You are on page 1of 14

บทสัมภาษณ์ คุณนันทวัน หาญดี ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ.

สนามชัยเขต
โดย กอบมณี

โครงการอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน การสร้างป่าครอบครัว เก็บพืชพันธุ์เหล่านี้มาปลูกเพื่อกิน เมื่อเหลือกินแล้วก็


นามาขาย แล้วก็ขยายผลไปพื้นที่อื่นด้วย เพราะว่าพื้นที่อื่นก็อยู่ในภูมินิเวศน์เดียวกัน ท้องถิ่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นชาวบ้านก็พึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอาหาร เหลือกินแล้วได้ขายด้วย แต่เขาไม่เห็นคุณค่า ก็ทาให้เขาเข้าใจ เอา
ตัวเลขเหล่านี้ จากที่เราทาข้อมูล ไปให้เขาดู เสร็จแล้วกระแสตรงนี้ ชาวบ้านก็เคลื่อน เก็บ ดึงกลับมา จนทุกวันนี้
ผักส่วนใหญ่ที่จาหน่ายในตลาดสีเขียวของเรา ๘๐ % เป็นผักพื้นบ้าน แล้วตอนนี้แนวความคิดเรื่องผักพื้นบ้านก็
กลับมาแล้ว เพราะฉะนั้นชาวบ้านก็มั่นใจเลยว่าถูกทางแล้ว แล้วนี่คือฐานการพึ่งตนเองที่มั่นคงยั่งยืนที่สุด มีอยู่
แล้ว แค่อนุรักษ์มันเอาไว้ แล้วก็เก็บรักษามันเอาไว้ในที่ๆ มีอยู่เดิมแล้วก็ขยายกลับเข้ามาในที่ของตัวเอง
เพราะฉะนั้นแนวความคิดนี้ก็จะขยายออกไปในพื้นที่

โดยเราใช้ฐานความคิดด้านการออม การสร้างธนาคารตัวเอง เป็นเวทีปรึกษาหารือกันทุกเดือน พอมี


หลายๆ กลุ่ม ตอนนั้นมี ๕-๖ หมู่บ้านแล้ว ก็เริ่มจัดเวที ก็ผู้ ดึงนาแต่ละบ้านมาคุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
แล้ว ใช้ชื่อว่า “เครือข่ายผู้นาเพื่อการพัฒนา” เป็นเครือข่ายหลวมๆ เครือข่ายการเรียนรู้ที่แบ่งปันความรู้ ก็ ๓
เดือนครั้งนึง เวลามีการศึกษาดูงานก็จะไปด้วยกัน สร้างความสัมพันธ์ แล้วก็ทาให้ผู้นาแต่ละพื้นที่ที่เราไปสร้าง
กลุ่มไว้เริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันรู้จักกัน แบ่งปันประสบการณ์ความรู้ พอทามาระยะหนึ่งถึงปี ๔๓ ก็มีซิปเข้า
มา แก้ปัญหาเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ๔๐ ปรากฎว่ามี ๒ พื้นที่เท่านั้น ที่สามารถเขียนโครงการเมนู๑ ได้
โครงการเรื่องเสริมสร้างการเรียนรู้ แล้วก็วิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ต้องเป็นกลุ่มที่แข็งแรง
ปรากฎว่า ๖-๗หมู่บ้านที่เราสร้างกลุ่มไว้มีแค่ ๒กลุ่มที่สามารถเขียนโครงการเมนู ๑ ได้ ก็มีที่ยางแดง กับบาง
เพนียง แต่พื้นที่อื่นไม่สามารถ ยังทาโครงการที่จะใช้งบประมาณสนับสนุนจากทางซิปไม่ได้ ปรากฎว่าปลายปี ๔๓
ซิปเขาเริ่มเห็นปัญหาแล้วว่า เมนู ๑ ๒ ๓ ๔ ที่เป็นโครงการปกติเนี่ยต้องเป็นกลุ่มที่แข็งแรงจริงๆ ถึงจะเข้าถึงได้
เขาก็เห็นแล้วว่าถ้าอย่างนี้งบประมาณที่กู้จาก WB มามันไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย
ได้เลย เพราะว่ากลุ่มคนองค์กรชาวบ้านที่เข้มแข็งที่สามารถจะเข้าถึงได้มันมีจากัด แต่ผลกระทบมันกว้าง
เพราะฉะนั้นเขาจึงเปิดเมนู๕ ขึ้นมาเป็นโครงการเร่งด่วนสาหรับการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืนแต่ว่าโครงการนี้จะทา
ได้ จะต้องเป็นเครือข่ายเท่านั้น เป็นองค์กรเดี่ยวๆ ไม่ได้ก็เป็นฐานที่เราทางานมา ต่อเนื่อง เป็นเครือข่ายผู้นาเพื่อ
การพัฒนา เราก็เชื่อมโยงกันเลย เป็นเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา มีการประชุมกันต่อเนื่อง เสร็จแล้วก็
เขียนโครงการร่วมกัน ขอเงินจากซิปมาช่วยกลุ่มผู้ด้อยโอกาส คนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ แล้วเป็น
คนพิการ เป็นผู้ติดเชื้อ เป็นผู้สูงอายุ และเป็นเด็ก ส่วนหนึ่งขอมาเป็นทุนที่จะส่งเสริมเรื่องอาชีพ ที่จะให้ทุกคนมี
อาชีพ มีรายได้ที่สามารถอยู่ในชุมชนแล้วก็พึ่งตนเองได้ แล้วก็ถือว่าเป็นแบบฝึกหัดให้ชาวบ้านเรียนรู้การบริหาร
จัดการการเงินด้วยกัน เพราะว่าแต่ละกลุ่มมันมีองค์กรตัวเอง ไม่เคยบริหารเงินด้วยกัน เพราะฉะนั้นคนที่จะบริหาร
เงินด้วยกันได้มันต้องไว้วางใจกัน เชื่อมั่นกัน ถึงจะบริหารจัดการได้ ถึงจะทางานร่วมกันเป็นทีมได้ ก็เอาเงินซิปนี่

(1)
แหละ ๒ ล้านกว่าเนี่ย เป็นเครื่องมือเลย เพราะว่าในแง่ของประสบการณ์การบริหารจัดการ เอาประสบการณ์จาก
ยางแดง เรียนรู้เรื่องระบบบัญชี มาขยายผล เพราะฉะนั้นยางแดงจะช่วยกลุ่มอื่นได้หมด กลุ่มอื่นก็มาช่วยยางแดง
ได้ เพราะฉะนั้นกลุ่มออมทรัพย์ ทุกกลุ่มสามารถช่วยเหลือกันได้หมดเลย ปิดบัญชีด้วยกันได้ไม่ต้องให้คนข้างนอก
มาช่วย ไม่ต้องให้ผู้ตรวจจาก ไม่ต้องให้พัฒนาชุมชนมาช่วย ยางแดงที่มีทักษะ ประสบการณ์ชานาญแล้ว สามารถ
ลงไปช่วยเพื่อนๆ ลงไปช่วยกลุ่มน้องๆ ปิดบัญชีได้ เวลามาบริหารเงินซิป พูดถึงเรื่องการมีส่วนร่วม พูดถึงเรื่อง
ความโปร่งใส เราก็ต้องมีกติกาการบริหารร่วมกัน ๒ ล้านกว่า นี่เป็นครั้งแรกเลย มีการประชุมกันทุกเดือน มีการ
บริหารจัดการเงิน จะมีเรื่องการทาบัญชี มีประชุม มีมติ อะไรที่ไม่เป็นมติก็ไม่สามารถทาได้ เรียกว่าเป็น
ประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบยกมือ แต่เป็นแบบมีเหตุมีผล แล้วก็เป็นการตัดสินใจอย่างรอบด้านแล้ว
มันก็เป็นเวทีที่ได้ฝึกทักษะในการจัดการร่วมกัน แล้วก็สร้างความไว้วางใจกัน ตอนนี้มันก็ไม่ใช่เป็นการทางาน
ระดับชุมชน ที่ต้องวิ่งไปอย่างนั้นอีกแล้ว เราทางานในระดับเครือข่ายแล้ว ผู้นาแต่ละคนจะกลับไปปฏิบัติการใน
หมู่บ้านตัวเอง เสร็จแล้วเราก็ตามไป ไปดู ไปสนับสนุนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ในแต่ละเดือนเราก็จะประชุมทุกเดือน
อยู่แล้ว เดือนนึงพี่จะมีประชุมประมาณ ๒๐ วันไม่ต้องไปไหน ตามลงไป ดู

การตั้งเครือข่ายใหม่ขึ้นมาพี่จะลงไปคลุกแบบถึงลูกถึงคน แน่นอน ทีมงานตอนนั้นก็มีพี่กับพี่เษม พอพี่


เษมเสียไปเมื่อปี ๕๐ ก็เหลือพี่คนเดียว แต่ทีมงานของเราก็กลายเป็นกลุ่มออมทรัพย์ ในพื้นที่ เป็นเครือข่ายต้อง
แต่เมื่อปี ๔๓ แล้วทีมงานเปลี่ยนจากคน ๒ คนกลายเป็นคน ๒ คนที่เป็นฝ่ายสนับสนุน แล้วก็มีทีมงานชาวบ้านทีม
ใหญ่ กับคนทางานชุดใหญ่ที่เป็นผู้นาชาวบ้าน เป็นกรรมการในระดับเครือข่าย ละในระดับกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่ม
ออมทรัพย์ก็เลยกลายเป็นกลไก เป็นเครื่องมือให้เครือข่ายบริหารจัดการ ส่งเสริม การแก้ปัญหาได้ แล้วทุกกลุ่มจะ
มีเงินตัวเอง ช่วยเหลือตัวเอง แล้วเงินที่ผ่านจากเครือข่ายลงไปจะผ่านเข้าไปในระบบกลุ่มออมทรัพย์ในพื้นที่ ซึ่ง
กลุ่มออมทรัพย์ทุกคนจะเป็นเจ้าของโครงการ ดูแลสมาชิกตัวเองในพื้นที่ บริหารเงินให้เครือข่าย ติดตาม จัดการ
ทุนให้เรียกคืนกลับมาที่ส่วนกลางได้ ติดตามประเมินโครงการ สรุปผลการดาเนินงานในพื้นที่ตัวเอง

ทั้งหมดนี้คือ เริ่มจากปี ๒๕ ที่ลงพื้นที่ยางแดง ปี ๒๘ เริ่มขยายงานไปพื้นที่ข้างเคียง ปี ๓๑ เริ่มมีกลุ่ม


ออมทรัพย์มีเวทีในพื้นที่ ๕-๖ หมู่บ้านที่เราขยายออกไป เป็นเครือข่าย เริ่มมีเวทีมีการออมเป็นของตัวเอง แต่ตอน
นั้นยังไม่มีกลไกการบริหารจัดการส่วนกลาง คนทางานอย่างพี่ กับพี่เษมต้องคอยตามลงไปในพื้นที่ เป็นพี่เลี้ยง
ช่วยกลุ่มเล็กๆ แล้วใช้เวทีตรงกลางเป็นพื้นที่ให้ผู้นากับผู้นาได้มาทางาน มาสร้างความสัมพันธ์ ความไว้วางใจต่อ
กัน แล้วมันไม่ใช่แค่การคุยเรื่องของเขา มันเป็นการคุยเชิงนโยบาย คุยเรื่องผลกระทบ ซึ่งเราจะเป็นตัวข้อต่อ
สาคัญ เอาข้อมูลมาเติบ แล้วก็วิเคราะห์เลยว่าประเด็น นโยบายที่กาลังเป็นปัญหานั้นๆ มันจะมีผลกระทบกับ
ชาวบ้านยังไง เราก็อภิปรายร่วมกันเลย ชาวบ้านมองไม่ออกหรอก แต่เขาได้ข้อมูลแล้ว ซึ่งทุกเรื่องที่เราวิเคราะห์
กันหลังจากนั้นเกิดจริงทุกเรื่อง ชาวบ้านก็มั่นใจเลย

การวิเคราะห์ร่วมกัน การมีข้อมูลในเชิงนโยบายมาให้รับรู้ มันเหมือนกับเป็นการเตรียมความพร้อมในการ


ที่จะรับมือ แล้วก็ทาให้เขายิ่งต้องทางานอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้ฐานการพึ่งตนเองมันเป็นเกราะมาช่วยลด
(2)
ผลกระทบจากนโยบาย แล้วนโยบายมันไม่สามารถเปลี่ยนได้แค่หมู่บ้านเดียว อย่างยางแดง กับบางเพนียงตอนนี้
รวม ๒ หมู่บ้าน มีเงินเบ็ดเสร็จ ๒ล้านเกือบ ๓ ล้าน แก้ปัญหาไม่ได้ ในเชิงนโยบาย ๑๒ หมู่บ้าน ๑๒ กลุ่มที่เป็น
เครื่อข่ายเกษตร ก็แก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบจากนโยบายทางด้านการเกษตร ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเขาจะต้อง จับมือ
กับเครือข่ายที่เป็นพี่น้องเกษตรกรอื่นๆ ที่มีการรวมตัวกัน เพื่อจะช่วยกันขึ้นไปขับเคลื่อนในเชิงนโยบายร่วมกัน
จากเครือข่ายในพื้นที่ก็เข้ามาเชื่อมกัน จากภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ มารวมกันเป็นเครือข่ายเกษตรทางเลือก
๔ ภาค ของฉะเชิงเทราใช้ชื่อว่าเป็นเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทราซึ่งไปเกาะกับสุพรรณ ซึ่ง
แตกต่างกันเพราะว่ามันไกลกัน แต่ภาคอื่นๆ เขาก็เชื่อมกันเป็นเครือข่าย ก็จะได้ประโยชน์ มันเป็นการยกระดับ
ผู้นาเราในการวิเคราะห์ ผลกระทบ ภาพรวมในเชิงการเกษตร ที่พี่น้องทุกภาคมีปัญหา มีชะตากรรมร่วมกันหมด
เลย เพราะสาเหตุมาจากนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมระบบการค้าเสรีที่ไม่เป็นธรรม เกษตรเคมีเพื่อการค้า ซึ่งมัน
ไม่ใช่ทางเลือก และทางรอดของพี่น้องเกษตรกรรายย่อย สิ่งที่พี่น้องเกษตรกรรายย่อยต้องทา ให้ได้ก็คือ ต้องมี
หลักประกันความมั่นคงทางอาหารอย่างพอเพียงแต่ละครอบครัว เหลือกินแล้วค่อยขาย ฐานทรัพยากรการเกษตร
ที่มีอยู่ต้องถูกจัดการบนพื้นฐานของความยั่งยืน ลดการใช้สารเคมี เพราะการใช้สารเคมีที่เข้มข้นในแถบนั้นมันเห็น
อยู่แล้วว่าทาให้ดินเสื่อมโทรม ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ปัญหาที่เจอคือ ราคา ซึ่งตอนนั้นเครือข่ายของฉะเชิงเทรายัง
ไม่สามารถทาถึงขั้นขอรับรองมาตรฐานอินทรีย์ หรือการขอเข้าไปสู่ระบบการค้าที่เป็นธรรม ( Fair Trade) ตอนนั้น
เมื่อประมาณปี ๔๔-๔๕ แต่ว่าเรื่องของเกษตร เมื่อปี ๔๑ พี่น้องเราก็มาชุมนุนที่กรุงเทพ ผลักดันเรื่องเกษตรยั่งยืน
มานอนหน้าทาเนียบร่วมกับพี่น้องเครือข่ายเกษตร แล้วก็สมัชชาคนจน แล้วก็ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็ได้เห็น
ความทุกข์ร้อนของพี่น้องที่อื่นด้วย ซึ่งมันตอกย้าว่า คนจนมันมีปัญหาร่วมกันนะ ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน ผลกระทบที่
เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นนโยบาย จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐทั้งสิ้น ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาที่
ประชาชนไม่มีส่วนร่วม แล้วเกษตรกรรายย่อยก็เป็นเหยื่อ ฉะนั้นนี่คือจุดเริ่มต้นของการเห็นความสาคัญของการ
เรียนรู้ และต้องเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่ใหญขึ้น จากท้องถิ่นแล้วต้องขึ้นมาเป็นภาค เป็นชาติจึงจะมีผล ตรงนั้นก็
เริ่มประมาณปี ๔๔ ยกระดับความร่วมมือโดยใช้แบบฝึกหัดจากซิป จากเงินแค่ล้าน ๒ ล้านเศษๆ ปี ๔๔ เครือข่าย
เกษตรทางเลือกจังหวัดฉะเชิงเทรากับเครือข่ายเกษตรทางเลือก ๔ ภาค ยื่นจัดทาโครงการนาร่องเพื่อพัฒนา
เกษตรกรรมยั่งยืน ๑๙ ภูมินิเวศน์ทั่วประเทศ ๖๓๓ ล้าน

จากปี ๔๓-๔๔ เครือข่ายเกษตรยั่งยืน ๔ ภาค ใน ๑๙ ภูมินิเวศน์ ก็ส่งเสริมเกษตรยั่งยืน เปลี่ยนระบบ ใน


แปรงที่เป็นนาข้าวอย่างเดียว ก็ส่งเสริมให้เป็นสวนผสม อย่างที่เราส่งเสริมมี ๔ รูปแบบ ๑ วนเกษตร ๒ เกษตร
ผสมผสาน ๓ เกษตรอินทรีย์ แล้วก็ ๔ เกษตรธรรมชาติ แล้วก็แถมระบบที่๕ เกษตรทฟษฎีใหม่ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็เปิดให้ ตั้งแต่ภาคเหนือบนดอย ไปถึงชายฝั่งทะเลภาคใต้ งบส่วนใหญ่ ๘๐ %
ลงทุนเรื่องการศึกษา วิจัย สร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน เพราะเราท้าทายกับทางกระทรวงเกษตรและรัฐบาลไว้
ว่า ให้เงินชาวบ้านมาสิ องค์กรชาวบ้านเขาก็แข็งแรง สามารถบริหารจัดการได้ แล้วจะลดการรั่วไหล การคอรัปชั่น
การผ่านการจัดซื้อจัดจ้างที่มันไม่โปร่งใส ชาวบ้านจะทาการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วก็การบริหารการเงินที่โปร่งใสให้เข้า
มาตรวจสอบได้เลย เพราะฉะนั้น ๒๕ ล้านเครือข่ายเกษตร จากเงินซิป ๒ ล้านกว่าๆ ก็มาบริหารเงินที่ใหญ่ขึ้น
(3)
โครงการ ๒๕ ล้าน ๒๐๐ ครอบครัวเป้าหมาย พื้นที่ ๑๒ ชุมชนที่ต้องส่งเสริมให้ทาเกษตร ปรับเปลียนระบบ จาก
ทามันสาปะหลัง ก็ลด จาก๑๐ เหลือ ๕ ไร่ ๕ ไร่มาทาเกษตรยั่งยืน หรือ ๒ ไร่ ทาไปทามามีบางคนไม่มีที่หรือมีที่
น้อยก็ขยายมาถึงคนไม่มีที่ ลองเสนอรูปแบบที่คุณจะพึ่งตนเองได้ หรือรูปแบบการที่คุณจะกลับมามีที่ดินอีกครั้ง
หนึ่ง เช่นบางคนมีที่ ๑ งานก็จะขอเลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผักสวนครัวรอบๆ บ้าน อย่างนี้ ก็ได้ คือให้ถึงที่สุด ให้
เพื่อให้เกิดระบบที่คนที่มีพื้นที่เล็กที่สุดสามารถจะอยู่ในระบบเกษตรที่พึ่งตนเองได้ แต่เป้าหมายคือ ๕ ไร่ ไม่เกิน
กว่านี้ ก็จะมีการส่งเสริมความรู้แนวความคิด การปรับเปลี่ยนระบบ เพื่อให้เปลี่ยนเปลี่ยนมาสู่การทาเกษตรกรรม
ยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ พอถึงตรงนั้นปัญหาก็คือ เราก็ไม่แตกต่างจากรัฐเลย เราทาได้ในส่วนของการส่งสริมให้เกิด
การปรับเปลี่ยนระบบ แต่ในเรื่องของการตลาดก็ยังเป็นปัญหา แต่เป้าหมายของเราที่เราทาไป คือเราบอกว่า เพื่อ
ความมั่งคงด้านอาหารก่อนนะ เพราะฉะนั้นในช่วง ๓-๔ ปีแรก มันก็ตอบโจทย์ในเรื่องของการมีอาหารได้ มีข้าว มี
ปลา มีไก่ มีหมูเลี้ยงออมสิน แล้วก็ให้ชาวบ้านเรียนรู้เรื่องตลาด ว่าตลาดที่มันมีอยู่ อย่าไปมองเรื่องตลาดในเมือง
ตลาดคือทุกคนที่เป้นคนกินแล้วไม่ปลูก ไม่ผลิต ก็เป็นผู้บริโภคหมด ดังนั้นเมื่อมองดูรอบๆ ข้างแล้วมีแค่ ๒๐๐
ครอบครัวเองที่เป็นเกษตรกรรมยั่งยืน ส่วนที่เหลืออีกหลายๆพันครอบครัวก็ยังปลูกแต่มันสาปะหลัง ตลาดที่กว้าง
ที่สุด ใหญ่ที่สุด จึงอยู่ในท้องถิ่นเลย ดังนั้นผลผลิตที่เหลือกินแล้ว เดินทางไปถึงผู้บริโภคก็เดินทางไม่ไกลเลย ซึ่ง
มันไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ผักสดใหม่ ราคาถูก แล้วก็ผักที่เราปลูกก็
เป็นผักพื้นบ้านอยู่แล้ว ก็เริ่มตลาดในท้องถิ่นนี่แหละ ตลาดนัด อาเภอสนามชัย อันนี้เริ่มตั้งแต่ปีที่เราส่งเสริม
เกษตรกรรมยั่งยืนปี ๔๕- ๔๖- ๔๗ แล้วส่วนหนึ่งก็เริ่มไปเจาะที่โรงพยาบาลสนามชัยฯ ก็เอาผักของกลุ่ม มีสมาชิก
คนหนึ่งของกลุ่มที่มีทักษะในการขาย รวบรวมผักของเพื่อนไปขาย เพราะสมาชิกทุกคนไม่สามารถไปเป็นแม่ค้าได้
หมด บางคนเหมาะในการผลิตอยู่บ้าน เราก็ดูความเหมาะสมแล้วก็ดูตามความถนัด ประมาณปี ๔๕ ก็มีเพื่อนเรา
คนหนึ่ง ชื่อ..สหกรณ์กรีนเน็ท เขาทาข้าวอินทรีย์แล้วก็ส่งข้าวไปต่างประเทศอยู่แล้ว เขาสนใจ เขารู้ว่าฉะเชิงเทรา
มี แล้วเราก็ให้ความสนใจในเรื่องพันธุ์พืชท้องถิ่น ตั้งแต่ข้าว แล้วก็พืชผักทุกอย่างอยู่แล้ว พอเขาอยากทาตลาด
ข้าวส่งออกต่างประเทศ ในระบบอินทรีย์ เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง เป็นข้าวเจ้า ข้าวแข็ง ร่วน เมล็ดยาว ก็เลยคุยกัน
เรามีข้าวตัวหนึ่ง ก็เลยเริ่มต้นคุยกัน เราก็มีข้าวอยู่ตัวหนึ่ง คือ พันธุ์เหลืองประทิว เราก็เลยชักชวนพี่น้องว่าถ้าเรา
จะปลูกข้าวอินทรีย์ เพื่อส่งออกต่างประเทศ พี่น้องสนใจจะมาเรียนรู้การผลิตในระบบอินทรีย์ แล้วก็เข้าสู่ระบบนี้
ไหม ตอนนั้นเรายังไม่เข้าใจเรื่องระบบการค้าที่เป็นธรรม คือว่าจะเป็นระบบการส่งเสริมที่คิดตั้งแต่ การส่งเสริม
การปลูก จนกระทั่งตลาดเลย เบ็ดเสร็จเลย ทั้งชุดเลย ซึ่งของเกษตรยั่งยืนยังคิดเรื่องการตลาดได้ไม่ทั้งเซ็ต มีส่วน
ของการทางานวิจัยไว้ แต่เรื่องการที่จะไปเปิดพื้นที่ทางการตลาดให้มันยังทาไม่ได้อย่างเต็มที่ กับเป็นการเปิด
พื้นที่เล็กๆ ก่อน ตลาดอาเภอ ตลาดโรงพยาบาล แต่ถามว่าถ้าเกิดคนปลูกเยอะๆ แล้วเนี่ยมันไม่สามารถรองรับได้
ตอนนั้นก็มีการทาข้าวเหลืองประทิว มีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่สนใจเลย บางคนก็อาจจะบอกว่าตัวเองทาเกษตรยั่งยืน
ไม่มีการใช้สารเคมีอยู่แล้ว แต่มันยังไม่พอ เพราะว่าสินค้าเมื่อต้องเดินทางไกลจะต้องมีระบบการตรวจสอบ
ย้อนกลับ เพื่อรับรองการผลิตทั้งระบบ ตั้งแต่ดิน เมล็ดพันธุ์ การปลูก การจัดการผลผลิต การเก็บเกี่ยว จนกระทั่ง
ผลผลิตนั้นเดินทางไปถึงมือผู้บริโภคนั้นไม่มีสารเคมีปนเปื้อน เป็นของ IFOAM ก็มีกลุ่มเริ่มประมาณ ๔๐ กว่าคน

(4)
ก็ทาเรื่องข้าวอินทรีย์ ใช้ชื่อว่ากลุ่มเกษตรอินทรีย์อาเภอสนามชัยเขตเมื่อปี ๔๔ แล้วมาเริ่มขอรับรองมาตรฐานในปี
๔๕ ซึ่งเราก็ทากระบวนการให้ความรู้ด้วย ก็ลงไปจับกับเกษตรกรเลย ทานายังไงไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะบางคนยังติด
อยู่ หักดิบเลย มาทาอย่างนี้ได้ยังไง โดยทากิจกรรมโรงเรียน ต้องมาเจอกันทุกเดือน มาเรียนรู้ว่าดินมันเป็นยังไง
มีข้อจากัดยังไง แล้วเราจะปรับปรุงได้ยังไง ก็ให้ความรู้ในเรื่องของดิน เพราะดินเป็นหัวใจสาคัญ ก็เลยให้ความรู้ใน
เรื่องของการปรับปรุงดิน แล้วก็ให้ความรู้เรื่องมาตรฐานด้วยว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท.เอง แล้วก็ของ
มาตรฐานสากลที่เราจะไป ในมาตรฐานมีข้อห้าม หรือข้อกาหนดที่เราต้องทาอย่างไรบ้าง ซึ่งมันจะมีระบบลดการ
ปนเปื้อน การสร้างแนวกันชน เราก็ต้องทาคันนาให้กว้าง ๑ เมตร สูงไม่ต่ากว่า ๕๐ เซน ต้องมีพื้ชเป็นแนวกันชน
เช่น แฝก หรือถ้าเป็นป่าอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปฟันมันทิ้ง ทาเป็นแนวกันชนไปเลย แล้วคันน้า คันนาที่มันกว้าง เราก็มี
การลงไปดูไปให้คาแนะนาในเรื่องของการทาแนวกันชน ทั้งทางน้า ทางอากาศ ให้ความรู้แล้วก็ลงไปดูในแปลงใน
เรื่องของการสามารถจัดการแปรงได้ตามมาตรฐาน การลดการปนเปื้อนจากแปรงข้างเคียง ประมาณ ๘ ปีแล้ว

ในเรื่องของราคาเรายกตัวอย่าง อย่างปีที่ผ่านมาข้ามหอมมะลิแดงในตลาดทั่วไป กระแสมะลิแดงกาลังดัง


มากเลย เต็มที่ในตลาดราคาอยู่ที่ ๑๔,๐๐๐ ต่อเกวียน ถึง ๑๕,๐๐๐ ในบางช่วงแต่โดยเฉลี่ยก็คือ ๑๔,๐๐๐ ทาง
กลุ่มให้เกวียนละ ๑๗,๕๐๐ บาท ในเรื่องของระบบการค้าที่เป็นธรรมมันเริ่มจาก พอเราเข้าสู่ระบบการผลิตอินทรีย์
เราถึงได้ส่งสินค้าเข้าไปในยุโรป ในกลุ่มที่เขาเรียกว่า Fair Trade กลุ่มนี้เขาเป็นกลุ่มที่ทางานกับผู้บริโภค ให้
เข้าใจว่าการที่ผู้บริโภคจะกินอาหารที่ปลอดภัย ผลิตในระบบอินทรีย์ ได้ยั่งยืนจะต้องทาให้คนที่ทาเขาอยู่ได้ด้วย
ผลผลิตที่ผู้ผลิตผลิตแล้วจะเดินทางมาถึงผู้บริโภคบวกค่าจัดการ ของคนกลางก็เป็นราคาที่ผุ้บริโภคสามารถรรับได้
สมมติว่าที่นี่ ๑๗.๓ ข้าวไปถึงผู้บริโภคประมาณ ๒๐ หรือ ๒๐,๐๐๐ ผู้บริโภคบอกว่า จะบวกให้อีก ๑ บาท แล้ว
เงิน ๑ บาทนี้ให้ส่งกลับมาให้เกษตรกร หรือผู้ผลิต เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ซึ่งตรงนี้กลุ่มที่เขาทาเป็นผู้ทางานด้าน
ผู้บริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต่างประเทศ เขาก็ทางานเหมือนเรา เป็นคนกลางแต่เราส่งเสริมเกษตรกร เขาจะส่งเสริม
ผู้บริโภค บ้านเราเรื่องการทางานกับผู้บริโภคถือว่ายังน้อย แต่ว่าในช่วงหลังก็ค่อนข้างมีหลายกลุ่มมากขึ้น ที่เข้า
มาทางานรณรงค์กับผู้บริโภค แต่เมื่อก่อน ไม่ค่อยประสบความสาเร็จ และการทางานด้านผู้บริโภคของเราจะไม่
ครอบคลุม การเชื่อมโยงถึงการผลิต เชื่อมโยงถึงผู้ผลิตด้วยเพิ่งจะมีมาในช่วงหลังๆ พอเราเริ่มเข้าสู่ระบบการค้าที่
เป็นธรรมก็จะมีการสื่อสารที่เป็นข้อมูล มาที่กลุ่มผู้ผลิต ก็คือกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เราก็จะได้เรียนรู้ว่าผลผลิต
เดินทางไปที่ตลาดแฟร์เทรด แล้วตลาดแฟร์เทรด ทางผู้บริโภคเขาต้องการสนับสนุนให้ชาวนาเข้มแข็ง แล้ว
สามารถอยู่ในระบบอินทรีย์เพื่อสามารถผลิตข้าวอินทรีย์ไปให้เขากินได้อย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืน เขาจึงยินดีจ่าย
แพงเพิ่มขึ้น เพื่อเอาส่วนที่เขาจ่ายเพิ่มส่งกลับมาให้เกษตรกร ชาวนาได้ดูแลตัวเองให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ก็เป็น
ระบบที่เริ่มเข้าใจ ว่าระบบการค้าที่เป็นธรรม มันไม่ใช่ตลาดแฟร์เทรดที่อยู่ปลายทาง ระบบการค้าที่เป็นธรรม คือ
ทาให้คนทา เกษตรกรผู้ผลิต เข้าใจว่าการทาสินค้าของตัวเองต้องมีเหตุมีผล ไม่ใช่เรียกร้องราคาที่สูงเกินไป
เหตุผลที่สาคัญมันจะคิดจากฐานคือ ๑ ต้นทุนที่แท้จริงของตัวเองที่ตัวเองลงทุนไป ๒ ค่าแรงตัวเอง ที่ตัวเองดูแล
จัดการทั้งปี ควรคนจะบวกไปเท่าไหร่ ให้ตัวเองอยู่ได้อย่างมีความสุข คือ เป็นต้นทุนที่ถูกขโมยมา เป็นต้นทุนของ
ราคาสินค้า แล้วจะบวกรายได้เพิ่มให้เกษตรกรอีกเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสม เพื่อจะทาให้เกษตรกรมีกาลังใจที่จะ
(5)
ต่อสู้กับ โรคแมลง การดูแลแปรงให้คุณมีข้าว มีผัก มีผลผลิตกิน นี่คือราคา ๑๗.๕ มาจากตรงนี้ แล้วเราก็จะแจ้ง
ข้อมุลนี้ไปยังตลาดแฟร์เทรด ว่าต้นทุนเกษตรกรบวกค่าจัดการที่เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างมีความสุข และยั่งยืน
ราคาขนาดนี้นะ อย่างกลุ่มเกษตรอินทรีย์จะเป็นกลุ่มที่ต้องรวบรวมผลผลิตไปให้ทางกรีนเน็ท ทางกลุ่มก็จะต้อง
บวกค่าจัดการของกลุ่มไว้ด้วย สหกรณ์กรีนเน็ทก็ต้องมีการจัดการ สหกรณ์จะบวกค่าจัดการไปอีกเท่าไหร่ ถึงจะ
เป็นคนกลางในการรวบรวมผลผลิตไปให้ผู้บริโภคปลายทางได้กินข้าวอินทรีย์ ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เราก็แจ้งไป
ให้เขารู้ ผู้บริโภคก็จะรู้แล้วว่าราคาจะอยู่ขนาดนี้ อันนี้คือการจัดกลางในส่วนของคนกลาง พอไปถึงผู้บริโภคก็จะดู
ว่า ราคาขนาดนี้เขาโอเคมั้ย ถ้าเขาโอเค เขาจะมีส่วนที่เพิ่มส่วนต่างที่เรียกว่า พรีเมี่ยม บวกเข้ามาให้อีกเท่าไหร่
อาจจะ ๕๐ สตางค์ ซึ่งอันนี้เป็นหลักการของแฟร์เทรดที่ลูกค้าจะมีค่าพรีเมี่ยมที่จะบวกให้ เขาจะมีระบบคิดที่
ผู้บริโภคยอมรับได้ มีเวทีประชุมผู้บริโภคในระบบ อันนี้คือชุดความคิดในเรื่องระบบการค้าที่เป็นธรรม ซึ่งวันนี้
สินค้าของกลุ่มเกษตรอินทรีย์เมื่อไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยนี่แหละ แต่ระบบชุด
ความคิดเรื่องการค้าที่เป็นธรรมมาจากตรงนี้ แต่วันนี้คาว่าเป็นธรรมมันมากกว่า เป็นธรรมต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค
แต่มันต้องเป็นธรรมกับสิ่งแวดล้อมด้วยนี่คือราคาของสินค้าที่จะไปปถึงผู้บริโภคจะต้องทาให้ผู้บริโภคที่แตกต่าง
กัน สามารถจะเข้าถึงได้ ไม่ใช่บอกว่าเป็นสินค้าอินทรีย์แล้วต้องแพง มันไม่ใช่ มในต้องมีหลักคิดว่าต้นทุนเท่าไหร่
บวกค่าจัดการที่เป็นธรรมที่ผู้ผลิตจะอยู่ได้อย่างมีความสุข แล้วตั้งเป็นราคาประกัน ซึ่งตอนนี้ราคาประกันของ
สินค้าที่เป็นผักของกลุ่มจะอยู่ที่กิโลละ ๒๐ บาท ซึ่งมาจากหลักคิดของแฟร์เทรด คือต้นทุน บวกกับค่าจัดการ แล้ว
ผักราคาเฉลี่ยถูกที่สุด แพงที่สุดในตลาดเสรีที่ไม่เป็นธรรมก็เอามาเป็นฐานในการคานวณในตลาดที่เป็นธรรม
ราคาประกันของกลุ่มอยู่ที่ ๒๐ บาท เช่นถ้าช่วงที่ผักบางอย่างในตลาดราคาสูงมากๆ อาจจะ ๓๐ บาท แต่บางช่วง
ลงมาเหลือแค่ ๓ บาท แต่คุณก็ต้องซื้อผักของเราที่ราคาแพ็คละ ๑๐ บาท นี่คือชุดหลักคิดเรื่องระบบการค้าที่เป็น
ธรรม มันไม่เป็นปัญหาว่าผักถูกแล้วเราจะขาดทุน ผู้บริโภคก็ไม่ขาดทุนเพราะได้ทานผักที่ปลอดภัยในราคาที่เขา
รับได้คือ แพ็คละ ๑๐ บาทตลอดทั้งปี ไม่ว่าข้างนอกเขาจะราคาขึ้นลงเราก็ยืนอยู่ที่ราคานี้ เพราะเป็นราคาที่กลุ่ม
คิดต้นทุน บวกค่าจัดการและกาไรเอาไว้แล้ว ซึ่งเราก็ให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคด้วยว่านี่คือการเฉลี่ย เฉลี่ยทุกข์
เฉลี่ยสุข ระหว่างคนกิน ที่คนกินจะได้บริโภคอาหารที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นคนทาต้องอยู่
ได้ซึ่งราคาขนาดนี้เป็นราคาประกันที่เราตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้วเป็นการเฉลี่ยแล้ว เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข เป็นการ
รับผิดชอบร่วมกัน คนกินก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันกับผู้ผลิต นี่คือสิ่งสาคัญและเป็นการเริ่มต้นการทางานผู้บริโภค
กลุ่มเกษตรอินทรีย์เราทางานกับผู้บริโภค แต่ถ้าเป็นข้าวที่ออกต่างประเทศเราไม่ได้ทางานกับผู้บริโภคปลายทาง
โดยตรง เพราะเรามีกรีนเน็ทเป็นผู้ทาบทบาทแทน แต่การที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ของเราสร้างประสบการณ์และ
ความรู้เรื่องระบบการค้าที่เป็นธรรม เราทาตลาดของเราเองโดยตรง กลุ่มเอาผลผลิตของกลุ่ม ที่เป็นตัวอื่นที่เหลือ
กินแล้ว แล้วยังมีปัญหาเรื่องตลาดอยู่ คือผักทั้งหลาย ซึ่งได้มาจากโครงการนาร่องที่เหลือกินแล้ว ซึ่งมันไม่เยอะ
เราต้องปล่อยมันแก่ ผลประโยชน์ก็ไม่ได้ ไม่มีรายได้กลับมา เราก็มาคิดพอกลุ่มเกษตรอินทรีย์ทาเรื่องข้าวปุ๊บ เรา
ก็มาพัฒนา ว่า เราหวังพึ่งทางเดียว ในตลาดต่างประเทศ ไม่ได้ เราสร้างประสบการณ์แล้วก็ทาตลาดเองภายใน
พอดีช่วงนั้นมีกลุ่มคนในเมมือง ทางบริษัทสวนเงินมีมา เขาสนใจเพราะมีประสบการณ์ในเรื่องตลาดสีเขียวที่ญี่ปุ่น

(6)
สหรัฐอเมริกา และในยุโรปหลายแห่ง เขาบอกว่าเคยมีทาแล้วในประเทศไทยแต่มันไม่เวิร์ค ทาแล้วไปไม่ได้
เนื่องจากมันไม่เป็นความร่วมมือจากหลายๆ ส่วน อย่างเมื่อก่อนกลุ่มเล็กๆ อย่างสวสนแสงตะวัน ตรงหนองจอกที่
ทาตระกร้าผักส่งให้สมาชิก พอทาไปช่วงหนึ่งมันก็มีปัญหา เพราะผักในตัวมันเองไม่ใช่ว่าจะทาได้ทุกฤดูกาล แล้ว
ความหลากหลายของผักโดยกลุ่มเล็กๆ มันมีข้อจากัด ตลาดแบบนี้ก็เลยหยุดไป พอหยุดไปการทางานกับ
ผู้บริโภคที่จะให้เข้าใจ หรือเชื่อมโยงกับผู้ผลิตให้เกิดความร่วมมือกัน มันไม่เกิดกระบวนการทางานอย่างต่อเนื่อง
ของกลุ่มสวนเงินมีมาก็เลยสนใจ เลยมาเกาะเกี่ยวกับกลุ่มที่ทาเกษตรยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งผู้
ประกอบการายเดี่ยว อย่างเช่นอาจจะทานมอินทรีย์ หรือบางคนเขาเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์อยู่แล้วแต่ว่ากระจายกันอยู่
ไม่เกิดความร่วมมือ ก็ดึงเหล่านี้มาจับมือกัน พัฒนา ทาให้เกิดพื้นที่ๆ เราเอาผลผลิต ที่ผลิตในระบบอินทรีย์มา
จาหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นที่ๆ จะเกิดการสื่อสารร่วมกันระหว่างผู้ผลิต กับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเป็นการ
ทางานเชิงความคิด ทางานเชิงกระบวนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทามา ๒ ปีแล้วเป็นการร่วมมือกันหลายส่วน มีกลุ่มที่
สนใจทางานกับผู้บริโภคในเมือง แล้วก็ได้ขยายไปสู่การลดของเสีย เช่นการทาปุ๋ยน้าฯ เริ่มมีการขยายความคิดให้
คนในเมือง เพื่อส่งเสริมคนเมือง เช่นถ้าคนเมืองมีพื้นที่เล็กๆ น้อยๆ จะสามารถปลูกอะไรกินเองได้ ก็จะแตก
ออกไปเป็นเรื่องของการส่งเสริมคนเมือง ปลูกผักในกระถาง ปลูกผักบนชั้นดาดฟ้า แต่ในกลุ่มของพี่ก็เป็นกลุ่ม
เกษตรกร ที่เอาผลผลิตเข้ามาเป็นเครื่องมือในการสื่อการกับคนกินให้เข้าใจว่า เกษตรอินทรีย์คืออะไร เกษตร
อินทรีย์มีความสาคัญกับความมั่นคงทางอาหาร แล้วก็สุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี ของผู้กิน รวมทั้งสังคมไทย แล้ว
ก็สิ่งแวดล้อมที่ดียังไง ซึ่งตรงนี้เกษตรกรก็ได้ทาบทบาทเป็นคนขายด้วย ก็จะมีประสบการณ์ได้รับรู้ ได้สื่อสารกับ
ผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในฐานะของเกษตรกรของเขาให้ผู้บริโภคได้รู้ด้วย มันเป็น
ความสัมพันธ์ที่มากกว่าคนขาย กับคนซื้อ แต่เราเป็นเพื่อน เราเป็นหุ้นส่วนชีวิต ที่ต้องดูแลโลกใบนี้ด้วยกัน เขาจะ
มีอาหารสดๆ ที่ปลอดสารพิษ แล้วก็ดีต่อสุขภาพของเขากิน แล้วก็เป็นการกินที่ไม่ได้ใช้พลังงานสิ้นแปลือง แล้ว
ระบบการผลิตก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นสุขภาพที่ดีเกิดตั้งแต่เกษตรกรผู้ผลิต สิ่งแวดล้อมดีเกิดขึ้นตั้งแต่
ในแปรงของเกษตรกรแล้ว แล้วผักพวกนี้เดินทางไม่ไกล เป็นผักที่เป็นอาหารธรรมชาติ เป็นพันธุ์พืชท้องถิ่น ซึ่ง
เป็นพืชผักตามฤดูกาล การกินอาหารตามฤดูกาล เป็นการกินอาหารที่ถูกต้องและยั่งยืน ดีต่อสุขภาพ และทาให้
เกิดสมดุลทั้งตัวคนกิน ทั้งระบบการผลิต แล้วก็ระบบนิเวศน์ด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ

เกษตรกรวันนี้ที่เราทา มันใช่แค่เรื่องผัก แต่ผักมันมีนัยสาคัญในเรื่องของพันธุกรรม ซึ่งมีนัยสาคัญต่อเรื่อง


ความมั่นคงทางอาหาร อานาจอธิปไตยในการเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์ และอานาจการตัดสินใจในการปลูก ฉัน
อยากปปลูกอะไร มันไปลึกซึ้ง ในทุกมิติ ซึ่งเกษตรกรของเราจะเข้าใจในเรื่องนี้ เข้าใจว่าเราต้องอนุรักษ์พันธุ์
ท้องถิ่นเอาไว้ เรื่องสิทธิแกษตรกร ความเป็นเจ้าขององค์ความรู้ และภูมิปัญญาของตัวเอง ผักที่ไป ไม่ได้ขายแค่
ผัก แต่ขายภูมิปัญญาในการกินผัก แล้วเกษตรกรเองก็ต้องศึกษาด้วยว่า ผักที่ตัวเองกินอยู่ทุกวัน มันดียังไง
เพราะเขารู้อยู่ว่ามันดีต่อสุขภาพ แต่ในงานวิจัยล่ะ อย่างผักแต้วมีวิตามินซีเยอะมาก วิตามินซีมีประโยชน์ยังไง
สร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต้านหวัด มะรุมล่ะ มะรุมมันดีนะ มันลดการอักเสบได้ มันมีธาตุอาหารตัวนั้นตัวนี้
เกษตรกรเองก็ต้องศึกษาต้องสามารถสื่อสารได้ ขณะเดียวกันการทาตลาด การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค
(7)
ควรทายังไง ถ้าเจอลูกค้าที่บางคนอยากได้ของถูก ถูกมากๆ ๑๐ บาทนี่ถิอว่าถูกแล้วเกษตรกรรู้ดีว่ากว่าจะมาถึง
มือคนซื้อนี่มันไม่ใช่ง่ายๆ บางคนมาต่อ ๕ บาทก็แล้วกัน หน้าที่ของเราคือสร้างความเข้าใจ ยิ้ม อธิบาย ใจเย็น
เขาก็จะได้รู้เรื่องการทาตลาดที่เป็นกระบวนเดียวกับการทางานผู้บริโภคที่ไม่ใช่แค่การค้า การขาย การทากาไร
ดังนั้นวันนี้ เวลาที่เรามาที่บางคล้าก็เป็นภาระ หน้าที่รับผิดชอบที่เราอยากจะขยายผลว่า อยากให้เปิดตลาดแบบนี้
แต่ที่นี่ยังไม่ใช่ตลาดสีเขียวเพราะกลุ่มผู้ผลิตยังหลากหลาย ไม่ใช่ทุกรายที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ เราก็
รับผิดชอบต่อผู้บริโภค เราก็ใช้คาว่า “ตลาดเพื่อสุขภาพ” ถือว่าเราลดการใช้สารเคมีแล้ว แต่มีของกลุ่มเกษตร
อินทรีย์มาด้วย ก็บอกเลยว่าของเราผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีเลย เราก็นาเสนอผู้บริโภคไป สิ่ง
เหล่านี้คือชุดทั้งหมด ของเรื่องระบบการค้าที่เป็นธรรม ที่เราต้องรับผิดชอบทั้งต่อตัวเอง สิ่งแวดล้อม แล้วก็
ผู้บริโภคที่อยู่ปลายทางด้วย แล้วราคาที่กาหนดให้ผักแต่ละชนิดจะต้องมีเหตุมีผล เป็นธรรมอย่างแท้จริง ไม่ใช่
บอกว่าเป็นอินทรีย์ แล้วต้องแพง คนกินกินไม่ได้เลย หรือกินได้เฉพาะบางกลุ่มที่มีรายได้สูง ถามว่าคนจนต้องการ
มีสุขภาพดีไหม เขาก็มีสิทธิ์ เขาต้องเข้าถึงได้ด้วย ดังนั้นอะไรที่มันจะสิ้นเปลือง ที่มีผลต่อต้นทุน อย่างเรื่องการ
แพ็คกิ้ง เราจะตัดออกหมดเลย เราทาแบบง่ายๆ ประยุกต์ ผักก็เป็นกาไป ห่อใบตอง ในตลาดก็พยายามรรรงค์
เรื่องการใช้พลาสติก ถุงย่อยสลาย การรณรงค์นาถึงมาใช้ใหม่ ซึ่งในตลาดเราจะเห็นคนใช้ถุงผ้าหรือนาถุงพลาสติก
มาเอง ลูกค้าประจาบางคนเอาถุงพลาสติกมาให้ร้านด้วย นี่เป็นขบวนการในการพัฒนาร่วมกันเลย ซึ่ง ๒ ปีมานี้
เราเห็นเลยว่ามันได้ดีในระดับหนึ่ง ในเรื่องของการทางานกับผู้บริโภค แล้วกระแสตรงนี้ก็เริ่มเข้ามา สื่อก็จะมี
บทบาทสาคัญในการทาความเข้าใจ การสื่อสารไปยังผู้บริโภควงกว้างได้ด้วยการเผยแพร่ประสบการณ์เหล่านี้
บางทีทางเครือข่ายตลาดสีเขียวออกสื่อไปก็จะมีลูกค้าตื่นมา มาบริโภคตามกระแส ตามข้อมูลที่เขาได้รับ กลุ่ม
ลูกค้าของเราจึงเป็นกลุ่มที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องการเพิ่มพิษให้ตัวเอง แล้วที่สาคัญ
มันเกิดพื้นที่ที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ไม่ใช่เฉพาะคนปลูกกับคนกิน แต่คนกินด้ววยกันเขาก็ได้มาพบปะ
ได้แลกเปลี่ยนกัน อย่างลูกค้าใหม่บางคนเข้ามาเขามาถามว่าผักนี้กินยังไง เราแม่ค้าไม่ต้องอธิบายเลย ลูกค้าอีก
คนอธิบายเสร็จ แล้วไม่ใช่อธิบายอย่างที่เราบอกไป บางคนเขาเป็นลูกหลานคนชนบท เขาจะมีภูมิความรู้นี้อยู่แล้ว
เขาจะแบ่งปันตรงนี้ให้กันได้เป็นการแบ่งปันที่ดีมาก แล้วก็เป็นการสร้างระบบความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น
ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภค ทาให้เขาเข้าใจว่า เราเป็นหุ้นส่วนชีวิตร่วมกัน ไม่ใช่แค่คนขายกับ คนซื้อ
มันจะมีความสนใจมากกว่านั้น บางทีก็ถาม “อ้าววันนี้พี่คนนั้นไม่มาเหรอ” “ป่วยเหรอ” “ทาไมช่วงนี้ผักตัวนั้นไม่มี”
ซึ่งเกษตรกรก็จะสามารถอธิบาย ช่วงนี้ผลกระทบจากโลกร้อนทาให้ผักตัวนี้มันไม่ออก ปลูกยากมาก ผักเสียหาย
แมลงมากกว่าปกติ ผู้บริโภคก็จะเข้าใจว่าไอโรคร้อนมันมีผลกระทบกับเขานะ ถึงที่สุดเขาก็เลือกเอา สิ่งเหล่านี้มัน
เป็นกระบวนการการเปรียนรู้ร่วมกัน แล้วทุกกล่ามก็จะมีกลไกของตัวเอง มีกลุ่มออมทรัพย์ของเขาเอง พื้นที่การให้
ข้อมูล ความรู้เรื่องการทาเกษตรอินทรีย์ก็ขยายแต่ละกลุ่มลงไปสู่สมาชิก อย่างเรื่องดครงการลุ่มน้าพอเพียงที่บ้าน
ยางแดง มีคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่เข้าร่วมระบบการผลิตนี้ ระบบที่ได้รับรองมาตรฐาน แต่ยังมีสมาชิกอีกมากมายที่
ไม่สามารถเข้าร่วมระบบการผลิตแบบอินทรีย์ ๑๐๐ ได้ แต่เราก็รู้อยู่ว่าปลอดภัย แต่เวลาเข้าร่วมเขาต้องเข้ามา
จริงๆ ต้องเข้าโรงเรียนเกษตรกร เข้าประชุม ซึ่งเขาอาจจะไม่สามารถ ดังนั้นโครงการลุ่มน้าพอเพียง กลุ่มที่เหลือ

(8)
ที่เขาส่งเสริมเรื่องการปลูกผักสวนครัวรอบๆ บ้าน เพื่อให้มีอาหารที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพกิน เมื่อเหลือกินก็จะ
เป็นรายได้เสริม เป็นค่าน้า ค่าไฟ ค่าขนมลูก ภายใต้โครงการลุ่มน้าพอเพียงกลุ่มก็มีแผนในเรื่องนี้ซึ่งเป็นแผนเดิม
อยู่แล้ว อย่าง ๕๐ ครอบครัว ทุกครอบครัวต้องมีแปรงผัก แล้วแต่ละแปรงจะต้องมีผักไม่ต่ากว่า ๑๐ ชนิด อันนี้เป็น
ข้อตกลง ส่วนที่เหลือก็มาเชื่อมโยงกับทางบางคล้า เราจะมาพัฒนาตลาดร่วมกับทางบางคล้า ส่วนนี้ก็จะเป็น
ช่องทางสาหรับครอบครัวที่ไม่ขอรับรองมาตรฐานอินทรีย์ คือเข้ามาสู่ตลาดเพื่อสุขภาพ นอกเหนือจากตลาดที่
โรงพยาบาล ที่เราไปขายให้ทุกวันจันทร์ ซึ่งก็ถือว่าเรามาเป็นทีม เป็นเพื่อนในการเปิดพื้นที่บางคล้า ให้มี
แนวความคิดแบบนี้ ทาให้คนบางคล้าเริ่มเข้าใจ และก็เห็นความสาคัญของการกินอาหารเพื่อสุขภาพ แล้วต้องรู้ว่า
ผลิตแล้วมันไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม ดีต่อทั้งคนผลิต แล้วก็คนกิน ที่สาคัญคืออยู่ใกล้บ้านเดินทางไม่ไกล ไม่ทาให้
โลกร้อนเพิ่มขึ้น ไม่สิ่นเปลืองพลังงาน เป็นผักตามฤดูกาลที่ดีต่อสุขภาพ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราอยากจะช่วยกัน ซึ่ง
ตรงนี้มันเห็นว่าตั้งแต่ระดับชาติ ภาค เครือข่าย ระดับกลุ่ม แล้วก็ครอบครัวล้วนมีจุดหมายเดียวกัน คือพึ่งตนเอง
เรื่องอาหาร พึ่งตนเองเรื่องการเงิน ดูแลสวัสดิการ แล้วก็มีกลุ่มตัวเองที่จะมีพื้นที่ในการให้ข้อมูล เพื่อสร้างความ
พร้อมในการรับมือกับวิกฤตต่างๆ ประเด็นเรื่องโลกร้อน ประเด็นเรื่องนโยบายเกษตรของรัฐบาล เช่นเรื่องการค้า
เสรี ไปทาสัญญาแล้วเกิดผลอย่างไรต่อพี่น้องเรา สิ่งเรานี้เราก็ทางานทั้งชุด ขบวนการในการทางานเชิงความคิด
ให้พี่น้องเรา ของกลุ่มในพื้นที่แล้วก็ในระดับเครือข่าย เครือข่ายก็จะรวมกับเครือข่ายในระดับภาค และชาติ ไป
ขับเคลื่อน ประเด็นเรื่อง FTA เราจะเสนอข้อคิดเห็นจากด้านเกษตรกรยังไง ถ้าถามว่าทันไหม ต้องบอกว่าการ
เปลี่ยนแปลงมันใหญ่ เราเป็นกลุ่มเล็กๆ มันก็คงไปเปลี่ยนแปลงตรงนั้นไม่ได้ แต่เกษตรกรที่ได้ข้อมูล และ
เตรียมพร้อมก็จะสามารถยืนหยัดพึ่งตนเองได้ แต่คนกินที่ไม่ได้ข้อมูล เห็นแต่ว่าถูก กินผักถูกจากจีนที่อาบยามา
ซึ่งยาบางตัวประเทศไทยออกกฎหมายห้ามใช้แล้วแต่ทางจีนยังเสรี นี่คือเรื่องที่บริโภคต้องได้รับข้อมูลข่าวสาร
และต้องตัดสินใจเลือก หรืออย่างวันนี้บางคนทานผลิตภัณท์จากถั่วเหลือง อย่างน้าเต้าฮู้ ก็เป็นถั่วเหลืองจากการ
ตัดต่อพันธุกรรม แต่ผู้บริโภคยังไม่ถูกคุ้มครอง สคบ.ไม่ได้ทาบทบาทเหล่านี้ แต่ในส่วนของเราเครือข่ายเกษตรที่
ทาหน้าที่ตรงนี้ในบทบาทที่ต้องการให้ผู้บริโภคเปลี่ยนการกิน เพราะการเปลี่ยนการกินก็คือการเปลี่ยนแปลงโลก
เราก็ทาได้แค่ตรงนี้ เกษตรกรเลี้ยงตัวเองได้ เกษตรกรไม่สูญเสียที่ดิน มีเมล็ดพันธุ์ ผลิตอาหารกินเลี้ยงตัวเองได้
เหลือกินแล้วก็ขายไปให้คนที่ไม่สามารถผลิตอาหารเองได้กิน กระแสแถบนี้ที่มันเปลี่ยนแปลงไปจากการปลูกยูคา
ลิปตัส หรือต้นกระดาษที่มันมาแทนมันสาปะหลัง หรือพื้นที่นาที่แต่เดิมปลูกแต่ข้าวก็เปลี่ยนมาเป็นมัน ตอนกระแส
มันมา หรือเปลี่ยนเป็นปาล์มน้ามัน แล้วก็ยางพารา พื้นที่อาหารมันลดลง ดังนั้นสิ่งที่เรากาลังต่อสู้กันภายใต้เรื่อง
เกษตรยั่งยืน เกษตรกรรมทางเลือก แล้วก็เกษตรอินทรีย์ เรากาลังจะบอกว่าพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารเป็นสิ่ง
สาคัญ พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชอาหารต้องปลูกอาหาร แล้วเกษตรกรรายย่อยต้องมีความมั่นคงเรื่องอาหาร
เพราะถ้าเกษตรกรรายย่อยไม่มีความมั่นคงด้านอาหารก็จบแล้ว ไปไม่รอดแล้ว จะมีการสูญเสียที่ดินกันขนานใหญ่
แล้วก็จะไม่สามารถกลับมาเป็นเกษตรกรได้อีก เราต้องต่อสู้ถึงที่สุด ถึงสิทธิการเป็นเกษตรกรเลย เรื่องการเป็น
เจ้าของทรัพยากร เรื่องพันธุกรรม เรื่องที่ดิน เรื่องน้า ทั้งชุด ดังนั้นจริงๆ เรื่องความมั่นคงทางอาหารมันคือเรื่อง
การเมืองภาคพลเมือง เป็นเรื่องของการที่เราจะรับรู้ถึงสิทธิของตัวเอง ปกป้องสิทธิ์ตัวเองได้ คุ้มครองสิทธิ์ของ

(9)
ตัวเองได้ แล้วก็มีส่วนร่วมในการกาหนดทิศทางในการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ของตัวเอง
ไม่ใช่เพิกเฉย เพราะฉะนั้นคุยได้ทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องการเมือง การหาอยู่หากิน สุข ทุกข์

ตอนช่วงพันธมิตรยุคแรกถามว่าเครือข่ายเกษตรไปไหม เขาลงทุนเองเลยมีแกนนาไป เหมารถตู้ไปไปร่วม


เวทีพันธมิตร แต่ถามว่าพอวันนึงที่ประเด็นการต่อสู้มันไม่ใช่ พี่น้องวิเคราะห์เป็นค่ะ หลายเรื่องมันไม่ใช่ บางเรื่อง
เห็นด้วย แต่หลายเรื่องไม่เห็นด้วย เขาก็ไม่สนับสนุน แต่ก็ไม่ขัดขวางคุณ ไม่ขัดแย้งคุณ คุณก็ใช้สิทธิ์ของคุณได้
เต็มที่

เขาจะมีชุดความคิดของเขา อย่างกรณีปัญหาเรื่องโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อน เครือข่ายเกษตรก็เคลื่อน ต้อง


เคลื่อนเพราะว่าถ้าโรงไฟฟ้ามันเกิดผลกระทบมลพิษมันทาลายพืชผลทางการเกษตร ทาลายฐานอาหาร ทาลาย
สุขภาพ คุณภาพชีวิตมันไปหมดเลย ความสุขที่มีอยู่มันถูกทาลายเลย เขาก็เคลื่อน

การที่เราเกาะเกี่ยวทุกข่ายเราก็จะได้รับข่าวสารที่รวดเร็ว จากทุกส่วนในทุกเรื่อง นี่คือขบวนที่มันต้อง


เชื่อมทั้งภายในและภายนอก แล้วที่สาคัญตัวแกนนาต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การตระหนักถึงสิทธิขิงตัวเอง เข้าใจ
ปัญหาของตัวเอง แล้วก็ต้องเข้าใจปัญหาของคนอื่น เคารพถึงสิทธิ์ของคนอื่นด้วย มันเกิดเอง สิ่งที่ทามันเกิดสิ่ง
เหล่านี้ มันเป็นผลที่เกิดขึ้น โดยที่เราคาดหมายนะ เรารู้อยู่แล้ว แต่ต้องทางานเหล่านี้เพื่อให้เขาทะลุ ไปถึงเรื่อง
ของสิทธิ เรื่องของอานาจการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในทุกๆ เรื่อง ถ้าทางานพัฒนาเพื่อกิจกรรม หรือเพื่อทางานก็
จบ บางทีการประชุมเครือข่าย ก็มีเฉพาะผู้นามาคุยไม่กี่คน กลัไปบ้านไม่มีเวที ไม่มีพื้นที่รูปธรรม คุณคุยกี่ครั้งคุณ
ก็จะคุยเรื่องเดิม หมดเงินก็หมดงาน แต่อขงพี่น้องเราหลังจากขอโครงการนาร่องเมื่อปี ๔๖ หลังจากนั้นเครือข่าย
เกษตรกรรมของเราก็ไม่เคยของบประมาณจากใคร ใช้เงินที่เราส่งเสริมลงไป ไปเป็นทุนหมุนเวียนแล้วเอาดอกผล
กลับมาทางานกัน ไม่มีค่าตอบแทน มีแต่ค่าอาหารกลางวันกิน ไม่มีค่าน้ามันรถ ตั้งแต่ปี ๔๗ จนปีนี้ปี ๕๓ ทุกคน
ยังประชุมกันทุกเดือน ยังทางานกันสม่าเสมอ แล้วก็จิตอาสา ให้ความสาคัญเรื่องจิตอาสา เพราะรู้ว่าสิ่งที่ทามัน
แก้ปัญหาของตัวเองด้วย ไม่ได้ทาให้คนอื่น

จากตลาดสีเขียวที่รีเจนเฮาส์ ตอนนี้เราก็ขยายไปที่ มสธ. จะเริ่ม ๒๔ ก.ค. จะพัฒนาไปนอกจะที่จะเป็น


ตลาดนัด วันพุธ โดยจัด พุธเว้นพุธ เดือนนึงก็จะมี ๒ ครั้ง เราจะจัดเป็นระบบสมาชิกผัก ตั้งเป้าหมายไว้ ๓๐ คน
จะรับจัดเป็นตระกร้าผักตั้งแต่ ๓ กิโล ๗ กิโล แล้วเราก็เริ่มพัฒนาการจัดผักเป็นเซ็ต เซ็ตเมนูอาหาร เช่นแกงจืด
ผัดผัก แกงป่า แกงส้ม แกงเขียวหวาน ต้มยา ยา จัดเป็นเซ็ตผักได้เลย โดยเราจะเอารายการผักของเรา ๑๐๐ กว่า
รายการให้ลูกค้าเลือก แล้วให้ข้อมูลว่าผักแต่ละรายการมีคุณค่าอย่างไร ผักบางตัวบางฤดูกาลผลิตไม่ได้ สิ่งนี้
ผู้บริโภคต้องเรียนรู้

เราจะมีน้องที่อยู่ที่กรุงเทพ ชื่อต้อย เขาจะคอยประสานงานกับฝ่ายปฏิบัติการตลาดเป็นไง พี่นันก็จะ


ส่งเสริมอยู่ในพื้นที่ในแปรง เราก็การศึกษา มีการวางแผนการผลิต มีการประชุม มีการสื่อสารแล้วก็วางแผน
ร่วมกัน ตลาด ฝ่ายส่งเสริม แล้วก็สมาชิกกลุ่มต้องเป็นทีมเวิร์ค ทางานร่วมกัน ทุกส่วนมีผลในการสนับสนุนกันและ

(10)
กัน ถ้าคนทาตลาดทาตลาดไป สมาชิกไม่ได้ผลิตผักตามแผน ก็มีผลกระทบกับตลาด เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องที่
ต้องรับผิดชอบร่วมกัน การขยายตลาดแต่ละจุดก็จะมีการปรึกษาหารือกัน เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสาคัญ
เหมือนกับเราเตรียมขยับที่จะรองรับ วันนี้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ของเราก็พรร้อมที่จะขยายประสบการณ์ แล้วก็เปิด
พื้นที่ให้เพื่อน แต่ว่าตลาดอย่างเครือข่ายตลาดสีเขียวที่รีเจนท์ หรือที่ มสธ. เพื่อนเราที่จะเข้ามาร่วมกับเราต้องขอ
รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แล้วกลุ่มก็สามารถทาบทบาทในการรับรองคุณได้ ไปจัดระบบกลุ่มให้คุณได้ ทาให้
คุณมีเวทีได้ ถ่ายทอดความรู้ได้ บริหารจัดการได้ แล้วก็เชื่อมโยงผลผลิตเข้าด้วยกัน วันนี้ตลาดข้าวกว้างมากเลย
นะ แต่พื้นที่สนามชัยตั้งแต่มีปัญหาเรื่องโลกร้อนมา ปลูกอะไรก็ยากขึ้น ปราจีนปลูกเหลืองปะทิวได้ปีนึง ๔๐ ตัน
ข้าวสาร ทุกที่ผลิตไม่ได้นะ ปีที่แล้วเราส่งไปได้แค่ ๘ ตันเอง จากที่เคยส่ง ๒๐ กว่าตัน ข้าวเปลือก เพราะอะไร
เพราะพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกเหลืองปะทิวมันลดลง มันไม่มีน้าขังนานแบบนั้นแล้ว เหลืองปะทิวเป็นข้าวหนัก
ต้องเป็นนาลุ่มจริงๆ ข้าวที่ปลูกได้ตอนนี้จะเป็นข้าวเบา ข้าวมะลิแดง แล้วตอนหลังก็ขยายไปเป็น หอมนิล แล้วก็
ข้าวพื้นเมือง ขวัญชัยก็เอามาแปรรูปเป็นขนมจีนอินทรีย์ ทุกตัว เราจะดูข้าวที่ชาวบ้านกินทุกตัว จับกลับไปหมด
เลย ตอนนี้กาลังรวบรวมพันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน ท้องถิ่นปลูกเก็บพันธุ์เอาไว้ เตรียมพร้อมที่จะขยายพันธุ์เพื่อที่จะ
ปรับตัวกับภาวะโลกร้อน เพราะสายพันธุ์มันจะได้รับผลกระทบ ถ้าเราไม่เตรียมความพร้อมเรื่องสายพันธุ์ไว้ เมื่อ
วันที่ได้รรับผลกระทบเราก็จะรับมือหับมันไม่ได้

ทุกวันนี้เรื่องโลกร้อนเป็นประเด็นที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์กาลังตั้งเป็นโจทย์ ในการที่จะสร้างองค์ความรู้ใน
การที่จะเตรียมรับมือให้ได้ ประเด็นเรื่องเมล็ดพันธุ์เป็ประเด็นที่พี่น้องเราตื่นตัวแล้ว ประเด็นเรื่องการฟื้นฟูระบบ
นิเวศน์ ที่จะช่วยในเรื่องการดูดซับคาร์บอน เป็นเรื่งที่ต้องทาอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง เรื่องความมั่นคงทางอาหาร
ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ทุกคนต้องมีอาหารกินพอเพียง ทุกสิ่งที่ออกไปคือสิ่งที่เหลือกินแล้วจากครอบครัว เราจึงเป็น
ผู้สร้างความมั่นคงทางอาหารให้สังคมด้วย

เรื่องนี้ถ้าสนใจทางกลุ่มยินดีที่จะไปให้ความรู้ แล้วก็มาเป็นเครือข่ายกัน เรื่องข้าวเราลงไปส่งเสริมให้


ความรู้กับเกษตรกรได้ หาผู้รู้มาช่วยด้วย ถ้าทีมเราไม่สามารถทาได้อย่างต่อเนื่อง มันเป็นเรื่องดีที่พื้นที่เกษตร
อินทรีย์จะขยากว้างออกไปรวมทั้งตลาดสีเขียวด้วย เราอยากให้เกษตรอินทรีย์เป็นแนวนโยบายการส่งเสริมด้าน
การเกษตรของรัฐบาล เพราะพื้นที่เกษตรอินทรีย์มันแคบลงทุกทีแล้ว ที่ดินมันถูกผูกขาดโดยทุน แล้วเกาตรกรราย
ย่อยก็แข่งขันไม่ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนมาเป็นเกษตรอินทรีย์เพราะเห็นแค่ว่าราคามันจูงใจ ต่อไปมันก็จะไปไม่รอด
คนที่จะเปลี่ยนมาทาเรื่องเกษตรอินทรีย์ มันต้องเปลี่ยนเรื่องวิถีชีวิต มันเป็นเรื่องความยั่งยืนของครอบครัวและ
ชุมชน ในเรื่องของอาหารเลย ไม่ใช่แค่เรื่องราคา เพราะถ้าคุณติดแค่เรื่องราคาเกิดต่อไปข้าวที่ว่าราคาแพงๆ
เกวียนละ ๑๗,๐๐๐ ราคามันอาจจะลดลง ถ้าพื้นที่เกษตรอินทรีย์มันขยายไปทั่วประเทศ ราคาข้าวอินทรีย์อาจจะ
ลงมาเหลือแค่เกวียนละ ๑๐,๐๐๐ ถึงวันนั้นก็อยู่ได้แล้ว เพราะต้นทุนคุณต่าสุดๆ แล้ว ดินคุณมีคุณภาพแล้ว โยน
อะไรไปก็ขึ้น อาหารคุณมีกิน เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ว่าโอ้ยราคาลงมาแค่เกวียนละ ๑๕,๐๐๐ โอ้ย ฉันไม่ทาแล้ว ก็
หมดกัน เรื่องนี้มันต้องคุย

(11)
ตอนนี้พวกพี่ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ก็ได้ให้ความรู้ไปในกลุ่มเยาวชนแล้ว เป็นครูภูมิปัญญาแล้ว สอนเด็ก
เรื่องเกษตรอินทรีย์ที่โรงเรียนสนามชัย เรามีการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ เรื่องดิน เรื่องระบบนิเวศน์ ความ
หลากหลายซึ่งเป็นการปูความรู้สู่การทาเกษตรอินทรีย์จริงๆ โดยเราไปท้าทาย ผอ.ไว้ เปลี่ยนหลักสูตรเกษตรของ
โรงเรียนสิ เป็นเกษตรอินทรีย์เลย เราจะมาสอนให้ตั้งแต่การปลูก การดูแลผัก เก็บผัก พาไปดูของจริง รับรอง
ผลผลิตให้ด้วยว่าเป็นอินทรีย์ เรียกว่าเรียนรู้เรื่องระบบการผลิตแบบอินทรีย์ตั้งแต่เริ่มต้น แล้วก็เรื่องพันธุ์พืช
ท้องถิ่น อาหารครอบครัว ใช้พืชผักเหล่านี้เป็นอาหารเหลือกินค่อยเอามาขาย

ตรงนี้มันต้องเปลี่ยนอย่างแท้จริง เปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิถีชีวิต ไม่ใช่แค่เปลี่ยนเพราะราคาจูงใจ ถ้า


อย่างนั้นมันไม่ผ่าน อย่างตอนกลุ่มเราทีแรก ๔๐ กว่าคน พอทาไปๆ ต้องมีการเข้าร่วม มีโรงเรียนเกษตรกร ก็ชัก
ถอย ดังนั้นเรื่องของราคาที่เหมืองเป็นราคาประกันที่จูงใจ มันไม่ได้ผล จากประสบการณ์ที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ทา
แล้วก็ส่งเสริมไป ชุดความคิดที่จะทะลุไปสาคัญ ไม่ใช่เปลี่ยนเทคนิค แต่เขาต้องเข้าใจว่าเกษตรอินทรีย์มันดีต่อดิน
ดีต่อไร่นา ดีต่อสุขภาพตัวเองอย่างไร แล้วผลผลิตที่ออกมาก็ดีต่อผู้บริโภคด้วย สิ่งที่ตัวเองทา คือสิ่งที่ตัวเองกิน
กินเหลือแล้วถึงเอามาขาย แล้วเกษตรอินทรีย์ยิ่งทา ต้นทุนยิ่งต่าลงแต่ผลผลิตยิ่งเพิ่มขึ้น ชีวิตมันจะมีความสุข มี
ความมั่นคง มีความสมบูรณ์ แล้วมีเพื่อน เพราะทุกคนที่ทาอย่างนี้ด้วยกันก็จะคุยกัน จะแบ่งปันประสบการณ์กัน
เติมกาลังใจให้กัน แล้วยิ่งเรียนรู้ไปถึงตลาด เป็นผู้ผลิตเอง ขายเอง ทะลุเลลยค่ะ เข้าใจเลย เราไม่ต้องพูดแล้ว พอ
กลับมาเขาทาอย่างเดียว จากสามาชิกกลุ่มที่ตอนแรกทาข้าวอย่างเดียว ตอนหลังฐานผักหลากหลายมาก แล้วก็
กลับไปสู่การอนุรักษ์พันธุ์ พันธุ์พืชพื้นบ้านมีอะไร ช่วงไหนมีอะไร อันไหนกินดี กินยังไง ถ่ายทอดเป็น มันจะมา
จากกระบวนการทางาน แล้วก็การสั่งสมความรู้ ความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นของชาวบ้าน

ยกตัวอย่าง เรามีสมาชิกตอนนี้ พอเราเริ่มขยายตลาดผลผลิตอินทรีย์ออกไปมากขึ้น แล้วตลาดมันกว้าง


มากจริงๆ วันนี้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ไม่สามารถส่งผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้อย่างเต็มที่ ตลาดรีเจนท์ในกรุงเทพฯ ตลาด
โรงพยาบาลสนามชัย อันนี้เป็นตลาดเล็กๆ แต่เราต้องทา เพราะเราต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคในพื้นที่ จากรีเจนท์
ก็ขายไปสู่โรงเรียนปัญโญไทย ที่เขาทาอาหารกลางวันให้เด็ก แล้วเขาก็สั่งผลผลิตอินทรีย์ไปปรุงอาหาร ซึ่งเราต้อง
แบ่งจากตลาดรีเจนท์มา เพราะผลผลิตเราไม่พอ พอลูกค้ามากขึ้น แต่อากาศแปรปรวนแบบนี้ผลผลิตมันไม่
สามารถบอกได้ว่ามันจะได้มากเท่าเดิม มันจะน้อยลงเป็นช่วงๆ แล้วตอนนี้ก็กาลังจะเปิดตลาดที่มสธ. ที่เป็นชุดผัก
อีก ๓๐ ชุด ทางกลุ่มก็คุยกันว่าเราจะขยายฐานการผลิตยังไง ซึ่งเราก็ส่งเสริมกันทุกเดือนเลย เพื่อให้สมาชิกเข้าสู่
ระบบมาตรฐานอินทรีย์ เพราะทุกคนมีอยู่แล้วไง ก็เอาที่เหลือกินมารวมๆ แล้วส่งเข้าไปให้ผู้บริโภคที่เขาไม่
สามารถผลิตเองได้กิน แล้วล่าสุดคุยกับทางไร่ปลูกรัก คุณกานต์ ซึ่งเขาเป็นเอกชนผู้ผลิตที่เขาปลูกผักอินทรีย์ใน
พื้นที่ ๖๐ ไร่ส่งเข้าไปในตลาด โมเดิร์นเทรด ปรากฎว่าผักเขาไม่พอ แล้วเขาก็รู้ว่ากลุ่มเราอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แล้วก็
ผลิตผักอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานให้ตลาดรีเจนท์อยู่แล้ว เขาก็อยากให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่วมผลิตผัก ส่งเข้าสู่
ตลาดโมเดิร์นเทรด วันนี้ตลาดโมเดิร์นเทรดเรายังไปไม่ถึงเลย เขารับผักสัปดาห์หนึ่งไม่ต่ากว่า ๕๐๐ กิโลนะ วันนี้
ผักเรายังต้องเฉลี่ยกันเลย ล่าสุดเราก้ประชุมวางแผนกันอย่างเข้มข้น เมื่อวันที่ ๑๖ เราจะทายังไงเพื่อให้ได้ตาม

(12)
เป้าเพื่อที่จะขยายไปสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด แล้วราคาประกันสูงมาก สมาชิกเห็นราคาประกันผักแล้วเสียดาย แต่
กาลังผลิตมันเต็มแล้ว ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ ก็อยากให้เพื่อนขยาย เพื่อให้เพื่อนได้เข้าถึงราคาประกันที่ดี ดังนั้น
ตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์มันก็ทาให้ครอบครัวมีรายได้ มีสุขภาพที่ดี มีอาหารกินอย่างครอบคลุมตลอดปีตาม
พืชผลที่ตัวเองทาในครอบครัว ดังนั้นเรื่องความมั่นคงทางอาหารผ่าน เรื่องรายได้ผ่าน เรื่องสุขภาพผ่าน เพื่อนก็ได้
แล้วยังได้ความรู้ ได้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ตระหนักถึงความสาคัญของพันธุ์พื้ชที่ตัวเองมีอยู่ว่ามัน
คุณค่าและมีความสาคัญ สิ่งเหล่านี้มันจะเกิดมาจากกระบวนการทางานเลย เรายินดีที่จะมีเพื่อนเพิ่มเลยนะ เพราะ
เราเปิดตลาดเอาไว้ให้ พื้นที่ที่มีอยู่แต่ยังไม่มีผลผลิตไปตลอบสนองเขา ถ้าคุณมีความรู้แวก็ผลิตตามมาตรฐานและ
ขอรับรองมาตรฐาน คุณก็เข้าไปในตลาดได้เลย เรายินดีเลย เรายินดี แล้วก้สนับสนุนให้เข้าด้วย เพราะยิ่งทาให้
ตลาดเขียวมันขยายตัวกว้างขึ้นนั่นคือการขยายโอกาสการสื่อแนวคิด เปลี่ยนแปลงผู้บริโภคมันจะกว้างขวางยิ่งขึ้น
ไม่ใช่รณรงค์เพื่อให้คนทุกคนตื่นตัว แต่ไม่รู้จะไปซื้อที่ไหน จะไปซื้อในห้างก็แพง อย่างผักบุ้งที่เราประกันซื้อจาก
สมาชิก ที่จะไปตลาดรีเจนท์เดิมเราซื้อที่ กิโลละ ๒๐ ตอนนี้ปรับเป็น ๒๕ แต่ของที่ไร่ปลูกรักให้อยู่ที่กิโลละ ๔๐
เรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องของตลาดอย่างเดียว แต่มันต้องเริ่มตั้งแต่ตัวคนทา มันต้องตกผลึกทางความคิดเลย มันต้องมี
กระบวนการการทางานที่เข้มข้น ต้องมีระบบของกลุ่มที่ลงไปดูแลติดตาม เพราะกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนับสนุน
ตั้งแต่เรื่องความรู้ ทุน เมล็ดพันธุ์ ปัจจัยการผลิตทุกตัว กลุ่มเอื้อ จัดการให้เบ็ดเสร็จเลย ดังนั้นสมาชิกอยู่ในกลุ่มนี่
มีความสุขมาก สมาชิกอยู่ในกลุ่มนี่มีหลักประกันในทุกเรื่องเลย มีปัญหาตรงไหนปรึกษากลุ่ม เราจะหารือกัน
ช่วยกันแก้ไขปัญหา ปัญหาจัดการได้ ไม่มมีคนไหนเลยที่ถูกทอดทิ้ง ที่ตกหล่นในระหว่างกระบวนการการพัฒนา
ไปด้วยกัน สู่การเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ และระบบการค้าเสรีที่เป็นธรรม แล้วทุกคนจะเห็นความสาคัญของเพื่อน
ทุกคน เพราะหายไปคนหนึ่งคือกาลังกายผลิตลดลงไป ต้องขยายอย่างเดียว คนทาต้องทาอยู่ หาเพื่อนเพิ่ม ขยาย
ไปให้เพื่อนเข้าถึงงอย่างที่เขาเข้าถึง เขามีความสุขแล้ว เขารู้แล้วว่าระบบการค้าที่เป็นธรรม และระบบการผลิต
แบบอินทรีย์มันยั่งยืน แล้วก็มั่นคง คนอื่นๆ ที่ยังไม่มีโอกาสอยากให้มีโอกาส

อย่างที่เล่าไปมีครอบครัวหนึ่ง เฉพาะข้าวปีที่ผ่านมาเขาได้แสนกว่า ประมาณ แสนเจ็ดขายข้าวอย่างเดียว


จากเดิมไม่ค่อยปลูกผักหรอกเพราะว่าแรงงานไม่พอ ทาเล็กๆ น้อย พอตอนหลังเริ่มมีตลาดทุกสัปดาห์ จากรีเจนท์
ที่เดียวนะ ก็เริ่มวางแผนการผลิตผักอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย รายได้เขาจะมีทุกอาทิตย์ แล้วเขาจะทาขนมด้วย
ภูมิปัญญา เป็นข้าวต้มมัดใบกระพ้อ สามีปลูกผักด้วย สัปดาห์นึงเขามีรายได้เหยียบพัน พอแผนออกมาว่าจะ
เตรียมเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด เขาก็โทรเรียกลูกชายกลับบ้านเลย มาทาเกษตรเลยดีกว่า พึ่งเองได้ มีศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ มีความสุข มันจะเข้าใจแล้วปฏิบัติเองเลย แต่มันคงไม่ใช่ทุกคน คงไม่สามารถ แต่อย่างน้อยก็มี
คนสืบสานอุดมการณ์ชาวนา อุดมการณ์เกษตรกรรมยั่งยืน เพราะถ้าสังคมไทยของเราไม่มีตรงนี้จบนะ ความ
มั่นคงทางอาหารของเราจบทันที เพราะอาหารจะไปอยู่ในมือบริษัทเอกชน ประเด็นไข่ ประเด็กหมู อาหารสัตว์
หลายตัว อยู่ในมือพวกบริษัทเอกชนหมดแล้ว แล้วต่อไปมันจะลุกคืบไปทุกตัว ถ้าเราไม่สู้เรื่องนี้ก็จบ พวกเราจะ
เป็นเหยื่อ เพราะพวกเราต้องยอม แพงแค่ไหนก็ต้องกิน สิ่งที่เราทาเกษตรกรรายย่อยยังผลิตอาหารอยู่ก็จะเป็น
การสร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนทั่วไปได้เข้าถึงอาหารที่ราคาไม่แพง ไม่ใช่ถูกผูกขาดโดยบริษัท แล้วพี่น้อง
(13)
เราที่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ดิน ก็ต้องกลายไปเป็นลูกจ้างบริษัท ผลิตให้เขา แล้วบริษัทก็เอามาขายให้คน
บริโภค อย่างนี้สังคมนี้มันไม่น่าอยู่แล้ว ไม่ใช่สังคมที่เราต้องการ

ทาไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย คนทาต้องเชื่อมั่น แล้วคนทาก็ต้องมีการสร้างความรู้ตลอดเวลา อย่างเช่นปลูกผักใน


ระบบอินทรีย์ สมาชิกก็จะบอกว่าปลูกผักมีปัญหาอย่างมาก ทุกตัวที่เราส่งเสริมชาวบ้านเราจะปลูกด้วย เราจะเป็น
เหมือนแปลงวิจัยที่จะส่งเสริมความรู้ เพื่อเรียนรู้ว่าการปลูกผักอินทรีย์แต่ละตัวมันจะประสบความสาเร็จได้มัน
ต้องการอะไร ตรงนี้เราก็จะแลกเปลี่ยนคุยกันได้ ถ้าไม่มีก็ได้แต่ไปนั่งฟัง ช่วยคิดวิเคราะห์ไม่ได้สาเหตุมันอยู่
ตรงไหน จะแก้ปัญหายังไง เตรียมความพร้อมยังไง วันนี้ถ้าดินมันดีแล้ว น้าพอเพียง คุณผลิตผัก ข้าว หรือผลไม้
ในระบบอินทรีย์ได้สาเร็จแน่นอน เพราะดินถ้ามันไม่สมบูรณ์คุณต้องปรับปรุงมัน การปรับปรุงคุณต้องมีความ
พร้อม จะปลูกผักต้องมีปุ๋ยรอแล้ว ไม่ใช่หว่านไปแล้ว ดินยังเป็นกรดอยู่เลย ถ้าดินเป็นกรดพืชมันก็จะไม่สามารถ
ดึงอาหารไปเลี้ยง ไปสร้างต้นสร้างใบได้ พืชก็จะอ่อนแอ แต่ถ้าคุณปรับปรุงดินให้ดินเป็นกลางใส่อะไรลวไปพืชก็จะ
ดึงสารอาหารนั้นไปใช้ได้ทันทีเลย พืชก็จะเติบโต แข็งแรงมีภูมิต้านทาน ระบบการปลูกจะปลูกยังไง ปลูกหลาย
อย่างผสมกันไม่ใช่ปลูกอย่างเดียว ต้องเป็นชุดความรู้ที่คนทางานต้องพัฒนาความรู้ตัวเอง มีงานวิจัยของตัวเอง
แปลงเล็กๆ ของเราเป็นแปลงเล็กๆ ที่สร้างความสุขที่ยิ่งใหญ่ เวลามาประชุมทีเขาพูดถึงเรื่องนี้เราก็บอกได้ว่า
ปัญหาอยู่ตรงนี้ลองไปดูสิ คือเราต้องรู้ว่าเตรียมดินยังไง หว่านเมื่อไหร่ ใส่ปุ๋ยวันไหน อย่างกวางตุ้งเนี่ยเราต้องรู้
เลยว่า ๔๐ วันเก็บเป็นกวางตุ้งสาวได้แล้ว ๒๕ วันเป็นเบบี้ จะรู้เลยว่าผักแต่ละช่วงมันเป็นอย่างนี้ ถ้าคุณเตรียม
ความพร้อมเหล่านนี้ได้ ดินดี ให้น้าเพียงพอ คุณปลูกผักประสบความสาเร็จ หรือเก็บผักไปแล้ว คุรต้องเติมปุ๋ย
เพราะถ้าคุณเก็บยอกมันไปแล้วคุณไม่ให้อาหารมันมันจะเอาธาตุอาหารที่ไหนมาสร้างยอดใหม่ ก็จะได้ยอดที่เล็ก
ลงเรียวลง คุณภาพก็จะลดลง ขณะเดียวกันชาวบ้านเขาทา เขาก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเองด้วย มันคือห้อง
แลกเปลี่ยนความรู้ที่ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องหาครูเลย เราไม่ต้องการผู้รู้ที่นั่งบรรยายแล้ว เราต้องการผู้รู้ที่ลงมือปฏิบัติจริง
แล้วเอาความรู้จากตรงนั้นมาคุยกัน ตรงนั้นมันเป็นจริงมากกว่า เอามาใช้ได้มากกว่า ชาวบ้านตอนนี้ก็เป็นนักวัจัย
ด้วยแล้ว ไม่ใช่ผู้รอคอยความรู้แต่เป็นผู้สร้างความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอ แล้วก็สรุปความรู้แบ่งปันต่อได้ ทา
แล้วสนุก แล้วเหนื่อย พี่นันไม่มีเสาร์ ไม่มีอาทิตย์ ไม่มีส่วนตัว ไม่มีครอบครัว คุณสามารถทาได้อย่างนี้ไหม ถ้าทา
ได้คุณก็จะได้เห็นเพื่อนร่วมทีม เห็นประชาชนที่เขาเข้าใจ แล้วเริ่มเปลี่ยนแปลง กาหนดชีวิตตัวเอง สร้างทางเลือก
ของตัวเอง ตอนนี้ไม่ทาใหญ่แล้วพี่ เล็กๆ แล้วมีคุณภาพเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วคนทางานมีความสุข ไม่ใช่หมด
งบประมาณแล้วทุกคนก็อยู่เฉยๆ แต่มันคือชีวิตเขา สิ่งที่เขาทาคือการแก้ปัญหาชีวิตของเขา ทาให้ชีวิตของเขาดี
ขึ้นไปถึงเป้าหมายที่เขาพึงปรารถนา มันไปแล้วไม่ใช่ทางานเพราะเงิน งานคือชีวิต คืออนาคตของครอบครัวและ
ชุมชน กรรมการทุกคนก็ไม่ได้มีเวลาว่าง เขาก็มีตารางนัดเหมือนกัน พี่ก็มีตารางนัด ตอนนี้ของชาวบ้านเองของ
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ เขาก็ต้องมีงานที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศ มีสหกรณ์กรีนเท เขาก็จะมีการ
ประชุมใหญ่ มีการไปเป็นกรรมการร่วมประชุม เครือข่ายเกษตร ๔ ภาคตอนนี้มันกลายเป็นเครือข่ายเกษตรกรรม
ทางเลือกประเทศไทยแล้ว มีเป้าหมายร่วมกันแล้ว เขาก็จะมีตารางนัดหมายเหมือนกัน ทุกคนก็ทาในบทบาท
หน้าที่ของตัวเอง ในทุกๆ ส่วน
(14)

You might also like