอย่างไร พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
เนื่องจากจากเลขอะตอมของธาตุทั้งสาม นำ�มาเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
ได้ดังนี้
K 1s22s22p63s23p64s1
Rb 1s22s22p63s23p64s23d104p65s1
Cs 1s22s22p63s23p64s23d104p65s24d105p66s1

พบว่าธาตุทั้ง 3 อยู่ในหมู่เดียวกันคือหมู่ IA แต่อยู่ต่างคาบ โดย K อยู่คาบที่ 4


Rb อยู่คาบที่ 5
และ Cs อยู่คาบที่ 6

ซึ่งเมื่อพิจารณาขนาดอะตอมแล้วพบว่า K มีขนาดเล็กสุดจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
เวเลนซ์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสมากที่สุด ค่า IE1 จึงมากที่สุด ส่วน Cs มีขนาดใหญ่
สุดจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสน้อยที่สุด ค่า IE1 จึง
น้อยที่สุด

ดังนั้น ค่า IE1 ของ K > Rb > Cs

14. A B C D E และ F เป็นธาตุสมมติที่อยู่ในหมู่เดียวกันเรียงลำ�ดับจากบนลงล่าง


จงทำ�นายสมบัติของธาตุดังต่อไปนี้
14.1 ธาตุใดควรมีขนาดอะตอมเล็กที่สุด
ธาตุ A ควรมีขนาดอะตอมเล็กที่สุด
14.2 ธาตุใดควรมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด
ธาตุ A ควรมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
137

14.3 ธาตุ E ควรมีพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 สูงหรือต่ำ�กว่าธาตุ F


ธาตุ E ควรมีพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 สูงกว่า F

15. จงเขียนสมการต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
15.1 13
4
C 124 C + 1
0
n

15.2 11
6
Ac
115 Ac + +10 e

15.3 226
89
Ac
222
87
Fr + 42 He

16. ไอโซโทปกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งจำ�นวน 20 g เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ไอโซโทปนั้น


เหลืออยู่ 1.25 g ครึ่งชีวิตของไอโซโทปนี้มีค่าเท่าใด
สมมติว่าไอโซโทปธาตุนี้มีครึ่งชีวิต a ชั่วโมง

a ชั่วโมง a ชั่วโมง
20.0 g 10.0 g 5.0 g

มวลไอโซโทปเริ่มต้น
a ชั่วโมง
a ชั่วโมง
2.5 g 1.25 g

จะเห็นว่า 4a = 2 ชั่วโมง
a = 0.5 ชั่วโมง หรือ 30 นาที
ดังนั้นครึ่งชีวิตของไอโซโทปนี้เท่ากับ 0.5 ชั่วโมง

17. จากการทดลองพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 120 วัน จะมีซีเซียม–137 เหลืออยู่ 300 กรัม


ถ้าครึ่งชีวิตของซีเซียม–137 เท่ากับ 30 วัน จงหาว่าเมื่อเริ่มต้นมีซีเซียม–137 อยู่เท่าใด
สมมติว่าเมื่อเริ่มทดลองมี Cs-137 อยู่ a

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1
138

30 วัน 30 วัน
a a
ag g g
2 4

มวลไอโซโทปเริ่มต้น 30 วัน

30 วัน
a a
g g
8 16

a
จะได้ว่า g = 300 g
16

a = 16 × 300 g
= 4.8 × 103 g

ดังนั้นเมื่อเริ่มทดลองมี Cs-137 อยู่ 4.8 × 103 กรัม หรือ 4.8 กิโลกรัม

18. จงเขียนสมการนิวเคลียร์แสดงการเปลี่ยนแปลงเมื่อทอเรียม–232 แผ่รังสีแอลฟา

232
90
Th 228
88
Ra + 42 He

19. ถ้า Pb –214 สลายตัวให้รังสีต่าง ๆ ดังแผนภาพ

214
82
Pb X + β

Y + β


Z + α
X Y และ Z มีสัญลักษณ์นิวเคลียร์เป็นอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมีเล่ม 1 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ
139

214
สลายตัวขั้นที่ 1 82
Pb 214
83
X + β

เขียนสมการนิวเคลียร์ได้ดังนี้ 214
82
Pb 214
83
Bi + -10 e

ดังนั้น X คือ 214


83
Bi

สลายตัวขั้นที่ 2 214
83
Bi 214
84
Y + β

เขียนสมการนิวเคลียร์ได้ดังนี้ 214
83
Bi 214
84
Po + -10 e

ดังนั้น X คือ 214


84
Po

สลายตัวขั้นที่ 3 214
84
Po 210
82
Z + α

เขียนสมการนิวเคลียร์ได้ดังนี้ 214
84
Po 210
82
Pb + 42 He

ดังนั้น X คือ 210


82
Pb

20. ยกตัวอย่างประโยชน์และโทษของโลหะปรอท มาอย่างละ 3 ตัวอย่าง


ประโยชน์ เช่น ทำ�เทอร์มอมิเตอร์ บารอมิเตอร์ ทำ�หลอดฟลูออเรสเซนต์ ใช้ผลิตยาฆ่าเชือ
้ รา
โทษของปรอท เช่น เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ทำ�ให้เกิดโรคมินามาตะ เป็นพิษกับพืช เป็นพิษ
กับสัตว์น้ำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
140

บทที่ 3

พันธะเคมี
ipst.me/7704

ผลการเรียนรู้

1. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุด
ของลิวอิส
2. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
3. คำ�นวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-
ฮาเบอร์
4. อธิบายสมบัติของสารประกอบไอออนิก
5. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก
6. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้าง
ลิวอิส
7. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
8. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​รวมทั้ง
คำ�นวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ
9. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์
และระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
10. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลว
จุดเดือด และการละลายน้ำ�ของสารโคเวเลนต์
11. สืบค้นข้อมูลและอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ
12. อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ
13. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
สืบค้นข้อมูลและนำ�เสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และ
โลหะ ได้อย่างเหมาะสม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
141

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุและไอออน และระบุได้ว่าธาตุหรือไอออนนั้น
เป็นไปตามกฎออกเตต

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ผลการเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุด
ของลิวอิส
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุด
ของลิวอิส
2. อธิบายโครงสร้างของสารประกอบไอออนิก

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
142

ผลการเรียนรู้
2. เขียนสูตรและเรียกชือ
่ สารประกอบไอออนิก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนสูตรและเรียกชือ
่ สารประกอบไอออนิก

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ผลการเรียนรู้
3. คำ�นวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-
ฮาเบอร์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คำ�นวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-
ฮาเบอร์

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จ�ำ นวน - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ผลการเรียนรู้
4. อธิบายสมบัตข
ิ องสารประกอบไอออนิก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสมบัตบ
ิ างประการของสารประกอบไอออนิก

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การตีความหมายข้อมูล - 1. ความใจกว้าง
และลงข้อสรุป 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
143

ผลการเรียนรู้
5. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกริ ย
ิ าของสารประกอบไอออนิก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกริ ย
ิ าของสารประกอบไอออนิก

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การทดลอง 1. ความร่วมมือ การทำ�งาน 1. ความใจกว้าง
เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ผลการเรียนรู้
6. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดีย
่ ว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้าง
ลิวอิส
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดีย
่ ว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้าง
ลิวอิส

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ผลการเรียนรู้
7. เขียนสูตรและเรียกชือ
่ สารโคเวเลนต์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เขียนสูตรและเรียกชือ
่ สารโคเวเลนต์

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
144

ผลการเรียนรู้
8. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ รวมทั้ง
คำ�นวณพลังงานทีเ่ กีย
่ วข้องกับปฏิกริ ย
ิ าของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์
2. คำ�นวณพลังงานทีเ่ กีย
่ วข้องกับปฏิกริ ย
ิ าของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การใช้จ�ำ นวน - 1. ความใจกว้าง
2. การตีความหมายข้อมูล 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
และลงข้อสรุป

ผลการเรียนรู้
9. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคูอ
่ เิ ล็กตรอนในวงเวเลนซ์
และระบุสภาพขัว้ ของโมเลกุลโคเวเลนต์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคูอ
่ เิ ล็กตรอนในวงเวเลนซ์
2. เขียนแสดงทิศทางขั้วพันธะและทิศทางขั้วของโมเลกุล รวมทั้งระบุสภาพขั้วของโมเลกุล
โคเวเลนต์

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต 1. ความร่วมมือ การทำ�งาน 1. ความใจกว้าง
2. การสร้างแบบจำ�ลอง เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
145

ผลการเรียนรู้
10.ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลว
จุดเดือด และการละลายน้ำ�ของสารโคเวเลนต์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลว
จุดเดือด และการละลายน้�ำ ของสารโคเวเลนต์

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
1. การตีความหมายข้อมูล - 1. ความใจกว้าง
และลงข้อสรุป 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ผลการเรียนรู้
11.สืบค้นข้อมูลและอธิบายสมบัตข
ิ องสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูล อธิบายสมบัติ และนำ�เสนอตัวอย่างของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิด
ต่าง ๆ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- 1. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 1. ความใจกว้าง
การรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
2. ความร่วมมือ การทำ�งาน 3. การเห็นคุณค่าทาง
เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ วิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
146

ผลการเรียนรู้
12. อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัตข
ิ องโลหะ

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- - 1. ความใจกว้าง
2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ

ตัวชี้วัด
13. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
สืบค้นข้อมูลและนำ�เสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์
และโลหะ ได้อย่างเหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
2. สืบค้นข้อมูลและนำ�เสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์
และโลหะ ได้อย่างเหมาะสม

ทักษะกระบวนการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


ทางวิทยาศาสตร์
- 1. การสือ
่ สารสารสนเทศและ 1. ความใจกว้าง
การรูเ้ ท่าทันสือ
่ 2. การใช้วจ
ิ ารณญาณ
2. ความร่วมมือ การทำ�งาน 3. การเห็นคุณค่าทาง
เป็นทีมและภาวะผูน
้ �ำ วิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
147

ผังมโนทัศน์
บทที่ 3 พันธะเคมี

สัญลักษณ์แบบจุดของ กฎออกเตต
เวเลนซ์อเิ ล็กตรอน
ลิวอิส

แบบจำ�ลอง
สมการไอออนิก และ
พันธะเคมี ทะเลอิเล็กตรอน
สมการไอออนิกสุทธิ

พันธะไอออนิก พันธะโลหะ โลหะ

พันธะโคเวเลนต์
สารประกอบไอออนิก
• ผิวมันวาว
• ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้
• จุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
สารโคเวเลนต์
• นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี
สูตรของ
สารประกอบ

วัฏจักร แรงยึดเหนีย
่ ว

บอร์น-ฮาเบอร์ ระหว่างโมเลกุล
สูตร
โมเลกุล

• ผลึกเป็นของแข็งเปราะ
• แรงแผ่กระจายลอนดอน
• จุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
• แรงระหว่างขัว้
• ละลายน้�ำ ได้
• พันธะไฮโดรเจน
• ไม่น�ำ ไฟฟ้าเมือ
่ เป็นของแข็ง แต่
นำ�ไฟฟ้าได้เมือ
่ หลอมเหลว หรือ
ละลายในน้�ำ
โมเลกุล โมเลกุล • จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่�ำ
ไม่มข
ี ว้ั มีขว้ั • ไม่ละลายน้�ำ
• ไม่น�ำ ไฟฟ้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
148

สาระสำ�คัญ

สารในชีวิตประจำ�วัน ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว แต่จะประกอบด้วยหลายอะตอม ซึ่ง


อาจเป็นอะตอมชนิดเดียวกันหรืออะตอมต่างชนิดกัน ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเคมี โดยพันธะเคมีมี 3
ประเภท ได้แก่ พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก
สารโคเวเลนต์ และโลหะ ตามลำ�ดับ
พันธะไอออนิกเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างประจุไฟฟ้าของไอออนบวกกับไอออนลบ ซึ่ง
ส่วนใหญ่ไอออนบวกเกิดจากโลหะเสียอิเล็กตรอนและไอออนลบเกิดจากอโลหะรับอิเล็กตรอน เกิด
เป็นสารประกอบไอออนิกที่ส่วนใหญ่เป็นผลึกของแข็ง เปราะ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
ละลายน้ำ�ได้ ไม่นำ�ไฟฟ้าเมื่อเป็นของแข็ง แต่นำ�ไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำ�
พันธะโคเวเลนต์เกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมธาตุ 2 อะตอม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธาตุ
อโลหะ โดยการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เกิดเป็นสารโคเวเลนต์ที่ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวและ
จุดเดือดต่ำ� ไม่ละลายน้ำ� และไม่นำ�ไฟฟ้า ส่วนสารที่มีพันธะโคเวเลนต์ต่อเนื่องกันไปในสามมิติเป็น
สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
พั น ธะโลหะเกิ ด จากการยึ ด เหนี่ ย วระหว่ า งโปรตอนในนิ ว เคลี ย สของอะตอมธาตุ โ ลหะกั บ
เวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งชิ้นโลหะ โดยโลหะส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีผิวมันวาว ตีเป็น
แผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
การที่สารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่ต่างกัน
จึงสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 25 ชั่วโมง
3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต 1 ชั่วโมง
3.2 พันธะไอออนิก 9 ชั่วโมง
3.3 พันธะโคเวเลนต์ 11 ชั่วโมง
3.4 พันธะโลหะ 2 ชั่วโมง
3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ 2 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

อะตอม ไอออน การจัดเรียงอิเล็กตรอน เวเลนซ์อิเล็กตรอน และสมบัติของธาตุหมู่หลัก


ตามตารางธาตุ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
149

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน

1. จับคู่การจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมและไอออนที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้
…ข… 1.1 P ก. 1s22s22p6
…ง… 1.2 K ข. [Ne]3s23p3
…ค… 1.3 I- ค. [Kr]5s24d105p6
…จ… 1.4 Cl- ง. [Ne]3s23p64s1
…ก… 1.5 Al3+ จ. [Ne]3s23p6

2. ใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความ


ที่ไม่ถูกต้อง
… ... 2.1 อะตอม Cl มีขนาดใหญ่กว่าไอออน Cl-

อะตอม Cl เมื่อรับอิเล็กตรอนเกิดเป็น Cl- จะมีจำ�นวนอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ทำ�ให้
ขอบเขตของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนขยายออกไปจากเดิม ดังนั้นไอออนลบจึงมี
ขนาดใหญ่กว่าอะตอมเดิม
… … 2.2 ไอออน K+ มีขนาดเล็กกว่าไอออน Cl-
… ... 2.3 ธาตุสมมติ A B และ C อยู่ในหมู่เดียวกันเรียงจากบนลงล่างของตารางธาตุ
ธาตุสมมติ A มีขนาดอะตอมใหญ่ที่สุด

ธาตุในหมู่เดียวกันเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นจำ�นวนโปรตอนในนิวเคลียสและ
จำ�นวนระดับพลังงานที่มีอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้นด้วย อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในจึง
เป็ น คล้ า ยฉากกั้ น แรงดึ ง ดู ด ระหว่ า งโปรตอนในนิ ว เคลี ย สและเวเลนซ์
อิเล็กตรอน ทำ�ให้แรงดึงดูดต่อเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีน้อย เป็นผลให้ธาตุใน
หมู่เดียวกันมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นตามเลขอะตอม
… ... 2.4 ธาตุ ที่ มี ก ารจั ด เรี ย งอิ เ ล็ ก ตรอนเป็ น 1s²2s²2p⁶3s²3p⁶4s²3d⁸ มี เ วเลนซ์
อิเล็กตรอนเท่ากับ 8

เวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็นอิเล็กตรอนวงนอกสุดหรือชั้นนอกสุด ซึ่งในที่นี้ระดับ
พลังงานนอกสุดคือ 4s ดังนั้น ธาตุมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
150

… ... 2.5 ไอออน O2- มีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากกว่าไอออน Na+



O2- มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p6
Na+ มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p6

ดังนั้น ไอออน O2- และ Na+ มีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
… ... 2.6 ธาตุที่มีเลขอะตอม 12 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2
… ... 2.7 ธาตุ Be Mg และ Ca มีจำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
… … 2.8 ไอออน K+ มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 8 2
K+ มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p6 หรือ 2 8 8

… ... 2.9 ธาตุ Na มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ�กว่าธาตุ Cl
… ... 2.10ค่าพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 เรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้
N > O > F และ O > S > Se
พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของธาตุตามคาบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
เลขอะตอม ดังนั้นจึงเรียงลำ�ดับได้เป็น F > N > O
ส่วนพลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของธาตุตามหมู่ มีแนวโน้มลดลงเมื่อ
เลขอะตอมเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเรียงลำ�ดับได้เป็น O > S > Se

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
151

3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต

จุดประสงค์การเรียนรู้
เขียนสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุและไอออน และระบุได้วา่ ธาตุหรือไอออนนัน
้ เป็นไป
ตามกฎออกเตต

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

จุ ด ในสั ญ ลั ก ษณ์ แ บบจุ ด ของลิ ว อิ ส แสดง จุ ด ในสั ญ ลั ก ษณ์ แ บบจุ ด ของลิ ว อิ ส แสดง
อิเล็กตรอนทั้งหมด เช่น Na มีอิเล็กตรอน เฉพาะเวเลนซ์อิเล็กตรอน เช่น Na มี 1
ทั้งหมด 1 อิเล็กตรอน เวเลนซ์อิเล็กตรอน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นก
ั เรียนยกตัวอย่างสูตรเคมีของสารต่าง ๆ ทีน
่ ก
ั เรียนรูจ
้ ก
ั ทัง้ นีส
้ ารทีย
่ กตัวอย่างควรมี
ทัง้ ธาตุ สารประกอบ และธาตุหมู่ VIIIA หรือแก๊สมีสกุล เช่น O2 CO2 H2O NaCl He แล้วตัง้ คำ�ถามว่า
สูตรเคมีของสารทีย
่ กตัวอย่างมาส่วนใหญ่ประกอบด้วยธาตุเพียง 1 อะตอม หรือมากกว่า 1 อะตอม ซึง่
ควรได้ค�ำ ตอบว่า สารส่วนใหญ่ประกอบด้วยธาตุมากกว่า 1 อะตอม จากนัน
้ เชือ
่ มโยงเข้าสูค
่ วามหมาย
ของพันธะเคมีวา่ เป็นการยึดเหนีย
่ วกันของอะตอมหรือไอออนในสาร
2. ครูใช้ค�ำ ถามทบทวนความรูเ้ ดิมว่า ธาตุหมู่ VIIIA หรือแก๊สมีสกุล เช่น He Ne ซึง่ อยูใ่ น
รูปอะตอมเดีย
่ วมีจ�ำ นวนเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเป็นเท่าใด และบรรจุเต็มออร์บท
ิ ล
ั ในระดับพลังงานหลัก
หรือไม่ ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า He มี 2 เวเลนซ์อเิ ล็กตรอน Ne มี 8 เวเลนซ์อเิ ล็กตรอน และเต็มออร์บท
ิ ล

ในระดับพลังงานหลัก ทำ�ให้อะตอมแก๊สมีสกุลมีความเสถียร
3. ครูให้นก
ั เรียนพิจารณารูป 3.1 แล้วอธิบายว่า จุดในสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสแสดงเวเลนซ์
อิเล็กตรอน เช่น He มี 2 จุด แสดงว่ามี 2 เวเลนซ์อเิ ล็กตรอน Na มี 1 จุด แสดงว่ามี 1 เวเลนซ์
อิเล็กตรอน จากนัน
้ อธิบายวิธก
ี ารเขียนสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสโดยเขียนจุดเดีย
่ วทัง้ 4 ด้านรอบ
สัญลักษณ์ของธาตุกอ
่ น แล้วจึงเติมจุดให้เป็นคู่
4. ครูให้นก
ั เรียนพิจารณาสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Na และ Cl แล้วตัง้ คำ�ถามว่า ถ้า
จะทำ�ให้จำ�นวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุท้งั สองเท่ากับของอะตอมแก๊สมีสกุลซึ่งเสถียรจะทำ�ได้ง่าย
ทีส
่ ด
ุ อย่างไร และจะได้จ�ำ นวนเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเท่ากับแก๊สมีสกุลใด ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า Na ให้ 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
152

อิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออน Na+ และมีจ�ำ นวนเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเท่ากับ Ne ส่วน Cl รับ 1 อิเล็กตรอน


เกิดเป็นไอออน Cl- และมีจ�ำ นวนเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเท่ากับ Ar จากนัน
้ อธิบายเพิม
่ เติมว่า หลักการ
ที่อะตอมของธาตุอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะรวมตัวกันเพื่อที่จะทำ�ให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน
เท่ากับ 8 เรียกหลักการนีว้ า่ กฎออกเตต
5. ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามเพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. เขียนสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของไอออน Ca²
+

[ Ca ]2+

2. สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุสมมติตอ
่ ไปนี
้ X เป็นของธาตุหมูใ่ ด
หมู่ VIA

3. สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสในข้อ 1 และ 2 มีเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนเป็นไปตามกฎออกเตต


หรือไม่
ข้อ 1 เป็นไปตามกฎออกเตต ส่วนข้อ 2 ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต

6. ครูอธิบายว่าสารทีไ่ ม่อยูใ่ นรูปอะตอมเดีย


่ ว มีพน
ั ธะเคมียด
ึ เหนีย
่ วระหว่างอะตอมหรือไอออน
โดยที่อะตอมของธาตุอาจมีการให้อิเล็กตรอน รับอิเล็กตรอน หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ทำ�ให้เกิด
พันธะเคมี 3 ประเภท ได้แก่ พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับพันธะเคมี สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส และกฎออกเตต จากการอภิปราย
การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
153

3.2 พันธะไอออนิก
3.2.1 การเกิดพันธะไอออนิก
3.2.2 สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุด
ของลิวอิส
2. อธิบายโครงสร้างของสารประกอบไอออนิก
3. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

พั น ธะระหว่ า งธาตุ โ ลหะกั บ ธาตุ อ โลหะเป็ น พั น ธ ะ ร ะ ห ว่ า ง ธ า ตุ โ ล ห ะ กั บ ธ า ตุ อ โ ล ห ะ


พันธะไอออนิกเท่านั้น บางชนิดอาจเป็นพันธะโคเวเลนต์ เช่น AlCl₃
BeCl₂

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
แบบจำ�ลองหรือภาพโครงผลึกของสารประกอบไอออนิก

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูยกตัวอย่างสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิก เช่น NaCl CaF₂ KI แล้วตัง้ คำ�ถามว่า
สารทีย
่ กตัวอย่างประกอบด้วยธาตุองค์ประกอบชนิดใด ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า ประกอบด้วยธาตุโลหะ
กับธาตุอโลหะ จากนัน
้ ครูอธิบายว่า ธาตุโลหะมีพลังงานไอออไนเซชันต่�
ำ จึงเสียอิเล็กตรอนเกิดเป็น
ไอออนบวกได้งา่ ย ส่วนธาตุอโลหะมีคา่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง จึงรับอิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออนลบ
ไอออนบวกและไอออนลบมีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า
เรียกการยึดเหนีย
่ วนีว้ า่ พันธะไอออนิก และเรียกสารทีเ่ กิดจากพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก
2. ครูอธิบายการเกิดพันธะไอออนิกโดยเริ่มจากเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอน แบบจำ�ลอง
อะตอมของโบร์ และสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Na และ Na+ แล้วให้นักเรียนพิจารณา
สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Na พบว่ามี 1 จุด และเมือ
่ เสียอิเล็กตรอน สัญลักษณ์แบบจุดของ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
154

ลิวอิสของ Na+ จะแสดงจุด 8 จุดซึง่ เป็นเวเลนซ์อเิ ล็กตรอนชัน


้ ถัดไป และมีจ�ำ นวนเวเลนซ์อเิ ล็กตรอน
เป็นไปตามกฎออกเตต
3. ครูให้นก
ั เรียนเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอน แบบจำ�ลองอะตอมของโบร์ และสัญลักษณ์แบบจุด
-
ของลิวอิสของ Cl และ Cl จากนัน
้ ให้พจ
ิ ารณาสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Cl พบว่ามี 7 จุด และ
-
เมือ
่ รับอิเล็กตรอน สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Cl จะแสดงจุด 8 จุด เป็นไปตามกฎออกเตต
4. ครูอธิบายการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยใช้แบบจำ�ลองอะตอมของโบร์
และสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสแสดงการให้และรับอิเล็กตรอนระหว่าง Na และ Cl เกิดเป็น Na+
-
และ Cl ซึง่ มีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงยึดเหนีย
่ วกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า เกิดเป็น NaCl
5. ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามเพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

เขียนแผนภาพแสดงการให้และรับอิเล็กตรอนของอะตอมธาตุในการเกิดสารประกอบ
แมกนีเซียมฟลูออไรด์ (MgF₂) โดยใช้แบบจำ�ลองอะตอมของโบร์และสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

[ F ] [ Mg ]² [ F ]-
- +
F + Mg + F MgF₂

6. ครู แ ละนั ก เรี ย นอภิ ป รายร่ ว มกัน เกี่ ย วกั บ โครงสร้ า งของสารประกอบไอออนิก โดยให้
นั ก เรี ย นพิ จ ารณาจากแบบจำ � ลองหรื อ ภาพโครงผลึ ก ของสารในรู ป 3.2 เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข้ อ สรุ ป ว่ า
สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งอยู่ในรูปผลึกที่มีไอออนบวกและไอออนลบยึดเหนี่ยวกันด้วย
พันธะไอออนิกอย่างต่อเนือ
่ งกันไปทัง้ สามมิตเิ ป็นโครงผลึก และไม่อยูใ่ นรูปโมเลกุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
155

7. ครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.1 เพือ
่ ทบทวนความรู้
8. ครูน�ำ เข้าสูก
่ ารศึกษาเรือ
่ งสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิกโดยให้นก
ั เรียนพิจารณาตาราง
3.1 แล้วตัง้ คำ�ถามว่า ประจุของไอออนสัมพันธ์กบ
ั เลขหมูข
่ องธาตุในตารางธาตุหรือไม่ อย่างไร ซึง่ ควร
ได้ค�ำ ตอบว่า ประจุของไอออนมีความสัมพันธ์กบ
ั เลขหมูข
่ องธาตุ โดยธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA เมือ

เป็นไอออนจะเป็นไอออนบวกทีม
่ ป
ี ระจุตามเลขหมู่ ส่วนธาตุหมู่ VA VIA และ VIIA เมือ
่ เป็นไอออน
จะเป็นไอออนลบทีม
่ ป
ี ระจุ X – 8 เมือ
่ X คือเลขหมูข
่ องธาตุอโลหะ
9. ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

1. ในสารประกอบหลายชนิด ธาตุไฮโดรเจนเกิดเป็นไอออน H+ การเกิดไอออนนี้ของธาตุ


ไฮโดรเจนสอดคล้องกับการเกิดประจุของธาตุหมูใ่ ด
หมู่ IA
2. ในสารประกอบไอออนิกบางชนิด ธาตุไฮโดรเจนอาจเป็นไอออน H- การเกิดไอออนนีข
้ อง
ธาตุไฮโดรเจนสอดคล้องกับการเกิดประจุของธาตุหมูใ่ ด
หมู่ VIIA
3. จากสมบัตก
ิ ารเกิดประจุในข้อ 1 และ 2 ควรจัดธาตุไฮโดรเจนให้อยูใ่ นตำ�แหน่งใดของตารางธาตุ
เพราะเหตุใด
ธาตุไฮโดรเจนควรอยูใ่ นตำ�แหน่งกึง่ กลางและมีเส้นปะเชือ
่ มระหว่างหมู่ IA และหมู่ VIIA
เนือ
่ งจากการเกิดเป็นไอออนคล้ายกับการเกิดไอออนของธาตุหมู่ IA และหมู่ VIIA

ความรูเ้ พิม
่ เติมสำ�หรับครู
เมือ
่ ธาตุไฮโดรเจนแสดงสมบัตบ
ิ างประการคล้ายกับธาตุหมู่ VIIA ซึง่ เป็นธาตุอโลหะจะ
เกิดไอออนเป็น H- ซึง่ เมือ
่ ยึดเหนีย
่ วกับไอออนบวกของโลหะแล้วสามารถเกิดเป็นสารประกอบ
ไอออนิกได้ เช่น CaH2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
156

10. ครูตั้งคำ�ถามนำ�ว่า เมื่อทราบประจุของไอออนบวกและไอออนลบแล้ว ไอออนดังกล่าว


รวมตัวกันด้วยอัตราส่วนเท่าใดในการเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก
11. ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อศึกษาอัตราส่วนการรวมตัวของไอออนในสารประกอบ
ไอออนิก ดังตัวอย่างกิจกรรม 1 ซึง่ เป็นตัวอย่างกิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครูดงั นี้

กิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครู
ตัวอย่างกิจกรรม 1 เรือ
่ ง อัตราส่วนการรวมตัวของไอออนในสารประกอบไอออนิก

วัสดุและอุปกรณ์
1. กระดาษแข็ง
2. ปากกาเมจิก
3. กรรไกร

วิธท
ี �ำ กิจกรรม
1. ตัดกระดาษสีและใช้ปากกาเมจิกเขียนไอออนของสารลงบนกระดาษที่ตัด โดยกำ�หนด
ลักษณะของกระดาษและไอออนดังตาราง (ไอออนละ 3 ชิน
้ )

ประจุ รูปแบบของกระดาษ ไอออน

-1 F- I-

-2 S2- O2-

-3 N3-

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
157

ประจุ รูปแบบของกระดาษ ไอออน

Na+ Ag+
+1
Cu+ Li+

+2 Ba2+ Cu2+

Al3+
+3

2. ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมโดยนำ�กระดาษสีที่เป็นไอออนบวกและไอออนลบต่อกันให้เกิด
เป็นรูปสี่เหลี่ยม เช่น สารประกอบที่เกิดจาก Na+ กับ S2- จะต้องใช้กระดาษที่เขียน Na+
2 แผ่น และกระดาษที่เขียน S2- 1 แผ่น

Na+
S2-
+
Na

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ผลรวมของประจุไอออนบวกกับผลรวมของประจุไอออนลบเมือ
่ นำ�มารวมกันแล้วได้
เท่ากับศูนย์ เช่น สารประกอบทีเ่ กิดจาก Na+ กับ S2- จะต้องใช้กระดาษทีเ่ ขียน Na+ 2 แผ่น
และกระดาษทีเ่ ขียน S2- 1 แผ่น ทำ�ให้มผ
ี ลรวมประจุของไอออนบวกเท่ากับ +2 และผลรวม
ของไอออนลบเท่ากับ -2 เมือ ้ อัตราส่วนของจำ�นวน Na+
่ รวมประจุทง้ั สองจะได้เป็น 0 ดังนัน
ต่อ S2- เป็น 2:1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
158

12. ครูให้นักเรียนพิจารณาตาราง 3.2 แล้วอธิบายว่า จากการที่โครงสร้างของสารประกอบ


ไอออนิกมีไอออนบวกและไอออนลบอยูต
่ อ
่ เนือ
่ งกันไปทัง้ สามมิติ ไม่สามารถแยกเป็นโมเลกุลได้ ดังนัน

จึงใช้สูต รเอมพิ ริ คัล แสดงอั ต ราส่ว นอย่ างต่ำ�ของจำ�นวนไอออนที่เป็นองค์ป ระกอบ โดยเขี ยน
สัญลักษณ์ของธาตุหรือกลุ่มธาตุที่เป็นไอออนบวกไว้ข้างหน้าตามด้วยไอออนลบ และแสดงอัตราส่วน
อย่างต่ำ�ของไอออนที่เป็นองค์ประกอบโดยเขียนตัวเลขอารบิกห้อยท้ายไอออนนั้น ทั้งนี้ในกรณีที่
จำ�นวนไอออนเป็น 1 ไม่ต้องเขียน โดยอัตราส่วนอย่างต่ำ�ของไอออนต้องทำ�ให้ผลรวมของประจุเป็น
ศูนย์ โดยครูยกตัวอย่างการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก เช่น
Cs+ รวมกับ S2- ด้วยอัตราส่วนอย่างต่ำ� 2:1 จึงเขียนสูตรได้เป็น Cs2S
Ba2+ รวมกับ I- ด้วยอัตราส่วนอย่างต่ำ� 1:2 จึงเขียนสูตรได้เป็น BaI2
Ca2+ รวมกับ O2- ด้วยอัตราส่วนอย่างต่ำ� 1:1 จึงเขียนสูตรได้เป็น CaO
Al3+ รวมกับ O2- ด้วยอัตราส่วนอย่างต่ำ� 2:3 จึงเขียนสูตรได้เป็น Al2O3
NH4+ รวมกับ SO42- ด้วยอัตราส่วนอย่างต่ำ� 2:1 จึงเขียนสูตรได้เป็น (NH4)2SO4
13. ครูให้นักเรียนสังเกตว่า การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก เช่น Al2O3 ได้จากการไขว้
ตัวเลขประจุของ O มาเป็นตัวเลขห้อยของ Al และตัวเลขประจุของ Al มาเป็นตัวเลขห้อยของ O

Al3+ O2-
+3 -2

Al2O3

กรณีที่การไขว้ตัวเลขแล้วทำ�ให้ได้ตัวเลขห้อยที่ยังไม่เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ� ต้องปรับให้เป็นอัตราส่วน
อย่างต่ำ�ก่อน เช่น Ca2+ รวมกับ O2- เมื่อไขว้ตัวเลขจะได้เป็น Ca2O2 ซึ่งต้องปรับให้เป็นอัตราส่วน
อย่างต่ำ� จึงได้สูตรสารประกอบเป็น CaO
14. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

สารประกอบไอออนิกทีเ่ กิดจากธาตุ X ซึง่ อยูห


่ มู่ IIA กับธาตุ Y ซึง่ อยูห
่ มู่ VA จะมีสต
ู รเอมพิรค
ิ ล

เป็นอย่างไร
X อยูห
่ มู่ IIA เมือ
่ เป็นไอออนจะมีประจุเป็น +2 และ Y อยูห
่ มู่ VA เมือ
่ เป็นไอออนจะมีประจุ
เป็น -3 ดังนัน
้ สูตรเอมพิรค
ิ ล
ั จึงเป็น X3Y2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
159

15. ครูอธิบายการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิกซึ่งจำ�เป็นต้องทราบชื่อของไอออนบวกและ
ไอออนลบ ดังตาราง 3.3 โดยชี้ให้เห็นว่า ชื่อของไอออนบวกเรียกตามชื่อธาตุแล้วลงท้ายด้วยคำ�ว่า
ไอออน ส่วนไอออนลบเรียกชื่อธาตุโดยเปลี่ยนท้ายเสียงเป็น ไ-ด์ (-ide) แล้วลงท้ายด้วยคำ�ว่า ไอออน
และไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอมมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังตาราง 3.4 โดยกลุ่มอะตอมที่เป็นไอออนบวก
ลงท้ายด้วย เ-ียม (-ium) ส่วนกลุ่มอะตอมที่เป็นไอออนลบอาจลงท้ายเสียงด้วย ไ-ด์ (-ide) ไ-ต์ (-ite)
หรือ เ-ต (-ate)
16. ครูอธิบายการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก ดังตาราง 3.5 โดยเรียกชื่อไอออนบวกแล้ว
ตามด้วยชื่อไอออนลบโดยตัดคำ�ว่า ไอออน ออก
17. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิกของธาตุโลหะที่เกิดเป็น
ไอออนบวกได้ห ลายค่ า โดยให้นักเรียนพิจารณาจากรูป 3.3 ซึ ่ง ส่ว นใหญ่ พ บในกรณีที่เป็น
สารประกอบไอออนิกของโลหะแทรนซิชัน ดังนั้นชื่อสารประกอบที่เกิดจากโลหะที่มีเลขออกซิเดชัน
มากกว่า 1 ค่า ต้องระบุตัวเลขประจุหรือเลขออกซิเดชันของไอออนโลหะนั้นเป็นเลขโรมันในวงเล็บ
โดยให้นักเรียนศึกษาการเรียกชื่อจากตาราง 3.6
18. ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อศึกษาสูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก ดัง
ตัวอย่างกิจกรรม 2 ซึ่งเป็นตัวอย่างกิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครูดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
160

กิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครู
ตัวอย่างกิจกรรม 2 เรือ
่ ง เกมสูตรเคมีและชือ
่ ของสารประกอบไอออนิก

วัสดุและอุปกรณ์
1. กระดาษแข็ง
2. ปากกาเมจิก
3. กรรไกร

วิธท
ี �ำ กิจกรรม
1. พิมพ์แบบลูกบาศก์ลงบนกระดาษแข็งและใช้ปากกาเมจิกเขียนไอออนดังรูป

Li+ Cl -

K+ Ca2+ Mg2+ OH- O2- NO3-

Al3+ PO43-

NH4+ CO32-

2. ตัดกระดาษตามแบบแล้วสร้างเป็นลูกบาศก์เพือ
่ แจกนักเรียนกลุม
่ ละ 1 ชุด (2 ลูกบาศก์
ตามข้อ 1)
3. ให้นก
ั เรียนโยนลูกบาศก์ 2 ลูก พร้อมกัน แล้วเขียนสูตรเคมีและชือ
่ ของสารประกอบ
ไอออนิกให้ได้มากทีส
่ ด
ุ ภายในเวลา 1 นาที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
161

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ไอออนบวก ไอออนลบ สูตร ชื่อสารประกอบ
Li+ Cl- LiCl ลิเทียมคลอไรด์
(lithium chloride)
Li+ CO32- Li2CO3 ลิเทียมคาร์บอเนต
(lithium carbonate)
K+ O2- K2O โพแทสเซียมออกไซด์
(potassium oxide)
+ -
K OH KOH โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
(potassium hydroxide)
Ca2+ Cl- CaCl2 แคลเซียมคลอไรด์
(calcium chloride)
Ca2+ PO43- Ca3(PO4)2 แคลเซียมฟอสเฟต
(calcium phosphate)
Mg2+ O2- MgO แมกนีเซียมออกไซด์
(magnesium oxide)
Mg2+ NO3- Mg(NO3)2 แมกนีเซียมไนเทรต
(magnesium nitrate)
Al3+ OH- Al(OH)3 อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์
(aluminium hydroxide)
Al3+ PO43- AlPO4 อะลูมิเนียมฟอสเฟต
(aluminium phosphate)
NH4+ NO3- NH4NO3 แอมโมเนียมไนเทรต
(ammonium nitrate)
NH4+ CO32- (NH4)2CO3 แอมโมเนียมคาร์บอเนต
(ammonium carbonate)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
162

19. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับการเกิดพันธะไอออนิก สูตรเคมี


และชื่อของสารประกอบไอออนิก ดังนี้
- ไอออนบวกส่วนใหญ่เกิดจากธาตุโลหะเสียอิเล็กตรอน ส่วนไอออนลบส่วนใหญ่เกิดจาก
ธาตุอ โลหะรับอิเล็กตรอน เมื่อไอออนบวกและไอออนลบยึดเหนี ่ ย วกันด้ว ยแรงดึ งดูดระหว่าง
ประจุไฟฟ้า เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า พันธะไอออนิก และเรียกสารที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า
สารประกอบไอออนิก
- สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งอยู่ในรูปผลึกที่มีไอออนบวกและไอออนลบ
ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องกันไปทั้งสามมิติเป็นโครงผลึก และไม่อยู่ในรูปโมเลกุล
- สูตรเคมีของสารประกอบไอออนิกเป็นสูตรเอมพิริคัลที่แสดงอัตราส่วนอย่างต่ำ�ของ
ไอออนที่ทำ�ให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์ โดยแสดงสัญลักษณ์ธาตุที่เป็นไอออนบวกไว้ข้างหน้าและ
ตามด้วยไอออนลบ
- ชื่อของสารประกอบไอออนิกจะเรียกชื่ อไอออนบวกแล้ ว ตามด้ ว ยชื่ อไอออนลบ​​​​​​​​​​​​​​​ถ้ า
ไอออนบวกเป็นโลหะที่มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ต้องระบุเลขออกซิเดชันด้วย
20. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.2 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับการเกิดไอออน การเกิดพันธะไอออนิก การเขียนแสดงการเกิดพันธะไอออนิก
โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส โครงผลึกของสารประกอบไอออนิก และวิธีการ
เขียนสูตรเคมีและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการ
ทดสอบ
2. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
163

แบบฝึกหัด 3.1

1. เขียนแสดงการให้และรับอิเล็กตรอนในการเกิดสารประกอบระหว่างธาตุแต่ละคู่ต่อไปนี้
โดยใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

1.1 ลิเทียมกับคลอรีน

Li + Cl [ Li ]+ + [ Cl ]- LiCl

1.2 ซีเซียมกับกำ�มะถัน

Cs + S + Cs [ Cs ]+ + [ S ]2- + [ Cs ]+ Cs2S

1.3 แบเรียมกับไอโอดีน

I + Ba + I [ I ]- + [ Ba ]2+ + [ I ]- BaI2

1.4 แคลเซียมกับออกซิเจน

Ca + O [ Ca ]2+ + [ O ]2- CaO

2. ระบุชนิดของไอออนในโครงสร้างผลึกของสารประกอบที่กำ�หนดให้
สารประกอบลิเทียมฟลูออไรด์ (LiF)

Li+

F-

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
164

สารประกอบแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO)

Mg2+

O2-

สารประกอบโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI)

K+

I-

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
165

แบบฝึกหัด 3.2

1. กำ�หนดให้ธาตุ X Y และ Z เป็นธาตุที่อยู่ในหมู่ IA VIA และ VIIA ตามลำ�ดับ เขียน


สูตรสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากธาตุต่อไปนี้
1.1 X กับ Y
สูตรสารประกอบคือ X2Y เนื่องจากธาตุ X อยู่หมู่ IA เกิดเป็น X+ ธาตุ Y
อยู่หมู่ VIA เกิดเป็น Y2-
1.2 X กับ Z
สูตรสารประกอบคือ XZ เนื่องจากธาตุ X อยู่หมู่ IA เกิดเป็น X+ ธาตุ Z
อยู่หมู่ VIIA เกิดเป็น Z-

2. เรียกชื่อสารประกอบไอออนิกต่อไปนี้
2.1 NH4CN
แอมโมเนียมไซยาไนด์ (ammonium cyanide)
2.2 Na2HPO4

โซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต (sodium hydrogen phosphate)
2.3 Al2(CO3)3
อะลูมิเนียมคาร์บอเนต (aluminium carbonate)
2.4 Ca3(PO4)2

แคลเซียมฟอสเฟต (calcium phosphate)
2.5 Fe2O3

ไอร์ออน(III)ออกไซด์ (iron(III) oxide)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
166

3. เขี ย นสู ต รและชื่ อ ของสารประกอบไอออนิ ก ที่ เ กิ ด จากไอออนบวกและไอออนลบที่


กำ�หนดให้ต่อไปนี้

ข้อ ไอออนบวก ไอออนลบ สูตร ชื่อสารประกอบ

3.1 Ba2+ S2- BaS แบเรียมซัลไฟด์ (barium sulfide)

3.2 Al3+ OH- Al(OH)3 อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์


(aluminium hydroxide)

3.3 Na+ SO42- Na2SO4 โซเดียมซัลเฟต (sodium sulfate)

3.4 Ca2+ CO32- CaCO3 แคลเซียมคาร์บอเนต


(calcium carbonate)

3.5 NH4+ PO43- (NH4)3PO4 แอมโมเนียมฟอสเฟต


(ammonium phosphate)

4. เขียนสูตรและชื่อของสารประกอบไอออนิกที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้
4.1 Pb2+ และ Pb4+ กับ Cl-

PbCl2 เลด(II)คลอไรด์ (lead(II) chloride)

PbCl4 เลด(IV)คลอไรด์ (lead(IV) chloride)
4.2 Mn และ Mn กับ O2-
2+ 4+


MnO แมงกานีส(II)ออกไซด์ (manganese(II) oxide)

MnO2 แมงกานีส(IV)ออกไซด์ (manganese(IV) oxide)
4.3 Sn2+ และ Sn4+ กับ SO42-

SnSO4 ทิน(II)ซัลเฟต (tin(II) sulfate)

Sn(SO ) 42 ทิน(IV)ซัลเฟต (tin(IV) sulfate)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
167

5. เขียนสูตรสารประกอบไอออนิกที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้
5.1 ลิเทียมคาร์บอเนต (lithium carbonate)

Li2CO3
5.2 ไอร์ออน(III)ไนเทรต (iron(III) nitrate)

Fe(NO3)3
5.3 คอปเปอร์(II)ซัลเฟต (copper(II) sulfate)

CuSO4
5.4 อะลูมิเนียมฟอสเฟต (aluminium phosphate)

AlPO4
5.5 แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (ammonium hydroxide)

NH4OH

3.2.3 พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก

จุดประสงค์การเรียนรู้
คำ�นวณพลังงานที่เ กี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิ ดสารประกอบไอออนิ ก จากวั ฏ จั ก รบอร์ น-
ฮาเบอร์

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
วี ดิ ท ัศ น์ ห รื อ ภาพประกอบการเกิดสารประกอบโซเดี ย มคลอไรด์ จากปฏิ กิ ริ ย าระหว่ าง
โลหะโซเดียมกับแก๊สคลอรีน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือภาพประกอบการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ จาก
ปฏิกิริยาระหว่างโลหะโซเดียมกับแก๊สคลอรีน แล้วตั้งคำ�ถามนำ�ว่า การเกิดสารประกอบโซเดียม
คลอไรด์มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่การศึกษาเรื่องพลังงานกับการ
เกิดสารประกอบไอออนิก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
168

2. ครูให้นักเรียนดูสมการของปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์และพลังงาน
ของการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

พลั ง งานที่ เ กิ ด จากการรวมตั ว กั น ของโซเดี ย มไอออนและคลอไรด์ ไ อออนมี ค่ า


เหมือนหรือต่างจากค่าพลังงานการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ เพราะเหตุใด
มีค่าต่างกัน เพราะสารตั้งต้นต่างกัน

3. ครูอธิบายว่าพลังงานของปฏิกิริยาใด ๆ อาจได้จากการทดลองโดยตรง หรือคำ�นวณจาก


ปฏิกริ ย
ิ าอืน
่ ทีเ่ กีย
่ วข้อง ในกรณีของสารประกอบไอออนิกสามารถอธิบายได้โดยอาศัยขัน
้ ตอนการเกิด
ปฏิกิริยาย่อย ๆ หลายขั้นตอนเรียกว่า วัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ ซึ่งนำ�มาใช้ในการคำ�นวณพลังงานที่
เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบได้
4. ครูอธิบายปฏิกริ ย
ิ าการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ ซึง่ ประกอบด้วยขัน
้ ตอน 5 ขัน
้ ตอน
โดยแสดงปฏิกิริยาและพลังงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครื่องหมายบวกและลบหน้าค่าพลังงานที่แสดง
การดูดพลังงานและคายพลังงาน
5. ครูให้นักเรียนรวมสมการและคำ�นวณพลังงานแลตทิซ ซึ่งควรเขียนสมการแสดงปฏิกิริยา
ได้ดังนี้
1
Na(s) + Cl2(g) NaCl(s)
2

และคำ�นวณค่าพลังงานแลตทิซได้เท่ากับ -787 กิโลจูลต่อโมล


6. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

เพราะเหตุใดพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะระหว่างไอออนบวกและไอออนลบใน
สารประกอบไอออนิกจึงเรียกว่า พลังงานแลตทิซ แทนที่จะเรียกว่า พลังงานพันธะ
เนื่องจากสารประกอบไอออนิกมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบ
ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องเป็นโครงผลึก ดังนั้นพลังงานที่ใช้ในการ
สลายพันธะจึงเป็นค่าเฉลี่ยต่อพันธะทั้งหมดในโครงผลึก ไม่ใช่เป็นของไอออนคู่ใดคู่หนึ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
169

7. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 3.4 แล้วให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

ขัน
้ ตอนใดในรูป 3.4 สัมพันธ์กบ
ั พลังงานทีก
่ �ำ หนดให้ตอ
่ ไปนี้
ก. พลังงานพันธะ Cl−Cl ขัน
้ ตอน 3
ข. พลังงานแลตทิซของ NaCl ขัน
้ ตอน 5
ค. พลังงานการระเหิดของโลหะ Na ขัน
้ ตอน 1
ง. สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของ Cl ขัน
้ ตอน 4
จ. พลังงานไอออไนเซชันของ Na ขัน
้ ตอน 2

8. ครูอธิบายเพิ่มเติมโดยชี้ให้นักเรียนสังเกตรูป 3.4 ว่าในแต่ละขั้นตอนจะแสดงสารทั้งที่เกิด


การเปลี่ยนแปลงและไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากต้องการแสดงระดับพลังงานรวมของสารที่
เกี่ยวข้องทุกสาร
9. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

แผนภาพวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ของการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์สามารถ
เขียนโดยสลับขั้นตอนให้ต่างจากรูป 3.4 ได้หรือไม่ อย่างไร
แผนภาพวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ของการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์สามารถ
สลับขั้นตอนได้โดยเขียนขั้นที่ 3 การสลายพันธะ Cl−Cl ก่อนขั้นที่ 2 การให้อิเล็กตรอน
ของ Na ในสถานะแก๊สกลายเป็น Na+ เรียงลำ�ดับใหม่ได้เป็นขั้นที่ 1 3 2 4 5 ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
170

Na+(g) + Cl(g) + e-

2 +496 kJ
4 -349 kJ
Na(g) + Cl(g)
Na+(g) + Cl-(g)
1 (g)
Na(g) + Cl 3 +121 kJ
พลังงาน

2 2

1 (g)
Na(g) + Cl 5 -787 kJ
1 +107 kJ
2 2

-412 kJ
NaCl(s)

หรือสลับลำ�ดับเป็นขั้นที่ 3 1 2 4 5

10. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามจากตัวอย่างคำ�ถามที่กำ�หนดให้ จากนั้นเฉลยคำ�ตอบร่วมกัน


ตัวอย่างคำ�ถาม
เขี ย นสมการแสดงการคำ � นวณและคำ � นวณพลั ง งานการเกิ ด สารประกอบแคลเซี ย ม
คลอไรด์ (CaCl2) จากค่าพลังงานที่กำ�หนดให้ต่อไปนี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
171

ชนิดของพลังงาน ค่าของพลังงาน (kJ/mol)

พลังงานการระเหิดของ Ca 178

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของ Ca 590

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 2 ของ Ca 1145

พลังงานพันธะของ Cl2 242

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของ Cl 349

พลังงานแลตทิซของ CaCl2 2258

พลังงานรวม = พลังงานการระเหิด + พลังงานไอออไนเซชัน +


พลังงานพันธะ + (-สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน)
+ (-พลังงานแลตทิซ)
= 178 + (590 + 1145) + 242 + [2 × (-349)] + (-2258)
= -801 kJ
ดังนั้น การเกิดสารประกอบแคลเซียมคลอไรด์เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน และมีพลังงานรวม
ของปฏิกิริยาเท่ากับ 801 กิโลจูลต่อโมล

11. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.3 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำ�นวณพลังงานรวมของปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิก
และการเขียนแผนภาพวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำ�นวณ จากการทำ�แบบฝึกหัด
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ​​​​​​​​​​​​​​​​​จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
172

แบบฝึกหัด 3.3

1. ปฏิกิริยาในข้อใดใช้พลังงานเท่ากับพลังงานแลตทิซของสารประกอบลิเทียมฟลูออไรด์
(LiF)
ก. LiF(s) Li(g) + F(g)

ข. LiF(s) 1 (g)
Li(g) + F
2 2

ค. LiF(s) Li+(g) + F-(g)

ปฏิกิริยาในข้อ ค.

2. กำ�หนดค่าพลังงานที่เกี่ยวข้องกับซีเชียมและฟลูออรีนดังนี้

ชนิดของพลังงาน ค่าของพลังงาน (kJ/mol)

พลังงานแลตทิซของ CsF 759

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของ F 328

พลังงานการระเหิดของ Cs 76

พลังงานพันธะของ F2 159

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของ Cs 376

จากข้อมูล ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
2.1 เขียนสมการของปฏิกิริยาและสมการของปฏิกิริยาย่อยของการเกิดสารประกอบ
พร้อมทั้งระบุว่าแต่ละขั้นตอนดูดพลังงานหรือคายพลังงาน

1 (g)
สมการของปฏิกิริยาเป็นดังนี้ Cs(s) + F CsF(s)
2
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
173

ชนิดของพลังงาน สมการของปฏิกิริยา ดูดหรือคายพลังงาน

พลังงานการระเหิด Cs(s) Cs(g) ดูดพลังงาน


+ -
พลังงานไอออไนเซชัน Cs(g) Cs (g) + e ดูดพลังงาน

พลังงานพันธะ 1 ดูดพลังงาน
F (g) F(g)
2 2
- -
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน F(g) + e F (g) คายพลังงาน

พลังงานแลตทิซ + -
Cs (s) + F (s) CsF(s) คายพลังงาน

2.2 คำ�นวณพลังงานการเกิดสารประกอบซีเซียมฟลูออไรด์ พร้อมทั้งระบุว่าเป็น


ปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือคายพลังงาน
พลังงานรวม = 76 + 376 + 79.5 + (-328) + (-759)
= -555.5 kJ
ดังนั้น การเกิดสารประกอบซีเซียมฟลูออไรด์เป็นปฏิกิรยาคายพลังงาน
และมีพลังงานรวมของปฏิกิริยาเท่ากับ 555.5 กิโลจูลต่อโมล

2.3 เขียนแผนภาพวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ของการเกิดสารประกอบซีเซียมฟลูออไรด์
Cs+(g) + F(g) + e-
1
Cs+(g) + F2(g) + e- 3 +79.5 kJ
2 4 -328 kJ

Cs+(g) + F-(g)
1
Cs(g) + F2(g) 2 +376 kJ
พลังงาน

1 5 -759 kJ
Cs(s) + F2(g) 1 +76 kJ
2

-555.5 kJ
CsF(s)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
174

3.2.4 สมบัติของสารประกอบไอออนิก
3.2.5 สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก
2. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

สารประกอบไอออนิกสถานะของแข็งนำ�ไฟฟ้า สารประกอบไอออนิกนำ�ไฟฟ้าได้เมือ
่ หลอมเหลว
ได้ หรือละลายในน้ำ�

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
วีดิทัศน์หรือภาพประกอบเมื่อทำ�การทุบผลึกของสารประกอบไอออนิกและการเปลี่ยนแปลง
ของไอออนในโครงผลึก

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือภาพประกอบเมื่อทำ�การทุบผลึกของสารประกอบไอออนิกและ
การเปลี่ยนแปลงของไอออนในโครงผลึก จากนั้นครูตั้งคำ�ถามนำ�ว่า เพราะเหตุใดเมื่อทุบผลึกของ
สารประกอบไอออนิก แล้วผลึกของสารประกอบไอออนิกจึงแตก เพื่อนำ�เข้าสู่การศึกษาสมบัติของ
สารประกอบไอออนิก
2. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้รูป 3.5 ประกอบการอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า การ
ที่ผลึกแตกเนื่องจากการเลื่อนตำ�แหน่งเพียงเล็กน้อยของไอออนเมื่อมีแรงกระทำ� อาจทำ�ให้ไอออน
ชนิดเดียวกันเลื่อนไถลไปอยู่ตำ�แหน่งตรงกัน จึงเกิดแรงผลักระหว่างกัน สารประกอบไอออนิกจึงมี
สมบัติเปราะและแตกหักได้ง่าย
3. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 3.6 และตาราง 3.7 จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้
ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิกสถานะของแข็งไม่นำ�
ไฟฟ้า เนื่องจากไอออนที่เป็นองค์ประกอบยึดเหนี่ยวกันอย่างแข็งแรงไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่
เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำ�จะนำ�ไฟฟ้าได้ เนื่องจากไอออนสามารถเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้
สารประกอบไอออนิกที่มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ส่วนใหญ่ละลายน้ำ�ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
175

และสารละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำ�ส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นเบสหรือกลาง โดยสารละลาย
ของสารประกอบออกไซด์มส
ี มบัตเิ ป็นเบส และสารละลายของสารประกอบคลอไรด์มส
ี มบัตเิ ป็นกลาง
4. ครูอธิบายเกี่ยวกับการละลายน้ำ�ของสารประกอบไอออนิกในรูป 3.7 ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
กระบวนการที่ไอออนบวกและไอออนลบแยกออกจากโครงผลึกเป็นกระบวนการดูดพลังงานที่มีค่า
เท่ า กั บ พลั ง งานแลตทิ ซ ​​​​​​​​​​​​​​​​และกระบวนการที่ โ มเลกุ ล ของน้ำ � ล้ อ มรอบไอออนแต่ ล ะชนิ ด เป็ น
กระบวนการคายพลังงานที่เรียกว่าพลังงานไฮเดรชัน
5. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ถ้าค่าพลังงานแลตทิซน้อยกว่าค่าพลังงานไฮเดรชัน การละลาย
จะเป็นกระบวนการคายพลังงาน ซึ่งจะทำ�ให้อุณหภูมิของสารละลายสูงขึ้น และสารจะละลายได้ดีที่
อุณหภูมิต่ำ� ในทางกลับกันถ้าค่าพลังงานแลตทิซมากกว่าค่าพลังงานไฮเดรชัน การละลายจะเป็น
กระบวนการดูดพลังงาน ซึง่ จะทำ�ให้อณ
ุ หภูมข
ิ องสารละลายลดลง และสารจะละลายได้ดท
ี อ
่ี ณ
ุ หภูมส
ิ งู
ในกรณีที่ค่าพลังงานแลตทิซมากกว่าค่าพลังงานไฮเดรชันมาก ๆ สารอาจละลายได้น้อยมากหรือ
ไม่ละลาย
6. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด

ชวนคิด

พิจารณาแผนภาพการละลายน้ำ�ของสารประกอบไอออนิกต่อไปนี้
+ - + -
A (g) + B (g) C (g) + D (g)

E1 E2 E2
E1 + -
AB(s) C (aq) + D (aq)

+ -
A (aq) + B (aq) CD(s)

(ก) (ข)
1. พลังงานแลตทิซและพลังงานไฮเดรชันคือค่าใดในแผนภาพ
พลังงาน E1 เป็นพลังงานแลตทิซ และพลังงาน E2 เป็นพลังงานไฮเดรชัน
2. การละลายน้ำ � ในแผนภาพใดเป็ น กระบวนการดู ด พลั ง งานและแผนภาพใดเป็ น
กระบวนการคายพลังงาน เพราะเหตุใด
แผนภาพ (ข) เป็นกระบวนการดูดพลังงาน เนื่องจากพลังงานแลตทิซมากกว่าพลังงาน
ไฮเดรชัน และแผนภาพ (ก) เป็นกระบวนการคายพลังงาน เนื่องจากพลังงานแลตทิซ
น้อยกว่าพลังงานไฮเดรชัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
176

7. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.4 เพื่อทบทวนความรู้


8. ครูตั้งคำ�ถามนำ�ว่า ถ้าผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิกสองชนิดทำ�ให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงหรือไม่ สังเกตได้อย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 3.1
9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรม 3.1 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบ
ไอออนิกเพื่อศึกษาปฏิกิริยาการตกตะกอนเมื่อทำ� การผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิ ก
สองชนิดเข้าด้วยกัน แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

กิจกรรม 3.1 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายของสารประกอบไอออนิก
2. ระบุสารละลายคู่ที่เกิดปฏิกิริยาแล้วได้ตะกอน
3. ระบุไอออนที่ทำ�ปฏิกิริยาแล้วได้ตะกอน และเขียนสูตรเคมีของตะกอน

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 5 นาที


ทำ�การทดลอง 20 นาที
อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 35 นาที
รวม 60 นาทีี

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

สารเคมี
1. สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) 1 mL
2. สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) 1 mL
3. สารละลายโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) 1 mL
4. สารละลายโซเดียมไนเทรต (NaNO3) 1 mL
5. สารละลายแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) 1 mL
6. สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) 1 mL

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
177

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

วัสดุและอุปกรณ์
1. แผ่นพลาสติกใส 1 แผ่น
2. กระดาษสี 1 แผ่น
3. หลอดหยด 6 อัน

การเตรียมล่วงหน้า
เตรียมสารละลายโดยใช้สารชนิดละ 1 กรัม ละลายในน้ำ�ปริมาตร 20 มิลลิลิตร

ตัวอย่างผลการทดลอง

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเติมสารละลาย
สารละลาย
Na2CO3 Na2SO4 NaNO3

CaCl2 ตะกอนสีขาว ตะกอนสีขาว ไม่เกิดตะกอน

NH4Cl ไม่เกิดตะกอน ไม่เกิดตะกอน ไม่เกิดตะกอน

MgCl2 ตะกอนสีขาว ไม่เกิดตะกอน ไม่เกิดตะกอน

อภิปรายผลการทดลอง
1. การทดลองนี้ ตัวแปรต้น คือ ชนิดของสารประกอบไอออนิกในสารละลาย และตัวแปรตาม
คือ ลักษณะของสารหลังการผสม
2. เมือ
่ ผสมสารละลายสองชนิดเข้าด้วยกันแล้วไม่มต
ี ะกอนเกิดขึน
้ แสดงว่าไอออนในสารละลาย
ไม่รวมตัวกัน หรืออาจไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น
3. เมือ
่ ผสมสารละลายสองชนิดเข้าด้วยกันแล้วมีตะกอนเกิดขึน
้ แสดงว่าไอออนในสารละลาย
รวมตัวกันเกิดเป็นสารใหม่ที่ไม่ละลายในน้ำ� หรือมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น โดยสารละลายที่
ผสมกันแล้วทำ�ให้เกิดตะกอน ได้แก่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
178

- สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)


- สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4)
- สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์​ (MgCl2) กับ สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
4. เมื่ อ พิ จ ารณาไอออนในสารละลายคู่ ที่ ผ สมกั น แล้ ว มี ต ะกอนเกิ ด ขึ้ น ​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​พบว่ า ไอออนที่
ทำ�ปฏิกิริยาแล้วได้ตะกอนและตะกอนที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้
- สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
ไอออนที่ทำ�ปฏิกิริยาแล้วได้ตะกอน คือ Ca2+ และ CO32-
ตะกอนที่เกิดขึ้น คือ CaCO3
- สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4)
ไอออนที่ทำ�ปฏิกิริยาแล้วได้ตะกอน คือ Ca2+ และ SO42-
ตะกอนที่เกิดขึ้น คือ CaSO4
- สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) กับสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
ไอออนที่ทำ�ปฏิกิริยาแล้วได้ตะกอน คือ Mg2+ และ CO32-
ตะกอนที่เกิดขึ้น คือ MgCO3

สรุปผลการทดลอง
เมื่อผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิกสองชนิดเข้าด้วยกันแล้วมีตะกอนเกิดขึ้น
แสดงว่าไอออนในสารละลายรวมตัวกันเกิดเป็นสารใหม่ที่ไม่ละลายในน้ำ� หรือมีปฏิกิริยาเคมี
เกิดขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
179

10. ครูอธิบายการเกิดตะกอนเมื่อผสมสารประกอบไอออนิกสองชนิดเข้าด้วยกัน โดยใช้รูป


3.8 ว่า สารประกอบไอออนิกเมื่อละลายน้ำ� ไอออนบวกและไอออนลบจะแยกออกจากกัน ถ้าการ
ผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิกทำ�ให้เกิดตะกอน แสดงว่าไอออนในสารละลายผสมทำ�
ปฏิกิริยากันเกิดเป็นสารใหม่ที่ไม่ละลายน้ำ� ดังตะกอนซิลเวอร์คลอไรด์ (AgCl) ซึ่งได้จากการผสม
สารละลายซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) กับสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
11. ครูอธิบายวิธีการเขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิโดยยกตัวอย่างปฏิกิริยา
ระหว่างสารละลายซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) กับสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
12. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

ตรวจสอบความเข้าใจ

เขี ย นสมการไอออนิ ก และสมการไอออนิ ก สุ ท ธิ ข องปฏิ กิ ริ ย าของสารละลายคู่ ที่ ทำ � ให้


เกิดตะกอนในกิจกรรม 3.1 และพิจารณาว่าสมการที่เขียนมีจำ�นวนอะตอมของธาตุแต่ละชนิด
ทางด้านซ้ายและขวาของสมการเท่ากันหรือไม่ ในกรณีที่ไม่เท่ากันให้เติมตัวเลขสัมประสิทธิ์
ข้างหน้าสารเพื่อทำ�ให้เท่ากัน
- สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
สมการไอออนิก
Ca2+(aq) + 2Cl-(aq) + 2Na+(aq) + CO32-(aq)
CaCO3(s) + 2Cl-(aq) + 2Na+(aq)
สมการไอออนิกสุทธิ
Ca2+(aq) + CO32-(aq) CaCO3(s)

- สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4)


สมการไอออนิก
Ca2+(aq) + 2Cl-(aq) + 2Na+(aq) + SO42-(aq)
CaSO4(s) + 2Cl-(aq) + 2Na+(aq)
สมการไอออนิกสุทธิ
Ca2+(aq) + SO42-(aq) CaSO4(s)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
180

- สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) กับสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)


สมการไอออนิก
Mg2+(aq) + 2Cl-(aq) + 2Na+(aq) + CO32-(aq)
MgCO3(s) + 2Cl-(aq) + 2Na+(aq)
สมการไอออนิกสุทธิ
Mg2+(aq) + CO32-(aq) MgCO3(s)

13. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารประกอบที่ละลายน้ำ�และสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ� ซึ่ง


เป็ น ข้ อ มู ล เบื้ อ งต้ น ในการอธิ บ ายหรื อ การทำ � นายปฏิ กิ ริ ย าการเกิ ด ตะกอนของสารละลายของ
สารประกอบไอออนิก
14. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก
การเขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิแสดงการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก
ดังนี้
- สมบัติของสารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่เป็นผลึกของแข็ง เปราะ มีจุดหลอมเหลว
และจุดเดือดสูง ละลายน้ำ�ได้ ไม่นำ�ไฟฟ้าเมื่อเป็นของแข็ง แต่นำ�ไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือละลาย
ในน้ำ� และสารละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำ�ส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นเบสหรือกลาง
- สมการไอออนิกแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิกที่แสดงไอออนในสารละลาย
ครบทุกชนิด ส่วนสมการไอออนิกสุทธิแสดงเฉพาะไอออนที่ ทำ � ปฏิ กิ ริ ยากั นได้ เ ป็นผลิตภัณฑ์
15. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.5 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก และวิธีการเขียนสมการไอออนิกและ
สมการไอออนิกสุทธิแสดงการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก จากการอภิปราย รายงาน
การทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการอภิปราย
3. ทักษะการทดลอง จากรายงานการทดลองและการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลอง
4. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�
การทดลอง
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ​​​​​​​​​​​​​จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
181

แบบฝึกหัด 3.4

1. เมื่อละลายลิเทียมโบรไมด์ (LiBr) และโพแทสเซียมโบรไมด์ (KBr) ในน้ำ� อุณหภูมิของน้ำ�


ก่อนละลายและอุณหภูมิของสารละลายเป็นดังนี้

อุณหภูมิ (°C)
สารประกอบไอออนิก
น้ำ� สารละลาย

LiBr 28 33

KBr 28 24

1.1 การละลายน้ำ � ของลิ เ ที ย มโบรไมด์ แ ละโพแทสเซี ย มโบรไมด์ เ ป็ น กระบวนการ


เปลี่ยนแปลงพลังงานแบบใด
การละลายของลิเทียมโบรไมด์เป็นกระบวนการคายพลังงาน
การละลายของโพแทสเซียมโบรไมด์เป็นกระบวนการดูดพลังงาน
1.2 สารใดมีพลังงานแลตทิซมากกว่าพลังงานไฮเดรชัน เพราะเหตุใด
โพแทสเซียมโบรไมด์มพ
ี ลังงานแลตทิซมากกว่าพลังงานไฮเดรชัน เนือ
่ งจากสารละลาย
มีอณ
ุ หภูมต
ิ �ำ่ ลง แสดงว่ามีพลังงานแลตทิซซึง่ เป็นพลังงานทีด
่ ด
ู กลืนเข้าไปมากกว่า
พลังงานไฮเดรชันซึ่งเป็นพลังงานที่คายออกมา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
182

2. จากกราฟการละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำ�ที่อุณหภูมิต่าง ๆ ดังรูป

0.8
สาร B
0.7 สาร A
สภาพละลายไดในน้ำ (กรัม ในน้ำ 100 กรัม)

0.6
0.5
0.4 สาร C
0.3
0.2
0.1
สาร D
0
0 10 20 30 40 50 60 70 80
อุณหภูมิ ( ํC)

ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
2.1 การละลายน้ำ�ของสารใดเป็นกระบวนการดูดพลังงาน
สาร A B และ C
2.2 การละลายน้ำ�ของสารใดเป็นกระบวนการคายพลังงาน
สาร D
2.3 สารใดมีพลังงานแลตทิซมากกว่าพลังงานไฮเดรชัน
สาร A B และ C
2.4 สารใดเมื่อละลายน้ำ�แล้วอุณหภูมิสูงขึ้น
สาร D

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
183

3. การละลายน้ำ�ของซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) มีค่าพลังงานแลตทิซเป็น 822 กิโลจูลต่อ


โมล และมีค่าพลังงานไฮเดรชันเป็น 799 กิโลจูลต่อโมล
3.1 เขียนแผนภาพแสดงการเปลีย
่ นแปลงพลังงานในการเกิดสารละลายซิลเวอร์ไนเทรต
+ -
Ag (g) + NO3 (g)

-799 kJ
+ -
822 kJ Ag (aq) + NO3 (aq)

AgNO3(s)

3.2 การละลายน้ำ�ของซิลเวอร์ไนเทรตเป็นกระบวนการดูดพลังงานหรือคายพลังงาน
ปริมาณเท่าใด
พลังงานของการละลาย = 822 kJ – 799 kJ = 23 kJ ดังนั้นการละลาย
ของซิลเวอร์ไนเทรตเป็นกระบวนการดูดพลังงาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
184

แบบฝึกหัด 3.5

1. สารละลายที่กำ�หนดให้คู่ใดที่ผสมกันแล้วเกิดตะกอน เขียนสมการไอออนิกและสมการ
ไอออนิกสุทธิ พร้อมทั้งระบุชื่อของตะกอนที่เกิดขึ้น
1.1 LiCl กับ AgNO3 1.3 NH4Cl กับ Ca(OH)2
1.2 KI กับ Pb(NO3)2 1.4 Na3PO4 กับ MgCl2
สารคู่ที่เกิดตะกอนได้แก่ สารละลายในข้อ 1.1 1.2 และ 1.4 เขียนสมการได้ดังนี้
1.1 LiCl กับ AgNO3
สมการไอออนิก
Li+(aq) + Cl-(aq) + Ag+(aq) + NO3-(aq) AgCl(s) + Li+(aq) + NO3-(aq)
สมการไอออนิกสุทธิ
Ag+(aq) + Cl-(aq) AgCl(s)
ชื่อตะกอน คือ AgCl ซิลเวอร์คลอไรด์ (silver chloride)

1.2 KI กับ Pb(NO3)2


สมการไอออนิก
2K+(aq) + 2I -(aq) + Pb2+(aq) + 2NO3-(aq) PbI2(s) + 2K+(aq) + 2NO3-(aq)
สมการไอออนิกสุทธิ
Pb2+(aq) + 2I-(aq) PbI2(s)
ชื่อตะกอน คือ PbI2 เลด(II)ไอโอไดด์ (lead(II) iodide)

1.4 Na3PO4 กับ MgCl2


สมการไอออนิก
6Na+(aq) + 2PO43-(aq) + 3Mg2+(aq) + 6Cl-(aq)
Mg3(PO4)2(s) + 6Na+(aq) + 6Cl-(aq)
สมการไอออนิกสุทธิ
3Mg2+(aq) + 2PO43-(aq) Mg3(PO4)2(s)
ชื่อตะกอน คือ Mg3(PO4)2 แมกนีเซียมฟอสเฟต (magnesium phosphate)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
185

2. จากสารที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้
KCl Na₂SO₄ CaSO₄ BaCO₃ Mg(OH)₂ MgSO₄
AgNO₃ BaCl₂ NaHCO₃
2.1 สารชนิดใดไม่ละลายน้ำ�
CaSO4 BaCO3 และ Mg(OH)2
2.2 สารละลายคู่ใดที่ผสมกันแล้วได้ตะกอนแบเรียมซัลเฟต (BaSO4) และเขียน
สมการไอออนิกสุทธิ
สารละลาย Na2SO4 กับ BaCl2 และสารละลาย MgSO4 กับ BaCl2
เขียนสมการไอออนิกสุทธิได้ดังนี้
Ba2+(aq) + SO42-(aq) BaSO4(s)

3. ตะกอนที่กำ�หนดให้ได้จากการผสมสารละลายใดได้บ้าง
3.1 Ag3PO4
Ag3PO4 เตรียมได้จากการผสมสารที่มี Ag+ และ PO43- เป็นองค์ประกอบ
และเป็นสารทีล
่ ะลายได้ในน้�
ำ เช่น AgNO3 กับ Na3PO4 (หรือ K3PO4 (NH4)3PO4)
3.2 MgCO3
MgCO3 เตรียมได้จากการผสมสารที่มี Mg2+ และ CO32- เป็นองค์ประกอบ
และเป็นสารที่ละลายได้ในน้ำ� เช่น MgCl2 (หรือ MgBr2 MgI2) กับ Na2CO3 (หรือ
K2CO3)
3.3 PbBr2
2+ -
PbBr2 เตรียมได้จากการผสมสารที่มี Pb และ Br เป็นองค์ประกอบ
และเป็นสารที่ละลายได้ในน้ำ� เช่น Pb(NO3)2 กับ NaBr (หรือ KBr NH4Br
MgBr2 CaBr2 BaBr2)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
186

4. น้ำ�กระด้างมีไอออน Ca2+ หรือ Mg2+ ละลายอยู่ เมื่อทำ�การทดสอบน้ำ�ตัวอย่าง 2 ชนิด


โดยหยดสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตหรือโซดาแอช (Na2CO3) ได้ผลการทดลองดังตาราง

น้ำ�ตัวอย่าง ผลการทดลอง

1 มีตะกอนสีขาวเกิดขึ้น

2 ไม่เปลี่ยนแปลง

4.1 น้ำ�ตัวอย่างใดน่าจะเป็นน้ำ�กระด้าง เพราะเหตุใด


น้ำ�ตัวอย่าง 1 เนื่องจากน้ำ�กระด้างเป็นน้ำ�ที่มีไอออน Ca2+ หรือ Mg2+
ละลายอยู่ ไอออนทั้งสองสามารถทำ�ปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต
เกิดตะกอนสีขาวได้
4.2 เขียนสูตรเคมีของตะกอนที่เกิดขึ้น
CaCO3 และ MgCO3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
187

3.3 พันธะโคเวเลนต์
3.3.1 การเกิดพันธะโคเวเลนต์
3.3.2 สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดีย
่ ว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส
2. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูยกตัวอย่างสารโคเวเลนต์ เช่น โมเลกุลแก๊สออกซิเจน (O2) แล้วตั้งคำ�ถามว่า การเกิด
พั น ธะเคมี ร ะหว่ า งอะตอมของออกซิ เ จนมี ก ารเปลี่ ย นแปลงของเวเลนซ์ อิ เ ล็ ก ตรอนเหมื อ นหรื อ
ต่างจากพันธะไอออนิกหรือไม่ ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ต่างกัน เนื่องจากการเกิดพันธะเคมีของโมเลกุล
แก๊สออกซิเจนไม่ได้เกิดจากการให้หรือรับอิเล็กตรอน แต่เป็นการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
2. ครู ใ ห้ ค วามหมายของพั น ธะโคเวเลนต์ ว่ า เป็ น การยึ ด เหนี่ ย วของอะตอมโดยใช้ เ วเลนซ์
อิเล็กตรอนร่วมกัน และเรียกสารที่เกิดจากพันธะโคเวเลนต์ว่า สารโคเวเลนต์
3. ครู อ ธิ บ ายการเกิ ด พั น ธะโคเวเลนต์ โ ดยใช้ แ ผนภาพและสั ญ ลั ก ษณ์ แ บบจุ ด ของลิ ว อิ ส
ประกอบการอธิบาย โดยยกตัวอย่างการเกิดพันธะในโมเลกุลแก๊สคลอรีน (Cl2) แก๊สออกซิเจน (O2)
และแก๊สไนโตรเจน (N2) ซึ่งเป็นการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม
ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ความรู้เกี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะซึ่งเป็นอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในการ
เกิดพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวซึ่งเป็นอิเล็กตรอนคู่ที่ไม่ได้เกิดพันธะ
4. ครูให้นักเรียนพิจารณาการเขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลโคเวเลนต์บางชนิดจากตาราง
3.8 จากนั้นชี้ให้เห็นว่า การเขียนแสดงโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2
อะตอม อะตอมกลางจะเป็นธาตุที่ต้องการจำ�นวนอิเล็กตรอนมากที่สุดเพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต
ในกรณีที่มีธาตุที่ต้องการจำ�นวนอิเล็กตรอนเท่ากัน ธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ�ที่สุดจะเป็น
อะตอมกลาง
5. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
188

ตรวจสอบความเข้าใจ

เขียนโครงสร้างลิวอิสของคาร์บอนิลคลอไรด์ (COCl2)
O O
Cl C Cl Cl C Cl

6. ครูอธิบายเกีย
่ วกับพันธะโคเวเลนต์ในสารบางชนิดทีอ
่ เิ ล็กตรอนคูร่ ว่ มพันธะมาจากอะตอมใด
อะตอมหนึ่ง เช่น โมเลกุลแอมโมเนีย (NH3) มีเส้นพันธะ N−H 3 พันธะ แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
3 คู่ ในขณะที่อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ แสดงด้วยจุดคู่บนอะตอมไนโตรเจน อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวนี้
สามารถสร้างพันธะกับ H+ เกิดเป็นแอมโมเนียมไอออน (NH4+) โดยที่จำ�นวนอิเล็กตรอน
รอบอะตอมกลางยังคงเป็นไปตามกฎออกเตต ซึ่งในกรณีนี้พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นมาจากอะตอม
ไนโตรเจนเท่านั้น
7. ครูอธิบายเกี่ยวกับสารโคเวเลนต์บางชนิดที่อะตอมกลางมีจำ�นวนอิเล็กตรอนล้อมรอบ
ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต โดยยกตัวอย่างโมเลกุลโบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่
อะตอมกลางมีอเิ ล็กตรอนล้อมรอบน้อยกว่า 8 และฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (PCl5) ซึง่ เป็นโมเลกุลที่
อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนล้อมรอบมากกว่า 8
8. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.6 เพื่อทบทวนความรู้
9. ครูยกตัวอย่างสารโคเวเลนต์แล้วให้นักเรียนเปรียบเทียบค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของธาตุ
องค์ประกอบในสารนั้น เพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเขียนสูตรโมเลกุลโคเวเลนต์ เช่น CO2
อะตอมคาร์บอนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าอะตอมออกซิเจน
10. ครูอธิบายหลักการเขียนสูตรโมเลกุลและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ โดยสูตรโมเลกุลของ
สารโคเวเลนต์แสดงสัญลักษณ์ของธาตุเรียงลำ�ดับตามค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจากน้อยไปมาก โดยระบุ
จำ�นวนอะตอมของธาตุที่มีจำ�นวนมากกว่า 1 อะตอม ส่วนการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ให้เรียกธาตุตาม
ลำ�ดับจากซ้ายไปขวา ถ้ามีสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากธาตุองค์ประกอบเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด ต้อง
ระบุจำ�นวนอะตอมธาตุองค์ประกอบด้วยคำ�ระบุจำ�นวนในภาษากรีกตามตาราง 3.9
11. ครูให้นักเรียนศึกษาสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์จากตาราง 3.10 และอาจให้
นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อศึกษาสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ ดังตัวอย่างกิจกรรม 3 และ
กิจกรรม 4 ซึ่งเป็นตัวอย่างกิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครูดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
189

กิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครู
ตัวอย่างกิจกรรม 3 เรือ
่ ง สูตรโมเลกุลและชือ
่ ของสารโคเวเลนต์

วัสดุและอุปกรณ์
1. กระดาษสีหรือกระดาษ A4 3. กรรไกร
2. ปากกาเมจิก 4. เทปกาว

วิธท
ี �ำ กิจกรรม
1. ตัดกระดาษสีหรือกระดาษ A4 เพื่อทำ�การ์ดโดยเขียนสูตรโมเลกุลหรือชื่อสารแผ่นละ
1 อย่าง ดังรูป

ตัวอย่างสูตรเคมีและชื่อสารที่จะทำ�การ์ดดังตาราง

สูตร ชื่อสาร สูตร ชื่อสาร

SiH4 ซิลิคอนเตตระไฮไดรด์ CCl4 คาร์บอนเตตระคลอไรด์


(silicon tetrahydride) (carbon tetrachloride)
PBr3 ฟอสฟอรัสไตรโบรไมด์ PH3 ฟอสฟอรัสไตรไฮไดรด์
(phosphorus tribromide) (phosphorus trihydride)

AsF5 อาร์เซนิกเพนตะฟลูออไรด์ H2S ไฮโดรเจนซัลไฟด์


(arsenic pentafluoride) (hydrogen sulfide)

N2O4 ไดไนโตรเจนเตตระออกไซด์ XeO2F2 ซีนอนไดออกซิเจนไดฟลูออไรด์


(dinitrogen tetraoxide) (xenon dioxygen difluoride)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
190

สูตร ชื่อสาร สูตร ชื่อสาร

N2O5 ไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์ ClF3 คลอรีนไตรฟลูออไรด์


(dinitrogen pentaoxide) (chlorine trifluoride)
Cl2O ไดคลอรีนมอนอกไซด์ BrF5 โบรมีนเพนตะฟลูออไรด์
(dichlorine monoxide) (bromine pentafluoride)

Cl2O7 ไดคลอรีนเฮปตะออกไซด์ XeOF4 ซีนอนมอนอออกซิเจนเตตระ


(dichlorine heptaoxide) ฟลูออไรด์ (xenon
monooxygen tetrafluoride)

P4O10 เตตระฟอสฟอรัสเดคะออกไซด์ IF5 ไอโอดีนเพนตะฟลูออไรด์


(tetraphosphorus (iodine pentafluoride)
decaoxide)

SiCl4 ซิลิคอนเตตระคลอไรด์ SbCl5 แอนทิโมนีเพนตะคลอไรด์


(silicon tetrachloride) (antimony pentachloride)
SF6 ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ NCl3 ไนโตรเจนไตรคลอไรด์
(sulfur hexafluoride) (nitrogen trichloride)
TeF6 เทลลูเลียมเฮกซะฟลูออไรด์ OF2 ออกซิเจนไดฟลูออไรด์
(tellurium hexafluoride) (oxygen difluoride)
PCl5 ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ P2O5 ไดฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์
(phosphorus (diphosphorus
pentachloride) pentaoxide)

HgCl2 เมอร์คิวรีไดคลอไรด์ SbH3 แอนทิโมนีไตรไฮไดรด์


(mercury dichloride) (antimony trihydride)

BCl3 โบรอนไตรคลอไรด์ AsCl3 อาร์เซนิกไตรคลอไรด์


(boron trichloride) (arsenic trichloride)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
191

2. ครูนำ�สูตรโมเลกุลติดด้วยเทปกาวแล้วนำ�ไปติดไว้บนกระดานหน้าชั้นเรียน
3. ครูแจกชื่อสารให้นักเรียน แล้วให้นักเรียนนำ�ชื่อสารที่ได้รับไปติดใกล้กับสูตรโมเลกุล
ของสารนั้น

กิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครู
ตัวอย่างกิจกรรม 4 เรือ
่ ง เกมสูตรโมเลกุลและชือ
่ ของสารโคเวเลนต์์

วัสดุและอุปกรณ์
1. กระดาษแข็ง
2. ปากกาเมจิก
3. กรรไกร

วิธท
ี �ำ กิจกรรม
1. พิมพ์แบบลูกบาศก์ลงบนกระดาษแข็งและใช้ปากกาเมจิกเขียนสัญลักษณ์ธาตุดังรูป

H H

N Cl F C F Cl

Br N

O O

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
192

2. ตั ด กระดาษตามแบบแล้ ว สร้ า งเป็ น ลู ก บาศก์ เ พื ่อ แจกนั ก เรี ย นกลุ ่ม ละ 1 ชุด (2


ลูกบาศก์ ตามข้อ 1)
3. ให้นักเรียนโยนลูกบาศก์ 2 ลูก พร้อมกัน แล้วเขียนสูตรและชื่อของสารโคเวเลนต์
ให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 1 นาที

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม

ธาตุ สูตร
ชื่อสาร
ลูกบาศก์ 1 ลูกบาศก์ 2 โมเลกุล

H H H2 แก๊สไฮโดรเจน (hydrogen gas)

Cl Cl Cl2 แก๊สคลอรีน (chlorine gas)

O O O2 แก๊สออกซิเจน (oxygen gas)

O C CO2 คาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide)

Cl C CCl4 คาร์บอนเตตระคลอไรด์์ (carbon tetrachloride)

F C CF4 คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์
(carbon tetrafluoride)

Br C CBr4 คาร์บอนเตตระโบรไมด์ (carbon tetrabromide)

Cl F ClF คลอรีนมอนอฟลูออไรด์
(chlorine monofluoride)

N F NF3 ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (nitrogen trifluoride)

O F OF2 ออกซิเจนไดฟลูออไรด์ (oxygen difluoride)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
193

12. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับการเกิดพันธะโคเวเลนต์ สูตร


โมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ ดังนี้
- ธาตุอโลหะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง ดังนั้นเมื่อรวมตัวกันจะไม่มีอะตอมใดยอมเสีย
อิเล็กตรอน อะตอมจึงยึดเหนี่ยวกันโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า พันธะ
โคเวเลนต์ และเรียกสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ว่า สารโคเวเลนต์
- พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่ 2 คู่ หรือ 3 คู่ จะ
เกิดเป็น พันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ตามลำ�ดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎออกเตต เขียน
แสดงได้ดว้ ยโครงสร้างลิวอิส ทัง้ นีก
้ ารเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล โคเวเลนต์บางชนิดอาจไม่เป็นไป
ตามกฎออกเตต
- สูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์แสดงสัญลักษณ์ของธาตุเรียงลำ�ดับตามค่าอิเล็กโทร-
เนกาติวิตีจากน้อยไปมาก โดยระบุจำ�นวนอะตอมของธาตุที่มีจำ�นวนอะตอมมากกว่า 1 อะตอม
- ชื่อของสารโคเวเลนต์จะเรียกชื่อธาตุตามลำ�ดับจากซ้ายไปขวา ถ้ามีสารโคเวเลนต์
ที่เกิดจากธาตุองค์ประกอบเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด ต้องระบุจำ�นวนอะตอมธาตุองค์ประกอบด้วย
คำ�ระบุจำ�นวนในภาษากรีก
13. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.7 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม การเขียน
แสดงการเกิดพันธะโคเวเลนต์ด้วยโครงสร้างลิวอิส และวิธีการเขียนสูตรโมเลกุลและการเรียกชื่อ
สารโคเวเลนต์ จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ​​​​​​​​​​​​​​​จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
194

แบบฝึกหัด 3.6

1. เขียนโครงสร้างลิวอิสตามกฎออกเตต พร้อมทั้งระบุจำ�นวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ และ


จำ�นวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวในโมเลกุลต่อไปนี้
1.1 I2 1.4 HCN
1.2 NF3 1.5 H2O2
1.3 CS2

ข้อ สาร โครงสร้างลิวอิส อิเล็กตรอน อิเล็กตรอน


คู่ร่วมพันธะ (คู่) คู่โดดเดี่ยว (คู่)

1.1 I2 1 6
I I

1.2 NF3 F N F 3 10

1.3 CS2 4 4
S C S

1.4 HCN 4 1
H C N

1.5 H2O2 3 4
H O O H

2. เขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงการเกิดพันธะในโมเลกุลที่เป็นไปตามกฎออกเตตจากธาตุที่
กำ�หนดให้ต่อไปนี้
2.1 ไฮโดรเจนกับฟลูออรีน
H + F H F

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
195

2.2 กำ�มะถันกับไฮโดรเจน

H + S + H H S H

2.3 ซิลิคอนกับคลอรีน

Cl Cl
+
Cl + Si + Cl Cl Si Cl
+
Cl Cl

2.4 ฟอสฟอรัสกับไฮโดรเจน

H + P + H H P H
+
H H

3. เขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลหรือไอออนต่อไปนี้ พร้อมทัง้ ระบุวา่ เป็นไปตามกฎออกเตต
หรื อ ไม่ เ ป็ น ไปตามกฎออกเตต​​​​​​​​​​​​​​​​​(ในกรณี ที่ ไ ม่ เ ป็ น ไปตามกฎออกเตตให้ ร ะบุ จำ � นวน
อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลาง)
3.1 BeH2
H − Be − H ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต อะตอมกลางมี 4 อิเล็กตรอน

3.2 ClF3

F Cl F
ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต อะตอมกลางมี 10 อิเล็กตรอน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
196

3.3 CH2O
O

H
C H เป็นไปตามกฎออกเตต
3.4 CH3OH
H

H C O H
เป็ นไปตามกฎออกเตต

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
197

แบบฝึกหัด 3.7

1. เรียกชื่อสารประกอบออกไซด์ของไนโตรเจนต่อไปนี้
NO N2O N2O3 และ N2O5
NO ไนโตรเจนมอนอออกไซด์ (nitrogen monooxide) หรือ
ไนโตรเจนมอนอกไซด์ (nitrogen monoxide)
N2O ไดไนโตรเจนมอนอออกไซด์ (dinitrogen monooxide) หรือ
ไดไนโตรเจนมอนอกไซด์ (dinitrogen monoxide)
N2O3 ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ (dinitrogen trioxide)
N2O5 ไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์ (dinitrogen pentaoxide) หรือ
ไดไนโตรเจนเพนตอกไซด์ (dinitrogen pentoxide)

2. เขียนสูตรและชื่อของสารโคเวเลนต์ในตารางให้ถูกต้อง

ข้อ สูตร ชื่อสาร

2.1 CCl4 คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride)


2.2 XeF4 ซีนอนเตตระฟลูออไรด์ (xenon tetrafluoride)
2.3 BrF5 โบรมีนเพนตะฟลูออไรด์ (bromine pentafluoride)
2.4 PH3 ฟอสฟอรัสไตรไฮไดรด์ (phosphorus trihydride)
2.5 SbBr3 แอนทิโมนีไตรโบรไมด์ (antimony tribromide)
2.6 SeF6 ซีลีเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ (selenium hexafluoride)
2.7 Si2Br6 ไดซิลิคอนเฮกซะโบรไมด์ (disilicon hexabromide)
2.8 P2O5 ไดฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ (diphosphorus pentaoxide)
ไดฟอสฟอรัสเพนตอกไซด์ (diphosphorus pentoxide)
2.9 P2S3 ไดฟอสฟอรัสไตรซัลไฟด์ (diphosphorus trisulfide)
2.10 N2S5 ไดไนโตรเจนเพนตะซัลไฟด์ (dinitrogen pentasulfide)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
198

3. เขียนสูตรโมเลกุลตามกฎออกเตตและชื่อของสารโคเวเลนต์ที่เกิดระหว่างธาตุต่อไปนี้
3.1 สารหนูกับคลอรีน
AsCl3 อาร์เซนิกไตรคลอไรด์ (arsenic trichloride)
3.2 ซิลิคอนกับฟลูออรีน
SiF4 ซิลิคอนเตตระฟลูออไรด์ (silicon tetrafluoride)

3.3.3 ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์
2. คำ�นวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
วีดิทัศน์หรือกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลแก๊ส
ไฮโดรเจน ในรูป 3.9 แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ความยาวพันธะเป็นระยะห่างระหว่าง
นิวเคลียสที่ทำ�ให้พลังงานศักย์รวมต่ำ�ที่สุด
2. ครูให้นักเรียนพิจารณาความยาวพันธะ O−H ในโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน เช่น H2O
CH3OH HNO2 ในตาราง 3.11 ซึ่งพบว่าพันธะชนิดเดียวกันในโมเลกุลต่างชนิดกันอาจมีความยาว
พันธะไม่เท่ากัน ในการประมาณความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง ๆ โดยทั่วไปนิยมใช้ความยาว
พันธะเฉลี่ย ดังตาราง 3.12
3. ครูให้นักเรียนเขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลโอโซน (O3) ซึ่งพบว่าสามารถเขียน
โครงสร้างลิวอิสได้ 2 โครงสร้าง จากนั้นครูตั้งคำ�ถามว่า พันธะระหว่างออกซิเจนทั้ง 2 พันธะ ใน
โครงสร้างลิวอิสแต่ละโครงสร้าง มีความยาวพันธะเท่ากันหรือไม่ ซึ่งน่าจะได้คำ�ตอบว่า ไม่เท่ากัน
จากนัน
้ ครูอธิบายผลการศึกษาโดยใช้รป
ู 3.10 ประกอบการอธิบายว่า พันธะทัง้ สองมีความยาวพันธะ
เท่ากัน นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอว่าโครงสร้างทั้งสองไม่ใช่โครงสร้างโมเลกุลที่แท้จริงของ O3 แต่เรียก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
199

เป็นโครงสร้างเรโซแนนซ์ และใช้ลูกศรสองหัวแสดงการเกิดเรโซแนนซ์ระหว่าง 2 โครงสร้าง โดย


โครงสร้างที่สอดคล้องกับค่าความยาวพันธะที่เท่ากันสามารถเขียนแทนด้วยโครงสร้างเรโซแนนซ์
ผสม
4. ครูให้นักเรียนพิจารณากราฟรูป 3.9 แล้วตั้งคำ�ถามว่า ถ้าต้องการสลายพันธะในโมเลกุล
แก๊สไฮโดรเจนต้องใช้พลังงานอย่างน้อยเท่าใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่าเท่ากับ 436 กิโลจูลต่อโมล ซึ่ง
ค่าพลังงานดังกล่าวเป็นพลังงานพันธะ H−H จากนั้นครูให้ความรู้ว่า พลังงานพันธะเป็นพลังงาน
ปริมาณน้อยทีส
่ ด
ุ ทีใ่ ช้สลายพันธะระหว่างอะตอมคูร่ ว่ มพันธะในโมเลกุลสถานะแก๊สให้เป็นอะตอมเดีย
่ ว
ในสถานะแก๊ส
5. ครูตั้งคำ�ถามนำ�ว่า โมเลกุลที่มีพันธะชนิดเดียวกันมากกว่า 1 พันธะ นักเรียนคิดว่าพลังงาน
ที่ใช้ในการสลายพันธะแต่ละพันธะเท่ากันหรือไม่ อย่างไร จากนั้นอธิบายพลังงานที่ใช้ในการสลาย
พันธะ O−H ของน้ำ�ทั้ง 2 พันธะ ซึ่งมีค่าไม่เท่ากัน และพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะ O−H ในสาร
ชนิดอื่นก็มีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นการประมาณพลังงานพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง ๆ โดยทั่วไปนิยมใช้
พลังงานพันธะเฉลี่ย ดังตาราง 3.12 ซึ่งเฉลี่ยจากพันธะทั้งที่อยู่ในโมเลกุลชนิดเดียวกันและต่างชนิด
กัน
6. ครูให้นักเรียนพิจารณาค่าในตาราง 3.12 แล้วตั้งคำ�ถามว่า ค่าความยาวพันธะและพลังงาน
พันธะระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า สำ�หรับ
อะตอมคู่ร่วมพันธะเดียวกัน พันธะที่มีค่าพลังงานพันธะน้อยจะมีค่าความยาวพันธะมาก
7. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและตอบคำ�ถามชวนคิด

ตรวจสอบความเข้าใจ

เรียงลำ�ดับความยาวพันธะและพลังงานพันธะในโมเลกุล Cl2 Br2 และ I2


ความยาวพันธะเรียงลำ�ดับได้เป็น Cl2 < Br2 < I2
พลังงานพันธะเรียงลำ�ดับได้เป็น Cl2 > Br2 > I2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
200

ชวนคิด

เพราะเหตุใดพันธะ F−F มีพลังงานพันธะน้อยกว่าพันธะ Cl−Cl ซึ่งไม่เป็นไปตาม


แนวโน้มเดียวกันกับธาตุหมู่ VIIA ชนิดอื่น
เนื่ อ งจากธาตุ ฟ ลู อ อรี น มี ค่ า อิ เ ล็ ก โทรเนกาติ วิ ตี สู ง และมี ข นาดอะตอมเล็ ก มาก
เมื่อเกิดพันธะโคเวเลนต์ อะตอมฟลูออรีน 2 อะตอม ต้องเข้ามาอยู่ใกล้กันมากเพื่อใช้
อิเล็กตรอนร่วมกัน โดยที่มีอิเล็กตรอนล้อมรอบจำ�นวนมาก ทำ�ให้มีความหนาแน่นของ
อิเล็กตรอนภายในโมเลกุลสูง และเกิดการผลักกันระหว่างอิเล็กตรอนภายในโมเลกุล ส่งผล
ให้พลังงานพันธะ F−F มีค่าต่ำ�และไม่เป็นไปตามแนวโน้มเดียวกันกับธาตุหมู่ VIIA
ชนิดอื่น

8. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการคำ�นวณพลังงานของปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงาน
พันธะ ซึ่งได้จากผลต่างของพลังงานพันธะรวมของสารตั้งต้นกับผลิตภัณฑ์ จากนั้นแสดงการคำ�นวณ
ตามตัวอย่าง 1 และ 2
9. ครู แ ละนั ก เรี ย นอภิ ป รายร่ ว มกั น เพื่ อ สรุ ป ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ความยาวพั น ธะและพลั ง งาน
พันธะ ดังนี้
- ความยาวพันธะคือระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่ร่วมพันธะที่ทำ�ให้พลังงานศักย์
รวมต่ำ�ที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดอะตอมคู่ร่วมพันธะและชนิดของพันธะ โดยความยาวพันธะระหว่าง
อะตอมคู่หนึ่ง ๆ ในโมเลกุลของสารต่างชนิดกันอาจไม่เท่ากันจึงนิยมใช้เป็นความยาวพันธะเฉลี่ย
- พลั ง งานพั น ธะคื อ พลั ง งานปริ ม าณน้ อ ยที่ สุ ด ที่ ใ ช้ ส ลายพั น ธะระหว่ า งอะตอมคู่ ร่ ว ม
พันธะในโมเลกุลสถานะแก๊สให้เป็นอะตอมเดี่ยวในสถานะแก๊ส ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความยาวพันธะ
โดยพลังงานพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง ๆ ในโมเลกุลชนิดเดียวกันและต่างชนิดกันอาจไม่เท่ากัน จึง
นิยมใช้เป็นพลังงานพันธะเฉลี่ย
- พลั ง งานพั น ธะนำ � มาใช้ ใ นการคำ � นวณพลั ง งานของปฏิ กิ ริ ย าซึ่ ง ได้ จ ากผลต่ า งของ
พลังงานพันธะรวมของสารตั้งต้นกับผลิตภัณฑ์
10. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.8 เพื่อทบทวนความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
201

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ จากการอภิปราย การ
ทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการทำ�แบบฝึกหัด
3. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการอภิปราย
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

แบบฝึกหัด 3.8

1. เปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุลหรือไอออนที่
กำ�หนดให้ต่อไปนี้ พร้อมอธิบายเหตุผล
1.1 พันธะระหว่าง C กับ O ของ CO และ CO2
ความยาวพันธะของ CO < CO2 และพลังงานพันธะของ CO > CO2
เนื่องจากพันธะระหว่าง C กับ O ของ CO เป็นพันธะสาม ส่วน CO2 เป็นพันธะคู่
1.2 พันธะระหว่าง O กับ O ของ O2 และ H2O2
ความยาวพันธะของ O2 < H2O2 และพลังงานพันธะของ O2 > H2O2
เนื่องจากพันธะระหว่าง O กับ O ของ O2 เป็นพันธะคู่ ส่วน H2O2 เป็นพันธะเดี่ยว
1.3 พันธะระหว่าง N กับ N ของ N2 และ N2H4
ความยาวพันธะของ N2 < N2H4 และพลังงานพันธะของ N2 > N2H4
เนือ
่ งจากพันธะระหว่าง N กับ N ของ N2 เป็นพันธะสาม ส่วน N2H4 เป็นพันธะเดีย
่ ว
1.4 พันธะระหว่าง C กับ C ของ C2H2 และ C2H4
ความยาวพันธะของ C2H2 < C2H4 และพลังงานพันธะของ C2H2 > C2H4
เนื่องจากพันธะระหว่าง C กับ C ของ C2H2 เป็นพันธะสาม ส่วน C2H4 เป็น
พันธะคู่
1.5 พันธะระหว่าง C กับ O ของ CO32- และ COCl2
ความยาวพันธะของ CO32- > COCl2 และพลังงานพันธะของ CO32- < COCl2
เนื่องจากพันธะระหว่าง C กับ O ของ CO32- เป็นพันธะเดี่ยวกับพันธะคู่เกิด
เรโซแนนซ์ ส่วน COCl2 เป็นพันธะคู่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
202

2. คำ�นวณพลังงานของปฏิกิริยาการเผาไหม้ของแก๊สเอทิลีน (C2H4) ดังสมการ


C2H4(g) + 3O2(g) 2CO2(g) + 2H2O(g)
พลังงานที่ใช้สลายพันธะของ C2H4 1 โมล และ O2 3 โมล = E1 kJ
E1 = [(1 mol C=C × 614 kJ/mol C=C) + (4 mol C−H × 414 kJ/mol C−H)]
+ [(3 mol O=O × 498 kJ/mol O=O)]
= 614 kJ + 1656 kJ + 1494 kJ = 3764 kJ
การสร้างพันธะของ CO2 2 โมล และ H2O 2 โมล = E2 kJ
E2 = [(4 mol C=O) × (-804 kJ/mol C=O)] + [(4 mol H−O) × (-463 kJ/mol H−O)]
= (-3216 kJ) + (-1852 kJ) = -5068 kJ
ΔH = E1 + E2
= 3764 kJ + (-5068 kJ) = -1304 kJ
ดังนั้น การเผาไหม้ของแก๊สเอทิลีนคายพลังงานเท่ากับ 1304 กิโลจูลต่อโมล

3. กำ�หนดค่าพลังงานพันธะดังนี้

พันธะ H−F H−Cl Cl−Cl

พลังงาน (kJ/mol) 567 431 242



จากปฏิกิริยา HF(g) + Cl2(g) HCl(g) + ClF(g) เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน
120 กิโลจูลต่อโมล คำ�นวณพลังงานพันธะของ Cl−F
จาก ΔH = E1 + E2
120 kJ = [(1 mol H−F × 567 kJ/mol H−F) +
(1 mol Cl−Cl × 242 kJ/mol Cl−Cl)] +
[(1 mol H−Cl) × (-431 kJ/mol H−Cl) +
(1 mol Cl−F × (- kJ/mol Cl−F))]
120 kJ = 567 kJ + 242 kJ – 431 kJ – [(Cl−F) kJ]
(Cl−F) kJ = 258 kJ
ดังนั้น พลังงานพันธะของ Cl−F มีค่าเท่ากับ 258 กิโลจูลต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
203

3.3.4 รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
3.3.5 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคูอ
่ เิ ล็กตรอนในวงเวเลนซ์
2. เขียนแสดงทิศทางขั้วพันธะและทิศทางขั้วของโมเลกุล รวมทั้งระบุสภาพขั้วของโมเลกุล
โคเวเลนต์

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

โมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว โมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
จะเป็นโมเลกุลมีขั้วทั้งหมด ส่วนใหญ่มีขั้ว แต่บางชนิดไม่มีขั้ว เช่น XeF4
XeF2

การพิจารณาสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ การพิจารณาสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
ใช้พิจารณากับสารโคเวเลนต์ทั้งที่เป็นโมเลกุล ใช้ พิ จ ารณากั บ โมเลกุ ล ที่ เ ป็ น กลางทางไฟฟ้ า
และไอออน เท่านั้น ส่วนกลุ่มไอออน เช่น NH4+ จะไม่
พิจารณาสภาพขั้วของกลุ่มไอออน จากผลรวม
สภาพขั้วของพันธะ เนื่องจากทั้งกลุ่มไอออน
เป็นประจุบวก

โมเลกุ ล โคเวเลนต์ ที่ ส มมาตรจะเป็ น โมเลกุ ล โมเลกุลโคเวเลนต์ที่สมมาตรอาจเป็นโมเลกุล


ไม่มีขั้วทั้งหมด ไม่มีขั้วหรือมีขั้วก็ได้ โดยพิจารณาจากผลรวม
ของเวกเตอร์แต่ละพันธะ เช่น COCl2 เป็น
โมเลกุลที่สมมาตร แต่เป็นโมเลกุลมีขั้ว

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
แบบจำ�ลองโครงสร้างสามมิตห
ิ รือโปรแกรมสำ�เร็จรูปทีใ่ ช้ในการศึกษารูปร่างโมเลกุลของโมเลกุล
โคเวเลนต์ทม
่ี รี ป
ู ร่างโมเลกุลต่างกัน เช่น โมเลกุลน้�
ำ (H2O) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย
(NH3) โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
204

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นพิ จ ารณาแบบจำ � ลองโครงสร้ า งสามมิ ติ ห รื อ โปรแกรมสำ � เร็ จ รู ป ที่ ใ ช้ ใ น
การศึกษารูปร่างโมเลกุลของโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีรูปร่างโมเลกุลต่างกัน เช่น โมเลกุลน้ำ� (H2O)
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3) แล้วตั้งคำ�ถามว่า รูปร่าง
โมเลกุลของสารเหล่านี้เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า รูปร่างโมเลกุล
ของสารต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำ�นวนอะตอมและจำ�นวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง
2. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรม 3.2 การจัดตัวของลูกโป่งกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 เพื่อศึกษารูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
และที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว โดยใช้ลูกโป่งแทนแบบจำ�ลองโมเลกุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
205

กิจกรรม 3.2 การจัดตัวของลูกโป่งกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. อธิบายและเขียนแสดงรูปทรงเรขาคณิตของลูกโป่งที่ผูกขั้วติดกัน
2. บอกรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์จากการเปรียบเทียบกับรูปร่างของลูกโป่งที่ผูกขั้วติดกัน

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 20 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 30 นาที
รวม 60 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม

ลูกโป่งสีที่หนึ่ง 8 ลูก
ลูกโป่งสีที่สอง 2 ลูก
เครื่องสูบลมลูกโป่ง 1 อัน

การเตรียมล่วงหน้า
เพื่อให้นักเรียนมองเห็นรูปร่างของลูกโป่งเปรียบเทียบกับรูปทรงเรขาคณิตได้ชัดเจน
ครูอาจนำ�แบบจำ�ลองหรือภาพรูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ให้นักเรียนได้ศึกษาก่อน เช่น
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
206

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตอนที่ 1
จำ�นวนลูกโป่ง (ลูก) วาดภาพลูกโป่งเพื่อเปรียบเทียบกับรูปทรงเรขาคณิต

ตอนที่ 2

จำ�นวนลูกโป่ง วาดภาพลูกโป่งเพื่อเปรียบเทียบกับรูปทรงเรขาคณิต

สีที่หนึ่ง 2 ลูก
สีที่สอง 2 ลูก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
207

อภิปรายผลการทำ�กิจกรรม
1. จากกิจกรรมตอนที่ 1 ลูกโป่งใช้แทนกลุม
่ หมอกอิเล็กตรอนคูร่ ว่ มพันธะระหว่างอะตอมกลาง
กับอะตอมที่ล้อมรอบ เมื่อนำ�มาผูกขั้วติดกัน พบว่าลูกโป่งแต่ละลูกผลักกันเกิดการ
จัดตัวเป็นรูปร่างต่าง ๆ ที่มีสมมาตร โดยจำ�นวนลูกโป่งมีผลต่อรูปร่าง แสดงว่าเมื่อ
จำ�นวนอะตอมล้อมรอบมากขึ้นจะมีจำ�นวนพันธะมากขึ้น ซึ่งอิเล็กตรอนในพันธะจะ
ผลักกัน ทำ�ให้รูปร่างโมเลกุลมีทิศทางของพันธะอยู่ห่างกันมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ
รูปทรงเรขาคณิต สรุปได้ว่า ลูกโป่งที่พันติดกัน 2 3 4 5 และ 6 ลูก มีรูปร่างเป็นเส้นตรง
สามเหลี่ยมแบนราบ ทรงสี่หน้า พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม และทรงแปดหน้า ตามลำ�ดับ
2. จากกิจกรรมตอนที่ 2 ลูกโป่งต่างสีใช้แทนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและอิเล็กตรอนคู่ร่วม
พันธะ ซึ่งรูปร่างโมเลกุลพิจารณาจากตำ�แหน่งของอะตอมทั้งหมด และไม่นำ�ตำ�แหน่ง
ของอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมาพิจารณา โดยแรงผลักที่เกิดจากอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวจะ
ส่งผลต่อมุมระหว่างพันธะและรูปร่างโมเลกุล ซึง่ โมเลกุลทีป
่ ระกอบด้วยอะตอมล้อมรอบ
2 อะตอม และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ รูปร่างโมเลกุลไม่เป็นแบบเส้นตรงแต่
เป็นมุมงอ (มุมพันธะน้อยกว่า 180°) เพราะมีแรงผลักจากลูกโป่งที่ใช้แทนอิเล็กตรอน
คู่โดดเดี่ยว

สรุปผลการทำ�กิจกรรม
เมือ
่ ใช้ลก
ู โป่งแทนอิเล็กตรอนคูโ่ ดดเดีย
่ วและอิเล็กตรอนคูร่ ว่ มพันธะ เมือ
่ นำ�มาผูกขัว้
ติดกัน พบว่าลูกโป่งแต่ละลูกผลักกันเกิดการจัดตัวเป็นรูปร่างต่าง ๆ ที่มีสมมาตร โดย
เมื่อจำ�นวนอะตอมล้อมรอบหรือจำ�นวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมากขึ้น จะมีจำ�นวนพันธะ
มากขึ้น ซึ่งอิเล็กตรอนในพันธะจะผลักกัน ทำ�ให้รูปร่างโมเลกุลมีทิศทางของพันธะอยู่ห่าง
กันมากที่สุด ดังนั้นรูปร่างโมเลกุลขึ้นอยู่กับจำ�นวนพันธะและจำ�นวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
รอบอะตอมกลาง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
208

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ครูให้นักเรียนพิจารณาลูกโป่งที่พันขั้วติดกันโดยใช้ลูกโป่งสีที่
หนึ่ง 3 ลูก และสีที่สอง 1 ลูก แล้วตั้งคำ�ถามว่า ถ้าโมเลกุลประกอบ
ด้วยอะตอมล้อมรอบ 3 อะตอม และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ ควร
มีรูปร่างโมเลกุลเป็นอย่างไร พร้อมทั้งให้ยกตัวอย่างโมเลกุล
รูปร่างโมเลกุลเป็นแบบพีระมิดฐานสามเหลี่ยม ตัวอย่างโมเลกุล เช่น NH3 PH3

3. ครูอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ (VSEPR theory) เพื่อ


เชื่อมโยงไปสู่การคาดคะเนรูปร่างโมเลกุล ซึ่งมีหลักการว่า อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ใกล้นิวเคลียส
มากกว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ ดังนั้นแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวด้วยกันจึงมีค่ามากกว่า
แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว และมากกว่าแรงผลักระหว่าง
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วยกัน
4. ครูอธิบายเกีย
่ วกับรูปร่างโมเลกุลและมุมระหว่างพันธะของโมเลกุลโคเวเลนต์ทอ
่ี ะตอมกลาง
ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว โดยให้นักเรียนพิจารณา
ตัวอย่างรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ในตาราง 3.13 ประกอบการอธิบาย
5. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.9 เพื่อทบทวนความรู้
6. ครูนำ�เข้าสู่การศึกษาเรื่องสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ โดยอธิบายว่าพันธะโคเวเลนต์
ไม่มีขั้วเป็นพันธะที่เกิดจากอะตอมชนิดเดียวกันมีการกระจายของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
ระหว่างอะตอมทั้งสองเท่ากัน เช่น แก๊สไฮโดรเจน (H2) และพันธะโคเวเลนต์มีขั้วเป็นพันธะที่เกิดจาก
อะตอมต่างชนิดกันและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกันจะมีการกระจายของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน
คู่ร่วมพันธะระหว่างอะตอมไม่เท่ากัน เช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl)
7. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 3.11 และอธิบายเกี่ยวกับการแสดงขั้วของพันธะของอะตอม
ที่แสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวกและอะตอมที่แสดงประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบ และการเขียนแสดง
สัญลักษณ์และทิศทางของขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
8. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเลกุลอะตอมคู่ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกัน พันธะที่
เกิดขึ้นเป็นพันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เช่น O2 Cl2 และเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่ถ้าโมเลกุลอะตอมคู่ที่
ประกอบด้วยธาตุต่างชนิดกัน พันธะที่เกิดขึ้นเป็นพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว เช่น HF CO และเป็นโมเลกุล
มีขั้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
209

9. ครูตั้งคำ�ถามนำ�ว่า โมเลกุลโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอม และพันธะ


ระหว่างคู่อะตอมเป็นพันธะมีขั้ว จะเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่ จากนั้นครูอธิบายว่า สภาพขั้วของพันธะ
เป็นปริมาณเวกเตอร์ การรวมกันของเวกเตอร์ของแต่ละพันธะจะได้เป็นสภาพขั้วของโมเลกุล ดังนั้น
ถ้าเวกเตอร์หักล้างกันหมดจะเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่ถ้าหักล้างกันไม่หมดจะเป็นโมเลกุลมีขั้ว และ
โมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและอะตอมล้อมรอบเหมือนกันทุกอะตอมจะเป็น
โมเลกุลไม่มีขั้ว แม้ว่าพันธะภายในโมเลกุลจะเป็นพันธะที่มีขั้ว เนื่องจากรูปร่างโมเลกุลมีสมมาตรที่
ทำ�ให้เวกเตอร์สภาพขั้วของพันธะหักล้างกันหมด
10. ครูให้นักเรียนพิจารณาตาราง 3.14 และรูป 3.12 เพื่อศึกษาการเขียนทิศทางของขั้วของ
พันธะ และการรวมเวกเตอร์สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้วและโมเลกุลมีขั้ว
11. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าสภาพขั้วของโมเลกุลสามารถใช้ทำ�นายการละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ระหว่างสารโคเวเลนต์ 2 ชนิดได้ สารที่มีสภาพขั้วใกล้เคียงกันจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนสารที่มี
สภาพขั้วต่างกันมากจะไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
12. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลและสภาพขั้วของ
โมเลกุลโคเวเลนต์ ดังนี้
- รูปร่างโมเลกุลสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์
(VSEPR) ซึ่งพิจารณาจากจำ�นวนพันธะและจำ�นวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง
- สภาพขั้วของโมเลกุลเป็นการรวมเวกเตอร์สภาพขั้วของแต่ละพันธะในรูปร่างโมเลกุล
ซึ่งทำ�ให้โมเลกุลโคเวเลนต์มีทั้งโมเลกุลมีขั้วและโมเลกุลไม่มีขั้ว
13. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.10 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์จากการใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอน
ในวงเวเลนซ์ สภาพขั้วของพันธะโคเวเลนต์ และสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ จากการอภิปราย
การทำ�กิจกรรม การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสังเกตและการสร้างแบบจำ�ลอง จากการทำ�กิจกรรม
3. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�
กิจกรรม
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
210

แบบฝึกหัด 3.9

1. ระบุจ�ำ นวนอะตอมล้อมรอบ จำ�นวนอิเล็กตรอนคูโ่ ดดเดีย


่ ว สูตรทัว่ ไป และรูปร่างโมเลกุล
ของสารที่มีสูตรโมเลกุลต่อไปนี้
N₂O NO₃- CH₃Cl I₃- IO₃-

สูตร อะตอมล้อมรอบ อิเล็กตรอน สูตร


รูปร่างโมเลกุล
โมเลกุล (อะตอม) คูโ่ ดดเดีย
่ ว (คู)่ ทั่วไป

N2O 2 0 AB2 เส้นตรง (linear)


NO3- 3 0 AB3 สามเหลี่ยมแบนราบ
(trigonal planar)

CH3Cl 4 0 AB4 ทรงสี่หน้า (tetrahedral)


I3- 2 3 AB2E3 เส้นตรง (linear)
IO3- 3 1 AB3E พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
(trigonal pyramidal)

2. เปรียบเทียบมุมพันธะในโมเลกุลแต่ละคู่ต่อไปนี้
2.1 SiH4 กับ BH3 SiH4 < BH3
2.2 H3O+ กับ H2O H3O+ > H2O
2.3 NH3 กับ H2S NH3 > H2S

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
211

แบบฝึกหัด 3.10

1. ระบุรป
ู ร่างโมเลกุล และแสดงทิศทางขัว้ ของพันธะและทิศทางขัว้ ของโมเลกุล พร้อมระบุวา่
เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วหรือไม่ ลงในตารางให้ถูกต้อง

ทิศทางขั้วของพันธะและ สภาพขั้ว
ข้อ สาร รูปร่างโมเลกุล
ทิศทางขั้วของโมเลกุล ของโมเลกุล

ตัว มุมงอ
H2O O มีขั้ว
อย่าง (bent) H H
มุมงอ
1.1 OF2 O มีขั้ว
(bent) F F
1.2 CBrN เส้นตรง (linear) Br C N มีขั้ว

1.3 PH3 พีระมิดฐานสามเหลี่ยม P มีขั้ว


H
(trigonal pyramidal) H
H
Br
1.4 CBr4 ทรงสี่หน้า ไม่มีขั้ว
(tetrahedral) C
Br
Br
Br

2. กำ�หนดให้ธาตุ X และ Y มีเลขอะตอม 32 และ 51 ตามลำ�ดับ ถ้า X และ Y เกิด


สารประกอบกับคลอรีนตามกฎออกเตต จะมีสูตรโมเลกุล รูปร่างโมเลกุล และสภาพขั้ว
ของโมเลกุลเป็นอย่างไร
X มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 4 จัดเป็นธาตุหมู่ IVA
Y มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 18 5 จัดเป็นธาตุหมู่ VA
ดังนั้น X และ Y เกิดสารประกอบกับคลอรีน มีสูตรโมเลกุลเป็น XCl4 มีรูปร่างโมเลกุล
เป็นทรงสี่หน้า (tetrahedral) เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว และ YCl3 มีรูปร่างโมเลกุลเป็น
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม (trigonal pyramidal) เป็นโมเลกุลมีขั้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
212

3.3.6 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์

จุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลว
จุดเดือด และการละลายน้ำ�ของสารโคเวเลนต์

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง

โมเลกุลที่มีแรงระหว่างขั้วหรือพันธะไฮโดรเจน แรงแผ่ ก ระจายลอนดอนมี อ ยู่ ใ นทุ ก โมเลกุ ล


จะไม่มีแรงแผ่กระจายลอนดอน โคเวเลนต์​​​​​​​แต่ เ มื่ อ โมเลกุ ล ใดมี แรงระหว่างขั้ว
หรือพันธะไฮโดรเจน แรงเหล่านี้จะส่งผลต่อ
ส ม บั ติ ข อ ง ส า ร ม า ก ก ว่ า แ ร ง แ ผ่ ก ร ะ จ า ย
ลอนดอน

พันธะไฮโดรเจนเกิดกับโมเลกุลทีม
่ พ
ี น
ั ธะระหว่าง พั น ธะไฮโดรเจนเกิ ด จากอะตอมไฮโดรเจน
H กับ F O และ N เท่านั้น ของโมเลกุ ล หนึ่ ง กั บ อิ เ ล็ ก ตรอนคู่โ ดดเดี่ย ว
บ น อ ะ ต อ ม ข อ ง ธ า ตุ ที่ มี ข น า ด เ ล็ ก แ ล ะ
มี อิ เ ล็ ก โ ท ร เ น ก า ติ วิ ตี สู ง ข อ ง อี ก โ ม เ ล กุ ล
หนึ่ง เช่น พันธะไฮโดรเจนระหว่าง H2O กับ
CH2O โดยอะตอมไฮโดรเจนของ H2O เกิด
พันธะไฮโดรเจนกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวบน
อะตอมออกซิเจนของ CH2O ได้ ทั้งที่โมเลกุล
ของ CH2O ไม่มีพันธะ O−H

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตง้ั คำ�ถามว่า สารแต่ละชนิดมีจด
ุ หลอมเหลวและจุดเดือดต่างกันหรือมีสถานะทีอ
่ ณ
ุ หภูมห
ิ อ
้ ง
ต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
2. ครูให้นักเรียนพิจารณาจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารโคเวเลนต์บางชนิดในตาราง
3.15 และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดกับสภาพขั้วและ
ขนาดของโมเลกุล ซึง่ สรุปได้วา่ สารโคเวเลนต์ไม่มข
ี ว้ั มีจด
ุ หลอมเหลวและจุดเดือดต่�ำ กว่าสารโคเวเลนต์
มีขั้ว และจุดเดือดของสารจะเพิ่มขึ้นตามขนาดโมเลกุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
213

3. ครูอธิบายเกี่ยวกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลชนิดต่าง ๆ โดยเริ่มจากแรงแผ่กระจาย
ลอนดอนซึ่งเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วหรืออะตอมแก๊สมีสกุล ซึ่งเป็นแรงอย่างอ่อน ๆ
จากนั้นครูอธิบายแรงระหว่างขั้วโดยใช้รูป 3.13 ประกอบการอธิบายว่าเป็นแรงดึงดูดที่เกิดจาก
สภาพขั้วของโมเลกุล โดยโมเลกุลที่อยู่ใกล้กันจะหันส่วนของโมเลกุลที่มีขั้วตรงข้ามกันเข้าหากัน
เกิดเป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าจากสภาพขั้วนี้
4. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 3.14 แล้วตั้งคำ�ถามว่า แนวโน้มจุดเดือดของสารประกอบของ
ไฮโดรเจนกับธาตุหมู่ IVA VA VIA และ VIIA เป็นอย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า แนวโน้มจุดเดือดจะ
เพิ่มขึ้นตามขนาดโมเลกุล เนื่องจากแรงแผ่กระจายลอนดอน ยกเว้น NH3 HF และ H2O ที่ไม่เป็นไป
ตามแนวโน้ม
5. ครูอธิบายว่าการที่ NH3 HF และ H2O ไม่เป็นไปตามแนวโน้ม เนื่องจากสารเหล่านี้
เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล โดยพันธะไฮโดรเจนเป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดจาก
อะตอมไฮโดรเจนของโมเลกุลหนึ่งกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวบนอะตอมของธาตุที่มีขนาดเล็กและมี
อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงของอีกโมเลกุลหนึ่ง
6. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 3.15 แล้วตั้งคำ�ถามว่า เพราะเหตุใด H2O จึงมีจุดเดือดสูงกว่า
HF และ NH3 ทีเ่ กิดพันธะไฮโดรเจนเหมือนกัน ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า โมเลกุล H2O มีอเิ ล็กตรอนคูโ่ ดดเดีย
่ ว
2 คู่ บน O ทำ�ให้ H2O แต่ละโมเลกุลสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลข้างเคียง 4 โมเลกุล
อย่างต่อเนื่องเป็นโครงร่างตาข่าย หรือคิดเป็น 2 พันธะไฮโดรเจนต่อ H2O 1 โมเลกุล จึงทำ�ให้น้ำ�มี
จุดเดือดสูงกว่า HF ซึ่งมีพันธะไฮโดรเจน 1 พันธะต่อ HF 1 โมเลกุล ทั้งที่พันธะ H−O มีสภาพขั้ว
น้อยกว่าพันธะ H−F จึงทำ�ให้น้ำ�มีจุดเดือดสูงกว่า HF และ NH3

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
พั น ธะไฮโดรเจนนอกจากเป็ น แรงยึด เหนี่ ย วระหว่างโมเลกุล (intermolecular
H-bond) แล้ว ยังสามารถเกิดภายในโมเลกุลเดียวกันได้ (intramolecular H-bond) เช่น
โมเลกุลของ salicylaldehyde (2-hydroxybenzaldehyde) ซึ่งส่งผลต่อสมบัติของสาร

7. ครูตั้งคำ�ถามว่า แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลนอกจากมีผลต่อจุดหลอมเหลวและจุดเดือด
แล้ว ยังมีผลต่อการละลายน้ำ�ของสารโคเวเลนต์หรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า แรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างโมเลกุลมีผลต่อการละลายน้ำ�ของสาร โดยสารโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้วส่วนใหญ่ไม่ละลายหรือ
ละลายน้ำ�ได้น้อย ส่วนสารโคเวเลนต์ที่มีขั้วบางชนิดอาจละลายน้ำ�ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพขั้วและการเกิด
พันธะไฮโดรเจนกับน้ำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
214

8. ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ พิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ สมบั ติ ค วามเป็ น กรด-เบสของสารละลายที่ เ กิ ด จากสาร
โคเวเลนต์ประเภทคลอไรด์และออกไซด์ ซึ่งสารโคเวเลนต์บางชนิดเมื่อเกิดปฏิกิริยากับน้ำ�จะได้
สารละลายที่เป็นกรด เช่น CO2 SO2 PCl5
9. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสมบัติของสารโคเวเลนต์ ซึ่งควรสรุปได้ว่า สาร
โคเวเลนต์ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ�กว่าสารประกอบไอออนิก เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อยกว่าพันธะไอออนิก และสารละลายของสารโคเวเลนต์ในน้ำ�ส่วนใหญ่มี
สมบัติเป็นกรด
10. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
ของสารโคเวเลนต์ ดังนี้ แรงยึดเหนีย
่ วระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์มห
ี ลายชนิด ซึง่ อาจเป็นแรงแผ่กระจาย
ลอนดอน แรงระหว่างขั้ว หรือพันธะไฮโดรเจน ซึ่งมีผลต่อจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการละลายน้ำ�
ของสาร
11. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.11 เพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับชนิดของแรงยึดเหนีย
่ วระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และความสัมพันธ์ระหว่าง
ชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์กับจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการละลายน้ำ�
ของสาร จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการอภิปราย
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
215

แบบฝึกหัด 3.11

1. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้
1.1 มีเทน (CH4)
แรงแผ่กระจายลอนดอน
1.2 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
แรงระหว่างขั้ว และแรงแผ่กระจายลอนดอน
1.3 กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
แรงระหว่างขั้ว และแรงแผ่กระจายลอนดอน
1.4 กรดแอซีติก (CH3COOH)
พันธะไฮโดรเจน แรงระหว่างขั้ว และแรงแผ่กระจายลอนดอน
1.5 คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็งหรือน้ำ�แข็งแห้ง (CO2)
แรงแผ่กระจายลอนดอน

2. เปรียบเทียบจุดเดือดระหว่างสารที่กำ�หนดให้ พร้อมอธิบายเหตุผล
2.1 H2 กับ Br2
H2 มีจุดเดือดต่ำ�กว่า Br2 เนื่องจากสารทั้งสองเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงมี
เฉพาะแรงแผ่กระจายลอนดอน ดังนั้นจุดเดือดจะขึ้นกับขนาดโมเลกุล โดย Br2
มีขนาดใหญ่กว่า H2
2.2 HF กับ HI
HF มีจุดเดือดสูงกว่า HI เนื่องจาก HF มีพันธะไฮโดรเจน ส่วน HI มี
แรงระหว่างขั้ว
2.3 NH3 กับ NF3
NH3 มีจุดเดือดสูงกว่า NF3 เนื่องจาก NH3 มีพันธะไฮโดรเจน ส่วน NF3 มี
แรงระหว่างขั้ว
2.4 SiH4 กับ SnH4
SiH 4 มี จ ุ ด เดื อ ดต่ำ � กว่ า SnH 4 เนื่ อ งจากสารทั้ ง สองเป็ น โมเลกุ ล ไม่ มี
ขั้ว จึงมีเฉพาะแรงแผ่กระจายลอนดอน ดังนั้นจุดเดือดจะขึ้นกับขนาดโมเลกุล
โดย SiH4 มีขนาดเล็กกว่า SnH4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
216

2.5 CH3Cl กับ CH3OH


CH3Cl มีจุดเดือดต่ำ�กว่า CH3OH เนื่องจาก CH3Cl มีแรงระหว่างขั้ว
ส่วน CH3OH มีพันธะไฮโดรเจน

3. เมทานอล (CH3OH) กับไตรคลอโรมีเทน (CHCl3) สารหนึ่งละลายน้ำ�ส่วนอีกสารหนึ่ง


ไม่ละลายน้ำ� เพราะเหตุใด
เพราะเมทานอล (CH3OH) เกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำ�ได้ จึงละลายน้ำ� ส่วนไตรคลอโร-
มีเทน (CHCl3) ไม่ละลายน้ำ�เพราะไม่เกิดพันธะไฮโดรเจน

3.3.7 สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

จุดประสงค์การเรียนรู้
สืบค้นข้อมูล อธิบายสมบัติ และนำ�เสนอตัวอย่างของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
แบบจำ�ลองสามมิตห
ิ รือภาพประกอบตัวอย่างโครงสร้างของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูอธิบายเกีย
่ วกับสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายว่า เป็นสารทีม
่ พ
ี น
ั ธะโคเวเลนต์เชือ
่ มต่อกัน
เป็นโครงร่างตาข่าย โดยให้นักเรียนพิจารณาตัวอย่างโครงสร้างของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย
โดยใช้แบบจำ�ลองสามมิตห
ิ รือภาพประกอบ ดังรูป 3.16
2. ครูให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ ทำ�กิจกรรม 3.3 สืบค้นข้อมูลเกีย
่ วกับสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย
ในประเด็นเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติ และการนำ�ไปใช้ประโยชน์ของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย
แล้วนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
217

กิจกรรม 3.3 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

จุดประสงค์ของกิจกรรม
สืบค้นข้อมูลและนำ�เสนอตัวอย่างโครงสร้าง สมบัติ และการนำ�ไปใช้ประโยชน์ของ
สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 20 นาที
รวม 60 นาที

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ครูอาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลล่วงหน้า และนำ�เสนอสิ่งที่นักเรียนสืบค้นข้อมูลใน
ชั้นเรียน

3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว
อภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย และการนำ�ไปใช้
ประโยชน์ รวมทั้งสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีธาตุองค์ประกอบเหมือนกัน แต่มีอัญรูปต่างกัน
จะมีสมบัติต่างกัน

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย จากการอภิปรายและผลการ
สืบค้นข้อมูล
2. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ จากผลการสืบค้นข้อมูล การอภิปราย
และการนำ�เสนอ
3. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสืบค้นข้อมูล
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​จากการสังเกตพฤติกรรมใน
การอภิปราย
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ จากผลการสืบค้นข้อมูล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
218

3.4 พันธะโลหะ
3.4.1 การเกิดพันธะโลหะ
3.4.2 สมบัติของโลหะ

จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัตข
ิ องโลหะ

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
วีดท
ิ ศ
ั น์หรือภาพประกอบเกีย
่ วกับการเกิดพันธะโลหะและแบบจำ�ลองทะเลอิเล็กตรอน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างโลหะและการนำ�ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน และใช้คำ�ถาม
ว่า โลหะที่ยกตัวอย่างนั้นมีสมบัติใดที่เหมาะสมกับการนำ�ไปใช้ประโยชน์ดังกล่าว ซึ่งนักเรียนอาจ
ยกตัวอย่าง เหล็กนำ�มาใช้เป็นโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนเนือ
่ งจากมีความแข็ง ทองแดงนำ�มาใช้ท�ำ
สายไฟฟ้าเนื่องจากสามารถนำ�ไฟฟ้าได้ จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อให้สรุปได้ว่า โลหะส่วนใหญ่เป็น
ของแข็ง มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ผิวมันวาว สามารถนำ�ไฟฟ้าและนำ�ความร้อนได้
2. ครูตง้ั คำ�ถามนำ�ว่า อะตอมธาตุโลหะสร้างพันธะเคมีระหว่างกันอย่างไร เหมือนหรือต่างจาก
พันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์หรือไม่ เพื่อนำ�เข้าสู่การเกิดพันธะโลหะ
3. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือภาพประกอบ ดังรูป 3.17 เกี่ยวกับการเกิดพันธะโลหะและ
แบบจำ�ลองทะเลอิเล็กตรอน จากนั้นอธิบายว่า พันธะโลหะเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างโปรตอนใน
นิวเคลียสของอะตอมธาตุโลหะกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งชิ้นโลหะ ซึ่งการเกิดพันธะ
โลหะสามารถแสดงได้ด้วยแบบจำ�ลองทะเลอิเล็กตรอน
4. ครูและนักเรียนอภิปรายและลงข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับพันธะโลหะที่ส่งผลต่อสมบัติต่าง ๆ
ของโลหะ ได้แก่ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ผิวมันวาวและสะท้อนแสงได้ นำ�ไฟฟ้าและนำ�ความร้อน
ได้ดี รวมทั้งการตีให้แผ่ออกเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ที่เกิดจากการเลื่อนไถลของอะตอมโลหะเมื่อ
ถูกแรงกระทำ� โดยใช้รูป 3.18 ประกอบการอภิปราย

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับการเกิดพันธะโลหะและสมบัตข
ิ องโลหะ จากการอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด
และการทดสอบ
2. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความใจกว้างและการใช้วจิ ารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปราย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
219

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
2. สื บ ค้ น ข้ อ มู ล และนำ � เสนอตั ว อย่ า งการใช้ ป ระโยชน์ ข องสารประกอบไอออนิ ก
สารโคเวเลนต์ และโลหะ ได้อย่างเหมาะสม

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนพิจารณาตาราง 3.16 เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับชนิดของพันธะและสมบัติ
ของสาร ซึ่งควรสรุปได้ว่า
- พันธะไอออนิกเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างประจุไฟฟ้าของไอออนบวกกับไอออนลบ
ซึ่งส่วนใหญ่ไอออนบวกเกิดจากโลหะเสียอิเล็กตรอนและไอออนลบเกิดจากอโลหะรับอิเล็กตรอน
เกิดเป็นสารประกอบไอออนิกที่ส่วนใหญ่เป็นผลึกของแข็ง เปราะ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
ละลายน้ำ�ได้ ไม่นำ�ไฟฟ้าเมื่อเป็นของแข็ง แต่นำ�ไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำ�
- พันธะโคเวเลนต์เกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมธาตุ 2 อะตอม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
ธาตุอโลหะโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เกิดเป็นสารโคเวเลนต์ที่ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวและ
จุดเดือดต่ำ� ไม่ละลายน้ำ� และไม่นำ�ไฟฟ้า ส่วนสารที่มีพันธะโคเวเลนต์ต่อเนื่องกันไปในสามมิติเป็น
สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
- พันธะโลหะเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างโปรตอนในนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอน
ที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งชิ้นโลหะ โดยโลหะส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีผิวมันวาว ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้น
ได้ นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
2. ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อสรุปความคิดรวบยอด เรื่อง พันธะเคมี โดยให้นักเรียน
เขียนแผนภาพเวนน์หรือผังมโนทัศน์ ดังตัวอย่างกิจกรรม 5 ซึ่งเป็นกิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครูดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
220

กิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครู
ตัวอย่างกิจกรรม 5 สรุปความคิดรวบยอด เรื่อง พันธะเคมี

แผนภาพเวนน์ เรื่อง พันธะเคมี

พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์

- เกิดจากการยึดเหนีย
่ ว - เกิดจากการยึดเหนีย
่ ว
สามารถพบในรูป
ระหว่างประจุไฟฟ้า ภายในโมเลกุล
สารประกอบ
- เกิดจากการใช้
- เกิดจากการให้และรับ
เวเลนซ์อเิ ล็กตรอนร่วมกัน
อิเล็กตรอน
- พบในธาตุและ
- ไม่น�ำ ไฟฟ้าใน พันธะเคมี สารประกอบ
สถานะของแข็ง

นำ�ไฟฟ้าได้เมื่อ สามารถพบในรูป
หลอมเหลว ธาตุ

- เกิดจากการยึดเหนีย
่ วระหว่าง - จุดหลอมเหลว
โปรตรอนในนิวเคลียวกับเวเลนซ์ และจุดเดือดสูง
อิเล็กตรอนทีเ่ คลือ
่ นทีอ
่ ส
ิ ระ - นำ�ความร้อนและ
นำ�ไฟฟ้าได้ดี
พันธะโลหะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
221

ผังมโนทัศน์ เรื่อง พันธะเคมี

สัญลักษณ์แบบจุด กฎออกเตต
เวเลนซ์อเิ ล็กตรอน
ของอิลอิส

สมการไอออนิก และ แบบจำ�ลอง

สมการไอออนิกสุทธิ พันธะเคมี ทะเลอิเล็กตตรอน

พันธะไอออนิก พันธะโลหะ โลหะ

พันธะโคเวเลนต์
สารประกอบไอออนิก
• ผิวมันวาว
• ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้
• จุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
สารโคเวเลนต์
สูตรของ • นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี

สารประกอบ

วัฏจักร แรงยึดเหนีย
่ ว
บอร์น-ฮาเบอร์ สูตร ระหว่างโมเลกุล
โมเลกุล

• ผลึกเป็นของแข็งเปราะ
• แรงแผ่กระจายลอนดอน
• จุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
• แรงระหว่างขัว้
• ละลายน้�ำ ได้
• พันธะไฮโดรเจน
• ไม่น�ำ ไฟฟ้าเมือ
่ เป็นของแข็ง
แต่น�ำ ไฟฟ้าได้เมือ
่ หลอมเหลว
หรือละลายในน้�ำ
โมเลกุล โมเลกุล • จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่�ำ
ไม่มข
ี ว้ั มีขว้ั • ไม่ละลายน้�ำ
• ไม่น�ำ ไฟฟ้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
222

3. ครูตั้งคำ�ถามว่า จากสมบัติที่ต่างกันของแต่ละพันธะ ส่งผลต่อการนำ�ไปใช้ประโยชน์หรือไม่


ซึง่ ควรได้ค�ำ ตอบว่า สารแต่ละชนิดมีสมบัตต
ิ า่ งกัน จึงสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม
4. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 3.4 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก
สารโคเวเลนต์ และโลหะ จากนั้นให้นักเรียนนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ

กิจกรรม 3.4 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก


สารโคเวเลนต์ และโลหะ

จุดประสงค์ของกิจกรรม
สืบค้นข้อมูลและนำ�เสนอตัวอย่างการนำ�สารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และ
โลหะ ไปใช้ประโยชน์ ตามสมบัติของพันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ

เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�กิจกรรม 10 นาที


ทำ�กิจกรรม 30 นาที
อภิปรายหลังทำ�กิจกรรม 20 นาที
รวม 60 นาที

ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ครูอาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลล่วงหน้า และนำ�เสนอสิ่งที่นักเรียนสืบค้นข้อมูลใน
ชั้นเรียน

5. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อทบทวนความรู้

แนวทางการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติบางประการและประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์
และโลหะ จากการอภิปราย ผลการสืบค้นข้อมูล การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ
2. ทักษะการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ จากผลการสืบค้นข้อมูล การอภิปราย
และการนำ�เสนอ
3. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสืบค้นข้อมูล
4. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความใจกว้างและการใช้วจิ ารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปราย
5. จิตวิทยาศาสตร์ด้านการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ จากผลการสืบค้นข้อมูล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
223

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. พิจารณาสมบัติของสาร A B C และ D ต่อไปนี้

จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำ�ไฟฟ้า


สาร การละลายน้�ำ
(°C) (°C)
เมื่อเป็นของแข็ง เมื่อหลอมเหลว

A 1330 681 ละลาย ไม่นำ� นำ�

B 2562 1085 ไม่ละลาย นำ� นำ�

C -100 -127 ไม่ละลาย ไม่นำ� ไม่นำ�

D 2230 1713 ไม่ละลาย ไม่นำ� ไม่นำ�

สาร A B C และ D เป็นสารประเภทใด เพราะเหตุใด


สาร A เป็นสารประกอบไอออนิก เนื่องจากมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำ�ไฟฟ้า
เมื่อเป็นของแข็ง แต่เมื่อหลอมเหลวนำ�ไฟฟ้าได้
สาร B เป็นโลหะ เนื่องจากมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง นำ�ไฟฟ้าได้
สาร C เป็นสารโคเวเลนต์ เนื่องจากมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ� ไม่นำ�ไฟฟ้า
สาร D เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย เนื่องจากมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
แต่ไม่นำ�ไฟฟ้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
224

2. กำ�หนดธาตุสมมติในตารางธาตุดังนี้

IA IIA IIIA IVA VA VIA VIIA VIIIA

A B C D
E F G H

ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
2.1 เขียนไอออนที่เสถียรของธาตุทั้งหมด
A+ B3+ C2- D- E+ F2+ G3- ส่วน H เป็นแก๊สมีสกุลไม่เกิดเป็นไอออน
2.2 ธาตุไนโตรเจนรวมตัวกับธาตุใดบ้างเกิดพันธะโคเวเลนต์
C D และ G
2.3 ธาตุ A กับ C และธาตุ B กับ D เมื่อเกิดสารประกอบจะมีสูตรเคมีเป็นอย่างไร
A2C และ BD3
2.4 X และ Y เกิดสารประกอบออกไซด์ที่มีสูตรเป็น X2O และ Y2O3 ดังนั้น X และ
Y เป็นธาตุใดได้บ้างในตาราง
ธาตุ X คือ ธาตุ A กับ E เกิดสารประกอบออกไซด์ที่มีสูตรเคมีเป็น X2O
ธาตุ Y คือ ธาตุ B กับ G เกิดสารประกอบออกไซด์ที่มีสูตรเคมีเป็น Y2O3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
225

3. เขียนสูตรและชื่อสาร พร้อมทั้งใส่เครื่องหมาย เพื่อระบุประเภทของสารต่อไปนี้


ให้ถูกต้อง

ประเภทของสาร
ธาตุ สูตร ชื่อสาร สาร สารประกอบ
โคเวเลนต์ ไอออนิก

ออกซิเจนไดฟลูออไรด์
F กับ O OF2
(oxygen difluoride)

ลิเทียมฟลูออไรด์
Li กับ F LiF
(lithium fluoride)

Be กับ Cl BeCl2 เบริลเลียมไดคลอไรด์


(beryllium dichloride)

Ca กับ O CaO แคลเซียมออกไซด์


(calcium oxide)

Cl กับ Cs CsCl ซีเซียมคลอไรด์


(caesium chloride)

4. เขียนสูตรและชื่อสาร พร้อมทั้งระบุชนิดของสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุ
คลอรีนกับธาตุต่อไปนี้
4.1 ธาตุลิเทียม
LiCl ลิเทียมคลอไรด์ (lithium chloride) เป็นสารประกอบไอออนิก
4.2 ธาตุโบรอน
BCl3 โบรอนไตรคลอไรด์ (boron trichloride) เป็นสารโคเวเลนต์
4.3 ธาตุไนโตรเจน
NCl3 ไนโตรเจนไตรคลอไรด์ (nitrogen trichloride) เป็นสารโคเวเลนต์
4.4 ธาตุแมกนีเซียม
MgCl2 แมกนีเซียมคลอไรด์ (magnesium chloride) เป็นสารประกอบไอออนิก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
226

4.5 ธาตุอะลูมิเนียม
AlCl3 อะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ (aluminium trichloride) เป็นสารโคเวเลนต์

5. เปรียบเทียบสมบัติของสารประกอบที่เกิดจากธาตุหมู่ IIA กับหมู่ VIA และสารประกอบ


ที่เกิดจากไฮโดรเจนกับธาตุหมู่ VIA ในประเด็นต่อไปนี้
5.1 อัตราส่วนจำ�นวนอะตอมของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ
อัตราส่วนจำ�นวนอะตอมของธาตุหมู่ IIA กับหมู่ VIA เท่ากับ 1:1
อัตราส่วนจำ�นวนอะตอมของธาตุหมู่ VIA กับไฮโดรเจน เท่ากับ 1:2
5.2 จุดหลอมเหลวและจุดเดือด
สารประกอบที่เกิดจากธาตุหมู่ IIA กับหมู่ VIA เป็นสารประกอบไอออนิก จึง
ควรมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าสารประกอบที่เกิดจากธาตุหมู่ VIA กับ
ไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารโคเวเลนต์
5.3 การนำ�ไฟฟ้าของสารเมื่อมีสถานะเป็นของเหลว
เมื่อมีสถานะเป็นของเหลว สารประกอบที่เกิดจากธาตุหมู่ IIA กับหมู่ VIA จะ
นำ�ไฟฟ้าได้ ส่วนสารประกอบที่เกิดจากธาตุหมู่ VIA กับไฮโดรเจน จะไม่นำ�ไฟฟ้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
227

6. เขียนสมการแสดงการคำ�นวณพลังงานของการเกิดสารประกอบลิเทียมอะลูมิเนียม
ไฮไดรด์ (LiAlH4) และคำ�นวณพลังงานแลตทิซของ LiAlH4 จากค่าพลังงานที่กำ�หนดให้
ต่อไปนี้

ชนิดของพลังงาน ค่าของพลังงาน (kJ/mol)

พลังงานการระเหิดของ Al 330

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของ Al 577

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 2 ของ Al 1823

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 3 ของ Al 2751


พลังงานการระเหิดของ Li 159

พลังงานไอออไนเซชันลำ�ดับที่ 1 ของ Li 520

พลังงานพันธะของ H2 436

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนลำ�ดับที่ 1 ของ H 73

พลังงานรวมของการเกิดปฏิกิริยา -116.3

พลังงานรวม = พลังงานการระเหิด + พลังงานไอออไนเซชัน +


พลังงานพันธะ + สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
+ พลังงานแลตทิซ
-116.3 = (330 + 159) + (577 + 1823 + 2751 + 520) +
(2 × 436) + [4 × (-73)] + พลังงานแลตทิซ
พลังงานแลตทิซ = -6856.3 kJ/mol
ดังนั้น พลังงานแลตทิซของการเกิดสารประกอบลิเทียมอะลูมิเนียมไฮไดรด์มีค่า
เท่ากับ 6856.3 กิโลจูลต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
228

7. เมื่อให้พลังงานแก่แก๊สไฮโดรเจนจนกลายเป็นอะตอมไฮโดรเจนดังสมการ
H2(g) + 436 kJ/mol 2H(g)

พิจารณาว่าข้อใดผิด ข้อใดถูก พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ


7.1 เมื่ออะตอมไฮโดรเจนรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน จะมีการดูดพลังงาน
ผิด เนื่องจากเมื่ออะตอมไฮโดรเจนรวมตัวกันเป็นโมเลกุลจะมีการสร้างพันธะ จึง
คายพลังงานเพื่อให้ระบบอยู่ในภาวะที่เสถียร
7.2 โมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนมีเสถียรภาพต่ำ�กว่าอะตอมไฮโดรเจน
ผิด เนื่องจากโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนมีพลังงานต่ำ�กว่าอะตอมไฮโดรเจน จึงมี
เสถียรภาพสูงกว่าอะตอมไฮโดรเจน
7.3 เมือ
่ อะตอมไฮโดรเจน 1 โมล รวมกันเป็นโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน จะมีการคายพลังงาน
436 กิโลจูล
ผิด เนื่องจากอะตอมไฮโดรเจน 1 โมล รวมกันเป็นโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน มี
การสร้างพันธะต้องคายพลังงานออกมาเท่ากับ 218 กิโลจูล
7.4 ไฮโดรเจน 2 อะตอมมีพลังงานสูงกว่าไฮโดรเจน 1 โมเลกุล
ถูก เนื่องจากการสลายพันธะในแก๊สไฮโดรเจน 1 โมเลกุล เป็นอะตอมไฮโดรเจน
2 อะตอม ต้องใช้พลังงานคือมีการดูดพลังงานเข้าไป ดังนั้นพลังงานของอะตอม
ไฮโดรเจน 2 อะตอม จึงสูงกว่าพลังงานของไฮโดรเจน 1 โมเลกุล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
229

8. คำ�นวณพลังงานต่อโมลของแก๊สอะเซทิลีน (C2H2) ของปฏิกิริยาการเผาไหม้ ดังสมการ


2C2H2(g) + 5O2(g) 4CO2(g) + 2H2O(g)

พลังงานที่ใช้สลายพันธะของ C2H2 2 โมล และ O2 5 โมล = E1 kJ


E1 = [(2 mol C≡C × 839 kJ/mol C≡C)
+ (4 mol C−H × 414 kJ/mol C−H)]
+ [(5 mol O=O × 498 kJ/mol O=O)]
= 1678 kJ + 1656 kJ + 2490 kJ
= 5824 kJ
การสร้างพันธะของ CO2 4 โมล และ H2O 2 โมล = E2 kJ
E2 = [(8 mol C=O) × (-804 kJ/mol C=O)]
+ [(4 mol H−O × (-463 kJ/mol H−O)]
= (-6432 kJ) + (-1852 kJ)
= -8284 kJ
จาก
ΔH = E1 + E2
= 5824 kJ + (-8284 kJ)
= -2460 kJ

การเผาไหม้ของแก๊สอะเซทิลีนคายพลังงานเท่ากับ 2460 กิโลจูล ดังนั้น พลังงาน


ต่อโมลของแก๊สอะเซทิลีนของปฏิกิริยาการเผาไหม้มีค่าเท่ากับ 1230 กิโลจูลต่อโมล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
230

9. เขียนโครงสร้างลิวอิส สภาพขั้วของพันธะ สภาพขั้วของโมเลกุล และบอกรูปร่างโมเลกุล


ของสารต่อไปนี้
BCl3 AsCl5 SiCl4 CH2Cl2 Cl2O

สูตร โครงสร้างลิวอิส รูปร่างโมเลกุล

BCl3 สามเหลี่ยมแบนราบ
(trigonal planar)

AsCl5 พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม
(trigonal bipyramidal)

SiCl4 ทรงสี่หน้า
(tetrahedral)

CH2Cl2 ทรงสี่หน้า
(tetrahedral)

Cl2O มุมงอ (bent)

10. เรียงลำ�ดับสภาพขั้วของพันธะต่อไปนี้จากน้อยไปมาก
N−H F−H B−H C−H O−H S−H
เมื่ อ ใช้ ค่ า อิ เ ล็ ก โทรเนกาติ วิ ตี ข องธาตุ เ ป็ น เกณฑ์ ใ นการพิ จ ารณา​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​สภาพขั้ ว ของ
พันธะเรียงลำ�ดับจากน้อยไปมากได้ดังนี้
B−H < C−H < S−H < N−H < O−H < F−H

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บทที่ 3 | พันธะเคมี
231

11. ระบุชนิดของพันธะและแรงยึดเหนีย
่ วทีส
่ �ำ คัญระหว่างโมเลกุลหรืออนุภาคของสารต่อไปนี้
Fe HF CO2 H2O KCl NCl3
Fe เป็นพันธะโลหะ
HF เป็นพันธะโคเวเลนต์ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นพันธะไฮโดรเจน
CO2 เป็นพันธะโคเวเลนต์ มีแรงยึดเหนีย
่ วระหว่างโมเลกุลเป็นแรงแผ่กระจายลอนดอน
H2O เป็นพันธะโคเวเลนต์ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นพันธะไฮโดรเจน
KCl เป็นพันธะไอออนิก
NCl3 เป็นพันธะโคเวเลนต์ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงระหว่างขั้ว

12. เพราะเหตุใดจึงสามารถตีทองคำ�แท่งให้เป็นเส้นทองคำ�ได้
เนื่องจากทองคำ�เป็นโลหะ อะตอมของโลหะจัดเรียงตัวเป็นชั้น ๆ อย่างมีระเบียบ
การทุ บ หรื อ ตี แ ผ่ น โลหะ เป็ น การผลั ก ให้ ชั้ น ของอะตอมโลหะเลื่ อ นไถลออกไป
จากตำ�แหน่งเดิม ทำ�ให้แผ่นโลหะยาวออกไปหรื อบางลง แต่ อะตอมของโลหะใน
ตำ�แหน่งใหม่ไม่หลุดออกจากกันเพราะมีกลุ่มเวเลนซ์อิเล็กตรอนยึดอนุภาคเหล่านั้น
ไว้ ดังนั้นจึงตีทองคำ�แท่งให้เป็นเส้นทองคำ�ได้

13. สารประกอบไอออนิกและโลหะเมื่อหลอมเหลวสามารถนำ�ไฟฟ้าได้แตกต่างกับเมื่อ
เป็นของแข็งหรือไม่ อย่างไร
สารประกอบไอออนิกเมื่อเป็นของแข็งจะไม่นำ�ไฟฟ้า เพราะไอออนบวกและไอออน
ลบถู ก ยึ ด ไว้ แ น่ น แต่ เมื่อ หลอมเหลวไอออนบวกและไอออนลบสามารถเคลื่อนที่ได้
จึงนำ�ไฟฟ้าได้
โลหะเมื่อเป็นของแข็งจะนำ�ไฟฟ้าได้ดี เนื่องจากโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระที่เคลื่อนที่
ได้ ทั่ ว ทั้ ง ก้ อ น เมื่ อ หลอมเหลวความสามารถในการนำ � ไฟฟ้ า จะลดลง เนื่ อ งจาก
อะตอมของโลหะอยูห
่ า่ งกันและไม่เป็นระเบียบ ทำ�ให้อเิ ล็กตรอนอิสระเคลือ
่ นทีไ่ ม่สะดวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1
232

14. สาร A มีสถานะของแข็งในธรรมชาติ ทนความร้อนได้สูงกว่าสาร B และสาร C


สาร A สถานะของแข็งสามารถนำ�ไฟฟ้าได้ เมื่อให้อุณหภูมิสูงมาก ๆ จนถึงจุดหนึ่ง
สามารถลุกติดไฟได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ส่วนสาร B
สามารถนำ�ไฟฟ้าได้ในสถานะของเหลว สารละลายของสาร B มีค่า pH เป็นกลาง
สาร C สามารถนำ�ไฟฟ้าได้ทั้งสถานะของแข็งและของเหลว มีเพียงสาร C ชนิดเดียว
ที่ทำ�ปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ได้ตะกอนสีขาว และแก๊สไฮโดรเจน (H2)
สาร A B และ C เป็นสารใดจากสารที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้
น้�ำ ตาลทราย (C12H22O11) แกรไฟต์ (C) เกลือแกง (NaCl) ตะกัว่ (Pb) แมกนีเซียม (Mg)
สาร A คือ แกรไฟต์ สาร B คือ เกลือแกง และ สาร C คือ ตะกั่ว

จากข้อมูล สาร A สถานะของแข็งสามารถนำ�ไฟฟ้าได้ เมื่อให้อุณหภูมิสูงมาก ๆ


จนถึงจุดหนึ่งลุกติดไฟได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อพิจารณาสมบัติระหว่างแกรไฟต์และน้ำ�ตาลทราย แกรไฟต์สามารถนำ�ไฟฟ้าได้
ส่วนน้ำ�ตาลทรายไม่นำ�ไฟฟ้า ดังนั้น สาร A คือ แกรไฟต์ (C)

จากข้ อ มู ล สาร B สามารถนำ � ไฟฟ้ า ได้ ใ นสถานะของเหลว แสดงว่ า สาร B


ละลายน้ำ�แล้วได้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ สาร B จึงเป็นสารประกอบไอออนิก
ดังนั้น สาร B คือ เกลือแกง (NaCl)

จากข้อมูล สาร C สามารถนำ�ไฟฟ้าได้ทั้งสถานะของแข็งและของเหลว ดังนั้น


สาร C เป็นโลหะ อาจจะเป็นได้ทั้งตะกั่วและแมกนีเซียม เมื่อทำ�ปฏิกิริยากับกรด
HCl ได้ตะกอนสีขาวและแก๊สไฮโดรเจน
Pb(s) + 2HCl(aq) PbCl2(s) + H2(g)
Mg(s) + 2HCl(aq) MgCl2(aq) + H2(g)
ดังนั้น สาร C คือ ตะกั่ว (Pb)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
233

ภาคผนวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
234

ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล

แบบทดสอบ
การประเมินผลด้วยแบบทดสอบเป็นวิธท
ี น
ี่ ย
ิ มใช้กน
ั อย่างแพร่หลายในการวัดผลสัมฤทธิใ์ นการเรียน
โดยเฉพาะด้านความรูแ
้ ละความสามารถทางสติปญ
ั ญา ครูควรมีความเข้าใจในลักษณะของแบบทดสอบ
รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของแบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือเลือกใช้แบบ
ทดสอบให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด โดยลักษณะของแบบทดสอบ รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของ
แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ เป็นดังนี้
1) แบบทดสอบแบบที่มีตัวเลือก
แบบทดสอบแบบทีม
่ ต
ี วั เลือก ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด และ
แบบทดสอบแบบจับคู่ รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละแบบเป็นดังนี้
1.1) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ
เป็นแบบทดสอบทีม
่ ก
ี ารกำ�หนดตัวเลือกให้หลายตัวเลือก โดยมีตวั เลือกทีถ
่ ก
ู เพียงหนึง่ ตัวเลือก
องค์ประกอบหลักของแบบทดสอบแบบเลือกตอบมี 2 ส่วน คือ คำ�ถามและตัวเลือก แต่บางกรณีอาจ
มีส่วนของสถานการณ์เพิ่มขึ้นมาด้วย แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีหลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบ
แบบเลือกตอบคำ�ถามเดีย
่ ว แบบทดสอบแบบเลือกตอบคำ�ถามชุด แบบทดสอบแบบเลือกตอบคำ�ถาม
2 ชั้น โครงสร้างดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถามเดี่ยวที่ไม่มีสถานการณ์

คำ�ถาม…………………………………………………………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
235

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถามเดี่ยวที่มีสถานการณ์

สถานการณ์……………………………………………………………......................

คำ�ถาม…………………………………………………....................………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถามเป็นชุด

สถานการณ์……………………………………………………………......................

คำ�ถาม…………………………………………………....................………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

คำ�ถามที่ 2 ……………………………………………………………..................

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
236

แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบคำ�ถาม 2 ชั้น

สถานการณ์……………………………………………………………......................

คำ�ถาม…………………………………………………....................………………….

ตัวเลือก
ก................................................
ข................................................
ค................................................
ง................................................

คำ�ถามที่ 2 (ถามเหตุผลของการตอบคำ�ถามที่ 1)
……………………………………………………………........................................
……………………………………………………………........................................

แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีขอ
้ ดีคอ
ื สามารถใช้วด
ั ผลสัมฤทธิข
์ องนักเรียนได้ครอบคลุมเนือ
้ หา
ตามจุดประสงค์ สามารถตรวจให้คะแนนและแปลผลคะแนนได้ตรงกัน แต่มข
ี อ
้ จำ�กัดคือ ไม่เปิดโอกาส
ให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างอิสระจึงไม่สามารถวัดความคิดระดับสูง เช่น ความคิดสร้างสรรค์ได้
นอกจากนี้นักเรียนที่ไม่มีความรู้สามารถเดาคำ�ตอบได้

1.2) แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด
เป็นแบบทดสอบทีม
่ ต
ี วั เลือก ถูกและผิด เท่านัน
้ มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ คำ�สัง่ และข้อความ
ให้นักเรียนพิจารณาว่าถูกหรือผิด ดังตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
237

แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด

คำ�สั่ง ให้พิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด แล้วใส่เครื่องหมาย หรือ หน้า


ข้อความ

………… 1. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 2. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 3. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 4. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....
………… 5. ข้อความ……………………………………………..……………..………………….....

แบบทดสอบรูปแบบนี้สามารถสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และครอบคลุมเนื้อหา สามารถตรวจได้


รวดเร็วและให้คะแนนได้ตรงกัน แต่นก
ั เรียนมีโอกาสเดาได้มาก และการสร้างข้อความให้เป็นจริงหรือ
เป็นเท็จโดยสมบูรณ์ในบางเนื้อทำ�ได้ยาก
1.3) แบบทดสอบแบบจับคู่
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำ�สั่ง และข้อความ 2 ชุด ที่ให้จับคู่กัน โดยข้อความชุดที่ 1 อาจเป็น
คำ�ถาม และข้อความชุดที่ 2 อาจเป็นคำ�ตอบหรือตัวเลือก โดยจำ�นวนข้อความในชุดที่ 2 อาจมีมากกว่า
ในชุดที่ 1 ดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบจับคู่

คำ�สั่ง ให้น�ำ ตัวอักษรหน้าข้อความในชุดคำ�ตอบมาเติมในช่องว่างหน้าข้อความในชุด


คำ�ถาม

ชุดคำ�ถาม ชุดคำ�ตอบ

……… 1. ………………………………… ก. …………………………………


……… 2. ………………………………… ข. …………………………………
……… 3. ………………………………… ค. …………………………………
ง. …………………………………

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
238

แบบทดสอบรูปแบบนี้สร้างได้ง่ายตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน และเดาคำ�ตอบได้ยากเหมาะ
สำ�หรับวัดความสามารถในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคำ�หรือข้อความ 2 ชุด แต่ในกรณีที่นักเรียน
จับคู่ผิดไปแล้วจะทำ�ให้มีการจับคู่ผิดในคู่อื่น ๆ ด้วย

2) แบบทดสอบแบบเขียนตอบ
เป็นแบบทดสอบที่ให้นักเรียนคิดคำ�ตอบเอง จึงมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและสะท้อน
ความคิดออกมาโดยการเขียนให้ผอ
ู้ า่ นเข้าใจ โดยทัว่ ไปการเขียนตอบมี 2 แบบ คือ การเขียนตอบแบบ
เติมคำ�หรือการเขียนตอบอย่างสั้น และการเขียนตอบแบบอธิบาย รายละเอียดของแบบทดสอบที่มี
การตอบแต่ละแบบเป็นดังนี้
2.1) แบบทดสอบเขียนตอบแบบเติมคำ�หรือตอบอย่างสั้น
ประกอบด้วยคำ�สั่ง และข้อความที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งจะมีส่วนที่เว้นไว้เพื่อให้เติมคำ�ตอบหรือ
ข้อความสัน
้ ๆ ทีท
่ �ำ ให้ขอ
้ ความข้างต้นถูกต้องหรือสมบูรณ์ นอกจากนีแ
้ บบทดสอบยังอาจประกอบด้วย
สถานการณ์และคำ�ถามที่ให้นักเรียนตอบโดยการเขียนอย่างอิสระ แต่สถานการณ์และคำ�ถามจะเป็น
สิ่งที่กำ�หนดคำ�ตอบให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
แบบทดสอบรูปแบบนี้สร้างได้ง่าย มีโอกาสเดาได้ยาก และสามารถวินิจฉัยคำ�ตอบที่นักเรียน
ตอบผิดเพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องทางการเรียนรู้หรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ แต่การจำ�กัด
คำ�ตอบให้นักเรียนตอบเป็นคำ� วลี หรือประโยคได้ยาก ตรวจให้คะแนนได้ยากเนื่องจากบางครั้งมี
คำ�ตอบถูกต้องหรือยอมรับได้หลายคำ�ตอบ
2.2) แบบทดสอบเขียนตอบแบบอธิบาย
เป็นแบบทดสอบที่ต้องการให้นักเรียนสร้างคำ�ตอบอย่างอิสระ ประกอบด้วยสถานการณ์และ
คำ�ถามที่สอดคล้องกัน โดยคำ�ถามเป็นคำ�ถามแบบปลายเปิด
แบบทดสอบรูปแบบนีใ้ ห้อส
ิ ระแก่นก
ั เรียนในการตอบจึงสามารถใช้วด
ั ความคิดระดับสูงได้ แต่
เนือ
่ งจากนักเรียนต้องใช้เวลาในการคิดและเขียนคำ�ตอบมาก ทำ�ให้ถามได้นอ
้ ยข้อ จึงอาจทำ�ให้วด
ั ได้ไม่
ครอบคลุมเนือ
้ หาทัง้ หมด รวมทัง้ ตรวจให้คะแนนยาก และการตรวจให้คะแนนอาจไม่ตรงกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
239

แบบประเมินทักษะ
เมื่ อ นั ก เรี ย นได้ ล งมื อ ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมจริ ง จะมี ห ลั ก ฐานร่ อ งรอยที่ แ สดงไว้ ทั้ ง วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ แ ละ
ผลการปฏิบต
ั ิ ซึง่ หลักฐานร่องรอยเหล่านัน
้ สามารถใช้ในการประเมินความสามารถ ทักษะการคิด และ
ทักษะปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

การปฏิบต
ั ก
ิ ารทดลองเป็นกิจกรรมทีส
่ �ำ คัญทีใ่ ช้ในการจัดการเรียนรูท
้ างวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปจะ
ประเมิ น 2 ส่ ว น คื อ ประเมิ น ทั ก ษะการปฏิ บั ติ ก ารทดลองและการเขี ย นรายงานการทดลอง
โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินดังตัวอย่าง

ตัวอย่างแบบสำ�รวจรายการทักษะปฏิบัติการทดลอง

ผลการสำ�รวจ
รายการที่ต้องสำ�รวจ
มี ไม่มี
(ระบุจำ�นวนครั้ง)
การวางแผนการทดลอง

การทดลองตามขั้นตอน

การสังเกตการทดลอง

การบันทึกผล

การอภิปรายผลการทดลองก่อนลงข้อสรุป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
240

ตัวอย่างแบบประเมินทักษะปฏิบต
ั ก
ิ ารทดลองทีใ่ ช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย

คะแนน
ทักษะปฏิบัติ
3 2 1
การทดลอง

การเลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ / เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ / เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ / เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ /
เครื่องมือในการทดลอง เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร
ทดลองได้ ถู ก ต้ อ ง ทดลองได้ถก
ู ต้องแต่ ทดลองไม่ถก
ู ต้อง
เหมาะสมกับงาน ไม่เหมาะสมกับงาน

การใช้อป
ุ กรณ์/เครือ
่ งมือ ใช้อป
ุ กรณ์/เครือ
่ งมือ ใช้อุปกรณ์/เครื่องมือ ใช้อป
ุ กรณ์/เครือ
่ งมือ
ในการทดลอง ใ น ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ ในการทดลองได้ ถู ก ในการทดลองไม่ถูก
อย่ า งคล่ อ งแคล่ ว ต้องตามหลักการ ต้อง
แ ล ะ ถู ก ต้ อ ง ต า ม ปฏิบัติ แต่ไม่
หลักการปฏิบัติ คล่องแคล่ว

การทดลองตามแผนที่ ทดลองตามวิ ธี ก าร ทดลองตามวิ ธี ก าร ทดลองตามวิ ธี ก าร


กำ�หนด แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่ แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่ แ ล ะ ขั้ น ต อ น ที่
กำ � หนดไว้ อ ย่ า งถู ก กำ � ห น ด ไ ว้ มี ก า ร กำ � ห น ด ไ ว้ ห รื อ
ต้อง มีการปรับปรุง ปรับปรุงแก้ไขบ้าง ดำ � เ นิ น ก า ร ข้ า ม
แก้ไขเป็นระยะ ขั้นตอนที่กำ�หนดไว้
ไม่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง
แก้ไข

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
241

ตัวอย่างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการทดลองที่ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า

ผลการประเมิน
ทักษะที่ประเมิน
ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1

1. วางแผนการทดลองอย่างเป็น ระดับ 3 หมายถึง ระดับ 2 หมายถึง ระดับ 1 หมายถึง


ขั้นตอน ปฏิบต
ั ไิ ด้ทง้ั 3 ข้อ ปฏิบต
ั ไิ ด้ทง้ั 2 ข้อ ปฏิบต
ั ไิ ด้ทง้ั 1 ข้อ
2. ป ฏิ บั ติ ก า ร ท ด ล อ ง ไ ด้ อ ย่ า ง
คล่ อ งแคล่ ว สามารถเลื อ กใช้
อุ ป กรณ์ ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง เหมาะสม
และจัดวางอุปกรณ์เป็นระเบียบ
สะดวกต่อการใช้งาน
3. บันทึกผลการทดลองได้ถูกต้อง
และครบถ้วนสมบูรณ์

ตัวอย่างแนวทางการให้คะแนนการเขียนรายงานการทดลอง

คะแนน

3 2 1

เขี ย นรายงานตาม เขี ย นรายงานการ เขี ย นรายงานโดย


ลำ � ดั บ ขั้ น ต อ น ทดลองตามลำ � ดั บ ลำ � ดั บ ขั้ น ตอนไม่
ผลการทดลองตรง แต่ไม่สอ
่ื ความหมาย สอดคล้องกัน และ
ตามสภาพจริงและ ไม่สื่อความหมาย
สื่อความหมาย

แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์
การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำ�ได้โดยตรง โดยทั่วไปทำ�โดยการตรวจสอบพฤติกรรม
ภายนอกที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะของคำ�พูด การแสดงความคิดเห็น การปฏิบัติหรือพฤติกรรมบ่งชี้
ทีส
่ ามารถสังเกตหรือวัดได้ และแปลผลไปถึงจิตวิทยาศาสตร์ซงึ่ เป็นสิง่ ทีส
่ ง่ ผลให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว
เครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ดังตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
242

ตัวอย่างแบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์

คำ�ชี้แจง จงทำ�เครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับคุณลักษณะที่นักเรียนแสดงออก โดยจำ�แนก


ระดับพฤติกรรมการแสดงออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
มาก หมายถึง นักเรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างสม่ำ�เสมอ
ปานกลาง หมายถึง นักเรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นครั้งคราว
น้อย หมายถึง นักเรียนแสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นน้อยครั้ง
ไม่มีการแสดงออก หมายถึง นักเรียนไม่แสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นเลย

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
รายการพฤติกรรมการแสดงออก
มาก ปาน น้อย ไม่มีการ
กลาง แสดงออก
ด้านความอยากรู้อยากเห็น
1. นักเรียนสอบถามจากผู้รู้หรือไปศึกษา
ค้นคว้าเพิ่มเติม เมื่อเกิดความสงสัยใน
เรื่องราววิทยาศาสตร์
2. นักเรียนชอบไปงานนิทรรศการ
วิทยาศาสตร์
3. นักเรียนนำ�การทดลองที่สนใจไป
ทดลองต่อที่บ้าน
ด้านความซื่อสัตย์
1. นักเรียนรายงานผลการทดลองตามที่
ทดลองได้จริง
2. เมือ
่ ทำ�การทดลองผิดพลาด นักเรียนจะ
ลอกผลการทดลองของเพื่อส่งครู
3. เมื่อครูมอบหมายให้ทำ�ชิ้นงาน
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ นักเรียนจะ
ประดิษฐ์ตามแบบที่ปรากฏอยู่ใน
หนังสือ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
243

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
รายการพฤติกรรมการแสดงออก
มาก ปาน น้อย ไม่มีการ
กลาง แสดงออก
ด้านความใจกว้าง
1. แม้วา่ นักเรียนจะไม่เห็นด้วยกับการสรุป
ผลการทดลองในกลุ่ม แต่ก็ยอมรับผล
สรุปของสมาชิกส่วนใหญ่
2. ถ้าเพือ
่ นแย้งวิธก
ี ารทดลองของนักเรียน
และมีเหตุผลที่ดีกว่า นักเรียนพร้อมที่
จ ะ นำ � ข้ อ เ ส น อ แ น ะ ข อ ง เ พื่ อ น ไ ป
ปรับปรุงงานของตน
3. เมื่อ งานที่นัก เรี ย นตั้ง ใจและทุ่ม เททำ �
ถูกตำ�หนิหรือโต้แย้ง นักเรียนจะหมด
กำ�ลังใจ
ด้านความรอบคอบ
1. นั ก เรี ย นสรุ ป ผลการทดลองทั น ที เ มื่ อ
เสร็จสิ้นการทดลอง
2. นักเรียนทำ�การทดลองซ้ำ� ๆ ก่อนที่จะ
สรุปผลการทดลอง
3. นั ก เรี ย นตรวจสอบความพร้ อ มของ
อุปกรณ์ก่อนทำ�การทดลอง
ด้านความมุ่งมั่นอดทน
1. ถึ ง แม้ ว่ า งานค้ น คว้ า ที่ ทำ � อยู่ มี โ อกาส
สำ�เร็จได้ยาก นักเรียนจะยังค้นคว้าต่อไป
2. นักเรียนล้มเลิกการทดลองทันที เมือ
่ ผล
การทดลองทีไ่ ด้ขด
ั จากทีเ่ คยได้เรียนมา
3. เมื่อทราบว่าชุดการทดลองที่นักเรียน
สนใจต้องใช้ระยะเวลาในการทดลอง
นาน นักเรียนก็เปลี่ยนไปศึกษาชุดการ
ทดลองที่ใช้เวลาน้อยกว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
244

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
รายการพฤติกรรมการแสดงออก
มาก ปาน น้อย ไม่มีการ
กลาง แสดงออก
เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนนำ�ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มา
ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วันอยู่เสมอ
2. นักเรียนชอบทำ�กิจกรรมทีเ่ กีย
่ วข้องกับ
วิทยาศาสตร์
3. นั ก เ รี ย น ส น ใ จ ติ ด ต า ม ข่ า ว ส า ร ที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

การประเมินการนำ�เสนอผลงาน
การประเมินผลและให้คะแนนการนำ�เสนอผลงานใช้แนวทางการประเมินเช่นเดียวกับการประเมิน
ภาระงานอื่น คือ การใช้คะแนนแบบภาพรวม และการให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย ดังราย
ละเอียดต่อไปนี้
1) การให้คะแนนในภาพรวม เป็นการให้คะแนนทีต ่ อ
้ งการสรุปภาพรวมจึงประเมินเฉพาะประเด็น
หลักทีส
่ �ำ คัญ ๆ เช่น การประเมินความถูกต้องของเนือ
้ หา ความรูแ้ ละการประเมินสมรรถภาพด้านการ
เขียนโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินความถูกต้องของเนื้อหาความรู้ (แบบภาพรวม)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

เนื้อหาไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ต้องปรับปรุง

เนื้อหาถูกต้องแต่ให้สาระสำ�คัญน้อยมาก และไม่ระบุแหล่งที่มาของความรู้ พอใช้

เนือ
้ หาถูกต้อง มีสาระสำ�คัญ แต่ยงั ไม่ครบถ้วน มีการระบุแหล่งทีม
่ าของความรู้ ดี

เนื้อหาถูกต้อง มีสาระสำ�คัญครบถ้วน และระบุแหล่งที่มาของความรู้ชัดเจน ดีมาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
245

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพด้านการเขียน (แบบภาพรวม)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

เขียนสับสน ไม่เป็นระบบ ไม่บอกปัญหาและจุดประสงค์ ขาดการเชื่อมโยง ต้องปรับปรุง


เนื้อหาบางส่วนไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมและสะกดคำ�
ไม่ถูกต้อง ไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้

ขียนเป็นระบบแต่ไม่ชัดเจน บอกจุดประสงค์ไม่ชัดเจน เนื้อหาถูกต้องแต่มี พอใช้


รายละเอียดไม่เพียงพอ เนื้อหาบางตอนไม่สัมพันธ์กัน การเรียบเรียบเนื้อหา
ไม่ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้

เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเรือ
่ ง บอกความสำ�คัญและทีม
่ าของ ดี
ปัญหา จุดประสงค์ แนวคิดหลักไม่ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญทั้งหมด เนื้อหา
บางตอนเรียบเรียงไม่ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง มีการยกตัวอย่าง รูปภาพ
แผนภาพประกอบ อ้างอิงแหล่งทีม
่ าของความรู้

เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเรื่อง บอกความสำ�คัญและที่มา ดีมาก


ของปัญหา จุดประสงค์ แนวคิดหลักได้ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญทั้งหมด
เรี ย บเรี ย งเนื้ อ หาได้ ต่ อ เนื่ อ ง ใช้ ภ าษาถู ก ต้ อ ง ชั ด เจนเข้ า ใจง่ า ย มี ก าร
ยกตัวอย่าง รูปภาพ แผนภาพประกอบ อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้

2) การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย เป็นการประเมินเพือ ่ ต้องการนำ�ผลการประเมินไปใช้


พัฒนางานให้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ และพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เกณฑ์
ย่อย ๆ ในการประเมินเพื่อทำ�ให้รู้ทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริมและจุดด้อยที่ควรแก้ไขปรับปรุงการทำ�งาน
ในส่วนนั้น ๆ เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย มีตัวอย่างดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคผนวก เคมี เล่ม 1
246

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมนสมรรถภาพ (แบบแยกองค์ประกอบย่อย)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

ด้านการวางแผน

ไม่สามารถออกแบบได้ หรือออกแบบได้แต่ไม่ตรงกับประเด็นปัญหาทีต
่ อ
้ งการ ต้องปรับปรุง
เรียนรู้

ออกแบบการได้ตามประเด็นสำ�คัญของปัญหาเป็นบางส่วน พอใช้

ออกแบบครอบคลุมประเด็นสำ�คัญของปัญหาเป็นส่วนใหญ่ แต่ยงั ไม่ชด


ั เจน ดี

ออกแบบได้ครอบคลุมทุกประเด็นสำ�คัญของปัญหาอย่างเป็นขัน
้ ตอนทีช
่ ด
ั เจน ดีมาก
และตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ

ด้านการดำ�เนินการ

ดำ � เนิ น การไม่ เ ป็ น ไปตามแผน ใช้ อุ ป กรณ์ แ ละสื่ อ ประกอบถู ก ต้ อ งแต่ ไ ม่ ต้องปรับปรุง


คล่องแคล่ว

ดำ � เนิ น การตามแผนที่ ว างไว้ ใช้ อุ ป กรณ์ แ ละสื่ อ ประกอบถู ก ต้ อ งแต่ ไ ม่ พอใช้


คล่องแคล่ว

ดำ�เนินการตามแผนที่วางไว้ ใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบการสาธิตได้อย่าง ดี
คล่องแคล่วและเสร็จทันเวลา ผลงานในบางขัน
้ ตอนไม่เป็นไปตามจุดประสงค์

ดำ�เนินการตามแผนทีว่ างไว้ ใช้อป


ุ กรณ์และสือ
่ ประกอบได้ถก
ู ต้อง คล่องแคล่ว ดีมาก
และเสร็จทันเวลา ผลงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามจุดประสงค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 ภาคผนวก
247

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

ด้านการอธิบาย

อธิบายไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกับแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ต้องปรับปรุง

อธิ บ ายโดยอาศั ย แนวคิ ด หลั ก ทางวิ ท ยาศาสตร์ แต่ ก ารอธิ บ ายเป็ น แบบ พอใช้
พรรณนาทั่วไปซึ่งไม่คำ�นึงถึงการเชื่อมโยงกับปัญหาทำ�ให้เข้าใจยาก

อธิบายโดยอาศัยแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหาแต่ ดี
ข้ามไปในบางขัน
้ ตอน ใช้ภาษาได้ถก
ู ต้อง

อธิบายตามแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหาและ ดีมาก


จุดประสงค์ ใช้ภาษาได้ถูกต้องเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บรรณานุกรม เคมี เล่ม 1
248

บรรณานุกรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2548). การจำ�แนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็น ระบบ


เดียวกันทั่วโลก (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of
Chemicals - GHS). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/
project/sicsm/news_files/15_1.pdf.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี. (2558). คู่มือความปลอดภัย ฉบับ
ปรับปรุงครั้งที่ 6. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.chemistry.sc.chula.
ac.th/safety/safetymanual.pdf.
ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี. (2546). เหยื่อลูกโป่งบึ้มปี 2550. สืบค้นเมื่อ
31 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=53.
มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้. (2555). มลพิษจากโลหะหนัก. สืบค้นเมื่อ
31 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้
กลุม
่ วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขัน
้ พืน
้ ฐาน. กรุงเทพฯ: สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม เคมี
เล่ม 4 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริม
ศักยภาพวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เคมี เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพ
วิชาการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม เคมี เล่ม 1
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือวัดผลและประเมินผล
วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม เคมี
เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ. (2555). ปริมาณรับรังสี แค่นี้แค่ไหน. สืบค้นเมื่อ
10 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.tint.or.th/nkc/nkc55/content55/nstkc55-086.
html.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 บรรณานุกรม
249

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำ�งาน (ประเทศไทย). (2560). อันตรายจาก


ตะกั่ว: สารพิษมรณะ. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.shawpat.or.th/
index.php.
American Chemical Society. (2016). Guidelines for Chemical Laboratory Safety in
Secondary Schools. Retrieved October 7, 2016, from https://www.acs.org/
content/dam/acsorg/about/governance/committees/chemicalsafety/publications/
acs-secondary-safety-guidelines.pdf?logActivity=true.
Aylward, G.H. & Findlay, T.J.V. (2002). SI Chemical Data. 5th ed. Queensland : John
Wiley & Sons Australia Ltd.
Baird, C. & Gloffke, W. (2003). Chemistry in your life. New York: W.H. Freeman &
Company.
Brown, T.L. & other. (2012). Chemistry: the central science. 12th ed. Illinois: Prince-
Hall Inc.
Burdge, J. & Overby, J. (2017). Chemistry Atom First. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Bureau International des Poids et Mesures. (2006). The International System of Units
(SI). Retrieved December 21, 2016, from http://www.bipm.org/utils/common/pdf/
si_brochure_8_en.pdf.
Chang, R. (2010). Chemistry. 10th ed. New York: McGraw-Hill.
David, R.L. (2004). CRC Handbook of Chemistry and Physics. 85th ed. Florida: CRC
Press Inc.
Dorin, H. & other. (1992). Chemistry the study of matter. 4th ed. New Jersey: Prentice
Hall, Inc.
Earl, B. & Wilford. L.D.R. (2013). GCSE Chemistry. (2nd ed) Dubai: Hodder Education.
Harris, D.C. & Lucy, C.A. (2016). Quantitative Chemical Analysis. 9th ed. New York:
W.H. Freeman & Company.
Harwood, R. & Lodge, I. (2011). Cambridge IGCSE Chemistry Workbook. 3rd ed.
Cambridge: Cambridge University Press.
Herr, N. & Cunningham, J. (1999). Hand-on Chemistry Activities with Real-life
Application. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บรรณานุกรม เคมี เล่ม 1
250

International Atomic Energy Agency. (2017). New Symbol Launched to Warn Public
About Radiation Dangers. Retrieved July 10, 2017, from https://www.iaea.org/
newscenter/news/new-symbol-launched-warn-public-about-radiation-dangers-0.
Kessel, H.V. & other. (2003). Nelson Chemistry 12. Ontario: Nelson.
Lawrie R., & Roger, N. (2014). Chemistry Coursebook. 2nd ed. Cambridge: Cambridge
University Press.
Neuss, G. (2007). Chemistry Course Companion. Oxford: Bell and Bain.
Silberberg, M.S. (2009) Chemistry: The Molecular Nature of Matter and Change.
5th ed. New York: McGraw-Hill.
Skoog, D.A. & other. (2004). Fundamentals of Analytical Chemistry. 8th ed. California:
Thomson-Brooks/Cole.
Talbot, C. & Harwood, R. & Coates, C. (2010). Chemistry for the IB Diploma. London:
Hodder Education.
Toon, T. Y. & other. (2013). Chemistry Matters GCE ‘O’ Level. 2nd ed. Singapore:
Marshall Cavendish Education.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี เล่ม 1 คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู
251

คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 1


ตามผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

คณะที่ปรึกษา
1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. รศ.ดร.สัญญา มิตรเอม รองผู้อำ�นวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะผู้จัดทำ�คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
1. ศ.ดร.มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. ผศ.ดร.จินดา แต้มบรรจง ผู้ชำ�นาญ


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นายณรงค์ศิลป์ ธูปพนม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษอาวุโส
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. นางสาวศศินี อังกานนท์ ผู้ชำ�นาญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. นางสุทธาทิพย์ หวังอำ�นวยพร ผู้ชำ�นาญ สาขาเคมีและชีววิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. นางสาวศิริรัตน์ พริกสี ผู้ชำ�นาญ สาขาเคมีและชีววิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. ดร.สนธิ พลชัยยา ผู้ชำ�นาญ สาขาเคมีและชีววิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. นายชาญณรงค์ พูลเพิ่ม นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9. นางสาวณัฏฐิกา งามกิจภิญโญ นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครู เคมี เล่ม 1
252

คณะผู้ร่วมพิจารณาคู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1 (ฉบับร่าง)
1. ศ.ดร.มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. ผศ.ดร.พร้อมพงศ์ เพียรพินจ
ิ ธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ผศ. สันติ ศรีประเสริฐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. ดร. กุลธิดา นุกูลธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ�แพงแสน

5. นายปิยะพงษ์ กลางจอหอ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร

6. นางสาวอัญชานา นิม
่ อนุสสรณ์กล
ุ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

7. นางสาวทองใบ สุขประเสริฐชัย โรงเรียนคณะราษฎร์บำ�รุงปทุมธานี จ.ปทุมธานี

8. นางสาววนิดา อยู่ยืน โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี

9. นางสาวอาภาภรณ์ ปานมี โรงเรียนนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์

10. นางสาววิจิตรา จิตสุภา โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จ.อุตรดิตถ์

12. นายรุ่งระวี ศิริบุญนาม โรงเรียนสารคามพิทยาคม จ.มหาสารคาม

คณะบรรณาธิการ
1. ศ.ดร.มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. ผศ.ดร.เสาวรักษ์ เฟื่องสวัสดิ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ผศ.ดร.พร้อมพงศ์ เพียรพินจ
ิ ธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. นายณรงค์ศิลป์ ธูปพนม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษอาวุโส
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. นางสาวศศินี อังกานนท์ิ์ ผู้ชำ�นาญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. นางสุทธาทิพย์ หวังอำ�นวยพร ผู้ชำ�นาญ สาขาเคมีและชีววิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบน
ั สง�เสรมิ การสอนวท
ิ ยาศาสตรแ
� ละเทคโนโลยี
กระทรวงศก ึ ษาธกิ าร

You might also like